สรุป เรื่องการจัดการเรียนรู้


การจัดการเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้  การจัดการเรียนรู้   วันที่     กรกฎาคม  ๒๕๔๙            การเรียนรู้ในวันนี้กลุ่มผู้เรียนได้นำเสนอข้อศึกษาของแต่กลุ่มโดยมีอาจารย์คอยทำหน้าที่ คุณอำนวย  ซึ่งตัวผู้เรียนพอสรุปผลการเรียนรู้ของตนได้ดังนี้          ๑.ได้ศึกษาขบวนการเรียนเกี่ยวกับการนำขบวนการเรียนรู้มาใช้กับวัฒนธรรม แต่ยังไม่เข้าใจการเชื่อมโยงวัฒนธรรมการเรียนรู้กับแหล่งเรียนรู้ได้มากนัก  แต่พอสรุปได้ว่า ขบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเป็นขบวนการเรียนทั้งระดับที่เป็นวัฒนธรรมย่อยเชื่อมโยงไปสู่วัฒนธรรมหลักของสังคม  เรียนรู้จากชีวิตที่เป็นอยู่ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเชื่อมโยงไปหาอดีตและเชื่อมโยงไปสู่อนาคต มองวัฒนธรรมเชิงเปรียบเทียบสองอย่างระหว่างวัฒนธรรมใหม่กับวัฒนธรรมเก่า  ไม่มองกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแบบตายตัวหรือหยุดอยู่กับที่ แต่วัฒนธรรมการเรียนรู้จะมีลักษณะที่เป็นพลวัตอยู่ตลอดเวลาเชื่อมโยงไปกับพัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรมการเรียนจะไม่มีวันสิ้นสุด    เพราะกระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตลอดเวลามีลักษณะที่ยืดหยุ่นไม่เป็นไปลักษณะที่ขัดขืนแต่ไม่ทำลายตัวเอง  ซึ่งพลวัตทางวัฒนธรรมนั้นก็ไม่ทำให้เสียอัตลักษณ์ แต่ยังดำรงจุดแข็งของตนไว้ได้            ๒.  สำหรับบทสรุปจากการอภิปรายตาม mapping แม้จะยังไม่ชัดเจนนักเพราะยังยึดหลักการเรียนรู้ตามหลักทฤษฎี   แต่คิดว่าเมื่อยังไม่ได้ลงสู่พื้นที่การปฏิบัติการจริงการยึดหลักทฤษฎีมันก็ยังจำเป็นที่จะต้องใช้อยู่ดี  แม้จะอภิปรายกันไปแล้วภาพของขบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมเบลอๆไปเพราะทำให้มองไม่เห็น คน  ขบวนการ  และผลที่ชัดเจน          ๓.  ขบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ควรดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่นำมาแลกเปลี่ยนกัน โดยวิธีแสวงหาจุดร่วมขจัดจุดต่าง  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาขบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ จากตัวอย่างที่ได้นำมาศึกษากระบวนการเรียนรู้ได้เริ่มจากกระบวนการ  กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ นำไปสู่การปฏิบัติการ สรุปผลขบวนการเรียนรู้แล้วนำไปสู่การปรับปรุง และนำไปสู่การปฏิบัติใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไม่มีการหยุดนิ่ง  และจากการเรียนในวันนี้ทำให้มองเห็นวัฒนธรรมต่างจากที่เคยมองเห็นวัฒนธรรมในเชิงดิ่งเดียว มาเป็นเห็นวัฒนธรรมในลักษณะที่เป็นองค์รวมอยู่ในทุกส่วนของสังคม          ข้อสังเกตที่ได้จากการศึกษา              -การเรียนแบบไม่ใช้ตำราเรียนเป็นวิธีเรียนของอาจารย์              -ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการศึกษาที่ปรากฏใน mapping ไม่เหมาะกับการนำมาศึกษาทางวัฒนธรรม เนื่องจากวัฒนธรรมีความเกี่ยวเนื่องกับคนมีพลวัตอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดกับที่ควรใช้ทฤษฎีไร้ระบบ              - การมองสังคมเราไม่สามารถมองได้ทุกแง่มุม ทุกอย่างไม่มีความสมบูรณ์และสิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้อหน้ามักจะมีแต่ข้อดีดังตัวอย่างที่ปรากฎใน VCD              - การวิเคราะห์(swot)   SW จุดแข็งและจุดอ่อนควรศึกษาจากปัจจัยภายใน ส่วนot ภัยคุกคามและโอกาส ควรมองจากปัจจัยภายนอก              - ทุนนิยมทางวัฒนธรรมที่แท้จริงคือทุนนิยมทางปัญญาที่มีอยู่ เป็นทุนนิยมเดิมที่ฝังลึกจนตกผลึกทำให้ผู้คนในสังคมมองข้าม กระบวนการเรียนควรดึงทุนนิยมทางวัฒนธรรมมาสู่กระบวนการเรียนร้                        -  KM เป็นขบวนการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติที่กระทำจนเกิดเป็นองค์ความรู้ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก เน้นการนำไปใช้มากกว่ายึดที่ตัวทฤษฎี   กระบวนการเรียนรู้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการแลกเปลี่ยนหรือการแชร์ความรู้กันแล้วประยุกต์นำเอาองค์ความรู้เก่ามาปรับใช้ให้เหมาะกับเทคโนโลยีใหม่                            -ก่อนจบบทเรียนผู้ศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการ AAR   ซึ่ง เป็นเครื่องมือประเมิน การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งเป็นตัวชี้วัดประการหนึ่งที่ใช้ประเมินผู้เรียนแบบทันทีทันใดพระมหาชิต กุมบุรี

  
หมายเลขบันทึก: 38060เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2006 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

KM เป็นขบวนการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติที่กระทำจนเกิดเป็นองค์ความรู้ผ่านกระบวนการลองผิดลองถูก เน้นการนำไปใช้มากกว่ายึดที่ตัวทฤษฎี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท