เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552


ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
มีต่อ

ตอบ...คุณนวลจันทร์...

พนักงานราชการ เมื่อลาออกแล้ว ไม่มีสิทธิ์ที่จะแต่งเครื่องแบบปกติขาวได้เหมือนข้าราชการนะค่ะ...เนื่องจากข้าราชการที่ลาออกและมีสิทธิ์ใส่ชุดปกติขาวนั้น ต้องเป็นข้าราชการบำนาญค่ะ เพราะมีกฎหมายรองรับ...สำหรับพนักงานราชการจะเกี่ยวพันกันด้วยการทำสัญญาจ้างนะค่ะ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจ้าง สิทธิต่าง ๆ ก็ สิ้นสุดลงค่ะ...

อาจารย์ครับ เรื่องชุดสีกากีของพนักงานราชการตกลงว่าใส่ได้หรือเปล่า

ตอบ...หมายเลข 402...

ขอให้คุณศึกษาตามกระทู้ที่ผู้อ่านได้สอบถามและผู้เขียนได้ตอบไปแล้วในกระทู้ข้างต้นนะค่ะ...มีคำตอบอยู่แล้วค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

พนักงานราชการกรมอุทยานฯสัญญาจ้างหมดอายุ 31 พฤษภาคม 2553 บางคนมีคำสั่งไปอบรมต่างจังหวัดเดือนมิถุนายน 2553 นี่ก็ใกล้ที่จะหมดสัญญาแล้วยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวในการต่อสัญญาเลย ช่วยตอบด้วยครับอาจารย์ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณสน...

ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่คุณสังกัดอยู่นะค่ะ...อยู่ที่ฝ่ายการเจ้าหน้าที่หรืองานบริหารบุคคลที่จะต้องแจ้งให้คุณทราบว่าคุณต้องทำการต่อสัญญาจ้าง...อย่างไรแล้วขอให้คุณประสานกับฝ่ายดังกล่าวข้างต้นนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ใจหายทุกทีที่สัญญาหมด...ทำให้ใจไม่ดี..ต้องลุ้นตลอดว่าจะได้ต่อหรือไม่...นี่เเหละคือพนักงานาราชการ...นอนหลับอยู่ดีๆตื่นมายังผวา..กลัวตกงาน..สุขภาพจิตเสียหมด..เพราะเครียด..บางคนต้องดูเเลคนทั้งครอบครัว..รายได้เสริมทางครอบครัวมีนิดหน่อย+เงินเดือนพนักงานราชการเเทบไม่พอกิน..อายุมากเเล้ว..จะดิ้นรนไปที่อื่นคงไม่ไหว..อายเด็ก...อยากได้หลักประกันมั่นคงที่ดีกว่านี้นิดหน่อยก็พอทำงานถึง60ปีไม่ต้องลุ้นที่จะได้ต่อสัญญาหรือเปล่าเมื่อครบกำหนด...มีเงินบำเหน็บไว้กันตายยามเเก่เฒ่าเล็กน้อยก็พอใจเเล้ว..ไม่คิดที่จะไปเทียบข้าราชการเขาหรอก..ยังไงมันก็เป็นไปไม่ได้อยู่เเล้ว..ขอความกรุณาเถิดผู้มีอำนาจทั้งหายช่วยพวกเราหน่อยเห็นใจคนทำงานเหมือนกัน..ทำเพื่อชาติบ้านเมืองเหมือนกัน...เมื่อไหร่จะได้มีวันของพวกเราบ้าง...เป็นลูจ้างชั่วคราว5ปีเป็นพนักงานราชการ5ปี 10 ปี ถ้าพวกเราทำงานไม่ดีปานคงถูกให้ออกนานแล้ว..การทำงานไม่ต้องพูดถึงมันชำนาญเก่งยิ่งกว่าข้าราชการบางคนเสียอีก..ขอบคุณมากอาจารย์ที่ให้ระบายความอัดอั้นตันใจ..ด้วยความเครารพอย่างสูง..

ตอบ...หมายเลข 406...

ก็ได้แต่เพียงเป็นกำลังใจให้เท่านั้นค่ะ...เพราะทั้งหลายทั้งปวงเป็นนโยบายภาครัฐค่ะ...

ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ (ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย) คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ของภาควิชาฯ อยากทราบว่า ผมสามารถใส่ชุดปกติขาว ในการรับปริญญาได้หรือเปล่าครับ ต่างมหาวิทยาลัยกันนะครับ

ตอบ...คุณ bom...

ขอให้คุณสอบถามที่กองการเจ้าหน้าที่หรือกองบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่คุณสังกัดเองนะค่ะ...ว่าระเบียบการใส่ชุดปกติขาวของพนักงานมหาวิทยาลัยมีผลบังคับใช้หรือยัง...ถ้ามีแล้วลองอ่านระเบียบให้ละเอียดนะค่ะ...เพราะส่วนใหญ่มีแล้วจะใส่รับปริญญาได้ค่ะ...เนื่องจากผู้เขียนตอบให้ไม่ได้เพราะกฎหมายของสภามหาวิทยาลัยแต่ละมหาวิทยาลัยจะไม่เหมือนกันนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ในการแต่งเครื่องแบบปฏิบัติการ (ชุดกากี)

ของพนักงานราชการสามารถใช้ อินทรธนูของลูกจ้างประจำ โดยแบ่งเป็น 2 ระดับดังนี้

1. อินทรธนู ลูกจ้างประจำ 2 ขีด

2. อินทรธนู ลูกจ้างประจำ 3 ขีด

แต่ละระดับจะขึ้นอยู่กับเพดานเงินเดือน

ผมได้มาจาก www.thaiinsignia.com

หมายถึงอย่างไงครับ อยากให้อาจารย์อธิบายครับ

ขอบคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 410...

ตามที่คุณบอกว่า ในการแต่งเครื่องแบบปฏิบัติการ (ชุดกากี) ของพนักงานราชการสามารถใช้ อินทรธนูของลูกจ้างประจำ โดยแบ่งเป็น 2 ระดับดังนี้

1. อินทรธนู ลูกจ้างประจำ 2 ขีด         2. อินทรธนู ลูกจ้างประจำ 3 ขีด

แต่ละระดับจะขึ้นอยู่กับเพดานเงินเดือน

ผู้เขียนขออธิบายว่า...สำหรับตามประกาศ ของ กพร. นั้น จะกำหนดแต่เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ สำหรับการแต่งชุดเครื่องแบบปฏิบัติการ นั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่คุณสังกัดอยู่เป็นผู้กำหนด ผู้เขียนไม่ทราบเหตุผลของหน่วยงานที่คุณสังกัดอยู่กำหนดการแต่งเครื่องแบบปฏิบัติการนั้น อ้างกฎหมายอะไร ถึงให้พนักงานราชการแต่งเป็นของลูกจ้างประจำ  (ผู้เขียนคิดว่า...อาจมีการเข้าใจอะไรกันผิดหรือเปล่า...ต้องดูในประกาศที่เขาประกาศให้ใส่ว่าเขาอ้างระเบียบอะไรลองรับในการสั่งให้พนักงานราชการแต่งเครื่องแบบที่เป็นของลูกจ้างประจำ) คือ เป็นการอธิบายที่ยาก เพราะผู้เขียนไม่ได้อยู่ในสถานที่ทำงานของคุณ ก็เลยไม่ทราบว่าผู้ที่ประกาศให้แต่งเครื่องแบบปฏิบัติการนั้น ใช้กฎหมายอะไรรองรับในการสั่งให้พนักงานแต่งเหมือนกับลูกจ้างประจำค่ะ...เพราะเช่น เครื่องแบบของข้าราชการ เขาก็ยังไม่มีใครเขาไปแต่ง สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ  กรณีของเครื่องแบบลูกจ้างประจำก็เหมือนกัน จะมีกฎหมายรองรับในการเป็นลูกจ้างประจำ เพราะอันตรายเหมือนกัน ถ้ามีการฟ้อง หรือแจ้งความกันกับการแต่งเครื่องแบบ ฯ ผู้เขียนก็ได้แต่ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไม หน่วยงาน (ส่วนใหญ่จะเป็นของเขตพื้นที่) ที่ให้พนักงานราชการแต่งชุดเครื่องแบบปฏิบัติการแล้วใส่อินทรธนูของลูกจ้างประจำ...เพราะเป็นคนละประเภทกันค่ะ...แปลก เขาจะไม่ปฏิบัติกันค่ะ...เพราะเป็นบุคลากรคนละประเภทกัน เครื่องแบบก็ไม่ควรเหมือนกัน ชุดอาจเหมือนได้ แต่อินทรธนู ไม่น่าใช่...ลองสอบถามไปที่หน่วยงานต้นสังกัดนะค่ะ ว่าใช้กฎหมายอะไรรองรับ...เพราะลูกจ้างประจำ กับพนักงานราชการ ไม่ใช่บุคคลประเภทเดียวกันค่ะ...ผู้เขียนสังเกตว่า...ปัจจุบัน ดูอะไรมันจะไม่เป็นระบบ มันเหมือนเลอะเทอะไปหมด...การทำสิ่งใด ที่รัฐให้หน่วยงานปฏิบัติก็จริง แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรับรอง  ไม่ใช่ใครใคร่ทำสิ่งใด...ทำ...มันจะทำให้ระบบราชการขาดความศักดิ์สิทธิ์ไป...เช่นเดียวกับเรื่องการเมืองปัจจุบันไงค่ะ...

เรียนถามครับ รัฐมีนโยบายลดจำนวนข้าราชการ 600000 คนภายใน 3 ปี รวมถึงพนักงานราชการด้วยหรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 412...

ถ้าหมายถึงลดจำนวนข้าราชการ ก็คือ ข้าราชการค่ะ ไม่รวมถึงพนักงานราชการ จำนวนอัตราของพนักงานราชการ จะได้จาก จำนวนของลูกจ้างประจำที่เกษียณอายุราชการ หรือ ได้จากภาระกิจหลัก ภารกิจรองและภารกิจสนับสนุนของหน่วยงานนั้น ๆ โดยเป็นหน้าที่ของหน่วยงานต้องขออัตรากำลังไปค่ะ...

ช่วงนี้เว็ปอาจารย์เงียบจังครับ กพ.เปิดสอบภาค ก.ได้เงินค่าสมัครอื้อเลยแต่รัฐออกมาบอกว่าจะลดจำนวนข้าราชการลงมันยังไงกันครับอาจารย์ ขอบคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 414...

ค่ะ คงเป็นเพราะเกิดความเข้าใจกันแล้วกระมังค่ะ...คำถามก็เลยหมดที่จะถามกันแล้ว...แต่ก็อย่าลืมอ่านความรู้ในบล็อกที่ผู้เขียนได้เขียนไว้อีกเกือบ 300 กว่าบล็อก (คลิกที่บล็อกข้างบนค่ะ) ...นะค่ะ เป็นความรู้ที่นำมาให้ทุก ๆ ท่านได้อ่าน มีทั้งความรู้เก่า + ใหม่ + ประสบการณ์ ซึ่งสามารถนำมาเป็นภูมิป้องกัน + องค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นได้นะค่ะ...ค่ะเป็นธรรมดานะค่ะสำหรับการสมัครสอบเป็นข้าราชการ ภาค ก. นี่คือกระบวนการคัดสรรคนดี + คนเก่ง เข้ามาทำงานราชการในภาคแรกค่ะและยังมีต่อในภาค ข. อีกนะค่ะอาจรวมถึงภาค ค. ค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการที่โปร่งใสค่ะ ถ้าสอบได้นั่นคือ ความมีศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจ กับภูมิรู้ที่เรามีอยู่และสามารถสอบแข่งขันกับคนเป็นหมื่นเป็นแสนคนทั่วประเทศเชียวนะค่ะ...การลดจำนวนข้าราชการกับการรับสมัครสอบ ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้หรอกนะค่ะ สำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อการบรรจุคนเข้ารับราชการมีมูลค่ามากมาย จะนำมาเปรียบเทียบกับการเก็บค่าสมัครสอบไม่ได้หรอกค่ะ เพราะการสมัครสอบในแต่ละครั้งที่ สำนักงาน ก.พ. เก็บมาได้ ก็เป็นค่าใช้จ่ายให้กับการคุมสอบ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสถานที่ ฯลฯ สำนักงาน ก.พ. ได้รับ ก็ไม่เท่าไรหรอกค่ะเพราะผู้เขียนก็เคยร่วมงานกับสำนักงาน ก.พ.มา ทราบดีค่ะ...ขอบคุณค่ะ...และก็ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้และบทความที่ผู้เขียนได้เขียน หวังว่าคงเป็นประโยชน์ + เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยค่ะ...

อาจารย์ครับพอมีแนวข้อสอบภาค ก.ระดับปฎิบัติงานบ้างไหมครับพอดีกระผมสมัครสอบไว้ครับเผื่อจะได้เป็นแนวทางในการสอบเพื่อเป็นข้าราชการตัวจริงเสียทีตอนนี้กระผมเป็นพนักงานราชการกรมราชทัณฑ์กลุ่มงานบริการก็ทำงานอย่างเต็มที่ครับ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรครับและกระผมขอขอบคุณอาจารย์ที่แบ่งเวลาเข้ามาตอบคำถามเพื่อความรู้ต่างเกี่ยวกับราชการต่างๆ สุดท้ายนี้กระผมขออวยพรให้อาจารย์มีสขภาพที่แข็งแรงมีความเจริญก้าหน้าในการทำงานยิ่งๆขึนไป ขอบพระคุณครับ

ตอบ...หมายเลข 416...

ในการสอบภาค ก. สำนักงาน ก.พ. บอกไหมค่ะว่าจะสอบเกี่ยวกับเรื่องไรบ้าง เมื่อครั้งที่ผู้เขียนสอบนั้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ความสามารถทั่วไป เช่น ภาษาไทย  อนุกรม การเปรียบเทียบ การคิดวิเคราะห์ ไหวพริบ เชาว์ต่าง ๆ ผู้เขียนก็หาซื้อหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมานั่งอ่านค่ะ แต่บังเอิญว่า ผู้เขียนมีพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาพวกนี้มาด้วย เช่น ได้ A วิชาภาษาไทยทุกเทอม จบม.ศ. 4 - 5 โปรแกรมวิทย์ - คณิต (ทำให้ผู้เขียนมีพื้นฐานที่ดีพอสมควร) บางครั้งอาจเกี่ยวกับการที่เราได้สอบบ่อย ๆ เพราะสมัยก่อนผู้เขียนจะเป็นสิงห์สนามสอบ สอบทุกที่ไม่สนใจว่าจะสอบได้หรือไม่ แต่ก็สอบติดทุกที่เหมือนกัน จึงทำให้สอบได้ค่ะ แต่ก็ไม่เกินความสามารถของเรานะค่ะ... ขอให้คุณแบ่งเวลาทบทวนความรู้ดังกล่าว อาจหาซื้อหนังสือดังกล่าวตามที่ ก.พ. ระบุไว้หลาย ๆ เล่ม เพราะมีผู้รวบรวมหลายคน ตามร้านขายหนังสือในตัวเมืองค่ะ...แบ่งเวลาของตัวเราเองให้ดีค่ะ + สนใจ + ใส่ใจว่าเราต้องทำได้ + ความมั่นใจ + ความเชื่อมั่นในตัวเราเอง...ข้อสำคัญ...อ่านหรือทบทวนหนังสือ อย่างน้อยประมาณ 3 รอบค่ะ หัดทำข้อสอบ...เท่านี้แหล่ะค่ะ...เชื่อว่าคุณต้องสอบได้...แต่จะได้ที่เท่าไรก็ต้องอยู่ที่ว่าคนที่เข้าสอบแข่งขัน เขาทำข้อสอบได้มากหรือน้อยกว่าเท่านั้นเองค่ะ....เทคนิคในการทำข้อสอบ...เมื่อเราทำข้อสอบแล้ว ต้องเชื่อมั่นว่า เราทำถูก ถ้าเกิน 60 % ได้ยิ่งดีใหญ่ค่ะ ต้องดูกฎ กติกา ของ ก.พ. ด้วยนะค่ะว่า ทำได้เท่าไรถึงจะผ่านขึ้นบัญชีไว้ อย่างน้อยแล้ว...เราต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเราเอง...ถ้าข้อสอบเป็นปรนัย ให้อ่านโจทย์ให้เข้าใจ แล้วมาดู choice ในแต่ละข้อ ตัดออกทีละข้อ ถ้าข้อไหนใกล้เคียงกันก็นำมาเปรียบเทียบว่าข้อไหนเป็นจริงมากที่สุด...นี่เป็นเทคนิค...แนวการทำข้อสอบค่ะ สำหรับข้อสอบนั้น ส่วนใหญ่ เวลาทำข้อสอบ ก.พ. จะไม่ให้นำออกมานะค่ะ...ขอให้คุณโชคดี + สอบในครั้งนี้ได้นะค่ะ... ขอบคุณสำหรับคำอวยพรที่ให้มานะค่ะ เช่นกันค่ะ ขอให้พรที่คุณให้ย้อนกลับไปหาคุณด้วยนะค่ะ...ของฝาก...อ่านหนังสือให้มาก ๆ ค่ะ เพราะการอ่านหนังสือมาก ทำให้ความคิดแตกฉาน ปัญญาจึงเกิด แล้วจะทำให้วิเคราะห์ได้ค่ะ...

ขอบพระคุณอาจารย์ครับ อาจารย์เป็นคนที่เก่งมากๆ

ตอบ...หมายเลข 418...

ขอบคุณค่ะ...ไม่เก่งหรอกค่ะ คนเก่งกว่าเรายังมีอีกมากค่ะ...เพียงแต่เราทำปัจจุบันให้ดีที่สุดค่ะ...และให้รู้หน้าที่ว่าเราควรทำสิ่งใด...ขอให้โชคดีนะค่ะ...

ติดตามอาจารย์มาตลอดขอบคุณครับที่มีข่าวเกี่ยวกับพนักงานราชการมาให้อ่านอยู่เสมอ ขอบคุณอีกครั้งครับ

ตอบ...หมายเลข 420...

ขอบคุณเช่นเดียวกันค่ะ...ยินดีให้คำแนะนำ...ซึ่งเป็นหน้าที่ของข้าราชการค่ะ

อ.บุศ.ทำไมเงินเดือนพนักงานราชการทำไมขึ้นช้าจัง ทำงานมา6ปี เงินเดือนขึ้นพันกว่าเอง...

ตอบ...หมายเลข 422...

คุณให้รายละเอียดไม่เพียงพอนะค่ะ...ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ไหมค่ะว่า...คุณบรรจุตำแหน่งอะไร  กลุ่มอะไร ตั้งแต่เมื่อไรค่ะ...เพราะค่าจ้างในแต่ละกลุ่มไม่เท่ากันค่ะ...จึงไม่สามารถบอกได้ค่ะ...

อาจารย์ครับ

เป็นพนักงานราชการแล้วเข้าจะให้สิทธิบรรจุเป็นข้าราชการหรือไม่ครับ

เป็นพนักงานราชการมีสิทธิขอเครื่องราชฯได้หรือไม่ครับ ถ้าได้ขออย่างไรครับ

เขาบอกมาว่าเครื่องแบบปฏิบัตการของพนักงานราชการให้ใส่อินธนูเหมือนลูกจ้างประจำได้โดยดูตามขั้นเงินเดือนใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ

ตอบ...คุณศุภลักษณ์...

1. ถามว่า เป็นพนักงานราชการแล้วมีสิทธิบรรจุเป็นข้าราชการหรือไม่นั้น...ขอตอบว่า คำถามนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานนะค่ะ เช่น สพฐ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ ฯลฯ ซึ่งแนวนโยบายจะไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับมติ ครม. หรือนโยบายของรัฐค่ะว่าให้ตำแหน่งข้าราชการหรือไม่ จึงตอบไม่ได้ค่ะว่าบรรจุได้หรือไม่ เพราะผู้เขียนจะตอบในภาพรวม เอาไว้รัฐมีนโยบายที่ชัดเจนว่าทุกหน่วยงานทำได้ ผู้เขียนจะนำมาแจ้งให้ทราบนะค่ะ...ทราบมาว่า ของ สพท. ได้อัตราข้าราชการมา แต่ก็ต้องแบ่งอัตราให้บรรจุใหม่ กับให้สอบแข่งขันเป็นข้าราชการโดยนำพนักงานราชการมาสอบเพื่อแข่งขันกันค่ะ...แต่ส่วนราชการอื่นยังไม่ทราบค่ะว่าได้หรือไม่...ต้องเข้าใจนะค่ะว่า ปัจจุบันรัฐกระจายอำนาจให้ส่วนราชการแล้ว จึงทำให้แต่ละส่วนราชการได้อัตราข้าราชการไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่ที่เหตุผลของแต่ละส่วนราชการค่ะ...

2. เป็นพนักงานราชการมีสิทธิขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นะค่ะ...ขอให้คุณคลิกที่บล็อกด้านบน ผู้เขียนได้เขียนไว้แล้ว  ค่อย ๆ ศึกษา นะค่ะ เพราะมีเรื่องแจ้งให้ทราบมากค่ะ...ผู้เขียนไม่ได้เขียนบล็อกนี้บล็อกเดียว...ลองศึกษาดูนะค่ะ...เผื่อมีประโยชน์ต่อการทำงานค่ะ...

3. สำหรับอินทรธนู รู้สึกว่า พนักงานราชการส่วนใหญ่จะเข้าใจไม่ถูกต้องกันนะค่ะ...สำหรับชุดปกติขาว  พนักงานราชการสามารถใส่ได้โดยอินทรธนูเป็นรูปดอกพิกุลค่ะ เพียงแต่จะ 2 ดอก หรือ 3 ดอก ต้องศึกษาในเว็บค่ะ... แต่ถ้าเรียกว่าชุดปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่าชุดทำงานทั่ว ๆ ไป อันนี้ขึ้นอยู่กับส่วนราชการเป็นผู้กำหนด เช่น บางส่วนราชการกำหนดให้ใส่สูท  บางส่วนราชการกำหนดให้ใส่ชุดสีกากี  การใส่สีกากี คุณก็ต้องดูประกาศของส่วนราชการคุณจะเป็นผู้กำหนดนะค่ะ ว่าให้แต่งแบบใด เครื่องหมายบนบ่า ใส่แบบใด ใช่เหมือนของลูกจ้างประจำหรือไม่  แต่ดูให้ดี ๆ นะค่ะ ว่าถูกไหม  ใช้กฎหมายอะไรมาลองรับว่าใส่ขีดของลูกจ้างประจำ ซึ่งกฎหมายนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานของคุณแล้วละค่ะ...ทางที่ดีถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของหน่วยงานคุณนะค่ะ สำหรับชุดปฏิบัติงานค่ะ อย่าลืมว่า ขีดที่ใส่กับชุดสีกากี ถ้าเป็นของข้าราชการผู้ที่จะใส่อินทรธนู หรือขีดกับชุดสีกากีได้ ก็ต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นลูกจ้างประจำ  อินทรธนู หรือขีดกับชุดสีกากี ก็ต้องเป็นลูกจ้างประจำเท่านั้น เพราะตามกฎหมายของ 2 ประเภท มีกำหนดไว้  แต่ไม่ทราบว่าแต่ละส่วนราชการไปกำหนดให้พนักงานราชการใส่ของลูกจ้างประจำนั้น อ้างกฎหมายใด...ผู้เขียนจึงให้คุณสอบถามเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบของส่วนราชการคุณไงค่ะ... อย่างไรแล้วฝากให้อ่านระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพนักงานราชการ รวมทั้งทุกกระทู้ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ในบล็อกนี้...จะทำให้คุณทราบรายละเอียดมากขึ้นค่ะ...

ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับเรื่องเครื่องแบบนะครับ

พอดีได้รับบรรจุเป็นพนักงานราชการสังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอะครับ

แต่ว่าไม่เคยเห็นกล่าวถึงเรื่องชุดเครื่องแบบใดๆ เลยครับ เคยรับเสด็จสมเด็จพระเทพ รัตนฯ 1 ครั้ง ประมาณปลายปี 2551 ครับ

ตอนนั้นใส่ชุดสูท ข้าราชการใส่เครื่องแบบขาว

ไม่ทราบว่าถ้าอยากจะทราบเรื่องเครื่องแบบต่างๆ ที่พนักงานราชการมีสิทธิ์ จะสามารถสอบถามได้จากที่ใครในกรมทรัพยากรธรณีครับ

หรือทำอย่างไรให้ทราบว่าเรามีสิทธิ์ใส่เครื่องแบบขาวได้บ้าง เพราะลองเลียบๆ เคียงๆ ถามคนในฝ่ายบุคคลมาบ้างก็ไม่มีคำตอบ แถมโดนเหน็บกลับมาเล็กน้อยพองามว่าอยากเหมือนข้าราชการเกินไปหรือเปล่า ก็เลยยังไม่ทราบสิทธิของพนักงานราชการในส่วนนี้อะครับ

ถ้าไม่รบกวนเกินไปตอบกลับในเมลล์ได้ก็ยิ่งดีนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ขออนุญาตสอบถามเกี่ยวกับเรื่องเครื่องแบบนะครับ

พอดีได้รับบรรจุเป็นพนักงานราชการสังกัดกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอะครับ

แต่ว่าไม่เคยเห็นกล่าวถึงเรื่องชุดเครื่องแบบใดๆ เลยครับ เคยรับเสด็จสมเด็จพระเทพ รัตนฯ 1 ครั้ง ประมาณปลายปี 2551 ครับ

ตอนนั้นใส่ชุดสูท ข้าราชการใส่เครื่องแบบขาว

ไม่ทราบว่าถ้าอยากจะทราบเรื่องเครื่องแบบต่างๆ ที่พนักงานราชการมีสิทธิ์ จะสามารถสอบถามได้จากที่ใครในกรมทรัพยากรธรณีครับ

หรือทำอย่างไรให้ทราบว่าเรามีสิทธิ์ใส่เครื่องแบบขาวได้บ้าง เพราะลองเลียบๆ เคียงๆ ถามคนในฝ่ายบุคคลมาบ้างก็ไม่มีคำตอบ แถมโดนเหน็บกลับมาเล็กน้อยพองามว่าอยากเหมือนข้าราชการเกินไปหรือเปล่า ก็เลยยังไม่ทราบสิทธิของพนักงานราชการในส่วนนี้อะครับ

ถ้าไม่รบกวนเกินไปตอบกลับในเมลล์ได้ก็ยิ่งดีนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ตอบ...คุณศักดิ์ชัย...หมายเลข 426 - 427

คุณมีสิทธิ์ใส่ชุดเครื่องแบบพิธีการได้ตั้งแต่คุณได้บรรจุแล้วค่ะ...พี่ขอให้คุณศึกษาในบล็อกที่พี่เขียนนี้ให้ละเอียด และทุกกระทู้ใน WebSite นี้ รวมถึงในบล็อกอื่นที่พี่เขียนไว้เกี่ยวกับพนักงานราชการ (ซึ่งคลิกที่บล็อกด้านบน ได้ค่ะ)...แล้วจะทำให้คุณทราบรายละเอียดทั้งหมดนะค่ะ...ก่อนอื่น คุณเป็นพนักงานราชการใหม่ พี่ขอให้คุณเริ่มศึกษาระเบียบพนักงานราชการที่พี่นำมา Link ไว้ให้ทราบแล้ว ลองศึกษาด้วยตนเองนะค่ะ...เพราะปัจจุบันนี้ รัฐ ต้องให้เราได้มีการศึกษาด้วยตนเอง (พัฒนาตนเองค่ะ)...ไม่มีใครบอกเราได้ดีเท่ากับเราได้ศึกษาเองค่ะ...ลองปฏิบัติดูนะค่ะ...

 

รบกวนเรียนถามค่ะ

ชุดข้าราชการระดับปฏิบัติการ(สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

คือชุดขาวข้าราชการทั่วไปใช่ไหมค่ะ

และชุดนี้จำเป็นต้องซื้อติดไว้ไหมค่ะ

ถ้าต้องการชุดจะมีจำหน่ายที่ไหนค่ะ

รบกวนลิงค์ภาพให้ดูทีน่ะค่ะ

ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ

ตอบ...หมายเลข 429...

ชุดเครื่องแบบพิธีการ คือ ชุดปกติขาว  จะแต่งเมื่อเวลามีงานที่มีกำหนดการค่ะ เช่น พิธีเปิดหอประชุม โดยพระมหากษัตริย์มาทรงเป็นประธานเปิด  การรับเสด็จ การรับปริญญาบัตร ฯลฯ ค่ะ...

สำหรับชุดปฏิบัติงานนั้นเป็นชุดที่ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดค่ะ เช่น สูทสากล  เครื่องแบบสีกากี ค่ะ...ที่ Ling มา เป็นชุดเครื่องแบบพิธีการ นะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya28/325196

แต่ก็มีอีกหลาย blog ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ ให้ Click ดูได้ตาม blog ที่อยู่ด้านบนจะมีรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในแต่ละ blog ค่ะ...ลอง Click ดูได้ค่ะ...

อ. ครับคงจำผมได้ ขอถาม อ. ว่า ผนทำงานเป็นพนักงานราชการจะครบ 5 ปีในวันที่ 4 สิงหาศกนี้ จะเริ่มขอเครื่องราชได้ตั้งแต่วันไหนอย่างไรครับ...ยังเปิดอ่านข้อความของ อ. เสมอ

ตอบ...คุณ ณฐ...

การนับเวลา ใหนับตั้งแต่วันเริ่มจ้างจนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน (นับก่อนวันที่ 6  ตุลาคม ของปีที่จะขอค่ะ)...เพราะการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จะเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เป็นผู้ลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้า ฯ เป็นความดีความชอบในประกาศ ฯ ให้กับเราค่ะ...ลองสอบถามที่หน่วยงานของคุณนะค่ะ...ว่าสำหรับปีนี้ส่วนราชการได้รวบรวมการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อส่งไปให้แล้วหรือยังค่ะ...ถ้าดำเนินการไปแล้วขอเพิ่มเติมได้หรือไม่...ถ้าไม่ได้ คงต้องเป็นปีหน้าค่ะ... ดูรายละเอียดตามไฟล์ด้านล่างนี้นะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/309383

อ.ครับ ที่ ก.พ.ประชุมเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา การจ้างต่อเนื่องกับการจ้างงานเป็นช่วงต่างกันอย่างไรครับ ผมพอเข้าใจอยู่บางแต่ยังไม่ชัดเจน แต่ถ้ามองในแง่ดี พรก.มีความมั่นคงขึ้นใช่หรือไม่ครับ

ตอบ...คุณ ณฐ...

การจ้างต่อเนื่องกับการจ้างงานเป็นช่วง ก็คือ การจ้างระยะสั้น กับระยะยาวนั่นเองค่ะ...

โดย ระยะสั้น จัดทำแนวทางการกำหนดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ภารกิจกับอัตรากำลังทุกประเภทที่มีอยู่ในส่วนราชการ พร้อมให้เสนอแนวทางในการทบทวนบทบาทภารกิจ ปรับปรุงกระบวนงาน และปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับภารกิจเพื่อใช้อัตรากำลังที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ กำหนดกรอบให้ส่วนราชการจ้างพนักงานราชการในภารกิจหลักได้ไม่เกินร้อยละ ๑๐  ภารกิจรองไม่เกินร้อยละ ๕๐ และภารกิจสนับสนุนไม่เกินร้อยละ ๗๕  ใช้กลไกระบบสัญญาจ้างเชื่อมโยงกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน โดยให้วางแผนการจ้างให้สอดคล้องกับภารกิจตามแผนงาน/โครงการที่กำหนด ต้องระบุผลผลิตและผลลัพธ์ของการจ้างที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการบริหารผลการปฏิบัติงาน และให้จัดทำตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานในแต่ละปี  นอกจากนี้ ให้ปรับโครงสร้างค่าตอบแทนของพนักงานราชการประเภททั่วไป เป็นโครงสร้างค่าตอบแทนแบบช่วง และปรับอัตราค่าตอบแทนเป็นร้อยละตามผลการปฏิบัติงาน  ส่วนพนักงานราชการประเภทพิเศษให้ใช้บัญชีค่าตอบแทนแบบอัตราเดียว (Single rate)  นอกจากนี้ ยังเห็นควรให้มีการศึกษาแนวทางการดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานราชการ เพื่อมีมาตรฐานเดียวกันในทุกส่วนราชการ ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. ต้องจัดทำแนวทางการปรับปรุงระบบพนักงานราชการ ระยะสั้น ให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน ๒๕๕๓ และชี้แจงให้ทุกส่วนราชการดำเนินการต่อ

สำหรับการดำเนินการระยะยาว เพื่อให้ระบบพนักงานราชการสอดรับกับนโยบายการลดขนาดกำลังคนภาครัฐ คพร.เห็นชอบให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย การจัดทำระบบสารสนเทศพนักงานราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการและจังหวัด การวางระบบการติดตามเพื่อประเมินผลการนำระบบพนักงานราชการไปปฏิบัติในส่วนราชการ การวางระบบการตรวจสอบการดำเนินการจ้างพนักงานราชการ การศึกษาเพื่อพัฒนากลไกในการนำการบริหารผลการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารสัญญาจ้างโดยเฉพาะกรณีการจ้างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน ๒๕๕๔

              กรณีคำขออนุมัติกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการนอกเหนือจากกรอบอัตรากำลังปกติสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๕ ให้ชะลอไว้ก่อน ยกเว้น ๒ กรณีที่กำหนดในมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ คือ การดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และกรณีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ สำหรับการขอขยายกรอบอัตรากำลังในครั้งนี้ ส่วนราชการต้องขอความเห็นชอบจาก อ.ก.พ. กระทรวงก่อน และต้องจัดทำข้อมูลเพื่อประกอบ คำขออนุมัติ ทั้งการวิเคราะห์กำลังคน วิเคราะห์งาน และที่สำคัญมีการติดตามการประเมินผลตามสัญญาจ้างทุก ๖ เดือน 

            ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบพนักงานราชการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระบบพนักงานราชการ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการจ้างงานของภาครัฐที่นอกเหนือจากการจ้าง  “ข้าราชการ” ระบบพนักงานราชการจึงไม่ใช่การจ้างงานแบบตลอดชีพและไม่เป็นภาระด้านงบประมาณในระยะยาว มีการประเมินผลการปฏิบัติงานในการต่ออายุสัญญาการจ้าง  ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานภาครัฐแนวใหม่ที่เน้นให้ภาครัฐดำเนินการเฉพาะภารกิจที่จำเป็นและ   มีความชำนาญ และให้ถ่ายโอนภารกิจหรือจ้างเหมาบริการในภารกิจที่สามารถให้ภาคส่วนอื่นดำเนินการแล้วมีประสิทธิภาพมากกว่า

พนักงานราชการ ก็มีความมั่นคงตามสภาพในยุคปัจจุบัน แต่อย่านำไปเปรียบเทียบกับความมั่นคงในอดีต...นะค่ะ...เพราะถ้าเปรียบเทียบจะทำให้เห็นช่องว่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันมากเกินไป...ซึ่งอดีต กำหนดให้เกษียณตอนอายุครบ 60 ปี แต่ปัจจุบันรัฐทำเป็นช่วงสัญญาจ้าง แค่ 4 ปี...แต่ก็ขอให้คุณรักษาความรู้ ความสามารถของคุณในการทำงานให้สามารถต่อสัญญาจ้างในครั้งต่อไปอีกได้ค่ะ...

 

 
           

ตอบ...หมายเลข 429...

สำหรับชุดข้าราชการจะมีชุดเครื่องแบบพิธีการ (ปกติขาว) + ชุดปฏิบัติการ (ชุดสีกากี) ค่ะ...สามารถตัดได้ตามร้านที่รับตัวชุดเครื่องแบบทั่ว ๆ ไปค่ะ...คุณสามารถดูอินทรธนูของข้าราชการระดับปฏิการ ได้ตามเว็บไซต์ด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya14/363470

1.ขอเรียนสอบถามอาจารย์ว่า พนักงานราชการ กองทัพอากาศครับ สามารถใส่ชุดพิธีการ (ชุดขาว)ไปรับปริญญาบัตรได้หรือไม่ครับ

เพราะว่า เห็นว่าทางกรมเค้าบอกว่าไม่มี แต่ผมเห็นประกาศ ของปี 2552 ครับเลยไม่ค่อยแน่ใจ จึงมาสอบถามทางนี้อ่ะครับ

เพราะว่าผมกำลังจะรับปริญญาประมาณเดือนตุลาคม 53 นี้อ่ะครับ

2.ตรงกระดุมคอ ถ้าเป็นของกองทัพอากาศ จะติดเป็นรูปอะไร เพราะที่ดูจากรูปแล้ว ส่วนใหญ่เป็นรูปเสมาครับ

รบกวนขอคำตอบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...คุณนุ...

1. ถ้าคุณเป็นพนักงานราชการ โดยใช้ระเบียบของพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 คุณก็สามารถใส่ชุดเครื่องแบบพิธีการ (ชุดปกติขาว) ได้ค่ะ...

2. สำหรับเครื่องหมายที่คอทั้งสองข้าง ให้ใส่สังกัดกระทรวงที่คุณได้สังกัดอยู่ ที่เห็นส่วนใหญ่เป็นพนักงานราชการของกระทรวงศึกษาธิการ  จึงติดรูปเสมา ซึ่งเป็นต้นสังกัดค่ะ...

อ, ครับเครื่องราช ชั้น บช.เป็นรูปช้างอยู่บนแพรแถบ สีเงินหรือสีทองครับ และถ้าได้ บช.แล้วเราติด บม.กับ บช,บนแพรแถบคู่กันได้หรือไม่ครับ ยังอ่านทุกคำตอบ อ. เสมอ

ตอบ...คุณ ณฐ...

ขอให้คุณดูชั้นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์  ใน สไลด์ ที่เป็น Power Point ที่ด้านล่างนี้นะค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/psru1.ppt#288,8,ภาพนิ่ง 8

สำหรับถ้าคุณเคยขอได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้น บ.ม. มาแล้ว ก็สามารถนำมาติดคู่กับ บ.ช. ที่ได้รับพระราชทานใหม่นี้ได้ค่ะ...แต่ถ้าเพิ่งจะได้รับชั้น บ.ช. เป็นครั้งแรก ก็ติด บ.ช. ได้อย่างเดียวค่ะ...ไม่สามารถติดชั้น บ.ม. ได้ค่ะ...เพราะเราไม่ได้รับพระราชทาน ฯ ไงค่ะ... การจะติดชั้นไหนนั้น ถ้าเป็นข้าราชการหรือผู้ที่ดูเป็นเกี่ยวกับเครื่องราช ฯ เขาจะทราบค่ะว่าคุณได้รับและติดชั้นไหน...สำหรับการติดครั้งแรกก็อย่างที่บอกให้ทราบนะค่ะ... แต่ถ้าต่อไปได้รับพระราชทาน ชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็ติดชั้นมงกุฏและช้างเผือก ชั้นที่ได้รับสูงสุดเท่านั้นนะค่ะ เช่น ถ้าได้รับ บ.ม. และ บ.ช. แล้ว และก็ได้รับชั้น จ.ม. และ จ.ช. แล้ว คุณก็ติดชั้น จ.ม. + จ.ช. เท่านั้นก็พอค่ะ สำหรับชั้น บ.ม. + บ.ช. ไม่ต้องนำมาติดแล้วค่ะ  เพราะเขาจะทราบว่าคุณได้รับชั้นสูงสุด ก็คือ ชั้น จ.ม. + จ.ช. ค่ะ...(เขาทราบว่าเราผ่านการขอชั้น บ.ม. กับ ชั้น บ.ช.มาแล้วค่ะ)...หลักการติดชั้นเครื่องราช ฯ ก็คือ ติดชั้นมงกุฏ กับชั้นช้างเผือก อย่างละ 1 ชั้น ๆ ที่สูงสุดเท่านั้นค่ะ...ถ้าไม่เคยได้รับ ชั้นมงกุฏ มาเลย แล้วได้รับชั้นช้างเผือก ก็ติดช้างเผือกอันเดียวก่อนค่ะ...หรือถ้าได้รับชั้นมงกุฏ ยังไม่เคยได้รับชั้นช้างเผือก มาก่อน ก็ติดชั้นมงกุฎ ชั้นเดียวก่อนค่ะ...สไลด์ที่นำมาให้ดูนั้น จะเรียงจากต่ำ (บน) ไปชั้นสูง (ล่าง) ค่ะ...

ขอบคุณครับ อ. อ.ครับ ถ้าเราขอเครื่อราช ก่อนวันที่ 6 ตุลาคมศกนี้ จะไดรับวันไหนครับ ประมาณ 1 ปีดได้หรือไม่ครับ

ตอบ...คุณณฐ...

ถ้าคุณขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ก่อนวันที่ 6 ตุลาคม ซึ่งจะได้รับพระราชทานเครื่องราช ฯ ในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี การได้รับทราบ ถ้ามีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลบังคับใช้โดยถือปฏิบัติได้เลยค่ะ...ไม่ถึงปีหรอกค่ะ...ยิ่งปัจจุบันเป็นยุคของข่าวสารที่รวดเร็วค่ะ...สำหรับปีนี้ ประกาศในราชกิจจา ฯ ประมาณต้นเดือนมิถุนายน 2553 บางปี ก็ พฤษภาคม ค่ะ...ต้องคอยติดตามในประกาศราชกิจจานุเบกษาค่ะ...

ติดตามอ่านมาตลอด อ.บุษยมาศ ใจดีและใจเย็นมาก มีประกาศจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่องกำหนดการแต่งกายเครื่องแบบปกติ(ย้ำปกติจริงๆๆ)ของพนักงานราชการทั้งชายและหญิงอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นหมวก เสื้อ กางเกง กระโปรง(สีกากี) ถุงเท้า รองเท้า เข็มขัด(สีดำ) หัวเข็มขัดมีครุฑดุนนูน รวมทั้งอินธนูเจ้าปัญหาที่ถามๆๆกันมาว่าให้ใช้อินธนูอ่อน และประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ลงนามโดย คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

ส่วนชุดพิธีการเพิ่งจะประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฏาคม ๒๕๕๒

www.thaimisc.pukpik.com เข้าไปในเวปนี้เพื่อดูประกาศที่ยังพอหาได้อยู่จากผู้ใจดีเอามาลงให้อ่าน

ตอบ...คุณสีกากีค่ะ...

ขอบคุณค่ะ...ประกาศดังกล่าวที่คุณบอกนั้น...ผู้เขียนได้อ่านแล้ว และก็มีข้อขัดแย้งตามที่คุณบอกนั่นแหล่ะค่ะ...ผู้เขียนก็งงงงงงค่ะ...เพราะตามข้อ 12 ของระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 ให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนด  เรื่องเครื่องแบบชุดปฏิบัติงาน...ไหงประกาศ  ออกมาในเรื่องชุดปกติ...แล้วทำไมในตัวประกาศ ประมาณ ข้อ 1 - 5 บอกว่าระเบียบนี้เป็นเรื่องเครื่องแบบพิธีการ  ส่วนข้างในประกาศ เกี่ยวกับอินทรธนูอ่อน ก็ไม่ชัด (ไม่ทราบว่าเป็นอินทรธนูอ่อนของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำค่ะ)...หรือเป็นอินทรธนูผ้าสีเนื้อ...งงค่ะ ไม่เข้าใจ...บางครั้งกฎหมายเมื่อไม่เคลียร์ พอออกมาให้คนปฏิบัติจึงทำให้เกิดการสับสนกันได้ค่ะ...ก็ไม่ทราบว่ายังถือปฏิบัติกันหรือเปล่า  หรือยกเลิกไปแล้ว  ผู้เขียนเข้าไปในเว็บ บางเว็บลบทิ้งไปแล้ว...แต่บางเว็บก็ยังมีปรากฎอยู่ค่ะ...ผู้เขียนจึงนำไปเขียนไว้ในบล็อกด้านล่างนี้ด้วยค่ะ...ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/367304

 

เรียนอาจารย์บุษ

อาจารย์เปรียบเสมือนแม่พระของผู้ไม่รู้ทั้งหลายทั้งปวง ทำให้พวกเขาหูตากว้างขึ้น

ผมขอตำหนิข้าราชการที่รับผิดชอบพนักงานราชการ ว่าทอดทิ้งเขาไม่ดูแลผลประโยชน์ที่เขาพึงได้รับ

ซึ่งเปรียบเสมือนสวัสดิการและขวัญกำลังใจ.... ผมขอถามนิดหนึ่งว่าแล้วข้าราชการที่เกษียณอายุราชการ

แล้วจะแต่งเครื่องแบบอย่างไรครับ................... ความดีของอาจารย์ผมขอให้พระคุ้มครองอาจารย์

และครอบครัว และขอให้มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปนะครับ

จากnayniranam

สวัสดีค่ะ...คุณ nayniranam...

ขอบคุณค่ะ...ผู้เขียนถือว่า นี่เป็นหน้าที่ของข้าราชการอีกข้อหนึ่งค่ะ...ที่เมื่อเราทราบ เรารู้ ควรบอก แนะนำ ให้คำปรึกษาต่อผู้ที่ยังไม่รู้...คุณสามารถศึกษารายละเอียดและ download Website ได้ตามด้านล่างนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya14/352806  ขอบคุณสำหรับคำอวยพรอีกครั้งค่ะ...เช่นเดียวกันค่ะ...พรใดที่คุณให้มา ก็ขอให้ย้อนกลับไปหาคุณและครอบครัวด้วยนะค่ะ...

อาจารย์ครับแล้วสรุปยังไงครับกับเครื่องแบบปฏิบัติงานของพนักงานให้แต่งชุดกากีได้หรือไม่ได้ครับเพราะผมก็เคยอ่านเจอมาเหมือนกัน...ขอบคุณครับ

แต่งตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(๒๕ พย.๔๘)

แล้วถ่ายสำเนาประกาศฉบับนี้พับพกติดตัวไปด้วยเลยแบบพกบัตรประชาชนหรือใบพกพาอาวุธปืน

บางเวปบอกแต่งสีกากีอินธนูแบบเดียวกับลูกจ้างประจำถ้าเงินเดือน 1หมื่นขึ้น 3ขีด ต่ำกว่าหมื่น 2ขีด (สำนักไหน)

บางเวปบอกเงินเดือนหมื่นสองขึ้น 3 ขีด ต่ำกว่า 2ขีด (อีกสำนักนึง)

แต่งชุดสีกากีอินธนูดอกพิกุล 2 ดอกก็เห็นมาแล้ว

อ.บุษยมาศคิดว่าอย่างไร

ตอบ...หมายเลข 446...

ถ้าตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2523)  ออกตามความใน พรบ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 ข้อ 2.1(2) กำหนดให้ข้าราชการชายและข้าราชการหญิงผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราช ฯ ประดับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่อกเสื้อเหนือกระเป๋าบนซ้ายของเครื่องแบบปฏิบัติราชการทั้งประเภทเครื่องแบบสีกากีคอบพับและเครื่องแบบสีกากีคอแบะ 

ดังนั้น พนักงานราชการซึ่งไม่ใช่ข้าราชการและไม่เป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนแต่อย่างใด  จึงไม่มีสิทธิแต่งเครื่องแบบปฏิบัติราชการทั้งเครื่องแบบกากีคอพับหรือคอแบะ ถ้าแต่ก็อาจเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ได้ แต่ถ้าเป็นเพียงสวมชุดอื่น (เสื้อซาฟารี) ที่มีสีกากีเท่านั้น  แต่ไม่ใช่เสื้อตามแบบลักษณะของเครื่องแบบปฏิบัติราชการดังกล่าวข้างต้น ก็มีสิทธิแต่งได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมายหรือกฎสำนักนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด

สรุป  :  ห้ามใส่เครื่องแบบสีกากีคอพับและเครื่องแบบสีกากีคอแบะ ตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2523) ค่ะ...แต่ถ้าเป็นเสื้อซาฟารี (สีกากี) ...ซึ่งไม่อยู่ในข่ายของสีกากีข้างต้นค่ะ...ก็มีสิทธิแต่งได้ค่ะ...

สำหรับอินทรธนูอ่อน ถ้าเป็นของข้าราชการ  พนักงานราชการไม่มีสิทธินำมาติดอย่างเด็ดขาด...ยิ่งถ้าเป็นอินทรธนูอ่อนของลูกจ้างประจำ ยิ่งแล้วค่ะ...เพราะในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2527 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าอินทรธนูอ่อนตามลักษณะดังกล่าว เป็นของลูกจ้างประจำควรติดเท่านั้น...ลองสังเกตุดูนะค่ะว่า...ประกาศ คพร. ให้พนักงานราชการแต่งเครื่องแบบพิธีการ เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำได้ ทั้ง 3 แบบ  แต่ทำไมอินทรธนูแข็ง ของพนักงานราชการ จึงแตกต่างกับของลูกจ้างประจำละค่ะ...แค่นี้ก็ทำให้ทราบว่า...สำหรับอินทรธนูอ่อนก็เช่นเดียวกันพนักงานราชการไม่สามารถนำมาติดได้ค่ะ...ถ้าจะติด ส่วนราชการต้องออกแบบเองค่ะ...หรือไม่ก็ไม่ต้องนำอินทรธนูอ่อนมาติดค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/b11111.pdf

 

ตอบ...หมายเลข 446...

ไม่ขอตอบนะค่ะ...เพราะได้ตอบไว้ในหมายเลข 449  แล้วค่ะ...เรียกว่า  "ผิดมาตั้งแต่ต้นค่ะ"...และไม่ควรแนะนำให้ทำอย่างที่บอกมานะค่ะ...อะไรผิด ก็ไม่ควรที่จะนำมาปฏิบัติค่ะ...เพราะจะแก้ไขลำบากค่ะ...

ตอบ...หมายเลข  448...

อย่างที่คุณแจ้งมา...ผู้เขียนก็เคยได้อ่านค่ะ...ถึงกับที่ทนต่อไปไม่ได้ไงค่ะ...ว่าทำไมกฎหมายในปัจจุบันถึงเป็นแบบนี้...เป็นเพราะไม่รู้หรือ?...แต่ไม่น่าใช่...ก่อนจะออกกฎหมายกัน...จะต้องศึกษากฎหมายเก่าที่ได้เคยปฏิบัติกันมาให้ละเอียดก่อนค่ะ...ไม่ใช่ว่ารัฐมอบอำนาจให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดแล้ว นึกจะออกกฎหมายให้ใช้ ก็ออกเลย...คงไม่ใช่มังค่ะ...เพราะจะทำให้กฎหมายเก่าที่เขาใช้ปฏิบัติอยู่ไม่มีความน่าเชื่อถือนะค่ะ...ถ้านำอินทรธนูของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำมาใช้  แล้วจะมีการแบ่งประเภทบุคลากรให้เป็นพนักงานราชการทำไมละค่ะ...ก็บรรจุเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำเสียเลย...ก็สิ้นเรื่องไปแล้วค่ะ...ไม่ต้องมาทำกฎหมายใหม่เกี่ยวกับพนักงานราชการให้เสียเวลา + เปลืองงบประมาณ + ประชุมร่วมกันไปตั้งเท่าไรค่ะ...ขอบอกว่าสิ่งใดผิด  เราก็อย่าไปทำนะค่ะ...ว่ากันด้วยเหตุผลค่ะ...อย่าเอาความรู้สึกมาใช้ในการทำกฎหมายให้บุคลากรถือปฏิบัติค่ะ...คนเสนอประกาศ หรือกฎหมายให้บุคลากรถือปฏิบัติ ก็ต้องมีความรู้ เรียกว่า  "มาก ๆ" ด้วยค่ะ...

จากประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการแต่งกายและเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ(๒๕ พย.๔๘)

หากหน่วยงานใดได้รับก็คงขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้นๆ(นั้นๆจริงๆๆ)จะตีความกันเองแล้วล่ะ

แต่ เอะเอ๋ เท่าที่อ่านๆดูจากเวปต่างๆ พนักงานราชการส่วนมากไม่เคยได้ทราบเรื่องประกาศนี้เลย (จะ๕ปีมาแล้วนะ)

เพราะเหตุใด

ดูตัวอย่างเครื่องแบบตำรวจ กับเจ้าหน้าที่เทศกิจ

ถ้าเขาไม่ใส่หมวกและยืนหันข้างให้ไม่รู้หรอกว่าเทศกิจคิดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ

จะออกแบบทั้งทีทำไมต้องให้เหมือนเขา บางคนใส่ท๊อปบู๊ทหนักเข้าไปใหญ่(จะไปรบกับแม่ค้า)

ตอบ...คุณสีกากี...

ถึงบอกไงค่ะ...ว่าไม่ต้องการที่จะวิจารณ์...เพราะการร่างประกาศ หรือระเบียบที่มีเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย...ใช่ว่าพอรัฐมอบอำนาจให้ทำก็ทำ...ต้องศึกษาระเบียบหรือตัวอย่างที่เราจะนำมาใช้ให้แน่ชัดว่า...ได้หรือไม่...เพราะเมื่อทางสำนักนายกรัฐมนตรี ยิ่งแจ้งมาว่า ชุดสีกากีคอตั้งและชุดสีกากีคอแบะ...ใช้ได้กับข้าราชการชาย หญิง เท่านั้น ห้ามใช้กับบุคคลประเภทอื่น ถ้าจะใช้ก็ให้เป็นชุดซาฟารี สีกากี (แบบนี้) พนักงานราชการใส่ได้...แถมบางหน่วยงาน...น้อง ๆ พนักงานราชการบอกว่า...มีอินทรธนูแบบอ่อนของลูกจ้างประจำ นำมาใช้กับพนักงานราชการอีก...ผู้เขียนว่าไปกันใหญ่...ถึงบอกให้นำกฎหมายมาตีกันให้ดี...ขนาดอินทรธนูแบบแข็งของพนักงานราชการ...ทำไมประกาศ คพร. ถึงไม่ให้พนักงานราชการนำอินทรธนูของลูกจ้างประจำมาติดเสียให้หมดเรื่องไป...ทำไมต้องบอกในแนบท้ายประกาศว่า  อินทรธนูของพนักงานราชการต้องเป็นรูปดอกพิกุลละค่ะ...น่าสงสัย?...หรือไม่ก็บอกไปเลยว่าให้พนักงานราชการแต่งเครื่องแบบทุกประเภทเหมือนลูกจ้างประจำไปซะจะได้หมดเรื่องไปค่ะ...แต่ก็ไม่ใช่...เพราะเหตุใด?...แล้วส่วนราชการก็อย่าตีความไปว่า เมื่อพนักงานราชการในแต่ละกลุ่มเทียบกับข้าราชการพลเรือนได้เท่ากับประเภทใดนั้น...อย่าหลงเผลอบอกพนักงานราชการให้นำอินทรธนูของข้าราชการไปติดด้วยอีกล่ะ...คราวนี้ได้ฮากันใหญ่เลยมังค่ะ...สำหรับประกาศ ดังกล่าว ครั้งแรกผู้เขียนก็ไม่ทราบ แต่มีน้อง ๆ พนักงานราชการนำมาให้ดู ก็ไม่ค่อยใส่ใจเท่าไร...เพราะไม่ต้องการไปก้าวก่ายในส่วนราชการนั้น ๆ...แต่พอมีเวลามาศึกษาดูข้อความในประกาศฯ...ทำไมเป็นแบบนี้ละ...ก็เลยงงค่ะ...ก็ไม่ทราบว่าเขายกเลิก หรือยังประกาศใช้อยู่ค่ะ...แต่ข้อ 1 ในประกาศ ก็ขัดกับเรื่องประกาศค่ะ...เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องแบบปกติ  แต่ในข้อ 1 บอกว่า  ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบเครื่องแบบพิธีการ...แล้ว คืออะไรกันแน่...สำหรับในเนื้อ เกี่ยวกับอินทรธนู  ก็คือ  อินทรธนูอ่อน...แล้วอินทรธนูอ่อน คืออะไร...ใช่ผ้าสีกากีขัดดุมหรือไม่ (โดยไม่ต้องติดอินทรธนู) แต่ น้อง ๆ พนักงานราชการ ก็บอกว่า พี่ ๆ ข้าราชการบอกให้นำอินทรธนูของข้าราชการบ้าง ลูกจ้างประจำบ้างมาติด...ทำให้พวกน้อง ๆ พนักงานราชการ เกิดการไขว้เขว...สงสัยต้องสอบถามไปที่สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการแล้วละค่ะ...จะได้เคลียร์...สำหรับประกาศ ที่พนักงานราชการ ไม่ทราบกัน  อาจเป็นเพราะไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบ หรือการไม่ได้ใส่ใจของข้าราชการ เพราะอย่าลืมว่า...ช่วงนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของระบบเก่ากับระบบใหม่...ข้าราชการบางท่านอาจจะยังปรับสภาพไม่ได้และไม่เข้าใจว่าพนักงานราชการเป็นอย่างไร...เพราะถ้าพวกเขาเข้าใจสภาพของน้อง ๆ พนักงานราชการ จริง ๆ และได้มีการอธิบายให้เข้าใจ  คงไม่มีน้อง ๆ พนักงานราชการเขียนความรู้สึกของเขาที่โดนข้าราชการกระทำต่อพวกเขาในบล็อกนี้หรอกค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 453...

นั่นสิค่ะ...แต่ก่อนผู้เขียนก็ยังคิดว่าเป็นตำรวจเลยค่ะ...55555...

ก่อนอื่นๆๆใด เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า พนักงานราชการเหมือนกันก็จริง แต่ท่านสังกัดหน่วยงานไหนก็ยึดตามหน่วยงานที่ท่านสังกัดอยู่ ลงนามโดยคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา(ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)ให้ใส่ชุดสีกาตามแบบลูกจ้างประจำ

แต่ถ้าสังกัด สอศ.เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ ให้อนุโลมใช้เช่นเดียวกับเครื่องแบบปฏิบัติราชการเช่นดียวกับกรณีของข้าราชการ โดยเป็นเครื่องแบบสีกากี แต่ๆๆๆๆๆๆไม่ต้องใช้อินธนู ลงนามโดยท่านวีระศักดิ์ วงษ์สมบัติ(เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

ตอบ...หมายเลข 456...

ขอให้คุณอ่านในเว็บไซต์ด้านล่างนี้ด้วยนะค่ะ...เพราะถ้าเป็นสีกากี (เสื้อซาฟารี ได้ค่ะ...แต่ไม่น่าใช่เครื่องแบบที่กำหนดให้ข้าราชการใส่ มี 2 แบบ ค่ะ...ในประกาศดังกล่าว ข้อ 1 ก็เป็นเครื่องแบบพิธีการ ซึ่งขัดกับประกาศ เรื่อง นะค่ะ...ทำให้คนอ่านงงกับประกาศค่ะ...

http://www.opm.go.th/opminter/webbrd/content/desc_topic.asp?cid=2551/0443&cbxtype

สวัสดีคับ คือผมเป็นช่างภาพ

อยากทราบว่า กรมการปกครองเขาได้เปลี่ยนเครื่องแบบชุดปกติขาวใหม่รึป่าวคับ

มีลูกค้ามาถ่ายรูปแล้วเขาบอกว่า อินธนูแบบเป็นช่อราชพฤกษ์(แบบเดิม)ไม่ใช่

เขามีแบบมาแล้ว จึงอยากทราบเป็นแบบไหนคับ

ถ้าใครทราบช่ายบอกทีถ้ามีรูปด้วยยิ่งดีมากเลยคับ

ขอบคุณคับ

อ. พนักงานราชการ เงินเดือน 5% จะได้หรือเปล่า ขอบคุณครับ

คนนอกเมื่อได้อ่านประกาศเรื่องนี้ก็จะวิเคราะห์กันไปตามเนื้อเรื่องตามตัวอักษร

ด้วยวิจารณญาณ ด้วยเหตุผลแล้วหยิบยกกันออกมาตีความผิดถูกใช่ หาไม่ใช่

แต่ก็หาได้นำพาเท่ากับตัวของพนักงานราชการไม่

เพราะพนักงานราชการท่านใด ถ้าองค์กรท่านยึดถือประกาศที่เบื้องบนสั่งตรงลงมาและสั่งๆๆๆๆๆๆให้ท่านปฏิบัติตาม

ก็ต้องบอกว่าบ้านใครบ้านมันแล้วล่ะ

ถ้าจะออกไปนอกองค์กร อย่าลืมพกสำเนาใบประกาศติดตัวออกไปด้วยล่ะ

ตอบ....หมายเลข  458...

เครื่องหมายอินทรธนูของข้าราชการแบบใหม่ ดังนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussaya14/363470

ตอบ...หมายเลข  459...

ปกติแล้ว ถ้าข้าราชการได้เพิ่มเงินเดือนแล้ว ลูกจ้างประจำ + พนักงานราชการ ก็จะได้ตามมาค่ะ...แต่สำหรับในครั้งนี้  ถ้ามีข้อมูลที่ชัดเจนจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ...

ตอบ...คุณสีกากี...

ขอบคุณค่ะ...ผู้เขียนไม่ขอวิจารณ์ประกาศ ฯ ก็แล้วกันนะค่ะ...ผิด ถูก อยู่ที่ผู้ทำประกาศให้พนักงานราชการปฏิบัติค่ะ...สงสารพวกเขาที่เป็นคนรุ่นใหม่...ก็ปฏิบัติตามสั่งค่ะ...ไม่ทราบเบื้องหน้าเบื้องหลังค่ะ...ถึงบอกไงค่ะว่าการเป็นข้าราชการไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ...ทำผิด ทำถูก คนรุ่นหลังมองท่านอยู่นะค่ะ...

สาธุ..ขอให้พนักงานราชการได้อนิสงฆ์ 5% ด้วยเถอะ ถึงจะนิดหน่อยมันก็มีความหมายสำหรับพวกเรา..

ตอบ...หมายเลข 464...

ค่ะ  แต่อย่าลืมเรื่องการพัฒนาตนเองด้วยนะค่ะ...เพราะปัจจุบันจะเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตค่ะ...เพื่อนำความรู้มาปรับใช้ในกระบวนการของการทำงานในยุคปัจจุบันค่ะ...

พนักงานราชการ..ย้ายก็ไม่ได้.ค่ารักษาพยาบาลก็เเค่ประกันสังคม...ลูกเรียนหนังสือก็เบิกไม่ได้..ข้าราชการขนาดลูกเรียนโรงเรียนเอกชนยังเบิกได้.40%อย่างค่ารักษาพยาบาลต้องจ่ายก่อนเเล้วค่อยเบิกคืนทีหลัง.บางคนเงินจะจ่ายยังไม่พอ..ถ้าประกันสังคมให้จ่ายตรงเหมือนข้าราชการคงดี..กู้เงินก็ไม่ได้อยากมีบ้านสักหลังก็ไม่มีเงิน..ธนาคารให้กู้นิดเดียว..เพราะไม่ไม่มั่นคงในหน้าที่การเงิน.เเล้วอย่างนี้มันจะมีอนาคตที่ดีได้อย่างไรอาจารย์..พนักงานราชการดีกว่าลูกจ้างชั่วคราวนิดเดียวตรงที่ค่าตอบเเทนมากกว่าเท่านั้นเองอย่างอื่นไม่มีอะไรเเตกต่างเลย...อาจารย์ว่าจริงไหม..มันมีความเเตกต่างกันมากกับข้าราชการ..ก็เพราะอย่างนี้ข้าราชการถึงได้ดูถูกเหยียดหยาม..พวกเรา..เห็นใจพวกเราเถิด..ไม่ว่าจะลูกจ้างชั่วคราว..ลูกจ้างรายวัน..พวกเขาเหล่านี้ทำงานเหนื่อยกว่าข้าราชการเสียอีกความต้องการปัจจัย4..5..มีเหมือนกันทุกคน..ขอบคุณอาจารย์ที่ได้ระบาย...

อักษรภาษาอังกฤษไม่ชัดเจน(รหัสสุ่ม)

ตอบ...หมายเลข  466...

ผู้เขียนไม่ขอออกความคิดเห็นนะค่ะ...ทราบแต่ว่าสิทธิ + สวัสดิการของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือพนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างชั่วคราว  มีความแตกต่างกันค่ะ...เพราะแต่ละประเภทเป็นบุคลากรของรัฐซึ่งแตกต่างกันในเรื่องสิทธิ + สวัสดิการค่ะ...ก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร...ถ้าต้องการความมั่นคงเหมือนข้าราชการ ก็ต้องสอบให้เป็นข้าราชการให้ได้ค่ะ...ดูเหมือนว่าผู้เขียนจะเคยบอกไปแล้ว...แต่ก็มีคนแสดงความคิดเห็นมาว่า...หัวไม่ดีบ้าง ทำให้สอบไม่ได้...ไม่เก่งบ้าง...ผู้เขียนเองก็ไม่ทราบว่าจะตอบว่าอย่างไร...เอาเป็นว่าถ้าระบายอะไรออกมาบ้างแล้วสบายใจ...ก็ระบายออกมาก็แล้วกันค่ะ...แต่อย่าลืม!...ทำงานตามหน้าที่ก็แล้วกันนะค่ะ...ผู้เขียนอยากให้คุณอ่านในบล็อกนี้ด้วยนะค่ะ...นี่คือ...คำว่า "พนักงานราชการ" ค่ะ...http://gotoknow.org/blog/bussayamas49?page=1 ซึ่งประเภทบุคลากรของรัฐในแต่ละประเภทมีสิทธิ + สวัสดิการ ที่แตกต่างกันค่ะ...อย่างน้อย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ฯลฯ  ก็ต้องมีความอดทน + ต่อสู้กับการทำงานค่ะ...

ตอบ...หมายเลข  467...

เป็นการปรับปรุง + เพื่อความปลอดภัยฯ ค่ะ...ศึกษาได้ตามบล็อกนี้นะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/371695

อาจารย์ครับผมสงสัยข้อความตรงนี้ในเว็บไซต์ของอาจารย์ "สำหรับพนักงานราชการที่สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดูระเบียบการแต่งเครื่องแบบ ฯ ของพนักงานราชการ (ชุดปฏิบัติงานหรือชุดกากี) ตามประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามข้างล่างนี้...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/view/461948

http://gotoknow.org/file/bussayamas/view/46194

http://gotoknow.org/file/bussayamas/view/461951"

หมายถึงอะไรครับ แล้วเขาให้ใส่ได้รึเปล่าครับ

ตอบ...หมายเลข 470...

ที่ให้ดู เนื่องมาจากว่า  ชื่อประกาศฯ เรื่อง การแต่งเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ  แต่ในข้อ 1 ของประกาศ  บอกว่า  ประกาศนี้เรียกว่าประกาศการแต่งเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ ค่ะ...ซึ่งขัดกันกับ ข้อ 12 ในระเบียบของพนักงานราชการ ที่ว่า ให้ส่วนราชการกำหนดเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ และสำหรับข้อ 3.3 ในประกาศสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ  ได้ระบุ ให้ใส่อินทรธนูอ่อน  ความหมายของอินทรธนูอ่อน นั้นคืออะไร  มีเครื่องหมายหรือไม่ (เรียกว่าประกาศ ไม่ชัดเจนค่ะ...พนักงานราชการจึงวุ่นวายกันไงค่ะ)...ปฏิบัติไม่ถูกค่ะ...เพราะในระเบียบของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ คำว่า อินทรธนู นั้น หมายถึง  ส่วนของผ้าที่ช่างตัดไว้เพื่อนำอินทรธนูอ่อนที่มีเครื่องหมาย (ของข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ) นำมาใส่ไงค่ะ...แต่ข้อสังเกตในประกาศของพนักงานราชการ ระบุว่าเป็นอินทรธนูอ่อน...เลยทำให้พนักงานราชการเกิดการไขว้เขวกันค่ะ...สำหรับการใส่ได้หรือไม่ได้ ผู้เขียนขอไม่ออกความคิดเห็น...จึงอยากให้พนักงานราชการลองศึกษาข้อมูลของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 และระเบียบการแต่งเครื่องแบบของข้าราชการ และลูกจ้างประจำดูนะค่ะ...ว่าถูกหรือไม่...เพราะถ้าเป็นสมัยก่อน เขาจะไม่ให้ผู้ใดใส่ชุดเครื่องแบบสีกากีเลย นอกจากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ  เพราะมีกฎหมายรองรับค่ะ...แต่ปัจจุบัน คพร.ออกกฎหมายให้ส่วนราชการกำหนดชุดเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ...ทำให้ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าในแต่ละส่วนราชการนำกฎหมายใดมารองรับการแต่งกายสีกากีค่ะ...เพราะถ้าเป็นไปอย่างข้างต้นนั้น ไม่ถูกต้อง ยิ่งนำเครื่องหมายอินทรธนูอ่อนของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำมาติดด้วยยิ่งแล้ว...ไม่ถูกต้องใหญ่...ผู้เขียนจึงชี้แนะไงค่ะ...ว่าสมควรหรือไม่ที่จะนำเครื่องหมายของบุคคลประเภทดังกล่าวมาติดค่ะ...เพราะเห็นในเว็บไซต์แม้แต่ในกระทู้ ซึ่งมีเงินค่าจ้าง + ระดับของลูกจ้างประจำมาติด ยิ่งไปกันใหญ่ ...ไม่ถูกต้องนะค่ะ...แต่ในกระทู้ของสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าใส่ชุดซาฟารีสีกากีได้ค่ะ...โดยไม่ต้องติดอินทรธนู แต่ติดสังกัดได้...ผู้เขียนก็เห็นด้วยกับที่สำนักนายกรัฐมนตรีตอบนะค่ะ...เพราะว่าเสื้อซาฟารี สีกากี  ไม่ได้กำหนดไว้ในระเบียบการแต่งกายของข้าราชการและลูกจ้างประจำค่ะ...แต่ในประกาศต่าง ๆ ที่ให้พนักงานราชการใส่เป็นชุดเสื้อสีกากีคอพับ คอแบะ นั้น กำหนดให้ใส่กันในประกาศฯ...ในความคิดของผู้เขียนคิดว่าไม่ถูกต้องค่ะ...ถ้าถูกต้อง ก็คือ  เสื้อซาฟารีสีกากีค่ะ เหมือนเช่นในกระทู้ของสำนักนายกรัฐมนตรีค่ะ...(คงตีความเช่นเดียวกับผู้เขียน)...ถ้าถามว่าใส่ได้ไหม?...คุณอ่านแล้วคงเข้าใจนะค่ะ...ว่าหมายถึงสิ่งใด...การจะใส่เครื่องแบบ ฯ ให้อ่านประกาศของส่วนราชการให้ชัดเจนค่ะว่าให้ใส่แบบไหน...ถ้ามีประกาศแล้วเขาให้ใส่...ก็ไม่ใช่ความผิดของเราแล้วค่ะ...เป็นความผิดของส่วนราชการค่ะ...ผู้เขียนก็ขอยกตัวอย่าง  เช่น  อินทรธนูแข็งของพนักงานราชการ ที่เป็นรูปดอกพิกุล ซึ่งเป็นเครื่องแบบชุดพิธีการของพนักงานราชการนั้น...ทำไม คพร.จึงกำหนดแตกต่างกับข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ ละค่ะ...แล้วสำหรับอินทรธนูอ่อน ก็เหมือนกัน ทำไมส่วนราชการจึงไปกำหนดให้เหมือนของกลุ่มข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ ละ (สำหรับอินทรธนู)...แต่ในบางส่วนราชการเช่น ของสาธารณสุข  จะให้ใส่เสื้อสีขาว กระโปรง กางเกง (สีกากี) ติดสังกัด ค่ะ...ทำให้เห็นว่าเขาเลี่ยงการใส่เสื้อสีกากีค่ะ...แต่บางแห่งถ้าเป็น     ร.ร.ในเขตพื้นที่การศึกษา ก็ใส่เสื้อสีกากี  แต่ไม่มีอินทรธนู ติดสังกัด ค่ะ...(มีหลากหลายมากค่ะ...) เห็นแล้วก็ตลกดีค่ะ...เลยทำให้คิดว่ากฎหมายปัจจุบันไม่ค่อยศักดิ์สิทธิ์แล้วกระมังค่ะ...ความจริง  คพร. ก็น่าจะกำหนดให้ชัดเลยว่าควรแต่งแบบไหน...อาจเป็นเพราะเขาให้อำนาจมาที่ส่วนราชการบริหารจัดการเอง...เพราะปัจจุบันจะเป็นการกระจายอำนาจให้กับส่วนราชการเป็นผู้รับผิดชอบค่ะ...ส่วนราชการก็เลยใช้อำนาจอย่างเต็มที่เลยค่ะ...

อ.ครับ อ.ลองเข้าไปดู กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผมว่าอินธนูชุดปฎิบัติการราชการของพนักงานราชการผิดระเบียบครับ(ตัวอย่างเครื่องแบบพนักงานราชการใช้อินธนูลูกจ้างประจำ)

อาจารย์ครับทำไมพนักงานราชการของกรมอุทยาน..ทำไมไม่มีการต่อบัตรประจำตัวทั้งที่บัตรหมดอายุตังเเต่เดือนพฤษภาคมเเล้ว..หรือว่าไม่มีเเล้ว...

คุณต้องเจียมตัวคุณไม่ใช้ข้าราชการไม่ใช้ลูกจ้างประจำ..อย่าริอ่านเอาเครื่องหมายของพวกเขามาติดเป็นอันขาดจำไว้..มันเป็นของคนชั้นสูงไม่ใช้ไพร่อย่งพวกเรา..เดียวติดคุกติตตะรางมันจะทำยังไง...ไม่เเต่งไม่ติดก็ได้มันไม่ตายหรอก..อย่าไปยึดติดอะไร..อาจารย์ก็บอกเเล้ว..พนักงานราชการ..ไม่ใช้ข้าราชการ..ไม่ใช้ลูกจ้างประจำ...เพราะฉนั้นคุณไม่มีสิทธิ์...

ตอบ...คุณ ณฐ...

ขอบคุณคุณณฐ ค่ะ...อื้อฮื้อ...ประเทศไทยจะไปรอดไหมเนี่ย...พี่ไปดูมาแล้ว และยังไปดูของที่อื่นมาอีกแต่ยังไม่ขอบอกนะค่ะว่าที่ไหน...เอาเป็นวันพี่ผลัดเป็นวันที่ 14 ก.ค.53 (วันจันทร์) นะค่ะ...พี่จะโทรไปถามที่ คพร. ให้ค่ะ...ว่าเอาไงกันแน่...เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะนำมาแจ้งให้พวกเราทราบกันนะค่ะ...เพราะวันนี้วันเสาร์ - อาทิตย์ค่ะ ราชการปิด...ในความคิดของพี่นะ  คิดว่าพวกเขาไม่ได้ศึกษากฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 71 (พ.ศ. 2523) ออกตามความใน พรบ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2478 กับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2527 กันหรอกค่ะ...เพราะถ้าเข้าไปศึกษาจะทำให้ทราบถึงเรื่องเครื่องแบบฯ จริง ๆ เพราะที่พวกเขานำมาทำระเบียบให้กับพนักงานราชการ บางแห่งยังเรียกไม่ถูกเลยค่ะ...โอ๊ย...ประเทศไทย...ไม่ทราบจะไปได้กันถึงไหนไม่รู้ค่ะ...คุณสังเกตไหมค่ะว่า...เครื่องแบบทั่วไป ของบุคคลทั้ง 3 ประเภท...คพร.กำหนดให้ยังเรียกไม่เหมือนกันเลยค่ะ...เช่น

1.  เครื่องแบบทั่วไปของข้าราชการประจำการทั่วไป  ให้มี  2  ชนิด คือ

    1.1 เครื่องแบบปฏิบติราชการ  มี  2  ประเภท ได้แก่...

         ก. เครื่องแบบสีกากีคอพับ

         ข. เครื่องแบบสีกากีคอแบะ

    1.2 เครื่องแบบพิธีการ  มี  5  ประเภท

         ก.  เครื่องแบบปกติขาว

         ข.  เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง

         ค.  เครื่องแบบครึ่งยศ

         ง.  เครื่องแบบเต็มยศ

         จ.  เครื่องแบบสโมสร

สำหรับเครื่องแบบลูกจ้างประจำ  มีดังนี้ค่ะ...

เครื่องแบบลูกจ้างประจำ  มี  2  ชนิด  ได้แก่...

1.  เครื่องแบบปฏิบัติงาน

2.  เครื่องแบบพิธีการ  มี  3  ประเภท  ได้แก่...

     2.1  เครื่องแบบปกติขาว

     2.2  เครื่องแบบครึ่งยศ

     2.3  เครื่องแบบเต็มยศ

สำหรับพนักงานราชการ ตามระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 โดย ข้อ 12 การแต่งกายและเครื่องแบบปกติ  ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการกำหนด  เครื่องแบบพิธีการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด...ตีความว่า  เครื่องแบบพิธีการ นั้น คพร.จะกำหนดให้ใช้ (ซึ่งก็ออกมาตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2552 ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฏาคม 2552) ข้อ 3 ของประกาศ ให้ยกเลิกเรื่องเครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ ตามประกาศ ณ วันที่ 27 ต.ค. 2548 (ซึ่งให้ใส่สูท)  และข้อ 4 ของประกาศ ระบุว่า เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการให้ใช้เครื่องแบบพิธีการในลักษณะอย่างเดียวกันกับลูกจ้างประจำ ซึ่งส่วนราชการจะต้องมากำหนดเรื่องการแต่งกายและเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการค่ะ...

ข้อสังเกต  :  เห็นไหมค่ะว่า  เครื่องแบบที่ใช้เรียกกันระหว่างข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ยังไม่เหมือนกันเลย...ข้าราชการ เรียกว่า  "เครื่องแบบปฏิบัติราชการ" ค่ะ...ลูกจ้างประจำ  เรียกว่า  "เครื่องแบบปฏิบัติงาน" ค่ะ...สำหรับพนักงานราชการ  เรียกว่า  "เครื่องแบบปกติ" ค่ะ...แล้วยังจะไปนำอินทรธนูของลูกจ้างประจำมาให้พนักงานราชการติดอีก...

น้องพนักงานราชการที่ไม่ทราบต้นสายปลายเหตุ...พอเห็นส่วนราชการกำหนดให้ใส่ได้ก็ปฏิบัติตาม...โดยไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ถูก...จึงทำให้เห็นข้อบกพร่องในการออกกฎหมายนะค่ะ...แต่ก็ทำให้ทราบนะค่ะว่าระบบราชการไทยเรายังยึดติดกับค่านิยมเดิม ๆ ที่ว่า  การรับราชการจะเป็นจ้าวคนนายคนไงค่ะ...แต่ทราบไหมค่ะว่า ปัจจุบันรัฐเขาปรับเปลี่ยนบริบทข้าราชการไทยไปแล้วค่ะ...

พอ คพร. ให้อำนาจส่วนราชการแต่ละส่วน...ใช้อำนาจกันเต็มที่เลยค่ะ...ไม่ศึกษาดูระเบียบเดิม ๆ เลย...ไม่รู้อนาคตประเทศไทยจะเป็นอย่างไรนะค่ะ...สงสารประเทศไทยจัง...

เอาเป็นว่าขอเป็นวันจันทร์ จะโทรถามที่ คพร.ให้ค่ะ...แล้วจะได้นำมาเขียนให้ทราบค่ะ...ขอบคุณอีกครั้งค่ะ...

 

 

 

ตอบ...หมายเลข  473...

ให้สอบถามที่ต้นสังกัดที่คุณสังกัดอยู่นะค่ะว่ามีการจ้างต่อหรือไม่...แล้วทำบัตรประจำตัวอย่างไร...สอบถามที่งานการเจ้าหน้าหรืองานบุคคลค่ะ...ของส่วนราชการอื่นเขาก็ยังมีการจ้างพนักงานราชการกันอยู่นะค่ะ...

ตอบ...หมายเลข 474...

นึกแล้วว่าต้องมีคนที่คิดแบบนี้...ขอให้คุณเข้าใจสักนิดว่า...ผู้เขียนพยายามชี้ประเด็นค่ะ...ไม่ใช่รังเกียจ...เพียงแต่ต้องการแบ่งประเภทบุคลากรค่ะ...คุณไม่ได้ทำงานด้านบุคคล คุณจะไม่ทราบหรอกค่ะว่าเป็นอย่างไร...ขนาดรัฐยังต้องมีระบบพนักงานราชการเกิดขึ้นมา...เพราะสิ่งใดที่ทำไม่ถูกก็ไม่ควรดันทุรังทำ...นึกถึงเยาวชนรุ่นหลังบ้างว่าเขาจะเกิดความรู้สึกเช่นไร  เมื่อเขารู้ว่าเขาปฏิบัติไม่ถูก...และขอบอกคุณด้วยว่า...ถ้าผู้เขียนไม่มีจิตที่จะบริการทางด้านวิชาการแล้ว...บอกได้เลยบล็อกนี้จะไม่เกิด...ที่สร้างบล็อกนี้  ครั้งแรกเพื่อแจ้งให้ทราบเท่านั้น...มิได้มีเจตนาอื่น...ผู้เขียนไม่ทราบด้วยซ้ำว่ามีคนแสดงความคิดเห็นเข้ามาในกระทู้นี้เยอะมาก...ซึ่งถ้าไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ...ผู้เขียนจะไม่ตอบให้ก็ได้...ปล่อยให้เป็นบล็อกที่ร้างไปเลย...ความจริงแล้วอินทรธนูของพนักงานราชการ ถ้าส่วนราชการจะทำก็ไม่ยาก...เพียงแต่ไม่คิดจะทำ...ชอบไป copy ของประเภทอื่น...เช่น ของพนักงานมหาวิทยาลัย เขาให้มหาวิทยาลัยกำหนด...มหาวิทยาลัยเขาก็ไปคิดกำหนดกันเอง...ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีอินทรธนูแบบแข็งที่แตกต่างกัน...สำหรับชุดปฏิบัติงานก็เป็นชุดสุภาพกันเสียเป็นส่วนใหญ่...ก็ปฏิบัติกันไม่ถูกเอง  ผู้เขียนถึงต้องเขียนให้ทราบ...อีกหน่อยก็หลงทิศทางไปหมด ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร...ถ้าคุณอ่านกระทู้ตั้งแต่ต้นจะทราบว่าวัตถุประสงค์ของผู้เขียนเป็นเช่นไร...แสดงว่าไม่ได้อ่านกระทู้ทุกกระทู้จริง...ทำให้ผู้เขียนเกิดความเข้าใจว่าในสังคม มีจริง ๆ ประเภท  "บัวสี่เหล่า"...คละปะปนกันจริง ๆ...เว้นแต่ใครจะเลือกเป็นบัวประเภทไหน...

ถึง...พนักงานราชการทุกท่าน...

ต้องขอชี้แจงให้ทุกท่านทราบด้วยค่ะว่า...เจตนาหรือวัตถุประสงค์ในเรื่องของการใส่เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ...ต่อไปผู้เขียนจะไม่ขอออกความคิดเห็นใด ๆ ทั้งสิ้น...ถ้าท่านใดคิดจะใส่หรือไม่ใส่ ก็แล้วแต่ละท่านจะเลือกปฏิบัติก็แล้วกัน...จะขอแจ้งให้ทราบเฉพาะเรื่องที่ทางราชการต้องการให้เป็นไปก็แล้วกันค่ะ...สำหรับตัวผู้เขียนเอง เป็นข้าราชการ  ไม่เคยคิดที่จะแบ่งชนชั้นสักนิด...ทำงานบุคคลอยู่ รู้ถึงที่มาที่ไปตั้งแต่ต้น...ไม่เคยคิดว่าฉันเป็นข้าราชการ...คุณเป็นลูกจ้างประจำ...หรือพนักงานราชการ...และรู้ว่ารัฐจะต้องมีการแบ่งประเภทบุคลาการใหม่ คือ พนักงานราชการ  ด้วยซ้ำ...แต่ในชีวิตการทำงาน  ไม่เคยแม้แต่เลือกปฏิบัติ...ทั้งที่ยังทราบต่อไปว่า ลูก - หลาน ของผู้เขียน  ไม่วันหนึ่งวันใดเขาจบการศึกษา อาจเป็นพนักงานราชการเหมือนกับพวกท่านด้วยซ้ำ...จึงต้องการให้ทราบว่าที่เขียนมาในบล็อก มิได้คิดว่าตัวเองเป็นข้าราชการที่ยึดติดอำนาจ +  จ้าวคนนายคน ด้วยซ้ำ...ไม่มีคำว่าไพร่ + จ้าวนาย...ในหัวสมองของผู้เขียนสักนิด...ถ้าคนที่อ่านบทความที่เขียนในบล็อกจะทราบประวัติของผู้เขียนดี...แต่เมื่อมีท่านที่คิดว่าผู้เขียนเป็นแบบที่หมายเลข 474 กล่าว...ผู้เขียนก็จะไม่ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องชุดเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการก็แล้วกัน...ใครจะปฏิบัติแบบใด ก็ตัวใครตัวมัน...ประเทศชาติจะเป็นแบบใดก็ช่าง...เพราะผู้เขียนเริ่มเหนื่อยและท้อมาก ๆ...เสมือนปิดทองหลังพระ...แต่ทุกท่านเตรียมรับมือกับการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้เลยค่ะ...

รอคำตอบครับ ขอบคุณ อ. ครับ

ตอบ...คุณ ณฐ...

ได้โทร.สอบถามที่ ฝ่ายเลขานุการ คพร. ให้แล้วนะค่ะ...และได้พูดคุยในเบื้องต้นแล้วว่า...ส่วนราชการบางส่วนทำไม่ถูกต้อง...เป็นไปอย่างที่พี่ได้เขียนไว้ค่ะ...ท่านแจ้งว่าถ้าท่านไหนเห็นว่าไม่ถูกต้องตามที่พี่บอกก็ขอให้โทรศัพท์โดยตรงถึง....คุณลักคณา ได้เลยค่ะ...เบอร์โทร. 0 - 2547 - 1977 (สายตรงค่ะ)... หรือฝ่ายเลขานุการ คพร. 0 - 2319 - 5666 ค่ะ...จะได้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นได้ทราบและปฏิบัติให้ถูกต้องค่ะ...

ตอบ...คุณณฐ...

พี่ได้สอบถามที่ สำนักเลขาคณะรัฐมนตรี ให้ด้วยแล้ว เกี่ยวกับเรื่องการแต่งเครื่องแบบและการนำเครื่องหมายของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ มาติด...ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่า...เป็นไปอย่างที่พี่ได้เขียนไว้ในบล็อก...คือ ไม่ถูกต้อง...แต่ สลค. มอบอำนาจให้ คพร. ออกประกาศ เรื่อง เครื่องแบบ ฯ ของพนักงานราชการแล้ว...สำหรับเรื่องเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ...คพร. ก็น่าจะกำหนดไปให้ชัดเจนว่าควรแต่งแบบไหน...เพราะส่วนราชการนำไปประกาศใช้เอง...บางส่วนราชการก็ปฏิบัติถูกต้อง  บางส่วนราชการก็ใช้อำนาจเสียเต็มที่แล้วออกมาแบบผิด ๆ...สำหรับเรื่องเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ ถ้าท่านที่อ่านแล้วมีลักษณะไม่ถูกต้องเหมือนที่พี่เขียนไว้ ก็ขอให้โทร.สอบถามไปที่สำนักเลขานุการ คพร. ตามที่ให้เบอร์โทรไว้กระทู้ที่  480...นะค่ะ...เพราะจะทาง คพร. จะได้ทราบว่ามีส่วนราชการใดบ้างที่ทำผิดค่ะ...

นี่ขนาดสี(กากี)เดียวกันน๊ะเนี่ย

อ.บุษยมาศ ที่ใจเคยเย้นนนนน เย็น ก็เริ่มจะอุ่นๆๆๆๆแล้ว

พนักงานราชการก็น้อยยยยยยยยยยยเนื้อ ต่ำใจ

คำสั่งแต่ละฉบับที่ออกมาแต่ละองค์กรณ์เหมือนกันอยู่อย่างนึงคือ ความล่าช้าไม่ใช่ล่าช้าแบบธรรมดาแต่เป็นล่าช้าแบบไม่ใส่ใจ ปลายทางจะได้รับหรือไม่ๆรู้ถือเป็นหน้าที่(ไว้ใจEnterมากไปหรือป่าว)ไม่ได้ก็ไม่รู้ ที่ได้รับอ่านแล้วก็สับๆๆๆๆๆๆสนกับเนื้อหาคำสั่ง ออกมากี่ฉบับแล้ว งงงงงงงต่อไปใช้อันนี้ยกเลิกอันนั้น ความชัดเจนในการปฏิบัติจึงไม่เกิด

อ.บุษยมาศ ก็อย่าน้อยใจตามเด็กไปเลยน๊ะ

http://home.dsd.go.th/personal/Bumnet/Uniform/GovernmentOfficer_all.pdf

จากเวปนี้มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจัง

อ.บุษยมาศ ก็ทราบว่า

พนักงานราชการหลายยยยยยยต่อหลายท่าน ร้องๆขอมาว่าอยากๆๆๆๆๆๆๆๆ(จริงๆ)

เห็นรูปภาพๆๆๆๆๆๆๆการแต่งเครื่องแบบพนักงานราชการที่ถูกต้อง

ทำไมไม่มีใครทำๆๆๆรูปภาพๆๆๆให้ชัดเจนแบบเนี้ยๆๆๆ(เริ่มน้อยใจบ้างแล้ว) ส่งให้เขาดูบ้างชัดๆๆ

มีแต่ตัวหนังสือกำกวมใส่ตามนั้นตามนี้

โอ้ย ไปดีกว่า อากาศมันร้อนๆๆๆๆ

ตอบ...คุณสีกากี...

ที่แจ้งเว็บไซต์ในกระทู้  เป็นของกรมฝีมือแรงงาน มังค่ะ...เพราะเคยเข้าไปอ่านแล้ว...เขาคงออกระเบียบมาใช้กับพนักงานราชการเรื่อง ชุดเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ ซึ่งนำมาต่อท้ายของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ นะค่ะ...ความจริง เรื่อง เครื่องแบบของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ นี้ สำนักเลขาคณะรัฐมนตรี จะเป็นผู้ดูแลการแต่งกายของบุคคลดังกล่าวค่ะ...เมื่อเช้าวันนี้ ได้โทรศัพท์ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ ที่ สลค. แล้ว จนท.แจ้งว่า เรื่อง เครื่องแบบพนักงานราชการ นั้น มอบให้ คพร. เป็นผู้กำหนด...แล้วผู้เขียนก็ได้สอบถามว่า ถ้ามีผู้ใดนำเครื่องหมายของข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำมาประดับได้หรือไม่...เจ้าหน้าที่นิติกร แจ้งว่า...ไม่สามารถทำได้ เพราะการจะนำมาประดับ นั้น สลค. กำหนดให้แยกประเภทบุคลากรไว้แล้ว...สำหรับเรื่อง เครื่องแบบพิธีการ ทาง คพร. ก็กำหนดให้พนักงานราชการ ปฏิบัติไปแล้ว...ส่วนเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ คพร.มอบอำนาจให้ส่วนราชการกำหนด...พอมอบอำนาจให้กำหนด...ส่วนราชการก็เต็มที่กับการออกกฎหมายเหมือนกัน...ไม่ได้นำกฎหมายฉบับเดิมของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำมาศึกษาประกอบ...ว่ามีกฎหมายอะไรบังคับห้ามใช้บ้าง มีความผิดอย่างไรบ้าง...เลยหน้าตาของประกาศเกี่ยวกับเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการก็ออกมาให้อย่างที่เห็นนั่นแหล่ะค่ะ...(หลากหลายมาก)...

ในช่วงติดต่อกัน ผู้เขียนก็ได้สอบถามไปที่ คุณลักคณา หัวหน้าของฝ่ายเลขานุการ คพร. ได้รับคำตอบว่า...เป็นไปได้ไงที่จะนำเครื่องหมายของลูกจ้างประจำมาติด... พอผู้เขียนบอกสาเหตุ ท่านก็บอกว่า ถ้าพนักงานราชการท่านใดสงสัยให้สอบถามไปที่เบอร์ของคุณลักคณาโดยตรงค่ะ...ตามเบอร์โทรที่ผู้เขียนได้แจ้งให้น้อง ๆ พนักงานราชการทราบในกระทู้ หมายเลข 480 ค่ะ...

สำหรับความคิดเห็นของผู้เขียนคิดว่า...ในเรื่องนี้ไม่มีใครผิด ใครถูก เป็นเพราะการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ คพร.เองมากกว่า...เนื่องจากปัจจุบันเป็นเรื่องของการกระจายอำนาจไปยังส่วนราชการ (มีความคิดในเชิงบวก)...คิดว่าส่วนราชการก็คงออกกฎหมายเรื่องเครื่องแบบปกติกันได้...ก็เลยมอบอำนาจให้...ส่วนราชการเมื่อรับมอบอำนาจไปแล้ว...แทนที่จะศึกษากฎหมายเรื่อง เครื่องแบบของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ ที่มีอยู่เสียก่อน หรือไม่ก็โทร.ถาม สลค. ที่คุมเรื่องกฎหมายเครื่องแบบของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ ก่อน ว่าได้หรือไม่...แล้วค่อยทำประกาศ (หารือไปยัง สลค. + กพร.) ก่อน...พอกฎหมายออกไปให้พนักงานราชการปฏิบัติ...ถ้าถูกก็ดีไป แต่ถ้าไม่ถูกต้องก็เป็นแบบที่โชว์ในเว็บไซต์...อย่าลืมว่า...ปัจจุบันเป็นยุคของข่าวสารที่ไวมาก...พอนำขึ้นข่าวก็เลยแพร่กระจายเร็วเกินกว่าที่คิดค่ะ...ก็เลยขอยุติเรื่อง เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ แล้วค่ะ...ส่วนราชการไหนออกประกาศ...ก็รับผิดชอบไปค่ะ...

เหตุที่เขียน ก็ไม่ใช่น้อยเนื้อต่ำใจหรอกค่ะ...เพียงแต่เป็นห่วงว่าต่อไปกฎหมายจะไม่ศักดิ์สิทธิ์...แล้วถ้าเป็นแบบนี้  ใครจะช่วยให้สังคมเป็นระบบที่ดีได้ต่อไปละค่ะ...บางครั้งต้องเข้าใจว่าคนเราพูดมาก ๆ ตอบมาก ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องดีค่ะ...ผู้เขียนทราบว่าการทำแบบนี้ เปรียบเสมือนดาบสองคม...แต่ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ค่ะ...เพราะคิดว่าอย่างน้อยตัวเองก็เป็นข้าราชการคนหนึ่ง...ที่สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบของการเป็นข้าราชการ + เพื่อเป็นการบริการวิชาการให้กับสังคมค่ะ...แล้วอีกอย่างบางคนที่ผู้เขียนได้ลบออกจากระทู้ไปก็ตั้งหลายคำถาม ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่สร้างสรรค์...แถมยังดูหมิ่น ดูแคลนพนักงานราชการ...จึงทำให้ผู้เขียนอาจท้อแท้บ้างในบางครั้งค่ะ...ที่แจ้งให้ทราบ ก็ต้องการให้คนที่เขียนในกระทู้นั้น ได้ทราบว่า...ผู้เขียนมิได้มีเจตนาแบบที่เขียนค่ะ...เขาอาจโดนข้าราชการท่านอื่นกระทำ...แต่ก็จะบอกเขาว่ามีข้าราชการอีกมากมายที่ไม่เหมือนกับที่เขาโดนกระทำมาค่ะ...

ความจริงแล้ว (ในความคิดเห็นส่วนตัวนะค่ะ) ถ้า คพร. กำหนดมาให้พนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ ตั้งแต่แรกแล้ว  คงไม่เป็นเช่นนี้หรอกค่ะ...เป็นเพราะเชื่อใจส่วนราชการ  คิดว่าทำเองได้...(ต้องอยู่ภายในใต้กฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ต้องถือปฏิบัติด้วยค่ะ)...

ตอบ...คุณสีกากี...

จากเว็บที่คุณบอก...น่าจะเป็นเว็บไซต์นี้มังค่ะ...มีครบตั้งแต่หนังสือสั่งการค่ะ...

http://home.dsd.go.th/personal/

http://home.dsd.go.th/personal/Bumnet/Uniform/25530628.pdf

http://home.dsd.go.th/personal/Bumnet/Uniform/GovernmentOfficer_all.pdf

 

ตอบ...คุณสีกากี...

ขอให้ดูหน้าที่ 4 ในไฟล์สุดท้ายนะค่ะ...ที่เห็นชัด ๆ ก็ผิดแล้วค่ะ...เช่น

1.  คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ได้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 และกำหนดให้พนักงานราชการมีเครื่องแบบพิธีการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547...แค่นี้ก็ผิดแล้วค่ะ...(ความจริง...ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 โดยให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เพราะข้อ 3 เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการให้ใช้ชุดสากลนิยม และให้ใช้ประกาศ ฯ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของพนักงานราชการ พ.ศ. 2552 ลงวันที่  29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ค่ะ...

2.  ต่อมาอีกช่วง เรื่อง อินทรธนูประดับเครื่องแบบพิธีการให้ใช้ตามแนบท้ายประกาศนี้...แต่ก็มีเครื่องเครื่องแบบปฏิบัติราชการอีก (ไม่แยก)...

3. สำหรับคำว่า เครื่องแบบปฏิบัติราชการ...เป็นของข้าราชการค่ะ...สำหรับพนักงานราชการ  ให้ใช้คำว่า  "เครื่องแบบปกติ" แต่หัวข้อข้างบน เป็นเรื่องอินทรธนูและเครื่องหมายตำแหน่งบนอินทรธนูของพนักงานราชการ ค่ะ...ซึ่งไม่ถูกต้อง...แล้วที่เห็น ๆ กำหนดระดับค่าตอบแทน ไม่ใช่กำหนดอัตราเงินเดือนค่ะ...พนักงานราชการใช้คำว่า  "ค่าตอบแทนค่ะ"...เพราะเป็นการทำสัญญาจ้างค่ะ จะไม่ใช้คำว่าอัตราเงินเดือน (ต้องดูในกฎหมายของคำว่า "เงินเดือน" ที่รัฐกำหนดให้ไว้ค่ะ...ผู้ที่จะใช้คำว่าเงินเดือนได้ ต้องเป็นข้าราชการค่ะ...สำหรับลูกจ้างประจำ ยังต้องเรียกว่า  "ค่าจ้าง" เลยค่ะ...เห็นไหมค่ะ...ว่ากฎหมายมีความละเอียดอ่อนมากค่ะ...ถ้าผู้ที่ไม่ได้สังเกต ก็จะไม่ทราบที่มาที่ไปค่ะ...แถมนำอินทรธนูของลูกจ้างประจำมาติดอีกค่ะ...ผิดค่ะ... (จากเว็บนี้ค่ะ...)

http://home.dsd.go.th/personal/Bumnet/Uniform/GovernmentOfficer_all.pdf

สรุปแล้วยังไงต่อครับของพนักงาน งงมาก ไปเปิดดูในเว็บก็มีอินธนูชุดปฏิบัติการประเภทด้วยกับลูกจ้างประจำ

ก็คงไม่สามรถนำมาใส่ได้ใช่ไหมครับอาจารย์ ขอบคุณมากครับ

ตอบ...หมายเลข 486...

ไม่มีบทสรุปค่ะ...ไม่ขอออกความเห็นใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าเป็นเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการแล้ว...ให้อ่านที่กระทู้ ประมาณ 480 ค่ะ...ได้บอกเบอร์โทรไว้ค่ะ...แต่ผู้เขียนก็ยังยืนยันว่าประกาศดังกล่าวข้างต้น ไม่ถูกต้อง...แต่ถ้าของคุณเป็นประกาศของส่วนไหนละค่ะ ถ่ายรูปมาให้ดูหน่อยได้ไหมว่าเป็นแบบใด...จะได้บอกว่าถูกหรือไม่ถูกค่ะ...แต่ก็ขอยืนยันว่าใช้ของเครื่องแบบข้าราชการ + ลูกจ้างประจำไม่ได้...เพราะถามที่ สำนักเลขาคณะรัฐมนตรีแล้ว + คพร. ก็ถามแล้ว...(ก็ลองส่งประกาศ หรือถ่ายรูปที่ส่วนราชการของคุณมาให้ดูหน่อยสิค่ะ...จะได้ตอบให้ได้ค่ะ...ว่าถูกหรือไม่)...

ขอบคุณครับ อ.ครับ ถ้าอย่างนั่นแสดงว่า ถ้าต้นสังกัดเช่นกรมร่างระเบียบขึ้นมา เรื่องอินธนูกับเครื่องแบบเหมือนราชทันฑ์และพานิยณ์นาวีก็ทำได้ใช่หรือไม่ครับ

ตอบ...คุณณฐ...

ใช่ค่ะ...แต่พี่ไม่เคยเห็นของกรมราชทัณฑ์นะค่ะ...ถ้ามีบอกให้ได้ไหมค่ะ...เปิดเท่าไรก็ไม่พบค่ะ...มีแต่ไฟล์นี้ค่ะที่พอเป็นตัวอย่างที่ดีได้ค่ะ...ระเบียบกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีค่ะ...ขอบคุณที่ยังเข้าใจพี่ค่ะ...เพียงแต่เพื่อให้เกิดความถูกต้อง...จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหน้าค่ะ...ถึงบอกไงค่ะว่าเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ๆ ค่ะ...ไม่ใช่นึกอยากร่างประกาศก็ร่าง โดยไม่ดูว่ามีกฎหมายใดเกี่ยวข้องบ้าง...ถ้าเห็นของกรมราชทัณฑ์บอกพี่บ้างนะค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/uniform_md_officer.pdf

ตอบ...คุณณฐ...

เมื่อ คพร.มอบอำนาจให้ส่วนราชการกำหนดเรื่อง เครื่องแบบปกติของพนักงานราชการแล้ว...ส่วนราชการต้องศึกษา เรื่อง เครื่องแบบที่มีอยู่ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ หรือของหน่วยงานอื่น ๆ...เมื่อศึกษาแล้ว สำหรับอินทรธนูอ่อน ส่วนราชการคิดขึ้นมาใหม่ได้ โดยอย่าไปซ้ำกับของส่วนราชการอื่น ยิ่งถ้าเป็นของข้าราชการ + ลูกจ้างประจำ เขามีกฎหมายรองรับ คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ก็อย่าไปยุ่ง...ส่วนราชการก็คิดแบบอินทรธนูขึ้นมาใหม่เองได้ค่ะ...ในเมื่อ คพร.มอบอำนาจให้ส่วนราชการดำเนินการเองแล้วค่ะ...

เข้าใจ อ.เสมอ ส่วนเครื่องแบบพิธีการผมใส่ออกหลายงานแล้วครับ อ. และเครื่องราชสำนักงานขอไปแล้วครับ อ.ครับถึงแม้ผมเป็นพนักงานราชการผมก็ภูมิใจผมถือว่าผมได้ทำงานเพื่อประชาชน(มีถ้อยคำที่จะกล่าวอีกมาก)แต่ อ.ครับงานคุมประพฤติหนักมากครับ

ส่วนเครื่องแบบราชทันฑ์เดียว ณฐ จัดให้ครับ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจ อ.ก็เขียนข้อความบ้างอย่างไว้แล้วครับ เช่น บัวมีหลายเหล่า ผมหวังว่า อ. มีข่าวใหม่ๆ อ.จะรีบแจ้งนะครับ(ในกระทู้) เคารพ อ,หรือพี่ เสมอ

สวัสดีค่ะ...คุณณฐ...

ขอบคุณค่ะ...เราควรรู้ว่าเราเป็นใครค่ะ...เมื่อเราทราบเรารู้และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้...นั่นคือ สุดยอดของการเป็นมนุษย์แล้วค่ะ...ถูกต้องแล้วค่ะ เราต้องภูมิใจในสิ่งที่เราเป็นอยู่ค่ะ...ถ้าเราไม่พอใจ เราก็หาสิ่งที่เราพอใจสิค่ะ...ถ้าทำไม่ได้ สิ่งแรก คือ "ต้องมีความอดทนค่ะ"...ค่ะก็เป็นกำลังใจให้ทำงานต่อนะค่ะ...เก็บประสบการณ์ของตัวเราเองไว้ให้มาก ๆ ค่ะ...ยิ่งภูมิรู้ในอนาคตเพราะข้างหน้าจะมีแต่การแข่งขันกันค่ะ...คนที่อดทน + มีความรู้จะอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างแข็งแกร่งค่ะ...

อ.ลองเข้าดูเครื่องแบบพนักงานราชการกรมราชทันฑ์ ครับ

ตอบ...คุณณฐ...

ถ้าเป็นตามเว็บไซต์นี้  สำหรับอินทรธนู ก็ไม่น่าจะใช่นะค่ะ...แต่เสื้อสีขาว ก็โอเคค่ะ...ไม่ทราบว่ายังใช้อยู่หรือเปล่า ถ้ายังใช้อยู่ต้องให้พนักงานราชการที่สังกัดกรมราชทัณฑ์ ลองสอบถามคุณลักคณา...(คพร.) ดูค่ะว่าถูกหรือไม่...การจะสอบถามเขา คุณลักคณะแจ้งว่า  ต้องมีคนต้นเรื่อง (คนในสังกัด) ของกรมราชทัณฑ์ถามไปค่ะ...แต่พี่เคยถามไปว่า เครื่องหมายของลูกจ้างประจำได้ไหม เขาบอกว่าไม่ได้ค่ะ...คือ พูดง่าย ๆ ให้ส่วนราชการคิดแบบใหม่ค่ะ...

http://www.mohanamai.com/index.php?name=webboard&file=read&id=5400

ถึง...พนักงานราชการทุกท่าน...

นี่เป็นเครื่องแบบปกติของพนักงานราชการ ที่ส่วนราชการได้กำหนดให้พนักงานราชการได้ใส่ค่ะ...เป็นของกระทรวงสาธารณสุข...ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำประกาศฯ ให้พนักงานราชการได้ถือปฏิบัติค่ะ...

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bbbbbb11111.pdf

(เป็นประกาศเฉพาะส่วนราชการที่กำหนดให้ใช้กับพนักงานราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขค่ะ)...เป็นตัวอย่างที่ดีมากค่ะ...

 

อ้างถึง 475

ที่อ.บุษยมาศ บอกว่า น้องๆพนักงานราชการไม่ทราบต้นสายปลายเหตุ..พอเห็นส่วนราชการกำหนดให้ใส่ได้ก็ปฎิบัติตาม

สพฐ.ก็แบบนึง อาชีวก็แบบนึงและที่อื่นๆอีก ผิดถูกเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ใน(บ้านใครบ้านมัน)กรมกอง(จริงๆ)ต้องนำกลับไปพิจารณาแต่เมื่อไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแก้ไข น้องๆพนักงานราชการเหล่านั้นก็ต้องปฎิบัติตามนั้นๆ การประเมินการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชามันค้ำคอเขาอยู่

บางแห่งอาการหนักแม้ประกาศที่ว่าผิด(ซึ่งออกมาตั้งนานแล้ว)เขาก็ยังไม่เคยได้รับรู้ได้เห็นเลย แล้วจะเอาถูกที่ไหนมาเห็น

นายกฯอภิสิทธ์กล่าวว่าระบบราชการมีปัญหามาจากเจ้าหน้าที่ขัดแย้งกันเอง ผิดแล้วไม่ยอมรับผิด และความล่าช้า

ตอบ...คุณสีกากี...

การทำงาน ก็มีผิดบ้าง ถูกบ้างค่ะ...แต่ก็มีทางออก  คือ  "การแก้ไข"...ให้ถูก...ทุกปัญหามีทางแก้ไขค่ะ...ที่เขียนบทความ ก็เนื่องจาก "เป็นการช่วยกันสร้างระบบสังคมให้มีระเบียบมากขึ้น  เพื่อเป็นมาตรฐานหรือแนวทางให้กับคนรุ่นหลังได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไปค่ะ"...ถ้านิ่งดูดาย จะเหมือนกับว่าไม่ใส่ใจกับสังคมรอบข้างค่ะ...ก็จะทำเท่าที่ตัวผู้เขียนสามารถทำได้เท่านั้นค่ะ...

อาจารย์ครับ ผมได้ไปดูประกาศhttp://home.dsd.go.th/personal/Bumnet/Uniform/GovernmentOfficer_all.pdf

ที่อาจารย์ เอามาลงให้ นั้นหมายความว่า

พนักงานราชการใช้เครื่องหมายอินธนูเหมือนกับ

ลูกจ้างประจำใช่ไหมครับ

และใช้กันทุกหน่วยงานหรือเปล่า

แล้วกระทรวงศึกษาละครับ

ขอให้อาจารย์ช่วยให้ความกระจ่างผมด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ตอบ...หมายเลข 499...

คือ พี่ขอให้คุณอ่านทุกกระทู้นะค่ะ...เพราะถ้าอ่านกระทู้เดียวจะสื่อความหมายไม่ต่อค่ะ...ที่บอกให้ดูในเว็บนั้น...(แต่พี่ก็บอกไปแล้วนี่ค่ะ...ว่าไม่ถูกต้อง)...3 แผ่นแรกก็ O.K.  แต่พอมาถึงพนักงานราชการแล้วไม่ใช่ค่ะ...หมายความว่า  ไม่ถูกต้องค่ะ...ไม่ใช่ให้ใส่...เพราะของลูกจ้างประจำก็คือของลูกจ้างประจำเขา เราไม่สามารถนำของลูกจ้างประจำมาติดได้ค่ะ...ให้แยกประเภท...แล้วพี่ก็นำตัวอย่างของกระทรวงสาธารณสุขมาให้ดูตัวอย่างแล้วนี่ค่ะ...ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวอย่างของการทำประกาศให้ถือปฏิบัติได้อย่างดีเลยค่ะ...และเครื่องแบบก็ไม่ไปซ้ำกับของใครค่ะ...ที่ชี้ประเด็น คือ ไม่ต้องการให้ไปซ้ำของบุคคลประเภทอื่นไงค่ะ...เครื่องหมายของลูกจ้างประจำ เราก็ไม่ควรไปใส่ของเขา...พี่ได้ถาม คพร.แล้ว คพร. ก็แจ้งว่าไม่ควรทำ...เพราะอีกหน่อยจะแยกไม่ออกค่ะ...เป็นเพราะส่วนราชการไม่เข้าใจไงค่ะ...ทำประกาศให้พนักงานราชการใส่กันไงค่ะ...น้อง ๆ พนักงานราชการไม่รู้ก็ถือปฏิบัติตามไง......บางส่วนราชการสังเกตจากประกาศ ฯ ก็ทราบได้เลยว่าอ่านประกาศที่ คพร. สั่งให้ทำไม่ชัดเจน  ตีความเครื่องแบบพิธีการบ้าง เครื่องแบบปฏิบัติราชการบ้าง...ไม่อ่านในประกาศ ว่า คพร. กำหนดให้ทำอะไร...เขาสั่งให้ส่วนราชการ กำหนด เรื่องเครื่องแบบปกติ...ไม่ใช่เครื่องแบบพิธีการ...บางส่วนราชการก็ใช้เครื่องแบบพิธีการ  มั่วไปหมด...ก็ก่อน

ก่อนอื่น ขอให้พนักงานราชการทุกท่าน ทำความเข้าใจก่อนว่า  ตัวเราเองสังกัดกระทรวงไหน...แล้วจะใส่เครื่องแบบปกติอย่างไร..ก็ไปไล่ดูว่ากระทรวงมอบอำนาจให้ระดับกรมออกประกาศเรื่องเครื่องแบบปกติเองหรือเปล่า...อย่านำของกระทรวงอื่นไปใส่นะค่ะ...เพราะจะผิด...อยู่ที่กระทรวงต้นสังกัดของเราเองค่ะ...จึงเป็นเรื่องที่มีหลากหลายเครื่องแบบในทุกวันนี้ไงค่ะ...

สำหรับกระทรวงศึกษาธิการ ก็มีหลายกรม อีก  ให้ดูว่าคุณสังกัด กรมไหน แล้วย้อนขึ้นไป...ถามส่วนราชการที่คุณสังกัดอยู่...ให้ดูประกาศ หรือระเบียบที่ส่วนราชการสั่งให้ปฏิบัติเท่านั้นนะค่ะ...บอกด้วยคำพูด ไม่ได้ค่ะ...เพราะการที่จะสั่งให้เราปฏิบัติ ต้องมีหนังสือราชการค่ะ...(ว่ากันด้วยหลักฐานค่ะ...)ถ้าเป็น ร.ร. ในเขตพื้นที่ ให้ย้อนขึ้นไปถามที่สำนักงานเขตพื้นที่ หรือ สพฐ. ค่ะ ว่ามีประกาศหรือระเบียบการแต่งเครื่องแบบปกติหรือไม่...(ไม่แต่งแบบไม่มีประกาศหรือระเบียบนะค่ะ...)

ตัวอย่างที่ถูกต้องของกระทรวงสาธารณสุขค่ะ...ตามบล็อกนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas/374970

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท