เมื่อสิ่งที่เราเห็น ไม่ใช่ความจริง


วันก่อนฟังข่าวโทรทัศน์ ได้ยินว่าไทยจะกวดขัดเรื่องถ่านไฟฉายจากจีน เพราะมีผู้ร้องเรียนเรื่องคุณภาพต่ำ ใช้ได้ไม่กี่นาทีก็หมด และมีการทดลองพิสูจน์ว่า ถ่านแช่น้ำแล้ว แม้ปลาหางนกยูง ยังตาย (อ่านข่าว )

สะดุดหูตรงที่ว่า มีการกล่าวถึงว่า เนื้อแท้แล้ว  นี่เป็นวิธีกำจัดขยะพิษวิธีหนึ่ง

เมื่อถ่านไฟฉายไม่ใช่ถ่านไฟฉาย แต่ถ่านไฟฉายคือกระบวนการกำจัดขยะพิษระดับประเทศ ก็จะเป็นวิธีที่แปลงขยะพิษเป็นเงินที่น่ากลัวเกินไปแล้ว

เพราะจะเป็นขยะที่ฝ่ายรับ เต็มใจรับไปเอง แถมจ่ายเงินซื้อด้วยอีกต่างหาก

ไม่ต้องยัดเยียด ไม่ต้องแกล้งส่งไปซ่อนตามโกดังตามท่าเรือ ไม่ต้องส่งไปกับเรือตระเวนหาที่ทิ้ง ไม่ต้องแอบไปฝังตามชายหาดประเทศอื่น โดยไม่มีเจ้าของเหมือนที่ประเทศด้อยพัฒนาเคยโดนมาตลอดหลายสิบปีนี้ 

(กรณีซึนามิ มีการพบขยะพิษที่ชายหาดอาฟริกาที่คาดว่าคงมีประเทศอุตสาหกรรมไปแอบฝังไว้)

ลองใช้ google ค้น ถ่านไฟฉาย จีน มาตรฐาน ขยะ พิษ ก็จะเจอข่าวย้อนหลังเรื่องนี้อย่างละเอียด ซึ่งดูเหมือนว่า มีการพูดถึงกันมากพอสมควร

แต่ ถ่านไฟฉายคุณภาพต่ำ = ระบบกำจัดขยะพิษ ไม่ใช่กรณีเดียวของการที่ เมื่อสิ่งที่เราเห็น ไม่ใช่ความจริง

 

P
พูดถึงยาจริง ที่ปลอมมาจริง ๆ โดยไม่ต้องซ่อนขยะพิษข้างใน ซึ่งก็อันตรายไม่แพ้กัน

 

P
พูดถึงเรื่องภาพถ่ายที่เห็นจริง ๆ ที่เกิดจากหลักฟิสิกส์ แต่ไม่ใช่จตุคาม 
 
พูดถึงการยัดไส้ศาสนาเข้าไปในชีววิทยา
 
นั่นเป็นเพียงตัวอย่าง
 
ตลอดหลายปีมานี้ ข่าวการเมือง ก็ดูเหมือนจะอนุโลมเข้าข่ายนี้ได้เหมือนกัน เพราะถ้าอ่านข่าวเดี่ยว ๆ จะเห็นอย่างหนึ่ง แต่ถ้าอ่านหลายข่าวย้อนหลังพร้อมกัน ก็จะเห็นอีกอย่างหนึ่ง
 
คำสำคัญ (Tags): #มุมมอง
หมายเลขบันทึก: 105943เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2007 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท