อนุทินล่าสุด


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของกลัับไปหาป่าอเมซอนแล้วครับ

สุดท้าย David ต้องการทีี่ช่วยเหลือเผ่าในอเมซอน โดยคิดที่จะตั้งองค์กรการกุศลขึ้นมาองค์กรหนึ่ง เขาจะต้องการให้องค์กรที่มีชื่อว่า โครงการที่ดี (The Good Project) ในการช่วยเหลือคนพื้นเมืองในการหาทางเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด เป็นกระบวนการที่เขาเห็นว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เขากล่าวอีกว่าดูผู้คนที่ไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ถูกทำให้เป็นตะวันตก ใกล้กับพวกสอนศาสนานั้นสิ มีการต่อต้านหรือต่อสู้กับอัตลักษณ์ของตนเอง เช่นเดียวกับเขาที่เข้าไปในป่า 
“ทุกวันนี้ มีพวก Yanomami บางคนที่มีลักษณะคล้ายชาวเวเนซูเอลานเข้าไปทุกที แต่นั่นเป็นเพราะว่าพวกเขาเรียนรู้ภาษาสเปน และสวมเสื้อผ้าแบบสเปน และพวกเขาไม่เหมือนพวก Yanomami แต่อย่างใด”
“แล้วฉันเป็นใคร ฉันเป็นคน Yanomami ใช่หรือไม่ หรือฉันเป็นคนเพียงคนขาว พวก Yanomami เห็นฉันเป็นเพียงคนขาว และพวกคนขาวมองฉันเป็นพวก Yanomami แต่ว่าฉันเป็นเหมือนเขาทั้งสอง”
“บุคคลที่ฉันพบทุกวันนี้เป็นคนที่แตกต่างจากบุคคลที่ฉันเคยพบมาก่อนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ตอนนี้ฉันมีความภาคภูมิใจที่เป็น Yanomami และอเมริกัน ฉันมีความสุขที่ได้อยู่กับรากเหง้า ฉันรักแม่ของฉัน และฉันตั้งหน้าตั้งตาคอยที่จะอยู่ร่วมกับหล่อนอีกครั้ง และศึกษาวิถีแบบ Yanomami 
“ฉันต้องการที่จะสร้างสรรค์สะพานข้ามมิตรภาพระหว่างพวก Yanomami และโลกของสหรัฐอเมริกา และฉันต้องการที่จะนำมุมองของคนที่เป็นสมาชิกในครอบครัวไปสู่โลกอื่น
“ฉันไม่ได้เป็นนักมานุษยวิทยา ไม่เป็นทั้งตำรวจหรือหมอสอนศาสนา แต่ฉันเป็นพี่ชาย และลูกชายเท่านั้น” 

จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

สุดท้าย David Good ก็ได้เจอแม่ของเขาอีกครั้งหนึ่ง จากบันทึกของ David เขาเขียนว่า
หล่อนอยู่ในวัย 40 กว่าๆ ตัวเตี้ย กระฉับกระเฉง และแข็งแรง หล่อนมีตะกร้ารอบๆหัว ที่เต็มไปด้วยรากไม้ที่หล่อนเก็บมา ซึ่งหล่อนก็วางตะกร้าลงไปที่พื้น ในขณะที่หล่อนถอนหายใจ หมู่บ้านเริ่มเงียบ มันเป็นเวลา 20 ปีแล้ว แต่ David ก็จำหล่อนได้ตลอด “ฉันรู้ว่าเป็นหล่อนที่อยู่ตรงนั้น ฉันอดไม่ได้ที่จะยืนขึ้นและเข้าไปหาหล่อน สิ่งนี้เริ่มทำร้ายฉัน –นี่ฉันกำลังทำอะไร ทุกอย่างในตัวฉันเพียงแค่ต้องการที่จะกอดเธอไว้แน่นๆ แต่นี้ไม่ใช่วิธีการทักทายแบบ Yanomami ดังนั้นนี่จึงเหมือนการเผชิญหน้าแบบงุ่มง่าม ฉันวางมือไว้ในไหล่ของหล่อน และหล่อนก็เริ่มสะอื้น และ ร้องไห้ และฉันมองเข้าไปในตาของหล่อน และฉันอดไม่ได้ที่จะร้องไห้กับตัวเอง” 

Hortensia Caballero ที่เข้ามาต้นน้ำพร้อมกับ David กล่าวว่า “มันมีแต่เสียงของความเงียบ” “เมื่อฉันนึกถึงความเงียบ มันจึงเป็นสิ่งที่สวยงามและเป็นขณะหนึ่งที่เร้าอารมณ์ แน่นอนว่าผู้หญิงทุกคนในหมู่บ้าน รวมทั้งฉันด้วยต่างน้ำตานองหน้า”

จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ลองมาดูการเปลี่ยนแปลงในวิชามานุษยวิทยากันนะครับ

มานุษยวิทยามีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตลอดเวลา 30 ปี 

ตอนนี้มันยากที่จะทำวิจัยภาคสนามในเผ่า Yanomami แห่งเวเนซูเอลานได้อีกต่อไป เพราะว่าพวกเขาไม่ต้องการให้นักวิจัยทำแค่งานทางวิชาการแบบบริสุทธิ์ (pure academic work) เป็นงานที่ไม่มีประโยชน์อะไรแก่พวกเขา ถ้าคุณต้องการที่จะทำงานกับพวกคนพื้นเมืองอย่างวิชาการ คุณจะต้องอธิบายให้พวกเขาฟังว่าต้องการจะประสบความสำเร็จเรื่องอะไร สุดท้ายต้องถามเขาว่าพวกเขาเห็นด้วยกับคุณหรือไม่ 

นักมานุษยวิทยาจำนวนมากตระหนักรู้แล้วว่าการวิจัยจะประสบความสำเร็จได้โดยการใช้การสนทนา (dialogue) กับชุมชน ในฐานะที่นักวิจัยมีความเท่าเทียมกันกับชุมชน   ในอดีตนักมานุษยวิทยาหลายคนศึกษาผู้คน และก็จากไป พวกเขากลับไปที่ประเทศของเขา และนำเสนอ Yanomami ให้เป็นคนพื้นเมืองที่มีใจสูง หรือเป็นบรรพบุรุษที่ร่วมสมัยของเรา  แต่ในความจริงแล้ว ถึงแม้ว่าพวกเขาจะอยู่ห่างไกล นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะไม่กลับไปอีก กับคำว่า โหดร้าย (fierce) ฉันรู้สึกมันคือการคุกขามในตัวเมือง Caracas มากกว่าในต้นน้ำ Orinoco Yarima เคยถาม Kenneth ให้ช่วยส่ง Vanessa กลับไปเลี้ยงที่ Hasupuweteri ได้หรือไม่ แต่เขาปฏิเสธ ลูกทั้งสามคนถูกนำไปที่ Rutherford รัฐ New Jersey ต่อมาก็ไปยัง รัฐ Pennsylvania

Hortensia Caballero (ทางด้านซ้าย) เป็นนักมานุษยวิทยา ที่ สถาบันเพื่อการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์แห่ง เวเนซูเอลาน (the Venezuelan Institute for Scientific Research)

จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การถกเถียงเกี่ยวกับการแต่งงานระหว่าง Kenneth Good และ Yarima

การแต่งงานของ Kenneth Good กับ Yarima ที่เยาว์วัยกว่าก่อให้เกิดความคิดเห็นต่อการแต่งงานนี้มากมาย ในหนังสารคดีเรื่องความลับของชนเผ่า ครูคนแรกของ Good ที่ชื่อว่า Napoleon Chagnon กล่าวหาเขาว่าทำการขูดรีด และเป็นโรคชอบเด็ก แต่ว่านักมานุษยวิทยาคนอื่นๆมีเงื่อนไขน้อยกว่าครูคนแรกของเขา

Terence Turner จากมหาวิทยาลัย Cornell ในการสัมภาษณ์ในหนังเรื่องเดียวกัน กล่าวว่า “โดยมาตรฐานของพวก Yanomami การแต่งงานไม่ใช่จะไม่มีจริยธรรม แต่ข้อเท็จจริงยังคงมีว่า Kenneth Good ไม่ใช่ชาวเผ่า Yanomami และโดยมาตรฐานในสังคมของ Good เขากำลังแต่งงานกับเด็กผู้หญิง เป็นเด็กที่ไม่ได้ตัดสินใจในการแต่งงานด้วยตนเอง”

อย่างไรก็ตาม Good เคยถามในหนังเรื่องเดียวกันว่า “แล้วจะเอาอะไรมาขีดเส้นหละ ถ้ามีมาตรฐานจริงๆ หากคุณเห็นว่าฉันได้มาอยู่กับพวกเขาเป็นระยะเวลายาวนาน มาตรฐานย่อมขาดหายไป ดังนั้นก็เลยไม่มีมาตรฐาน”

การนับอายุไม่เป็นที่รู้จักในหมู่เผ่า Yanomami เพราะว่าพวกเขาไม่มีระบบจำนวนนับ พวกเขานับได้แต่ 1, 2, และหลายๆอันเท่านั้น ดังนั้นในบันทึกความคิด Good ก็เลยไม่บ่งชี้เรื่องอายุของ Yarima เมื่อพวกเขามีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก Good เขียนว่า “หล่อนน่าจะอายุ 15 ปี”

Yarima สามารถที่จะแต่งงานกับคนอื่นได้ ถ้าเขาถอนหมั้นเสีย หล่อนจึงมีประจำเดือนครั้งแรก และมีต่อมา ในวัฒนธรรมของ Yanomami การมีประจำเดือนก็มีสัญญาณที่จะบอกว่าหล่อนควรมีสามีและมีครอบครัว 

David Good กล่าวว่า “พวกเราพยายามที่จะประเมินจากมุมมองของเราเอง หรือจากทัศนะในการสำนึกในชาติพันธุ์ (ethnocentric view) “คุณควรจะจำไว้ว่าบรรพบุรุษของเราไม่จำเป็นต้องผ่านวุฒิภาวะของความเป็นผู้ใหญ่ ที่เราเคยมีในโลกยุคใหม่ เด็กผู้หญิงถ้ามีประจำเดือนก็สมควรแต่งงานและมีลูกได้”

“และฉันบอกกับผู้คนโดยทั่วไปว่า พ่อแต่งงานกับแม่ และแม่ก็แต่งงานกับพ่อ คุณก็รู้ว่านี่คือการตกลงร่วมกันระหว่างคน 2 คน และก็ไม่ใช่การพรากเธอออกไปจากครอบครัว นี่เป็นการแต่งงานที่มีพื้นฐานอยู่ที่ความรัก ความโรแมนซ์ และมิตรภาพ” 

จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์



ความเห็น (1)

เป็นเรื่องราวที่มองเห็นได้ชัดเจนถึงพื้นฐานการดำรงชีวิตของสังคมชายหญิงจนเกิดเป็นครอบครัวนะคะ…เป็นเรื่องที่คนยุคใหม่ที่พัฒนามามากแล้วโดยเฉพาะวัยหนุ่มสาวควรจะได้ศึกษา…เพราะทุกวันนี้เหมือนจะย้อนกลับไปสู่สังคมพื้นฐานเดิมๆ…

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

พักก่อนซะหน่อย เรามาดูภาษาของพวก Yanomami กัน
1. Eon ออกเสียงว่า Yo หมายถึง การทักทาย หรือ Hey
2. Huya หมายถึง วัยรุ่นทั้งหลาย
3. Nabuh หมายถึง คนขาว หรือใครก็ตามที่ไม่ใช่หรืออยู่นอกวัฒนธรรม Yanomami
4. Nohi harupo หมายถึง ความรู้สึกอิจฉา ต้องการจะเป็นเจ้าของ
5. Shapono หมายถึง โครงสร้างของหลังคามุงจากขนาดใหญ่ ณ ใจกลางของหมู่บ้าน
6. Shori หมายถึง พี่เขยน้องเขย
7. Wayumi หมายถึง การเดินป่าที่ยาวไกล ซึ่งชาวบ้านจะพาอาหารของตนเองไปกิน
8. Weti keti หมายถึง นี่คืออะไร
9. Yanomami keye หมายถึง ฉันเป็นชาว Yanomami
10. Ya bos si shiti หมายถึง คนพเนจรของฉัน
จาก Kenneth Good หนังสือชื่อ “ตรงไปยังครัวเรือน : นิยายรักของพวกอเมซอน”

จาก BBC World Services ได้้เรื่องจากโบว์

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ต่อมา Yarima หนีกลับป่าอเมซอนอีกครั้ง นั่นเป็นเพราะว่า หล่อนเงียบเหงา ทุกผู้คนต่างโดดเดี่ยว ก่อนที่จะไปต่อมาฟังความเห็นของ Kennth Good ที่มีต่อการปรับตัวของ Yarima กัน
ในหนังสือปี 1991 ซึ่งถูกเขียนขึ้นขณะที่ครอบครัวยังอยู่ในสหรัฐ Kenneth Good พรรณนาการปรับตัวของภรรยาของเขาที่มีต่อเรื่องชีวิตรอบๆตัว “ฉันเฝ้าดู Yarima พยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งรอบข้างได้อย่างช้าๆ แต่แน่นอนเวลาไม่สามารถเปลี่ยนอะไรหล่อนได้เลย” เขาจึงรู้ว่ามันอาจเป็นการยากสำหรับคน Yanomami “ฉันรู้ว่า มีบางสิ่งบางอย่างลึกอยู่ข้างในการตกแต่งของหล่อน ซึ่งต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างยิ่ง บางทีสิ่งนี้ต้องเป็นความปลอดภัยอันสุดยอดในการบ่งชี้ว่าเขาคือใคร” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ มันเป็นอย่างพวกเขา ไม่ใช่ชาวตะวันตก ซึ่งนิยามว่าอะไรคือสิ่งที่เป็นมนุษย์

จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เนื่องมาจากเผ่า Yanomami ปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่ ต่อมา Yarima ก็โดนผู้ชายนั้นข่มขืน จนเธอหูขาด Kenneth ก็เลยพาเธอมาที่ในเมือง Yarima ปรับตัวให้อยู่ในเมืองได้พอใช้ มีหลายอย่างที่หล่อนไ่ม่คุ้นเคย เช่น กระจก ตำรวจ และ้ห้างสรรพสินค้า

จาก BBC World Services จากเรื่องนี้มาจากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

มาต่อเรื่องของ Kenneth Good กันต่อนะครับ

หลังจากเดินได้ 15 เดือน Good กลับอยู่นานกว่านั้นอีก เพราะเขาได้แต่งงานกับหญิงชนเผ่าที่ชื่อ Yarima แต่การดำรงชีวิตอยู่ในเผ่าก็มีปัญหาครับ กล่าวคือ พ่อของเดวิด หรือ Kenneth Good หลังจากแต่งงานมาอยู่ในเผ่าอเมซอนแล้ว แต่พ่อของเขาไม่สามารถจะอยู่ในเผ่าอเมซอนได้ตลอดไป ด้วยที่เขาไม่ได้ล่าสัตว์และมีชีวิตตามชายชนเผ่า Yanomami ได้ เขาต้องการอาหารพิเศษและยารักษาโรค และเวลาเฉพาะในการอยู่ในเมืองี่หมายความว่าเขาต้องการทำงานวิชาการต่อไป แต่การทำงานภาคสนามเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับเขา ยิ่งไปกว่านั้นอีก เมื่อใดก็ตามที่เขาต้องเข้าเมืองไปชั่วคราว เพื่อจะติดต่อกับกลุ่มวิชาการ หรือขอทุนเพิ่มเติม แต่ Yarima กลับตกอยู่ในอันตราย เพราะว่าสังคมเผ่าชาว Yanomami นั้นมีการปกครองแบบผู้ชายเป็นใหญ่ 


จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

กล่าวถึงเรื่องเผ่า Yanomami มาหลายครั้งแล้ว แล้วววพวกเผ่านี้เป็นใครหละ 

ใครคือเผ่า Yanomami?
1. เป็นหนึ่งในบรรดาชนเผ่าที่แยกตัวออกไปที่สุดในอเมซอน
2. เป็นพวกเก็บของป่า-ล่าสัตว์กึ่งเร่ร่อน แต่ยังเป็นผู้ดูแลสวนซึ่งปลุกพืชชนิดนหนึ่งคล้ายกล้วยในการจัดแบ่งเป็นครอบครัว
3. พวก Yanomami ชายจะเสพยาที่ทำจากเห็ดมา ซึ่งพวกเขาปลูกด้วยกันในสวนที่บ้าน
4. การโต้เถียงมักจะได้รับการแก้ไขโดยการใช้หน้าอกของคนที่ไม่ถูกกันตีกระหน่ำซึ่งกันและกันหรือการตีด้วยไม้พลองเพื่อที่จะหยุดพวกเขาไม่ให้ก่อสงคราม
5. Napoleon Chagnon ให้คุณลักษณะเขาว่าป่าเถื่อน แต่คนอื่นๆมองพวกเขาว่าเป็นพวกป่าเถื่อนแต่มีใจสูง

จาก BBC World Services ได้เรื่องนี้จากโบว์

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

     อาจเป็นเพราะนักศึกษาที่จบปริญญาของ Chagnon ที่เป็นพ่อของเดวิดที่ชื่อ Kenneth Good ได้เดินทางเป็นครั้งแรกไปยังอเมซอนในปี 1975เขาเดินทางโดยผ่านแม่น้ำ Orinoco ผ่าน Guajaribo Rapids เช่นเดียวกับลูกชายของเขาทำอีก 36 ปีต่อมา ผู้ที่เป็นพ่อสร้างบ้านเป็นกระท่อมเล็กๆ ไม่ไกลจาก Hasupuweteri นัก 
ครั้งแรก Kenneth จะพักที่นั่นประมาณ 15 เดือนเพื่อทำการวิจัยภาคสนาม เพื่อทำการวัดโปรตีนที่ชาวบ้านแต่ละคนบริโภคเข้าไป สิ่งนี้สนับสนุนให้ Chagnon ที่แสดงให้คนวิพากษ์วิจารณ์เห็นว่า สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างหมู่บ้านนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการขาดอาหาร แต่เป็นแรงขับที่จะตอบสนองความสำเร็จในการผลิตลูกให้ได้มากที่สุด

นี่คือ Kenneth Good พ่อของ David Good ในหมู่พวก Yanomami

จาก BBC World Service ได้เรื่องนี้จากโบว์

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

มาดูวัฒนธรรมของพวก Yanomami กันดีกว่าครับ วันนี้จะเสนอเรื่อง shapono กัน

ชีวิตใน shapono ของหมู่บ้าน
ครอบครัวแต่ละครอบครัวต่างมีพื้นที่ครัวเรือนในรูปทรงที่เป็นวงกลม แต่ว่าจะไม่มีกำแพง และทรัพย์สินใดๆทั้งสิ้น ผู้ใหญ่ต่างก็กรน เด็กๆต่างร้องไห้ “คนบางคนพูด แต่ไม่มีใครกระซิบ บางคนอาจต้องการที่จะให้สุนทรพจน์ แต่จะมีเพียงหนึ่งเดียวที่เรียกว่า pata หรือผู้ใหญ่บ้านที่ต้องการจะกล่าวสุนทรพจน์ โดยที่ไม่เกี่ยวกับว่าใครจะนอนหลับหรือไม่ เขาต้องการที่จะพูด และเขาก็เป็นคนพูด”
จากงานเขียนเรื่อง “ตรงไปยังครัวเรือน : นิยายรักของพวกอเมซอน” โดย Kenneth Good พวก Yanomami เป็นกลุ่มที่มีความแตกต่างกันมาก พวกเขาแตกต่างจากชุมชนที่กลายเป็นตะวันตกที่อาศัยอยู่ใกล้กับโบสถ์ พวกนี้จะไม่มีการติดต่อกันโดยตรงและเป็นปกติกับโลกภายนอก แต่ในบางครั้งก็มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์กับชาวบ้านคนอื่นบ้างเหมือนกัน 

มาจาก BBC World Service ไ่่ด้เนื้อเรื่องนี้มาจากโบว์

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

 เดวิดต้องการไปหาแม่ในเผ่าอเมซอน พวกอเมซอนนี้มีหลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นก็คือพวก Yanomami พวก Yanomami อาศัยอยู่ใน 200-500 หมู่บ้าน ในพื้นที่ประมาณ 96,5000 ตารางกิโลเมตร ในป่า ซึ่งหมู่บ้านนี้อยู่ตลอดพรมแดนของ เวเนซูเอลา-บราซิล

มาจาก BBC World Service ไ่่ด้เนื้อเรื่องนี้มาจากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เดวิดเดินทางเป็นร้อยๆไมล์ โดยเรือ ผ่านอเมซอนเพื่อไปหาหมู่บ้านที่แม่เขาไปอยู่ 

มาจาก BBC World Service ไ่่ด้เนื้อเรื่องนี้มาจากโบว์

 



ความเห็น (2)

…เป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งมากๆนะคะ…

ครับ เรื่องนี้มีรายละเอียดอีกมาก ไว้ผมจะมานำเสนอต่อไปนะครับ

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

มาต่อเรื่อง การกลับค้้นหาแม่ในป่าอเมซอนกันนะครับ

พ่อแม่ของเดวิด กู๊ดมาจากต่างประเทศกัน นี่เป็นสิ่งที่ไม่ผิดแปลกอะไรนักจากสหรัฐอเมริกา ที่เขาเกิดมานัก แต่ครอบครัวที่มีอายุประมาณ 25 ปีอยู่ห่างไกลจากต้นกำเนิดมาก ในขณะที่พ่อของเดวิดเป็นคนอเมริกัน แต่แม่ของเขาเป็นหญิงชนเผ่า ที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ลึกและห่างไกลของป่าอเมซอน หลังจากแม่ห่างไกลจากครอบครัวประมาณ 2 ทศวรรษ เดวิดจึงตระหนักว่าเขาจำเป็นต้องไปหาเขาให้ได้

มาจาก BBC World Service ไ่่ด้เนื้อเรื่องนี้มาจากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

    ถ้าใครเคยอ่านเรื่องสั้นทางมานุษยวิทยา ที่อ.ยศ สันตสมบัติ แปลมาชื่อไทยว่า "สืบสายเลือด" คงจะเคยผ่านตาเรื่องของชนเผ่า Yanamami ที่ได้สมญานามว่า "เผ่าคนดุ"

     นักมานุษยวิทยาที่ลงไปศึกษาจนเขียนเป็นงานทางชาติพันธุ์ หรือ

เรื่องสั้นโด่งดังไปทั่วก็คือ Napoleon Chagnon ซึ่ง คนนี้ก็มีนักศึกษา

ระดับปริญญาคนหนึ่ง ชื่อว่า Kenneth Good ซึ่งลงไปเก็บข้อมูลเพิ่ม

เติมเกี่ยวกับเผ่า Yanamami ให้ โดยตอนแรกก็คาดว่าจะอยู่ในภาค

สนามแค่ 15 เดือนแต่เก็บข้อมูลไปข้อมูลมากลายเป็นต้องอยู่ต่ออีก

หลายปี จนหัวหน้าเผ่าถึงกับยกน้องสาวให้แต่งงาน จนมีลูกมีเต้าด้วยกัน

ซึ่งชีวิตหลังจากนี้ก็เป็นเรื่องราวโดดดัง จน national geography ถึง

กับทำเป็นสารคดีเลยทีเดียว

     

     ในตอนแรกนั้น KennethGood นี่แกเป็นคนขาวล่าสัตว์ไม่เป็น

แถมยังต้องทำงานวิชาการไปด้วย บางครั้งเลยต้องปล่อยเมียไว้ในป่า จน

เมียถูกคนในเผ่า (สังคมแบบชายเป็นใหญ่) ข่มขืน ถึงขั้นตัดหูทิ้ง แก

เลยต้องพาเมียออกจากป่ามาใช้ชีวิตในเมือง เมียแกก็ปรับตัวเข้ากับ

สังคมใหม่ได้ค่อนข้างดีแต่ตอนหลังก็ตัดสินใจกลับมาใช้ชีวิตในป่าอีกครั้ง

ทิ้งลูกไว้กับสามีที่เมกา ลูกชายของ Kenneth ที่ชื่อ David ซึ่งตอน

หลังเดินทางเข้าป่า Amazon ไปเพื่อตามหาแม่หลังไม่ได้เจอกันนาน

กว่า30 ปีสะท้อนถึง บทบาทของนักมานุษยวิทยาที่มองคนว่าต้องผูก

ติดไว้กับชาติพันธุ์ดั้งเดิมไว้ตอนหนึ่งว่า

      David Good กล่าวว่า ในขณะที่ฉันเริ่มเติบโตขึ้น ฉันเคยไปการประชุมของนักมานุษยวิทยาทุกปี และฉันก็เคยได้ยินคนพูดว่า พวกโน้นก็คือพวกลูกของ Yarima ราวกับว่าฉันเป็นตัวทดลอง คุณรู้หรือไม่ 


          ในครั้งหนึ่ง มีนักมานุษยวิทยาคนหนึ่งถามเขาว่า คุณต้องการ

อะไรเป็นของขวัญวันคริสต์มาส เมื่อ David ต้องให้คำตอบที่เป็น

มาตรฐาน เพราะว่าเขายังเป็นเด็ก และใครๆในยุคนั้นต้องตอบอย่างนี้ทั้ง

สิ้น ก็คือ จอควบคุมเกมนินเทนโด พอตอบอย่างนี้ไป ผู้หญิงคนนั้น

ก็รู้สึกผิดหวัง พร้อมกับพูดว่า เธอต้องการจอควบคุมเกมนินเทน

โดหรอกหรือ? เธอก็เหมือนกับเด็กชาวอเมริกันทั่วไป แต่ฉันคิดว่า

เธอควรจะแตกต่างกว่านี้นะ  สิ่งนี้เองที่ติดแน่นอยู่กับตัวผม โปรดช่วยเผาผลาญความโกรธเคืองที่ผมมีต่อรากเหง้าด้วย

 

 

จาก BBC World Services ได้มาจากโบว์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ผมได้อ่านนทสัมภาษณ์ของอาจารย์ Charles F. Kyes เรื่องศาสนากับการสร้างชาติ พออ่านเสร็จก็รู้ว่าเรื่องนี้มีคุณค่ามากในการอธิบายเรื่องบทบาทของศาสนากับกระบวนการสร้างชาติ ก็เลยลองแปลดู แต่เป็นการแปลแบบเก็บความ ไว้ผมจะมาเขียนไว้ในบันทึกนะครับ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ผมเห็นการประชุมรัฐสภาเมื่อวานนี้แล้ว ก็เคยอยากหาคำว่า ประชาธิปไตยคืออะไร  เสียงข้างมากถือเป็นความถูกต้องจริงหรือ แล้วเสียงขัางน้อยควรทำอย่างไรให้เสียงข้างมากหันมาสนใจเสียงของพวกตน สภาวะอนาธิปัตย์เหมือนหรือต่างอย่างไรกับคำว่าการประท้วงโดยสันติสงบและปราศจากอาุวุธ อนึ่งผมไม่ควรและไม่เชื่อนักการเมืองพวกนีหรอก ผมเชื่อการค้นหาของผมเอง 



ความเห็น (2)

อาการหนักขึ้นทุกวัน สส. พวกนี้

ครับหนักขึ้นทุกวันทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตามที่เสียควรเป็นรัฐบาลมากกว่าเพราะรวบรัดและไม่ยอมฟังความเห็นของเสียงข้างน้อยเลย ผมลองยกตัวอย่างดูนะครับ ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลหนึ่งในบุคคลหลายกลุ่มที่แสวงหาความหลุดพ้น (ศาสนาเชนก็เป็นส่วนหนึ่งการในแสวงหานี้) ลองคิดดูว่าถ้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสังคม เพราะยุคนั้นมีแต่คนทีี่นับถือศาสนาพรามณ์หรือฮินดูกันทั้งสิ้น วนเวียนอยู่แต่การบูชายัญ หรือไม่ก็เพลิเพลินอยู่แต่ในสมาธิ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงสามารถประกาศพระศาสนาได้ ก็แสดงว่าเสียงข้างน้อยมีความสำคัญมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียง "เสียงหนึ่ง" ก็ตาม

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เห็นภาพนี้ซึ่งเป็นนิสิตของเกษตรฯแล้ว อดรนทนไม่ไหว เพราะนิสิตเกษตรฯเหล่านี้กำลังทำข้อสอบโดยมีการสวมหมวกกันการโกงข้อสอบไว้ด้วย ที่ต้องเขียนก็เพราะว่านี่คือวาทกรรมความศักดิ์สิทธิ์ของการสอบและข้อสอบโดยแท้ ภาคปฏิบัติการของวาทกรรมนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการจัดการสอนวิชาการวัดผลประเมินผล เมื่อทำเราทำข้อสอบ เราย่อมรู้ได้ว่าเราผ่านเกณฑ์หรือผ่านกลุ่ม เพื่อความเป็นวิทยาศาสตร์และเชื่อถือได้ ข้อสอบควรออกเป็นชุดเดียวกัน ถ้ามีข้อสอบชุดที่ 2 ความยากง่ายและอำนาจจำแนกระหว่างชุด 1 และชุด 2 ย่อมเหมือนกัน

 

หากนิสิตเกษตรฯไม่รู้สึกว่าตนถูกเหยียดหยามประณามหมิ่นจากรัฐ ก็ควรสำนึกได้ว่าการที่รัฐทำกับตนเองเช่นนี้เป็นการใช้อำนาจที่แยบยลจากอำนาจรัฐกระทำต่อตนเอง แล้วจะไม่ทำอย่างนี้กับคนรุ่นต่อไป

นิสิตเกษตรศาสตร์กำลังทำข้อสอบ 



ความเห็น (5)

ขำไม่ออกเลย แต่นักศึกษาก็ยอมถูกกระทำ

ใช่ครับ นักศึกษายอมถูกกระทำอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่รู้ว่าตนถูกรัฐกระทำ หรือยอมให้ตนถูกกระทำเป็นเพราะคนที่สั่งเป็นครูของตน นี่ไงครับที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในกาลามสูตร 10 ว่า อย่าเชื่อเพราะคนที่พูดนี้เป็นครูของเรา

หากกล่าวถึง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” นั้น ภาพนี้น่าจะตอบว่า “ไม่มี” เป็นเรื่องเศร้าครับ

อธิการบดี หรืออย่างน้อยคณบดีควรนำเรื่องนี้เข้าประชุม เข้าใจว่าอาจารย์จะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่งง เด็กยุคนี้ไม่น่าจะยอมทำตาม

ขอบคุณครับสำหรับความเห็นของคุณ Wasawat และคุณ GD สำหรับคุณ Wasawat เรื่องนี้น่าจะไม่เหลือศักดิ์ศรีของเป็นมนุษย์เหลืออยู่เลยครับ เพราะการที่อาจารย์ทำอย่างนี้ แสดงว่า "นิสิตนักศึกษา" ของอาจารย์ชอบที่จะโกงข้อสอบกัน สำหรับคุณ GD อาจมาจากหลายสาเหตุครับ การที่นักศึกษายอมทำตามครู ผมขอเดาว่าครูเป็นครูที่มีอำนาจอาญาสิทธิ์และเป็นคนให้เกรดและคะแนนในการสอบครั้งนี้ 

 

 

 

 

 

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ผมว่าจะหยุดเขียนบันทึกไว้หน่อย ช่วงนี้มีงานเยอะมากครับ เรื่องที่อยากเขียนก็มี 1. ประวัติเรื่องการแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ 2. ประวัติการรับน้อง 3. แนวคิดของโครงสร้างนิยม ไว้ว่างค่อยเขียนนะครับ



ความเห็น (2)
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

เมื่อสองวันก่อน ผมได้ดูหนังเรืองซอมบี้ที่น่่ารัก โหยอยากวิจารณ์เรื่องนี้มากเลยครับ ซอมบี้คือคนในยุึคนี้ เอาแต่เดินเรื่อยเปื่อย คุยได้เล็กน้อย หรือไม่คุยเลย เมื่อก่อนชอบใช้โทรศัพท์ ซอมบี้คืออีกภาคหนึ่งของ "คนบ้า" เหมือนกับเรื่องรายการ Thailand Got's Talent ที่ผมเคยเขียนไว้เลยครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ผมว่าจะเขียนเรื่องประวัติศาสตร์การรับน้อง แต่พอดีมีงานอื่นๆที่ต้องเขียนอีกมาก เรื่องภาคใต้ก็ยังเขียนไม่เสร็จ ฯลฯ สงสัยต้องเขียนให้เสร็จไปเป็นเรื่องๆเสียแล้ว



ความเห็น (2)
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ตอนนี้ผมกำลังอ่านประวัติศาสตร์เรื่อง "การรรับน้องอยู่" แล้วผมจะมานำเสนอในบันทึกนะครับ



ความเห็น (1)
ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ผมกำลังเขียนเรื่องไทยแลนก็อตทาเลนท์โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรม เสร็จเมื่อไรจะนำลงบันทึกึครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

ผมละลายกับบันทึกใต้ไปหลายวันแล้ว มัวแต่ศึกษาเรื่องประชาธิปไตยอยู่ วันต่อไปจะได้เขียนเรื่องใต้กันต่อไปครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

วันนี้ถึงกรุงเทพฯแล้ว พรุ่งนี้เก็บฉี่ 24 ชั่วโมงาครับ



ความเห็น (1)

ผลออกมาแล้ว เบาหวานปกติ ค่่าไขมันเลลดลง ไขมันดีเพิ่มขึ้น แต่ค่าไตทำไมเพิ่มก็ไม่รู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท