38.โรคเน่าดำหรือยอดเน่า โรคของกล้วยไม้


ตำรา กล้วยไม้ ออนไลน์

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือเรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ ก็ได้นะครับ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่ชื่อ Phytophthora palmivora
เจ้าโรคที่ว่านี้ สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วนเลยล่ะครับ...
ถ้าเชื้อราเข้าทำลายที่ราก รากก็จะเน่าแห้ง ซึ่งมีผลทำให้ใบเหลือง ร่วง และตายในที่สุด
ถ้าเชื้อราเข้าทำลายยอด ก็จะทำให้ยอดเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมือได้ง่าย
และถ้ามีอาการรุนแรงมาก เชื้อราก็จะลุกลามเข้าไปในลำต้น เมื่อผ่าดูจะเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลเข้มตามแนวยาวของต้นเลยล่ะครับ
โรคนี้จะแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในฤดูฝนหรือช่วงที่มีความชื้นสูงนี้เองครับ
การป้องกันและกำจัดก็ทำได้โดย การปรับสภาพโรงเรือนปลูกกล้วยไม้ให้โปร่ง
ไม่ควรปลูกกล้วยไม้หนาแน่นเกินไป
และถ้าพบโรคนี้ในระยะเป็นลูกกล้วยไม้ ให้แยกกระถางที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย
ถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่ใดแล้ว ควรตัดส่วนที่เป็นโรคออกเสียจนถึงเนื้อดี แล้วใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดโพลาแทน, ริโดมิล, เทอราโซล นะครับ
ข้อควรระวัง คือ อย่าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เชื้อราดื้อยา ควรผสมกับยาชนิดอื่น เช่น แมนโคเซป หรือใช้ยาสูตรที่ผสมมาให้เรียบร้อยแล้ว เช่น ริไดมิล เอ็มแซด
หรืออาจใช้สลับชนิดของสารเคมีกันบ้าง จะทำให้การป้องกันกำจัดโรคได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารเคมีแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อราได้แตกต่างกันนะครับ

...ชยพร แอคะรัจน์
ขอขอบพระคุณ แหล่งความรู้และรูปภาพต่างๆ ที่ผู้เขียนได้นำมาใช้ประกอบการสรุปในบันทึกนี้มากๆครับ ซึ่งได้แก่
รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปที่ 3

รูปที่ 4

คำสำคัญ (Tags): #ชยพร
หมายเลขบันทึก: 198945เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2008 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2015 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท