ตำนานพระนเรศวร ที่ผมได้สัมผัส


บรรพบุรุษของเราที่เสียสละกู้ชาติ รักษาชาติให้ชนรุ่นหลังได้มีแผ่นดินอยู่

ได้ดูเบื้องหลังการถ่ายทำ เรื่องพระนเรศวรไป ๒ แผ่น จาก ๕ แผ่น ก่อนจะไปดูหนังจริงๆ ได้เกร็ดต่างๆ ดังนี้้หนังสือที่อ้างถึงบ่อย

. ตามรอยพงศาวดาร ไทยรบพม่า กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

. คำให้การกรุงเก่า

. คำให้การขุนหลวงหาวัด

. พงศาวดารฉบับนายกะลา 

การชนไก่กับพระมหาอุปราชาไม่มีในทั้งสองพงศาวดาร ไทย และพม่า 

ตำนานพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง แสดงแสนยาบารมี แม่น้ำสะโตงกว้าง ๖๓๐ เมตร 

พระสุพรรณกัลยาเป็นพระพี่นางของพระนเรศวร  

ทหารไทยกลัวพระนเรศวรมากกว่ากลัวตาย 

เคยส่งคณะฑูตไปฮอลันดา 

ตอบแทนหญิงแก่ที่ให้ทานกระแช่ราวแม่ 

แผ่น ๒พิษณุโลกมีแผ่นดินไหว 

เส้นทางเดินทัพมาไทยมี ๒ ทาง คือ ด่านแม่ละเม่า และ ด่านเจดีย์สามองค์ 

เมื่อได้ดูภาคแรก ดูกับลูกสาวคนโตวัย ๗ ขวบ เนื่องจากลูกชวน เลยสนอง สรุปว่าชอบมาก แต่หนังยาวเลยไม่เหมาะกับเด็ก ต้องวิ่งเข้าห้องน้ำสองรอบ สุดท้ายต้องนั่งเก้าอี้คนเก็บตั๋ว เกรงใจที่เดินเข้า-ออก 

ในภาคแรกชอบฉากเหล่านี้

ฉากแววตาของพระนเรศวรสยบข้าราชบริพารของพม่า ที่มารับตัว จนต้องหลบสายตา  

ฉากที่พระนเรศวรถูกตีเนื่องจากทำผิด ฉากนี้กระซิบสอนลูก เห็นไหมขนาดพระนเรศวร หากทำผิดก็ต้องโดนตีเหมือนกัน 

ฉากหงสาวดีที่ตระการตาดีมากเลย 

ดีใจที่ได้เห็น ดี๋ ดอกมะดัน บนจอภาพยนตร์อีกครั้ง 

เท่าที่ดูแล้วตัวละครที่ผมชอบ และเห็นว่ามีความสำคัญที่สนับสนุนให้ การกู้ชาติไปได้ด้วยดี คือ พระสุพรรณกัลยา ที่ตัดสินใจด้วยความสุขุม มีเหตุมีผล ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง น่ายกย่องครับ 

ตัวละครอีกตัวที่ออกมาในช่วงสั้นๆ แต่เด็ดเดี่ยวคือพระธิดาของพระสุริโยทัย ที่เด็ดเดี่ยวไม่แพ้ผู้แม่ ชอบครับ 

ตอนแรกนึกว่าบุญทิ้งเป็นตัวละครสมมติ เพื่อสร้างสีสัน ที่ไหนได้เป็นทหารเอกของพระนเรศวรเลยนะ  

อีกเรื่องที่ชอบคือ พระนเรศวรบอกว่าคนไทยเสียเมืองเพราะขาดความสามัคคี ช่างเหมือนปัจจุบันเหลือเกิน และแนวคิดพระองค์ก็ต่างจากพระบิดาในเรื่องยอมเป็นเมืองขึ้น เรื่องนี้คิดไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องแล้ว 

พระนเรศวรยังแสดงการไม่ยึดติดในสายพระวงศ์ที่แก่งแย่งกันมาตลอด พระองค์บอกว่ายามชาติตกเป็นเมืองขึ้น ขอให้เรามีเอกราชก็พอ อย่ามาคิดเรื่องพระวงศ์ เราคือคนไทยทุกคน ดูแล้วน่าจะสำนึกกันบ้างนะ 

ฉากพระมหินทราธิราช ตรัสแก่ พระนเรศวร ว่า จงครองแผ่นดินโดยธรรม เหมือนจะบอกอะไรบางอย่าง รู้สึกงงๆ

จบภาคแรกพระนเรศวรยังไม่โตเลย

ภาคสอง ได้ดูวันที่ ๒๐ ก.. ๕๐ ดูที่เซนทรัลเวิร์ล

ดาราคนหนึ่งที่มีคนแนะนำให้ดูคือ อภิรดี ภวภูตานนท์ ดาราคนนี้ผมชอบมาแต่ไหนแต่ไร แสดงดีมาโดยตลอด ทั้งละครและภาพยนตร์ เรื่องนี้ก็แสดงดีจริงๆ ครับพี่น้อง 

หน้าโรงมีหนังที่เข้ารอบออสการ์มาจัดบอร์ดไว้ อยากดู Little miss sunshine  

เข้าโรงหนังตัวอย่างเยอะมาก มีเรื่องที่อยากดูคือ The pursuit of happiness วิลล์ สมิธ แสดงร่วมกับลูกชาย 

ชอบเพลงสรรเสริญพระบารมี Version นี้จัง ทำให้ตื้นตันใจบอกไม่ถูก ห้องเรียนของในหลวง, นักเรียนของในหลวง ... ดูแล้วต้องทำความดีมากๆ นะครับ ในหลวงเราทรงเหนื่อยมามากแล้วครับ 

ภาคสองโตกันหมดเลย เปิดเรื่องก็ใช้มุกดี แล้วสองตัวละครนี้ก็เป็นสีสันของเรื่องเลยครับ เห็นมีกระทู้ในพันทิพย์ โหวตว่าใครชอบพระชัยราชาตาเดียวยกมือขึ้น ถูกใจรีบเข้าไปโหวตเลยครับ เพราะแอบชอบในความห้าวตลอดเรื่อง ได้ใจดีครับ 

ชอบพระนเรศวรที่มีความเป็นผู้นำ ขี่ม้านำหน้าตลอด, บุกก็นำหน้า 

การรู้ใจลูกน้องก็เป็นเลิศ อย่างฉากให้บุญทิ้งไปเฝ้าเชลยแม่หญิงเลขิ่น ไม่ลึกซึ้งไม่รู้หรอกครับ ใจลูกน้องนี่ 

ชอบฉากพระนเรศวรทรงระนาด บอกถึงสุนทรียภาพของจอมทัพ ต้องมีนะครับ ไม่งั้นขาดจินตนาการ 

ดูฉากบุกเมืองของแม่เลขิ่น เหมือนดูสามก๊กเลยครับ นึกถึงขงเบ้งบุกแดนใต้ มีคำเด็ดจากสามก๊กตอนนั้น "ตีใจเป็นหลัก ตีเมืองเป็นรอง" ภรรยาเจ้าเมืองแดนใต้ ห้าวประมาณแม่หญิงเลขิ่นเลย

อีกฉากที่คุ้นตาคือยกทัพเข้าหุบเขา เป็นจุดตายทุกที

การยกพลหนี แต่ลวงว่ายังมีทัพตรึงอยู่ นี่ก็กลศึกสามก๊ก 

ชอบฉากช่วยบุญทิ้ง ใจล้วนๆ 

แต่ที่ชอบสุดๆ ต้องฉากส่งเพื่อนมาฆ่าเพื่อน มันจะสำเร็จได้อย่างไร (หากสำเร็จคนพวกนั้น ไม่เรียกว่าเพื่อนครับ) แค่คิดถึงสิ่งที่เราร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา ทำไม่ลงแล้วครับ ยิ่งพระนเรศวรเคยออกรับความผิดแทนอย่างนี้ ฆ่าได้ก็อายหมาครับสำหรับผม เพื่อนคือสินทรัพย์ที่พึงรักษาไว้ 

หลังๆ เมื่อดูหนังประวัติศาสตร์พวกนี้ ความคิดหนึ่งที่ผุดมาตลอด ตั้งแต่ดูก้านกล้วยแล้ว คือนับถือบรรพบุรุษของเราที่เสียสละกู้ชาติ รักษาชาติให้ชนรุ่นหลังได้มีแผ่นดินอยู่ หากใครคิดทำลายชาติทั้งรู้ตัว และไม่รู้ตัว ตายไปก็ไปตอบบรรพบุรุษเอาเองนะครับ ว่าทดแทนแผ่นดินเกิดที่บรรพบุรุษเหล่านั้นยอมเสียเลือดเสียเนื้อปกป้องกันมาว่าอย่างไร ตัวใครตัวมัน กรรมใครกรรมมันครับ โชคดี

หมายเลขบันทึก: 82262เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท