สวนสุนันทา MPA รุ่น 4


                 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับเชิญสอนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์แก่นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตร ...
มีต่อ
ทัศนาศึกษา ณ เกาะล้าน..
      และแล้วก็เป็นอีกวันแห่งการก้าวสู่โลกกว้างของข้าพเจ้าที่ได้โอกาสเปิดหูเปิดตา เรียนรู้กับความเป็นจริง..ก่อนวันอันเฝ้ารอคอยจะมาถึงข้าพเจ้าตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูกเหมือนเด็กที่ได้รู้ว่าจะได้ของเล่นใหม่ ๆ ที่แสนจะถูกใจ ถึงกับนอนไม่หลับ (นอนตี 2 ตื่นตี 5 ดูนาฬิกา แล้วก็นอนต่อ..) และตื่นเป็นพัก ๆ จนจวบถึงเวลาก็เดินทางสู่จุดนัดหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรถยนต์ส่วนตัวพร้อมพลขับส่วนตัวที่สามารถเปลี่ยนได้ตลอดตามชอบใจ (แท็กซี่)
      เมื่อถึงจุดนัดพบ ต่างคนก็จับที่นอนจองที่เม้าส์ แต่เราถืออภิสิทธิ์ชน มั่นใจในศักยภาพ ไม่ต้องแย่งที่นั่งกะใคร เพราะมันใจ (ยังไงก็ได้นั่งหน้า) ถึงเวลาพร้อมสรรพ ล้อแห่งการเรียนรู้ ขบวนการแห่งการแสวงหาก็ได้มุ่งหน้าเพื่อไปสู่จุดหมาย ตลอดเวลาที่รถวิ่งข้าพเจ้ามิกล้าที่จะหลับตาหลับอันเนื่องจากสภาพการกระหายที่จะเรียนรู้หรืออาจจะเป็นเพราะเสียงเจี๊ยวจ๊าวกระตู้ฮู้ก็มิทราบได้ รอบทางมีสิ่งให้เรียนรู้ ได้เปิดโลกทัศน์ตลอดทาง จนถึงจุดพักรับประทานอาหารระหว่างทางก็ได้รับลาภปากจากท่านผู้หนึ่ง ซึ่งมารู้ภายหลังคืออาจารย์ยม เป็นเจ้ามือถวายภัตตาหาร ขออนูโมทนา มา ณ โอกาสนี้ หลังจากปฏิบัติภัตกิจเสร็จ ทุกคนพร้อมกันที่รถ พร้อมที่จะมุ่งหน้าสู่จุดหมายอย่างจริงจัง
      ณ จุดนัดพบเพื่อจะข้ามไปสู่เกาะล้าน อาจารย์ได้มาคอยให้การต้อนรับแล้ว และได้พาเที่ยวชมร้านขายหนังสือซึ่งมีหนังสือมากมายทั้งภาษาไทยและเทศ เป็นที่ตื่นตาตื่นใจมิใช่น้อย..จากนั้นก็เดินทางด้วยเรือสำราญ ซึ่งบางทีอาจจะนำมาซึ่งการสำรอกของใครบางคนที่แพ้คลื่นบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ
      เมื่อเจอสภาพของเกาะที่สวยงาม ท้องทะเลสีสวยมองดูช่างคล้ายสีมรกตที่ธรรมชาติบรรจงแต่งแต้มเจียระไน เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอันเลิศ และแล้ว...สายตาของข้าพเจ้าก็ต้องไปสะดุดกับภาพอันทำให้หัวใจดวงน้อย ๆ ตุ้ม ๆ ต่อม ๆ ไปบางในบางลีลา แต่สติมา ยังมิได้เลือนหาย หยั่งเห็นหยั่งลึกแค่เพียงกาย ที่มิวายต้องเน่าเปื่อยเข้าสักวัน ก้มหน้าพิจารณาตามรอยเท้าคุณโยมจุ่น ไปถึงจุดหมายจนได้...ถ้าบรรยายมากไปคงไม่ได้ส่งงานและสรุปเนื้อหาเป็นแน่แท้..เอาเป็นว่า เอวํ..
เนื้อหาที่ได้จากการเรียนรู้นอกสถานที่ พอสรุปเป็นหลักใหญ่ใจความประทับใจดังนี้
      • ได้เปิดโลกทัศน์ การเรียนรู้จากสภาพจริง และสิ่งที่ยังไม่เคยรับรู้ ได้กระโดดออกจากกะลา แม้บางลีลาอาจจะกระดากใจ (กับสถานที่และผู้คนหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม)
      • ได้พบปะผู้มีความรู้ทางทุนมนุษย์ และได้ความรู้จากแนวคิด การตัดสินใจที่เป็นระบบ
      • วิชาที่อาจารย์จีระ ถ่ายทอดให้มิได้สิ้นสุด แต่เป็นแค่ฐานที่จำเป็นสำหรับการต่อยอดและขยายผล
      • รู้ถึงวิถึชีวิต การบริหารงาน การทำงานเลี้ยงชีพของคนในพื้นที่
      • รู้เกร็ดกฎหมาย การทำธุรกรรมของคนไทย หญิงไทยกับคนต่างชาติ
      • ...ฯลฯ... จนมาถึงตอนสุดท้าย รู้ว่า..ตัวเองยังมีชีวิตรอดปลอดภัยจนถึงวัด..

                        ป.ล. ท่านสามารถเข้าชมภาพกิจกรรมบางส่วนเพิ่มเติมได้ที่ http://www.geocities.com/supasins

ญานิสา  เวชโช 50038010013

ความประทับใจที่ได้ไปทัศนศึกษา เกาะล้าน

      อย่างแรกเลย

-       ความเป็นกันเองของ อาจารย์

-       ความใจดี และเป็นห่วงเป็นใย ลูกศิษย์

-       ความเป็น Reality Man

-       ความเป็น GURU ในเรื่องของ HR & HM ของอาจารย์

สุดท้ายแล้ว อาจารย์ สุดยอดมาก ๆ ค่ะ ไม่ต้องมีคำบรรยาย

ดีใจมากค่ะ ที่ได้รู้จักกับอาจารย์ และเป็นลูกศิษย์ ของอาจารย์

อย่างที่สอง

-       คลื่นแรงมากค่ะ นึกว่าจะไม่ได้........แต่ก็สนุกดีค่ะ

-       ตอนนั่งเรื่อไปเกาะล้าน ตอนแรกก็กลัว ตอนกลับ ก็ไม่ต่างกัน

ก็ยังกลัวอยู่ แต่ไม่กล้าออกอาการ

แต่ สุดท้าย ก็ประทับใจ เพราะตั้งแต่เกิดมา จนจำความอะไรหลายๆอย่างได้ ยังไม่เคยรู้สึกเหมือนได้ผจญภัยแบบนี้มาก่อนเลย

 

สิ่งที่ได้รับ

-       ความรู้ใหม่ๆจากผู้รู้ในเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์

-       ได้รับรู้ถึงความแตกต่างของการบริหารจัดการของร้านขายหนังสือ ที่มีความเหมือนกันในเรื่องของการขายหนังสือ แต่กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของคุณภาพหนังสือ

-       การแลกเปลี่ยนความคิด ของ บุคคล 3 ท่าน ที่ต่างคนต่างที่มามีความคิดที่แตกต่างกัน แต่สุดท้าย ประเด็นที่สรุป ก็คือ    เรื่องของการบริหาร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 

 

สวัสดี ครับท่านอาจารย์ จีระ  ครับผมอยากจะบอกกับอาจารย์ กับเพื่อนๆ ว่า เมื่อวาน ( 21 ก.พ.2551 ) แสนเสียดายที่ไม่ได้เดินทางร่วมคณะไปศึกษากับเพื่อนๆ มันน้อยใจตัวเองอยู่นะ ที่ไม่สามารถไปได้ เสียดายมาก โดยเฉพาะงานที่เป็นกิจกรรมเช่นนี้ บอกได้คำเดียวว่าเสียดาย  แต่ไม่เป็นไร 24 ก.พ.เจอกันใหม่ ถึงจะไม่ได้ร่วมเดินทางไปด้วยแต่ก็ได้มีโอกาสไปส่งเพื่อนๆ ขึ้นรถที่มหาวิทยาลัย ประทับใจที่เห็นเพื่อนๆ เตรียมตัว ทั้งที่รู้และไม่รู้ ก่อนล่วงหน้าว่า โปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลง บางคนแต่งตัวมา สวยหล่อ พอๆ กัน โดยเฉพาะ หลวงพี่ ที่ 3 รูป สไตล์ การแต่งตัวไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงรักเดียวใจเดียว มิมีเปลี่ยนแปลง หลายคนตื่นแต่เช้าเพื่อที่จะเดินสู่ชลบุรี หลายคนตื่นก่อนเวลาที่เคยตื่น เห็นได้ว่า เริ่มมีความรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะ สาวสวยจาก กลุ่ม 5 มาพร้อมหน้าพร้อมตา ขาเพียงคนเดียวที่ไม่สามารถได้เดินไปร่วมด้วย  แต่ไม่เป็นไร ให้กำลังใจ ตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง ระทับใจ ดีใจกับเพื่อนๆ ที่ร่วมกันเดินทางไปในครั้งนี้ จุดหมายคือ เกาะล้าน  และจุดหมายที่ต้องการคือ การเรียนรู้ การศึกษาวัฒนธรรม บริบท ของชมชุน ชาวเกาะล้าน  อีกทั้งศึกษาการเรียนรู้ ความเป็นมืออาชีพของอาจารย์ ในเรื่องบริหารทรัพยากรมนุษย์  ที่จะต้องนำเอาวิเคราะห์เจาะลึก และตกผลึก มาสู่การเรียนรู้ของแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                13.00  น.  ที่สถาบันประสาทวิทยา คุณ ฉลอง  คุณเคยผ่าตัดอะไรมั๊ย ? คำแรกที่ได้ยินมาจากคุณหมอ  ไม่ครับ ในชีวิต ผมไม่เคยผ่าตัดอะไรเลย  ครับ วันนี้เป็นวันที่คุณหมอ นัดให้มาฉายแสงด้วยเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า( MRI )   สืบเนื่องมาจาก หมอ วินิจฉัยว่าผม เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา เดินเข้าออกสถาบันประสาท เป็นว่าเล่น เพื่อมารักษาตัวเอง มันปวด ทรมานร่างกาย โดยเฉพาะขา มันปวดมาก  นี่แหละ ที่ไม่สามารถร่วมเดินทางไปได้  พยายามที่โทรข้อเลื่อนนัดแล้ว แต่มันทำไม่ได้ มันต้องเลื่อนไปอีกไกล  เพื่อนๆ อย่าลืม ไปเยี่ยมแล้วกัน 4 มีนา นี้ จะขึ้นเขียงแล้ว  เอาเป็นว่า ขอจบความประทับใจ บวกกับ ความเสียดาย เอาไว้แค่นี้ก่อนเจอกันวันเสาร์นี้ อ้อ อย่าลือ อ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์นะครับ และ  อย่าลืม ไปเลือกตั้ง สว.ล่วงหน้าก่อนละ  บ๊ายบาย ..

  ควมประทับใจในการไปทัศนศึกษา ณ เกาะล้าน

- ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยสัมผัสเหมือนเปิดโลกกว้างให้กับตัวเอง

- ศ.ดร.จีระฯ หรืออาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ หาใครเปรียบได้ยาก และยังสามารถเชิญผู้ที่มีความรู้ (บุคคลต่างๆ) มาให้ความรู้กับพวกเรา

- ได้รู้จักวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่

- การบริหารการจัดการกับร้านหนังสือซึ่งน่าสนใจมาก

สรุป

ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ และอาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้ ที่สำคัญอาจารย์ไม่เคยรังเกียจสถาบันเล็กๆ ของพวกเรา อาจารย์ยังสอนให้พวกเราเก่ง เพื่อให้สถาบันอื่นรู้ว่า เรามีความรู้ความสามารถไม่แพ้กัน เราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอและเรียนรู้จากการศึกษาจากโลกภายนอกและความเป็นจริงไม่ใช่ท่องตำรา หนังสือ แล้วสอบ

ขอขอบคุณ อาจารย์ และคณะทำงานของอาจารย์ ทุกคนค่ะ

นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจาการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2551

ความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

1. ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

2. ได้รับประโยชน์มากจาการได้เข้าไปชมร้านหนังสือ ซึ่งมีหนังสือหลากหลายแบบมากมาย

3. ได้รับถึงประวัติและความเป็นมาของเมืองพัทยา

4. ได้รับความรู้จากพี่ๆทั้ง 3 ท่าน ที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อคิดที่ดีแก่พวกเรา

สิ่งที่ประทับใจจาการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

การไปครั้งนี้มีสิ่งที่ประทับใจหลายอย่างมากมายและคงจะอยู่ในความทรงจำตลอดไป

1. ประทับมากๆ คือ อาจารย์จีระ ท่านน่ารักมากเป็นกันเอง และคอยดูแล ห่วงใยพวกเราตลอดเวลา

2. ประทับใจบรรยากาศคลื่นทะเลและน้ำทะเลที่ใสมาก เป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก

3. ประทับใจอาหารทะเลที่สดและแสนอร่อยมาก

4. ประทับใจ เพื่อนๆ ชาว รปม. รุ่นที่ 4 ที่คอยช่วยเหลือ ห่วงใยดูแลกันและกันตลอด

5. ประทับใจเรือและคลื่นทะเล ที่คลื่นซัดแรงมาก น่าหวาดเสียว แต่ก็สนุกดี เหมือนเล่นเครื่องเล่นที่สวนสนุกเลย น่าตื่นเต้น

                มีเพียงอุปสรรคเล็กน้อยที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ใช่ปัญหา คือ วันที่พวกเราไป เกิดมีคลื่นลมพายุพอดี ทำให้การเดินทาง ทางเรือเพื่อจะข้ามไปยังเกาะ ลำบากนิดหน่อย แต่พวกเราก็ฝ่าฟันไปได้ด้วยดี เป็นการเดินทางที่สนุก มากๆ

อยากให้อาจารย์ จีระ จัดกิจกรรมไปอย่างนี้อีก ก็คงดีมากเลยค่ะ

 

นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์
ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน โดยชมวีดีทัศน์ ความเหมือน - ทั้งสองท่านมีพื้นฐานของครอบครัวที่อบอุ่น - ทั้ง 2 ท่าน ให้ความสำคัญกับ "คน" เพราะเชื่อว่า ทรัพยากรณ์มนุษย์มีความสำคัญต่อองค์การเป็นอย่างมาก องค์การจะประสบความสำเร็จหรือล้มหลวก็ขึ้นอยู่กับทรัพยากรณ์มนุษย์ภายในองค์กร - ทั้ง 2 ท่าน มีความสนใจและมีความต้องการที่จะพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงหน้าที่และบทบาท - พัฒนาทรัพยากรณ์มนษย์ ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสถาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแข่งขันได้นำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย - การยอมรับตนเอง ภูมิใจในตนเอง รู้จักตนเอง ว่าตนเองเป็นใคร มาจากไหน ไม่ลืมตัวหรือหลงตัว อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่เพ้อฝัน (รากเหง้า) - คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มีทฤษฎีนักบริหาร 8H's เป็นรากฐานของชีวิตมนุษย์ - ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ มีทฤษฎี 8K's การเพิมคุณค่าในตัวมนุษย์ - ทั้งสองทฤษฎีมีความสอดคล้องกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน สามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ความแตกต่าง - ความแตกต่างในเรื่องของเพศ - มีลักษณะการทำงาน และสถานที่ทำงานที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเรื่องเดี่ยวกัน คือ เรื่องของทรัพยากรณ์มนุษย์ - ประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ข้อ 2. ให้บอก Character ของตนเอง พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ทักษะที่ไม่มี และควรจะมี โดยพอสรุปได้ดังนี้ Character จุดแข็ง - มีความเชื่อมั่นในตนเอง จุดอ่อน - ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ทักษะที่ไม่มีและควรมี - ภาวะผู้นำ
สุรภัทร ปานทอง รปม.รุ่นที่ 4

สิ่งที่ได้รับจากการไปเปิดโลกทรรศน์ ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาความคิดสู่ความเป็นเลิศ ไม่ใช่การพัฒนาแค่เพียงวินาทีเดียว   หากต้องสะสมความเป็นนักคิด  นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป็นเวลานานพอสมควร  จนกระทั่ง  ศ.ดร.จีระ   ได้พานักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตไปเปิดโลกทรรศน์ ณ เกาะล้าน     ได้เห็นความมุ่งมั่นและความตั้งใจของท่านอาจารย์ ที่จะให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (รปม.รุ่น 4)ให้เป็นเลิศในด้านความคิดและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดยที่ท่านเป็นผู้นำหลักทฤษฏี  8k’sมาใช้ในการพัฒนา  จนถึงวันที่  21  กุมภาพันธ์  2551  อาจกล่าวได้ว่าท่านอาจารย์ได้นำหลักทฤษฏีที่กล่าวมานั่นมาใช้ได้อย่างครบถ้วน

ขอเรียนให้ทราบ(อย่างไม่อายเลยว่า)หากอาจารย์ไม่มีโครงการนำนักศึกษาไป เกาะล้าน ลำพังตัวกระผมเองคงไม่มีโอกาสได้ไป(เกาะล้าน)ในชีวิตนี้        นับได้ว่าเป็นความกรุณาอย่างสูง

จะจดจำคำบรรยาย(สั่งสอน)ของท่านอาจารย์ ดร.จีระ และคณะทุกท่าน เพื่อจะนำไปแก้ไข  ปรับปรุง และพัฒนาตนเองและผู้อื่นเพื่อให้สู่ความเป็นเลิศแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โป๊ะเชะ

นางสาวศศินี โพธิ์ทอง

 

  1. สิ่งที่ประทับใจ คือ

    หนูประทับใจมากที่ได้ไปดูหนังสือ ซึ่งหนูคิดว่ามันเป็นหนังสือที่มากด้วยความรู้ความสามารถมากมาย ทำให้เราสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้มีโอกาสพบกับบุคคลที่มากด้วยความรู้ความสามารถ และประสบการณ์มาก มาแนะนำประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และการทำงานของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  2. ได้อะไรกลับมาบ้าง

    ทำให้เรารู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญา มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ตัวเองทำ เพื่อที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

 

 

  1. สิ่งที่ประทับใจ คือ

    หนูประทับใจที่สุด คือ อาจารย์ให้ความสำคัญกับพวกเราชาว MPA รุ่นที่ 4 มาก และเป็นกันเองกับพวกเราได้ให้ความรู้และแนะนำสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ของท่านเอง เพื่ออยากให้เราประสบความสำเร็จ พาพวกเราไปดูหนังสือ ซึ่งเป็นหนังสือที่มากด้วยความรู้ จากนั้นก็ประทับใจมากที่ได้นั่งเรือไปกับเพื่อนๆ พี่ๆ ชาวMPA รุ่นที่ 4 ทุกคน ทำให้เราได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น และได้มีโอกาสรู้จักกับบุคคลที่มากไปด้วยความรู้ความสามารถ ได้มาแนะนำให้เรารู้จักการใช้ชีวิตประจำวันและ ตำแหน่งหน้าที่การงานได้อย่างมั่นคง และประสบความสำเร็จ

  2. ได้อะไรกลับมาบ้าง

    ได้แนวคิดใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบ รู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญาในทางที่ถูกต้อง ได้ประโยชน์จากการชมหนังสือซึ่งมีหนังสือให้ได้ดูมากมาย รู้ประวัติและความเป็นมาของเมืองพัทยา ได้รับความรู้ใหม่ๆในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๓๕
เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ และสวัสดีเพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ ๔ ทุกท่าน จากการไปศึกษาดูงานนักศึกษาได้อะไร และประทับใจอะไรบ้าง นั้น ดิฉัน นางอนงค์ มะลิวรรณ์ นักศึกษา รปม.รุ่นที่ ๔ ขอรายงานให้ทุกท่านได้ทราบว่าวินาทีแรกที่รู้ว่าจะได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี รู้สึกงง ๆเหมือนกับว่า เอ๊ะ..อ๊ะ.. เกาะล้านมีอะไรที่ต้องศึกษาดูงาน เพราะปกติแล้วสมัยที่เรียน ป.ตรี รปศ.อาจารย์จะพาไปดูงานตามหน่วยงาน อบต. เทศบาล หน่วยงานทางราชการ การปกครองส่วนท้องถิ่่น ฯลฯ แต่พอเรียนป.โท จะต้องไปศึกษาดูงานตามเกาะ แต่พอได้ไปมาแล้วรู้สึกยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ ตอนเช้าของวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ขณะที่กำลังหลับอยู่ได้ยินเสียงโทรศัพท์มือถือดังขึ้น พร้อมกับได้รับสายโทรศัพท์ที่ดังเข้ามาในหู คิดในใจว่าใครนะโทรมาแต่เช้ามืด แต่พอได้ยินเสียงที่ได้เป็นคุณอรุณ เลยถามกลับไปว่านี้มันกี่โมงแล้วลุง ลุงอรุณก็ตอบกลับมาว่านี้มัน ๖ โมงเข้าแล้วนะยังไม่ไปดูเพื่อน ๆ อีกหรือ เอ้าขอโทษนอนเพลินไปหน่อย .. ก็มันตื่นเต้นนอนไม่หลับที่จะได้ไปศึกษาดูงาน นอนหลับก็ตอนประมาณ ต๊ ๓ แล้ว จากนั้นก็รีบอาบน้ำแต่งตัวเดินทางออกจากบ้านพักเพื่อเดินทางไปยังจุดนัดหมายคือลานจอดรถหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์ ระหว่างทางได้แวะเดินเข้าไปสักการะอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ก่อนไปถึงจุดนัดหมาย หลังจากนั้นเวลา ๐๗.๐๐ น. ได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรถบัสของมหาวิทยาลัยมีเพื่อน ๆ และอาจารย์ยมนั่งไปด้วยเต็มพอดี ระหว่างทางจะได้ยินแต่เสียงคนที่มีอายุรุ่นไม่อยากแก่คุยกัน (กลุ่ม ๖ )คงจะทราบนะคะว่ามีใครบ้าง เรื่องในวงสนทนาก็มีทุกเรื่องก็ตามประสาคนที่มีอายุมาก เลยมีเรื่องคุยมาก คุยจนทำให้เด็กหลับกันหมดเลย เดินทางถึงจุดพักรถบนถนนสายมอเตอร์เวย์-ชลบุรี ได้แวะรับประทานอาหารเช้า และเติมน้ำมันที่ปั้ม ปตท. จากนั้นได้เดินทางถึงบริเวณศูนย์การค้ารอยัลการ์เด้น พัทยากลาง เวลา ๐๙.๑๕ น. หลังจากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ได้พาขึ้นไปชมร้านจำหน่ายหนังสือทั่วไป ซึ่งอยู่บนชั้นที่ ๒ ของห้างฯ ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือที่เป็นภาษาไทยก็มีส่วนน้อยมาก การจัดร้านหนังสือเป็นการจัดการบริหารได้ดีมากจัดเป็นหมวด เป็นหมู่ ดูแล้วน่าอ่านแต่ไม่มีเวลา เพราะมีเวลาน้อยไป จนถึงเวลา ๑๑.๑๐ น. ได้เดินทางไปยังท่าเรือโดยสาร C เพื่อนั่งเรือต่อไปยังเกาะล้าน ก่อนจะถึงท่าเรือจะมีคุณพยาบาล (คุณลาวัลย์) ส่งเสียงแจ๊ว ๆ ว่า รับยาแก้เมาเรือไหมค๊ะ ดิฉันก็ได้คิดในใจนะคะว่า นั่งเรือไปแค่นี้ก็คงไม่ถึงกับเมาหรอก ตอนแรกคิดว่าไม่ขอรับยาแล้ว แต่พอคุณลาวัลย์ถามย้ำเป็นครั้งที่ ๒ เลยต้องรีบรับยามาทาน หลังจากนั้นได้เดินทางขึ้นเรือ แรก ๆ ก็คิดว่าอากาศดีนะมีลมพัดเย็นสบาย มีคลื่นซัดกระทบกับเรือจนบางครั้งก็คิดกลัวเหมือนกันเนื่องจากคลื่นแต่ละลูกที่มารุนแรงมาก ขณะที่นั่งอยู่บนเรือในตุ๊ม ๆ ตุ่ม ในใจคิดว่าจะรอดไหมนี่.. พอนั่งไปสักพักรู้สึกว่าจะมีอาการคลื่นไส้ จะอาเจียนเนื่องจากเมาคลื่นแล้ว นั่งภาวนาขอให้ถึงฝั่งเร็ว ๆ ขณะนั้นก็มองไปที่คุณณรงค์ (ป้อม) เขาก็คงคิดเหมือนกับดิฉันคือกลัวที่เห็นคลื่นมันมาแรง เวลาคลื่นกระทบกับเรือแรง ๆ จะทำให้น้ำไหลทะลักเข้ามาในเรือ ดูท่าทางเขาจะเครียดมากบ่นคิดถึงแต่ทางบ้าน แต่พอเดินทางถึงเกาะล้านแล้วรู้สึกว่าดีัใจมาก.. และเพราะความหิวได้รับประทานอาหารที่ร้านจัดหาไว้ให้โดยไม่บันยะบันยัง..พอรับประทานอาหารแล้วเสร็จก็คิดว่าจะได้พักผ่อนตามอัตธยาศัยแต่ก็ยังได้ยินเสียงเพื่อนตะโกนบอกว่าอาจารย์จะบรรยายต่อขอให้มาฟังก่อน แหมเสียดายจังเลยคิดว่าจะได้สบายเสียแล้ว หลังจากฟังท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ท่่าน ดร.จิรติ ท่านรองผู้กำกับสภอ.พัทยา และท่านอาจารย์ยม บรรยายแล้ว อาจารย์ได้ให้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ตรงนี้แหละที่ดิฉันได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเมืองพัทยามากขึ้น ซึ่งได้ทราบว่าเมืองพัทยาเป็นเขตปกครองพิเศษ เป็นเทศบาลเมืองพัทยา อยู่ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีหากทรายสวยงาม โครงสร้างทางธรรมชาติที่ดี มีทัศนยภาพที่สวยงาม และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ สภาพปัจจุบันนี้เป็นชายหาดที่มีความสวยงามเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีโรงแรมสถานบันเทิงให้บริการตลอดเวลา สภาพปัญหา เป็นแหล่งมั่วสุมในยามคำคืน ยาเสพติด อาชญากรรม อิทธิพลต่าง ๆ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และที่สำคัญได้ทราบว่าในแต่ละเดือนเทศบาลเมืองพัทยาจะได้รับค่าปรับจากการกระทำผิดกฏหมายถึงเดือนละ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งถือว่าสูงมาก น้ำมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน อันเนืื่องมาจากการทิ้งขยะและน้ำใช้ของสถานบริการ ร้านค้า และนักท่องเทีี่ยว จะสังเกตุได้จากขณะที่นั่งเรือไปยังเกาะล้านจะเห็นมีเศษพลาสติกลอยอยู่ในทะเลจำนวนหน่ึ่ง ส่วนประชากรนั้นจะเป็นคนท้องถิ่นประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ส่วนประชากรอีกส่วนหน่ึ่งประมาณ ๕๐ % จะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมาทำงานทุกอย่างที่ได้เป็นเงิน คนต่างชาติที่อาศัยอยู่และชอบเอาเปรียบคนไทย เช่น คนจีน อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังได้รับทราบถึงหลักการบริหารที่ท่านอาจารย์ ดร.จิรติได้บรรยายถึงหลักการบริหารสิ่งแรกที่ทุกคนต้องทำคือต้องเน้นการใฝ่รู้ คิดเป็นทำเป็น รู้จักตัวเอง หลักการบริหารตัวเองที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารเวลา เช่น การที่ไปศึกษาดูงานที่เกาะล้านนั้นเริ่มตั้งแต่ออกจากมหาวิทยาลัยจนถึงเกาะล้านเราต้องบริหารเวลาในการเดินทางและศึกษาดูงานให้ตรงตามเวลาที่ได้นัดหมาย พวกเราอยู่บนเกาะล้านจนถึงเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. หลังจากนั้นได้เดินทางกลับมายังเทศบาลเมืองพัทยา บริเวณท่าเรือแล้วได้เดินทางกลับมหาวิทยาลัยโดยรถบัส ระหว่างทางได้แวะซื้อของฝาก เช่น ขนมจาก ข้าวหลาม และผลไม้ ส่วนใหญ่เกือบทุกคนจะซื้อของโดยเฉพาะขนมจากมากฝากเพื่อนร่วมงาน หวังว่ารับประทานขนมจากแล้วคงไม่จากกันเหมือนชื่อขนมนะจ๊ะ หลังจากนั้นได้เดินทางกลับถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เวลาประมาณ ๒๐.๑๐ น. โดยสวัสดิภาพ สิ่งที่ประทับใจทีสุดคือ ประทับใจในการศึกษาดูงานครั้งนี้ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ และทีมงานทุกท่่านที่ให้ความรู้ และให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา แม้กระทั่งการขึ้นลงเรืออาจารย์ยังต้องดูแลพวกเราตลอดเวลา และประทับใจเพื่อน ๆ ทุกคนที่ร่วมเดินทางซึ่งต้องผจญภัยและต้องบริหารความเสี่ยงในครั้งนี้ด้วย ขอจบการงาน

ณรงค์  พึ่งพานิช

ความคิดเห็น

                หลังจากไปลงเรือคราวนี้กลับมาถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

                ระยะทางพิสูจน์ม้ากาลเวลาพิสูจน์คน

                การเดินทางของแต่ละบุคคลบางครั้งก็ย่อมขึ้นอยู่กับโอกาส บางคนรวยแต่อับโชค บางคนอับโชคแต่มองเห็นโอกาส สัจธรรมอย่างหนึ่ง น้ำไหลลงจากที่สูงฉันใด การเริ่มต้นก็จบลงที่เดิมฉันนั้น

                ก็ขอขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างและนอกเหนือจากสิ่งอื่นใด ทะเลที่ยังเห็นทรัพยากรมนุษย์กลุ่มนี้(รปม.รุ่น 4)มีประโยชน์ที่จะพัฒนาตนเอง  สังคม และประเทศชาติ  ต่อไป

                                                                                                                สำนึก

สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

สวัสดีค่ะ   ศ.ดร.  จีระ     พงส์ลดารมภ์  และ  รปม. รุ่น  ๔  ทุกท่าน

สิ่งที่ประทับใจ   ตอนแรกที่ได้พบอาจารย์ จีระ  ในห้องเรียน หนูมีความรู้สึกว่าหนูกลัวอาจารย์ทำอะไรไม่ถูก  ไม่กล้าที่จะตอบเวลาที่อาจารย์มีคำถามในห้องเรียน  แต่เมื่อได้ไปศึกษาดูงานกับอาจารย์ครั้งนี้  หนูรู้สึกว่ากล้าที่จะพูดคุยกับอาจารย์ กล้าที่จะแสดงแนวความคิดของตัวเองมากขึ้น   อาจารย์เป็นคนที่ไม่ถือตัว  เป็นกันเอง  ติดดิน ถึงไหนถึงกันกับพวกเราได้  จะเห็นว่าอาจารย์ร่วมรับประทานอาหารโต๊ะเดียวกันกับพวกเรา ดูแลห่วงใยพวกเราตลอดการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้   และอีกสิ่งหนึ่งคือ ท่านคุณหญิง (ภรรยาอาจารย์) ท่านเป็นผู้หญิงที่น่ารัก  เก่ง และสวย หนูไม่อยากเชื่อเลยว่าท่านคุณหญิงจะมีอายุ  60 ปี ท่านดูสวยมากจริงๆ  ถ้าเป็นไปได้หนูอยากรู้วิธีที่ท่านดูแลตัวเอง แต่ที่แน่ๆหนูมองเห็นถึง  H “Home” และ Happiness Capital “ทุนแห่งความสุข  ของอาจารย์  อาจารย์มีครอบครัวที่อบอุ่น  น่ารัก  ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการดำรงชีวิตและการทำงาน   ถึงแม้ว่าการไปศึกษาดูงานครั้งนี้เราจะเกิดปัญหาขึ้นเล็กน้อยแต่อาจารย์ก็แก้ไขปัญหาได้  ถือว่าเป็นการบริหารจัดการปัญหาได้ดีเลยที่เดียว  อาจารย์รู้จักมองโลกอย่างเข้าใจ กับปัญหาที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

  • สิ่งแรกเลย  คือ มิตรภาพ ความเป็นเพื่อน  เป็นพี่  เป็นน้องของพวกเราชาว  รปม. รุ่น 4

  • ได้รับความรู้  จากพี่วิทยากรทั้ง  3  ท่าน  ที่ร่วมเดินทางไปกับพวกเราโดย เฉพาะท่านรองผู้กำกับที่ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ  การใช้ชีวิตของผู้หญิงชาวอีสานที่เข้ามาทำงานในพัทยา  พวกเขามีการบริหารจัดการในชีวิตโดยที่พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะได้รับความรู้ในห้องเรียนเหมือนอย่างพวกเราแต่พวกเขาก็มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอทำให้สามารถดำรงชีวิตกับชาวต่างชาติได้อย่างดี เป็นเจ้าของธุรกิจหลายอย่างได้  ทำให้หนูได้เรียนรู้ว่า  ความรู้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน  และใบประกาศนีบัตรไม่สำคัญเท่าไหร่ที่สำคัญคือ  ความรู้ที่ได้รับ และการพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

  •  เมื่อเดินเข้าไปในร้านหนังสือจะเห็นได้ว่าร้านหนังสือนั้นส่วนใหญ่มีแต่ภาษาอังกฤษ จึงได้เรียนรู้ถึง  การจัดการบริหารร้าน  เช่น การรู้ถึงความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย  เป็นต้น (หนังสือส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติต้องการเรียนรู้ถึงความเป็นไทย)

  •  ได้เห็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของอาจารย์

  •     อีกสิ่งหนึ่งที่หนูได้สังเกตเห็น คือการใช้ชีวิตของผู้คนบนเกาะล้าน  บนเกาะล้านมี  วัด  มีโรงเรียน  แต่ไม่ทราบว่ามีสถานีตำรวจหรือเปล่าเพราะไม่มีเวลาที่จะได้พูดคุยกับคนบนเกาะเลย  ถ้ามีเวลามากกว่านี้  หนูจะได้เรียนรู้ถึงชีวิตความเป็นอยู่  และการบริหารจัดการ  ของผู้คนบนเกาะล้านแห่งนี้

พ.ต.หญิง ประไพศรี บุญรอด รหัส 50038010004 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 

ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

จากการอ่านและรับฟังวีดีทัศน์ ทำให้เราทราบถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน และความสำคัญในการพัฒนาคน เพราะ “ คน” เป็นพลังขับเคลื่อนทำให้องค์กรดำเนินไปจนประสบความสำเร็จ คนจะต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ต้องรู้จริง ทำจริง โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ จะเน้นที่ทุนมนุษย์ ถ้าพื้นฐานได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาดี การศึกษาดี ก็สามารถต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าของชีวิต ทุนมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาทางด้านอื่น ๆ ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เน้นที่ รากฐานชีวิต วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการสร้างความยั่งยืนให้ทุนมนุษย์และเน้นการพึ่งพาตนเอง

ข้อ 2. คุณลักษณะความเป็นผู้นำจากการประเมินตนเอง สรุปได้ดังนี้คือ เป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา หลักการตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่า ควรใช้เหตุผลหรือประสบการณ์และความน่าจะเป็น การจัดลำดับความสำคัญของงาน มีการวางแผนและประเมินผลงาน เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น การการทำงานเป็นทีม โดยมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาในคราวจำเป็น ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

จุดแข็ง

1. เป็นคนมองโลกในแง่ดี

2. กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค

3. ยอมรับความจริงทั้งดีและร้าย

4. ให้ความเคารพในความเป็นปัจเจกแต่ละคน

5. อ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

6. พยายามพึ่งพาตัวเองก่อนขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

จุดอ่อน ขาดทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดความยืดหยุ่นเรื่องกฎระเบียบวิธีปฏิบัติงานการเงิน

การเป็นผู้นำที่ดีต้องทำตัวเป็นแก่งพร่องน้ำที่สามารถรับสิ่งใหม่เข้ามาได้ นั่นก็คือ การเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้นำที่ฉลาดต้องเลือกที่จะนำ ด้วยการทำหน้าที่ที่ถนัดหรือชอบ เพราะว่าเราจะรู้สึกมั่นใจว่าทำได้ มีกำลังใจ ทำงานอย่างมีความสุข และรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่เห็นความสำเร็จของงาน

 

 

สวัสดีค่ะ จากการไปทัศนศึกษาในวันพฤหัสที่ 21 ..50 ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ดิฉันต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์จิระ , ดร.กีรติ , ดร.นิยม และรอง ผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา ที่กรุณาสร้างความมั่นใจให้พวกเราชาวราชภัฎมีความภูมิใจในสถาบัน และรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าสถาบันอื่นๆ คุณค่าของคนอยู่ที่การเลือกทางเดินและพยายามเสาะแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอ ต้องพยายามทำตัวให้เสมือนปลาที่ว่ายทวนน้ำ สิ่งที่ประทับใจคือ ท่านอาจารย์ได้พยายามชี้นำพวกเราให้แสดงศักยภาพของแต่ละคน และผลักดันไปสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งพวกเรารู้สึกซาบซึ้งในความกรุณา ต่อมาเรื่องการได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่เกาะล้านเพราะโอกาสแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยนัก ประการสุดท้าย ที่สุดของที่สุดของความประทับใจ พวกเราได้ฝ่าคลื่นทะเลและกลับถึงฝั่งด้วยความปลอดภัย “ นะโม ตัส สะ ภะ ค ะวะ โต ” สาธุ (อาการของ ด..ณรงค์ พึ่งพานิช)

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น4

 

เรียน ศ.ดร. จีระ   หงษ์ลดารมภ์

ก่อนอื่นกระผมต้องขอขอบพระคุณท่าน ศ. ดร.จีระฯ และทีมงานของท่าน ที่พานักศึกษา รปม.รุ่น 4 ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ตั้งแต่นักศึกษา รปม.รุ่น 4   รุ่นนี้เข้ามาศึกษาต่อหลักสูตรของ รปม. ของสถาบันแห่งนี้ กระผมจำได้ว่ายังไม่มีอาจารย์ท่านใดที่ให้ความสนใจหรือพานักศึกษารุ่นนี้ไปทำกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ในส่วนตัวของกระผม กระผมคิดว่า ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้ความสำคัญ และอยากจะถ่ายทอดวิชาความรู้แก่นักศึกษารุ่นเป็นพิเศษ และหวังว่านักศึกษารุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ดีรุ่นหนึ่งในบันดาลูกศิษย์ของท่าน ศ.ดร.จีระฯและทีมงาน กระผมขอบขอบพระคุณอีกครั้ง ครับ.

ความตื่นเต้นเป็นครั้งแรกที่กระผมจะได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมกับท่าน ศ.ดร.จีระ และทีมงาน พร้อมกับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆนักศึกษาของ รปม.รุ่น4 เป็นครั้งแรก นอกสถานที่เรียนยังอยู่ในความทรงจำของกระผมเสมอ เพื่อนนักศึกษาทุกท่านมีความสามัคคีกันทุกคนไม่มีความขัดแย้ง ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ตั้งแต่ประธานรุ่นและคณะกรรมการรุ่นที่รับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อรถโดยสาร หรือ เตรียมความพร้อมทุกอย่างลงตัว ไม่มีบกพร่อง และความร่วมมือ การตรงต่อเวลาเป็นความรับผิดชอบที่ดีที่สุดต่อตนเอง การเดินทางจึงเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีอุปสรรคใดๆ มีแต่ความสนุกสนาน รื่นเริงไปตลอดทางไม่ว่าจะเป็นทางบก หรือทางเรือ ทุกคนมีความสุข สังเกตได้จาก ใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ไม่มีแยกกลุ่ม แยกเหล่า พูดคุยกันสนุกสนานเฮฮาตลอดระยะเวลาการเดินทาง แม้จะได้พบกับความตื่นเต้นบ้างเล็กน้อยในขณะที่ลงเรือเล็กเพื่อต่อขึ้นฝั่ง แต่ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ทุกอย่างก็จบลงด้วยดี พอขึ้นชายฝั่งบนเกาะได้ทุกคนก็ตื่นเต้นผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ตื่นเต้นเป็นพิเศษเพราะไม่ค่อยได้มีโอกาสไปเที่ยวเกาะ เห็นชาวต่างชาติทั้งหญิงและชาย (บางคนก็สวยบางคนก็ไม่สวย)ใส่ชุดว่ายน้ำ รู้สึกตื่นเต้นเป็นธรรมดา ผมรู้สึกนึกคิดว่า.. นี่แหละหนอคือโลกส่วนตัวของเขาโดยไม่สนใจกับสายตาของคนอื่น..เขาช่างมีความสุขจริงๆ บางทีถ้าผมมีโอกาสเงินพร้อมเวลาว่างก็จะมาเป็นการส่วนตัวเหมือนกับชาวต่างชาติกลุ่มนี้   เพื่อนๆนักศึกษาก็คงจะตื่นเต้นไม่แพ้ผมเหมือนกันทุกคน การถ่ายรูปกับชาวชาติที่ใส่ชุดว่ายน้ำถือว่าเป็นความต้องการมากที่สุด เห็นได้จากเพื่อนๆนักศึกษาหญิงบางคนไปขอถ่ายรูปกับชาวต่างชาติ   การับประทานอาหารก็รู้สึกว่าอร่อยมากขึ้นเมื่อได้อยู่ในบรรยากาศแบบนี้ จะเห็นทุกเห็นจะมีความสุข ความอร่อยในการรับประทานอาหาร คุยกันไปด้วย พออิ่มจากการรับประทานอาหาร   ท่าน ศ.ดร.จีระ พร้อมทีมงาน ก็ได้เรียกนักศึกษาทุกท่านเข้าร่วมฟังการบรรยายเล็กๆน้อยๆเพื่อที่จะได้ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ศิษย์ โดยท่านศ.ดร.จีระฯและทีมงาน ซึ่งมีท่าน นายตำรวจ ยศ พ..ต.ท. ตำแหน่ง รองผกกฯ มาให้ความรู้แก่พวกเราทุกคนอีกด้วย ในการฟังครั้งกระผมได้จับประเด็นไว้ เป็นประเด็นดังนี้

-                          ทุกคนต้องมีความคิดใหม่ๆเข้ามาใส่ตนเองอยู่เสมอ ไม่รอความคิดของคนอื่น

-                         ทุกคนที่ดำรงชีวิตจะต้องดิ้นรนต่อสู้ แตกต่างกันไป ตามสภาพของตนเอง

หลังจากจบการบรรยายแล้วท่าน ศ.ดร.จีระ ฯก็ได้ให้นักศึกษาได้พักผ่อนตามอัศยาศัย  ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นอนพักผ่อน จึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ  การได้มาทำกิจกรรมนอกห้องเรียนครั้งนี้  ได้ความรู้ ความสนุกสนาน รื่นเริง ความสามัคคีของหมู่ คณะ กระผมจะจดจำไปไปอีกนาน  

 

นางสาวอมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจาการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน

                สิ่งที่ประทับใจจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

-          ความเป็นกันเองของอาจารย์และทีมงาน

-          เพื่อนๆรุ่น 4 จะคอยช่วยเหลือ เป็นห่วงเป็นใยกันอยู่ตลอดเวลา

-          ดีใจที่ได้ไปเกาะล้าน เมื่อไปถึงก็เห็นธรรมชาติที่สวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด

-          คลื่นลมแรงมากทำให้เพื่อนๆเมาเรือทั้งไปและกลับกันเป็นแถวๆ แต่ก็ยังมีความสนุกสนานเฮฮากันตลอดเวลาการดินทาง

ความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

-          ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากสถานที่จริง

-          ได้รู้จักการบริหารหารของคนในพื้นที่นั้น

-          ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และข้อคิดที่ดีจากพี่ๆทั้ง 3 ท่าน

-          ได้ประโยชน์จากการเข้าไปชมร้านหนังสือที่มีคุณภาพ

 

น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  รหัส  500380100015

ข้อ1.  ความประทับใจ

ตั้งแต่เข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานั้น  นับเป็นครั้งแรกที่พวกเราชาว 

รปม. รุ่น4  ได้ไปทัศนศึกษาต่างจังหวัด  และทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้พวกเรารู้สึกรัก  ผูกพัน  และสามัคคีกันมากขึ้น 

การไปเกาะล้านในครั้งนี้  สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจคือ  บรรยากาศที่สวยงาม  และสดชื่น 

เหมือนเป็นเติมพลังให้เรานั้นมีแรงที่จะก้าวเดินพัฒนาองค์กรต่อไป  และสิ่งที่ขาดเสียมิได้คือ  ความรัก  และความปรารถนาดีที่อาจารย์มอบให้กับลูกศิษย์อย่างจริงใจ 

 

ข้อ 2. สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการทัศนศึกษา

1. เป็นการเรียนรู้แบบใหม่  STYTLE  OBAMA  เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้น 

ทำให้รู้ว่า  การเรียนนั้นมิได้มีแต่ในห้องเรียน  ทุกสถานที่ที่เราไปนั้นล้วนเป็นแหล่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น  ซึ่งเราจะรู้จักเก็บเกี่ยวความรู้ได้มากแค่ไหนนั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับตัวเราเอง

2. ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่า  ศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น  เมื่อจบไปแล้วไม่น้อยหน้า

กว่าสถาบันใด

3. ทำให้ได้รู้จักทีมงานของอาจารย์หลายท่านในแวดวง  HR  มากขึ้น  ซึ่งแต่ละท่านจะถนัด

ในแต่ละด้าน  ทำให้ได้ความรู้หลากหลาย  สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปต่อยอด  หรือสร้างมูลค่าเพิ่มได้  (VALUE  ADDED)

                               

 

น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  รหัส  500380100005

ข้อ1.  ความประทับใจมิรู้เลือน

ครูมีบุญคุณ                        จึงขอเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า

ท่านสั่งสอนเรา                                    อบรมให้เราไม่เว้น

หลังจากเดินทางกลับจากทัศนศึกษา ณ จ.ชลบุรี  ความปลาบปลื้มที่ได้รับความเมตตาจาก 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคณะยังคงมิรู้คลาย  สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับข้าพเจ้าคือ  การบริหารจัดการในการทัศนศึกษา  ท่านอาจารย์ได้พาพวกเราไปเปิดโลกทัศน์ที่ร้านหนังสือ  และท่านกล่าวว่า 

คนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอด  ต้องเป็นคนใฝ่รู้  คิดเป็น  และวิเคราะห์เป็น  ให้ทันต่อโลกที่ไร้พรมแดน   ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า  ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะต้องพัฒนาตนเองให้มากขึ้น  พยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเรียนรู้วิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง  และองค์กรให้มากที่สุด  อย่างน้อยในอนาคต  ถ้าข้าพเจ้าได้เป็นผู้นำก็จะเป็นผู้นำแบบ Trust

 

ข้อ 2. สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการทัศนศึกษา

คือ ความรักและความผูกพันที่นักศึกษา  รปม.รุ่น4  มอบให้แก่กัน  รวมถึงความห่วงใยที่

ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  มีให้ต่อศิษย์  รปม. รุ่น4  ตอนที่ข้าพเจ้านั่งเรือกลับจากเกาะล้านเพื่อขึ้นฝั่ง  ข้าพเจ้าคิดถึงท่าน  อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร  ถ้าวันนี้ท่านอาจารย์ได้มาร่วมทัศนศึกษากับพวกเรา  รปม. รุ่น4  ด้วยก็คงจะดี  ขอให้พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  โปรดดลบันดาลให้  อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร  หายจากโรคภัยทั้งปวง  และขอให้ท่านกลับมาประศาสตร์วิชาให้กับศิษย์  รปม. รุ่น 4  ต่อไป

                                สุดท้ายลูกศิษย์  รปม. รุ่น4  ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์  ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  ที่ช่วยสร้างให้พวกเราเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพ  เพื่อพัฒนาองค์กร  และประเทศไทยให้ยั่งยืน

 

 

น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  รหัส  500380100010

ข้อ1.  ความประทับใจ

สิ่งที่ดิฉันรู้สึกประทับใจที่เห็นเวลาไปเที่ยวตามที่ต่างๆ  นอกจากจะเป็นสภาพธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมที่สวยงามแล้ว  ความสะอาดและมีระเบียบของสถานที่ต่างๆ  ก็เป็นสิ่งสำคัญ  อีกสิ่งหนึ่งที่สนใจก็คือ  วิถีชีวิตของคนที่ได้พบเห็น  ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันได้มีโอกาสไปสถานที่ที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย  นั่นคือ  เกาะล้าน  จ.ชลบุรี

นัดเจอกัน  7  โมงเช้า  ไปถึงพัทยาก็เกือบ  10.00 น.  อาจารย์และทีมงานบางส่วนรออยู่ที่

นั่นแล้ว  พอไปถึง  อาจารย์ก็พาไปร้านหนังสือ  โดยส่วนตัวเป็นคนชอบเข้าร้านหนังสืออยู่แล้ว  เลยถูกใจพอสมควร  มีเล่มหนึ่งถูกใจมากจนอยากซื้อเก็บไว้  แต่ติดอยู่ที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่ม  เลยได้คิดว่า  อุปสรรคของภาษานี้สำคัญจริงๆ  แต่สักวันหนึ่งเราก็จะกลับมาที่นี่อีกครั้ง  เพื่อที่จะซื้อหนังสือเล่มนี้  และจะต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ได้

พวกเรามีเวลาน้อยมากกับการนั่งชมเมืองพัทยาที่มีขนาดใหญ่โต  และน่าสนใจ  ฉะนั้นสิ่งที่

ทำได้ก็คือ  เก็บรายละเอียดทุกอย่างผ่านโดยสายตา  ไม่มีเวลาแม้แต่จะลงไปชื่นชม  หรือการถ่ายรูป  ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

อยู่กันบนเรือนานพอสมควร  หลายคนที่มีอาการเมาเรือ  แต่มีนางพยาบาลใจดี  เอายามาให้

กินตลอดเวลาในการเดินทาง  อากาศเย็นสบายดี  ไม่ร้อนอย่างที่คิด  ค่อยสดชื่นหน่อย

ภาพผู้คนจอแจคึกคักมีให้เห็นตลอดทาง  ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวเท่านั้นที่ได้ชื่นชม

บรรยากาศที่แสนโรแมนติก  และความคึกคักของผู้คน  ทำให้บรรยากาศดูสดชื่นดี  ภาพที่ผู้คนใช้เวลาเพลิดเพลินไปกับการล่องเรือ  ขับเจ็ตสกี  หรือการดื่มด่ำกับอาหารเลิศรส  บางคนใช้เวลากับการอ่านหนังสือดีๆ  สักเล่ม  ก็นับเป็นเวลาที่มีความสุขแล้ว

การเดินชมทิวทัศน์รอบเกาะ  นอกจากจะมีธรรมชาติที่สวยงาม  ยังมีผู้คนให้ดูเพลินตา 

อีกต่างหาก  แม่สอนลูกสาวว่ายน้ำ  เด็กนั่งแทะข้าวโพดฟักใหญ่  พ่อจัดท่าให้ลูกในการถ่ายภาพ  ดูแล้วอารมณ์ดีจริง

                                มาเที่ยวพัทยาดินแดนแห่งการท่องเที่ยวแล้ว  ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แสนร่มรื่น  ครั้งนี้นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงจริงๆ  ทำให้อดคิดถึงสุภาษิตไทยที่ว่า  สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น   จริงๆ เลย

 

น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ประทับใจและสิ่งที่ได้รับในการไปเกาะล้าน สิ่งที่ประทับใจคงจะเป็นการที่เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 ที่เราได้ร่วมกิจกรรมนอกสถานที่เป็นครั้งแรก ทำให้เราผูกพันและรู้จักกันมากขึ้นนอกจากในห้องเรียนแล้วและได้เปลี่ยนบรรยากาศจากชีวิตที่วุ่นวายในกรุงเทพฯ เราได้ไปสูดลมทะเล และได้พจญภัยด้วยกัน และศ.ดร. จีระ และทีมงานก็ร่วมพจญภัยกับพวกเราอย่างน่าประทับใจ เห็นได้ว่าท่านทุ่มเทและกระตุ้นให้เราทุกคน ได้ใช้ทุกวินาที เป็นวินาทีแห่งการเรียนรู้โดยให้เราเปิดโลกเปิดตา สิ่งแรกในการเรียนรู้เมื่อถึงพัทยาคือการเปิดโลกกว้างที่ร้านหนังสือที่ต่างจากส่งที่เราเห็นทั่วๆไป ต่อจากนั้นเราก็ได้เวลาลงเรือข้ามไปเกาะล้าน วันนั้นลมแรงจึงทำให้คลื่นสูง เรือแอนตามคลื่นเพื่อนๆส่วนใหญ่ทั้งกลัวและทั้งเมาเรือกัน แต่เราก็ถึงเกาะโดยสวัสดิภาพพร้อมอาการเมาเรือ เมื่อถึงหาดเทียน เราก็จะประทับใจในความพร้อมของอาหารที่ทำให้เราเอ็นจอยซ์ในการรับประทานมาก หลังจากหลังเราก็ได้รับการแนะนำและสิ่งที่ได้จากดร.กีรติ นอกจากความภาคภูมิใจในสถาบันราชภัฏว่าไม่ด้อยกว่าใครแล้ว ท่านยังชี้ให้เห็นระหว่างสองบริษัทที่มีเครื่องจักรเหมือนกันแต่ผลิตงานออกมาไม่เท่ากันนั่นเป็นเพราะคนศักยภาพต่างกัน เพราะเครื่องจักรเราซื้อได้แต่คนดี คนเก่งเราต้องสร้างขึ้นมาเอง และได้รู้ข้อมูลของเมืองพัทยาจากท่านรองผู้กำกับว่าพัทยาเป็นเมืองที่น่าอยู่และทำให้ลบภาพพัทยาที่ไม่ดีออกไปเลย และเราก็ออกเดินทางเพื่อข้ามกลับฝั่ง ขากลับคลื่นก็ยังคงแรงแต่คงเพราะอาการเพลีย เพื่อนบางคนก็สามารถหลับได้ และพวกเราก็ขึ้นรถมาหลับกันต่อ จนมาแวะซื้อของฝากก่อนกลับบ้านนอนพักผ่อนกัน  และวันนี้มันจะเป็นวันที่ต้องจดจำไว้วันนึงของหนูเลยค่ะ

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน ๆ

                จากการที่ได้ไปทัศนศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ 2551 ทำให้มีความประทับใจอาจารย์ที่เอาใจใส่ลูกศิษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ท่านก็พยายามที่จะให้ลูกศิษย์ได้ความรู้มากที่สุดและคิดว่าความรู้ที่ท่านมอบให้นั้นจะทำให้ลูกศิษย์ได้นำไปปรับปรุงตัวเองให้มีความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่มากระทบ  และนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวัน โดยอาจารย์ได้ปฏิบัติเป็นต้นแบบที่ดี  และสรรหาอาจารย์พิเศษที่มีความรู้ความสามารถมาสอนแนะนำเพิ่มเติมให้ลูกศิษย์  ซึ่งทุกอย่างที่อาจารย์ทำให้ลูกศิษย์นั้น ทำด้วยใจ  ทำด้วยความรักความหวังดีจริง ๆ  MPA รุ่น 4 โชคดีและภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ

                สิ่งที่ได้รับจากการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้   ทำให้ได้รู้จักอาจารย์และเพื่อน ๆ  มากขึ้น  เป็นการเพิ่มเติมความรู้สึกดี ๆ  ที่มีต่อกัน  และที่สำคัญคือได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมของคนในแต่ละชาติที่ได้มาทำกิจกรรมของตนในสถานที่เดียวกันว่ามีความแตกต่างกันมาก   ดังนั้น ถ้าเราต้องการที่จะไปอยู่ในสถานที่ใด จะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละที่ให้เข้าใจเสียก่อน เราก็จะอยู่ในสถานที่นั้น ๆ  ได้อย่างมีความสุข  (เช่น MPA รุ่นที่ 4  บางคน ใส่สูทไปเดินชายหาดในวันนั้น ท่านได้เรียนรู้อะไรมาบ้างคะ แต่ที่แน่ ๆ  ดิฉันเดาว่าท่านคงจะร้อนมากแน่ ๆ  )

สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4

ความประทับใจ

จากการที่ได้ไปดูงานที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ดิ ฉัน ได้มีความประทับใจ ดังนี้

1.           ความประทับใจ อาจารย์จิระ และทีมงาน เป็นอย่างมาก ดูแลพวกเราเป็นอย่างดี และอย่างใกล้ชิด คอยถามและเป็นห่วงพวกเราตลอด ซึ่งทุกคนจะเห็นได้ว่าอาจารย์จะคอยเข้ามาถามเข้ามาพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ไม่ถือตัว

2.           มีความประทับใจพี่ ๆ เพื่อน ๆทุกคนในรปม.4  ที่มีแต่มิตรภาพที่ดีให้ คอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่มอบให้กันตลอดการดูงานครั้งนี้

3.           ประทับใจเกาะล้าน ทะเลสวย น้ำใส เหมาะกับการมาท่องเที่ยว และไม่ไกลจากกรุงเทพ

4.           อาหารทะเลอร่อยมาก (ชอบ ชอบ)

ได้อะไรบ้างจากการดูงานในครั้งนี้

จากการดูงานในครั้งนี้ ทำให้ดิ ฉันได้อะไรหลายอย่าง กล่าวคือ

1.              การได้เข้าร้านขายหนังสือที่เป็น หนังสือภาษาอังกฤษ ครั้งแรก ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพราะแต่ก่อนจะเข้าแต่ร้านหนังสือซีเอ็ด ดอกหญ้า  นายอินทร์ ซึ่งเป็นร้านขายหนังสือภาษาไทย

2.              ได้สัมผัสกับหนังสือ วรรณกรรม ที่มาจากต่างประเทศ การเขียน ภาษาที่เข้าใช้ตลอดจนการออกแบบหน้าปกและออกแบบเล่มหนังสือก็แสดงถึงความคิดที่สร้างสรรค์

3.              ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาในการทำงานของอีกอาชีพหนึ่ง คือ เมื่อตอนที่จะให้พวกเราลงเรือเล็กแต่เพราะคลื่นใหญ่ไม่สามารถเทียบเรือสองลำเข้าหากันได้ คนขับเรือก็เลยขับไปจอดเรือข้างภูเขา ซึ่งภูเขาจะกั้นลมไว้ทำให้มีคลื่นไม่สูงมากนัก ทำให้เราได้ลงเรือเล็กได้ เป็นต้น

4.              การดูงานครั้งนี้นอกจากได้มาเที่ยวแล้วยังได้ข้อคิดจากวิทยากรทั้งสามท่าน ได้ความรู้เพิ่มเติม ทำให้เราสามารถนำไปคิดต่อ และประยุกต์ใช้กับตัวเองได้

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

 เรียนท่านอาจารย์จีระ  และสวัสดีเพื่อนชาวรปม. รุ่น 4 ทุกท่าน   
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  และทีมงานทุกท่านที่ให้การดูแลพวกเราเป็นอย่างดีในการเดินทางไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ขอบพระคุณมากค่ะ
ความรู้สึกที่ไปทัศนศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551  นั้นข้าพเจ้าเรารู้สึกดีใจและตื่นเต้นเพราะวัยอย่างเราเหมือนจะเลยเวลาการทัศนศึกษาไปนานแล้วทำให้รู้สึกกลับเป็นเด็กอีกครั้ง นอนก็ระวังกลัวจะตื่นไม่ทันเวลานัดหมายทำให้นอนไม่หลับไม่รุ้ว่าวิตดกังวลหรือตื่นเต้นดีใจที่จะได้ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้จากการสอบถามก็น่าจะมีเพื่อนที่มีอาการเดียวกันหลายคน ก่อนเดินทางก็มีการสอบถามเกี่ยวกับสถานที่จะไปนิดหน่อยทราบว่าเกาะล้าน  จังหวัดชลบุรี  เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่  และไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก   เมื่อได้เวลานัดหมายตอน 7.00  น. ที่มหาวิทยาลัยเพื่อออกเดินทางไปยังจุดหมายสมาชิกทุกคนก็พร้อมเพียงกันพร้อมด้วยมีการตุ้นเสบียงอาหารยามเช้ากันอย่างกับว่าจะไปเดินทางไกลหรือไปต่างจังหวัดหลายวันถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินทางที่ดี   ในระหว่างทางก็มีการพูดคุยกันอย่างสนุกสนานตลอดบ้างก็พักผ่อนสายตาเนื่องจากนอนไม่หลับก็จะถูกเพื่อนเก็บหลักฐานเป็นรูปถ่ายไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถูกนำมาเผ่ยแพร่น่ากลัวจริง ๆ   เมื่อถึงที่นัดหมายเวลาพวกเรารับการตอนรับจากท่านอาจารย์จีระ และทีมงานที่น่ารักทุกท่านซึ่งเป็นกันเองและให้ความห่วยใยกับพวกเราทุกคน เริ่มจากท่านอาจารย์ได้นำพวกเราไปยังร้านหนังสือที่ขายหนังสือต่างประเทศเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่น่าสนใจนับเป็นการเปิดโลกทัศน์และอาจารย์ให้ความสำคัญในเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอย่างมากจะเห็นได้จากทุกครั้งที่อาจารย์มาสอนจะเน้นเรื่องนี้ไปควบคู่กับการสอนให้คิดต่อยอดอยู่ทุกครั้ง  หลังจากนั้นท่านอาจารย์ได้นำพวกเราเดินทางไปยังท่าเรือเพื่อเดินทางไปเกาะล้านพี่พยาบาลคนสวยก็จะนำเสนอยาแก้เมาเรือให้พวกเราและบอกว่าท่านแล้วจะง่วงนอนก็ต้องขอขอบคุณพี่เพราะมีพวกเราบางคนเมาเรือหลายคนอยู่เหมือนกัน  พอรถจอดที่ท่าเรือพวกเราลงขึ้นเรือไม่คิดเลยว่าทะเลแถวพัทยาจะสวยมากไมแพ้ทะเลฝั่งอันดามันเลย  เวลาลงเรือท่านอาจารย์จีระก็จะดูแลพวกเราจนลงเรือเรียบร้อยพูดคุยและสอบถามพวกเราอย่างเป็นกันเองและเห็นถึงความห่วงใยที่อาจารย์มีต่อนักศึกษาทุกคน  ระหว่างนั่งเรือพวพเราส่งเสียงกันตลอดเวลาไม่ทราบว่าสนุกสนาน หรือกลัวก็ไม่แน่ใจพอนั่งเรือปำด้สักระยะเริ่มรู้สึกว่าวันนี้คลื่นลมบ้างพอสมควรแต่ก็ไม่รุ่นแรงบวกับอากาศที่เย็นสบาย พอถึงเกาะก็ลุ้นว่าเมื่อไหร่จะได้ขึ้นเกาะเสียที่รออยู่นานเนื่องจากคลื่นลมแรงต้องรอให้เรือเล็กมารับขึ้นเกาะได้แต่ก็เรียบร้อยดีแม้จะมีลุ้นบ้างนิดหน่อย  แล้วก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเกาะล้านเป็นที่พักผ่อนของชาวต่างชาติจริง  มีชาวต่างชาติเต็มชายหาดและพบว่าทรายที่เกาะนี้ละเอียดมากน่าเดินเล่นเป็นเกาะที่เป็นธรรมชาติอยู่มาก    เมื่อขึ้นก็เกาะได้ก็เป็นเวลาที่พวกเราหิวอย่างมากเพราะเลยเวลาอาหารกลางวันไปมากแต่ก็ไม่ต้องรออาหารเพราะทางร้านพร้อมเสริมเป็นอาหารทะเลที่สดใหม่อร่อยจริง ๆ สมกับมาทะเลนอกจากวิวสวยแล้วอาหารยังอร่อยสมกับการลุ้นว่าจะขึ้นเกาะได้หรือเปล่า
 หลังจากอิ่นอาหารแล้วท่านอาจารย์ก็ได้ให้พวกเรารวมกลุ่มกันในร้านอาหารแนะนำให้ได้รู้จักกับท่านอาจารย์ดร.กีรดิ  ท่านรองผู้กำกับสภอ.เมืองพัทยา  และท่านอาจาย์ยมที่ได้ให้ตอนรับและอำนวนความสะดวกให้กับพวกเรา ทั้ง 3 ท่านได้กล่าวให้ความรู้และความรู้สึกภูมิใจในการเป็นชาวราชภัฏซึ่งไม่น้อยหน้าใครถ้าเราคิดเป็นทำมีการต่อยอดทางความคิด  บนพื้นฐานความจริงและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองพร้อมรับการเปลี่ยแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา  เป็น ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)  ที่แท้จริง และจะเห็นได้ว่าความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู้ในห้องเรียนเสมอไป  ที่สำคัญทำให้เห็นถึงการบริหารจัดการในการเดินทางครั้งนี้ของท่านอาจารย์แลทีมงานที่ไม่มีติดขัดมืออาชีพจริง ๆ   ทำให้พวกเราได้รู้สึกว่าไปทัศนศึกษาที่รับความรู้และสะดวกสบาย   หลังจากนั้นอาจารย์ให้ประธานและรองประธานวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้นำสองศาสนาคือพี่ประธานศาสนาอิสลาม  และรองประธานคือหลวงพี่แทนนั้นเอง ทั้งสองท่านได้พูดถึงความรู้และความรู้สึกที่ได้รับในวันนี้ซึ่งทั้งสองท่านเป็นที่ยอมรับถึงความสามารถในการพูดที่มีสาระและประโยชน์กับพวกเรา  ต่อจากนั้นท่านอาจารย์ก็ให้พักผ่อนตามอัศยาศัยประมาณ 30 นาที  ระหว่างนั้นพวกเราบางคนก็เก็บภาพเป็นที่ระลึก และมีเพื่อนรวมกลุ่มคุยกันถึงความประทับใจในครั้งนี้ว่าอาจารย์ดูแลพวกเราและให้ความรู้กับพวกเราตลอดเวลา  พวกเรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์จีระ  ซึ่งเป็นครูผู้มีแต่ให้ตลอดเวลา 
 เมื่อถึงเวลาเดินทางกลับขึ้นเรือก็นั่งเรือไปก็ภาวนาในใจไปพยายามพูดคุยกันให้สนุกสนานตลอดเวลาและถึงฝั่งด้วยความปลอดภัยเพราะในตอนเย็นนี้ลมแรงมากเหมือนนั้งเครื่องเล่นในสวนสนุก ในระหว่างนั้นพี่ที่น่ารักท่านหนึ่งได้พูดกับข้าพเจ้าว่าพวกเราก็เหมือนเรือตอนนี้ที่เจอคลื่นลมแรงอยู่ตลอดเวลาพวกเราก็หวังว่าจะสามารถนำเรือของพวกเรามุ่งหน้าไปยังฝั่งที่หวังไว้และปลอดภัยเหมือนวันนี้ทุกคนนะค่ะ

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

 

เจริญพร ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการไปเปิดโลกทัศน์ที่พัทยา

  • ได้แลกเปลี่ยนความรู้จากการสนทนากับ อ. ยม นาคสุข ระหว่างการเดินทางตั้งแต่ต้นสายจนถึงเดินทางกลับ
  • ได้ร่วมกิจกรรมกับคณะชาว รปม. รุ่น 4 สวนสุนันทาอันนำมาซึ่งความสามัคคีในหมุ่คณะรวมทั้งได้เห็นความเป็นห่วงเป็นใยกันในหมู่คณะ
  • ได้พบกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเดินทาง ทั้งทางรถ และทางเรือ(ลงเรือลำเดียวกัน โดยมีอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำทาง)
  • ได้เยี่ยมชมร้านหนังสือ พร้อมกันนี้ก็ได้หนังสือติดย่ามมา 2 เล่มเล่มแรก คือ หนังสือ มอง CEO โลก เป็นหนังสือนำเสนอความรู้ของผู้นำระดับโลก รวบรวมแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้นำชั้นแนวหน้า ฯลฯ  โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ฯ  เล่มที่ 2 เป็นหนังสือ หลัก ๕ ประการ สู่การเป็นผู้นำ สะพานาเชื่อมช่องว่างของการเป็นผู้นำ THE 5 PILLARS OF LEADERSHIP (Paul J. Meyer & Randy Slechta)แปลโดย จุมพจน์ เชื้อสาย
  • ได้เห็นความเป็นผู้นำของอาจารย์ ความเป็นกันเองในขณะสนทนากับท่านอาจารย์และทีมงาน ฯ
  • ประเด็นสำคัญในการเปิดโลกทัศน์ในครั้งนี้คือ ท่านอาจารย์ได้เชิญผู้มีความรู้ด้านทรัพยากรณ์มนุษย์ และผู้ชำนาญการด้านท้องที่เมืองพัทยา คือ รองผู้กำกับ มาร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย ก็ได้รับประโยชน์จากการฟัง ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า สุตามยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการฟัง การได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หรือเรื่องที่เคยฟังแล้วพอได้ฟังอีกก็ยิ่งเกิดปัญญามากขึ้น และเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเราท่านทั้งหลายก็คงเก็บเกี่ยวความรู้จากส่วนนั้นมาได้กันพอสมควรแก่อัตภาพ
  • โดยท่านแรกที่กล่าวแนะนำและมอบความรู้ คือ ดร.กีรติ  ท่านกล่าวว่า การที่เราเลือกที่จะขับรถไปทางซ้ายแล้วไปทันเวลาและไปถึงสนามบินก่อน นั่นมิได้หมายความว่า ทางขวาผิด ฯ หัวใจของการบริหารจัดการคือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ฯ เครื่องจักรเครื่องกลซื้อหาได้ แต่บุคลากรต้องหาและต้องบริหารให้ดี
  • ส่วนท่านที่สอง คือ รองผู้กำกับ ฯ ท่านให้ความรู้เรื่องเมืองพัทยามากมาย เช่น บอกว่าอย่าดูข่าวเรื่องเมืองพัทยามากนัก เพราะสิ่งที่คุณคิดหรือได้เห็นตามข่าว อาจไม่ใช่สิ่งที่ใช่เสมอไป  ฯ เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการทั้งหมด โดยขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ฯ  เมืองพัทยา มีประชากรจำนวน 200000 กว่าคน แต่ความจริงแล้ว มีประชากรหรือคนต่างด้าวแฝงอยู่จำนวน 2000000 กว่าคนโดยประมาณ และในแต่ละปี มีเงินหมุนเวียนในเมืองพัทยาเดือนละหลายพันล้านบาท ฯ และกล่าวถึงเสน่ห์ของพัทยานานัปประการ เช่นไม่ไกลจากกรุงเทพ เป็นต้น ฯ
  • ท่านต่อมา คือ อ.ยม นาคสุข กล่าวสั้น ๆ ได้ใจความว่า การจะฟังอะไรก็แล้วแต่ ต้องจับประเด็น แล้วต่อยอดให้ได้ ฯ  ต้องรู้ว่ายุคนี้คือยุคอะไร ฯ ก่อนหรือหลังการเรียนรู้เราได้อะไรบ้างจากการเรียนรู้ ฯ การเป็นนักบริหารที่ดีต้องรู้จักการบริหารตัวเอง ฯ

       หลวงพี่แทนจับประเด็น  ก็ได้กล่าวถึงการมองเห็นความสำคัญความรู้ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ฯ เช่นในเมืองพัทยา ก็บริหารทรัพยากรด้านต่าง ๆ ดูแลเรื่องเศรษฐกิจท้องถิ่นเมืองพัทยา และได้กล่าวว่า การจะเลือกเดินทางใดทางหนึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด ฯ

  • ได้รับรู้การดำรงชีพของชาวเกาะล้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เนื่องจากเวลาจำกัด แต่เท่าที่รู้และน่าสนใจนอกเหนือทรัพยากรณ์มนุษย์ คือ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติประจำเกาะล้าน คือ มีแร่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมกันและพากันเรียกว่า แร่เหล็กใหลประจำเกาะล้าน ท่านที่ชอบเครื่องประดับถ้าเห็นก็คงชอบใจ ข้อมูลโดยคนขับสอง แถวอาตมานั่งแถวที่สาม(ข้างหน้า)ฯ

เรื่องเล่าเช้าจรดค่ำ (เล่าแล้วยาว)

       ในการไปศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ การสังเกตการณ์ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ฯ  ในส่วนของหลาย ๆ ท่านก็ย่อมมีความสนใจที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของอาตมานั้นก็เก็บเกี่ยวหรือทรงจำในแบบฉบับของตัวเอง ณ จุดที่สนใจหรือจุดที่ได้ข้อคิด ซึ่งมีดังต่อไปนี้

       แรกเริ่ม คือ ต้นสายของการเดินทาง ณ จุดเริ่มต้น คือ สวนสุนันทา อันเป็นจุดนัดพบของเรา ๆ ชาว รปม. รุ่น 4  เมื่อเราทั้งหลายมาพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็เริ่มจับจองที่นั่งพร้อมกับสำรวจรอบ ๆ กาย และก็ออกเดินทาง ในขณะที่เดินทางนั้น คนที่นั่งข้างกายอาตมา ช่วงแรก ๆ ก็คุ้น ๆ หน้า พอสอบถามและได้สนทนากับท่านแล้วก็หายสงสัย เพราะท่านคือ อ. ยม นั่นเอง ผู้ซึ่งจะมาสอนในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ นี้ จากการได้สนทนากับท่าน ก็ได้ข้อคิดหลายแนว พร้อมทั้งแนะนำในเรื่องของการเรียนอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องการทำวิจัย มีการแนะนำในเรื่องของหัวข้อ และ การวางเป้าหมายชีวิตด้านการศึกษา เช่น อนาคตตั้งเป้าหมายไว้อย่างไรกับการศึกษา พร้อมกันนี้ก็แนะให้อ่านหนังสือการทำวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ ว่าต่างกันอย่างไรกับเชิงปริมาณ ฯ ซึ่งบางท่านอาจสงสัยว่า อาตมาคุยอะไรกับอาจารย์บ้าง และส่วนเหล่านี้แหละที่ได้สนทนากับท่าน นี้ก็เป็นส่วนที่ประทับใจว่า การเดินทางครั้งนี้ มิได้มีเพียงแค่นักศึกษา รปม. เท่านั้น แต่ยังมีอาจารย์ ยม นาคสุข ร่วมเดินทางรถคันเดียวกับเราอีกด้วย ประทับใจที่ได้พบบัณฑิตเช่นท่านและท่านยังให้ยืมหนังสือ เรื่อง โต้คลื่นวัฒนธรรม (ผู้เขียน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง) และได้ทำการถ่ายเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว นี่คือผลของการได้พบบัณพิต สนทนากับบัณฑิต ย่อมได้รับผลดี ตามแบบฉบับในมงคลสูตร 38 ประการข้อหนึ่ง ฯ

       ในเช้าวันดังกล่าวนั้นก็ได้รับการถวายภัตตาหารเช้าโดยอาจารย์ยมเช่นเคย เพราะว่าวันนั้นท่านบอกว่าไม่ได้ทำบุญตักบาตร ก็เลยถือโอกาสนี้ถวายภัตตาหารเลย และท่านก็ดูแลอย่างดี ถวายอาหารคาวหวาน ขนม น้ำผลไม้เป็นอย่างดี มีเค้กช๊อกโกแลตเสริมด้วย ฯ

       และนอกจากนี้ก็ได้ทราบเรื่องราวของท่านมากมาย แต่มิอาจกล่าวได้หมดในรายงานส่วนนี้ ฯ 

       ประทับใจพี่ ๆ เพื่อน ๆ ชาว รปม. ที่คอยดูแลพระทั้งสามรูป รวมอาตมาด้วย เจริญพรขอบคุณ อ้อ และมีคำชมจากท่านอาจารย์ยมด้วยนะ  ว่า เราชาว รปม.รุ่นนี้ดีมาก มากกว่ารุ่นก่อน ๆ นี้อีกนะ คือว่า การเดินทางของเราครั้งนี้ เราพูดไม่หยุดเลย พูดตลอดทาง เก่งจริง ๆ  ไม่เหมือนรุ่นสามที่ไปดูงานที่ จ. กาญจนบุรี ท่านบอกว่า พูดน้อย และหลับตลอดทางมากกว่า  รุ่นเราดีกว่า พูดตลอดทาง และมีการแซวพระอีกด้วยนะ โดยทีมงานพี่อี๊ด พี่เจี๊ยบ ซาวด์ 55+ ก็สนุกสนานดีจ๊ะคุณโยมพี่ทั้งหลาย เห็นความยิ้มแย้มขณะเดินทาง เห็นความสามัคคีในหมู่คณะ พี่ดาโต๊ะเองก็ใช่ย่อยซะเมื่อไรละ ไม่ธรรมดาจริง ๆ

       การเดินทางครั้งนี้แดดช่างร้อนอันเกิดจากแสงอาทิตย์ที่เจิดจรัสหลายดวง จนอาจทำให้พี่ ๆ บางคน (พี่เอ้+พี่นุช+และทีมพี่อี๊ด) ต้องสวมแว่นดำเพราะแสบตา บางท่านก็สวมหมวกเพื่อป้องกันแสงรังสีที่แผ่สะท้อนกัน จากหลาย ๆ ดวง (เพราะว่าเป็นวันมาฆะพระก็ร่วมเดินทางซะด้วยสิ) คงไม่ต้องบอกนะว่าก่อนวันมาฆะพระต้องทำอะไร ?

       ต่อมาก็ชีวิตบนเรือ เราทั้งหลายลงเรือลำเดียวกันแล้ว ที่มีนายเรือเป็นผู้ขับเคลื่อนเรือ และมีนายกัปตันเรือ คือ อ.จีระ เป็นผู้นำทาง เราทั้งหลายไม่ใช่ลูกเรือ แต่เป็นผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ ชีวิตก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง คละกันไป ทะเลก็เช่นกัน หากทะเลไร้คลื่นซัดก็ดูไม่งามไม่ใช่ทะเลแท้ ทะเลที่ไร้โขดหินก็หาใช่ทะเลไม่ นั้นทะเลก็ย่อมมีทั้งคลื่นทั้งเบาและแรงปะปนกันและแปรผันตามอากาศ ที่พากันโหมเข้ามาปะทะฝั่ง ชีวิตเราก็เหมือนกัน มีอุปสรรคมาประดับ มีอุปสรรรคมาทดสอบความอดทนว่าเราสามารถทนได้ขนาดไหน  การเดินทางก็พิสุจน์เราเหมือนกัน กับการพบอุปสรรคทั้งคลื่นลมและแสงแดด แต่เราก็สามารถเดินเรือไปถึงฝั่งฝันจนได้

       หลังจากเดินทางถึงฝั่งฝันแล้ว อาจารย์จีระ และทีมงาน พร้อมด้วยชาว รปม. รุ่น ก็ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกัน ก็มีกุ้ง มีปลา (แหมนะ เลยเวลาพระซะแล้วสิ น่าเสียด้ายเสียดาย)  พระก็ได้มะพร้าวลูกหนึ่งมากล่อมต่อมน้ำลายคลายความเขิน นมกล่องหนึ่ง (ยังดีที่ผ่ามาให้พร้อมกับหลอด ถ้าให้พระมาทั้งลูกหรือให้พระปีนเองละคงแย่แน่เลย) และแล้วก็มาถึงนาทีที่รอคอย คือการจับประเด็นการสนทนาและการฟังเพื่อประดับความรู้ จากการให้คำแนะนำของ ดร.กีรติ และ รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา และที่ขาดเสียมิได้คือ อ.ยม ซึ่งมี อ.จีระ เป็นผู้ดำเนินรายการ และก็จบลงด้วยเนื้อหาสาระดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และแล้วเราก็เดินทางกลับถึงสวนสุนันทาโดยสวัสดิภาพแล้วแยกย้ายกันกลับด้วยความเหน็ดเหนื่อยบวกกับความสุขฯ

ข้อคิดและคำคมบางประการที่ได้รับจาก ศ.ดร.จีระ อ.ยม และแขกรับเชิญ

  • โลกปัจจุบันเป็นที่ที่ไร้พรหมแดน และเป็นโลกแห่งการแข่งขัน ฯ
  •  เงินถ้ามีแล้วใช้ไม่เป็น ฉิบหายหมด ฯ
  •  เงินถ้ามีแล้วใช้เป็น มีแต่จะงอกเงย ฯ
  •  เราต้องใช้จุดแข็งของเราให้เป็นประโยชน์ ฯ
  •  ต้องรู้จุดยืนของตัวเองว่า เราอยู่จุดไหน ฯ
  • จะฟังอะไรต้องจับประเด็น และ ต่อยอด(ทางความคิดและลงมือปฏิบัติ)ให้ได้ ฯ
  • จงภูมิใจในความเป็นราชภัฏ รักในความเป็นสถาบันของเรา เพราะเราชาว รปม.4 สวนสุนันทา มีความกตัญญูต่อสถาบันและอาจารย์ผู้ให้ความรู้ ไม่แพ้มหาวิทยาลัยอื่นเช่นกัน ฯ  
  • เราในฐานะลูกศิษย์ของ อ. จีระ ต้องไม่ให้ใครเอารัดเอาเปรียบ อย่ายอมเป็นขี้ข้าใคร อย่าให้ใครมาจูงจมูก แลที่สำคัญ ต้องรู้จักตัวเอง ฯ คนอิสาน ถึงไม่ได้เรียนราชภัฏก็สามารถเรียนรู้ได้โดยใช้อินเทอร์เน็ต ฯ  เงินหาได้โดยใช้สมอง  เงินมาจากปัญญา ฯ คนไทยเข้าใจว่าทุนคือเงิน  แต่ความจริงไม่ใช่ สมองหรือปัญญาต่างหากคือทุนอันล้ำค่าที่เรามี (ปัญญาคือเงิน เงินเกิดได้จากปัญญา)

       และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อยุ่ในความคิดซึ่งอาตมภาพได้รับรู้และสามารถเขียนเป็นกระทู้ได้อีก แต่อย่ากระนั้นเลย เพียงเท่านี้ก็พอเห็นได้ว่า การไปครั้งนี้ไม่เสียทีจริง ๆ

        

สุดท้ายนี้ก็ขอเจริญพรขอบคุณ อ.จีระ และคณะที่จัดให้มีกิจกรรมครั้งนี้ เจริญพรขอบคุณ อ.ยม นาคสุข สำหรับอาหารเช้าและน้ำผลไม้ พร้อมทั้ง ชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่านที่ให้การดูแลพระเป็นอย่างดีในเรื่องอาหาร (มะพร้าวหนึ่งลูกพร้อมเปลือกกับหลอดหนึ่งอัน) ฯ ถ้าไม่ได้อาจารย์ยมเช้านั้นนะ พระหิวแย่เลย พระเนื้อนะจ๊ะโยมจ๋า ไม่ใช่พระอิฐพระปูน (หัวเราะ)

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

ขอน้อมคุณพระพร้อมองค์ตรัย   เป็นฉัตรป้องผองภัยทั่วถ้วน

จงสฤษสมฤทัย                      อย่าเนิ่นนานเฮย

ยศลาภไหลหลากล้วน             พรั่งพร้อมมงคล ฯ

ขอคณาจารย์ทุกท่าน และชาว รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทาจงมีความสุขความเจริญดังคำกลอนที่เอื้อนเอ่ยมานี้ ถ้วนหน้าเทอญ ฯ

ขอเจริญพร

นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น4

 

             สิ่งที่ประทับใจที่ไปศึกษาดูงาน ณ  เกาะล้าน เมืองพัทยา ในวันที่ 21   กุมภาพันธ์         2551

              การเดินทางที่ต้องตื่นตั้งแต่เช้าขึ้นรถลงเรือ เป็นธรรมดาทีต้องเกิดอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแม้ว่าจะอยู่ในวัยรุ่นแต่ท่านอาจารย์  ท่านคุณหญิงและคณะไม่มีริ้วรอยของความเหนื่อยทั้งใบหน้าและรอยยิ้มและแววตาของทานอาจารย์และท่านคุณหญิงมีแต่ความจริงใจความรักความหวังดีอยากจะให้ลูกศิษย์ เก่งดี อย่างมีคุณภาพท่านต้องการเติมเต็มในสิ่งที่ลูกศิษย์ขาด และให้ในสิ่งที่ลูกศิษย์ไม่มี ความรู้สึกที่ข้าพเจ้าได้รับ เป็นความรู้สึกจากใจของท่านอาจารย์และคณะในความเป็นจริงท่านไม่จำเป็นจะต้องมาทำในสิ่งเหล่านี้ให้เป็นภาระเหน็ดเหนื่อย  ประทับใจมากค่ะ

                สิ่งที่ได้รับในครั้งนี้   ตลอดชีวิตที่ผ่านมา 40 ปี ได้แต่นึกสงสัย แคลงใจว่าตำราภาษาอังกฤษที่คนระดับศาสตราจารย์ท่านใช้หาซื้อได้ที่ไหนในประเทศไทย ตอบเองในใจคิดเองโดยไม่เคยถามใคร ว่าต้องซื้อจากต่างประเทศ  ในประเทศไทยไม่มีวางขาย

                ครั้งนี้ได้รู้จักร้าน BOOKAZINE  ว่าเป็นร้านหนังสือตำราภาษาอังกฤษคุณภาพเกินราคา ได้ยินท่านพูดว่าในกรุงเทพฯ มีร้านเช่นนี้ที่ SIAM PARAGON  และที่ IMPORIUM  แต่ก่อนนี้ถ้ามีใครถามว่าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหาซื้อได้ที่ไหน ข้าพเจ้าตอบไม่มั่นใจว่า สงสัยร้านหนังสือพิมพ์ทั่วไปก็มีขายมั้ง   ต่อไปนี้ข้าพเจ้าสามารถตอบอย่างรู้จริง  อย่างเต็มภาคภูมิใจ  และเชื่อว่ายังมีปัญญาชนอีกไม่น้อยที่ไม่รู้จักร้านหนังสือเช่นนี้  การได้เห็นร้าน ทำให้จุดประกายความคิดของข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 ว่าต้องอ่านหนังสือภาษาอังกฤษซะบ้าง ไม่ใช่เห็นแล้วเดินหนีหรือจับวาง  ได้สัญญากับตัวเองว่าต่อไปนี้จะจับแล้วอ่านมาก ๆค่ะ

 

วิวิตรา จุลกรานต์ สวัสดีค่ะอาจารย์ ที่อาจารย์มาพวกหนูคือ รปม.4 ไปทัศนศึกษาที่เกาะล้าน หนูมีความประทับใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่พวกเราไปต่างจังหวัดร่วมกัน และประทับใจในตัวอาจารย์ที่ให้ความรู้กับลูกศิษย์มากที่สุด รวมทั้งพาพวกเราไปร้านหนังสือที่ทำ ให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การนั่งเรือไปที่เกาะล้าน ถึงคลื่นจะแรงไปหน่อย แต่ก็ทำ ให้สนุก สิ่งที่ได้รับจากการเดินทางครั้งนี้ - ได้รับความรู้จากพี่ ๆ ทั้ง 3 ท่าน ซึงให้ข้อคิดดี ๆ แก่พวกเรา ซึ่งทำให้ได้มีความคิดใหม่ในการดำเนินชีวิต

  

ความประทับใจในการศึกษาดูงาน                    ณ เกาะล้าน  จังหวัดชลบุรี

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   ท่านอาจารย์ผู้สอน  และท่านผู้อ่าน

                เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นอีกวันหนึ่งที่ประทับใจในชีวิตและได้จดบันทึกไว้ในDiary  จากการที่ไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุริ  โดยส่วนตัว มีความประทับใจ 2 เรื่อง คือ เรื่องท่านอาจารย์จีระ และเพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ 4 ทุกคน

                ความประทับใจในอาจารย์จีระ  ก็มีเหตุผลมาจาก เมื่อรถบัสได้ไปถึงจุดนัดพบที่ MC.Donald's  ก็พบว่าท่านอาจารย์จีระ คุณหญิง และทีมงาน HR. ได้คอยอยู่แล้ว  ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติ  เด็กๆอย่างพวกเราจะต้องไปถึงก่อนท่านจึงจะเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติ   ซึ่งต่อมาพวกเราได้ลงไปสวัสดีท่าน และท่านได้แนะนำคุณหญิง ซึ่งเป็นภริยาท่าน และทีมงาน HR. พวกเราลงความเห็นว่าคุณหญิงภริยาท่านสวยมาก ท่านบอกว่าสอยอย่างเดียวไม่พอต้องดี และเขารักท่านมากด้วย  ฟังแล้วรู้สึกประทับใจ  ภายหลังจากนั้นท่านอาจารย์ได้เดินนำหน้าพาลูกศิษย์ไปที่ร้านหนังสือ BookaZine (good Reading from Around the world)  เพื่อเติมอาหารให้กับสมอง ท่านได้แนะนำหนังสือดีๆ หลายเล่ม โดยให้ลูกศิษย์เป็นผู้ตัดสินใจ  ซึ่งในวันนั้นตัวผู้ศึกษาเลือกเติมอาหารให้กับสมองด้วยการซื้อหนังสือ 2 เล่ม  เล่มแรก คือ CEO มองซีอีโอโลก เพราะเป็นหนังสือแนวคิดหลักการในการบริหารหลากหลายรูปแบบ และหลายองค์กร  ดังเช่น อัลเบิรต์ ไอน์ไตน์  และอัลเฟรด โนเบล  บอกชื่อแค่นี้ใครๆก็รู้ทั้ง2 คนยิ่งใหญ่แค่ไหน เพราะพวกเขาเหล่านั้นผ่านช่วงเวลาอันเจ็บปวดอย่างที่อาจารย์จีระ เคยยกตัวอย่างมาแล้ว  โดยพวกเขาเป็นผู้รู้จริง ทำจริง ทดลองจริงๆจนประสบความสำเร็จในชีวิต  ความร่ำรวยไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาสนใจ แต่เขาสนใจเติมอาหารให้สมองทุกวัน และทำเพื่อสังคม  หนังสือเล่มที่ 2 คือ ความถูกต้องเป็นสิ่งสูงสุด (เมื่อมีความถูกต้องก็หมดความทุกข์) ของหลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ   เมื่อคิดจะเป็นผู้บริหารที่ไม่มีทฤษฎีใดหรือสูตรใดที่สำเร็จรูปสำหรับการบริหารในเรื่องของการจัดการ คนเราต้องมีความรู้ คู่คุณธรรมและจริยธรรมด้วย

              ความประทับใจในอาจารย์จีระ ในฐานะเป็นผู้นำ (Leadership)

พาลูกศิษย์ ทีมงาน HR. ไปยังเกาะล้าน  นอกจากที่ท่านเป็น Coach ให้กับพวกเราแล้ว ท่านยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทความเป็นผู้นำ และผู้บริหารให้ เราเห็น ถึงแม้ว่าท่านจะไม่สอนพวกเราโดยตรงก็ตาม  ดังเช่น

              1. การบริหารเวลา(Time Management)  ซึ่งพวกเรารู้อยู่แก่ใจว่า ภารกิจท่านมากมายแค่ไหน แต่ท่านก็บริหารจัดการเวลาได้อย่างลงตัว 

              2.  การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ซึ่งพวกเราก็รู้อยู่อีกว่าโปรแกรมในครั้งนี้  ตอนแรกจะไปดูงานที่ Asian University แต่วันนั้นเป็นวันหยุด ท่านอาจารย์ก็ได้ปรับเปลี่ยนแผน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยไม่ขาดสาระสำคัญของการเติมอาหารให้กับสมอง

              3.  การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)  ท่านได้เชิญให้ท่าน ดร.   ท่านรองผู้กำกับ มาพูดถึง HR. ซึ่งทั้งสองท่านได้พูดถึงการบริหารตัวเอง การพัฒนาขีดความสามารถของตัวเราเอง 

              4. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการเดินทางครั้งนี้ตรงขึ้นรถ ลงเรือ  ท่านก็ได้ประสานงานกับทางตำรวจ  คนขับเรือ

ไว้ล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพวกเราทุกคน ซึ่งอยู่ในความดูแลของท่าน

              ประทับใจเพื่อน รปม.รุ่น 4   วันนั้นตัวผู้ศึกษาเองรู้สึกว่ามีความสุขมาก  เหมือนกลับไปเป็นเด็กๆอีกครั้ง  แต่เรื่องที่ประทับใจคือ วันนั้นเมาเรือโชคคดีรุ่น4 มีพยาบาลใจดี ชื่อคุณลาวัลย์ นำยาไปแจกเพื่อนๆ น้องส้มนำน้ำมาให้ดื่ม จึงคลายความทุกข์จากการคลื่นเหียนอาเจียนได้  และอีกประเด็นหนึ่งขณะลงเรือพี่นพ และเพื่อนคนอื่นก็ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน โดยมีสายตาคู่หนึ่งมองลูกศิษย์ด้วยความห่วงใยจากใจจริงของท่าน "นี่แหละเขาเรียกว่าลงเรือลำเดียวกัน"

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รปม.รุ่น 4

เรียน  ศ.ดร.จีระ  ทีมงาน  และสวัสดีเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551                            

         ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์จิระ , ดร.กีรติ , ดร.นิยม และรอง ผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา ที่สร้างความมั่นใจให้กับพวกเราชาว รปม. ว่ามีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ท่านอาจารย์ได้พาพวกเราไปเปิดโลกทัศน์ที่ร้านหนังสือซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือหลากหลายมากมาย  ต่อจากนั้นพวกเราก็ได้เวลาพจญภัยกับการลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน และจะเห็นได้ว่าความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป ประกอบกับน้ำทะเลที่สวยงามมาก และคลื่นทะเลที่รุ่นแรงประทับใจอาจารย์จีระ มาก ๆ ที่ท่านน่ารักมากเป็นกันเอง และคอยดูแล ห่วงใยพวกเราตลอดเวลา  และท่านยังเป็นผู้นำที่พาพวกเราไปได้กับคลื่นทะเลที่น่าหวาดเสียวมาก และเห็นความรักความปรองดองของพวกเราทุกคนในเวลาที่เรือเอนไปซ้ายทีและขวาทีมันทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากในเวลาที่เราอยู่ในเรือ และพวกเราได้เรียนรู้การแก้ปัญหา คือ เมื่อตอนที่จะให้พวกเราลงเรือเล็กแต่เพราะคลื่นใหญ่ไม่สามารถเทียบเรือสองลำเข้าหากันได้ คนขับเรือก็เลยขับไปจอดเรือข้างภูเขาอีกด้านหนึ่ง ทำให้เราได้ลงเรือเล็กได้ ซึ่งกลุ่มแรกที่ลงเรือเล็กก็ไม่เห็นมีอุปสรรคเท่าไรหนัก แต่พอกลุ่มที่สองลงเรือเล็กรู้สึกได้ว่ามันเริ่มมีอุปสรรคมากกว่า ซึ่งมีผู้นำคอยบอกให้เฉลี่ยกันนั่งให้เท่า ๆ กัน และรู้สึกถึงความวุ่นวายตอนลงมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะคลื่นลมอาจจะมาแรงตอนนั้นก็ได้  และได้รับความรู้จากพี่ ๆ ทั้งสามท่าน และจากท่านอาจารย์จีระ ได้สอนให้พวกเราชาว รปม. เรียนรู้อยู่ตลอด  ต้องเป็นคนใฝ่รู้  คิดเป็น ทำเป็น และวิเคราะห์เป็น เมื่อถึงตอนลงเรือกลับ พวกเรากลับยิ่งสนุกมากขึ้นกว่าตอนลงเรือไปอีก แต่แล้วพวกเราทุกคนก็ได้กลับถึงฝั่งด้วยความปลอดภัย

ส.ท. สราวุธ ดอกไม้จีน

 

การไปทัศนศึกษาเกาะล้าน 

การไปทัศนศึกษาครั้งดีผมรู้สึกว่าเป็นการดูงานที่น่าสนใจหลายด้านโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ของเกาะล้านโดนมีท่าน ศ. ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ เป็นพ่องานใหญ่และยังมีอาจารย์อีก2ท่านและท่านสารวัตรของพัทยาให้ความรู้แก่พวกเรา และได้รู้ว่าปัจจุบันโลกของเราเป็นโลกที่ไร้พรมแดนเป็นโลกแห่งการแข่นขัน  ได้เห็นโลกภายนอกโดนมาดูจากสถานที่จริง  ผมรู้สึกดีที่ได้ไปกันเป็นกลุ่มคณะ ในการเดินทางก็สนุกมากเลยครับ แต่ขากลับเนี้ยสิคลื่นลมแรงแต่ก็มันส์เรือค่อนข้างโคลงเคลงมาเลย แต่พอขึ้นฝั่งแล้วก็สบายใจสนุกดีครับ พอถึงฝั่งก็นั่งรถกลับบ้านโดยมีความรู้แล้วความสุขกลับบ้าน

นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง รหัส 50038010043

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

ความประทับใจ

          ประการแรกคือได้ไปเยี่ยมชมร้านหนังสือที่มีทั้งหนังสือไทยและหนังสือต่างประเทศ  ได้รู้ว่าเมื่อชาวต่างชาติมาประเทศไทยแล้วเขาหนังสือประเภทไหนอ่านได้ในประเทศไทย  ได้สังเกตว่ารูปเล่มหนังสือในสมัยใหม่นี้มีความน่าสนใจมิใช่น้อย  ไม่เพียงแต่สีสันหรือปกที่สวยงาม  ยังมีทั้งที่บรรจุอยู่ในกระเป๋าให้สามารถพกพาได้ และทำรูปแบบหีบห่อให้น่าสนใจอีกอย่างเช่นหนังสือเกี่ยวกับอาหารก็มีปกเป็นรูปใบตองห่ออีกชั้นหนึ่งเพื่อให้น่าสนใจ  และเมื่อเปิดหนังสือบางเล่มที่คนต่างชาติเป็นผู้แต่งเกี่ยวกับประเทศไทยก็ทำให้เห็นได้ว่าคนต่างชาติเขามองคนไทยเราว่าเป็นอย่างไรถึงแม้ว่าจะมีโอกาสได้ดูเพียงรูปภาพเพราะมีเวลาไม่มากนัก

          ประการที่สองคือประทับใจในเพือนๆ รปม.รุ่น 4 ที่มีความสนุกสนาน รักใคร่สามัคคี เป็นห่วงเป็นใยกัน ระหว่างที่โดยสารไปกับเรือก็คอยเป็นห่วงและคอยดูแลซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะข้าพเจ้าซึ่งดูเพื่อนจะเป็นห่วงคอยลุ้นมากกว่าเพื่อนๆ เพราะน้ำหนักมากกว่าเพื่อน  ด้วยกลัวว่าเรือจะโครงเครงงจนล่ม   หรือถ้าตกน้ำไปแล้วจะไม่มีคนลงไปช่วยกระมัง

          ประการที่สามคือน้ำทะเล และทิวทัศน์ที่สวยงาม  การผจญภัยกับคลื่นลมทะเล  และชาวต่างชาติ

ความรู้

          ท่าน ศ.ดร.จิระ ยังคงรูปแบบการให้ความรู้โดยเน้นการให้ความคิดที่หลากหลายโดยให้ผู้รู้หลายๆ ท่านมาแนะนำตัวและแสดงความคิดเห็น  รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากลูกศิษย์ ซึ่งก็คือการเรียนรู้แบบสองทาง หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

          ดร.กีรติ  ท่านให้ข้อคิดว่าการหนทางที่เราเลือกนั้นอาจไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องทางเดียวเสมอไป  หัวใจของการบริหารจัดการคือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ฯ เครื่องจักรเครื่องกลซื้อหาได้ แต่บุคลากรต้องหาและต้องบริหารให้ดี

         ได้ทราบประวัติ  และข้อมูลทั่วไปของพัทยา ได้ทราบว่าพัทยาไม่ได้เลวร้ายและน่ากลัวอย่างที่หลายๆ ท่านคิดจากท่านรองผู้กำกับสภอ.พัทยา

          อ.ยม ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจับประเด็น แล้วต้องต่อยอดให้ได้  ว่าก่อนและหลังการเรียนรู้เราได้อะไรบ้างจากการเรียนรู้นั้น

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รปม. รุ่น 4

 

สวัสดี  ศ.ดร.จีระ  ทีมงาน  เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551                            

         ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์จีระ , ดร.กีรติ , ดร.ยม และรอง ผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา ที่สร้างความมั่นใจให้กับพวกเราชาว รปม. ว่ามีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ท่านอาจารย์ได้พาพวกเราไปเปิดโลกทัศน์ที่ร้านหนังสือซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือหลากหลายมากมาย  ต่อจากนั้นพวกเราก็ได้เวลาพจญภัยกับการลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน และจะเห็นได้ว่าความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป ประกอบกับน้ำทะเลที่สวยงามมาก และคลื่นทะเลที่รุ่นแรงประทับใจอาจารย์จีระ มาก ๆ ที่ท่านน่ารักมากเป็นกันเอง และคอยดูแล ห่วงใยพวกเราตลอดเวลา  และท่านยังเป็นผู้นำที่พาพวกเราไปได้กับคลื่นทะเลที่น่าหวาดเสียวมาก และเห็นความรักความปรองดองของพวกเราทุกคนในเวลาที่เรือเอนไปซ้ายทีและขวาทีมันทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากในเวลาที่เราอยู่ในเรือ และพวกเราได้เรียนรู้การแก้ปัญหา คือ เมื่อตอนที่จะให้พวกเราลงเรือเล็กแต่เพราะคลื่นใหญ่ไม่สามารถเทียบเรือสองลำเข้าหากันได้ คนขับเรือก็เลยขับไปจอดเรือข้างภูเขาอีกด้านหนึ่ง ทำให้เราได้ลงเรือเล็กได้ ซึ่งกลุ่มแรกที่ลงเรือเล็กก็ไม่เห็นมีอุปสรรคเท่าไรหนัก แต่พอกลุ่มที่สองลงเรือเล็กรู้สึกได้ว่ามันเริ่มมีอุปสรรคมากกว่า ซึ่งมีผู้นำคอยบอกให้เฉลี่ยกันนั่งให้เท่า ๆ กัน และรู้สึกถึงความวุ่นวายตอนลงมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะคลื่นลมอาจจะมาแรงตอนนั้นก็ได้  และได้รับความรู้จากพี่ ๆ ทั้งสามท่าน และจากท่านอาจารย์จีระ ได้สอนให้พวกเราชาว รปม. เรียนรู้อยู่ตลอด  ต้องเป็นคนใฝ่รู้  คิดเป็น ทำเป็น และวิเคราะห์เป็น เมื่อถึงตอนลงเรือกลับ พวกเรากลับยิ่งสนุกมากขึ้นกว่าตอนลงเรือไปอีก แต่แล้วพวกเราทุกคนก็ได้กลับถึงฝั่งด้วยความปลอดภัย

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

 

เจริญพรท่านอาจาย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นักศึกษารปม.รุ่น 4 ทุกคน และผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

        ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาชื่นชมผู้มีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดมีวันนี้ขึ้นมาหมายถึงการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยา  วันที่ 23  กุมภาพันธ์  2551  โยมอรุณ ผู้เป็นประธานประจำห้องรปม.รุ่น 4   ได้แจ้งกำหนดการเดินทาง ก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีต้องไปนะถึงแม้ว่าวันนั้นจะมีงานปฏิบัติธรรมเนื่องในวันมาฆบูชาที่วัด  แต่ก็ต้องเสียสละเวลางานฯต้องนั้นไป เพราะไม่รู้ว่าจะมีการศึกษาหาความรู้นอกสถานที่อย่างนี้อีกหรือไม่และคิดว่ามีประโยชน์

 

สิ่งที่ประทับใจในการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยา

1.อาจารย์ศ.ดร.จีระ และทีมงานอาจารย์จีระดูแลเป็นห่วงนักศึกทุกคนเป็นอย่างดีและเป็นกันเองกับนักศึกษา

2.ความผูกพันระหว่างนักศึกษาด้วยกัน มีการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน แม้จะเกิดคลื่นลมแรงไปสักหน่อย

3.ได้ความรู้ ประสบการณ์จากดร.จิรติ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองผู้กำกับเมืองพัทยา อาจารย์ยม นาคสุขที่ได้เดินร่วมไปคณะนักศึกษา และที่ขาดไม่ได้คือควารู้จากอารย์จีระ

4.อาจารย์ยม นาคสุข และโยมแขก พร้อมทั้งคณะนักศึกษาได้ช่วยดูแลเรื่องภัตตาหารเช้าและเพลเป็นอย่างดี ขออนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ ขอให้เจริญสมบูรณ์พูนผลในชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้น โดยเร็วพลันทุกคนทุกท่านเทอญ   สิตฺถนมตฺถุ สิตฺถนมตฺถุ สิตฺถนมตฺถุ.

 

ความรู้ที่ได้จากการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยา

1. การเรียนรู้แบบใหม่  STYTLE  OBAMA  โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง

และต้องคิดให้เป็น คิดให้เป็นระบบมีการใฝ่รู้อยู่เสมอ พึ่งตนเอง ตามหลักในทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

2.ต้องรู้จักการบริหารเวลาให้เป็น คือการวางแผนเห็นได้จากอาจารย์นั่งรถมาถึงก่อนนักศึกษาเพื่อมาดูคอยต้อนรับที่พักให้กับนักศึกษา ที่พักรับประทานอาหาร การเดินทางไปแต่ละสถานที่ตรงต่อเวลานัดหมาย เมื่อเกิดเหตุขัดข้องบางอย่างสามารถแก้ไขต่อเหตุการณ์นั้นได้เพื่อให้ลุล่วงไปด้วยดี

3.การบริหารจัดการที่ดีนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เสมอไป เช่นการเลี้ยวซ้าย ไปถึงก่อนเวลา ไม่จำเป็นว่าเลี้ยวขวาจะผิด

4. การบริหารทรัพยากรมนุษย์สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคน ดังนั้นคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหาร เช่นองค์กร 2 องค์กรแตกต่างกัน มีความเจริญมากกว่ากันไม่ใช่อยู่ที่วัสดุอุปกรณ์แต่อยู่ที่การบริหารคน วัสดุอุปกรณ์สามารถหาซื้อ ได้แต่คนเก่งที่ดีไม่สามารถหาซื้อได้

5.การบริหารความเสี่ยง เมื่อเกิดคลื่นทะเล ทำให้รู้ว่าต้องควบคุมอารมณ์ ควบคุมสติไม่ตกใจ แต่อยู่ในอาการอันสงบหาวิธีทางไปให้ถึงเป้าหมาย

6.เมืองพัทยาเป็นสถานที่น่าพักผ่อนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร และน่ามาลงทุนทำธุรกิจเพราะเศรษฐกิจกำลังเติบโต

7.นักศึกษาเมื่อฟังความรู้จากอาจาย์แล้วต้องรู้จักจับประเด็น เช่น ประเด็นจากอาจารย์จีระ การรู้จักบริหารเวลา การเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ยุคไร้พรมแดนมีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันระหว่างประเทศทั่วโลก

8.การบริหารการเปลี่ยนแปลง เช่น ก้าวข้ามจากเรือใหญ่ไปสู่เรือเล็ก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ทำด้วยความรอบคอบและต้องปลอดภัยเพื่อไปให้ถึงฝั่งเกาะล้าน เพราะนั่นคือเป้าหมายของเราทุกคน

        จะเห็นได้ว่าในการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยาในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก เพราะความรู้ไม่จำเป็นจะต้องเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวเสมอไป  ยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว องค์กรทุกองค์กรใครมีความรู้ของอีกฝ่ายมากก็ได้เปรียบ ตามหลักของซุนวู่ กล่าวไว้ว่าต้องรู้เขา รู้เรา รบพันครั้ง ชนะพันครั้ง ดังนั้น จึงอยากให้มีการไปเรียนรู้นอกสถานที่อย่างนี้อีกและถ้าเป็นไปได้อยากให้มีในรายวิชาอื่นด้วย

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

กราบเรียน   ดร.จิระ (ท่านอาจารย์ที่เคารพ), อาจารย์ทุกท่าน และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน

        รปม.รุ่น 4 ม.สวนสุนันทา  ได้ไปศึกษาดูงานที่พัทยา  และเดินทางไปเกาะล้าน

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จากการศึกษาดูงาน คือ

1.    ดร.จิระ  ได้สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ไหนเมื่อไหร่  แม้ว่าขณะที่เดินทางไปศึกษาดูงาน อาจารย์แนะนำให้เข้าร้านหนังสือ  BOOKAZINE  ซึ่งอาจารย์ได้ให้แนวคิดว่าอาจารย์ไม่ได้ฉลาดกว่าใคร  แต่อาจารย์ไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้  ทำให้เกิดประกายในตัวข้าพเจ้าว่าการที่เราเห็นคนอื่นที่เก่ง ๆ  แล้วเราต้องการที่จะเป็นอย่างเขา เราสามารถทำได้โดยเราก็ต้องหมั่นหาความรู้มาใส่สมองอย่างไม่หยุดนิ่ง

2.    ความเป็นมิตรสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมรุ่น  เนื่องจากตั้งแต่ที่ข้าพเจ้าได้เข้าศึกษามาครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ออกมาศึกษาดูงานนอกสถานที่ร่วมกัน  ทำให้เกิดความสนิทสนมกลมเกลียวกันมากขึ้น

3.    ได้เรียนรู้บุคคลที่น่าจะนำมาเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้  คือ  ดร.กีรติ  ,อาจารย์ยม, ท่านรอง ผกก.  ซึ่งได้ให้แนวความคิดในการดำเนินชีวิตและการศึกษา  ในแต่ละท่านแตกต่างกัน ซึ่งทุกท่านก็ให้แนวคิดที่ดีและสามารถดึงนำมาใช้ได้ในการดำเนินชีวิต

สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจ

       1.    ประทับใจ ท่านดร.จิระ (อาจารย์)  ที่ท่านใส่ใจกับนักศึกษา รปม.รุ่น 4  อย่างมากท่านมาถึงสถานที่นัดหมายก่อนนักศึกษา ,ท่านมีการวางแผนการเดินทางอย่างดี  และท่านมีความตั้งใจที่จะกระตุ้นในนักศึกษาใฝ่รู้อยู่เสมอ ซึ่งท่านมีรูปแบบในการผลักดันความคิด  การวิเคราะห์หลากหลาย  เช่น   กระตุ้นให้นักศึกษาอ่านหนังสือ  อ่านแล้วคิด  วิเคราะห์  เสนอข้อคิด  ,  กระตุ้นนักศึกษาโดยให้รู้จักกับบุคคลที่เป็นตัวอย่าง เช่น  ดร.กีรติ ,อาจารย์ยม, ท่าน รอง ผกก.

      2.   ประทับใจทีมงานของอาจารย์ ที่ได้มาร่วมเดินทาง และให้การดูแล  ความเป็นกันเอง กับคณะนักศึกษา มีการเตรียมการทำให้การเดินทางไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรถ  ลงเรือ  ก็ไม่มีอุปสรรคใด ๆ  ติดขัด

      3.   ประทับใจเพื่อน ๆ  ทุกคนที่ได้มาร่วมเดินทางและให้การช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี  เช่น  เตรียมยามาเพื่อใครที่เมาเรือ  , ช่วยเหลือระหว่างที่ต้องลงเรือ , รับประทานอาหารร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย และแบ่งปัน  แม้กระทั่งเวลาที่เรือโคลงเคลงก็ช่วยกันจับรอรับเพื่อนที่จะล้มซึ่งทำให้เกิดความเป็นกันเอง และสนุกสนาน

   4 .  ประทับใจน้องตัวเล็ก ๆ  ที่อยู่บนเรือหางยาวคอยรับคนที่อยู่บนเรือใหญ่ เป็นเด็กน้อยแต่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างขยันขันแข็ง ดูแล้วไม่เป็นเด็กเล็ก ๆ ที่คอยวิ่งเล่น คอยสั่งผู้ใหญ่ที่อยู่บนเรือว่าก้าวลงอย่างไร  และให้มองปะการัง  ทึ่งที่เขาสามารถทำงานและรับผิดชอบตัวเองได้ดี

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ รปม.รุ่น 4

 ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากการชมวีดีทัศน์
 ความเหมือน

1. ทั้งสองท่านเป็นคนชอบอ่านหนังสือและเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง

2. เป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี โดยได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดา มารดา และมีพื้นฐานการศึกษาที่ดีและ ได้มีโอกาสไปศึกษาเรียนต่างประเทศ

3.  เป็นคนมีความมั่นใจในตนเองสูง เพราะมีฐานองค์ความรู้ที่ดี

4.  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเป็นอย่างมาก เพราะคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด องค์กรจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อยู่อุปกรณ์เทคโนโลยี

5. ส่วนทฤษฎี 8 H ‘s ของคุณหญิงทิพาวดี และ 8 K ‘s ของ ศ.ดร.จีระ นั้น มีความเหมือนเกือบทุกข้อ ยกเว้น ข้อที่ ศ.ดร.จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง และจะเน้นการทำงานเป็นทีม โดยใช้ IT เป็นสื่อในการสอน  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เน้นเรื่อง สุขภาพ ที่สมบูรณ์ ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์ และเน้นการพัฒนาคนผ่านองค์กร

 ความแตกต่าง

1. ท่าน ศ.ดร. จีระ  เป็นคนที่มั่นใจสูงกว่าคุณหญิงทิพาวดี เพราะมั่นในทุนทางปัญญาที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน  มีประสบการณ์ในการทำงานสูง

2.  ท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นคนชอบให้ความรู้แก่คน เพราะมีทุนทางปัญญาสูง แต่คุณหญิงทิพาวดีชอบพัฒนาคน คือให้ คนมีโอกาสอิสระในการทำงานเพื่อให้ตำแหน่งสูงขึ้น    

3.  ท่าน ศ.ดร.จีระ มีการทำงานเป็นทีม ไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองซึ่งระบบการทำงานจะกว้างอิสระมากกว่า

4.ส่วนคุณหญิงทิพาวดีจะทำงานอยู่ในวงราชการเท่านั้น

5.ทฤษฎีนักบริหาร " 8 H's " ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์นั้น ท่านให้ความสำคัญที่ "H" แรกคือ Heritage อันมีความหมายถึงมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตคน

6.ส่วนทฤษฎีนักบริหาร " 8 K's " ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านให้ความสำคัญที่ Sustainable Capital  คือทุนแห่งความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบสำคัญ

 

นางสาว.ดนิตา มูลละออง รปม. รุ่น.4

 

เรียน ศ.ดร.จีระ อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน.

ในการเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ. เกาะล้าน จ.ชลบุรี

 

ข้าพเจ้ามีความประทับใจ ศ.ดร. จีระ และทีมงานเป็นอย่างมาก ท่านสละเวลาส่วนตัวมาให้ความรู้กับนักศึกษา เชิญผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมาเล่าประสบการณ์ให้นักศึกษาฟัง และ ศ.ดร. จีระ เน้นให้เราศึกษาแบบ OBAMA แต่ที่ประทับใจมากที่สุดคือขณะที่ลงจากเรือเพื่อไปขึ้นเรือเล็กได้มองเห็นท่าน ศ.ดร.จีระ ลงเรือแล้วรอคุณหญิงและคอยห่วงใยคุณหญิงทำให้มองในสิ่งที่ ศ.ดร. จีระ สอนในทฤษฏี 8H's คือ Human Captal ทนทางมนุษย์ อยู่ที่พื้นฐานของครอบครัว เพราะปัจจุบันสังคมไทยสภาวะแวดล้อมครอบครัว นั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมาก คือไม่มีเวลา ไม่มั่นเติมความรักให้ครอบครัว มองแต่ว่างานคือเงิน เงินบันดาลสุข

 

คร.กิตติ จะสอนให้เรารู้ว่าทางไดทางหนึ่งที่เราเลือกไม่ผิด แต่กลับมองด้วยเหตุผลที่เราไป เช่น ครอบครัว ดร.กิตติ จะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาจารย์วิศวะ มาทำงานเป็นอาจารย์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และให้ความสำคัญกับคน คือ องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ จะประสพความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับคน ทั้งทรัพยากรทุกอย่างมีอย่างจำกัด เราต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.

 

ผู้กำกับ. จะสอนให้เรารู้ว่ายุคปัจจุบันเป็นยุคไร้พรมแดน และจะทำอย่างไรให้เราอยู่กับชาวต่างชาติได้อย่างชาญฉลาด

 

อาจารย์ ยม. มีคติให้เราคิดตามและเกิดประโยชน์ อย่ายอมแพ้ อย่าเป็นขี้ข้าใคร อย่ามัวแต่เพ้อฝัน การแสวงหาความรู้ทุกนาที ต้องรู้จักพึ่งตนเอง ต้องเป็นผู้ชี้แนะ เรียนรู้แบบ OBAMA การเรียนรู้ต้องออกนอกกรอบ การเป็นนักบริหารจะต้องรู้จัก การบริหารตนเองก่อน.

 

ข้าพเจ้าขอขอบคุณ อ. อัษฎางด์ เป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ เราชาว รปม. รุ่น.4 ได้มีโอกาสเรียนกับ ศ.ดร. จีระ และเหล่าทีมงานที่ทำให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนรู้ระบบ OBAMA และเป็นผู้นำที่สามารถกระตุ้นให้นักศึกษา ตื่นตัวอยากเรียนรู้มากขึ้นสอนให้กล้าคิด... ขอให้อาจารย์ อัษฎางค์ หายป่วยสุขภาพแข็งแรงโดยเร็ว

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อวันพุธที่ 21 ก.พ.2551 ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้านจังหวัดชลบุรี

สิ่งที่ประทับใจจากการได้ไปเดินทางในครั้งนี้

1.จากการที่ได้เดินทางไปที่เมืองพัทยาและเกาะล้านรู้สึกว่าดีใจที่ได้มีโอกาสมาเยือนเมืองพัทยาและเกาะล้านซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อีกแห่งในประเทศไทยที่มีทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยนิยมมาท่องเที่ยวกันมากได้มีโอกาสได้สัมผัสท้องทะเลที่สวยงามและวิวทัศน์ทัศนียภาพต่างๆที่เป็นธรรมชาติสวยงามมากและได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์และเย็นสบายไม่หมือนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ลมเย็นได้พักสมองเหมาะกับเป็นการพักผ่อนไปในตัวได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองรู้สึกสบายกายและทำให้มีจิตใจที่สงบ

2.ได้ศึกษาและเห็นวิถีชีวิตของคนเมืองพัทยาและเกาะล้านได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเดิม

3.บรรยากาศที่ไดสัมผัสรู้ว่าสนุก มีความสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน

4.ได้พบปะและพูดคุยกับเพื่อนหลายๆคนทำให้รู้จักกันมากขึ้นและได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ทัศนคติต่างๆ ถามไถ่ความรู้สึกซึ่งกันและกัน

5.ในการเตรียมงานที่คณาจารย์ทุกท่านทีมงานทุกท่าน คอยจัดการดูพวกเราทุกคนเป็นอย่างดีไม่ขาดตกบกพร่องพูดคุยกันสนุกสนาน บรรยากาศก็เป็นกันเองเป็นเหมือนพี่เหมือนน้องกัน

6.คนขับเรือในขณะที่ลงเรือพวกเราต้องเผชิญกับคลื่นลมทะเลต่างๆ ที่สามารถพาพวกเราไปรับไปส่งที่เกาะล้านได้อย่างปลอดภัยสอนให้เรารู้จักมีความอดทนอดกลั้นในการดำเนินชีวิต

7.เจ้าของร้านอาหารที่คอยดูแลพวกเราต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี อาหารก็อร่อยน่ารับประทานมาก

8.ได้รับประสบการณ์ต่างๆที่ข้าพเจ้าได้รับมาสำหรับการเดินทางในครั้งนี้

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อะไรจากการเดินทางไปในครั้งนี้   ได้ความรู้ข้อคิดต่างๆในการดำเนินชีวิต

1.การทำงานทุกอย่างจะต้องมีการติดต่อประสานงานที่ดีจึงจะทำให้งานดังกล่าวประสบความสำเร็จ เช่น การเดินทางไปยังเกาะล้านในครั้งนี้

2.รู้จักระบบการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นทีมงานที่มีคุณภาพถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานระบบทีมงาน

3.ได้เดินทางไปยังร้านหนังสือ BookaZine  ซึ่งเป็นร้านที่มีหนังสือและนิตยสารของไทยและต่างประเทศ สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนข้าพเจ้าจะพบเห็นแต่ร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ที่เป็นของประเทศไทยเป็นส่วนมากร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าไหร่นักซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้ที่กว้างขว้างมากขึ้นกว่าแต่เดิม

4.ได้เห็นบทบาทความเป็นผู้นำของอาจารย์ในขณะสนทนาร่วมกันกับท่านอาจารย์และทีมงาน ฯและเพื่อนรปม รุ่น 4 ทุกท่าน

ดร.กีรติ ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ในเรื่องการบริหารองค์การถ้าจะให้ประสบความสำเร็จจะต้องเน้นบริหารคนในองค์การให้ความสำคัญกับการบริหารคนว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเราต้องหาบุคลากรที่เก่งและดีและมีศักยภาพและคุณภาพ เข้ามาในองค์การ เช่นบริษัทไหนที่มีบุคลากรที่ดีกว่า มีความรู้ความสามารถมากกว่าก็จะทำให้งานในบริษัทนั้นประสบความสำเร็จหรือได้รับผลกำไรที่มากกว่าบริษัทที่ไม่สนใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เลย

รองผู้กำกับสภอ.เมืองพัทยา ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนเมืองพัทยาและเกาะล้านเป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเดิมและรู้จักวิถีชีวิตของชาวอีสานที่เข้ามาทำงานที่พัทยา

2.เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร

3.ได้เรียนรู้จากการที่ไม่ให้ชาวต่างชาตินั้นเข้ามาเอาเปรียบกับคนไทย เช่น การทำธุรกรรมต่างๆโลกในอนาคตเป็นโลกๆไร้พรมแดนสอนให้เราอยู่อาศัยกับชาวต่างชาติอย่างฉลาดรู้ทันเขาแบบรู้เขารู้เรา

4ได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเมืองพัทยา เช่น การปกครอง ค่าปรับการจราจร  ธุรกิจที่จะลงทุนในเมืองพัทยา

อ.ยม  นาคสุข ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ให้เรารู้จักการจับประเด็น การคิดต่อยอดยุคนี้เป็นยุคไร้พรมแดน เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ต้องเรียนรู้จากการวางตัวที่ฉีกแนวทางการดำเนินชีวิต

2.การเป็นนักบริหาร เราต้องบริหารตนเองให้เพิ่มขีดความสามารถที่เพียงพอที่จะไปช่วยคนอื่นพัฒนาได้ต้องใฝ่รู้ ปัญญา คือ มีเงินถ้าใช้เงินไม่เป็นเงินก็จะหายหมดไป

ความรู้ข้อคิดอื่นๆ

1.การเอาชนะชาวต่างชาติเราต้องบริหารจัดการอย่างไร

2.รู้จักตนเองต้องมีหวังมีความทะเยอทะยาน เรียนหนังสือจะต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง

3.รู้จักการบริหารเวลาการบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

4.รู้จักการพัฒนาตนเองให้เป็นคนใฝ่รู้อยู่เสมอ และพัฒนากระตุ้นให้พวกเราเกิดความเป็นเลิศ

5.รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้จริงทำจริง ไม่เพ้อฝัน หาความรู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

6.เงินมาจากปัญญา ไม่มีทุนไม่มีเงินแต่เรามีความมานะ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ รู้จักการพึ่งพาตนเองได้ คนไม่ได้เรียนหนังสือแต่ก็ใฝ่รู้ได้ เช่น บางคนไม่ได้เรียนหนังสือแต่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ก็เพราะเป็นคนที่ใฝ่รู้นั่นเอง

          ขอขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์ ดร.กีรติ รองผู้กำกับฯสภอ.เมืองพัทยา อ.ยม  นาคสุข  ทีมงานของอาจารย์ เจ้าของร้านอาหาร คนขับเรือ คนขับรถบัส ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่านที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้ถือว่าไดรับประสบการณ์ที่น่าจดจำไว้ในความทรงจำอีกครั้งหนึ่งของข้าพเจ้าขอให้ทุกท่านมีความสุขหลังจากการเดินทางกลับจากการเดินทางในครั้งนี้อย่างปลอดภัย ขอบคุณค่ะ

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน และท่านผู้อ่าน

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

                จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานยัง เกาะล้าน จ.ชลบุรี นั้นกระผมได้รับประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย      และเรื่องราวต่างๆกับการที่ได้มาศึกษาดูงานครั้งนี้ กล่าวคือ ในการศึกษาดูงานครั้งนี้นั้น มีรูปแบบของเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น คือ การออกเดินทางทาง เรือ ไปยัง เกาะล้านนั้นมี คลื่นลมแรงมากทำให้เกิดความล่าช้าและความกลัวของพวกเรามากแต่ก็ เหตุการณ์ทั้งหมดก็ผ่านไปได้ด้วยดี จนไม่สามารถลืมได้เลย รวมถึง บุคคลกรที่มาให้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆเรื่อง เช่น การพัฒนาองค์กร,ทรัพยากรมนุษย์ โดย อาจารย์.กิตติ และอาจารย์.ยม รวมถึงข้อมูลแหล่งเที่ยวต่างๆ ภายในจังหวัด จากอดีตจนถึงปัจจุบันแต่ไม่เท่านั้นยังรวมไปถึงอนาคต อีกด้วย

 

            กระผมคิดว่าข้อมูลที่ได้จากท่านเหล่านี้นั้นเป็น ข้อมูลที่ดีเยี่ยม เหตุเพราะ การที่เราจะพัฒนาองค์กร หรือ บุคคลกรให้ดีขึ้นได้นั้นในหลักการของการพัฒนา เพื่อไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าองค์กรนั้นจะเล็กหรือใหญ่ ขอให้เรามุ่งมั่น ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ดีที่สุด

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน รวมทั้งท่านผู้อาน Blog และเพื่อนร่วมรุ่นสวน

สุนันทา รปม. รุ่น 4 ทุกคน

เมื่อวันที่  21  กุมภาพันธ์  2551  พวกเรา รปม. รุ่น 4  ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่พัทยา และข้ามเรือไปเกาะล้าน

 สิ่งที่ทำให้ดิฉันประทับใจในการไปครั้งนี้  คือ ดิฉันประทับใจตั้งแต่เริ่มออกเดินทางไปแล้ว เพราะพวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้มีความสามัคคีปรองดองกันมีแซวกันบ้าง พูดคุยกันหยอกเย้ากันบ้างไปในรถตลอดทางจนถึงพัทยา และเมื่อเจอท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่พัทยา ก็ทำให้พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้ประทับใจขึ้นไปอีก เมื่อท่านอาจารย์ได้แนะนำให้เราไปดูร้านหนังสือที่มีคุณค่า และมีองค์ความรู้สำหรับพวกเราที่ใส่ใจ ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อมาพัฒนาตนเองและองค์กรของเรา จากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาเราเดินทางไปลงเรือเพื่อข้ามไปเกาะล้าน ที่ท่าเรือ ก่อนจะไปลงเรือ ท่านอาจารย์ได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักภรรยาของท่าน  ซึ่งเมื่อดิฉันได้พบทำให้ประทับใจในตัวท่านมากเนื่องจากท่านเป็นคนสวยและมีบุคลิกดี ท่าทางเป็นคนใจดีมาก ซึ่งพวกเราก็ได้บอกกับท่าน ศ.ดร. จิระ ว่า ภรรยาของท่านสวยมาก ซึ่งท่านอาจารย์ก็บอกว่าสวยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมึความดีด้วย  ซึ่งทำให้ดิฉันประทับใจกับคำพูดคำนี้ของอาจารย์มาก เพราะคนเราถ้าสวยอย่างเดียวแล้วไม่ดี ก็เปรียบเหมือนดอกกุหลาบที่ไม่มีกลิ่นหอมและไม่มีหนาม  ทำให้ไม่มีใครอยากเก็บไปปลักไว้ในแจกันของตน และต่อจากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาพวกเรามาลงเรือที่ท่าเรือแต่ก่อนที่จะลงเรือท่านได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักคนเก่ง คนมีสามารถ ที่พวกเราสมควรจะได้เรียนรู้ คือ ท่านดร.กีรติ และรองผู้กำกับสภอ.พัทยา รวมทั้งท่านอาจารย์ยม นาคสุข ที่เดินทางมากับเราในรถตั้งแต่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ แล้ว หลังจากนั้นเราก็ลงเรือโดยสารไปเกาะล้านกัน  นั่นคือจุดประทับใจสูงสุดของดิฉันเลย เพราะดิฉันได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้เป็นครั้งที่สองในชีวิต ส่วนครั้งแรกนั้น ตั้งแต่ดิฉันยังเป็นเด็ก ๆ อยู่  ซึ่งจากการเดินทางโดยสารเรือไปครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เห็นว่า  คนขับเรือที่จะนำพาเราไปเกาะล้านนั้นมีการบริหารการจัดกการที่ดี และมีสติไม่อยู่บนความประมาทที่จะควบคุมเรือ เพื่อพาพวกเราไปสู่จุดหมายปลายทางคือเกาะล้าน เพราะคนขับเรือก็เหมือนกับพวกเราที่ไม่รู้ว่าวันนั้นเป็นวันที่มีคลื่นลมแรงมาก แต่คนขับเรือจะต้องทำหน้าที่ของเขาให้ดีที่สุด โดยเขาต้องคิดอยู่เสมอว่าจะต้องนำพาพวกเราไป และกลับจากเกาะล้านให้ปลอดภัยที่สุดให้ได้ และจากการที่ดิฉันได้นั่งเรืออยู่บนชั้นสองของเรือนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าทะเลนั้นกว้างไกลไม่เห็นขอบฝั่ง ทำอย่างไรจะไปถึงขอบฝั่งข้างหน้าได้  ก็เปรียบเสมือนกับโลกเราทุกวันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ คือเป็นโลกที่ไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรจึงจะก้าวตามได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ นั่นก็คือเราต้องเรียนรู้ ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันและหาขอบฝั่งให้ได้ จากนั้นก็หันมามองดูคลื่นในทะเลที่ซัดไปมาทำให้เรือนั้นโคลงเคลงอยู่ตลอดเวลา ก็เปรียบเสมือนชีวิตคนและการเรียนรู้จะต้องมีอุปสรรคบ้าง แต่จะทำอย่างไรที่จะประคับประคองเรือให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้  ก็เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง ว่าเราจะเรียนรู้  ใฝ่รู้ ใส่ใจ นำพาตนเองไปสู่ความเป็นผู้นำและความเป็นเลิศได้ ถ้าเราสนใจหาความรู้ใส่ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เราก็สามารถที่จะนำพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้  จากนั้นเมื่อดิฉันขึ้นถึงฝั่งที่เกาะล้านแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ร่วมรุ่น ก็ยังได้รับประทานอาหารที่อร่อย มีการบริการที่ดี และการบริหารงานอย่างเป็นทีม เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ยังได้รับความรู้จากผู้มีคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน คือ ดร.กีรติ  รองผู้กำกับสภอ.พัทยา และอาจารย์ยม ที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ได้เชิญท่านทั้ง 3 ท่านมาให้ความรุ้กับพวกเรา ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้รู้ว่า พวกเราชาวราชภัฏสวนสุนันทาไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย ในการที่จะเรียนรู้ ถ้าทุกคนตั้งใจและใส่ใจที่จะพัฒนาตนเองและพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดหลายอย่างที่ดีแก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผู้นำที่เป็นเลิศเป็นผู้ให้ความรู้แก่ดิฉันและเพื่อน ๆ  เรือคือนาวา  ท้องทะเลที่กว้างไกล  คลื่นที่ซัดโถมไปมาในท้องทะเลล้วนแต่สอดแทรกข้อคิดให้เราได้ศึกษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักนำมาคิดและใฝ่หาความรู้จากสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราได้เห็นถึงส้จจธรรมของชีวิตที่เป็นจริงและสามารถที่จะเรียนรู้และยืนหยัดอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสง่างามและภาคภูมิที่สุด   สุดท้ายนี้ดิฉันและเพื่อน ๆ ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้ไปเรียนรู้สิ่งที่เป็นจริงของโลก และได้สัมผัสและสั่งสมประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต  ซึ่งดิฉันและเพื่อน ๆ จะประทับใจไปตลอดกาลไม่รู้ลืมเลยค่ะ (พวกเราชาว รปม. รุ่น 4 เคารพรักท่านอาจารย์  ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างสูง ที่เป็นผู้ให้ความรู้แก่พวกเราในครั้งนี้)

 

 

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน รวมทั้งท่านผู้อาน Blog และเพื่อนร่วมรุ้นสวนสุนันทา รปม. รุ่น 4 ทุกคน

 

เมื่อวันที่  21  กุมภาพันธ์  2551  พวกเรา รปม. รุ่น 4  ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่พัทยา และข้ามเรือไปเกาะล้าน

 

 

สิ่งที่ทำให้ดิฉันประทับใจในการไปครั้งนี้  คือ ดิฉันประทับใจตั้งแต่เริ่มออกเดินทางไปแล้ว เพราะพวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้มีความสามัคคีปรองดองกันมีแซวกันบ้าง พูดคุยกันหยอกเย้ากันบ้างไปในรถตลอดทางจนถึงพัทยา และเมื่อเจอท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่พัทยา ก็ทำให้พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้ประทับใจขึ้นไปอีก เมื่อท่านอาจารย์ได้แนะนำให้เราไปดูร้านหนังสือที่มีคุณค่า และมีองค์ความรู้สำหรับพวกเราที่ใส่ใจ ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อมาพัฒนาตนเองและองค์กรของเรา จากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาเราเดินทางไปลงเรือเพื่อข้ามไปเกาะล้าน ที่ท่าเรือ ก่อนจะไปลงเรือ ท่านอาจารย์ได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักภรรยาของท่าน  ซึ่งเมื่อดิฉันได้พบทำให้ประทับใจในตัวท่านมากเนื่องจากท่านเป็นคนสวยและมีบุคลิกดี ท่าทางเป็นคนใจดีมาก ซึ่งพวกเราก็ได้บอกกับท่าน ศ.ดร. จิระ ว่า ภรรยาของท่านสวยมาก ซึ่งท่านอาจารย์ก็บอกว่าสวยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมึความดีด้วย  ซึ่งทำให้ดิฉันประทับใจกับคำพูดคำนี้ของอาจารย์มาก เพราะคนเราถ้าสวยอย่างเดียวแล้วไม่ดี ก็เปรียบเหมือนดอกกุหลาบที่ไม่มีกลิ่นหอมและไม่มีหนาม  ทำให้ไม่มีใครอยากเก็บไปปลักไว้ในแจกันของตน และต่อจากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาพวกเรามาลงเรือที่ท่าเรือแต่ก่อนที่จะลงเรือท่านได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักคนเก่ง คนมีสามารถ ที่พวกเราสมควรจะได้เรียนรู้ คือ ท่านดร.กีรติ และรองผู้กำกับสภอ.พัทยา รวมทั้งท่านอาจารย์ยม นาคสุข ที่เดินทางมากับเราในรถตั้งแต่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ แล้ว หลังจากนั้นเราก็ลงเรือโดยสารไปเกาะล้านกัน  นั่นคือจุดประทับใจสูงสุดของดิฉันเลย เพราะดิฉันได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้เป็นครั้งที่สองในชีวิต ส่วนครั้งแรกนั้น ตั้งแต่ดิฉันยังเป็นเด็ก ๆ อยู่  ซึ่งจากการเดินทางโดยสารเรือไปครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เห็นว่า  คนขับเรือที่จะนำพาเราไปเกาะล้านนั้นมีการบริหารการจัดกการที่ดี และมีสติไม่อยู่บนความประมาทที่จะควบคุมเรือ เพื่อพาพวกเราไปสู่จุดหมายปลายทางคือเกาะล้าน เพราะคนขับเรือก็เหมือนกับพวกเราที่ไม่รู้ว่าวันนั้นเป็นวันที่มีคลื่นลมแรงมาก แต่คนขับเรือจะต้องทำหน้าที่ของเขาให้ดีที่สุด โดยเขาต้องคิดอยู่เสมอว่าจะต้องนำพาพวกเราไป และกลับจากเกาะล้านให้ปลอดภัยที่สุดให้ได้ และจากการที่ดิฉันได้นั่งเรืออยู่บนชั้นสองของเรือนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าทะเลนั้นกว้างไกลไม่เห็นขอบฝั่ง ทำอย่างไรจะไปถึงขอบฝั่งข้างหน้าได้  ก็เปรียบเสมือนกับโลกเราทุกวันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ คือเป็นโลกที่ไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรจึงจะก้าวตามได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ นั่นก็คือเราต้องเรียนรู้ ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันและหาขอบฝั่งให้ได้ จากนั้นก็หันมามองดูคลื่นในทะเลที่ซัดไปมาทำให้เรือนั้นโคลงเคลงอยู่ตลอดเวลา ก็เปรียบเสมือนชีวิตคนและการเรียนรู้จะต้องมีอุปสรรคบ้าง แต่จะทำอย่างไรที่จะประคับประคองเรือให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้  ก็เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง ว่าเราจะเรียนรู้  ใฝ่รู้ ใส่ใจ นำพาตนเองไปสู่ความเป็นผู้นำและความเป็นเลิศได้ ถ้าเราสนใจหาความรู้ใส่ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เราก็สามารถที่จะนำพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้  จากนั้นเมื่อดิฉันขึ้นถึงฝั่งที่เกาะล้านแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ร่วมรุ่น ก็ยังได้รับประทานอาหารที่อร่อย มีการบริการที่ดี และการบริหารงานอย่างเป็นทีม เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ยังได้รับความรู้จากผู้มีคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน คือ ดร.กีรติ  รองผู้กำกับสภอ.พัทยา และอาจารย์ยม ที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ได้เชิญท่านทั้ง 3 มาให้ความรุ้กับพวกเรา ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้รู้ว่า พวกเราชาวราชภัฏสวนสุนันทาไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย ในการที่จะเรียนรู้ ถ้าทุกคนตั้งใจและใส่ใจที่จะพัฒนาตนเองและพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดหลายอย่างที่ดีแก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผู้นำที่เป็นเลิศเป็นผู้ให้ความรู้แก่ดิฉันและเพื่อน ๆ  เรือคือนาวา  ท้องทะเลที่กว้างไกล  คลื่นที่ซัดโถมไปมาในท้องทะเลล้วนแต่สอดแทรกข้อคิดให้เราได้ศึกษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักนำมาคิดและใฝ่หาความรู้จากสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราได้เห็นถึงส้จจธรรมของชีวิตที่เป็นจริงและสามารถที่จะเรียนรู้และยืนหยัดอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสง่างามและภาคภูมิที่สุด   สุดท้ายนี้ดิฉันและเพื่อน ๆ ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้ไปเรียนรู้สิ่งที่เป็นจริงของโลก และได้สัมผัสและสั่งสมประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต  ซึ่งดิฉันและเพื่อน ๆ จะประทับใจไปตลอดกาลไม่รู้ลืมเลยค่ะ (พวกเราชาว รปม. รุ่น 4 เคารพรักท่านอาจารย์  ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างสูง ที่เป็นผู้ให้ความรู้แก่พวกเราในครั้งนี้)

 

นายชัยรัตน์ พัดทอง นักศึกษา รปม.รุ่น 4

 

กราบเรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      จากประเด็นอันเนื่องมาจากความปีติยินดีและประทับใจในการไปทัศนศึกษา ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาจากสภาพความเป็นจริง เพื่อให้รู้จักคิดวิเคราะห์และเปิดโลกทัศน์นอกสถานที่ หลังจากที่ไปถึงและกลับมาก็มีความรู้สึกที่สนุกสนาน ประทับใจ และได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งพอสรุปประเด็น ดังนี้

      ด้านความประทับใจ

                - ได้เปิดโลกทัศน์และได้เจอสิ่งใหม่ ๆ

                - ได้รับรู้ถึงความห่วงใยและเป็นกันเองของอาจารย์และคณะ ความเป็นกันเอง ติดดินของอาจารย์

                - ได้ผจญภัยกับการร่องเรือที่ตื่นเต้น และหวาดเสียว

                - ได้ความสนุกสนาน และความคุ้นเคยกับเพื่อน ๆ มากขึ้น

                - ฯลฯ

      ด้านสาระและแนวความคิด

                - ได้รับรู้รูปแบบการจัดร้านหนังสือ การบริหารร้าน และการสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า เขามีการจัดรูปลักษณ์ หรือรูปแบบร้านให้น่าเข้าชม หนังสือจัดเป็นหมวดหมู่อย่างไร และหนังสือประเภทไหนเป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการที่สามารถโยงมาใช้กับการบริหารบุคคลได้ โดยการเปรียบพนักงานในองค์กรเป็นลูกค้า จะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างแรงจูงใจ สร้างความผูกพันให้เค้ารักองค์กร เหมือนที่เขารักร้านหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือนี้ดี

                - ได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของเกาะล้าน ระบบการบริหาร การจัดการของจังหวัดชลบุรี

                - ได้รับความรู้จากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่ามีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างไร

                - ได้เกิดทักษะและองค์ความรู้แตกยอดจากการสนทนาของท่านทั้ง 3 และแนวคิดของเพื่อนร่วมชั้น ในข้อนี้ ในช่วงที่ท่านดาโต๊ะพูดเรื่องการพัฒนาคน ที่ว่าต้องสร้างความเป็นพี่น้อง ความรักพวกพ้อง จะทำอะไรก็จะเกิดความเป็นปึกแผ่น ในความคิดของกระผมส่วนหนึ่งเห็นด้วย แต่ก็เกิดความคิดแบบมองหลายมุมเพิ่มว่า ถ้าเราใช้ระบบความเป็นพวกพ้อง แล้วความยุติธรรมจะเกิดหรือไม่? เพราะการที่รักพวกพ้องก็นำมาซึ่งการเอารัดเอาเปรียบและความไม่ยุติธรรม อันจะนำมาซึ่งระบบอุปถัมภ์ และเป็นบ่อเกิดแห่งการคอรัปชั่น ซึ่งเรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่บอบบาง แต่ในด้านการบริหารเราต้องเน้นที่คนส่วนใหญ่หรือไม่ อย่างไร? ในประเด็นนี้เป็นความคิดที่แตกแยก หรืออีกด้านหนึ่งของเหรียญ เป็นความคิดที่ชี้ให้เห็นมุมมองอีกด้านหนึ่ง ที่ "แตกต่าง แต่มิใช่แตกแยก"

นาย.ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4 รหัส.50038010033

ลืมใส่ชื่อครับกราบขอ อภัย ไว้ ณ ที่นี้

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน และท่านผู้อ่าน

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

                จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานยัง เกาะล้าน จ.ชลบุรี นั้นกระผมได้รับประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย      และเรื่องราวต่างๆกับการที่ได้มาศึกษาดูงานครั้งนี้ กล่าวคือ ในการศึกษาดูงานครั้งนี้นั้น มีรูปแบบของเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น คือ การออกเดินทางทาง เรือ ไปยัง เกาะล้านนั้นมี คลื่นลมแรงมากทำให้เกิดความล่าช้าและความกลัวของพวกเรามากแต่ก็ เหตุการณ์ทั้งหมดก็ผ่านไปได้ด้วยดี จนไม่สามารถลืมได้เลย รวมถึง บุคคลกรที่มาให้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆเรื่อง เช่น การพัฒนาองค์กร,ทรัพยากรมนุษย์ โดย อาจารย์.กิตติ และอาจารย์.ยม รวมถึงข้อมูลแหล่งเที่ยวต่างๆ ภายในจังหวัด จากอดีตจนถึงปัจจุบันแต่ไม่เท่านั้นยังรวมไปถึงอนาคต อีกด้วย

 

            กระผมคิดว่าข้อมูลที่ได้จากท่านเหล่านี้นั้นเป็น ข้อมูลที่ดีเยี่ยม เหตุเพราะ การที่เราจะพัฒนาองค์กร หรือ บุคคลกรให้ดีขึ้นได้นั้นในหลักการของการพัฒนา เพื่อไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าองค์กรนั้นจะเล็กหรือใหญ่ ขอให้เรามุ่งมั่น ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ดีที่สุด

สวัสดี ท่านอาจาย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นักศึกษารปม.รุ่น 4 ทุกคน และผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

 

การได้ร่วมกิจกรรมดูงาน ณ  เกาะล้าน  ชลบุรี

ความประทับใจที่มีอันดับแรก  คือ  รู้สึกว่าคุ้มกับการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะได้เรียนกับอาจารย์ที่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ของนักศึกษา สละเวลาในวันหยุดเพื่อที่จะให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักศึกษา  อาจารย์เป็นผู้บริหารเวลาได้ดีเพราะมีการกำหนดแผนในการเดินทางว่าจะทำอะไรบ้าง  และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี  คือตามกำหนดต้องไปพบ  ดร. วิพรรณ  เรืองจินดา  แต่กำหนดการต้องเปลี่ยนแปลง  อาจารย์ก็พานักศึกษาเข้าชมและหาความรู้จากร้านหนังสือที่มีไว้สำหรับนักท่องเที่ยว  ขณะที่อยู่ในร้านหนังสือ  อาจารย์ยม  แนะนำหนังสือที่ให้ความรู้และพอเดินทางมาถึงท่าเรือมีโอกาสได้พบคุณหญิง  ซึ่งคุณหญิงยิ้มแย้มตลอดเวลาและเรือใหญ่ถึงท่าเรือ   เรือเล็กมารับเมื่อท่านอาจารย์ลงเรือไปแล้วก็คอยรับคุณหญิงและคอยห่วงใยคุณหญิง  การพูดจา ระหว่างคุณหญิงและอาจารย์ทำให้นึกถึงสิ่งที่อาจารย์สอนว่า   Human   Capital   นั้นจะต้องมาจากพื้นฐานครอบครัว  ต้นทุนทางครอบครัวดีก็ทำให้เราซึมซับทุนมนุษย์ที่ดี

 

                จากที่ได้ฟังท่าน  ดร. กิตติ, รองผู้กำกับ,  อ.ยม  บรรยายนั้นทำให้ได้ความรู้ว่า  มนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดองค์กร  ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์  ยุคไร้พรมแดน  ทำอย่างไรให้เราอยู่กับชาวต่างชาติได้อย่างชาญฉลาด  การแสวงหาความรู้ต้องแสวงหาทุกวินาที  การเรียนรู้ แบบ   OBAMA  การเป็นนักบริหารที่ดี  ต้องบริหารตนเองก่อน  I  con  do.

ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

สวัสดี ท่านอาจาย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นักศึกษารปม.รุ่น 4 ทุกคน และผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

 

การได้ร่วมกิจกรรมดูงาน ณ  เกาะล้าน  ชลบุรี

ความประทับใจที่มีอันดับแรก  คือ  รู้สึกว่าคุ้มกับการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะได้เรียนกับอาจารย์ที่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ของนักศึกษา สละเวลาในวันหยุดเพื่อที่จะให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักศึกษา  อาจารย์เป็นผู้บริหารเวลาได้ดีเพราะมีการกำหนดแผนในการเดินทางว่าจะทำอะไรบ้าง  และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี  คือตามกำหนดต้องไปพบ  ดร. วิพรรณ  เรืองจินดา  แต่กำหนดการต้องเปลี่ยนแปลง  อาจารย์ก็พานักศึกษาเข้าชมและหาความรู้จากร้านหนังสือที่มีไว้สำหรับนักท่องเที่ยว  ขณะที่อยู่ในร้านหนังสือ  อาจารย์ยม  แนะนำหนังสือที่ให้ความรู้และพอเดินทางมาถึงท่าเรือมีโอกาสได้พบคุณหญิง  ซึ่งคุณหญิงยิ้มแย้มตลอดเวลาและเรือใหญ่ถึงท่าเรือ   เรือเล็กมารับเมื่อท่านอาจารย์ลงเรือไปแล้วก็คอยรับคุณหญิงและคอยห่วงใยคุณหญิง  การพูดจา ระหว่างคุณหญิงและอาจารย์ทำให้นึกถึงสิ่งที่อาจารย์สอนว่า   Human   Capital   นั้นจะต้องมาจากพื้นฐานครอบครัว  ต้นทุนทางครอบครัวดีก็ทำให้เราซึมซับทุนมนุษย์ที่ดี

 

                จากที่ได้ฟังท่าน  ดร. กิตติ, รองผู้กำกับ,  อ.ยม  บรรยายนั้นทำให้ได้ความรู้ว่า  มนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดองค์กร  ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์  ยุคไร้พรมแดน  ทำอย่างไรให้เราอยู่กับชาวต่างชาติได้อย่างชาญฉลาด  การแสวงหาความรู้ต้องแสวงหาทุกวินาที  การเรียนรู้ แบบ   OBAMA  การเป็นนักบริหารที่ดี  ต้องบริหารตนเองก่อน  I  con  do.

ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ

จากประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ได้รับ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.พ. 2551 นับเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตอันล้ำค่าที่เกินความคาดหมาย แม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มากล้นด้วยวิชาการที่หาได้ยากยิ่ง อย่างน้อยที่สุดเราได้เรียนรู้ในเรื่องการบริหารเวลา ซึ่งก็เป็นหัวใจของทริปการเดินทางครั้งนี้ทีเดียว ถัดมาก็คือการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน จากการที่ต้องเข้านั่งฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย โดยเปลี่ยนมาดูหนังสือภาษาอังกฤษแทน ซึ่งสิ่งที่ได้รับตลอดจนข้อคิดที่จะนำไปประยุกต์กับการบริหารจัดการกับองค์กรที่ทำอยู่นั้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ยิ่งไปกว่านั้นตลอดการเดินทาง ท่านอาจารย์และวิทยากรทั้งหมดจะพยายามทำความคุ้นเคยโดยเปลี่ยนกลุ่มนักศึกษาในการพูดคุยทักทาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงนั่นเอง ซึ่งทั้งหมดก็ยังอยู่ในระบบของการปลุกเร้า และกระตุ้นให้ทุกคนเอา กิ๊ฟ หรือพรสวรรค์ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวมานาน ตลอดจนวิชาการความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ นำออกมาใช้ให้มากที่สุด ช่วงสั้นๆ แต่ประทับใจ สนุก เพลิดเพลิน และแฝงไปด้วยวิชาการอันทรงคุณค่า ตามสไตล์ของท่านอาจารย์ จิระ ซึ่งยากนักที่จะหาใครทัดเทียม แต่ก็เกิดแรงบันดาลใจจากลูกศิษย์ทุกคนอยากจะลอกเลียนแบบ และนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งแต่ก่อนนั้นอย่างมากก็คงแค่ประทับใจ เป็นความรู้แต่เราคงทำไม่ได้ แต่เมื่อได้รับฟังการปลุกเร้า และกระตุ้น เขย่า ตลอดจนทุกวิธีการของอาจารย์ ทำให้เกิดความฮึกเหิมขึ้นมาในทันทีว่า เราต้องทำได้ เพียงเท่านี้ก็คุ้มค่าเกินกว่าที่คาดหวังเอาไว้แล้ว เพราะเราเชื่อว่า คงมีอีกเยอะที่มีประกาศนียบัตร และมีปริญญามากมาย แต่ขาดปัญญา เชื่อมั่นว่า ทุกคนที่ได้ร่วมเดินทางฝ่าคลื่นลมมรสุม กลางท้องทะเล ทั้งขาไป และขากลับ บทสรุป และการประเมินผลการศึกษานอกห้องเรียนในครั้งนี้ได้เป็นเอกฉันท์ว่า “คุ้มค่าเกินคำบรรยาย”

สวัสดีค่ะ อาจารย์จิระ ที่เคารพยิ่ง 

       เมื่อรู้ว่าตนเองและเพื่อนร่วมชั้นเรียนจะได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ถึงเกาะล้าน จ.ชลบุรี ดิฉันตื่นเต้นมาก ก่อนวันเดินทางนอนไม่หลับ ใจหนึ่งก็ดีใจจะได้ไปเที่ยวกับเพื่อนร่วมชั้น ที่เพิ่งมารู้จักกันตอนเรียนและก็ไม่เคยไปไหนไกลๆ กับเพื่อนเลย อีกใจหนึ่ง จะไปทำอะไร ดูอะไร ในเมื่อที่นั่นมันเป็นที่พักผ่อน หรือพักร้อนของพวกต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี แล้วตัวเราหล่ะ จะไปเที่ยวหรือไปทำอะไร แต่ก็นึกอยู่เหมือนกันว่า ถ้าท่านอาจารย์พาไปก็จะต้องมีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษาได้ทำกันแน่นอน

     วันเดินทางมาถึงแล้ว ตื่นเต้นจัง เพื่อนๆ โทรตาม เราว่าเรามาแต่เช้าแล้วนะ เพื่อนยังมาเช้ากว่าเราอีก แสดงว่าเพื่อนๆ ตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่าเรา พอมาถึง "โอ้มายก๊อด" ที่นั่งเต็มเอี๊ยด เพื่อนมากันเยอะมาก ดีนะที่เพื่อนเราจองที่ไว้ให้ ทุกคนดูมีความสุขมาก  ใช้เวลาไม่นานก็มาถึง ทะเล ช่างสวยเหลือเกิน น้ำทะเล สีฟ้า ฝรั่งเดินกันเต็มไปหมด อ้าว! ท่านอาจารย์จิระ พร้อมคณะของท่าน  มานั่งรอพวกเราอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าท่านก็คงตื่นเต้นไม่น้อยกว่าเรา

     ท่านอาจารย์เรียกพวกเราให้มารวมกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจในการมาครั้งนี้ เริ่มต้น ท่านให้พวกเราได้หาความรู้จากร้านหนังสือร้านหนึ่ง ที่เมื่อเข้าไปแล้ว ต้องอึ้งเพระเป็นหนังสือที่มาจากทั่วโลก มีหลากหลายชนิดให้เลือกอ่านเลือกซื้อ ดิฉันนึกในใจว่า ถ้าให้ดิฉันเข้าดิฉันก็คงไม่เข้า แต่เมื่ออาจารย์ให้เข้า ก็ต้องเข้าไป แต่เมื่อเข้าไปดิฉันกลับประทับใจเพราะมีหนังสือมากมายที่น่าสนใจ มีหนังสือแปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นตามร้านหนังสือที่เคยเข้า ดิฉันเปิดอ่านกับเพื่อนๆ ไปหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อาหาร ศาสนา ความลี้ลับ สัตว์ รวมไปถึงหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล การเป็นผู้นำ แต่ละเล่มราคาสูงเหมือนกัน มีพระตี้ที่ซื้อหนังสือเกี่ยวการเป็นผู้นำ และก็อีกหนึ่งเล่มที่ท่านสนใจ ท่านบอกว่าน่าอ่าน ท่านเลยซื้อ แถวบ้านเราไม่ค่อยมี ท่านบอก จำได้ว่า วันนั้นพระตี้เสียเงินไปเกือบพันแหน่ะ

      หลังจากนั้นเราก็เดินทางไปเกาะล้าน พวกเราทั้งหมดไม่รู้เลยว่า วันนั้นมีพายุเข้า คลื่นแรง และลูกใหญ่มาก เรานั่งเรือไปอย่างทุลักทุเล คลื่นซัดเข้าเรือ เปียกกันหลายคนเลยที่เดียว ส่วนดิฉันนั่งอยู่ชั้น 2 กับเพื่อนๆ รวมถึงพระทั้ง3รูป ก็อยู่ชั้น 2 สนุกก็สนุก ตื่นเต้นก็ตื่นเต้น เรือโคลงเคลงไปมา ดูๆ ไปก็น่ากลัว แต่ก็ทำใจเย็น ทำไม่สนใจ แต่จริงๆ แล้วก็กลัวใจจะขาด ใจก็กลัวเรือคล่ำ ใจก็กลัวสึนามิ รู้สึกสับสนเหมือนกัน นึกในใจ ไม่เป็นไรน่า เราใส่หลวงปู่ทวด ซึ่งตรงกับราศรีเรา ท่านคงคุ้มครองเราแน่นอน แถมมีพระถึง 3 รูป อยู่ในเรือรำนี้ ปลอดภัยแน่นอน

     ในที่สุดเราก็มาถึงเกาะ อย่างปลอดภัย รู้สึกโล่งอกยังไงไม่รู้ แต่ความรู้สึกนี้ เพื่อนๆ ก็คงคิดไปไม่น้อยกว่าเราแน่ แต่ก็ไม่พูด เพราะถ้าเอาพูด มันจะบั่นทอนจิตใจเรา ยิ่งจะทำให้กลัวไปกันใหญ่ เมื่อมาถึงเราก็ได้กินข้าว ที่ทนหิวมาตั้งนาน อาหารอร่อยมาก สมกับที่เรารอคอย เมื่ออิ่มกันแล้วตอนนี้แหละนะ ท่านอาจารย์จิระได้ให้พวกเรารวมกลุ่มแนะนำให้เรารู้จัก บุคคลทั้ง 3 ท่าน 1. ท่านเป็นอาจารย์ยมที่สอนเราด้วย 2.ท่านเป็นรอง ผกก.อยู่ที่พัทยา 3.ท่านเป็น ดร.กีรติ ซึ่งท่านทั้ง3 ได้ให้ความรู้ แง่คิด การทำงาน การบริหารงาน ซึ่งทั้งหมดที่ท่านทั้ง3 กล่าวมา ต้องการให้พวกเราได้นำไปคิด ปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง หน่วยงาน และปท.ชาติ พวกเราตั้งใจฟังท่านทั้ง 3 อย่างจริงจัง รู้สึกชอบที่ท่านพูดให้แง่คิดดีๆ แก่พวกเราตั้งเยอะ

      ตอนนี้ก็ได้เวลาพักผ่อน พวกเราได้เวลาพักประมาณครึ่งชั่วโมง พวกเราพากันไปถ่ายรูป ดูฝรั่ง ดูบรรยากาศ นอนเล่น ช่างมีความสุขจริง ๆ ในกรุงเทพฯ ไม่มีแบบนี้ เราต้องกอบโกยความสุขให้เต็มที่ เมื่อถึงเวลาเราก็ได้เวลากลับกัน ได้เวลาตื่นเต้นอีกแล้วสิเรา แต่ตอนนี้เรากลับไปขึ้นเรือที่ท่า ท่านอาจารย์จิระฯ ที่เคารพท่านเป็นห่วงพวกเรามาก ท่านกลัวพวกเราจะไม่ปลอดภัย เพราะเปรียบเหมือนกันว่าท่านเป็นหัวหน้าทีมในครั้งนี้ แต่จริงๆ แล้วพวกเราก็ห่วงท่านไม่น้อยกว่าที่ท่านเป็นห่วงเรา เรารู้สึกประทับใจท่านมาก ที่ท่านให้ความสนใจกับความปลอดภัยของพวกเรา พวกเราพากันเดินไปนั่งรถสองแถวที่จอดรออยู่เพื่อไปขึ้นเรือที่ท่า  แต่คราวนี้เรากับชิน แต่จริงๆ แล้วขากลับคลื่นลูกใหญ่กว่าเดิมเสียอีก แต่เราก็ภาวนาให้ถึงฝั่งอย่างปลอดภัย พวกเราสนุกสนานเหมือนเดิมถ่ายรูป เล่นกัน ทำเป็นมีความสุข จริงๆ ก็ตื่นเต้นเหมือนเดิม แต่ขากลับดูเหมือนจะเร็วกว่า ขาไป แป๊บเดียวก็ถึงฝั่งอย่างปลอดภัย พวกเราเป็นห่วงเป็นใยกันดีมากๆ เพื่อนเรียนเรารุ่นนี้ดีจัง ทุกคนน่ารักมาก มีขนมก็แบ่งกันกิน มีของก็ช่วยถือ ดีใจจังที่ได้เรียนรุ่นนี้

     สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณท่านอาจารย์จิระ และอาจารย์ทุกๆ ท่านที่ได้พาพวกเราไปหาประสบการณ์นอกสถานที่จะเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป

 

นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขา การปกครองท้องถิ่น

 

ความประทับใจที่ได้จากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน

1.ประทับใจกับการมีน้ำใจของเพื่อนๆร่วมรุ่นเดียวกันตั้งแต่เช้าที่ไปถึงมหาวิทยาลัย จะมีคุณนงค์หรือที่น้องๆเรียกกันว่าป้านงค์จะยืนคอยต้อนรับเพื่อนๆอยู่ตลอดเวลาว่าใครยังไม่มาอีก คุณอรุณก็จะคอยเดินถามอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งก่อนรถจะออกว่าที่นั่งพอหรือเปล่าถ้าไม่พอยังมีรถเก๋งส่วนตัวขับตามไปอีกคันโดยยอมเสียสละเติมน้ำมันรถเองอีกด้วย น้องฉลองหรือน้องไก่ถึงแม้จะไปไม่ได้เพราะมีนัดกับคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพแต่ยังมีน้ำใจต่อเพื่อนๆมาส่งที่รถจนกระทั่งถึงเวลารถออกเดินทาง

                ตลอดเวลาการเดินทางน้องๆและเพื่อนๆทุกๆคนก็ช่วยเหลือกันแบ่งปันขนมต่างๆที่เตรียมกันมาจนอิ่มหนำสำราญกันทุกคน แม้ว่าในช่วงเวลาที่อยู่บนเรือมีคลื่นลมแรงแต่ทุกคนก็ไม่บ่นย่อท้อต่อความยากลำบากใดๆทั้งสิ้นจนกระทั่งเดินทางกลับสู่มหาวิทยาลัยของเรา

2.ประทับใจเกี่ยวกับระบบทีมงานของท่านอาจารย์จิระที่บริหารเวลาได้อย่างดีเยี่ยมไม่ผิดพลาด ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของเวลาไม่ขาดตกบกพร่องแม้ว่าคลื่นลมจะแรงปานใดแต่ทีมงานก็ไม่หวั่นไหวเก็บความรู้สึกได้ดีไม่สร้างความวิตกกังวลให้กับคณะนักศึกษา นอกจากนี้ยังสร้างความเป็นกันเองคอยดูแลเอาใจใส่ทุกๆคนเป็นอย่างดี

3.ประทับใจท่านอาจารย์จิระเป็นอย่างมาก การออกมาเรียนนอกสถานที่ครั้งนี้พวกเราได้ความรู้สึกที่หาไม่ได้อีกแล้วในชั้นเรียนเพราะใครก็ทำไม่ได้ในลักษณะนี้คือการที่ท่านอาจารย์จิระท่านแสดงความรักความเอื้ออาทร ต่อลูกศิษย์ทุกคนที่ท่านพาไปเปรียบเสมือนกับลูกของท่านเอง เพราะอะไรผมจึงเขียนเช่นนี้ เพราะว่าผมคิดว่าคงจะเห็นครูอาจารย์ที่สอนในระดับมหาวิทยาลัยแล้วจะปฏิบัติตัวเช่นนี้กับลูกศิษย์ของท่านได้ยากเต็มที่เพราะท่านอาจารย์จิระจะคอยดูแลเอาใจใส่ต่อนักศึกษาทุกคน คอยถามความเป็นอยู่ตลอดเวลาการเดินทางว่าเป็นอย่างไร

แม้แต่ในเวลาที่จะรับประทานอาหารกลางวันก็ให้ทางร้านรีบจัดอาหารให้พวกเราได้รับประทานกันอย่างมีความสุข ติดตามประสานงานให้ทีมงานของตำรวจ สภ.เมืองพัทยามาคอยดูแลอำนวยความสะดวกแด่พวกเรานับว่าท่านมีจิตใจที่เปี่ยมล้นในค่าของความเป็นครูอย่างยิ่ง

                เมือมาถึงวันนี้(24 ก.พ. 2551) ก็เป็นวันเวลาวันท้ายสุดของสัปดาห์ที่เราจะเรียนกับท่านอาจารย์เสียแล้ว เราได้อะไรจากท่านมากมายเพราะท่านเป็นเทรนเนอร์ผู้ที่จะคอยกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาว่าพวกเราต้องทำได้ และจะต้องเป็นนักบริหารที่ดีต่อไป พวกผมหลายๆคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราคงจะได้รับการกลับมาสอนจากท่านอีกในวิชาที่เหลืออยู่อีกของพวกเราในภาคเรียนต่อๆไปด้วยความเคารพรัก

                ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทีมงานของตำรวจ สภ.เมืองพัทยา โดยการนำของท่านรองผู้กำกับที่มาคอยดูแลพวกเราให้มีความอบอุ่นใจ พวกเราทุกคนไม่มีอะไรที่จะมอบให้นอกเสียจากเสียงปรบมือดังๆให้ท่านและคณะได้ชื่นใจ ขอขอบคุณครับ

 

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

กราบเรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ (ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์), อาจารย์ยม   นาคสุข ,อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน  ก่อนที่จะตอบคำถาม อาจารย์ยม   หลังจากที่อาจารย์ได้สอนใน Class ในวันที่ 23 – 24  ก.พ. 51    แล้วข้าพเจ้ามีความรู้สึกปลาบปลื้ม และภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ทุกท่านถือว่าเป็นบุญ  ที่อาจารย์ทุกท่านได้มาประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้

1. จากวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม (วันที่ 23  ก.พ. 51) ได้อะไรบ้าง

        - ได้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่  21  ซึ่งถือได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  หากต้องการให้องค์การพัฒนา  ก็ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ทำให้เกิด คนเก่ง  ซึ่งทุกคนสามารถเป็นคนเก่งได้ โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

        1.  การประเมินความรู้และทักษะ

          2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา    

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

        - ได้ทราบถึงการวางแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต  ซึ่งในการพัฒนาคนต้องมีการกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ  ประกอบด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์  8  เรื่อง  ที่มีประเด็นในเรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง   อาทิเช่น  มุ่งความต้องการของลูกค้า , วางแผนกลยุทธ์,  ให้ความสำคัญกับผู้นำ  / ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์  ประกอบด้วย  การเตรียมการวิเคราะห์ ,  การนำกลยุทธ์ไปใช้,  การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์

 

2.  คนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร

          คนในอนาคตต้องมีสมรรถนะที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ ซึ่งประกอบด้วย

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO 

 

วิธีการพัฒนาคนในอนาคตทำอย่างไร

1.     Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ที่ดีใช้ คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษา  เป็นครูผู้ฝึกสอน  แนะนำแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน  ตัวผู้สอนอาจมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรตามแต่ความเหมาะสม

2.     Internal  Education  and  Training  หาหลักสูตรอบรม  เช่น  หลักสูตรภาวะผู้นำ  เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความสามารถที่องค์กรต้องการ

3.     Executive  Program  / External  Course  Work        ส่งคนไปอบรมภายนอกในสถาบันต่าง ๆ  เช่น  ในมหาวิทยาลัย  เป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร

4.     Teaching  as  Learning  สอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ  เน้นประสบการณ์ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้  โดยให้คนเก่งเป็นผู้สอน  ฝึกให้คนเก่งเป็นผู้พัฒนาทักษะนำเสนอ

5.     Extracurricular  Activity  พัฒนาให้ทำกิจกรรมพิเศษ  ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เกิดการพัฒนา  เช่น  กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  เน้นมนุษยสัมพันธ์  สร้างภาพพจน์  ภาพลักษณ์

 

นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว  วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง  มี  15  แนวคิด  แต่ขอยกตัวอย่างมา  5  ข้อ  และขออนุญาตต่อยอดแนวความคิดอาจารย์ยม

Test  make a  mistake  and  Test  for  correct  โดยมอบหมายให้ทำงานที่เริ่มจาก Project  เล็ก ๆ  ก่อน  เพื่อเป็นการทดสอบการการทำงาน   ความรับผิดชอบ   การตัดสินใจ  โดยเป็นการลองผิด  ลองถูก  โดยมี คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำควบคู่ ทำให้มีประสบการณ์จากการทำงานจริง

 

 

กลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) สมาชิกประกอบด้วย
1. พระศุภสิน ศักศรีวัน      2. พระมหาวิทยา นางวงศ์ 3. นางสาวนลินี โลพิศ
4. นางสาวศศินี โพธิทอง 5. ส.ท.สราวุธ ดอกไม้จีน  6. นายสุรัชต์ ชวนชื่น
7. นายธนิก กัมพูศิริพันธ์   8. นายสุรภัทร ปานทอง    9. นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

 
     

เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมณ์และคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่าน.. 
      จากงานที่ได้มอบหมายให้อ่านและสรุปความเนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R. Covey ซึ่งกลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) ได้รับมอบหมายมา พอสรุปเนื้อหาได้ดังนี้..
 
       ในบทนี้จะกล่าวถึงระลอกคลื่นแห่งความไว้ใจในตัวเองอันเป็นหลักการของความน่าเชื่อถือ เนื้อหาจะกล่าวถึงหลักของความวางใจในตัวเอง อันจะนำไปสู่ความวางใจความสัมพันธ์ ความวางใจองค์กร ความวางใจตลาด และความวางใจสังคม ซึ่งจะอยู่ในรูปของระลอกคลื่น 5 ระลอกคลื่น ดังจะเห็นจากบทความในหนังสือที่ว่า
          The 5 wave of Trust model in our lives. It begins with each of us personally, continues into our relationship, expands into our organizations, extends our marketplace relationships and encompasses our global society at large. This reflects the strength of the “inside-out” approach : To build trust with other we must first start with ourselves.
          แบบจำลอง 5 ระลอกคลื่นแห่งความไว้วางใจเป็นอุปมาแสดงให้เห็นว่า ความวางใจมีความเป็นไปอย่างไรในชีวิตของเรา เริ่มต้นที่ตัวเราขยายออกสู่ความสัมพันธ์ แพร่กระจายไปในองค์กร กระเพื่อมเข้าไปสู่ตลาด และโอบรับสังคมโลก ในท้ายที่สุด ภาพนี้สะท้อนให้เห็นพลังของวิถี “จากภายในสู่ภายนอก” หากต้องการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้อื่นได้เป็นที่รู้จัก เราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน.
      ในการสร้างความเชื่อนั้นต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบอันจะก่อเกิดขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์ (Character) คือต้องเป็นบุคคลที่มีแก่น 4 แก่น อันประกอบด้วย
      1. ความมีบูรณภาพ (Integrity) คือความซื่อสัตย์ แล้วยังรวมถึงการทิ้งรอยประทับของความงดงามไว้ ในบางคราวแต่ความจริง แต่ชี้ทางให้หลงทิศ เช่นนั้นก็มิอาจเรียกได้ว่า ความซื่อสัตย์ และความซื่อสัตย์นั้นต้องเกิดจากภายใน และประสานกันเป็นเนื้อเดียวกับภายนอก การแสดงออกทั้งกายวาจาใจ ในเรื่องนี้จะยกตัวอย่างบุคคลที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก คือมหาตมะ คานธี ที่มีความซื่อสัตย์และและมีความเป็นเนื้อเดียวกันโดยเนื้อบริสุทธิ์แท้ มิใช่การจำยอมปฏิบัติตามข้อบังคับ การกลืนกันเป็นเนื้อเดียวจะสร้างความน่าเชื่อถือและความวางใจ จะเห็นจากตอนที่มหาตมะ คานธี ได้ปราศรัยต่อสภาผู้แทนฯอังกฤษ ท่านปราศรัยนานสองชั่วโมง โดยมิได้มีบันทึกใด ๆ เลย และหลังจากจบการปราศรัยก็ได้รับการปรบมือให้อย่างยาวนาน นักข่าวสงสัยจึงได้ถามเดซาย ซึ่งเป็นเลขาส่วนตัวของคานธีว่าทำได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีบันทึกใด ๆ เลย เดซายตอบว่า
          "สิ่งที่คานธีคิด สิ่งที่คานธีรู้สึก และทุกการกระทำ ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกัน ท่านไม่ต้องการบันทึกเตือนความจำ...ถ้าเป็นฉันหรือคุณ เราจะคิดเรื่องหนึ่ง รู้สึกอีกเรื่อง กล่าวเรื่องที่สาม และก็ทำเรื่องที่สี่ เราจึงจำเป็นต้องมีบันทึกและแฟ้มเพื่อวางกรอบให้อยู่กับร่องกับรอย."
          “What Gandhi think, what be feels, you and I, we think one thing feel another, say a third and do a fourth, so we need note and files to keep track."
      - การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนแสดงตัวตนในภาวะผู้นำและชีวิตส่วนตัว โดยลักษณะของคนอ่อนน้อมถ่อมตนจะสนใจว่า อะไร ถูกต้องแทนการเป็น ฝ่ายถูก/ นำไอดีชั้นดี มาปฏิบัติ แทนที่จะเป็น ต้นคิด ไอเดียนั้น / โอบรับ ความจริงใหม่ แทนการ แก้ตัวปกป้อง สถานะเดิม/ สร้างทีมงาน แทนการยกระดับ ตัวเอง / มองหา วิธีการคืนกำไรให้กับสังคม แทนการ สร้างชื่อให้กับตนเอง ว่าเป็นผู้กระทำ
      - การมีความกล้าหาญ (Courage)
      การเพิ่มพูนบูรณภาพ
          1. ต้องซื่อสัตย์ในทุกเรื่องที่ทำต่อผู้อื่น
          2. เป็นคนรักษาคำพูดได้
          3. กำหนดค่านิยมไว้ชัดเจน และมีความภูมิใจที่จะยืนขึ้นมาปกป้องค่านิยมนั้น
          4. เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ฉันกลับมาค้นหาต้นตอปัญหาอีกครั้ง หรือแม้แต่เปลี่ยนคำจำกัดความของค่านิยม
      - ให้สัญญาที่ผูกมัดและปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ต่อตนเอง
      ตัวเร่งปฏิกิริยาบูรณภาพ 3 ข้อ
          1. ให้สัญญาและรักษาสัญญาต่อตนเอง
          2. ยืนหยัดเพื่ออะไรบางอย่าง คือมีปณิธานของตัวเอง
          3. เปิดใจให้กว้าง โดยมีมุมมองต่อสิ่งรอบข้างอย่างถี่ถ้วนพร้อมจะรับฟังรับมุมมองอื่นมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ความสำคัญจากคนรอบข้างพร้อมที่จะรับฟังและมีความจูงใจในความเห็นที่แตกต่างอย่างเต็มใจ กล้าที่คิดออกนอกกล่อง และให้คุณค่าในการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

      2. เจตนา (Intent) หมายถึงแผนหรือเป้าหมาย โดยมีสาระหลักคือ
          • เจตนามีความสำคัญ
          • เจตนาเกิดจากคุณลักษณะ
          • เราตัดสินใจตัวเองด้วยเจตนา แต่คนอื่นตัดสินเราจากพฤติกรรม
          • เราตัดสินเจตนาผู้อื่นด้วยกรอบความคิดและประสบการณ์ส่วนตัว
          • ความเข้าใจต่อเจตนา ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อความไว้วางใจ
          • คนไม่วางใจ เพราะผลสรุปที่เขาประมวลจากการกระทำของเรา
          • นับเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะกล่าวแก้ความเข้าใจของผู้อื่นที่มีต่อตัวเราโดยการ ‘ประกาศเจตนา’
      เจตนาจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนหากขาดปัจจัย 3 เรื่องคือ 
          1. มูลเหตุแห่งการจูงใจ (Motive) ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจ เป็นเหตุผลในการทำอะไรบางอย่าง มูลเหตุจูงใจเป็น ทำไม ที่จะทำให้เกิด อะไร ซึ่งมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดความวางใจคือ การเอาใจใส่อย่างแท้จริง ใส่ใจต่อผู้คน ใส่ใจต่อวัตถุประสงค์ ใส่ใจต่อคุณภาพของงานที่ทำ ใส่ใจต่อสังคมโดยรวม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพลังในการสร้างความน่าเชื่อถือ
          2. วาระ (Agenda) ซึ่งงอกงามมาจากมูลเหตุจูงใจ เรื่องราวที่ตั้งใจจะทำให้เกิดผล ผลักดันเต็มที่เพราะมีเหตุจูงใจ ซึ่งวาระที่จุดประกายความวางใจสูงสุด ก็คือการเสาะแสวงหาผลประโยชน์ทุกฝ่าย จริงใจที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
          3. พฤติกรรม (Behavior) ซึ่งโดยปกติแล้วพฤติกรรมที่แสดงออกของมูลเหตุจูงใจและวาระ จะสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจได้ดีที่สุด
      ตัวเร่งในการยกระดับเจตนาให้งดงาม
          1. สอบทานและปรับรายละเอียดเหตุจูงใจของตัวเองในด้านต่าง ๆ
          2. ประกาศเจตนา แสดงวาระและมูลเหตุจูงใจให้ปรากฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ผู้อื่นเข้าใจผิด แปลพฤติกรรมของคุณผิดไป อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความวางใจในสัมพันธ์ใหม่ด้วย
          3. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเสมอไป
กลุ่มที่ 2 : Fisherman Party (แก้ไขเพิ่มเติม)

 

 

กลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) สมาชิกประกอบด้วย
1. พระศุภสิน ศักศรีวัน      2. พระมหาวิทยา นางวงศ์ 3. นางสาวนลินี โลพิศ
4. นางสาวศศินี โพธิทอง 5. ส.ท.สราวุธ ดอกไม้จีน  6. นายสุรัชต์ ชวนชื่น
7. นายธนิก กัมพูศิริพันธ์   8. นายสุรภัทร ปานทอง    9. นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

 
     

เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมณ์และคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่าน.. 
      จากงานที่ได้มอบหมายให้อ่านและสรุปความเนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R. Covey ซึ่งกลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) ได้รับมอบหมายมา พอสรุปเนื้อหาได้ดังนี้..
 
       ในบทนี้จะกล่าวถึงระลอกคลื่นแห่งความไว้ใจในตัวเองอันเป็นหลักการของความน่าเชื่อถือ เนื้อหาจะกล่าวถึงหลักของความวางใจในตัวเอง อันจะนำไปสู่ความวางใจความสัมพันธ์ ความวางใจองค์กร ความวางใจตลาด และความวางใจสังคม ซึ่งจะอยู่ในรูปของระลอกคลื่น 5 ระลอกคลื่น ดังจะเห็นจากบทความในหนังสือที่ว่า
          The 5 wave of Trust model in our lives. It begins with each of us personally, continues into our relationship, expands into our organizations, extends our marketplace relationships and encompasses our global society at large. This reflects the strength of the “inside-out” approach : To build trust with other we must first start with ourselves.
          แบบจำลอง 5 ระลอกคลื่นแห่งความไว้วางใจเป็นอุปมาแสดงให้เห็นว่า ความวางใจมีความเป็นไปอย่างไรในชีวิตของเรา เริ่มต้นที่ตัวเราขยายออกสู่ความสัมพันธ์ แพร่กระจายไปในองค์กร กระเพื่อมเข้าไปสู่ตลาด และโอบรับสังคมโลก ในท้ายที่สุด ภาพนี้สะท้อนให้เห็นพลังของวิถี “จากภายในสู่ภายนอก” หากต้องการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้อื่นได้เป็นที่รู้จัก เราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน.
      ในการสร้างความเชื่อนั้นต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบอันจะก่อเกิดขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์ (Character) คือต้องอาศัยหลักแก่นแท้ 4 แก่น คือ บูรณภาพ เจตนา ความสามารถ และผลลัพธ์
      ลองจินตนาการภาพตัวคุณในศาล ตอนที่คุณถูกเรียกตัวไปนั่งในคอกเพื่อเป็นพยาน อัยการบรรยายให้คณะลูกขุนเชื่อว่า คุณเป็นพยานที่น่าเชื่อถือ อัยการต้องพิสูจน์อะไร
      ข้อแรก คุณมีบูรณภาพ (Integrity) คือเป็นคนซื่อสัตย์ พูดคำไหนเป็นคำนั้น คนเป็นที่รู้จักว่ากล่าวแต่ความจริง ไม่โกหก
      ข้อสอง คุณเป็นคนมีเจตนา(Intent)ที่ดี ไม่พยายามหลอกลวงใคร ปกป้องผู้ใด ไม่มีวาระซ่อนเร้น ไม่มีเหตุจูงใจพิเศษที่จะต้องบิดเบือนคำให้การ
      ทั้งบูรณภาพและเจตนาประกอบกันเป็นคุณลักษณะ "แก่นแท้ที่เป็นตัวตนของคนผู้นั้น"
      ข้อสาม ความสามารถ (Capability) หรือการมีฝีมือในการทำงานที่ยอดเยี่ยม มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ มีทักษะ มีความสามารถในสาขาที่คุณถูกเรียกตัวมาให้ปากคำ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นวิธีการที่เราใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หมอประจำบ้านอาจมีบูรณภาพและมีเจตนาดี แต่ถ้าไม่ฝึกหนัก ไม่มีฝีมือ ไม่มีทักษะ ก็ไม่อาจทำงานยากให้สำเร็จ (เช่นการผ่าตัดสมอง) ถือได้ว่าไม่มีความน่าเชื่อถือในงานนนี้ ฝีมือจะเป็นความสามารถในการสร้างความไว้วางใจ เพาะบ่มให้เจริญงอกงาม ฟื้นคืนให้คืนสู่สภาพดีดังเดิม
      ข้อสี่ ผลลัพธ์ (Result) บรรยายประวัติผลงาน ผลการปฏิบัติงาน ทำเรื่องพึงกระทำให้แล้วเสร็จ ถ้าเราทำงานตามที่คนอื่นคาดหวังไม่สำเร็จ ความน่าเชื่อถือของเราก็จะหมดไป ในทางตรงกันข้าม หากเราสร้างผลลัพธ์ตามที่เราพูดไว้ จะเป็นการสร้างชื่อเสียง เป็นตราการันตีความสำเร็จ ชื่อเสียงจะล้ำหน้าไปไกลกว่าที่เราเองคาดคิด
      ทั้งความสามารถและผลลัพธ์ประกอบรวมกันเป็น ฝีมือ (Competence)
      
1. ความมีบูรณภาพ (Integrity) คือความซื่อสัตย์ แล้วยังรวมถึงการทิ้งรอยประทับของความงดงามไว้ ในบางคราวแต่ความจริง แต่ชี้ทางให้หลงทิศ เช่นนั้นก็มิอาจเรียกได้ว่า ความซื่อสัตย์ และความซื่อสัตย์นั้นต้องเกิดจากภายใน และประสานกันเป็นเนื้อเดียวกับภายนอก การแสดงออกทั้งกายวาจาใจ ในเรื่องนี้จะยกตัวอย่างบุคคลที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก คือมหาตมะ คานธี ที่มีความซื่อสัตย์และและมีความเป็นเนื้อเดียวกันโดยเนื้อบริสุทธิ์แท้ มิใช่การจำยอมปฏิบัติตามข้อบังคับ การกลืนกันเป็นเนื้อเดียวจะสร้างความน่าเชื่อถือและความวางใจ จะเห็นจากตอนที่มหาตมะ คานธี ได้ปราศรัยต่อสภาผู้แทนฯอังกฤษ ท่านปราศรัยนานสองชั่วโมง โดยมิได้มีบันทึกใด ๆ เลย และหลังจากจบการปราศรัยก็ได้รับการปรบมือให้อย่างยาวนาน นักข่าวสงสัยจึงได้ถามเดซาย ซึ่งเป็นเลขาส่วนตัวของคานธีว่าทำได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีบันทึกใด ๆ เลย เดซายตอบว่า
          "สิ่งที่คานธีคิด สิ่งที่คานธีรู้สึก และทุกการกระทำ ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกัน ท่านไม่ต้องการบันทึกเตือนความจำ...ถ้าเป็นฉันหรือคุณ เราจะคิดเรื่องหนึ่ง รู้สึกอีกเรื่อง กล่าวเรื่องที่สาม และก็ทำเรื่องที่สี่ เราจึงจำเป็นต้องมีบันทึกและแฟ้มเพื่อวางกรอบให้อยู่กับร่องกับรอย."
          “What Gandhi think, what be feels, What be says and what be does are all the same, He does not need note... you and I, we think one thing feel another, say a third and do a fourth, so we need note and files to keep track."
      - การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนแสดงตัวตนในภาวะผู้นำและชีวิตส่วนตัว โดยลักษณะของคนอ่อนน้อมถ่อมตนจะสนใจว่า อะไร ถูกต้องแทนการเป็น ฝ่ายถูก/ นำไอดีชั้นดี มาปฏิบัติ แทนที่จะเป็น ต้นคิด ไอเดียนั้น / โอบรับ ความจริงใหม่ แทนการ แก้ตัวปกป้อง สถานะเดิม/ สร้างทีมงาน แทนการยกระดับ ตัวเอง / มองหา วิธีการคืนกำไรให้กับสังคม แทนการ สร้างชื่อให้กับตนเอง ว่าเป็นผู้กระทำ
      - การมีความกล้าหาญ (Courage)
      การเพิ่มพูนบูรณภาพ
          1. ต้องซื่อสัตย์ในทุกเรื่องที่ทำต่อผู้อื่น
          2. เป็นคนรักษาคำพูดได้
          3. กำหนดค่านิยมไว้ชัดเจน และมีความภูมิใจที่จะยืนขึ้นมาปกป้องค่านิยมนั้น
          4. เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ฉันกลับมาค้นหาต้นตอปัญหาอีกครั้ง หรือแม้แต่เปลี่ยนคำจำกัดความของค่านิยม
      - ให้สัญญาที่ผูกมัดและปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ต่อตนเอง
      ตัวเร่งปฏิกิริยาบูรณภาพ 3 ข้อ
          1. ให้สัญญาและรักษาสัญญาต่อตนเอง
          2. ยืนหยัดเพื่ออะไรบางอย่าง คือมีปณิธานของตัวเอง
          3. เปิดใจให้กว้าง โดยมีมุมมองต่อสิ่งรอบข้างอย่างถี่ถ้วนพร้อมจะรับฟังรับมุมมองอื่นมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ความสำคัญจากคนรอบข้างพร้อมที่จะรับฟังและมีความจูงใจในความเห็นที่แตกต่างอย่างเต็มใจ กล้าที่คิดออกนอกกล่อง และให้คุณค่าในการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

      2. เจตนา (Intent) หมายถึงแผนหรือเป้าหมาย โดยมีสาระหลักคือ
          • เจตนามีความสำคัญ
          • เจตนาเกิดจากคุณลักษณะ
          • เราตัดสินใจตัวเองด้วยเจตนา แต่คนอื่นตัดสินเราจากพฤติกรรม
          • เราตัดสินเจตนาผู้อื่นด้วยกรอบความคิดและประสบการณ์ส่วนตัว
          • ความเข้าใจต่อเจตนา ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อความไว้วางใจ
          • คนไม่วางใจ เพราะผลสรุปที่เขาประมวลจากการกระทำของเรา
          • นับเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะกล่าวแก้ความเข้าใจของผู้อื่นที่มีต่อตัวเราโดยการ ‘ประกาศเจตนา’
      เจตนาจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนหากขาดปัจจัย 3 เรื่องคือ 
          1. มูลเหตุแห่งการจูงใจ (Motive) ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจ เป็นเหตุผลในการทำอะไรบางอย่าง มูลเหตุจูงใจเป็น ทำไม ที่จะทำให้เกิด อะไร ซึ่งมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดความวางใจคือ การเอาใจใส่อย่างแท้จริง ใส่ใจต่อผู้คน ใส่ใจต่อวัตถุประสงค์ ใส่ใจต่อคุณภาพของงานที่ทำ ใส่ใจต่อสังคมโดยรวม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพลังในการสร้างความน่าเชื่อถือ
          2. วาระ (Agenda) ซึ่งงอกงามมาจากมูลเหตุจูงใจ เรื่องราวที่ตั้งใจจะทำให้เกิดผล ผลักดันเต็มที่เพราะมีเหตุจูงใจ ซึ่งวาระที่จุดประกายความวางใจสูงสุด ก็คือการเสาะแสวงหาผลประโยชน์ทุกฝ่าย จริงใจที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
          3. พฤติกรรม (Behavior) ซึ่งโดยปกติแล้วพฤติกรรมที่แสดงออกของมูลเหตุจูงใจและวาระ จะสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจได้ดีที่สุด
      ตัวเร่งในการยกระดับเจตนาให้งดงาม
          1. สอบทานและปรับรายละเอียดเหตุจูงใจของตัวเองในด้านต่าง ๆ
          2. ประกาศเจตนา แสดงวาระและมูลเหตุจูงใจให้ปรากฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ผู้อื่นเข้าใจผิด แปลพฤติกรรมของคุณผิดไป อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความวางใจในสัมพันธ์ใหม่ด้วย
          3. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเสมอไป

      ** ในส่วนของกลุ่ม 2 สรุปเนื้อหาพอเป็นแนวทางโดยสังเขปตามที่รับมอบหมายมาเพียงเท่านี้ ส่วนแก่นที่ 3 และ 4 เป็นหน้าที่ของกลุ่มที่ 3 ที่จะมาทำหน้าที่ขยายผลและต่อเติมต่อไป..
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ (ตัวแทนกลุ่มที่ 3)

  

รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่  3

1.นางสาวกมลทิพย์  สัตบุษ     2.นางสาวพรทิพย์    เรืองปราชญ์  3.นางสาวขนิษฐา  พลับแก้ว  4.นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง  5.นางวีลาวัลย์     จันทร์ปลา  6.นายบุญชู          ทองฝาก  7.นายโสภณ          สังข์แป้น      8.นางสาวสายใจ  โฉมสุข     9.จ.ส.ต.พงศกร ไพเราะ         10.ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์  มณีโชติ     11.นายชัยรัตน์     พัฒนทอง 12.จ.ส.ต.บัญชา วิริยะพันธ์      

เรียน  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,คณะทีมงาน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าอ่าน Blog  ทุกท่าน 

     จากงานที่ได้มอบหมายให้อ่านและสรุปความเนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R. Covey ซึ่งกลุ่มที่ 3  ได้รับมอบหมายต่อจากกลุ่มที่  2 คือการสร้างความเชื่อนั้นต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบอันจะก่อเกิดขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์ คือ ต้องอาศัยหลักแก่นแท้ 4 แก่น ซึ่งกลุ่มที่  3  จะขอสรุปเนื้อหาในส่วนของแก่นที่  3  และ  4  ได้ดังนี้....

     แก่นที่  3  ความสามารถ

     ผู้ที่มีความสามารถย่อมได้รับความเชื่อถือ ความสามารถในการได้รับความเชื่อถือ คือการใช้ปลัก " TASKS" ประกอบด้วย                                                                                                                                          Talent   พรสวรรค์  สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติในตัวเอง               Attitude ทัศนคติ  ความเชื่อหรือความยอมรับ หรือความคิดต่อสิ่งนั้น                                                                      Skill      ทักษะ  ความสามารถส่วนตัว                  Knowledge  ความรู้ เฉพาะทางในปัจจุบันมีแค่ไหน         Style  รูปแบบ  ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพแค่ไหนในการเข้าถึงปัญหา และโอกาส รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

     แก่นที่  4  ผลลัพธ์ หรือผลงาน

     คนไม่สามารถสร้างความเชื่อใจได้จนกว่าจะมีผลงานให้เห็น ความเชื่อถือของเรานั้นไม่ได้มาจากผลงานในอดีตหรือปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมาจากความมั่นใจที่ผู้อื่นมีต่อการผลิตผลงานในอนาคตของเราด้วย   

     เราจะปรับปรุงผลงานได้อย่างไร    ผลงานมีความสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ และเชื่อใจต่อตัวเราเองและผู้อื่น เราสามารถปรับปรุงผลงานของตัวเองได้ด้วย  3  วิธี คือ

1.  รับผิดชอบในผลงานที่ทำ                                            2.  หวังที่จะชนะ โดยคาดหวังว่าผลงานที่ได้จะต้องเป็นไปตามที่เราคาดหวัง โดยไม่ใช่เพียงเพื่อตัวเอง แต่เพื่อคนอื่นด้วย           3.  จบอย่างเข้มแข็ง ในการทำสิ่งต่าง ๆ นั้น การจบสิ่งที่ทำอย่างเข้มแข็งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราทำสิ่งต่อ ๆ ไปอย่างมั่นใจ และมีคุณภาพ                                                                                                                             สรุปเรื่องแก่นทั้งสี่  ในการสร้างความเชื่อถือ ความสามารถเป็นสิ่งจำเป็นการสร้างความเชื่อถือ เชื่อใจในตนเองและผู้อื่น

นางสาว ลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4

กราบเรียนท่านอาจารย์ ยม และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนจากท่านอาจารย์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2551

1.       ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคศตวรรณที่ 21

2.       การวางแผนกลยุทธด้านทรัพยากรกมนุษย์

Model  การพัฒนาและการอบรมคนเก่ง

การพัฒนา คนเก่ง  5 ขั้นตอน

1.        การประเมินความรู้ และทักษะเป็นการรวบรม feedback  จากแหล่งข้อมูล

2.        การวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งมาวางแผนเป็นจุดแข็งหรือเอาจุดแข็งมาวางแผนให้พัฒนาให้ดีขึ้น

3.        กกการวางแผน คนเก่ง โดยระบุประด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ

4.        ดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการและให้มีการตรวจ ติดตามความก้าวหน้า

5.        การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการ Feedbackพนักงาน

คุณลักษณะที่มักใช้ประเมินบุคลากร

-          ภาวะผู้นำ

-          การสื่อสาร(พูดได้ต่อชุมชม)

-          การวางแผน ทำงานภายใต้ความกดดันได้

-          การตอบสนอง ต่อความเครียด ด้วยตนเองได้

-          แรงจูงใจ

-          ศักยภาพในการเรียนรู้

-          พลังในการทำงานสมรรถนะ

-          การตัดสินใจ

-          การจัดการ

-          การวิเคราะห์

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

1.สมรรถนะในการบริหารคน HR, Manangeament

2. สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหารGenerl Management Knowlede

3.สมรรถนะในการบริหารมืออาชีพ  Working  like the professional management level

4.สมรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ Management by Result ,MOB

                                สมรรถนะในการบริหารคน

-          ทักษะในการสื่อสาร  Communication

-          การประชาสัมพันธ์   Coordinate activeness

สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหาร

-          การบริหารการเปลี่ยนแปลง  Managing change

-          การมีจิตมุ่งบริการcustomer service orientation

-          การวางแผนกลยุทธ Strategic  Plannig

สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

-          การตัดสินใจ Division Making

-          ความเป็นผู้นำ  leadership

-          การคิดเชิงกลยุทธ  Thinking

สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

-          การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ Achieving Result

-          การบริหารทรัพยากร Managing Resouces Management

-          การบริหารแบบ CEO  Customer Empoyee Organzation

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

1.              โดยการสอนงานคอกลยุทธที่ใช้เพื่อการพัฒนาคนเก่ง

2.              เวลาทำงานให้ย้ายไปฝ่ายอื่นบ้างเพื่อเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ

3.              การมอบหมายงานเร่งด่วนให้

4.              การมอบหมายงานให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหรือกู้วิกฤติโครงการใดโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาความรู้

5.              การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนา

6.              การส่งคนเก่งไปพัฒนา อบรมภายนอกองค์กร

7.              การพัฒนาในรูปแบบนี้เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ

8.              การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

9.              การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา คนเก่ง

10.          การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ web – based learning

11.          การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการมอบหมายให้คนเก่งเข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการ

12.          คือการมอบหมายให้คนเก่งสังเกตพฤติกรรมของผู้เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยการพัฒนาทักษะทางด้านการบริหาร

                การจัดการเชิงกลยุทธ  8  เรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถภาพสูง

1             .ความต้องการของลูกค้า

2             ความพึงพอใจของลูกค้า

3             การวางแผนกลยุทธ

4             การให้ความสำคัญกับผุ้มารับบริการและผู้มีส่วนเสีย

5             การพัฒนากระบวนการ

6             การบริหารการพัฒนามนุษย์

7             การจัดการเชิงวิเคราะห์ การจัดการความรู้

8             วิสัยทัศน์  พันธกิจ  วัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ

1.            วิสัยทัศน์

2.            ประเด็นยุทธศาสตร์

3.            เป้าประสงค์ตัวชี้วัด , เป้าหมาย

4.            กลยุทธ

5.            Strategy Map

การนำกลยุทธไปใช้

แผนปฏิบัติการปรับปรุง

กระบวนงาน

-          โครงสร้าง

-          เทคโนโลยี

-          คน

การควบคุมและการตรวจสอบกลยุทธ

                -การติดตาม

 

                -การทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

กลยุทธคืออะไร

Henry  Mintzberg   ได้ใช้หลัก 5 p  อธิบายความหมาย

1.       กลยุทธคือ แผน

2.       กลยุทธคือแบบแผนหรือรูปแบบ

3.       กลยุทธคือทัศนภาพ

4.       กลยุทธคือกลวิธีในการเดินหมาก

 

สรุปกลยุทธ คือแผนที่จะไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

                กลยุทธ หมายถึงวิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

Michael  E, Porter  ได้ให้แนวคิดว่ากลยุทธในการบริหารมี  3  ประเภท

1.       กลยุทธที่เน้นต้นทุนต่ำ

2.       เน้นสร้างนวัตกรรม ความแตกต่าง เพื่อให้เหนือชั้นกว่า

3.       เน้นที่ลูกค้า  กลุ่มเป้าหมาย

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ Human  Capital Strategy

การนำ HCM  ไปพัฒนาในองค์การ

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์

                สรุปประเด็น  Human Capial  Managment

1.       จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

2.       การจัดการและภาวะผู้นำ

3.       การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

4.       การพัฒนาทุนมนุษย์

ทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ                                                                                องค์กรสมรรถภาพสูง

1.ไม่ได้บริหารคนเก่ง+คนดี                                                             1. บริหารคนเก่ง+คนดี

2.คนขาดความรู้                                                                                   2.บริหารความรู้และพัฒนา

3.ขาดภาวะผู้นำ                                                                       3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4.ขาดการจัดการทุนมนุษย์                           4 พัฒนาประสิท ธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5.ขาดการวัดทุนมนุษย์                                                           5ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ยม  นาคสุข  ที่สร้างแรงจูงใจทำให้มีความทะเยอทะยานเกิดกำลังใจความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานและทำงานอย่างมีความสุข

 

 

 

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน รวมทั้งผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

            ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ในวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่สอนโดย ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และการไปครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการไปทัศนศึกษาที่ธรรมดาเลย เพราะเป็นการไปแสวงหาความรู้ที่พวกเราอยากรู้อยากเห็น และเมื่อได้ไปสัมผัสแล้วสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นก็เลยกลายเป็นความประทับใจดังนี้

 

1.  ประทับใจในความเป็นผู้นำของท่านอาจารย์จีระ โดยท่านอาจารย์ ได้วางแผนบริหารการเดินทางในครั้งนี้ไว้เป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การให้แสวงหาความรู้ก่อนจะลงเรือ โดยการให้เข้าร้านหนังสือที่มีคุณภาพ ทำให้พวกเราตื่นตาตื่นใจในการชมหนังสือที่มีคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้ดิฉันได้ข้อคิดว่า คนเราจะเก่งหรือจะรู้อะไรให้กว้างไกลนั้นมันอยู่แค่เอื้อม ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าอยากเก่งอยากรู้หรือไม่เพียงใด ถ้าเราอยากเก่งอยากรู้ต้องรู้จักใฝ่รู้ใฝ่หา เพื่อนำปัญญามาเพิ่มให้กับตัวเอง เพราะความรู้มีอยู่ทั่วไป อย่างเช่นร้านขายหนังสือ เป็นต้น

2.  ประทับใจในความห่วงใยของท่านอาจารย์ เริ่มตั้งแต่ความห่วงใยในความปลอดภัยของการเดินทางทั้งไปและกลับ ของนักศึกษาและผู้ร่วมเดินทาง  ทุกคน

3.  ประทับใจในความรักความสามัคคีของเพื่อนๆ น้องๆ ร่วมรุ่น รปม. 4 เพราะ   เพื่อนๆ น้องๆ แต่ละคนมีความเอื้ออาทรต่อกัน อย่างเช่น การแบ่งปันขนม นมเนยให้แก่กันและกันตลอดระยะเวลาของการเดินทาง รวมทั้งพระ     ทั้ง 3 รูปด้วย พวกเราก็เอาใจใส่ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า ความรักความสามัคคีของพวกเราน่าจะสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s ของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ คือทุนทางสังคม (Social Capital) ถึงแม้ว่า     จะเป็นสังคมในหมู่เพื่อนๆ ก็ตาม เพราะอย่างน้อยก็คือการเริ่มต้นของทุนทางสังคมที่มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เป็นต้น

4.  ประทับใจในคลื่นทะเล เพราะในขณะที่ดิฉันนั่งเรือไป-กลับนั้น คลื่นทะเล  ที่ไม่เคยสงบได้กระทบเรือเป็นระยะๆ และซัดเข้าฝั่งตลอดเวลานั้น ดิฉัน  จึงได้แนวคิดอย่างหนึ่งขึ้นมาว่า คนเราจะต้องตื่นเหมือนคลื่นทะเล ถ้ามัวแต่หลับใหลอยู่ เราจะตามกระแสยุคโลกาภิวัตน์ไม่ทัน เพราะทุกวันนี้   เป็นยุคไร้พรมแดนจริงๆ ดังนั้น คนเราต่องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ดัง 3 ต. ของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวไว้ แล้วจะทำให้เราไปสู่ความเป็นเลิศได้ในวันข้างหน้า

5.  ประทับใจท่านอาจารย์ในการนำบุคคลที่มีคุณภาพทั้ง 3 ท่าน ซึ่งได้แก่   ดร.กีรติ, รอง ผกก. และอาจารย์ยม  นาคมสุข มาแนะนำความรู้และประสบการณ์ที่แต่ละท่านมีอยู่ในตัวเองมาพูดให้พวกเราฟังอย่างสั้นๆ แต่ได้ข้อคิดที่ดี       มากๆ โดยดิฉันพอจะจับใจความสำคัญได้ดังนี้

3.1    ดร.กีรติ ได้พูดถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะให้มีคุณภาพนั้น ต้องเริ่มต้นจากการบริหารตนเองให้มีคุณภาพก่อน

3.2    รอง ผกก. ได้พูดถึงการบริหารคนในยุคไร้พรมแดน คือ การบริหารคนในหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา ที่มาอยู่ร่วมกันบนเกาะล้านว่า การวางแผนบิรหารจัดการการอยู่ร่วมกันของคนเหล่านี้จะให้มีคุณภาพหรือไร้ปัญหาได้อย่างไร นั้นคือสิ่งที่ผู้รับผิดชอบต้องทำ

3.3    อ.ยม  นาคสุข เป็นผู้สรุปผลการพูดของทั้ง ดร.กีรติ และ รอง ผกก. ซึ่งสรุปได้อย่างดียิ่ง โดยสรุปสั้นๆ ที่ดิฉันพอจะจับใจความได้ว่า ยุคปัจจุบันคือยุคการ Sharing นั้นเอง

 

        นอกจากความประทับใจดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสิ่งที่ได้จากการไป  ดูงานในครั้งนี้ คือการที่ได้ไปสัมผัสกับความเป็นอยู่ของคนบนเกาะ ซึ่งถือว่าเป็นยุคไร้พรมแดนจริงๆ เพราะคราคร่ำเป็นด้วยผู้คนที่มีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา มาอยู่ร่วมกัน อาจจะอยู่เพียง 1 วัน 1 เดือน หรือมากกว่านั้น แต่การอยู่บนเกาะนั้นอยู่อย่างไรให้ไร้ปัญหา นั่นก็การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ดี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความสมดุล    ซึ่งกันและกัน จึงสรุปได้ว่า ทุกอย่างจะให้มีคุณภาพต้องมีการบริหารจัดการที่ดี สิ่งที่จะทำสิ่งแรกคือการบริหารคน 

 

กลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) สมาชิกประกอบด้วย
1. พระศุภสิน ศักศรีวัน      2. พระมหาวิทยา นางวงศ์ 3. นางสาวนลินี โลพิศ
4. นางสาวศศินี โพธิทอง 5. ส.ท.สราวุธ ดอกไม้จีน  6. นายสุรัชต์ ชวนชื่น
7. นายธนิก กัมพูศิริพันธุ์   8. นายสุรภัทร ปานทอง    9. นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

 

รู้ปัญหาของระบบราชการเสียก่อน รู้ที่มาขององค์กร และ บุคคล คือรากหญ้า (tteritage)

            และรู้ความต้องการของลูกค้า (ประชาชน) และจัดทำแผนแม่บท (Mastesplan) ความคาดหวังในระบบราชการ คือ ประสิทธิภาพทั้งด้านรูปธรรม ทั้งคุณค่าด้านการบริการ

1.สิ่งที่ราชการควรมี

            - ข้าราชการต้องมีการตื่นตัว รู้ทันโลก แสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอด

            - ข้าราชการต้องมีทักษะ การติดต่อสื่อสารมีการพัฒนาด้าน Communication.

            - องค์กรควรนำ เทดโนโลยีมาใช้ เช่นระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย.

            - ฝึกหรืออบรม ข้าราชการควรเปิดใจให้กว้าง และ เข้าใจบทบาทของตนเอง ในฐานะผู้รับใช้ประชาชน(ข้าราชการ)

 

 อุปสรรคหรือจุดอ่อน

            - งบประมาณไม่เพียงพอทำให้เกิด อุปสรรคในการศึกษา และ พัฒนาเพิ่มศักยภาพ

            - การขาดความสนใจจากผู้นำ ทำให้ลูกน้องไม่กล้าเสนอ

            - ไม่มีการนำไอที มาใช้ในหลายด้าน จึงเป็นอุปสรรคในการจัดการ

            - ตัวข้าราชการเองขาดความกระตือรือร้น ทักษะที่ตรงกับสายงาน

การดำเนินงานแก้ไข

            - จัดการอบรมทักษะ ของข้าราชการ. ทั้งด้านภาษาและไอที

            - ผู้นำต้องเปิดใจ และรับฟังความเห็นของลูกน้อง

            - มีการติดตามประเมินผล

            - สรุปยอดรวม หาจุดอ่อนเพื่อนำมาปรับปรุง เพื่อใช้ผลประโยชน์

 

            จากข้อมูลที่กล่าวมานี่เราพอและสรุปได้ข้างต้น รวมถึงยกตัวอย่างวิธีการดำเนินงานภายในองค์กรโดยอาศัยหลักทฦษฎี (Creativity) เพื่อทำการยกตัวอย่างนำเสนอประคำอธิบายข้างต้น เพื่อความเข้าใจ ดังนี้ข้าใจ

 

            ความหมายของ Creativity

                        - การใช้ความคิด สิ่งของ หรือการกระทำในแนวทางใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน การสร้างสรรค์จึงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการใช้จินตนาการ ซึ่งจินตนาการนั้นก็ช่วยทำให้การสร้างสรรค์ทำหน้าที่ในการเรียนรู้ แสวงหาข้อมูลและคำตอบ ถ้าเรายิ่งใช้จินตนาการมากเท่าใด มีแนวโน้มว่าเราจะเป็นคนที่มีความสร้างสรรค์ได้มากเท่านั้น

 

- กระบวนทัศน์ทางความคิด หรือ ทัศนคติใหม่ๆที่นำมา ประมวลผลให้เกิดประโยชน์ต่อ ทั้งต่อตนเอง, ส่วนร่วมและ สังคมโดยรวมภายในประเทศ

 

            ภาพรวมส่วนใหญ่ ของระบบราชการ

จุดแข็ง ของกระทรวงมหาดไทย

            1.ยึดมั่นในการทำงานให้เกดประสิทธิผล ประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

            2.ผู้บริหารให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่การงานอย่างแท้จริงจัง

อุปสรรค หรือ จุดอ่อน

            1.งบประมาณ-ไม่เพียงพอทำให้เกิดอุปสรรคในการศึกษาและพัฒนาเพิ่มศักยภาพ

            2.ไม่มีการนำระบบ IT มาใช้ในหน่วยงานในหลายๆด้าน จัดเป็นอุปสรรคในการจัดการ

            3.ตัวข้าราชการขาดความกระตือรือร้นและความตื่นตัวที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาระสนเทศและไม่มีทักษะ(ไม่ตรงสายงาน) นั้นเอง

กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior)

            เป็นหน่วยงานที่ประสานงาน สร้างผลประโยชน์ให้เกิด กับประชาชน ดังนั้น การดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรจะส่งผลในภาพ กว่าอย่างเห็นได้ชัด และการตรวจสอบการดำเนินงาน

            การนำระบบอุปถัมภ์ มาใช้ในองค์กรทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม บางคนมีผลงานดีเด่น แต่ไม่ได้เป็น ลูกน้องเก่าก็ไม่ได้เลื่อนขัน หรือ การประจบสอพอเจ้านาย เกินไปทำให้ งานที่รับผิดชอบไม่ก้าวหน้า

 

            ข้ออเสนอแนะ

                        จากข้อมูลข้างต้นนี้ เราจะเห็นได้ว่าในกระทรวงยังมีระบบอุปถัมภ์มาก และ การไม่ยอมรับความเห็นของผู้บริหารรวม ถึงการบริการระบบสาระสนเทศของในหน่วยงานเอง ทำให้องค์กรขาดประสิทธิภาพ เราจึงต้องควรศึกษาและพัฒนา บุคคลกรทุกระดับ โดยการจัดอบรมกระตุ้นและประเมินผล ประสิทธิภาพของการทำงานในทุกระดับ และ ต้องให้ผู้บริหารนั้นควรที่จะต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาเหตุเพราะองค์กรจะพัฒนาได้นั้นต้องอาศัย "ตน" เป็นหลักของทรัพยากรมนุษย์ ไม่มีคนไม่มีองค์กร นั้นเอง

 

นางบังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31 (รหัส 5577 5519 1005 1352)

 

เรียน  อาจารย์ (ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  )  และ อาจารย์ทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

 

                ดิฉันต้องขออภัยที่ส่ง Blog  ช้า เพราะติดภารกิจไม่สามารถไปดูงานที่พัทยาและเกาะล้าน ในวันที่ 21 กพ. 2551 กับคณะได้ ดิฉันจึงรอฟังและดูภาพของน้อง ๆ และเพื่อน ๆ ซึ่งเห็นแล้วมีความรู้สึกดีใจมากที่ทุกคนมีความสุข สนุก และเกิดความเข้าใจในตัวอาจารย์ทุกท่าน (โดยเฉพาะ อ.จีระ)  ทีมีจิตใจมุ่งมั่นและเสียสละเวลาทีมีค่าของอาจารย์พาลูกศิษย์ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้  เพราะการเดินทางต้องขึ้นรถ ลงเรือ ฝ่าคลื่นลมหนักเหมือนกันนะคะ แต่ได้ยินทุกคนชื่นชมอาจารย์  จึงทำให้ดิฉันรู้สึกมั่นใจ เรื่องทุนมนุษย์มากยิ่งขึ้นว่ามนุษย์เราทุกคน จะประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มต้นจากความยากลำบากก่อน  แล้วค่อยเรียนรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุง  หรือพัฒนาทั้งตนเองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีขึ้นหรือเข้ากันได้ในที่สุด  ดิฉันแน่ใจว่าคนเราทุกคน ถ้ามีความตั้งใจดีมีทัศนคติที่ดี  ย่อมนำพาตัวเอง เพื่อน ๆ และองค์กร  ไปสู่จุดมุ่งหมาย  ดิฉันเองได้ยินอาจารย์พูดถึงความกตัญญู  ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งค่ะ  เพราะผู้ชายลักษณะอาจารย์ ดร.จีระ  ดูเป็นคนสไตส์ฝรั่งผสมไทย  แต่หัวใจมีธรรมะสูงค่ะ 

                สุดท้ายดิฉัน ขอจบแค่นี้ เพื่อขอเวลาไปอ่านหนังสือเตรียมสอบ และตั้งใจว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ

 สวัสดีครับท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่าน

ความประทับใจในการเดินทางไปเกาะล้าน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551

เนื่องด้วยกระผมนั้นไม่ได้ร่วมออกเดินทางไปพร้อมๆกับเพื่อนๆ รปม.4 เพราะอยากจะขับรถส่วนตัวไปเอง ด้วยตั้งใจว่าจะมาสมทบกับเพื่อนๆที่ท่าเรือเพื่อที่จะได้ข้ามฝั่งไปเกาะล้านด้วยกัน ประมานเวลาแล้วคงไปทันกัน เพราะกระผมนั้นเป็นคนที่ขับรถเร็วพอสมควร แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อกระผมได้แวะเข้าห้องน้ำตรงที่พักกลางทางบน motor way รถคู่ใจก็เกิดดื้อขึ้นมา สตาร์ทไม่ติด ทั้งๆที่ดูแลรถและตรวจสอบรถก่อนออกเดินทางมาอย่างดี โชคดีตรงที่ มีศูนย์ช่วยเหลืออยู่แถวๆนั้น ช่างบอกว่าเป็นเพราะแบตเตอร์รี่นั้นเสื่อมขึ้นมาซะงั้น ไม่เป็นไร พอรถสตาร์ทติดแล้วก็รีบออกเดินทางต่อ ระหว่างเดินทางก็พยายามติดต่อกับเพื่อนๆอยู่ตลอดเวลา พอมาถึงพัทยา เวลาประมาน 12.15 กระผมมีความจำเป็นต้องนำรถนั้นเปลี่ยนแบตเตอร์รี่เสียก่อน ซึ่งเสียเวลาตรงนี้ไปเกือบๆสองชั่วโมงเลยทีเดียว(ยังไม่ได้กินข้าวเลยนะหิวมั่กๆ) เมื่อเสร็จแล้วก็เดินทางมาที่ท่าเรือทันทีเพื่อหาเรือข้ามไปเกาะล้าน แต่โชคไม่ดีเอาเสียเลยไม่มีเรือเร็วที่ยอมออก เพราะเราขอเขาแค่ขาไปเที่ยวเดียว เขาว่าไม่คุ้มและค่าเรือตั้ง 2500 บาท (ไม่คุ้มตรงไหนอ่ะ) สุดท้ายต้องรอเรือโดยสาร รอบ 15.30 น. ระหว่างนั้นก็ได้ติดต่อเพื่อนๆอยู่ตลอด และในที่สุดก็ได้ลงเรือข้ามไปเกาะล้านด้วยความหวังท่จะไปให้เจออาจารย์และเพื่อนๆให้ได้  แม้ลมจะพัดคลื่นจะแรงสักเพียงไหนกระผมก็ไม่หวั่น แต่แล้ว เมื่อกระผมใกล้จะถึงฝั่ง เพื่อนๆก็โทรมาบอกว่ากำลังออกมาแล้ว (อ้าว ซะงั้น) กระผมจึงกวาดสายตามองเรือทุกลำที่อยู่ใกล้ๆ และก็เห็นเรือลำหนึ่งมีคนเต็มลำแต่งกายเหมือนๆกันกำลังมุ่งหน้าไปทางพัทยา ใช่แน่ล่ะ เพื่อนๆผม จึงเดินออกมาท้ายเรือโบกมือด้วยหวังว่าจะมีใครสักคนที่เห็นแล้วรู้ว่าเป็นกระผม ความหวังของผมเป็นจริงมีคนบนเรือลำนั้นโบกมือตอบ

ผมตั้งใจมาเจอเพื่อนๆและผมก็ได้เจอแม้จะอยู่บนเรือคนละลำไปกันคนละทางแต่เพื่อนๆทุกคนก็รู้ถึงการมาของผม และเพื่อนๆทุกคนคงจะไม่ลืมเหตุการณ์ในวันนี้แน่ๆ(?) นี่เป็นความประทับใจเล็กๆน้อยของกระผม ขอบคุณครับ

พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 

เรียน   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข และทีมงาน,  เพื่อน รปม.รุ่นที่ 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

จากการอ่านบทความหนังสือพิมพ์มติชน ลง 23 ก.พ.51 เรื่อง "เทรนด์ใหม่ของโลก"โดย ศีล มติธรรม  กล่าวคือ การพัฒนาคนจะต้องรู้จักตัวเองก่อน และทำในสิ่งที่ตนเองถนัดการพัฒนาคนเป็นการพัฒนาที่เน้นการเป็นคนที่มีคุณภาพ เมื่อเป็นคนมีคุณภาพก็จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า

การพัฒนาคนยุคใหม่ เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้ พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตนเอง วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง  การกำหนดเป้าหมายของชีวิตแล้วหาทางเดินไปสู่เป้าหมาย

รูปแบบการพัฒนาคนมี 5 ขั้นตอน สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งเป็น 4 กลุ่ม  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง 7 วิธี  และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ได้แก่

1.ความต้องการของลูกค้า 

2.การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4.การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6.การพัฒนากระบวนการ 

7.ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

การจัดการเชิงกลยุทธ์จะเน้นเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ และ การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์     ปัจจัยความเสี่ยงในการวิเคราะห์การวางแผนกลยุทธ์   ได้แก่   ปัจจัยภายใน (คน ระบบ วัฒนธรรมองค์กร)   และปัจจัยภายนอก  (นโยบาย  เศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยี) การทำงานของคนอย่างมีประสิทธิขึ้นอยู่กับการบริหารจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

                                ท้ายนี้  ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กรุณาแนะนำ  ทางสว่างให้เกี่ยวกับวิธีการเขียนคำตอบมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง   พวกเราหลายๆ คนเครียดมากค่ะ

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ (ตัวแทนกลุ่มที่ 4)

    

เรียน  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,คณะทีมงาน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าอ่าน Blog  ทุกท่าน 

สมาชิกกลุ่ม 4 ประกอบด้วย

1.น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์

2.น.ส.สถิภรณ์  คำพานิช

3.น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย

4.น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน

5.น.ส.พิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน

6.นายสรสิช  ตรีเนตร

7.น.ส.จุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์

8.น.ส.จุไรรัตน์  เปลี่ยนขำ

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ

- ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง

- ความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดได้อย่างไรในแต่ละขั้นตอน

ความคิดสร้างสรรค์  คือ การคิดในสิ่งที่ดี ใหม่ เป็นประโยชน์ คิดแบบนอกกรอบ คิดให้แตกต่างๆ จากความคิดเดิมๆ เพื่อจะได้เพิ่มศักยภาพต่อระบบราชการ

จะเกิดขึ้นได้ โดยในระบบต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงาน ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ในระบบราชการความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีผู้บริหารระดับสูง Leadershipผลักดัน และเปิดโอกาสสนับสนุน ใน ความคิดสร้างสรรค์   แล้วจึงนำความคิดนี้มาทำให้เกิดประโยชน์กับสังคม

อุปสรรค  คืออะไร

-นโยบาย  ในระบบราชการไม่ทันสมัย ยึดติดกับสายการบังคับบัญชา ก่อให้เกิดความล่าช้า ซึ่งเป็นผลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร

-ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ  ขาดการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถให้เท่าทันเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง

จุดอ่อนของระบบราชการ

1.สายการบังคับบัญชา  เป็นแบบแนวดิ่ง/มีสายงานบังคับบัญชาซ้ำซ้อน ทำให้งานล่าช้า มีความยุ่งยากในการติดต่อประสานงาน

2.ผู้นำ  มาจากระบบอุปภัมถ์ หรือ มาจากพวกพ้อง ไม่ได้เป็นบุคลากรที่มีความสามารถออย่างแท้จริง ทำให้ผู้ที่เข้ามาบริหารงานขาดทักษะการเป็นผู้นำ ก่อปัญหาไปยังระบบการบริหารจัดการทำให้ยังไม่พัฒนาและไม่มีประสิทธิภาพ

3.แผนงาน  ทำให้โครงการต่างๆของราชการไม่ได้ศึกษาการทำงานอย่างแท้จริง ,ทำให้โครงการต่างๆของราชการต้องสูญเสียงบประมาณในโครงการต่างๆ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณของประเทศชาติ

จุดแข็งของระบบราชการ

1.ความมั่นคงในการจ้างงาน  มีสวัสดิการ ทำให้มีแรงจูงใจในการทำงาน ระบบราชการมีความมั่นคง เนื่องจาก ใช้เงินภาษีของประชาชน ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรหรือขาดทุนได้อย่างระบบเอกชน

2.รัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน

3.กฎระเบียบที่เคร่งครัด เช่น การทำบัตร SMART  CARD

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ มีขั้นตอนอย่างไร

กรณีศึกษา  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  ตัวอย่าง  การทำบัตร SMART  CARD

เดิมต้องมีขั้นตอนไม่เกิน 10 ขั้นตอน กว่าจะได้รับบัตรประชาชน  จะต้องได้รับใบเหลืองก่อน 3 เดือนต่อมา จึงจะมาบัตรประชาชน จริงได้  แต่ปัจจุบันการทำบัตรประชาชน  เป็นระบบ One  Stop  Service

1.กรอกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ ถ่ายรูป แล้วเสร็จ ก็สามารถรับบัตรประชาชน  ภายใน 5 นาที โดยบัตรนี้สามารถใช้เป็น ATM สามารถตรวจสอบประวัติบุคคลได้

ในการแก้ปัญหาสามารถใช้ทุน

1.Intellectual  Capital   โดยการอบรมให้พนักงานได้เพิ่มความรู้และทักษะในการใช้งานในระบบ IT รูปแบบใหม่

2.Digital  Capital   นำเทคโนโลยีมาใช้ให้ทันสมัยมากขึ้น

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

นางสาวหทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ
The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 

พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 

 ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

 

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

 

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง

 

Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren’t there to speak for themselves. Don’t badmouth others behind their backs. Don’t disclose others’ private information

 

ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

 

      พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

 

ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

 

Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you’re hired to do. Be on time and within budget. Don’t overpromise and underdeliver. Don’t make excuses for not delivering.

 

สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

 

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

 

การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ

 

      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

 

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

 

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด

 

 

แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้

 

ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

 

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

 

Take issues head on, even the undiscussables Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the sward from their hands Don’t skirt the real issues. Don’t bury your head in the sand

 

การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

 

      พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

 

Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don’t violate expectations. Don’t assume that expectations are clear or shared.

 

ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ “ก่อนทำการใดๆ” หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

นางสาวหทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ
The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 

พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 

 ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

 

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

 

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง

 

Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren’t there to speak for themselves. Don’t badmouth others behind their backs. Don’t disclose others’ private information

 

ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

 

      พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

 

ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

 

Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you’re hired to do. Be on time and within budget. Don’t overpromise and underdeliver. Don’t make excuses for not delivering.

 

สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

 

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

 

การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ

 

      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

 

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

 

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด

 

 

แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้

 

ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

 

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

 

Take issues head on, even the undiscussables Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the sward from their hands Don’t skirt the real issues. Don’t bury your head in the sand

 

การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

 

      พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

 

Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don’t violate expectations. Don’t assume that expectations are clear or shared.

 

ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ “ก่อนทำการใดๆ” หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

นางสาวหทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 "ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร" การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง
     
      Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren't there to speak for themselves. Don't badmouth others behind their backs. Don't disclose others' private information
      ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

       พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

      ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

      Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you're hired to do. Be on time and within budget. Don't overpromise and underdeliver. Don't make excuses for not delivering.

       สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

      การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ
      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด
     
      แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้
 
      ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

      Take issues head on, even the "undiscussables" Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the "sward from their hands" Don't skirt the real issues. Don't bury your head in the sand

      การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

       พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

      Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don't violate expectations. Don't assume that expectations are clear or shared.
     
      ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ "ก่อนทำการใดๆ" หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                       50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                   50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ           50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                 50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551

 

ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน ที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษารปม.รุ่น 4  (ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย)  ภาพแรกที่นักศึกษาทุกคนประทับใจคือ อาจารย์จีระได้โบกมือให้ขณะที่นักศึกษาอยู่ในรถบัส  และนักศึกษาก็ทักทายอาจารย์โดยการยกมือสวัสดีตอบ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายไปแสวงหาความรู้ในร้านขายหนังสือ  หลังจากนั้น อาจารย์จีระก็ได้นำพวกเราเดินทางไปท่าเรือแหลมบาลีฮายเพื่อลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน  ระหว่างอยู่ในเรือนักศึกษาทุกคนก็มีความเป็นกันเองต่างถ่ายรูปกัน ต่างพูดคุยกัน ต่างแบ่งปันขนมซึ่งกันและกัน บางคนก็ขอถ่ายรูปกับอาจารย์จีระ  (ซึ่งอาจารย์มีความเป็นกันเองมาก ๆ)  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ถ้าอาจารย์ไม่จัดกิจกรรมเช่นนี้  ภาพอย่างนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับพวกเราชาว รปม.4  และพอไปถึงเกาะล้าน พวกเราก็ต้องขอขอบคุณทางร้านอาหารที่บริการพวกเราอย่างเต็มที่ (อาหารอร่อยมาก ๆ และทางร้านก็จัดสถานที่ให้พวกเราได้นั่ง ได้นอนพักผ่อนกัน)  หลังจากที่พวกเราได้รับประทานอาหารเสร็จเราก็ได้เกร็ดความรู้จาก 

 

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

 

        หลังจากที่เราได้ฟังผู้รู้ทั้ง 3 และข้อสรุปของประธาน (ท่านดาโต๊ะ) และรองประธาน (หลวงพี่แทน) แล้ว  พวกเราก็ได้เดินทางข้ามเรือกลับมายังพัทยา  ระหว่างขากลับพวกเราก็ได้เผชิญกับคลื่นที่แรงมาก  แต่พวกเรานักศึกษา รปม.รุ่น 4  ก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้  โดยมีท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่านเป็นทั้งผู้นำทีมและผู้นำทาง  ให้พวกเราได้เดินทางมาสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งเป้าไว้  พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ทุกคนต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  ขอบกราบขอบพระคุณค่ะ

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551

 

ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน ที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษารปม.รุ่น 4  (ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย)  ภาพแรกที่นักศึกษาทุกคนประทับใจคือ อาจารย์จีระได้โบกมือให้ขณะที่นักศึกษาอยู่ในรถบัส  และนักศึกษาก็ทักทายอาจารย์โดยการยกมือสวัสดีตอบ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายไปแสวงหาความรู้ในร้านขายหนังสือ  หลังจากนั้น อาจารย์จีระก็ได้นำพวกเราเดินทางไปท่าเรือแหลมบาลีฮายเพื่อลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน  ระหว่างอยู่ในเรือนักศึกษาทุกคนก็มีความเป็นกันเองต่างถ่ายรูปกัน ต่างพูดคุยกัน ต่างแบ่งปันขนมซึ่งกันและกัน บางคนก็ขอถ่ายรูปกับอาจารย์จีระ  (ซึ่งอาจารย์มีความเป็นกันเองมาก ๆ)  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ถ้าอาจารย์ไม่จัดกิจกรรมเช่นนี้  ภาพอย่างนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับพวกเราชาว รปม.4  และพอไปถึงเกาะล้าน พวกเราก็ต้องขอขอบคุณทางร้านอาหารที่บริการพวกเราอย่างเต็มที่ (อาหารอร่อยมาก ๆ และทางร้านก็จัดสถานที่ให้พวกเราได้นั่ง ได้นอนพักผ่อนกัน)  หลังจากที่พวกเราได้รับประทานอาหารเสร็จเราก็ได้เกร็ดความรู้จาก 

 

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

 

        หลังจากที่เราได้ฟังผู้รู้ทั้ง 3 และข้อสรุปของประธาน (ท่านดาโต๊ะ) และรองประธาน (หลวงพี่แทน) แล้ว  พวกเราก็ได้เดินทางข้ามเรือกลับมายังพัทยา  ระหว่างขากลับพวกเราก็ได้เผชิญกับคลื่นที่แรงมาก  แต่พวกเรานักศึกษา รปม.รุ่น 4  ก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้  โดยมีท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่านเป็นทั้งผู้นำทีมและผู้นำทาง  ให้พวกเราได้เดินทางมาสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งเป้าไว้  พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ทุกคนต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  ขอบกราบขอบพระคุณค่ะ

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รปม. รุ่น 4 รหัส 50038010040

 

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551

 

ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน ที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษารปม.รุ่น 4  (ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย)  ภาพแรกที่นักศึกษาทุกคนประทับใจคือ อาจารย์จีระได้โบกมือให้ขณะที่นักศึกษาอยู่ในรถบัส  และนักศึกษาก็ทักทายอาจารย์โดยการยกมือสวัสดีตอบ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายไปแสวงหาความรู้ในร้านขายหนังสือ  หลังจากนั้น อาจารย์จีระก็ได้นำพวกเราเดินทางไปท่าเรือแหลมบาลีฮายเพื่อลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน  ระหว่างอยู่ในเรือนักศึกษาทุกคนก็มีความเป็นกันเองต่างถ่ายรูปกัน ต่างพูดคุยกัน ต่างแบ่งปันขนมซึ่งกันและกัน บางคนก็ขอถ่ายรูปกับอาจารย์จีระ  (ซึ่งอาจารย์มีความเป็นกันเองมาก ๆ)  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ถ้าอาจารย์ไม่จัดกิจกรรมเช่นนี้  ภาพอย่างนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับพวกเราชาว รปม.4  และพอไปถึงเกาะล้าน พวกเราก็ต้องขอขอบคุณทางร้านอาหารที่บริการพวกเราอย่างเต็มที่ (อาหารอร่อยมาก ๆ และทางร้านก็จัดสถานที่ให้พวกเราได้นั่ง ได้นอนพักผ่อนกัน)  หลังจากที่พวกเราได้รับประทานอาหารเสร็จเราก็ได้เกร็ดความรู้จาก 

 

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

 

        หลังจากที่เราได้ฟังผู้รู้ทั้ง 3 และข้อสรุปของประธาน (ท่านดาโต๊ะ) และรองประธาน (หลวงพี่แทน) แล้ว  พวกเราก็ได้เดินทางข้ามเรือกลับมายังพัทยา  ระหว่างขากลับพวกเราก็ได้เผชิญกับคลื่นที่แรงมาก  แต่พวกเรานักศึกษา รปม.รุ่น 4  ก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้  โดยมีท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่านเป็นทั้งผู้นำทีมและผู้นำทาง  ให้พวกเราได้เดินทางมาสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งเป้าไว้  พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ทุกคนต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  ขอบกราบขอบพระคุณค่ะ

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๑๙

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

        จากการที่ได้ศึกษาทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑  โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

         การอบรมและพัฒนาคนเก่งมีรูปแบบ ๕ ขั้นตอน คือ

         ๑.  การประเมินความรู้ และทักษะ

         ๒. การวิเคราะห์

         ๓. การวางแผนพัฒนา

         ๔. การดำเนินการตามแผน

         ๕. การประเมินความก้าวหน้า

        สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม

         ๑. สมรรถนะในการบริหารคน

         ๒. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

         ๓. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

         ๔. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

        วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

         ๑. การสอนงาน

         ๒. การโยกย้ายฝ่ายงาน

         ๓. การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ

         ๔. การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตร

             การฝึกอบรม

        ๕. การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

        ๖. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

        ๗. การแนะนำให้หนังสือให้อ่าน เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วย

            ตนเอง

        ๘. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

        ๙. การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

       ๑๐. การจัดการเรียนรู้ด้วยการใข้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web

             Based Learning

       ๑๑. การมอบหมายให้คนเก่งสังเกตุพฤติกรรมการทำงานของ

             ผู้ที่เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ

           การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

           กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

           การจัดการเชิงกลยุทธ์ ๘ เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

         ๑. ความต้องการของลูกค้า

         ๒. การวางแผนกลยุทธ์

         ๓. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

         ๔. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

         ๕. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

         ๖. การพัฒนากระบวนการ

         ๗. ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน ผล

             ประกอบการ

          ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์

           ทั้งหมดนี่้ที่ได้รับการเรียนรู้จากอาจารย์ยม  นาคสุข เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

 

 

 

 

 

 

 

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมย์ และเพื่อนๆ ชาว รปม.รุ่น4 ทุกท่าน

        กระผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่ "เกาะล้าน" รู้สึกเสียดาย...เสียดาย...แล้วก็เสียดาย...เนื่องจากติดภารกิจงานรับปริญญาของตนเองประกอบกับเป็นไข้เรื้อรังมานาน (มาแผงฤทธิ์ในคืนวันที่ 20 กพ. 51) ทั้งๆ ที่ได้นัดกับพี่จุ๋น พี่บัญชา ป๋าชู ไว้แล้วว่า "ยังไงคนอย่างผมเรื่องกิจกรรมไม่พลาดแน่...!" สุดท้าย "แป๊ก" ไม่ไหวจริงๆ ครับเจ้านาย...

        เวลาประมาณ 9 นาฬิกา 30 นาที 22 วินาที เดินทางไปที่รพ.มงกุฎวัฒนะ เพื่อไปพบแพทย์และแพทย์ก็วินิจฉัยว่ามีไข้สูง ไซนัส และแก้วหูชั้นกลางอักเสบ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ

หมอ  :  เดี๋ยวหมอจะจัดยา Serratipeptidase ลดบวม ลดอักเสบ Pseudoepnedrine แก้คัดจมูก Cetirizine แก้แพ้ลดน้ำมูก ยา AMK ฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ ให้ทานติดต่อกันทุกวันจนหมดนะ

หมอ  :  เออ! อีกอย่างเอายา Mepin minitab ไปด้วยเป็นยาขยายหลอดลมและคุณต้องล้างจมูกทุกวัน เช้า-เย็น ด้วยน้ำเกลือ 0.9%

หมอ  :  คุณเคยล้างจมูกไหม

คนไข้  :  ไม่เคยครับ

หมอ  :  งั้นคุณเอาเอกสารไปอ่าน แล้วไปรับยาด้านนอกเลยค่ะ

คนไข้  :  ขอบคุณครับคุณหมอ

เจ้าหน้าที่การเงิน  :  เชิญ ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์  มณีโชติ ติดต่อการเงินค่ะ

คนไข้  :  ผมเองครับ

เจ้าหน้าที่การเงิน  :  ค่าบริการทางการแพทย์ และค่ายา..?..บาท

คนไข้  :  โอ้แม่เจ้า!!!!! (ทำใจครับ....เอกชนเบิกไม่ได้)

        สุดท้ายถึงแม้ผมจะไม่ได้ร่วมเดินทางไป "เกาะล้าน" เมื่อวันที่ 21 กพ. 51 ก็ตาม แต่ผมก็ได้อ่าน Blog ของชาว รปม.รุ่น 4 แล้วประทับใจตรงที่นักศึกษาส่วนใหญ่ประทับใจในทุกเรื่องของท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลเอาใจใส่ด้านความปลอดภัย ด้านอาหารการกิน และด้านความรู้เพิ่มเติมจากการเข้าไปร้านหนังสือ ฯลฯ

ปล. ทราบมาว่าในการเดินทางครั้งนี้ หลวงพี่ทั้ง 3 รูป ต้องฝ่าฟันอุปสรรคไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "หลวงพี่แทน" ได้อ่านบทความของท่านแล้วรู้สึกประทับใจและสามารถนำแนวคิด "ปลงสังขาร" มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้  

                               ....บทปลงสังขาร....

สังขารร่างกาย ทั่วไปเน่าเหม็น มีของกากเดน มองเห็นทุกที ไหลเข้าไหลออก ย้อนยอกมากมี ล้วนเป็นสิ่งที่ มีอยู่ทั่วกัน น้ำเลือดน้ำหนอง ล้วนของปฏิกูล ไหลมาเป็นมูล พอกพูนหลายชั้น ข้างนอกเน่าเหม็น มองเห็นทุกวัน อีกข้างในนั้น ล้วนขันไม่งาม สังขารร่างกาย ไม่ใช่ตัวตน เกิดมาเป็นคน ไม่พ้นโดนหาม ต้องนอนเปลือยกาย ให้ไฟลุกลาม เมื่อเจ้าโดนหาม สู่เชิงตะกอน... 

 

นายธนิก กัมพูศิริพันธุ์ รุ่น.4 รปม. รหัส.50038010033

 

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      ท่านอาจารย์ ยม นาคสุขท่านได้สอนวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแนวการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นั้น ท่านยังสอนถึงเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑  และเรื่องของคนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น "คนเก่ง" นั้นจากการได้เรียนและรับฟังพอที่จะสรุปได้เป็นข้อๆ โดยการที่จะอธิบายต่อไป

จากการที่ได้ศึกษาเนื้อหาเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 

 การอบรมและพัฒนา "คนเก่ง" ตามรูปแบบ ๕ ขั้นตอน ดังนี้

         1.  การประเมินความรู้ และทักษะ

                        2. การวิเคราะห์

         3. การวางแผนพัฒนา

                      4. การดำเนินการตามแผน

         5. การประเมินความก้าวหน้า

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม

         1. สมรรถนะในการบริหารคน

                        2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

         3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

                        4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

คนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร

         1. การสอนงาน

                        2. การโยกย้ายฝ่ายงาน

         3. การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ

4. การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

        5. การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

                        6. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

7. การแนะนำให้หนังสือให้อ่าน เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง

        8. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

                       9. การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

10. การจัดการเรียนรู้ด้วยการใข้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web Based Learning

           11. การมอบหมายให้คนเก่งสังเกตุพฤติกรรมการทำงานของ

                                    ผู้ที่เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ

           การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

           กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่สร้างมั่นใจให้ได้ว่าจะนำบุคคลกรไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรเพื่อประสิทธิภาพที่สมบูรณ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

         1. ความต้องการของลูกค้า

                        2. การวางแผนกลยุทธ์

        3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                                    4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

            5. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

                       6. การพัฒนากระบวนการ

  7. ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน ผล ประกอบการ

­                              8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

      จากคำกล่าวในการพัฒนานั้นเราต้องสนใจและมั่นดูและบุคคลภายในองค์กรเหตุเพราะ บุคคลกรนั้น คือ ทรัพยากรที่สำคัญต่อองค์กร ถ้าขาดพวกเขาเหล่านี้องค์กรก็จะไม่มีการพัฒนา แต่ในการจะทำให้องค์กรเข้มแข็งนั้นเราควรที่จะต้องพัฒนาบุคคลให้มีความเก่ง "คนเก่ง" พร้อมที่จะมาพัฒนาให้องค์กรให้มีประสิทธิภาพอย่างยั้งยืน นั้นเอง

ท้ายนี้  ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กรุณาแนะนำ  ทางสว่างให้เกี่ยวกับวิธีการเขียนคำตอบมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง   พวกเราหลายๆ คนเครียดมากค่ะ

สุรภัทร ปานทอง รปม.รุ่นที่ 4

 

เรียนอาจารย์ ยม   นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน

สิ่งที่ได้เรียนและได้รับจากท่านอาจารย์ ยม ฯ ในวันที่ 23  กุมภาพันธ์   2551   เป็นวันที่อาจารย์ ยมฯ ได้รับเชิญจากท่าน ศ.ดร.จีระ ฯ  เป็นผู้บรรยายให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต  รุ่นที่ 4 ในวันนั้นท่านอาจารย์ได้บรรยายเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21   ท่านได้บรรยายถึงการค้นหาแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่ เพื่อที่จะให้นักศึกษาปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง  เปลี่ยนผ่านจากยุคเกษตร  เป็นยุคอุตสาหกรรม  จนกระทั่งเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์  ยุคโลกไร้พรมแดน ยุคของการเปลี่ยนแปลง ท่านสอนให้ทุกคนเป็นคนคนเก่ง ฉลาด และ ดี  ท่านได้ให้แนวทางไว้ 5 ประการ คือ 1. การประเมินความรู้และทักษะ 2. การวิเคราะห์ 3.การวางแผนและพัฒนา 4. การดำเนินการตามแผน 5. การประเมินความก้าวหน้า     ท่านสอนให้รู้ถึงเศรษฐกิจบนฐานของความรู้  การแสวงหาและพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อจะได้นำไปสู่ของคนมีปัญญาดี  เพื่อจะนำพาองค์กร  ประเทศชาติ และสังคมโลกให้พ้นจากความเดือดร้อน   ท่านอาจารย์ยมฯ ได้ให้แนวทางการเสาะแสวงหาทิศทางใหม่ในการดำเนินชีวิต ทั้งภาครัฐ  ภาคธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาได้คิดเท่าทันกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่ ในศตวรรษที่ 21

น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

 เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่าน จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ยม นาคสุข

 

ช่วงเช้า เรียนเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  เริ่มต้นจากการที่อาจารย์ยม ได้ขึ้น ข้อความว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน เรื่อง "ทรัพยากรมนุษย์" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ เพราะการบริหารงานที่ดีนั้นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และต้องมีคุณค่าคือมีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะต่างๆอยู่ตลอดเวลา ตามกระแสโลกโลกาภิวัฒน์ ประเด็นแรกพูดถึง โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่งรูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" มี 5 ขั้นตอน

 

1. การประเมินความรู้และทักษะ ต้องประเมินก่อนเป็นการรวบรวม Feedback จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

2. การวิเคราะห์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์กรจะได้รับจาการพัฒนาความรู้และทักษะ ที่ต้องการพัฒนาให้มีทั้งคนเก่งและคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม

3. การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" ระบุประเด็น ออกแบบกิจกรรมและฝึกอบรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมระบุเวลาและงบประมาณที่ต้องใช้ เป็นต้น

4. การดำเนินการตามแผน

5. การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การ Feedback แก่พนักงาน

 และเมื่อประเมินผลแล้ว ก็ต้องมีการต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดหย่อน

 

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. สมรรถนะในการบริหารคน (HR. Management)

แบ่งเป็นทักษะในการสื่อสาร คือการสื่อสาร 2 ทาง ให้มีประสิทธิภาพ และการประสานสัมพันธ์ คือการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

- การบริหารการเปลี่ยนแปลง

- การมีจิตมุ่งบริการ

- การวางแผนกลยุทธ์

3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (Working like the Professionnal Management Level)

- การตัดสินใจ

- ความเป็นผู้นำ

- การคิดเชิงกลยุทธ์

4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management by Result, MBO)

- การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

- การบริหารทรัพยากร

- การบริหาร CEO

เราต้องการพัฒนาคนให้เกิดความสุขในการทำงานและให้ผลงานออกมาดี และคิดว่าควรต้องใส่หลักสูตรอะไรให้กับเค้า เพื่อพัฒนาไปในจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง จากการเรียนมีทั้งหมด 12 วิธีแต่จะขอยกมา 5 วิธี

 

1. การพัฒนาในลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การเปิดโลกในอินเตอร์เน็ต ที่องค์กรแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ เพราะคนเก่งมักเป็นผู้กระตือรือร้นมีแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

2. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับผู้อื่น เป็นการฝึกเป็นผู้เชียวชาญไปในตัว

3. การสอนงานเป็นกลยุทธ์ ที่ใช้เพื่อการพัฒนา "คนเก่ง" ใช้ในกรณีที่คนเก่งต้องการมีที่ปรึกษา มีครู ผู้ฝึกอบรม และผู้แนะแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงานเพื่อให้ความสำเร็จในงานที่ทำงาน

4. การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ๆ และการเรียนรู้งานใหม่ๆ ช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากฝ่ายงานต่างๆ

5. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมจากภายนอกองค์การ เป็นระยะเวลาสั้น ประมาณ 2-5 วัน เพื่อกลับมาพัฒนาองค์การและพัฒนาคนในองค์การ

 

ช่วงบ่าย เรียนการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ การวางแผน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมไปถึงวิธีการนำไปสู่ความสำเร็จอย่างแยบยล และทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

  

การวางแผนกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นของการะบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการจัดวางทิศทางขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้

 

นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

ความประทับใจในการไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ณ เกาะล้าน

 

ความประทับใจที่ได้ไปศึกษาดูงานเริ่มต้นจากการเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 06.00 น.  และได้พักรับประทานอาหารเช้ากันที่ทางด่วนมอร์เตอร์เวย์ที่นี้มีร้านอาหารอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาทุกคนระหว่างทางบางคนก็หรับพักผ่อน บางคนก็พูดคุยสนทนากัน ต่อมาเวลา 11.00 น. เราทุกคนก็เดินทางสู่พัทยาใต้ โดยพบ ศ ดร.จิระ ณ ห้างสรรพสินค้าบริเวณพัทยาใต้ ท่านได้นำเราไปแวะชมร้านจำหน่ายหนังสือและพูดคุยกันถึงหนังสือประเภทต่าง ๆ หลักจากนั้นก็เดินทางโดยรถมหาวิทยาลัยไปยังเรือที่จอดคอยพวกเราเพื่อที่จะพาพวกเราไป ณ เกาะล้าน ระหว่างที่พวกเราเดินทางด้วยเรือนั้น มีคลื่นที่แรงมากเข้ามากระทบกับเรือที่เราโดยสาร  ทำให้ทุกคนโอนเอนจะล้ม บวกกับน้ำที่กระเด็นเข้ามาทำให้บางคนเปียกปอนไปด้วยน้ำ (แต่สนุกดีค่ะ)  เหมือนเราได้ไปผจนภัยเลยค่ะ  กว่าเรือจะพาพวกเราถึงฝั่งก็ปาเข้าไปประมาณ 13.30 น. รู้สึกว่าตอนนี้ท้องของแต่ละคนเริ่มหิวแล้วค่ะ  เมื่อมาถึงร้านอาหารบริเวณเกาะล้านพวกเราก็รับประทานอาหารกันอย่างเอร็ดอร่อย  อาหารที่รับประทานก็มี กุ้ง หอย ปู ปลา ไข่เจียว ต้มยำ เป็นต้น เมื่อทานอิ่มแล้ว พวกเราก็พักผ่อนกันตามอัธยาศัย  ประมาณ 15 นาที ศ.ดร.จิระก็เรียกกันเพื่อร่วมตัวอีกครั้งนึงที่บริเวณสถานที่รับประทานอาหาร

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

หลังจากที่ท่านได้พูดคุยกับพวกเราเสร็จ  ท่านก็ปล่อยให้พวกเราพักผ่อนตามอัธยาศัย  บางคนก็นอนพักผ่อน  หลังจากนั้น เราทุกคนก็เตรียมพร้อมที่จะเดินทางกลับสู่พัทยา โดยเดินทางกลับด้วยเรือลำเดิมใช้เวลาเดินทางกลับพัทยาประมาณ 15 นาทีเองค่ะ  เมื่อเดินทางกลับมาถึงพัทยาใต้  ทุกคนก็แวะเข้าห้องน้ำ  เพื่อเตรียมความพร้อมเดินทางต่อเพื่อกลับ กรุงเทพฯ  หลักจากทุกคนทำธุร ส่าวนตัวเสร็จเราก็ขึ้นรถของมหาวิทยาลัยเพื่อเดินทางกลับระหว่างทางได้แวะซื้อของฝาก  ในขณะที่อยู่บนรุก็สนุกค่ะ  พี่ ๆ ทุกคน พูดคุยกัน ขำ ขำ ค่ะ  บางคนก็ถ่ายรุป บางคนก็เหนื่อยก็พักผ่อนค่ะ  ต่อมาเมื่อเวลา 20.00 น. เราทุกคนก็กลับถึง กรุงเทพฯ อย่างสวัสดิภาพ และมีความสุขพร้อมกับความรู้สึกว่าผูกพันและได้สนิดกันมากขึ้นค่ะ แล้วก็เพรียด้วยค่ะ อยากถึงบ้านไวไวค่ะ จะได้พักผ่อนค่ะ เพราะพรุ่งนี้ต้องไปทำงานต่อค่ะ

    

นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

 

ความเก่งของคนในองค์กรความรู้       

 

ธุรกิจที่โลดแล่นอยู่ในปัจจุบันมีหลายๆ ปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและปัจจัยหนึ่งที่ธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อกันว่าทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือ "ทุนมนุษย์" (Human Capital)

 

ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.2547 ผู้เขียนเห็นเหล่า CEO หลายๆ องค์กรออกมาพูด เกี่ยวกับเรื่อง "การบริหารทุนมนุษย์" ซึ่งนับว่าพอดีกับสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียน-บรรยาย-พูด ไว้นานแล้วว่า

 

"ธุรกิจในศตวรรษที่ 21 (21C) จะต้องทำให้

 

.......CEO/MD/President ได้เรียนรู้และก้าวเข้ามาสนใจอย่างจริงจังที่จะบริหารทุนมนุษย์ โดยเฉพาะเป็น "การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์" (SHCM: Strategic Human Capital Management)

 

.......ฝ่ายบริหาร HR จะต้องทำในเชิงของ "ผู้คุมเกมกลยุทธ์" (Strategic Player) ไม่ใช่ทำงานหรือบริหารในรูปแบบเดิมอย่างเช่น การเป็นหน่วยงานสนับสนุน หรือที่บางธุรกิจเพิ่งทำกันในรูปแบบพันธมิตรธุรกิจ

 

.......การบริหารทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ควรจะมีความชัดเจนในเรื่องการจัดทำแผนแม่บทในการบริหารทุนมนุษย์ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม (Platform) ของ "ระบบงาน HR ที่เน้นความสามารถ"

 

ตัวอย่างข้างต้น ไม่ใช่สิ่งที่ CEO/MD/President ไปพูดเพียงลอยๆ ตามที่มีผู้จัดเตรียมให้ แต่ต้องลงมือจัดทำจริงๆ และลงมาเล่นจริงๆ ด้วย........"

 

อะไรคือ ความเก่งที่ธุรกิจอยากได้

พอธุรกิจเริ่มพูดถึงความเก่ง ผู้เขียนเชื่อว่ามีความเข้าใจแตกต่างกันหรือสับสนกันพอสมควร ทั้งนี้อาจจะเป็นด้วยสาเหตุต่อไปนี้

 

1. นักคิด หรือผู้เชี่ยวชาญทางการจัดการทางธุรกิจของไทยเรามีไม่มาก หรืออาจจะมีอยู่แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีความลึกซึ้งในสิ่งเหล่านี้หรือไม่

 

คำว่าความลึกซึ้ง ในทัศนะของผู้เขียนจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบของสิ่งต่อไปนี้

 

(1) มีการศึกษาวิจัยหรือค้นคว้ามาอย่างต่อเนื่องในสิ่งที่เรียกว่า "ความเก่ง" ไม่ใช่เป็นเพียงการพูดหรือเขียนตามความเข้าใจของตนเอง หรือพูดง่ายๆ ว่าให้ทันกับแฟชั่น

 

ตัวอย่าง ต้องอธิบายความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างแนวคิดทางธุรกิจในเรื่องต่อไปนี้ อาทิ สมรรถภาพ (Capability) ความสามารถ (Competency) ความเก่ง (Talent)

 

(2) ต้องเข้าใจถึง "วิธีการแสวงหาความรู้" หรือที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า "Mode of Inquiry" คืออธิบายง่ายๆ ว่าธุรกิจหรือผู้รู้จะใช้วิธีการหรือเครื่องมืออะไรในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทางธุรกิจ

 

ตัวอย่าง มีการทำวิจัย (ไม่ใช่การทำสำรวจหรือสอบถามความเห็น แม้ว่าจะมีประโยชน์บ้างแต่ไม่ได้สร้างความรู้ใหม่) ในด้านแนวคิดทางธุรกิจหรือเนื้อหาทางธุรกิจเพื่อจะตอบให้ได้ว่า แนวคิดทางธุรกิจดังกล่าวมีจุดเด่นหรือหลักการใดที่เป็นแก่นแท้ของความรู้

 

อาทิ การลงมือทำในเชิงการวิจัยเพื่อนำแนวคิดทางธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องความเก่งไปทดลองใช้หรือได้ค้นพบข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร

 

หรือการมีบทเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในเรื่อง ความเก่ง เช่น มีบทเรียนขององค์กรที่ได้พัฒนาเรื่องของโมเดลความสามารถ

 

2. ต้องเข้าใจว่า ผู้บริหารธุรกิจหรือผู้นำองค์กรของธุรกิจในประเทศไทยมีความทันสมัยคือ ต้องการก้าวทันการเปลี่ยนแปลงหรือมีความต้องการให้ธุรกิจได้นำแนวคิดทางธุรกิจใหม่เข้ามาสู่องค์กรที่ผู้บริหารธุรกิจเหล่านั้นบริหารอยู่

 

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงหรือเป็นความกังวลในเชิงการประยุกต์ใช้ทฤษฑีใหม่ทางการจัดการธุรกิจคือ

 

(1) มีโอกาสน้อยที่จะได้พิจารณาอย่างรอบคอบหรือพิจารณาในมุมกว้างทั้งข้อดีข้อเสียของแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ

 

ตัวอย่าง การจัดการเรื่องความสามารถ (CBM: Competency Based Management) มีการเผยแพร่เข้ามาในธุรกิจเมืองไทยอยู่ระหว่างรอยต่อของปี 2536 แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

 

โดยที่ธุรกิจควรทำความเข้าใจในประเด็นของความสามารถในสิ่งต่อไปนี้ เช่น

 

- แนวคิดทางจิตวิทยา มองเรื่องความสามารถในคำว่า "Ability" หรือเป็นเรื่องของสติปัญญาของคน ดังนั้นการกำหนดนิยามหรือความหมาย การจัดทำรูปแบบหรือโมเดล การพัฒนาและการวัดความสามารถจะเป็นไปในด้านของ "การวัดทางจิตมิติ" (Psychomertic) เช่น วัดระดับสติปัญญา วัดด้านพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพหรือในปัจจุบันวัดด้านเชาวน์อารมณ์ (EQ)

 

- แนวคิดทางการวัดและประเมินบุคคล จะมองความสามารถในด้าน "ศักยภาพ" (Potential) ซึ่งเป็นสิ่งที่กว้างหรือก้าวข้ามทางด้านจิตวิทยามาสู่ธุรกิจมากขึ้น

 

โดยที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการดำเนินการช่วงที่ปี 2532 เพื่อตอบโจทย์ของผู้จัดการใหญ่ที่ ธกส.ในขณะนั้นว่า ผู้บริหารธนาคารหรือผู้จัดการสาขา จะต้องมีศักยภาพ หรือความสามารถอะไรจึงจะทำให้ธนาคารมีประสิทธิภาพ หรือมีผู้นำของธนาคารที่เหมาะสมในอนาคต แล้วจึงสร้างเครื่องมือเข้าไปวัดศักยภาพดังกล่าว

 

ความตื่นเต้นในขณะนั้นคือ ได้ใช้ทฤษฎีทางการวัดและประเมินที่ร่ำเรียนมาแล้วสร้างทฤษฎีทางการวัดศักยภาพของผู้บริหารว่าจะวัดในองค์ประกอบของศักยภาพใดและใช้เครื่องมืออะไรบ้าง

 

- แนวคิดทางธุรกิจเต็มร้อย จะมองที่ "ความสามารถ" ในมิติของ "Competence" หรือปัจจุบันกำลังสนใจในอีกมิติที่กว้างขึ้นคือ "สมรรถภาพขององค์กร" (OC: Organizational Capabilities)

 

ซึ่งในบทเรียนทางธุรกิจมีวิธีการค้นหา สร้างโมเดลและการวัดหรือประเมินความสามารถค่อนข้างหลากหลายและในแต่ละแนวคิดจะปรับหรือประยุกต์ใช้แตกต่างกันพอสมควร

 

 

กราบเรียนท่านอาจารย์ จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ learning Organizationและ Hr ของระบบราชการ มีอะไรบ้าง

ในยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งโลกไร้พรมแดน ยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและเวลานี้ กระแสยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ยุคของการแสวงหาและพัฒนาทุนมนุษย์ ยุคของคนมีปัญญาดี นำพาองค์การ ประเทศชาติ หรือสังคม

 

จากการได้เรียนรู้ทำให้ทราบความหมายของ นวัตกรรม

ผมเข้าใจว่า นวัตกรรม คือ การคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ และสิ่งนั้นต้อง มีประโยชน์ ต่อส่วนรวมและต่อยอดได้ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ ก็ตาม

 

 ด้านอุปสรรค์

ในระบบราชการเป็นระบบใหญ่เป็นการทำงานอยู่ในกรอบของกฎ ข้อบังคับ ในการสร้างฯสามารถทำได้ แต่การดำเนินการอาจจะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เพราะติดกับระบบกรอบกฎ ข้อบังคับ จุดอ่อนคือ

-ปัญหาการ ขาดทุนมนุษย์มืออาชีพ

-ปัญหาการขาดองค์ความรู้

-ปัญหาการขาดแรงจูงใจ

-ปัญหาการขาดงบประมาณ

-ปัญหา การขาดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ

-ปัญหาขาดระบบการบริหารการจัดการที่เป็นเลิศ

-ปัญหาการขาดจุดแข็งของวัฒนธรรมองค์กร

 

จากการดูเทป Innovation ได้อะไรบ้าง

-ได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ

-สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตส่วนตัว,ชีวิตการทำงาน

-ทำให้กล้าคิด,ทำ,พูดนอกกรอบมากขึ้น

-มีความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรค

-ทำให้รักตัวเอง,ครอบครัว,สังคมและทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

-เหนือสิ่งอื่นใดต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นทุนมนุษย์มืออาชีพให้ได้ตลอดไป

                                                                                ณรงค์  พึ่งพานิช

 

กราบเรียนอาจารย์ยมและสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

 

จากการที่ได้เรียนรู้ทำให้กระผมได้ทราบถึง โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง ซึ่งมี 5 ขั้น ตอน คือ

                1.การประเมินความรู้และทักษะจากข้อมูลที่หลากหลาย

                2.การวิเคราะห์การเก็บข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ

                3.การวางแผนพัฒนา โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ

                4.การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ และให้มีการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้า

                5.การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลจากพนักงาน

 

และได้ทราบถึงคุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร

-ภาวะผู้นำ

-การสื่อสาร

- การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน

-การตอบสนองต่อความเครียด

-แรงจูงใจ

-ศักยภาพในการเรียนรู้

-พลังในการทำงาน/สมรรถนะ

-การตัดสินใจ

-การทำงานเป็นทีม

-การาจัดการ

-การวิเคราะห์

 

และได้ทราบถึงสมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุดปัจจุบัน คือ

-สมรรถนะในการบริหารคน

-สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

-สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

-สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

 

และทราบถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

-การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา "คนเก่ง"

-การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์

-การมอบหมายงานเร่งด่วน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

-การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

-การให้"คนเก่ง"ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

-การส่ง"คนเก่ง"ไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

-การ พัฒนาในรูปแบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง

-การมอบหมายให้"คนเก่ง"เป็นผู้สอน งานให้กับคนอื่น ทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนอ ความคิด สร้างสรรค์

-การให้"คนเก่ง"ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา

-การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning

-การมอบหมายให้"คนเก่ง"เข้ารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ "ลางาน"หรือ "หยุดงาน"

-การมอบหมายให้"คนเก่ง"สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ

-การให้ ข้อมูลย้อนกลับแก่พนักงานจะช่วยให้พนักงานทราบว่า การกระทำหรือพฤติกรรมของตนเหมาะสม หรือไม่ อย่างไร ควรปรับปรุงในส่วนใด

-เป็นกิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ข้อดี ทำให้"คนเก่ง"ได้เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว

 

 

การวางแผนยุทธศาสตร์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

จากการได้เรียนทำให้ทราบถึงความหมาย

 

กลยุทธ์(Strategy) หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึง กระบวนการ ต่อเนื่องใน การกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทำให้มั่นใจว่า กลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนำไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้

 

จากการได้เรียนรู้ทำให้ทราบถึงการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

โดยเน้น

1.ความต้องการของลูกค้า

2.การวางแผนกลยุทธ์-ยุทธวิธี

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.การพัฒนากระบวนการ

7.ความพึงพอใจของลูกค้า,ความพึงพอใจของทีมงาน,ผลประกอบการ

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์กร

 

กลยุทธ์ คืออะไร

Henry Mintzberg ได้ใช้หลัก 5 p , อธิบายความหมายดังนี้

1.กลยุทธ์ คือ แผน

2.กลยุทธ์คือ แบบแผนหรือรูปแบบ

3.กลยุทธ์คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง

4.กลยุทธ์คือ ทัศนภาพ

5.กลยุทธ์คือ กลวิธีในการเดินหมาก

 

ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์

-การเตรียมการ/วิเคราะห์,สภาพแวดล้อมการกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์

-การนำกลยุทธ์ไปใช้

-การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์

                                                           ณรงค์  พึ่งพานิช

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042

เรียนท่านอาจารย์ยม นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน คณะทีมงาน นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน สิ่งที่ได้รับจากที่อาจารย์ยม เมื่อวันที่  23กุมภาพันธ์  2551 ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดคนเก่ง ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

1.  การประเมินความรู้และทักษะ

        2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา   

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

ได้ทราบถึงคุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร เช่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การวางแผน แรงจูงใจ การตัดสินใจ การวิเคราะห์  เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO

                        C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                        E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                        O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย

        ได้ทราบถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง  ซึ่งมีทั้งหมด 15  วิธี แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสัก  5  วิธี

1.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

2.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

3.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

4.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

5.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น

        ได้เรียนรู้การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง โดยเริ่มจากความต้องการของลูกค้า  ต้องรู้ปัญหาก่อน แล้วจึง  วางแผนกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อไปสู่ส่วนที่สำคัญ คือ การวัด การวิเคราะห์ และนำมาบริหารจัดการความรู้เพื่อให้เกิด การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเกิดการพัฒนากระบวนการ ทำให้เกิด ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน และผลกระกอบการ เพื่อจะได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

        ได้ทราบถึงขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ คือ วิธีการที่จะไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์กร

        การนำ HCM ไปพัฒนาภายในองค์การ เช่น การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา การบริหารความรัก ฯลฯ โดยใช้หลักธรรม หลักรัฐศาสตร์ ซึ่งอาศัยการสร้างอำนาจ  5  อย่าง

1.      อำนาจสร้างได้โดยการให้  ให้โอกาส ให้ความรู้  ให้อภัย

2.      อำนาจให้ได้โดยการติ  ติด้วยความเมตตาปราณี

3.      อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้ ที่สำคัญอย่าลืมตัว

4.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

5.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอาศัยอำนาจทางนิติกรรม

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหาจากปัญหาในองค์กรให้แก้ไป และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทั้งนี้หน่วยงานในองค์การควรฝึกให้พนักงานทุกคนเกิดความทะเยอทะยาน เกิดความใฝ่รู้ และเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ที่ได้มาประสิทธิ์ประสาธน์วิชาความรู้ให้กับพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน ได้เกิดความมุ่งมั่นและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

 

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042

เรียนท่านอาจารย์ยม นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน คณะทีมงาน นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน สิ่งที่ได้รับจากที่อาจารย์ยม ได้สอนในวันที่  23  กุมภาพันธ์  2551 ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดคนเก่ง ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

1.  การประเมินความรู้และทักษะ

        2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา   

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

ได้ทราบถึงคุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร เช่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การวางแผน แรงจูงใจ การตัดสินใจ การวิเคราะห์  เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO

                        C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                        E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                        O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย

        ได้ทราบถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง  ซึ่งมีทั้งหมด 15  วิธี แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสัก  5  วิธี

1.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

2.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

3.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

4.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

5.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น

        ได้เรียนรู้การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง โดยเริ่มจากความต้องการของลูกค้า  ต้องรู้ปัญหาก่อน แล้วจึง  วางแผนกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อไปสู่ส่วนที่สำคัญ คือ การวัด การวิเคราะห์ และนำมาบริหารจัดการความรู้เพื่อให้เกิด การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเกิดการพัฒนากระบวนการ ทำให้เกิด ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน และผลประกอบการ เพื่อจะได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

        ได้ทราบถึงขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ คือ วิธีการที่จะไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์กร

        การนำ HCM ไปพัฒนาภายในองค์การ เช่น การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา การบริหารความรัก ฯลฯ โดยใช้หลักธรรม หลักรัฐศาสตร์ ซึ่งอาศัยการสร้างอำนาจ  5  อย่าง

1.      อำนาจสร้างได้โดยการให้  ให้โอกาส  ให้ความรู้  ให้อภัย

2.      อำนาจให้ได้โดยการติ  ติด้วยความเมตตาปราณี

3.      อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้ ที่สำคัญอย่าลืมตัว

4.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

5.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอาศัยอำนาจทางนิติกรรม

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กรให้แก้ไข และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทั้งนี้หน่วยงานในองค์การควรฝึกให้พนักงานทุกคนเกิดความทะเยอทะยาน เกิดความใฝ่รู้ และเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ที่ได้มาประสิทธิ์ประสาธน์วิชาความรู้ให้กับพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน ได้เกิดความมุ่งมั่นและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

ขอส่งข่าวประชาสัมพันธ์

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน

       ฝ่ายประชาสัมพันธ์ขอแจ้งกำหนดการสอบวิชาของ ศ.ดร.จีระ

ดังนี้

        สอบวันเสาร์ที่ ๑  มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมพณิชยกุล (โรงเรียนมัธยมสาธิต)

        ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๒ มีการเรียนการสอนปกติ ถ้าใครจะไปเลือกตั้ง สว. ขอให้ไปช่วงเช้า ให้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากนั้นขอให้รีบกลับไปเรียนตามปกติค่ะ

พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 

เรียน   ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมย์   คณะอาจารย์ และทีมงาน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

       อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

                นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง ความคิด  การปฏิบัติ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ   หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น 

                องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization  )  หมายถึงองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้  และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา   เพื่อขยายศักยภาพของตนเองและขององค์กรไปพร้อมกัน

                ปัญหาและอุปสรรคในระบบราชการ

                1. การกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงาน 

2. คนขาดทักษะการทำงานหลากหลาย 

3. การทำงานเน้นรับคำสั่งและการประสานงาน 

4. การปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี 

5. งบประมาณมีจำกัดและการเบิกจ่ายที่ล่าช้า

องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาคนให้เกิดการเรียนรู้งานที่หลากหลาย  เพื่อให้เกิดความเข้าใจในงานที่แตกต่าง  ร่วมกันคิดและค้นหากระบวนการ   เมื่อคนมีความเข้าใจในงาน  มีทักษะและความรู้ตามกระบวนการของงาน  ก็จะทำให้ทุกคนสามารถทำงานแทนกันได้   การทำงานต้องประสานกันในแนวราบ    เป็นการส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างบุคลากรที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกัน   เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  ต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถก้าวให้ทันเทคโนโลยี  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถเชื่อมโยงความรู้  ความเข้าใจ โดยนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี

E- Book  เป็นนวัตกรรมของงานด้านบัญชีที่ผู้ศึกษามีแนวคิดว่าจะจัดทำไว้    เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลและเอกสารทางบัญชี    ซึ่งเป็นการลดการใช้กระดาษและทำให้บรรยากาศในที่ทำงานดูสะอาด  เป็นระเบียบ  เรียบร้อย  มีความสะดวกในการค้นหา

ท้ายนี้ ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จิระ   หงส์ลดารมภ์   คณะอาจารย์ และทีมงานทุกท่าน ที่กรุณาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ ให้ได้รับฟัง   ผู้ศึกษาจะพยายามฝึกฝนตนเองให้มากขึ้น  และพยายามหาทางเดินไปสู่เป้าหมายของชีวิต

เจริญพร อาจารย์ยม นาคสุขและคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      จากการเรียนการสอนของอาจารย์ยม นาคสุขเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ ได้เกิดแนวคิดความรู้ให้รู้จักแนวความคิด กระบวนการคิด โดยการยกประเด็น และยกตัวอย่าง แนะแนวการเรียนหนังสือให้มีความสำเร็จ ต้องเป็นคนมีบุญ  สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ การเขียนบล๊อคระมัดระวัง เขียนให้ได้ใจความ มีสาระเพราะว่ามีคนดูทั่วโลก และยังให้นักศึกษาวิเคราะห์ระหว่างอินเดียกับจีนใครจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และแนะแนวทางว่าแนวโน้มอินเดีย มีแนวที่จะเจริญมากกว่า เพราะอินเดียเน้นนวัตกรรมเสริมสร้างความรู้ เพราะอินเดียดำเนินทางไปตามโลกาภิวัตน์ที่เน้นข้อมูลสารสนเทศบนฐานฐานความรู้ อินเดียได้เปรียบในเรื่องภาษา จีนจะเน้นเรื่องฮาร์ดแวร์(Hardware) อินเดียจะเน้นซอฟท์แวร์ (Software)
      การเรียนรู้ในเรื่องทิศทางการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21ก็คือแนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต ถ้าเราจะพัฒนาคนต้องทำอย่างไรโดยการให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีคำกล่าวว่าไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน"  เรื่อง"ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป"  ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

แนวทางในการพัฒนาคน

        1. การประเมินความรู้ของเขาเสียก่อนว่าเหมาะกับการพัฒนามากน้อยขนาดไหน ในหลักการนี้ข้าพเจ้าเล็งเห็นเหมือนตอนที่พระพุทธองค์จะเทศนาใคร จะทรงหยั่งดูด้วยพระญาณก่อนว่าเขามีภูมิอย่างไร มีจริตแบบไหน แล้วทรงสั่งสอนเพื่อให้เกิดผลมากที่สุด
        2. การวิเคราะห์ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แล้วนำจุดอ่อนมาพัฒนาเพื่อให้เป็นจุดแข็ง
        3.การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม การระบุเวลาที่ต้องใช้ และงบประมาณ ผู้สอน วิธีการที่ใช้ เป็นต้น
        4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ  และให้มีการตรวจติดตามความกว้าหน้า
        5. การประเมินความกว้าหน้า เป็นการประเมินผลเพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร

      - ภาวะผู้นำ คือการจะทำอะไรให้สำเร็จ หรือมีศักยภาพเราต้องมีเป้าหมาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเราเสียก่อน เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราให้มีศักยภาพเสียก่อน
      - การสื่อสาร เช่นต้องพัฒนาการทางด้านภาษาเพื่อให้ได้เปิดกว้างในด้านการข้อมูลข่าวสาร ที่มีการไหลเอ่อของกระแสโลกาภิวัตน์
      - การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน
      - การตอบสนองต่อความเครียด
      - การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง
      - ศักยภาพในการเรียนรู้
      - พลังในการทำงานและสมรรถนะสูง มีความอดทน
      - การตัดสินใจที่ชัดเจน และเด็ดขาด
      - การมีความทำงานเป็นทีม เช่นในการเรียนในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งแยกหน้าที่ เช่น คนมีความสามารถจดเก่งก็จด คนมีความจำดีก็จำประเด็น และนำมารวมกันเพื่อวิเคราะห์ เป็นต้น
      - การจัดการที่เป็นระบบ
      - การวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล    เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน ที่จะเป็นผู้บริหารไปสู่อนาคต แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

      1. ความสามารถในการารบริหารคน  (HR.  Management) ต้องมีทักษะในการสื่อสาร และการประสานสัมพันธ์
      2. ความสามารถในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge) มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีจิตที่จะมุ่งบริการมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการวางแผนแบบมีกลยุทธ์
      3. ความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level) ดูจากการตัดสินใจที่รวดเร็วแม่นยำ มีการคิดเชิงกลยุทธ์คือคิดอย่างมีเหตุมีผล มีเป้าหมาย มีวิธีไปสู่ความสำเร็จได้
      4. ความสามารถการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO) ทำไปเพื่ออะไร มีวิธีการวัดผลอย่างไร มีตัวชี้วัดอย่างไร เช่นการสร้างเป้าหมายของตัวเองในการเรียน ว่าจะทำอย่างไรให้เรียนจบด้วยประสิทธิภาพ ต้องทำให้ได้คะแนนเท่าไร

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง
      1. Coaching การสอนงาน ต้องสอนวิธีการให้เขารู้ เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่ง เช่นจากการที่อาจารย์ไปเที่ยวเกาะล้าน ได้นั่งใกล้กับพระคุณเจ้าและแนะนำวิธีการทำวิทยานิพนธ์ถวายท่าน อีกครั้งหนึ่งตอนล่องเรือมองเห็นการที่พ่อสอนให้ลูกทำงานสอนงานในการขับเรือควบคุมเรือ ให้เขาเรียนรู้และคอยแนะนำ เป็นต้น
      2. Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์การ  คนเก่งสามารถเรียนรู้งานใหม่ และปฏิบัติงานในสายานใหม่ได้อ่างรวดเร็ว  การโยกย้ายฝ่ายงานจะบรรลุผลสำเร็จด้วยดี อยู่ที่การวางแผนที่ลัดกุม และมีการวัดผลที่ชัดเจน
      3. Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรือองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานนี้ ฝึกเรื่องความรับผิดชอบในงาน
      4. Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อฝึกให้เขาบริหารงานเป็นทีม ฝึกให้แก้ปัญหาวิกฤติในโครงการใดโครงการหนึ่ง
      5. Internal Education and Training การให้ "คนเก่ง" ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับงานและความสามารถ
      6. ส่งคนไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ เช่น บริษัทใหญ่ๆ เช่นNokia ผู้บริหารส่งคนไปเรียน
      7. Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง แนะนำหนังสือให้อ่าน เช่นหนังสือ Good to Great
      8. Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน  นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้ "คนเก่ง" เข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น 
      9. Extracurricular Activity การให้ "คนเก่ง" ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา "คนเก่ง" เช่น กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์  กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์
     10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้
     11. Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน  การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"
     12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ เช่นการนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคนที่ทำงานแทนผู้นำโดยตรงในคณะรัฐมนตรี คือรัฐมนตรีเงา

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร(ซึ่งองค์กรจะอยู่ในส่วนขององค์การ คือจุลภาคและมหภาค) หรือวิธีการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างหน้า
องค์การที่จะเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงต้อง
     1. ความสำคัญของลูกค้า
      2. เอาความสำคัญของลูกค้าไปวางแผนกลยุทธ์
      3. ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์การ
      4. มีการจัดการความรู้ ทักษะของพนักงาน เพื่อทำให้การจัดการบริหารทุนมนุษย์ ทำให้เกิด 
    ประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่ง
       - ความพอใจของลูกค้าหรือประชาชน
       - ความพึงพอใจของคนทำงาน
       - ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ

การวางแผนกลยุทธ์

      ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
         - การเตรียมการ/วิเคราะห์สภาพแวดล้อม/การกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์
         - การนำกลยุทธ์ไปใช้  ต้องมีแผนปฏิบัติการ  การปรับปรุง กระบวนงาน  โครงสร้าง เทคโนโลยี  คน
         - การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การติดตาม การตรวจสอบและ    ประเมินผลการดำเนินงานการทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง
      นอกจากนี้จากการเรียนการสอน อาจารย์บอกว่า ถ้าไม่ได้อะไรจริง ๆ ก็ให้ได้ต้นไม้ คือทฤษฎีต้นไม้ที่ว่าด้วย สมรรถนะขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ และด้อยประสิทธิภาพ ซึ่งองค์กรที่มีประสิทธิภาพต้องเน้นการบริหารทรัพยกรมนุษย์ โดยมีการบริหารคนเก่งควบคู่ไปกับการเป็นคนดีมีศีลธรรม การบริหารให้เขาเกิดทักษะความรู้ สร้างภาวะผู้นำให้เกิด พัฒนาด้านประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์ และการประเมินผลการทำงานของทุนมนุษย์
      ท้ายสุดยังฝากข้อคิดเรื่องกระบวนการความคิด ซึ่งจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุมีผล โดยอิงหลักทางพุทธศาสนา 3 ข้อ คือ
         1. สุตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการได้ยิน  ได้ฟัง ได้อ่าน แหล่งเรียนรู้ เช่น ตำรา คำสอน (แหล่งและสื่อข้อมูล)
         2. จินตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากความตรึก ความนึก ความคิดทั้ง รูปแบบนิรนัย และอุปนัย
         3. ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการพัฒนาจากการทำให้เกิด ทำให้มีโดยวิธีการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยร่างกาย และ ภายนอกตัวตน  เช่น  ฝึกสมถะและวิปัสสนา

ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ (ตัวแทนกลุ่มที่ 1)

 เรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

รายชื่อกลุ่มที่ ๑

  1. พระนิธิสิทธิ์                 นอขุนทด
  2. ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา    หลังปูเต๊ะ
  3. ด.ต. ณรงค์                 พึ่งพานิช
  4. พต. หญิงประไพศรี        บุญรอด
  5. นาง นพมาศ                 แก้วแหยม
  6. น.ส. สุภานุช                นุพงค์
  7. น.ส. ดนิตา                  มูลละออง
  8. นาง ดวงตา                  ม่วงเกตุยา
  9. นาย อรุณ                     สุขสมบูรณ์วัฒนา

1.  ความคิดสร้างสรรค์   Creativity   จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการอุปสรรคคืออะไร

 

Creativity   คือ   กระบวนการพัฒนาความคิด (Idea) แนวความคิด (Concept) สินค้า การบริหารใหม่ ๆ หรือการค้นพบทัศนะใหม่ ๆ โดยผู้คิดสร้างสรรค์   

ความคิดสร้างสรรค์  คือ  การคิดในเรื่องใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว  ให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์โดยภาพรวม

ความคิดสร้างสรรค์เกิดโดย

  •  ขั้นที่ 1 การตระหนักถึงโอกาสและปัญหา (Opportunity of problem recognition)
  •  ขั้นที่ 2 การมีจิตใจจดจ่อกับปัญหา (Immersion)
  • ขั้นที่ 3 การใช้ความคิด (Incubation)
  •  ขั้นที่ 4 การเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Insight)
  • ขั้นที่ 5 การพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้และนำไปใช้ได้ (Verification and application)

 จุดแข็งของหน่วยงานราชการ

  1.   มีนโยบายการพัฒนาที่ชัดเจน
  2. มีเครือข่ายเชื่อมโยงและประสานงานกับกลุ่ม  (ภาคเอกชน) อย่างต่อเนื่อง
  3. ราชการทำงานเป็นระบบ
  4.  มีสวัสดิการให้แก่ข้าราชการ และครอบครัวของข้าราชการ
  5. มีความมั่นคงในการทำงาน

 

อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ในระบบราชการ

  • การทำงานยังถูกกำหนดด้วยกฎ ระเบียบเดิมที่ไม่ทันสมัย
  • การบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงาน   ต่าง ๆ ยังต้องได้รับการพัฒนา
  • ระบบสารสนเทศในระบบราชการยังต้องการได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  •  ขาดการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
  • ความไม่ยอมรับของผู้บริหาร    ขาดความเป็นภาวะผู้นำ
  • ข้าราชการ ขาดความรู้ ไม่มีพัฒนาตัวเอง    ขาดทักษะ  ขาดวิสัยทัศน์
  • ขาดงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ข้าราชการขาดแรงจูงใจในการทำงาน

 

เสนอแนะ   ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ เราต้องสร้างทัศนคติใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เฉพาะงานศิลปะ และไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ในตัว อยู่ในทุกๆด้านของชีวิต การปฏิสัมพันธ์กันของคนเราทำให้เกิดคำถาม คำตอบใหม่อยู่เสมอ เพราะคนเราความคิด มุมมองไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นการผสมผสานของความรู้ ประสบการณ์หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา สิ่งประดิษฐ์ต่างๆในโลก ไม่ได้เกิดจากการคิดครั้งเดียวแล้วเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลกเลย ต้องผ่านการขัดเกลา ลองผิดลองถูกหลายครั้ง เช่นการประดิษฐ์หลอดไฟ ของเอดิสัน

                ความคิดสร้างสรรค์ โดยเนื้อแท้แล้วก็ล้วนมาจากการฝึกฝนสมองให้คิดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพ้อฝันหรือเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล การคิดบ่อยๆจะทำให้เกิดการขัดเกลาความคิด ให้อยู่บนฐานความเป็นจริงและคนในสังคมยอมรับได้ การบ่มเพาะเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ด้วยการให้ลูกคิดด้วยตนเองบ่อยๆ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะให้สมองของลูกเติบโต มาเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ทุกคนก็คิดอย่างสร้างสรรค์ได้ถ้าเริ่มใช้สมองคิด

 

2.  วิเคราะห์เรื่อง  Speed   of  trust.

            ปัจจัยสำคัญในตลาดโลก  ความเร็วสู่ตลาด  นับเป็นอาวุธทรงพลังในการแข่งขัน  ความวางใจต่ำ ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน  ไม่ว่าจะเกิดจากพฤติกรรมไร้จริยธรรม  หรือจริยธรรมที่ขาดไร้ฝีมือ  เจตนาดีไม่อาจแทนที่ดุลยพินิจเลวได้ ความวางใจต่ำเป็นตัวการของวาระซ่อนเร้น  การเล่นการเมือง  ความขัดแย้งระหว่างบุคคลการตั้งตัวเป็นศัตรูกันระหว่างแผนก  แนวคิด  ชนะ/แพ้    ความวางใจสูง  ความวางใจเหมือนแอ่งน้ำใต้ดิน  แอ่งใหญ่ใต้พื้นผิดโลกที่จะป้อนน้ำให้ทุกบ่อบนพื้นผิด  หนึ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง  ความวางใจ  ความวางใจเป็นคุณสมบัติจับต้องได้  นำมาใช้งานได้  สร้างขึ้นมาได้ ไม่มีอะไรเร็วไปกว่าความเร็วของความวางใจ  ความเร็วเกิดขึ้น  เมื่อสองฝ่ายวางใจกันอย่างแท้จริง  คุณจัดการเรื่องความวางใจได้อย่างเต็มที่  เรียนรู้ที่จะสร้างความวางใจขึ้นมา

                เมื่อใดที่ความวางใจสูง  ปันผลที่คุณจะได้รับเหมือนตัวคูณยกระดับทุกมิติในชีวิตในชีวิตส่วนตัวและองค์กรให้สูงได้อย่างไม่น่าเชื่อความวางใจสูงเหมือนผลฟูในขนมปัง  ความวางใจเป็นผลจากปัจจัยสองอย่าง  คุณลักษณะ และฝีมือ

                ความวางใจ  5 ระลอก  ระลอกคลื่นแรก: ความวางใจตนเอง  จะเป็นการรับมือกับความเชื่อมั่นในตนเอง  ความสามารถที่จะกำหนดเป้าหมายและทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น การผูกมัดตนเองกับคำสัญญา การทำตามที่ปากพูดและยังรวมถึงการแผ่ความวางใจไปให้ผู้อื่น  แนวคิดก็คือ  การวางตนให้เป็นคนที่ควรค่าต่อความวางใจ  ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นหลักการสำคัญในความวางใจข้อนี้จะเป็น  ความน่าเชื่อถือ  ผลลัพท์ท้ายสุดของคุณลักษณะสูง  ฝีมือสูง  จะเป็นความน่าเชื่อถือ  ดุลยพินิจ  และอิทธิพล  ระลอกคลื่นที่สอง : ความวางใจความสัมพันธ์  จะเป็นการสร้างและเพิ่มยอดฝากของ บัญชีความวางใจ ที่เรามีต่อผู้อื่นหลักการเบื้องหลังระลอกคลื่นนี้คือ  พฤติกรรมคงเส้นคงว่า  ในระลอกคลื่นนี้  เราจะอภิปรายกันถึง  13  พฤติกรรมนี้จะเกิดจากหลักการที่ควบคุมบัญชาความวางใจในความสัมพันธ์พฤติกรรมที่มีรากฐานจากการนำไปปฏิบัติใช้งานจริง  และยืนยันโดยงานวิจัย  ที่น่าตื่นเต้นที่สุด  13 พฤติกรรมนี้  เรียนรู้ได้ นำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริงทุกระดับ ไม่ว่าจะอยู่ในครอบครัวหรือองค์กรธุรกิจ  ผลลัพธ์ท้ายสุด จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแผ่ความวางใจออกไปรอบข้าง  เพื่อจะเสริมความสัมพันธ์ให้แกรงขึ้น ร่วมมือกันทำงานสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น  ระลอกคลื่นที่สาม : ความวางใจองค์กร  กล่าวถึงการที่ผู้นำแผ่ความวางใจไปในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร  หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาหรือครอบครัว  รวมตลอดไปถึงทีมงานและหน่วยย่อยในองค์กรหากคุณเคยทำงานกับคนที่คุณวางใจได้ หลักการสำคัญเบื้องหลังระลอกคลื่นที่สามคือ  การจัดเรียงให้สอดคล้อง  ช่วยให้ผู้นำวางโครงสร้างและระบบกำหนดสัญญาลักษณ์แห่งความวางใจองค์กรที่จะกำจัดหรือลด 7 ภาระภาษีขององค์กร  และเพิ่ม 7 ปันผลจากความวางใจองค์กร  ระลอกคลื่นที่สี่ : ความวางใจตลาด  หลักการที่อยู่เบื้องหลังระลอกคลื่นที่สี่  จะเป็น  ชื่อเสียง  เรื่องของการสร้างแบรนด์บริษัท  สะท้อนความวางใจของลูกค้า  นักลงทุน และอื่นๆ ที่มีต่อตัวคุณ  ความวางใจสูง  ลูกค้าซื้อมากขึ้น  บอกต่อ  ภักดีต่อแบรนด์นานมากขึ้น  นอกจากจะช่วยสร้างชื่อของคุณ  สร้างแบรนด์ส่วนตัวแล้วยังช่วยสร้างแบรนด์และชื่อเสียงของบริษัทในตลาดด้วย  ระลอกคลื่นที่ห้า : ความวางใจสังคม  กล่าวถึงการให้คุณค่าต่อผู้อื่น  และต่อสังคมโดยรวม  หลักการเบื้องหลังระลอกคลื่นนี้คือ การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น  จะช่วยขจัดความระแวงความสงสัย  และภาระภาษีที่เกิดจากความวางใจต่ำ  ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยจะประกายให้ผู้อื่น สร้างค่านิยม  และการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นเช่นกัน   

                                                                                                ขอขอบพระคุณอย่างสูง

 

 

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อนๆ ชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน

        เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กพ. 51 ท่านอาจารย์ยม ได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่ผู้เขียนได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ อาจพอสรุปได้ดังนี้

        ข้อ 1 ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 จากการอ่านบทความหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 23 กพ. 51 คอลัมภ์ รู้เขารู้เรา "เทรนด์ใหม่ของโลก" ของศีล มติธรรม ผู้เขียนเห็นว่า...ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21นั้น มีนักวิชาการหรือผู้รู้หลายท่านค่อนข้างให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตแบบพอเพียง กล่าวคือ การพัฒนาอย่างมีรากเหง้าจะเริ่มขึ้นได้เราจะอยู่รอดอย่างไร ต้องรู้ตัวเองก่อน และต้องใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรในองค์กรต้องเป็น "คน" ที่มีคุณภาพอาจกล่าวได้ว่าทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 ที่ยอมรับกันทั่วโลกนั้นสอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเทรนด์ใหม่ของโลกมีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนค่านิยมการทานอาหารจากเดิม Fast Food มาเป็นแบบ Slow Food ฝรั่งเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ เพราะเขามองว่าเขามีอาหารที่ดีอยู่แล้วจุดมุ่งหมายก็คือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและปรับเปลี่ยนการพัฒนาแบบเร่งรีบ ซึ่งทำให้คนไม่มีความสุข

        จากการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HMC) ในการพัฒนางานในองค์กรนั้นประกอบด้วย 1 การบริหารคนเก่งและคนดี (Talent management) 2 การเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development) 3 การบริหารความรู้ (Knowledge management) 4 การบริหารสมรรถนะ (Competency management) 5 การบริหารการทำงาน (Performan management) 6 การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management) 7 การบริหารความรัก (Love management) ผู้เขียน...ขอมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของผู้เขียน...คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารปกครองบ้านเมืองว่า "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

        ผู้เขียนเห็นว่า...ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่นั้น เป้าหมายการพัฒนา "คน" น่าจะต้องพัฒนาทั้งตัวผู้นำและบุคลากรในองค์กร กล่าวคือ เพื่อให้มีอุดมการณ์แห่งชีวิต และมีรูปแบบวิถีชีวิตที่ดีงาม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการดำเนินชีวิต "ผู้นำ" จะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อตนเอง และหน้าที่การงาน และคนในองค์กรจะต้อง "ร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"

        ข้อ 2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ จากการอ่านบทความวารสารการบริหารสำหรับนักบริหารงานบุคคลมืออาชีพปีที่ 26 "ฅน" ในเรื่องบทบาทของ HR ในประเทศไทยกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ ทำให้ทราบว่าในการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์นั้นในองค์กรส่วนใหญ่ผู้บริหารระดับสูงจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กรแต่ผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคล ก็ไม่ควรแต่ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการทำงานของสายการปฏิบัติการเท่านั้น ในทางปฏิบัติผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคลควรจะอยู่ในคณะกรรมการบริหารของบริษัทด้วย ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องกำหนดและตระหนักในบทบาทของผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลในการเป็นหุ้นส่วนกลยุทธ์ที่จะนำเรื่องปัญหาบุคคลและปัญหาธุรกิจมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน

        กลยุทธ์...หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือวิธีการที่ชาญฉลาดที่ผู้บริหารคิดได้ และช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ รูปแบบแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ กล่าวคือ เน้นความต้องการในปัจจุบันของพนักงานมุ่งสู่ความสำเร็จของพนักงานในอนาคต มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้หรือปรับกระบวนการทำงานความเป็นผู้นำของ HR ในแต่ละบทบาทการประสานความร่วมมือกับ Line Manager การกำหนดมาตรฐานด้านกลยุทธ์และการพัฒนาให้เป็นระบบการจัดการที่ดี (Corporate Governance)

        ผู้เขียนเห็นว่า...จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจทำให้การบริหารการจัดการในองค์กรและการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ที่ว่าคนและองค์กรมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนั้น หมายความว่า โครงสร้างขององค์กรที่ดีนั้นต้องมีส่วนทำให้คนในองค์กรมีความสุขกับงานในหน้าที่และสามารถแสดงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และความจำเป็นในการบริหารงานการจัดการคนกับการบริหารงานจัดการองค์กรนั้น ต้องพัฒนาแบบคู่ขนาน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีบทบาทต่อการบริหารงานจัดการองค์กรทั้งในฐานะผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และพนักงาน ได้เข้าใจว่าการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรไม่ใช่เพียงแต่ "คนที่เป็นผู้นำ" เท่านั้น

ญานิสา  เวชโช 50038010013

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข และทีมงาน รวมถึงเพิ่อนๆ รปม.4 และท่านผู้อ่านทุกๆท่าน

       จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่  23 กุมภาพันธ์  2551 เรื่อง

เทรนด์ใหม่ของโลก  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

       อาจารย์ยม ได้ให้  high light ไว้ว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบ

 ความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่อง คน การบริหารงานที่ดีต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ รวมทั้ง โมเดลการพัฒนาการอบรมและรูปแบบการพัฒนาคนเก่ง 5 ขั้นตอน

1.    การประเมินความรู้และทักษะ

2.    การวิเคราะห์

3.    การวางแผนพัฒนา

4.    การดำเนินการตามแผน

5.    การประเมินความก้าวหน้า

     สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

        1.    สมรรถนะในการบริหารคน ( HR. Management )

-        ทักษะการสื่อสาร  คือการสื่อสาร 2 ทาง ให้มีประสิทธิภาพ

-        การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร ( General Management  Knowledge )

-        การบริหารการเปลี่ยนแปลง 

-        การมีจิตมุ่งบริการ

-   การวางแผนกลยุทธ์

       3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ ( Working like the Professionnal Management  Level )

-        การตัดสินใจ 

-        ความเป็นผู้นำ

-        การคิดเชิงกลยุทธ์

4.    สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Management by

 Result, MBO )

-        การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 

-        การบริหารทรัพยากร

-        การบริหาร CEO

     วิธีการพัฒนาคนในอนาคต ทำอย่างไร ?

         วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง มี 15 วิธี  แต่ขอยกตัวอย่าง

มา 5 วิธี

 1.     การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ใช้ในกรณีที่คนเก่ง ต้องการมีที่ปรึกษา มีครู  ผู้ฝึกอบรม และผู้แนะแนวทาง ที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน เพื่อให้สำเร็จในงานที่ทำ

2.     การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน เป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับผู้อื่น เป็นการฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญไปในตัว

3.     การพัฒนาในลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การเปิดโลกในอินเตอร์เน็ต ที่องค์กรแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ  เพราะคนเก่งมักเป็นผู้กระตือรือร้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

4.     การสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ เน้นประสบการณ์ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

5.     การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมจากภายนอกองค์การ  เป็นระยะสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อกลับมาพัฒนาองค์การและคนในองค์การ

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง  

1.     ความต้องการของลูกค้า

2.     การวางแผนกลยุทธ์ ยุทธวิธี

3.     การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย

4.     การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

5.     การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.     การพัฒนากระบวนการ

7.     ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงานและผลประกอบการ 

8.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

         สุดท้ายนี้  ขอขอบพระคุณ อาจารย์ยม  นาคสุข ที่ให้คำแนะนำดี ๆ ในการเขียน BLOG และแนวทางในการเขียน-ตอบ ข้อสอบ ว่าต้องมี

หลักเกณฑ์  และมีประเด็นอะไรบ้าง

       สุดท้ายจริง ๆ ค่ะ  รู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้มีบุญจริง ๆ ที่อาจารย์ได้มาเพิ่มพูนความรู้ใส่ในสมองให้มีรอยหยักเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

 

 

นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)

Workshop

 

กลุ่มที่ 6

 

1. น.ส.มัลลิกา  โสดวิลัย  2. นางอนงค์  มะลิวรรณ์  3. นางสมจิตร  ส่องสว่าง  4. นางวีรยาพร  อาลัยพร  5. นางบังอร  ภูมิวัฒน์  6. น.ส.ลาวัลย์  ลิ้มนิยม   7. น.ส.มะลิวัลย์  โพธิ์สวัสดิ์

 

หัวข้อเรื่อง

1.  ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ

     อุปสรรคอย่างไร

2.  ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง

3.  ความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เกิดอย่างไร ในแต่ละขั้นตอน

 

        ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกล หลายทิศทาง แปลกใหม่ สามารถผสมผสานความคิดเดิมให้เป็นความคิดใหม่ได้

 

ปัญหาหรือจุดอ่อนของระบบราชการ

1.  โครงสร้างซับซ้อน กฎ ระเบียบ และสายการบังคับบัญชายาว

2.   ด้อยโอกาสทางการศึกษา

3.  ไม่คำนึงถึงการให้บริการแก่ลูกค้า คือ ประชาชนและผู้รับบริการ

4.  งบประมาณมีจำกัด

 

จุดแข็งของระบบราชการ

1.  ระบบการทำงานดี

2.  มีความมั่นคงในอาชีพ

3.  มีสวัสดิการที่ดี

4.  การบริหารงานไม่หวังผลกำไร ซึ่งเน้นทางด้านการให้บริการ

 

        องค์กรด้อยประสิทธิภาพ                    องค์กรสมรรถนะสูง

1.ไม่ได้บริหารคนเก่ง-ดี         1. บริหารคนเก่ง-ดี

2. ขาดความรู้                     2. บริหารความรู้และการ

                                         พัฒนา

3. ขาดภาวะผู้นำ                 3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์   4.พัฒนาประสิทธิภาพการ

                                        บริหารทุนมนุษย์

5.ขาดการวัดผลการทำงาน    5.ประเมินผลการทำงาน

   ของทุนมนุษย์                    ทุนมนุษย์     

 

 

ขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้

1. เกิดจากการคิด  โดยจินตนาการ

2.  เกิดจากการฟัง ถ้าเรายิ่งฟังมากเท่าไร ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้น

3.  เกิดจากการอ่าน อ่านให้มากที่สุด อ่านทุกอย่าง เพื่อเป็นการฝึกสมองให้เกิดแรงบันดาลใจและได้ข้อมูลไปเชื่อมต่อกับสิ่งที่เราคิดได้อย่างดี

4.  เกิดจากการจดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ หรือการจดจากความคิด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญญา

5.  เกิดจากการสนทนากับบุคคลอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะทำให้ได้ความคิดที่หลากหลาย  (สนทนาโดยไม่เป็นทางการ)

6.  เกิดจากการระดมสมอง เช่น การประชุมเพื่อหาแนวทางจากความคิดที่หลากหลาย มาประมวลเป็นความคิดรวบยอด แล้วจะได้ความคิดใหม่เกิดขึ้น  (อย่างเป็นทางการ)

7.  เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหา พยายามหาว่าปัญหาคืออะไร

8.  เกิดจากการเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเดินออกกำลังกาย จะทำให้สมองปลอดโปร่ง ความคิดก็จะบรรเจิดเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมา

 

        จากความคิดสร้างสรรค์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงสรุปได้ว่าในระบบราชการนั้น มีจุดอ่อนหลายอย่าง เช่น ทางด้านโครงสร้างขององค์กรมีความซับซ้อน กฎ ระเบียบ และมีสายการบังคับบัญชาที่ยาว รวมทั้งงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมีอย่างจำกัด แต่ระบบราชการจะมีความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งไม่มุ่งผลกำไร แต่การที่จะทำให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดแนวคิดของการทำงานในระบบใหม่ที่สอดคล้องกับโลกในอนาคต คือโลกยุคโลกาภิวัฒน์ นั่นก็คือ ต้องพัฒนาคนให้เก่งและดี รวมทั้งการพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป

 

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม  นาคสุข  และทีมงานทุกท่าน

นักศึกษา รปม.รุ่น 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

                จากการเรียนเมื่อวันที่  23-24   กุมภาพันธ์  2551 ที่ผ่านมา นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ของ ม ราชภัฎสวนสุนันทา ได้รับเกียรติจาก   อ.ยม  นาคสุข     ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานของท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์   ได้เข้ามาสอนให้นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรธที่ 21 ดังที่ทราบในกลุ่มนักศึกษาแล้วนั้น อ.ยม ได้บรรยายเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุย์ ทำให้เรารู้หลายๆสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก หรือเรียกว่า อยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งโลกไร้พรหมแดน ยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ยุคของการแสวงหาและการพัฒนามนุษย์  ยุคของการแสวงหาคนเก่ง ปัญญาดี ที่จะนำพาองค์กร ประเทศชาติ ให้รอดพันจากความเดือดร้อนอันมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลก  ซึ่งเป็นผลทำให้องค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สังคมทุกระดับ ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและแสวงหาทิศทางใหม่ ในการดำเนินชีวิต ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก ยกตัวอย่างประเทศที่แข่งขันกันเพื่อที่จะให้เป็นมหาอำนาจของโลก คือ ประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งก็ได้นำมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆทีเป็นองค์ประกอบแล้วประเทศที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจนั้นก็คือ ประเทศอินเดีย เพราะประเทศอินเดียนั้นจะมุ่งเน้นพัฒนามนุษย์มากกว่าประเทศจีน และในการที่จะนำมนุษย์ไปขับเคลื่อน ประเทศ องค์การ นั้นต้องประกอบด้วยหลายๆสิ่งหลายอย่าง เช่น

 

-          การบริหารคนเก่ง + คนดี     และวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

-          การเรียนรู้และการพัฒนา

-          คุณลักษณะที่ประเมินบุคลากร

-          การบริหารความรู้

-          สมรรถนะในการบริหารคน และการบริหารอย่างมืออาชีพ

-          การบริหารการทำงาน

-          การบริหารความเชื่อมั่น

-          การบริหารความรัก

-          ฯลฯ

ซึ่งแต่ละหัวข้อจะมีรายละเอียดย่อยลงไปอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวประกอบ

ในการพัฒนาบริหารทรัพย์ยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสารถ คนเก่ง เพื่อที่ขับเคลื่อนพัฒนาองค์การให้ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ที่สุด และสุดท้าย อ.ยม ยังสอนถึงเรื่องการเกิดปัญญาของคนเรา ซึ่งจะสามารถเพิ่มพูน ทุนทางปัญญา ได้อีก ตามแนวพุทธศาสตร์ ซึ่งปัญญาของคนเรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ดังนี้

1.    สุตะมะปัญญา  ปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน

2.    จินตะมะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากความหมั่นตรึกตรอง ความนึกคิด

3.    ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาจากการกระทำให้เกิกด ทำให้มี

โดยการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยและพัฒนาร่างกายภายนอกของตัวตน และภายในจิตใจของตน การฝึกจิตฝึกสมาธิ และการสั่งจิตใต้สำนึกประกอบการหมั่นทบทวน หลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า

         

 

สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 กราบเรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

           Innovation  นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม นั่นคืออะไรก็ตามที่คิดขึ้นมา แล้วนำมันมาใช้ประโยชน์ได้ นั่นคือ นวัตกรรม


               

Learning Organization  หมายถึง องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะขยายขีดความสามารถของตน โดยมีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีบรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อตนเอง ทีมงานและองค์กร โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

                เนื่องจากตัวหนูยังไม่ได้ทำงาน  จึงขอยกตัวอย่างอุปสรรคในการสร้าง  Innovation และ Learning  organization และ  HR ของหน่วยงานน้าชาย  ซึ่งเป็นคุณครูอยู่โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

                รากเหง้าปัญหาของการสร้างนวัตกรรมของข้าราชการไทย  หรือคนในองค์กรในระบบราชการคือองค์กรไม่ค่อยรังสรรค์นวัตกรรม  ซึ่งมักมาจากพื้นฐานเรื่องของระบบการศึกษาที่สอนให้ท่องจำ และทำตามมากกว่าที่จะให้คิด ที่เห็นได้บ่อยๆ  คือ  ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการในที่ประชุม,  ไม่กล้าที่จะเสนอแนะความคิดในที่ประชุมเพราะเกรงว่าพูดในสิ่งที่คิดไปแล้วกลัวว่าจะผิด  เกรงว่าคนอื่นมองว่าตนเอง  ไม่รู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง หรือกลัวว่าจะไปขัดกับคนอื่นแล้วเกิดผลเสียต่อตัวเองฯลฯ มันทำให้คนในองค์กรติดอยู่ในกรอบ 

 

เสนอแนะ   แนวทางการสร้างให้เกิดนวัตกรรมคนในองค์กรที่สำคัญ และควรนำเข้ามาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น ตัวแรกคือการสร้างวัฒนธรรมเรื่องนวัตกรรมให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมีการสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กร เช่นว่าเราคือองค์กรแห่ง นวัตกรรม เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความคิดที่จะ ปรับตัวเองให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมีการสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กร เช่นว่าเราคือองค์กรแห่ง นวัตกรรม เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความคิดที่จะ ปรับตัวเองให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร

 2.       ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง 

        องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ  จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.  2540  นวัตกรรมการใช้ความรู้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน  แต่ละประเทศมีนวัตกรรมที่ต่างกัน  เช่นอินเดียและจีน  จีนมีการส่งเสริมนวัตกรรมให้ทั่วทั้งประเทศ  แต่ ประเทศอินเดียส่งเสริมนวัตกรรมบางจุดกับคนเฉพาะกลุ่ม  ประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียยังมีความยากจน  ส่วนจีนนั้นมีการนำนวัตกรรม  ไปใช้ทั่วประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชนประเทศจีนจึงมีสภาพที่ดีขึ้น
          คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรม  คือสิ่งใหม่ หรือ การทำสิ่งใหม่ ต้องมีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ แบ่งเป็น  2  ด้าน นวัตกรรมเศรษฐกิจ    นวัตกรรมสังคม  นวัตกรรมจึงเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา  ความรู้เป็นระบบต้องเน้นก่อนแล้วจึงจะมีความคิดสร้างสรรค์  นวัตกรรมทำแล้วอาจจะไม่สำเร็จก็ได้ ดังนั้นจึงควรทำบ่อยๆ  นวัตกรรมไม่ใช่เพื่อธุรกิจอย่างเดียวต้องเพื่อสังคมการเรียนรู้ด้วย

                                                                                                                                                                                                                 ขอขอบพระคุณอาจารย์  มากค่ะ

 

 

 

สวัสดี อาจารย์ ยม นาคสุข และเพื่อน รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากการที่ได้ศึกษาสิ่งที่ได้ ไม่ใช่เรื่องเรียน วิชาการอย่างเดียว เราได้หลายอย่างในตัวอาจารย์  ในความคิดของอาจารย์  การเขียน Blog นะ ต้องเป็นอย่างนี้ การเขียนตอบ ต้องเริ่มจากประเด็น ว่าเป็นประเด็นอะไร  ดำเนินเรื่อง  สรุปข้อเสนอแนะ นี้คือสิ่งที่ได้

เรื่องที่ได้จากเรียน 1. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

                                 2. การวางแผนกลยุทธ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์

สิ่งที่ได้จากการเรียน   " ไม่มีองค์กรใด  จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใช่ใส่ใจเรื่องคน

เขาบอกว่าตัวรากเหง้าของปัญหาคือ "คน" หรือ " มนุษย์ ที่เขาว่า เป็นตัวปัญหา ฉะนั้นการจะแก้ไขหรือบริหารคนในองค์กร  จะต้องมีทุนมนุษย์   ทุนมนุษย์ที่ว่า คือ ต้องมีทักษะ มีสมรรถนะ มีความรู้ และมีความสามารถ  โดยใช้หลักของธรรมะ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา  ในการแก้ไขตัวคนโดยเอาปัญหา หรือรากเหง้า  ซึ่ง ต้องใช้ทฤษฎี ต้นไม้แห่งความสำเร็จ  เช่น การที่จะพัฒนาองค์ของเรา ต้องรู้ว่าตัวปัญหาคืออะไร  อะไรคือตัวปัญหา ต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ องค์กรนั้นขาดอะไร  เพราะอะไรถึงขาด  เราต้องรู้จักตัวต้นเหตุ รากเหง้าของปัญหา

        การแก้ไข ปัญหาโดยใช้  ทฤษฎี ต้นไม้แห่งชีวิต  เริ่มจากการวางแผน  วิเคราะห์หาสาเหตุ เลือกเอาแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ต้องนำมาแก้ไข  เลือกแนวทางที่จะปฏิบัติ  กำหนดตัวชีวัดลงไปให้จัดเจน มีเจ้าภาพ ดูแล  ต้องมีงบประมาณในการทำงาน มีระยะเวลา มีการประเมินผล

        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ใช้ หลัก P E S T

        P  political คือปัจจัยทางการเมือง หรือ คนในองค์กร มีนิวรณ์  มี Ego  มีอุปสรรคหรือไม่

        E economy คือ  ปัจจัยมีผลต่อทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจในระยะนั้นมีปัญหาหรือไม่ เมื่อมีปัญหาโครงการที่จะทำ และ ส่งผมต่อภาพรวมในองค์กรหรือไม่

        S social คือ ปัจจัยทางสังคม  ต้องมองคนในองค์กร มีความต้องการอย่างไร

                T  Technology คือ มีการนำเอาระบบเทคโนโลยี มาใช้กับ คนในองค์กรเพื่อให้เกิดกระตุ้นในการทำงานโดยการสร้างอำนาจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ 5 ข้อด้วยกัน         

  • อำนาจสร้างได้ด้วยการให้ เช่นให้โอกาสให้ความรู้ ให้อภัย ให้ทาน และให้ความรัก        
  • อำนาจสร้างได้ด้วยการติ เช่น ติเพื่อปรังปรุงข้อบกพร่องให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องดูเวลาสถานที่บุคคลให้เหมาะสม
  • อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า เช่น เมื่อมีโอกาสต้องโชว์ก็พร้อมที่จะกล้าแสดงออก    
  • อำนาจสร้างด้วยการอ้างอิง เช่น อ้างถึงคำสั่ง หรืออ้างถึงงานที่เกี่ยวข้อง-        
  • อำนาจสร้างโดยหลักนิติธรรม  เช่น ตำแหน่งที่เราเข้าไปทำงานเราต้องวางตนให้ถูกหน่วยงานนั้น   หรือมติในที่ประชุม ที่ทุกคนส่วนใหญ่ยอมรับ 

จากนั้นนำมากำหนด  วิสัยทัศน์  กำหนด ภารกิจ  กำหนดจุดเป้าหมาย กำหนดวัตถุประสงค์ หรือกำหนด กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์  ในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดกับองค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของคนในองค์กร

ฝากข้อคิดสะกิดใจให้ชวนอ่านในการทำงานร่วมกัน ให้เลี้ยงสัตว์ 4 ตัวในการอยู่รวมกัน

 คือ     อูฐ   ปลา  หมา  ควาย

 จงอดทนเหมือนอูฐ ไม่พูดเหมือปลา  ซื่อสัตย์เหมือนหมา โง่เหมือนควาย

จงอดทนเหมือนอูฐ  หมายความว่า  การทำงาน ย่อมเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นที่เนื้องาน หรือเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน การแก้ไขปัญหา ให้ใช้ความอดทนในการแก้

ไม่พูดเหมือนปลา  หมายความว่า การทำงานย่อมมีการติดต่อประสานงาน หรือ พูดคุยกัน ในบางเรื่อง ไม่จำเป็นก็ไม่ควรพูด หรือแม้แต่เรื่องภายในหน่วยงานไม่ต้องนำไปพูดนอกหน่วยงาน

ซื่อสัตย์เหมือนหมา หมายความว่า  การทำงานจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ต่อผู้บังคับบัญชา แม้แต่ลูกน้องตนเอง  ไม่นำเรื่องที่เป็นเรื่องเสียหายของหน่วยงานไปเล่าให้ที่อื่นฟัง

โง่เหมือนควาย  หมายความว่า ให้ทำตัวเป็นคนโง่ในบางเรื่อง เมื่อมีเพื่อนร่วมงานมาพูดในเรื่องที่เรารู้แล้วก็ไม่สมควรพูดแซงหน้า ปล่อยทำเป็นไม่รู้บ้าง เพื่อรักษาจิตใจคนที่เล่าเรื่องให้ฟัง ทั้งที่ในเรื่องนั้นเรารู้แล้วก็ตาม

ทั้งนี้สามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิต ครอบครัวเราได้นะครับ

นางสาวอมเรศวร์ พฤฒปภพ รหัส 500380100023

เรียน อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่านนะค่ะ

วันนี้เรียนเรื่อง 1. การวางแผนกลยุทธ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์

   2. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

สิ่งที่ได้จากการเรียน

ได้รู้ว่าพื้นฐานการวางแผนกลยุทธ์จะต้องใช้กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ว่าต้องการอะไรนำเอาวิสัยทัศน์ เป้าหมาย นำมาปรับปรุง ในเชิงปฏิบัติการ  และการตรวจสอบกลยุทธ์  การปรังปรุงองค์กร นำไปสู่เป้าหมายที่ดี ได้นั้น จะต้องมี วิสัยทัศน์ พันธกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ให้รู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน  สิ่งเหล่านี้ที่เราต้องมากำหนดยุทธศาสตร์  โดยใช้หลักทุนมนุษย์ที่มีองค์กรนำมาปรับกลยุทธ์  โดยการสร้างสมรรถนะ 4 ประการ ได้แก่ สมรรถนะ ในการบริหารคน สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหาร สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ และสมรรถนะการบริหารแบบมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์   และการที่จะบริหารคนให้เป็นคนเก่ง นั้นต้องบริหารที่อะไร  มีการสอนงาน  ให้กับผู้ที่บรรจุงานใหม่  มีการสับเปลี่ยนงาน  การควบคุม มอบหมายงานรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม การทำงานต้อง นวัตกรรมใหม่ๆ นำมาใช้ มาประยกต์ใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นแผนกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะต้องเริ่มจากความต้องการของลูกค้า ลูกค้าต้องการอะไร เราต้องทำในสิ่งเขาต้องการ หรือคนในองค์กรต้องการสิ่งใด เราต้องเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตรงนั้นก่อน  ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในองค์กร วางแผนกลยุทธ์วิธี โดยการวัดผล วิเคราะห์  โดยการใช้หลัดทุนมนุษย์ เริ่มพัฒนาขบวนการโดยใช้หลัก CEO ความพึ่งพอใจของลูกค้า และทีมงานหรือสถานประกอบการหรือคนในองค์กรนั้น  สิ่งที่ให้ความสำคัญเป็นที่สุดคือ การวางแผนยุทธวิธี และ การบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งนำเอาหลักธรรมะมาใช้เพื่อให้เกิดปัญญา  การเกิดปัญญาของคนเรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ดังนี้

1.    สุตะมะปัญญา  ปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน

2.    จินตะมะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากความหมั่นตรึกตรอง ความนึกคิด

3.    ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาจากการกระทำให้เกิดจิตที่ดี

 

 สรุปถ้าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฎิบัติ ข้าราชการ เอกชน ถ้าเรียนรู้ว่าตนเองเป็นทรัพยากรมนุษย์ทีมีค่าต่อตนเองและผู้อื่น เป็นคนดี มีจริยธรรม ก็สามารถที่จะพัฒนาตนเองและองค์กรให้ก้าวหน้าได้

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

 เรียน  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,คณะทีมงาน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าอ่าน Blog  ทุกท่าน 

ข้อที่1.เรียนเรื่องอะไร?

1.ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

2.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

ข้อที่2. สาระสำคัญมีอะไรบ้าง?

เรื่องที่1 ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

-ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้คน ต้องอ่านภาษาอังกฤษ และเป็น IT

ในปีค.ศ 2000นับไป100ปี แนวโน้มการพัฒนาคนในองค์กรจะเป็นไปในทิศทางไหน เทรนด์ใหม่ของโลกซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 เช่น เทรนด์ใหม่ของโลก คือ หันมากินแบบ Slow  Food ตรงกันข้าม  Fast Food เน้นการกินอาหารทีละคำกับครอบครัว จุดมุ่งหมาย คือ จะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและปรับเปลี่ยนการพัฒนาแบบเร่งรีบ ซึ่งทำให้คนไม่มีความสุข

-การพัฒนาคนเก่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน

1.การประเมินความรู้และทักษะ เหมาะกับโลกปัจจุบันและอนาคตหรือไม่  

2.การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็งเป็นอย่างไร เอาจุดอ่อนมาพัฒนาเป็นจุดแข็ง จุดแข็งทำมันให้แข็งยิ่งขึ้น จุดแข็งมาพัฒนาสู่การปฎิบัติตามแผน ว่าเขามีความก้าวหน้าอย่างไร

3.การวางแผนพัฒนาทั้งความรู้และทักษะทำกิจกรรมที่เป็นการฝึกพัฒนาและอบรม

4.การดำเนินตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการ และให้มีการตรวจติดตามความก้าวหน้า

5.การประเมินความก้าหน้าเป็นการประเมินผลและให้ Feedbackกับพนักงานประเมินแล้วจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง(ทฤษฎี 3ต.) ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

-คุณลักษณะที่ใช้ในการประเมินบุคลากร

1.ภาวะผู้นำ 2.การสื่อสาร 3.การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน 4.การตอบสนองต่อความเครียด 5.การจูงใจ 6.ศักยภาพในการเรียนรู้ 7.พลังในการทำงาน 8.การตัดสินใจ 9.การทำงานเป็นทีม10.การจัดการ 11.การวิเคราะห์ เป็นต้น

-สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1.สมรรถนะในการบริหารคน พัฒนาคนให้เหนือชั้นกว่าคนอื่นทั่วไป

2.สมรรถนะความรอบรู้ทางการบริหารทั่วไป (PDCA)

3.สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ input  process  output  หรือ  4m

4.สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำไปเพื่ออะไร มีตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างไร

-การพัฒนาคนให้มีความสุข คนมีคุณภาพ สูตรเป็นทีมมีจุดมุ่งหมายขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย  จะต้องเป็นอย่างไรเป้าหมายอะไร

-เข้าสู่วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง  มี 11 วิธี ดังต่อไปนี้

1 การสอนงาน คนเก่งต้องการมีที่ผู้ฝึกสอนแนะแนวทางที่ประสบความสำเร็จ   

2.การทำงานโยกย้ายไปอยู่ฝ่ายอื่นบ้าง   

3.มอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษให้กับคนเก่ง      

4.ฝึกให้รู้จักการแก้ปัญหา กู้วิกฤต     

5.การให้คนเก่งไปฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมร่วมมือกับสถาบันการศึกษา

6.การส่งคนเก่งไปรับการอบรมภายนอกองค์กรตามสถาบันการศึกษาซึ่งมีหลักสูตรสำหรับนักบริหาร

7.แนะนำหนังสือให้อ่าน เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

8.โดยให้คนเก่งไปสอนให้กับคนอื่นเพื่อฝึกทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนอ ความคิดสร้างสรรค์ต่อเนื้อหาที่สอน

9.ให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ เช่นกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ได้ความรู้และประสบการณ์  ได้ภาพพจน์ที่ดี

10.การจัดการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ใช้หลัก E -Learning

11.เอาคนเก่งเข้าจัดการแทน ปฎิบัติงานแทนหัวหน้าที่ลาพักผ่อนต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน การมอบหมายให้คนเก่ง

เรื่องที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

-ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จโดยไม่สนใจเรื่องคน การบริหารคนจึงเป็นส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ

-การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

1. ความต้องการของลูกค้า         2. การวางแผนกลยุทธ์-ยุทธวิธี    

3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้    5.การพัฒนาทรัพยากรบุคคล     6. การพัฒนากระบวนการ        7.ความพึงพอใจของลูกค้า , ความพึงพอใจของทีมงาน , ผลประกอบการ      8. วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

-การเตรียมงานและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีขั้นตอนดังนี้

1.การเตรียมงาน              2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

3.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน     4.การประเมินสถานภาพขององค์กร

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์ เช่น อริยสัจ 4

 -อ่านบทความ ข้อคิด คือ ทุนมนุษย์ เด็กที่คลอดออกมาถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้จะต้องมีพ่อแม่ที่มีคุณภาพ ลูกคือมรดกของแผ่นดินที่เราสร้างไว้

       ขอขอบคุณอาจารย์ยม   นาคสุข ที่มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่พวกเรานักศึกษารปม รุ่น 4  เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ขอให้อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร สุขภาพแข็งแรงดีขึ้นทุกวันนะคะ

             

นายธนิก กัมพูศิริพันธุ์ รุ่น.4 รปม. รหัส.50038010033

 

กราบเรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

           Innovation คือ นวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเอื้อประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม สิ่งที่สร้างขึ้นมาแล้วและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเราสามารถกล่าวได้ว่านั้นคือ นวัตกรรม นั้นเอง


           

    Learning Organization  หมายถึง องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดที่จะมุ่งมั่นที่จะเพิ่มความสามารถของตนเอง โดยต้องการที่จะมีการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่นหรือทีมงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้บรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อตนเอง ทีมงานและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่การแข่งขันและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นั้นเอง

            เนื่องจากตัวกระผมยังไม่ได้ทำงานและประกอบธุรกิจส่วนตัว  จึงขอยกตัวอย่างอุปสรรคในการสร้าง  Innovation และ Learning  organization และ  HR ของหน่วยงานของเพื่อน  ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนราชการ สังกัด กรมส่งเสริมสหกรณ์

 

            การสร้างนวัตกรรมของข้าราชการไทย หรือการพัฒนาองค์กรและบุคลากรนั้นต้องค่อยๆสร้าง นวัตกรรม ที่เห็นได้บ่อยๆ  คือ การไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการในที่ประชุมมุมกาแฟ, ไม่กล้าที่จะเสนอแนะความคิดของตนเองให้แก่ผู้บริหาร เพราะเกรงว่าพูดในสิ่งที่คิดไปแล้วกลัวจะผิด และยังเป็นที่เกรงคนอื่นมองว่าตนเองเก่งเกิน ไม่รู้เรื่องที่ศึกษานั้นอย่างแท้จริง นั้นเอง

 

          จากข้อเสนอสามารถสรุปและเสนอแนะว่า   เราควรสร้างให้เกิดพัฒนาให้เกิด นวัตกรรม กับบุคคลในองค์กร คือ การสร้างวัฒนธรรมเรื่อง นวัตกรรมให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมี การสื่อสารหรือบอกกล่าวตามความคาดหวังขององค์กร โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ ให้กับองค์กร เช่น การสร้างข้อมูลสาระสนเทศ (คอมพิวเตอร์) สื่อและข้อมูลทาง Internet เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้าง นวัตกรรมใหม่ อย่างแท้จริง

 

 2.       ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง 

      องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ  จัดตั้งพัฒนาองค์กรและสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ จัดตั้งประมาณปี พ.ศ.  2540  เหตุผลหลักเพื่อสร้าง นวัตกรรม การให้รู้ความรู้ถือภายในองค์กร เป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน  แต่ละประเทศมีนวัตกรรมที่ต่างกัน  อาทิ เช่น ประเทศอินเดียและประเทศจีน มีการส่งเสริมนวัตกรรมให้ทั่วทั้งประเทศ  แต่ ประเทศอินเดียส่งเสริมนวัตกรรมบางจุดกับคนเฉพาะกลุ่มในบางส่วนของประเทศเท่านั้น  ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียยังมีความยากจนเป็นจำนวนมาก และยังขาดการเรียนรู้ที่ดี   ส่วนประเทศจีนนั้นมีการนำ นวัตกรรม  ไปใช้กันทั่วประเทศจีน และสร้าความเป็นอยู่รวมถึงการศึกษาของประชาชนประเทศจีนจึงมีสภาพที่ดีขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับประเทศในอนาคต นั้นเอง


      ท้ายสุด กราบขอขอบคุณ อ.จีระ และทีมงานของท่านที่ยอมเสียสละเวลาอันมีค่าของท่าน มาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ ให้แก่องค์กรที่เราและทุกท่านได้ทำงาน นั้นเอง

 จากการที่ได้ศึกษาทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21

การอบรมและพัฒนา คนเก่ง มี 5 ขั้นตอน คือ

1. การประเมินความรู้ และทักษะ

2. การวิเคราะห์

3. การวางแผนพัฒนา

4. การดำเนินการตามแผน

5. การประเมินความก้าวหน้า

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

1. สมรรถนะในการบริหารคน

2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

1. การสอนงาน

2. การโยกย้ายฝ่ายงาน

3. การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ

4. การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตร

การฝึกอบรม

5. การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

6. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

7. การแนะนำให้หนังสือให้อ่าน เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วย

ตนเอง

8. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

9. การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

 การวางแผนกลยุทธ์

ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
1. การเตรียมการ/วิเคราะห์สภาพแวดล้อม/การกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์
2. การนำกลยุทธ์ไปใช้ ต้องมีแผนปฏิบัติการ การปรับปรุง กระบวนงาน โครงสร้าง เทคโนโลยี 
3.  การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การติดตาม การตรวจสอบและ ประเมินผลการดำเนินงานการทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

 

 

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

   เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อนๆ ชาว รปม. รุ่น 4 ตลอดจนทีมงาน chira Academy ทุกท่าน

                เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กพ. 51 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนวิชา "การบริหารทรัพยากรมนุษย์" วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิชานี้ กล่าวคือ เรียนเพื่อนำไปใช้และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นที่การ Share ความรู้เพื่อไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรของผู้ที่ทำการศึกษา...ในวันนี้ท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายให้นักศึกษาชาว รปม.รุ่น 4 ทุกท่านแสดงความคิดเห็นโดยผ่านทาง Blog  2 ชิ้น คือ 1. อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้างให้ยกตัวอย่างในองค์กรของนักศึกษา 2. ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

         ข้อ 1.  เหตุวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อต้นปี 2540 อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดจบของ "การบริหารงานแบบราชการ" ดังที่ทราบลักษณะองค์กรที่บริหารงานแบบราชการจะมีโครงสร้างแบบสูง (Tall Organization) และมีการบริหารงานที่ยึดรายละเอียดแต่ละขั้นตอนเป็นเป้าหมายของงาน การประเมินผลการทำงานของพนักงานไม่ได้ดูที่สัมฤทธิ์ผลของงาน พนักงานปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากก็ไม่ได้บ่งชี้ว่างานจะสัมฤทธิ์ผลแต่อย่างใด เพราะเป็นการดูกันที่อุปนิสัยมากกว่าความรู้ความสามารถของพนักงาน

        ตามความเห็นของผู้เขียน...เชื่อว่าการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในองค์กรมีความสำคัญมากที่สุดแต่ถ้าองค์กรใดไม่มีการสร้าง Innovation ให้คนในองค์กรได้ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ความสำคัญของ "คน"  ก็ไม่อาจสร้างประโยชน์ให้องค์กรได้อย่างเต็มที่เช่นกัน

        จากการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้ให้แนวคิดในการพัฒนา "HR" กล่าวคือ คนส่วนใหญ่มองว่าเป็น "ต้นทุน" ซึ่งต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลในระดับสูงนั้นหาใช่การให้ความสำคัญกับสวัสดิการค่าจ้าง การบริหารจัดการเท่านั้น หากแต่การพัฒนาคนในองค์กรให้มีความรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดถ้ามองไปในอนาคตข้างหน้าจะเห็นได้ว่าความเจริญทางด้านเทคโนโลยีจะต้องเข้ามาทดแทนการใช้กำลังคนเพราะฉะนั้น...องค์กรจะทำอย่างไร...?ให้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่นั้นเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในที่นี้คือการส่งเสริมให้คนในองค์กรมีความรู้ความสามารถ (Learning Organization) พัฒนาตนเองให้ทันกับยุค "โลกาภิวัฒน์" แต่อุปสรรคอีกประการของการพัฒนาคนคือ การลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดจากการศึกษา และการฝึกอบรมอย่างเดียวคงไม่ได้แต่ต้องดูด้วยว่าคนเหล่านั้น มีความสามารถในการสร้างผลผลิตหรือไม่แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกถ้าในองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถแล้ว จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นมีความรักความผูกพันกับองค์กร คำตอบหนึ่งที่น่าจะเป็นแนวทางที่ลดปัญหานี้คือ ผู้บริหารควรที่จะมองพนักงานเปรียบเสมือน "สมาชิกในครอบครัว" ไม่ใช่เพียงแต่เพื่อนร่วมงานในระบบงานเท่านั้นดังนั้นหัวใจของการพัฒนาองค์กรคือ "คน" ไม่จำกัดอยู่กับบทบาทเดิมๆ อาทิเช่น ระบบโครงสร้างเงินเดือน การดูแลด้านสวัสดิการ เป็นต้น การดูแลคุณภาพชีวิตของคนนั้นก็ต้องเริ่มดูตั้งแต่ระบบการคัดเลือกของคนที่จะเข้ามาในองค์กรจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความรู้ทางด้านจริยธรรมด้วย

        ในปัจจุบันผู้เขียนเห็นว่า...ยังไม่มีคนที่เป็นนักคิดและวางแผนทำให้เกิดช่องว่างมากขึ้นขณะที่องค์กรพยายามปรับโครงสร้างทางทรัพยากรมนุษย์ให้เร็วแต่กลับทำได้ช้าและทำได้ไม่ดี ในเรื่องของ "คุณภาพชีวิต" นั้น จะต้องให้คนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น กล่าวคือ การทำงานและการดำรงชีวิตจะต้องไปด้วยกันจะเห็นได้ว่าการพัฒนาและการฝึกอบรมพนักงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนที่จะก่อให้เกิดผลตอบแทนในระยะยาว ดังนั้น พนักงานทุกระดับจะได้รับการฝึกอบรม ทั้งในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านและความรู้ในงานด้านข้างเคียงซึ่งจะทำให้พนักงานมีความเข้าใจในทักษะ และมีประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้นด้วย สำหรับผู้เขียนนั้น...ได้คำตอบที่สำคัญยิ่งสำหรับตนเอง กล่าวคือ "เงิน" "ค่าจ้าง" "เงินเดือน" หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นค่าตอบแทนด้านวัตถุมิได้มีความสำคัญมากไปกว่า "ความสุขทางจิตใจ การมีเวลาในการทำงานกับครอบครัวที่สมดุลกัน"  

        ในเรื่องปัญหาอุปสรรคในองค์กรของผู้เขียน... "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" อยากร้องตะโกนดังๆ ว่า ควรให้ความสำคัญกับ "ความก้าวหน้าของตำรวจระดับชั้นประทวน" เพราะน่าจะมีผลต่อการสร้างความผูกพันต่อองค์กรให้มีความรู้สึกพอใจและอยากอยู่กับองค์กร กล่าวคือ การเลื่อนระดับของข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวนที่มีความรู้ความสามารถในปัจจุบันมีข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวนจำนวนมากที่ศึกษาต่อจนมีคุณวุฒิสูงขึ้นในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี ประกอบกับข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวนที่มีวุฒิดังกล่าว มีประสบการณ์ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่สูงทัดเทียมกับข้าราชการตำรวจระดับชั้นสัญญาบัตรแต่ระบบการเลื่อนระดับดังกล่าวกระทำการโดยสอบแข่งขัน และมีปริมาณอัตราที่เปิดสอบน้อยไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

          ข้อ 2.  จากการศึกษาดูเทป Innovation บทสนทนาระหว่างท่าน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ กับท่านศุภชัย ในเรื่องนวัตกรรมนั้นในส่วนของความหมายของคำว่า "นวัตกรรม" (Innovation) ของท่านศุภชัยกล่าวว่า การให้ความหมายของคำว่า "นวัตกรรม" นั้น ในมุมมองของท่านการจะให้คำจำกัดความคงเป็นเรื่องที่ยากแต่ถ้าแปลตามความหมาย นว คือ สิ่งใหม่ กรรม คือ การกระทำ การกระทำนั้นจะต้องเป็นสิ่งใหม่ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ส่วนความเห็นของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมไว้ว่า ในการสร้างนวัตกรรมนั้นไม่ได้กระทำเพื่อธุรกิจแต่เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาเผยประสบการณ์มาใช้อย่างไร...? ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเรื่องของการพัฒนา Innovation นั้น ศ.ดร.จิระ เปรียบเสมือนต้นน้ำ ส่วนท่านศุภชัย เปรียบเสมือนปลายน้ำในการดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง Innovation

           บทวิเคราะห์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวเสริมเพิ่มเติมในส่วนของการสร้าง Innovation กล่าวคือ คนไทยยังไม่มีการแสวงหาความรู้ (Learning Culture) และสร้างเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้นำต้องเป็นผู้มองกว้างและกำหนดวิสัยทัศน์ได้ดี "อย่างลอก"  (Copy)

           มุมมองของผู้เขียน... "นวัตกรรม" (Innovation) น่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการสร้างสรรค์องค์กรที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น แม้ว่าในทางปฏิบัติจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กรตามมามากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความรู้สึกของคนในองค์กร" เพราะฉะนั้น...เราจะทำอย่างไร...? ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ในองค์กรให้คนในองค์กรมีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนเห็นว่า...ในแต่ละองค์กรคงจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง "วัฒนธรรมในองค์กร"  เพราะฉะนั้น... "ผู้นำ" แต่ละองค์กรต้องแสดงความเป็น "HR CHAMPION"  ออกมาให้คนในองค์กรยอมรับ (มนุษย์คือต้นทุน-ไม่ฝันไม่เกิด-ไม่เกิดไม่เปลี่ยนแปลง-ไม่เปลี่ยนแปลงไม่มีการพัฒนา-ไม่มีการพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ-ไม่ประสบผลสำเร็จ END)  เปรียบเหมือนการเดินซอยเท้าอยู่กับที่.....ๆๆๆๆๆไม่ก้าวไปข้างหน้า เมื่อไหร่...? จะถึงที่หมาย

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ยม ที่เคารพยิ่ง

          จากการที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์นั้น ดิฉันได้เรียนรู้และเข้าใจจากที่ท่านอาจารย์ได้สอน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

          การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

กล่าวว่า "ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน”  เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป  ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ประกอบด้วย

     1.       ความต้องการของลูกค้า

2.       การวางแผนกลยุทธ์-ยุทธวิธี

3.       การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.       การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5.       การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.       การพัฒนากระบวนการ

7.       ความพึงพอใจของลูกค้าความพึงพอใจของทีมงานผลประกอบการ

8.       วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

การกำหนดกลยุทธ์ แบ่งได้ 3 ระดับ คือ

1.       ระดับองค์กร

2.       ระดับธุรกิจ

3.       ระดับหน้าที่

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงกระบวนการต่อเนื่องในการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทําให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

                เป้าหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์

1.       การแก้ไข และป้องกันปัญหา เป็นไปอย่างรอบรู้ มีเหตุ มีผลมากขึ้น

2.       เป้าหมายขององค์การ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

3.       การเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันและการแสวงหาความร่วมมือ

4.       การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

5.       การพัฒนาสมรรถนะขององค์การให้สอดรับกับสภาพที่เป็นจริง

6.       การสร้างความสำเร็จโดยคำนึงถึงกลไกใหม่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน

7.       กำหนดทิศทาง (Direction) ขององค์การ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

8.       เสริมความมุ่งมั่น (Effort) : ทำให้คนใช้ความพยายามที่จะทำงานด้วยกันให้ได้

9.       กำหนดสถานะขององค์การ (Position) : เป็นตัวกำหนดสถานะความเป็นจริงขององค์การด้วย

10.    สร้างความสอดคล้องต้องกัน (Consistency) : ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนของการบริหารเชิงกลยุทธ์

1.       การกำหนดกลยุทธ์-วางแผนกลยุทธ์

2.       การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์

3.       การวิเคราะห์สถานการณ์ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุ

4.       การควบคุม-การประเมินผลกลยุทธ์ การพัฒนาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

แนวคิดในการบริหารเชิงกลยุทธ์ 3 ตัวแบบ

1.       SWOT ANALYSIS  ของ Harvard Business School

2.       การวิเคราะห์สถานการณ์เชิงยุทธ์ของซุนวู (SUN TZU)

3.       การวิเคราะห์-แก้ไขปัญหา ตามแนวพุทธศาสตร์

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

(1)    ความไม่มั่นคงของชาติ ประชาชนเดือดร้อน

(2) ต้นไม้แห่งปัญหา (Problems Tree)

(3) ต้นไม้แห่งความสำเร็จ(Objective Tree)

(4) ประเทศชาติมั่นคง  ประชาชนอยู่ดี มีสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

 กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ , อาจารย์ยม , เพื่อน ๆชาวรปม.รุ่น 04  และผู้อ่านทุกท่าน

          จากการเรียนในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีท่านอาจารย์ยม นาคสุขเป็นผู้บรรยาย  หัวข้อทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์   

         สิ่งที่ได้รับจากการฟังบรรยายก็คือทำให้ทราบถึงความสำคัญของทิศทางการทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  ดังที่อาจารย์บรรยายว่า "ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่สนใจเรื่องคน"  เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอึกต่อไป ฉะนั้นเราต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีโมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.     การประเมินความรู้ และทักษะ 

2.     การวางแผนพัฒนา 

3.     การดำเนินการตามแผน

4.     การประเมินความกว้าหน้า

         นอกจากนี้ยังทราถึงคุณลักษณะที่ใช้ในการประเมินบุคลากรจาก ภาวะผู้นำ  การสื่อสาร  การวางแผนการทำงานภายใต้ความกดดัน  การตอบสนองต่อความเครียด  แรงจูงใจ ศักยภาพในการเรียนรู้ พลังในการทำงาน สมรรถนะ  การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีม การจัดการ การวิเคราะห์   เป็นต้น  และต้องพัฒนาองค์กรใฟ้มีสมรรถนะสูงโดยวีธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง 15 วีธีที่สามารถเลือกนำมาปฏิบัติให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละองค์กร  เช่น ใช้วิธี่การ Coaching เป็นการนำผู้มีความรู้ความสามารถทั้งภายใน ภายนอกองค์กรมาสอนและแนะแนวทางที่จะประสบความสำเร็จให้กับบุคลากร เหมือนนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี Coach ที่ดี  เช่นเดียวกับ การทำงานถ้าบุคคลากรได้รับการแนะนำที่ดีก็เปรียบเสมือนการที่องค์กรได้สร้างทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ให้กับบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริงและเสริมสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

           การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์   

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึง  กระบวนการต่อเนื่องในการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทําให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ได้แก่

1.ความต้องการของลูกค้า 

2.การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4.การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6.การพัฒนากระบวนการ 

7.ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

 การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ มีความแตกต่างกันตามภาระหน้าที่  และสภาพแวดล้อมของแต่ละองค์กร  ปัจจัยภายใน ภายนอกองค์กร เมื่อองค์กรพบปัญญาควรต้องนำ  HCM (Human Capital Management) ไปพัฒนางานในองค์การประกอบด้วย

  1. การบริหารคนเก่ง+คนดี (Talent management)
  2. การเรียนรู้และการพัฒนา(Learning and development)
  3. การบริหารความรู้ (Knowledge management)
  4. การบริหารสมรรถนะ (Competency management)
  5. การบริหารการทำงาน (Performance management)
  6. การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management)
  7. การบริหารความรัก (Love management)

 ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ (Human capital strategy)

  1. หาคนดีมาผูกใจให้อยู่ในองค์การอยู่ (Acquisition & Retention)
  2. เรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development)
  3. การจัดการและภาวะผู้นำ (Management and Leadership)
  4. การจัดการทุนมนุษย์ (Human capital management)
  5. การทำงานจากทุนมนุษย์ (Human capital performance

สรุป (Human Capital Management) HCM

  1. จูงใจได้มารักษาคนฉลาด
  2. การจัดการและภาวะผู้นำ      
  3. การเรียนรู้และการพัฒนา
  4. การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์
  5. การพัฒนาทุนมนุษย์           

          นอกจากนี้อาจารย์ได้บรรยายถึงทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ  โดยมีวิธีการสำรวจจุดด้อยขององค์กร และนำมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัมนาองค์กร เช่น องค์กรขาดความรู้  ก็เขียนยุทธศาสตร์บริหารความรู้และพัฒนา เป็นต้น

          จากการบรรยายของท่านอาจารย์ยมทำให้ผู้เขียนพบว่าการเขียนยุทธศาสตร์บริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ยากเลยเพียงเราสำรวจปัญหาในองค์กรแล้วนำมาเขียนเป็นยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  แล้วองค์กรของท่านจะประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนทันต่อการเปลี่ยนแปลงในในศตวรรษที่ 21

          ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้กับพวกเรา สั่งสอนและแนะนำวิธีการเรียนในแบบที่เราไม่คุณเคยจนเริ่มคุ้นเคยและคงจะเกิดเป็นความเคยชินจนเป็นพฤติกรรมตามที่อาจารย์แนะนำ นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง  ทำให้ตัวผู้เขียนไม่อาจจะปฏิเสธวิธีการที่อาจารย์ตั้งใจถ่ายทอด  และกระตุ้นให้พวกเราระดมสมองแสดงความคิดเห็น  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่ม เป็นก้าวเริ่มต้นในการค้นพบตัวเอง เพื่อพบแนวทางในการปรับเปลี่ยนตัวเองในการเรียนและการทำงานในอนาคตและปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมแต่เราต้องไม่ลืมความเป็นต้วตนของเรา

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๑๙

เรียน  อาจารย์ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

       จากการเรียนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อาจารย์ได้ให้การบ้านมา ๒ ข้อ คือ

       ๑. อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

       ก่อนอื่นต้องทราบความหมายของ Innovation คือ นวัตกรรมหมายถึง  ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

      Learning Organization  หมายถึง เป็นองค์การที่ซึ่งคนในองค์กร ได้ขยายขอบเขตความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มและระดับองค์กรเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลในระดับต่าง ๆ ต้องการอย่างแท้จริงเป็นองค์กรที่มีความรู้ใหม่ ๆ และแตกแขนงของความคิดได้รับการยอมรับเอาใจใส่และเป็นองค์กรที่ซึ่งบุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์กร

      อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์กร

      ๑. สมาชิกในองค์กรรู้แต่หน้าที่ตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายของ    องค์กร

      ๒. สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์กรอยู่ที่ใดแต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่่ยวข้องอย่างไร

      ๓. ทำตามแบบที่เคยทำ ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง

      ๔. ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป

      ๕. ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่าน้้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน

      ๖. มีผู้บริหารที่ดี แต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป

      ๗. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่่อยไป

      เช่น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ดิฉันทำงานอยู่มักจะมีปัญหาในด้านนวัตกรรมและด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ เนื่องจากยังยึดติดกับวัฒนธรรมองค์กรเดิมๆ ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง ผู้บริหารขาดการเอาใจใส่ในเรื่องนี้เท่าที่ควร

       คำถามที่ ๒  หลังจากดู Innovation จากวีดิโอ แล้วนักศึกษาได้อะไรบ้าง  สิ่งแรกที่ดิฉันคิดคือเราต้องเปลี่ยนการทำงานใหม่เพื่อพัฒนาตัวเองก่อนที่จะไปพัฒนาองค์กร เพื่อองค์กรได้นำไปสู่ความเป็นเลิศทางนวัตกรรม  ประการที่สอง มองว่าการที่จะเกิดนวัตกรรมใหม่ต้องมาจากความรู้ที่เป็นระบบ นวัตกรรมทำแล้วอาจไม่สำเร็จก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เวลานั้น และเป็นเรื่องของการลงทุนเพราะต้องรู้หลายด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง แต่ในประเทศไทยหน่วยงานราชการมักจะขาดงบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหากับทุกหน่วยงาน  ประการที่สาม การที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการคิดสร้างสรรค์นั้นอย่างน้อยต้องมีทุนมนุษย์ก่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

 

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ (ท่านอาจารย์ที่เคารพ), อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน

 

1. อุปสรรคในการสร้าง  Innovation , Learning  Organization  และ  HR  ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างในองค์กรประกอบ

        อุปสรรคมีดังนี้

        1. ผู้บังคับบัญชา 

        การพัฒนาในองค์กร หากในหน่วยงานมีผู้บังคับบัญชาที่ไม่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริง  คำนึงถึงแต่ความก้าวหน้าของตนไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  รับแต่ความดีก็ทำให้หน่วยงานไม่พัฒนา

        2. สายการบังคับบัญชา

        หน่วยงานราชการสายการบังคับบัญชาเป็นแบบแนวดิ่ง การทำงานซ้ำซ้อน หากหน่วยงานย่อยเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจัดทำในโครงการ  กว่าจะได้รับการอนุมัติก็ทำให้ความคิดล้าหลังไปแล้ว

        3. ทรัพยากรมนุษย์

        คนในหน่วยงานราชการมักจะไม่กระตือรือร้น  เนื่องจากการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ มักจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เพราะ หากมิใช่พวกพ้องทำดี มีผลงานสักแค่ไหนก็ไม่ได้รับการสนับสนุน เนื่องจากในหน่วยงานมักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ในพวกพ้องตนเองมากกว่าความก้าวหน้าของประเทศชาติ

 

2. จากการชม  VTR  ในรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  Innovation  ซึ่งเป็นบทสนทนา  ระหว่าง  ดร.จีระ  และคุณศุภชัย   หล่อโลหะการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  แล้วได้อะไรบ้าง

        1.ได้เข้าใจถึงความหมายและคำจำกัดความ ของคำว่า  นวัตกรรม  คือ  การทำสิ่งใหม่  ต้องมีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งความรู้และความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีประโยชน์กับเศรษฐกิจ และสังคม

        2. ในฐานะที่เป็นคนไทยมีความคิดว่า ทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เมื่อคิดแล้วลองนำมาปฏิบัติหากปฏิบัติจริงไม่ได้  ก็ลองคิดใหม่  ซึ่งดีกว่าอยู่เฉย ๆ  โดยที่ไม่ได้คิดอะไร  ไม่ได้ใช้สมอง เนื่องจาก  นวัตกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกภายนอก  หากอยู่เฉย ๆ ก็เปรียบได้เป็นประเทศที่ล้าหลัง

        3 .  ทฤษฏี  3  C  คือ

                Change    /  Customer  base / Control

มีความสอดคล้องกับ ทฤษฏี  5 k's   ของ ดร.จีระ

Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม

Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้

Cultural       Capital  ทุนทางวัฒนธรรม

Emotional    Capital  ทุนทางอารมณ์

Creativity     Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์

ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ  ซึ่งสังคมไทยเริ่มต้นจากการมีสังคม การเรียนรู้แล้วนำความรู้ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือถกเถียงกัน จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่  

 

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

เจริญพร ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  อ.ยม นาคสุข และ ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ฯ

 

เรื่อง  ทรัพยากรณ์มนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสนใจ(สร้างและบำรุงรักษาให้คงอยู่คู่กับองค์กร) โดยเฉพาะคนรอบ ๆ กายภายในองค์กรเรา ฯ

 

การบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จุดประสงค์หลักก็คือ เรื่องคน โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ที่เรียกว่ามนุษย์ เพื่อความสำเร็จขององค์กรตามที่ได้มุ่งหมายไว้ ฯ

        ดังคำที่ว่า ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน ฯ ฉะนั้น เรื่องทรัพยากรณ์มนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า การบริหารด้านอื่น ๆ ฯ แต่จากบทเรียนที่เกาะล้าน อาจารย์แต่ละท่านได้กล่าว ก็ล้วนไม่พ้นเรื่อง คน อยู่ดี เพราะมีคำที่ ดร.กีรติได้กล่าววันนั้นว่า  เครื่องจักรกล เราสามารถที่จะจัดซื้อหามาได้ แต่คนเราต้องสร้าง และ อบรมให้ความรู้เขา คน เราไม่สามารถซื้อหามาได้ ต่อให้มีเงินมากมายก็ตาม ถ้าเขาไม่พอใจหรือไม่ชอบใจองค์กรนั้น ๆ ฯ

        จากการเรียนในวันเสาร์ ที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานั้น โดยการสอนของ อ. ยม นาคสุข ก็ได้เรียนรู้เรื่องของทฤษฎีต่าง ๆ ที่หลากหลาย ทั้งในความเห็นและมุมมองของท่านเอง และที่สำคัญคือ เรียนรู้ในทฤษฎีต่าง ๆ ที่ใช้ จนประสบความสำเร็จมานักต่อนักแล้ว ในหลายองค์กรด้วยการถ่ายทอดในแบบฉบับของท่านเอง ซึ่งจะได้กล่าวพอสังเขปดังต่อไปนี้ คือ

1.      คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากรเข้าทำงาน

เช่น

-         ภาวะผู้นำ 

-         การสื่อสาร

-         ศักยภาพการเรียนรู้

-         พลังในการทำงาน

-         การทำงานเป็นทีม

-         การบริหารจัดการในเรื่องงาน เป็นต้น ฯ

       

         ประเด็นแรกที่อาตมภาพคิดว่าสำคัญ คือ ภาวะผู้นำ ความเป็นผู้นำนั้น เดรย์ตัน แม็กเลน กล่าวว่า ความเป็นผู้นำ เปรียบได้กับสายน้ำอันเป็นนิรันดร์ที่ไหลไปสู่อนาคตอันยิ่งใหญ่ และสิ่งอันเป็นนิรันดร์พอกันก็คือภาระในการคอยกำหนดและรักษารูปร่าง และช่องทางการไหลของสายน้ำนั่นเอง ความพยายามสร้างเสริมความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ดำเนินไปในลักษณะเดียวกันกับที่ชายและหญิงพยายามที่จะค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการจัดการชี้นำและชักจูงกันและกันนั่นแหละ ฯ

2.      โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่งด้วยรูปแบบ 5 รูปแบบ คือ

-         การประเมินความรู้และทักษะ

-         การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ

-         การวางแผนพัฒนาคนเก่ง ด้านความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ

-         การดำเนินการตามแผน

-         การประเมินความก้าวหน้า เป็นต้น ฯ

3.      สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบันแบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม คือ

-         สมรรถนะในการบริหารคน (HR Management)

-         สมรรคถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

-   สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (Working like the Professional Management Level)

-         สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management by Result,MBO)

4.  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง เช่น  การสอนงานให้, การโยกย้ายฝ่ายงาน, การมอบหมายงานเร่งด่วนให้, การให้เขาได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดทักษะในการทำงาน, การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงานหรือคณะกรรมการ ในการแก้ไขปัญหา หรือกู้วิกฤต ในโครงการใดโครงการหนึ่ง, การส่งเขาไปรับการอบรมนอกสถานที่ ซึ่งมีหลักสูตรสำหรับนักบริหารโดยตรง เพื่อจะได้ศึกษางานไปในตัวกับประสบการจริงที่เขาจะได้รับ, แนะนำในการคิด การอ่าน ด้วยตนเอง ด้วยการศึกษาจากหนังสือหรือตำราต่าง ๆ เป็นการเสริมทักษะในการอ่านแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับองค์การของตนเอง ซึ่งนับว่าเป็นการต่อยอดที่ยอดเยี่ยม, การมอบหมายงานให้เขาสอนพนักงานในองค์กร เป็นการเพิ่มทักษะและความคิดสร้างสรรค์อันเกิดจากการสอน เป็นการแบ่งปันความรู้จากการที่เขาได้ศึกษามา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่องค์กรโดยรวม,จัดให้เขาได้ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา, การจัดการเรียนรุ้ด้วย ICT เรียนรู้ด้วยการใช้ Wep - Based Learning เป็นรูปแบบใหม่ที่หลายองค์การใช้เพื่อส่งต่อการเรียนรู้ ทำให้คนเก่ง เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และรู้รอบ, เมื่อหัวหน้างานลางานหรือหยุด ก็ต้องการให้มีคนเก่งเข้ามารับบทบาทหน้าทีแทน เพื่อช่วยพัฒนาความรู้ทักษะการเป็นผู้บริหาร, เป็นต้น ฯ

              เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกอบรมคนให้เก่ง และคนที่เก่งอยู่แล้ว ยิ่งเก่งมากขึ้นตามลำดับ ฯ

5.      หลักการรักษา คนเก่ง ให้อยู่คู่กับองค์กรตราบนานเท่านาน ด้วยหลัก คือ “CARE MODEL” 

-         C คือ Creative Community หมายถึง การสื่อสารสองทางอย่างสร้างสรรค์

-         A  คือ  Atmosphere and Appreciation for All หมายถึง บรรยากาศและการชื่นชม

-   R  คือ  Respect and Reason for Being หมายถึง ความเคารพ และความมีเหตุมีผลในการอยู่ร่วมกัน

-   E  คือ  Empathy and Enthusiasm หมายถึง ความเห็นอกเห็นใจให้กำลังใจต่อกัน ส่งเสริมผลักดันให้กระตือรือร้นในการทำงาน 

6.  หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)ได้เคลื่อนเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน(Paradigm shift) ผ่านจุดเน้น เป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ (HCD)

 

ฐานรากแห่งพุทธธรรม คือ ฐานหลักแห่งทุนมนุษย์  เพราะถ้าหากมีความรู้ด้านการผลิตการขาย  แต่ขาดคุณธรรม คือ พฤติกรรมที่ดีงามทั้งทาง กาย วาจา และใจ ในระดับของผู้นำเองก็ตามและระดับผู้ตามก็ตามที เป้าประสงค์ หรือวัตถุประสงค์แห่งความสำเร็จขององค์การย่อมจะไม่ประสบผลสำเร็จ ถึงจะประสบผลสำเร็จก็ไม่ตรงตามเป้าหมายดังที่ได้วางไว้ ซึ่งหลักแห่งการสร้างองค์ความรู้ มีอยุ่ ๓ ประการด้วยกัน คือ

-   สุตะมะยะปัญญา  ปัญญาเกิดจากการได้ยินได้ฟัง ซึ่งเป็นวิธีแห่งการเรียนรู้ ดังเด็กน้อยที่คอยจับสียงสำเนียงของผู้เป็นพ่อและแม่ เด็กก็จะเกิดทักษะและความคุ้นเคย จากการเรียกซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ จวบจนผ่านไปในวัยหนึ่งก็สามารถเข้าใจในภาษานั้นได้ว่า ที่พ่อแม่เรียกนั้น คือ ชื่อของตน

-   จินตามะยะปัญญา  ปัญญาเกิดจากการนึกคิด ตริตรอง พิจารณาโดยแยบคาย แยบยล ทั้งโดยรูปแบบนิรนัย และอุปนัย หรือที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ คือ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย(พิจารณาใคร่ครวญอย่างถ้วนถี่)

-   ภาวนามยปัญญา  ปัญญาอันเกิดจากการทำให้เจริญ ทำให้เกิด ทำให้มี โดยวิธีการวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์

 

หลักทั้ง 3 ประการนี้ มีความสืบเนื่องกันและกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเสียมิได้ เพราะถือว่าเป็นหลักแห่งการสร้างการเรียนรู้ ที่เริ่มจากภายในตนเองเป็นสำคัญ    

ฯ ล ฯ

 

          และต่อมาก็เรียนรู้เรื่องของทฤษฎีต้นไม้แห่งความมั่นคงและความไม่มั่นคงของโลก ซึ่งเชื่อมโยงถึงสันติภาพเป็นหลักสำคัญ

          อันว่าความขัดแย้งของโลกนั้น ก็ใช่ว่าเป็นเรื่องโลกหรือที่เราเข้าใจกันว่าโลกคือพื้นดินไม่ แต่ว่าความขัดแย้งเหล่านั้นทั้งมวล ล้วนเกิดจากคนหรือมนุษย์นี่เอง มนุษย์ คือผู้สร้างปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาบนโลกใบนี้ และ คนเช่นกันที่จะเป็นผู้สงบระงับความขัดแย้งวุ่นวาย ต่าง ๆ ที่เกิดมีบนโลกใบนี้ เพราะฉะนั้น คน จึงเป็นตัวหลัก เป็นทั้งผู้สร้างและทำลาย ในคน ๆ เดียวกัน คนมีหลายเชื้อชาติหลายเผ่าพันธ์ และความขัดแย้ง ก็เกิดได้จากเรื่องราวหลาย ๆ ประการ เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งที่เกิดภายในประเทศ ความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์มีการแบ่งแยกเชื้อชั้นวรรณะ หรือแม้กระทั้งในเผ่าพันธุ์เดียวกันเองก็เช่นกัน ความขัดแย้งระหว่างหมู่คณะ และภายในหมู่คณะเอง และความขัดแย้งภายในบุคคล และภายในบุคคลเอง

          ประเด็นที่อาตมภาพคิดว่า สำคัญและควรเริ่มจุดแรก คือ ความขัดแย้งภายในบุคคล ข้อนี้อาตมภาพมีความเห็นว่า คนเรามีความคิดหรือจริตที่หลากหลายในคน ๆ เดียวกัน ความขัดแย้งภายในบุคคลนี้อาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดจากจิตเรานี่เอง เช่น ร่างกายเราทำงานอยู่ชิ้นหนึ่ง แต่จิตเราทุกคนจะมีเหมือนกันคือจิตอีกดวงหนึ่ง ก็คิดอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่เราท่านทั้งหลายเคยพบในอาการหลง ๆ ลืม ๆ นั่นแหละ คือกายเราทำอีกอย่าง แต่จิตคิดอีกอย่าง หรือไม่สั่งการเลย จนทำให้เราเกิดอาการหลง และลืม บางครั้งก็นั่งคิดว่า จะทำอะไรน้อ หรือแม้แต่คิดว่าจะพูด พอจะพูดก็นึกไม่ออกว่าเราจะพูดอะไร เหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการปรับความเห็นให้ตรง ปรับปัญญา สร้างความรู้สึกนึกคิดให้เป็นผู้มีควมรอบคอบอยุ่ตลอด และนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างองค์แห่งการเรียนรู้ และก็สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดมีภายในองค์การของตน ฯ  

          เมื่อทราบว่า ปัญหาความขัดแย้ง ต่าง ๆ เกิดจากคนแล้ว ก็ควรหาวิธีการระงับยับยั้งความขัดแย้งเหล่านั้น 

 

และอะไรละคือวิธีที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ?

 

แนวทางการแก้ปัญหาเหล่านั้น มีหลักการอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ

 

1.            การจัดการกับความขัดแย้ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยการกำหนดให้คนทั่วไปไม่รู้สึกว่า มีความขัดแย้ง ด้วยการสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้น อาจเริ่มในระดับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด  ภูมิภาคต่าง ๆ ประเทศ และ ท้ายสุด คือระหว่างประเทศ ทำได้เช่นนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงโลกแล้ว เพราะทุกประเทศทำได้ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมคือ โลก ฯ

2.            การควบคุมความขัดแย้ง  มิให้เกิดมากจนเลยเถิดไป ทำให้เกิดระยะห่างของปัญหา อุดช่องโหว่

3.            การสลายความขัดแย้ง แก้ที่รากของปัญหา

                        

 

บทวิจารณ์ของข้าพเจ้า

          อาตมามีความเห็นว่า ต้นไม้ตายที่อาจารย์ยมยกขึ้นมาเปรียบว่า เป็นต้นไม้แห่งปัญหา และ ต้นไม้เป็น  อันขียวขจีด้วยใบซึ่งผลิดอกออกผลตามกิ่งแต่ละกิ่ง  อาตมาเปรียบว่า ลำต้นไม้นั้นคือแกนโลก กิ่งก้านสาขา คือนานาประเทศ ที่หลากหลายด้วยเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันมีอารยธรรมวัฒนธรรมเป็นของตน ๆ  ซึ่งขับเคลื่อนและบริหารด้วยรากแก้วและรากฝอย อันเปรียบด้วยมนุษย์ ซึ่งรากต้นไม้มีหน้าที่คอยหาอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้กระจายไปสู่กิ่งก้านสาขา ทำให้ใบสวยสดงดงามและเขียวขจีได้  ต้นไม้มีรากเป็นหลักในการดำรงอยู่มีรากเป็นหลักในการยึดเกาะพึ้นดิน เพื่อให้ตนทรงตัวอยู่ได้โดยไม่สะทกสะท้านด้วยแรงลมและแดด สามารถคงอยู่ได้โดยไม่ต้องมีเสาเข็มตอก แต่อยู่ได้ด้วยรากที่หยั่งลึกบนพึ้นพสุธา เมื่อรากแข็งแรง ต้นไม้ก็สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้ เมื่อรากเน่าหรือถูกหนอนเจาะซะแล้ว ต้นไม่ย่อมได้รับผลกระทบและตายซากในที่สุด

          จากอุปมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า รากที่เปรียบด้วยคนนั้นมีความสำคัญที่สุด ต้นไม้ที่มีรากหยั่งลึก ถึงถูกโค่นต้นแล้ว ก็ยังสามารถที่จะแตกกิ่งก้านได้อีก แต่ถ้าหากรากเน่าเสียหรือหนอนเจาะดังกล่าวมา ก็ไม่สามารถที่จะแตกกิ่งก้านสาขาขึ้นมาตระหง่านได้ดังที่เคยเป็น

          คน จึงมีความสำคัญสำหรับองค์กร สำหรับประเทศชาติโดยรวม มีความสำคัญสำหรับโลก ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพที่ดี

ดังเช่นต้นไม้ ที่ต้องคอยดูแลรักษารดน้ำพรวนดินอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อความเจริญงอกงาม ผลิดอก ออกผล  คนก็เช่นกัน ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมพัฒนาให้ดี เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนองค์กร และประเทศชาติ แผ่ขยายไปอย่างทั่วถึงในระดับนานาประเทศ เมื่อประชาคมโลกให้ความสนใจเรื่องคนอย่างทั่วถึงแล้ว เชื่อแน่ว่า ปัญหาต่าง ๆ ย่อมเกิดได้ยาก ถึงเกิดก็ย่อมเกิดได้น้อย เนื่องจากคนได้รับการพัฒนาและมีความรู้เสียแล้ว จะกลัวอะไร ฯ  

ในเมื่อคนอยู่ในโลกที่เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ที่เรียกว่ายุคฐานความรู้ และเป็นโลกแห่งการแข่งขันบ้าง ซึ่งต่างคนก็ต่างขวนขวายและแสวงหาในสิ่งที่ตนรักตนชอบ ขวนขวายเพื่อความอยู่รอดเพื่อความสบายของตนเอง   เพราะเหตุเหล่านี้ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายจากคนและก็คน รวมความแล้วคนทั้งนั้นที่ทั้งก่อปัญหาและก็คนนี้แหละที่จะสร้างปัญหา ฉะนั้น เพื่อสันติภาพของโลก ก็ควรที่จะพัฒนาคนให้มีความรู้และรักในองค์กร รักประเทศ รักในการสร้างคุณธรรม รักในความสงบ ไม่เบียดบียนกันและกัน

องค์กรหรือประเทศชาติจะอยู่รอดหรือว่าหายนะ ก็เพราะคน     เมื่อคนมีคุณภาพ(คุณธรรม จริยธรรม) ความเจริญย่อมบังเกิดแก่องค์กรและประเทศชาติโดยรวม

หากคนไร้คุณภาพ(คุณธรรม จริยธรรม) ความหายนะย่อมบังเกิดแก่องค์กรและประเทศชาติโดยรวม ฯ

ฯลฯ

 

                                  ขอเจริญพร

                         พระมหาวิทยา  นางวงค์ 

                  นักศึกษา รปม. รุ่น 4 สวนสุนันทา

 ไม่มีใครสามารถรับผิดและชอบในความล้มเหลวและความสำเร็จในชีวิตของเราได้ นอกจากตัวของเราเองฯ

(ฝากไว้ให้คิด)                                                                                                                                                        

 

 

หมายเหตุ   จากบทความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  หากผิดพลาดส่วนไหนประการใด ต้องขออภัยบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย มา ณ ที่นี้ และขอรับผิดเพียงผู้เดียว ส่วนที่เห็นว่าชอบแล้วขอมอบแต่ท่านอาจารย์ผู้สอนทุกท่านครับ ฯ

พระศุภสิน ศักศรีวัน รปม.รุ่น 4

 

   "ไม่มีงานเลี้ยงใด ที่ไม่มีวันเลิกรา มาถึงจุดนี้ ก็คงเป็นช่วงสุดท้ายกับการที่จะต้องจากลา..จากนี้ไป จะมีใครที่จะมาคอยกระทุ้งด้วยวิชาการนการที่จะให้ศิษย์มีการตื่นตัวและกระหายในการเรียนรู้ตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการอยู่ร่วม ต่อจากนี้ไปก็คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีและรอยแห่งความประทับใจ และเจตจำนงที่มอบไว้เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้สืบสานต่อในการพัฒนาตนเอง ตามรอยผู้ที่คอยสร้างคันเบ็ดและวิธีจับปลาแก่เหล่าผู้แสวงหาปลา นามว่า..จีระ หงส์ลดารมณ์.." ขออนุโมทนา..

1. อุปสรรคในการสร้าง innovation, learning organization ใน HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง?

      นวัตกรรม (innovation) หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมหรือเพิ่มมูลค่า (Value Added)

ลักษณะของนวัตกรรม
     
- นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง หมายถึงขบวนการเสนอสิ่งใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อของสังคมอย่างสิ้นเชิง เช่น Internet จัดเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนระบบการติดต่อสื่อสาร และทำให้ระบบเก่า ๆ บางอย่างหายไป เช่นโทรเลข เป็นต้น
      - นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็นขบวนการการค้นพบหรือคิดค้นสิ่งใหม่โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด มีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning)
      - นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
      - นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)   เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม

      นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้บริหาร พนักงานหรือแม้แต่คนทุกคนในสังคมในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความปรารถนาใหม่หรือต้องการค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีใช้กันทุกวงการ แต่ที่จะเห็นเด่น ๆ ก็จะเป็นเรื่องของนวัตกรรมของเรื่องนวัตกรรมทางด้านเศรษฐกิจ และในวงการบริหารเองก็จะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นเหมือนกัน ได้เกิดนวัตกรรมทางด้านทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อเติมและทดแทนทฤษฎีเก่า ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิที่ดีขึ้น เช่น Balanced Scorecard KPI Competency   Six sigma เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันอาจเป็นสิ่งที่ล่าหลังในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งนักบริหารคงต้องสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป..และสัจธรรมที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เป็นกุศโลบายฝึกใจเสมอว่า..ความจริงของวันนี้ อาจจะไม่ใช่ความจริงของวันพรุ่ง..

      องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่มีการดำเนินการให้บุคคล ทีม หรือกลุ่ม ในองค์การได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนตนเอง ทั้งนี้ เพื่อนำองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ การเรียนรู้ต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วทั้งองค์กร

การที่จะบรรลุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้  ต้ององค์ประกอบหลัก ดังนี้
     
1. การใฝ่เรียน ใฝ่รู้ของบุคคล (Personal Mastery)  การที่จะไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ จะต้องเริ่มต้นที่บุคลากรในองค์การนั้นเป็นอันดับแรกบุคคลที่มีความต้องการจะเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถของตนเอง จะต้องมีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ (Achirement Motivation)
      2. การพัฒนากรอบความคิด  เป็นการค้นหาความกระจ่างชัด การจำแนกแยกแยะ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การทำความเข้าใจ และการแปลความหมายต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจและการกระทำของบุคคล
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน จะต้องมาจากการที่แต่ละคนฟังซึ่งกันและกันโดยที่แต่ละคนจะแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล และให้เหตุผลซึ่งกันและกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำและสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
      4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
      5. การคิดเชิงระบบ

อุปสรรคภายในองค์กร
     
เนื่องจากองค์กรของข้าพเจ้าที่ทำงานเป็นในรูปแบบที่สถาบันสำคัญทางด้านจิตวิญญาณ และทางความคิดซึ่งภาพรวมก็คือพื้นฐานของสังคมที่ดี จึงขอเสนอแนะแนวคิดเปรียบเทียบกับองค์กรโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางราชการหรือเอกชน จะมีลักษณะของปัญหาและอุปสรรคคล้าย ๆ กัน คือ
      - บุคลากรปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพราะวัฒนธรรม ค่านิยมขององค์กรเปลี่ยนแปลงยาก
      - ขาดผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
      - มี Ideaดี แต่ขาดการสนับสนุน หรือความคิดดีแต่ไม่มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อจะใช้ประโยชน์ได้จริงจากความคิดนั้น
      - มี Idea ดี แต่ผู้นำยังถืออัตตาและไม่เปิดโอกาส ใจแคบกลัวลูกน้องดีเกินหน้า

 2. จากการดู วีดีทัศน์ ได้อะไรบ้าง
     
จากการชมวีดีทัศน์การสนทนาระหว่างท่านอาจารย์จีระในเนื้อหาเกี่ยวกับ นวัตกรรม ร่วมกับคุณศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดที่คล้อยตามกับท่านทั้งสองในเรื่องการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทย

อาจารย์จีระ จะมองในแง่การนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้กับสังคม เช่นการศึกษา การปราบอาชญากรรม การเพิ่มศักยภาพของคน มากกว่า โดยมองเห็นประโยชน์ของนวัตกรรมในอันจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับคน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคน โดย

      1. การรังสรรค์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่
      2. นำไปปฏิบัติหรือดำเนินการ
      3. เมื่อนำไปปฏิบัติหรือทำแล้วต้องเป็นไปเพื่อความเป็นประโยชน์แก่ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

คุณศุภชัย นั้นจะมองในภาพของส่วนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อันเป็นแรงผลักไปสู่การพัฒนาประเทศ

ทั้งสองท่านมีแนวคิดที่จะพัฒนา และชี้ให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรม คือการกระทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ลอกเลียนแบบเขา ฝึกให้คนไทยรู้สึกคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์ นำมาศึกษาวิจัยให้ได้ผลสรุปที่ดีอันจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

      อย่างไรก็ตามการที่เราจะสร้างนวัตกรรมได้นั้น จะต้องรู้ความสำคัญและรู้จุดประสงค์ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ ต้องเข้าใจความหมายว่านวัตกรรมคืออะไร และเมื่อเล็งเห็นความสำคัญแล้วนำมาปฏิบัติแล้วต้องปฏิบัติให้เห็นผล และให้เกิดประโยชน์โดยต้องประสานเชื่อมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่เพิ่มมูลค่าและศักยภาพของบุคลาภายในองค์กรย่อยไปสู่องค์กรระดับชาติ เพื่อที่ประเทศไทยสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันกับสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ได้..

              
   "ไม่มีงานเลี้ยงใด ที่ไม่มีวันเลิกรา" มาถึงจุดนี้ ก็คงเป็นช่วงสุดท้ายกับการที่จะต้องจากลา..จากนี้ไป จะมีใครที่จะมาคอยกระทุ้งด้วยวิชาการในการที่จะให้ศิษย์มีการตื่นตัวและกระหายในการเรียนรู้ตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการอยู่ร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อจากนี้ไปก็คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีและรอยแห่งความประทับใจ และเจตจำนงที่มอบไว้เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้สืบสานต่อในการพัฒนาตนเอง ไม่แน่สักวันอาจจะมีศิษย์คนใดคนหนึ่งได้พบกันอีกในเวทีแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับผู้ที่คอยสร้างคันเบ็ดและวิธีจับปลาแก่เหล่าผู้แสวงหาปลา นามว่า..จีระ หงส์ลดารมณ์.."  อีกครั้ง..ขออนุโมทนา..
              

1. อุปสรรคในการสร้าง innovation, learning organization ใน HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง?

      นวัตกรรม (innovation) หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมหรือเพิ่มมูลค่า (Value Added)

ลักษณะของนวัตกรรม
     
- นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง หมายถึงขบวนการเสนอสิ่งใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อของสังคมอย่างสิ้นเชิง เช่น Internet จัดเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนระบบการติดต่อสื่อสาร และทำให้ระบบเก่า ๆ บางอย่างหายไป เช่นโทรเลข เป็นต้น
      - นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็นขบวนการการค้นพบหรือคิดค้นสิ่งใหม่โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด มีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning)
      - นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
      - นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)   เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม

      นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้บริหาร พนักงานหรือแม้แต่คนทุกคนในสังคมในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความปรารถนาใหม่หรือต้องการค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีใช้กันทุกวงการ แต่ที่จะเห็นเด่น ๆ ก็จะเป็นเรื่องของนวัตกรรมของเรื่องนวัตกรรมทางด้านเศรษฐกิจ และในวงการบริหารเองก็จะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นเหมือนกัน ได้เกิดนวัตกรรมทางด้านทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อเติมและทดแทนทฤษฎีเก่า ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิที่ดีขึ้น เช่น Balanced Scorecard KPI Competency   Six sigma เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันอาจเป็นสิ่งที่ล่าหลังในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งนักบริหารคงต้องสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป..และสัจธรรมที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เป็นกุศโลบายฝึกใจเสมอว่า..ความจริงของวันนี้ อาจจะไม่ใช่ความจริงของวันพรุ่ง..

      องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่มีการดำเนินการให้บุคคล ทีม หรือกลุ่ม ในองค์การได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนตนเอง ทั้งนี้ เพื่อนำองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ การเรียนรู้ต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วทั้งองค์กร

การที่จะบรรลุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้  ต้ององค์ประกอบหลัก ดังนี้
     
1. การใฝ่เรียน ใฝ่รู้ของบุคคล (Personal Mastery)  การที่จะไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ จะต้องเริ่มต้นที่บุคลากรในองค์การนั้นเป็นอันดับแรกบุคคลที่มีความต้องการจะเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถของตนเอง จะต้องมีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ (Achirement Motivation)
      2. การพัฒนากรอบความคิด  เป็นการค้นหาความกระจ่างชัด การจำแนกแยกแยะ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การทำความเข้าใจ และการแปลความหมายต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจและการกระทำของบุคคล
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน จะต้องมาจากการที่แต่ละคนฟังซึ่งกันและกันโดยที่แต่ละคนจะแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล และให้เหตุผลซึ่งกันและกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำและสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
      4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
      5. การคิดเชิงระบบ

อุปสรรคภายในองค์กร
     
เนื่องจากองค์กรของข้าพเจ้าที่ทำงานเป็นในรูปแบบที่สถาบันสำคัญทางด้านจิตวิญญาณ และทางความคิดซึ่งภาพรวมก็คือพื้นฐานของสังคมที่ดี จึงขอเสนอแนะแนวคิดเปรียบเทียบกับองค์กรโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางราชการหรือเอกชน จะมีลักษณะของปัญหาและอุปสรรคคล้าย ๆ กัน คือ
      - บุคลากรปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพราะวัฒนธรรม ค่านิยมขององค์กรเปลี่ยนแปลงยาก
      - ขาดผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
      - มี Ideaดี แต่ขาดการสนับสนุน หรือความคิดดีแต่ไม่มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อจะใช้ประโยชน์ได้จริงจากความคิดนั้น
      - มี Idea ดี แต่ผู้นำยังถืออัตตาและไม่เปิดโอกาส ใจแคบกลัวลูกน้องดีเกินหน้า

 2. จากการดู วีดีทัศน์ ได้อะไรบ้าง
     
จากการชมวีดีทัศน์การสนทนาระหว่างท่านอาจารย์จีระในเนื้อหาเกี่ยวกับ นวัตกรรม ร่วมกับคุณศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดที่คล้อยตามกับท่านทั้งสองในเรื่องการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทย

อาจารย์จีระ จะมองในแง่การนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้กับสังคม เช่นการศึกษา การปราบอาชญากรรม การเพิ่มศักยภาพของคน มากกว่า โดยมองเห็นประโยชน์ของนวัตกรรมในอันจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับคน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคน โดย

      1. การรังสรรค์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่
      2. นำไปปฏิบัติหรือดำเนินการ
      3. เมื่อนำไปปฏิบัติหรือทำแล้วต้องเป็นไปเพื่อความเป็นประโยชน์แก่ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

คุณศุภชัย นั้นจะมองในภาพของส่วนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อันเป็นแรงผลักไปสู่การพัฒนาประเทศ

ทั้งสองท่านมีแนวคิดที่จะพัฒนา และชี้ให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรม คือการกระทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ลอกเลียนแบบเขา ฝึกให้คนไทยรู้สึกคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์ นำมาศึกษาวิจัยให้ได้ผลสรุปที่ดีอันจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

      อย่างไรก็ตามการที่เราจะสร้างนวัตกรรมได้นั้น จะต้องรู้ความสำคัญและรู้จุดประสงค์ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ ต้องเข้าใจความหมายว่านวัตกรรมคืออะไร และเมื่อเล็งเห็นความสำคัญแล้วนำมาปฏิบัติแล้วต้องปฏิบัติให้เห็นผล และให้เกิดประโยชน์โดยต้องประสานเชื่อมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่เพิ่มมูลค่าและศักยภาพของบุคลาภายในองค์กรย่อยไปสู่องค์กรระดับชาติ เพื่อที่ประเทศไทยสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันกับสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ได้..

 

สวัสดีค่ะ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์            ท่านอาจารย์ผู้สอน และท่านผู้อ่าน

โดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4

สาระสำคัญของนวัตกรรม (Innovation) ที่ได้ชมจากวีดีทัศน์ ระหว่างท่านอาจารย์จีระ และท่านศุภชัย หล่อโลหะตระกูล

 

การที่เราจะทำให้เกิดนวัตกรรมได้  จะต้องมีองค์ความรู้ สนใจ ใฝ่เรียนรู้ ที่จะปรับปรุงในสิ่งที่เป็นอยู่เดิม ให้เกิดขึ้นเป็นสิ่งใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโดยเฉพาะในวงการธุรกิจระดับโลก ได้นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของเขาเกิดความแตกต่าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานบุคคล ถ้ายังคงเป็นแบบเดิมๆ ที่ผ่านมา ซึ่งไม่สนใจเรื่องของคน แต่ในโลกยุคใหม่ได้สนใจคน ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ที่จะสรรสร้างสิ่งต่างๆ มากมายให้กับโลก

สรุป  นวัตกรรม (Innovation) เป็นกระบวนการที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และวิธีการปฏิบัติงานใหม่

และนวัตกรรมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์การ

-------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอาจารย์ยม นาคสุข

และท่านผู้อ่าน

โดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4

Q1 วันนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร

                วันนี้เรียนเรื่องเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    ในศตวรรษ ที่ 21 กับเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

 

Q2 Focus การพัฒนาคนจะอยู่รอดไปในอนาคตจะมีลักษณะอย่างไร  และมีสมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจัยแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม 

 

                2.1 โมเดลการพัฒนาอบรมและพัฒนาคนเก่ง

                        1 ) ประเมินความรู้ และทักษะ  ของคนในองค์กร เพื่อคัดเลือกคนเก่งจริงๆ ออกจากกลุ่มคนประเภททั่วไป  เช่นคนเก่งกลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม A  มีจำนวน  7 คน

                        2) วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล  เมื่อได้กลุ่ม A มาแล้ว จะวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลของแต่ละคนว่า แต่ละคนมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน                       

3) วางแผนพัฒนาคนเก่ง  เมื่อได้กลู่ม A  เราต้อง

วางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพของแต่ละบุคคล  โดยการเสริมจุดเด่นให้เด่นยิ่งขึ้น และเสริมสร้างศักยภาพจุดด้อยให้หมดไป

                        4) การดำเนินการตามแผน  เช่นในกลุ่ม A มีคนหนึ่งไม่ชอบเขาสังคม   ตามแผนกำหนดการจะส่งไปสัมมนาภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้เข้าร่วม WorkShop  เพื่อให้ฝึกการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น

                        5) การประเมินสมรรถนะความก้าวหน้า  ในการประเมินสมรรถนะควาวก้าวหน้า ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะคนเก่ง  แต่จะต้องทำกับทุกคนในองค์กร  เพื่อจะได้นำผลดังกล่าวมาให้ค่าตอบแทน สร้างแรงจูงใจในเรื่องอื่นๆ  รวมทั้งการให้ออกจากงานหากสมรรถนะถดถอยลงไปต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

                2.2 สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน

                        1) สมรรถนะในการบริหารคน

                                - ทักษะในการสื่อสาร  จะต้องมีการสื่อสารทั้งสองทาง จากบนลงล่าง  จากล่างขึ้นบน  ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันในการดำเนินภารกิจขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                                - การประสานสัมพันธ์  เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง ถ้าหากคนภายในองค์กรต่างคนต่างทำ เป็นการทำงานเป็นท่อนๆ  โดยไม่มีการประสานสัมพันธ์กันแบบลูกโซ่ จะก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ

                        2) สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

                                - การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ในการบริหารงานมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โอกาส และสภาพแวดล้อมเข้ามากระทบ  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องรู้เท่าทันโลกไร้พรมแดน มิเช่นนั้น ก็จะทำให้การบริหารผิดพลาดได้

                                - การมีจิตมุ่งบริการ ในโลกไร้พรมแดนไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคเอกชน  ก็มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง  สิ่งที่เป็นเครื่องมือที่จะเอาชนะคู่แข่งได้ก็คือ การให้คนในองค์กรมีจิตที่จะบริการ

                                - การวางแผนกลยุทธ์  เป็นการกำหนดวิธีการที่ทำให้คนในองค์กรเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

                        3) สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

                                - การตัดสินใจ ในยุคปัจจุบัน ถ้าหากผู้นำองค์กรตัดสินใจผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ธุรกิจพังได้

                                - การเป็นผู้นำ  ในความเป็นผู้นำนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ มีวิสัยทัศน์ มีความรู้จริง รอบรู้ รู้ลึก ใจกว้าง และรู้จักให้อภัย ฯลฯ

                                -การคิดเชิงกลยุทธ์  ในการทำงานนั้น ถ้าหากมีการคิดแบบสมการชั้นเดียวก็จะสู้คู่แข่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ มีเทคนิค และวิธีการที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้

                        4) สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

                                -การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  เป็นการทำงานแบบคิดวิเคราะห์ถึงต้นทุน เช่น คน ทรัพยากรอื่นๆ ที่ใช้ในการลงทุน แต่ผลที่ได้รับต้องตอบสนองต่อเป้าหมายของผลงาน และโครงการ

                                - การบริหารทรัยากร  เป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็นคน สิ่งของ เงิน เทคโนโลยีต่างๆ ถ้าใช้เกินความจำเป็น จะส่งผลต่อต้นทุน และเป็นการใช้ทรัยากรอย่างไม่คุ้มค่าด้วย

                                - การบริหารแบบ CEO      ในการบริหารงานนั้น ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของประชาชน ความสุขของพนักงาน และความอยู่รอดขององค์กร

Q3  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

                       

                1. ให้มีระบบพี่ระบบพี่เลี้ยง ให้มีการสอนงาน  โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  โดยการสอนทั้งงาน และสอนเรื่องการวางตัวในสังคม

                2.  เมื่อมีการทำงานได้สักระยะหนึ่ง ต้องมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ เพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานใหม่ ให้มีความกระตือรือร้น และเสริมสร้างประสบการณ์ในการเป็นผู้นำต่อไป

                3.  มีการมอบหมายงานใหม่ให้อยู่เสมอ เป็นงานที่ท้าท้ายความสามารถ ไม่ใช่งานประจำ

                4. ในบางครั้งต้องมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการ หรือคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานภายใน หรือหน่วยงานภายนอก เพื่อเพื่อทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน หรือเรียนรู้วิธีการทำงานจากหน่วยงานอื่นๆ

                5.  มีการส่งเข้าอบรมกับหน่วยงาน เช่น อบรมพื้นฐานวิชาการควบคุมผู้ต้องขัง  การป้องกันและระงับเหตุร้าย

                6. มีการส่งเข้าอบรมกับหน่วยงานภายนอก เช่น อบรมการเจรจาต่อรองกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

                7. การฝึกให้อ่านหนังสือวิชาการทั้งของภายในและภายนอก แต่เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน เช่น การมอบให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 3 คน นำมาวิเคราะห์และประชุมร่วมกับหัวหน้า

                8. เมื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่เคยได้รับการพัฒนาและอบรมมาแล้วจนเก่ง จะให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้สอนรุ่นต่อไป เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ

                9. การเสริมสร้างความรู้ในการให้ทุกคนสมัครเรียนทาง Internet

                โดยสรุป ในการพัฒนาคนนั้น ก่อนที่จะทำการพัฒนา หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องทำการประเมินแบบ 360 ก่อน เพื่อคนหาศักยภาพที่เขามีจุดเด่นจุดด้วยส่วนใด  เพื่อที่จะได้พัฒนาได้อย่างถูกต้อง และคุ้มค่า

 

-------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Q3 อุปสรรคในการสร้าง Innovation และLearning Organization และ HR. ในระบบราชการมีอะไรบ้าง

ให้ยกตัวอย่าง

 

                       

Innovation

นวัตกรรม (Innovation) เป็นกระบวนการที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และวิธีการปฏิบัติงานใหม่และนวัตกรรมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์การ

 

Learning Organization

        องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การซึ่งปฏิบัติการอย่างดีในการริเริ่มสร้างสรรค์ การได้มาหรือครอบครอง และการถ่ายทอด ความรู้และการปรับพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อความรู้ใหม่ๆ องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ทอดลองแนวความคิดใหม่ๆ การเรียนรู้จากประสบการและข้อมูลในอดีต หรือการเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่น

 

HR.

        การบริหารทรัพยากร เป็นกระบวนการที่คัดเลือกเลือกสรร รักษา พัฒนา และใช้ประโยชน์กับคน

 

ระบบราชการ  เป็นองค์กรแบบทางการ มีข้อกฎหมายและระเบียบที่ตายตัว มีสายการบังคับบัญชาแบบแนวดิ่ง

 

                กรมราชทัณฑ์ เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีสำนัก/กอง  ไม่ต่ำกว่า 13 แห่ง  เรือนจำและทัณฑสถาน  130 กว่าแห่ง มีข้าราชการ 10,000 กว่าคน มีผู้ต้องขังไม่ต่ำกว่า 160,000 คน   ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี รวมทั้งการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับข้าราชการ   จากข้อความดังกล่าวข้างต้น สรุปปัญหาอุปสรรคได้ดังนี้

 

 

 

1. เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ส่วนใหญ่ตรากตรำกับ

การอยู่เวรยาม ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว  จนเกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ  จึงไม่มีพลังแรงใจในการที่จะสนใจใฝ่รู้ หรือสนใจอ่านหนังสือที่กรมฯส่งให้

2. ในบางครั้งก็คิดว่าวิชาชีพของตนเองต่ำต้อยกว่าเพื่อนข้าราชการด้วยกัน จึงคิดว่าตนเองไม่มีความรู้ในการถ่ายทอดวิชาการควบคุมและรักษาการณ์ให้กับรุ่นน้อง หรือรุ่นต่อรุ่น

        3. ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาในการเสนอรูปแบบการควบคุมแบบใหม่ๆ

        4. การที่มีสายการบังคับบัญชาแบบแนวดิ่ง ซึ่งมีผู้บังคับบัญชาหลายคน บางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย

        5. การไม่สนับสนุนหรือสร้างแรงจูงใจขององค์กรในการจัดให้มีงานนวัตกรรมของหน่วยงาน

        6. การไม่สนใจใฝ่รู้ของคนในองค์กร

        7. การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกไร้พรมแดน

        8. ผู้บริหารไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารแบบแนวใหม่ หรือหาเทคนิคในการบริหารใหม่ๆ มาสู่วงราชการ

        9. ความไม่เข้าใจของประชาชนทั่วไปที่กรมราชทัณฑ์ ได้ปรับเปลี่ยนระบบ การสมัครข้าราชการทาง Internet  หรือการเยี่ยมญาติทาง VDO Conference

-----------------

 

ฉลอง บ่มทองหลาง ตัวแทนกลุ่ม

กราบเรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ เพื่อนๆ รปม. ผู้อ่านทุกท่าน

วันนี้เป็นวันสิ้นสุดการเรียนการสอนกับอาจารย์ จีระ  พร้อมคณะ ของท่าน ตั้งแต่วันที่ 3 -24 ก.พ.คณะของอาจารย์จะรได้มาสอนให้ Innovation  ใหม่ๆ กับนักศึกษา เป็นอย่างมากได้ให้แนวทางในการดำเนินชีวิต แนวทางในการคิดทำในสิ่งใหม่ๆ ทำอะไรไม่ซ้ำซาก ให้คิดนอกกรอบพยายามที่นำความรู้เหล่านี้ให้ตกผลึกจงได้ แล้วนำไปใช้กับการทำงานต่อไป..

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ

- ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง

- ความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดได้อย่างไรในแต่ละขั้นตอน

ความคิดสร้างสรรค์  คือ อยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ เพื่อจะได้เพิ่มศักยภาพต่อระบบราชการ ถ้าคนเรามีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการรับในสิ่งใหม่ๆ ความคิดริเริ่มจะมีในตัวตนของเรา

จะเกิดขึ้นได้โดยที่ผู้ที่เป็น GM   จะต้องให้ความสำคัญด้วย  ในระบบต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ในระบบราชการความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีผู้บริหารระดับสูง Leadership ผลักดัน และเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ไปศึกษาจากภายนอก เพื่อนำมาผลักดันให้หน่วยเกิดการพัฒนาต่อไป

ความคิดสร้างสรรค์ ( Grativity ) จะเกิดขึ้นได้ในระบบราชการ  วันนี้กลับไปคิดดูอีกที่ว่า ทำไมระบบราชการบ้านเราถึงใหญ่โตเช่นนี้ ได้คำตอบในใจอยู่แล้วว่า ระบบราชการที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ที่ใหญ่โตมันเกิดมาจากสายงานที่ซ้ำซ้อน มีการบังคับบัญชากันหลายชั้น ซึ่งการปกครองในภาคนี้ดูแลไม่ทั่วถึง เมื่อการดูแลไม่ทั่วถึงแล้วทำให้ข้าราชการขาดประสิทธิภาพในการทำงาน  ปัญหาไม่ใช่จะเกิดเฉพาะระดับหัวหน้า ในระบบราชการส่วนใหญ่แม้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้าย เพื่อกำหนดทิศทางขององค์การ แต่ผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลไม่ควรแต่เพียงทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการทำงานสายปฏิบัติการเท่านั้น  ในทางปฏิบัติ ผู้บริหารทรัพยากรบุคคลควรจะมีคณะกรรมการ หรือชุดทำงาน ซึ่งเป็นความจำเป็นที่จะต้องกำหนดและตระหนักในบทบาทของผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลในการทำงานขององค์การนั้น หรือหน่วยงานราชการนั้น ที่จะนำปัญหาของบุคคล และปัญหาในหน่วยงานมาบูรณาการเข้าด้วยกันที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบหรือการแข่งขัน เพื่อนำมาประเมินบทบาทและพัฒนาปรับปรุงการบริการ หรือการบริหารจัดการเสียใหม่

จุดอ่อน.

    - ข้าราชการทำงานหน้าเดียว ไม่ตื่นตัว รู้ทันโลก ไม่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ

            - ข้าราชการรับคำสั่งแบบ top down

            - ข้าราชการไม่ชอบที่จะคิดทำงานนอกกรอบ  

            

 จุดแข็ง

-        ระบบราชการใหญ่

-        การทำงานเป็นระบบ

-        มีงบประมาณที่ลงตัว

-        มีสวัสดิการมั่นคง

           

 

กรณีศึกษา สถานีดับเพลิงสามเสน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เดิมข้าราชการ -ไม่ได้ออกพบปะประชาชน ชุมชนในพื้นที่   

                   รับผิดชอบ 

               -ไม่ได้ออกแนะนำการใช้เครื่องดับเพลิงที่ชุมชนมีอยู่

 -ไม่ได้ออกให้ช่วยเหลือ ประชาชนเมื่อมีเหตุ สาธารณภัย

              -การทำงานของพนักงานดับเพลิง 24 ชม.ไม่มีเวลาพักผ่อน

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ มีขั้นตอนอย่างไร

 

1.  โดยการอบรมให้พนักงานได้เพิ่มความรู้และทักษะ เพิ่มความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มการเข้าถึงประชาชน ให้คำแนะนำการใช้เครื่องดับเพลิงในชุมชนที่เป็นจุดเสี่ยง  ออกให้ความช่วยเหลือ เมื่อเหตุสาธารณภัย ไม่ว่าจะเป็น การตีต่อ จับสัตว์เลื้อยคลาน ต่างๆ

2. จัดเวรการทำงานให้เจ้าหน้าที่ได้พักผ่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจากการทำงาน

3. ส่งพนักงานดับเพลิงฝึกทบทวนทักษะในการทำงาน ฝึกการเรียน นวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การใช้ระบบ ไอที การอ่านแผนที่ ระบบGIS สิ่งเหล่านี้กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะนำหน่อยให้เป็นที่รู้จักของประชาชน ในภาพดีมากขึ้น.

  สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

3.       น.ส. นงนุช บัวขำ                       50038010012

4.       น.ส. ญานิสา เวชโช                   50038010013

5.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ             50038010023

6.       น.ส. วิจิตรา  จุลกรานต์               50038010028       

 7.      น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร               50038010035

8.       นาง กัณจนา  งามน้อย                50038020006

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง             50038020010

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ข้อที่ 1  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการว่ามีอะไรบ้าง

 

        ดิฉันขอยกปัญหาอุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการว่ามีอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นขออธิบายความหมายของคำต่างๆ ดังนี้

 

 “Innovation” หมายถึง สิ่งใหม่ วิธีการใหม่ ความคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมๆ กันแล้ว หมายถึง นวัตกรรม (Innovation) เป็นความใหม่ที่มีประโยชน์กว่าของเดิม

 

“Learning Organization หมายถึง องค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

 

“HR” (Human Resource) หมายถึง การบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา จูงใจ และเก็บรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

          

        ในทุกวันนี้ แนวคิดและเทคนิคการปฏิบัติงานใหม่ๆ ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ได้เกิดขึ้นในองค์กรเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานระบบใหม่ ซึ่งปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ ทำให้องค์กรนั้นๆ ไม่มีการพัฒนา

 

ปัญหาอุปสรรคในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของระบบราชการ เกิดขึ้นจาก

1.      วัฒนธรรมขององค์กร

2.      ขาดภาวะผู้นำ

3.      ผู้บริหารบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ

4.      บุคลากรไม่เปิดใจรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

5.      การหวงความรู้

       

        จากอุปสรรคที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดิฉันสรุปได้ว่า นวัตกรรมจะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาวะผู้นำที่กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยนแปลง บวกกับการบริหารจัดการในการกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานให้ความร่วมมือร่วมใจ พร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆ กันอย่างรวดเร็วแต่มีความมั่นคง และองค์กรใดที่จะพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง จึงจะถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่ไม่สูญเปล่า

 

ข้อที่ 2  ดูเทปการสนทนา Innovation ระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ คุณศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

        ตามที่ได้ดูเทปการสนทนาของทั้งสองท่าน ดิฉันพอจะจับใจความได้ว่า งานของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเป็นงานต้นน้ำ คือเป็นผู้ริเริ่ม ส่วนงานของคุณศุภชัย หล่อโลหการ จะเป็นงานปลายน้ำ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งคุณศุภชัย ได้แบ่งนวัตกรรมออกเป็น 3 อย่างคือ

1.      นวัตกรรมที่สำคัญคือ ทำไมต้องทำ

2.      การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องเป็นแบบใหม่

3.  การปฏิบัติจะขาดคนนำนวัตกรรมไม่ได้ เพราะเป้าหมายขึ้นอยู่กับกระบวนการปฏิบัติและการตัดสินใจที่จะให้คนอื่นยอมรับหรือเห็นด้วย

 

    นอกจากนี้ คุณศุภชัย ยังกล่าวอีกว่า นวัตกรรมนั้นจะย้ำอยู่กับที่ไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้แต่นักร้องยังต้องใช้นวัตกรรม หรือแม้กระทั่งสังคมและการศึกษายังต้องมีอะไรใหม่ๆ เพื่อจะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ ดังนั้น การสร้างนวัตกรรมต้องเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างถึงจะสำเร็จ การสร้างนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเข้าห้องแล็ป เพราะไม่ใช่วิจัย แต่การสร้างนวัตกรรม คือ ต้นน้ำ เพราะเป็นการให้ความรู้ และปลายน้ำ คือการนำไปทำจริงๆ นั่นเอง

เรียน อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

  
      จากการเรียนในวันเสาร์ ที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ที่ผ่านมาผมได้เรียนและเกิดความรู้อันจะนำมาพัฒนาตนเองในการที่จะปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงาน น้ำเสียงอาจารย์เรียบ ๆ แฝงด้วยความน่ารักฟังแล้วรู้สึกอบอุ่น ซึ่งจากการเรียนทำให้ได้เรียนรู้ เนื้อหาที่พอสรุปเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้
      การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นั้นมีความสำคัญ เพราะคนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในความก้าวหน้าหรือล้มเลวขององค์การ ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์ต้องต้องมั่นใจว่าได้คนที่ดี ที่เก่ง มีความสามารถเข้ามาทำงานอยู่ในองค์กร โดยมีวิธีการคัดสรรและการประเมิน

คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากรเข้าทำงาน
      - ภาวะผู้นำ  มีภาวะผู้นำหรือไม่ มีการตัดสินใจที่ดี มีการเห็นอกเห็นใจลูกน้อง เป็นต้น
      - การสื่อสาร อาจารย์แนะว่าบางทีต้องเอาโหรศาสตร์มาเป็นตัวช่วยบ้าง
      - ศักยภาพการเรียนรู้
      - พลังในการทำงาน มีความกระตือรือร้น หรือไม่ มีแรงจูงใจ มีเป้าหมายในการทำงานหรือไม่
      - การทำงานเป็นทีม รู้จักทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ one man show
      - การบริหารจัดการในเรื่องงาน เป็นต้น ฯ 

โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่งด้วยรูปแบบ 5 รูปแบบ คือ
      - การประเมินความรู้และทักษะ ว่าเขามีความสามารถและถนัดด้านไหน เก่งเรื่องอะไรเพื่อจัดสรรงานให้ถูกตามความสามารถและความรู้ที่เขามี
      - การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ
      - การวางแผนพัฒนาคนเก่ง ด้านความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ
      - การดำเนินการตามแผน
      - การประเมินความก้าวหน้า ติดตามผลว่ามีความคืบหน้าพัฒนาขนาดไหน

หลักการรักษา คนเก่ง ให้มีความรักองค์กรต้องอาศัย "CARE MODEL"  คือ

      - C คือ Creative Community หมายถึง การสื่อสารสองทางอย่างสร้างสรรค์
      - A  คือ  Atmosphere and Appreciation for All หมายถึง บรรยากาศและการชื่นชม
      - R  คือ  Respect and Reason for Being หมายถึง ความเคารพ และความมีเหตุมีผลในการอยู่ร่วมกัน
      - E  คือ  Empathy and Enthusiasm หมายถึง ความเห็นอกเห็นใจให้กำลังใจต่อกัน ส่งเสริมผลักดันให้กระตือรือร้นในการทำงาน 

ในช่วงบ่าย อาจารย์ได้สอนถึงกลยุทธ์ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้
เหตุผลของการที่องค์กรต้องวางแผนกลยุทธ์
      - มีการแข่งขัน
      - มีการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
      - ต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์กับ 5 C

      C 1  :  Context   กลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับบริบท  เช่น  การเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  และความต้องการของภาครัฐ
      C 2  : Change  กลยุทธ์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง
      C 3  : Competition การวางกลยุทธ์เป็นการกำหนดกลวิธีในการรักษาความได้เปรียบ
      C 4  : Customer แสวงหาลู่ทางในการตอบสนองลูกค้า
      C 5  : Competency ความสามารถในหาข้อมูลต่างๆ

การคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์
      1) ถ้าท่านเป็นลูกค้า  ท่านต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
      2) ถ้าจำเป็นต้องแข่งขัน  ผลการแข่งขันอยากให้เป็นอะไร
      3) ท่านอยากให้หน่วยงานเลิกทำกิจกรรมอะไร

ความสำคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์

      1) ปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้บริโภค
      2) การเพิ่มขีดความสามารถ (สมรรถนะ) หรือ Competency  ของคนในองค์กรในการแข่งขัน
      3) การสร้างความสัมพันธ์หรือการสร้างพันธมิตรที่ดีภายในและภายนอกหน่วยงาน
      4) การกำหนดเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน

คุณค่าของการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นประโยชน์ต่อ  : -

      1) กำหนดทิศทางขององค์กร
      2) เสริมความมุ่งมั่นของคนในองค์กร
      3) สร้างความสอดคล้องในวิธีการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      4) สร้างศรัทธาและเชื่อมั่นต่อลูกค้าหรือผู้รับบริการ

สรุป

Why?  ทำไมต้องพัฒนาทุนมนุษย์
       เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา องค์กรที่สามารถปรับตัวได้เร็ว จะในปัจจุบันเป็นการบริหารแบบผู้เชี่ยวชาญการบริหาร (Administrative expert) และผู้ชี้นำให้พนักงานบรรลุสู่ความสำเร็จ (Employees' champion) ซึ่งเน้นที่งานประจำวัน สามารถซื้อบริการจาก outsource ได้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ต้องสามารถอยู่รอด สำเร็จ และยั่งยืน การเพิ่มทุนมนุษย์เป็นการเพิ่มสมรรถนะขององค์กร องค์กรต้อง Rethinking เกี่ยวกับธุรกิจ กลยุทธ์ การตลาด หลักการ การบริหารจัดการ และภาวะผู้นำ

What?  ทุนมนุษย์คืออะไร

       ทุนมนุษย์ คือ สมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและองค์การ
ทุนมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนทุนอื่นๆ ในองค์การทั้งทุนนวัตกรรม ทุนกายภาพและทุนลูกค้า
How?  การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นแบบพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic partner) ซึ่งเน้นที่อนาคต/กลยุทธ์ ด้านกระบวนการ ส่วนบทบาทของนักบริหารจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ซึ่งเน้นที่อนาคต/กลยุทธ์ ด้านคน

..ท้ายสุดต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้มาสอน เสนอแนะแม้ผมจะไม่ได้อะไรหรืออาจจะไม่ได้พัฒนาตนเองให้ได้เทียบเท่ากับที่อาจารย์คาดหวัง อย่างน้อยก็ได้รู้อะไรเพิ่มมากขึ้น น้อยสุดก็คือวิธีการเขียนคำตอบว่าต้องประกอบด้วย การเปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง แล้ววิเคราะห์วิจารณ์ ขอบคุณครับ..
 

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัส 50038010012

 

สวัสดีค่ะ     ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม  นาคสุข คณะทำงานและท่านผู้อ่านทุกท่าน

 ถาม   เรียนอะไรบ้าง

ตอบ  การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ , การนำ HCM ไปพัฒนางานในองค์การ , ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ , ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ , ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 , โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง , สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน , วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

 ถาม   เรียนแล้วได้อะไรบ้าง

ตอบ  รู้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำคัญเพราะเป็นการพัฒนาคน เมื่อคนเก่ง งานก็ดี องค์กรก็ดี

 รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" 5 ขั้นตอน แต่อาจารย์ยม ต่อยอดข้อที่ 6 คือ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 สามารถสร้างทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จได้ คือ ด้านซ้ายมือเป็นปัญหา ด้านขวาเป็นความสำเร็จ เช่น ซ้ายศึกษาต่ำ ขวาสร้างโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น

 ได้ปรัชญาคือ ชีวิตคือความก้าวหน้า รักความก้าวหน้าจงหมั่นศึกษาตลอดชีวิต

ขอขอบคุณ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม  นาคสุข คณะทำงานและท่านผู้อ่านทุกท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท