อนุทินล่าสุด


krupound
เขียนเมื่อ

วันนี้อ่านเรื่อง "อิ่งอ้อย" ในความเชื่อและความจริงทางวิทยาศาสตร์

ชอบจัง ลองเข้าไปอ่านดูที่

http://www.siamensis.org/article/36076

แล้วจะรู้ว่า...การเข้าใจวิทยาศาสตร์ทำให้เราพัฒนาตนเองได้แค่ไหน (แต่หากจะพัฒนาจิตใจ ต้องตั้งมั่นในความดี ><)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

นิทานสีขาว (อ่านเจอในเฟสบุค ต้องบันทึกไว้หน่อย)
เรื่องขนมในหม้อ
โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ.อยุธยา
ลิงป่าตัวหนึ่งพลัดหลงจากฝูงเข้ามาในหมู่บ้านที่อยู่ชายป่าแห่งหนึ่ง และพบว่าที่นี่มีอาหารอร่อยๆ สำหรับมันมากมาย หลังจากนั้นมันก็แฝงตัวอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้และไม่ยอมกลับเข้าป่าอีกเลย

ชาวบ้านนั้นเมื่อแรกเห็นลิงตัวนี้ก็นึกเอ็นดู ให้อาหารมันกินบ้าง หยอกเล่นกับมันบ้าง แต่นานวันเข้า พวกเขาก็เริ่มไม่ชอบใจเสียแล้ว เนื่องจากวิสัยของลิงป่านั้นหาได้มีความสำรวมอย่างสัตว์เลี้ยงทั่วไป หากมันจะกินอาหารที่อยู่ในมือของใครมันก็จะขู่และแยกเขี้ยวใส่

นอกจากนั้นความฉลาดตามเผ่าพันธุ์ยังทำให้ลิงเรียนรู้ได้เร็ว เพียงไม่นานมันก็รู้ว่าชาวบ้านแต่ละคนเก็บอาหารไว้ที่ไหน มันจึงเริ่มเข้าไปขโมยอาหารจากในบ้าน และยังรื้อค้นทำลายข้าวของของพวกเขาจนไม่มีชิ้นดี บางครั้งเมื่อลิงหาทางเข้าบ้านไม่ได้เพราะเจ้าของบ้านปิดประตูแน่นหนา มันก็ขึ้นไปขย่มหลังคาบ้านจนพังลงมา หลังจากนั้นก็เข้าไปในบ้านของเขา บางครั้งมันก็กัดลูกเล็กๆ ของเจ้าของบ้านและบางทีก็แย่งอาหารจากพวกเขาซึ่งๆ หน้า

ชาวบ้านอดทนไม่ทำร้ายลิงเพราะสงสาร แต่นานวันเข้า พวกเขาก็ทนไม่ไหว วันหนึ่งหัวหน้าหมู่บ้านจึงเรียกประชุมลูกบ้านเพื่อจัดการกับปัญหานี้

"เอาลูกดอกอาบยาพิษยิงมันให้ตายไปเลย" ชาวบ้านคนหนึ่งซึ่งถูกลิงตัวนี้เข้าไปรื้อบ้านเมื่อวาน เสนอด้วยความโกรธแค้น

"ไม่ดีหรอก" หัวหน้าหมู่บ้านว่า "มันเป็นลิงป่า พวกเราจะไม่ทำร้ายสัตว์ป่า"

"เว้นเจ้าลิงนี่ตัวหนึ่ง" อีกคนบอก ลูกของเขาก็เพิ่งถูกตัวนี้กัดมาเมื่อเช้า

"ไม่ได้ สัตว์ป่าเป็นของป่า เป็นของเจ้าป่าเจ้าเขา ถ้าเราทำร้ายลิงตัวนั้นอาจเกิดอาเภทร้ายแรงได้" หัวหน้าหมู่บ้านยังคงยืนยันคำเดิม และลูกบ้านอีกหลายคนก็เห็นด้วย ทั้งหมดจึงช่วยกันคิดหาวิธีการขับไล่ลิงตัวนั้นออกไปจากหมู่บ้านโดยไม่ต้องฆ่ามัน

เด็กหนุ่มคนหนึ่งคิดออก เขาร้องบอกทุกคนว่า "เอาอย่างนี้ เราต้องหาทางจับลิงตัวนี้ให้ได้ แล้วพามันไปปล่อยป่าอื่นที่ไกลๆ กว่านี้ มันจะได้ไม่กลับมาอีก"

ชาวบ้านเห็นด้วยกับความคิดนี้ หลังจากวันนั้นพวกเขาก็พากันวิงไล่จับลิงตัวนี้โดยไม่เป็นอันทำอะไร แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีใครสามารถจับลิงตัวนี้ได้ เพราะมันเป็นลิงป่าที่หลบหลีกได้อย่างแคล่วคล่องว่องไวมาก จนชาวบ้านชักถอดใจ

วันหนึ่งลิงป่าเข้าไปในบ้านหญิงชราคนหนึ่ง หญิงชราคนนี้ทำขนมตาลได้อร่อยที่สุดในหมู่บ้าน นางจะทำขนมตาลลูกใหญ่ไปขายในตลาดและแจกเพื่อนบ้านทุกวัน วันนี้เผอิญมีขนมตาลส่วนหนึ่งเหลือ หญิงชราไม่มีภาชนะสำหรับใส่ขนมที่เหลือจึงเอาไปใส่ไว้ในหม้อเหล็กปากแคบไว้ก่อน

เจ้าลิงป่าลอบมองเหตุการณ์นี้อยู่ตลอด มันเห็นที่ซ่อนขนมแล้ว ครั้นพอหญิงชราเดินออกไปจากครัว มันจึงกระโจนเข้าไปทางหน้าต่างแล้วเอามือล้วงลงไปหาขนมตาลในหม้อ แต่เพราะหม้อนั้นปากแคบมาก ลิงป่าจึงไม่สามารถดึงขนมออกมาจากหม้อได้

ตอนนั้นเองหญิงชราก็เดินเข้ามาเห็นพอดี นางร้องด้วยความโกรธว่า "ชิชะ! เจ้าลิงชั่ว แกมาขโมยขนมของข้าอีกแล้วรึ มาเร้วพวกเรา มาจับมัน มันอยู่ตรงนี้!"

ชาวบ้านได้ยินดังนั้นก็พากันเฮโลมาจับลิงที่บ้านหญิงชรา เจ้าลิงป่าตกใจรีบกระโจนหนี แต่เพราะความตะกละ มันจึงไม่ยอมปล่อยมือจากขนมในหม้อ และวิ่งหนีชาวบ้านโดยต้องแบกหม้อเหล็กหนักๆ ไปด้วย ในที่สุดเจ้าลิงก็อ่อนแรงและเป็นลม ชาวบ้านจึงจับมันใส่กระสอบแล้วพาไปปล่อยยังป่าลึกที่ไกลจากหมู่บ้านที่สุด หลังจากนั้นก็ไม่มีใครเห็นเจ้าลิงตัวนี้อีกเลย

บทสรุปของผู้แต่ง

หากเปรียบขนมในหม้อเหล็กปากแคบที่ลิงป่าแบกหนีชาวบ้าน นั่นก็ไม่ต่างอะไรจากก้อนทุกข์ที่มนุษย์นิยมแบกไว้กับตัวเอง หากถามว่าความสุขกับความทุกข์ใครชอบสิ่งใดมากกว่ากัน ทุกคนคงตอบพร้อมกันว่าความสุข แต่กระนั้นสิ่งที่พวกเขาแบกไว้จริงๆ กลับเป็นความทุกข์ที่หนักอึ้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก

ในแต่ละวันของชีวิตเรา เราต้องพบต้องเจอกับเรื่องต่างๆ เป็นร้อยเป็นพัน บางเรื่องทำให้เราทุกข์แสนสาหัส และเราคงไม่มีวันลืมมันไปง่ายๆ แต่เวลายังคงเดินต่อไปเรื่อย ๆ

ผ่านช่วงเวลาที่เกิดทุกข์มานานมาแล้ว แต่ความทุกข์นั้นกลับยังอยู่ มันอยู่เพราะเรายึดติดกับมันทั้งๆ ที่มันทำร้ายเรา มันอยู่เพราะหัวใจของเราไม่ยอมปล่อยให้มันผ่านไปเหมือนกาลเวลา

อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว เสียใจให้ตาย ร่ำร้องจนน้ำตาเป็นสายเลือด ลองคิดดูว่ามันจะย้อนกลับมาให้แก้ไขหรือป้องกันอะไรได้อีกไหม ทั้งๆ ที่ความจริง มันจากเราไปนานแล้ว แต่ใจปวดๆ ของเราก็ยังจะเอื้อมไปดึงไปรั้งเงาของมันไว้อีก ดังนั้น ถ้าเรารู้จักเรียนรู้ที่จะปล่อยวางจากเรื่องที่ผ่านไปแล้วเสียบ้าง เราก็จะได้ดื่มด่ำกับ รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ แล้วดูนั่นสิ ความสุขอยู่ใกล้ๆ แค่นี้เอง..เพียงแค่ปล่อยวา

Life&Family
Manager Online

fb: http://www.facebook.com/photo.php?fbid=501809536501906&set=a.289556831060512.94882.289049341111261&type=1


ป.ล. ว่าแล้วก็ยังไม่ได้เขียนบันทึกเรื่องราวที่ไปทำมาเลย พอกเป็น ๔ เรื่องแล้วนะเนี่ย ><



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

เอ่อ บริหารเวลาไม่เป็นเอาเสียเลย ว่าจะเขียนบันทึกก็ไม่ได้เขียน มางานใหม่ต่อที่สระแก้วอีก...><



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

เมื่อวานกับวันนี้ไปช่วยพี่ๆศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทาวิโรฒ ประสานมิตร จัดค่ายให้นักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีเรื่องอยากเล่ามากมาย เดี๋ยวไว้ค่อยมาเรียบเรียงเป็นบันทึกทีหลัง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับครูท่านอื่นบ้าง เกี่ยวกับกิจกรรมการทดลองของนักเรียน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

เอ่อ ถ้าเด็กต้องเป็นแบบนี้ ... ในอนาคต คง aleart น่าดู



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

ครูไทยยุคใหม่...ต้องขนาดนี้เชียวหรือ (หรือต้องมากกว่านี้ ><)



ความเห็น (2)
krupound
เขียนเมื่อ

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กับแนวทางการสื่อสารวิทยาศาสตร์

อารัมภบท: วันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ ได้มีโอกาสเข้าชมนิทรรศการหนึ่งที่มีความน่าสนใจมาก ซึ่งคณาจารย์ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษาได้ประสานงานให้นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาเข้าชม ถึงแม้ว่าเวลาที่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมจะเป็นเวลา ๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ ๑๕.๓๐ – ๑๙.๐๐น. และมีความยากลำบากตอนเดินทางกลับ แต่ก็ไม่ทำให้ความรู้สึกดีๆ และแนวคิดที่ได้รับในวันนั้นสูญหายไปได้

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์เป็นส่วนจัดนิทรรศการที่สร้างขึ้นโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มีการสื่อสารภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทีแรกก็นึกแปลกใจอยู่ว่า เราเรียนวิทยาศาสตรศึกษาเหตุใดจึงต้องมาชมนิทรรศการที่ออกแนวสังคมและวัฒนธรรม และเคยมาดูกับที่บ้านแล้วครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนั้นก็ฟังแบบผ่านๆ (ครั้งนี้ก็แบบผ่านๆ) เพราะพอจะรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์มาบ้างแล้ว ฉะนั้นการมาครั้งนี้จึงมีการมองในอีกมุมหนึ่ง ในฐานะที่มาฝึกฝนเป็นนักวิทยาศาสตร์ศึกษา สิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาคือ กระบวนการสื่อสาร ข้อความต่อไปนี้จะเป็นเสมือนบันทึกเกี่ยวกับกลวิธีในการสื่อสารข้อมูลที่น่าสนใจในนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ที่ครูปอนด์มองแล้ว...อืมมมม ใช้ได้เลย โดยในการเข้าชมในวันนั้นได้เข้าชมทั้งหมด ๙ ห้อง ได้แก่ ๑. ห้องรัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ ๒. ห้องเกียรติยศแผ่นดินสยาม ๓. ห้องเรืองนามหรสพศิลป์ ๔. ห้องลือระบิลพระราชพิธี ๕. ห้องสง่าศรีสถาปัตยกรรม ๖.ห้องดื่มดำย่านชุมชน ๗. ห้องเยี่ยมยลถิ่นกรุง ๘. ห้องเรืองรุ่งวิถีไทย และ ๙. ห้องดวงใจปวงประชา

          นิทรรศการส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่สำคัญเหมือนกันคือกระตุ้นให้ผู้เข้าชมมีความสนใจใคร่รู้นั่นเอง ซึ่งอาจแบ่งเทคนิคต่างๆ ออกเป็นจำพวกได้ดังนี้

๑. สื่อมัลติมีเดียที่ใช้บน Touch screen

๒. วีดิทัศน์ประกอบแบบจำลองและ/หรือผสานระบบแสง สี เสียง

๓. สื่อแบบจำลองประกอบคำบรรยาย

๔. สื่อสถานการณ์สมมติ เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมกับนิทรรศการ

๕. เกม/กิจกรรมแบบมีปฏิสัมพันธ์กับชุดนิทรรศการ

๖. การจัดฉายภาพยนตร์สารคดีแบบมีลูกเล่น (พื้นยกได้ หรือ ฉากออกแนวศิลปะ)

          ซึ่งจากความรู้ที่ได้รับและเทคนิคที่สังเกตได้ ก็น่าจะเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้และสื่อสารทางวิทยาสาสตร์เพื่อประโยชน์แก่เยาวชนไทยได้

http://pound1983.wordpress.com/about/excursions/2555-nitat/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

อ่านแล้วดี อย่างนี้ต้องคัดไว้

ทำอย่างไร..เมื่อลูกกลายเป็นเด็ก “ก้าวร้าว”..พ่อแม่อย่านิ่งนอนใจรีบแก้ไขก่อนบานปลาย


      “เถียงคำไม่ตกฟาก ขว้างปาสิ่งของ พูดจาหยาบคายไม่เคารพผู้อื่น ทุบตี หยิก กัด ผลัก ทำลายสิ่งของหรืออาจรุนแรงถึงขั้นทารุณกรรมสิ่งมีชีวิตให้บาดเจ็บหรือล้มตาย” นี่คือพฤติกรรมส่วนหนึ่งที่เด็กแสดงออกมาถึงความก้าวร้าว และถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้อื่นจนเกิดความเสียหายทางร่างกาย หรือทำให้ผู้อื่นกระทบกระเทือนจิตใจ

       โดยที่ พฤติกรรมก้าวร้าว ที่เด็กแสดงออกมาจะถือว่าเป็น “ปัญหา” ก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นบ่อยและมีความรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตรวมไปถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัว เพื่อน ครู หรือแม้แต่คนในสังคม

       เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.พ.ญ.วันเพ็ญ ธุรกิตต์วัณณการ อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้บอกถึงการกระทำของเด็กที่ก้าวร้าวไว้ว่า เด็กเล็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวจะเห็นได้จากการทำลายสิ่งของหรือทำร้ายตนเองเมื่อโกรธหรือถูกขัดใจ ดื้อ ไม่เชื่อฟังคำสั่ง ตีน้อง ใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กในวัยเด็กเล็ก แต่ถ้าหากเราปล่อยปละละเลยโดยไม่สอนหรือฝึกทักษะให้เด็กรู้จักวิธีควบคุมอารมณ์และจัดการกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นให้ถูกต้องเหมาะสมแล้ว จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เด็กอาจกลายเป็นคนชอบใช้ความรุนแรง เป็นพวกอันธพาล ซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาสังคมในอนาคต

       ที่สำคัญ...ปัญหาเด็กก้าวร้าวในปัจจุบัน มีมากถึง ร้อยละ 29.6 จากเด็กที่อยู่ในกลุ่มสำรวจของกรมสุขภาพจิตได้จัดทำขึ้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,732 คน

       ความก้าวร้าว ชอบอาละวาด เกิดขึ้นได้ง่ายกับเด็กช่วงอายุ 2-5 ปี เพราะยังเป็นวัยที่ขาดการควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือเด็กบางคนมีพื้นฐานทางอารมณ์เป็นเด็กเลี้ยงยาก จึงเกิดความคับข้องใจและแสดงออกโดยการอาละวาดได้บ่อย

       แล้วคุณพ่อคุณแม่เคยทราบไหมว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกที่น่ารักของคุณกลายเป็นคนก้าวร้าวเพราะอะไร...วันนี้เราจะมาเฉลยให้คุณได้รู้กัน

       เริ่มจาก...สาเหตุทางชีวภาพ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพราะมีพ่อและแม่เป็นคนอารมณ์ร้าย ดุ ก้าวร้าว ฉุนเฉียวง่าย อาละวาดเก่ง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่คิดอยากจะมีลูกหรือมีลูกแล้ว ควรรู้จักที่จะระงับอารมณ์ของคนตนเองให้ได้ เพื่อไม่ให้ส่งผลไปถึงลูกที่น่ารักของคุณ คำเตือน!!!...เมื่อไหรพบว่า เด็กแสดงความก้าวร้าวมากๆ และเป็นบ่อย ต้องระวังโรคที่จะเกิดตามมากับเด็กด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหา เด็กสมาธิบกพร่อง ไฮเปอร์แอคทีฟ ออทิสติก หรือร้ายแรงขนาดเป็นโรคสมองพิการได้เลยทีเดียว

       ต่อมาเป็นปัญหาทางสภาพจิตใจของเด็ก เพราะว่าเมื่อไรที่เด็กไม่มีความสุข และมีอาการ เศร้า กังวล ขี้ตื่นเต้น ตกใจง่าย หรือมีปัญหาคับข้องใจในเรื่องต่างๆ บ่อย และถูกกดดันเสมอๆ จากพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เด็กหงุดหงิดและอาจแสดงวาจากิริยาก้าวร้าวได้

       แต่หลายๆ ครอบครัวก็มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูภายในครอบครัว เพราะพ่อแม่มัวแต่สนใจในเรื่องงาน เรื่องของตัวเองมากจนเกินไปจนลืมที่จะสนใจบุตรหลานของตนเองเอง จึงจ้างพี่เลี้ยงเด็กมาดูแลทำให้เด็กรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง ไม่มีคนเอาใจใส่ดูแลเพราะพี่เลี้ยงที่จ้างมาปล่อยปละละเลยไม่สนใจ บางครั้งก็มีการลงโทษที่รุนแรงจากพ่อแม่ หรือบ้านก็ตามใจเด็กมากจนเกินไปในทุกๆ เรื่องหากมีใครขัดใจก็จะแสดงก้าวร้าวออกมา โดยที่บางครั้งการแสดงความก้าวร้าวในเด็กนั้น ก็เกิดจากการที่พบเห็นคนในครอบครัวทะเลาะกันแล้วเด็กซึมซับพฤติกรรมนั้นเหล่านั้นมา

       ช้าก่อน...อย่าพึ่งคิดว่าปัญหาที่ทำให้เด็กก้าวร้าวนั้นมาจากครอบครัวเสียอย่างเดียวเท่านั้น สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เด็กก้าวร้าวขึ้นเพราะเด็กที่ดูภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอ ที่แสดงออกถึงความก้าวร้าวรุนแรงโดยที่ไม่มีกิจกรรมอื่นที่เป็นการเคลื่อนไหวทางร่างกายเพื่อคลายเครียด เมื่อดูนานเข้าส่วนใหญ่ก็มักจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวได้ง่าย

       ทั้งหมดนี้จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ครูอาจารย์ ตลอดจนผู้เลี้ยงดูในการช่วยเหลือปรับพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กให้ดีขึ้นได้

       ซึ่งทำได้ง่ายๆ เพียง...ผู้ใหญ่ต้องหยุดการกระทำอันก้าวร้าวของเด็กโดยทันที และต้องไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงเพราะเป็นการสอนให้เด็กเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว แต่แก้ไขด้วยการจัดให้เด็กหยุดด้วยวิธีสงบ โดยจับมือรวบตัวเด็กเอาไว้ แล้วบอกสั้นๆ ว่าตีไม่ได้ และของชิ้นนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อปา ในขณะเดียวกัน การพูดว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แต่เราไม่อนุญาตให้ตีกัน และแม่ก็ไม่อนุญาตให้น้องทำกับหนูเช่นกัน” จะเป็นตัวช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้สึกโกรธ และหยุดยั้งการกระทำของเด็กได้ในเวลาเดียวกัน

       หรือไม่ก็แนะนำทางออกอื่นให้เด็ก นั้นก็คือเมื่อเด็กโกรธกันขึ้นมา ก็สามารถเดินมาบอกผู้ใหญ่ให้ว่ากล่าวคู่กรณีได้ แต่ตีกันไม่ได้ เด็กจะเรียนรู้ว่า การก้าวร้าวเป็นสิ่งที่เราไม่ยอมรับ แต่เราเข้าใจความรู้สึกเขา และเตรียมทางออกที่เหมาะสมเอาไว้ วิธีนี้ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ แม้จะพบว่าเด็กมีอาการอีกเป็นครั้งคราวเพราะเด็กยังไม่สามารถระงับอารมณ์ตัวเองได้ไม่หมด

       ฟัง!! พ่อแม่โปรดทราบ....สิ่งที่ไม่ควรทำที่สุดนั้นก็คือไม่ควรตอบตกลง หรือต่อรองกันในขณะที่เด็กมีอารมณ์หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่า ผู้ใหญ่จะตอบสนองความต้องการของเขา เฉพาะในช่วงที่อารมณ์สงบ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเท่านั้นผู้ใหญ่ต้องระวังที่จะไม่มีอารมณ์ตอบโต้เด็ก หรือเอาชนะกัน

       แต่หากต้องมีการลงโทษเด็ก...ก็ไม่ควรใช้ความรุนแรง อาจใช้วิธีแยกเด็กอยู่ตามลำพังระยะหนึ่ง โดยมีการสื่อให้เด็กเข้าใจว่า การรบกวนผู้อื่นเป็นสิ่งไม่สมควร เมื่อสงบแล้วค่อยมาพูดจากันใหม่ แล้วก็ฝึกให้เด็กรับผิดชอบต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมของตนเอง อย่างเช่น ถ้าเด็กทำร้ายข้าวของจนเลอะเทอะก็ให้เด็กเก็บกวาดการกระทำของตนเองให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กยับยั้งสติ คิดก่อนที่จะทำสิ่งใดลงไป

       สิ่งที่ดีที่สุดก็คือ...การให้เด็กแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกให้เป็นเรื่องจำเป็น ควรให้เด็กรู้สึกว่าเมื่อเขามีความคิดเห็นอย่างไรก็สามารถพูดออกมาได้อย่างอิสระ อีกทั้งพ่อแม่ต้องให้รางวัลเมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่ต่อไป โดยที่รางวัลอาจจะเป็นคำชมเชยเพื่อให้เด็กเกิดกำลังใจที่จะทำพฤติกรรมนั้นๆ อีก เป็นธรรมดาของเด็กทุกคนที่ต้องการได้รับความสนใจจากบุคคลอื่น

       เด็กหากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขที่เหมาะสมจะกลายเป็นนิสัยติดตัว กลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคตได้ ฉะนั้นพ่อแม่ต้องมีเวลาสนใจลูกอีกสักนิด แล้วช่วยกันปรับเปลี่ยนนิสัยของเด็ก เชื่อเถอะว่า....ลูกที่น่ารักของคุณคนเดิมต้องกลับมาอย่างแน่นอน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=484838501532343&set=a.289556831060512.94882.289049341111261&type=1



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

วันนี้นิสิตปริญญาเอกวิทยาศาสตรศึกษานั่งคุยกันเกี่ยวกับการทำวิจัย ประเด็นหนึ่งที่พูดกันคือประเด็นทางวิทยาศาสตรศึกษาที่จะเอาไปใช้ทำปริญญานิพนธ์ ซึ่งวันนี้ได้คำศัพท์มา 2 คำ คำแรกคือ scientific literacy กับการเรียนรู้แบบ STS (science-technology-social) ซึ่งความเห็นที่ได้มาในวันนี้คือ ประเทศไทยมักจะเชิญอาจารย์ต่างประเทศมาบรรยายให้ความรู้ และทดลองจัดกิจกรรมกับเด็กไทย ซึ่งกิจกรรมที่นำมาจัดนั้นง่ายๆ (ในความคิดของครูและเด็ก) แต่มันก็มีความสนุกและทำให้เด็กๆชอบวิทยาศาสตร์ แต่ประเด็นสำคัญคือการนำมาใช้สอนในบริบทของเมืองไทยนั้นยากที่จะทำ เพราะการวัดและประเมินผลของประเทศไทยไม่ได้สอดคล้อง ยังคงเอาความยากของข้อสอบมาเป็นตัวตั้งเพื่อวัดความเก่ง (ยังไม่เห็นใครแน่จริงเอาผล O-Net มาใช้รับสมัคร 100% เลย ทั้งๆที่ออกโดย สทศ.) ไม่รู้อนาคตจะเป็นอย่างไร แต่ด้วยใจที่พยายามและสัญญาที่ตั้งไว้ ยังไงจะต้องพยายามหาทางออกในเรื่องนี้ให้ได้...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

วันนี้นั่งเรียนสถิติ อาจารย์ถามว่า ถ้าเราใช้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับประชากร จะเขียนในรายงานวิจัยว่าอย่างไร .... participant คือสิ่งที่อาจารย์เฉลย เหอๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

๑๒ ต้อง เป็นครูที่ดี

๑.   ต้องไม่หน้าบึ้ง หน้างอ
๒.   ต้องไมด่าทอ หยาบคาย
๓.   ต้องไม่มาสอนสายเป็นประจำ
๔.   ต้องไม่ชักนำให้เชื่อโชคลาง
๕.   ต้องไม่พูดอย่างทำอย่าง
๖.   ต้องไม่วางท่า ข้าเยี่ยม
๗.   ต้องไม่ลืมเตรียมการสอน
๘.   ต้องไม่ลืมนำอุปกรณ์มาใช้
๙.   ต้องไม่แต่งกายหวือหวา
๑๐. ต้องไม่วิ่งหาอบายมุข
๑๑. ต้องไม่ก่อทุกข์ให้ผู้อื่น
๑๒. ต้องไม่ฝืนใจสอน

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

ค้องทำให้ได้...

   ครูที่ดีต้องไม่ฆ่าเวลาศิษย์
สำนึกผิดทิ้งเด็กไว้มิได้สอน
หนึ่งนาทีนั้นมีค่าอย่าตัดรอน
เมื่อศิษย์อ่อนจะโทษใครให้คิดดู

                   ม.ล. ปิ่น มาลากุล



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

 จริงหรือที่.......

 



ความเห็น (1)

ตลกร้าย แต่กลายเป็นจริง ;)...

krupound
เขียนเมื่อ

บางทีเมื่อสบาย คนเรามักไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่

เมื่อลำบากก็จำต้องไขว่คว้า...ถึงจะเจริญ

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

ข่าวนี้น่าสนใจดี เลยแชร์ข้อมูลไว้เป็นที่ระลึก

ที่มา: http://manager.co.th/science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000069090

          ความสำคัญของ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย” ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น “ปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ” ไม่ ได้มีความสำคัญเพียงแค่ต้องรอเวลานับร้อยปีจึงจะเกิดปรากฏการณ์นี้ แต่ในอดีตนักดาราศาสตร์เคยเดินทางไปทั่วโลก เพื่อบันทึกข้อมูลขณะเกิดปรากฏการณ์ เพื่อคำนวณหาระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ แล้วใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของระบบสุริยะเราเลยทีเดียว

ภาพจำลองปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

          สำหรับปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) นั้นจะเกิดขึ้นเพียง 4 ครั้งในรอบ 243 ปี โดยมีรอบการเกิดปรากฏการณ์เป็นคู่ แต่ละคู่จะห่างกัน 121.5 (+/- 8) ปี (และแต่ละครั้งใน 1 คู่นั้นจะเกิดห่างกัน 8 ปี) หากครั้งแรกของคู่แรกเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่หลัง 129.5 ปี ครั้งแรกของคู่หลังจากห่างจากครั้งแรกของรอบถัดไป 113.5 ปี

          ตัวอย่าง เช่น เหตุการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งแรกของคู่วันที่ 6 มิ.ย.55 นี้ คือ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.47 ซึ่งเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่ก่อนหน้าในปี 9 ธ.ค.2417 เป็นเวลา 129.5 ปี และห่างจากครั้งแรกของคู่ถัดไปซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 ธ.ค.2660 เป็นเวลา 113.5 ปี ส่วนอีกครั้งถัดไปหลังจากนั้นจะเกิดขึ้นในวันที่ 8 ธ.ค.2668

          ศ.ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุริยะจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในครั้งนี้มีความสำคัญในแง่ประวัติ ศาสตร์ เพราะนักดาราศาสตร์ใช้เป็นปรากฏการณ์วัดระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเพราะการวัดสิ่งต่างๆ ในจักรวาลนั้นเปรียบเทียบด้วยระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์

          นักดาราศาสตร์วัดระยะทางจากปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้อย่างไร นั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านพายุสุริยะจากมหิดลอธิบายว่า หากเรามองวัตถุ โดยปิดตาขวาแล้วมองด้วยตาซ้าย และปิดตาซ้ายแล้วมองด้วยตาขวา จะเห็นวัตถุกระโดดไปกระโดดมา ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้อธิบายว่า เมื่อมุมเปลี่ยนเราสามารถวัดระยะทางได้ ลักษณะเดียวกันนี้ถูกนำไปหาระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์

          ในอดีตนั้นมีการส่งนักดาราศาสตร์ไปสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวง อาทิตย์ทั่วโลก จากนั้นวัดเวลาที่ดาวศุกร์เริ่มผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ความแตกต่างของเวลาทำให้ทราบมุม และเมื่อทราบมุมทำให้นักดาราศาสตร์หาทราบระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ได้ โดยผู้ที่เสนอแนวคิดในการใช้ปรากฏการณ์นี้คือ เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ (Edmond Halley) ผู้พบดาวหางฮัลเลย์ ที่เสนอไว้ในปี 2221 แต่กว่าดาวศุกร์จะผ่านหน้าดวงอาทิตย์ต้องรอถึงปี 2304 ซึ่งเขาได้เสียชีวิตไปก่อน

          นอก จากดาวศุกร์แล้ว ศ.ดร.รูฟโฟโลกล่าวว่ายังมีดาวเคราะห์วงในระบบสุริยะอีกดวงที่ผ่านหน้าดวง อาทิตย์ได้เช่นกัน คือ ดาวพุธ ซึ่งมีความถี่ในการผ่านหน้าดวงอาทิตย์มากกว่า โดยเกิดขึ้นทุกๆ 7 ปี และฮัลเลย์ได้ใช้ดาวพุธในการคำนวณหาระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ก่อน แต่มีความแม่นยำน้อย เพราะดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก จึงโคจรเร็วและมีความต่างเวลาแค่ระดับวินาที ทำให้ยากต่อการวัด แต่ถ้าวัดด้วยดาวศุกร์จะวัดได้แม่นยำกว่า ถึงอย่างนั้นก็วัดได้ยากอยู่ดี

          เหตุการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์นั้น กัปตัน เจมส์ คุก (Captain James Cook) ผู้ค้นพบทวีปออสเตรเลียก็เป็นหนึ่งในคณะสังเกตปรากฏการณ์ โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันคนเดิมเล่าว่า หลังจากกัปตันคุกบันทึกข้อมูลปรากฏการณ์เสร็จ ก็ได้อ่านคำสั่งลับที่ห้ามเปิดจนดว่าจะเสร็จสิ้นสังเกตการณ์ว่า ให้เดินเรือต่อไปเพื่อพิสูจน์ว่ามีทวีปอยู่ซีกโลกใต้อีกหรือไม่ และทำให้เขาค้นพบออสเตรเลียในที่สุด

          อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ไม่ได้เกิดแค่ในระบบสุริยะ และยังได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน เพราะเป็นวิธีใหม่ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะขนาดเล็กใกล้เคียงกับ โลก โดยก่อนหน้านี้มีอีกวิธีในการค้นหาดาวเคราะห์ด้วยการสังเกตการส่ายของดาว ฤกษ์อันเป็นผลจากมวลของดาวเคราะห์โคจรรอบดาวฤกษ์ แต่วิธีนี้ใช้หาได้เฉพาะดาวเคราะห์ที่มีมวลมากๆ

          ศ.ดร.รูฟโฟโลกระบุว่า ปัจจุบันมีความนิยมหาดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก และเมื่อปีที่ผ่านมามีการค้นพบดาวเคราะห์เคปเลอร์ 22บี (Kepler22b) ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกไม่มาก และมีโอกาสพบน้ำด้วย โดยอาศัยเทคนิคการผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์ดังกล่าว ซึ่งเป็นปรากฏการณ์เดียวกับการผ่านหน้าดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์

          ปัจจุบันมีหลายวิธีที่ใช้วัดระยะห่างระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ได้ เช่น การใช้เรดาห์หรือคลื่นวิทยุกระจายจากผิวดวงจันทร์หรือดาวอังคารเพื่อนำไป คำนวณหาระยะทาง ซึ่งให้ความแม่นยำถึงระดับเซนติเมตร เป็นต้น ดังนั้นปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญต่องานวิจัยและ การศึกษาดาราศาสตร์น้อยมาก แต่ก็พอมีบ้างอย่างการศึกษาขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เพื่อปรับเทียบเทคนิคการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

ศ.ดร.เดวิด รูฟโฟโล

          ถึงอย่างนั้น ศ.ดร.รูฟโฟโลกล่าวว่าเราดูเหตุการณ์เพราะมีความน่าสนใจ และเป็นเรื่องน่าสนุกที่เห็นวงกลมสีดำผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และเป็นเรื่องทางสังคม หากเราชมปรากฏการณ์ในช่วงนี้จะเห็น “จุดมืด” (dark spot) จำนวนมาก โดยจุดมืดนี้เป็นที่มาของพายุสุริยะ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมไทยคม 5 ในปีที่ผ่านมา



ความเห็น (1)

คุณ krupound น่าเอาไปลงใน"บันทึก"แล้วมีคำสำคัญน่าจะดีกว่าเป็น"อนุทิน"เฉยๆนะคะ เพราะเผื่อคนอื่นค้นเรื่องนี้จะได้ข้อมูลที่น่ารู้นี้ไปด้วย

krupound
เขียนเมื่อ

อ่านการ์ตูนในเฟสบุค เห็นแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ ครูปอนด์เห็นแล้วเฉยๆ เพราะตอนเด็กครูปอนด์ตั้งใจมากทั้งในและนอกห้องเรียน เรียนเป็นเรียน เล่นเป็นเล่น ทำตัวไม่ให้ว่าง แต่ไม่แปลกแยก วัยรุ่นสมัยนี้น่าจะลองพิจารณากันดูก่อน...คุณพยายามเต็มที่ในการเรียนวันนี้แล้วหรือยัง...จะได้ไม่ต้องมานั่งเบื่อเวลาเรียนพิเศษกันอีก

http://a2.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/s720x720/547498_406675736044561_1578461698_n.jpg



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ
 อนุโมทนาพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีพระพุทธศาสนา ขอนำนิทานเซนมาบันทึก อ่านให้นึกลดอัตตา เสาะหามาจาก http://www.buddhadasa.com/index_tale.html 



อาจารย์แห่งนิกายเซ็นชื่อ น่ำอิน เป็นผู้มีชื่อเสียงทั่วประเทศ และโปรเฟสเซอร์คนหนึ่ง เป็นโปรเฟสเซอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศไปหาอาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเซ็น

ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์น่ำอินได้รินน้ำชาลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร"

ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห ท่านอาจารย์น่ำอิน จึงตอบว่า" ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไรลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง" คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็น ตามความ ยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบ ของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็นไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น

http://www.buddhadasa.com/zen/zen01.html



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

วันนี้นั่งฟังธรรมวัดชลประธานทางวิทยุ ได้ความเห็นอย่างหนึ่งว่า:

     ปัจจุบันคนเราทำบุญหนังสือสวดมนต์ พระไตรปิฏก ธรรมอื่นๆให้พระกันมาก หวังเพื่อให้ได้บุญมาก แต่หากไม่เคยอ่านหนังสือที่มาถวายนั้นเลยจะมีประโยชน์อันใดในการพัฒนาจิตใจตนเอง 
     ถวายหนังสือธรรม/พระไตรปิฏกแต่ไม่เข้าถึงธรรม ถวายหนังสือสวดมนต์แต่สวดมนต์ไม่เป็น บุญที่ทำทานละก็ได้อยู่ แต่มันน้อยมากหากเทียบกับบุญที่เกิดจากการปฏิบัติ จะเข้าทำนองมือถือสากปากถือศีล...


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

krupound
เขียนเมื่อ

คุณพ่อคุณแม่ญี่ปุ่น.... เลี้ยงลูกกันอย่างไร?

          คุณมายูมิ ชิจิดะ รองประธานสถาบันการศึกษาชิจิดะ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาอัจฉริยภาพของเด็กเผยว่า "เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ฉลาดที่พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นใช้ก็คือ การให้ความรักกับเด็กในทางที่ถูกต้อง ประกอบด้วย 3 สิ่งได้แก่ การชื่นชม การแสดงความรัก และการยอมรับในตัวเด็ก โดยพ่อแม่สามารถแสดงความรักกับลูกได้ตั้งแต่ลูกยังแบเบาะ เพียงแค่โอบกอดลูกไว้ในอ้อมแขน ให้เขาสัมผัสถึงความอบอุ่น และหากลูกโตขึ้น ก็สามารถทำได้ด้วยการชื่นชม และการยอมรับในความสามารถของเขา"

          ทั้งนี้ หากจะขยายความเทคนิคดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมขึ้น คุณมายูมิเฉลยว่า ประกอบด้วยขั้นตอนง่าย ๆ 6 ขั้นตอนเท่านั้น ได้แก่

  1. ไม่ตอกย้ำจุดอ่อนของลูก แต่ให้ความสำคัญกับจุดเด่นของลูกแทน เพราะการมองที่จุดเด่นของลูกนั้นจะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ และเป็นแรงผลักดันให้เขาพัฒนาความสามารถต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ทำเช่นนี้ได้ จะพบว่า จุดอ่อนของลูกนั้นจะค่อย ๆ หายไปในที่สุด
  2. ขอให้เปรียบพัฒนาการของลูกเหมือนต้นไม้ ที่ ณ ปัจจุบัน เขาคือต้นอ่อนที่กำลังเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในวันที่ลูกเป็นต้นอ่อน เขาจึงยังไม่สามารถแตกกิ่งก้านสาขา และยังไม่สามารถออกดอกออกผลให้คุณได้ ดังนั้น พ่อแม่ต้องอย่าคาดหวังว่าต้นอ่อนต้นนี้จะออกผลให้คุณชื่นชมได้ในทันที

  3. พ่อแม่อย่าเป็นคนนิยมความสมบูรณ์แบบ และนำเอานิสัยนั้นมาใช้วัดความสามารถของลูก

  4. ไม่เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น ๆ เพราะเด็กแต่ละคนย่อมมีอุปนิสัย ตลอดจนความสามารถ ความถนัดที่แตกต่างกัน

  5. ไม่ตั้งความสำเร็จของลูกจากการศึกษา หรือคะแนนสอบ แต่ขอให้พิจารณาจากความพยายามของเด็กเป็นอันดับแรก นอกจากนั้นแล้วพ่อแม่ยังอาจเข้ามาช่วยค้นหาจุดบกพร่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดให้ดีขึ้นด้วย

  6. พยายามทำความเข้าใจตัวตนของลูก และเอาใจใส่แก้ไขในสิ่งที่เขาควรปรับปรุง

          "ข้อที่สำคัญที่สุดจาก 6 ข้อด้านบนคือ การไม่เปรียบเทียบลูกตนเองกับเด็กอื่น ๆ เพราะการเปรียบเทียบจะทำให้เด็กขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่"

          "ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งที่น่ากังวลในปัจจุบันก็คือ มีพ่อแม่ที่ไม่เคยถามว่าลูกต้องการอะไร อยากเป็นอะไร พ่อแม่เป็นคนตัดสินใจเองว่าลูกควรเรียนเปียโน เรียนบัลเล่ต์ แต่เด็กไม่มีแรงจูงใจในการเรียน วิธีที่เหมาะสมกว่าคือ การเรียกลูกมาถาม ว่าลูกอยากเป็นอะไร ให้เด็กคิด แล้วพ่อแม่จึงสนับสนุนเขาในทางที่ลูกชอบ"

          ทั้งนี้ คุณมายูมิได้ฝากข้อคิดถึงผู้ปกครองที่ต้องการบ่มเพาะความอัจฉริยะของเด็กด้วยว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การสร้าง "สภาพแวดล้อม" ที่เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถของเขาให้ถึงขีดสุดนั่นเอง

          เพราะในความเป็นจริงแล้ว เด็กอัจฉริยะอย่างไอน์สไตน์ก็มีชื่อเสียงก้องโลกได้โดยไม่ต้องสมัครเรียนคอร์สพิเศษใด ๆ เพียงแค่เขามีมารดาที่ให้ความรัก และความทุ่มเทอย่างเต็มที่เท่านั้น หรือหากมองกลับมาที่เด็กอัจฉริยะหลาย ๆ คนของไทย ส่วนใหญ่แล้วต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาได้รับ "ความรัก" และ การ "สนับสนุน" จากคนในครอบครัว เขาถึงมีวันที่ประสบความสำเร็จที่น่าชื่นชมนั้นได้ นั่นจึงเป็นบทพิสูจน์อย่างดีว่า แท้ที่จริงแล้ว ความรักของพ่อแม่ก็คือ สิ่งที่พิเศษที่สุดที่โลกเตรียมไว้ให้สำหรับการสร้างอัจฉริยะให้เกิดขึ้นสักหนึ่งคนนั่นเอง

จากlife&family (เอามาจาก facebook : http://www.facebook.com/pages/Ben-Publishing-CoLtd/289049341111261)



ความเห็น (1)
krupound
เขียนเมื่อ

เหลือเวลาอีกเพียงสัปดาห์เดียวก็จะไม่ได้สอนหนังสือแล้วหรือนี่

มันก็เศร้านะ แต่ต้องไปเรียนนี่นา ช่วยไม่ได้แฮะ ไปเป็นนักเรียนก่อนละกัน

... ><



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท