ยังมีหวังในนิสัยการอ่านของเด็กไทย


  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ไม่คิดว่า บทความของอาจารย์นิธิ ชิ้นนี้ จะกลายเป็นบทความภาคบังคับ เพราะดูจากสภาพการอธิบาย และน้ำเสียงของเรื่องราว น่าจะเป็นบทสะท้อนภาพของเด็ก ที่เด็กคงตั้งคำถามกับตัวเองไม่น้อย
  • แต่ก็เห็นด้วยครับ เพราะบทความชิ้นนี้ ก็ดูจะไม่ประณาม หรือกากหัวในเรื่องวัฒนธรรมการอ่านที่ล้มเหลวในเด็กไทย ว่าเป็นความผิดของเด็กฝ่ายเดียว ดูออกจะเข้าใจ ให้ความหวัง และเชื่อมโยงจากรากวัฒนธรรมปากต่อปากในสังคมไทยได้ดี
  • โดยส่วนตัว ผมศรัทธาในเรื่องการอ่านอย่างมากครับ ทั้งหลงรักและหลงใหล ในมนต์เสน่ห์เมื่อได้นั่งในภวังค์ขณะอ่านเรื่องราวต่างๆ
  • ผมคิดว่า ถ้าเราได้ลองให้เด็กคนไหน ได้อ่านเรื่องที่ตรงจริตเขา ตรงความรู้สึกและความต้องการของเขา อ่านเรื่องสนุกได้ดั่งใจ อ่านเรื่องเศร้าได้บีบน้ำตา อ่านไปอ่านมาได้สักสามสี่เล่ม ผมก็เชื่อว่า เขาจะมีทักษะในการอ่านได้มาก
  • ผมเชื่อว่า มนต์เสน่ห์ของการอ่าน มักจะมาจากแรงบันดาลใจ มาจากความสนุกในการได้โลดแล่นไปขณะอ่าน
  • โดยไม่ต้องจำกัดประเภท จำกัดเนื้อหา ขอแค่ขั้นตอน อ่านได้สะเทือนอารมณ์สะเทือนใจ ไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ผมก็เชื่อว่า มันมักจะมีผลในการกระตุ้นต่อมอยาก ของเขาให้เสพติดการอ่านได้ไม่ยาก
  • ขออย่างเดียวครับ เริ่มแรก ต้องเลือกให้ดูขนาน ถูกจริต ถูกโรคกับเด็ก
  • ถ้าได้หนังสือที่เหมาะสม เขาเหล่านั้นก็จะเริ่มต้นฝึกฝนตัวเองไปทีละน้อยครับ
  • ผมเชื่อว่า หนังสือ ดีๆมีเยอะครับ แต่ให้ตรงประเด็นก็คือ หนังสือดีๆ เหล่านี้ไปไม่ถึงมือ ไม่ถึงสายตา ไม่ถึงความต้องการของเด็กเลย
  • จะด้วยอุปสรรคของระบบ Logistic แบบใดในสังคมไทยก็ตาม ผมก็ต้องถือว่า เป็นความผิดพลาดในทางวัฒนธรรมของเราครับ
  • ถ้าจะให้ดี ผมว่ากระบวนการ ปลุกเร้า รณรงค์  หรือก่อร่างสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ต้องเป็นวาระแห่งชาติเท่านั้นครับ
  • เป็นวาระแห่งชาติ เหมือนที่เรากำลังเล่นกับคำ เล่นกับวาทกรรม และกระแส เช่น เอื้ออาทร ประชานิยม พอเพียง หรือใดๆก็ตาม ที่เป็นกระแสแบบวาระแห่งชาติ ทั้งทางการหรือไม่ทางการก็ตาม
  • จะโหนกระแสใดก็ตาม แต่ต้องมีกระแส หรือวาระแห่งชาติเป็นตัวฉุด โดยมีทางเลือกอีกมหาศาล คอยขยับตามกันไป
  • โดยมีหัวใจสำคัญ ให้คนไทยหลงรักการอ่านให้ได้
  • อาจจะหวังมากไปนิด
  • แต่ก็พยายามจะหวังครับ
  • มีครั้งหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ที่ได้อ่านบทสัมภาษณ์ คุณมกุฎ อรดี บรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ซึ่งให้สัมภาษณ์ในนิตยสารสารคดี
  • ถึงความพยายาม และความใฝ่ฝัน ในการสร้างห้องสมุด และสร้างสังคมการอ่าน ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
  • ในช่วงที่คุณมกุฎ มีไฟแห่งความใฝ่ฝันคุโชน
  • มีประโยคหนึ่งของ คุณมกุฎ ที่วิพากษ์ความล้มเหลวของห้องสมุดเมืองไทย หอสมุดแห่งชาติ พร้อมตอบคำที่สวยงามว่า เขายังเชื่อว่า ห้องสมุด คือมหาวิหารแห่งปัญญา
  • และเขาเชื่อมั่น และศรัทธา ในความใฝ่ฝันครั้งสุดท้ายของชีวิต
  • ว่า ต้องการจะสร้างมหาวิหารแห่งปัญญา ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ได้
  • แม้รูปธรรมในเชิงนโยบายภาครัฐ จะกระท่อนกระแท่น แต่โดยบทบาทส่วนตัว และแรงผลักดันหลายสิบปีที่ผ่านมา ของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ผมก็ยังเชื่อมั่น ว่าพลังของคนดี และคนที่ปรารถนาดีเหล่านี้ จะกระจาย ส่งผ่าน ร่วมถ่ายทอดให้สังคมไทยได้รับรู้
  • จะยาวนานเช่นไร เราก็ยังคงต้องคาดหวัง ใฝ่ฝันกันต่อไปครับ
  • ถ้ามาเริ่มก่ออิฐ ก่อขอบร่าง ด้วยการอ่าน ด้วยการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ผมก็เชื่อมั่นว่า วันหนึ่ง ประเทศไทย ต้องมีมหาวิหารแห่งปัญญา ที่ยิ่งใหญ่งดงามได้แน่นอนครับ
  • ก็ยังคงเชื่อมั่นต่อไปครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับการเข้ามาอ่าน
  • และขอบคุณ สำหรับข้อคิดเห็นครับ
  • ขอบคุณครับ


ความเห็น (3)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

แอมแปร์
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ คุณKati

  • เหตุที่ดิฉันขอ(ร้องแกมบังคับ)ให้เด็กๆอ่านบทความนี้ก่อนเรียน  เพราะคิดว่า  "คงมีเด็กที่ตั้งคำถามกับตัวเองไม่น้อย"  เรื่องการอ่าน  
  • งานเขียนของอาจารย์นิธิ นำเสนอวิธีคิดที่แยบคาย  ดิฉันบอกเด็กๆว่าดิฉันชอบ  และอธิบายอย่างสนุกสนานว่าชอบเพราะอะไร   (คือตอนอธิบายนั้นดิฉันสนุกเสมอ  ส่วนเด็กๆ  ดิฉันไม่ใคร่แน่ใจ  เห็นมีหาวหวอดๆอยู่บ้าง)
  • คิดถึงคุณมกุฎ อรดีเลยค่ะ  สมัยเรียนดิฉันก็วนเวียนอยู่แถวร้านดอกหญ้าหน้าราม ศูนย์หนังสือจุฬา  แล้วก็ร้านหนังสือแถวท่าพระจันทร์  มีโอกาสเห็นตัวเป็นๆของผู้อยู่ในวงการหนังสืออยู่บ้าง  งานผลักดันดูแล้วจะหนักกว่างานสอนเยอะ
  • โดยเฉพาะการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ
  • ชอบวลีนี้มากเลยค่ะ   "ความผิดพลาดในทางวัฒนธรรมของเรา"  ทำให้ดิฉันนึกถึงการจราจร  เทียบของเรากับประเทศเวียตนาม    ดิฉันรู้สึกดีกับแมงกะไซค์ไทยขึ้นมาอีกเยอะ
  • โลกนี้โชคดีที่ค้นพบวงกลม  (ขอบคุณใครดีหนอ) ทำให้เรามองเห็นการคิดเป็นวงจร   และเห็นว่าปัญหาการอ่านมาจบลงที่ปัญหาวิธีคิด  
  • คือสิ่งที่ดิฉันหนักใจกว่า ความอยาก ชอบ และตั้งใจอ่าน  คือความอยาก ชอบ  และตั้งใจคิด
  • ดิฉันคิดว่าปัญหาที่น่ากล้ว (สำหรับดิฉัน) คือการขี้เกียจคิด  ไม่ได้กลัวเล่นๆนะคะ  ดิฉันกลัวจริงๆ  และกลัวมากๆด้วย   แล้วก็กลัวคนขี้เกียจคิดมากขึ้นทุกวัน  เพราะคนเหล่านั้นสามารถทำอะไรก็ได้  เชื่ออะไรก็ได้  โดยไม่ต้องคิดย้อนถามตัวเองเลย  ว่าที่ทำหรือที่คิดอยู่นี่น่ะ  ควรหรือไม่ควร  เพราะเหตุใด 
  • ขอยืนยันว่าดิฉันไม่ได้พูดถึงเรื่องการเมืองนะคะ  แต่พูดถึงวงจรชีวิตธรรมดา  โลกก็เป็นอย่างนี้  มีสงบ   มีเคลื่อนไหว  มีขัดแย้ง มีทำลาย  มีสร้างใหม่  วนอย่างนี้เรื่อยไป  
  • เพียงแต่ดิฉันคิดว่าไม่น่าจะยอมให้เกิดขึ้นง่ายนัก
  • การอ่านเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยทำให้มนุษย์ได้คิดและคิดได้มากขึ้น
  • แต่ก่อนหน้านั้น  ต้องฝึกให้รู้จักคิด  (และรู้จักคิดที่จะอ่าน)  เมื่ออ่านแล้วก็รู้จักที่จะคิดต่อ 
  • ดิฉันอยากเล่าอีกยาวๆนะคะ  และจะเข้ามาเล่าต่อ เพราะยังเล่าไม่จบเลย  แต่อยากเรียนว่าที่พูดมาทั้งหมด  ยังอยู่ในเรื่องของการอ่าน  
  • ขอบพระคุณคุณkati ที่แวะมาที่นี่นะคะ  เช้านี้ดิฉันไปโรงเรียนก่อน : )  และจะรีบกลับมาอีกที พร้อมกับเรื่องเล่าอีกยาวๆๆค่ะ 


ความเห็น (4)

 

 

 

 

สวัสดียามค่ำอีกครั้งค่ะ คุณkati

  • เวลาผ่านไปเร็วนักค่ะ  ทำงานเพลินๆ เผลอแป๊บเดียวเย็นค่ำอีกแล้ว 
  • ดิฉันอยากเล่าต่อเรื่อง นิสัยการอ่านของเด็กไทยอีกนิดนะคะ  เนื่องจากว่าดิฉันก็เคยเป็นเด็กไทยเหมือนกัน  (ถึงแม้จะนานมาแล้ว)  : ) 
  • ดิฉันชอบมากที่คุณบอกว่า

                    "มนต์เสน่ห์ของการอ่าน มักจะมาจากแรง บันดาลใจ มาจากความสนุกในการได้โลดแล่นไปขณะอ่าน โดยไม่ต้องจำกัดประเภท จำกัดเนื้อหา

                     ขอแค่ขั้นตอน อ่านได้สะเทือนอารมณ์สะเทือนใจ ไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ...... มันมักจะมีผลในการกระตุ้นต่อมอยากของเขา ให้เสพติดการอ่านได้ไม่ยาก"  

  • ดิฉันก็เริ่มมาจากเรื่องที่ชอบเหมือนกัน  และเห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นที่คุณkatiกล่าวถึงโอกาสในการอ่านของเด็กไทย 
  • และทำให้นึกไปถึงบันทึกถึงลูกของ  ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ     เรื่องการอ่าน = การเปิดโลกทัศน์ : ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม
  • อาจารย์เล่าว่า    คุณทนง โชตสรยุทธ์ (แห่ง SE-ED) พูดถึงคำพูดที่ว่า "คนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ" ซึ่งคุณทนงบอกว่าไม่จริง ที่ถูกแล้วน่าจะพูดว่า     "คนไทยหาหนังสือที่อยากจะอ่านไม่เจอ"  
  • แปลว่า หากตอบสนองให้ตรงตามความต้องการแล้ว  แปลว่าคนไทยก็อ่านเหมือนกัน
  • แต่ถามว่าชอบอ่านอะไร... โจทย์นี้แหละค่ะที่ดิฉันยังตอบไม่ได้  เพราะมีความหลากหลายสูง  ต่างกันไปตามความสนใจอันมีตัวแปรมากมาย  
  • แต่ที่จะเล่าให้คุณ kati ฟังนี้ เป็นกรณีจำเพาะ  ในปริบทของดิฉันนะคะ   ดิฉันถามลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง(ซึ่งเก้าสิบเปอร์เซ็นต์เป็นผู้หญิง) ว่าชอบอ่านอะไรและโปรดให้เหตุผล
  • กว่าครึ่งตอบว่านิตยสารดารา  หรือข่าวซุบซิบดารา  อะไรทำนองนี้  เขาชอบอ่าน เพราะไม่ต้องคิดมาก  ........คำตอบของเขาเลยทำให้ดิฉันต้องมานั่งคิดมาก...... : ) 
  • ดิฉันมองเหตุการณ์ปัจจุบันแล้วคิดว่าต้องฝึกลูกผู้หญิงให้ฉลาด    โตขึ้นเขาจะได้เป็นคุณแม่ที่ฉลาด   ถ้าคุณแม่ฉลาด  ลูกก็มีโอกาสฉลาดด้วย     วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้เป็นคุณแม่ฉลาดๆได้ก็ด้วยการอ่านอะไรฉลาดๆ 
  • ขอประทานโทษนะคะ  ดิฉันมิได้พูดแบบคำคู่ตรงกันข้าม  แต่พูดถึงคำว่า ฉลาด  ด้วยความหมายตรงๆ  และมิได้ตั้งใจจะกล่าวถึงผู้ใดในทางลบ
  • แต่ดิฉันอยากฝึกให้เขามีคุณสมบัติ  "แบบอ่านแล้วคิด"   พูดตรงๆว่าไม่ว่าจะอ่านอะไร หน้าตาอย่างไรก็ตาม  แต่เจ้าตัวคนอ่านต้องฉลาดคิด  ไม่อ่านเพราะอยากเฉยๆ   ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นทาสความคิดเขาได้โดยง่าย
  • ดิฉันไม่ทราบจะอธิบายอย่างไรให้กระจ่างไปกว่านี้นะคะ  แต่บางครั้ง  บางชุดความเชื่อก็สกัดกั้นการ(รู้จัก)คิดได้เกือบหมดสิ้น    
  • และนี่คือโจทย์ที่ยากที่สุดของดิฉัน  ตลอดชีวิตการเป็นครูที่ผ่านมา   ดิฉันยังไม่เคยทำสำเร็จสักครั้งเดียว  และตลอดชีวิตการเป็นครูที่เหลืออยู่ ก็ไม่รู้ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่
  • แต่ดิฉันก็ไม่เคยสิ้นหวัง...... ที่(อยาก)จะฝึกให้เด็กผู้หญิง  โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ผู้หญิงที่ฉลาดๆ  "ด้วยการอ่านและคิด" (ถึงแม้ดิฉันจะไม่ใคร่ฉลาดนักก็ตาม)
  • คือเพื่อนบอกว่าดิฉันเป็นเฟมินิสต์แบบอ่อนๆ  ดิฉันคิดเสียว่าเธอชม เลยมิได้คัดค้านแต่อย่างใด  : )
  • ดิฉันคงต้องทิ้งค้างเรื่องเล่าของดิฉันไว้เท่านี้กระมังคะ  ขอบพระคุณคุณkati ที่ให้เกียรติแวะมาทักทายเป็นการเฉพาะ  ดิฉันก็เล่าเรื่องจำเพาะที่บางทีก็เล่าลำบาก 
  • แต่โดยความละเอียดอ่อนของคุณkati ดิฉันก็ขออนุญาตตู่เอาว่าคุณเข้าใจนะคะ   และหากดิฉันสื่อสารอะไรไม่กระจ่างไปบ้างก็ต้องขออภัย  : )  
  • ดิฉันจะติดตามอ่านบันทึกของคุณkatiต่อไปนะคะ  ดิฉันประทับใจการสื่อสารด้วยภาษาอันสุภาพละเมียดละไม   อ่านแล้วทำให้ใจ "ละเอียด"ขึ้น  
  •  ขอบพระคุณมากๆนะคะ 

 

คุณ…..เป็นผู้ปกครอง?
ร่วมเป็นหนึ่งในงานสำรวจ ”พฤติกรรมการอ่านของผู้ปกครองไทย”  เพื่อการพัฒนาที่ดีกว่าเดิมให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานของเราในอนาคตกันเถอะครับ..!

http://www.thailandonearth.com/readingSurvey.php

Thank you very for your kindly response.


นิค แฟร์ริแมน
อาจารย์ ม. มหิดลนานาชาติ (Mahidol University International College - MUIC)


 

 

คุณ…..เป็นผู้ปกครอง?
ร่วมเป็นหนึ่งในงานสำรวจ ”พฤติกรรมการอ่านของผู้ปกครองไทย”  เพื่อการพัฒนาที่ดีกว่าเดิมให้กับรุ่นลูกรุ่นหลานของเราในอนาคตกันเถอะครับ..!

http://www.thailandonearth.com/readingSurvey.php


นิค แฟร์ริแมน
อาจารย์ ม. มหิดลนานาชาติ (Mahidol University International College - MUIC)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท