น.เมืองสรวง
เรียนรู้ชุมชน เยี่ยมเยียนชุมชน มุมมองของชุมชน ภูมิรู้ชุมชนและท้องถิ่น นายอำนาจ แสงสุข

แนวคิดเครือข่ายเรียนรู้เพื่อชุมชน (มุมมองของ น.เมืองสรวง)


การฉายภาพ....แห่งจุดเริ่มต้นที่ดี...คือเป้าหมายแห่งการพัฒนาตนเอง

Lernning for network *****

จุดเริ่มต้นของโครงการ

*  ... ได้ศึกษาระเบียบข้อบังคับ การพัฒนาศักยภาพของ (พอช. ความน่าจะเป็น สามารถเกิดขึ้นได้ภายในชุมชน เพียงแต่เริ่มและร่วมกันคิด (วิธี ) ปฏิบัติภายในองค์กรหรือชุมชนนั้น ๆ สามารถนำเสนอทางออกสู่เป้าหมายของชุมชนได้ ด้วยการร่วมมือกันเพื่อพัฒนา " แผนชุมชน" นี่คือทางออกของชุมชน ไม่ใช่ให้ทางหน่วยงานราชการ เป็นผู้ออกคำสั่งเพียงอย่างเดียว ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านนั้น ๆ ของชุมชนเอง เพราะต้องมีความเป็นเจ้าของชุมชน รวมตัวกันอยู่ ภาคราชการไม่ใช่เจ้าของชุมชน ภาคราชการเป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแนะนำ ที่ปรึกษา อำนวยความสะดวก และเป็นผู้ประสานงาน ที่ดี ไม่ใช่เป็น " เจ้านาย " เจ้านายที่แท้จริง คือ " ชุมชนเอง"

เขียนแผนเพื่อสำรวจชุมชน

**....จุดเริ่มต้น คือ การจัดทำวิธีการวิจัย สำรวจเก็บไว้ที่ อบต.หรือโรงเรียน ให้ชุมชนได้ศึกษาและเพื่อเป็นแนวปฏิบัติแก่ชุมชนเอง ได้เรียนรู้ชุมชนเรียนรู้ถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนว่า " เขาต้องการอะไร " สิ่งที่มุ่งหวังของชุมชน คือ ความอยู่ดีกินดี นั่นคือความพอเพียงนั่นเอง

...แนวปฏิบัติสู่กระบวนการของชุมชน

...การทำงานในชุมชน ย่อมมีการเหลื่อมล้ำทางความคิด หรือ ทุก ๆ ด้าน เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ชุมชนเฉพาะเด็กวัยเรียนและคนสูงอายุ ส่วนวัยทำงานจะเข้าสู่เมืองใหญ่เพราะจบการศึกษาสูงไม่ค่อยสนใจชุมชนเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ได้ตังส์น้อยไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปจากการเรียน ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ ถ้าไม่ได้เป็นราชการ ส่วนใหญ่จึงหันเหไปสู่เมืองใหญ่  ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับครัวเรือน รายได้เกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัดของบุคคลในครัวเรือน การพัฒนารายได้ บวกกับความเชื่อมั่น  ของบุคคลและตัวผู้นำ  ภายในชุมชนอง ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.มีจุดปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ศูนย์การเรียนรู้ทุก ๆ ชุมชน

2.ส่วนราชการ ไม่ควรตั้งเงื่อนไข ต่าง ๆ อันทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นภายในชุมชน ให้ชุมชนเป็นผู้ตัดสินใจเอง โดยชุมชน เพื่อชุมชนที่แท้จริง

3.ส่งเสริมการประกอบอุตสาหกรรม ครัวเรือน

4.แต่งตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบผลการทำงานและมีการประเมินผลทุก ๆ 3 เดือน

5.ประกาศผลรับรอง มาตรฐาน เพื่อเป็นตัวชี้วัดค่ามาตรฐาน อาทิ ค่าจ้างรางวัล เงินต่าง ๆ หรือ ตรารับรองสินค้ามาตรฐาน เช่น GMP ฯลฯ

...ดังข้อสรุปว่า  ผลการดำเนินการต่าง ๆ จึงไม่ได้อยู่ที่ค่ามาตรฐานตัวชี้วัด  ตัวชี้วีด เป็นเพียงข้อกำหนดให้ปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ เท่านั้น ความเข้าใจ ความพอใจ ความที่ตั้งใจ ที่จะให้ชุมชน หรือกลุ่มอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน หรือความเป็นอยู่ของพี่น้องต่าง ๆ หากที่จะเป็นเครื่องยืนยันว่า พี่น้องชุมชนต้องอยู่ให้ได้และอยู่ต่อไป โดยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนในชุมชน โดยความเป็นพี่เป็นน้อง ด้วยรักและสามัคคี ความมีน้ำใจงามในสังคมที่ดีและเป็นสังคมที่แบ่งปัน..................... ( ด้วยความปรารถนาดี   จาก น.เมืองสรวง )

หมายเลขบันทึก: 65613เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

น.เมืองสรวง

  • ตอนนี้ทำเอกสารเชิงหลักการเรื่องศึกษาจิตรกรรมอีสานที่เมืองกาฬสินธุ์เอาไว้
  • ออตว่าเราน่าจะมีแนวร่วมวิจัยร่วมกับชาวบ้านที่นั้น อนาคตคงได้ร่วมมือกันนะครับ
  • จริง ๆ อยากขอทุนวิจัยนี้กับคนในท้องถิ่นเมืองกาฬสินธุ์มากกว่าคนนอกพื้นที่ แต่กำลังศึกษาบุคคลที่สนใจงานวัฒนธรรมในพื้นที่อยู่
  • คนในชุมชนคือเป้าหมายของเรา
  • เท่าที่ทราบเบื้องต้น จิตรกรรมฝาผนังที่กาฬสินธุ์มร 2 แห่ง หากศึกษาจริงน่าจะมีมากกว่านั้น
  • ขอบคุณครับ ตามอ่านงานอยู่นะครับ
ตามธรรมเนียมของระบบราชการที่ฝังรากลึกในสังคมไทยที่ชอบมองว่าชาวบ้านคือผู้รับคำสั่งและปฏิบัติตาม จนเกือบทำให้สังคมคิดไม่เป็น ถ้าเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรมของระบบราชการเดิม ๆ ไปได้ ประเทศไทยคงพัฒนาไปนานแล้วค่ะ
เป้าหมาย "งาน" อยู่ที่ชุมชนครับ คุณ ออต ยินดีครับ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนคุณก็สามารถทำเพื่อบ้านเกิดได้ ขอเพียงคุณมีใจรักที่จะทำ......ลองศึกษาพื้นที่ไหนก็ได้แล้วเขียนโครงร่างเสนอดูก่อนนะครับเผื่อจะได้ทุนครับ.... 
ขอบคุณอาจารย์พันดาครับ ที่มีส่วนร่วม ....เพียงกระตุ้นให้สังคมชุมชน ทั่วประเทศ ไม่หลงทาง ก็น่าจะทำได้นะครับ เพียงประสานไปที่รัฐบาลขอให้ท่าน ๆ ปรับใช้เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท