ชาวนาวันหยุด ตอนที่ 5.9 พัฒนาการสวนผักปลอดสารพิษ เพื่อนบ้าน ภาคสอง


การปลูกพืชต่างระดับ ทำให้สามารถเก็บเกี่ยว ได้อย่างต่อเนื่องและไม่เสียโอกาส กับการจัดสรรพื้นที่ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

 

บทเรียนรู้

0. "เเหล่งน้ำ-ระบบน้ำที่มีประสิทธิภาพ" สำคัญที่สุดสำหรับการเกษตร 


1.การเตรียมเเปลง ที่มีการยกร่อง ช่วยเรื่องของการระบายน้ำ ระบบรากพืชเเข็งแรง


2.การอนุบาลต้นกล้าไว้ในถาดหลุมไม่เปลืองเมล็ดแล้ว ก็ทำให้การเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น


ลดภาวะการเเข่งขันระหว่างพืชที่ต้องการ กับวัชพืช ในเเปลงปลูกได้มาก 


3.การปลูกพืชต่างระดับ ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

และไม่เสียโอกาส กับการจัดสรรพื้นที่ ทั้งแนวดิ่ง และแนวราบ


4. การทำงานแบบ "ขนาน" มีส่วนช่วยอย่างมาก

5. ผลผลิตที่ปลอดภัย แลกมาด้วยความมานะอุตสาหะของการคิดวางเเผนการจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างรอบคอบ และมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง


6.เกิดการจ้างงาน การสร้างรายได้ในชุมชน

 

 

ไปชมภาคสองกันต่อครับ 


หมายเลขบันทึก: 448497เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2011 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เห็นผลผลิต คงหายเหนื่อยเลยค่ะ อยากทราบขาดพื้นที่ และใช้แรงงานกี่คนค่ะ

จะต้องวางแผนเรื่องตลาดให้ดี ๆ เมื่อ มะละกอ ให้ผลผลิต เพราะเป็นผลิตผลที่อายุสั้นมาก

เคยเห็นข่าวชาวสวน มะละกอ ในหลายพื้นที่ มีปัญหา จนต้องปล่อยผลผิตทิ้ง แม้ตกลงไว้ล่วงหน้ากับบริษัทแล้วก็ตาม

ตอบอาม่า หลินฮุ่ย

พื้นที่ 14 ไร่ 3 งาน ประกอบไปด้วย

พริกแกว 4,000 ต้น

พริกอ่อน 4,000 ต้น

มะเขือยาว 4,000 ต้น

มะละกอ 4,000 ต้น

กล้วยน้ำว้า 200 กอ

กล้วยหอมทอง200 กอ

มะนาว 170 ต้น

อื่นๆ ตะไคร้ .... .. อีกเพียบเลย

เรื่องผลผลิตมะละกอ ถ้ามีกลุ่มแม่บ้านรวมกันรับไปแปรรูปสักส่วนหนึ่งหรือมีโรงงานรับไปอีกส่วนหนึ่งน่าจะไม่สูญเปล่านะคะ แต่ผู้ใหญ่ในชุมชนต้องเริ่มต้นให้คนสามกลุ่ม มาเจอกันให้ได้เป็นลำดับแรกค่ะ และอยากขอเสนอคำถามว่า ทำอย่างไร เกษตรกรไทยจะมีเครื่องมือใช้ครบอย่างญี่ปุ่น เนื่องจากกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุค่ะ เป็นเครื่องมือให้เช่า ให้ยืม ก็ได้ค่ะ อยากให้เข้าถึงทุกครัวเรือนน่ะค่ะ เราคงต้องช่วยดูแลผู้ที่อ่อนแอกว่า โดยไม่เสียเวลารอ คนใส่สูทในสภาหรอกค่ะ จะพอมีแสงแห่งความหวังบ้างไหมคะเพราะถ้าคนไม่ยากจน ปัญหาสังคมเรื่องการเสพยาเสพติด หรือการลักขโมยจะลดลง นะคะ

ภาพอุปกรณ์ครบชุดhttp://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/737/593/default_untitled.bmp

อยากให้ท่านใดที่มีไอเดียทำให้ฝันเป็นจริงได้ อาสามาขบคิดกันหน่อย ให้เกษตรกรรวมเงิน หามาอย่างละ 1 แล้วเก็บไว้กับชุมชน เพื่อเผยแพร่ใน website ให้ผู้อื่นทำตามหรือต่อยอดน่ะค่ะ อาม่า ดร.พรรณี พอจะมีบารมีเป็นผู้นำเรื่องนี้ไหวไหมคะ

สงสัยไม่เห็นภาพ ขัดข้องตลอด ตลอด.. เป็นภาพของชาวนาญี่ปุ่นในบันทึกของคุณต้นกล้า ตอนต้นๆ ที่พูดถึงการเตรียมการรองรับผู้สูงอายุในภาคการเกษตร น่ะค่ะ ถ้าไม่สิ้นอายุขัยไปเร็วนัก จะมีใครก้าวผ่านความแก่เฒ่าไปได้บ้างหนอ แล้วใครจะเห็นใจคนสูงอายุบ้างหนอ

เคยมีคนบอกว่า อบต.ซื้อเครื่องไม้เครื่องเมือทางการเกษตร ให้เกษตรกรยืมใช้ แต่ไม่มีข้อมูลละเอียด อาม่าคิดว่าเรื่องแบบนี้เราต้องสร้างกลุ่มก่อน แล้วให้มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน เริ่มสะสมเครื่องมือเครืองใช้ทางการเกษตรให้พอเพียงเหมาะกับพื้นที่ โดยต้องมีระบบการดูแลรักษาเครื่องมืออย่างมีปรสิทธิภาพ น่าจะพอทำได้ในกลุ่มเล็กๆ ที่ธรรมทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เราคงคิดแทนเขาไม่ได้ แต่อาจจะกระตุ้นให้เขาคิดได้เอง จะยั่งยืนกว่าค่ะ น้าโ๋อ๋

ชอบแบบนี้จังเลยครับ

แต่ว่าคงปลูกพืชล้มลุกไม่ค่อยจะไหว

คงต้องปลูกไม้ยืนต้นนะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท