Monitoring & Evaluation (M&E) ด้วย OM ขั้นตอนที่ 8


ควรจะต้องตรวจสอบดูว่า เป็นข้อมูลที่เราจะสามารถจัดการได้จริงหรือไม่

        ขอทบทวนภาพรวมของกระบวนการทำแผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping)  ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน (ตามแผนภาพ) คือ

        ส่วนที่ 1  การกำหนดกรอบการพัฒนา (ขั้นตอนที่ 1-7)
        ส่วนที่ 2  การติดตามผลลัพธ์ และการดำเนินการ  (ขั้นตอนที่ 8-11)
        ส่วนที่ 3  การวางแผนการประเมินผล (ขั้นตอนที่ 12) 

        คุณอุรพิณ ชูเกาะทวด  ได้วางหมากให้แล้วในส่วนที่ 1  การกำหนดกรอบการพัฒนา อันประกอบด้วย 7 ขั้นย่อย  ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งในการก่อร่างสร้างตัว เนื่องจากเป็๋นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเกิดผลลัพธ์หรือการดำเนินการที่ต้องการ

         อย่างไรก็ดี เมื่อมีรากฐาน โครงสร้าง และการออกแบบที่ดีแล้ว  เราก็ควรจะมีการติดตามการดำเนินงานและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) เป็นระยะ ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และหาทางปรับแก้ได้หากมีข้อผิดเพี้ยนไปบ้าง ตรงนี้น่าจะตรงกับการทำ AAR คือ ทบทวนการทำกิจกรรมระหว่างการทำงาน

         ใน Outcome Mapping ใช้ Monitoring & Evaluation (M&E) เพื่อการติดตามและประเมินผลลัพธ์ของการดำเนินงาน โดยเน้นที่การประเมินเพื่อการพัฒนา มากกว่าการดูที่ผลกระทบ (impact) เพียงอย่างเดียว ซึ่งมักมองเพียงมิติเดียวว่า บวกหรือลบ  ได้หรือตก

         ครานี้ มาสานต่อ ส่วนที่ 1 ด้วย ส่วนที่ 2 การติดตามผลลัพธ์ และการดำเนินการ  (ขั้นตอนที่ 8-11) 

ส่วนที่ 2  การติดตามผลลัพธ์ และการดำเนินการ          

             ส่วนที่ 2  มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 8-11 (8. จัดลำดับการติดตามการทำงาน, 9. แบบบันทึกผลลัพธ์, 10. แบบบันทึกยุทธศาสตร์, 11 แบบบันทึกการดำเนินงาน) 

OM ขั้นตอนที่  8  การจัดลำดับความสำคัญของการติดตามงาน

         เพื่อให้ได้เรียนรู้และติดตามกระบวนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ควรจะจัดลำดับความสำคัญประเด็นที่ต้องการติดตาม คือ

8.1 การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคีหุ้นส่วน 
     (ใช้แบบบันทึกผลลัพธ์ ขั้นตอนที่
9)

8.2 ประสิทธิผลของยุทธศาสตร์ 
     (ใช้แบบบันทึกยุทธศาสตร์ ขั้นตอนที่
10)

8.3 การดำเนินงานขององค์กร 
     (ใช้แบบบันทึกการดำเนินการขององค์กร ขั้นตอนที่
10)

        การติดตามของแผนที่ผลลัพธ์ เกี่ยวข้องกับ

-  การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
-  วงจรของกระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและพัฒนาให้ดีขึ้น
-  สนับสนุนให้แผนงานมีการทบทวนตรวจสอบตัวเอง
-  เก็บรวมรวมและจัดระบบข้อมูล แต่ไม่ต้องวิเคราะห์  

         เพื่อให้การติดตามมีประสิทธิภาพ กลุ่มต้องร่วมกันตัดสินใจว่า มีอะไรที่สามารถติดตาม และจัดลำดับความสำคัญ โดยพิจารณาว่าใครคือผู้ใช้ข้อมูล และด้วยจุดประสงค์อะไร

         ในการจัดลำดับความสำคัญ การติดตามข้อมูล  มาดูว่า เราต้องการข้อมูลเพื่ออะไร

- พัฒนาการปฏิบัติงาน ผ่านกระบวนการเรียนรู้
- สนับสนุนการจัดทำรายงานให้สมบูรณ์มากขึ้น
- สนับสนุนสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประเมินผล - เสนอเอกสารสาธารณะ สื่อสารกิจกรรม หรือ กรณีศึกษา  - สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของภาคีหุ้นส่วน

          ลำดับความสำคัญของสารสนเทศ ขึ้นอยู่กับ

- ระดับของความเสี่ยง ตามยุทธศาสตร์ / แนวทางการดำเนินการ / ภาคีหุ้นส่วน
- ระดับ ซึ่ง ยุทธศาสตร์ / แนวทางการดำเนินการ / ภาคีหุ้นส่วน  เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนงานบรรลุความสำเร็จ
- ระดับของความคิดริเริ่มใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ ยุทธศาสตร์ / แนวทางการดำเนินการ / ภาคีหุ้นส่วน  หรือ
- ถ้า ยุทธศาสตร์ / แนวทางการดำเนินงาน / ภาคีหุ้นส่วน เป็นสิ่งที่แหล่งทุน หรือ พันธมิตร ให้ความสนใจ

          เคล็ดชี้แนะ

          เมื่อได้ลำดับความสำคัญของข้อมูลที่จะต้องติดตามแล้ว   ควรจะต้องตรวจสอบดูว่า เป็นข้อมูลที่เราจะสามารถจัดการได้จริงหรือไม่ ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องคนและงบประมาณ  และสามารถทำให้ข้อมูลดังต่อไปนี้เป็นรูปธรรมได้ เช่น        

- ใครเป็นผู้ใช้ข้อมูล
จุดประสงค์ของการเก็บข้อมูล
ใช้เมื่อไร
ใครเป็นผู้เก็บข้อมูล
ความถี่ในการเก็บข้อมูล
วิธีการเก็บข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้

         ครั้งหน้า จะพาไปดู OM ขั้นตอนที่ 9 นะคะ

คำสำคัญ (Tags): #expression#limelight#outcome_mapping
หมายเลขบันทึก: 92542เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท