อนุทินล่าสุด


03 ศิโรรัตน์ แก้วมงคล
เขียนเมื่อ

                     ธรรมจักกัปปวัตนสูต

วันอาสาฬหบูชา

ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี พ.ศ.2555 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 3 สิงหาคม

          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8 

          วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ 

          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 

    1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค 

           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค 

          ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่ 
      
           1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง 

           2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม 

           3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต 

           4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต 

           5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต 

           6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี 

           7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด 

           8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน 

    2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่  
    
           1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด  
    
           2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ  
    
           3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา  

           4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น 


กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา 

           พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา
 ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้

อ้างอิงจาก kapook ขอบคุณภาพประกอบจาก dhammathai.org 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

03 ศิโรรัตน์ แก้วมงคล
เขียนเมื่อ

                ข้อมูลและความรู้สึกที่ไปสัมภาษณ์ชาวต่างชาติ

ดิฉันสัมภาษณ์ชาวต่างชาติเมื่อวันพุธที่ 1 เดือนสิงคม พ.ศ.2555 เวลา 17.45 น.

สถานที่สัมภาษณ์ ทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี

      ดิฉันนัดกับเพื่อนหลายกลุ่ม เพื่อที่จะไปสัมภาษณ์ชาวต่างชาติกัน เรานัดเจอกันที่ทุ่งศศรีเมืองตรงลานหน้าศาลหลักเมือง เมื่อเพื่อนทุกคนมากันครบแล้ว พวกเราจึงเลือกเดินไปที่พิพิธพันธ์ข้างทุ่งศรีเมือง พอเราเจอชาวต่างชาติพวกเราจึงรีบเดินเข้าไปขออนุญาติสัมภาษณ์ โดยเพื่อนกลุ่มของวราภรณ์ จันชะนะสัมภาษณ์ก่อน ดิฉันจึงอาสาถ่ายวีดีโอให้ แต่กล้องของปริศนา มาลาสาย ดันความจำกล้องเต็ม ไม่สามารถถ่ายได้ ดิฉันเลยนำกล้องโทรศัพท์ของดิฉันขึ้นมาถ่าย แต่กล้องของดิฉันมีปัญหาอยู่ว่ามันเอาข้อมูลในเครื่องออกยาก สายที่เสียบลงคอมพิวเตอร์ก็ไม่ค่อยดีนัก แต่สถานการณ์มันฉุกเฉิน ชาวต่างชาติเขารอเลยต้องรีบถ่าย พอกลุ่มวราภรณ์ถ่ายเสร็จ กลุ่มของดิฉันก็เดินหาชาวต่างชาติต่อ พอไปเจอชาวต่างชาติผู้หญิงกำลังเดินมาดิฉันจึงเดินเขาไปถามด้วยคำถามที่ว่า

   excuse me,Do you have a freetime for our interview you a faw question?

หลังจากนั้นดิฉันและเพื่อนจึงเริ่มแนะนำตัวตามประโยคที่อาจารย์ให้มา

แล้วดิฉันก็ได้ถามข้อมูลตามที่ดิฉันและเพื่อนได้หามาคือ

1.May i have your name ,please ?

ชาวต่างชาติตอบว่า= Carria (ฉันได้ยินไม่ค่อยชัดเพราะเขาพูดเบามาก แถมดิฉันฟังไม่ค่อยรู้เรื่องอีก ตื่นเต้นมาก)

2.Where are you from ?

ชาวต่างชาติตอบว่า= Australia (ประโยคนี้ที่เขาตอบ ดิฉันและเพื่อนก็ไม่มั่นใจอีกตามเคย ลองฟังดูในคลิปก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง)

3.How do you think about the Candle Fastival ?

=ประโยคนี้ดิฉันฟังไม่รู้เรื่องเลยค่ะ

4.Where do you stay ?

ชาวต่างชาติตอบ= I am in ubon.(ดิฉันจึงมารู้ที่หลังว่าชาวต่างคนนี้น่าจะอาศัยอยู่ที่อุบลฯมานานพอสมควร หรือเธออาจทำงานที่อุบลฯ เพราะดิฉันเห็นหลังจากที่ไปสัมภาษณ์เธอเสร็จแล้วหลายวัน เห็นเธอเดินหลังวัดแจ้งบ้าง  ข้างโรงบาลบ้าง แถวโรงเรียนเบญจะมะมหาราชบ้าง)

พอตอนสัมภาษณ์เสร็จดิฉันได้กล่าวขอบคุณ "คุณcarria" และได้ให้ "postcard"รูปต้นเทียนเป็นของที่ระลึกแก่เธอ เธอยิ้มดีใจ ดิฉันดีใจที่เธอชอบค่ะ

(ปัญหาของกลุ่มดิฉัน กลุ่มของวราภร และกลุ่มของปดิวรัดา มีอยู่ว่ากำลังหาทางที่จะเอาคลิปสัมภาษณ์ชาวต่างชาติออกจากโทรศัพท์อย่างไร  แต่ดิฉันก็จะพยายามหาทางออกให้ได้ โดยการไปร้านซ่ิอมโทรศัพท์ หรือไปหาผู้รอบรู้ค่ะ)

ความรู้สึกที่ดิฉันได้ไปสัมภาษณ์ ดิฉันตื่นเต้นมาๆค่ะ กล้าๆกลัวๆแต่ไงก็สู้แล้วกัน พอตอนสัมภาษณ์ดิฉันก็พูดผิดเยอะ สำเนียงก็ไม่ถูกต้อง แต่ดิฉันใช้รอยยิ้มของคนไทยเป็นอาวุธ กันหน้าแตก(หัวเราะ) การสัมภาษณ์ครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดี ดิฉันได้ฝึกความกล้าแสดงออก และความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน ดิฉันจะพยายามฝึกพูดกับชาวต่างชาติให้มากกว่านี้ อาจารย์วิไล แพงศรี ได้เป็นผู้แนะนำและมอบโอกาสดีๆ ประสบการณ์ที่สอนดิฉันมากมาย ขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ



 

 

 



ความเห็น (1)
  • excuse me,Do you have a freetime for our interview you a faw question?
  • สาขาภาษาอังกฤษต้องใช้ภาษาให้ถูกต้อง
  • Excuse me. Do you have free time to answer us  few questions?
  • 10/10
  • ขอบใจนะคะ ที่พยายามนำคลิปไปให้อาจารย์ประเมินจนได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท