คณิตศาสตร์การเงิน: ทำไมการลงทุนจึงมีความเสี่ยงและควรมีระยะเวลาที่ยาวนาน ... อธิบายโดยการทำ stochastic simulation


ตำราสอนว่า ตลาดฉลาดกว่าคน ดังนั้น ไม่ควรคิดจะเอาชนะตลาดเสียให้ยาก และตลาดมีความเสี่ยง จึงควรลงทุนโดยถือยาว

ฟังง่าย แต่เข้าใจยาก <p>และมีการถกเถียงทางวิชาการตลอดหลายสิบปีนี้มากมาย ซึ่งเหตุผลก็น่าฟังทั้งสองฟาก คือฟากเห็นด้วย และฟากไม่เห็นด้วย</p><p>ฟากที่เห็นด้วย เชื่อว่า ราคา เคลื่อนไหวเหมือนคนเมาหมัด เรียกว่า random walk</p><p>random walk นี้ เคยเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของไอน์สไตน์มาแล้ว  ซึ่งเขาหยิบยกแนวคิดว่า โมเลกุลถ้ามีจริง ก็น่าจะเคลื่อนไหวแบบนี้แหละ เหมือนที่บราวเนียนเคยอธิบายเศษอนุภาคขณะส่องกล้องจุลทัศน์ดูหยดน้ำครำว่า เคลื่อนที่สะเปะสะปะ ไปหน้ามั่ง ถอยหลังมั่ง </p><p>ซึ่งผลจากการที่เขาใช้วิทยายุทธ “ไอ้หนุ่มเมาหมัด” นี้ ทำให้นักเคมียุคนั้น เริ่มเห็นด้วยกับแนวคิดเกี่ยวกับโมเลกุล (ร้อยห้าสิบปีก่อน แนวคิดเรื่องโมเลกุลยังไม่เกิด มาเกิดก่อนงานของไอน์สไตน์ไม่นาน) </p><p>ทำให้นักเคมีนำแนวคิดนี้ไปประมาณน้ำหนักโมเลกุลในยุคแรก ๆ ได้ </p><p>การเคลื่อนไหวแบบ random walk สามารถเขียนสมการอธิบายการเคลื่อนไหวแต่ละก้าวได้ดังนี้</p><p>S ~N(mean, sd)</p><p>เครื่องหมาย ~ N คือ แจกแจงแบบ normal distribution โดยมีค่าเฉลี่ยและ standard deviation ตามที่ระบุไว้ข้างท้าย (ปรกติเขาใช้ variance แต่ผมกลัวจะงง ขอใช้ sd แทน)</p><p>ค่ายที่เชื่อว่าตลาดแสนรู้กว่าคน เรียก ตลาดมีประสิทธิภาพ บอกว่า ราคาหลักทรัพย์ที่ผันผวน การผันผวนดังกล่าว ก็เหมือนก้าวย่างแบบ random walk นั่นเอง แต่เป็น random walk ในมิติเดียว คือ มิติของราคา</p><p>ดังนั้น ผมจึงลองใช้กระดาษทดอิเล็กทรอนิกส์ สร้างตัวอย่างของความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ใส่ไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยหลักทรัพย์ที่ว่า เลียนแบบ กองทุนประเภท Index Fund ซึ่งมูลค่าเคลื่อนตามตลาดแบบก้าวต่อก้าว ซึ่งหากตลาดเคลื่อนไหวแบบ random walk เราก็จะได้เห็นกัน</p><p>ทั้งนี้ ผมใช้สูตรอธิบายการผันผวนดังกล่าวดังนี้</p><p>S ~N(0.00048, 0.018)  (S ใช้หน่วยหน่วย ต่อวัน) </p><p>(หมายถึงราคาหลักทรัพย์ควรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 0.048 % ต่อวัน โดยมีความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ที่ 1.8 % ซึ่งเป็นข้อมูลที่อธิบายตลาดทุนไทยได้ดีตั้งแต่ต้นปี 2000 - ปัจจุบัน) ลองมาดูว่า ถ้าเกิดแบบนี้ในโลกคู่ขนานพร้อม ๆ กันหลายโลก จะเห็นผลการลงทุนเป็นอย่างไรบ่้าง</p><p>ทั้งนี้ แทนที่จะใช้ normal scale ผมก็ปรับใช้ log normal scale แทน เพื่อให้ไม่มีปัญหาเรื่องมูลค่าสินทรัพย์ติดลบเกิดขึ้น แต่ในกรณีทั่วไป ไม่ว่าใช้สเกลไหน ก็ไม่ต่างกันมาก</p><p>การจำลองอย่างที่ผมสาธิตให้ดูนี้ เป็นการทำ stochastic simulation ครับ คือต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้เราเห็นความเป็นไปได้รูปแบบต่าง ๆ </p><p>เตือนไว้ก่อนว่า การคำนวณอาจจะช้า ขึ้นกับสมรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย และแฟ้มค่อนข้างใหญ่มาก ผมจึงต้องบีบอัดไว้ก่อนด้วยอีกชั้นหนึ่ง ต้องขออภัยในความไม่สะดวกไว้ ณ ที่นี้ </p><p>สำหรับท่านที่ไม่อยากเปิดแฟ้มดังกล่าว ผมลองดึงกราฟกรณีหนึ่งมา แต่ละเส้นคือความเป็นไปได้หนึ่งแบบ </p><p>simulation of index fund </p><p> </p><p>จากกราฟในแฟ้มดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง เอาแน่ไม่ได้ แม้ในระยะยาวจะให้ผลค่อนข้างดี แต่ระยะสั้น มักจะต้องผ่านการขาดทุนเกือบทุกราย</p><p>อาจอธิบายว่าตลาดโตปีละนิดเดียวเมื่อเทียบกับความผันผวน จนดูระยะสั้น เกือบเหมือนการโยนหัวก้อย แต่เหรียญที่โยน มีความลำเอียงไปด้านบวกนิดหน่อย ก็จะขึ้นหัวบ่อยกว่านิดหน่อยด้วย ดังนั้น เข้าไปใหม่ ๆ ก็มีโอกาสแบบ 50-50 ที่จะขาดทุนทันทีแบบแน่นอน (ดังนั้น ใครที่มีหลักว่า ทนดูการขาดทุนไม่ได้เลยแม้แต่วันเดียว จึงไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการลงทุนใตตลาดหุ้นเลยอย่างสิ้นเชิง) แต่เมื่ออยู่ไปนาน ๆ แนวโน้มที่แท้จริงก็จะแสดงออกมาชัดจนถึงจุดที่ความผันผวนก็กลบซ่อนไว้ไม่ได้ </p><p>ในระยะยาว อัตราการเติบโตของประเทศ จะค่อย ๆ ลากมูลค่าการลงทุนให้หลุดจากปลักตมได้ แต่ก็ต้องใช้เวลา เช่น 1 ปี ไปจนถึงหลาย ๆ ปี เช่น 5 ปี หรือกว่านั้นก็ได้ (ซึ่งเป็นกรณีหายาก ที่จะขาดทุนเรื้อรังแบบนั้น แต่ก็มีอยู่)</p><p>ดังนั้น ใครคิดลงทุน จึงควรมีระยะเวลาว่า ลู่เวลาควรยาวนานหลักสิบปีขึ้นไป และต้องเตรียมใจว่า ผลตอบแทนระยะสั้น อาจจะต่ำมากผิดคาด หรือถึงขั้นขาดทุน</p><p>แนวคิดข้างต้น คือการเกาะติดตลาดแบบเหมารวม ซึ่งหากเป็นกลุ่มหุ้นที่คัดเลือกโดยกฎเกณฑ์อื่น ก็จะได้อัตราการเติบโตที่ต่างออกไปด้วย แต่ก็แน่นอนว่า ความผันผวน ก็จะต่างออกไปด้วย</p>จากตัวอย่างที่ยกมา คงทำให้เราพอจะนึกออกว่า<ul>

  • ทำไมการลงทุนมีความเสี่ยง
  • ทำไมการลงทุนต้องถือยาว
  • ทำไมการเก็งกำไรรายวันจึงเหมือนการพนันแบบโยนหัว-ก้อย แต่การลงทุนระยะยาวจึงให้ผลที่มั่นคงกว่า
  • ใครคิดจะลงทุนเพื่อการเกษียณ ต้องมีลู่เวลาที่ยาวนาน อย่างน้อย 20 ปี จึงจะเห็นผลได้ชัดเจน 
  • </ul><p>จากการจำลองสถานการณ์นี้ จะเห็นได้ว่า นโยบายภาษีที่รัฐออกมาเกี่ยวกับ LTF และ RMF นั้น เงื่อนเวลายิ่งบังคับให้ลงทุนนาน จะทำให้ความปลอดภัยการลงทุนสูงตาม อีกทั้งการหักลดหย่อนภาษีให้ตั้งแต่ต้น ก็ทำให้เสมือนซื้อได้ถูกกว่าปรกติ ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนระยะยาวเพิ่มขึ้นอีกเท่ากับส่วนลดนั้น</p><p>กรณีนี้ จึงเป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่ชี้ให้เราเห็นว่า เครื่องมือเดียวกัน ใช้ทางบวก ก็ได้ (ลงทุนเพื่อการเกษียณ) ใช้ทางลบ ก็ได้ (การพนันแบบปั่นแปะอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) </p><p>ดีหรือเลว ขึ้นกับการเลือกของคนจะว่าให้เป็นไปในทางใด</p><p> </p><p> </p>

    หมายเลขบันทึก: 108034เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2007 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท