อนุทินล่าสุด


กวิน
เขียนเมื่อ

journal [N] นิตยสาร, See also: วารสาร, Syn. magazine, periodical ,บันทึกประจำวัน, See also: ไดอารี, Syn. diary, chronicle, log ,หนังสือพิมพ์ประจำวัน, Syn. newspaper, gazette (1)


นิตยสาร ไม่ใช่ นิตยาสาร (นิตย+อสาระ=ไม่มีสาระอยู่เป็นนิตย์)
นิตยสาร แปลว่า มีสาระอยู่เป็นนิตย์ (นิตย=เนืองๆ/เสมอๆ)

ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเปิด กระดานแชท เพราะ พฤติกรรมการใช้ อนุทิน นับวัน จะคล้ายกระดานแชท (ไม่เคยเห็นนิตยสาร ประเทศใดในโลก ที่มี 3-4 บรรทัด)

ปล. แต่ถ้าเปิดกระดานแชท ก็อาจจะต้องเพิ่ม motto จาก GotoKnow: การจัดการความรู้ (Knowledge Management) / เครือข่ายสังคม (Social Network) +marriage bureau

อ้างอิง
(1) journals : พจนานุกรม Longdo English-Thai,  [cited 2009 january 13]. Available from:
http://dict.longdo.com/search/journals



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

คนไม่มีราก @30788 + @25529  

"ความผิดพลาดของคนอื่นเรามักจะเห็นชัดเจนใหญ่โตแต่ความผิดพลาดของตัวเองเรามองเท่าไหร่ก็มองไม่ค่อยจะเห็นเอาเสียเลย"

อรรถ นี้ ตรงกับอรรถ ในโคลงโลกนิติที่ว่า

โทษท่านผู้อื่นเพี้ยง   เมล็ดงา
ปองติฉินนินทา        ห่อนเว้น
โทษตนเท่าภูผา       หนักยิ่ง
ป้องปิดคิดซ่อนเร้น   เรื่องร้ายหายสูญ๚ะ๛

เมล็ดงา กับภูเขา คือ อุปมาอุปไมย (metaphor) ระหว่าง ความผิดของคนอื่น (เมล็ดงา/เล็กน้อย) กับความผิดของตนเอง (ภูเขา/ใหญ่โต) จริงๆ ถ้าใช้การคิดบวก (Posivtive thinking) เข้ามาอธิบายอรรถ ดังกล่าวก็จะได้ว่า คนที่เพ่งโทษของผู้อื่นนั้น เขากำลังทำ SWOT Analysis ให้กับผู้อื่นอยู่ แต่ทว่าเป็น SWOT Analysis ที่ไม่สมบูรณ์ เพราะมนุษย์ย่อมมี พฤติกรรม(ดี/เลว) ที่ตนเองทำไปแล้ว ตนเองไม่รู้ แต่ผู้อื่นรู้ (บริเวณจุดบอด) หรือ พฤติกรรม(ดี/เลว) ที่ตนเองทำไปแล้ว ทั้งตนเองและผู้อื่น ก็ไม่รู้ (บริเวณมืดมน) 


[ทฤษฎีทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ : แบบลายเส้นของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (The Johari-Window : graphic Model of Awareness in Interpersonal Relation) ของ โจเซฟ ลุฟท์ และแฮรี่ อิงแฮม (Joseph Luft and Harry Ingham)] 

งงมั้ย จะยกตัวอย่าง กรณีศึกษา (Case study) ให้ฟัง 

Ex :

ผู้หญิงคนหนึ่ง แอบชอบผู้ชายคนหนึ่ง ผู้ชายคนนี้ชอบถ่ายรูป วาดภาพ พอเรียนจบมหาวิทยาลัย ทั้งสองคนไม่ได้แต่งงานกัน ผู้หญิงคนนี้ ก็ยังรักผู้ชายคนนั้นอยู่ แม้นต่อมาเธอจะแต่งงานมีลูกกับผู้ชายอีกคนแล้วก็ตาม ฉะนั้นกิจกรรมที่ผู้ชายที่เธอรักชอบทำ เช่นถ่ายรูป วาดภาพ แต่งกลอน เธอก็รักด้วยเช่นกัน ต่อมาเมื่อเธอระหองระแหงกับสามี สามีไม่ให้เวลากับเธอ เธอก็จึงรู้สึกเคว้งคว้าง และรู้สึกว่าตนเองขาดความรักความอบอุ่น แม้นเธอจะไม่ได้แต่งงานกับคนที่เธอรัก แต่เธอก็เลือก ทำกิจกรรมเลียนแบบคนรักเก่าของเธอ (ถ่ายรูป วาดภาพ แต่งกลอน) และเมื่อเธอ เห็นผู้ชายบางคนที่ชอบถ่ายภาพ วาดรูป แต่งกลอน เธอก็จะรู้สึกดีๆ ด้วย และรู้สึกเหมือนกับว่าเธอนั้นได้อยู่ใกล้ๆ กับผู้ชายคนที่เธอรัก ฉะนั้นแม้นว่า เธอจะอยู่กับสามีของเธอ ในยามที่เธอวาดรูป หรือถ่ายภาพ หรือแต่งกลอน (เธอก็ย่อมคิดถึง แฟนเก่า) หรือในยามที่เธอไปกับผู้ชายคนอื่นที่ไม่ใช่สามี ในที่นี้หมายถึงเพื่อนๆ ของเธอ เพื่อถ่ายรูป วาดภาพ หรือแต่งกลอน (เธอก็ย่อมคิดถึงแฟนเก่า) พฤติกรรมที่เธอทำไปทั้งหมดนี้ ตัวเธอเองอาจจะมองว่าไม่มีอะไรเสียหาย แต่คนทั่วไปจะมองว่าไม่เหมาะสม (การมีผู้ชายมากหน้าหลายตาเข้ามาพัวพันในชีวิตย่อมไม่เหมาะสม) เพราะเป็นสภาวะที่เธอขาดความเข้มแข็ง ขาดความอบอุ่น ขาดความเชื่อมั่นที่จะรักตนเอง โหยหาความรักความอบอุ่นจากผู้อื่น (ผู้อื่นที่เธอคิดว่าเหมือนแฟนเก่าของเธอ : สิ่งที่เธอรู้สึกว่าขาด ก็คือความรักจากแฟนเก่า และสามี)

บริเวณเปิดเผย ก็คือ เธอชอบ วาดภาพ ถ่ายรูป แต่งกลอน มีครอบครัวอบอุ่น

บริเวณซ่อนเร้น ก็คือ ญาติ/มิตร (บางคน) ของเธอไม่รู้ว่าเธอมีปัญหากับสามี

บริเวณจุดบอด ก็คือ เธอมองว่าเธอมีสุขกับการถ่ายรูป วาดภาพแต่งกลอน และมีคนมาเอาอกเอาใจ ห่วงใย (สิ่งที่เธอขาดจากสามี และแฟนเก่า) แต่ผู้อื่นมองว่า ไม่เหมาะสมที่เธอจะนำเรื่องราว ของครอบครัวตนเองไปเล่าให้ผู้ชายผู้อื่นฟังเพื่อเรียกร้องความสนใจ (แทนที่จะเล่าให้ญาติพี่น้องของเธอฟัง) และผู้อื่นที่รู้ย่อมมองว่า เธอไม่ได้รักลูก ของเธอ แท้ที่จริงแล้วเธอรักตัวของตัวเธอเอง

บริเวณมืดมน
(ไม่รู้ ไม่มีใครรู้ แม้นแต่ตัวเธอเอง)

ฉะนั้นการทำ SWOT Analysis (ที่ไม่สมบูณ์) ให้เธอจึงยังมีความจำเป็นอยู่ (แม้นว่า คนอื่นๆ รวมทั้งตัวเธอจะมองว่าเป็นเรื่อง เมล็ดงา) ก็ตาม คนเราถ้ารู้ว่า คนอื่นมองตนเองอย่างไร ก็น่าที่จะปรับปรุงตัวให้ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป กว่าที่เป็นอยู่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

โคลงสี่(ไม่)สุภาพ กระทู้นำบท : ทะเลาะกับผัว กลับกลัวถูกด่า @ 234004

จำได้ว่าในสมัยเด็ก พ่อของกวินชอบเปิดเทปพระพยอมให้กวินฟัง พระพยอมท่านเล่าว่า ท่านทำให้คนชอบเมา เลิกเมาได้ ก็โดย ถ่ายรูปคนเมา เอาไว้ (ภาพถ่ายคนเมา ตอนเมาจึงสะท้อนอากัปกริยาอาการอันทุเรศเอาไว้ เช่นนอนคลุกกองอวก มีหมามาเลียปาก/เล่นกับหมามาเลียปาก) พอคนเมาได้เห็นตัวเอง ตอนเมา ก็จึง บังเกิดความละอาย และเลิกเมาในที่สุด ในชีวิตของเรานี้ จะมีกัลยาณมิตร สักกี่มากน้อยที่จะสะท้อน ภาพอันน่าทุเรศ ในยามที่เรามัวเมา ให้เราเกิดความละอายและดำเนินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร จะเห็นมีก็แต่พระพยอม กระมัง ที่ทำให้คน มัวเมา เลิกเมามัวได้ อนึ่ง การทำให้คนลุ่มหลงมัวเมา สร่างเมาคงต้องใช้เวลา การจะทำให้คนมัวเมา เลิกเมามัวได้ ก็คงมีหลายวิธี? ใครมีวิธีดีๆ ลปรร. มา ได้ นะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

Desperado + Nostalgia @  231284

ขอบคุณๆ ใบไม้ย้อนแสง ที่เข้ามาชวนคุยซะยาวเลยนะครับ เพลง THAT'S AMORE อ่านว่า เด็ด สะ มอเร่ (แปลว่า นั่นแหละคือความรัก) พจนานุกรม Longdo อธิบาย คำว่า amore ว่าคำนี้มีรากศัพท์มาจากภาษา อิตาลี กล่าวคือ

amoretto (แอมมะเรท' โท) n., (pl. -retti) แปลว่า กามเทพน้อย(From Italian-English Freedict dictionary [fd-ita-eng]:  amore ; affection, love) (1) 

การอ่านออกเสียงคำว่า "เด็ดสะมอเร่"  ซึ่งคำว่า  "That"  หูคนไทยย่อมฟัง พ้องเสียงกับคำว่า "Dead"  และคำว่า MORE รากศัพท์ภาษาละติน  แปลว่า ตาย (2)  ภาษาบาลี ตรงกับคำว่า มร/มรณ(ะ) ด้วยเหตุนี้คำว่า เด็ด สะ มอเร่ จึงเป็น ภาษาแสลง (slang) (อ่านว่า ภาษา สะ แหลง/สะแลง) ในภาษาไทยหมายถึง ความตาย นั่นเอง 


อ้างอิง

(1) amore : พจนานุกรม Longdo  [cited 2009 january 8]. Available from: http://dict.longdo.com/search/amore 

(2) คำบอกเล่าของนายเจย์ (อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาฯ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

 โรงเรียนกวีออนไลน์ ห้องเรียนกวี 3 @ 232943 โดย ครูกานท์ 


ภาพจากเว็บบล็อกของ คุณสุชาติ กาธิกาล http://www.oknation.net/blog/sathitpum 
ให้เขียนคำประพันธ์อันเป็นความบันดาลใจจากภาพนี้ [ครูกานท์ได้พิจารณาแล้วว่าไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนแห่งเธอ ไม่มีใครรู้ว่าเธอคือใคร แต่ปรากฏการณ์แห่งเธอ น่าจะเป็นสภาวธรรมให้เราท่านทั้งหลายเกิดก่อปัญญาและมโนคติ...] 



โคลงสี่(ไม่)สุภาพ กระทู้นำบท : ทะเลาะกับผัว กลับกลัวถูกด่า

ทะ
    นงนั่งดื่มเหล้า        แล้วเมา
เลาะ  ลัดรอบเมืองเพลา-  กลัดกลุ้ม
กับ    ใจที่ซึมเซา           วันศุกร์
ผัว    นอกใจจึงคลุ้ม-      คลั่งทิ้งลูกผัว

กลับ   หรือไม่กลับบ้าน-   ดีหนอ?
กลัว    ลูกรักจักรอ-         รับเก้อ
ถูก      หรือผิดก็ขอ-       โทษเถิด  ลูกเอย
ด่า      พ่อเอ็งเถิดเน้อ-     ที่ทิ้งแม่เหงา!!!??

จะให้ (ชาวบ้าน) สงสารหรือสมเพช ที่ทำตัวแบบนี้? (คนไม่รู้ตื้นลึกหนาบางก็ คงจะสงสาร คนที่รู้ตื้นลึกหนาบางก็คงจะสมเพช+เวทนา) เรื่องมันมีต้นสายปลายเหตุ??? นั่นเอง

ผู้หญิง บางคนจึงกล้าทำอะไร เพี้ยนๆ ไม่แคร์สายตาใคร ไปเที่ยวกะผู้ชายทุกคนที่เข้ามาทำดีด้วย (เหมือนคนมัวเมา) เช่นออกไปตระเวนถ่ายรูป นกกระยางข้างถนน ไปถ่ายรูปตามวัด นัดกันเรียนวาดรูป เพื่อประชดสามี แล้วก็มานั่งร้องไห้ ถามตัวเองว่า ทำถูกหรือทำผิด?? คิดได้เมื่อไร ก็คง เลิกเมา ล่ะนะแม่คุณเอ้ย...จริงๆ ทำตัวแบบนี้ ถ้ากวินเป็นสามีก็ทิ้งไปตั้งนานแล้ว (แต่เมื่อมีลูก สามีก็ต้องเห็นแก่ลูก และน้ำท่วมปาก ไม่รู้จะว่ากล่าวอย่างไร) เป็นปัญหาสังคม เด็กน้อย หนอเด็กน้อย เจ้าจะรู้สึกอย่างไร ถ้ารู้ว่าพ่อแม่เจ้าเป็นแบบนี้ แก้ที่สามีไม่ได้ก็ต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง (ไม่ใช่แก้ตัวไปวันๆ) นั่นคือภรรยา ต้องกลับตัวกลับใจ เลิกเมามัว และเลิกประชดชีวิต ให้เห็นแก่ลูก อย่าเห็นแก่ตัว เมื่อเลิกทำประชดชีวิตสามีคงสำนึกได้ และกลับมาให้เวลากับครอบครัวมากยิ่งขึ้น (จบนิทานประกอบภาพ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

 Crazy English...ภาษาอังกฤษที่ช่างแสนจะเพี้ยน... โดย โอ๋-อโณ

เวทีมวย (boxing rings) ก็เป็นรูปสี่เหลี่ยม (ไม่ใช่วงกลมทั้งๆที่เรียกว่า ring)

เรื่องนี้จิตร ภูมิศักดิ์ เคยเขียนไว้ครับ
ว่าด้วยเรื่องนิรุกติศาสตร์ เท่าที่จำได้ และสรุปให้สั้นๆ ที่สุด คำว่า จังหวัด มาจาก ฉวัด/เฉวียน=วนเวียนเป็นวงกลม

คำว่า สังเวียน ก็เช่นเดียวกัน คำว่า สังเวียน ก็มาจาก เฉวียน =ควง/วนเวียนเป็นวงกลม

ควง ก็แปลว่า วงกลม เช่น ควงไม้โพธิ์ แปลว่า (ร่มเงา)วงกลมรอบต้นไม้ชื่อ โพธิ์

จังหวัดจังเวียน=ฉวัดเฉวียน/สังหวัดสังเวียน (กลุ่มคำเดียวกันอันเกิดจากการเพี้ยนเสียง)

สมัยก่อนการชกมวยก็จะชก ในบริเวณที่ เป็น สังเวียน=วงกลม เมื่อเวลาเปลี่ยน อะไรๆ ก็เปลี่ยนไป เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ จะเหลือไว้ก็แต่ร่องรอยของกาลเวลาก็เท่านั้น


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
จิตร ภูมิศักดิ์. ภาษาและนิรุกติศาสตร์  .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ดวงกมล, 2522



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

50 อันดับ โรงเรียน คะแนน O-net 2551 ล่าสุด

http://www.pccst.ac.th/Ent/ent50_rank1.htm



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ขอบคุณพี่ หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ  @30150 สวัสดีปีใหม่ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

อาจารย์ wwibul  @29927 ครับ ละคร/นิทาน ชาดกเรื่อง สุวรรณสังข์ชาดก นี้มี ประเด็นที่น่าสนใจ ครับ  »  จุดจบของ คุณแม่ใจยักษ์ แต่แสนที่จะรักลูก 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

"ผู้รู้(มาก)ไม่ค่อยพูด ผู้พูด(มาก)ไม่ค่อยรู้"

ประโยคนี้ไม่ถูกต้องนัก  เพราะถ้าถูกต้อง หากนำไปเทียบกับอีกตรรกะหนึ่ง อีกตรรกะหนึ่งนี้ก็ต้องถูกต้องด้วยนั่นคือ

"คนรักลูกมากมักไม่ค่อยเขียนถึงลูกมาก คนเขียนถึงลูกมากมักไม่ค่อยรักลูกมาก"

ศาสดาทุกศาสดา ทรงพูดมากเหมือนกันหมด (พูดสั่งสอนชาวประชา) เก้าะแสดงว่าท่านไม่รู้?

หรือ

"คนฉลาดย่อมไม่เชื่ออะไรง่ายๆ มาก คนเชื่ออะไรง่ายๆ มากมักไม่ใช่คนฉลาด"

หรือ

"คนฉลาดมากมักไม่ รัก โลภ โกรธ หลง มาก คนที่ยัง รัก โลภ โกรธ หลง มา คือคน โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่โง่ โง่ โง่ โง่ โง่" (โง่มาก)

นั่นคือ เปลี่ยนจากการ เขียนบล็อก ดึกๆ ดื่นๆ บรรยายว่ารักลูก ไปดูแลลูกจะถูกกว่า

โดยสรุป คนฉลาดมาก  ทำอะไรก็มักจะถูกมาก/ ไม่ว่าจะเป็น ฟัง คิด ถาม เขียน (คนโง่ทำอะไรก็มักจะผิดหมด แต่ คนส่วนมากต้อง โง่ ก่อน จึงฉลาดทีหลัง?) เอแล้วทำไมหนังจีนจึงมีสำนวนที่ว่า รักนะเด็ก
โง่ (เด็กที่โง่ ทำอะไรก็คงจะดูน่ารักไปหมด แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ล่ะ?)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

เลิกอ่านงานของ มิเชล ฟูโก้ (Michel Foucault) ตั้งแต่รู้ว่า มิเชล ฟูโก้   เป็นกระเทย (เฒ่า)  ฟูโก้ ก็เอาแนวคิดของ  เฟรดริช นิทเช่  (Friedrich  Nietzsche) มาผสมกับแนวคิดของ โร ล็องด์ บาร์ตส์ (Roland Barthes) ก็ไม่เห็นมีอะไรใหม่  ห้วย อ่านงาน ฟูโก้ อ่าน พระมเหลเถไถ (เหล=เล๋?) หรือ อุณรุทร้อยเรื่อง ของ คุณสุวรรณ ยังจะได้อะไรมากกว่า

มเหลเถไถ :
เมื่อนั้น                            พระมะเหลเถไถมะไหลถา 
สถิตยังแท่นทองกะโปลา      ศุขาปาลากะเปเล     
วันหนึ่งพระจึงมะหลึกตึก       มะเหลไถไพรพรึกมะลึกเข
แล้วจะไปเที่ยวชมมะลมเต    มะโลโตโปเปมะลูตู 
ตริแล้วพระมะเหลจึงเป๋ปะ     มะเลไตไคลคละมะหรูจู๋ 
จรจรัลตันตัดพลัดพลู          ไปสู่ปราสาทท้าวโปลา  


อุณรุทร้อยเรื่อง :
โอ้ว่าพระทูลกระหม่อมแก้ว      หนีเมียไปแล้วพระโฉมศรี
มิได้สั่งสนทนาพาที               สกุณียังรู้สั่งยมนา
จรเข้ยังรู้สั่งอากาศ                สิงหราชยังรู้สั่งมหิงสา
หัศรังยังรู้สั่งไอยรา                นาคายังรู้สั่งสุบรรณบิน
เหมราชยังรู้สั่งซึ่งคูหา            แต่มัจฉายังรู้สั่งไพรสินธุ์
พยัคฆ์ยังรู้สั่งมฤคิน               พระภูมินทร์ควรฤาไม่อาลัยลา ฯ
จำจะยกโยธาคลาไคล           ตามองค์พระอภัยเชษฐา
ว่าพลางนางแปลงกายา         เป็นองค์สุดาเยาวมาลย์
รี้พลให้กลายเป็นโยธา           ไอยราแปลงเป็นคชสาร
พาชีแปลงเป็นอาชาชาญ        พระพรหมานแปลงเป็นท้าวธาดา
ไกรสรให้แปลงเป็นสิงหราช     สกุณชาติให้แปลงเป็นปักษา
พระราเมศแปลงเพศเป็นรามา   พยัคฆาแปลงเป็นพยัคฆี
พญาครุฑแปลงเป็นสุบรรณจร  วานรแปลงเป็นกระบี่ศรี
นาคาเป็นพญาวาสุกรี             โกสีย์แปลงเป็นท้าวหัสนัยน์

พระสุริยันต์นั้นเป็นทินกร                      ศศิธรเป็นดวงแขไข
เจ้าพลายงามแปลงนามเป็นหมื่นไวย      ชาละวันนั้นให้เป็นกุมภา
พระอิศวรแปลงเป็นพระศุลี                   ทรพีแปลงเป็นมหิงสา
เทเวศร์แปลงเพศเป็นเทวา                   กินนราแปลงเป็นกินนรี
พญาหงส์แปลงองค์เป็นเหมราช            พระดาบศแปลงชาติเป็นฤาษี
โคกลายกายาเป็นคาวี                        มฤคีแปลงเป็นมฤคา
มยุเรศกลายเพศเป็นยูงพลัน                 ทสกัณฐ์นั้นแปลงเป็นยักษา
อุณากรรณนั้นเป็นบุษบา                     ปันหยีแปลงกายาเป็นอายัน
ขุนแผนแผลงแปลงกายเป็นพลายแก้ว    สียาตราเพริศแพร้วเป็นหย้าหรัน
คนธรรพให้แปลงเป็นคนธรรพ์               นางพิมพ์กลายกายพลันเป็นวันทอง
ต่างตนสำแดงแผลงฤทธิ์                     ทศทิศไหวจบสยบสยอง
โยธาเหลือหลายก่ายกอง                     คับคั่งทั้งท้องสนามใน ฯ

ว่ากันว่า คุณสุวรรณ เธอเสียจริต (เป็นบ้า) แต่งานของเธอ ก็ยังอ่านรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง คล้ายๆ งานเขียนของ  นาย ฟูโก้ นาย นิทเช่ หรือนาย บาร์ตส์ ฮา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ


ที่มาของภาพจากบันทึก ห้องเรียนกวี 2 บทเดียวโดน @  231366  โดย ครูกานท์ 


เพลิงไหม้ ไร่อ้อย? (คนวางเพลิงคือคนสวมเสื้อแขนยาวในภาพ)

อันอ้อยอัคนิเกื้อ-         กูลหวาน
ไฟลุกไล่งูคลาน-         เคลื่อนลี้
ใบอ้อยที่คมปาน-        เปรียบมีด
ไหม้มอดหมดฉะนี้       ตัดต้นสะดวกแสน

--อันว่าอ้อยนั้นมี ไฟ คอย กื้อกูล ความหวาน (การเผาอ้อย ทำให้โดยโรงงานหักค่าความหวาน)
- (การเผาไร่อ้อย ก่อนที่จะตัดก็เพื่อไล่งู) เมื่อไฟไหม้ งูเห่า งูจงอางก็จะเลื้อยหนี
-(การเผาไร่อ้อย ก่อนที่จะตัดก็เพื่อเวลาตัดอ้อยจะได้ไม่โดนใบอ้อยบาด) ใบอ้อยคมเหมือนใบมีด
-(พอใบอ้อยถูกไฟ) มอดไหม้ (จนหมดไม่เหลือ เหลือแต่ต้นอ้อย อีกทั้งไม่ต้องกังวลว่างูจะกัด) การตัดอ้อยก็ง่ายขึ้น

»  สัญลักษณ์ว่าด้วย ควัน และ เพลิง/ไฟ ที่กวีโบราณ นิยมใช้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

 @29541+ @29573 +  231284 

 nussa-udon : ชีวิตที่ดีจะเกิดขึ้นกับคนที่มีจิตใจดี เสมอๆ เชื่อ เช่นนั้นทำไงได้ มีเรี่องเล่า Nostalgia หรือ “เรื่องดีๆ เล็กน้อยเกิดขึ้นตะกี้ ก่อนพี่เข้าบ้านแวะไปซื้อของชิ้นหนึ่งกับคุณตาอายุประมาณ 70+ได้ของราคา/200 บาท พี่เลือกตั้งนานสองนานกะว่าจะเอาไปให้ลูกสาว แต่พอจ่ายเงินแบงค์ 1000 คุณตารับไปและส่องดูด้วยแว่นขยายแล้วพลิกกลับไปมาอยู่นาน แถมยังทั้งขูดและแกะๆ ดูลายน้ำเพื่อความมั่นใจ แล้วคุณตาก็บอกพี่ว่าแบงค์ปลอม อ้าว งงงงโกรธคุณตาไหม ไม่นะ ว่าแต่ว่าไม่ได้ของฝากลูกเท่านั้น และเข้าใจคุณตาเหมือนกันว่า ถ้ามันเป็นแบงค์ปลอมจริงคุณตาคงสูญเงินให้พี่เยอะเลยนิ เข้าใจและอภัยให้จริงๆ จบแล้ว คิดแล้วพี่คงไม่ไช่ Desperado แน่ๆ เลย

กวิน : ขอบคุณพี่นุสที่นำเรื่องดีๆ มาฝากกวินนะครับ นี่ถ้าเป็นกวิน กวินก็คงจะ เข้าไปกระชากคอเสื้ออาเจ็กคนนั้น แล้วบอกว่า เจ็กดูใหม่ซิ กวินคงจะกลายเป็น Desperado แน่ๆ :)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ห้องเรียนกวี 1 กลอนล้อบทครู @ 230617 โดย ครูกานท์ 

ครูครับ กลอนของ ด.ญ. ภูสุภา ที่ว่า

เสียงดอกไม้ริมทางดอกหนึ่ง       ตัดพ้อกับผึ้งน้อยน้อยว่า
เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้ มา           ครั้นสมปรารถนาแล้วลาไกล
เสียงใบไม้ริมทางอีกข้างหนึ่ง      สื่อสารถึงดอกไม้หวานหวามไหว
หมู่ภมรบินว่อนเร่ร่อนไป             ตัดพ้อฤๅมีวันผันเปลี่ยนแปลง

1. ที่ ด.ช. กวินเห็นจากกลอนของ ด.ญ.ภูสุภา ก็คือ มีการ ชิงสัมผัส ในกลอน เพราะคำว่า ไกล ส่ง สัมผัสระหว่างบท กับคำว่า ไหว แต่คำว่า ไม้ ดันมาชิงสัมผัสไปเสียก่อน เวลาอ่านออกเสียงจึงทำให้กลอนฟังแล้วแปล่งๆ หูนะครับ เอ๋ยเอิงเงิงเงย

2. ด.ญ.ภูสุภา ชี้นำผู้อ่าน (ไม่ควรทำ) คือ ในกลอนของ ด.ญ.ภูสุภานั้นใช้ คำว่า หิว เป็นสัญลักษณ์แทน ความรัก (ราคะ) จึงไม่น่าที่จะ เอ่ยชี้นำในกลอนอีกว่า  ความหิว นั่นน่ะหรือคือ ความรัก ยกตัวอย่างกลอนของ ด.ญ.ภูสุภา ท่อนที่ว่า "เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้มา"

อนึ่งกลอนท่อนที่ว่า "เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้มา" อาจเป็นไปได้ว่า ด.ญ. ภูสุภา ต้องการใช้คำว่า หรือ? ในเชิงตัดพ้อว่า  การที่คุณผึ้งบินมาหาคุณดอกไม้ นั้น เป็นเพราะว่าคุณผึ้ง มีความรัก+คิดถึง ต่อคุณดอกไม้ (บินด้วยความจริงใจ) หรือ เพราะว่าคุณผึ้ง หิว (หวังดื่มน้ำหวานจากเกสรดอกไม้) แล้วจึงบินมาหา คุณดอกไม้ (บินมาด้วยความไม่จริงใจ) 
 
และ ด.ญ. ภูสุภา ควรใช้คำว่า ได้มา เป็น บินมา แทนนะครับ เพราะคำว่า ได้มา นั้น ด.ช.กวินอ่านแล้วเข้าใจผิด และคิดว่า คำว่า ได้มา มีความหมายเหมือนคำว่า ได้(รับ)มา ทำให้ตีความแล้วขัดแย้งกับบริบท (งงไปพักหนึ่ง) 

แต่ถ้าหาก ด.ญ.ภูสุภา ใช้คำว่า บินมา แทน ยกตัวอย่างเช่น "เมื่อหิวนักหรือรักจึงบินมา" ก็จะทำให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น ว่าตัวละครในกลอนนั้นคือ ผึ้งตัวผู้  ได้บินมาเชยชมดอกไม้แล้วก็ บินไป

วกกลับมาพูดเรื่อง สัญลักษณ์ ที่ ด.ญ.ภูสุภา ใช้ โดยใช้ ความหิว เพื่อสื่อถึงความ ความรัก ด.ช.กวินเห็นว่า ความรักนั้น มีทั้งที่ทำให้ อิ่ม และที่ทำให้ หิว และที่ทำให้ ไม่อิ่มไม่หิว (อยู่ที่ว่าเราจะเลือกมีความรักแบบไหน?) เหมือนที่คุณ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ ร้องเพลง น้ำตาหอยทาก ท่อนที่ว่า "เธอบอกว่ารักนั้นกินไม่ได้ เธอไม่เข้าใจ ยามรักไม่กินก็อิ่ม ลองทบทวนดูสัมผัสอ่อนนิ่มไม่อิ่มไม่หิวพร่ำเพ้อรำพัน" การให้คำจัดกัดความคำว่ารัก ว่าคือ หิว "เมื่อหิวนักหรือรักจึงได้มา" เช่นนี้นั้น ทำให้พาลนึกถึง เปรต ผู้มีความ หิว ด้วย อาจทำให้กลอนขาด สุนทรียะ ได้นะครับอาจารย์ครับ

จาก ด.ช.กวิน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ลูกคือโซ่ทอง คล้องใคร??? @  231183

อัศนี พลจันทร (นายผี)
 ได้แสดงทรรศนะ เกี่ยวกับ การผูก เอาไว้ใน กวีนิพนธ์เรื่องความเปลี่ยนแปลง ความว่า การผูก (ใจ+กาย) ช้าง ก็โดยการใช้เชือกหนังในการผูก การผูก (ใจ) งู ก็ด้วยการใช้ปี่เป่าสะกด ส่วน การผูกใจคน นั้น ก็ด้วยการใช้ ไมตรี (+ความดี +ความจริงใจ ฯลฯ ในการผูก)  ดังนั้น กษัตริย์เขมร ในสมัยก่อน ยึดเมือง ราชพรี (ราชบุรี) ได้แล้วแต่ชาวเมืองหาได้สวามิภักดิ์ไม่ ท่านจึงคิดอุบาย ที่จะผูกใจ ชาวเมืองราชพรีโดยการสร้างพระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นที่เมืองราชพรี (และคงจะพยายามกล่อมเกลาประชาชนว่า กษัตริย์คือ สมมติเทพ และเป็นพระโพธิสัตว์ ที่มาเสวยพระชาติ สมควรแก่การกราบไหว้) ยานี 11 บรรยายความไว้ดังนี้

พระริบ เอาราชพรี                      คือบุรี อันเรืองไร
จักริบหัวใจ ใจ-                          ก็ประจักษ์ บ่จำนน
เรือนใจใช่เรือนจำ                       ถลุงทำ ยังทานทน
เชือดร่อย สักร้อยหน                   ก็ยังเหิน ยังหาวหาย
ผูกช้าง เอาเชือกหนัง-                ย่อมรึงรั้ง บ่คลาคลาย
ผูกงู ให้งมงาย                           เอาปี่เป่า ประนังนันท์
ผูกใจก็ด้วยจิต-                          อันก่อมิตร เสมอกัน
กดขี่ และตีรัน-                           ซ้ำขูดรีดย่อมร้าวฉาน
เพื่อที่สมเด็จท้าว                        จะโน้มน้าว ในดวง    (โน้มน้าวดวงมาน ชาวราชพรี/ราชบุรี)
ปลูกปรางค์ ประจุสาร-                 ะธาตุพุทธ ที่เหลือเผา
เพื่อชน ผชุมชน                         ชเยศท้าวและเทียมเทา
บา* บุญ ใช่บางเบา                    ให้บัดทาส ถวายกร (2)    (ครู=บา หรือ บาบุญ=บ้าบุญ)

จะเห็นได้ว่า การผูกใจคน ตามทรรศนะของนายผี นั้นก็ด้วยการใช้ มิตรภาพ+ความดี ในการผูกนั่นเอง และที่เข้าใจกันแบบผิดๆ ว่าลูก คือโซ่ทองคล้องใจ (สามีภริยา) นั้น ก็จึงไม่ใช่ตรรกะ ที่ถูกต้องนัก ยกตัวอย่างเช่นหากผู้เป็น ภริยา  ไม่มีมิตรภาพ ให้แก่สามี หรือไม่มีความดีให้สามีเห็น ถึงจะมีโซ่ สัก 10 เส้น (มีลูกสัก 10 คน) สามีก็คงไม่อยากอยู่ด้วย กระมัง (แต่ถ้าทำแล้วสามีไม่เห็น ก็ถือว่า เขาตาบอดก็แล้วกัน)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

อาจารย์ จิราวรรณ teera ปัชชา @29548  ส่วนมากกวินรับปากใครแล้วมักจะทำไม่ได้ก็อย่าตั้งความหวังไว้สูงนักนะครับ ขนาดรับปากกะตัวเองบางเรื่องยังทำไม่ได้เล้ย :)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ได้เลยครับ อาจารย์ จิราวรรณ teera ปัชชา @29536 (คิดค่าจ้างแต่งไม่แพงหรอก ราคากันเอง :) แต่ขอรายละเอียดมากกว่านี้หน่อยนะครับ แต่คงไม่ได้ จะสอนเรื่อง เวมานิกเปรต ใช่มั้ยครับ :) 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @29492  » 231284

รู้สึกว่าตัวเองกำลังเป็นพวกที่มีอาการ Nostalgia อย่ากระนั้นเลย จึงต้อง ฟัง เพลง THAT'S AMORE' (เด็ดสะมอเร่) ของ Dean Martin เอ้ยเพลง  Desperado (เดสพะรา'โด) ของ The Eagles เพื่อให้เกิด อนุสติ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ลูกคือโซ่ทอง คล้องใคร??? @  231183

เรือนใจ ไม่ใช่เรือนจำ อย่ากักขังใจตนเองให้จ่อมจมอยู่กับความทุกข์ ความทะยานอยาก เช่นเดียวกับ เวมานิกเปรต เลย

เวมานิกเปรต
คือเปรตอยู่ วิมาน ได้เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรมเสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลาง คืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมาน มีร่างเป็นทิพย์สวยงาม เวลาจะเสวยทุกข์ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นน่าเกลียดน่ากลัว(2)

คนสมัยนี้ ก็ไม่ต่างไปจาก เวมานิกเปรต (วิมาน/เวมาน+เอก/อิก+เปรต=เปรตอยู่วิมาน) คือมีบ้านหลังโตๆ สวยๆ งามๆ มีบริวารแวดล้อม มีเสื้อผ้าอาภรณ์เพริศพริ้ง มีอาหารการกินบริบูรณ์แต่กินไม่ได้(อร่อย)รู้รส เพราะจิตใจมีแต่ความทุกข์ความทะยานอยาก นี่ขนาด ยังไม่ตายแท้ๆ ยังเสวยทุกข์ เป็น เวมานิกเปรต อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หากต้องตายไปจริงๆ ก็ต้องไปเป็น เปรตอยู่ใน เวมานิก อย่างไม่ต้องสงสัย อย่ากระนั้นเลย อย่าทำตนให้เป็นเหมือนเปรต กันอีกเลยนะ การหันหน้าเข้าวัดปฏิบัติธรรม บำเพ็ญพระวิปัสนากรรมกรรมฐานนั้นย่อม สามารถปิดหนทางอบาย (หนทางแห่งการไปเกิดเป็นเปรตได้) สาธุๆ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

กวิน @29365  

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี (ลูกคือวัว สามีคือพ่อวัว โซ่ (ทอง) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ฟาดวัว ไม่ก็ผูก) ถามว่าถ้าเชื่อคนโบราณว่า ลูกคือ โซ่ทอง (คล้องใจพ่อแม่ผู้เป็นวัวถึก) ก็แล้วทำไม สามีบางคนยังไปมี ม้อยเนีย

ม้อยเนีย
เป็นภาษาที่กวินคิดขึ้นเองแปลว่า เหมืองทอง เพราะสามี ย่อมมีความโลภ มีทองเส้นเดียวไม่พอ (คนทุกคนมี รัก โลภ โกรธ หลง ควรรู้ให้เท่าทัน) เมื่อมีทองหนึ่งเส้นก็ อยากมี 2 3 4 5 เส้นตามลำดับจนกระทั่ง อยากที่จะมี ม้อยเนีย หรือ เหมืองทองเหมืองใหม่ เหมือนที่ ศิรินทรา นิยากร ร้องเพลง รู้เขาหลอก เอาไว้ว่า "เขาพบบ่อทอง เขาพบบ่อเงิน เขาจะเมินไม่ว่า" ก็ถ้าเชื่อตาม ตรรกะของคนโบราณเมื่อ สามี มี ม้อยเนีย แห่งใหม่ ผลิต โซ่ ทองเส้นใหม่ เขาก็ย่อมรัก โซ่ทองเส้นใหม่นั้นได้ด้วยเหมือนกัน ไอ้โซ่เส้นใหม่ นั้นมันก็ ผูกพ่อวัว ให้อยู่กับ ม้อยเนีย ได้ด้วย นี่คือ ไตรลักษณ์ คาถา ป้องกันความ หลง ของ พอ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ตั้งคณา ท่านแนะนำให้ หมวงเลีย (แปลว่าเหมืองทองเหมืองเก่า) ท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจก็คือ "สักวันมันต้องทิ้งเรา" การทิ้งในที่นี้มีสองกรณี คือกรณีแรก ทิ้งกันตอนที่ยังเป็นๆ กรณีที่สองคือ ทิ้งเพราะตายจากกัน เมื่อเห็น ถึงหลักไตรลักษณ์ นี้แล้ว ก็จะไม่ยึดมั่นถือมั่นเกิดเป็นความทุกข์ และนำไปสู่ การทะเลาะเบาะแว้ง+กระทำประชดประชันกัน+ประชดชีวิต จนทำให้บรรดาญาติสนิทมิตรสหาย ต้องเป็นห่วง  เมื่อคิดได้ หรือได้คิด ความสันติก็จะบังเกิดมีขึ้นในเรือนใจ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

ห้องเรียนกวี 1 กลอนล้อบทครู @ 230617 โดย ครูกานท์ 

มาชมกลอนคุณ  เนปาลี ครับที่ว่า เสียงดอกไม้ดอกน้อยดอกหนึ่ง กระซิบบอกผึ้งน้อยไปว่า "มาจูบฉันสิ..ถ้าอยากมา หากไม่เห็นคุณค่า..ก็จงไป  ปกติการใช้คำซ้ำ กวีไม่นิยมใช้ แต่คุณเนปาลี ใช้คำว่า ดอก ซ้ำ 3 ครั้ง แต่กลับทำให้กลอนลงตัวได้อย่างไม่น่าเชื่อนะครับ ส่วนเนื้อหาก็ เป็นเชิงตัดพ้อ (เข้ากับสัญลักษณ์ ที่ใช้ เพราะ ผึ้ง+ภมร นิยมเป็นสัญลักษณ์แทนผู้ชาย ดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์แทนผู้หญิง)

อีกท่านหนึ่งคือกลอนของ ท่านอาจารย์ ศรีกมล ที่ว่า เสียงดอกไม้ริมทางดอกน้อยน้อย กระซิบบอกหิ้งห้อยออกไปว่า "ชีวิตวันใหม่กำลังจะมา ชีวิตเก่าของข้าฯ กำลังจะไป ถ้าจะเทียบกันในเรื่องการใช้สัญลักษณ์ ของกวินเอง และคุณ เนปาลี ก็จะใช้ ผึ้ง และ ดอกไม้ในเชิง เพศชายเพศหญิง (ที่มีความเกี่ยวพันธ์ในฐานะมิตรสหาย) แต่ สำหรับท่านอาจารย์ ศรีกมล ใช้สัญลักษณ์ให้ลึก เข้าไปอีก คือ นำ ดอกไม้+หิ่งห้อย เป็นสัญลักษณ์ของ ความมีอายุสั้น (เกิดแล้วก็ ดับไป สะท้อนให้เห็นหลักไตรลักษณ์) เพราะดอกไม้เมื่อเทียบอายุกับ ต้นไม้ ดอกไม้ย่อมมีอายุสั้นกว่าต้นไม้ และหิ่งห้อย (ผู้มีแสงสว่างในตัวเอง) เมื่อเทียบอายุกับ ดวงอาทิตย์ (ผู้มีแสงสว่างในตัวเอง) หิ่งห้อยย่อมมีอายุที่สั้นกว่าดวงอาทิตย์ และ อาจารย์ ศรีกมล เลือกใช้คำว่า กระซิบ ในท่อนที่ว่า กระซิบบอกหิ้งห้อยออกไปว่า "ชีวิตวันใหม่กำลังจะมา ชีวิตเก่าของข้าฯ กำลังจะไป ทำให้เกิด ได้อารมณ์มากกว่าปกติ เพราะคนที่ ท้อถอยกับชีวิต หรือมีชีวิตที่รอ ความตาย เช่นดอกไม้ที่กำลังจะเหี่ยวเฉา ย่อมที่จะกระซิบด้วยน้ำเสียงที่แผ่วเบา ปนหดหู่ (ซึ่งหากกลอนท่อนนี้ใช้คำว่า) ตะโกน บอกหิ้งห้อยออกไปว่า "ชีวิตวันใหม่กำลังจะมา ชีวิตเก่าของข้าฯ กำลังจะไป (ก็อาจจะได้อีกอารมณ์หนึ่ง แต่เมื่อใช้คำว่า กระซิบ ทำให้อารมณ์กลอนดูยิ่งเศร้าสะเทือนใจเข้าไปอีก) ครับ

ปล. กวินขอทำหน้าที่ ที่ปรึกษา (ตามที่ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์) และช่วยอาจารย์วิพากษ์กลอนตามกำลังของ มโนมยจักษุ  (ถือว่าเป็นการบ้านส่งการบ้านให้อาจารย์ด้วยนะครับ) มีอีกหลายๆ ท่านที่แต่งได้ดี อย่างไรก็ร่วมกันแสดงความคิดเห็นไว้ก็จะดีมากๆ เลยครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กวิน
เขียนเมื่อ

คำว่า Nostalgia หรือ “เรื่องดีๆ เมื่อวันวาน” ถูกกำหนดขึ้นโดย Johannes Hofer นักศึกษาการแพทย์ชาวสวิสที่รักษาผู้ป่วยด้วยโรค “คิดถึงบ้าน” หรือ homesick เมื่อปี 1688 ซึ่งเกิดจากการผสมคำกรีก 2 คำ คือ nostos แปลว่า “กลับบ้าน” และคำว่า algos แปลว่า “โหยหาหรือเจ็บปวด” ซึ่งคนเหล่านี้ต่างโหยหา “เรื่องดีๆ เมื่อวันวาน” เมื่ออยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดของตน ต่อมาคำนี้ก็ได้รับความนิยมและแผร่ หลายไปทั่วโลก จนถึงปัจจุบันผู้คนก็ใช้เรื่องของ Nostalgia กับต่างๆ นานาสารพัดสิ่งมากมาย ว่ากันว่าความทรงจำดีๆ ที่ผ่านมานั้น จะยังคงอยู่ตลอดไป และเป็นเรื่องของความรู้สึกมากกว่าความคิด หากได้สัมผัสกับบรรยากาศที่ทำให้หวนคิดถึงเรื่องอดีต กล่องความทรงจำก็จะเปิด ทำให้นึกถึงวันเวลาในช่วงนั้นๆ ซึ่งโดยมาก Nostalgia จะเกิดกับวัยทำงาน 20-50 ปีขึ้นไปซึ่งมีประสบการณ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นมากพอ  (1)

อ้างอิง
(1) พิศพร ประยุกต์วงศ์. เรื่องดีๆ เมื่อวันวาน (Editor). เวปไซต์หนังสือพิมพ์แนวหน้า. 2008 March [cited 2008 November 22] Available from: URL; http://www.naewna.com/news.asp?ID=100133



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท