ประชุม ชมรมผู้ป่วยเบาหวานธาตุพนม(1)


ผู้สำคัญที่สุดไม่ใช่หมอ พยาบาล แต่เป็นตัวผู้ป่วยเอง

     วันที่ 23 พ.ย. 49 ที่ผ่านมา ชมรมผู้ป่วยเบาหวานของอำเภอธาตุพนมได้จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชึ้น โดยมีการกำหนดให้ชมรมทั้งหมด 16 ชมรม(ตามโครงการต่อเนื่อง 1 ตำบล 1 ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน) มีแกนนำเข้ามาเล่ากิจกรรมต่างๆ ของชมรมที่ผู้ป่วยรวมตัวกันและมี สอ.เป็นพี่เลี้ยง ว่าแต่ละที่ทำอะไรกันไปบ้าง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแสดงออกถึงประสิทธิภาพของแต่ละชมรม           

         งานนี้ทีมดูแลผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลเองและ สอ.  เริ่มเตรียมดัวกันตั้งแต่กำหนดรูปแบบของกิจกรรม ว่าจะทำอะไรบ้างในวันนี้ ประมาณ 1 เดือนที่แล้ว โดยกำหนดว่าเริ่มจากการส่งตัวแทนของผู้ป่วยที่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการปฎิบัติตัวและคุมระดับน้ำตาลมาเล่าเรื่องเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆ โดยกำหนดเป็นการกลุ่มเสวนา หลังจากนั้นจึงมีการเสริมวิชาการจากทีม  และจบลงด้วยการให้ชมรมที่ภูมิใจในตนเอง มานำเสนอกิจกรรมของชมรมผ่านเรื่องเล่า และมีเงินรางวัลเพื่อสนับสนุนกิจกรรมชมรม
           ในวันที่ 23 เช้าเราเริ่มกันที่เวลา 8.30 น. เพราะกะว่ากว่าที่แต่ละชมรมจากทั้งอำเภอจะพร้อมเพียงก็ประมาณนี้พอดี แต่ผู้ร่วมประชุมทีมแรกมาตั้งแต่ 8 โมงเช้านิดๆ พร้มกับการเตรียมห้องประชุมของพวกเรา  วันนี้ไม่มีการลงทะเบียน เพราะเราให้แต่ละชมรมไปลงชื่อกันมาล่วงหน้าแล้ว ชมรม ละ 10-15 คน เราจึงเพียงรอมาให้ครบเพียงอย่างเดียว จึงไม่เห็นความวุ่นวายถึงแม้จะคนเยอะหน่อย(ประมาณ 160 คนจากที่เตรียมใว้ประมาณ 200 คน) ระหว่างรอก็มีการเปิดซีดี ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนลาว(มาจากประเทศลาวเลยครับ น้องแผนกโสต นำมาเปิดบอกสนุกมาก) ให้คนที่มาก่อนดูกันไปก่อน เนื้อหาเป็นเรื่องเล่าแบบตลก ปนทะลึ่งนิดๆ เค้าเรียกว่าเล่าผะหยา ตอนแรกกะว่าเปิดขั้นเวลาครับ  แต่พอจะปิดตอนใกล้ 9.30 น.กลับเกิดเหตุการณ์แบบนี้ครับ เหมือนหนังที่กำลังถึงตอนสนุก จะปิดเฉยๆก็เกรงใจ จึงต้องรอจนจบตอนครับถึงได้เชิญผู้อำนวยการโรงพยาบาล น.พ.มนู ชัยวงศ์โรจน์กล่าวเปิดงานได้
          น.พ.มนู กล่าวกับผู้เข้าร่วมประชุมฟังถึง ความสำคัญของการรวมตัวกันของผู้ป่วยเอง ในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งครอบครัว ญาติพี่น้อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ที่มีจำนวนผู้ป่วยทั้งอำเภอเกือบสองพันคน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในเวลา 2-3ปีหลังนี้ เนื่องมาจากระบบการดูแลที่ครอบคลุมขึ้น ตั้งแต่การคัดกรองค้นหาผู้ป่วย การค้นหากลุ่มเสี่ยง  ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมาขึ้น ก็เกิดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาล จากที่มีการรักษาเฉพาะวันศุกร์ ก็เพิ่มมาเป็น พฤหัสด้วย รวมทั้งมี่การส่งให้ไปรับยาที่ สอ. เพื่อให้ความใกล้บ้าน ใกล้ใจ เป็นสิ่งที่ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานได้ดีมากขึ้น  ที่สำคัญที่สุดคือการกระตุ้นให้ผู้ป่วยรวมตัวกันเอง เป็นชมรม เป็นกลุ่ม เพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพ เพราะผู้สำคัญที่สุดไม่ใช่หมอ พยาบาล แต่เป็นตัวผู้ป่วยเอง

(ติดตามตอนต่อไปครับ)

ภก.เอนก ทนงหาญ ผู้เล่าเรื่อง

ผู้อำนวยการ นพ.มนู ชัยวงศ์โรจน์ เปิดการประชุม

บรรยากาศ ในห้องประชุมครับ

คำสำคัญ (Tags): #ชมรมเบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 63394เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท