เรื่องเล่าจากดงหลวง 55 สืบสาน ถักทอ สายใยใจ


ก่อนที่เด็กจะได้รับการแจกขนมนั้น ก็เข้าร่วมรับฟังคำกล่าวแสดงความเคารพต่อเจ้าที่ การแสดงกิริยามารยาทต่อเจ้าที่ เช่นนั่งลง ไม่ยืน การยกมือไหว้ หรือการพูดเชื้อเชิญเจ้าปู่มากินของเซ่นไหว้นั้น มันได้เข้าไปอยู่ในสำนึกของเด็กโดยอัตโนมัติ โดยไม่ใช่การบอกกล่าว หรืออ่านตามหนังสือในห้องเรียน แต่มีส่วนร่วมในพิธีปฏิบัติจริง

เจ้ามเหศักดิ์ หลักคุณ เจ้าที่เจ้าฐาน  เจ้าละวงศ์คงเขต เจ้าภูค้อผาแดง ผาลับผาเปือย …. เหล่าแม่นาง ยางสามต้น อ้นสามขวย ……. ผาเมือง ภูป่าซาน ด่านแต้ ภูหลักทอดยอดยัง ทางใต้หลี่ผี  ทางเหนือผาไดผาด่าง ทางปีกข้างอยุธยา ไม้หนึ่งแดนแกว  นี่เป็นบางส่วนของเสียงพ่อเฒ่าเกี้ยง เฒ่าจ้ำใหญ่แห่งบ้านหนองหมูกำลังกล่าวอันเชิญ เจ้าที่ เจ้าทาง ที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆมากินของสังเวยที่เตรียมมาเซ่นไหว้ในวันทำพิธี เลี้ยงเจ้าปู่ประจำตำบลพังแดง ซึ่งมีสถานที่ตั้งที่ป่าสาธารณะบ้านหนองหมู  

     <div align="left"><table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8">

                            พ่อเกี้ยง เชื้อคำฮด เจ้าจ้ำใหญ่ตำบลพังแดงเข้ามา

                            รับหน้าที่นี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 สืบทอดจากพ่อโดย

                            การเสี่ยงทาย หลังจากที่ออกจากป่ามาได้เพียง

                            ปีเดียว

</td></tr></tbody></table></div></span>    <p> </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p>ไทโซ่จะทำพิธีไหว้เจ้าปู่ปีละสองครั้ง คือ ก่อนไถนา อาจเรียกว่าพิธีแฮกนาก็ได้ และอีกครั้งคือก่อนเกี่ยวข้าว ตำบลพังแดงมี  7 หมู่บ้านที่ถือเจ้าปู่ที่เดียวกันคือที่บ้านหนองหมูแห่งนี้ ดังนั้นแต่ละปีจะมีเจ้าภาพปีละหนึ่งบ้านในการเตรียมเครื่องเซ่นไหว้มาทำพิธีและเลี้ยงเพื่อนบ้านที่มาร่วมทำพิธี ปีถัดไปก็เวียนกันไปจนครบแล้วเริ่มใหม่ ต่อไปเรื่อยๆ เจ้าปู่ที่บ้านหนองหมูนี้กินไก่  ผู้มาร่วมงานจะถามคำทำนาย จากเจ้าจ้ำใหญ่ ซึ่งจะเสี่ยงทายด้วยชิ้นส่วนของไก่ที่เอามาเซ่นนั้น ผู้ที่มาเข้าร่วมก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นผู้แทนของแต่ละชุมชนซึ่งมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนหลายหมู่บ้านที่เป็นขอบเขตของเจ้าปู่ทั้ง 7 หมู่บ้าน ไม่มีเด็กและวัยรุ่นเข้ามาร่วมพิธีกรรมนี้     </p><p></p><div style="text-align: center">  </div>

 คืนวันหนึ่งผู้เขียนดูโทรทัศน์ประเทศลาว ซึ่งนำเสนอประเพณีการไหว้เจ้าปู่ ตามประเพณีท้องถิ่น ผู้เขียนตื่นเต้นกับภาพที่เขานำเสนอ พบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะดั้งเดิมดินแดนแถบลุ่มน้ำโขงคือกลุ่มเดียวกัน ยิ่งเมื่อย้อนประวัติศาสตร์ของชาวไทโซ่ดงหลวงแล้ว ก็อพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงนั้นเอง  ผู้เขียนเห็นผู้ทำพิธีกล่าวเชิญ เจ้าที่ ด้วยเสียงอันดังมากๆ เกือบจะเป็นการตะโกน สาระก็เป็นการเชิญเจ้าที่มากินเครื่องเซ่น ซึ่งก็ใช้ไก่ แต่ในพิธียังกล่าวต่อไปว่าปีหน้าจะให้หมู พิธีไม่มีการเสี่ยงทาย เพียงเลี้ยงเจ้าที่เฉยๆ ที่ผู้เขียนชอบมากๆคือ มีเด็กและวัยรุ่นเข้าร่วมจำนวนมาก ดูจะมากกว่าผู้ใหญ่เสียด้วยซ้ำไป   

</font></span></span><div style="text-align: center">  </div>

ผู้เขียนติดตามก็พบว่าที่เด็กมาร่วมจำนวนมากเพราะว่าในพิธีนี้จะมีการทำขนมมาเซ่นไหว้ด้วย เมื่อพิธีเสร็จสิ้นแล้วผู้ใหญ่ก็แจกขนมแก่เด็กทั้งหลาย   นี่เองที่เป็นสาเหตุให้เด็กมาเข้าร่วมพิธีจำนวนมาก เพราะต้องการได้ขนมกินนั่นเอง  แต่ที่ผู้เขียนชอบคือ แม้ว่าเด็กจะมีความประสงค์ในการเข้าร่วมเพื่อได้กินขนมก็ตาม แต่การเห็น การได้ยิน  การรับรู้สิ่งที่ผู้ใหญ่กำลังปฏิบัติต่อหน้านั้น มันซ้ำๆ กันหลายครั้ง ทุกปี จึงเกิดความเคยชิน และซึมซับประเพณีเข้าสู่วิถีการปฏิบัติไปโดยอัตโนมัติ  

 ก่อนที่เด็กจะได้รับการแจกขนมนั้น ก็เข้าร่วมรับฟังคำกล่าวแสดงความเคารพต่อเจ้าที่  การแสดงกิริยามารยาทต่อเจ้าที่ เช่นนั่งลง ไม่ยืน การยกมือไหว้  หรือการพูดเชื้อเชิญเจ้าปู่มากินของเซ่นไหว้นั้น มันได้เข้าไปอยู่ในสำนึกของเด็กโดยอัตโนมัติ โดยไม่ใช่การบอกกล่าว หรืออ่านตามหนังสือในห้องเรียน  แต่มีส่วนร่วมในพิธีปฏิบัติจริง 

</font></span></span><p></p><p>นี่คือการเรียนรู้โดยไม่ได้เรียน ด้วยการเข้าร่วมการปฏิบัติจริงทางประเพณีโดยเขาเหล่านั้นไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป นี่คือการซึมซับทางจิตวิญญาณ ผ่านพิธีกรรมและการทำซ้ำในการแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ และสิ่งเหนือธรรมชาติ อันมีผลต่อการควบคุมคน สังคมให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบแห่งการอยู่ร่วมกัน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผู้เขียนชื่นชมที่พิธีกรรมเหล่านี้มีคนทุกวัยเข้าร่วม ตรงข้ามกับพิธีกรรมนี้บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่เป็นเพียงพิธีกรรมของผู้ใหญ่  ผมให้ความสำคัญการที่มีเด็กๆเข้าร่วมด้วยเพราะเธอเหล่านั้นคือผู้ที่จะเป็นผู้ สืบสาน ถักทอ สายใยใจ ต่อไปในอนาคตอีกนานเท่านาน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p></p><p>และนี่คือทุนสังคมที่มีอยู่โดยไม่ต้องไปสร้างขึ้นมาใหม่ อย่างสังคมเมือง ที่ยากยิ่งที่จะทอสายและสืบสาน เทียบเท่าสังคมชนบท</p>

หมายเลขบันทึก: 85807เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2007 00:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณบางทราย

พิธีกรรมต่างๆ เบิร์ดมองว่าทำให้คนเคารพธรรมชาติ..กฎหมายไม่ทำให้คนเกรงเท่าอำนาจที่มองไม่เห็น คำพูดที่ว่า คนไม่เห็น แต่ผีสางเทวดาท่านก็เห็น..ทำให้คนยำเกรงมาแล้ว

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องงมงาย แต่เป็นภูมิปัญญาในการรักษาธรรมชาติให้ลูกหลาน สารภาพว่าเบิร์ดเคยใช้ความเชื่อเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ ที่หมู่บ้านหนึ่งตอนนั้นเบิร์ดออกค่ายอาสา ฯ ทางการจะตัดต้นตะเคียน ต้นพยุง และไม้มะค่า ขนาดใหญ่เพื่ิอทำถนน พอกลางคืนเบิร์ดกับเพื่อนก็เอาผ้าแพรไปผูก (ก่อนจะทำก็ขออภัยเจ้าที่เจ้าทางที่นั่นก่อน ) พอตอนเช้าก็พาน้องๆมาไหว้เพื่อขอพร แต่เจตนาก็คือสร้ืางความเชื่อ ..มีการเล่าถึงการเห็นภาพผู้หญิงเดินแว้บๆหายไปในต้นไม้ ( จริงๆคือตัวเบิร์ดเดินผูกผ้า )..หลังจากนั้นต้นไม้พวกนั้นก็อยู่ดีมีสุขเรื่อยมา

น่าสนใจนะคะถ้าสามารถทำให้เด็กๆเห็นคุณค่าของพิธีกรรมเหล่านี้ได้..ในแง่การอนุรักษ์และการสัมมาคารวะต่อธรรมชาติ..

  • มีหลายคนไม่เข้าใจครับ
  • มีหลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญ  แต่พอเขาซื้อรถใหม่กลับไปให้พระเจิมหน้ารถ หมายความว่าไง ?
  • แต่คนทำงานพัฒนาชุมชน ใครปฏิเสธสิ่งนี้ก็ไม่สามารถเข้าถึงความจริงของจิตใจชุมชนได้
  • องค์ประกอบชีวิตของเขากับของเราแตกต่างกัน ถ้าจะทำงานกับเขาก็ต้องเข้าใจเขา มิเช่นนั้นจะให้เขาปรับเปลี่ยนได้อย่างไร
  • สิ่งเหล่านี้คือความละเอียดอ่อนที่งานพัฒนาแบบสั่งการข้างบนจึงไม่สามารถตอบสนองชุมชนได้ และเราก็สูญเสียงบประมาณไปมากมาย ก่ายกอง
  • ผมเห็นด้วยกับตัวอย่างที่คุณเบิร์ดทำครับ  บางครั้งก็ต้องกระตุ้นบางอย่างให้เกิดผลดีกับชุมชนบ้าง เพียงแต่ไม่ไปสร้างปัญหา หรือทำลายเขาเท่านั้นเอง
  • คนที่ใช้เรื่องความเชื่อเป็นธุรกิจก็มีไม่ใช่หรือในสังคมไทย  และทำกำไรมากมายด้วย
  • ขอบคุณครับ

ดีครับ คนไม่สนใจธรรมชาติ หาอุบายใหม่ๆมาให้คนตระหนกและตระหนักถึงการคงอยู่ของทุนธรรมชาติ วิชาพวกนี้ไม่เรียน ไม่ถ่ายทอด ทั้งๆที่มีความสำคัญ นักการศึกษาน่าจะพิจารณาในประเด็นนี้ ถ้าเข้าถึงศาสตร์แห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตัวเอง

  • ใช่ครับวิชาพวกนี้ไม่มีเรียน ไม่มีการถ่ายทอด ไปเรียนอะไรที่มันไกลตัวเสียเหลือเกิน
  • แค่ง่ายๆ ที่เขาทำกัน ก็ไปกระตุ้นให้เกิดผลดีแก่ชุมชน ก็ต้องทำหล่ะครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท