การจัดการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21



การจัดการการเรียนการสอนในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การจัดการการเรียนรู้นั้นเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนา ปรับปรุงระบบการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะผสมผสานการเรียนรู้โดยการรวมเอาการเรียนในชั้นเรียน กับ การเรียนจากเทคโนโลยีต่างๆ มารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งในแนวทางการจัดระบบการเรียนรู้แบบ Hybrid-Learning ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ผสานโมดูล (Module) การเรียนการสอนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยการผสมผสานกันระหว่างการเรียนการสอนทางไกล (Distant Learning) ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ ร่วมกับการเรียนแบบเผชิญหน้า (Face-to-Face Learning)และการจัดการเรียนรู้แบบBlended Learning ที่เป็นการจัดการการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการนั่งฟังคำบรรยายภายในชั้นเรียน โดยให้ความสำคัญในเรื่องของการเลือกใช้ สื่อที่เหมาะสมและถูกต้องตามจุดประสงค์ของการเรียน และการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับการเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ และตรงกับวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น

 Blended Learning คือ การผสมผสานการเรียนรู้โดยการรวมเอาการเรียนในชั้นเรียน กับ การเรียนจากเทคโนโลยีต่างๆ มารวมเข้าด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้จาก Workbook และ เทป ก็ยังไม่อาจเรียกได้ว่า “Blended” ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Workbook และ เทป ที่เป็นการผสมผสานของสื่อในการเรียนรู้ แต่ก็เป็นเพียงการเรียนในชั้นเรียนแบบ face-to-face ที่ไม่ได้มีช่องทางให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียนและการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู

 ดังนั้น Blended learning จึงเป็นการผสมผสานวิธีหลายๆวิธี(Multiple Learning Methods) เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน(teaching and learning) เพื่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะในด้านการปฏิบัติ(Practice Skill) เช่น การสอนในชั้นเรียนร่วมกับการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Online Learning) ซึ่งตรงกับความคิดที่ว่า "ไม่มีวิธีการสอนแบบใดแบบหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้(Learning)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ผู้สอนจะต้องใช้วิธีการหลายๆวิธี นำมาผสมผสานกัน(Blended) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ " และ Blended learning เหมาะกับการศึกษาด้านวิชาชีพ การฝึกอบรม การพัฒนาทักษะด้านฝีมือที่ต้องอาศัยความชำนาญ เพื่อพัฒนาผู้เรียนจาก Novice ไปสู่ Expert

Hybrid-Learning System

 ระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid) คือ นวัตกรรมการศึกษาที่ผสานโมดูล (Module) การเรียนการสอนหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านรูปแบบออนไลน์ หรือ อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) เข้ากับการเข้าชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และตรงกับวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น

 เพื่อประยุกต์ใช้ระบบไฮบริด  นั้นในการเรียนจะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบไวไฟ (Wifi)  ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วในสถาบันการศึกษา  เพื่อใช้อินเทอร์เน็ตในการดาวน์โหลดเนื้อหาบทเรียน การเรียนการสอนในเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาและค้นหาข้อมูลประกอบการเรียนตามหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดก่อนเข้าชั้นเรียน  เมื่อเข้าห้องเรียนผู้เรียนก็จะใช้บัตรสมาร์ทการ์ด ซึ่งเป็นบัตรประจำผู้เรียน เสียบเข้ากับอุปกรณ์โอพินเนียน ไฟนด์เดอร์ (Opinion Finder)  ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  และใช้ประเมินความเข้าใจในระหว่างเรียน โดยการตอบคำถามผู้สอน  ซึ่งข้อมูลทุกอย่างภายในชั้นเรียนจะถูกบันทึกไว้  ทำให้ผู้สอนสามารถติดตามประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างใกล้ชิด

 การนำการศึกษาระบบไฮบริด มาใช้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้เรียนทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษา  ซึ่งจะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ มีความคุ้นเคยกับอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้อย่างคล่องแคล่ว 

 และที่สำคัญ ระบบไฮบริด จะทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นบุคคลที่กระตือรือร้น มีความรับผิดชอบ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนกล้าแสดงความคิดเห็น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน

 การเรียนการสอนในลักษณะนี้จึงถือได้ว่าเป็น การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยการใช้ทั้งการเรียนการสอนที่มี ผู้สอนเป็นผู้นำ (Instructor-led) และบทเรียนบนเว็บ จึงเรียกการเรียนการสอนในลักษณะนี้ว่า Blended Learning หรือ Hybrid Learning ซึ่งมีความหมายในลักษณะของการผสมผสาน

อ้างอิง https://sites.google.com/site/plangernzeed/thekhnoloyihim/blended-hybrid-learning
หมายเลขบันทึก: 542974เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

* ** ผู้สอนจึงต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท