รู้หรือยังว่าใบหม่อนมีประโยชน์อย่างไร?


องค์ประกอบคุณค่าทางอาหารที่สำคัญของใบหม่อน

           องค์ประกอบคุณค่าทางอาหารที่สำคัญของใบหม่อน        

          หม่อนเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง  ใบหม่อนนอกจากใช้เลี้ยงไหมแล้วยังใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด  ทั้งนี้เพราะว่าใบหม่อนสามารถช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารและมีสรรพคุณทางด้านโภชนาการเนื่องจากมีโปรตีนและแร่ธาตุต่าง ๆ สูง   นอกจากนี้ในประเทศจีน  เกาหลี  และญี่ปุ่น  มีการนำใบหม่อนมาใช้ในการประกอบอาหารเสริมสุขภาพและใช้เป็นพืชสมุนไพรตั้งแต่สมัยโบราณ  ทั้งนี้รายงานการศึกษาวิจัยในระยะต่อ ๆ มาถึงคุณค่าของสารประกอบที่สำคัญในใบหม่อนที่มีประโยชน์ต่อหนอนไหมในการผลิตเส้นไหมที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ  ซึ่งปริมาณธาตุอาหารต่าง ๆ ในใบหม่อนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลูกหม่อน แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างของพันธุ์หม่อนมีผลต่อปริมาณแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ น้อยมาก

          โปรตีน

           เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของหนอนไหม โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบของ โปรตีนในเส้นไหม  ซึ่งปริมาณเส้นไหมที่ผลิตจากหนอนไหมที่ความสัมพันธ์โดยตรงกับสัดส่วนของปริมาณโปรตีนในใบหม่อน  หม่อนพันธุ์ส่งเสริมปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 24.78 - 39.93% โดยน้ำหนัก

          คาร์โบไฮเดรต

          คาร์โบไฮเดรตเป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของหนอนไหมโดยเฉพาะในไหมวัยอ่อน  คาร์โบไฮเดรตซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารละลายในน้ำและกรดอ่อน ยกเว้นเส้นใย (fibers)  ซึ่งไม่ละลายในน้ำและกรดอ่อน  คาร์โบไฮเดรตในใบหม่อนจะพบในลักษณะต่าง ๆ 8 - 9 ชนิด คิดเป็น 40-68 %  สำหรับหม่อนในประเทศไทยมีรายงานว่ามีสารคาร์โบไฮเดรต  39.23%  ในใบหม่อน

          ไขมัน

           ไขมันในใบหม่อนจะพบในปริมาณน้อย ทั้งนี้เนื่องจากการสังเคราะห์ไขมันของหนอนไหมจากสารคาร์โบไฮเดรตจากใบหม่อน  แต่สำหรับในประเทศไทยพบว่าหม่อนพันธุ์ส่งเสริมไม่พบไขมันในใบหม่อน จะพบเฉพาะในใบหม่อนแก่  (ใบที่ 5 ลงมา)  จำนวน 2.29%  โดยน้ำหนัก

          เถ้า

          องค์ประกอบของเถ้าใบหม่อนประกอบด้วย  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  แมงกานีส แมกนีเซียม   เหล็ก  ทองแดง   และสังกะสี    เป็นต้น      ซึ่งในบรรดาธาตุเหล่านี้ แคลเซียมและซิลิเกทจะเป็นองค์ประกอบหลัก  เถ้าในใบหม่อนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาสมดุลย์ค่าความเป็นด่างในอาหารเมื่อใบหม่อนถูกย่อย  ปกติในใบหม่อนในประเทศไทยจะพบในปริมาณ 10 - 12.5%น้ำหนักใบ

          วิตามินต่าง ๆ

          วิตามินต่าง ๆ ที่พบในใบหม่อน ได้แก่ วิตามินเอ บี ซี และดี  โดยพบว่าวิตามินซีเป็นองค์ประกอบหลัก  น้ำหนักใบหม่อนแห้ง 100 กรัม จะพบวิตามินเอ 4,230 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.6 มก.วิตามินบีสอง 1.4 มก. วิตามินซี 32 มก.

          กรดอะมิโนแอซิค

          กรดอะมิโนแอซิดที่พบในใบหม่อน ได้แก่  Oxalic acid, tartaric acid, citric acid และ malic acid  ซึ่งปริมาณของกรดอะมิโนแอซิด  ที่พบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์หม่อนและอายุของใบ  จะพบมากในใบหม่อน

 

 *******************

 

หมายเลขบันทึก: 1694เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2005 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท