ดอกไม้


beeman 吴联乐
เขียนเมื่อ

<อนุทิน ๓๓๒> : วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

  • เล่าเรื่องน้องเมย์ รักชนก...1. กำหนดเป้าหมายว่าจะเป็น แชมป์โลก และแชมป์โอลิมปิค แบดมินตันหญิงเดี่่ยว.. 2. วิธีคิดคือ คนที่จะเป็นแชมป์โลกต้องมีวินัย และอดทนในการฝึกซ้อมอย่างหนัก ปิดจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งให้กับตนเอง....วิธีการก็คือมีตารางฝึกซ้อมวันละ 3 เวลา รักไม่ยุ่งมุ่งแต่การฝึกซ้อม ฝึกท่าไม้ตายของตนเอง (ที่เคยเป็นจุดอ่อน ตีไม่ได้) คือ ลูกตบแบคแฮนด์, ท่าประจำ คือ ลูกตัดโฟร์แฮนด์ครอสคอร์ด..ฝึกพละกำลัง ตี เซ็ต 3 ให้ได้โดยไม่หมดแรง (ซึ่งทำได้แล้ว โดยเอาชนะมือ 1 ของโลก 2 คน คือ ลี เซี่ยวเร่ย กับ แคโรไลนา มาลิน โดยการตี 3 เซ็ต.. 3. กำหนดระยะเวลา คือ เป็นแชมป์โลกอายุน้อยที่สุด (ในระดับเยาวชน อายุ 14 ปี แชมป์ 3 สมัย) ระดับโลกเป็นแชมป์โลกอายุน้อยที่สุด 18 ปี และจะเป็นแชมป์โอลิมปิค ตอนอายุ 21 ปี (2016) และ 25 ปี (2020) 4. ประกาศให้โลกรู้ เขียนประกาศไว้ในโครงการ Hero Project 5. ลงมือทำทันที (เล่นแบดมินตันตั้งแต่อายุ 5 ปี มีโค้ช เซี้ยะ เป็นผู้ฝึกสอน แล้วได้ พี่เต้ลูกแม่ปลุก เป็นผู้ฝึกสอนอีกคนหนึ่ง-มีโปรแกรมการฝึกซ้อมอย่างหนัก และมีนักวิทยาศาสตร์การกีฬาช่วยดูแล)
3
0
beeman 吴联乐
เขียนเมื่อ

<อนุทิน ๓๓๙> : วันเสาร์ที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

  • ลองคิด (ส่วนของเงินต้น) เงินสะสมในกบข. ซึ่งสะสมมาตั้งแต่ 27/03/2540 เป็นเวลา 19 ปี 1 เดือน มีเงินสะสมอยู่ 205,555 บาท (3%) ของรายได้ แสดงว่า 19 ปี ที่ผ่านมา (อายุราชการจริงเท่ากับ 29 ปี มากว่าท่านอาจารย์ธวัชชัยราว 7 ปี) มีรายได้รวม 6,851,840 บาท (คิดย้อนกลับไป 100% เป็นคณิตศาสตร์ที่เรียนมาตอนชั้นประถมปีที่ 4....ความเห็น จริงๆ การศึกษาภาคบังคับ เรียนถึง มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ก็เหมาะสมแล้ว เพราะสามารถเอาความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้เกือบหมด)
  • ทำงาน ๑๙ ปี ยังมีรายได้รวมไม่ถึง 7 ล้าน ถ้ารวมอีก 10 ปี ก่อนหน้านั้น ก็น่าจะรวมกันอีกสักหน่อย เป็น 8.5 ล้านบาท..เท่านั้นเอง
  • ถ้าเงินเก็บ 30% ของ 8.5 ล้านบาท ก็ตกราวๆ 2.5 ล้านบาท...ซึ่งถ้ารวมทุกตัวที่เป็นเงินออม+เงินลงทุน ก็น่าจะใกล้เคียง กับ 2.5 ล้านบาท นับได้ว่าสามารถทำได้ตาม แผนวงจรการเงิน คือ
  • มีสินทรัพย์ 5 ล้าน หนี้สิน 1.5 ล้าน...ผลต่าง 3.5 ล้าน แต่เป็นเงินฝากคนอื่นๆ ราว 1 ล้าน ผลจึงเป็น 2.5 ล้านบาท (มีแนวคิดที่พี่ชายบอกมา คือ ตอนเราเกิดมา มีแต่ตัวเปล่าขาวๆ แล้วทุกวันนี้ เรามีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน มีปัจจัย ๔ ครบถ้วน ไม่ขาดแคลน นับว่าเป็นกำไรชีวิตแล้ว ชีวิตจะเอาอะไรกันนักหนา..อย่าโลภ และดำเนินชีวิตอย่างมีสติ เมื่อ "ได้" อย่าดีใจจนเกินไป และ เมื่อ "เสีย" ก็อย่าเสียใจจนเกินไป ทำชีวิตให้สมดุล ทุกวัน อยู่แบบพอเพียง)
  • เงินบำนาญอีก 30 ปี เป็นเงิน 11 ล้านบาท...เป็นชีวิต ที่ "เกษียณสุข" ครับ
7
3
beeman 吴联乐
เขียนเมื่อ

<อนุทิน ๓๔๑> : วันอังคารที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

  1. ผลพวงจากสังคมผู้สูงอายุ วันนี้ต้องโอนเงินไปช่วยพี่สาวในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ๓,๐๐๐ บาท
  2. ไปตามเรื่องที่คณะเรื่องเบิกเงินค่าเล่าเรียนบุตร ๑๗,๖๐๐ บาท เรื่องที่ฏีกาออกวันที่ ๒๔ เมษายน วันนี้ได้เช็คแล้ว (ใช้เวลา ๑๖ วัน) ส่วนพวกที่ฎีกาออกวันที่ ๒๙ เมษายน (ต่างกัน ๔ วัน) จะได้รับเช็ควันที่ ๑๙ พฤษภาคม (ใช้วเลา ๒๐ วัน) ผลพวงจากวันหยุดมาก จึงเป็นแบบนี้
  3. ต้องการใช้เงินวันที่ ๑๖ พฤษภาคม เพื่อไปเคลียร์หนี้บัตรเครดิต แต่เมื่อเงินออกช้า กำลังคิดหาวิธีแก้ไขอยู่ ถ้าส่งเงินช้าจะถูกปรับประมาณ ๔๐๐ กว่าบาท
  4. มีโทรศัพท์จาก บัตร (Telesale) Scb platinum เสนอเงื่อนไขเงินกู้มาให้ว่าเงินคงเหลือในบัตรอีกเป็นแสน จะนำมาใช้ไหม โอนเงินเข้าบัญชีไม่ต้องเสียค่ารูด ๓% และคิดดอกเบี้ยรายเดือนแค่ 0.93% (ถูกสอนว่าถูกมาก) เมื่อเป็นดังนี้สมองต้องคิดเร็ว ว่าดอกเบี้ยเป็น 11.76% ต่อปี แต่ดอกเบี้ยต้องคิดแบบ flat rate
  5. ถามต่อไปอีกว่า เสนอเงื่อนไขอย่างไร เขาว่าเอาเงินออกมาขั้นต่ำ ๑ หมื่น และผ่อนรายเดือนขั้นต่ำสุด ๔ เดือน เราก็เลือกแบบนี้เลยคือ ขอกู้ ๒ หมื่น (เพื่อให้ clover เงิน ๑๗,๖๐๐ บาท-อยู่ดีๆ หมุนเงินไม่ทันก็ต้องเสียดอกเบี้ย-กรุงไทยธนวัฏ จะเสียดอกเบี้ยรายวันเท่ากับ 11.5% ไว้ใช้ยามฉุกเฉินแต่เสียค่าเปิดวงเงิน ๒๐๐ บาทต่อปี)
  6. เราจะต้องส่ง ๔ เดือน เดือนละ ๕,๐๐๐ + 186 บาท รวมดอกเบี้ยที่เสียไป ๔ เดือนเท่ากับ ๗๔๔ บาท ซึ่งมันคิดมาจาก 0.93%*20,000*4 เท่ากับ ๗๔๔ บาท หรือ คิดเป็นอัตราดอกเบี้ย 3.72% ตอ ๔ เดือน..
  7. ดูเหมือนมาก แต่ถ้าเราเอาเงินนี้ไปหมุนเร็ว ก็จะได้ผลตอบแทนคุ้มกับดอกเบี้ยที่เสียไป เพราะหนี้นี้ ไม่ได้เป็น"หนี้จน" เนื่องจากเราจะทำให้เป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ ไม่ได้เป็นแค่หนี้บริโภค...ได้เงินก้อน ๒ หมื่นวันที่ ๑๐ พฤษภาคม แต่เราจะไปจ่ายงวดแรก ๕,๑๘๖ บาท วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ คือมีเวลาให้เราหมุนเงิน ๔๕ วัน..
4
0
beeman 吴联乐
เขียนเมื่อ

<อนุทิน ๓๔๓> : วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

  • ราว 7 วันก่อน ไปซื้อกางเกงขาสั้นแค่เข่า มีกระเป๋าข้าง ข้างละ 3 กระเป๋า และกระเป๋าหลังอีก ๒ กระเป๋า รวมเป็น 8 กระเป๋า สนนราคาแค่ 69 บาท
  • ปีก่อนซื้อกางเกงขายาว 2 ตัว ตัวละ 100 บาท
  • สัปดาห์หนึ่งอย่างน้อยใส่กางเกงซ้ำตัว ตัวละ 1 ครั้ง ปีละ 52 ครั้ง เท่ากับจ่ายวันละ 2 บาท แต่ตัวหนึ่งใช้ได้ 10 ปี เท่ากับใส่ 500 ครั้ง ต้นทุนวันละ 20 สตางค์ (ไม่คิดค่าซัก) ดังนั้นเสื้อผ้า เป็นปัจจัยสี่ที่ราคาถูกที่สุด (สงสัยว่าทำไมไม่เลือกอากาศที่เราหายใจเป็นปัจจัย 4 ด้วย) ตกวันละไม่เกิน 1 บาท (ใส่ 4 ชิ้น)
  • บ้าน 1 หลัง ราคา 5 แสน อยู่ได้ 4 คน เป็นเวลา 30 ปี (ไม่คิดค่าน้ำค่าไฟ) คิดแล้วตกคนละ 11 บาทต่อวัน
  • ค่าอาหาร ถ้าซื้อเขากินหรือซื้อมาทำกิน 3 มื่้อ น่าจะคนละ 50 บาทต่อวัน
  • ยารักษาโรค ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคขนาดไหน กินยาเบาหวาน วันละ 2 เม็ด ตกวันละ 2 บาท
  • สรุปว่า ปัจจัย ๔ นั้นค่าอาหารแพงสุดๆ แต่ถ้าผลิตเองได้ไม่ต้องซื้อก็จะต้นทุนต่ำมาก
3
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท