ระหว่าง "ผู้นำ" กับ "ผู้บริหาร" ใครคือตัวจริงในการทำ KM


สงสัยไหมว่า เหตุใด.. คนเก่งจริง บุคคลอัจฉริยะ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มักจะไม่มักใหญ่ใฝ่ตำแหน่ง

ระหว่าง "ผู้นำ" กับ "ผู้บริหาร" ใครคือตัวจริงในการทำ KM

           ก็ได้โหนแนวคิดไปกับบทความของ ดร. วัลลภ ปิยะมโนธรรม นักจิตวิทยาระดับแนวหน้า อีกครั้งหนึ่งคือ

           เรื่องของการมีคุณสมบัติของ "ผู้นำ" กับ "ผู้บริหาร"  อยากรู้ว่า -ใครคือตัวจริง- ในการทำ KM หรือการทำงานในลักษณะอื่น

 

           ใครที่ไม่คบคนอื่นด้วย โลภนิยม หรือ ตะกละนิยม จะเป็นคนที่คนอื่นมาซื้อตัว ซื้อใจ ซื้อความเป็นตัวตนของตนได้ยาก หรือซื้อไม่ได้  แล้วคนอื่นก็ไม่กล้าคิดมาหลอกลวง มาสอพลอ หรือเอาอะไรมาล่อ

           นี่แหละ ความเป็น "ผู้นำ" ที่ฝังอยู่ในบุคลิกของเขา ที่กอปรด้วย จิตวิญญาณนิยม  หากเทียบกับผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหาร จะต่างหรือเหมือนกันตรงไหนบ้าง

           ความเป็น "ผู้นำ" จะสัมผัสได้จากการ
                 *  มีเอกลักษณ์หนั่นแน่น
                 *  มีวิสัยทัศน์กวาง ไกล กลม 
                 *  มีความคิดสร้างสรรค์
                 *  ชอบทดลองทำสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ
                 *  มีความยืดหยุ่นในตัวสูง
                 *  กล้าที่ตัดสินใจได้อย่างเด็ดขาด

            (ลองสังเกตดูบุคคลใกล้ตัวท่าน ไม่น่าจะยากเกินกว่าจะสัมผัสได้  หากหาไม่เจอ ลองแวะเวียนมาที่ สคส. รับรองพบตัวจริงเสียงจริง เป็นตัวอย่างให้เห็นค่ะ)

             คราวนี้มาลองดูผู้บริหารกันบ้าง  ว่ารู้สึกอย่างไร นั่นคือ "ผู้บริหาร"
                   -  พึงใจที่จะคิดวิเคราะห์ผลลัพธ์ทุกอย่างก่อนจะทำ
                   -  แล้วต้องรอบคอบด้วยการเขียนแผนออกมาเป็นรูปธรรม ซึ่งต้องมีทั้งรูปแบบโครงสร้าง ที่เป็นระบบ ระเบียบ ควบคุมได้ ตรวจสอบได้ ประเมินได้
               (โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง ..ลองสังเกตดูบุคคลใกล้ตัวท่าน ไม่น่าจะยากเกินกว่าจะสัมผัสได้..) 
 
             ดังนั้น สงสัยกันไหมว่า  เหตุใด... คนเก่งจริง บุคคลอัจฉริยะ คนที่มีความคิดสร้างสรรค์  มักจะไม่ขึ้นมาเป็นหัวหน้างาน หรือเป็นฝ่ายบริหารในองค์กร หรือไขว่คว้าหาตำแหน่ง (พย้ามพยามทุกวิถีทางที่จะต้องได้ตำแหน่งมา กอดขาเก้าอี้ไว้ ซึ่งในที่สุดก็ต้องจากเก้าอี้ไปอยู่ดี  ทำนองสมบัติผลัดกันชม)

             ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากผู้ที่มีบุคลิก "ผู้นำ" ไม่บริโภคอำนาจนิยม หวังผลประโยชน์ หรืออยากเด่น อยากดัง  ไม่คิดประจบสอพลอใคร  ไม่อยู่ในกรอบ/เกราะ หรือกฎเกณฑ์ของใคร เลยไม่คิดจะเป็นใหญ่เป็นโตเพื่อบงการใครต่อใคร  นอกจากความมีสติปัญญา และวิสัยทัศน์ที่อยู่ในตัวเอง
 
             ผู้บริหารที่ฉลาด จึงมักรู้จักเชิญคนที่มีวุฒิภาวะผู้นำมาเป็นที่ปรึกษา หรือที่เรียกว่า กุนซือ นั่นเอง

             ตำแหน่งที่ผู้นำได้ จึงมักมาจากการเชื้อเชิญ ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขันกับใคร (เพชรก็คือเพชรอยู่ดี)

             หากเราด้อยสิทธิของความเป็น "ผู้นำ" น่าจะลองเป็น "ผู้บริหารที่ฉลาด" หากกุนซือประจำตัวไว้บ้าง น่าจะดี

             คำว่า "วิสัยทัศน์" ที่พูดกันอยู่โครม ๆ ตีความได้อย่างไร  ให้เวลาไปคิดกันก่อน แล้วค่อยมาแลกเปลี่ยนกันครั้งหน้า

คำสำคัญ (Tags): #expression#แนวคิดดีๆ
หมายเลขบันทึก: 66127เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ คุณสุปราณี (แกบ) จริยะพร
  • ผู้ที่รู้จักนำ และผู้ที่รู้จักบริหาร น่าจะเป็นตัวจริงในการทำ KM
  • การนำและการบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า แต่ถ้าเรารู้จักตัวเรา เราก็จะรู้ว่าเรานั้นคือตัวจริงในการทำ KM

ขอบคุณค่ะคุณปภังกร เข้าใจว่า คุณปภังกรเข้าใจและกำลังปฏิบัติอยู่ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ ร่วม ลปรร.ด้วยกันบนฐานการปฏิบัติจริง น่าจะเป็นประโยชน์ร่วมกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท