อนุทินล่าสุด


04 จิรารัตน์ อินธิเดช
เขียนเมื่อ

ประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการไปสนทนากับชาวต่างชาติ

          ในวันพฤหัสบดี ที่ 2 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2555 เวลา 17.00 น. ณ บริเวณหน้าลานศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ข้าพเจ้ากับเพื่อนอีก 3 คน ก็ได้ร่วมทำกิจกรรมดีๆ ที่ทาง อ.ผศ. วิไล แพงศรี ได้มอบหมาย คือ กิจกรรมสนทนากับชาวต่างชาติที่ได้มาร่วมชมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2555 ก่อนจะทำการสนทนากับชาวต่างชาติข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นมาก และกลุ่มของข้าพเจ้าก็มีความกล้าๆ กลัวๆ ที่จะสนทนากับชาวต่างชาติ กลัวจะสนทนาไม่รู้เรื่อง  และแล้วกลุ่มของข้าพเจ้าก็ได้รวบรวมความกล้านานพอสมควร กว่าจะได้สนทนากับชาวต่างชาติ ซึ่งชาวต่างชาติท่านนี้ มีภรรยาเป็นคนไทยด้วย  ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าก็ได้สนทนาเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่

1.What  your name ?

2.Where  are you from ?

3.Have you ever been to Ubonratchathani ?

4.Who you you come  travel with ? 

5.Why do you like  ubonratchathani ?

             ชาวต่างชาติท่านนี้ชื่อ เบน  มาจากประเทศเบลเยียม และมาจังหวัดอุบลราชธานีเป็นครั้งแรก มาเที่ยวกับภรรยาที่น่ารักอีกด้วย ชอบจังหวัดอุบลราชธานีเพราะเป็นเมืองที่น่าอยู่ บรรยากาศดี  ชอบประเพณีแห่เทียนของชาวจังหวัดอุบลราชธานีเพราะมีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสิ่งที่ชอบมากที่สุดคือ การใช้ชีวิตที่เรียบง่ายของชาวจังหวัดอุบลราชธานี

             จากการที่ได้สนทนากับชาวต่างชาติแล้ว ก็รู้สึกดีใจและประทับใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้สนทนากับชาวต่างชาติ การพูดคุยในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความกล้าที่จะสนทนาหรือพูดคุยกับชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น การที่จะสนทนากับชาวต่างชาตินั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด ขอแค่เรามีความกล้าและความมั่นใจว่าเราสามารถทำได้ และการสนทนาในครั้งนี้ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

             ขอขอบพระคุณ อ.ผศ. วิไล แพงศรี มากๆนะคะ ที่มอบโอกาสดีๆ และกิจกรรมดีๆ ให้กับกลุ่มของข้าพเจ้าได้ร่วมกันทำในครั้งนี้

 

 



ความเห็น (5)

ถ้าจะให้ได้เรียนรู้แบบที่เพื่อนๆก็ได้เรียนรู้ด้วยน่าจะเขียนคำตอบเป็นภาษาอังกฤษที่เราได้ยินมาจากชาวต่างชาติที่เราคุยด้วย โดยไม่ต้องแปลจะยิ่งดีนะคะ เพราะ"ฝรั่ง"แต่ละชาติเขาก็มีวิธีการพูดภาษาอังกฤษ (ซึ่งอาจไม่ใช่ภาษาแรกของเขาเหมือนกัน) ที่หลากหลายด้วยนะคะ เอามาเปรียบเทียบกับคำที่พวกเราถูกสอนให้พูดดูซิว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ชาติไหนเป็นอย่างไร เหมือนและต่างกันตรงไหน 

ขอบคุณ 04 นรากร พิสิษพุฒิธาดา มากๆนะคะที่ได้มอบดอกไม้เป็นกำลังใจ

ขอขอบพระคุณ คุณโอ๋-อโณ มากๆนะคะสำหรับคำแนะนำที่ดีๆ หนูจะพยายามศึกษาข้อมูลและทำให้สมบรูณ์ในครั้งต่อไปค่ะ

  • ขอบคุณ "คุณโอ๋-อโณBlank" มากนะคะ ที่กรุณามาเป็นกำลังใจให้กับนักศึกษา พร้อมด้วยคำแนะนำดีๆ
  • "Blank" เขียนได้สมบูรณ์ตามข้อกำหนด อาจารย์ให้ 10/10
  • ประโยค/คำที่ใช้ไม่ถูกต้อง มีดังนี้

       1. What  your name ? (What' s your name? มาจาก What is)

          Ubonratchathani, ubonratchathani  (Ubon Ratchathani) คำนี้ทุกคนควรใช้ให้ถูกต้อง เพราะเป็นคำที่ปรากฏทุกหนทุกแห่งทั้งป้ายชื่อมหาวิทยาลัย ป้ายจราจร ฯลฯ 

       4. Who you (do?) you come  travel with ? (เป็นการแปลไทยเป็นอังกฤษแบบตรงตัว ซึ่งสำนวนสื่อสารภาษาอังกฤษจะไม่เป็นเช่นนั้น การถามว่า "ใครมากับคุณ หรือ คุณมากับใคร" อาจพูดได้ว่า "Who comes along with you? หรือ "Who are you accompanied by?"   

 

 

ขอขอบพระคุณ อ.ผศ.วิไล แพงศรี มากๆนะคะ ที่ได้เข้ามาให้ดอกไม้ ประเมินให้คะแนน และชี้แนะจุดที่บกพร่อง หนูจะพยายามศึกษาข้อมูลและพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษให้มากกว่านี้ค่ะ

04 จิรารัตน์ อินธิเดช
เขียนเมื่อ

ร่วมชมประเพณีแห่เทียนพรรษา  จังหวัดอุบลราชธานี  ประจำปี 2555 

  วันเข้าพรรษา

           วันเข้าพรรษา  เป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง  ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดระยะเวลา  3 เดือนตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า  จำพรรษา ( " พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน ,"จำ" แปลว่า พักอยู่ ) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้  ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม การเข้าพรรษาตากปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน ) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

           โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา     (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 )    ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2"

           ในวันศุกร์ ที่ 3 เดือน สิงหาคม พ.ศ.  2555  เวลา 09.00 น.  ผู้เขียนได้ร่วมชมขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา ณ ทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งเป็นงานแห่เทียนที่ยิ่งใหญ่และมีการแกะสลักเทียนพรรษาที่สวยงามมาก มีการประกวดขบวนแห่เทียนต่างๆที่แต่ละอำเภอส่งเข้าประกวดซึ่งแต่ละขบวนมีความสวยงามและความปราณีตที่แตกต่างกัน  ช่วงชมขบวนแห่เทียนพรรษาฝนตกลงมาปรอยๆบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการชมขบวนแห่เทียนพรรษา  นักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นคนไทยเองหรือคนต่างชาติก็ตาม  ยังให้ความสนใจและร่วมขบวนแห่เทียนพรรษาด้วยความสนุกสนาน

         ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นคนไทย ในช่วงเข้าพรรษา ควรเข้าวัด ฟังธรรม ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ทำจิตใจให้สงบ งดเว้นอบายมุขทั้งปวง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและยังได้อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คนรุ่นหลัง   ได้สืบทอดต่อไป 

                                  

                              

                                               

                          

https://www.google.co.th

                                                 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

04 จิรารัตน์ อินธิเดช
เขียนเมื่อ

ความคิดเห็นที่ได้จากการศึกษาบันทึก Positive  Thinking ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

     การที่เราจะทำอะไรหรือคิดอะไรก็ตามขึ้นอยู่กับจิตใจของเรา  เพราะถ้าเรามีความเชื่อมั่นและคิดในทางที่ดี ก็จะทำให้เราสามารถทำสิ่งนั้นได้และทำออกมาได้ดีทีเดียว แต่ตรงกันข้ามถ้าเรามองในแง่ร้าย และคิดแต่ว่าเราทำไม่ได้ ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลงมือทำเลย ก็จะทำให้เราไม่มีกำลังใจ  ไม่กล้าที่จะทำ ไม่มีความมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้น

   ดังนั้นการคิดถือว่ามีอิทธิพลมากต่อการปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตของเรา 

   ขอขอบคุณสำหรับข้อคิดดีๆ ที่ใช้ในการเรียน การทำงาน และการดำเนินชีวิตของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นค่ะ

 



ความเห็น (2)

ขอขอบคุณ คุณโอ๋- อโณ นะค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอขอบคุณ 03 อรดี ลีลาศ และ 02 ชฎารัตน์ ปุระมาปัด มากๆนะค่ะที่ได้เข้ามาอ่านบันทึกและให้กำลังใจ

04 จิรารัตน์ อินธิเดช
เขียนเมื่อ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์หน่วยงานราชการ

         ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีนับว่ามีความสำคัญมากสำหรับบุคคลทุกกลุ่มทุกอาชีพ     เพราะการสื่อสารการให้ความรู้การประชาสัมพันธ์ต่างๆต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพราะเทคโนโลยีสามารถทำให้เราสื่อสารหรือกระจายความรู้ต่างๆได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  จึงนับว่าเทคโนโลยีมีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน

          ปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารถือเป็นเรื่องสำคัญ  แต่พบว่าในกลุ่มผู้พิการยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีอยู่ยังไม่รองรับการใช้งานของผู้พิการข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประมาณการว่าไทยมีผู้พิการราว 1.8 ล้านคน หากคนกลุ่มนี้ได้รับโอกาสการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจะช่วยพัฒนาศักยภาพเป็นพลังในการช่วยเหลือสังคมได้ แต่จากการสำรวจพบว่า 90% ของเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่เอื้ออำนวยแก่ผู้พิการและผู้สูงอายุ เพื่อยก ระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้ สสส.จึงได้พัฒนาเว็บไซต์ www.thaihealth.or.th ให้รองรับการใช้งานของผู้พิการทุกประเภทและผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง

          ดังนั้นทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน  ในการที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นวัยใดก็ตาม  คนปกติหรือคนพิการก็ตาม ฉะนั้นควรจะพัฒนาเว็บไซต์ในการรับรองการใช้งานของผู้พิการให้พวกเขาได้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เข้าไปเรียนรู้ข่าวสารต่างๆและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และยังยกระดับชีวิตของผู้พิการให้ดีขึ้นได้อีกด้วย  เทคโนโลยีเมื่อใช้ได้ถูกวิธีก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคม และตรงกันข้ามถ้าใช้ผิดวิธีก็อาจเป็นอันตรายต่อสังคมได้เหมือนกัน

    ขอขอบพระคุณ  สสส.ร่วมกับ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด และสถาบันเชนจ์ฟิวชั่น ที่ทำให้คนปกติหรือคนพิการสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างเท่าเทียมกันค่ะ
 

 



ความเห็น (1)

ขอขอบคุณ โอ๋-อโณ. และ 02 ชฎารัตน์ ปุระมาปัด มากๆนะค่ะที่ได้เข้ามาอ่านอนุทินและให้ดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท