หลักการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง


ภาษาไทย

             ภาษาพูดหมายถึงภาษาที่ใช้สื่อสารกันด้วยการพูด

             ภาษาเขียน หมายถึง ภาษาที่ใช่สื่อสารกันดัวยการเขียนเป็นตัวหนังสือและตัวเลข แทนการพูด

             1.ภาษาเป็นวัฒนธรรม

              ภาษาเป็นวัฒนธรรม เพราะภาษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยเหตุที่คนพูดภาษาเดียวกันย่อมมีควมผูกพัน รักใคร่กลมเกลียว ร่วมมือร่วมใจกันประกอบภารกิจต่างๆ ให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ภาษายังเป็นเครื่องบอกให้รู้นิสัยใจคอ สภาพความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของคนในสังคมนั้นๆด้วย เช่น สำนวนไทยที่ว่า"สำเนียงบอกภาษา กิริยาส่อสกุล" เป็นต้น
                            อีกประการหนึ่งที่ว่าภาษาเป็นวัฒนธรรม ก็คือ ภาษาเป็นเครื่องมือวัดความเจริญก้าวหน้าของชาตินั้นๆ ว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งเพียงไร เราก็จะสังเกตุได้ง่ายๆ คือ คนที่ยังป่าเถื่อนหรือไม่ได้รับอบรมมาก่อนเวลาพูดก็จะไม่น่าฟัง เช่น ใช้ภาษากักขฬะ คือ แข็งกระด้างแต่คนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วจะพูดจาได้ไพเราะ ใช้ภาษาก็ถูกต้องตามแบบแผนใช้คำพูดสื่อความหมายได้ แจ่มแจ้งไม่กำกวม
เป็นภาษาที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในหมู่คณะอีกทั้งสามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องตามกาลเทศะและเหมาะสมกับฐานะของบุคคล
             2.การแบ่งระดับภาษา
              ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของภาษาไทย คือมีการแบ่งระดับของภาษา ซึ่งภาษาอื่นๆ เช่น
ภาษาอังกฤษก็มีระดับภาษาเช่นกันแต่ลักษณะดังกล่าวมิใช่เรื่องสำคัญเป็นพิเศษเหมือนภาษาไทย เมื่อกล่าวโดยส่วนรวม ระดับภาษาเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของภาษาที่พัฒนาแล้ว และเมื่อกล่าวเฉพาะภาษาไทย
ระดับภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่นักเรียนภาษาไทยจะต้องเข้าใจและใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม
             โดยปกตินักเรียนใช้ภาษาในการสื่อสาร มิใช่เพียงเพื่อให้รู้เรื่องกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
เท่านั้น แต่ยังต้องใช้ให้ได้ผลดีด้วย นั่นก็คือต้องใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความเหมาสมกับกาลเทศะ
บุคคล รวมทั้งคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหา และสื่อที่จะใช้ด้วย โดยเราใช้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนด
ระดับของภาษาที่จะใช้ จึงได้มีการแบ่งระดับของภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล โอกาส สถานที่ และประชุมชน
             ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำ และการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้ตามโอกาส
กาลเทศะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสาร
             คนในสังคมแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม หลายชนชั้นตามสถานภาพ อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ภาษาจึงมีลักษณะผิดแผกหลายระดับไปตามกลุ่มคนที่ใช้ภาษาด้วย เช่น การกำหนดถ้อยคำที่ใช้แก่พระสงฆ์
ให้แตกต่างจากคนทั่วไป หรือการคิดถ้อยคำขึ้นใหม่เพื่อใช้ในวงการอาชีพต่างๆ การสนทนาระหว่าง
ผู้ที่คุ้นเคยกันย่อมแตกต่างจากการสนทนาระหว่างผู้ที่เพิ่งเคยพบกันเป็นครั้งแรก หรือการพูดในที่ประชุมชน
ย่อมต้องระมัดระวังคำพูดมากกว่าการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน แม้กระทั่งงานเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะ
อย่างงานวิชาการก็ต้องใช้ถ้อยคำที่แตกต่างจากการเขียนในรูปแบบอื่น เช่น ข่าว เรื่องสั้น หรือบทกวี เป็นต้น
ผู้ใช้ภาษาจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเลือกใช้ภาษาให้ถูกต้องตามโอกาสกาลเทศะ
และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
             การแบ่งระดับภาษาสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพื่อให้เข้าใจง่ายอาจจะแบ่งระดับภาษา
เป็น3ระดับดังนี้
                          2.1 ภาษาระดับทางการ เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่มีแบบแผน เช่น การบรรยาย
การอภิปรายอย่างเป็นทางการหรือใช้ในการเขียนข้อความที่จะใช้ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นการเป็นงาน เช่น ตำราวิชาการ หนังสือที่ใช้ติดต่อกันทางราชการหรือในวงการธุรกิจผู้รับสารและผู้ส่งสารมักเป็นบุคคลในวงการเดียวกันหรือวงอาชีพเดียวกันติดต่อกันในด้านธุรกิจการงาน เช่น บอกหรือรายงาน
ให้ทราบ ให้ความรู้เพิ่มเติม เสนอความคิดเห็น ฯลฯ ลักษณะของสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ความคิดที่สำคัญ              

                         2.2 ภาษาระดับกึ่งทางการ เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารโดยมุ่งให้เกิดความเข้าใจกันด้วยความรวดเร็วลดความเป็นทางการลงบ้างเพื่อให้เกิดความใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มักใช้ในการประชุมกลุ่มการอภิปรายกลุ่มการบรรยายในห้องเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทัศน์ ข่าว และบทความในหนังสือพิมพ์ฯลฯลักษณะของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป ธุรกิจ การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการหรือการดำเนินชีวิตฯลฯ มักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น และอาจมีถ้อยคำที่แสดงความคุ้นเคยปนอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่น

                          โลกของเด็กไม่ใช่โลกของผู้ใหญ่ และในทำนองเดียวกันโลกของผู้ใหญ่ก็ย่อมไม่ใช่โลกของเด็ก ในขณะที่ผู้ใหญ ชอบรับประทานน้ำพริก เด็กก็ชอบรับประทานแกงจืด เด็กชอบไอศครีม ผู้ใหญ่ชอบเหล้าฉะนั้นดูไปบางทีโลกของผู้ใหญ่กับโลกของ เด็กก็ลอยห่างกันมาก หรืออีกนัยหนึ่งทางเดินแห่งความคิดของผู้ใหญ่กับของเด็กมักจะสวนทางกันอยู่เสมอถ้าผู้ใหญ่ไม่หมุนโลกของตน   ให้มาใกล้เคียงกับโลกของเด็กบ้างบาทีเมื่อผู้ใหญ่หันกลับโลกของเด็กก็ลอยไปไกลจนสุดไขว่คว้า
เสียแล้ว (รัญจวน อินทรกำแหง,2524:9)

                          2.3 ภาษาระดับปาก เป็นภาษาที่ใช้ในการพูด มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัวกับบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคย เช่นระหว่างสามีภรรยา ระหว่างญาติพี่น้อง หรือเพื่อนสนิท เป็นต้น ลักษณะของสารไม่มีขอบเขตจำกัด แต่มักใช้ในการพูดจากันเท่านั้น อาจจะปรากฏในบทสนทนาในนวนิยายหรือเรื่องสั้นเพื่อความสมจริงถ้อยคำที่ใช่อาจมีคำคะนอง คำไม่สุภาพ หรือคำภาษาถิ่นปะปนอยู่ ตัวอย่างเช่น

                          "ฮือ ! ไอ้เพลงเกี่ยวข้าวนี่มันปลุกใจเหมือนกันหรือ?" สมภารถามอย่างอัศจรรย์ใจ

                          "ปลุกใจซีสมภาร บางทีมันก็ปลุกใจดีเสียกว่าต้นตระกูลไทยที่ฉันร้องให้สมภาพฟังเมื่อวานนี้อีก"

                          สมภารกร่างก้มลงคว้าพลองมาถือไว้แล้วคำรามว่า "ไอ้เทียม มึงอย่ามาวอนเจ็บตัว เอ้า ! ไหนว่า

                          จะมาช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว ก็รีบๆ กระจายกันออกไป อย่ามัวชักช้า เที่ยงตรงตะวันตรงหัว

                          มาพร้อมกันที่นี่ กำนันแกจะเอาขนมจีนมาเลี้ยง"

                                                               (คึกฤทธิ์ ปราโมช , 2527 : 244-245)

             การแบ่งภาษาเป็น 3 ระดับข้างต้นนี้น ไม่ได้เป็นการแบ่งอย่างเด็ดขาด การใช้ภาษา ในชีวิตประจำวัน
อาจใช้ภาษาระดับหนึ่งเหลื่อมกับอีกระดับหนึ่ง เช่น อาจใช้ภาษาระดับทางการปะปนกับภาษากึ่งทางการได้
อย่างไรก็ดีการใช้ภาษาระดับต่างๆควรคำนึงถึงโอกาสสถานที่สัมพันธภาพระหว่างบุคคคลลักษณะของสาร และสื่อที่ต้องใช้ส่งสาร
             การศึกษาเรื่องระดับภาษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้บุคคลแต่ละกลุ่มเข้าใจภาษาของกันและกัน
ไม่เกิดปัญหาด้านการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลรวมทั้งยังทำให้ ผู้ศึกษาได้
้เข้าใจลักษณะเฉพาะและวิวัฒนาการของภาษาไทยอีกด้วย
             การใช้ภาษาสื่อสารจริงๆ นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมีต่างๆกัน จนบ้างครั้งแยกระดับ
ไม่ได้ง่ายๆ เพราะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอีกหลายประการ จึงอาจแบ่งภาษาให้ย่อยลงไปอีก เพื่อผู้ใช้
จะได้พิจารณาเลือกใช้ได้ละเอียดและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่ง 5 ระดับ ดังนี้
             1)ภาษาระดับพิธีการ

             2)ภาษาระดับทางการ

             3)ภาษาระดับกึ่งทางการ

             4)ภาษาระดับสนทนาทั่วไป

             5)ภาาระดับกันเอง

             การแบ่งระดับภาษาดังกล่าวนี้ โอกาสและบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณามากกว่าเรื่องอื่นๆ
การสื่อสารกับบุคคลเดียวกันแต่ต่างโอกาสหรือต่างสถานที่กัน ก็ต้องเปลี่ยนระดับภาษาให้เหมาะสม ภาษาบางระดับ คนบางคนอาจจะไม่มีโอกาสใช้เลย เช่น ภาษาระดับพิธีการ บางระดับต้องใช้กันอยู่เสมอในชีวิตประจำวันการเรียนรู้เรื่องระดับภาษา ไม่ว่าจะมีโอกาสได้ใช้ทุกระดับหรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยก็ทำให้เรารับรู้ว่าภาษามีระดับ เมื่อถึงคราวที่จะต้องใช้ก็จะใช้ถูกต้อง รู้ว่าภาษาที่ใช้นี้ถูกต้อง สมมควรหรือไม่เพียงใด
เพราะถ้าใช้ไม่เหมาะสมไม่ถูกต้องแล้ว แม้ว่าจะโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดอุปสรรค
ในการสื่อสารและอาจเกิดความไม่พอใจกันขึ้น เช่น เด็กที่พูดจาตีเสมอผู้ใหญ่ผู้น้อยที่พูดกับผู้บังคับบัญชา
อย่างขาดสัมมาคารวะ ย่อมทำให้ผู้ใหญ่หรือผู้บังคับบัญชารู้สึกว่าเป็นคนกระด้างไม่รู้จักกาลเทศะ
             ครูจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้ให้เข้าใจพิจารณานำไปแนะนำแก่นักเรียนให้เหมาะสม

ตามควรแต่กรณีดังต่อไปนี้

                          1)ภาษาระดับพิธีการ

              ภาษาระดับพิธีการเป็นภาษาที่ใช้ในงานระดับสูงที่จัดขึ้นเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวสดุดี
กล่าวรายงาน กล่าวปราศรัยกล่าวเปิดพิธี ผู้กล่าวมักเป็นบุคคลสำคัญ บุคคลระดับสูงในสังคมวิชาชีพหรือวิชาการ ผู้รับสารเป็นแต่เพียงผู้ฟังหรือผู้รับรู้ไม่ต้องโต้ตอบเป็นรายบุคคล หากจะมีก็จะเป็นการตอบอย่าง
เป็นพิธีการในฐานะผู้แทนกลุ่มการใช้ภาษาระดับนี้ต้องมีการเตรียมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งเรียกว่า วาทนิพนธ์ก็ได้ในการแต่งสารนี้มีคำต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำให้รู้สึกถึงความสูงส่งยิ่งใหญ่ จริงจังตามสถานภาพของงานนั้น
                          2)ภาษาระดับทางการ

              ภาษาระดับทางการ ใช้ในงานที่ยังต้องรักษามารยาท ในการใช้ภาษาค่อนข้างมาก
อาจจะเป็นการรายงาน การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา ซึ่งต้องพูดเป็นการเป็นงาน ใช้ภาษา

ถูกต้องเหมาะสมอาจจะมีการใช้ศัพท์เฉพาะเรื่องหรือศัพท์ทางวิชาการบ้างตามลักษณะของเนื้อหาที่ต้องพูดหรือเขียน การสื่อสารระดับนี้มุ่งความเข้าใจในสารมากกว่าระดับพิธีการ อาจจะต้องมีการอธิบายมากขึ้น แต่ก็่ยังคงต้องระมัดระวังมมิให้ใช้ภาษาฟุ่มเฟือยหรือเล่นคำสำนวนจนดูเป็นการพูดเล่นหรือเขียนเล่น

                          3) ภาษาระดับกึ่งทางการ  

              ภาษาระดับกึ่งทางการเป็นภาษาที่ใช้ในระดับเดียวกับภาษาทางการที่ลดความเป็นงานเป็นการลง

ผู้รับและผู้ส่งสารมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น มีโอกาสโต้ตอบกันมากขึ้น อาจต้องสร้างความเข้าใจด้วยการอธิบายชี้แจงประกอบหรือมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือปรึกษาหารือกัน ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน การให้ข่าว การเขียนข่าว หรือบทความในหนังสือพิมพ์ ซึ่งนิยมใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่แสดงความคุ้นเคยกับผู้อ่านหรือผู้ฟังด้วย

                          4) ภาษาระดับสนทนาทั่วไป                 

              ภาษาระดับสนทนาทั่วไป เป็นภาษาระดับที่ใช้ในการพูดคุยกันธรรมดา แต่ยังไม่เป็ฯการส่วนตัวเต็มที่ ยังต้องระมัดระวังเรื่องการให้เกียรติคู่สนนา เพราะอาจจะไม่เป็นการพูดจาเฉพาะกลุ่มพวกของตนเท่านั้นอาจมีบุคคลอื่นอยู่ด้วย หรืออาจมีบุคคลต่างระดับร่วมสนทนากัน ต้องคำนึงถึงความสุภาพ มิให้เป็นกันเองจนกลายเป็นการล่วงเกินคู่สนทนา

                          5) ภาษาระดับกันเอง หรือระดับภาษาปาก   

              ภาษาระดับกันเองเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับผู้คุ้นเคยสนิทเป็นกันเอง ใช้พูดจากันในวงจำกัด

อาจจะเป็นกลุ่มเพื่อนฝูง ครอบครัวสถานที่ใช้ก็มักเป็นส่วนตัว เป็นสัดส่วนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพวก หรือที่นักเรียนไม่จำเป็นต้องระวังให้สุภาพ หรือมีระเบียบแบบแผนมากนักได้แก่ ภาษาถิ่น ภาษาสแลง ภาษาที่ใช้ติดต่อในตลาดในโรงงาน ร้านค้า ภาษาที่ใช้ในการละเล่น หรือการแสดงบางอย่างที่มุ่งให้ตลกขบขัน เช่น จำอวดฯลฯ
             การใช้ภาษาทุกระดับไม่ว่าจะเป็นภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ผู้ใช้ควรคำนึงถึงมารยาท

ซึ่งเป็นทั้งการให้เกียรติผู้อื่นและการรักษาเกียรติของตนเอง เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอนมาดี เป็นผู้มีสมบัติผู้ดี และมีจิตใจดี

หมายเลขบันทึก: 427385เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท