Task ที่ 1 เอดส์ : ก้าวต่อไปในยุคเศรษฐกิจพอเพียง


การป้องกัน และการรักษา

สวัสดีค่ะ จากที่เกริ่นนำและเตือนตัวเองไว้แล้วใน blog ก่อนว่าจะต้องเล่าแต่ละ task ที่ประสบผลสำเร็จ  รวมทั้งtask ที่ไม่สำเร็จของการไปเป็นสาวกรุงฯครั้งนี้ด้วยนะคะ

วันนี้ขอเล่า task แรกค่ะ

Task ที่ 1  เอดส์ : ก้าวต่อไปในยุคเศรษฐกิจพอเพียง

งานนี้เป็นงานสัมมนาระดับชาติ ว่าด้วยเรื่องเอดส์  ครั้งที่ 11 แล้วค่ะ

ดิฉันเองก็เพิ่งได้ร่วมด้วยในครั้งนี้  เพราะว่างานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์นั้น  เปลี่ยนผู้ปฏิบัติงานอยู่บ่อยครั้ง  ( สลับกัน ระหว่างกลุ่มงานกิจกรรมและกลุ่มงานสวัสดิการ ) อิอิ  แต่ดิฉันจะได้รับมอบหมายให้ทำอยู่เสมอ  เนื่องจากว่า  เป็น พยาบาลวิชาชีพ คนเดียวของกองกิจการนิสิต ค่ะ

งานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ในระดับสถาบันอุดมศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เดิมทีนั้น ทางต้นสังกัดคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา( สกอ. ) เป็นเจ้าภาพค่ะ  ดิฉันต้องเขียนโครงการและรับงบประมาณต่างๆจาก สกอ.  แต่จากการประชุมร่วมกับเครือข่ายป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดมหาสารคาม  เมื่อปีที่แล้ว ( ตามคำสั่งอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ของจังหวัด )  ทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า  ต่อไปเมื่อเป็นผู้ว่าราชการ CEO เราจะบูรณาการงบประมาณเกี่ยวกับโรคเอดส์เป็นก้อนเดียวกันหมด  แต่จนเดี๋ยวนี้  ดิฉันก็ยังไม่ได้รับแจ้งจาก ต้นทาง  ทางใดว่าให้เขียนโครงการฯส่งขอที่ไหน  ( ปกติ ทางสกอ.จะมีหนังสือแจ้งเวียนมาให้เขียนโครงการฯของบฯค่ะ  แต่ปีนี้ยังเงียบๆ  ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะบางปีก็จะเงียบๆแบบนี้ )

Aids11

แต่จากงานสัมมนาเอดส์ชาติ ครั้งที่ 11 นี้  เห็นได้ว่า  ทางผู้จัดการสัมมนา เน้นไปด้านของการป้องกันและการอยู่ร่วมกันได้ในสังคม   เห็นได้จาก  ชื่อ topic เลยค่ะ เอดส์ : ก้าวต่อไปในยุคเศรษฐกิจพอเพียง   ซึ่งก็พูดกันมากถึง ค่าใช้จ่ายต่อหัว ในการป้องกัน และการรักษา  ซึ่งแตกต่างกันมาก

  การป้องกัน    คือ  การป้องกันผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้นครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่  เยาวชน  เราก็พูดกันถึง การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย   และสุขภาวะอนามัยสตรีวัยเจริญพันธ์   

การใช้ถุงยางอนามัย  มีการนำเสนอออกบูธของบริษัท 

และการเข้าถึงถุงยางอนามัย  นำเสนอเกี่ยวกับตู้ถุงยางอนามัยหยอดเหรียญ

แนวการป้องกันของชายรักชาย  แนวทางการป้องกันของผู้ใช้สารเสพติด

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ส่วน   การรักษา   คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ  ก็พูดกันถึงเรื่องของการพยายามควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาต้านไวรัสเอดส์ให้อยู่ในฐานะที่ประเทศไทย  สามารถรับภาระได้</p><p>                สิทธิเหนือสิทธิบัตร ( Compulsory Licensing หรือ CL ) ยา " เอฟฟาไวเรนซ์ ยาคาเลตรา " ซึ่งใช้เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวี และยา " พลาวิกส์ " ที่ใช้รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด</p><p>                 การอยู่ร่วมกันในสังคม  การดูแลเด็กที่ติดเชื้อจากพ่อแม่ </p><p>แล้วจะมาเล่าต่อนะคะ  </p>

คำสำคัญ (Tags): #dss@msu#msu-km#เอดส์
หมายเลขบันทึก: 110134เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น้องหนิงเปลี่ยนรูปอีกแล้ว มา กทม.ก็ไม่บอกกันเลยนะคะ

คนเก่ง ความสามารถเยอะ ต้องทำงานมากอย่างนี้แหละคะ ทำทุกอย่างเลย เหนื่อยไหมคะ

  • ขอบพระคุณค่ะพี่ส้ม  ไม่เก่งอะไรหรอกค่ะ  แต่อยากทำเท่าที่สามารถทำได้  ซึ่งทำแล้วมีประโยชน์ค่ะพี่
  • ส่วนรูป  อิอิ  มีคนบอกว่าถ่ายรูปนี้ (ที่มสธ วันที่3 กค 50 )  ดูแล้วเหมือนจะผอมลง  อิอิ เลยเอามาเปลี่ยนซะเลย
  • หนิงไปกทม.บ่อยค่ะพี่ส้ม  เดี๋ยวคราวหน้าจะไป F2F กับพี่ส้มดีกว่า  อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท