แหลงใต้วันละคำ (15) : แหลงจากภาพ แหลงว่าพรือ....


ลองเรียกกันดูนะครับ ว่าท่านเรียกว่าอะไรบ้างครับ แล้วลองแต่งประโยคเป็นภาษาท้องถิ่นที่ท่านใช้ประโยชน์จาก ส่วนต่างๆ ของพืชชนิดนี้ด้วยก็จะดีมากๆ นะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

          ลานคำใต้วันนี้ขอเปลี่ยนแนวการนำเสนอจากทั่วๆ ไปมาเป็นการนำเสนอภาพนะครับ แล้วให้ท่านเรียกชื่อ สิ่งที่เห็นนี้เป็นภาษาพื้นบ้านของท่าน ที่ท่านรู้จักนะครับ

     

ที่มา http://www.cashewyjuice.com/th_cashew_apple.htm

มะม่วงหิมพานต์ ::

 

วงศ์ :  
Anacardiaceae
พันธุ์ :  
Anacardium
กลุ่ม :  
Occidentale
ชื่อพื้นเมือง :  
Cashew, Cashew Apple, Cajueiro, Cashu, Acajoiba, Acaju, Cajou, Jocote, Maranon Pomme Cajou
   

ลองเรียกกันดูนะครับ ว่าท่านเรียกว่าอะไรบ้างครับ แล้วลองแต่งประโยคเป็นภาษาท้องถิ่นที่ท่านใช้ประโยชน์จาก ส่วนต่างๆ ของพืชชนิดนี้ด้วยก็จะดีมากๆ นะครับ

ขอบคุณมากๆนะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 92092เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 03:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อ.สมพร น้องเม้ง ครับ

              ขอชมก่อนว่าไอเดียนำเสนอลานคำใต้ แหลงใต้วันละคำ แหลงใต้จากภาพ สุดยอดมาก สุดยอดราสา

              ยอดหัวครกแหละ.....หนอหนมจีนกินหรอย...

             เม็ดหัวครก ....เม็ดท้ายล่อ...เม็ดกาหยู  เม็ดยาหมู

             เหลือไว้คนเอินเติมมั่ง

             ได้แรงอก.....วันนี้ต้องหาหนมจีนกินสักอิ่ม

ตอนอยู่คอน (ท่าศาลา)  เรียกว่า  "ยาร่วง"   เช่น   คั่วเม็ดยาร่วง  ยอดยาร่วงเหนาะกับหนมจีน    เด็กๆก้อเล่นขว้างราวเม็ดยาร่วง  อย่างนี้เป็นต้น

พอมากระบี่  แถวๆอ่าวลึก  เขาเรียก  ""ลูกยาโห้ย"

P

สวัสดีครับคุณครูนง

  • ขอบคุณมากครับ
  • แบบว่าเปลี่ยนแนวทางจาก เรื่อง ยกคำมาทื่อๆ เพลง ให้มาเป็นแหลงจากสิ่งที่เห็นบ้างครับ
  • เสียอย่างเดียวครับ ที่เนทยังไปไม่ถึงคือ แหลงใต้จากกลิ่น....เว้นแต่ว่าจะทำให้จินตนาการเองครับ เพราะว่ายังไม่มี ตัวพ่นกลิ่นขายที่ติดผ่านคอมพ์ ห้าๆๆ
  • ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับคำที่ใช้เรียกภาพมะม่วงหิมพานต์นะครับ


  •               ยอดหัวครกแหละ.....หนอหนมจีนกินหรอย...

                 เม็ดหัวครก ....เม็ดท้ายล่อ...เม็ดกาหยู  เม็ดยาหมู

                 

  • ห้าๆๆ ยังมีคำอื่นอีกไหมครับ.........เชิญต่อเลยครับผม ภาคอื่นๆ ด้วยนะครับ.....ไม่เว้นถึงต่างประเทศด้วยครับ ภาษาเขมร ลาว เวียดนาม อีสาน เหนือ พม่า มาเลย์ อินโด และโซออน เรียกว่าอะไรครับ

  • ขอบคุณมากครับ

P

สวัสดีครับพี่ธวัช

  • ขอบคุณมากครับพี่
  • ย่าร่วง  ลูกยาโห้ย


    ตอนอยู่คอน (ท่าศาลา)  เรียกว่า  "ยาร่วง"   เช่น   คั่วเม็ดยาร่วง  ยอดยาร่วงเหนาะกับหนมจีน    เด็กๆก้อเล่นขว้างราวเม็ดยาร่วง  อย่างนี้เป็นต้น

    พอมากระบี่  แถวๆอ่าวลึก  เขาเรียก  ""ลูกยาโห้ย"

  • ตัวอย่างของพี่ทำให้ผมนึกถึงกิจกรรมของ ย่าร่วง เลยครับ ตอนเด็กๆ นี่ผมก็ยอดขว้างราวเม็ดยาร่วงเลยหล่ะครับ ราวอยู่ไกล ซักยี่สิบกว่าเมตรครับ ทำราวใหญ่ๆ ขว้างด้วยหินบ้างหล่ะ หรือหาเม็ดยาร่วงใหญ่ๆ บ้างหล่ะ หนุกจริงๆครับ

  • ใครจะนำเสนอกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มเติมก็ได้นะครับ ที่เกี่ยวกับ ย่าร่วง ลูกยาโห้ย

  • แต่ว่าอย่าให้ยางเม็ดยาร่วงเข้าตานะครับ หรือโดยผิวหนังนะครับ รับรองได้แผลเลยครับ

  • ขอบคุณมากครับ

หิดล่าวน้องบ่าวเหอ

      โบ๊งหัวครก ครับพี่น้อง 

P

สวัสดีครับพี่บ่าว

  • อิๆๆ ใช่ครับ คำนี้แถวบ้านก็ใช้ครับผม
  • ยังมีอีกครับ ลองดูครับ ว่ามีคำอื่นอีกไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ภาคเหนือไม่ค่อยมีครับ ไม่รู้จอแถวบ้านเรียกว่าอะไรหน้อ

P

สวัสดีครับน้องเดอ

  • สบายดีไหมครับผม
  • ไม่เป็นไรครับ หากเอาไว้แจมเวลาลงใต้หรือพบเห็นที่อื่นครับ สนุกดีครับแบบเรียกกันแตกต่างกัน ตามสถานที่ต่างๆ กันครับ
  • ขอบคุณมากครับ
มะม่วงหิมพานกินกับขนมจีนเหรอคะ น่าอร่อยเนอะ
P

สวัสดีครับคุณใบบุญ

  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมครับ
  • นั่งจิบชาก่อนครับ
  • ใช่ครับผม ยอดมะม่วงหิมพานต์ กินกับขนมจีนนะครับ ตอนที่เด็ดยอดมานะครับ จะมียางไหลออกจากยอดที่รอยหักครับ ให้ล้างออกก่อนก็ได้ครับ แล้วก็กินเป็นผักคู่เคียงครับ จริงๆ ก็กินกับข้าวก็ได้เช่นกันครับ นอกจากจะเป็นขนมจีนนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ...คุณเม้ง

เข้าตามมาแล้วครับ...

  • รูปที่ 1 บ้านเราเรียกว่า "ยอดยาร่วง" ประโยชน์ใช้สอย  คนแถวนครศรีฯใช้ทำ "ผักเหนาะ" ถ้าเป็นคนแถว พังงา  จะใช้ทำ "ผักเกล็ด" แต่ถ้าคนกรุงเทพฯเขาเรียกว่า "ผักแนม"
  • รูปที่ 2 มีทั้ง "ขลุดโหม่งหัวครก" คำว่า "ขลุด" เป็นคำที่แทนคำว่า "เอียด" "นุ้ย" "เท่าหีด" "เท่าแยด" ส่วนน้ีกินไม่ได้  แต่ส่วนที่เป็น "ดอกอ่อน" ยำกินหรอย...
  • รูปที่ 3 อันน้ี เรียกว่า "เล็ดท้ายล่อ" กำลัง "พอง" เต็มที่สีแดงสด ส่วนผล ผ่าแล้วจิ้มเกลือ หรอยมาก ส่วน "เล็ด" ตากให้แห้ง แล้วพามาคั่ว เสร็จแล้วตอย เอาแต่เยื่อใน มากิน ทั้งหรอยทั้งมัน... และนี่คือเรื่องราวของนิทาน... ตำนาน"ลูกแล็ดยาร่วง" หรือ "แล็ดท้ายล่อ"

เรื่องมีอยู่ว่า...สมัยที่พระร่วงครองเมืองสุโขทัยและ ได้เสด็็จประพาสหัวเมืองทางตอนใต้ลุมาถึงเมืองนครศรี ธรรมราชพร้อมด้วยพระมเหสี  ได้มีชาวบ้านออกมา รับเสด็จมากมาย  มีชาวบ้านคนหนึ่งได้นำผลไม้ ขึ้นทูลเกล้าถวาย เป็นผลไม้ที่มีสีสวยงาม มีทั้งสี ีเหลือง  สีแดง  พระมเหสีเห็นแล้วทรงอยากที่จะเสวย แต่ไม่มีมีด ปอก  พระมเหสีก็กัดผลไม้นั้น  "ภาษาบ้านเราคือ "คล็อด" และไปกัดโดน เมล็ด ของผล ไม้ซึ่งมียาง ที่ทำให้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผล  พระร่วงทรงพระพิโรธ  และด้วย วาจาสิทธ์ ของพระร่วงได้สาปผลไม้ชนิดนั้น ให้เมล็ดออกมาอยู่ข้างนอก ด้วยเห็นว่ายาง ในเมล็ดของผลไม้นั้นมีอันตราย ผลไม้นั้นจึงปรากฎ เมล็ดอยู่ข้างนอกตั้งแต่บัดนั้นแล... ชาวบ้านก็เลยตั้งชื่อผลไม้นั้นว่า "ลูกแล็ดยาร่วง" หรือ บ้างก็เรียกว่า "ลูกแล็ดท้ายล่อ" ครับ...

ถึงจะยาวไปนิด...อ่านแล้วจะติดใจ...555 

P

สวัสดีครับคุณครู

สุดหย๊อด จริงๆ เลยครับ ได้รื้อศัพท์เกี่ยวกับ เม็ดยาร่วง กันเลยครับ วันหน้าต้องเอาต้นยาร่วงมาด้วยครับ

ต้องกราบขอบพระคุณนะครับสำหรับเรื่องเล่าที่ดีๆ แบบนี้ครับ

ผมอยากฟังเรื่อง กุ้งขี้ขึ้นหัว ด้วยครับ

สำหรับที่มาของเม็ดเล็ดล่อ อีกเรื่องหนึ่งไว้ผมไปถามคุณพ่อก่อนนะครับ เพื่อยืนยันให้เรื่องเล่ามันแน่ชัดขึ้นอีกนิดหนึ่งครับ

แล้วจะเอามาบอกกันครับ

ต้นยาร่วง เมื่อก่อนกลางคืนผมชอบไปโหลกแมงพลัด เอามาขั้วกินหรอยเลยครับ คุณครูเคยกินแมงพลัดขั้วเกลือไหมครับ

ขอบคุณมากครับ

เรียน...คุณเม้ง...

  • คั่วแมงพลัด...ชอบมากแหละค้า...
  • ถ้าให้หรอยต้องเอาตัวที่ไขเต็มพุง
  • จุดไฟคบทางพร้าว และขึ้นห่ม ตามต้นยาร่วง หรือว่า ต้นเนียง  จังหูเลย..
  • ลวกน้ำร้อน เด็ดปีก เด็ดหัว ท๊อกขี้ออก แล้วค่อยคั่ว
  • หรอย....อย่าบอกใคร น้องเม้งเหอ...
  • นิทานกุ้งขี้ขึ้นหัว...เดี๊ยวค่อยล่าวให้ควัง...
P

สวัสดีครับคุณครู

หนุกจังครับ คุณครูพูดทำให้ผมนึกถึงอดีตครับ กลางคืนก็หาทางพร้าว มัดรวบกันแล้วไปจุดไฟคบ หรอยๆ จริงๆ แต่ยังไม่เคยกินแบบคั่วหลังจากลวกน้ำร้อนครับ คั่วหัวทิหรือครับ หรือว่าคั่วแบบไหนครับ

ผมเคยกินแต่คั่วเกลือครับ

ขอบคุณมากครับ แล้วจะรอฟังเรื่องกุ้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท