โครงการเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานของคุณอำนวย


กระบวนการของโครงการที่จะพัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยตำบลควรจะเป็นการพัฒนาแบบควบคู่กับการทำงานหน้างานจริงๆ ไม่ใช่เป็นการอบรมในห้องซึ่งที่ผ่านๆมาไใ่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
โครงการเพิ่มสมรรถนะการปฏิบัติงานของคุณอำนวยตำบล
        วันที่  18  กรกฎาคม  2550  ผม  กับ ครูแต้ว  มีโอกาสไปร่วม เป็นวิทยากร  ร่วมกับ  ครูนง  และ  อ.ภีม  จาก  ม.วลัยลักษณ์  จากการ เชิญของกรมปศุสัตว์  ซึ่งจัดอบรมที่ปรึกษาเกษตรกร เรื่องการทำ ปศุสัตว์อินทรีย์   ช่วงเช้าก่อนขึ้นเวที  ครูนงได้รับ โทรศัพท์จาก ท่านผู้ว่าฯ วิชม  ทองสงค์  ได้ความว่า  ให้จัดทำ โครงการอบรม การเพิ่มสมรรถนะคุณอำนวยตำบล  165  ตำบล  และให้ครูนง จัดทำโครงการ และรูปแบบกิจกรรม  และให้นำเรียน       ต่อ ผอ. กศน. จังหวัดด้วย...  ผมบอกกับครูนงว่า  งานนี้ครูนงโดน กระสุน “การทำงานวิถีโค้ง” ของท่านผู้ว่าฯ ชนิดที่เรียกว่า ตูมเบ้อเร่อ... ครูนงหัวเราะ...ก่อนที่จะบอกข่าวนี้กับ อ.ภีม  และการปรึกษาก็เริ่มขึ้น... โดยตกลงกันให้ครูนง  ทำแม็บปิ้งโครงการร่วมกับ  อ.ภีม   และครูนง... ก็นัดทีมงานไปเสนอผู้ว่าฯ โดยกำหนดวันที่  24  กค.  2550
       ถึงวันนัด  พวกเราไปพร้อมกันที่  ห้องผู้ว่าฯ  ท่านผู้ว่าฯ เปิดประเด็น ด้วยเรื่องของงบประมาณของโครงการต่าง ๆ  และงบประมาณที่จะใช้ ในการพัฒนาสมรรถนะคุณอำนวยตำบล  165  ตำบล  ท่านผู้ว่าฯ  บอกว่า โครงการนี้  ให้มีปลัด  อบต.  เข้าร่วมเพื่อประสานเชื่อมโยง การทำงานในระดับพื้นที่  การฝึกครั้งนี้ต้องหวัวผลได้เต็มที่  ว่าคณะ คุณอำนวยตำบลสามารถพัฒนาตนเองลงไปขับเคลื่อนกระบวนการ กระตุ้นชาวบ้านได้  ส่วนการดำเนินโครงการ  จะเป็นที่โรงแรม  หรือ สะดวกที่พื้นที่จริงก็แล้วแต่ไม่ได้กำหนดตายตัว... ท่านผู้ว่าบอกว่าแผน ชุมชนอินทรีย์ระดับหมู่บ้านต้องเชื่อมโยงเป็นแผนชุมชนอินทรีย์ ระดับตำบล...
         ครูนงนำเสนอว่า...  กระบวนการของโครงการที่จะพัฒนา สมรรถนะ คุณอำนวยตำบลควรจะเป็นการพัฒนาแบบควบคู่กับ การทำงาน หน้างานจริงๆ  ไม่ใช่เป็นการอบรมในห้องซึ่ง ที่ผ่านๆมาไม่ ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร  ซึ่งท่านผู้ว่าเห็นด้วย กับการนำเสนอนี้  แต่ก็ยังติดขัดเรื่องของระยะเวลา  เพราะต้องทำ เดือน  สิงหาคม กับ กันยายน  2  เดือน  หากทำกับ  165 หมู่บ้าน นั้นอาจไม่ประสบ ผลสำเร็จเท่าที่ควร  และเป็นการลำบากใน การเบิกจ่ายงบประมาณ  ซึ่งท่านผู้ว่าเสนอว่า  หากมีการเริ่มต้นใน ปีนี้แล้วอาจดำเนิน การ ต่อไปถึงปี  51  ได้
          อ.ภีม  เสนอว่าลักษณะของการดำเนินโครงการจะใช้รูปแบบ เดียวกับที่ใช้ตอนทำ  3  ตำบลนำร่อง  ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะดำเนินการ ได้ในปี  50  และดำเนินการต่อเนื่องไปถึง  ปี  51  โดยเน้นให้คุณ อำนวยตำบล ได้พัฒนาสมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติงาน (เรียน) เรื่องของการกระตุ้นเรื่องของกองทุนชุมชนและระบบสวัสดิการชุมชน การบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
          ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าหากจะดำเนินการในเรื่องของกองทุนและ สวัสดิการต้องใช้นโยบายของจังหวัดเข้าไปสอดรับโครงการได้เลย เพื่อความคล่องของการดำเนินการ  และควรจะใช้  คีย์แมน  ในพื้นที่  คือนายก อบต. และปลัด  อบต. ในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่
            อ. ภีม  บอกว่าต้องประสานกับ  ผอ. กศน. จังหวัด  สำนักงาน จังหวัด และหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อที่จะคุยเรื่อง โครงการ ในการ ดำเนินการเบื้องต้นให้ชัดเจน
            ครูนงเสนอว่า...  โครงการนี้ให้ใช้คุณอำนวยจากโรงเรียน คุณอำนวย เข้าไปช่วยในการเสริมกระบวนการเรียนรู้ ของโรงเรียน คุณอำนวยแต่ละตำบล
            ท่านผู้ว่าฯ  ฝากให้ไปช่วยกันคิด แนวทางในการดำเนิน               โครงการ ว่าในช่วงระยะเวลา  2  เดือนจะเดินโครงการอย่างไร  ใน      ปี  51  จะต้องทำอย่างไรบ้าง และให้ประสานงานกับสำนักงานจังหวัด  ด้วย และยังฝากให้  กศน. ประสานกับหน่วยงานที่มีคุณอำนวยตำบล ปฎิบัติงานอยู่ในพื้นที่เข้าร่วมประชุมทำแนวทางการดำเนินโครงการ ด้วย  เพราะจะได้รู้เรื่องและเข้าใจโครงการและก็น่าจะได้ บูรณาการ เรื่องของงบประมาณของแต่ละหน่วยงานร่วมกัน  และนัดวันที่จะมา ประชุมร่วมกันอีกในวันที่  27  กค.  2550  ในช่วงบ่าย  สิ่งหนึ่งที่ท่าน ผู้ว่าฯ ปรารภด้วยความเป็นห่วงในวันนั้นคือ  “ตอนนี้หน่วยงานมาร่วมกระบวนการน้อยเพราะเป็นห่วงงานในฟังค์ชั่น ของตัวเอง  ต้องดูงานที่สามารถเชื่อมโยงบูรณาการกันได้ ก็จะทำ ให้สะดวกขึ้น...”
หมายเลขบันทึก: 117293เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท