อนุทินล่าสุด


ดร. ศักดิ์ ประสานดี
เขียนเมื่อ

การบริโภเนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูดตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ๑. เนื้อที่ตนเห็น๒. เนื้อที่ตนได้ยิน๓. เนื้อที่ตนสงสัยเรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ๑. เนื้อที่ตนไม่เห็น๒. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน๓. เนื้ที่ตนไม่สงสัยาคเนื้อสัตว์ที่ไม่ผิดวินัย ตามแนวพระพุทธดำรัส

รายละเอียด อ่านในพระไตรปิฎกอ่านง่าย เรื่องชีวกสูตร โดย ดร.ศักดิ์ ประสานดี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร. ศักดิ์ ประสานดี
เขียนเมื่อ

สารบาญ ของพระไตรปิฎก เล่มที่ 10 และ 11 นับต่อจากเล่มที่ 9

๑๔. มหาปทานสูตร เรื่องประวัติของอดีตพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์
๑๕. มหานิทานสูตร เรื่องกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ๑๖. มหาปรินิพพานสูตร เรื่องการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ๑๗. มหาสุทัสสนสูตร เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ์มหาสุทัสสนะ ๑๘. ชนวสภสูตร เรื่องสนังกุมารพรหมผู้มีเสียงอันไพเราะ ๑๙. มหาโควินทสูตร เรื่องธรรมที่พระพุทธองค์สอนดีแล้ว
๒๐. มหาสมยสูตร เรื่องการประชุมของเหล่าเทพ ๒๑. สักกปัญหสูตร เรื่องอะไรเป็นเครื่องผูกพันเหล่าสัตว์ ๒๒. มหาสติปัฏฐานสูตร เรื่องหลักของการเจริญสติ ๒๓. ปายาสิสูตร เรื่องพระเจ้าปายาสิไม่เชื่อโลกหน้า เล่มที่ ๑๑ ๒๔. ปาฏิกสูตร เรื่องนักบวชเปลือยท้าแข่งอิทธิฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า ๒๕. อุทุมพริกสูตร เรื่องการบำเพ็ญตบะ ๒๖. จักกวัตติสูตร เรื่องอานุภาพของกุศลและอกุศล ๒๗. อัคคัญญสูตร เรื่องต้นกำเนิดของโลก ๒๘. สัมปสาทนียสูตร เรื่องพุทธวิธีการพูดและการนำเสนอ ๒๙. ปาสาทิกสูตร เรื่องเหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่มั่น ๓๐. ลักขณสูตร เรื่องลักษณะของมหาบุรุษ ๓๒ ประการ
๓๑. สิงคาลกสูตร เรื่องการไหว้ทิศคือความสัมพันธ์ทางสังคม ๓๒. อาฏานาฏิยสูตร เรื่องการอารักขาโดยธรรม ๓๓. สังคีติสูตร เรื่องพระสารีบุตรจัดหมวดหมู่พระธรรม ๓๔. ทสุตตรสูตร เรื่องธรรมเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ๑๐ หมวด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร. ศักดิ์ ประสานดี
เขียนเมื่อ

พระไตรปิฎกอ่านง่าย ยิ่งทำการศึกษา เรียบเรียง ยิ่งพบความล้ำลึกของคำสอน ความน่าอัศจรรย์ มากมายเช่น คนยุค 2,500 ปีที่แล้ว สามารถเรียบเรียงคำสอน บันทึกความรู้แบบนี้ได้อย่างไร ไม่มีนักปราชญ์รุ่นหลังๆ จะเขียนหนังสือได้มากมายก่ายกองขนาดนี้ แต่ละพระสูตร มีองค์ความรู้ ที่สำตัฐ ที่น่าจะไม่ล้าสมัย ผมลองทำสารบาญ เรื่องมาให้ดู ใครสนใจเรื่องอะไร ก็ลองไปหาอ่านดู เพราะผมไมได่้ลงทั้งหมด หรือใครจะแนะนำให้ผมเอาสูตรไหน ไปปรับปรุงถ้อยคำ แล้วเอามาลงให้ ยินดีจะทำให้ครับ ลืมไปว่า ผมไม่ได้แปลหัวข้อพระสูตร เหมือนที่ฉบับหลวง หรือ ฉบับมหาจุฬาทำกันนะครับ ผมเอาสาระข้างใน มาตั้งเป็นหัวข้อเรื่อง เช่น เล่มที่ ๙ มีพระสูตรดังนี้ ๑. พรหมชาลสูตร เรื่องราวของทัศนะของนักบวชยุคพุทธกาล ๒. สามัญญผลสูตร เรื่องของอานิสงส์ของการเป็นสมณะในพุทธศาสนา ๓. อัมพัฏฐสูตร เรื่องความประเสริฐของความรู้และความประพฤติ ๔. โสณทัณฑสูตร เรื่องการอาศัยกันของศีลและปัญญา ๕. กูฏทันตสูตร เรื่องการทำความดีที่ลงทุนน้อยและได้ผลมาก ๖. มหาลิสูตร เรื่องจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา ๗. ชาลิยสูตร เรื่องจิตกับกายเป็นสิ่งเดียวกันหรือแยกออกจากกัน ๘. มหาสีหนาทสูตร เรื่องชีวิตนักบวชเป็นชีวิตที่เศร้าหมองจริงหรือ ๙. โปฏฐปาทสูตร เรื่องที่พระพุทธเจ้าสนใจจะตอบ ๑๐. สุภสูตร เรื่องกองธรรมอันประเสริฐ ๑๑. เกวัฏฏสูตร เรื่องปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนา ๑๒. โลหิจจสูตร เรื่องศาสดาที่ใครๆท้วงไม่ได้
๑๓. เตวิชชสูตร เรื่องทางไปสู่ความเป็นพรหม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร. ศักดิ์ ประสานดี
เขียนเมื่อ

อัคคัญญสูตร ว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ในทัศนะพระพุทธศาสนา เป็นหนึ่งใน พระไตรปิฎกอ่านง่าย ซึ่งผมทยอยเรียบเรียง ให้อ่านง่าย จะอ่านง่ายจริงหรือไม่ ก็ต้องให้ผู้อ่านสะท้อนให้ฟังโดยปกติ จะทยอยโพสต์ที่ Gotoknow วันละ 2 เรื่อง ฝากติดตามกันนะครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร. ศักดิ์ ประสานดี
เขียนเมื่อ

พระไตรปิฎกอ่านง่าย

การเก็บตัวอยู่ในบ้าน ช่วงไวรัสวายร้ายโควิด-19 ผมคิดว่าจะทำอะไรให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและแก่สังคมได้บ้าง จึงคิดถึงงานที่ทำมานานแล้ว แต่ก็คั่งค้าง ทอดทิ้งมานาน คือ การไปเรียบเรียงพระไตรปิฎก ให้อ่านง่ายๆ สำหรับคนทั่วไป ที่จะอ่านได้ ผมรู้สึกว่า การแปลพระไตรปิฎกเพื่อรักษารากศัพท์เดิม ทำให้อ่านเข้าใจยาก จำเป็นต้องเรียบเรียง แบบตัดทั้งบ้้างในบางข้อความ จำเป็นต้องหาภาษาไทยปัจจุบันมาแปลแทน แต่ที่ทำไปแล้ว ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะใช้ได้ไหม จะได้ประโยชน์จริงดังที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า จึงอยากฟังเสียงสะท้อนบ้าง
ผมจะใช่ชื่อหนังสือว่า พระไตรปิฎกอ่านง่าย หวังว่าจะจูงใจคนที่ไม่เคยได้อ่าน ให้ได้อ่านบ้าง ขอบพระคุณสำหรับท่านที่จะติดตาม และช่วยสะท้อน ผมหวังว่า หากได้ประโยชน์ก็จะพิมพ์เป็นธรรมทานต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท