บทบาทชายหญิงในสังคมช่างทอผ้า


ไหมกับชีวิตข้าน้อย๑

สัญญากับนายบอนเรื่องจะเขียนเล่าเรื่องการทอผ้าไหมตามคำถามที่นายบอนถามมา เพราะมีเพื่อนพ้องของนาบอนถามมาและนายบอนถามต่อมายังผมอีกต่อหนึ่ง ผมเองรับปากจะเขียนแต่ขอรอค้นภาพสักสามสี่วันแต่ถึงตอนนี้เพิ่งมีเวลาเขียนและหาภาพมาประกอบได้

 เรื่องผ้าไหมที่จะเขียนเพื่อตอบคำถามนายบอนนี้ ขอออกตัวว่าไม่ได้เป็นวิชาการเลย เพียงแต่เป็นเรื่องเล่าที่เจอมาจากสนามวิจัย เรื่องเล่ารอบกี่ทอผ้าที่บ้าน นำมาเขียนพอสังเขป ไม่แน่ใจเช่นกันว่าจะตรงตามที่เพื่อนของนายบอนอยากทราบหรือเปล่า 

เรื่องทอผ้าไหมนี้เป็นเรื่องของทุกคนในครอบครัวทั้งแม่หญิง พ่อชาย พ่อเม่าแม่เฒ่า ลูกหลานเหลนโหลน ที่พูดเช่นนี้เพราะเจอจากประสบการณ์ของตนเองแต่หัวหน้าในงานนี้เป็นหน้าที่โดยธรรมชาติของแม่หญิง เมื่อเด็กผมจำได้ว่ายายและป้า แม่และน้าจะต้องไปเก็บใบหม่อน เลี้ยงหม่อน สาวไหม เตรียมเส้นใย และทอผ้า ส่วนตาและบรรดาเขยของยายจะทำกระด้ง จ่อและอุปกรณ์ในการทอผ้าเตรียมไว้และซ่องแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด  ส่วนบรรดาหลาน ๆ บ้างก็เก็บใบหม่อน เก็บรังไหมหรือ กวักไหมบ้างตามแต่ผู้ใหญ่จะใช้   บรรดาน้า ๆ ที่ยังไม่เก่งจะเรียนรู้การเลี้ยงไหม ทอผ้าจากการเป็นผู้ช่วยของยายและป้าที่เลี้ยงไหมเก่งแล้ว  ดังนั้นเรื่องทอผ้าจึงไม่ใช่เรื่องของแม่หญิงคนเดียวแต่เป็นความร่วมมือของทุกคนใครอบครัว เพียงแต่บทบาทในเรื่องอาจมากน้อยแตกต่างกัน   

เรื่องเลี้ยงไหมทอผ้านี้ ไม่ใช่เรื่องที่ทุกครอบครัวจะทำได้ดี ยายหรือทวดคนไหน ที่ไม่มีฝีมือการทำงานด้านนี้ก็จะพยายามให้ลูกสาวเรียนรู้กับคนอื่น  หรือผู้หญิงคนไหนที่ทอไม่เป็นเมื่ออกเรือนไปแล้วก็จะรวมกลุ่มกับครอบครัวข้างบ้านเลี้ยงไหมทอผ้าไปด้วยกัน ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องนี้จึงไม่มีหลักสูตรแน่นอนเป็นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ เมื่อทำเข้าทุกปีก็จะเชี่ยวชาญ ช่างคนไหนที่ทำงามก็จะได้รับยกย่องว่า  ซ่าง  ซ่างหรือช่างนี้แม่ใช่หน้าที่นายช่าง แต่หมายถึงคนที่มีความเชี่ยวชาญและถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นได้เป็นที่ปรึกษาของแม่หญิงคนอื่น ๆ  

ผมจำได้ว่าในตอนที่อยู่บ้านรวมกับยาย(เฮือนใหญ่) แม่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยยายเท่านั้น แต่เมื่อแม่ออกเรือนมาบทบาทของแม่ชัดเจนแต่คิดว่าไม่เก่งนัก เนื่องจากการทอผ้าสมัยก่อนไม่ได้ทำกันบ่อยจึงพัฒนาฝีมือช้า แต่ในช่วงยี่สิบปีย้อนหลังแม่ต้องทอผ้าเองและเรียนรู้พัฒนาการทอผ้าและมีการทอผ้าบ่อยขึ้น ดูท่าทางผ้าทอแม่จะสวยขึ้น แต่จะให้เรียกแม่ว่า ซ่าง นั้นยังไม่ถึงขั้น 

ภาพการทอผ้าปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป การเลี้ยงไหมของชาวบ้านลดลงมากในหมู่บ้านมีครอบครัวที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมน้อย สวนหม่อนของชาวบ้านถูกนำไปแบ่งให้ลูกหลานเพื่อปลูกบ้านสร้างที่อยู่เมื่อสวนหม่อนไม่มีการเลี้ยงไหมก็ลดลง  วัสดุอุปกรณ์ที่ฝ่ายผู้ชายเคยสร้างเองได้ต้องพึ่งพาจากตลาดและมีราคาแพงจึงไม่นิยมเลี้ยง ราคาไหมถูกเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ต้องลงไปรวมทั้งภาพชีวิตของคนอีสานก็เปลี่ยนแปลง 

หน้าฝนปีนี้ ครอบครัวของเราจะเริ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเองโดยใช้ไหมพันธุ์พื้นบ้านที่ทนต่อดินฟ้าอากาศของอีสาน และต้นหม่อนที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์  ความคืบหน้าจะเป็นอย่างไร ลงแปลงเมื่อไร่จะเล่าให้ฟังนะครับ ส่วนตอนต่อไปจะเขียนเรื่องเส้นไหมตามอ่านต่อนะครับ

หมายเลขบันทึก: 71578เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เึคยสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมพี่ออต ถึงรู้เรื่องไหมดีนัก แถมยังทอผ้าไหมเป็นอีกด้วย คิดว่า งานนี้ คงจะเป็นงานเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น เพราะเคยเห็นแต่ผู้หญิง เป็นผู้ทอผ้าไหมจนชินตา


แต่พึ่งมากระจ่างแจ้งกับประโยคแรกๆนี้เอง
"เรื่องทอผ้าไหมนี้เป็นเรื่องของทุกคนในครอบครัวทั้งแม่หญิง พ่อชาย พ่อเม่าแม่เฒ่า ลูกหลานเหลนโหลน"
  • ขอบคุณนายบอน
  • เป็นความร่วมมือกันครับ
  • หากต้องการเรื่องอะไรเพิ่มเติมแจ้งผ่านมาได้นะครับ หากมีข้อมูลจะบอกกล่าวครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท