วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน : กรณี "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"


      สถานภาพล่าสุดของประเด็นนี้
มีต่อ

สวัสดีค่ะ ทุกท่าน

ได้อ่านงานของ ทพ.สม เล่มแรกก็เล่มนี้ละค่ะ "ไอนสไตน์พบ พระพทุธเจ้าเห็น" ทพ.สม ได้สร้างภาพของการทำสมาธิ ฝึกสติปัฎฐาน 4 ราวกับเพื่อสามารถวิ่งเล่นไปมากับมิติของกาลอวกาศได้ดังใจ เขาเล่าเรื่องพุทธศาสนาราวกับนิยายวิทยาศาสตร์ คล้ายๆ กับอ่านเรื่องราวของมหายาน เลยนะคะอ่านเพลินค่ะแต่ความที่ฉันเองไม่แม่นกับเรื่องราวของทฤษฎีและเจ้าทฤษฎีทั้งหลายรวมทั้งคัมภีร์ต่างๆของพระไตรปิฎกจึงได้แต่ทึ่งในการจับเรื่องราวมาร้อยเรียงและอธิบายได้ฟุ้งเฟื่องมากจนทำให้อยากฝึกสติปัฏฐาน 4 เพื่อเหาะเหินเดินอากาศได้อย่างพระอรหันต์ และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายบ้าง...เหตุผลเช่นนี้อันที่จริงจะว่าดีก็ดีเพราะจะดึงคนให้มาสนใจพุทธศาสนาได้มาก...แต่ก็อาจทำให้แก่นของศาสนาเพี้ยนไปได้ อีกหน่อยอาจจะมีนิกายใหม่ๆ หรือสำนักปฏิบัติแบบสันติอโศกเกิดขึ้นมาอีกก็ได้ คิดแล้วก็สมควรต้องแจ้งให้สำนักพิมพ์รีบแก้ไขนะคะ

ได้เข้าไปอ่านบันทึกอื่นที่ใหม่กว่าแล้วค่ะ..รู้สึกขอบคุณความรู้ที่ได้รับจากบล็อกนี้ค่ะ..แม้จะเข้ามารู้ช้าไปหลายเดือน(อายจัง)

สวัสดีครับ คุณ dhanitar

        ขอตอบสั้นๆ นะครับ

        ทพ.สม เขาไม่เข้าใจฟิสิกส์ที่เขาอ้างถึงครับ สิ่งที่เขานำมาเทียบกับพุทธศาสนาจึงเป็นการจับแพะชนแกะอย่างมโหฬาร

        ส่วนเรื่องทางพุทธศาสนานั้น เป็นไปได้ว่ามีหลายประเด็นที่เขาตีความตามความเข้าใจของตนเอง และมีบางเรื่องที่เขาเข้าใจผิดอย่างไม่น่าเชื่อ (ว่าจะเป็นคนที่ศึกษาธรรมะ) อย่างเช่นเรื่อง อนิจจัง

        สังคมไทยน่าเป็นห่วงทีเดียวครับ เจอใครพูดเก่ง เขียนคล่องหน่อย ก็มีแนวโน้มที่จะคล้อยตามไป

สวัสดีค่ะ

หนูเป็นนักเรียนม.ต้นที่จะขึ้นม.ปลายในปีการศึกษาหน้า เข้ามาเห็นบทความนี้รู้สึกตกใจมากเพราะได้อ่านหนังสือทั้ง2เล่มแล้วค่ะ อ่านแล้วรู้สึกดี พอดีเป็นคนสนใจพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก "ไอนสไตน์พบ พระพทุธเจ้าเห็น"ได้ซื้อมาอ่านประมาณปลายปี50 รู้สึกว่าสนุกและลึกซึ้งไปกับทั้ง2ศาสตร์ ส่วน"ฟิสิกส์ นิวตัน" นั้น ไปเปิดอ่านที่ซีเอ็ดแล้วสนุกดีเลยซื้อมาอ่าน มีประโยชน์มากในบางส่วนกับการใช้ประกอบการเรียนฟิสิกส์ในค่าย สอวน.ค่ะ(ความเห็นส่วนตัว)ผู้เขียนทำให้อ่านฟิสิกส์แล้วสนุกไม่รู้สึกเบื่อเข้าใจง่าย ในบางกรณีที่ผิดพลาดในหนังสือทั้ง2เล่มนั้นต้องขอบคุณดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เป็นอย่างมากค่ะ ที่ช่วยแนะนำให้เข้าใจ ในส่วนที่ถูกต้อง หนังสือเล่มไหนที่เหมาะสำหรับการเรียนฟิสิกส์ม.ปลาย ขอความกรุณา อ.ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ มณฑกานต์ คล้ายดี

        ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ ^__^

        ความสนใจในพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องดีงามและน่าส่งเสริมอย่างยิ่งครับ

        อย่างไรก็ดี ทั้งพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับสัมมาทิฐิ หรือความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะความจริงเท่านั้นที่จะทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ซึ่งจะทำให้สามารถปฏิบัติต่อสิ่งนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมครับ

        หนังสือดีๆ ทางวิทยาศาสตร์มีหลายเล่มครับ

        ถ้าเป็นดาราศาสตร์ ก็เช่น เอกภพ : เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของจักรวาล เขียนโดย คุณวิภู รุโจปการ

        ถ้าเป็นหนังสือแนวแนะนำความรู้เบื้องต้น ก็เช่น ชุด Introducing ที่จัดพิมพ์โดย สนพ.มูลนิธิเด็ก

        ถ้าเป็นหนังสือที่อ้างอิงได้ (แต่อาจจะอ่านยากบ้างบางเรื่อง เพราะเขียนแบบรัดกุม) ก็เช่น หนังสือที่ผลิตโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

        ส่วนหนังสือของ ทพ.สม สุจีรา นั้น แม้จะอ่านสนุก แต่ปัญหาก็คือ ผู้เขียนสำคัญตนผิด คิดว่าตนเองเข้าใจพื้นฐานทางฟิสิกส์ดีแล้ว ผนวกกับการใช้จินตนาการ (แบบเตลิดเปิดเปิง) ผสมเข้าไป ทำให้หนังสืออ่านเพลิน แต่ปัญหาใหญ่คือ ผิดพลาดมาก นอกจากนี้ ยังสอดแทรกทัศนคติที่น่าสงสัยและน่าตรวจสอบไว้มากมาย

        ถ้าน้องได้มีโอกาสเรียนฟิสิกส์ในชั้น ม.ปลาย ถึงระดับหนึ่งแล้ว ลองย้อนกลับไปอ่าน "ฟิสิกส์นิวตัน" ดูสิครับ จะพบว่า ทพ.สม ผิดพลาดอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับแรงปฏิกิริยา หรือแม้แต่นิยามของ "มวล" และ "น้ำหนัก"

        ส่วนเรื่องทางพุทธศาสนาที่ผู้เขียนสร้างภาพว่าปฏิบัติธรรมมาจนน่าจะเข้าใจลึกซึ้งนั้น ก็น่าสงสัยยิ่งนัก ว่าเหตุใดจึงอธิบายเรื่องพื้นฐานมากๆ เช่น อนิจจัง ไม่ครบถ้วน นี่ยังไม่นับเรื่องที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีกอย่างเช่น วงจรปฏิจสมุปบาท ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย

        พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์นั้นงดงามโดยตัวเองอยู่แล้วครับ และหากจะเชื่อมโยงให้เห็นทั้งความสอดคล้องและความแตกต่าง ก็สามารถทำได้ แต่ต้องรู้จริงทั้งสองเรื่อง

        โดยสรุปก็คือ เรื่องทางฟิสิกส์นั้น ทพ.สม ผิดพลาดในเรื่องพื้นฐานจำนวนมาก จนไม่สามารถเชื่อถือได้ ส่วนเรื่องทางพุทธศาสนา ก็มีข้อกล่าวอ้างน่าสงสัยมากมาย และน่าจะมีผู้รู้มาตรวจสอบครับ

        ขอให้กำลังใจให้น้องมณฑกานต์ สนุกกับการเรียนรู้ และสามารถแยกแยะสิ่งที่ผิด ออกจากสิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยตนเองครับ

สวัสดีค่ะ

ไปด่อมๆมองๆหนังสือเล่มนี้หลายรอบค่ะ

เมื่อวานก็ไปดูมา แต่ก็ยังไม่ได้ซื้อ อิอิ

เอาเล่มอื่นมาก่อน...ขอบคุณค่ะ

สำหรับคำชี้แจง ^_^

สวัสดีครับ

      ด้วยความยินดีครับ อ่านได้ แต่ต้องระวังสติปัญญาได้รับความเสียหายครับ ;-)

ศาสนาพุทธนั้น ไม่ใช่ทั้งปรัชญา และไม่ใช่ทั้งวิทยาศาสตร์

แต่มีความเป้นศาสตร์ในตัวเอง (ผมไม่ใช้คำว่า "ศาสน์" นะ)
มีจุดมุ่งหมาย หลักการ และวิธีการของตัวเอง

ความพยามในการเอาวิทยาศาสตร์มาผสมกับพุทธศาสตร์มีมามานแล้ว
เช่นการวัดพลังจิตด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
การตรวจจับวิญญานด้วยเสียง เทอโมมิเตอร์ ฯลฯ

แต่ไม่มีควรอธิบายว่า พระหลาบรูปอ่านใจคนได้อย่างไร
ไม่มีใครอธิบายได้ปรากฏการณ์กลับชาติมาเกิดของผู้คนในทุกภูมิภาคทั่วโลก

ในโลกของพุทธศาสตร์แบบพระพุทธเจ้านั้น
แบ่งโลกออกเป็นสองอย่าง คือ รูป และ นาม

ถ้าจะอธิบายพอทำเนาให้คนที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
ก็อาจจะพออนุโลมให้คำว่า รูป คือ Tangible  นามคือ Intangible
แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า คำว่ารูป และ นาม ในแบบพระพุทธเจ้า ยังไม่หมดแค่นี้
เพียงแต่ต้องการอธิบายเป็นเบื้องต้นพอให้เห็นประเด็นเท่านั้นครับ


ส่วนในโลกวิทยาศาสตร์นั้น เป็นโลกของรูป ล้วนๆ

หรือที่ทราบว่าเป้นเรื่องของสสารและพลังงาน

หากสิ่งใดไม่มีคุณสมบัติเป้นรูป ก้จะไม่ถูกจัดว่าเป็นวิทยาศาสตร์
(ผมเข้าใจว่าต้องใช้คำว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ใช่ไหมครับ ผมไม่แน่ใจ)

 

เหมือนเราพยามเอาความรักไปชั่งกิโล หรือหามวลปริมาตรของความรัก
ไม่ว่าเราพยามเท่าไหร่ ก็จะไม่สามารถทำให้มันเป้นวิทยาศาสรตืขึ้นมาได้
แต่เราก็รู้อยู่แก่ใจว่า ความรักนี้มีอยู่จริง
แถมทราบดีว่า ความรักนี้มีความมาก ความน้อย  มีการถ่ายเท เสียอีกด้วย
ความรักเป็นนามครับ นามด้วยกันเช่นจิต สามารถรับรู้ถึงกันได้

ถ้าถามว่าจิตเป้นสสาร หรือ พลังงาน
นักวิทยาศาสตร์คงทราบดีว่า ไม่ใช่ทั้งสองอย่าง แต่มันคืออะไรล่ะ?

รูปกับนาม ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
เพราะในปรมัตถธรรม 4 ของพระพุทธเจ้า หรือความจริงอันเป็นจริงที่สุดในจักรวาล มี 4 อย่าง คือ
1. รูป
2. เจตสิก
3.จิต
4. นิพพาน

ข้อแรกเป็นรูป
3 ข้อหลังเป้นนาม
รูปกับนามแยกกันเด็ดขาด

ผู้ยังหลงเข้าใจว่ารูปกับนามเป็นอันเดียวกัน พุทธเราจัดว่าเป้นมิจฉาทิฐิ
เห้นเห็นว่ากายนี้เป้นของเรา มีตัวกู ของกู อยู่ จัดเป้นมิจฉาทิฐิทั้งสิ้น

ถ้าใครอยากรู้ว่ารูป กับบนาม ในพระพุทธเจ้าศาสนาคืออะไร
ลองค้นหาคำว่า รูปปรมัตถ์ กับ นามปรมัตถ์ ก็จะช่วยให้เข้าใจพุทธศาสตร์มากขึ้น

 

ปัญหาของหนังสือเล่มนี้คือผู้เขียนอาจจะไม่ทราบว่า
ในศาสตร์แบบพระพุทธเจ้า ท่านมี รูปกับนามอยู่

เมื่อไม่เข้าใจสิ่งนี้ ก้เป้นธรรมดาที่อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 บวกกับ 1 ใจ
ในการน้อมใจเชื่อข้อมูลต่างๆ เห็นอย่างไร คิดอย่างไร เชื่อไปอย่างนั้น
ใช้ตรรกะบ้าง อ้างอิงตำราบ้าง เรียกว่ากาลามะสูตรม 10 ข้อ
ก้ติ๊กใช้ไปครึ่งหนึ่งเห้นจะได้

ความเข้าใจสิ่งต่างๆด้วยวิธีทั้งหลายในกาลามะสูตร
เป้นปัญญาระดับกลาง ปัญญาของโลก คือจินตมัยปัญญา
คือปัญญาได้จากการได้รับทราบมา แล้วเอามาขบคิดใครครวญเอา ไมไ่ด้ประสบพบกับความจริงนั้นๆด้วยตนเอง อย่างมีสมาธิ
ย่อมคลาดเคลื่อนเป้นนิจ

แต่ปัญญาที่ชื่อว่าภาวนามัยปัญญานั้น ต้องฝึกฝนจนมีอำนาจพลังอย่างเพียงพอ
จึงจะแยกแยะของจริงออกจากสิง่ที่ถูกอำพรางได้




 

 

 

สวัสดีครับ คุณขมิ้นทำ

          ขอบคุณมากเลยครับที่สละเวลามาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้ที่สนใจประเด็นนี้

          ในส่วนของวิทยาศาสตร์นั้น ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า วิทยาศาสตร์มิได้สนใจเฉพาะ สสาร (matter) และ พลังงาน (energy) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันก็สนใจสิ่งที่เรียกว่า การผุดบังเกิด (emergence) ด้วย ครับ

 

ศาสนาเปรียบเทียบ

เป็นที่น่ายินดีที่ ดร. สม ได้นำเอาพระพุทธศาสนามาอธิบายทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ผมว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และทำให้เยาวชนและผู้สนใจตื่นตัวในพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน

ปกติผมจะพบว่าศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามพยายามอธิบายการสร้างโลกของพระเจ้าโดยใช้วิทยาศาสตร์ ผมเองก็มีหนังสือที่พิมพ์ในมาเลเซีย ที่อธิบายการว่าการสร้างโลกของพระเจ้าของศาสนาอิสลามสร้างโลกเป็นวิทยาศาสตร์มากกว่าพระเจ้าของศาสนาคริสต์

ในกรณีของ ดร. สม เป็นการรุกกลับของศาสนาที่มีต่อวงการวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญเป็นศาสนาพุทธที่เรานับถือกันส่วนใหญ่ในประเทศไทย

ด้วยความรู้ Physics ม. ปลายที่ผมมีอยู่ ผมก็อ่านคำอธิบายทฤษฎีต่าง ๆ ของ ดร. สม ได้เข้าใจพอสมควร โดยผมไม่ได้ใส่ใจมากนักว่าเจ้าของทฤษฎีนั้น ๆ เป็นใคร เพราะยังไงเสียผมก็จำไม่ได้แล้ว แต่ยังเข้าใจทฤษฎีอยู่ (ผมเห็นว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ เราต้องเรียนด้วยความเข้าใจ การปฏิบัติมากกว่า ถ้าเน้นการจำการเรียนวิทยาศาสตก็จะไม่ได้ผล)

ผมดีใจที่ ดร. สม ได้อธิบายการปฏิบัติกรรมฐานอย่างนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค้างคาใจผมมานาน ถึงแม้การอธิบายจะเป็นการจับแพะชนแกะในสายตาของหลาย ๆ ท่าน แต่ผมก็เชื่อว่านี่เป็นสมมติฐานที่ควรค่าต่อการพิสูจน์ ในเมื่อ ดร. สม เชื่อว่าตนเองได้ปฏิบัติจนได้ข้าพิสูจน์นี้ ผมก็เชื่อว่าจะมีท่านอื่น ๆ อีกหลายท่านที่สามารถพิสูจน์สมมติฐานนี้ได้ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริง

อย่างน้อยที่สุดผมก็ได้มุมมองใหม่ที่มีพระพุทธศาสนาและผมก็เชื่อว่าวงการวิทยาศาสตร์ยังสามารถพัฒนาได้อีกมากหากนักวิทยาศาสตร์ใช้จินตนาการ สมาธิ และปัญญาฌานมาช่วย

ใครจะไปรู้ว่าประเทศอาจมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลในอนาคตก็เป็นได้ (ตัวอย่างของนักวิทยาศาสตร์ที่นั่งสมาธิแล้วได้ความคิดใหม่ ๆ ที่เราคุ้นเคยกัน คือ ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา)

สวัสดีครับ คุณศาสนาเปรียบเทียบ

         ขอบคุณที่แวะมาแสดงความคิดเห็นครับ

         ผมให้ข้อมูลคุณสั้นๆ ตรงๆ อย่างนี้ดีกว่า : เนื้อหางทางวิทยาศาสตร์ที่ ทพ.สม (ไม่ใช่ ดร.สม) เขียนถึงนั้น มีทั้งระดับ

         - จับแพะชนแกะ  (เช่น กรณี 'กราวิตอน')       

         - อ้างถึงโดยที่ไม่ได้เข้าใจในเรื่องนั้นๆ (เช่น กรณี 'ทฤษฎีเคออส)

         - กล่าวหาวิทยาศาสตร์ด้วยทัศนคติที่น่ารังเกียจ (เช่น กรณี 'ปืนกล')

         หากใครก็ตามที่มีความรู้ที่มากกว่า ม.ปลาย หรือ มีข้อสงสัยในลักษณะ sketic ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า ทพ.สม มิใช่ผู้ที่ค้นพบว่า ศาสนาพุทธไปกันได้กับวิทยาศาสตร์ แต่กลับเป็นผู้ที่บิดเบือน (โดยไม่ตั้งใจ?) อย่างน้อยๆ ก็วิทยาศาสตร์ครับ

         ส่วนพุทธศาสนานั้น อาจจะเข้าข่าย สัทธรรมปฏิรูป ครับ

ขอเพิ่มเติมความคิดเห็นอีกเล็กน้อยครับ

          การเรียนวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้น ต้องเข้าใจทั้งทฤษฎี การปฏิบัติ และการคำนวณครับ

          เพียงแค่การปฏิบัติอย่างเดียว - ไม่เพียงพอ นะครับ

ศาสนาเปรียบเทียบ

สวัสดีครับ ดร. บัญชา

ขออภัยที่เรียก ทพ. สม เป็น ดร. (แป้นพิมพ์พาไป)

ผมเองก็เข้าใจว่าเนื้อหาหลักที่ ทพ. สม ต้องการสื่อคืออะไร เพียงแต่ในการเขียนออกเป็นหนังสือ และอ้างอิงเนื้อหาประกอบมากไป ก็ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนไปได้จริง ๆ อย่างที่ ดร. บัญชา ชี้ให้เห็น

สำหรับผู้ีที่อ่านหนังสือนี้เพื่อเป็นนิยาย หรือเพื่อแสวงหาความรู้หรือแนวคิดใหม่ ก็คงไม่ถึงกับเสียหายอะไร แต่หากจะใช้ในการอ้างอิงกับการเรียน Physics ระดับปริญญาก็คงไม่ได้แน่นอน การเรียนระดับนั้นจะลงลึกเกินกว่าที่จะอ้างอิงหนังสือที่มิได้เขียนขึ้นเพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ

ในด้านหนึ่ง ผมก็ดีใจที่มีกระแสความสนใจให้เรากลับมาสนใจในพระพุทะศาสนาซึ่งคนรุ่นใหม่จะมองว่าเป็นเรื่องของคนมีอายุแล้วเท่านั้น ในขณะที่การติดตามพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงเช่นทฤษฏีสัมพันธภาพ Quantum Physics, A brief history of time โดย Stephen Hawking ก็ดูจะไกลตัวคนรุ่นใหม่แม้จะเป็นคนที่เรียนสายวิทย์มาตลอดจนถึงระดับปริญญาตรี หนังสือนี้จึงเป็นโอกาสที่ให้คนสนใจ Physics ในแขนงที่น้อยคนจะเข้าใจ

ผมก็มองว่าเป็นโอกาสของเยาวชนไทยที่ได้มีเวทีให้สัมผัสกับนักวิทยศาสตร์ระดับอาจารย์ ได้แลกเปลี่ยนทัศนะ และความรู้ ได้รับคำชี้แนะที่ถูกต้อง ผมเห็นว่าเยาวชนไทยได้ประโยชน์จาก Free marketing นี้อย่างมากและจะสนใจเรียน Quantum Physics และอยากเป็นนัก Physics มากขึ้น

ผมเชื่อว่าทุกคนคงได้เห็นปรากฎการณ์ Davinci Code และ Angel and Demon ที่ได้รับการต่อต้านอย่างแรงจากศาสนจักร ด้วยการพยายามแบนการฉายภาพยนตร์ในหลาย ๆ ประเทศ แต่สุดท้ายก็ำได้ฉายในเกือบทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นนครวาติกันที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็อำนวยความสะดวกให้ใช้สถานที่ในการถ่ายทำฉายภาพยนตร์ Angel and Demon เป็นอย่างดี เพราะเล็งเห็นว่านึีเป็นโอกาสอันดีที่จะให้ประชาชนเข้าใกล้ศาสนจักร

หากผมเป็นอาจารย์ในแขนงวิชา Quantum Physics ผมจะดีใจมากที่มีกระแสนี้และจะขอบคุณ ทพ. สม อย่างสูงที่ได้ปลุกกระแสความสนใจนี้ และผมจะใช้โอกาสนี้ชัีกชวนเยาวชนให้มาสนใจเรียน Physics มากขึ้น แล้วเราควรจะเห็นนักเรียนเก่ง ๆ แย่งกันเรียนวิทยาศาสตร์ แทนที่จะแย่งกันเรียนวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (แพทย์ วิศวกรรม) เช่นเดียวกับที่ผมและเพื่อน ๆ เป็น ประเทศที่เจริญต้องการนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากในการสร้างความรู้ใหม่ นวัิตกรรมใหม่ ซึ่งสำคัญกว่าการสร้างวิศวกรที่เพียงแต่การนำเข้าเทคโนโลยี

ในฐานะที่อยู่ในแวดวงธุรกิจ ผมเข้าใจดีว่าการตลาดที่ได้ผลและสามารถสร้างกระแสไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากนั้นต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากและใช้เวลาและความพยายามมาก ซึ่งผมก็เชื่อว่า ดร. บัญชา ก็พยายามทำด้านอยู่จากการเขียนหนังสือ แต่การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างและจำนวนมากคงเป็นข้อจำกัดของ ดร. ยัญชา อย่างแน่นอน

ในเมื่อ ทพ. สม ได้ทำการตลาดนำร่องไปให้อย่างดีแล้วนั้น ทำไมนักวิทยาศาสตร์อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะไม่เกาะกระแสนี้เพื่อให้เราได้บรรลุเป้าหมายที่เราต้องการ

สาธุคุณบัญชาด้วยนะครับ

ผิดถูกช่วยกันท้วงติงอย่างสร้างสรรค์ด้วยจิตอนุเคราะห์

เช่นที่คุณบัญชาทำนี้ดีแล้ว ชอบแล้ว

..........

เว้นเสียแต่แจ้งในสัจจธรรม ในภุมิพระอรหันต์

ธรรมมะจึงจะไม่มีคลาดเคลื่อน ไม่เกิดสัทธรรมปฏิรูป

เรามันปุถุชน ย่อมมีความคลาดเคลื่อนในธรรมได้ ผิดพลาดกันได้

้เห็นความผิดพลาดแล้วท้วงติง ผิดแล้วแก้ไขตัวเอง ก้เป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญ

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในความรู้ของตนเกินไป ไม่ประมาทในธรรม

เป็นความประเสริฐ พระพุทธเจ้าก้สั่งเสียว่าอย่าประมาท

ธรรมทาน วิทยาทาน

ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ

"ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"

สวัสดีครับ คุณศาสนาเปรียบเทียบ

         ขอบคุณมากครับที่ชี้แนะแนวทางที่สร้างสรรค์ และเป็นการมองในเชิงบวกมากๆ

         อย่างไรก็ดี กรณีหนังสือของ ทพ.สม นี้ หลังจากที่ผมเฝ้าติดตามอยู่เป็นเวลากว่า 1 ปี โดยที่

         - ได้มีโอกาสสนทนากับผู้บริหารระดับสูงของอมรินทร์ คือ คุณเมตตา และคุณสุภาวดี

         - ผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น บรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ และตัวผู้เขียนเอง

         - ผู้อ่านที่ไม่รู้เท่าทันจำนวนมาก

         - ผู้อ่านที่รู้เท่าทัน (และรำคาญอย่างมาก)

         ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ถึง ณ ปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ (รวมทั้ง ฟิสิกส์นิวตัน) ได้สร้างความเสียหายแก่สติปัญญาต่อคนอ่าน (มองภาพรวม) มากกว่าสร้างสิ่งดีๆ

        กล่าวคือ ทำให้ผู้อ่านส่วนหนึ่งเข้าใจและมีทัศนคติต่อวิทยาศาสตร์ (และอาจรวมทั้งพุทธศาสนาด้วย) ผิดพลาด อย่างแนบเนียน

        มีผู้อ่านบางคนได้รับผลกระทบทางจิตไปแล้วด้วย (ขณะนี้กำลังได้รับการรักษาจากจิตแพทย์อยู่)

        ส่วนที่ว่าอาจารย์ทางฟิสิกส์จะดีใจที่มีคนจุดกระแสนั้น ขอเรียนให้ทราบว่าในความเป็นจริงแล้วกลับกันครับ!

        กล่าวคือ หากเป็นการจุดกระแสโดยนำเอาสิ่งที่ถูกต้องและน่าสนใจมานำเสนอ ก็จะเป็นเรื่องน่ายินดี (และสามารถทำได้)

        แต่กรณีนี้เป็นการจุดกระแสโดยการบิดเบือนและตีความตามอำเภอใจ (มากจนไม่น่าเชื่อ) ทำให้นักวิชาการที่ได้อ่านไปสักบทสองบท ก็เกิดความรำคาญ หรือบางท่านถึงกับรังเกียจ (จริงๆ นะครับ)

        อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ยังพอมีทางออกที่สร้างสรรค์อยู่บ้าง คือ นำเอาประเด็นต่างๆ มาวิเคราะห์อย่างละเอียด (คล้ายๆ กับกรณีที่มีผู้อ้างว่า "นิพพานเป็นอัตตา" แล้วท่านพระธรรมปิฎกได้เขียนหนังสือชี้แจงเป็นเล่ม หนามาก นั่นเองครับ) - แต่ถ้าจะทำแบบนี้ต้องลงแรง ลงพลังสมอง มากมายจริงๆ ครับ

        ลองคิดดูเล่นๆ นะครับว่า หากมีใครสักคนมาบิดเบือนข้อมูลส่วนตัวของท่าน (เช่น ประวัติครอบครัว หรือประวัติการทำงาน) อย่างมาก พอท่านไม่พอใจ ก็มีคำอธิบายว่า น่าจะเป็นการดีเพราะเป็นการจุดกระแสทำให้คนสนใจท่าน.... - นี่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นนะครับว่า ใครก็ตามที่รักในความรู้ที่ถูกต้อง ก็ไม่น่าจะชอบในในวิธีการเช่นนี้นักครับ

        ขอบคุณอีกครั้งครับที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

สวัสดีครับ คุณขมิ้นท่า

        ขอบคุณอีกครั้งครับ

        พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับ สัมมาทิฐิ อย่างสูงใช่ไหมครับ?

สวัสดีครับ คุณบัญชา

มีเรื่องทิ้งไว้ให้คุย :-)

่คำว่าสัมมาทิฐิในแบบที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

กับแบบที่เป็นความหมายของพระพุทธเจ้านี้ต่างกัน

ในแบบของคนทั่วไปก็ในลักษณะทำนองที่ว่า

เป็นความถูกต้องของข้อมูล หรือ ความถูกต้องตามหลักวิชาการต่างๆ

เรายืมคำว่าสัมมาทิฐิของบาลี มาใช้จนคุ้นเคยกันนั้น

สัมมาทิฐิที่แท้ หรือคำว่าสัมมาทิฐิที่ปรากฏอริยมรรคนั้น

หมายถึงความรู้แจ้งในอริยสัจ แบ่งปัน 4 ภูมิระดับซึ่งคุณบัญชาคงทราบ

ต้องภูมิอรหัตมรรคเท่านั้น จึงจะเรียกได้ว่า สัมมาทิฐิจริงๆ แท้ๆ

ส่วนพวกเราทั่วไปนี่ หรือประเด็นความถูกผิดของหนังสือ

ก็ไำม่อาจจะเรียกว่าเป็นสัมมาทิฐิได้ (ถ้าเอานิยามแบบอริยมรรคนะครับ)

ใกล้เคียงที่สุด เท่าที่ผมทราบ น่าจะใช้คำว่า "วิมังสา"

คือทำความเห็นของตนให้ตรง (ตามหลักต่างๆ)

เช่นหลักการทำต้มยำ ก้ต้องมีพริกแกงต้มยำ

จะได้เอาพริกเขียวหวานมาใช้ นี่เรียกว่าผิดหลักวิชา

ให้ข้อมูลเรื่องคำศัพท์นะครับ

แต่ผมเข้าใจคุณบัญชขาว่าหมายถึงบริบทที่ว่า "สัมมาทิฐิหมายถึงถูกต้องตามหลัก (อะไรก็ว่าไป)"

ยินดีที่ได้สนทนาด้วยครับ

ปล. หาเรื่องผุดกำเนิดไม่ค่อยเจอ

หากมีผู้นำมาเผยแพ่เป็นวิทยาทาน ให้เข้าใจกันง่ายๆ คงจะดีไม่น้อยนะครับ (ขออ้อมๆนะ)

สาธุครับ

สวัสดีครับ คุณขมิ้นทำ

       ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ในทางพระพุทธศาสนา

       คำว่า 'สัมมาทิฐิ' ที่ผมใช้นั้น มีความหมายทั้ง 2 แง่มุมอย่างที่อธิบายมานั่นแหละครับ

       ในแบบชาวบ้าน : คำนี้หมายถึงว่า ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ แบบชาวบ้านทั่วๆ ไป) ทำให้การนำไปเทียบเคียง ต่อยอด หรือตีความ ผิดเพี้ยนไปหมด ไม่น่าเชื่อถือ

       ในแบบพุทธศาสนา : การที่เขาอ้างว่าตนเองฝึกจิตมาดีแล้ว จนมาเขียนหนังสือสอนคนนั้น ผมก็ไม่เชื่อครับ เพราะหากฝึกจิตมาดีแล้ว เหตุไฉนจึงอ่านหนังสือไม่แตก แถมยังกล่าวร้ายต่อวิทยาศาสตร์โดยไม่มีเหตุผลที่ดีรองรับ (เช่น กรณีปืนกล) อีกทั้งยังเข้าใจเรื่องพื้นฐานทางพุทธศาสนาอย่างเช่น อนิจจัง ไม่ถูกต้องอีกด้วย (ลองไปอ่านหนังสือ 'ฟิสิกส์นิวตัน' ดูสิครับ)

       ลองไปอ่านความคิดของผู้เขียนดูนะครับ แล้วจะเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร

       ผมเชื่อว่าที่ฝึกฝนจิตมาอย่างถูกต้องตามหลักการทางพุทธศาสนา ไม่น่าจะมีพฤติกรรมเช่นผู้เขียนคนนี้ (ยังมีอีกหลายเรื่องครับ ไว้จะค่อยๆ ทยอยเขียนถึง)

สวัสดีครับคุณบัญชา ยินดีที่ได้สนทนานะครับ

 

ประเด็นที่ว่า ทำไมฝึกจิตมาดี ศึกษามาดี จึงมีความคลาดเคลื่อนในธรรม
หรือประเด็นทำนองที่ว่า รู้ไม่จริง แล้วชอบเอาไปพูด


ในการศึกษาพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านวางหลักสูตรมาแล้วว่า
ต้อง ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ

 

โดยเฉพาะว่าผู้เขียนก็เป็นนักวิทยาศาสตร์
การเรียนวิทยาศาสตร์ มันก็เป้นปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ ในตัวอยู่แล้ว
กล่าวคือ หนังสือเรียนนั้นเขาก็แจกแจงความรู้ที่ถูกต้องเอาไว้หมดแล้ว
แต่ก็้ยังบังคับให้เราเข้าห้องแล็บเพื่อทดลองดู ว่าที่หนังสือพูด มันจริงไหม
เมื่อทดลองแล้ว มาสอบทานเทียบกับหนังสือ ก้จะมีความเข้าใจอย่างแตกฉานในที่สุด


ความรู้ประเภท"ประสบการณ์ตรง"นี้เอง คือ ความรู้ขั้นปฏิเวธ
หรือที่เรียกว่า สันทิฐิโก , ปัตจัตตัง

แต่ปัญหาของหนังสือนี้ คงจะเป็นว่า ปริยัติก็ไม่แตก แต่ด่วนเข้าห้องแล็บก่อน
หรือไม่เข้าห้องแล็บเลยแล้วนั่งนึกๆเอา
ผลการทดลองเลยเพี้ยนๆไป ปฏิเวธไม่จริง

คนสมัยนี้ ที่ธรรมะกำลังบูม แต่ว่ากลับ"พูด"กันมากกว่า"ทำ"
หลวงพ่อ"ชยสาโร" ท่านเรียกตลกดี ท่านเรียก"ชาวพุทธ"พวกนี้ว่า "ชาวพูด"
คือพูดกันมาก พูดกันเก่ง แต่หาคนปฏิบัติให้รู้จริงจริงนั้นมีน้อย
อาศัยจำ-แล้วคิด-แล้วพูด  ่ไม่ใช่ จำแล้ว-เอามาปฏิบัติ-จนรู้จริง-แล้วค่อยพูด

เมื่อแรกผมหันมาสนใจศาสนาพุทธ ผมก็เหมือนผู้เขียนนี่แหละครับ
พิมพ์เดียวกัน ชาวพูดเหมือนกัน และก็สังเกตุว่าคนประเภทเดียวกันนี้มีมาก

 

สังเกตุต่อไปอีกว่า พอเข้ามาศึกษาใหม่ พบเห็นอะไรแปลกประหลาดเยอะ พระพุทธศาสนานี้มีอะไรเหนือเหตุผลเยอะ
เราที่คุ้นเคยในโลกของเหตุผล พอมาเจอแล้วเราพยามจะโยงมันให้เป็นเหตุผล

ราเคยชิน Perception  แบบวิทยาศาสตร์มาอย่างนั้นทั้งชีวิต
พอมาเจอคำว่า นรก สวรรค์ นิพพาน และเื่รื่องพิศดารทั้งหลายในพระคัมภีร์ปั๊บ
เราก้จะเอาวิญญานนักวิทยาศาสตร์มาเลย เอามาพิสูจน์

แต่ปรากฏว่าไม่ได้ ไม่ใช่  ยิ่งพยามกดให้มันเข้าล็อกวิทยาศาสตร์
ยิ่งขัดแย้ง ยิ่งวิปลาสไปใหญ่

คุณบัญชาลองนึกดูสิครับ ว่า เราจะหา existance ของ จิต ได้อย่างไร
จิตเป็นพลังงานหรือสสาร หรือถ้ามันเป็น "ผุดกำเนิด" เราจะพิสูจน์อย่างไรในแบบของวิทยาศาสตร์

สุดท้ายเราก็ไปใช้วิธีในกาลามสุตร เช่นเทียบเคียง คะเน ตรรกะ
ซึ่งไม่มีวิธีใดพิสูจน์ความมีอยู่ของจิตได้

แต่ปรากฏว่า นั่งสมาธินี่แหละ ถึงจะเข้าถึงจิตได้ ศึกษาปรากฏการณ์ของจิตได้
ซึ่งมันหลุดกรอบวิทยาศาสตร์ไปเลย

ถ้าคุณบัญชาอยากจะทดลองว่า ปรากฏการณ์ทางจิต
ที่ override วิทยาศาสตร์ไปเลย เช่น "การอ่านใจคน" มีอยู่จริงไหม
ลองไปที่วัดสวนสันติธรรม ศรีราชา ชลบุรี ไปปฏิเวธให้เห็นจริงๆเลยว่า
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโชนี้ อ่านใจคนได้จริงไหม อ่านได้แค่ไหน
อ่านเป้นภาพ อ่านเป้นคำๆ หรืออย่างไร

ไปปัตจัตตัง สันทิฐิโกกับตัวเองเลยว่า
กระบวนวิธีในการศึุกษาจิตของพระพุทธเจ้านี้ มีจริงไหม
ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้าสักแต่พูดคนเดียว แล้วไม่มีคนทำตามได้ ไปดูเลยสักตัวอย่างหนึ่งของเรื่องพิศดารเช่นว่า จิตมีสมรรถนะในการอ่านจิตผุ้อื่นได้นั้น มันมีจริงไหม มาได้ยังไง เป้นอย่างไร

เนียะครับ ผมถึงเล่าให้ฟังแต่แรกว่า ความรู้แบบพระพุทธเจ้านี่มันไม่ใช่"เพียงแค่"วิทยาศาสตร์"
แต่มีความเป้นศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผนเฉพาะของตน

หนังสือนี้ก็เป้นความพยามที่จะ ทำให้พระพุทธศาสนา = วิทยาศาสตร์
มันเลยมีแต่ข้อผิดพลาดเต็มไปหมด

แล้วโดยเฉพาะว่า ไม่เข้าใจอย่างแท้จริงในศาสตร์ทั้งสอง
แล้วพยามจะผสมกันให้มันลงบล๊อกเดียวกันให้ได้ มันเลยมีแต่ความผิดพลาด

ผมอยากจะพูดว่า วิทยาศาสตร์เป้น sub set ของพระพุทธศาสนา แต่มันก็ไม่ใช่อีก
มันแค่มีกระบวนการบางอย่างที่ intersect กันเท่านั้น

ใช้เครื่องหมาย = ไม่ได้เลย

..............

เวลาเราจะเรียนหนังสือนะครับคุณบัญชา เรามักจะได้รับการชี้แจงเรื่อง outline ของการศึกษาก่อน ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร มีโครงสร้างอย่างไร "มีขอบเขตอย่างไร"

พระพุทธศาสนาในกำมือของสังคมเรานี้ ก็มีจุดอ่อนตรงนี้แหละครับ
คือไม่มี outline

 

ตามมีตามเกิด ตาดีได้ ตาร้ายเสีย

คนที่หันมาศึกษาพุทธศาสนาใหม่ๆ เลยต้องงมตั้งนาน กว่าจะจับต้นชนปลายถูก จึงมีผู้พลาดอยู่บ่อยๆ

กว่าจะรู้ว่าที่ตัวศึกษาอยู่นี้ มันเป็นใบไม้นอกกำมือพระพุทธเจ้า
นอก course outline

แม้ว่ามันจะอยู่ใน universe แต่มันอยู่นอก set ที่ชื่อว่า"พุทธธรรม"
เรื่องที่่ผู้เขียนพยามเข้าใจเรื่องโลก จักรวาล อะไรทำนองนี้

ใครพยามอธิบายเรื่องโลก จักรวาล ด้วยพระพุทธศาสนานี้
ก็พึงทราบว่า "ไม่ใช่ขอบเขตของพุทธศาสนา"


ในอจินไตยสูตร หรือ เรื่องที่(มนุษย์)ไม่ควรขบคิด บอกไว้ชัดว่า "โลกวิสัย"
หรือขยายความว่า พุทธธรรมนั้น ไม่สนใจเรื่องที่มาของโลก จักรวาล อะไรทำนองนั้น


เพราะศาสนาพุทธเรา มีจุดประสงค์เดียวคือ "ทำให้เราพ้นทุกข์"
นอกเหนือจากนี้ เราไม่สนใจตอบ


แต่คนเขียนเขาอาจจะไม่ทราบ course outline เลยพลาดไป

 

ถ้าเขาคิดแก้ไขก็น่าอนุโมทนานะครับ
และเพราะมีกัลยาณมิตรอย่างคุณบัญชา ช่วยแยกแยะให้ชัดเจน
ยิ่งน่าอนุโมทนาขึ้นไปอีก


ควมเข้าใจผิด ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องเสียประโยชน์แต่อย่างเดียว
เพราะถ้าเราชำระกันให้บริสุทธิ์แล้ว
ผู้ที่เขาจะเผอิญซ้ำรอยประวัติศาสตร์เดิมก็จะได้ทราบว่าตนนั้นเข้าใจผิด
และมีคนเข้าใจผิดไปก่อนหน้านี้แล้ว แล้วได้รับการชำระแล้ว
ก็ช่วยให้เขาประหยัดเวลา ไม่เปลืองตัว เปลืองใจ

บุญใหญ่นะครับคุณบัญชา ผมยินดีมากที่คุณบัญชาช่วยเสียสละเรื่องนี้
แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาท อาศัยศีลเป้นอาภรณ์
พยามให้บริสุทธิ์ แล้วทานบารมีนี้จะช่วยให้คุณบัญชาชื่นใจทีหลัง
อานิสงค์ของศ๊ลบริสุทธิ์นี่เหลือเชื่อจริงๆครับ แต่ก้เป็นเหตุเป้นผลให้เข้าใจได้



สาธุอนุโมทนาครับ

 

 

 

ผมว่าเรื่องนี้ควรเอาขึ้นโต๊ะนั่งเถียงกันนะ..จะให้ข้อยุติเพราะเป็นเรื่องสำคัญทางศาสนาด้วย ผิดพลาดหรือไม่ผิดพลาดอย่างไร ความจริงอยู่ตรงไหน จะได้เข้าใจกัน ผมว่าพุทธก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แน่นอน ขึ้นอยูู่กับการอธิบาย ต้องมีความรู้ทั้งสองด้านคือวิทยาศาสตร์และพุทธ

สวัสดีครับ ผมเพิ่งมาอ่านครับพอดีกำลังสนใจเรื่องพระพุทศาสนาครับ จึงขออนุญาติเรียนถามท่าน. ขมิ้นทำ ว่าผมจะเริ่มศึกษาธรรมอย่างไรดี คือขอ outline ในการเรียนพระพุทธศาสนาครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ จากการอ่านข้อความที่แสดงความคิดเห็นทั้งหมด เห็นด้วยกะ คุณ ขมิ้นทำ ค่ะ โดยปกติ เคยปฎิบัติธรรมและเข้าใจคนที่ปฏิบัติที่รู้เห็นได้ด้วยตนเอง บางครั้งก็ไม่สามารถอธิบายเป็นลายลักษณ์อักษรได้ทั้งหมด เพราะมีบางอย่างที่อธิบายไม่ได้จริง ๆ

โดยส่วนตัวชื่นชมงานเขียนของคุณหมอสม ที่พยายามจะอธิบายให้ได้มากที่สุด อาจจะไม่ตรงทั้งหมด แต่ดิฉันอ่านแล้วก็ไม่ได้ใส่ใจกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์มากมายนัก เพราะไม่ได้คิดจะเอาไปอ้างอิงกับงานทางวิชาการอยู่แล้ว ซึ่งงานระดับนั้นคงต้องหาแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้และมาจากต้นฉบับอยู่แล้ว

เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่จุดประกายธรรมะในใจ ทำให้อยากศึกษาค้นคว้ามากกว่านี้ สนใจในพระพุทธศาสนา และคำสอนของพระพุทธเจ้ามากขึ้น

สวัสดีครับ คุณ Cateye

        ยินดีด้วยครับที่คุณพบข้อดีของหนังสือเล่มนี้

        ขออวยพรให้ประสบความเจริญในธรรมนะครับ

        อย่างไรก็ดี ข้อเสียควรจะได้รับการทักท้วงและแก้ไขครับ เพราะแต่ละคนนั้นมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ และจริต แตกต่างกันครับ

ผมก็เพิ่งอ่านจบ

หนังสือเขาก็ดีนะ

หมวดศาสนา /ธรรมะประยุคต์ เขียนว่าวิทยาศาสตร์ตรงไหน

พระพุธทเจ้าทรงเห็นมา2000กว่าปี คำสอนต่างๆก็ยังเป็นความจริงของมนุษย์เหมือนเดิม

วิทยาศาสตร์เพิ่งจะมาก้าวหน้าแค่ไม่กี่ร้อยปี ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

มีกฏของ นิวตัน ต่อมา ไอไสตก็พบกฏใหม่เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆได้

ถ้าวันนึงมีใครพิสูจอะไรได้ใหม่โดยสามารถลบล้างอะไรที่คุนรู้หรือเชื่อมาโดยตลอด คุนจะคิดว่าตัวเองผิดมั้ย

ถ้ายึดติดกับอะไรมากไปมันจะกลายเป็นทุกข์

ผ้าผมไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมก็คงไม่อยากเรียนฟิสิก และไม่คิดฝึกสมาธิ

หลายคนคงรู้สึกแบบเดียวกับผม

คุณไม่แสดงตน

         ขอบคุณครับที่แสดงความคิดเห็น

         'หนังสือดี' ของผมมีมาตรฐานว่า

             - ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ (หากจะมีผิดพลาดบ้าง ก็ถือเป็นปกติวิสัยของการทำหนังสือ)

             - มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อสิ่งต่างๆ ที่อ้างถึง ที่สำคัญคือ ไม่เหยียบย่ำภูมิปัญญาของมนุษย์

             - ไม่ยกตนข่มท่าน อวดอ้างความวิเศษของตน (ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม)

         ตามเกณฑ์ดังกล่าวนี้ หนังสือที่กล่าวถึงไม่ผ่านเลยสักข้อเดียวครับ

 

สวัสดีครับ

         พุทธศาสนามีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์แน่นอนครับ เพราะทั้งคู่สนใจโลกและชีวิต

         แต่หนังสือเล่มนี้ บิดเบือนวิทยาศาสตร์ในระดับที่ทำให้เกิดข้อสงสัยได้ว่า ผู้เขียนปฏิบัติธรรมมาถูกทางแล้วจริงหรือ ทำไมจึงสูญเสียความสามารถในการอ่านจับประเด็นพื้นฐานไปอย่างมาก จนนำเสนอผิดเพี้ยนได้เพียงนี้?

สวัสดีครับพี่ชิว

อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งเนื้อความและความเห็น...เดย์รู้น้อยมากๆในเรื่องวิทยาศาสตร์ แต่ชอบที่เรามีความเห็นต่างกันครับ ^^ และยินดีเอามาแลกเปลี่ยนกันอย่างปัญญาชนเช่นนี้

^_^ เข้าใจจากคำถามนั้นแล้วครับพี่ชิว ที่แท้ก็เรื่องนี้นี่เอง อิอิ

เดย์ 1980

       จริงๆ ไม่ได้มีเวลาพูดเท่าไรครับ เอาไว้แฉในงานอื่นดีกว่า

       เรื่องที่ผู้เขียน & สนพ. นี้ทำไปและทำอยู่นี่น่ารังเกียจมากครับ (ถ้าหากเข้าใจประเด็นทางวิชาการ) และไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ขนาดนี้

       พี่สงสัยเหลือเกินว่า บางคนที่อ้างว่าปฏิบัติธรรมจนบรรลุ (อะไรสักอย่าง) ทำไมถึงได้เพี้ยนขนาดนี้....

       ไม่อยากมายุ่งกับเรื่องลวงโลกเท่าไรครับ - ชีวิตนี้ เลี้ยงลูกให้ดี ดูแลครอบครัว + ดูเมฆ + พับกระดาษ + คุยกับคนที่คุยถูกคอ ก็น่าจะพอไปไหวแล้ว ^__^

555 พี่ชายครับ ประโยคสุดท้ายนี่แหละพี่ชิว Family man ตัวจริง ^^

อยู่ก๊วนเรามีความสุข อารมณ์ดีไปวันๆ สร้างสรรค์เสียงหัวเราะและรอยยิ้มให้กันและกัน :-P

พี่ชิวเสนอเรื่องราวแย้งไปนั้นน่ะเจ๋งแล้วครับพี่ ในฐานะนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่รักความจริง ;)

ถ้าเดย์รู้เรื่องมากกว่านี้ต้องคุยสนุกแน่ๆเลยครับ แต่เท่านี้ก็ทำให้เผื่อใจได้กับหลายๆเรื่อง และไม่เชื่อตามที่เค้าชวนไปก่อน อิอิ

ขอบพระคุณมากๆครับพี่ชิว

เดย์ 1980 - หนุ่มผู้หลงใหลอาทิตย์อัสดง (ชื่อยาวจริงวุ้ย...)

       ไว้ถ้าเจอกัน พี่จะ "แฉ" ให้ฟังก็แล้วกันครับ ทั้งคนเขียน ทั้ง สนพ. นี้ด้วย

       "คุน-นะ-พาบ" เปี่ยมล้นจริงๆ นะเออ หนังสือชุดนี้

สวัสดีครับ

ผมใคร่ขอเสนอความคิดเห็นเล้กน้อย ผมว่าเรายึดติดให้วิทยาศาสตร์มากไปไหม เพราะวิทยาศาสตร์ก็สร้างมาจากพื้นฐานต้นแบบ บางคนวิจัย ทำการทดลองออกมากก็ผิดบ้างถุกบ้างไม่ตามเรื่องเราก็รับเอาของเขามาสอน ผมเป็นคนหนึ่งที่อ่านหนังสือตะวันตกมาก็มาก คร.ที่เก่งๆในเมืองไทย ที่อวดอ้างตนที่แท้ก็เอาแนวคิดจากหนังสือที่เขาเขียนมาแปลเป็นภาษาไทยและเขียนขึ้นอีกต่อหนึ่ง อย่างนักวิทยาศาตร์ในไทยก็จับเอาทฤษฎีของเขามาทำการทดลองและยืนยันในตัวทฤษฎี แต่อันที่จริงแล้วเราไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าทฤษฎีที่เรากำลังงมหาอยู่นั้น มีจุดประสงค์อันใด ตอบง่ายๆ คือ เราไม่ใช่เจ้าของทฤษฎี และผู้ทดสอบเองก็ไม่ใช่เจ้าของทฤษฎีตัวจริง ความคลาดเดลื่อนนั่นมีสูงมาก ด้วยเหตุนี้อย่าไปยึดติดในทฤษฎี ควรยึดในสิ่งที่เราเห็นด้วยปัญญาของเราเอง

วิทยาศาสตร์เป็นการแก้ปัญหาที่เป็นหนทางของการเกิดทุกข์โดยแท้ (ยิ่งดิ้นยิ่งรัด) มนุษย์พยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ เพื่อสวัสดิภาพในการดำรงชีวิตบนโลกใบนี้ เท่านั้น เมื่อตายไปลูกหลานเหลน ดหลน ก็ต้องมารับชะตากรรม แก้ปัญหาไปไม่มีวันหยุด ผมคนหนึ่งที่ไม่เชื่อในเรื่องวิทยาศาสตร์เท่าไรหนัก ว่ามันให้ประโยชน์เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติได้อย่างแท้จริง คำสอนของพระพุทธองค์ต่างหากคือหนทางที่ถ่องแท้

(ต่อ) เฉพาะเราจึงไม่ควรว่าใครถูกใครผิด เพราะสิ่งที่คุณรู้มาจาก ข้อมูลมือสอง ไม่ใช่สิ มือล้าน (ที่ไม่ใช่เจ้าของทฤษฎี) อาจจะผิดก็ได้ ที่ข้อมูลผิดเพราะเราเอาตัวเองไปจับ เหมือนฝรั่งคนหนึ่ง(เรื่องจริง) มาศึกษาดนตรีพื้นบ้านอีสาน และมาบอกว่าแคนมีเสียงที่เพื้ยน ผมอยู่ในเหตุการณ์นั้นเลยบอกไปว่า คุณใช่อะไรมาจับว่าแคนเพี้ยน เขาก็เอาเครื่องวัดเสียง ที่ผลิดจากบ้านเขานั่นล่ะมาจับวัด ผมเลยบอกไปว่า แคนบ้านเราเสียงก็เป็นเช่นนี้ล่ะ เครื่องวัดเสียงของคุณนั้นล่ะที่เพี้ยน คือ เพี้ยนจากเสียงแคนของเรา รวมถึงเครื่องดนตรีในวัฒนธรรมของคุณด้วยเพี้ยนจากเสียงของเรา

เพราะเฉพาะอย่าเชื่อในตำราฝรั่งมากนัก ควรใช้วิจารญานด้วยปัญญา

สวัสดีครับ คุณ sno

         ขอเรียนตามตรงว่า คุณกำลังจับประเด็นผิดครับ

         สมมตินะครับว่า มีใครสักคนอยากจะเปรียบเทียบพุทธศาสนา กับ องค์ความรู้อะไรสักอย่าง (ไม่จำเป็นต้องเป็นวิทยาศาสตร์) โดยอ้างว่า

                                "นิพพานเป็นอัตตา"

          คุณคิดว่า ผู้รู้ทางพุทธศาสนาควรจะเข้ามาแก้ไขไหมครับ?

          หรือจะอ้างว่า ไม่เห็นเป็นไร เขามีสิทธิตีความพุทธศาสนาอย่างไรก็ได้....

ลองคิดดูนะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

            เพื่อให้ชัดเจนนะครับ

            บันทึกนี้ไม่ได้บอกว่า วิทยาศาสตร์ถูกต้องเสมอ

            แต่ต้องการบอกว่า หากใครก็ตามจะนำความรู้ของผู้อื่น (ไม่ว่าจะถูกหรือจะผิด) ไปอ้างอิง ไปใช้ หรือแม้แต่ไปดัดแปลง ก็ควรเคารพความคิดตั้งต้นของผู้นั้น

            ไม่ใช่คิดเอง เออเอง ตามอำเภอใจ เช่น อ้างว่า ไอน์สไตน์บอกว่า "........" หรือ ทฤษฎีนั้นบอกว่า ".........." โดยไม่เคยเข้าใจประเด็นจริงๆ

            หากใครคิดว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญ ก็ลองคิดถึงว่า ถ้ามีใครสักคน นำความคิด หรือคำพูดของตนเอง ไปใส่พระโอษฐ์ของพระพุทธองค์ โดยอ้างว่า

            พระพุทธองค์สอนว่า "........." หรือ พุทธศาสนากล่าวว่า "........." ซึ่งไม่เป็นเรื่องจริง

            คนที่เป็นชาวพุทธจะยอมไหมครับ?

 

            หากบาปกรรมมีจริง การบิดเบือนความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม อันจะทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อผิดๆ เพี้ยนๆ ไป โดยที่เจ้าตัวและผู้สนับสนุนรู้ตัวแล้ว....น่าจะเป็นบาปไหมครับ?

           

สวัสดีครับ

ข้อความ 134. ชัดเจนครับ เป็นบาปแน่ๆ ครับ ผิดศีลข้อที่ 4 และยิ่งทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนยิ่งบาปหนักไปอีก ผมต้องขอโทษด้วยที่ผมอาจจะจับประเด็นผิดไป ผมไม่มีอคติกับแนวคิดนี้เลย ผมขอเรียนด้วยความเคารพว่า การเข้าใจผิดนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เพียงคำประโยคเดียวสั้น แต่สามารถตีความได้หลายใจความ ขึ้นอยู่ที่ว่าใครเป็นผู้ตีความ เพราะฉะนั้น การสรุปประเด็นให้ชัดเจนแบบนี้ ก็คงไม่มีใครตีความผิดๆ แบบผมอีก

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณ sno

        ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียนอีกครั้ง ^__^

        กรณีที่กล่าวถึงในบันทึกนี้ ผมถือว่าเป็นประเด็นสำคัญสำหรับสังคมไทยครับ เพราะผู้เขียนและสำนักพิมพ์ กำลังชี้นำคนเป็นจำนวนมากให้เข้าใจผิดอย่างมห้นต์

        ไม่ได้หมายความว่า พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ไปด้วยกันไม่ได้นะครับ

        แต่หมายความว่า หากจะเปรียบเทียบ 2 เรื่องนี้ ก็ต้องทำให้ถูกต้อง ไม่บิดเบือนแม้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งครับ

ขอบคุณครับ

สุดยอดเลยครับพี่ชิว

ขอคารวะ และมอบตัวเป็นศิษย์ครับ...

น้องหนานเกียรติ

         กรณี 'ไอนสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น' นี่ ทำเอาพี่เหนื่อยใจมากๆ ครับ

         เพราะเจอ "ความด้าน" และ "ความดื้อด้าน" (ที่เข้าใจได้...เพราะผลประโยชน์เยอะ)  

         ทำให้ได้เห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมว่า

         "บางคนสร้างภาพต่อสังคมว่าปฏิบัติธรรม แต่เอาเข้าจริงแล้ว....กิเลสหนาไม่ต่างจากคนปกติครับ"

         สังคมไทย....ขนาดคนที่รักการอ่าน....ยังน่าห่วงเลยนะครับเนี่ย!

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมก็เป็นอีกคนที่อ่านหนังสือเล่มนี้จบนานแ้ล้วเหมือนกันครับ

พอมาเจออย่างนี้ก็ตกใจครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ

แต่สงสัยว่าตอนนี้ผมยังเห็นวางขายอยู่เลยครับ ติดอันดับขายดีด้วยครับ (อิอิ)

สวัสดีค่ะพี่ชิว...

ตามมาอ่านเก็บประเด็นที่ยังสงสัยค่ะ...

ความคิดเห็นของดาว ไม่ว่าจะวิทยาศาสตร์หรือพุทธศาสนา ก็ล้วนแต่พยายามที่จะอธิบาย "ธรรมชาติ" ....การจับสองอย่างมาชนกันก็เป็นสิ่งดี แต่ข้อมูลควรที่จะถูกต้อง แม่นยำ และไม่บิดเบือนค่ะ

ขอบคุณนะคะ...แล้วจะตามอ่านบันทึกอื่นๆ ต่อค่ะ

กอล์ฟ

          หนังสือเล่มนี้ถ้าอ่านแบบไม่คิดอะไร (หรือไม่รู้อะไร) ก็จะเพลินๆ ไปครับ

          แต่ถ้าอ่านแบบรู้ทัน จะน่าตกใจและน่ารังเกียจมาก เพราะผู้เขียน "ดูถูก" และ "เหยียบย่ำ" ความรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาด้วยความเพียรพยายามต่อเนื่องกันมานานนับร้อยนับพันปี

          น่าเป็นห่วงสังคมไทยจริงๆ ครับ

น้องดาวฟ้า

          ไว้มีโอกาสคุยกันยาวๆ คราวหน้า จะเล่ารายละเอียดให้ฟังแล้วกันครับ มีแง่มุมที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ (ไม่เฉพาะพุทธ วิทย์ แต่รวมไปถึงการตลาด และจริตของคนที่สร้างภาพต่อสังคมว่า "ปฏิบัติธรรม" ด้วยนะเออ....)

สวัสดีครับ ดร.บัญชา ยินดีที่ได้รู้จักนะครับ

ผมรู้จัก ดร.บัญชา จากงานเขียนหลายชิ้น แต่ไม่ได้ซื้อมาอ่านซักทีครับ เพราะไม่ค่อยมีเวลาด้วย ได้แต่ยืนเปิดอ่านบ้างบนแผงหนังสือ ^^"

คือ ผมได้อ่านความเห็นของคุณ fallingangels แล้วนึกถึงปัญหาในการเข้าถึงวิชาวิทยาศาสตร์ อย่าง ฟิสิกส์ กับ คณิตศาสตร์ ขึ้นมาได้ครับ เนื่องจากผมเองก็คิดถึงปัญหาแบบนี้มานานแล้ว (จริงๆแล้ว ศาสตร์ที่มีปัญหาในการเข้าถึงมีหลายวิชาเหมือนกันนะครับ เช่น เศรษฐศาสตร์ ปรัชญา นิติศาสตร์ ก็ถูกคนเข้าใจผิด และเอาไปอ้างผิดๆเหมือนกัน) อยากแนะนำอะไรบางอย่างนิดหน่อยนะครับ แต่ผมอยากจะเน้นไปที่ระดับโรงเรียน ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นของทั้งคณิตศาสตร์และฟิสิกส์

1. สำหรับวิชาฟิสิกส์ ผมว่า นอกจากปัญหาในการเข้าถึงจะเป็นเพราะภาษาแล้ว ผมคิดว่า อาจเกิดจาก"การยกตัวอย่าง"และ"ความน่าสนใจหรือความน่าสนุกในการเรียนของวิชา"ก็เป็นได้ครับ

สำหรับ ตัวอย่างที่ใช้ในการอธิบายกฎ ทฤษฎี หรือแนวคิดต่างๆ มัน"นำเข้า"มากไปนะครับ หนังสือเรียนน่าจะยกตัวอย่างใกล้ๆตัวเด็กให้มากขึ้นหน่อย ให้ตรงกับชีวิตประจำวันของคนไทยให้มากขึ้นนะครับ ผู้เรียนอาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

สำหรับประเด็นความน่าสนใจหรือความสนุกสนานในการเรียนนี่ ผมว่าเป็นสำคัญกับทุกวิชา การเรียนวิทย์ก็เหมือนกัน วิชาวิทยาศาสตร์ควรเน้นความสนุกที่ได้จากการทดลองหรือการพิสูจน์ทฤษฎี ผมจบโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่งครับ ผมไม่ทราบว่า โรงเรียนใหญ่ๆในกรุงเทพฯมีการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร อุปกรณ์ดี แล้วทำให้เด็กรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนวิชาเหล่านี้บ้างไหม? แต่รูปแบบการเรียนการสอน หรือ "ระบบ" ในการเรียนการสอนวิชาวิทย์ในโรงเรียนผม มันไม่ชวนให้เด็กสนใจวิชาเหล่านี้เลย นั่นคือ ถ้าครูใจดี มีอารมณ์ขัน อธิบายดี เด็กก็เข้าใจ ถ้าครูไม่เล่นด้วย หรือมีบุคลิกแข็งๆ ก็เรียนกันไปแบบแกนๆ ยิ่งถ้าครูไม่เตรียมการสอน หรือเตรียมการสอนมาไม่ดี นั่นยิ่งแล้วใหญ่เลย จะเป็นไปได้ไหมที่จะพัฒนา"ระบบ"หรือ"รูปแบบ"การเรียนการสอนให้วิชาเหล่านี้น่าสนใจมากขึ้น จะได้ไม่ต้องพึ่งความสามารถด้าน Entertainment ของครูผู้สอนให้มากจนเกินไป เพราะผมเข้าใจนะครับ ว่าคนเราไม่สามารถอารมณ์ดี หรือสอนสนุก หรือเอนเตอร์เทนเก่งได้ทุกคน :D (แต่เรื่องจะพัฒนารูปแบบ หรือระบบกันอย่างไรนั้น ตอนนี้ ผมคิดไม่ออกนะครับ ขออภัย แฮ่ๆ)

อย่างไรก็ตาม ผมเองก็จบ ม.ปลายมานานมากแล้ว กลับไปโรงเรียนเก่าทีนึงก็ไปปั่นจักรยานเล่น ไม่ก็ขับมอเตอร์ไซค์ชมโรงเรียนเล่นๆ ยังไม่ได้ถามน้องนุ่งเลยว่า การเรียนการสอนเป็นยังไงบ้าง แต่ก็เห็นว่า มีการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทย์อยู่นะครับ น่าจะไปได้ไกลกว่าสมัยผมพอสมควร :)

2. สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่มีเหตุมีผลนั้น ถูกแล้วครับ แต่ปัญหาก็คือ มีไม่กี่คนเท่านั้นเองที่ทราบว่า เราจะใช้เหตุผลแบบนี้ไปเพื่ออะไร ในขณะที่เราสามารถใช้เหตุผลด้วยวิธีต่างๆที่ง่ายกว่านี้ได้ อาทิเช่น การอธิบายด้วยภาษาพูด เช่น "ฉันถูกแม่ตี ฉันเลยเจ็บก้น" เป็นต้น ผมคิดว่า คำถามหลักของเด็กหลายๆคนที่เรียนคณิตศาสตร์ก็คือ จะเรียนไปทำไม และ ถ้ามันเป็นวิชาที่มีเหตุผลจริงๆ จะใช้เหตุผลแบบนี้ทำไม แล้ว"เหตุผล"ที่เราจะใช้"เหตุผล"เหล่านี้ล่ะ คืออะไร อยู่ตรงไหน?

ในความเห็นของผม ผมว่าปัญหาตรงนี้ เกิดจากการที่คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เป็นนามธรรม ซึ่งถึงแม้คณิตศาสตร์จะสามารถประยุกต์ใช้กับศาสตร์หลายสาขาได้ (แม้กระทั่งสายสังคมศาสตร์อย่างเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น) แต่ด้วยการที่เป็นวิชานามธรรม จึงทำให้การสอนคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ยากแก่การอธิบาย ว่าจะใช้เหตุผลที่ดีแต่เข้าถึงยากโคตรๆแบบนี้ไปทำไม ในเมื่อมนุษย์สามารถแสดงเหตุผลได้หลายวิธี?

แต่ผมคิดว่าแก้ได้ โดยการยกตัวอย่างให้เด็กฟัง ว่าทฤษฎีคณิตศาสตร์ที่จะเรียนจะสอนกันต่อไปนี้ มีประโยชน์กับวิชาใดได้บ้าง หรือจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานอาชีพด้านใดได้บ้าง หรือนำมาใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างไรบ้าง นอกจากงานบวกเลข ลบเลข? เพราะเด็กส่วนใหญ่ อาจจะจินตนาการไม่ออก เพราะหลายๆทฤษฎี ดูยากและลึกลับมาก อย่างวงกลม 1 หน่วยนี่ตัวดีเลย ผมงงกะมันมากตั้งกะ ม.ปลายแล้ว (หรือผมคิดไปเองก็ไม่รู้นะ :D) เพิ่งจะมาเข้าใจตอนเรียน ป.ตรี นี่เอง (ผมจบ ป.ตรี เศรษฐศาสตร์ ครับ ตอนนี้ กำลังเรียน ป.โท ด้านสิ่งแวดล้อม)

นอกจากนี้ ผมว่าควรจะต้องมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยนะครับ เราน่าจะต้องเรียนรู้ความหมาย รวมไปถึงการทำงานของสัญลักษณ์แต่ละประเภท และข้อจำกัดของมันด้วยนะครับ เช่น differential ใช้ทำอะไร ไอ้ diff นี่ ผมว่าเด็กมัธยมหลายคนที่เริ่มเรียน จะงง ว่าจะเรียนทำไม หารเอาไม่ได้เหรอ ลบเอาไม่ได้เหรอ เพราะตามความเข้าใจของผม ผมว่า differential ก็สำคัญไม่แพ้การบวกลบคูณหารธรรมดา แต่ดันเข้าใจยากกว่า (ในสายวิชาเศรษฐศาสตร์ เราใช้ diff เยอะมากครับ ไม่แพ้การใช้กราฟเลยทีเดียว อันที่จริง เราจะใช้คู่กันครับ โดยการคำนวณหาความชันของ slope หรือการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่ต้องการศึกษา ว่ามันจะเปลี่ยนแปลง (เพิ่มหรือลด) ไปกี่หน่วย ฯลฯ) ถ้าเด็กเข้าใจได้ ว่าใช้สัญลักษณ์เหล่านี้ไปทำไม ทำไมไม่ใช้สัญลักษณ์เหล่านี้แทนล่ะ หรือจะเอาวิธีการคำนวณแบบนี้ ด้วยสัญลักษณ์แบบนี้ไปใช้กับงานไหนได้บ้าง ผมว่ามันน่าจะดีมาก อาจทำให้เด็กเข้าใจคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น แล้วคณิตศาสตร์ก็อาจไม่เป็นยาขมอีกต่อไป เหนือสิ่งอื่นใด! ต้องทำให้เด็กทำใจให้สบายๆด้วย ประมาณว่า ทำใจให้สบายๆ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ไม่ใช่ของยาก มันก็แค่ตัวย่อ! (ผมคิดอย่างนี้ บ่อยมากเลยครับ ตอนเรียนเศรษฐศาสตร์ตอน ป.ตรี ทำให้เรียนจบออกมาได้ ^^ เนื่องจากเหตุผลหนึ่ง ที่นักเศรษฐศาสตร์เอาคณิตศาสตร์มาใช้ในวิชา Econ ก็เพราะ มันสามารถลดเวลาในการอธิบายทฤษฎีต่างๆได้ เพราะทฤษฎีและการอธิบายทฤษฎีแบบเศรษฐศาสตร์ ก็มีวิธีอธิบายแบบเดียวกับคณิตศาสตร์นั่นเอง - มันเหมือนกับ ลักษณะการบรรยายในคัมภีร์อะไรซักอย่างของอินเดียโบราณนี่แหละครับ ที่เค้าพบว่า มีลักษณะคล้ายกับวิธีการอธิบายสูตรทางคณิตศาสตร์น่ะ ผมจำชื่อคัมภีร์เล่มนั้นไม่ได้ซะแล้ว)

โดยผมเสนอให้แยกออกมาเป็นวิชาหลักต่างหากไปเลยนะครับ เช่น อาจจะเป็นรายวิชาคณิตศาสตร์เสริม เป็นต้น อาจจะเริ่มสอนกันตอน ม.4 เทอม 1 อ่ะครับ ไม่รู้จะเสียเวลาเกินไปไหม แต่ผมว่า มันมีค่าต่อการเรียนรู้ครับ

อีกประเด็นหนึ่งนะครับ ผมว่า ในการสอนคณิตศาสตร์ในระดับชั้นต้นๆ (เช่น ประถม ม.ต้น) เราน่าจะเน้นที่โจทย์ปัญหามากกว่าโจทย์นามธรรมนะครับ โดยเฉพาะไอ้ที่ยากๆอย่างวงกลม 1 หน่วย differential หรือเรื่องกราฟ เส้น ฯลฯ ถ้าฝึกให้เด็กคิด หรือทำการเรียนรู้ทำความเข้าใจทฤษฎียากๆเหล่านี้จากโจทย์ปัญหา เด็กอาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น อาจจะทำได้ด้วยการ ฝึกวิเคราะห์โจทย์ ให้ตีความคำศัพท์ในโจทย์ ออกมาเป็นเครื่องหมายคณิตศาสตร์ แล้วให้เด็กทำความเข้าใจให้ได้ ว่าสัญลักษณ์ทางคณิต หรือทฤษฎีเหล่านี้ ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

หรือถ้าเอาให้สุดๆไปเลย ผมว่า น่าจะให้เด็กลองประดิษฐ์อะไรง่ายๆขึ้นมาสักอย่าง โดยใช้วิธีคำนวณเหล่านี้เป็นเครื่องมือนะครับ เด็กน่าจะสนุกมากขึ้น ผมว่า เด็กจะเรียนรู้อะไรต่างๆได้ดี ก็เพราะความสนใจ หรือความสนุกในการเรียนนั่นเอง อย่างผมนี่ ยอมรับว่า เมื่อก่อน ไม่ชอบคณิตศาสตร์เลย เพราะไม่รู้จะเรียนไปทำไม ไม่รู้มันใช้อะไรได้ แต่พอมาเรียน Econ แล้ว ตาสว่างเลยครับ รู้เลยว่าเอามาใช้อะไรได้ คือ ผมไม่เก่งคณิตศาสตร์ไง ดังนั้น อ่านทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่ใช้คณิตศาสตร์มาอธิบายแล้ว ผมต้องคิดแล้วคิดอีกเลยนะ ว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไมไม่อธิบายด้วยทฤษฎีอื่น เอาไอ้นี่มาใช้ทำไม ทำไมต้อง diff ทำไมไม่ลบหรือบวก ทำไมต้องคูณ ทำไมต้องหาร ทำไมกราฟต้องเป็นรูประฆังคว่ำ ทำไมต้องเป็นพาราโบล่า ฯลฯ คิดไปคิดมา อ่านไปอ่านมา ชอบไปเลยครับ ^^ สาเหตุที่ต้องใช้ความคิดมากหน่อย เพราะตำราเศรษฐศาสตร์ที่ผมเรียน อาจารย์แกเขียนแบบรวบรัดมาก เพราะมีหลายทฤษฎีที่จะต้องอธิบาย :D

ป.ล.1 สำหรับหนังสือเล่มนั้น ผมเห็นวางขายทั่วไปตามร้านหนังสือ แต่ไม่เคยเปิดอ่านสักที แล้วถ้าจำไม่ผิด รู้สึกว่าเคยเห็นคุณหมอคนเขียนด้วยนะครับ ไม่รู้ว่าเคยมาแจกลายเซ็นต์ที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติหรือเปล่า :)

ป.ล.2 อาจารย์ครับ ถ้าอาจารย์มีหนังสือหรือตำราฟิสิกส์ระดับมหาลัย ที่เขียนเข้าใจง่าย อ่านรู้เรื่อง ช่วยแนะนำกันบ้างนะครับ ว่างๆจะหามาอ่าน เป็นงานวิจัยก็ยิ่งดีครับ ^^ ตอนนี้ ผมสนใจด้าน cosmology แล้วก็พวก ดาราศาสตร์ อ่ะครับ (แต่ไม่รู้ว่างอ่านเมื่อไหร่นะครับ ตอนนี้เริ่มทำวิทยานิพนธ์แล้ว 555+) เคยอ่านประวัติย่อของกาลเวลา แล้วก็ จักรวาลในเปลือกนัท เหมือนกัน แต่ยอมรับเลย ว่าอ่านไม่รู้เรื่องงงง T___T

เพิ่มเติมนิดหน่อยนะครับ

ประเด็นไอน์สไตน์ และหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของไอน์สไตน์ ผมเห็นด้วยกับความเห็นหนึ่งของ ดร.บัญชานะครับ ที่ว่าหนังสือไทยไม่ค่อยมีหนังสือว่าด้วยทฤษฎีไอน์สไตน์แบบเจาะลึกจริงจังเลย ส่วนใหญ่จะแค่อ้างถึงเล็กๆน้อยๆ นอกนั้นจะไปยุ่งกับประวัติส่วนตัวของไอน์สไตน์มากกว่า ผมเคยอ่านวิธีการพิสูจน์ E=mcกำลังสอง ในวารสารแม็ค เมื่อนานมาแล้ว เท่านั้นเองครับ นอกนั้นก็แทบไม่ได้เห็นอีกเลย ผมไม่แน่ใจว่า ในห้องเรียนตอน ม.ปลาย ได้เรียนหรือเปล่า อืมมมม น่าจะได้เรียนอยู่แต่ค่อนข้างน้อย ในห้องเรียนก็อ้างถึงไอน์สไตน์น้อยมั่กๆครับ

อยากเรียนทฤษฎีของแกจริงๆจังๆจริงๆเลย :D สงสัยต้องหาอ่านจากตำราฟิสิกส์หรือ textbook เอาเองซะแล้ว 555+

สวัสดีครับ pump

       คงต้องอ่าน 2 แนวควบคู่กันไปครับ คือ

             - ตำราพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐาน อาจเริ่มจากหนังสือแนว modern physics ก่อนก็ได้

             - หนังสือแนว Popular Science ที่เขียนโดยนักฟิสิกส์ และลงรายละเอียดพอสมควร (ผมเขียนไว้เล่มหนึ่งคือ สัมพัทธภาพ ลองหาอ่านประกอบกับเล่มอื่นๆ เพื่อให้มีมุมมองที่กว้างและลึกนะครับ)

 

แปลกเหลือเกิน ที่ ดร.บัญชา ต้องลบความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับตนเองครับ

ไม่แน่ใจว่านี่เป็นคุณสมบัติหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ที่ดี?

คุณ J2ME ครับ

      ว้า! นี่ขนาดไม่เคยไปยกตัวเองกับใครว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีซะหน่อย...ยังโดนถามแบบนี้ (อิอิ) เป็นไปได้ว่าคนถามไม่ได้ถามจริง แต่กำลังต่อว่าเพราะรู้สึกน้อยใจที่ความคิดเห็นโดนลบ เหมือนไม่ให้ความสำคัญซะอย่างนั้น

      เอา Facts ไปแล้วกันครับว่าทำไมจึงโดนลบ?

      มี 2 ข้อหลักๆ ครับ

      1) ท่าทางที่เข้ามาดูไม่ค่อยเป็นมิตรน่ะครับ แถมเป็นใครก็ไม่รู้ ยิ่งแล้วใหญ่

      2) ข้อความที่โพสต์มาทำให้เข้าใจไปว่าไม่สนใจประเด็นหลัก (วิทยาศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน) ที่บันทึกนี้ชวนถกเถียง

      หากลองดู comments ย้อนกลับไป จะเห็นว่ามีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับผมหลายข้อ แต่ผมไม่ได้ลบครับ เพราะไม่ได้มีทีท่าเหมือนข้อ 1) หรืออย่างน้อยๆ ก็แสดงความสนใจในประเด็นหลัก คือ ไม่ได้ตรงกับ 2)

      ที่นี่คือ GotoKnow ครับ มีวัฒนธรรมการเปิดเผยตนเองที่ชัดเจน (หรืออย่างน้อยแม้จะไม่เปิดเผย แต่ก็ดูไม่คุกคาม) อีกทั้งยังมีการต่อยอดความรู้ ที่ไม่ได้มุ่งโจมตีตัวบุคคลอย่างเดียว

ผมก็เป็นคนหนึ่งครับที่เคยอ่านหนังสือเ่ล่มนี้

และผมก็เป็นเยาวชนคนหนึ่งที่หันมาสนใจธรรม ส่วนหนึ่งก็เพราะเป็นหนังสือเล่มนี้ครับ

เมื่ออ่านเล่มนี้จบ ก็มี "ความงุนงงสงสัย" และ "ความสนใจในธรรม" เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน

ต่อมาเมื่อผมมีโอกาสปฏิบัติธรรมก็ทำให้รู้สึกเหมือนค้นพบขุมทรัพย์มหาศาลของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์

ที่จริงต้องชม ทพ.สม ที่มีความตั้งใจที่ดีในการเผยแพร่ธรรม ชวนคนมาปฏิบัติธรรม

แต่ก็เห็นใจว่า ทพ.สมมิได้เป็นผู้ที่เรียนด้าน pure physic มาโดยตรง

ผมหวังอยู่ลึก ๆ ว่าวันหนึ่งจะมีนักวิทยาศาสตร์ที่เรียนมาโดยตรงมาปฏิบัติธรรม

และลองช่วย ๆ กันเขียนหนังสือธรรมและวิทยาศาสตร์ให้สมบูรณ์ขึ้นมากกว่าที่จะมานั่งทะเลาะหรือเถียงกัน

อนึ่งผมมองว่าปัจจุบันคนเราส่วนใหญ่เมาไปด้วยความรู้ ข้อมูลข่าวสาร

แต่มิได้รู้เลยว่าความรู้อะไรที่เป็นประโยชน์ เป็นสาระ

ความรู้อะไรที่ทำให้ใจมีความสุข มีความสงบ สามารถจัดการทุกข์ที่เกิดกับตนเองได้

สวัสดีครับ คุณ bobotravel

         ขอบคุณที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ครับ ขอตอบและแสดงความคิดเห็นเป็นประเด็นๆ ไปนะครับ

         1) การที่คุณอ่านหนังสือเล่มนี้ (หรือเล่มใดๆ ก็ตาม) แล้วเกิดความสงสัย พร้อมๆ กับความสนใจธรรมะย่อมนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ

             เพราะความสงสัย จะนำไปสู่การตั้งคำถาม และอาจจะถึงขั้นไปหาคำตอบหรือตรวจสอบหาความจริง

             ส่วนความสนใจในธรรมะนั้นก็ย่อมจะทำให้ได้พบกับสิ่งที่ดีๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน หรือเคยได้ยิน แต่ไม่ซึ้ง

             อย่างไรก็ดี ก็ต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอทั้งเรื่องคำตอบและผลจากการปฏิบัติธรรม - ใช่ไหมครับ

          2) การที่ผมออกมาทักท้วงประเด็นนี้มีหลายสาเหตุครับ

              - ความผิดพลาด ความคลาดเคลื่อน ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งในแง่ข้อเท็จจริง การนำไปใช้ในบริบทต่างๆ และการตีความ

              - แต่ที่ร้ายแรงและน่ารังเกียจมากๆ คือ ทัศนคติที่ดูหมิ่นความรู้ของมนุษย์ครับ ลองอ่านดูดีๆ สิครับ แกล้งชื่นชมนิดๆ หน่อยๆ ก็เพื่อนำเอาสิ่งที่ตนเองเชื่อมาเทีบบ มาข่ม เพื่อเหยียบย่ำทีหลัง

              - (อันนี้ยังไม่มีคนทราบมากนัก) คือ มีผู้ได้รับผลกระทบทางจิตจากหนังสือเล่มนี้ไปแล้วครับ (จนต้องไปพึ่งจิตแพทย์)

         3. อีกมุมหนึ่งที่น่าเตือนสติได้ก็คือ อย่างน้อยทำให้เห็นว่า มีคนที่มีสติปัญญาดี พูดจารู้เรื่อง & (อ้างว่า) ปฏิบัติธรรม แต่กลับมีความคิดวิปริตผิดเพี้ยนได้แม้แต่ตรรกะพื้นฐาน! ซึ่งเห็นได้จากการที่อ่านหนังสือไม่แตก แต่มาเขียนเป็นตุเป็นตะครับ

             แสดงว่า น่าจะมีอะไรผิดปกติกับคนผู้นั้น หรือการปฏิบัติธรรมของคนผู้นั้น - ใช่ไหมครับ?

         ขอบคุณอีกครั้งที่แวะเวียนมาแสดงความคิดเห็นนะครับ 

สวัสดีครับ คุณบัญชา ธนบุญสมบัติ

ต้องขอขอบคุณอย่างมาก ที่คุณบัญชา ได้ออกมาทักท้วงหนังสือเล่มนี้ ในประเด็นเรื่องความถูกต้องของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์

ผมเองได้หลงกลซื้อหนังสือเล่มนี้มาเมื่อ 13 สิงหาคม 2552 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 58

อ่านแล้วก็ได้พบข้อมูลหลายอย่างทางศาสนาพุทธที่ขัดแย้งกับข้อมูลทางศาสนาพุทธเล่มอื่น เช่น ข้อมูลจาก หลวงพ่อจรัญ(พระราชสุทธิญาณมงคล) เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี ฯลฯ

ขอยกตัวอย่าง

ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น หน้า 140 บรรทัดที่ 1-3

"ในภพภูมิต่อไป ดังนั้น การที่มีผู้บอกว่ามีวิญญาณล่องลอยกำลังหา

ที่เกิดภายหลังการตายนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด คนเราตายแล้วเกิด

ทันที วิญญาณกลับมาหาญาติพี่น้องไม่ได้ "ผี" ไม่มีจริง"

กฎแห่งกรรม - ธรรมปฏิบัติ เล่ม 2 หน้า 49 ย่อหน้าแรก

เขียนโดย พระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ)

จัดจำหน่ายโดย หจก.บุ๊คเอเธนส์

69/66 ถนนพญาไท ราชเทวี กรุงเทพ 10400

กลับให้ข้อมูลว่า

"อาตมามีเรื่องวิญญาณจะเล่าให้ฟังอีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องวิญญาณมารายงานตัวเพื่อเจริญกรรมฐานที่วัดอัมพวัน..."

ส่วนตัวผมไม่มีความรู้ว่า ข้อมูลทางศาสนาไหนจริง หรือเท็จ แต่กลับเป็นที่น่าตกใจว่า ทางสำนักพิมพ์และผู้เขียน กลับเขียนและพิมพ์ขายอย่างไม่มีการให้ข้อมูลสองทาง ซ้ำกลับยังพิมพ์ขายอย่างต่อเนื่อง

ผมเห็นด้วยกับการกระทำของคุณบัญชา 100 เปอร์เซ็น

ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณบัญชาเดินหน้าต่อไปในการตีแผ่ความไม่ถูกต้องของข้อมูลของหนังสือเล่มนี้

ที่ผมสนับสนุนนี้ ไม่ใช่เพื่อให้เห็นว่า ข้อมูลไหนผิด ข้อมูลไหนถูก แต่ผมอยากเห็นความรับผิดชอบของบุคคลชั้นปัญญาชนที่ปฏิบัติธรรม และสำนักพิมพ์ชั้นแนวหน้าในการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณชนมากกว่านี้

ด้วยความเคารพ

RED

ขอบคุณ อ.บัญชามากๆครับที่แนะนำ ผมไม่ได้แวะเข้ามาซะนานเลย ^^"

เพิ่งอ่านจบค่ะ ก็พบว่า ผู้เขียนเขียนจนสับสนเองหรือเปล่า เอาตรรกง่ายๆ ไม่ยากอย่างของคุณบัญชา ยกตัวอย่าง2แบบก็ค้านกันเอง เช่น ผู้เขียนกบเหมือนกับว่าเดินทางไปในอนาคตได้เพราะจำศีล ลดการทำงานของร่างกายให้ช้าลง เวลาจึงของกบจึงเดินช้าลงกว่าปกติ เอาแบบโลจิคเบสิค เด็กเล็กมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าคนปกติ เวลาของเด็กย่อมต้องเร็วกว่าปกติ ทำมั๊ยคนเขียนถึงบอกว่าเวลาของเด็กจะช้าลงกว่าปกติคะ ?????? หรือเข้าใจผิดเอง

นาวิน จิวไว้วรณ์ เด็กม.6

ผมว่าการที่เราจะไปจับผิดข้อความในหนังสือแต่ละเล่มนั้น...

เราควรที่จะมาสำรวจตัวตนของเราว่ามันเป็นไปตามข้อความจริงจากความหมายของข้อความในหนังสือนั้นหรือไม่...

หากเป็นจริงดังที่ว่าแล้ว...คุณจะทำอย่างไรต่อไป...

แม้ว่าไม่รู้นิพพานจะมีจริงหรือไม่

***แต่ผมว่า "การรู้ตัวว่าเรานั้นเป็นเพียงสารประกอบ และใช้สารประกอบที่ก่อเป็นตัวเรา(อัตตา)ให่เกิดประโยชน์ที่สุดน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ และจงรู้ว่าสักวันหนึ่งมันต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางสารประกอบของร่างกาย"***

*****หมายเหตุ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้นะที่นี้ด้วย*****

สวัสดีครับ

มาพูดคุยต่อนะครับ....

ผมเคยเดินไปห้องสมุด เห็นหนังสือเยอะแยะเต็มไปหมด

ก็เกิดความสงสัยว่า

"เอ๊ะ ความรู้มันมีตั้งเยอะแยะ หนังสือมีตั้งมากมาย เราควรจะรู้อะไร ไม่ควรรู้อะไรดีนะ

ชีวิตนี้เกิดมาคงอยู่ไม่ถึง 100 ปีก็ตายละ จะให้ไปสนใจใคร่รู้ทุกเรื่องก็คงจะไม่ไหว"

ทั้งวิทย์และพุทธ ต่างก็เป็นศาสตร์ที่สนใจ "สัจจธรรม"

แต่ต่างกันตรงที่จุดมุ่งหมายนะ (ตามความคิดของผมอ่ะครับ)

ผมชอบเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งมากเลย ขออนุญาตเล่าต่อละกัน

--------------------------------------------------------------------------

ในสมัยพุทธกาลนั้น

มีภิกษุรูปหนึ่งมาทูลถามปัญหาพระพุทธเจ้า

ด้วยปัญหาเป็นต้นว่า

โลกนี้เที่ยง หรือไม่เที่ยง โลกนี้มีที่สิ้นสุด หรือไม่สิ้นสุด

และบอกพระองค์ว่า หากไม่ทรงตอบ

เขาจะเลิกปฏิบัติธรรม

เขาจะเลิกดับทุกข์

เขาจะละเพศแห่งสมณะเสีย !

----------------------------------------------------------

( แน่ะ คล้าย ๆ ปัญหาของนักฟิสิกส์เหมือนกันนะ

เอ๊ะ ที่สุดของขอบจักวาลเป็นไงนะ ?

เกิดขึ้นได้ไง ดำเนินไปไง แล้วดับลงยังไง ดับแล้วยังไงต่อ เอ๊ะ ๆ ๆ )

---------------------------------------------------------

พระองค์ ตรัสตอบภิกษุรูปนี้ว่า

อย่า ว่าแต่เธอจะละจากเพศสมณะเลย

ต่อ ให้เธอจะตายต่อหน้าเราบัดนี้

เรา ก็หาแก้ปัญหาให้แก่เธอไม่

ภิกษุรูปนี้อุปมาเหมือนมีไฟลุกไหม้อยู่บนศีรษะ

แทนที่จะพยายามดับไฟนั้นเสีย

กลับคอยไปตามหาว่า

ไฟนั้นลุกขึ้นไหม้ได้อย่างไร

ใครเป็นคนจุด

จุดได้อย่างไร

ใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิง

บรรดาผู้รู้ทั้งหลายต่างตะโกนบอกเขาว่า

รีบดับไฟนั้นก่อนเสียเถิด มิฉะนั้นท่านต้องตายแน่ ๆ

แทนที่ภิกษุรูปนั้นจะฟังกลับตอบไปว่า

หากเขาไม่รู้คำตอบที่เขาต้องการ เขาจะไม่ยอมดับไฟบนหัว !

เป็นที่มั่นใจได้ว่า

ภิกษุรูปนี้ต้องตายก่อนที่จะไ้ด้รู้คำตอบแน่นอน

-----------------------------------------------------

ผมคิดว่า

คนเราทุกคนล้วนโดยไฟแห่งความอยาก ความทะเยอทะยาน

ไฟแห่งโกรธ ไฟแห่งความไม่รู้(สิ่งที่ควรรู้) ไฟแห่งความแก่

ไฟแห่งโรคภัยไข้เจ็บ ไฟแห่งความตายแผดเผาอยู่ทุกวัน

ผมเสนอว่าดับไฟเหล่านี้ก่อนดีกว่า อย่างอื่นค่อยว่ากันดีกว่านะครับ ^.^

ธรรมชาติของใจ ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น สุดยอดอย่าบอกใครเชียว

ทำแล้วทุกข์ดับ ก็แปลว่าทำถูกทางแล้ว --------

ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ ^.^

สวัสดีครับ

ผมเพิ่งเข้าเวปนี้เป็นครั้งแรก โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับที่อาจารย์เขียนครับ แต่มีประเด็นนึงที่ผมไม่ค่อยเข้าใจที่อาจารย์พูดเท่าไหร่ในข้อ 2-A) “ทุกๆ สิ่งในจักรวาลหลังการระเบิดครั้งใหญ่ (บิ๊กแบง) จะมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะที่ยุ่งเหยิงมากขึ้นเสมอ” (หน้า 73-74):

ผมเห็นว่าประโยคนี้ก็ถูกต้องดีแล้ว เหตุผลของผมมีดังนี้ครับ ขออนุญาติพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษนะครับ

This statement is a statistical statement. The universe tends to evolve into a configuration with more entropy. This is what give us the "arrow of time" which we can use to distinguish yesterday from today and from tomorrow even though the law of physics "obeys" time reversal symmetry (I use "obeys" because we know there is a small CP, and hence T, violation in the Standard Model of particle physics). The statement does not say that we cannot have a fluctuation in entropy that the entropy decrease at some instants (as I understand, this is your objection for this statement 2-A). Moreover, if we take a viewpoint that entropy is related to energy (even though the total energy of the universe is not well define), we know that as the universe expand we get more and more vacuum energy.

หากผมมีข้อผิดพลาดประการณ์ได้ ขอความกรุณาอาจารย์ชี้แจงด้วยครับ

ความคิดของมนุษย์เดินดินด้วยกัน ย่อมอยู่ในระดับหนึ่ง ที่ต้องอาศัยกาลเวลาพิสูจน์เป็นเรื่องๆไป แต่ถ้าเป็นผู้เหนือมนุษย์หรือเรียกว่าวิญญาณช้นสูง ย่อมรู้ในทันทีแต่จะบอกให้มนุษย์รู้ได้แค่ไหน แล้วแต่เหตุผลของเขา ฉนั้นมนุษย์ในโลกนี้ยังอยู่ในฐานะ......เตี้ยอุ้มค่อม

ขอเพิ่มหมายเหตุส่วนหัวข้อ chaos ครับ

  • chaos เป็นแนวคิดทางคณิตศาสตร์ว่า หากแก้สมการเชิงอนุพันธ์บางรูปแบบที่เป็น nonlinear โดยวิธีเชิงตัวเลขแล้ว ผลจากการคำนวณปัดเศษไม่ว่าจะดูเหมือนเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม ในที่สุดจะเกิดผลทบทวีบานปลายจนทำให้คำนวณผิดไปได้มากอย่างมหาศาล

 

ขอตอบ คุณ eehua ก่อนนะครับ

        ขอบคุณมากครับสำหรับข้อคิดเห็น และข้อมูลที่นำมาอ้างอิง

        คือประโยคดังกล่าวนั้นตีขลุมเกินไปครับ และใช้ไดกับ time scale ที่ยาวนานเพียงพอ

        คำว่า "ทุกๆ สิ่ง" นี่ หากคิดถึง วัตถุที่มีโครงสร้างชัดเจน ตั้งแต่ของเล็กอย่างโมเลกุล ไปจนถึงผลึก หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิต จะเห็นว่า ภายใต้กรอบเวลา หรือ time scale ที่เหมาะสม เอนโทรปี หรือความยุ่งเหยิงของระบบอาจจะลดลงได้ครับ

        ประเด็นก็คือ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มีความเข้าใจที่ผิวเผินเกี่ยวกับสิ่งที่เขานำมาอ้าง และจะเลือกใช้แต่แง่มุมที่สนับสนุนสิ่งที่เขาปักธงไว้เท่านั้น และทำในลักษณะเช่นนี้โดยตลอดทั้งเล่มครับ

ขอบคุณ อ.wwibul สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ Chaos Theory ครับ

สำหรับท่านอื่นๆ ก็ขอขอบคุณที่มาแสดงทัศนะต่างๆ ไว้ ณ ที่นี้

ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง มาถึงปัจจุบันคงไม่มีใครปฏิเสธ ข้อนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่พุทธองค์ทรงสอนว่าอย่าเชื่อเพราะเป็นพ่อแม่ อย่าเชื่อเพราะเป็นครู อย่าเชื่อเพราะ..... ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองนั้นคงใช้ได้จริง ความรู้เก่าๆบางครั้งก็ถูกหักล้างด้วยข้อมูลใหม่ๆ จริงบางเท็จบาง ก็ว่ากันตามยุคสมัย ผมคิดว่าทั้งสองท่านก็จะมีข้อมูลที่จริงและต้องแก้ไข เป็นเรื่องธรรมดา สุดท้ายก็อยู่ที่คนที่รับข่าวสารหรือคนที่ศึกษาด้านนั้นๆต้องค้นหาความจริงด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง แต่ผมก็เห็นด้วยกับ rep 155 bobotravel อยู่อย่างครับ

พระองค์ ตรัสตอบภิกษุรูปนี้ว่า

อย่า ว่าแต่เธอจะละจากเพศสมณะเลย

ต่อ ให้เธอจะตายต่อหน้าเราบัดนี้

เรา ก็หาแก้ปัญหาให้แก่เธอไม่

ภิกษุรูปนี้อุปมาเหมือนมีไฟลุกไหม้อยู่บนศีรษะ

แทนที่จะพยายามดับไฟนั้นเสีย

กลับคอยไปตามหาว่า

ไฟนั้นลุกขึ้นไหม้ได้อย่างไร

ใครเป็นคนจุด

จุดได้อย่างไร

ใช้อะไรเป็นเชื้อเพลิง

บรรดาผู้รู้ทั้งหลายต่างตะโกนบอกเขาว่า

รีบดับไฟนั้นก่อนเสียเถิด มิฉะนั้นท่านต้องตายแน่ ๆ

แทนที่ภิกษุรูปนั้นจะฟังกลับตอบไปว่า

หากเขาไม่รู้คำตอบที่เขาต้องการ เขาจะไม่ยอมดับไฟบนหัว !

เป็นที่มั่นใจได้ว่า

ภิกษุรูปนี้ต้องตายก่อนที่จะไ้ด้รู้คำตอบแน่นอน

กรณีหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น

นั้น ถ้ามองเป็นนิยายก็เป็นนิยาย ถ้ามองเป็นวิทยาศาสตร์ก็เป็นวิทยาศาสตร์

แต่ผมคิดว่าผู้แต่งพยายามจะสื่อบางสิ่งบางอย่างจากหนังสือเล่มนั้นออกมา โดยที่ผู้อ่านคงต้องเลือกที่จะรับรู้จากหนังสือเล่มนั้น

ส่วนผู้ท้วงติงก็พยายามจะสื่อบางอย่างออกมาเช่นกัน

ผมไม่ค่อยเก่งวิทยาศาสตร์บางครั้งอ่านๆไปก็ไม่เข้าใจหลักการอะไรมาก จะเข้าใจก็แต่ความพยายามสื่อออกมาของผู้เขียนมากกว่า

ว่าเค้าพยายามบอกอะไร

ผมว่าดีครับที่มีคนท้วงติงบ้างเพราะไม่อย่างนั้นเราก็ไม่รู้เลยว่าข้อมูลเดียวนั้นเป็นอย่างไร มีข้อมูลหลายๆแหล่งให้พิจารณาเพิ่ม

ขอบคุณที่แวะมาครับ

ปัญหาก็คือ สนพ.อมรินทร์ ระบุว่าหนังสือเล่มนี้อยู่ในหมวด "ธรรมะวิทยาศาสตร์" ครับ

ถ้าเขาจัดให้อยู่ในหมวด "นิยาย" หรือเขียนโปรยหน้าปกว่า "เนื้อหาทั้งหมดในเล่มนี้เป็นจินตนาการเพ้อฝันของผู้เขียน" ก็จะไม่มีนักวิชาการที่ไหนท้วงติง

พูดง่ายๆ คือ เป็น 'ของปลอม' ครับ ข้อมูลเท็จซะมาก ชี้นำไปในทิศทางผิดๆ เยอะ แถมยังเหยียบย่ำวิทยาศาสตร์อย่างน่ารังเกียจครับ

พี่ชิวครับ

ไม่ใช่ผู้จัดการเท่านั้นครับที่ "เปี๊ยนไป๋"

อมรินทร์ก็ "เปี๊ยนไป๋" ด้วยครับ

ฮิ ฮิ...

ตามมาให้กำลังใจครับพี่...

ขอให้กำลังใจทันตพทย์สมมากๆนะครับ ตอนนี้ผมกำลังอ่านเล่มสองอยู่

ในประเทศเรายังต้องการบุคคลากรที่มีความรู้และความคิดสร้างสรรแบบนี้เยอะๆครับ

ปัจจุบันมีแต่หนังสือแปลเต็มไปหมด หาคนไทยที่นำเสนอสิ่งใหม่ๆน้อยมาก

ถ้าผิดจริงก็สมควรได้รับการแก้ไขนะครับ ไม่ใช่ปล่อยให้มันผิดอยู่แบบนี้

แต่จากการที่ได้อ่านมาก็คิดว่ายังไม่ได้รับการแก้ไขครับ เพราะเล่มที่ผมอ่านนั้น(พิมพ์ครั้งที่68) มันก็ยังมีข้อมูลที่เป็นประเด็นกันอยู่ก็ไม่แน่ใจว่า อะไรเป็นอะไร แล้วทำไมยังมีการตีพิมพ์โดยไม่ได้มีการแก้ไขแบบนี้ได้อีก

โดยส่วนตัว ผู้เขียนก็เขียนนำเสนอได้น่าสนใจดี แต่ถ้ามันผิดจริง? ผมในฐานะคนอ่านก็รู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ของจริง

ซึ่งผมก็เป็นอีกคนที่ชอบหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา วิทยาศาสตร์ อยู่แล้ว

***** สุดท้ายนี้ก็ก็ฝากท่านผู้อ่านควรตรวจสอบข้อมูลที่ท่านได้รับมาอย่างถี่ถ้วน ไม่ควรเชื่อโดยที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าอะไรเป็นอะไร(ผมก็ยังไม่แน่ใจว่า คนเขียนกับคนที่ออกมาทักท้วง ควรจะเชื่อใคร??) เพราะถ้าเราไม่รู้อะไรที่แน่ชัดก็ยังไม่อาจด่วนตัดสินใจได้ว่าใครผิด ใครถูก อิอิ

---หากผิดพลาดประการใดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วยครับ--- ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ

ขอขอบคุณ ที่มีข้อคิดดี ๆ มาให้ได้รับรู้

คุณ #163 ครับ

        ถ้าคุณให้ความสำคัญกับความถูกต้องและความรู้อันแท้จริงที่มนุษย์ช่วยกันสร้างขึ้นมา คุณคงจะไม่เขียนเช่นนี้ออกมา

        สำหรับคำแนะนำที่ให้ไว้ ก็แสดงว่าคุณไม่รู้ว่าใครเป็นใคร

        ไม่เปิดเผยตัวเอง แล้วเที่ยวว่าคนอื่นนี่ คำกล่าวไม่มีน้ำหนักครับ 

        ผมออกไปวิพากษ์โดยใช้เหตุผล หลักฐานทางวิชาการ และใช้ชื่อจริงครับ

        ถ้ายังไม่คุยกันด้วยความสุภาพ ก็คงต้องลบออกไปนะครับ แถวนี้ต้อนรับเฉพาะผู้ที่ใฝ่หาปัญญาที่แท้จริง

น้องหนาน

         ขอบคุณมากครับ ไว้มีเรื่องที่น่าทึ่งจะเล่าให้ฟัง โดยสรุปก็คือ ปราชญ์อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว อยากเขวี้ยงทิ้งออกนอกหน้าต่างเครื่องบินครับ

คุณสมชายครับ

      การให้กำลังใจคนที่นำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์นั้นผมเห็นด้วยครับ

      แต่การให้กำลังใจคนที่นำเสนอข้อมูลที่ผิดเพี้ยน แล้วไม่แก้ไข แต่ใช้วิธีการเอา "คนที่ดูน่าเชื่อถือ" (แต่ที่แท้นั้นมีความคิดแบบ Pseudo-science มารับประกัน) ผมไม่เห็นด้วยครับ

คุณ #167 ครับ

        ลองหาโอกาสศึกษารายละเอียดดูครับ จะพบว่า

           1) สังคมไทยมีคนเขียนหนังสือแบบไม่รับผิดชอบ

           2) (ที่น่าตกใจกว่านั้น) มีคนชอบอ่านหนังสือที่ (1) เขียนจำนวนไม่น้อย และไม่สามารถรับฟังความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลได้ เหตุเพราะความรู้อ่อนด้อย และทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อวิชาการ

        ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

เหอะๆ มีคนคิดเหมือนกันแฮะ หมอสมแกมั่วหลายที่เลย แระสบโอกาสจะโยงเข้าทางแกตลอดโดยตัดรายละเอียดอื่นที่ไม่ตรงทิ้งหมด ทำให้คนอ่านได้รับสารแค่ด้านเดียว

เป็นกำลังใจให้นะครับ ^ ^

ถูกที่สุดครับแม้แต่พระพุทธเจ้าท่านยังไม่ให้เชื่อในคำสอนของท่านเลยครับ

แต่ว่าท่านตรัสไว้ว่าควรปฎิบัติให้เห็นผลก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อครับ

เอาใจช่วยครับคุณหมอที่กล้าเขียนเรื่องไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น

ไม่มีบุรุษใดในโลกที่จะไม่ถูกติเตียนผู้ไม่ผิดคือผู้ที่ไม่ได้ทำ

เป็นกระทู้ที่เปิดมานานแล้วแต่ก็ยังทันสมัย เพราะว่าเมื่อวันก่อนผมเพิ่งไปเห็นเล่ม2 (ไอสไตน์) ที่วางแผง และผมเองก็มีและอ่านเล่ม1จบไปนานแล้ว

ผมเปิดอ่านผ่านๆ คือดูแต่หน้าแรกของแต่ละบท ก็รู้สึกสนใจหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ เพราะ... (ไม่อธิบายดีกว่า เสียเวลา หลงประเด็น เรื่องส่วนตัว)

ทีแรกวันนี้ผมก็แค่จะเปิดกูเกิลดูคำว่า "ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น เล่ม 2" แต่พอเห็นประเด็นเรื่องข้อผิดพลาดและระงับการพิมพ์เล่ม1 และเปิดอ่านทั้งต้นเรื่องตลอดจนเห็นการตอบโต้ในกระทู้นี้ แวบแรกในหัวผมเกิดคำว่า "ถิ่นกาขาว" ขึ้นมา (ยังสงสัยอยู่ว่ามันมาจากสัญญาความจำ หรืออย่างอื่น)

[ปกติ อีกาสีดำ แต่ใช้คำว่า “ถิ่น” นำหน้า แสดงว่ามีจำนวนมาก หรือเกือบทั้งหมด]

สรุปประเด็นคือ ผมแค่อยากแสดงความเห็นถึงคำทำนายที่เคยได้อ่านมาว่า "ถิ่นกาขาว" (แล้วแต่ความเชื่อนะ ผมแค่คิดว่าคำพูดก็คล้ายกับลายแทงหาขุมสมบัติ แต่ผมยังอ่านลายแทงไม่ออก) ซึ่งแรกๆอ่านเจอว่าหมายถึงพวกฝรั่งต่างชาติ ต่อมาก็อ่านเจออีกว่าหมายถึงคนทำผิดกลายเป็นคนถูก ตรงจุดนั้นเองทำให้ผมรู้สึกสะดุดใจและคิดใหม่ว่าความหมายของคำทำนายที่ใกล้เคียงถูกต้องที่สุดมันควรจะเป็นอะไร (ตีความแบบอื่นๆก็มีอีก)

พอถึงปัจจุบันวันนี้ ผมคิดได้อีกอย่างหนึ่ง (แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าถูกรึเปล่า) แล้วว่า มันน่าจะหมายถึง สภาพแวดล้อมทางความคิดของสังคมแบบค่อนข้างชัดเจนที่ตอบไม่ได้ว่า อะไรผิดอะไรถูก หรืออะไรจริงหรืออะไรไม่จริง ทั้งๆที่เป็นยุคไอที นั่นคือภาพสะท้อนว่า ถึงจำนวนข้อมูลมากขึ้นเท่าใดก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีจำนวนคนรู้มากขึ้น ในอัตราใกล้เคียงกันทั้งหมด จึงใช้ตรรกะกับเรื่องนี้ทั้งหมดไม่ได้ แสดงว่ามีกาลามสูตรอยู่ข้อหนึ่งที่น่าจะจริง

ทำไม???? คนที่อ่านหนังสือ"ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" จำนวนมากจึงคล้อยตามผู้เขียน (รวมทั้งตัวผมด้วย) และก็มีหลายคนที่ตอบกระทู้แบบไม่เชื่อนักวิชาการ ทั้งๆที่รู้ว่านักวิชาการน่าจะรู้มากกว่าคนอื่นๆ

คำถามนี้เอาไว้ตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่า...

[ผมประเมินเองว่าจำนวนมาก แค่เพราะว่าเห็นพิมพ์ออกขาย 70 ครั้ง (แต่ก็ไม่รู้จำนวนจริงๆ) และที่ประเมินว่าคล้อยตาม เพราะว่าตอนนี้เล่ม2วางแผงแล้ว และใช้คำนี้เพราะคิดว่ายังไม่มีใครเชื่ออย่างจริงแท้แน่นอน]

ชื่อหนังสือ ไม่เหมาะเอา บุคคลเคียงกัน เหมือนเอาของสูงกว่ามาเล่น

คุณถ้าคุณชอบไอสไตน์ จะใช้คำว่า ศรัทธาหรือ ชื่นชม

แล้วพุทธเจ้าล่ะ จะใช้คำไหน

คุณไม่เข้าใจศาสนาพุทธอย่างแท้จริง ก็อย่าเอามาเขียน

มันคนละเรื่องกัน ... รู้ตัวรึเปล่า ทำอะไรลงไป

รึว่า ถึงคราวศาสนาจะเสื่อม

สวัสดีค่ะ

คนที่อ่านหนังสือ"ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" จำนวนมากจึงคล้อยตามผู้เขียน (รวมทั้งตัวผมด้วย) และก็มีหลายคนที่ตอบกระทู้แบบไม่เชื่อนักวิชาการ ทั้งๆที่รู้ว่านักวิชาการน่าจะรู้มากกว่าคนอื่นๆ....จริงค่ะเห็นด้วย  เป็นหนังสือดีในดวงใจเสียด้วยนะคะ

เมื่อได้ฟังอาจารย์อธิบายแล้วเข้าใจค่ะ

ศาสนาไม่มีวันเสื่อมหรอกคุณ

คนต่างหากที่มันเสื่อม

เพราะอะไรเพราะคนไม่มีศีลธรรม

การที่จะชนะใจตนเองยังทำไม่ได้เลย

ในการที่จะเห็นธรรมมันลำบากมากๆ

ต้องอดทนต่อความลำบากแต่ผมว่าหลักของ

ศาสนาพุทธสอนให้รู้จักทุกข์และหนทางแห่งการดับทุกข์

พึ่งชนะความเกลียดด้วยความรัก จงชนะความอิจฉาด้วยความยินดี

สุดท้ายนี้ว่างๆหาหนังสือหลวงปู่ฝากไว้มาอ่านน่ะครับ

ขอบคุณที่พี่ชิวออกมาท้วงติงให้สังคมไทย เห็นข้อบกพร่องของหนังสือเล่มนี้ เพราะกระแสความดัง ที่ซ่อนข้อมูลที่คลาดเคลื่อน มักจะโน้มน้าวให้เกิดความเชื่อและเคลิ้มในสิ่งที่อ่านได้ง่ายจนทำให้ ละเลยการค้นหาข้อเท็จจริง

ว่าแต่ว่า แล้วเราจะทำไงดีล่ะครับ กับหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ยอดเผยแพร่ออกไป ไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนเล่มอยู่ในมือเยาวชน และห้องสมุด?

ขออนุญาตเรียนถามอาจารย์บัญชาครับ ว่าอาจารย์เคยอ่านหนังสือชื่อคล้ายกัน คือ "ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ" หรือไม่ครับ

อยากทราบว่า มีเนื้อหาตรงไหน ที่ผิดไปจากหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่

แต่หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้กล่าวถึงหลักฟิสิกส์มาก เพียงแต่ใช้การตั้งคำถาม เพื่อนำไปสู่คำตอบอันอมตะ

ผมชอบหนังสือเล่มนี้มาก อ่านแล้ว ได้ความรู้เยอะ

จึงอยากทราบความคิดเห็นของอาจารย์ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์นะครับ

ตอบคุณ I am nothing กรณี "ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ" : กรณีนี้มีทั้งความคล้ายคลึงและแตกต่างจากกรณีที่เราคุยกันอยู่ครับ

         คล้ายตรงที่ว่า : ปักธงเชื่อไปก่อนแล้วว่า พุทธเหนือวิทย์

         แต่ต่างอย่างสำคัญตรงที่ว่า : ผู้เขียนตระหนักดีว่าตนเองอาจไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์อย่างแจ่มแจ้ง ดูหน้า 18 ซึ่งเขียนไว้ว่า

         “จุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คือ ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ดิฉันไม่สามารถเข้าใจได้หมดและถ่องแท้ แต่ถึงแม้ความรู้ทางฟิสิกส์ของหนังสือเล่มนี้จะผิดหมดก็ยังไม่เป็นไร ไม่น่าห่วงมากเท่ากับการสรุปภาวะพระนิพพานอย่างผิดๆ"

        ในกรณีเช่นนี้ ผมถือว่าผู้เขียน (คุณศุภวรรณ) รู้ตัวเป็นอย่างดี และได้ *เตือนผู้อ่านแล้ว* ดังนั้น ผมจึงถือว่าผู้เขียนทำไปด้วยความเชื่อและจิตใจที่ดีงามจริงๆ (ข้อผิดพลาดทางวิชาการ เกิดจากการที่ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีเพียงพอ แต่แก้ไขได้)

.....มีต่อ..... 

 

               ส่วนกรณีของผู้เขียนหนังสือ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น นั้น แตกต่างมาก เพราะเดิมที ดูเหมือนว่าเขาจะเชื่อมั่นว่ารู้วิทย์ดีแล้ว จึงได้เขียนหนังสือออกมามากมาย (บทสัมภาษณ์ก็ชี้ไปในทิศทางนั้น)

               แต่เมื่อแสดงความไม่รู้ รู้ผิด รู้งูๆปลาๆ มั่วแหลก อย่างหนัก ในกรณีหนังสือ "ฟิสิกส์นิวตัน" ผมเชื่อว่าเขารู้ตัวแล้วว่า เขาผิดพลาดไปมาก เพราะขนาดเรื่องพื้นฐานสุดๆ อย่าง แรงกิริยา-แรงปฏิกิริยา ยังเข้าใจผิดเลย (คงจะคิดต่อได้ว่า ขนาดฟิสิกส์ที่ค่อนข้างง่ายยังเละขนาดนี้ แล้วฟิสิกส์ที่ซับซ้อนขึ้นไป จะโดนปู้ยี่ปู้ยำขนาดไหน)

              ปัญหาของ นักเขียน(มั่ว) คนนี้จึงเป็นประเด็นทางจริยธรรม นั่นคือ แม้รู้ว่าผิด แต่ไม่แก้ไข ยังดันทุรัง เนื่องจาก "ตลาด" ยังโตอยู่

              น่าคิดนะครับ

              "อ้างว่า....ปฏิบัติธรรม แต่...เหตุใดจึงไม่ซื่อตรงต่อข้อเท็จจริง"

แถมอีกนิด....

กรณี เล่ม 2 ยังทำให้หลายคนตาสว่างอีกด้วยว่า "มีคนที่ใช้วิชาการ โดยเฉพาะฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ หากินและสร้างชื่อเสียงมาหลายสิบปี แต่กลับแสดงจุดยืนสนับสนุน วิทยาศาสตร์จอมปลอม"

ดุเหมือนของปลอมจะมีพลังมากกว่าของจริง...สำหรับกรณีนี้ครับ

ได้เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งมาแล้ว ก่อนจะเริ่มภาวนาตามแนวทางที่ครูบาอาจารย์ได้สอนมาอย่างจริงจังหลายปี

ได้พบว่าที่คุณหมอเขียนในเล่มหนึ่งนั้น ยังห่างไกลจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมา

และทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์นั้น ไปคนละขั้วกับจิตสิกขา

ผมอยากรู้ว่าพระพุทธองค์ค้นพบหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร โดยไม่มีการทดลองสักครั้ง

ผมอยากรู้ว่าพระพุทธองค์ค้นพบหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร โดยไม่มีการทดลองสักครั้ง

ผมเห็นด้วยกับ อจ บัญชา ที่ออกมาชี้แจงครับ ต้องขอขอบคุณมากๆ

ผมรักวิชาวิทยาศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ มาตั้งแต่เด็ก จนปัจจุบัน

แต่ปัจจุบันผมเห็นคุณค่าของคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย

คำสอนทางพุทธ กับ วิทยาศาสตร์/คณิตศาสตร์ เป็นคนละเรื่องกันครับ ไม่จำเป็นต้องโยงเข้าหากัน

พระพุทธเจ้าท่านมีเป้าหมายที่จะสอนวิธีที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้พ้นจากความทุกข์ทั้งมวลเท่านั้น ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นคนไร้การศึกษา หรือ เป็นนักวิชาการ ก็สามารถได้ประโยชน์เท่าเทียมกัน

เรื่องหนังสือคุณหมอสม นั้นในฐานะผู้ศึกษาแนวพุทธแท้ๆ รู้สึกอึดอัดมานานแล้วครับ ดีแล้วครับที่ อจ บัญชา ออกมาพูด คงทำให้คนที่คล้อยตามได้ยั้งคิด ผมเกรงแต่ว่า ผู้อ่านเหล่านั้นจะเหมารวมว่า พุทธศาสนา เป็นคำสอนจอมปลอมไปด้วย และพลาดคำสอนที่แท้จริงซึ่งลึกซึ้งและมีประโยชน์มหาศาลไป

กรณีนี้ทำให้น่าทบทวนมากว่า ชาวไทยที่เป็น "ชาวพุทธ" เป็นส่วนใหญ่นั้น ไม่ได้เข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์มากพอ ที่จริงแก่นของคำสอนมีไม่มาก และสามารถปฏิบัติให้เห็นผลในเวลาไม่นานเลย คือ สติปัฏฐาน 4 ซึึ่งเน้นการสังเกตุธรรมชาติแท้ๆ คือ กาย และใจ ของเราเอง อย่างเป็นกลาง ไม่มี bias จนเข้าใจความจริง และปล่อยวางได้ ทำให้กิเลสลดลง หรือ ขาดไปโดยสิ้นเชิง เป็นผลให้ ลดความทุกข์ของตนเอง และผู้อื่นได้

การสอนวิชาพุทธศาสนา ควรเน้นตรงนี้มากกว่า จะไปเกาะกระแสนิยมวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่มีความจำเป็นเลย ดังที่กล่าวไว้แต่แรกครับ

แต่ถ้ามีผู้พยายามบิดเบือนอย่างกรณีที่ อจ ออกมาพูด ก็ควรโต้แย้ง เพื่อชาวพุทธเองจะได้รับประโยชน์จากของจริงครับ

ขอขอบคุณอีกครั้งครับ ผมคิดว่า อจ ได้ทำประโยชน์ให้กับพุทธศาสนามากครับ

 

 

ขอโทษนะครับ ขอ "แก้" ที่เขียนไปเมื่อครู่เล็กน้อยครับ

ที่บอกว่า การปฏิบัติสติปัฏฐานแล้ว ทำให้กิเลสลดลง แล้วจะทำให้ "ลดความทุกข์ของตนเอง และผู้อื่นได้" นั้น สำหรับ "ผู้อื่น" มีความทุกข์น้อยลง เพียงเพราะเราเป็นคนดีขึ้นแล้ว ทำให้คนอืนๆ ไม่เดือดร้อน หรือ ได้รับประโยชน์จากเรา (ที่เป็นคนดีขึ้น) เท่านั้นนะครับ

การปฏิบัติเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่อาจทำแทนใครได้ครับ

ขออนุญาตตอบคุณ "ถาม" สักนิดนะครับ ที่ถามว่า

"ผมอยากรู้ว่าพระพุทธองค์ค้นพบหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร โดยไม่มีการทดลองสักครั้ง"

ก่อนจะตอบ ต้องขอชี้แจง คำถามของคุณก่อนนะครับ

พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงค้นพบหลักการทางวิทยาศาสตร์ นะครับ ขณะนั้น วิทยาศาสตร์แบบที่เรารู้จักยังไม่เกิดเลยครับ

พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญวิชาการทางโลก เพราะไม่มีประโยชน์อย่างแท้จริง เนื่องจากไม่ว่าเราจะค้นพบเทคนิค เทคโนโลยีใด เมื่อถูกใช้โดยผู้ที่มีกิเลส ย่อมสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อื่นเสมอ ไม่ว่าเทคโนโลยีนั้นจะสูงเพียงใด

ท่านจึงเน้น วิธีดับกิเลส ซึ่งท่านทรงค้นพบ ด้วยความพยายามอย่างยิ่ง

แต่ถ้าจะอนุโลม มองในแง่ของหลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน เราจะเห็นได้อย่างง่ายดายว่า ท่านทรงทำการทดลอง อย่างชัดแจ้งครับ

เรื่องนี้ผมคิดว่า เราทุกคนเรียนมาอยู่แล้วในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาตั้งแต่เด็กๆ (ผมไม่ทราบว่า สมัยที่คุณ ถาม เรียนมาเค้าตัดไปหรือยัง ผมเรียนมาเกือบ 40 ปีแล้วครับ)

ยังจำได้ว่า สมัยท่านออกบวชใหม่ๆ ก่อนตรัสรู้ ท่าน ทดลอง จากการเรียนวิชาการทำสมาธิจิต กับ อุทกกดาบศ และอาฬารดาบส ซึ่งทำสมาธิได้ถึงระดับลึกสุดแล้ว แต่ท่านเห็นว่า ไม่พ้นทุกข์จริง จึงหลีกออกมา แล้วค้นหาวิธีพ้นทุกข์ต่อไป

จากนั้น ท่านได้ ทดลอง วิธีที่นิยมกันในสมัยนั้น คือการทรมานกาย ทรงทำอย่างหลากหลาย และเข้าขั้นวิกฤต แต่พบว่า ไม่พ้นทุกข์ จึงได้เปลี่ยนวิธี

ที่น่าสังเกตุคือ วิธีที่ท่านค้นพบ ที่เรียกว่า การทำวิปัสสนา ซึ่งแปลคร่าวๆ ว่า การเห็นอย่างพิเศษ นั้น ถ้าคนที่ชอบวิทยาศาสตร์อย่างผม ไปศึกษาแล้ว จะพอใจมาก เพราะเป็นการ สังเกตุธรรมชาติของตนเองอย่างไม่มีอคติ นั้นเอง

(ตามหลักที่ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน คือ การมีสติ รู้กาย รู้ใจ ลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง)

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ก็มีความคล้ายกันในแง่นี้ คือต้องศึกษาเรื่องที่ต้องการทราบอย่างละเอียด เป็นระบบ และเป็นกลาง

ความคล้ายกันนี้ มักจะถูกผู้ที่มีทัศนะว่า พุทธเหนือวิทย์ และวิทย์เหนือพุทธ นำไปอ้างอิงเทียบกันไปมาอยู่เสมอ แต่ผมคิดว่า ไม่จำเป็นครับ เพราะเป็นคนละเรื่อง คนละวัตถุประสงค์ เพียงแต่นำมาชี้แจง เพื่อความเข้าใจ เพื่อไม่ให้เข้าใจผิด คิดว่า พระพุทธเจ้าท่าน "มั่ว" ขึ้นมา อยู่ๆ นั่งหลับตานิ่งๆ ไปคืนนึง แล้วก็มาสอนเป็นตุเป็นตะ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอกนะครับ

ที่สำคัญ สิ่งที่ท่านสอน มีผู้ปฏิบัติเห็นผลมาแล้วตลอดสองพันกว่าปีมานี้ ถึงได้สืบต่อพระศาสนามาได้ พุทธแท้ๆ ไม่ได้เป็นไปเืพื่อผลประโยชน์ ชื่อเสียง หรือ ความเด่นกว่าใคร แต่มีไว้เพื่อให้ห่างไกลจากทุกข์ ห่างจากความเห็นแก่ตัว เมื่อมีความเห็นแก่ตัวน้อยลง แล้วมีความสามารถในศาสตร์ใดๆ ไม่ว่าจะเ็ป็นวิทยาศาสตร์ หรือ เศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์ ถึงจะใช้ความสามารถนั้นเป็นประโยชน์ได้จริงกับตนเองและสังคมครับ

คือผมได้อ่านข้อความที่พวกท่านชี้แจงมา ผมอยากพูดอย่างนี้ครับ

ส่วนตัวนะครับ ไม่เคยสนใจทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา แต่มีอยู่วันนึงผมได้อ่านบทความของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผมชอบข้อความอยู่ข้อความนึง เขียนประมาณว่า "ถ้าจะมีศาสนาใดในโลกที่จะเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้ ศาสนานั้นคือศาสนาพุทธ" ผมก็เลยลองอ่านๆดูว่าเพราะอะไร เขาเขียนประมาณว่าเปรียบเทียบคำสอนของพระพุทธเจ้ากับสิ่งที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ค้นพบว่าตรงกัน และคนที่ค้นพบว่าตรงกันนั่นก็คือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผมก็เลยสนใจศึกษาว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ค้นพบอะไรที่ตรงกับคำสอนบ้าง

พวกท่านเห็นอะไรใหมครับ...

ผม ไม่เคยคิดจะศึกษาหรืออยากรู้ทั้งวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา แต่เมื่อผมได้ลองอ่านข้อความเชิืงวิทยาศาสตร์ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แล้วผมกลับอยากอ่าน อยากรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และคำสอนของ พระพุทธเจ้า พวกท่านเห็นหรือยังครับ

อย่างน้อย ก็ยังมีผมคนนึง จากคนที่ใหว้พระ สวดมนต์ เพราะแค่รู้ว่าตัวเองนับถือศาสนาพุทธก็เลยต้องทำ เปลี่ยนมาเป็นอยากรู้อยากทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพียงแค่ผมเจอทฤษฎีเมื่อหลายทศวรรษก่อน ของคนที่ชื่อว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ตอนนี้ผมก็ไม่รู้ว่าพวกท่านจะคิดยังไงกับประเด็นที่พวกท่านชี้แจงกันว่า "พุทธศาสนา กับ วิทยาศาตร์ เกี่ยวข้องกันยังไง"

เอางี้ดีกว่า ผมตื่นตั้งแต่ตีห้าเพื่อเปิดช่าง 9 ดูพระพระเทศน์อ่ะ

ผมก็คิดว่าคำพูดของคุณpaul ก็มีเหตุผลดี เเต่ทำไมหนังสือของ หมอสม ถึงบอกว่าพระพุทธองค์ค้นพบ อะตอมล่ะ การหยืด-หด ของเวลา เเละอีกหลายอย่างล่ะ เเล้วมันจริงไหม

ผมพึ่งขึ้นปี 1 วิทย์เคมี ไม่รู้เรื่องเมื่อ 40 ปีก่อนหรอก

(บอกตรงๆ ผมศรัทธาในวิทยาศาสร์ เเละผมไม่มีศาสนา)

ผมเป็นคนที่ชอบเรียนฟิสิกมากมาตั้งแต่เด็ก และก็ชอบการปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่เด็กด้วยครับ ถึงตอนนนี้ผมทำมา 10 กว่าปีผมยังนั่งสมาธิทุกคืน หาหนังสือฟิสิกส์มาอ่านทุกคืน จนเชี่ยวชาญทั้งสองด้าน วิทยาศาสนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากนะครับ มันแสดงถึงข้อเท็จจริงของธรรมชาติได้หลายอย่าง ถ้าผู้ที่ได้ศึกษาจริงๆแล้ว ในโลกของฟิสิก วิทยาศาสนั้นอะไรก็เกิดขึ้นได้เหมือนกับว่าทุกอย่างบนโลก กฏทุกข้อที่ตั้งขึ้นมาไม่มีข้อตายตัว ไม่มั่นคง ไม่ได้เป็นสเตบ ไม่ได้เป็นขั้นตอน มีความอ่อนไหวและลึกซึ้ง เข้าใจได้อยาก แต่เป็นเหตุเป็นผลกัน มันเป็นอะไรที่แข็งๆแต่มีความเหลว เหมือนไข่ที่แข็งจากเปลือกแต่เหลวในๆ การนั่งสมาธิทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุข ความสงบซึ้งคำว่าสงบคำนี้ไม่ได้หมายถึงสงบที่ใช้กันบนโลกจากความสงบจะทำให้เกิดความรู้ ความรู้สึกหลายอย่างที่รู้ได้เฉพาะตน(คนที่ปฏิบัติเท่านั้น)มันจะคล้ายกันกับวิทก็ตรงนี้แหละคือ เป็นสิ่งที่เข้าใจได้อยากเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา มีความอ่อนไหวและลึกซึ้ง ไม่ตายตัวและไม่มั้นคง แต่เป็นเหตุผลซึ้งกันและกัน เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน ถึงแม้ว่าวิทและพุทธ มันมีความเกี่ยวพันกันในหลายด้าน แต่ผมคิดว่าวิทและพุทธ มันเป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ อยากให้ทุกคนลองนั่งสมาธิดูลองเอาหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ ไม่เรียกว่านั่งสมาธิก็ได้ครับลองนั่งเฉยๆไม่ต้องทำอะไรแล้วไม่ต้องคิดอะไร ทำใจให้สงบ แล้วคุณจะรู้ว่าทำไมศาสนาต้องมีมาก่อนวิทยาศาสตร์

ไม่ว่าจะเป็นวิทหรือพุทธ ทั้งสองอย่างนี้มันต้องทำการทดลอง ต้องเจอด้วยตนเอง ต้องพบด้วยตนเอง ต้องเห็นด้วยตนเอง ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง  เมื่อถึงจุดไหนึ่งแล้วมันเป็นสิ่งที่อธิบายอยากมากหรืออธิบายไม่ได้ จนหลายคนอาจคิดว่า คุณเพ้อเจ้อ คุณมั่ว รึ ป่าว แต่ถึงตอนนั้นเอง คุณก็จะอุทานคำว่า  อ๋อ ออกมา

อ่านแล้วครับ ทั้งเล่ม 1 และ 2

พอดีว่าเรียนฟิสิกส์แค่ ม.ปลายเลยไม่กล้าท้วงอะไรมากเพราะคิดว่าวันเวลาผ่านไปที่เราเรียนมาอาจผิดก็ได้

แต่ถึงขนาดนั้นยังรู้สึกแปลกว่ามันผิดหรือเปล่าหว่า...เพราะรู้สึกว่ามันมั่วมากๆ

เห็นเพื่อนอ่านกันหลายคน บอกว่าดี คือมันก็ดีจริงๆในแง่ของการที่ให้คนศรัทธาและหันมาปฏิบัติธรรมมากขึ้น

แต่ข้อมูลหลายๆอย่าง ทางพุทธศาสนาถือว่าผิดและมั่วเยอะมากๆครับ

ใครที่อ่านโปรดใช้วิจารณญาณให้ดีด้วย

อ่านแล้วครับทั้ง เล่ม 1 และ 2  ดีมากๆ ครับ  ดีในแง่ที่ว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์ + ความจริงทางพุทธศาสตร์ศาสนา

ผม(ความ)เชื่อว่า(ความจริง)  พุทธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ของทั้งรูปและนาม

พุทธธรรม เป็นวิทยาศาสตร์ - คือเป็นความรู้ที่เกีี่ี่ยวกับความจริงของธรรมชาติซึ่งมีทั้งรูป(สสาร - พลังงาน) และนาม

มันไปด้วยกันได้คับ    แต่ขอให้ผู้เขียนหนังสือ ปรับข้อเท็จจริงทาง พุทธ - วิทย์ ให้ถูกต้อง

 

ดีมาก คับ ที่มีผู้รู้ออกมา ทักท้วง จะได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ส่วนตัวผมพอเข้าใจทฤษฏี ของไอน์สไตน์ และพุทธธรรมพอสมควร ในระดับหนึ่ง

เรื่อง แบบนี้ต้องศึกษากันให้ลึกซึ้งหน่อย คับ ทั้งทางด้าน วิทย์ และ พุทธ เพราะวิธีการได้มาซึ่งความรู้คล้ายกัน

พุทธได้มาทางจิต (การทดลองทางจิต) ไม่ได้ใช้คณิต

วิทย์ต้องผ่านการทดลอง ใช้คณิตศาสตร์

รูป(สสาร-พลังงาน) มองเห็นเข้าใจง่าย

จิต(นาม) มองไม่เห็นเลยเข้าใจยาก

ตอนนี้กำลังทำความเข้าใจอยู่เหมือนกันว่า พุทธธรรม กับ วิทยศาสตร์ มีความเหมือนกัน แต่ การแสดงผลต่างกัน

วิทย์ แก้ทุกข์ได้แค่ปัจจุบันชาติ

พุทธแก้ทุกข์ได้สิ้นเชิง

บทความ (อ่านเล่นเพลินๆ คับ)(ความจริง)(ความเชื่อ)

ให้ใช้ปัญญา นำหน้าความเชื่อและศัทธานะคับ คือ มีเหตุมีผลเพียงพอก่อนนะคับ ค่อยเชื่อ ค่อย สัทธา

เป็น บทความสนับสนุนที่ว่า พุทธธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ที่ทนต่อการพิสูจน์ทุก(กาลเวลา - อวกาศ)

ผมจะใ้ช้วิธีศึกษาและปฏิบัติ ในการเดิน ตามรอยพระบาทองค์พระศาสดา(เป็นชื่อบทความและจุดมุ่งหมายในความเข้าใจ บทความ)

จากคำสอนและวิธีการสอนขององค์พุทธะ พอจะประมวลได้ว่า " พุทธธรรม " นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ - คือเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งรูป (สสาร - พลังงาน ) และ นาม ดังนั้น พุทธธรรมจึงเป็นวิทยาศาสตร์ของทั้งรูปและนาม ซึ่งปรากฎอย่างชัดเจนเป็นหลักอยู่ในพระอภิธรรมปิฎก ที่องค์พุทธะได้พบความจริงจากการ ตรัสรู้ และได้รวบรวมประมวลความรอบรู้เหล่านั้น (ทั้งรูปและนาม) และนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ทุกข์ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของทุกชีวิต ทั้ง 3 ระดับ คือ ทิฎฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตตะ และสุดท้าย ปรมัตถะ เช่นเดียวกับที่วิทยาศาสตร์กายภาพ(Physical Science) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ศึกษาจนรบรู้ในหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆของสสารและพลังงาน และนำไปประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีปัจจุบัน ซึ่งยังยังผลอำนวยเป็นความสะดวกสบาย - ความสุขของมวลมนุษย์ในปัจจุบัน(ชาตินี้) หากแต่ผิดกันที่ว่า วิทยาศาสตร์กายภาพสามารถแก้ทุกข์ให้แก่มวลมนุษย์ชาติได้เฉพาะแต่ในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้น แต่พุทธธรรมเป็นหลักวิชา - ความรอบรู้ - กฎเกณฑ์ ของทั้งรูปและนามประมวลเข้ากันแล้ว " กำหนดเป็นแนวทางของการประพฤติปฏิบัติ - มรรค " ยังให้เกิดผลประโยชน์ทั้ง 3 ระดับแก่ผู้ปฏิบัติ คือ พ้นจากความทุกข์ ทั้งในปัจจุบันชาติ(ชาตินี้) ในอนาคต (ชาติหน้า - ต่อๆ ไป ) และเบ็ดเสร็จสิ้นเชิง (พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง - มีความสุขอย่างยิ่งตลอดกาล) อีกด้วย

ผมมีจิตใจเปิดกว้างเพื่อรองรับ สัจธรรมที่ "สมเหตุสมผล" และไม่ค้านกับกาลามสูตรและโคตมีสูตรเสมอ ข้อเขียน - ความคิด

ผมได้พยายามศึกษาและปฏิบัติพุทธธรรมตามแนวคิดเห็นของผมเองที่ว่า " พุทธธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ของทั้งรูปและนาม

ดังนั้น จึงสมควรหรือน่าจะใช้กรรมวิธีเดียวกันกับการศึกษาและปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ซึ่ง ผมมีประสบการณ์มาตั้งแต่การศึกษาในชั้นอุดมศึกษา ที่ว่า เราจะต้องศึกษาทฤษฎี - คือปริยัติ ให้เข้าใจและอย่างสมเหตุสมผลด้วยจินตามยปัญญาก่อน แลัวจึงเข้าห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบทฤษฎีที่ได้ศึกษามาแล้วอย่างเข้าใจและถูกต้องด้วยเหตุและผลนั้นต่อไป ตามแนวทาง เทคนิค และขั้นตอนที่ผู้เคยทำมาแล้ว คืออาจารย์ผู้สอนเขียนกรรมวิธีในการปฏิบัติ (Procedure) ไว้แล้วนั้นต่อไป เมื่อผลของการปฏิบัติในห้องทดลองและทฤษฎีตรงกันก็สามารถนำผลนั้นไปประยุกต์ในเทคโนโลยีสาขาต่างๆ ต่อไป เพื่อให้เกิดความสะดวกและผาสุกของการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติเป้นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งเป็นขั้นปฏิเวธธรรมจะไหลอกมาอย่างต่อเนื่องเป็นขั้นตอน ไม่ต้องผ่านขั้นตอนใดๆ อีกเลย ซึ่งไม่เหมือน(ต่าง)กับวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนของเทคโนโลยีอีกชั้นหนึ่ง กระบวนวิธีการและขั้นตอนของการปฏิบัติทางกายภาพมีความจำเป็นและสำคัญยิ่งต่อผลที่ถูกต้องแม่นยำตามที่ต้องการปรากฎในทฤษฎีฉันใด กระบวนวิธีการและขั้นตอนของการปฏิบัติพุทธธรรมก็ย่อมมีผลต่อความถูกต้องแม่นยำสมบูรณ์ของ ปฏิเวธธรรมที่จะได้ออกมาฉันนั้นเช่นกัน แต่ต้องการความมละเอียด สุขุม และแยบคายอย่างยิ่ง เหตุเพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับนามธรรมซึ่งไม่มีตัวตนอีก

ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่ยากแก่การทำความเข้าใจ ศาสตร์(พุทธ + วิทย์) ทั้ง สอง

จาก เด็กวิทย์ แต่ศัทธาในพุทธศาสตร์ศาสนา (ปัญญา ต้อง นำ สัทธา ).....

พุทธธรรมเป็นวิทยาศาสตร์ทั้ง(รูป สสาร -พลังงาน )และนาม(จิต)

มหากัปป์ มีค่า ประมาณ 4 * 10 ยกกำลัง 23 ปี

อนันตัง = ไม่มีที่สุด -นับไม่ถ้วน = infinitely - infinity

โลก มีเกิดขึ้นจากขั้นตอนการก่อกำเกิด - พัฒนาของเอกภพ - จักรวาล และดับพร้อมกับการสิ้นไปของจักรวาล เมื่อสิ้นสุด มหากัปป์

แล้วก็เกิด - พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นอย่างนี้กลับไปกลับมา หาที่สุดมิได้ ทางวงการวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เรียกว่า เรียกว่า คาบ หรือ วงรอบ หรือ period มี ค่า 4 * 10 ยกกำลัง 23 ปี(พุทธพจน์กล่าวไว้ว่ามี ค่าประมาณ หน่วยปี )

สรรพสิ่งล้วนเป็นวัฏฏะ โลกหมุนรอบตัวเอง โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ กาแลกซี่ดาวฤกษ์ เคลื่อนที่รอบกันเป็นรูปคล้ายวงล้อเกวียน มี เส้น ผ่านศูนย์กลาง 1 แสน ปีแสง(1 ปี แสง = 14,608 * 10 ยกกำลัง 8 กิโลเมตร = ระยะทางที่แสงเดินทางไปได้ใน 1 ปี ด้วยความเร็ววินาทีละ 300,000 กิโลเมตร ใช้ เวลา ประมาณ 200 ล้านปี) ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางกาแลกซี่ประมาณ 33,000 ปีแสง

วัฏฏะของสิ่งที่ใหญ่โตมากๆขึ้นจะมีระยะเวลามากขึ้น แต่สำหรับในสเกลของธรรมชาติแล้วเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงแป๊บเดียว แว่บเดียวในธรรมชาติเท่านั้นเอง

อะตอม - ปรมาณูมีอิเล็กตรอนที่หมุนรอบๆ นิวเคลียส คือ แก่นปรมาณู 1 รอบ ใช้เวลาเพียงแค่ 100 uuu second เท่านั้นเอง คือ 10 ยกกำลัง ลบ 16 วินาที (วัดโดยนักวิทยาศาตร์กายภาพ)

คาบการหมุนรอบกาแลกซี่ของเราและของดวงอาทิตย์ 200 ล้านปี หรือ น้อยเหลือเกิน 10 ยกกำลัง ลบ 16 วินาที ซึ่งเป็นการหมุนรอบของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสของอะตอม มันเป็นไปได้ มันเป็นจริงใน เรื่องของ ธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการพิสูจน์และยืนยันความจริงเหล่านี้แล้ว (มันไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อ)

บางสิ่งบางอย่างในธรรมชาติที่แม้นักวิทยาศาสตร์กายภาพปัจจุบันยังก้าวเข้าไปยังไม่ถึง แต่พระพุทธองค์ซึ่งเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์กายภาพ(รูป) และนักวิทยาศาสตร์นามภาวะ(นาม) ทรงรอบรู้แล้วทรงตรัสไว้สั่งสอนเวไนยสัตว์ ตรัสไว้ตามความจำเป็นประกอบคำสอนสู่ความพ้นทุกข์ทั้งโอกาสโลกที่เป็น สสาร - พลังงาน ตั้งแต่ที่มีขนาดเล็ก - microspic world เช่น ปรมาณูและอนุภาคที่เล็กกว่า และที่มีขนาดใหญ่ - astronomical world จำพวกดาราศาสตร์ทั้งหลาย การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสรรพสิ่งธรรมชาติเหล่านี้ คือ โลกวิสัย 3 ไ้ด้แก่ 1 โอกาสโลก 2 โลกคือหมู่สัตว์ 3 โลกคือขันธ์ 5 ตลอดจนสามัญลักษณะโดยละเอียด พระพุทธองค์ได้ตรัสว่าอย่าได้เข้าไปคิดค้นหาตำตอบที่ถูกต้องแท้จริง เพราะมิใช่วิสัยของผู้ใดจะทำได้นอกจาก องค์พุทธะ ไม่มีทางที่จะคิดค้นหาได้สำเร็จอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ถ้ายิ่งพยายามทำต่อๆ ไป ผลสุดท้าย คือ เป็น บ้า หาประโยชน์ใดๆ ในการแก้ทุกข์ไม่ได้เลย

อาจินไตย 3 1 พุทธวิสัย 2 ณานวิสัย 3 วิบากวิสัย

ระยะเวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญสั่งสมบารมีขององค์พุทธะ เป็น อสงไขย ๆ มหากัปป์ จากคุณสมบัติของ จิต(เรื่อง จิตปรมัตถ์) บารมีทางด้านดีถูกสั่งสมใว้ใน จิตสันดานตลอดเวลา(การเชื่อมต่อ) บุญญาบารมี ความรู้ความสามารถ ด้วยจำนวนเป็น อสงไขย ๆ มหากัปป์ เมื่อบารมีเต็มแล้ว เมื่อลง มาตรัสรู้เป็นองค์พุทธะในโลก จิตพ้นจากกิเลส ขณะบรลุเป็นพระอรหันต์ตสัมมาสัมพุทะเจ้านั้น อินทรีย์และพละซึ่งเป็นคุณสมบัติของจิตของท่าน จึงมีพลังอำนาจ(energy)ดึงเอาความรู้และความสามารถ คือ บารมีที่ถูกสั่งสมเอาไว้ในจิต ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในระดับพุทธะวิสัย การสั่งสมพลังงาน บารมีเข้าไว้ในจิตในสภาวะนี้แบบนี้ ก็มี ให้เห็นในแม้ ปุถุชนซึ่งยังมีกิเลสยังไม่หมดจด เช่น วิชชา 3 วิชชา 6 และอภิญญา และวิชชาด้านต่างๆ อื่นๆ ก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งยังเป็น โลกียะ

ซึ่งก็ยังเทียบกันไม่ได้กับ วิชชาและญาณที่ปรากฏแก่องค์พุทธะในระดับ พุทธวิสัย

ไอน์สไตน์น้อย หัวใจพุทธ

1 อสงไขย เป็นจำนวนนับ = 10 ยกกำลัง 146 มันมากไปนะ มัน น่าจะ ประมาณ 20 ล้าน

จำนวนอสงไขยเป็นจำนวนนับที่เป็นปีของการวนครบ 1 รอบของอายุกัปป์ของมนุษย์ที่เพิ่มลด 1 ปี ทุกช่วงเวลาที่ผ่านไป 100 ปี

ใน พุทธกาล อายุกัปป์ของมนุษย์ = 100 ปี ปัจจุบันผ่านมา 25 พุทธศตวรรษ อายุกัปป์ของมนุษย์ขณะนี้ 74 ปี

เมื่อเวลาผ่านไป 2500 ปี การคิดคำนวณแบบนี้ คำว่า (อสงไขย ซึ่งเป็นจำนวนนับ น่าจะมีค่า ประมาณ 20 ล้าน)

องค์พุทธะทรงบำเพ็ญบารมี 3 ประเภท

1 ปัญญาธิกพุทธะ ใช้เวลา 4 อสงไขย กับ อีก 1 แสนมหากัปป์

2 วิริยาธิกพุทธะ 2 เท่า ของ ข้อที่ 1 คือ 8 อสงไขย กับ อีก 2 แสนมหากัปป์

3ศรัทธาธิกพุทธะ ใช้เวลา ในการ บำเพ็ญ 2 เท่า ของ ข้อที่ 2 คือ 16 อสงไขย กับ อีก 4 แสน มหากัปป์

ผมได้ พิจารณาดูแล้วว่าระยะเวลาของการสั่งสมบารมีขององค์พุทธะแต่ละประเภทแล้ว เกิดความรู้สึกรู้ซึ่งแล้วเข้าใจทันทีเลยว่าทำไมถึงได้มีความรอบรู้ เก่งกล้าสามารถอะไรแบบนี้ ไม่มีผู้ไดเสมอเหมือน และเป็นความเสียสละอันใหญ่หลวงเพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ หากไม่มีองค์พุทธะแล้วสัตว์ทั้งหลายคงจะไม่มีโอกาสพ้นทุกข์ได้เลย

จงมีจิตใจเปิดแบบจิตใจของนักวิทยาศาสตร์ (scientific Mind) พระพุทธศาสนาไม่กลัวคนผู้มีปัญญามาศึกษา

เช่น นักวิทยาศาสตร์

สรุป คือ พุทธศาสตร์ - เป็นความจริง(ปรมัตถ์)ละเอียดกว่า

วิทยาศาตร์ - เป็นได้แค่ระดับ ทิฏฐธัมมิกัตถะความจริงตามธรรมชาติหยาบกว่าศาสตร์ทางพุทธ

สรุปความรู้ทั้งหมดในธรรมชาติ

ความรู้ทางพุทธศาสตร์ แยกเป็น 2 สาขา

1 วิทยาศาสตร์กายภาพ - แค่ รูปปรมัตถ์ 2. วิทยาศาสตร์นามธรรม เป็นนามปรมัตถ์

ไอน์สไตน์น้อย หัวใจพุทธ

เรืองของ ความเข้าใจ ถูกต้อง พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์คับ ดังนั้น เพราะว่าผู้ใดก็ตามที่จะหาผลประโยชน์จากพุทธศาสตร์สู่ความพ้นทุกข์ ผู้นั้นจะต้องศึกษาคำสอนขององค์พุทธะ ให้เกิดความรอบรู้และเข้าใจ เช่น เดียวกับ วิทยาศาสตร์กายภาพซึ่งเป็นความจริงที่เกี่ยวกับรูปคือ สสารและพลังงาน ซึ่งหยาบกว่า พุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นความจริงตามธรรมชาติเช่นกัน แต่มีทั้งส่วนที่เป็นรูปและส่วนที่เป็นนาม เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิต - ก้อนทุกข์ ซึ่งประกอบด้วยทั้งรูปและนาม

การไหลของธรรมชาติจริงๆ คือ Flow of nature

คำสอนแบบวิทย์ขององค์พุทธะ "ธรรมเหล่าาใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และความดับสิ้นเชิงแห่งธรรมเหล่านั้นเมื่อหมดเหตุ พระมหาสมณเจ้ามีปกติก็สอนเอาไว้อย่างนี้" เป็นคำพูดของ พระอัสสชิตอบคำถามว่าใครเป็นศาสดาและสอนว่าอย่างไร

เป็นการแสดงเหตุและผลซึ่งลงรอยกันกับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ H2O เกิดขึ้นมาจาก ออกซิเจน 1 อะตอม+ ไฮโดรเจน 2 อะตอม คือ ผลเกิด จาก เหตุ นั้นเอง

ไอน์สไตน์น้อย หัวใจพุทธ

พุทธศาสน์ = วิทยาศาสตร์ องค์ศาสดาเป็นนักวิทยาศาสตร์

พุทธศาสตร์ตั้งอยู่บนฐานของเหตุและผล ไม่ใช่อยู่บน ความเชื่อ ศัทธา งมงาย

ไม่มีสิ่งใดในพุทธศาสนาอธิบายไม่ได้ เป็นศาสนาที่ให้ข้อคิด ให้ ใคร่ครวญ พิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ปัญหาทุกปัญหา ต้องตอบได้ และก็จะสามารถ เข้าใจ ได้ ไม่เว้น แม้แต่ เรื่องของ อาจินไตย 4 ไม่มีข้อยกเว้น

สาเหตุที่ ทำไม อาจินไตยทั้ง 4 จึงเป็นสิ่งที่ ปุถุชนผู้มีกิเลสหนา ไม่ควรไปคบคิด ถ้าจะคิดหาคำตอบที่ถูกต้อง ตอบให้ได้ ผลก็คือ บ้า

จะเปรียบเทียบปัญหาอาจินไตยกับปัญหาง่ายๆ ที่มีอยู่จริงๆ ในโลกใบนี้ คือ ถ้าเ็ป็นผู้ที่มีพื้นความรู้ไม่พอเพียงก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ แม้จะอธิบายอย่างไร ๆ เช่น ปัญหาการหาพื้นที่ของ วงกลม วงรี พาราโบล่า *** การคำนวณหาความโค้งของ กาล-อวกาศ โดยใช้ สมการสนามของไอน์สไตน์ การอธิบายเทหวัตถุบนฟากฟ้า(จักรวาลวิทยา) ผู้มีความรู้แบบชาวบ้าน ประถมศึกษา มัธยม และ อุดมศึกษา จะมีทัศนะเกี่ยวกับปัญหาลักษณะนี้แตกต่างกัน ผู้มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะเป็นเรื่องที่ง่ายนิดเดียว ถ้าผู้มีความรู้แค่ประถมศึกษาจะคิดให้ได้ คือ ดันทุรังคิด จะมีผลก็คือ เป็น บ้า หากไม่ทำการศึกษาให้ถึงขั้นเสียก่อน อย่างนี้เป็นต้น ในส่วนของปัญหาสัจธรรมในพระพุทธศาสนา - ในธรรมชาติก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน เนื่องจากพุทธศาสน์ต้องพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุด้วยผลก่อน เพราะองค์ศาสดาเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่นักสังคมสงเคราะห์

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของผู้มีระดับสติปัญญาสูงพอสมควร จึงจะสามารถหาประโยชน์จากคำสอนขององค์พระพุทธเจ้าได้อย่างแท้จริง สู่ความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงเบ็ดเสร็จได้ และประโยชน์ที่พึงจะได้รับนั้น ก็มีความมากน้อยลดหลั่นกันไปตามระดับกำลังของ สติและปัญญาของผู้ศึกษาและประพฤติปฏิบัติด้วย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ เอาปัญญา นำ หน้า ไม่ใช้ ศัทธ า และ ความเชื่อ งมงายนำ

ไอน์สไตน์น้อย หัวใจพุทธ

พุทธศาสนา กับ วิทยาศาสตร์ พุทธศาสน์อยู่เหนือวิทยาศาสตร์(ไอน์สไตน์)

โลกในปัจจุบันได้ก้าวหน้าไปไกลมากเกี่ยวกับรูปซึ่งได้แก่ สสาร และ พลังงาน ที่เราเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์กายภาพ พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจในเรื่องของทฤษฎี(พิเศษ)(ทั่วไป)ของ ไอน์สไตน์ เอาไว้บ้างตามสมควร

จากความจริงที่ปรากฎในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอภิธรรมปิฎกที่ แสดงให้เห็นถึงความรอบรู้ขององค์พุทธะอย่างกว้างขวาง ในเรื่องของรูปปรมัตถ์(สสารและพลังงาน)E = mc2 สามารถสัมพันธ์กันได้โดยตรงกับความรู้ในทางวิทยาศาสตร์กายภาพที่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำอย่างไอน์ไตน์ค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์ ในพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับโลกและจักรวาล สัมพันธ์ได้กับดาราศาสตร์ พระภิกษุจำเป็นจะต้องศึกษา - เปิดหู - เปิดตาให้กว้างพอสมควร เพื่อความเป็นผู้ไม่ล้าหลังและสามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสัมพันธ์กับพุทธศาสน์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจของพุทธศาสนิกชนที่เป็นเยาวชนและผู้ได้รับการศึกษาสูงทางวิททยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ แม้ว่าเรื่องของวิทยาศาตร์นามธรรมในทางพุทธศาสนาในนามปรมัตถ์นั้้นจะพูดอธิบายกันให้รู้เรื่องได้ยาก เพราะทางโลกวิทยาศาสตร์ต้องใช้ คำว่า เขาก้าวเข้าไปไม่ถึง แต่ถ้าสามารถชี้ให้เห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์กายภาพที่ไอน์สไตน์นั้นค้นพบ กับ รูปปรมัตถ์ในทางพุทธศาสนามันลงรอยกันได้ก็จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนขององค์พุทธและเป็นการสำทับลงไปว่าองค์พุทธะนั้นเหนือชั้นกว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งโลกอย่าง แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แม้เฉพาะเพียงเรื่องของ รูป คือ สสาร(metter)และพลังงาน(energy)อย่างเดียว ยังไม่ต้องกล่าวไปถึงเรื่องของ นาม(จิต) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิต ที่เกี่ยวข้องกับความสุข - ความทุกข์ ซึ่งพวกนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งๆ ทั้งหลาย ยังมืดบอด แต่พระพุทธองค์สามารถใช้หรือนำเอาหลักการของ นามปรมัตถ์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์นามธรรมกรุยทางสู่ความพ้นทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงและชี้แนะให้้เวไนยสัตว์ทุกรูปแบบของชีวิต ได้เดินตาม เพื่อความสุขอันเป็นนิรันดรและเป็นสิ่งปรารถนาสูงสุดของทุกรูปแบบของชีวิตได้ในอดีตที่นานมาแล้วกว่า 2,500 ปีมาแล้ว

แม้กระทั่งตัวไอน์สไตน์เองยัง บอกว่า สิ่งที่เข้าค้นพบ องค์พุทธได้ค้นพบมา ก่อน ไอน์สไตน์ เป็น พันปี (ผ่านมาแล้วก็ 2554 เช่น การก่อกำเนิด - พัฒนาการของเอกภพและจักรวาล การเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ และ แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกดับพร้อมกับการสิ้นไปของจักรวาล(จุดจบของเอกภพ ในที่สุด)เมื่อสิ้นสุดมหากัปป์ แล้วก็เกิด - พัฒนาขึ้นมาใหม่)เป็นอย่างนี้กลับไปกลับมา หาที่สิ้นสุดมิได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท