อนุทินล่าสุด


ดร.พรพรรณ อินทรประเสริฐ
เขียนเมื่อ

 

นวัตกรรมการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบเบญจขันธ์ รูปแบบของการจัดกิจกรรมสานสายใยครอบครัวครูและศิษย์

 

ความเป็นมาและสภาพปัญหา

          เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการพัฒนาประเทศไทยในอนาคตและดัชนีชี้วัดคุณภาพของประชากรที่เป็นที่ยอมรับกันว่า คุณภาพของคนมีความสัมพันธ์กับความเจริญของประเทศ ดังนั้นการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาประเทศ จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าแนวโน้มเด็กไทยมีคุณภาพลดลงซึ่งสวนทางกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเวียดนาม มีแนวโน้มการพัฒนาการสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การที่เด็กไทยจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคตนั้น  เด็กไทยควรได้รับการดูแลการพัฒนาทั้งทางด้านความสมบูรณ์ให้พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งเป็นรากฐานจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของเด็กไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต  และจากงานวิจัยในระดับนานาชาติที่ผ่านมา พบว่าเด็กไทยมีปัญหาทั้งความฉลาดทางอารมณ์และทางด้านสติปัญญาอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล[๑]

          จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช ๒๕๔๒  แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ ๒)    พ.ศ. ๒๕๔๕  มาตรา ๔ ได้ให้ความหมายการศึกษาว่า เป็นกระบวนจัดการเรียนรู้เพื่อสู่ความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม  โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม สืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม    การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีความมุ่งหมายและหลักการตาม มาตรา ๖ คือการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และมาตรา ๒๒ และ มาตรา ๒๓ ที่กำหนดแนวทางจัดการศึกษาที่เน้นความสำคัญแก่ผู้เรียนทุกคน โดยยึดหลักว่าทุกคนมีความสามารถ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ในการจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการและบูรณาการตาม       ความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา สำหรับกระบวนการจัดการเรียนการสอน มาตรา ๒๔ กำหนดให้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนรู้จักประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้รู้จักคิดเป็น ทำเป็น รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะ          อันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา อีกทั้งมีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ[๒]

          สภาพปัญหาของนักเรียนโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด ฐานะทางเศรษฐกิจยากจนครอบครัวแตกแยก รวมทั้งเป็นครอบครัวอพยพเพื่อหางานทำในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทำให้โรงเรียนต้องมีจัดทำนวัตกรรมการบริหารในรูปแบบที่สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาและสร้างความรู้สึกว่าโรงเรียนเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองที่ให้ความอบอุ่นและสามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ในทุกเรื่อง จากการวิเคราะห์ ด้านบริบทของภาวะแวดล้อมของนักเรียนและสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ โรงเรียนจึงได้จัดทำนวัตกรรมการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบเบญจขันธ์ ในรูปแบบ กิจกรรมสานสายใยครอบครัวครูและศิษย์ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕เป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบัน สานสายใยเปรียบเสมือนความห่วงใยที่มีระหว่างนักเรียนและครู ในครอบครัวซึ่งเปรียบได้กับโรงเรียนที่นักเรียนต้องใช้เวลาอยู่ในแต่ละวันอย่างน้อย  ๖ - ๗ ชั่วโมง จุดมุ่งหมายของกิจกรรมเป็นไปเพื่อการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม โดยให้ครูได้แสดงตนประหนึ่งเป็นแม่ของลูกที่มีแต่ความเอื้ออาทร ใช้เหตุผลและจิตวิทยาในการดูแลนักเรียนเพื่อกล่อมเกลาปัญหาในจิตใจนักเรียน ซึ่งทำให้ปัญหาต่างๆ  ได้ลดหรือบรรเทาเบาบางลงและมีชีวิตที่สามารถอยู่ในสังคมได้

          ภารกิจหลักของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติโรงเรียนต้นแบบในฝันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต ๑ มีภารกิจในการให้บริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อมุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีคุณภาพได้มาตรฐาน การจะดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมาย  คือการปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงต่อนักเรียน โรงเรียนในฐานะหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน แก้วิกฤตความเสื่อมโทรมของสังคม จึงได้จัดทำนวัตกรรมการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบเบญจขันธ์ เพื่อพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้ครูสามารถวิเคราะห์ปัญหาและมีแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนในเบื้องต้น สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กับนักเรียน        ให้กำลังใจ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาสามารถแก้ไขได้ โดยให้คำปรึกษา ครูมีความพร้อม เข้าใจเต็มใจใน     การให้ความช่วยเหลือแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่น รู้สึกมีความไว้วางใจครู กล้าบอกความจริง  ทำให้ครูสามารถส่งเสริมช่วยเหลือตามศักยภาพของแต่ละคน ซึ่งสอดคล้องกับมาตราที่ ๒๒  แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็ก[๓] กล่าวไว้ว่าการปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ๆ  ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพตามหมวด ๓ และหมวด ๔ จะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ โดยมิชักช้า แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับตัวเด็กไว้รักษาพยาบาล อาจารย์ ครูหรือนายจ้างซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์หรือลูกจ้าง จะต้องรายงานให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา ๒๔ ทราบโดยมิชักช้า หากเป็นที่ปรากฏชัดหรือน่าสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการเลี้ยงดูโดยมิชอบ การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทำโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง

          นวัตกรรมการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบเบญจขันธ์ ในรูปแบบกิจกรรม     สานสายใยครอบครัวครูและศิษย์ เป็นความพยายามที่ผู้บริหาร ครู อาจารย์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแรงร่วมใจกันให้การช่วยเหลือส่งเสริมนักเรียนอย่างมีระบบอย่างต่อเนื่อง ด้วยความผูกพันระหว่างครูและศิษย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนให้มีทักษะการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุข ตามเจตนารมณ์ของนโยบายที่เกี่ยวข้องดังนี้                                                ๑. รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์และมอบนโยบายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชนที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๘ ว่า ต้องการให้กระทรวง ๓ กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นเจ้าภาพที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหา เพราะทุกองค์กรจะเจริญก้าวหน้าได้ต้อง อยู่ที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงประเทศไทยหากไม่สามารถพัฒนาให้เยาวชนเติบโตอย่างมีคุณภาพแล้ว    การพัฒนาของประเทศไทยมีแนวโน้มลดต่ำลงเรื่อย ๆ เพราะอนาคตของชาติอยู่ที่เยาวชน จึงต้องเน้นให้เยาวชนเติบโตอย่างมีคุณภาพและถือว่าการแก้ปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนคือการลงทุน ไม่ได้มีค่าใช้จ่าย ที่สำคัญผู้ใหญ่จะต้องมีเมตตาธรรมและมองว่าเยาวชนทุกคนคือลูกหลานของตัวเอง เพื่อที่จะช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหา ทำให้เด็กมีสุขภาพกายแข็งแรงสมประกอบ มีพัฒนาการตามอายุ มีสภาพจิตใจที่ดีและมีคุณภาพทางปัญญา มีความสามารถในการเรียนรู้ มีพัฒนาการสมองที่ทัน      การพัฒนาการของโลก จะนำมาสู่ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม ทั้งของตนเอง ครอบครัวและประเทศชาติ[๔]

๒. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้นำระบบ         การดูแลช่วยเหลือนักเรียนทดลองใช้กับโรงเรียนนำร่องตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๓ และประกาศให้ปี       พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้เป็นปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน พัฒนาครู ในการปฏิรูปการเรียนการสอนมีหลายสิ่งต้องทำและแก้ไขและระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นเรื่องหนึ่งที่กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญเป็นการเฉพาะ เนื่องจากผลการดำเนินการในภาพรวมพบว่านักเรียนในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหามีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่        พึงประสงค์คือหลังจากการดำเนินการตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแล้ว จำนวนนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหาลดลงในภาพรวมร้อยละ ๑๑.๗๓ และ ๑๓.๘๙ ตามลำดับ ส่วนกลุ่มปกติมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕.๖๓[๕] 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงมีนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดทุกแห่ง จัดให้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและกำหนดมาตรฐานการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพนักเรียน เน้นกิจกรรม ส่งเสริมการพัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาและการคุ้มครองสิทธิเด็ก โดยการมีมาตรการให้สถานศึกษามีมาตรฐานในการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม สิทธิเด็ก ตลอดจนป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ปัญหาพฤติกรรมนักเรียน ปัญหาทางเพศ โดยประสานความร่วมมือกับเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ประสานการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการพัฒนา ส่งเสริม แก้ไขและส่งต่อนักเรียน[๖]

ปัญหา

 

จากสภาพการณ์ที่กล่าวข้างต้นและสาเหตุของปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพและด้านสติปัญญาทั้งปัญหาที่มาจากตัวเด็กเองและจากผู้ปกครองและครอบครัวของเด็ก ปัญหาจากตัวเด็ก คือ การขาดความสามารถในการเรียนรู้ ขาดระเบียบวินัย ไม่รู้จักตนเอง ติดเกม สมาธิสั้นและขาดความอดทน มีปัญหาทางด้านจิตเวช ส่วนปัญหาของผู้ปกครองที่ส่งผลถึงเด็กคือการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ปัญหาด้านเศรษฐกิจปากท้อง ทำให้เด็กพัฒนาแบบเอียงข้างเพราะการที่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนครูผู้สอน ต่างเน้นให้เด็กต้องขยันเรียนวิชาการ สอบ O-NET,NT ให้ได้คะแนนสูงๆ เท่านั้น โดยไม่สนใจให้เด็กได้พัฒนาทุกด้าน ไม่ว่า      การกระตุ้นให้สมองได้ทำงานทั้งสองส่วนอย่างสมดุล นอกจากนี้พบการสำรวจครั้งล่าสุดว่าเด็กในวัยเรียนจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ อีกทั้งยังขาดการแนะนำจากผู้ปกครอง จึงทำให้สมองไม่เกิดการเรียนรู้และชาชิน

          ในปัจจุบันได้มีการศึกษาพัฒนาการของเด็กวัย ๖ -๑๒ ปี ซึ่งอยู่ในระดับประถมศึกษา    พบว่าเด็กในวัยนี้เป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานสำหรับทักษะการดำเนินชีวิตในวัยผู้ใหญ่และความเชื่อมโยงกับผู้อื่น นอกจากการที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว ยังชอบที่จะเคลื่อนไหว อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย ชอบเรื่องตื่นเต้นผจญภัย เป็นวัยแห่งการตั้งคำถามและการค้นหาคำตอบ จึงเป็นวัยที่ทุกก้าวย่างต้องการการเรียนรู้ ต้องการแสดงออกอย่างอิสระ มีความสามารถในการคิดกลับไปกลับมา สามารถมองสิ่งต่างๆ ได้หลายแง่หลายมุม สามารถแยกหมวดหมู่ คิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุมีผล แก้ปัญหาและปรับตัวได้ ซึ่งเป็นความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถที่หลากหลาย          (พหุปัญญา : Multiple Intelligences) ซึ่งสามารถพัฒนาให้ดีขึ้น หากได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กจึงควรจัดตามศักยภาพและความต้องการของเด็กที่มีความแตกต่างกัน ในทางกลับกันการทำโทษ การสร้างความกลัว มีสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่ไม่ดี จะทำให้เด็กเกิดความเครียดโดยร่างกายจะสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล กดภูมิคุ้นกันของร่างกายและทำลายเซลล์ประสาทและเครือข่ายเส้นใยประสาทสมองเด็กอีกด้วย[๗]

          โรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน นำแนวคิดความเป็นครอบครัวเดียวกัน เพื่อการสร้างความไว้วางใจและความอบอุ่น เข้าใจปัญหาของนักเรียน โดยเมื่อใดที่ได้พบรายงานข้อมูลว่านักเรียนมีปัญหาไม่ว่าทางด้านใด โรงเรียนจะดำเนินการแก้ไขและให้        ความช่วยเหลือทันทีทันใด รวมทั้งการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากโรงเรียนไม่มีความสามารถในการดูแลช่วยเหลือ รวมทั้งเก็บข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ เพื่อให้นักเรียนเกิด    ความไว้วางใจ จากความสำเร็จที่ค่อย ๆ เกิดขึ้น โดยการนำทฤษฎีโรงเรียนเพื่อนเด็กในเรื่องการให้สิทธิและโอกาสกับเด็กนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน นำมาบูรณาการเข้ากับทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดคุณธรรม จริยธรรม  มีภูมิคุ้มกัน ป้องกันความเสี่ยงและอยู่อย่างการรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง นับจากการดำเนินการตามแนวปฏิบัติในเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนนำมาประกอบกับการจัดทำนวัตกรรมการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบเบญจขันธ์ ในรูปแบบการจัดกิจกรรมสานสายใยครอบครัวครูและศิษย์ พบว่าปัญหาด้าน           ความประพฤตินักเรียนที่ไม่เหมาะสมค่อย ๆ ลดไป ปัญหาทางด้านจิตเวชเด็กมีแนวโน้มลดลงตามลำดับการดูแล ผู้เสนอนวัตกรรมในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ จึงเป็นผ



ความเห็น (2)

ข้อมูลดีดี เนือหาเชิงวิชาการ น่าจะใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้ด้วย หากจะให้ดีและจะเกิดประโยชน์ต่อกัลยาณมิตรอีกหลายท่าน อาจารย์กรุณาย้ายหรือโยกไปไว้ที่หมวดบันทึก น่าจะเหมาะสมดีกว่าและเกิดประโยชน์มากกว่าอยู่ที่อนุทินนะครับ

ควรเขียนเป็น “บันทึก” เนื่องจากตรงตามวัตถุประสงค์ครับ ;)…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.พรพรรณ อินทรประเสริฐ
เขียนเมื่อ

อยากให้รัฐบาลสนใจ เพิ่มศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ให้ครูผู้สอนได้ทำการสอนเต็มเม็ดเต็มหน่วย จ้างธุรการ จ้างนักบัญชีการเงิน พัสดุ ให้ด้วย เหมือนต่างประเทศที่เขาเน้น ๆ การเรียนของเด็ก การสอนของครู ใช้ระบบการประเมิน เข้าช่วยกำกับติดตาม ให้ขวัญกำลังใจ ก็ดีขึ้นแล้ว ครูเงินเดือนเยอะดี….



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร.พรพรรณ อินทรประเสริฐ
เขียนเมื่อ

ได้ไปเยี่ยมชมโรงเรียนแย้มสะอาด English Program น่าสนใจ Learning by doing เด็ก ๆ เก่งจัง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ดร.พรพรรณ อินทรประเสริฐ
เขียนเมื่อ

สร้างชาติด้วยการศึกษา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท