สวนสุนันทา MPA รุ่น 4


สวนสุนันทา MPA รุ่น 4

 

                ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้รับเชิญสอนวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์แก่นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตร MPA ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเป็นรุ่นที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 3-24 กุมภาพันธ์ 2551

                ในการนี้ จึงได้จัดทำblogนี้ให้นักศึกษาและผู้สนใจร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 163250เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (376)
นางสาวสถิภรณ์ คำพานิช
ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                                                                                โดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4                               หน่วยงานของภาครัฐ  ได้แก่ กระทรวง  ทบวง  กรม   หรือหน่วยงานภาคเอกชน  ได้แก่  สถาบันทางการเงิน  สถาบันทางการศึกษา  ธนาคารพาณิชย์  บริษัท  ห้างร้านต่างๆ  ย่อมต้องมีการจัดองค์การให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน  โดยการจัดองค์การนั้นจะเป็นในรูปแบบทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ เช่น ผู้บริหาร ขนาดและโครงสร้างองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรและปัจจัยภายนอก  เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร                                ในเรื่องนี้ผู้ศึกษา มีความเห็นว่าสามารถ แบ่งออกเป็น 2 มิติใหญ่ๆ  ดังนี้                                1) มิติที่ 1   ระดับประเทศ                                                    รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย  และออกข้อกฎหมายต่างๆ ให้มีผลบังคับใช้กับคนในประเทศ  ดังเช่น  กรมสรรพากร มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี เพื่อเป็นรายได้ของแผ่น  ในการนำเงินดังกล่าวไปบริหารจัดการประเทศ  ได้แก่  ด้านการศึกษา  ด้านสวัสดิการ ด้านสาธารณสุขรวมถึงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก  เช่น โครงการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน  ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้เอง  เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ จำเป็นต้องให้ภาคเอกชน เข้าร่วมดำเนินการ                                 2) มิติที่ 2  ระดับหน่วยงาน                                                    กรมราชทัณฑ์ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมผู้ต้องขังไม่ให้หลบหนี  และการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี  เมื่อพ้นโทษแล้วสามารถกลับไปอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข   ในการบริการจัดการเรือนจำและทัณฑสถานนั้น  เป็นการดำเนินงานภายใต้ข้อกฎหมายหลายฉบับ  ดังเช่น                                                   1)  ด้านการลงทุน   ในการก่อสร้างเรือนจำและทัณฑสถาน  นั้น ต้องมีการประกวดราคา  ซึ่งผู้เข้ามาดำเนินการก็จะเป็นหน่วยงานของภาคเอกชน                                                    2)  ด้านอาหาร   ในการจัดซื้ออาหารผู้ต้องขัง ก็ต้องมีการตกลงราคา หรือประกวดราคา ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวงเงินตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535                                                   3) ด้านการเงิน   เรือนจำและทัณฑสถาน  ต้องนำเงินสด  ที่ได้มาจากเงินฝากผู้ต้องขัง  เงินที่ได้จากการขายสินค้า  โดยนำเข้าฝากกับธนาคารพาณิชย์ ตามหนังสือสั่งการกระทรวงการคลังกำหนด                                                    4) ด้านการบริหาร  สำนักงาน ก.พ.ร.ร่วมกับบริษัท TRIS  ในการติดตามตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนราชการ  โดยการว่าจ้างบริษัท TRIS จะเข้ามาตรวจสอบผลงานที่กรมราชทัณฑ์  และส่วนราชการอื่นๆ                                                    5) ด้านการฝึกอาชีพ  กรมราชทัณฑ์ สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมา   ลงทุนภายในเรือนจำ  เช่น ผู้ประกอบการนำพลอยมาให้ผู้ต้องขังเจียระไนภายในเรือนจำ  ทั้งนี้  เป็นการเซ็นสัญญาจ้างระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน                                                   6) ด้านการศึกษาอบรม  กรมราชทัณฑ์ ว่าจ้างบุคลากรจ้างหน่วยงานภายนอกมาสอนหนังสือให้กับเจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขัง
นางสาวสถิภรณ์ คำพานิช (ตัวแทนกลุ่มที่ 4)
รายงานสรุปบทสัมภาษณ์ท่านอาจารย์พารณ   อิศรเสนา ณ อยุธยา

ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ผู้ร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย

1. นางสาวสถิภรณ์   คำพานิช

2. นางสาวอรทัย    บุณยรัตพันธ์

                                3. นางจารุวรรณ ต้นไชย                                4. นางสาวภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน                                5. นางสาวพิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน                                6. นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์                                7. นางสาวจุไรรัตน์ เปลี่ยขำ                                8. นายสรสิช  ตรีเนตร                                 จากบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ทำให้นักศึกษากลุ่มที่ 4 ได้รับทราบว่า  การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น ต้องให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ   ให้เกียรติทางด้านความคิดเห็นของผู้ร่วมงานทุกคน     สนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการทำงาน  การตัดสินใจ  ตลอดจนมีการอบรม พัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ให้ทันต่อยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา  เช่น  การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการการทำงาน  รวมตลอดถึง  การที่ผู้บริหารระดับสูงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในการทำงาน                                ดังนั้น  เมื่อพิจารณาแล้วสามารถแบ่งหลักแนวคิดของท่านอาจารย์พารณ ฯ  ได้ออกเป็น  3  ด้าน  ดังนี้                                1) ด้านบุคคล                                    1.1 ให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับผู้บริหาร หรือระดับปฏิบัติงาน                                    1.2 ให้บุคลากรทุกคนมีความยึดมั่นในอุดมการณ์ขององค์กร                                      1.3 สนับสนุนให้บุคลากรทุกคน มีความเชื่อมั่นในการทำงาน  และสร้างความเชื่อมั่นให้กับบุคคลภายนอกได้รับทราบด้วย                                    1.4  บุคลากรต้องมีความรักสามัคคี และจงรักภักดีต่อองค์กร                                    1.5  การลงทุนกับคนเป็นเรื่องสำคัญ  เพราะคนต้องมีการเพิ่มความรู้ เพิ่มทักษะ และประสบการณ์การทำงาน จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นบุคคลกรที่มีคุณภาพ  ส่วนการลงทุนในด้านวัสดุอุปกรณ์  เมื่อเวลาผ่านไปจะเสื่อมคุณค่าลง                                2) ด้านการบริหาร                                    2.1 ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน  เพื่อให้การบริหารทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาผู้บริหาร ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ ทั้งในด้านคุณธรรม และจริยธรรม  รวมถึง ในเรื่องของการทำงาน                                    2.2 ต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงาน   เช่น  คอมพิวเตอร์                                    2.3 ต้องให้บุคลากรยึดมั่นในวัฒธรรมองค์กรในเรื่องของ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเรื่องความโปร่งใสในการทำงานด้วย                                3)  ด้านองค์กร                                     3.1  ในการบริหารงานองค์กรขนาดใหญ่  สิ่งที่สำคัญคือ การติดต่อสื่อสารต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  เมื่อองค์กรขนาดใหญ่มีสายการบังคับบัญชาที่ยาว จำเป็นยากยิ่งที่ต้องลดสายการบังคับชาลงในสั้น  และต้องมีการมอบอำนาจให้กับบุคคลที่พิจารณาแล้วว่าสามารถทำงานให้กับองค์กรได้                              3.2 องค์กรที่ดีต้องเป็นแบบแนวราบ  เพื่อสะดวกในการบริหารงานและการติดต่อสื่อสาร   ซึ่งจะตรงกันข้ามกับองค์กรแบบแนวดิ่ง                                3.3  การสร้างคนในองค์กรจะต้องสร้างทั้งระบบ มิใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กร
ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ
ความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนับวันจะมีความจำเป็นที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นทุกขณะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์(Globalization) ที่ต้องมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งจากหน่วยงาน  องค์กร  ภาครัฐ  และเอกชน  ทั้งในระดับประเทศ  และต่างประเทศ  ซึ่งความเชื่อมโยงดังกล่าว  ยิ่งมีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์มีการปรับเปลี่ยน หรือเปลี่ยนแปลงมากเท่าใด  ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะได้รับก็จะมากมายมหาศาลเป็นเงาตามตัว  คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า  ในปัจจุบันการบริหารจัดการขององค์กรภาครัฐยังนับว่าด้อย  และยังเป็นรองภาคเอกชนอยู่มากอาทิเช่น  โรงเรียน  วิทยาลัยเป็นต้น  ซึ่งถ้าหากภาครัฐยอมเลือกที่จะใช้นโยบายและระบบการบริหารของภาคเอกชนเข้ามาบูรนาการบ้างก็จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด  และผลลัพธ์ก็จะตกกับประชาชน  และประเทศชาติบ้านเมืองในที่สุด  ขอยกตัวอย่างเช่นการเอ็กปอร์ต  อิมปอร์ต การส่งออก  นำเข้า  หากมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในระบบของศุลกากรให้ดีขึ้นและรัดกุม  สะดวกและรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในอดีตก็จะทำให้ภาคการส่งออกของเราดีขึ้น  ผู้นำเข้าและส่งออกได้รับความสะดวกไม่ต้องอาศัยโบรคเกอร์หรือคนกลางทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นและผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะตกกับประเทศชาติบ้านเมืองอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่าที่เป็นมาในอดีต  ซึ่งนั่นหมายถึงเมื่อภาคเอกชนไปไม่ถึงดวงดาวหรือไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควรก็ย่อมส่งผลถึงประเทศชาติ  และประชาชนในที่สุด                ราชการควรทำองค์กรของตนเองให้เหมือนกับภาคเอกชน คือมีความคล่องตัว  ลดทอนสายงาน  หน้าที่ ความรับผิดชอบ  และการตัดสินใจให้แคบลง  และคัดสรรบุคลากรที่มีประสิทธิภาพสูง  แม้จะมีเงินเดือนสูง  แต่ก็คุ้มค่าได้งาน  ไม่ล้าหลังหรือล่าช้า  เรียกว่ายอมเสียเงินจ้างคนดีๆสักคนสองคนดีกว่าจ้างควายสิบตัวที่โง่เขลา                ราชการควรทำตัวให้เหมือนนักบริหารชั้นยอดของภาคเอกชน  ซึ่งได้รับการยอมรับ  ไม่ใช่ผูกติดอยู่กับระบบเจ้าขุนมูลนาย  หรือคลั่งไคล้ในตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์  ระบบ ซี ซึ่งมิอาจจะล่วงล้ำกันได้  อาทิเช่น  ระบบของผู้ว่าราชการในอดีตซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตนเอง ให้เสมือนผู้จัดการหรือนักบริหารระดับมืออาชีพ  มากกว่าที่จะพยายามทำตัวเป็นเจ้าเมือง  เจ้านายที่ใครๆต่างต้องเข้ามากราบกราน  และมิอาจที่จะแสดงความคิดเห็นหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  แต่ควรจะกระจายอำนาจไปให้ทั่วถึง  โดยเฉพาะการบริหารงานแบบแนวนอนที่ต้องเข้าถึงประชาชน  ซื้อใจผู้คนด้วยพระคุณมิใช่พระเดช                 ระบบราชการในอดีตส่วนใหญ่ปูนบำเหน็จรางวัลโดยอาศัยเครื่องมือวัดจากระยะเวลาของการทำงาน  ระบบอุปถัมภ์  มากกว่าจะวัดกันที่ผลงาน  ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลของเนื้องานที่ออกมาอันมีผลมาจากระบบ หรือวิธีคิดแบบเดิมๆซึ่งตั้งแต่ก้าวแรกของการเข้ามาทำงานก็หนีไม่พ้นระบบอุปถัมภ์อันเปรียบเสมือนวัฒนธรรมดั้งเดิมของระบบราชการไทยนั่นเอง  จริงอยู่แม้ระบบราชการเมื่อมิอาจจะบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วองค์กรภาครัฐจะไม่เจ๊งทันตาเหมือนภาคเอกชนแต่แม้วันนี้ยังไม่เจ๊งวันข้างหน้าก็ต้องเจ๊งอยู่ดี หากไม่กู้สถานการณ์ด้วยการส่งเสริมความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  หรือมิเช่นนั้นก็ต้องหาวิธีเชิญออกหรือไล่ออกแล้วนำผู้มีความรู้ความสามารถอย่างจริงจังเข้ามาแทน                ระบบราชการจริงอยู่แม้จะไม่มุ่งเน้นที่ผลกำไรเหมือนภาคเอกชน  แต่ระบบราชการก็ต้องมุ่งเน้นที่ความผาสุกของประชาชนซึ่งนับเป็นผลกำไรและความเลอเลิศของทางราชการ  โดยทั้งหลายทั้งปวงควรมีการจัดสรรการทำงาน  ระบบงานที่ดี  มีสวัสดิการ  การประกันสังคมเป็นเลิศผู้บริหารควรมีความตั้งใจ  จริงใจ  รักที่จะทำงาน  รักองค์กร  รักในเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศชาติบ้านเมืองมากกว่าสิ่งอื่นใด  ไม่มุ่งเน้นที่จะกอบโกยแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง  ครอบครัว  หรือพวกพ้อง  แม้กฎหมายจะมีช่องโหว่ให้ทำได้ก็ตามขณะเดียวกันภาคเอกชนควรที่จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมด้วยเช่นกัน  เสมือนดังเช่นภาครัฐที่วางกฎระเบียบเอาไว้อย่างรัดกุม  อาทิการที่ต้องจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย โดยมิอาจจะหลบเลี่ยงได้อย่างภาคเอกชนที่กำลังฮือฮากันอยู่ดังเช่นทุกวันนี้  หรือผลกำไรที่ภาคเอกชนได้รับก็ควรนำมาแบ่งปันให้กับสังคมอย่างเป็นรูปธรรมในอัตราส่วนที่ควรจะเป็น  แต่จะอย่างไรก็ตามแม้ความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสององค์กรคือทั้งภาครัฐและเอกชนจะมีการปรับเปลี่ยนหรือบูรนาการกันอย่างไรก็ตาม  จรรยาบรรณของนักบริหารตลอดจนบุคคลากรจะต้องยึดมั่นในเรื่องคุณธรรม  ศีลธรรม  จริยธรรม  ความยุติธรรม  เที่ยงธรรมอย่างเคร่งคัด  อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้าและเสถียรภาพอันนำมาซึ่งความสุขอย่างแท้จริง

ความเห็นของนักศึกษา

 

เปรียบเทียบระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน

 

1.       เอกชนมีความคล่องตัวกว่าราชการ

 

2.       ทั้งภาครัฐและเอกชนมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น การสรรหาบุคลากร  การรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ ฯลฯ

 

3.       เป้าหมายของราชการและเอกชนต่างกันเอกชนเน้นกำไร แต่ราชการไม่เน้นกำไร

  

4.       ทั้งรัฐและเอกชนต้องคำนึงถึงการวางแผนยุทธศาสตร์ให้ไปสู่เป้าหมาย

 

 

5.       ทั้งรัฐและเอกชนคำนึงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชน แต่ทำกันคนละรูปแบบ

 
ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ (ตัวแทนกลุ่มที่ 1)
1. พระนิธิสิทธิ์                     นอขุนทด2. ดาโต๊ะ  อิหม่ามพัฒนา  หลังปูเต๊ะ3. ด.ต. ณรงค์                        พึ่งพานิช4. พ.ต.หญิงประไพศรี        บุญรอด5. นางนพมาศ                      แก้วแหยม6. นางสาวสุภานุช              นุพงค์7. นางสาวดนิตา                  มูลละออง8. นางดวงตา                        ม่วงเกตุยา9. นายอรุณ                           สุขสมบูรณ์วัฒนา                 สาระสำคัญที่ได้จาการชมวีดีโอสัมภาษณ์คุณพารณ อิศรเสนา  ณ อยุธยา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้  เหนือสิ่งอื่นใด  ในเรื่องของการบริหารองค์กร  จำเป็นต้องยึดมั่นในความศรัทธา  เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของทุกๆ คนในองค์กรทั้งจากผู้บริหารที่อยู่ในระดับสูง และระดับล่าง  โดยมีความรัก ความผูกพัน  ความจงรักภักดี  ความสามัคคี  เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงและการสร้างสรรค์ของงาน ผู้บริหารต้องมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในความรู้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา  และการตัดสินใจของเขาได้ในระดับหนึ่ง  ถึงแม้ว่ากลุ่มคนระดับล่างจะมีมาตรฐานดังกล่าวที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งใจ  ก็สามารถฝึกอบรมให้ความรู้และทำให้เขานำพรสวรรค์ในตัวของเขาออกมาทุ่มเทให้กับองค์กรได้  คนไม่เหมือนเครื่องจักรซึ่งเครื่องจักรนั้นนานวันไปมีแต่จะด้อยคุณค่า  ด้อยประสิทธิภาพ  แต่คนยิ่งนานวันไปยิ่งสร้างสรรค์ความรู้ความสามารถและประสบการณ์  ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนา  ทางด้านเทคโนโลยีให้ควบคู่กันไปด้วย  เพื่อให้ก้าวทันกับการแข่งขันของธุรกิจ  ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก  ซึ่งถ้าหากระบบของการบริหารจัดการได้ดี   แม้ว่าองค์กรนั้นจะยิ่งใหญ่สักเพียงใด   ก็สามารถที่จะบริหารได้โดยง่าย  ใช้ระบบทรัพยากรบุคคลให้น้อย  แต่ประสิทธิภาพในขณะเดียวกันก็จัดระบบงานให้ตัดทอนสั้นลง   โดยอาศัยการกระจายอำนาจและการตัดสินใจให้ทั่วถึง  โดยไม่ต้องรอฟังการตัดสินใจแต่หัวหน้าระดับผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว  และทีสำคัญการยึดมั่นในกฎระเบียบ  วินัยนั้น  ทุกคนควรจะยึดถืออย่างเคร่งครัด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ระดับผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา  ระบบของการบริหารก็ควรมุ่งเน้นคุณธรรมเที่ยงธรรม  จริยธรรม และทำให้ทุกคนในองค์กรมีความรักในองค์กร เช่น  มีเงินกองทุนประกันสังคม  ค่ารักษาพยาบาล  ค่าเล่าเรียนบุตร ไม่ว่าจะตำแหน่งอะไรก็เบิกได้ตามสิทธิ เป็นต้น
นางสาวศศินี โพธิ์ทอง
โดย นางสาวศศินี  โพธิ์ทอง รหัส 50038010030 เลขที่ 29 นักศึกษา รปม. รุ่นที่ 4  ข้อ 1 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร            1. เป็นองค์กรที่นำคนจำนวนหนึ่งมาอยู่ร่วมกันในสถานที่หนึ่งๆ ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำบางสิ่งบางอย่างที่มีจุดหมายเดียวกัน                2. เป็นการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของคนในองค์กร เพราะองค์กรต้องมีบุคลากรเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน สามารถกำหนดได้ว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ถึงแม้จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ตาม คนก็ยังต้องเข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ ด้วยเช่นกัน 3. ต้องการให้บุคลากรมีความสามารถ มีการพัฒนาในสายงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้องค์กร               ประสบความสำเร็จ ดังนั้นในแต่ละองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับ เพื่อให้การทำงานขององค์กรมีการประสานไปในแนวทางเดียวกัน  ดังนั้นการดำเนินงาน ในทุกขั้นตอนจึงต้องอาศัยบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ4. มีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่นภาครัฐ มีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของรัฐบาลภาคเอกชน มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ5. ภาครัฐมีเป้าหมาย คือ ต้องการให้ประชาชนมีความอยู่ดี มีสุข เพราะประชาชนเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้แก่ภาครัฐ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องได้รับสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่า (ประชาชนเป็นลูกค้าของภาครัฐ) , ภาคเอกชนมีเป้าหมาย คือ ต้องการให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานที่ดีที่สุด ดังนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็ต้องการให้ลูกค้าได้รับสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดเหมือนกัน6. มีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนของคนในองค์กร ได้แก่ ค่าจ้าง เงินรางวัล ประกาศเกียรติคุณต่างๆ  การได้รับการยอมรับในองค์กร เป็นต้น
พ.ม. วิทยา นางวงค์ รปม. รุ่น ๔ (ม.สวนสุนันทา)

หัวข้อ ภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมโยงกันอย่างไร ฯ

 ความเชื่อมโยงกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนั้น แน่นอนว่า ทั้งสององค์กรนี้ย่อมแยกจากกันไม่ได้  ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อันเนื่องมาจากที่ รัฐบาลกับภาคเอกชน ในเวลาที่จะกำหนดนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ  ก็ต้องร่วมมือกันกับภาคเอกชนหรือผู้มีความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ ในการกำหนดนโยบาย การกำหนดราคาสินค้า การตรึงราคาสินค้า การจดทะเบียนขึ้นทะเบียนต่าง ๆ การนำเข้า การส่งออกทั้งภายในและภายนอกประเทศ ฯลฯ  ในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมดภาคเอกชนก็ต้องอาศัยภาครัฐทั้งนั้น ฯ
    เช่น ในเรื่องของการกำหนดราคาสินค้านั้น เอกชนไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าเองได้ ราคาสินค้าจะถูกหรือแพงขนาดไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาล หากรัฐบาลไม่อนุมัติ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลแล้ว ก็ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ ดังในเรื่องของราคาน้ำมันพืช ราคาสินค้าเครื่องอุปโภค ผู้ผลิตจะไม่สามารถขึ้นราคาตามความพึงพอใจของตนได้ รัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดราคาให้เป็นไปตามความเป็นจริง ทั้งนี้ที่รัฐเข้ามาควบคุมดูแลนี้ก็เพราะคำนึงถึงส่วนรวมเป็นหลัก คือ ประชาชนส่วนใหญ่ โดยที่รัฐจะไม่ทำให้กระทบทั้ง  ๒  ฝ่าย  คือ ฝ่ายผู้ผลิตเองก็ต้องจำหน่ายออกในราคาที่เป็นกลาง ไม่เอารัดเอาเปรียบประชาชน โดยการควบคุมของภาครัฐ  เพราะถ้าราคาสินค้าแพงเกินไป ประชาชนก็จะลดกำลังการซื้อลง ทำให้สินค้าขายไม่ออก เมื่อขายไม่ออก ผู้ผลิตก็จะอยู่ได้ยาก ถ้าถูกเกินไปละ ก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ฉะนั้นในส่วนนี้เอง รัฐจึงต้องเข้ามาดูแลในเรื่องของราคาสินค้า ถ้าแพงเกินไป ก็ต้องตรึงราคาไว้ ให้พอเหมาะพอควร กับภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ฯ
    การจดทะเบียนบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ก็เช่นกัน เอกชนจะดำเนินการเองไม่ได้ ต้องติดต่อทำการจดทะเบียนผ่านหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานราชการ การทำธุรกรรมต่าง ๆ ก็ต้องผ่านหน่วยงานราชการทั้งสิ้น ฯ  การนำเข้าหรือการส่งออกสินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศก็ต้องผ่านหน่วยงานราชการ คือ กรมศุลกากร ต้องเสียภาษีระวางให้กับศุลกากร เป็นต้น ฯ
    หรือในเรื่องที่ภาคเอกชน เช่น เบียร์ช้าง จะทำการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภูมิภาคต่าง ๆ ก็จะร่วมมือกับภาครัฐ คือ หน่วยทหาร หรือ หน่วยงานราชการต่าง ๆ ในการดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือ  หรือ แม้แต่ ไทยรัฐเอง จะสร้างโรงเรียนให้กับอำเภอใดอำเภอหนึ่ง ก็ต้องติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐเช่นกัน คือ กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดสร้างแล้วมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเข้ามาควบคุมดูแล ฯ  รวมแล้ว   ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องดำเนินงานด้านต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ) เพราะภาครัฐเองก็มีรายได้หลักจากภาษีที่เก็บจากภาคเอกชนทั้งรายใหญ่และรายย่อย และ ภาษีจากประชาชนด้วย ภาคเอกชนก็ต้องอาศัยภาครัฐ เช่นในการกู้ยืมเพื่อการลงทุนบ้างบางครั้งคราว  และ การกำหนดนโยบายการนำเข้าและส่งออก การกำหนดอัตราภาษี ต่าง ๆ เป็นต้น  ล้วนต้องอาศัยภาครัฐทั้งสิ้น  (รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เรา (ทั้งคู่) ตาย) ฯ
               คำติเตือนแม้ขื่นขม ยังดีกว่าคำชื่นชมที่มีพิษ ฝากพี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม รุ่น ๔ ด้วยนะ มีอะไรผิดพลาดก็ติชมกันได้ ไม่ว่ากัน ฯ ขอเจริญพร

ระวังครูมะปรางเปรี้ยวถือไม้เรียวมานะครับ  เพราะเขาให้ไปใช้ใน Learner ครับ
ส.ท. สราวุธ ดอกไม้จีน
ส.ท. สราวุธ ดอกไม้จีน รหัส 50038010017 เลขที่ 17 นักศึกษา รปม. รุ่นที่ 4ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร1.       ภาครัฐมีความมั่นคงมากกว่าเอกชน2.       ภาคเอกชนมีความเท่าเทียมมากกว่าภาครัฐแต่ภาครัฐจะแบ่งตามลำดับตำแหน่ง3.       ภาคเอกชนเน้นผลกำไรเป็นหลัก ภาครัฐจะเน้นภาษี4.       ภาคเอกชนต้องมีลูกค้า ภาครัฐต้องมีประชาชน5.       ภาคเอกชนตัดสินใจได้รวดเร็วและคล่องตัวกว่าภาครัฐ6.       ภาครัฐยังมีความเชื่อแบบเจ้าขุนมูลนายแต่ภาคเอกชนไม่มี7.       ภาครัฐและเอกชนมีความเป็นเลิศคล้ายกัน มนุษย์เป็นตัวผลักดันให้เป็นเลิศ

8.       ภาครัฐและเอกชนมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน

 

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.พิมพ์ลดา   โต๊ะเพิ่มพูน  รหัส 50038010009  เลขที่  9  นักศึกษา รปม.รุ่น4 แนวคิดภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

1.  ในการประกอบกิจการภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อผลกำไร ต้องการตอบสนองต่อ

       ความต้องการอันหลากหลายในกลุ่มผลประโยชน์   แต่ในภาครัฐ มิได้มุ่งหวังผล

       กำไร แต่มีเป้าหมายคือการให้ความเสมอภาคของการให้บริการประชาชนส่วน

       รวม    ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องมีกระบวนการในการดำเนินงาน ไม่ว่า

       จะเป็นการวางแผนงาน  การปฏิบัติงาน   การบริหารทรัพยากรมนุษย์    การ

       จัดสรรงบประมาณ     การควบคุม    ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้       มีอยู่ทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน

2.   ภาครัฐ มีการจัดสรรงบประมาณในหน่วยงานต่าง ๆ   เพื่อจัดทำโครงการในการ

       ลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ เช่น การทำรถไฟฟ้า   ถนน   สะพาน   ก็ต้องมีการ

       ประมูลเพื่อสรรหาบริษัทเอกชนมาดำเนินการ ซึ่งในขั้นตอนการดำเนินการก็ต้อง

        มีเอกชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องใน การดำเนินการตามโครงการ

                                ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ ปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานองค์กร

        มากขึ้น โดยการลดงานบางส่วนที่ไม่จำเป็นลง  เช่น การทำความสะอาด   

        งานดูแลด้านโภชนาการ  ซึ่งในอดีตจะมีนักการภารโรง แต่ปัจจุบันจะเป็นในรูป

        แบบการทำสัญญากับบริษัททำความสะอาด   บริษัทที่เกี่ยวกับโภชนการ  ของ

        ภาคเอกชน  ให้เข้ามาดูแลเฉพาะงานทำความสะอาด และ งานโภชนาการใน

        หน่วยงานของภาครัฐ                                  จากที่กล่าวมาถือได้ว่าในหน่วยงานภาครัฐมีความเชื่อมโยงในด้านเงื่อนไข แต่มีเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน
พระศุภสิน ศักศรีวัน รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

      ณ เวลาก่อนเกิดเหตุ 08:45 น. สายฝน (มิใช่นางสาวสายฝน เพื่อนร่วมชั้นเรียนแต่ประการใด) ได้โปรยปรายลงมา วันนี้เหมือนฟ้าจะรู้และบอกเป็นนัยว่า การเรียนรู้แบบธรรมดา แบบเรียนเพื่อใบปริญญาจักไม่บังเกิดขึ้นแล้ว ในช่วงเวลาเดือนแห่งความรักตลอดเดือนนี้ เมื่อข้าพเจ้าได้ถึงห้องเรียนและมองเข้าไป เห็นบรรยากาศ (Environment) ซึ่งแตกต่างจากวันเดิม ๆ วิชาที่เคยเรียนผ่านมา ณ ช่วงเวลานั้นการทักทายและสนทนาพูดล้อต่อกระซิกและดำเนินไปด้วยความสนุกสนาน
      ณ ช่วงเวลาเกิดเหตุ..09:15 น. เมื่อร่างของบุรุษผู้หนึ่งได้ปรากฏต่อสายตา เสียงภายในห้องได้เงียบลงสนิท บรรยากาศเริ่มตึงเครียด ด้วยวาทะที่ชวนให้หนาวซึ่งก็หนาวอยู่แล้วจากบรรยากาศภายนอก ภายในก็มีแอร์ และบุรุษผู้จุดไฟน้ำแข็ง ณ ช่วงเวลานี้เลยมีพลังของความหนาวยกกำลัง 3 แต่ด้วยลีลาและวาทะที่คอยกระตุ้นกระทุ้งอย่างออกรสออกชาดภายในเวลาอันไม่มากบรรยาศก็เริ่มอบอวลด้วยความร้อนแรง ไม่ได้ขี้เกียจเว้ยย!! แต่ไม่มีเวลา..เป็นวาทะที่ดูคล้ายปัดความรับผิดชอบ แต่ถ้าใช้รอยหยักของสมองวิเคราะห์และหยั่งลึก จะทำให้เราคิดขบวาทะนั่นออก โป๊ะเช๊ะ!! อ้อ..นั่นก็เพราะภารกิจความทุ่มเทแน่วแน่มุ่งมั่น เพื่อพัฒนาคนสู่ความเป็นเลิศ  "ผู้สร้างคันเบ็ด" เพื่อมอบเบ็ดนั้นให้กับคนใช้ตกปลา (ซึ่งก็คือลูกศิษย์)
      จากสมองที่ไม่ค่อยได้ทำงานต้องกลับแน่นขนัดอึ้งด้วยงาน และการบริหารกับตัวเอง กับ 3 งานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม รายงานเดี่ยวที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้รับมอบมาเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นมนุษย์ที่ โป๊ะเชะ!! และไม่งั่งและเปลี่ยนทัศนคติจากบ้าใบปริญญา มาบ้างคลั่งปัญญา ก็คือ..
      ภารกิจที่ 1 mission one : ฉายเดี่ยว (Solo)..“การเปรียบเทียบภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?” ..
      หากจะมองความเหมือน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะมีลักษณะเหมือนกันคือ
      • มีรูปแบบเป็นลักษณะหน่วยงาน หรือองค์กร ซึ่งภายในองค์กรก็ต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพ ในการพัฒนาองค์กร และจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ทรัพยากรที่ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพมากที่สุดก็คือทรัพยากรมนุษย์ เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีคุณภาพดีเลิศ นั่นก็หมายถึงการนำทรัพยากรอย่างอื่นมาใช้ย่อมมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
      • มีผู้บังคับบัญชา ผู้นำ หรือผู้บริหาร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณภาพของผู้นำจะมีความเป็นเลิศ อย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับทัศนวิสัย การตัดสินใจที่เด็ดขาดแม่นยำ และการมีจริยธรรมคุณธรรมด้วย เพื่อเป็นสารถีนำพาองค์กรไปสู่จุดหมายที่เป็นเลิศ (อีกแล้วครับท่าน)
      • มีระบบการคัดสรร เลือกสรร การลงโทษ การให้รางวัล มีกฏระเบียบหรือข้อบัญญัติ ซึ่งเป็นกลไกที่จะนำพาบุคคลเข้าสู่องค์กร แต่ดูเหมือนว่า ระบบราชการจะได้บุคคลที่เป็นกากกะทิ มากกว่าหัวกระทิ ซึ่งแตกต่างจากเอกชน คำถามตามมา เพราะอะไร? อาจจะเป็นเพราะการบริหารจัดการ การให้รางวัล การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) การมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกรักองค์กรหวงแหนองค์กร
      • มีกฎระเบียบหรือข้อบัญญัติ เพื่อควบคุมเพื่อพัฒนาให้ไปในทิศทางที่เป็นเลิศ ไม่ใช่เป็นเลิศทางที่ไม่สร้างสรรค์ เป็นเลิศในด้านคอรัปชั่น หากแต่ความเป็นเลิศนั้นต้องเป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ มีประโยชน์ และกอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรม
      • มีกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการ การวางแผน เพื่อให้เพื่อนำบุคคลมาใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพ แต่ดูเหมือนว่ากลยุทธ์ในภาครัฐจะมีไว้ในหนังสือหรือรูปแบบลายลักษณ์อักษรมากกว่าที่จะนำมาปฏิบัติจริงและเห็นผลได้ดีเมื่อเทียบกับภาคเอกชน
      • มีผู้บริโภค ภาคเอกชนก็คือลูกค้า ภาครัฐก็คือประชาชน
      ในมุมมองของข้าพเจ้า ภาครัฐและเอกชนเป็นโครงสร้างหรือเป็นอวัยวะที่ต้องพึ่งพากันเพื่อทำให้ร่างกายคือประเทศชาติมีความสมบูรณ์ ภาครัฐเป็นส่วน มหภาค (macro) ส่วนภาคเอกชนเป็นส่วนย่อย (micro) แต่นั่นก็เพื่อจุดประสงค์ร่วมก็คือ “ความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค” ซึ่งอยู่ในรูปแบบของกำไร กำไรของเอกชนอาจจะเป็นกำไรในรูปของเม็ดเงิน ดุลการค้า หรือหุ้นต่าง ๆ จากการผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการถูกตาถูกใจของลูกค้า ทั้งรูปลักษณ์ คุณภาพ และราคา ส่วนกำไรของภาครัฐบาลจะเป็นในรูปแบบกำไรของความอยู่ดีกินดี การมีความสุข อันได้รับจากการบริหารงานที่ดีของรัฐ ถ้ารัฐมีการบริหารคือทำอะไรให้รวดเร็ว มีข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยแม่นยำ ทุกระดับชั้นมีส่วนร่วมและหวงแหนในองค์กร มีความยุติธรรม สะอาดโปร่งใส มีการตั้งเป้าหมายไว้ให้สูง และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งวัดจากความพอใจของประชน เช่น การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการ ถ้าพนักงาน มีการบริหารที่รวดเร็ว ทำงานด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นมิตร ผู้รับบริหารหรือประชาชนก็มีความคิดเชิงบวกและมีความสุขที่จะเข้าหาและติดต่อกับราชการ นี่แหละคือกำไรจากความสุข
      ...นี่คงเป็นแนวคิดตามสมองที่ยังงั่ง!! อยู่มากของข้าพเจ้า ซึ่งยังเป็นเพียงผู้ตกปลาที่ยังขาดเบ็ดดี ๆ สักคัน หรือหลาย ๆ คัน จากคนสร้างคันเบ็ด นามว่า ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์.. เจริญพร...

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัส 50038010012

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

                ข้าพเจ้าคิดว่า ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องการความเป็นเลิศเหมือนกัน แต่เป้าหมายในการดำเนินงานไม่เหมือนกัน คือ ภาครัฐเน้นการให้บริการประชาชนเพื่อให้ประชาชนพึงพอใจมากที่สุดส่วนภาคเอกชนเน้นหรือหวังผลกำไรและให้ลูกค้าพึงพอใจในสินค้ามากที่สุด สิ่งที่ต้องกระทำเหมือนกันภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีโครงสร้างองค์การ สายการบังคับบัญชา การคัดเลือก จัดสรร ผลตอบแทน ฯลฯ เป็นต้น เพื่อความเป็นระเบียบในการปฏิบัติงาน แต่หน่วยงานภาครัฐมีกฎเกณฑ์ ระเบียบในการปฏิบัติงานมากจนบุคลากรไม่กล้าตัดสินใจในการทำงาน เนื่องจากผู้บังคับบัญชามิได้รับผิดชอบร่วมด้วย ผิดกับภาคเอกชนกฎระเบียบน้อย จึงทำงานได้คล่องตัว จึงทำให้บุคลากรภาคเอกชนมีความกล้าตัดสินใจมากกว่านั่นเอง

                สิ่งสำคัญคือการพัฒนาบุคลากร  หน่วยงานภาครัฐไม่นิยมส่งบุคลากรในหน่วยงานไปฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เนื่องจากไม่มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน แต่ภาคเอกชนจะสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานไปฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เนื่องจากภาคเอกชนคิดว่าเมื่อบุคลากรเหล่านั้นไปแล้วเขาจะนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานที่ตนเองปฏิบัติอยู่

                จะเห็นได้ว่า เมื่อเราบอกว่าภาครัฐการทำงานเป็นอย่างไร จะมองเห็นว่า ล้าหลัง ล่าช้า ไม่ทันสมัย ทำงานแบบเดิมๆ คิดแบบเดิมๆ แต่ถ้าเราบอกว่าเอกชนทำงานเป็นอย่างไร เราก็จะมองต่างกัน คือ เอกชนทำงานรวดเร็ว เทคโนโลยี

ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เกิดความคล่องตัว

                ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็มีระบบการปฏิบัติงานที่ดีอยู่ในตัวระบบ ต้องทำงานควบคู่กันไปหรือทำงานสนับสนุนกัน ยกตัวอย่าง เช่น ภาครัฐบาลเป็นผู้ออกกฎระเบียบ ภาคเอกชนเป็นผู้ใช้กฎระเบียบ เป็นต้นจะขาดหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งไม่ได้ประเทศชาติคงไม่เจริญก้าวหน้า ภาคเอกชนต้องเป็นหน่วยงานขับเคลื่อนต่อภาครัฐ โดยหลักสำคัญคือ การสร้างความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างจุดเด่น และแก้ไขจุดอ่อน พัฒนาขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน  เพื่อประเทศชาติและประชาชนในประเทศ

ณรงค์  พึ่งพานิชภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                ภาครัฐ เป็นระบบงานที่อิงกฎระเบียบ ทำให้การบริหารการจัดการล่าช้า ส่วน ภาคเอกชน เป็นระบบงานที่เน้นถึงผลกำไร ความสะดวกรวดเร็ว และการลดต้นทุน                ในยุดโลกาภิวัตน์ซึ่งมีการแข่งขันกันสูงในทุกด้านทั้ง ภาครัฐและเอกชน จะต้องก้าวไปพร้อม ๆ กัน เพราะ ภาครัฐเป็นระบบใหญ่ มีบุคลากรหลายแขนง การบริหารการจัดการ ด้านต่าง ๆ ถ้าให้ภาครัฐ ลงมือปฎิบัติก็จะทำให้ระบบงานไม่เดินหน้า เท่าที่ควรจึงต้องอาศัยภาคเอกชน เช่น โครงการสร้างรถไฟฟ้าฯ เนื่องจาก ภาครัฐเป็นเจ้าของโครงการ ในความเป็นจริง ภาครัฐก็มีความสามารถที่จะทำให้โครงการสำเร็จได้ แต่เนื่องจาก ภารกิจในงานของภาครัฐซึ่งมีมากทำให้การเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชนจึงเกิดขึ้น                 ในปัจจุบันความเจริญในด้านเทคโนโลยี ก้าวหน้าไปมาก และอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำข้าวยาก น้ำมันแพง ภาครัฐและเอกชน ต้องคำนึงถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชน เป็นหลัก และโครงการทุกโครงการ ทั้ง ภาครัฐและภาคเอกชน ต้องให้ความสำคัญกับประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภค ในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้รับฟัง และออกความคิดเห็น บ้างครั้งถ้าภาคเอกชน มองแต่ผลกำไร ก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน                 ภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นในเรื่อง ความกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นที่ตั้ง และต่อเนื่อง ไม่ว่า เศรษฐกิจจะดีหรือไม่ดี ภาครัฐและภาคเอกชนต้องบูรณาการซึ่งกันและกันเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ
จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์
ภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ?           การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชนของไทยที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ  ด้านเศรษฐกิจ ในการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจและธุรกิจไทย รัฐจะต้องกำหนดนโยบาย ให้คอบคลุมทุกประบวนการ การดำเนินการธุรกิจทั้งหมดของเอกชน ตั้งแต่ การลงทุน การผลิต จนไปถึงการตลาด ซึ่งนโยบายและกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการดำเนินการทางธุรกิจของเอกชน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทางภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกัน กำหนดแนวทางที่สอดคล้องกันในทุกกระบวนการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน                ความเชื่อมโยงของภาครัฐและเอกชน จะต้องกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ร่วมกันของทุกหน่วย งานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน    เพื่อ นำนโยบายและแผนปฏิบัติการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและธุรกิจไทย ไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ที่สำคัญการปรับเปลี่ยนทัศนคติการทำงานของหน่วยงานภาครัฐจากผู้ควบคุม ไปสู่การอำนวยความสะดวกและการลดกฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการปรับปรุงกลไกลเชื่อมโยงในการทำงาน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้มีความสอดคล้องประสานกันมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลจะต้องพร้อมที่จะ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและธุรกิจไทยอย่างเต็มที่ และเอกชนเองจะต้องมีแนวความคิด ประเด็นความต้องการ รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา อุปสรรคต่างๆ มาให้ภาครัฐทราบถึงปัญหา เพื่อจะได้กำหนดทิศทางในการส่งเสริมสนับสนุนร่วมกัน  ในการประสานงานและทำงานร่วมกันของภาครัฐและเอกชน ได้ทำงานร่วมกันเพื่อที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนของประเทศมีความอยู่ดี กินดี ต่อไป
สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา
เรียน อาจารย์  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  คณะอาจารย์ และเพื่อนๆ ชาว Blog  MPA 4  สวนสุนันทา  ทุกท่าน                ในยุคโลกาภิวัตน์  สภาพการณ์ต่างๆ ได้บีบบังคับให้ภาครัฐและภาคเอกชนต้องทำงานอย่างประสานงานร่วมมือกันอย่างมากขึ้นเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศโดยรวมให้สูงขึ้นการร่วมมือกันนี้ทำให้เกิดการถ่ายโอน  เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการ  ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้เกิดการดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้  การที่ภาครัฐและเอกชนต้องทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้เกิดความจำเป็นในการต้องลดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการติดต่อประสานงานกันให้เหลือน้อยที่สุด  แต่อุปสรรคสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุนนี้ก็คือมาตรการควบคุม(ตามระเบียบกฎเกณฑ์)  ของภาครัฐและการใช้ดุลยพินิจ อย่างไม่แน่นอนและไม่ชัดเจน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  เป็นอีกปัญหาที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมกันแก้ไข (เพราะการใช้ดุลยพินิจอาจทำให้ ภาคเอกชนบางรายเกิดความได้เปรียบกันและส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม)                ผู้นำของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องอาศัย เทคนิคและวิธีการบริหารจัดการ ต่างๆ มากมายเพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง(ที่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว) และที่สำคัญที่สุดก็คือผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงควรต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่นั้นเพียงพอที่จะดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จด้วย ต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ความไว้วางใจกันของภาครัฐและภาคเอกชนการบริหารจัดการแบบยืดหยุ่น การประสานงานแบบเชื่อมข้ามสายงาน  การว่าจ้างงานบุคคลที่สามดำเนินการเป็นต้น                แนวโน้มของ การจัดการภาครัฐ ในอนาคตจึงมุ่งไปสู่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  และการใช้  บุคคลที่สาม  ในการดำเนินการต่างๆ แทนภาครัฐเพิ่มมากขึ้นทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องอาศัย แนวความคิดและวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน มาใช้มากขึ้นทุกที  การบริหารจัดการแบบภาคเอกชนทำให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐต้องมีความเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพมากขึ้น พร้อมๆ กับการต้องเป็น มืออาชีพ มากขึ้นด้วย (Higher – quality  Professional)                แต่โดยที่การบริหารในภาครัฐราชการจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ มากมาย (ซึ่งต่างจากการบริหารของภาคเอกชน) และอยู่ภายใต้หลักการปกครองแบบ นิติรัฐ  ด้วย จึงทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของการปกครองเข้มงวดเคร่งครัดมายึดหลักการผ่อนปรนภายใต้ ธรรมาภิบาล หรือ การกำกับดูแลที่ดี  มากขึ้น                ปัญหาในปัจจุบัน จึงอยู่ที่การเร่งสร้างองค์กรเครือข่ายของภาครัฐและภาคเอกชนที่อาศัยหลักการของ ธรรมาภิบาล ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของหลักแห่งศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม.
น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงาน  จากการบ้านที่ได้โจทย์ว่า   ภาครัฐและภาค เอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร       ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้ ภาครัฐเป็นหน่วยงานที่ประกอบ ด้วย กระทรวง  ทบวง  กรม  องค์การบริหารส่วนจังหวัด   องค์การบริหารส่วนตำบล   องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น     ซึ่งมีหน้าที่    ให้บริการประชาชน  บำรุงสุขให้ประชาชน   อยู่ดีกินดี     มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง โดยอาศัยการดูแลร่างกายที่อยู่อาศัย ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการศึกษา ให้มีอาชีพดูแลครอบครัว    ในส่วนของภาคเอกชนเป็นองค์กรที่มุ่งแสวงหาผลกำไร   เป็นหลัก ในส่วนของภาคเอกชนที่มีความเชื่อมโยงกันนั้น    คือการที่ภาค   เอกชน เข้ามารวมดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่างเช่น   การรับจ้าง  การจัดทำโครงการเสนอ  การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมทั้งการขนส่ง     การผลิตสินค้าต่างๆ   การจ้างแรงงาน     การก่อสร้าง  การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ    ภาครัฐยังสนับสนุนให้ภาคเอกชนจัดทำโครงการที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพแข่งกับต่างประเทศได้มากขึ้น ขอยกตัวอย่าง เช่น กรมทางหลวง ภาครัฐได้มีนโยบายการสร้างถนน ปรับปรุงถนนให้มี ประสิทธิภาพ  ซึ่งภาครัฐมีเจ้าหน้าที่และเครื่องมือเครื่องจักรไม่เพียงพอในการทำงาน เพื่อให้โครง การที่กำหนดดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว   จึงต้องให้ภาคเอกชนที่มีการทำงานที่คล่องตัวกว่า ภาครัฐ ภาครัฐจึงเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาเสนอราคาและแนวทางการดำเนินการรวม ทั้งวัสดุ อุปกรณ์ในการก่อสร้างเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นการช่วยเหลือประชาชนให้มีงานทำและสร้างท้องถิ่นให้เจริญ รวมทั้งได้ถนนหนทางที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทางคือประชาชน                ดังนั้น   ภาครัฐก็ต้องดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ   ใช้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐโดยคำนึงถึง ความต้องการของประชาชนเป็นสำคัญ    รวมทั้งงบประมาณที่จะต้องใช้ไปให้คุ้มค่ากับสภาพความเป็นจริงในส่วนของภาคเอกชนเป็นการประกอบธุรกิจที่หวังผลกำไรโดยการรับจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานที่มีวงเงินน้อยหรือมากก็ตาม ซึ่งต้องขอความร่วมมือภาครัฐเกี่ยวกับภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องข้อบังคับ ระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินการ และภาครัฐ     ก็ต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาช่วยจัดทำโครงการต่างๆตามที่ภาครัฐขอความร่วมมือ    ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย และด้านสิ่งแวดล้อม
ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา
เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ  MPA 4  สวนสุนันทา  ทุกท่าน   ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?
                ภาครัฐเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ของการพัฒนา แต่ก็ไม่ใช่พลังเดียวการพัฒนาคนที่ยั่งยืนส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ การสร้างงาน ให้มีรายได้พอเพียงที่จะปรับปรุงคุณภาพชีวิต ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าภาคเอกชนเป็นแหล่งสำคัญของโอกาสการจ้างงานในระบบการผลิตกระแสโลกทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในวิถีดำเนินการของอุตสาหกรรมและสถานประกอบการต่าง ๆ ในประเทศที่กำลังพัฒนากิจการเอกชนต้องได้รับการสนับสนุนส่งเสริม ให้โปร่งใสและสามารถแข่งขันได้มากขึ้นในตลาดระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตที่เป็นธรรม ความเท่าเทียมกันทางเพศการรักษาสิ่งแวดล้อม การขยายตัวของภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมที่รับผิดชอบและมีประสิทธิผลในการค้าระหว่างประเทศ ไม่สามารถบรรลุผลได้โดยอาศัยตลาดเพียงอย่างเดียว รัฐสามารถเกื้อหนุนการพัฒนาภาคเอกชนในแนวทางที่ยั่งยืนได้โดย :

*
สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพ
*
รักษาตลาดแข่งขัน
*
สร้างความมั่นใจว่าคนยากจนโดยเฉพาะสตรีสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวก
*
ดูแลเอาใจใส่กิจการที่สร้างงานและสร้างโอกาสมากที่สุด
*
ดึงดูดการลงทุนและความช่วยเหลือในการส่งผ่านความรู้และเทคโนโลยีไปยังกลุ่มคนยากจน
*
บังคับใช้หลักนิติธรรม
*
สร้างแรงจูงใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
*
ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4
ภาครัฐบาลและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                กล่าวคือ ในการเชื่อมโยงกันคงต้องกล่าวถึงตั้งแต่ โครงสร้างของระบบองค์กรที่มีตำแหน่งและสายงานการบังคับบัญชาที่คล้ายคลึงกัน แต่ของหน่วยงานภาครัฐจะมีสายการบังคับบัญชาที่ยาวกว่าเท่านั้น เหตุนี้จึงทำให้องค์กรของเอกชนมีความคล่องตัวกว่า นอกจากนี้จุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของภาคเอกชน พนักงานในองค์กรต้องทำให้ถึงและทำให้ได้ตามเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดขององค์กรก็เหมือนการอยู่รอดของเขา โดยมองไปที่ลูกค้า ส่วนภาคราชการส่วนใหญ่จะไม่ค่อยปฏิบัติตาม หรือทำกันแบบล่าช้าตามสายงาน เพราะพนักงานคิดว่าไม่มีการไล่ออกเหมือนอย่างเอกชน และได้ผลตอบแทนน้อย ทำให้ไม่ต้องง้อผู้มารับการบริการเพราะคิดว่าประชาชนต้องมาติดต่อเขาเลยทำตัวเหนือกว่า  จนปัจจุบันภาคราชการมีการพัฒนาลดขั้นตอนการทำงาน มีการตรวจสอบการทำงาน ประเมินผลงานของข้าราชการให้เทียบเคียงกับภาคเอกชน ให้มีการไปดูงาน มีการฝึกอบรม เป็นต้น เพราะองค์กรเอกชนต้องพึ่งองค์กรภาครัฐหลายอย่าง เพราะถ้าบางอย่างราชการทำเรื่องเสร็จช้า หรือดำเนินงานตามขั้นตอนล่าช้าจะส่งผลกระทบระบบงานของภาคเอกชน อาจจะต้องเสียโอกาสทางธุรกิจไป เช่น การดำเนินนโยบายทางเศษฐกิจของรัฐ จะมีผลต่อธุรกิจนำเข้าและธุรกิจส่งออก ถ้านโยบายของรัฐมีมาตรการที่เข้มงวดและระบบการตรวจสอบที่หลายขั้นตอนโดยพนักงานอาจไม่มีความเชี่ยวชาญ ก็จะทำให้สินค้าอาจส่งไม่ทันกำหนดเป็นต้น ภาคเอกชนก็จะเกิดปัญหาและเสียหายทางธุรกิจ

ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าทั้งสองภาคทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีความเกี่ยวโยงกัน ให้ภาคเอกชนพัฒนาองค์กรให้ดีเพียงใด แต่ภาครัฐยังเป็นระบบแบบเก่า ก็ทำให้ธุรกิจดำเนินไปไม่ได้ด้วยดี  ถึงเป้าหมายของภาครัฐและเอกชนจะแตกต่างกัน แต่ถ้าการทำงานของภาครัฐปรับตัวมีการทำงานที่รวดเร็ว ลดขั้นตอน สมกับเป็นข้าราชการที่เข้มแข็งก็จะส่งผลให้หน่วยงานที่เข้ามาติดต่อสามารถไปดำเนินงานทางธุรกิจต่อได้เร็วขึ้น ประเทศก็จะมีการพัฒนาที่มากขึ้น

             ภาครัฐและภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?

                  ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจำเป็นต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  จะเป็นลักษณะแบบน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า   หากรัฐบาลอยู่ไม่ได้ ภาคเอกชนก็อาจทำให้กิจการมีผลกำไรลดลง  กล่าวคือภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบาย ออกกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงการจัดเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ   ภาครัฐจัดหาตลาดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศและภายในประเทศ   เช่นปัญหาเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ชะลอตัวลงเนื่องจากปัญหาซับไพร์ ทำให้กำลังซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง ซ่งเป็นปัญหาด้านการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศไทยยังต้องพึ่งการส่งสินค้าออก  และอเมริกาเป็นตลาดที่สำคัญและใหญ่ที่สุด  ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เกิดปัญหากับผู้ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ   ภาครัฐจะต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ส่งออกเหล่านั้นโดยการหามาตรการไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป และควรหาตลาดส่งออก โดยหาตลาดทางยุโรป หรือ ตะวันออกกลาง หรือประเทศที่มีกำลังเงินซื้อมาก เพื่อจะได้นำเงินเข้ามาภายในประเทศ และรัฐควรจัดเก็บภาษีในอัตราที่เหมาะสมเพื่อนำมาบริหารและพัฒนาประเทศต่อไป

น.ส.ญานิสา  เวชโช   รหัส50038010013

         ในปัจจุบันระบบราชการส่วนใหญ่เป็นระบบอุปถัมภ์ ให้ความสนใจในความเป็นพวกพ้อง  มากกว่าที่จะสนใจในเรื่องของผลงาน เป็นระบบเช้าชาม-เย็นชาม ไม่ต้องกระเสือกกระสนดิ้นรน เพราะความเป็นราชการ ยังไงก็ไม่ตกงาน จึงไม่มีความจำเป็นต้องใฝ่รู้อะไรมากมายนัก แตกต่างกับ เอกชน ที่ให้ความสนใจในเนื้องาน มุ่งเน้นการแข่งขัน พัฒนาความรู้ ความสามารถของคนในองค์กร เพื่อให้องค์กรอยู่รอด    ถึงแม้ว่า ระบบราชการ จะเป็นระบบที่มั่นคง ไม่มีวันที่จะล้มเหลว แต่ถ้าคนในราชการยังทำงานกันแบบเดิมๆ ไม่มีการพัฒนายอมรับสิ่งใหม่ๆ เหมือนเอกชน สักวันหนึ่ง ราชการก็ต้องล้มเหลวเช่นเดียวกัน

       ความเชื่อมโยงของภาครัฐและเอกชน สิ่งที่จะต้องทำมากที่สุด     มิใช่เพียงแต่แสวงหาผลกำไร แต่คือ การแข่งขัน แข่งขันให้หน่วยงาน หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถทำให้ระบบการทำงาน          มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล เพราะราชการ คือ งานให้บริการประชาชน จึงควรจะคิดว่า ทำอย่างไรที่จะให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจ เมื่อมาใช้บริการ

โดย น.ส. มัลลิกา  โสดวิลัย รหัส 50038010018 เลขที่ 18 รปม. รุ่นที่ 4  หัวข้อ ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร?คำว่า หน่วยงานของรัฐ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่                 ส่วนราชการ  หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการให้บริการสาธารณะทางปกครองเป็นภารกิจหลัก โดยไม่มุ่งผลกำไร และใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับหน่วยงานภาคเอกชนนั้น หมายถึง สถานประกอบการที่ดำเนินการโดยเอกชนโดยมุ่งผลกำไร แต่การดำเนินงานทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน คือ ความเป็นเลิศขององค์กร ซึ่งความเป็นเลิศขององค์กรนั้น ภาครัฐ หมายถึง ประเทศชาติ และความอยู่ดีกินดีของประชาชน ส่วนภาคเอกชน หมายถึง ผลกำไร ความอยู่ดีมีสุขของพนักงานในองค์กร โดยมีความสุข    ในการทำงาน มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี มีความมั่นคงในอาชีพการงาน มีสวัสดิการที่ดีรองรับ เป็นต้น                 ในการนี้ การที่ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไรนั้น ดิฉันขอยกตัวอย่างด้านการศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งของภาครัฐ ที่ผลิตบัณฑิตออกสู่ตลาดแรงงาน     ซึ่งการเรียนการสอนนักศึกษานั้น มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ก่อนที่นักศึกษาจะจบหลักสูตรออกสู่ตลาดแรงงาน  หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นหลักสูตรหนึ่ง ของภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม          ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ก่อนจบการศึกษา เพื่อเสริมสร้างเพิ่มทักษะและประสบการณ์ในงาน             ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพให้แก่นักศึกษา ซึ่งถือว่าการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการโดยการเชื่อมโยง         ทั้งภาครัฐและภาคเอชนมีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อออกสู่ตลาดแรงงาน โดยมหาวิทยาลัย เป็นผู้สอนทางด้านทฤษฎี โรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้เสริมสร้างทางด้านทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่นักศึกษาก่อนจบหลักสูตรออกไปรับใช้สังคม ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จะเห็นได้ว่า แม้แต่การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพคนหนึ่งนั้น ต้องอาศัยความเชื่อมโยง               ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับหน่วยงานที่ขอรับบริการบัณฑิต เมื่อหน่วยงานที่ขอรับบริการเกิดความพึงพอใจในบัณฑิต ผลสัมฤทธิ์ก็จะสะท้อนกลับมายังมหาวิทยาลัยมหิดล นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศ ในด้านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่าการเชื่อมโยงของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนนั้น เป็นเหมือนวัฏจักรนั่นเอง
นาย ฉลอง บ่มทองหลาง รหัส 50038020010
สวัสดี ครับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ  จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์วันแรก ( 3 ก.พ.2551 )  ชั่วโมงแรกความเครียดเริ่มถามหา ทัศนะคติที่มีต่ออาจารย์ โดยรับฟังจากคนอื่นว่าอาจารย์เป็นบุคคลที่เก่งในเรื่องบริหารทรัพย์ยากรมนุษย์ เคยได้ยินจากสื่อต่างๆ มาบ้าง  คือได้ยินชื่อแล้วอยากที่จะเรียนในเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ตอนนี้เริ่มเข้าใจว่านี่แหละสิ่งที่ผมต้องการ จากนั้นความเครียดที่มี เริ่มลดน้อยลง จากที่ผมรับราชการ เลยทำให้รู้ว่า ภาครัฐและภาคเอกชน ความเชื่อมโยงกันหลายด้าน  ภายในหน่วยงานราชการจะบริหารองค์กรของตนอย่างเดียวมันทำได้ แต่ผลงานหรือความสำเร็จมันมีน้อย อันเนื่องจากหน่วยงานราชการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ปัญหาต่างๆที่เกิดกับหน่วยงานราชการและภายในองค์กร มันจำเป็นที่ต้องเอาภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวเสริม  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน  ราชการจึงจำเป็นที่ต้องอาศัยหน่วยงานของเอกชน เพื่อให้เกิดความแข่งขันระหว่างราชการกับเอกชนอย่างแท้จริง เช่นการค้าระหว่างประเทศ การลงทุน การติดต่อประสานงานโดยที่รัฐต้องสร้างจุดยืนให้ตรงกันในการเจรจาการค้า  เพื่อไม่ให้เอกชนได้รับผลกระทบ                การพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกันรัฐที่จะต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวเสริม เช่นการลงทุน การค้า ภาคเอกชนหรือหน่วยงานสมาคมใดจะประกอบกิจการใด ต้องให้หน่วยงานเอกชนเข้ามาสนับสนุนในโครงการต่างๆของรัฐ เช่น โครงการต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร การสร้างทางด่วนหรือการติดตั้งกล้องวงจรปิดรอบกรุงเทพมหานครโดยกรุงเทพมหานคร ต้องอาศัยหน่วยงานของภาคเอกชนเข้ามาจัดการประมูลทำในโครงการ  ซึ่งเท่าว่า เอกชนเป็นลูกค้าของภาครัฐ  จึงมีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน การทำงานในหน่วยงานของราชการบ้างครั้งทำให้เกิดความล้าช้า  ซึ่งต้องให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการอันเนื่องมาจาก งบประมาณ ของทางราชการมีน้อยมีข้อจำกัดต้องใช้หน่วยงานของเอกชนเข้ามาดำเนินการโดยการทำสัญญาในเรื่องของผลประโยชน์   ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า ภาครัฐกับภาคเอกชน มีความต้องเชื่อมโยง ต่อกันทุกด้าน เกือบจะทุกเรื่องที่รัฐต้องให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ เข้ามาดูแล ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การท่องเที่ยว การกีฬา การเกษตร จากเรื่องเล็กน้อยระดับชุมชนหมู่บ้าน ขึ้นสู่เรื่องใหญ่ระดับประเทศ เอกชนเข้ามาสนับสนุนหน่วยงานภาคทั้งหมด  ภาครัฐเพียงคอยกำกับดูอยู่ด้านนอกเท่านั้น ..

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028

ภาครัฐบาลและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร               

        องค์กรไทยจะแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ องค์กรภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน ถ้ามองว่าประเทศคือองค์กรขนาดใหญ่ เป็นมุมมองที่มาจากภายนอกประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ดังนั้นองค์กรภาครัฐเปรียบเสมือนสายงานสนับสนุน (Staff Function) โดยสนับสนุนให้องค์กรภาคเอกชนสามารถผลิตสินค้าและบริหารให้กับประเทศ ถ้ามองภาพขยายในระดับเวทีโลก ประเทศก็เป็นองค์กรชนิดหนึ่ง ที่ต้องมีการบริหารจัดการที่มุ่งเป้าหมายทั้งเหมือนและแตกต่างจากภาคเอกชน ที่เหมือนกัน คือ เมื่อประเทศขายสินค้าไปยังตลาดโลกย่อมหวังผลกำไร ไม่อยากเสียเปรียบทางการค้า แต่ที่แตกต่างกันคือการใช้อำนาจรัฐเหนือองค์กรภาคเอกชนภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศและองค์กรภาครัฐจะมีขอบข่ายของการบริหารจัดการกว้างขวางกว่าเอกชน

        ที่ผ่านมาการบริหารองค์กรภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากวัฒนธรรมการทำงานที่ยังไม่เชื่อมั่นในความสามารถของเจ้าหน้าที่ใหม่หรือข้าราชการชั้นผู้น้อย องค์กรภาครัฐถือเป็นปัจจัยหนึ่งของสภาพแวดล้อมขององค์กรภาคเอกชน และมีอิทธิพลต่อการบริหารภาคเอกชนค่อนข้างมาก ดังนั้น การศึกษาองค์กรภาครัฐ จึงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ "ผู้นำ" ภาคเอกชนได้รับรู้ปัญหาและอุปสรรค เมื่อรับรู้ว่าเป็นปัญหามีอุปสรรคก็สามารถที่ปรับสภานภาพองค์กรของตนเองเพื่อสร้างโอกาสในการดำเนินกิจการของตนเองได้ มูลเหตุแห่งความล่าช้าขององค์กรภาครัฐ กล่าวคือ พื้นฐานความรู้ความเข้าใจของคนในองค์กร ยังยึดความถูกต้องของกระบวนการและระเบียบกฎหมายเป็นเป้าหมายหลัก ค่านิยมการทำงานของข้าราชการต่างยึดหน้าที่ หวงงานไม่อยากให้คนอื่นทำของให้มีปริมาณงานมากๆ จะได้งานประมาณมาก ขาดความคิดเชิงบูรณาการในการบริหารงาน ชอบคิดแยกส่วนหรือใช้กรอบพื้นฐานความรู้เฉพาะด้านอธิบายความหมายทั้งหมด ทัศนคติของคนต่ออาชีพราชการ มีความคิดว่า ราชการเป็นงานที่มั่นคง ความดีไม่มีความชั่วไม่ปรากฎ อยู่ได้จนเกษียณ ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง เมื่อไม่พัฒนาตนเองทำให้ไม่กล้าที่รับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช้ามาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของตนเอง

        องค์กรภาคเอกชน ดังที่ทราบเป้าหมายขององค์กรภาคเอกชนคือแสวงหากำไรและให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่ตกอยู่เฉพาะคนเฉพาะกลุ่ม ซึ่งต่างกับองค์กรภาครัฐที่มิได้แสวงหากำไร แต่มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นส่วนรวม วัตถุประสงค์ขององค์กรภาครัฐนี้ ถ้าพิจารณาภายในของเขตของรัฐ แต่ถ้าขยายภาพออกไปนอกประเทศไทย ประเทศจึงมีฐานะเป็นองค์กรหนึ่งในสังคมนานาชาติ ถ้าภาครัฐของไทยค้าขายกับภาครัฐประเทศอื่น ก็ต้องแสวงหากำไร ทัศนคติของคนหรือพนักงานต่ออาชีพงานเอกชนถือว่าเป็นงานที่ท้าทาย ความมั่นคงในอาชีพนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของคน หาใช่องค์กรไม่ ซึ่งต่างกับคนรับราชการ กล่าวคือ จะเอาความมั่นคงในอาชีพของตนฝากไว้กับความมั่นคงขององค์กร ทัศนคติเช่นนี้ ส่งผลให้คนในภาคเอกชนกระตือรือร้น ขวนขวายหาความรู้มากกว่าคนในภาครัฐ

        ผู้เขียนเห็นว่า...ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนจะประสบผลสำเร็จได้ สิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณาอันดับแรก คือ "ทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นผู้นำ" ควรจะต้องมีความรู้ในศาสตร์นี้เกี่ยวข้อง มีประสบการณ์และทักษะทางการบริหาร พนักงานมีความใฝ่รู้ในเทคโนโลยีและเทคนิคการบริหารใหม่ๆ กระตือรือร้นพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และต้องทำให้คนในองค์กรยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติวิสัย ผู้นำต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับตัดสินใจ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ทรัพยากรมนุษย์คือทุนที่สำคัญขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะทำอะไร จะพัฒนาอะไร จะสร้างองค์กร จะสร้างสังคม ชุมชนหรือครอบครัว หากมีการ "ลงทุน" กับทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจังแล้ว เชื่อว่าในวันข้างหน้าจะมีความคุ้มค่าและยั่งยืนอย่างแน่นอน

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                 ผู้ศึกษามีแนวคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันโดยทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็มีระบบการบริหารจัดการที่มีการวางแผนการทำงาน     มีบุคลากรซึ่งถือว่าคนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้การพัฒนาเพิ่มศักยภาพการทำงาน   ภาครัฐมีการบริหารจัดการที่ไม่มีต้นทุนไม่หวังกำไรแต่เป็นการให้บริการแก่ประชาชน  เอกชนหรือภาครัฐด้วยกัน  ส่วนภาคเอกชนมีการบริหารจัดการที่หวังกำไร แต่การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนต้องอาศัยการบริหารจัดการของภาครัฐเพื่อให้การดำเนินงานของภาคเอกชนดำเนินงานต่อไป   ซึ่งทั้ง 2  ฝ่ายควรคำนึงถึงผู้บริโภคหรือผู้รับบริการ ในการบริหารงานภาคเอกชนขึ้นอยู่กับผู้บริหารสูงสุด (CEO)  เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจมีความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ   ภาครัฐผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจสูงสุดเช่นกันแต่มีขั้นตอนการเสนองานมากการทำงานไม่คล่องตัวต้องลดขั้นตอนการทำงานลง    และต่างก็เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน  ภาครัฐต้องอาศัยภาคเอกชนในการดำเนินงานที่ภาครัฐไม่สามารถดำเนินการได้เองเช่นการก่อสร้างสำนักงาน    ส่วนภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจจะต้องพึงภาครัฐในเรื่องการให้คำรับรองการเสียภาษีการติดต่อประสานงานการทำโครงการต่าง ๆ ต้องอาศัยบุคลากรจากภาครัฐ จะเห็นว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีจุดมุ่งหวังที่จะทำประโยชน์ให้สังคมและ ประชาชนเหมือนกัน
ภาครัฐและภาคเอกชนมีการจัดวางทิศทางองค์กรที่แตกต่างกันในเรื่องการกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร หน่วยงานราชการจะกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ในลักษณะที่กว้างและยืดหยุ่น สามารถขยายหน่วยงานได้ในอนาคต และฝ่ายการเมืองมักจะใช้อิทธิพลในการปรับภารกิจและเป้าประสงค์ไปตามนโยบายของนักการเมืองที่ได้เป็นผู้บริหารในรัฐบาล โดยมิได้คำนึงถึงแผนพัฒนาประเทศระยะยาว การกำหนดกลยุทธ์ การวางแผนของหน่วยงานราชการถูกกดดันโดยอิทธิพลทางการเมืองและสังคมค่อนข้างมาก ในขณะที่การวางแผนของภาคธุรกิจถูกกดดันโดยอิทธิพลทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากกว่า การปฏิบัติตามกลยุทธ์ มีความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ลูกจ้างในภาคเอกชนมีแรงจูงใจชัดเจนของค่าตอบแทนจากการทำงาน ซึ่งสร้างความภักดีต่อองค์กรค่อนข้างสูง  ข้าราชการมีความตระหนักในการเป็นลูกจ้างรัฐบาลค่อนข้างน้อย  มองตนเองอยู่ในกลุ่มวิชาชีพอิสระมากกว่า  ค่าตอบแทนจากการทำงานมาจากการยึดถือกฎเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติที่สลับซับซ้อนมากกว่าได้มาจากประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การควบคุมเชิงกลยุทธ์  เมื่อหน่วยงานราชการกำหนดภารกิจและเป้าหมายไว้หลากหลายและคลุมเครือ ทำให้การควบคุมทำได้ยากลำบากวัฒนธรรมขององค์กรมีผลอย่างยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงานในองค์กรนั้น ส่งผลถึงความสามารถขององค์กรในการดำเนินกลยุทธ์  หน้าที่ประการหนึ่งขององค์กรและผู้บริหาร คือ การทำให้บุคลากรภายในองค์กรมุ่งไปสู่การคิดถึงสิ่งที่ดีที่สุดต่อองค์กรในอนาคต มุ่งไปสู่เป้าหมายและภารกิจขององค์กร ผู้บริหารภาครัฐจะต้องคำนึงถึงมากที่สุดคือการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้ทัดเทียมกับภาคเอกชน ยกตัวอย่างเช่น การแบ่งโครงสร้าง ที่มีอยู่เราจะเน้นเรื่องของความรวดเร็ว ความเที่ยงตรง และความมีประสิทธิภาพ บุคลากรทุกคนต้องมี Job Description สิ่งเหล่านี้จะต้องทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจ เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนต้องมี Job Description ถ้ามี Job Description ครบ ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานเราจะรู้ว่างานแต่ละงานมีผู้รับผิดชอบหรือยัง และจะรู้ว่ามีงานบางงานมีความซ้ำซ้อนกันไหม งานอะไรที่ขาดยังไม่มีคนทำ เพราะฉะนั้นจาก Job Description จะทำให้จัดบุคลากรได้เหมาะสม เป็นเรื่องที่จะช่วยว่ามีงานครอบคลุมมากน้อยแค่ไหน  การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ ในฐานะที่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ต้องดูแลบุคลากรสายสนับสนุนว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรของเราทำงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเรื่องของการดูแล การบริหาร  การพัฒนาบุคลากรเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะต้องเน้นว่าให้ผู้ที่ทำงานกับเราได้รับการพัฒนา ในแต่ละปีต้องทำแผนพัฒนาบุคลากร ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ของเราทุกคนมีการพัฒนาตนเอง ทำให้ระบบงานของตนเองมีความก้าวหน้า มีความรวดเร็วโดยตลอด ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ขององค์การคือ ทุกคนจะต้องขวนขวายหาความรู้ และในขณะเดียวกันการอบรม การสัมมนาของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ควรเพิกเฉยหรือละเลยในเรื่องของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้พนักงานทุกคนรู้และเข้าใจองค์การแห่งการเรียนรู้  ถ้าภาครัฐทำได้อย่างนี้ ไม่นานก็จะทัดเทียมกับภาคเอกชน
น.ส.อรทัย บุญยรัตพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4
นางสาวอรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่ 5                                          ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                      ปัจจุบันภาครัฐมีนโยบายในการบริหารพัฒนาหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ , ด้านสังคม , ด้านการศึกษา , ด้านสิ่งแวดล้อม ฯ ลฯ นโยบายเมกกะโปรเจ็กต์ เป็นนโยบายที่ภาครัฐได้วางแผน ซึ่งต้องประสานงานกับภาคเอกชนในการร่วมงานและดำเนินการ จึงจะประสบผลสำเร็จ เช่น การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของภาครัฐก็คือ ข้าราชการที่จะต้องประสานงานกับองค์กรเอกชน  เพื่อเปิดให้มีการแข่งขันราคารับเหมา หรือเปิดซองประมูลถ้าผู้รับผิดชอบของภาครัฐมีความเป็นธรรม  มีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ก็จะทำให้องค์กรเอกชนที่มารับเหมา มีประสิทธิภาพ ในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและประเทศชาติ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าข้าราชการในภาครัฐฮั้วกับผู้รับเหมาภาคเอกชนก็จะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น รันเวย์เกิดร้าวก่อนกำหนดหรือเครื่องสแกน CTX ที่มีการกล่าวหาผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ คอรัปชั่น สรุปการบริหารทรัพย์กรมนุษย์ในภาครัฐและภาคเอกชน ต้องคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร เช่น  ภาครัฐต้องคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลัก ข้าราชการที่ดีต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม มีความโปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้ ส่วนภาคเอกชนต้องคำนึงเป้าหมายคือคุณภาพและประสิทธิภาพขององค์กร  เมื่อองค์กรมีกำไรในบางครั้งก็อาจจะตอบแทนให้กับสังคม เช่น จัดตั้งมูลนิธิต่างๆ ตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส
น.ส.จารุวรรณ ตันไชย นักศึกษา รปม.รุ่น 4
นางสาวจารุวรรณ  ตันไชย  เลขที่  15 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ในปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก สังเกตได้ว่า กิจการต่างๆ ของภาครัฐส่วนใหญ่นั้น ล้วนมีเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า ไปรษณีย์ รถร่วมบริการ องค์การเหล่านี้นับได้ว่า เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งถ้าภาครัฐดำเนินการเอง อาจเกิดการล่าช้าและขาดทุน จึงต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน เพื่อความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และอยู่ในการควบคุมดูแลของภาครัฐ  เพื่อให้อยู่ในกรอบหรือกฎระเบียบที่กำหนดไว้ ในหลายองค์กรของภาครัฐก็เช่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่า ได้มีการแข่งขันหรือประมูล เพื่อให้บริษัทเอกชนภายนอกเข้ามาทำงานในหลายส่วน เช่น บริษัททำความสะอาด (CARE CLEAN) บริษัทรักษาความปลอดภัย หน่วยงานเหล่านี้จะช่วยภาครัฐได้ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นการลดขั้นตอนในการทำงานของภาครัฐให้กระชับขึ้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เพื่อร่วมงานกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Objective) ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ อาจเพื่อการพัฒนาขององค์กรหรือประเทศ
น.ส.ภัทรจิตรา เขียวมีส่วน นักศึกษา รปม.รุ่น 4
นางสาวภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  10                                                                                                                                     ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร สิ่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่มองว่าระบบราชการนั้นไม่ดีและไม่ทันสมัยนั้น ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาครัฐเหมือนกัน  ไม่อยากจะยอมรับเลยว่า บางส่วนก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐยังไม่มีการจัดการหรือการบริหารคนหรือการใช้คนให้ถูกต้องกับงานหรือหน่วยงานเท่าที่ควร การบริหารคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านความรู้ ความสามารถและทักษะในด้านต่างๆ หรือการออกไปดูงานในส่วนของภาคเอกชน และสิ่งที่เห็นว่าดี หรือสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยงานของตนได้นั้น ก็ควรนำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญก็คือ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กร ได้เข้ามารับรู้ถึงปัญหาและมีส่วนในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่า ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และองค์กรก็เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของทุกคน-       ทัศนคติและพฤติกรรมบางอย่างของคนที่ทำงานในส่วนราชการ ก็คือ ข้อผิดพลาดในการทำงาน ในส่วนของภาคราชการ ถึงจะทำงานผิดพลาดก็ไม่โดนไล่ออก แต่ในขณะที่ภาคเอกชน การทำงานทุกอย่างต้องเป็นระบบขั้นตอนถูกต้อง เพราะถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ถึงจะน้อยก็จะส่งผลกระทบถึงองค์กรได้อย่างมากทีเดียว ทำให้พวกเขามีความกระตือรือร้นในการทำงาน และเห็นถึงความสำคัญของงานที่ตนทำ และผลงานที่ทำ คอยแต่ทำงานตามที่หัวหน้าสั่ง ถ้าหัวหน้าไม่สั่งก็ไม่ทำ ผลที่ตามมาก็คือ ขาดความใส่ใจในงาน ไม่รักความก้าวหน้า และสุดท้ายก็จะกลายเป็นคนเฉื่อยชาในที่สุด-       ความล่าช้าในการให้บริการกับประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐ ที่เข้าไปควบคุมดูแล แต่สิ่งที่ประชาชนได้รับ คือ ความไม่สะดวก ความล่าช้า และความไม่รู้ในการปฏิบัติตามที่หน่วยงานแต่ละที่ได้วางกฎระเบียบไว้  ซึ่งถือเป็นข้อบกพร่องของหน่วยงานรัฐอย่างหนึ่งเหมือนกัน  สิ่งที่จะเข้ามาแก้ไขได้ก็คือ การนำอุปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการให้บริการ ซึ่งภาคเอกชนจะช่วยได้มากทีเดียวในเรื่องนี้  ความทันสมัย  ความรวดเร็ว  ความสะดวกในการให้บริการแก่ผู้รับบริการเป็นสิ่งที่เอกชนคำนึงถึงอย่างมาก  ซึ่งเป็นจุดที่ภาครัฐปล่อยปะละเลย หรือแทบจะไม่คำนึงถึงเลย ภาครัฐจะต้องเอาเยี่ยงอย่างภาคเอกชนอย่างมากทีเดียว  นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการขอรับบริการผ่านการสื่อสารต่างๆ เพื่อให้ประชาชนรับทราบก่อนเดินทางมาติดต่อรับบริการ  รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความถึงเห็น และร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงานราชการ เพื่อให้การบริการทุกขั้นตอนเป็นไปด้วยความโปร่งใส  เป็นธรรม  และสามารถตรวจสอบในทุกขั้นตอนได้-       ทุนและอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่ภาคเอกชนมีความรู้และมีกำลังเงินในการจัดซื้อ ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้ภาครัฐทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือการจัดส่งบุคลากรที่มีความรู้ในทักษะต่างเข้ามาแนะนำในเรื่องนั้น 
นางสมจิตร ส่องสว่าง

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

    ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี ด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ

  -  ด้านการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐจัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยเรียนเชิญตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาเป็นวิทยากร และอาจจะพาผู้เข้าอบรมไปดูงานที่บริษัทเอกชน

  -ด้านการบริหารการจัดการ ภาครัฐ ยกตัวอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบภารกิจผลผลิตของเกษตรกร ถ้าที่ไหนมีผลผลิตมาก ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค เช่น ในปี 2550 ลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาห้างเทสโก้โลตัส ห้างแม็คโคร ห้างบิ๊กซี ต้องเข้าไปรับซื้อผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ นำไปจำหน่ายในห้าง

  -ด้านเทคโนโลยี ภาครัฐไม่มีความชำนาญและประสบการณ์ จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น รถไฟฟ้า

  -ด้านโลจิสติกส์ ภาครัฐ ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศ

  ส่วนใหญ่จะเห้นว่าภาครัฐจะป็นผู้กำหนดนโยบาย และวางแผนงาน ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการให้แผนงานของรัฐบรรลุเป้าหมาย โดยมีคนเข้ามาเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน โดยจะมีการใช้แรงงานคน ทำให้ประชาชนมีรายได้ นำมาใช้จ่าย เอกชนก็มีรายได้ และเอกชนก็มีผลกำไร เอกชนต้องเสียภาษีให้ภาครัฐ ภาครัฐนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ และเอกชนยังสนับสนุนตอบแทนภาครัฐโดยการบริจาคผ่านองค์กรการกุศล ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า ฯลฯ

  ภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนกัน

  1.  มีองค์กร
  2.  มีคนทำงานในองค์กร
  3.  มีผู้บริหาร
  4.  มีเงินทุน
  5.  มีวัสดุอุปกรณ์

  ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกัน

                ภาครัฐ                                                  ภาคเอกชน

  1.  มีกฎระเบียบมาก                                   1.  มีความคล่องตัว
  2.  ขาดความคล่องตัว                               2.  ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ
                                                                          สายบังคับบัญชาสั้น
  3.  มีสายบังคับบัญชายาวมาก                   3.  ใช้ระบบความรู้ ความ    
                                                                          สามารถในการพิจารณา 
                                                                          ความดีความชอบ
  4.  ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการ
        พิจารณาความดีความชอบ                   4.  คำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก

  5.  ไม่มีผลกำไรขาดทุนเป็นแรงจูงใจ         5.  คำนึงลูกค้าเป็นหลัก

  6.  คำนึงการอยู่ดีกินดีของประชาชน
       และความมั่นคงของประเทศชาติ
       

นาย.ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4
เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ  MPA 4 สวนสุนันทา ทุกท่าน   ภาครัฐและภาคเอกชนมีความ  กล่าวได้ว่าภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐสามรถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และส่วนราชการที่เป็นหน่อยงานใหม่ ส่วนราชการทำหน้าที่ด้านการให้บริการให้แก่ประชาชนและสาธารณะ ทางการปกครอง โดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร ส่วนการดำเนินงานนั้น จะใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นหลัก ได้แก่ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับ ภาคเอกชน คือ องค์กรที่แสวงหาผลกำไรเพื่อองค์กร และ พนักงานภายในองค์กร เพื่อความอยู่ดีมีสุข นั่นเองส่วนเรื่องของที่ว่าภาครัฐและเอกชนนั้นเชื่อมโยงกันอย่างไรนั้น  กล่าวคือระบบงานของภาครัฐ มีขั้นตอนระเบียบแบบแผ่นที่ยุ่งยากกฎที่รัดกุม ทุกอย่างต้องมีขั้นตอนเสมอ ทำให้ระบบราชการในการทำงานนั้นมีความล่าช้า ส่วนระบบการทำงานของภาคเอกชนนั้น จะไม่ค่อยมีกฎระเบียบตายตัวมากนัก และยัง มีความรวดเร็วในการทำงาน ส่วนในการเชื่อมโยงกันนั้น จะขอยกกรณีศึกษา  เรื่องของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสู่ในประเทศ คือ ภาคอกชนนั้นนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนสู่ประเทศไทย โดยผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ว่ามาครบหรือไม่สินค้าถูกต้องหรือเปล่าในระดับ นึง เพื่อสร้างความสะดวกสบายแก่เอกชน ส่วนเอกชนก็จะนำสินค้าที่ได้ไปขาย ให้แก่ประชาชน และนำผลกำไรที่ได้มาหักจ่ายภาษี เพื่อให้รัฐ มีเงินในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานได้อย่งเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อประชาชนและองค์กรภาคเอกชนนั้นเอง
นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันทั้งด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  และสังคม   มรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของคนในชาติช่วยเพิ่มคุณค่าทางสังคมและช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเช่น โครงการ OTOP  และการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับ culture Capital  เป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์เพราะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วเราจะไม่สามารถอยู่รอด และแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ไม่สามารถทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นได้ระบบของราชการไทยรัฐยังไม่ให้โอกาสเท่าเทียมกับหน่วยงานเอกชน มีสายการบังคับบัญชามาก กฎระเบียบขั้นตอนมากทำให้เกิดความล่าช้าขาดความคล่องตัวในการบริหารงาน ผิดพลาดซ้ำ หลายครั้ง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีระบบเล่นพรรคเล่นพวก ระบบนายทุนทำให้ระบบราชการเติบโตช้ามากในด้านการเกษตรมีระบบนายทุนเข้ามามีอิทธิพลมีพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชนเป้าหมายคือคอรัปชั่นและผลประโยชน์ของพรรคพวกตนเองทกอย่างล้วนมีอิทธิพลต่อภาครัฐการบริหารงานภาครัฐหวังผลประชาชนอยู่ดีมีสุขถือเป็นกำไร  ส่วนภาคเอกชนหวังผลกำไรจากการประกอบการ แต่รัฐต้องอาศัยภาคเอกชนทุกอย่างจะเจริญก้าวหน้าตามยุคโลกาภิวัตน์ เช่นกรมทางหลวงในด้านเทคโนโลยี เครื่องมือใหม่ๆที่ทันสมัยที่นำเข้ามาจากต่างชาติต้องอาศัยภาคเอกชนในการพัฒนางาน พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างคุณค่าของทุกองค์กรที่จะนำพาประเทศชาติเจริยรุ่งเรืองทันต่อเหตุการณ์ เช่นโทรศัพท์  ภาคเอกชนหวังผลประโยชน์มากทให้มีผลกระทบต่อภาครัฐในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ความรู้และปัญญา คือำนาจโดยอาศัยทฤษฏี 8 K’s ประเภท Intellectual Capital  สามารถในการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ไปสู่มูลค่าเพิ่มได้ เช่นการค้ากับต่างประเทศเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ( 7 กุมภาพันธ์  )  ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงดลบันดาลให้ท่านประสพแต่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง ค่ะ
โดย  นางวีรยาพร  อาลัยพร  รหัส  50038010036  เลขที่ 36  รปม. รุ่น 4 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                                ในปัจจุบันนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย  ทั้งในด้านการสื่อสาร การเชื่อมโยงติดต่อกัน จากที่กว้างห่างไกลกันใช้เวลาติดต่อสื่อสารกันเป็นวัน ๆ ก็กลับทำให้เล็กเข้ามาหากันติดต่อกันได้ง่ายขึ้น  โดยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย สื่อสารกันได้รวดเร็วฉับไวขึ้นก็เปรียบเสมียนกับภาครัฐและภาคเอกชนที่ต้องมีความเชื่อมโยงกันในด้านต่าง ๆ เพราะภาครัฐและภาคเอชนมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในจุดหมายเดียวกัน อยากให้องค์กรของตัวเองเข็มแข็งและมีประสิทธิภาพ มีบุคลากรที่ดี มีคุณธรรม  มีจริยธรรม  มีความภักดีต่อองค์กร มีการบริหารการจัดการที่ดี มีการเลือกสรร และธำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน ซึ่งทั้งภาคเอกชนและภาครัฐต่างก็มีเป้าหมายไม่เหมือนกัน กล่าวคือภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อหวังผลทางกำไรที่เป็นตัวเงิน แต่ภาครัฐไม่ได้หวังผลกำไรที่เป็นตัวเงิน แต่เป็นกำไรที่มองไม่เห็น นั่นคือความอยู่ดีกินดีของประชาชน   ซึ่งนั่นก็คือการบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน   ดิฉันจะขอยกตัวอย่างในเรื่องการเชื่อมโยงกันของภาครัฐและภาคเอกชน ในองค์กรของดิฉันเอง  คือ กรมส่งเสริมสหกรณ์  เป็นหน่วยงานราชการหน่วยงานหนึ่งในภาครัฐ  กล่าวคือปัจจุบันนี้ได้มีการจัดซื้อจัดจ้าง ในเรื่องของการจ้างเหมารถยนต์ของทางราชการ      ซึ่งเมื่อสมัยก่อนนี้ได้มีการจ้างลูกจ้างประจำให้ทำหน้าที่พนักงานขับรถยนต์ของทางราชการ  แต่เนื่องจากระบบราชการมีสายการบังคับบัญชาที่ยาว ในแต่ละครั้งจะขอใช้รถยนต์ราชการแต่ละทีต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน ทำให้ล่าช้าในการตัดสินใจ เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ   ผู้บริหารของกรมฯ จึงได้ตัดสินใจจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัทในภาคเอกชน   ในรูปแบบของการให้เช่าทั้งตัวรถยนต์และระบบการบริการของพนักงานขับรถยนต์ที่ดี  ทำให้กรมฯ ได้ประหยัดงบประมาณในด้านการดูแลบำรุงรักษา  และสามารถนำบุคลากรที่มีอยู่ของกรมฯ ไปพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน  เมื่อบุคลากรของกรมฯ มีประสิทธิภาพก็สามารถที่จะนำพาองค์กรของตนให้บรรลุเป้าหมายได้  อีกทั้งงบประมาณที่ประหยัดก็กลับคืนเข้าสู่งบของประเทศชาติ และรัฐบาล (ภาครัฐ) สามารถนำงบที่มีอยู่ไปใช้เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีการกินดีอยู่ดีขึ้น  ส่วนบริษัทในภาคเอกชนที่มารับเหมากับกรมฯ  ก็นำพาบุคลากรของบริษัทที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ มาให้บริการกับกรมฯ เพื่อทำให้กรมฯ คือภาครัฐ  เกิดความพึงพอใจสูงสุด  เมื่อกรมฯ คือภาครัฐเกิดความพึงพอใจสูงสุดแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นคู่ค้ากันได้ตลอดไป  ทำให้บริษัทได้รับผลกำไรอย่างต่อเนื่อง  บุคลากรในบริษัทก็ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น สวัสดิการที่ดีขึ้น  ได้รับผลตอบแทนพิเศษเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน  ทำให้ไม่อยากไปทำงานที่อื่น บริษัทก็สามาถรักษาบุคลากรที่ดีมีคุณภาพขององค์กรไว้ได้  ส่วนภาครัฐก็คือกรมฯ ของดิฉัน สามารถที่จะประหยัดงบประมาณในการดูแลและบำรุงรักษาในเรื่องของยวดยานพาหนะ    และบุคลากรที่มีอยู่ก็สามารถไปพัฒนาศักยภาพในการทำงานในด้านอื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าผู้บริหารของกรมฯ มีการบริหารจัดการที่ดี  มองเห็นประโยชน์สูงสุดขององค์กรที่จะได้รับ และความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์คือบุคลากรของกรมฯ นั่นเอง  ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ ในการทำงานให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่จะมาขอรับการบริการจากองค์กร  ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงกันอยู่เสมอในทุก ๆ ด้าน  เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์
ความรับผิดชอบที่ต้องถูกตรวจสอบ (Accountability)ความรับผิดชอบที่ต้องถูกตรวจสอบ เป็นส่วนที่ทำให้ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกันมาก ในภาคเอกชน Accountability จะชัดเจน และไม่มีปัญหา เช่น ถ้าเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะรับผิดชอบต่อเจ้าของหน่วยงาน รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ถ้าไม่สามารถบริหารได้ตามที่ตกลงกันไว้ เช่น ทำกำไร หรือขยายงานไม่ได้ตามที่กำหนด จะต้องออกจากตำแหน่งส่วนภาครัฐ Accountability จะไม่ชัดเจน เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องมี Accountability อย่างไร ส.ส. มีความรับผิดชอบโดยมีใครเป็นผู้ตรวจสอบ ใครควบคุม ซึ่ง ส.ส. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร เนื่องจากปัจจุบัน ภาวการณ์แข่งขันในตลาดโลกมีการแข่งขันกันมากขึ้นฉะนั้นนักธุรกิจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จะต้องมีการมองในภาพรวมของรัฐบาลว่ามีเสถียรภาพมั่นคงแค่ไหน เพราะรัฐบาลจะเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและในประเทศให้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายของรัฐบาล , ด้านกฎหมายการค้าจะต้องเอื้ออำนวยต่อภาคเอกชน รวมทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า ตัวอย่างเช่น รัฐบาลลงนามการค้าเสรีระหว่างประเทศ , ลดภาษีการนำเข้าและส่งออก นอกจากนี้ หากจะมองกันให้ชัดเจนแล้ว ในระบบของการแข่งขันในโลกเศรษฐกิจปัจจุบัน พบว่า ผู้ที่มีเงินทุนในการผลิตสินค้าสูง มักจะเป็นได้ประโยชน์มากกว่าแหล่งทุนขนาดกลางและขนาดย่อม เนื่องจากสามารถแข่งขันได้อย่างหลากรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ในระบบการแข่งขันในตลาดเศรษฐกิจนั้น ๆ มิได้มีเพียงเฉพาะนายทุนหรือเอกชนที่มีทุนสูงเท่านั้น ที่เป็นผู้กำหนดทิศทางเศรษฐกิจ หรือ สามารถควบคุมกลไกราคาได้ แต่ภาครัฐ นั้น เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การแข่งขันในตลาดมีความสุจริตหรือเท่าเทียมกัน ซึ่งการควบคุมของภาครัฐในลักษณะเช่นนี้ ทำให้ราคาสินค้า(โดยเฉพาะสินค้าเพื่อการบริโภค) มีราคาไม่สูงเกินความเป็นจริง และอยู่ในภาวะที่ทำให้ทุกคนในสังคมสามารถจับจ่ายซื้อหามาใช้อุปโภคบริโภคได้ ซึ่งการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ ย่อมทำให้ราษฎรมีความพึงพอใจ และสังคมในภาพรวมมีความสงบสุข รัฐจึงสามารถดำรงมั่นคงของตนได้ และในส่วนของภาคเอกชนเช่นกัน ที่มีความจำเป็นต้องให้รัฐเข้าไปดำเนินการหรือส่งเสริมในหลายธุรกิจ เนื่องจาก ภาคเอกชนไม่มีความรู้ความชำนาญ หรือช่องทางกฎหมาย ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจนั้น เช่น ภาษีต่าง ๆ ทั้งนี้ ในหลายกรณี จะพบว่า ภาครัฐได้เข้าไปสนับสนุนในส่งเสริมการผลิตสินค้าในบางรายการ เพื่อให้สินค้านั้นๆ หรือ ผู้ประกอบการ สามารถต่อสู้ในตลาดแข่งขันได้ หรือรัฐเข้าไปดำเนินการแทรกแซงราคา เช่น การแทรกแซงราคายาง หรือ การรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตร เป็นต้น ดังนั้น เมื่อจะกล่าวถึง ความเชื่อมโยงของรัฐและเอกชน จึงเป็นความสัมพันธ์ที่มีทั้งด้านบวกและลบ แต่อย่างไร ความสัมพันธ์ดังกล่าว ต้องอยู่บนฐานของความสมดุลของสังคม และความต้องการของผู้ที่อยู่ในสังคมแห่งนั้น

 

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ทั้งสององค์กรจะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมีโครงสร้างขององค์กรที่คล้ายกันและต้องการบุคคลากรที่มีคุณภาพมีความรู้ความสามารถเหมือนกันเพื่อที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จแต่ภาครัฐมีสายการบังคับบัญชามากดังนั้นจึงส่งผลให้การทำงานของภาครัฐไม่ประสบความสำเร็จ และทำงานได้ล่าช้ามาก และผลงานออกมาไม่ค่อยมีคุณภาพ ดังนั้นจึงทำให้การบริหารจัดการของภาคเอกชนมีความรวดเร็วและคล่องตัวกว่า และมีมาตราฐานมากกว่าเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ว่าจะต้องทำอะไรก็จะส่งผลให้ประสบความสำเร็จได้มากกว่าเพราะองค์กรเอกชนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อที่จะให้ตัวเองอยู่รอดได้และมุ่งหวังแต่ผลกำไร แต่ภาครัฐไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรแต่มีเป้าหมายคือ การให้ความเสมอภาคและการให้บริหารต่อประชาชน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชนมีโครงสร้างมีการบริหารจัดการที่เหมือนกัน ต้องการบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาอยู่ในองค์กร โดยผ่านการคัดเลือก มีการวางแผนงานและปฏิบัติงาน การควบคุมงาน การฝึกอบรม การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็ต้องการได้รับผลตอบแทนมีการแสวงหาผลประโยชน์ ต้องการให้คนนับถือ ต้องการได้รับการยกย่องจากคนในองค์กร ส่วนภาคเอกชนก็ต้องการหวังผลกำไรเช่นกัน

นางสาวดนิตา มูลละออง
นางสาวดนิตา  มูลละอองหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 4มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร1.       เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น การนำเข้า การส่งออก-  ภาคเอกชนต้องพึ่งระบบราชการ คือ กฎ ระเบียบ-  ภาครัฐต้องพึ่งเอกชนในแง่ระบบเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจดี เงินหมุนเวียนมาก ประชาชนมีมาตรฐาน       ชีวิตที่ดี เพราะรัฐจะต้องเป็นผู้ดูแลประชาชน2.       ภาครัฐและภาคเอกชนมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เหมือนกัน-  ภาคเอกชนบริหารไม่ดีองค์กรอยู่ไม่ได้ เพราะมุ่งหวังกำไร-  ภาครัฐบริหารไม่ดีองค์กรอยู่ได้ เพราะมีเงินงบประมาณ และภาษีจากประชาชน3.       ภาคเอกชนมีความคล่องตัวสูง รัฐบาลมีความคล่องตัวน้อย-  ภาคเอกชนในการตัดสินใจรวดเร็ว สายการบังคับบัญชาสั้น เพราะถ้าตัดสินใจช้าจะทำให้เอกชนเกิด   ความเสียหาย-  ภาครัฐ การตัดสินใจช้า สายการบังคับบัญชายาว เพราะการตัดสินใจแต่ละครั้งจะต้องอยู่ที่    ผู้บังคับบัญชาระดับสูงเพียงระดับเดียว-  ภาครัฐจะต้องอาศัยภาคเอกชนในระบบการทำงาน คือ การว่าจ้างภาคเอกชนในการสอนงานหรือการ    วางระบบในการทำงาน และสายการบังคับบัญชาสั้นลง ให้ทันต่อเหตุการณ์4.       ภาครัฐและภาคเอกชนมีการสรรหาบุคลากรเหมือนกัน มีวิธีการที่เหมือนกันแต่ต่างกันตรงกันดังนี้-  ภาคเอกชนในการสรรหาบุคลากร ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อัตราค่าตอบแทนสูง -  ภาครัฐบาลในการสรรหาบุคลากร ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเช่นกัน อัตราค่าตอบแทนต่ำ ทำให้    บุคลากรผู้เชี่ยวชาญส่วนมากอยู่ในองค์กรเอกชน5.       ภาครัฐและภาคเอกชนมีเป้าหมายที่เหมือนกันแต่วัตถุประสงค์แตกต่างกัน-  ภาคเอกชน เป้าหมายใหญ่อยู่ที่ประชาชน แต่มุ่งหวังกำไรสูงสุด-  ภาครัฐ เป้าหมายใหญ่อยู่ที่ประชาชน แต่ไม่ได้มุ่งหวังกำไร มุ่งหวังให้ประชาชนมีมาตรฐานชีวิตที่ดี       6.    ภาครัฐสร้างรายได้ให้แก่ภาคเอกชน  ส่วนภาคเอกชนผลิตสินค้าและบริการให้แก่ภาครัฐ เช่น              -  ภาคเอกชนเป็นผู้ได้รับการมอบหมายจากภาครัฐในการสร้างถนน เพราะเป็นผู้ชำนาญในด้านการ   ผลิต และมีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก -  ภาครัฐเป็นผู้ว่าจ้างภาคเอกชนให้ผลิตสินค้าและบริการแทน เนื่องจากมีงบประมาณแต่ไม่สามารถ    ผลิตสินค้าและบริการเองได้6.       ภาครัฐได้รับมอบอำนาจจากประชาชนให้ดำเนินงาน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้เสียภาษี        ภาคเอกชนดำเนินการเอง
นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว
นางสาวขนิษฐา  พลับแก้ว                รหัสนักศึกษา 50038010040            รปม.รุ่น 4 คำถาม   ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกัน  คือ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการ การนำเทคโนโลยีมาใช้เหมือนกัน  โดยภาครัฐมีความสามารถที่จะทำให้โครงการสำเร็จได้จะต้องอาศัยภาคเอกชนช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมให้คนไทยและคนต่างชาติหันมาท่องเที่ยวในประเทศไทย  โดยทาง ททท.ได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สนท.)  สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) จัดรายการนำเที่ยวในเส้นเดียวกัน  พร้อม ๆ กับการจับจ่ายสินค้าหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลยังท้องถิ่นโดยตรง  เป็นการช่วยเหลือนักลงทุนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องในธุรกิจท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึกให้สามารถยืนหยัดอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย ดังนั้น การทำงานของภาครัฐจะสำเร็จไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนหลาย ๆ แห่ง  และผลลัพธ์ของการที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวนั้น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการพัฒนาบุคลากรในการให้บริการโดยวิธีการพัฒนาที่หลากหลาย  เพื่อให้เกิดความพึงพอใจจากผู้รับบริการ เพื่อส่งผลให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั่วโลก  
นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร
นางสาว-ภัทรพร  จึงทวีสูตร รหัส  50038010035    นักศึกษา  รปม. รุ่นที่ 4แนวคิดภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ในปัจจุบันภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีความเชื่อมโยงกันในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาบุคลากร  พัฒนาองค์กร  ด้านเทคโนโลยี ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์  ด้านการแข่งขันทางการค้า ล้วนต้องมีความเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น แต่ในปัจจุบันการบริหารองค์กรของภาครัฐนับว่ายังไม่สามารถสู้ภาคเอกชนได้ ตัวอย่างเช่น ด้านการแข่งขันทางการค้า โดยใช้ ระบบโลจิสติกส์  คือ กระบวนการวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า เพื่อให้การบริโภคตอบสนองความต้องการของลูกค้า จึงต้องเชื่อมโยงภาครัฐกับเอกชน   ในปัจจุบันการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันทางการค้า จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารสินค้าการคลัง  การสั่งซื้อ  การบริหารข้อมูล  การบริหารการคลัง  การดูแลสินค้า ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงคมนาคม  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลกากร และท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องเข้ามาเชื่อมโยงด้วยจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการค้า และจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการค้าระหว่างประเทศไทยให้เติบโตขึ้นด้วยด้านการพัฒนาบุคลากรและการทำงานของภาครัฐมีการทำงานที่ล่าช้าและเทคโนโลยีไม่ทันสมัยมากเท่ากับภาคเอกชน ในการพัฒนาบุคลากรภาคเอกชนจะมีการสนับสนุนให้บุคลากรไปสัมมนา ฝึกอบรมหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้มาปรับใช้กับงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความสามารถของคนในองค์กรเพื่อให้องค์กรอยู่รอด แต่ภาครัฐไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าไรนัก รัฐบาลมีระบบอุปถัมภ์ บุคลากรที่มาทำงานจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรสรุปได้ว่าในภาคเอกชนมีเป้าหมายในการประกอบกิจการเพื่อหวังผลกำไร และต้องตอบสนองความต้องการของประชาชน แต่ในภาครัฐไม่ได้หวังผลกำไร แต่มีเป้าหมายเพื่อให้ความเสมอภาคต่อการใช้บริการต่อประชาชนมีเป้าหมายที่ต่างกันแต่ต้องมีความเชื่อมโยงกันจึงจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ
โดย นางสาวกมลทิพย์  สัตบุษ  รหัส  50038010042  ภาครัฐและภาคเอกชนเชื่อมโยงกันอย่างไรผู้ศึกษามีแนวคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ภาครัฐทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกข้อกฎหมายต่าง ๆ และภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการนโยบายของรัฐ ตัวอย่างเช่น ภาครัฐออกกฎหมายในเรื่องการเสียภาษี โดยภาคเอกชนเป็นผู้เสียภาษี ซึ่งภาครัฐก็จะนำเอาภาษีมาพัฒนาประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจของไทย เมื่อประเทศมีการพัฒนาที่ดีก็จะเอื้อให้ภาคเอกชนได้รับประโยชน์แน่นอนและประกอบธุรกิจเจริญก้าวหน้าต่อไป เนื่องจากมีศักยภาพมีโครงสร้างพื้นฐาน มีระบบการบริหารจัดการที่ไม่เสียเปรียบใคร ดังนั้นเมื่อมีการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ประโยชน์ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการบริหารจัดการคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในองค์กรให้มีการขับเคลื่อนในการปฏิบัติงาน และการดำเนินงานของภาครัฐและของภาคเอกชน มีเป้าหมายเช่นเดียวกัน คือ ความเป็นเลิศขององค์กร ภาครัฐ จะคำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของประชาชน ส่วนภาคเอกชน จะคำนึงถึง ผลกำไรจากลูกค้า รัฐจำเป็นที่ต้องเอาภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวเสริม  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน เช่น บริษัททำความสะอาด  การสร้างรถไฟฟ้า  ถนน  สะพาน  เป็นต้น ซึ่งภาครัฐและเอกชนจะต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและเชื่อมโยงกันตลอดเวลา
วีราวัลย์ จันทร์ปลา
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรผู้ศึกษาคิดว่าที่ผ่านมาระบบราชการไทยมีปัญหามากมายคือ  ขาดความชัดเจนต่อเนื่องในทางนโยบายและไม่มีผู้รับผิดชอบหรือการปฏิบัติอย่างแท้จริง  ทำให้ระบบราชการดำเนินไปแบบค่อยเป็นค่อยไป  ไม่ครบวงจร เกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างน้อย   ขีดความสามารถที่ถดถอยลง   เกิดความซ้ำซ้อน  ขาดบูรณาการ  ความล่าช้า  ไม่มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  โครงสร้าง  บทบาทและขนาดของภาคราชการที่ไม่เหมาะสม  การทุจริตประพฤติมิชอบ   ปัจจุบันภาครัฐมีการปรับปรุงการทำงาน โดยการยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)  และรูปแบบการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (New  Public Management) มีความทันสมัย  สอดคล้องกับสภาพบ้านเมือง  และตอบสนองความต้องการของประชาชนมากขึ้น ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-centered)  นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการประชาชน   โอนงานให้ภาคเอกชนมาดำเนินการแทน ลดภารกิจราชการโดยการซื้อบริการจากเอกชนเป็นการเพิ่มการจ้างงานในภาคเอกชน  เช่น ใช้บริการรถเช่าแทนการซื้อรถ   การทำความสะอาด และการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ เป็นต้น  นอกจากนี้ภาครัฐต้องมีการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นหัวใจหลักขององค์กรให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติงานตามระบบงานใหม่  โดยการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรม  ดูงานทั้งในและต่างประเทศ  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน    มีการตรวจสอบการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ   ให้รางวัลสำหรับผู้ที่มีผลงานเพื่อกระตุ้นการพัฒนาตนเองและพัฒนาระบบงาน    และการบริการประชาชนซึ่งเป็นงานหลักของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพเหมือนหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งมีความเป็นผู้นำทางด้านการให้บริการลูกค้าและมีระบบการบริหารธุรกิจเป็นที่ยอมรับ  นอกจากนี้ภาครัฐมีนโยบายและงบประมาณเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจช่วยเหลือภาคเอกชนในการดำเนินธุรกิจ      เมื่อภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อภาพพจน์ของประเทศเป็นไปในทิศทางบวกจะเกิดการลงทุนจากภายในและภายนอกประเทศมาลงทุนให้เศรษฐกิจของประเทศดี  และประชาชนจะมีความเป็นอยู่ดีตามไปด้วย
น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4
ภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                หน่วยงานภาครัฐหรือที่เรียกว่าระบบราชการนั้นมีความสำคัญต่อความมั่นคงและความเจริญของประเทศเพราะระบบราชการเป็นกลไกสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการบริหารประเทศและการกำกับดูแลสร้างความเป็นธรรมในสังคมดังนั้น หากมองสังคม คือการที่กลุ่มคนคนหนึ่งไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดเพศ มารวมกันอยู่เป็นกลุ่มมีการสืบทอดต่อกันไปเรื่อยๆ มีสถาบัน มีวัฒนธรรม และมีเอกลักษณ์ของตนเอง โดยมีเป้าหมายคือการมีชีวิตอย่างสงบสุขนั้น การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สังคมต้องกำหนดกฎเกณฑ์ กติกาต่างๆ ในการอยู่ร่วมกัน เพื่อแบ่งหน้าที่กันทำตามความเหมาะสมและปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบสังคม หรือ ประเทศ ก็จะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันและยั่งยืนต่อไป จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นเหตุให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐจึงต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน ขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ของภาคเอกชนก็ต้องมีความสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานภาครัฐเช่นเดียวกัน เช่น ภาคเอกชนจะต้องการจะเปิดโรงงานน้ำตาลในจังหวัดกาญจนบุรี ภาคเอกชนจะต้องดำเนินให้ถูกต้องตามภารกิจของหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวกับการจะเป็นโรงงานดังกล่าวคือ ต้องขอใบอนุญาตในการเปิดโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ก็ต้องไม่ขัดข้องกับระเบียบกฎหมายทางด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องให้บริการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรม และตามความต้องการของภาคเอกชนเช่นกันดังนั้นทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะร่วมกันสร้างความสงบสุขให้กับคนในสังคมและสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศปัจจัยความสำเร็จปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือ ทั้งสองหน่วยงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกันไปในทิศทางเดียวกัน หรือต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และที่สำคัญจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดเพื่อสร้างความสมดุลในการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน 
นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014
นาย สุรัชต์ ชวนชื่น  รหัส 50038010014ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อกันอย่างไร -               ภาครัฐ มีการบริหารจัดการในแนวทางบริการสาธารณะและเพื่อประชาชนอยู่ดีกินดีความสุข, การรักษาอาณาเขต, เพื่อความมั่นคงของกองทัพและการใช้กฎหมายรักษาอธิปไตย ภาครัฐมีรายได้จากภาษีอากรจากภาคเอกชน มาบริหารจัดการประเทศไทยโดยรวม-         ส่วนภาเอกชน มีความคิดในการบริหารจัดการเพื่อหวังผลกำไรจากการประกอบการธุรกิจ และเป็นผู้เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆให้แก่รัฐ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง และบางส่วนนำกลับสู่ภาคประชาชนในรูปแบบนิยมหรือด้านสาธารณูปโภคสาธารณูการ โดยอาศัยหลักการพึ่งพาและเพื่อการอยู่รอดภายในประเทศเป็นต้น       ภาครัฐมีการใช้กลยุทธ์ ( Strategy ) ในการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาล แทนการบริหารแบบดั้งเดิม        ( Paradigm ) เช่น1.     มีการปฏิรูปบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง และกระบวนการทำงานของหน่วยงานมีกลไกในการบริหารแบบใหม่2.            เปลี่ยนทัศนคติ วิธีการทำงาน รวดเร็ว คำนึงถึงผู้รับบิการ3.            ใช้ทุนมนุษย์ ( Human capital )  คือ สรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถ (คนเก่ง) ตลอดจนทักษะ        ( Skills ) และความชำนาญเข้ามาทำงานในองค์กรเพื่อสร้างผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ( Quality )                  ส่วนภาคเอกชนก็ใช้กลยุทธ์แบธรรมาภิบาล  (goal governance ) คือ 1.            กำหนดความดปร่งใสและเป็นธรรมต่อลูกค้า2.            รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น3.            มีระบบติตามและตรวจสอบ4.            มีมาตรฐาน การให้บริการ                   สิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชน มีความคิดเชื่อมโยงเหมือนกันคือการกำหนดตัววัดที่มนุษย์ ในเชิงบริหารจัดการ ( Human capital management resourced  ) เช่น-         ด้านการสรรหา คัดเลือกคน-         ค่าตอบแทนและสวัสดิการ-         ด้านการดำรงรักษา คน ไว้กับองค์กร

-         มีการพัฒนา คนในองค์กรอยู่เสมอ

และที่สำคัญ ของภาครัฐและภาคเอกชน คือ การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและของนายจ้าง
คำถาม  :    ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรคำตอบ  :   โดย นางบังอร  ภูมิวัฒน์   เลขที่  31  (รหัส  5577  5519  1005  1352)                                 จากการอ่านหนังสือหลายเล่ม  สรุปได้ว่า  ในองค์กรทั้งภาครัฐ  และภาคเอกชน  มีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน  และปัจจัยสำคัญในการบริหารงานขององค์กร คือ คน  ดังนั้น  ในการที่จะองค์กร บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ได้ต้องอาศัยการจัดการที่ดี  โดยต้องมีการวางระบบงานให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน  จนทำให้คนในองค์กรนั้น ๆ  เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน   จึงจะพูดได้ว่า หน่วยงานหรือองค์กรนั้น  ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการ                                ในส่วนของความเชื่อมโยงแสดงได้ดังนี้
จำแนกตามโครงสร้าง ภาครัฐ ภาคเอกชน
1.  องค์กร กระทรวง/กรม-         นโยบาย-         วิสัยทัศน์-         พันธกิจ-         กลยุทธ์ บริษัท-         เป้าหมาย(รวมถึงรายรับ กำไร ส่วนแบ่งตลาด)-         โอกาส-         คุณภาพชีวิต
2. ส่วนงาน ข้าราชการ-         จัดทำแผน/กิจกรรม-         ปฏิบัติตามระเบียบ/กฎเกณฑ์-         การประสานงานที่ดีตามขั้นตอน-         ลดขั้นตอนการทำงานให้เกิดความเร็วโดยใช้เทคโนโลยี-         ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากร-         ผลิตสินค้าใหม่ตามแผน เน้นคุณภาพของสินค้า-         เน้นความรวดเร็วและบริการที่ดี-         ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น-         ราคาต่ำ (ลดต้นทุน)
3. ผู้รับบริการ ประชาชน-         การกินดีอยู่ดี-         รายได้ต่อครัวเรือน-         มีการจ้างงานมากขึ้น-         ความพอใจ ลูกค้า-       สินค้าที่มีคุณภาพ-         ความพอใจ
 
นาย สุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014
นาย สุรัชต์ ชวนชื่น  รหัส 50038010014           ภาครัฐและภาคเอกชน มีความเชื่อกันอย่างไร-               ภาครัฐ มีการบริหารจัดการในแนวทางบริการสาธารณะและเพื่อประชาชนอยู่ดีกินดีความสุข, การรักษาอาณาเขต, เพื่อความมั่นคงของกองทัพและการใช้กฎหมายรักษาอธิปไตย ภาครัฐมีรายได้จากภาษีอากรจากภาคเอกชน มาบริหารจัดการประเทศไทยโดยรวม-         ส่วนภาเอกชน มีความคิดในการบริหารจัดการเพื่อหวังผลกำไรจากการประกอบการธุรกิจ และเป็นผู้เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมต่างๆให้แก่รัฐ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศให้รุ่งเรือง และบางส่วนนำกลับสู่ภาคประชาชนในรูปแบบนิยมหรือด้านสาธารณูปโภคสาธารณูการ โดยอาศัยหลักการพึ่งพาและเพื่อการอยู่รอดภายในประเทศเป็นต้น ภาครัฐมีการใช้กลยุทธ์ ( Strategy ) ในการบริหารประเทศแบบธรรมาภิบาล แทนการบริหารแบบดั้งเดิม ( Paradigm ) เช่น1.     มีการปฏิรูปบทบาทหน้าที่ โครงสร้าง และกระบวนการทำงานของหน่วยงานมีกลไกในการบริหารแบบใหม่2.            เปลี่ยนทัศนคติ วิธีการทำงาน รวดเร็ว คำนึงถึงผู้รับบิการ3.            ใช้ทุนมนุษย์ ( Human capital )  คือ สรรหาคนที่มีความรู้ความสามารถ (คนเก่ง) ตลอดจนทักษะ ( Skills ) และความชำนาญเข้ามาทำงานในองค์กรเพื่อสร้างผลผลิตอย่างมีคุณภาพ ( Quality ) 
  ส่วนภาคเอกชนก็ใช้กลยุทธ์แบธรรมาภิบาล  (goal governance ) คือ 1.            กำหนดความดปร่งใสและเป็นธรรมต่อลูกค้า2.            รับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น3.            มีระบบติตามและตรวจสอบ

4.            มีมาตรฐาน การให้บริการ

    สิ่งที่ภาครัฐและภาคเอกชน มีความคิดเชื่อมโยงเหมือนกันคือการกำหนดตัววัดที่มนุษย์ เชิงบริหารจัดการ ( Human capital management resourced  ) เช่น-         ด้านการสรรหา คัดเลือกคน-         ค่าตอบแทนและสวัสดิการ-         ด้านการดำรงรักษา คน ไว้กับองค์กร-         มีการพัฒนา คนในองค์กรอยู่เสมอ และที่สำคัญ ของภาครัฐและภาคเอกชน คือ การรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและของนายจ้าง
พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด

เรียน   ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อนๆ MPA รุ่นที่ 4  ทุกท่าน

               ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร    

               ผู้ศึกษามีแนวคิดว่า  ความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน  ต้องเกื้อกูลกัน  โดยภาครัฐต้องทบทวนบทบาทและปรับปรุงจากเดิมเป็นผู้ปฎิบัติและควบคุม มาเป็น ผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก และ/หรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน  โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สามารถตรวจสอบได้  สร้างความโปร่งใส  ภาครัฐต้องปรับโครงสร้างของระบบเล็กลง  ลักษณะการทำงานเป็นแบบทีมงาน มีทักษะที่หลากหลาย การทำงานที่เน้นประสานความร่วมมือ(เหมือนภาคเอกชน)แทนการออกคำสั่ง  ภาครัฐต้องมีวิสัยทัศน์ที่สร้างพลังใจร่วมกับบุคลากร  และทำให้ทุกคนเชื่อมั่นศรัทธาซึ่งกันและกัน  บุคลากรมีความมุ่งมั่นเอาใจใส่ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า  และนำพาไปสู่ความเป็นเลิศดังเช่นภาคเอกชน  การพัฒนาขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานของภาครัฐให้อยู่ในระดับสูง ฉะนั้น ผู้บริหารทุกระดับควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีมีความพร้อมและยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  ผู้บริหารฯ ต้องมีทัศนคติแบบ "ฉันทำได้"   กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค   มีความอดทน  อดกลั้นต่อความยากลำบาก และฟันฝ่าต่ออุปสรรคนั้นจนประสบความสำเร็จ    ดังสุภาษิตคำพังเพยที่กล่าวว่า  "ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น"   อย่างรก็ตาม  การพัฒนาระบบราชการทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมานี้เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041
                 ก่อนที่จะตอบการบ้านท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่งที่ท่านเสียสละเวลาอันมีค่าของท่าน มาสอนให้พวกเรา รปม.รุ่น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ไม่เคยคิดมาก่อนเลยค่ะ ว่าจะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับชาติเช่นท่านอาจารย์  ที่ท่านมีทั้งความรู้ความสามารถ ความเก่งกาจ และวาทะอันเฉียบคมขนาดนี้  ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ใคร ๆ จะได้มีโอกาสดี ๆ และได้สัมผัสกับอาจารย์อย่างใกล้ชิดเช่นนี้  และยิ่งรู้สึกยินดีที่ท่านอาจารย์มีความต้องใจจริงที่จะทำให้พวกเราที่เคยบ้าปริญญา  หันกลับมาบ้าปัญญา บ้าความรู้ กันอย่างบ้าคลั่ง  การที่ท่านอาจารย์มาสอนทำให้พวกเราได้พัฒนาสมอง โดยเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ  ให้สมองอันน้อยนิดได้ถูกกระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์  แต่มิใช่เฉพาะแค่สมองที่ต้องทำงานหนักนะคะ  หัวใจก็เช่นกัน รู้สึกว่าจะเต้นรุนแรงกว่าปกติ  ปั่นปวนพอกันทั้งสมองและหัวใจ ด้วยความเกรงในความรู้ความสามารถที่แผ่กระจายอยู่รายรอบท่านอาจารย์  แต่ในความคิดส่วนตัวกลับคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ เพราะสมองอันมีรอยหยักคล้ายสไลเดอร์สวนสยาม คราวนี้จะได้พัฒนารอยหยักให้มีมากขึ้นจากการเรียนในรูปแบบของท่านอาจารย์                 จากงานชิ้นแรก (งานเดี่ยว) ที่ท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้แสดงความคิดเห็นในเรื่อง ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร  นั้น ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันหลายส่วน  ทั้งองค์กรภาครัฐบาลและเอกชน ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันคือการที่จะบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ  มีประสิทธิภาพ  ไม่เพียงแต่องค์กรเองที่จะประสบความสำเร็จ  อาจยังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศก็เป็นได้  ซึ่งองค์ประกอบหลักในการบริหารจัดการที่ดี หนีไม่พ้นในเรื่องการบริหารคน (man) เงิน (money)  วิธีการ (method) และวัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ (material/machine)  ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างให้ความสำคัญเรื่องการบริหารคนเป็นหลัก  เนื่องจากคนเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ หากได้รับการพัฒนาและการบริหารที่ดี  แต่ก็เป็นองค์ประกอบที่ควบคุมได้ยากเช่นกัน ถ้าไม่มีการบริหารหรือแรงจูงใจที่เหมาะสม  การบริหารงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จและประสิทธิภาพที่ดีจะเห็นได้ชัดในองค์กรภาคเอกชน  ที่มีการบริหารงานที่มุ่งเน้นความสำเร็จและผลกำไร  หากองค์กรไม่สามารถดำเนินกิจการให้สำเร็จได้ นั่นก็หมายถึงความล้มเหลวขององค์กร  และอาจส่งผลให้องค์กรนั้น ๆ ต้องปิดตัวลงก็เป็นได้  องค์กรภาคเอกชนหลายหน่วยงานจึงได้นำแนวคิดและทฤษฎีการบริหารใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาองค์กรอย่างหลากหลาย ทั้งในด้านของการพัฒนาระบบการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร การควบคุมคุณภาพ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ  ซึ่งองค์กรภาครัฐในปัจจุบัน  ก็ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นผลกำไรเช่นกัน  แต่เป็นกำไรทางความสุขและความพึงพอใจที่ผู้รับบริการหรือประชาชนได้รับจากหน่วยงานรัฐ เช่น ความอยู่ดีกินดี  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และมีความสุข  แต่เนื่องจากการดำเนินการบางเรื่องที่ภาครัฐไม่สามารถดำเนินงานได้เอง  ภาครัฐก็จะต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน  และในทางกลับกัน ภาคเอกชนเองก็ต้องดำเนินการภายใต้กรอบนโยบาย และกฎหมายที่ภาครัฐเป็นผู้กำหนด    ยกตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลของเอกชนที่เน้นการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นอย่างดี เอาใจใส่ดูแล  มีระบบการทำงานที่รวดเร็ว คล่องตัว บุคลากรให้บริการด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อัธยาศัยดีและเอาใจใส่กับลูกค้าด้วยใจ (service mind) ซึ่งองค์กรต้องมีการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรเป็นอย่างดี   สำหรับโรงพยาบาลของรัฐในปัจจุบันก็เช่นกัน  หลายแห่งเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการให้บริการดังกล่าว จึงนำทฤษฎีการบริหารแนวใหม่มาใช้ฝึกอบรมให้กับบุคลากร เพื่อให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจสูงสุด  และเพื่อให้เกิดความคล่องตัว งานบางส่วนก็จ้างหน่วยงานเอกชนเข้ามาดำเนินการ เช่น การทำความสะอาด  เป็นต้น     ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวมาข้างต้น อาจพอที่จะทำให้เห็นว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงและเกื้อกูลกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ  สิ่งที่ข้าพเจ้าแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้  เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยจากสมองไร้รอยหยัก อาจไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่  แต่หากได้รับการพัฒนา และกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา จากท่านอาจารย์ที่ชื่อว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และทีมงานแล้ว  สมองน้อย ๆ ไร้รอยหยักนี้ ก็น่าจะมีรอยหยักมากขึ้นได้ค่ะ 
นางสาว วรางคณา ศิริหงษ์ทอง
นางสาววรางคณา   ศิริหงษ์ทอง  รหัส  50038010043  ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร  โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการบริหารจัดการคนซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญในองค์กรให้สามารถดำเนินงานเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร ถึงแม้ว่าภาครัฐจะไม่มุ่งเน้นที่ผลกำไรเหมือนภาคเอกชน  แต่ภาครัฐก็ต้องคำนึงถึงความอยู่ดี มีสุข ของประชาชนซึ่งนับเป็นผลกำไรถ้าภาครัฐไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ถึงองค์กรภาครัฐจะไม่เจ๊งในทันทีเหมือนภาคเอกชนแต่ในระยะยาวก็ต้องเจ๊งอยู่ดี ถึงภาครัฐมีเป้าหมายเป็นภาพใหญ่  เอกชนมีเป้าหมายอยู่ที่ผลกำไรแต่ก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยภาครัฐยังมีความเกี่ยวข้องกับเอกชนในด้านการค้า คือ ภาครัฐทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และออกข้อกฎหมายต่าง ๆ และภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการนโยบายของรัฐและภาคเอกชนยังเป็นหน่วยงานที่มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น การรับจ้างจากภาครัฐให้ทำงานบางประเภทที่ต้องการความรวดเร็วและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอีกด้วย
น.ส. จุไรรัตน์ เปลี่ยนขำ
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                ภาครัฐหรือภาครัฐบาลมีนโยบายในการบริหารแผ่นดินในด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม นอกจากนี้ภาครัฐมีหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ ของประเทศ  ส่วนภาคเอกชนมีการบริหารงานครอบคลุมระบบเศรษฐกิจของประเทศ  นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในการพัฒนาศักยภาพต่าง ๆ อาทิเช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านฝีมือแรงงาน นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำในเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ในการบริหารงานองค์กร ด้วยจุดเด่นของทั้งสองประการนี้ ทำให้ภาครัฐต้องหันมามองและกลับมาพัฒนาการบริหารงานของรัฐให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับภาคเอกชน โดยความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนที่เห็นได้ชัดเช่น องค์กรรัฐวิสาหกิจ  อีกประการหนึ่งที่อาจเห็นได้ในปัจจุบันคือเรื่องของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ภาครัฐต้องยื่นมือเข้ามาช่วยภาคเอกชน ในเรื่องการชะลอราคาน้ำมันหรือการปรับลดราคาน้ำมัน ทั้งนี้เพื่อมิให้ภาคเอกชนเกิดผลกระทบที่อาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศนอกจากนี้การที่ภาครัฐมีนโยบายในการส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นการค้าขายทั้งภายในและภายนอกประเทศ  การพัฒนาผลผลิต การส่งเสริมโครงการวิจัยต่าง ๆ นั้น หากการส่งเสริมทางการเกษตรนี้ไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนที่ช่วยผลักดันทางการค้า ประเทศไทยคงไม่ประสบความสำเร็จในด้านการส่งออก และนอกจากนี้ปัจจุบันค่าเงินบาทที่แข็งตัวได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศ ทำให้ภาคเอกชนเกิดความเสียหายด้านการค้า ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการพยุงค่าเงินบาลเพื่อมิให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องชะงักตามระบบเศรษฐกิจโลกที่เกิดการชะลอตัว เป็นต้น........................................................

 

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ (ตัวแทนกลุ่มที่ 3)
รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่  31.  นางสาวกมลทิพย์           สัตบุษ                    2.  นางสาวพรทิพย์             เรืองปราชญ์3.  นางสาวขนิษฐา              พลับแก้ว               4.  นางสาววรางคณา          ศิริหงษ์ทอง5.  นางวีลาวัลย์                     จันทร์ปลา             6.  นายบุญชู                         ทองฝาก7.  นายโสภณ                       สังข์แป้น               8.  นางสาวสายใจ                โฉมสุข9.  จ.ส.ต.พงศกร                  ไพเราะ                  10.  ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์           มณีโชติ11.  นายชัยรัตน์                   พัฒนทอง              12.  จ.ส.ต.บัญชา  วิริยะพันธ์สรุปสาระสำคัญจากการชมวีดีโอสัมภาษณ์ คุณพารณ  อิศรเสนา    อยุธยา                  การจะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาได้ นั้น จะต้องมาจากหลักความเชื่อ หรือความศรัทธา ในเรื่องที่เราจะทำเสียก่อน อย่างเรื่อง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เราต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของคน งานทั้งหลายทั้งปวงเมื่อดูให้ดีแล้วจะสำเร็จได้ด้วยคน คนจึงเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เรื่องการบริหารงานบุคคลเป็นหัวใจขององค์กรแท้ ๆ ถ้าบุคลากรขององค์กรไม่มีความสามารถหรือความจงรักภักดีโอกาสที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จเป็นไปได้ยาก หากมองด้านเศรษฐศาสตร์ คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร ยิ่งกว่าเครื่องจักร ยิ่งกาลเวลาผ่านไปคุณค่าของเครื่องจักรก็จะด้อยลง ในขณะที่คนจะมีคุณภาพเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เมื่อมีการแข่งขันกันมากขึ้นเราจะมองเรื่อง คน เฉพาะ คนใน ไม่ได้ต้องมองคนออกเป็น ๒ ประเภท คือ คนภายในองค์กร และคนภายนอกองค์กร ซึ่งหมายถึง ลูกค้า ด้วย รวมถึงการสร้างคนในองค์กร ต้องสร้างทั้งหมดตั้งแต่คนงานเช่น การฝึกอบรม  ถ้าองค์กรใหญ่ขึ้นก็จะมีปัญหาด้านการติดต่อสื่อสาร จะทำให้ระบบการตัดสินใจค่อนข้างยาว จะต้องทำให้สั้นลงด้วยการกระจายอำนาจเพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ต้องแน่ใจด้วยว่าเมื่อมอบอำนาจแล้วเขาผู้นั้นทำได้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ต้องยึดมั่นด้านคุณธรรม รวมถึงการเตรียมคนให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยต้องฝึกทักษาคนเพื่อมารองรับกับเทคโนโลยี และสร้างความผูกพันในองค์กร ต้องมีสวัสดิการที่ดี  มีระบบประกันการว่างงาน ระบบประกันสังคม  และการได้รับความเป็นธรรม ซึ่งจะต้องดูแลคนตั้งแต่วันแรกที่เขาเข้ามาทำงาน จนกระทั่งวันที่เขาเกษียณอายุ เป็นต้น
นายชัยรัตน์ พัดทอง รปม. รุ่น 4

ภาครัฐและเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ?
     หากจะมองความเหมือนก็จะมองไปถึงภาระกิจของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนระบบซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชน จะเข้ามาเกี่ยวข้องกันมากที่สุดเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ มากกว่าที่จะมาเกี่ยวข้องทางด้านการเมือง และสังคม แต่นั่นก็เป็นตัวแปรอย่างหนึ่งที่จะเป็นตัวเชื่อมของระบบเศรษฐกิจ ไปสู่ความแปรเปลี่ยนเสื่อมถอย หรือพัฒนาของภาคใหญ่ ๆ ในระดับชาติได้ และสิ่งที่เอกชน และภาครัฐมีสิ่งคล้าย ๆ กัน ก็คือ รูปแบบองค์กร การบริหารจัดการ มีงบประมาณ การฝึกฝนอบรม ซึ่งในกิจกรรมบางอย่าง รัฐอาจจะบริหารได้ดีกว่าเอกชน แต่มีส่วนน้อยมาก เอกชนเป็นองค์กรระดับจุลภาค มีสายงานการบังคับบัญชาน้อย ทำให้เกิดการคล่องตัว เกี่ยวกับบุคลากรก็มีเกณฑ์มาตรฐานวัดประสิทธิภาพของการทำงาน มีการให้ออก เป็นต้น แต่ราชการเอกลักษณ์อย่างหนึ่งก็คือ ความมั่นคง แต่ภาครัฐ หรือราชการเองก็เริ่มนำวิธีการของเอกชนมาใช้ในการบริหารจัดการ จะเห็นได้ว่า การบรรจุเข้ารับราชการในทุกวันนี้ ไม่นิยมบรรจุแบบตลอดชีพ จะมีการจ้างแบบลูกจ้างชั่วคราว หรือรายปี
      ราชการหรือภาครัฐเป็นองค์กรที่ใหญ่ มีสายการบังคับบัญชาซับซ้อน และมีวัฒนธรรมองค์กรที่หยั่งยากลึก ยากที่จะแก้ไข คือระบบเจ้าขุนมูลนาย ติดอยู่กับความคิดว่าตนเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเหนือประชาชน ทั้งที่จุดประสงค์ของการกำเนิดราชการก็เพื่อให้มารับใช้ประชาชน มีระบบอุปถัมภ์ซึ่งมองในแง่หนึ่งก็อาจจะดี คือการติดต่อประสานงาน ความมีน้ำใจ ตามสังคมไทย เอื้อเฟื้อต่อกัน แต่มันก็เป็นบ่อเกิดของการคอรัปชั่น เล่นพรรคพวก ถึงจุดนี้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงบทเพลงบทเพลงหนึ่ง ที่ว่า "เช้าชามเย็นชามสองขั้นปี แต่คนขยันทำงานดี ไม่มี ๆ ไม่มองมา อย่างนี้เมื่อไหร่บ้านเมืองไทย เจริญก้าวไกลทัดเทียมทัน นานาประเทศดังคำขวัญ ที่เขียนเอาไว้สวยดี" นั่นแสดงถึงการอ่อน หรือจุดอ่อน จุดบอดของวงราชการ ที่เล่นพรรคพวก และผู้นำขาดความยุติธรรม ความโปร่งใสในการบริหาร ถ้าแก้ไขสิ่งเหล่านี้ในราชการได้ สังคมไทยจะเป็นสังคมที่น่าอยู่ และพัฒนาไปได้เร็วอย่านี้
      สิ่งที่พึงเล็งเห็นในการบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ก็คือ ตัวทรัพยกรอย่างหนึ่งที่เรียกว่า มนุษย์ (Human) ซึงจะเป็นตัวแปรต่อการนำพาองค์กร ไปในทิศทางที่เสื่อมหรือเจริญ หลายประเทศให้ความสนใจในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นเวียดนาม ซึ่งดูเหมือนว่าทุกวันนี้ เขาจะพัฒนาแซงหน้าไทยไปแล้ว นั่นเพราะคนของเขามีคุณภาพ หากประเทศไทยเรายังเป็นแบบที่เป็นอยู่ บางที่อาจจะเป็นประเทศที่ล้าหลัง แม้กระทั่งประเทศลาววว..

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

       -  ภาครัฐเป็นผู้บริหารประเทศ  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดี  กินดี  มีความสุข  ส่วนภาคเอกชนเปรียบเสมือนประชาชนของประเทศ  ซึ่งมีเป้าหมายในการมุ่งบริหารจัดการให้กิจการของตนมีผลกำไรมากที่สุด  แต่ในปัจจุบันภาคเอกชนหันมาให้ผลตอบแทนคืนประโยชน์สู่สังคมด้วย

       -  งบประมาณในการบริหารประเทศได้มาจากภาษีของภาคประชาชน / ภาคเอกชน  โดยถือเป็นหน้าที่

       -  ภาครัฐเป็นผู้ดูแล  ควบคุม  การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก  สาธารณูปโภคต่างๆ   ในขณะที่ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินการสร้างเพราะมีความเชี่ยวชาญ  ความชำนาญเฉพาะด้าน  จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าภาครัฐ  เช่น  การก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ

       -  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหาร  ภาคเอกชนจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  ปัจจุบันภาครัฐหันออกมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  เช่น  Internet

        -  ผลตอบแทน  สวัสดิการ  มีผลต่อทรัพยากรบุคคล  โดยที่ภาคเอกชนให้ผลตอบแทนที่สูง  จึงส่งผลให้บุคลากรที่มีความสามารถไปอยู่กับภาคเอกชนมาก  จึงทำให้ภาครัฐขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ

        -  โครงสร้างการบริหารจัดการ  ภาครัฐมีโครงสร้างที่เป็นแนวราบ  การดำเนินการตัดสินใจสั่งการเป็นไปได้ช้า  แตกต่างจากภาคเอกชนเป็นแนวตั้ง  ปัจจุบันภาครัฐได้หันมาให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น  จึงเกิดการกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในส่วนของการบริการประชาชน  ก็มีความเป็นจุดบริการ One  Stop  Service  มากขึ้น 

         -  นโยบายการบริหารประเทศ  ส่งผลต่อภาคเอกชนโดยตรง  เช่น  นโยบายการเงิน  การคลัง  เพิ่มภาษี  ลดภาษี  ล้วนส่งผลไปยังผลประกอบการและความเป็นอยู่ของประชากร

นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขาการปกครองท้องถิ่น

ภาครัฐและภาคเอกชนมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร
  - ภาครัฐในที่นี้จะหมายถึงรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่ในการบริหารประเทศ  โดยมีหน้าที่ที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนอยู่ดี กินดี และมีความสุข นั่นก็คือเป้าหมายสูงสุด
  - ส่วนภาคเอกชนที่หน่วยเล็กที่สุดคือประชาชนแต่ละบุคคลไล่เรียงลำดับขั้นไปเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ๆขึ้นไป ได้แก่ ห้างร้าน บริษัท ต่างๆ เรื่อยๆขึ้นไป จากที่มีสมาชิก 1 คนเป็นร้อยหรือเป็นพันๆคนขึ้นไป
  - ภาครัฐและภาคเอกชนต้องมีความเชื่อมโยงกันหรือมีความสัมพันธ์กันนั่นเองเพื่อที่จะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในสังคมจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปไม่ได้ , รัฐเป็นผู้บริหารให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขมีงานทำมีรายได้ ขายสินค้าไปต่างประเทศได้ มีรายได้อย่างสมบูรณ์  รัฐก็สามารถเก็บภาษีจากประชาชนได้อย่างทั่วถึง  รัฐมีการส่งเสริมให้มีการลงทุนจากภาคเอกชนมากขึ้น ประชาชนก็จะมีงานทำมากขึ้น มีรายได้ต่อบุคคลหรือต่อบริษัทต่อหน่วยงานนั้นๆมากขึ้น รัฐก็มีการเก็บรายได้มากขึ้นตามลำดับสามารถนำเงินมาบริหารประเทศได้มากขึ้นทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า
  - ในทางตรงกันข้ามถ้าภาครัฐและภาคเอกชนเดินกันคนละทางไฉนเลยรัฐจะเก็บรายได้จากภาคเอกชนได้นั่นก็คือประเทศชาติคงจะล่มสลายทางระบบเศรษฐกิจแน่นอน

น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

                                                              สมาชิกกลุ่ม 5 

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008 

                  จากการชมบทสัมภาษณ์ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา    กลุ่ม 5 ขอสรุปสาระสำคัญดังนี้  เริ่มจาก การที่คุณพารณ ใช้ปรัชญาและอุดมการณ์ในการที่นำคนมาใช้ในธุรกิจ คือ การทำสิ่งใดให้ดี ต้องมีความเชื่อ ความศรัทธาขึ้นก่อน ต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของคน ผู้ใหญ่ต้องให้ความสำคัญเรื่องคน คนจึงเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์การ  เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นเกิดคน คนมาช่วยแก้ปัญหา มาช่วยเสนองานต่างๆ และมีทั้งคนที่สร้างปัญหา และถ้าเราบริการคนดีแล้วก็พาองค์กรก้าวหน้า                    มอเตอร์ไซค์นานไปมันเสื่อมค่าลง แต่คนที่อยู่กับเรามีค่าเพิ่มขึ้นทุกปีๆ”          คำพูดนี้ก็หมายถึง คน เพราะถ้ามีการฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรอยู่เสมอ ทั้งด้านวิชาการและด้านความรู้ต่างๆแล้วดังนั้นคุณค่าของคนหรือบุคลากรในองค์กรก็จะเพิ่มขึ้นเพราะโลกปัจจุบัน โลกแคบลงเพราะมีการโทรคมนาคม การกีดกันการค้าจึงเป็นไปไม่ได้  การทำงานให้มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย ก็หนีไม่พ้นคน ที่ต้องพัฒนาคนและฝึกทักษะให้รับกับเทคโนโลยีต่างๆ คุณพารณ ได้ให้ความสำคัญกับคนโดยมองคนเป็น 2 ประเภท คือ   1. คนภายในองค์กร   2. คนภายนอกองค์ คือ ลูกค้า ผู้ใช้บริการหรือสินค้า เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริการหรือสินค้าของเรา     โดยหลักการที่คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่ในองค์กรนั้น  คุณพารณ ยังใช้อุดมการณ์    ตั้งมั่นในความเป็นธรรม    เป็นจรรยาบรรณในการบริหารองค์และของพนักงานในการทำงาน ทั้งนี้   ผู้ใหญ่ในองค์กรต้องประพฤติปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย เพื่อผลที่มีค่าในระยะยาวต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความเชื่อถือต่างๆ การมององค์กรและบุคลากรในภาพลักษณ์ที่ดี ดังคำพูดที่ว่า ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  และในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องมีวิธีกลไกสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร คุณพารณ ให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มเดินเข้ามาอยู่ในองค์กร ดูแลระหว่างอยู่ในองค์กร โดยต้องมีสวัสดิการ มีการปกครองที่ดี ให้มีการพิสูจน์ตัวเอง ในการโยกย้ายเลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กร และจนถึงเกษียณไปต้องให้ผลประโยชน์ให้เค้าดำรงชีพต่อไป และที่สำคัญ การทำให้บุคคลากรผูกพันกับองค์กรนั้นต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกับลูกน้อง รักลูกน้อง ลูกน้องจะรักเรา                                                        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคุณพารณให้ความสำคัญกับ ”คน ที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุดในองค์กรเพราะคนที่ดี, เก่ง, มีคุณธรรม,รักองค์กร จะเป็นพลังพาให้องค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์
นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031  เลขที่ 31 นักศึกษารปม. รุ่น 4 ข้อ 1 ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไรภาครัฐ เป็นองค์กรที่เป็นหน่วยงานของรัฐมีวัตถุประสงค์หลักคือการจัดทำบริการสาธารณะต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ส่วนภาคเอกชนมีวัตถุประสงค์หลักคือการทำกำไรสูงสุดแต่บางครั้งภาคเอกชนก็มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการเพิ่มมากขึ้น ในการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจได้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่สังคม ทำให้คนมีงานทำเกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ทำให้คนมีรายได้ คนสามารถซื้อสินค้าได้มากขึ้น เงินก็เกิดการหนุมเวียนในระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจก็จะดี รวมถึงคุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น รัฐบาลมีโอกาสเก็บภาษีอากรได้มากขึ้นจากภาคเอกชน และประชาชนที่เสียภาษีให้แก่ภาครัฐ รัฐบาลก็จะนำเงินไปทำนุบำรุงประเทศได้มาก ประชาชน และสังคมก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง                ภาครัฐ มีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐ   ออกกฎหมายต่างๆ กำหนดกฎระเบียบ  ข้อบังคับ ต่างๆ ที่รัฐบาลเป็นคนกำหนดขึ้นมา ภาคเอกชนมีหน้าที่ที่จะต้องนำนโยบายที่รัฐกำหนดไปสู่การปฎิบัติให้ถูกต้อง สมบรูณ์ ครบถ้วน  เช่นการจดทะเบียนให้การจัดตั้งบริษัทขึ้นก็ต้องไปจดทะเบียนกับภาครัฐและให้ทำงานต่างๆบ้างครั้งก็ต้องไปทำกับภาครัฐเพื่อถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อบริษัทมีรายได้มีกำไรก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้แก่ภาครัฐ                ภาครัฐ นั้นเข้าเกี่ยวข้องกับภาคเอกชน เช่น ในการกำหนดราคาสินค้า การควบคุมราคาสินค้าจะต้องไม่แพงเกินไปแล้วทำให้ประชาชนผู้บริโภคนั้นได้รับเดือดร้อน มีการปรับราคาสินค้าขึ้น เช่น กระทรวงพลังงานอนุมัติให้ปรับราคาก๊าซหุ้งต้ม 3 บาทต่อถัง   และโรงบรรจุจะขอปรับราคาที่จะหน่ายให้กับผู้ค้าก๊าซอีก 3 บาทต่อกก.ขนาดถัง 15 กก.โดยผู้ประกอบการอ้างว่า ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ค่าแรงเพิ่มขึ้น บางครั้งภาคเอกชนก็ขายสินค้าในราคาแพงสูงขึ้นหรือขายเกินราคา ปรับราคาขายกันเองทำให้ประชาชนต้องซื้อสินค้าในราคาที่แพงกว่าปกติ ทำให้ประชาชนเดืดร้อน ดังนั้นภาครัฐมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบราคาสินค้า และตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ประกอบการธุรกิจ ไม่ให้เอารัดเอาเปรียบประชาชน ไม่โฆษณาชวนเชื่อเกินเหตุ หรือไม่ปะปนสินค้า หรือโกงน้ำหนักของสินค้า ภาคเอกชนจะต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า ด้วยการขายสินค้าที่มีคุณภาพ การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนบางครั้งทั้งสององค์การจะต้องให้ความร่วมมือกันมีการติดต่อประสานงานกัน เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมงานเวทีการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ และงานแสดงซื้อขายสินค้าบริการด้านท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชน โดยจะนำภาคเอกชน ประกอบด้วยโรงแรม บริษัทนำเที่ยว  เพื่อเป็นการนำเสนอสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของปรเทศไทย พร้อมกับจัดทำหนังสือรวบรวมสถานที่ของประเทศไทย เพื่อกระตุ้นตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น จะทำให้ประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้ง มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนเตรียมดำเนินการจำนวนมาก เช่น ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย , รถไฟรางคู่ ระบบขนส่งมวลชน และภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลดีแรงงานภาคก่อสร้างส่วนแรงงานภาคการผลิตจะได้รับผลดีจากการลงทุนภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการอนุมัติจากบีโอไอภาครัฐอาจมอบหมายงานให้เอกชนเข้ามาลงทุนจะดีกว่า ถ้ารัฐลงทุนบริหารจัดการเองก็ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากจะต้องใช้เงินลงทุนสูง  เพราะงบประมาณมีจำกัด เช่น การก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ. สตูลในเรื่องการบริหารคนในองค์กรทั้งภาครัฐกับภาคเอกชนก็คล้ายคลึงกัน ทั้งภาครัฐกับภาคเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่อการบริหารคนในองค์กรโดยเฉพาะการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานในองค์กรความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลในการบริหารจัดการภายในองค์กรนั้นๆ ควรใช้คนให้ตรงกับลักษณะของงาน   
นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๑๓๘๑๐๐๑๙

       การที่จะทำให้การบริการด้วยบัตร Smart Card ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  ระบบฐานข้อมูลบุคคลนี้จะมีฐานะเป็นระบบฐานหลัก  Core engine และศูนย์กลางหรือ HUB  ในการเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก ร่วมกัน  โดยมีหน่วยของรัฐเข้ามารับผิดชอบ  ในการขับเคลื่อนการใช้งานบัตรให้เกิดความคุ้มค่า  และให้ประโยชน์สูงสุด

        เมื่อเริ่มนำเอาปัญหาความต้องการของประชาชนสู่ระบบการลงทะเบียนเพื่อแยกแยะ  วิเคราะห์ และกำหนดวิธีในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและตรงความต้องการของประชาชน  เป็นการนำเครือข่ายการเชื่อมโยง และเครื่องมือนี้มาใช้งานทำให้รัฐบาลได้เข้าถึงความต้องการและทราบปัญหาของประชาชนได้โดยตรงและเร็วมากขึ้น ทำให้รัฐบาลรับรู้ข้อมูลประชาชนและมีระบบฐานข้อมูลบุคคลของประเทศทุกปัญหาของประชาชนที่รัฐต้องการอยากรู้ ถือว่าเป็นการบริหารงานและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

         บัตร Smart Card  สะท้อนสิ่งที่โลกยุคใหม่เรียกว่า Speech คือ

ความรวดเร็วในการแข่งขัน  และเข้าถึงข้อมูลของบุคคลของผู้ให้บริการรวมถึงหน่วยงานรัฐบาลที่จะจัดสรรงบประมาณ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริการไปถึงมือประชาชน ต่อไปนี้ประชาชนจะไม่ต้องพะวงกับการหอบเอกสารหลักฐานไปแสดงหรือพิสูจน์ยืนยันตัวเอง  ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องกังวลกับการที่จะถูกแอบอ้างชื่อของตัวเองไปใช้ในทางมิชอบ ผิดกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคนอื่น  การเชื่อมโยงเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์มากมาย  เช่น  รัฐบาลประหยัดงบประมาณ เรื่องของข้อมูลบุคคล  เอกชนหรือประชาชนก็สะดวกสบายในการติดต่อราชการถือบัตรประชาชนใบเดียวก็สามารถติดต่องานราชการได้และประสบผลสำเร็จ ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าประชาชนจะไปทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลย มีบัตรประชาชนใบเดียวก็ใช้ได้แล้ว และยังมีอีกหลายหน่วยงานที่สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่องานได้เลย

            ดังนั้นบัตรสมาร์ทการ์ด  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการปฏิรูประบบราชการ  โดยการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการบริการแก่ประชาชน  เพื่อให้ส่วนราชการพัฒนาระบบบริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ

ถามว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร
      ตราบใดที่ประเทศยังต้องมีการพัฒนาประเทศและทำการค้าระหว่างประเทศความเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและเอกชนยังคงต้องมีความเชื่อมโยงกันตลอดเวลาไม่ว่าในด้านไดก็ตามถ้ารัฐยังต้องอาศัยภาษีจากภาคเอกชนมาบริหารประเทศและพัฒนาประเทศอีกส่วนหนึ่งเป็นเงินเดือนของข้าราชการ ภาคเอกชนเองก็ต้องอาศัยภาครัฐเป็นตัวแปรในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศเพื่อแสดงถึงความเชื่อมั่นโดยมีภาครัฐคอยให้ความช่วยเหลือด้านความได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้า ส่วนภายในประเทศภาครัฐเองก็คอยกำกับดูแลภาคเอกชนในการพัฒนาความเจริญเติบโตด้านสาธราณะประโยชน์โดยเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาประมูลโครงการต่าง เช่นโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ,โครงการรถไฟฟ้า,เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายแก่ประชาชนทั่วไปในยุกโลกาภิวัฒน์ จะเห็นได้ว่าที่ว่ามาทั้งหมดภาครัฐและภาคเอกชนเป็นหลักทั้งนั้น ประเทศชาติจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อเศษฐกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกันเมื่อผู้นำของประเทศสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนที่จะมาลงทุนในประเทศ ๆ ก็จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยภาคธุรกิจที่มีเอกชนเป็นผู้บริหารโดยมีภาครัฐเป็นผู้กำกับและมอบนโยบาย ประชากรก็จะมีงานทำมากขึ้นรัฐก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียงบประมาณมาค่อยช่วยเหลือประชากรที่ว่างงานอีกต่อไป    ภาคเกษตรกรชาวไร่ชาวนาเปรียบเหมือนกับภาคเอกชนขนาดเล็กที่รัฐคอยให้ความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มผลิตจนถึงการหาตลาดตลอดจนประกันราคาให้กับเกษตกร การค้าภายในและภายนอกแม้นแต่ค่าของเงิน  รัฐเองก็จะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือตลอดเวลาเพื่อไม่ให้ค่าของเงินอ่อนหรือแข็งเกินไปหากรัฐไม่เข้าไปกำกับดูแลก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในสภาวเศษฐกิจถดถอย
      สรุป  ได้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันตลอดเวลาและไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้ โดยมีวัตถุประสงค์ต่างกันก็คือภาครัฐต้องการผลประโยชน์โดยส่วนรวมมากกว่าแต่ไม่ต้องการแสวงหาผลกำไรตรงกันข้ามภาคเอกชนต้องการแสวงหาผลกำไรมากกว่าผลประโยชน์โดยรวม

    ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร..

      ภาครัฐและภาคเอกชนมีความสัมพันธ์เกื่อกูลกันโดยตลอดทุกยุกทุกสมัย ภาครัฐมีภาระหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  ออกกฎหมาย กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติโดยมีข้าราชการประจำเป็นผู้ควบคุมกฎเกณฑ์ต่างๆนั้นโดยมีเป้าหมายคือการทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข ส่วนภาคเอกชนคือกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคลที่ประกอบธุรกิจโดยมีเป้าหมายคือผลกำไร

         การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชนจำเป็นต้องมีทิศทางและกลไกทางด้านกฏระเบียบที่ทางฝ่ายภาครัฐเป็นผู้ที่กำหนด  มิฉะนั้นแล้วจะเกิดความแตกแยกเอารัดเอาเปรียบในเชิงธุรกิจ ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำสุดท้ายไม่สามารถควบคุมได้อันจะทำให้เกิดความเสียหายให้กับประเทศชาติ ภาคเอกชนเมื่อดำเนินธุรกิจมีผลกำไรจากการประกอบการ ภาครัฐก็กำหนดให้มีการปันผลในรูปของเงินภาษีคืนกลับมาสู่ภาครัฐ เป็นทุนในการบริหารจัดการประเทศให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีมีสุข และขณะเดียวกันเมื่อภาคเอกชนมีปัญหาในการประกอบการธุระกิจ เช่นในสภาวะค่าเงินบาทแข็งตัวส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกเสียหาย ภาครัฐก็เข้าไปมีส่วนร่วมในการพยุงค่าเงินบาทเพื่อมิให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องชงักงันตามสภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันลดความสูญเสียให้กับภาคเอกชน

ภาครัฐมีในที่นี้ คือ กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆมีภาระหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย  ออกกฎหมาย กฎระเบียบ โดยมีเป้าหมายคือการทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข

ส่วนภาคเอกชนคือกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลดำเนินกิจกรรมในรูปองค์กรธุรกิจโดยมีเป้าหมายคือผลกำไร

สิ่งที่ภาครัฐกับเอกชนมีความเชื่อมโยงกันตามความเข้าใจของข้าพเจ้า คือ ทังภาครัฐและเอกชนนั้นดำเนินกิจกรรมในรูปขององค์กร มีการบริหารจัดการที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายกัน และกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้านั้นคือประชาชน ภาครัฐนั้นให้บริการประชาชนโดยไม่มุ่งเน้นหากำไรส่วนเอกชนนั้นแสวงหากำไรกับประชาชนซึ่งภาคเอกชนนั้นต้องแสวงหากำไรเพื่อความอยู่รอดของตนแต่หน่วยงานภาครัฐนั้นเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีกฎระเบียบต่างๆนานา เยอะมากซึ่งประกอบกับการบริหารจัดการแบบเก่าๆทำให้เป็นอุปสรรคในการให้บริการ ทำให้เกิดความล่าช้ามาก ซึ่งแตกต่างกับภาคเอกชนซึ่งมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากกว่าทำให้เกิดความคล่องตัวสูงและมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและการบริการของตนเองมากที่สุด และแน่นอนต้องแลกกับค่าตอบแทนกับการให้บริการนั้นๆ

ปัจจุบันภาครัฐกับเอกชนนั้นมีความเชื่อมโยงกัน ในด้านของการให้บริการประชาชนมาก เพราะโครงการต่างๆที่ภาครัฐต้องการจัดสร้างให้บริการประชาชน เช่น โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายต่างๆ หากจะรอให้รัฐดำเนินการ คงใช้เวลาเนิ่นนานมาก ดังนั้น เอกชนซึ่งมี ทุน มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากกว่า มีความคล่องตัวสูง จึงเข้ามามีส่วนร่วมกับการให้บริการประชาชน ในการประมูลโครงการต่างๆของทางภาครัฐ เพื่อให้กิจการต่างๆของทางภาครัฐขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด

สิ่งที่ทำภาคเอกชนมีประสิทธิภาพมากกว่าภาครัฐ คือ คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ที่ภาคเอกชนมีมากกว่า เพราะภาคเอกชนมีการแข่งขันกันสูงทำให้มีการพัฒนาศักยภาพอยู่ตลอดเวลา ส่วนภาครัฐยังขาดความเอาใจใส่ในทรัพยากรมนุษย์ซึ่ง ภาครัฐต้องเร่งเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ให้คุ้มค่ากับเงินภาษีที่เอกชนต้องเสียให้กับภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อความเจริญของประเทศชาติ

 

        

  กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคนจับปลา : Fisherman Party)                1. พระศุภสิน  ศักศรีวัน                2. พระมหาวิทยา  นางวงศ์                3. นางสาวนลินี  โลพิศ                4. นางสาวศศินี  โพธิทอง                5. ส.ท.สราวุธ  ดอกไม้จีน                6. นายสุรัชต์  ชวนชื่น                7. นายธนิก  กัมพูศิริพันธ์                8. นายสุรภัทร  ปานทอง                9. นายกิติพัฒน์  ตันตสุรฤกษ์ภารกิจที่ 2 (Mission Two) : บทสัมภาษณ์ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา              มีคนกล่าวว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ทำให้คิดไปว่า ถ้าเราจะเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับเรื่องอาหาร จะสามารถเปรียบเทียบได้หรือไม่ โป๊ะเชะ!!..แล้วข้อความหนึ่งก็ผุดขึ้นในสมอง " อาหารที่ดีมีคุณภาพมีประโยชน์ต่อร่างกาย..ฉันใด บุคคลที่ดีมีคุณภาพย่อมมีประโยชน์ต่อองค์กร..ฉันนั้น" หลังจากทุกคนในชั้นเรียนเติมพลังด้วยอาหารกล่องมื้อเที่ยงเรียบร้อยแล้ว ต่างพากันรีบกลับไปนั่งประจำที่เพื่อรอขึ้นเขียง เพราะใกล้เวลาภาพอันระทึกและมีผลต่อคะแนนกำลังจะปรากฎต่อสายตาทุกคนในไม่ช้า..              ผู้ดำเนินรายการ  : ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                ผู้ร่วมรายการ      : คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ปูนซีเมนต์ไทย)                ผู้มีส่วนร่วม        : นักศึกษามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์      -----------------------------------------------------------------------------------------------------เนื้อหาของบทสัมภาษณ์ พอสรุปได้ดังนี้ :1. ปรัชญาและอุดมการณ์การทำงานของท่านมีแนวทางอย่างไร?     ตอบ การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีได้ต้องมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ คือ              - ความเชื่อ และความศรัทธาเชื่อมั่นต่อคน ว่าคนเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าขององค์กร- คนไม่จำเป็นต้องจบมาจากสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือสายงานที่ตรงก็สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้- ในทางเศรษฐศาสตร์ คน คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง ยิ่งนานยิ่งสั่งสมประสบการณ์ และเพิ่มคุณค่าซึ่งต่างจากวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ  ถ้ามีการอบรม ฝึกทักษะในทุกด้านทั้งด้านวิชาการ การปกครอง ความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้น                *วาทะ วัสดุอุปกรณ์ใช้แล้วยิ่งนานยิ่งค่าลด แต่คนนับวันยิ่งมีค่า2. ในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางอย่างไรที่จะนำไทยไปสู่ตลาดแห่งการแข่งขันระดับโลก ?    ตอบ   - เราต้องมี Vision หรือมโนทัศน์มองไปข้างหน้าให้ยาว เล็งเห็นความสำคัญ                - ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร                 - การประกอบธุรกิจจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า คนต้องมีความรู้ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี                - เห็นความสำคัญของคน 2 กลุ่ม คือ                   1. กลุ่มคนภายในองค์กร ซึ่งเป็นคนขับเคลื่อนองค์กร ต้องดูแลเอาใจใส่                   2. กลุ่มคนนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรซึ่งก็คือลูกค้า ซึ่งต้องแข่งขันกันทั้งทางด้านรูปลักษณ์ การบริหาร เพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ถ้าผลิตสินค้าออกมาไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า บริษัทก็อยู่ไม่ได้

                * วาทะ การประกอบธุรกิจไม่ควรคำนึงถึงแต่กำไรอย่างเดียว ควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
 3. ขนาดธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นจะกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือไม่?

          ตอบ   ปัญหาที่สำคัญของการเพิ่มขนาดขององค์กร คือการติดต่อสื่อสาร ระบบการตัดสินใจ ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจสู่บริษัทลูกให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ต้องมั่นใจในตัวบุคคลที่มอบอำนาจให้ว่าใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง โดยการใช้ธรรมะเข้ามาเป็นองค์ประกอบ                 * วาทะ ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม4. ท่านมีคุณธรรมในการบริหารงานภายในบริษัทอย่างไร?    ตอบ คุณธรรมนั้นเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของบริษัทมาตลอด 80 ปีจนมีการเขียนเป็นจรรยาบรรณพนักงานของเครือซีเมนต์ไทยให้พนักงานปฏิบัติ โดยผู้ใหญ่จะต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่มีการคอรัปชั่น มีจรรยาบรรแม้แต่กับคู่แข่งทางธุรกิจก็ต้องมีจริยธรรม ซึ่งข้อนี้เป็นอุดมการณ์ของบริษัทข้อที่ 1.ว่าต้อง ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ซึ่งนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ และเป็นผลดีในการสร้างความเคารพและเชื่อถือในระยะยาว                * วาทะ องค์กรใหญ่ขึ้นใช่ว่าจะบริหารยาก ถ้าว่าหากมีการปรับและพัฒนาเสมอ5. ท่านมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันในการรักษาคนไว้ในองค์กร ?    ตอบ   - สร้างความผูกพันหรือความรักแก่พนักงานทุกระดับด้วยการดูแลพวกเขาตั้งแต่วันแรกที่เดินเข้ามา ระหว่างที่อยู่กับเรา จนกระทั่งเขาออกไป ให้ความเป็นธรรม และให้โอกาสเขาในการพัฒนาตัวเอง ให้เขามีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทและมีสวัสดิการเมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งหน้าที่                - ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเข้าใจและรักลูกน้อง                - เยี่ยมเยียนสารทุกข์สุกดิบ ถามไถ่ด้วยความห่วงใย                *วาทะ ถ้าผู้บังคับบัญชารักลูกน้อง ลูกน้องก็จะรักเรา6. การนำเทคโนโลยีมาใช้จะมีผลต่อการลดการเลิกจ้างหรือไม่ ?    ตอบ   การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น บริษัทหรือองค์กรที่ดีต้องมองเห็นและต้องเตรียมรับกับภาวะที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้าน  การเตรียมบุคคลเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการพัฒนาคนให้มีการตื่นตัวมากขึ้น  รัฐเองก็ต้องมีมาตรการในการรองรับปัญหาร่วมกันคือมีการประกันสังคม ประกันการว่างงาน เป็นต้น                ท้ายสุด นักศึกษาก็ถามถึงแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คุณพารณ ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนหนึ่ง ได้เล็งเห็นและได้มีการบัญญัติการพัฒนาองค์กรและพัฒนาเทคโนโลยี โดยต้องมีรัฐเป็นตัวนำ และได้บัญญัติไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7
พระศุภสิน ศักศรีวัน ตัวแทนกลุ่ม 2

กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคนจับปลา : Fisherman Party)

                1. พระศุภสิน  ศักศรีวัน

                2. พระมหาวิทยา  นางวงศ์

                3. นางสาวนลินี  โลพิศ

                4. นางสาวศศินี  โพธิทอง

                5. ส.ท.สราวุธ  ดอกไม้จีน

                6. นายสุรัชต์  ชวนชื่น

                7. นายธนิก  กัมพูศิริพันธ์

                8. นายสุรภัทร  ปานทอง

                9. นายกิติพัฒน์  ตันตสุรฤกษ์

ภารกิจที่ 2 (Mission Two) : บทสัมภาษณ์ คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา

              มีคนกล่าวว่า "กองทัพต้องเดินด้วยท้อง" ทำให้คิดไปว่า ถ้าเราจะเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับเรื่องอาหาร จะสามารถเปรียบเทียบได้หรือไม่ โป๊ะเชะ!!..แล้วข้อความหนึ่งก็ผุดขึ้นในสมอง " อาหารที่ดีมีคุณภาพมีประโยชน์ต่อร่างกาย..ฉันใด บุคคลที่ดีมีคุณภาพย่อมมีประโยชน์ต่อองค์กร..ฉันนั้น" หลังจากทุกคนในชั้นเรียนเติมพลังด้วยอาหารกล่องมื้อเที่ยงเรียบร้อยแล้ว ต่างพากันรีบกลับไปนั่งประจำที่เพื่อรอขึ้นเขียง เพราะใกล้เวลาภาพอันระทึกและมีผลต่อคะแนนกำลังจะปรากฎต่อสายตาทุกคนในไม่ช้า..

   ผู้ดำเนินรายการ  : ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

   ผู้ร่วมรายการ      : คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา (อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บ.ปูนซีเมนต์ไทย)

   ผู้มีส่วนร่วม         : นักศึกษามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์     

-------------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาของบทสัมภาษณ์ พอสรุปได้ดังนี้ :

1. ปรัชญาและอุดมการณ์การทำงานของท่านมีแนวทางอย่างไร?

     ตอบ การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีได้ต้องมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ คือ

              - ความเชื่อ และความศรัทธาเชื่อมั่นต่อคน ว่าคนเป็นสมบัติอันทรงคุณค่าขององค์กร

- คนไม่จำเป็นต้องจบมาจากสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือสายงานที่ตรงก็สามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้

- ในทางเศรษฐศาสตร์ คน คือ ทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง ยิ่งนานยิ่งสั่งสมประสบการณ์ และเพิ่มคุณค่าซึ่งต่างจากวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ  ถ้ามีการอบรม ฝึกทักษะในทุกด้านทั้งด้านวิชาการ การปกครอง ความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้น

 *วาทะ “วัสดุอุปกรณ์ใช้แล้วยิ่งนานยิ่งค่าลด แต่คนนับวันยิ่งมีค่า”

2. ในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมีแนวทางอย่างไรที่จะนำไทยไปสู่ตลาดแห่งการแข่งขันระดับโลก ?

    ตอบ   - เราต้องมี Vision หรือมโนทัศน์มองไปข้างหน้าให้ยาว เล็งเห็นความสำคัญ

                - ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร

                - การประกอบธุรกิจจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า คนต้องมีความรู้ ทักษะในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดี

                - เห็นความสำคัญของคน 2 กลุ่ม คือ

                   1. กลุ่มคนภายในองค์กร ซึ่งเป็นคนขับเคลื่อนองค์กร ต้องดูแลเอาใจใส่

                   2. กลุ่มคนนอกองค์กร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการอยู่รอดขององค์กรซึ่งก็คือลูกค้า ซึ่งต้องแข่งขันกันทั้งทางด้านรูปลักษณ์ การบริหาร เพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ถ้าผลิตสินค้าออกมาไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า บริษัทก็อยู่ไม่ได้

 * วาทะ “การประกอบธุรกิจไม่ควรคำนึงถึงแต่กำไรอย่างเดียว ควรคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
 
3. ขนาดธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นจะกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์หรือไม่?

          ตอบ   ปัญหาที่สำคัญของการเพิ่มขนาดขององค์กร คือการติดต่อสื่อสาร ระบบการตัดสินใจ ซึ่งจะต้องมีการกระจายอำนาจสู่บริษัทลูกให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ต้องมั่นใจในตัวบุคคลที่มอบอำนาจให้ว่าใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง โดยการใช้ธรรมะเข้ามาเป็นองค์ประกอบ 

 * วาทะ “ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”

4. ท่านมีคุณธรรมในการบริหารงานภายในบริษัทอย่างไร?

    ตอบ คุณธรรมนั้นเป็นวัฒนธรรมและประเพณีของบริษัทมาตลอด 80 ปีจนมีการเขียนเป็นจรรยาบรรณพนักงานของเครือซีเมนต์ไทยให้พนักงานปฏิบัติ โดยผู้ใหญ่จะต้องปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่มีการคอรัปชั่น มีจรรยาบรรแม้แต่กับคู่แข่งทางธุรกิจก็ต้องมีจริยธรรม ซึ่งข้อนี้เป็นอุดมการณ์ของบริษัทข้อที่ 1.ว่าต้อง “ตั้งมั่นในความเป็นธรรม” ซึ่งนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาใช้ และเป็นผลดีในการสร้างความเคารพและเชื่อถือในระยะยาว

  * วาทะ “องค์กรใหญ่ขึ้นใช่ว่าจะบริหารยาก ถ้าว่าหากมีการปรับและพัฒนาเสมอ

5. ท่านมีวิธีการอย่างไรในการสร้างความผูกพันในการรักษาคนไว้ในองค์กร ?

    ตอบ   - สร้างความผูกพันหรือความรักแก่พนักงานทุกระดับด้วยการดูแลพวกเขาตั้งแต่วันแรกที่เดินเข้ามา ระหว่างที่อยู่กับเรา จนกระทั่งเขาออกไป ให้ความเป็นธรรม และให้โอกาสเขาในการพัฒนาตัวเอง ให้เขามีส่วนร่วมในการบริหารบริษัทและมีสวัสดิการเมื่อเขาพ้นจากตำแหน่งหน้าที่

                - ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเข้าใจและรักลูกน้อง

                - เยี่ยมเยียนสารทุกข์สุกดิบ ถามไถ่ด้วยความห่วงใย

  *วาทะ “ถ้าผู้บังคับบัญชารักลูกน้อง ลูกน้องก็จะรักเรา

6. การนำเทคโนโลยีมาใช้จะมีผลต่อการลดการเลิกจ้างหรือไม่ ?

    ตอบ   การนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น บริษัทหรือองค์กรที่ดีต้องมองเห็นและต้องเตรียมรับกับภาวะที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้าน  การเตรียมบุคคลเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการพัฒนาคนให้มีการตื่นตัวมากขึ้น  รัฐเองก็ต้องมีมาตรการในการรองรับปัญหาร่วมกันคือมีการประกันสังคม ประกันการว่างงาน เป็นต้น

                ท้ายสุด นักศึกษาก็ถามถึงแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คุณพารณ ในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่งในสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนหนึ่ง ได้เล็งเห็นและได้มีการบัญญัติการพัฒนาองค์กรและพัฒนาเทคโนโลยี โดยต้องมีรัฐเป็นตัวนำ และได้บัญญัติไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7

มะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

  • ภาครัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารประเทศและกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อใช้ในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของภาคเอกชนให้เป็นไปด้วยความเป็นธรรมต่อประชาชนผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ ในขณะที่บางกิจการที่รัฐดำเนินการก็เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนหรือถือหุ้นมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สังคมโดยรวมมีความมั่นคงสงบสุข โดยประชาชนได้รับการดูแลคุ้มครองความปลอดภัย และความมั่นคงให้มีคุณภาพชีวิตตามเกณฑ์มาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด ส่วนภาคเอกชนเปรียบเสมือนประชาชนของประเทศที่มีเป้าหมายในกิจการของตนคือ แสวงหาผลกำไรสูงสุด ในปัจจุบันภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญสังคม ด้วยการตอบแทนสังคมโดยการคืนประโยชน์สู่สังคม

 

  • โดยปกติภาครัฐจะลงทุนในกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน ในขณะที่ภาคเอกชนมักมุ่งดำเนินกิจการที่เน้นความชำนาญเฉพาะทางเน้นประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นโครงสร้างการบริหารงานของรัฐบาลจึงเป็นโครงสร้างแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ ซับซ้อน เน้นสายงานบังคับบัญชา จึงทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วยความล่าช้า  แตกต่างจากภาคเอกชนที่มีโครงสร้างแนวราบหรือแนวนอน  ปัจจุบันภาครัฐให้ความสำคัญกับการปรับเปรี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการมากขึ้น เช่น การบริหารจัดการโดยมุ่งผลสัมฤทธ์, การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ,การมีค่าตอบแทนพิเศษ(โบนัส) เพื่อจูงใจการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันสองไหล และทำให้สายงานบังคับบัญชาสั้นลง เน้นการกระจายอำนาจการบริหาร

 

  • ผลตอบแทนและสัสดิการมีผลกระทบต่อทรัพยากรบุคคล  เนื่องจากภาคเอกชนให้ผลตอบแทนที่สูง จึงทำให้เกิดปัญหาสมองไหลโดยบุคลากรที่มีความสามารถไปทำงานกับภาคเอกชน ทำให้บุคลากรของภาครัฐขาดคุณภาพ
นางสมจิตร ส่องสว่าง รปม.รุ่น4 เลขที่ 38
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร                ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี  ด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ                -  ด้านการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐจัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยเรียนเชิญตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาเป็นวิทยากร และอาจจะพาผู้เข้าอบรมไปดูงานที่บริษัทเอกชน                -  ด้านการบริหารการจัดการ  ภาครัฐ  ยกตัวอย่าง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบภารกิจผลผลิตของเกษตรกร ถ้าที่ไหนมีผลผลิตมาก  ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค  เช่น ในปี 2550  ลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหา  ห้างเทสโก้โลตัส  ห้างแม็คโคร  ห้างบิ๊กซี  ต้องเข้าไปรับซื้อผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่  นำไปจำหน่ายในห้าง                -  ด้านเทคโนโลยี  ภาครัฐ  ไม่มีความชำนาญและประสบการณ์  จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชน  เช่น รถไฟฟ้า                -  ด้านโลจิสติกส์  ภาครัฐ  ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศฯลฯ                ส่วนใหญ่จะเห็นว่าภาครัฐจะเป็นผู้ผู้กำหนดนโยบาย  และวางแผนงาน  ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการให้แผนงานของรัฐบาลบรรลุเป้าหมาย โดยมีคนเข้ามาเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน  โดยจะมีการใช้แรงงานคน  ทำให้ประชาชนมีรายได้  นำมาใช้จ่าย  เอกชนก็มีรายได้  และเอกชนก็มีผลกำไร  เอกชนต้องเสียภาษีให้ภาครัฐ  ภาครัฐนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ  และเอกชนยังสนับสนุนตอบแทนภาครัฐโดยการบริจาคผ่านองค์กรการกุศล  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  เช่นการปลูกป่า ฯลฯ                ภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนกัน1.       มีองค์กร2.       มีคนทำงานในองค์กร3.       มีผู้บริหาร4.       มีเงินทุน5.       มีวัสดุอุปกรณ์ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกันภาครัฐ                                                 ภาคเอกชน        1.  มีกฎระเบียบมาก                                     1.  มีความคล่องตัว        2.  ขาดความคล่องตัว                                   2.  ผู้บริหารมีอำนาจตัดใจ
       
3.  มีสายบังคับบัญชายาวมาก                     3.  มีสายบังคับบัญชาสั้น        4.  ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการ                         4.  ใช้ระบบความรู้ ความสามารถ    
              พิจารณาความดีความชอบ
                          ในการพิจารณาความดีความชอบ
         5.  ไม่มีผลกำไรขาดทุนเป็นแรงจูงใจ       5.  คำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก
         6.   คำนึงถึงการอยู่ดีกินดี                            6.  คำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก
               
 ของประชาชนและ
               
ความมั่นคงของประเทศชาติ

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง รปม.รุ่น 4 เลขที่ 38 (แก้ไข)

ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร           

     ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันในหลายด้าน เช่น ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยี  ด้านโลจิสติกส์ ฯลฯ            

    -  ด้านการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐจัดทำโครงการอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยเรียนเชิญตัวแทนจากบริษัทเอกชนที่ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาเป็นวิทยากร และอาจจะพาผู้เข้าอบรมไปดูงานที่บริษัทเอกชน          

      -  ด้านการบริหารการจัดการ  ภาครัฐ  ยกตัวอย่าง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบภารกิจผลผลิตของเกษตรกร ถ้าที่ไหนมีผลผลิตมาก  ภาครัฐต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการกระจายผลผลิตไปสู่ผู้บริโภค  เช่น ในปี 2550  ลองกองใน 3 จังหวัดชายแดนใต้มีปัญหา  ห้างเทสโก้โลตัส  ห้างแม็คโคร  ห้างบิ๊กซี  ต้องเข้าไปรับซื้อผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่  นำไปจำหน่ายในห้าง          

      -  ด้านเทคโนโลยี  ภาครัฐ  ไม่มีความชำนาญและประสบการณ์  จำเป็นต้องร่วมมือกับภาคเอกชน  เช่น รถไฟฟ้า            

    -  ด้านโลจิสติกส์  ภาครัฐ  ต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศฯลฯ               

         ส่วนใหญ่จะเห็นว่าภาครัฐจะเป็นผู้ผู้กำหนดนโยบาย  และวางแผนงาน  ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการให้แผนงานของรัฐบาลบรรลุเป้าหมาย โดยมีคนเข้ามาเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนในแต่ละด้าน  โดยจะมีการใช้แรงงานคน  ทำให้ประชาชนมีรายได้  นำมาใช้จ่าย  เอกชนก็มีรายได้  และเอกชนก็มีผลกำไร  เอกชนต้องเสียภาษีให้ภาครัฐ  ภาครัฐนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ  และเอกชนยังสนับสนุนตอบแทนภาครัฐโดยการบริจาคผ่านองค์กรการกุศล  ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  เช่นการปลูกป่า ฯลฯ            

    ภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนกัน1.       มีองค์กร2.       มีคนทำงานในองค์กร3.       มีผู้บริหาร4.       มีเงินทุน5.       มีวัสดุอุปกรณ์ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกัน

ภาครัฐ    1.  มีกฎระเบียบมาก   2.  ขาดความคล่องตัว   3.  มีสายบังคับบัญชายาวมาก     4.  ใช้ระบบอุปถัมภ์ในการพิจารณาความดีความชอบ                      
5.  ไม่มีผลกำไรขาดทุนเป็นแรงจูงใจ 
  6.   คำนึงถึงการอยู่ดีกินดีของประชาชน             และความมั่นคงของประเทศชาติ    

 ภาคเอกชน   1.  มีความคล่องตัว   2.  ผู้บริหารมีอำนาจตัดสินใจ  3.  มีสายบังคับบัญชาสั้น    4.  ใช้ระบบความรู้ ความสามารถในการพิจารณาความดีความชอบ 5.  คำนึงถึงผลกำไรเป็นหลัก   6.  คำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก       และความมั่นคงของประเทศชาติ  

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4
ภาครัฐและภาคเอกชนมีความเกี่ยวโยงกันอย่างไร
พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

ภาครัฐ/ภาคเอกชนมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุดเหนือกว่าสิ่งอื่นใด  เพราะทรัพยากรมนุษย์สามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้ทำลายทรัพยากรอื่นๆ และโดยที่ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญดังนี้ ทรัพยากรมนุษย์จึงต้องมีการพัฒนา

           พนังานของภาครัฐต้องรู้จักหน้าที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบมีวินัยในตนเองทำงานอย่างคุ่มค้ากับเงินเดือนที่ได้รับไม่ใช่เช้าชามเย็นชามสักแต่ว่าทำงานไปวันๆเท่านั้น ควรมีการไปดูงานต่างประเทศ มีการสัมนาทางวิชาการ เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆแก่พนักงานของรัฐ ส่วนองค์กรของภาครัฐต้องลดขั้นตอนสายงานให้น้อยลงเป็นเหตุให้งานล่าช้าเสียเวลาและมีการกระจายอำนาจไปยังส่วนอื่นๆเพื่อให้เกิดความคล่องตัวว่องไวรวดเร็วยิ่งกว่านี้ องค์กรของภาครัฐต้องมีการแข่งขันเหมือนภาคเอกชนเพื่อเกิดการพัฒนางานใหม่ๆขึ้นมาเกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการบริหารจัดการอย่างคุ้มค่าประหยัด

       พนักงานและองค์กรของภาคเอกชนอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวอย่าหลบเลี่ยงหนีภาษี อย่าหาโอกาสจากช่องโว่กฎหมาย เพราะภาษีนำมาพัฒนาประเทศ และเสียสละช่วยเหลือสังคมร่วมมือร่วมใจกับภาครัฐเพื่อให้ประชาชนผู้ยากไร้ผุ้ประสบอุทกภัย ได้อยู่ดีกินดีมีสุขเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

     จะเห็นได้ว่าทั้งสององค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อให้เกิดการพัฒนางานนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ

สุขสันต์วันเกิด ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ๗  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑

 ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิด  อาจารย์ จีระ   เวียนมาบรรจบอีกครั้ง หนูขอให้คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจงดลบันดาลให้  อาจารย์ของหนูประสบแต่ความสุขความเจริญ คิดสิ่งใดขอให้สมปรารถนา ร่ำรวยเงินทอง มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นที่รักของลูกศิษย์ทุกคน นะคะ

อนงค์ วีลาวัลย์ วรางคณา ขนิษฐา พรทิพย์ กมลทิพย์ และนักศึกษา รปม.รุ่น 4 มร.สส.

ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิดท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551  นี้  พวกเรา นักศึกษา รปม. รุ่น 4  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ขอให้ท่านอาจารย์มีสุขภาพ พลานมัยที่แข็งแรง สมบูรณ์  เป็นร่มไทรร่มใหญ่ ที่แผ่กิ่งก้านความรู้ไปสู่บรรดาลูกศิษย์ตลอดกาลนาน  นะค๊ะ 

สุขสันต์วันเกิดค่ะอาจารย์ พวกเรากลุ่ม 5 ขออวยพรให้อาจารย์ มีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีแรงกายแรงใจในการทำงาน เพื่อชาตินะคะ

รักอาจารย์ค่ะ

 

ทำอะไรกันครับนี่  เขียนกันแบบไม่บันยะบันยังเลย
น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5
                          สมาชิกกลุ่ม 5 1.       น.ส. หทัยพัชร์  จุลเจริญ             500380100012.       น.ส. นงนุช  บัวขำ                       500380100123.       น.ส. ภัทรพร  จึงทวีสูตร             500380100354.       น.ส. สายฝน  ด้วงทอง                500380100115.       น.ส. ญานิสา  เวชโช                     500380100136.       น.ส. อมเรศวร์  พฤฒปภพ         500380100237.       นาง กัณจนา  งามน้อย                500380200068.       น.ส วิวิตรา  จุลกรานต์               500380100289.       นาย ฉลอง  บ่มทองหลาง          50038010008 เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ จากการบ้านที่ได้รับมอบหมายสำหรับงานกลุ่มชิ้นที่ 2 คือ อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้และหนังสือสองพลังความคิดชีวิตและงาน และให้แสดงความคิดเห็นนั้น ได้รับการเรียนรู้ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่การวางแผนงาน การคัดเลือกและสรรหาคน วิธีการพัฒนาคน การสร้างแรงจูงใจ รวมไปถึงความผูกพันและเชื่อมโยงระหว่างพนักงานและองค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อนำพาองค์กรและประเทศไปสู่ความสำเร็จ   กลุ่ม 5 แสดงความคิดเห็นดังนี้  หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แสดงให้เราเห็นว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร  ในการทำงานเราจะเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์กร และในการพัฒนาบุคลากรเป็นลงทุนของบริษัทที่ไม่ใช่ต้นทุน แต่คนเป็นทรัพยากรสำคัญสูงสุดที่ต้องมีการเอาใจดูแลและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้ คือ การทำงานต้องทำงานเป็นทีม ย่อมทำให้พนักงานเกิดความรักและเกิดสามัคคีร่วมกัน และยังส่งผลให้เกิดสำนึกความเป็นเจ้าขององค์กร ด้วยเพราะความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานเพื่อองค์กรนั้นเอง  นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ยังส่งผลให้พนักงานมีความรู้สึกรับผิดชอบการกระทำหรือข้อกำหนดใด ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้นด้วยนอกจากนี้  ในองค์กรต้องเน้นหรือให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ทุกคนเป็นผู้ที่มีทักษะ และมีความสามารถในงานที่ตนปฏิบัติแล้ว องค์กรต้องส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ที่มีคุณธรรม และจริยธรรม อันหมายถึง ต้องเป็นผู้ที่ เป็นคนเก่ง และเป็นคนดี ควบคู่กันไป  ทั้งนี้ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องอาศัย ผู้นำ ที่มี วิสัยทัศน์กว้างไกล อีกทั้ง ยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารความคิดหรือความประสงค์สู่พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีในส่วนของผู้นำนั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่า สามารถที่จะฝึกฝนหรืออบรม ให้สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะขึ้นมาได้  ทั้งนี้ การฝึกฝนหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แม้จะได้ผลค่อนข้างช้า แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับองค์กร และการพัฒนาดังกล่าวนั้น ต้องอาศัยความต่อเนื่อง และจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์กรในทุกระดับ ทุกส่วนงาน จะเพิกเฉยหรือให้ความสนใจในการพัฒนาส่วนงานหนึ่งส่วนงานใดมิได้ ซึ่งการพัฒนาบุคลากรในองค์กร มิได้เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า แต่เป็นการลงทุนที่เห็นผลได้ในระยะยาว และสร้างความยั่งยืนให้แก่องค์กร  อีกทั้ง การพัฒนาบุคลากรยังสร้างความจงรักภักดีให้แก่องค์กร เนื่องจากการพัฒนาองค์กรนั้น ย่อมเป็นการพัฒนาตัวของพนักงานด้วย เมื่อเกิดความเชื่อเช่นนั้น ย่อมส่งผลให้พนักงานขององค์กร เกิดความเชื่อมั่นและปฏิบัติงานโดยความมุ่งมั่น และเต็มที่กับงาน อันจะส่งผลต่อผลสำเร็จต่อองค์กรในที่สุด หนังสือ “2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ฯ นับเป็นหนังสือที่สามารถถ่ายทอดแนวทางและแนวคิดทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไว้อย่างแท้จริง  เนื่องจากบุคลากรที่ถ่ายทอดความรู้ และความคิดที่ประกอบเข้าเป็นหนังสือนั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ และผ่านประสบการณ์ ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาอย่างโชกโชนหลักคิดที่เฉียบแหลมของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  ชี้ให้เห็นว่า สำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความสุขไปพร้อมกัน ด้วยการใช้หลักคิด คือ 8 H’s อีกหลักคิดหนึ่ง ที่ทำให้เราท่านเกิดปัญญาในการบริหารทรัพยากร คือ หลัก 8 K’s ของท่าน ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์ นั้นเองหลักการทั้งสอง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้  เราสามารถจำแนกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้ง่ายและชัดเจนแก่การเข้าใจคือ1. heritage รากฐานของชีวิต และ   Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ในส่วนนี้ ทำให้เราตระหนักว่า มนุษย์เรานั้น ต้องระลึกและมีความภาคภูมิใจในการเป็นตัวเอง และต้องเข้าใจในรากเหง้าของตนเอง  ที่กล่าวเช่นนั้น เนื่องจาก การเข้าใจที่มาของตนเอง และรู้จักตนเองนั้น จะทำให้เราเข้าใจ สิ่งที่เรามี และเราเป็น ฉะนั้น การจะทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในองค์กร หรือชีวิตประจำวัน ย่อมทำให้เราไม่ประมาท และทำอะไรอยู่ด้วยความพอเพียง มีความสมดุล2.  Head สมอง และ Intellectual Capital  ทุนทางปัญญา  นั้น แสดงให้เราเห็นว่า ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากที่ต้องบริหารมนุษย์ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในศาสตร์หรือเรื่องนั้น ๆ  เราต้องฝึกฝนให้บุคลากรเหล่านั้น เกิดทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นั้นหมายถึง นอกจากมีความรู้แล้ว ยังต้องคิดเป็น และตกผลึกกับความคิดเหล่านั้น (คิดได้ วิเคราะห์ได้ ต้องมีคุณธรรมด้วย)3. Hand มืออาชีพ และ Talent Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  ในการทำงานนั้น เราทุกคนมักต้องการความสำเร็จในงานนั้น ๆ แต่หลักการนี้ ทำให้เราต้องตระหนักว่า การทำงานนั้น ต้องอาศัยตนเองเป็นที่ตั้งในการทำงาน การใช้ประโยชน์จากความสะดวก ง่ายดายของเพื่อนร่วมงาน หรือเทคโนโลยีนั้น บางครั้ง ทำให้เราขาดความละเอียดอ่อน และความใส่ใจในเนื้องาน อีกทั้ง การที่เราสามารถทำงานในขั้นที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และฝึกฝนจนกระทั่งเป็นขั้นที่ยุ่งยาก สิ่งเหล่านั้น จะเป็นประสบการณ์และสร้างความเป็นมืออาชีพในงานที่ท่านปฏิบัติ เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งในส่วนนี้มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศและที่สำคัญมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรที่ทุกวันนี้กำลังถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน4. Heart จิตใจที่ดี และ Ethical Capital ในสังคมปัจจุบัน การคิดหรือมีทัศนคติในเชิงบวก เป็นสิ่งสำคัญยิ่งทั้งการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน ที่กล่าวเช่นนี้ ในปัจจุบันมีความรู้ แต่ปราศจากความคิดหรือทัศนคติในเชิง ดังนั้น การมองอะไรจึงไม่มีความสุข ฉะนั้น การมองในเชิงบวก ที่ควบคู่กับความมีคุณธรรมและจริยธรรม ประกอบกันจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ ประเทศชาติ จะพัฒนาได้อย่างไร หากปราศจากผู้มีความรู้ และคุณธรรม5. Health การมีสุขภาพที่ดี คนเราแม้มีสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ แต่หากร่างกาย หรือสุขภาพไม่ดี มีความบกพร่อง สิ่งต่างๆ ทั้งสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ ย่อมไม่มีความหมายใด ๆ หลักคิดข้อนี้ ของคุณหญิงทิพาวดี แสดงให้เราเห็นว่า สุขภาพ มีความสำคัญมาก เนื่องจากสุขภาพเป็นสิ่งที่ทำให้ ยังมี และมีความสามารถ ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ หากสุขภาพไม่ดี หรือไม่มีลมหายใจ สิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่มีความหมาย ทั้งนี้ หลักการข้อนี้ เป็นหลักการข้อเดียวที่อาจารย์ทั้งสองท่านมีความคิดแตกต่างกัน สำหรับท่าน ดร.จีระนั้น มองว่า Digital Capital มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันนั้น ล้วนสนับสนุนการทำงานในระบบดิจิตอล ฉะนั้นการเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีนั้น เป็นทักษะหนึ่งที่ทรัพยากรมนุษย์ ยุคปัจจุบันมีความจำเป็น6. Home บ้านและครอบครัว และ Human Capital ทุนมนุษย์  มนุษย์จะมีคุณภาพย่อมมาจากครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมที่ดี และเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องกระบวนการให้เขาเหล่านั้น ได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน อีกทั้ง บ้านและครอบครัว ยังเป็นเสมือนแหล่งเพาะบ่มความคิด และทัศนคติ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ7. Happiness ความสุข และ Happiness Capital แสดงให้เห็นว่า คนเราทุกคน ย่อมต้องทำงานและดำรงชีวิตในประจำวัน ทำในสิ่งที่ตนเองรัก และปฏิบัติงานโดยมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ  ฉะนั้น ความสุขนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และความสุขนั้น ต้องเป็นความสุขที่ไม่เบียดเบียนใคร คือ เป็นความสุขที่เกิดจากทั้งกายและใจของตนเอง8. Harmony  ความปรองดองสมานฉันท์  และ Social Capital มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่ จึงมีประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมาย เป็นตัวกำกับเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีความปรองดอง สามัคคี ฉะนั้น ในการทำงานเช่นเดียวกัน เราทุกคนต้องการมิตรในการทำงานมากกว่าศัตรู และร่วมกันทำงาน โดยมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องรู้จักวัฒนธรรมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสามารถรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของตนในสังคมได้
นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด (7   กุมภาพันธ์  2551  )  ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    ในนามของนักศึกษา รปม.รุ่น 4  กลุ่ม 6  ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนตรัย  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ท่านอาจารย์และทุกท่านในครอบครัวจงประสพแต่ความสุขความเจริญ สุขภาพร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์  เป็นที่รักของลูกศิษย์ทุกคนค่ะ                                และขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงที่ท่านอาจารย์  ศ.ดร. จีระ      หงส์ลดารมภ์ ได้นำคณะมาสอน   รปม. รุ่น 4  รู้สึกภาคภูมิใจ และคุยให้ผู้อื่นฟังได้  ที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ระดับชาติ

 

นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)
รายงานสรุปการสัมภาษณ์ของ  ท่านพารณ  อิสรเสนา  ณ อยุธยา  กับ  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์   โดย  นักศึกษา  รปม. รุ่น 4   กลุ่ม  6  มีรายนามดังนี้                       1.  นางอนงค์      มะลิวรรณ์              รหัสประจำตัว      50038010019                         2.   นางสาวมัลลิกา    โสดวิลัย         รหัสประจำตัว      50038010018                       3.  นางบังอร    ภูมิวัฒน์                     รหัสประจำตัว      50038010032                       4.  นาง สมจิตร    ส่องสว่าง              รหัสประจำตัว      50038010038                       5.  นาง วีรยาพร    อาลัยพร               รหัสประจำตัว      50038010036                       6.  นางสาวลาวัลย์    ลิ้มนิยม            รหัสประจำตัว     50038010044                       7.  นางสาวมะลิวัลย์    โพธิ์สวัสดิ์    รหัสประจำตัว     50038010020 จากการที่ได้ฟังบทสัมภาษณ์ของ  ท่านพารณ  อิสรเสนา ณ อยุธยา  กับ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์    สรุปเนื้อหาสาระสำคัญได้ดังนี้  คือ                                การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จได้ด้วยดีจะต้องมาจากความเชื่อและความศรัทธาเชื่อมั่นในคุณค่าของคนว่า มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณค่ามากต่อองค์กร  การบริหารงานบุคคลจึงมีความสำคัญมากต่อองค์กร  ถ้ามองทางด้านเศรษฐศาสตร์แล้วคนมีค่ามากที่สุดขององค์กร ยิ่งกว่าสมบัติอื่นใด  ถ้าเป็นสิ่งของมีแต่ของจะลดลงและเสื่อมราคาลงอยู่ตลอดเวลา  แต่คนกลับมีค่าเพิ่มมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะคนจะได้รับการพัฒนาฝึกฝนหาความรู้อยู่ตลอดเวลา โดยองค์กรจะต้องเห็นความสำคัญและส่งบุคลากรขององค์กรได้เข้ารับการพัฒนาฝึกฝนอบรมอยู่เสมอ ๆ  เพื่อรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะนำเข้ามาใช้ในองค์กร                                 นอกจากนี้การบริหารงานบุคคลในองค์กรต้องมีจริยธรรม  คุณธรรมในการบริหาร เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีสืบต่อกันไป  ถ้าเชื่อในศาสนาพุทธแล้ว  ก็จะกล่าวได้ว่า  ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม  และองค์กรจะต้องคำนึงการทำงานเป็นทีม และการสร้างเครือข่ายระหว่างกันภายในองค์กร โดยให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ กับบุคคลภายใน และบุคคลภายนอก (โดยภายในหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ของผู้บริหารกับผู้ใต้บังคับบัญชา  ส่วนภายนอก  หมายถึง ผู้รับบริการหรือลูกค้า  ตลอดจนการให้สวัสดิการที่ดีต่อบุคลากรภายในองค์กร โดยการดูแลตั้งแต่แรกเข้าบรรจุ จนกระทั่งพ้นสภาพการเป็นพนักงานในองค์กร เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับบุคลากรขององค์กร เพื่อทำให้บุคลากรในองค์กรรู้สึกว่าตนเองได้รับการดูแลอย่างดี  ก็จะเกิดความรู้สึกผูกพันกับองค์กร และเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร เพื่อรักษาคนเก่ง คนดีภายในองค์กรไว้                                  ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  คน  เป็นทรัพยากรและสมบัติอันมีค่าขององค์กร เพราะสามารถที่จะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และผลสำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้                               
พระศุภสิน ศักศรีวัน ตัวแทนกลุ่ม 2

กลุ่มที่ 2 (กลุ่มคนจับปลา : Fisherman Party)

                1. พระศุภสิน  ศักศรีวัน

                2. พระมหาวิทยา  นางวงศ์

                3. นางสาวนลินี  โลพิศ

                4. นางสาวศศินี  โพธิทอง

                5. ส.ท.สราวุธ  ดอกไม้จีน

                6. นายสุรัชต์  ชวนชื่น

                7. นายธนิก  กัมพูศิริพันธ์

                8. นายสุรภัทร  ปานทอง

                9. นายกิติพัฒน์  ตันตสุรฤกษ์
------------------------------------------------------------------

...ผ่านวันผ่านกาลเวลา..           เพียรศึกษาเริ่มสะสม
ผ่านร้อนผ่านหนาว..ทุกข์ตรม   จีระ หงส์ลดารมภ์ยืนหยัดมา
ก้าวสู่แนวหน้าสังคม                สั่งสมคุณค่าให้คน
พบพาน GURU พารณ           จวบจนก่อเกิดแหล่งที่มา...


หนังสือ.. “ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้”
      “หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน” เป็นบทพิสูจน์และการันตีแสดงให้เห็นถึงปณิธานของ 2 บุรุษผู้แม้ว่าจะต่างกันด้วยวัยวุฒิ แต่เดินทางสายเดียวแห่งอุดมการณ์ เป็นไปแนวทางเดียวกัน คือการมุ่งเรื่องคน ซึ่งทั้ง 2 ท่าน มีความเชื่อเหมือนกันว่า  “คนคือทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร” จึงทำให้ทั้ง 2  ท่านใช้ความพยายามในช่วงหลายทศวรรษในอันที่จะพัฒนาคน ควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต เพราะทั้งสองต่างเชื่อว่า “หากคนในประเทศมีความรู้ ความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีวิตจนติดเป็นนิสัยแล้ว ประเทศของเราก็จะสามารถยืนหยัดและสามารถแข่งขันในสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างแน่นอน..” สิ่งที่ต้องเล็งเห็นในการพัฒนาคน ในสังคมไทยสิ่งที่ขาดอยู่ในตอนนี้ คือ บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและคุณธรรม ในการช่วยชี้แนะให้คนเป็นทรัพยากรที่พัฒนา เป็นมนุษย์ที่รู้วิธีการที่จะเป็นคนเก่ง คนดี และคนที่มีความสุข สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข และมีศักยภาพได้
      คุณพารณ ฯ ในสภาพส่วนตัว เป็นผู้ปฏิบัติตนเรียบง่าย ใส่เสื้อคอพระราชทานสีตุ่น ๆ ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส บุคลิกภาพที่เป็นมิตรกับทุกคน มีระเบียบในตัวเอง ประพฤติเป็นที่น่าเชื่อถือเป็นที่รักของลูกน้อง ซึ่งถือว่า เป็นบุคคลที่รู้จักการ “ครองตน”  ให้ความสำคัญและความรักความเมตตาดูแลห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างใกล้ชิดทำให้เกิดความรัก และความเชื่อถือ จงรักภักดีจากลูกน้องเสมือนคนในครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่สามารถ “ครองคน” ทำงานสายเอกชนนาน ถึง 33 ปี เป็นทรัพยากรที่บริษัท อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้ “ครองงาน” เป็นเวลานาน
      มีคำกล่าวว่า  การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนของบริษัท ซึ่งมิใช่ต้นทุนและเป็นผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร ดังนั้นคนจึงเป็นตัวแปรต่อการอยู่รอด นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า เราดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้อย่างจริงจังและเป็นระบบหรือไม่
อาจารย์จีระ ได้เสนอทฤษฏีไว้หลายทฤษฎี ทั้งทฤษฎี 4 L’s (Learning methodology, Learning environment, Learning opportunity, Learning community) ทฤษฎี 3 วงกลม ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จสำหรับรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และยังเป็นหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและมีความโปร่งใส ก้าวไปสู่การรู้จักทำงานเป็นทีม อันจะเพิ่มศักยภาพของงานและลดข้อผิดพลาด หากบุคคลภายในทีมมีความสามารถ มีศักยภาพ และมีการปรับตัว มาถึงตอนนี้ทำให้ข้าพเจ้าฉุกคิดขึ้นมาว่า การที่อาจารย์มอบภาระงานให้ทำเป็นกลุ่มนี้ที่จริงแล้วสามารถมอบให้เป็นงานเดี่ยวก็ย่อมทำได้ แต่ทำไม? นั่นอาจจะเป็นการสอนแบบผสมผสานและการใช้จำลองสภาพแวดล้อมเป็นกุศโลบายในการที่จะฝึกคนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักหน้าที่ของตน โดยสมมติกลุ่มเป็นองค์กร ๆ หนึ่งที่ให้เรามีส่วนร่วมในการพัฒนา มีส่วนร่วม และความสำนึกในหน้าที่ของตนต่อกลุ่ม
      จากการเสวนาแนวทางพัฒนาทั้ง 2 ท่านเล็งเห็นการพัฒนาเพื่อหาแนวทางอย่างไรที่จะพัฒนาคุณค่าของคน โดยคุณพารณ  ได้กล่าวถึงและแสดงเจตจำนงเกี่ยวกับ Global Citizen ว่า เราต้องสร้างเด็กไทยให้มีความพร้อมกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องให้มีความคล่องแคล่วในเรื่องภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการต่อรองและติดต่อสื่อสารกับต่างชาติ การนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยอาจารย์จีระ ได้เพิ่มเติมเรื่องการเสริมคุณธรรมและจริยธรรมลงไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมาก มีความรู้มีความสามารถ แต่ขาดคุณธรรมและจริยธรรมก็คงมีคุณภาพไม่ครบสมบูรณ์ตามสังคมต้องการ (ขาดคุณธรรมจริยธรรม ประเทศชาติก็เจ๊ง สิพี่ ๆๆๆๆ...)
      ความมุ่งหวังทั้ง 2 ท่านที่จุพัฒนาคนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร ทั้ง 2 ท่านได้สร้างเครื่อข่ายมนุษย์ จากการให้ความสำคัญกับคนทุกระดับทำให้ทั้งสองท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกว้างขวาง อีกทั้งมีนิสัยคล้ายกันคือ การไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ไม่ใส่เกียร์ว่างให้ตัวเอง และยังได้นำความรู้จากการเรียนรู้มาถ่ายทอดให้กับผู้อื่น เช่นการวางระบบการศึกษาแนวใหม่ ให้เยาวชนรู้จักใช้สมอง วิเคราะห์เป็น และกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกที่ควร มีความเชื่อมั่นและทะเยอทะยานในสิ่งที่ควร ดังสโลแกนที่ว่า “ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง”
      จากการได้ศึกษาและอ่านแนวความคิดของท่านทั้ง 2 ทำให้เกิดมุมมอง และสาระเกี่ยวกับ GOAL ..
G : Good คือต้องมีความรู้สึกดีกับงาน ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “ฉันทะ” คือต้องมีความชอบและรัก ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และสิ่งที่ขาดไม่ได้นอกจากรู้ดีกับงาน ต้องมีความรู้สึกดีและรักตัวเอง มีความเชื่อมั่นใจตัวเอง
O : Opportunity ต้องวิ่งหาโอกาส  และสร้างโอกาสให้กับตัวเองในการแสดงความสามารถ
A : Alert ต้องมีการเตรียมพร้อมเสมอ มีการตื่นตัวเสมอที่จะทำงาน และพร้อมที่จะปรับตัว เมื่อองค์การมีการเปลี่ยนแปลง
L : Learning มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวคือบทเรียน คือการเรียนรู้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะตามโอกาส
ทำให้เข้าใจว่า..
      - คน เป็นทรัพยากรซึ่งต้องมีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถและกอปรด้วยคุณธรรมจริยธรรม
      - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร และคนก็คือมูลค่าเพิ่ม มิใช่ทุน
      - รู้อะไรให้รู้จริง และสามารถนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้จริง
      - การมองทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากระดับมหภาค (Macro) ไปสู่หน่วยเล็กขององค์กร (Micro)
      - การทำงานต้องรู้จักช่วยกัน มีการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

2 พลังความคิดชีวิตและงาน
     ผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ คือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ทั้งสองท่านต่างก็มีแนวความคิดที่เหมือนกัน ซึ่งจะมี 2 ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 2 ท่าน คิดว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดขององค์กรมาจาก คน องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอยู่ที่คนไม่ใช่เทคโนโลยี การมีวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้า การจะเป็นผู้นำนั้นต้องให้ลูกน้องได้เห็นความเป็นตัวของเราเอง เราเกิดมาเป็นคนทุกคนจะต่างกันที่ ฐานะ ความรวย ความจน หรือโอกาสต่างๆ ที่ไม่เท่าเทียมกัน แต่เราจงภูมิใจในความเป็นตัวของเราเอง รู้จักความพอเพียง และรู้จักการเอื้อเฟื้อต่อคนอื่น  คุณหญิงกล่าวว่ามนุษย์ทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองในการนำความรู้ที่มีมาคิดเพิ่ม รู้จักใช้สติปัญญา รู้ว่าคิดอะไรและกำลังทำอะไร และการสอนของเมืองไทยนั้นไม่ได้สอนให้เด็กคิด ไม่ได้ฝึกให้เด็กตั้งคำถาม ดังนั้นประเทศไทยจึงยังไม่ก้าวหน้า เพราะไม่ได้สอนให้เด็กฝึกคิดเด็กจึงคิดไม่เป็น แต่คุณหญิงท่านโชคดีมากที่ได้ไปเรียนที่ต่างประเทศซึ่งท่านได้ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ที่นั้นเป็นสังคมของการเรียนรู้ ท่านก็ได้มีโอกาสแสดงความคิด ได้โชว์ความสามารถ ผิดถูกก็ไม่มีใครดูถูก ท่านก็เลยมีความมั่นใจในตัวเองมาก ทำให้ท่านมั่นใจว่าสมองของคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก อาจจะด้อยก็เพียงแค่ภาษาเท่านั้น แต่สมองอาจจะดีกว่า ท่านพยายามสอนให้คนคิดเป็นและพยายามคิดด้วยตัวเอง จะเน้นการพัฒนาความรู้และทัศนคติ เราต้องรู้จริงก่อนจึงจะเสนอแนะได้ ส่วนด้าน ศ.ดร. จิระ ได้ให้ความสำคัญไว้ 3 เรื่อง คือ ความรู้ ความชำนาญ ความสามารถ ส่วนทางด้านคุณหญิงกล่าวไว้ว่าทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่า และพัฒนาได้ตลอดเวลาไม่มีจบสิ้น เพราะเป็นเรื่องความรู้ ความคิด ทักษะ ความสามารถ แต่ไม่ใช่จะมีความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความคิดและวิเคราะห์เป็นด้วย จึงจะได้เกิดปัญญา ศ.ดร. จิระ ได้อธิบาย ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็นวิเคราะห์เป็น และการนำไปสู่มูลค่า ท่านได้สังเกตว่าคนที่จบปริญญามีพื้นฐานการศึกษาที่ดี แต่คนที่มีการศึกษาที่ไม่สูงก็สามารถมีทุนทางปัญญาได้ ถ้ารู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนคุณหญิงกล่าวว่า คนเราต้องแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะการที่เราจะเป็นผู้นำนั้น ต้องรู้มาก รู้กว้างและรู้ลึกกว่าคนอื่น การที่องค์กรมีบุคลากรที่มีความรู้ และมีสติปัญญาดี และมีความชำนาญ และมีความสามารถ ก็จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดี องค์กรก็จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศชาติเจริญได้อย่างยั่งยืน ส่วน ศ.ดร. จิระ กล่าวถึงทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ เป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ บุคคลจะมีความสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ คนที่มีทุนมนุษย์ดีย่อมส่งผลต่อการเรียนรู้ตั้งแต่ ครอบครัว โรงเรียน สถานอุดมศึกษา สถานประกอบการ และสังคม ทุนทางความรู้ยังส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และประเทศชาติ ต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการภาครัฐและเอกชนหากได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ และ ศ.ดร. จิระ ได้กล่าวไว้ว่าแต่ละองค์กรถ้าขาดคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว ก็ยากที่จะพัฒนา ซึ่งเหมือนที่คุณหญิงได้เน้นถึงเรื่องจิตใจนั้นน่าจะมีความหมายครอบคลุมทั้งในระดับผู้นำและการบริหารจัดการองค์กร คุณหญิงยังกล่าวอีกว่า คนเราต้องมีจิตใจ เมตตา กรุณา มีความอ่อนโยน จะทำให้มีบุคลิกที่ดี คือ มีความสุภาพอ่อนโยน  ถ้าในการเป็นผู้นำ ต้องใช้หลักพรหมวิหาร 4 ในเชิงพุทธศาสนา คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราที่สำคัญที่สุดในการวัดการเป็นผู้นำที่แท้จริง คือ มีจิตใจที่กล้าหาญ คือ กล้านำ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง และจะต้องกล้าที่จะยอมรับความล้มเหลว และจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบทั้งดีและร้าย..

โดย  นักศึกษา  รปม. รุ่น 4   (กลุ่ม  6 ) มีรายนามดังนี้1.  นางอนงค์      มะลิวรรณ์           รหัสประจำตัว     50038010019  2.   นางสาวมัลลิกา    โสดวิลัย       รหัสประจำตัว     500380100183.  นางบังอร    ภูมิวัฒน์                 รหัสประจำตัว     500380100324.  นาง สมจิตร    ส่องสว่าง            รหัสประจำตัว     500380100385.  นาง วีรยาพร    อาลัยพร            รหัสประจำตัว     500380100366.  นางสาวลาวัลย์    ลิ้มนิยม           รหัสประจำตัว     500380100447.  นางสาวมะลิวัลย์    โพธิ์สวัสดิ์    รหัสประจำตัว     50038010020 จากการที่ได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  นักศึกษา รปม.  รุ่น  4  (กลุ่ม  6)  สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญได้ดังนี้  คือเล่มที่  1  พลังความคิดชีวิตและงาน  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์                                เนื้อหาในหนังสือ เป็นช่องทางที่สำคัญในการเผยแพร่ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยมีบุคคลตัวอย่างที่ทรงคุณค่า  เป็นผู้นำทางความคิด  ผู้บุกเบิกและปฏิบัติ ทำให้ผผู้อ่านได้รับสาระครบถ้วน ชวนติดตามเนื้อหา  ทราบถึงการพัฒนามนุษย์  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร  จาก แรงจูงใจ ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ  จุดประกายความคิดใหม่ ๆ เหมือนพลุไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ทำงานเอาจริงเอาจังโดยใช้วิธีบูรณาการ  ความคิด และความสามารถของผู้ร่วมงาน  งานที่ยากเป็นงานง่ายสองคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ที่ดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์  สร้างความยั่งยืน เน้นพึ่งพาตัวเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บนรากฐานทางวัฒนธรรม และภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง มีคุณธรรม จริยธรรม ที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับ แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน โดยระบบราชการ จะทำงานชักช้า อุ้ยอ้าย ระเบียบขั้นตอนมากไม่ได้ จะต้องนำมาปรับปรุง ลดขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 H’ s”  และ  8 K’ s”  ซึ่งผู้อ่านเกิดความคิดที่ว่า  คนเรานั้นเกิดมาต้องมีทุนมนุษย์ เพราะว่าคนจะทำอะไร ไม่ว่า การกิน การเดิน การนั่ง การนอน และการทำงาน ล้วนต้องใช้ทุนมนุษย์ทั้งสิ้นแต่จะใช้สมบูรณ์แบบทุกด้านนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อให้การปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ขึ้น อย่างน้อยเราต้องพัฒนาสิ่งที่ตนเองชอบที่จะทำเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านนั้น ๆ ซึ่งมองให้เห็นว่า คนเราต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ในยุคโลกาภิวัฒน์ ยิ่งต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านที่ได้กล่าวถึงทุนมนุษย์ไว้อย่างดีเยี่ยม  โดยแยกแต่ละทุนดังนี้ ทุนที่ 1  ได้กล่าวถึงทุนมรดกวัฒนธรรม  (Heritage)  ซึ่งเป็นทุนรากฐานของชีวิต เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรือเรียกว่า โลกยุคไอที หรือโลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในประเทศอย่างรวดเร็ว ที่เราไม่สามารถสกัดกั้นและกลั่นกรองได้ แต่การที่เรามีทุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งได้ช่วยเพิ่มคุณค่าของสังคมและยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างดียิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่ว่า Culture Capital เป็นองค์ประกอบหลักของทฤษฎี 8K’s  คือทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainabillity Capital)  เพราะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ทุนที่ 2  ได้กล่าวถึงทุนสมอง (Head)  การมีความคิด มีความรู้แล้วต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองในการนำความรู้ที่มีมาคิดเพิ่ม ต้องรู้จักไตร่ตรองก่อนเพื่อชั่งน้ำหนักให้เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เพราะทุนทางปัญญาจะทวีเพิ่มขึ้น เมื่อคนเราได้มีโอกาสเรียนรู้และมีประสบการณ์ที่ดี  ทุนที่ 3  คือ มืออาชีพ (Hand)  ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร แต่คนเรามีพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงต้องนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดเป็นทุนทางความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือทุนความรู้ (Telented Capital) ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้  ทุนที่ 4  คือ เป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)  หากคนเรามีความพื้นฐานดี มีทุนความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นเราจึงควรปลุกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ทุนที่ 5  คือสุขภาพ (Health)  ตรงกับ ทฤษฎี 8K’s  คือต้นทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต  เพราะถ้าคนเราจะทำอะไรในหลาย ๆ อย่างในชีวิตนั้น แต่ถ้าหมดสิ้นลมหายใจหรือไม่มีชีวิตจะทำอะไรไม่ได้เลย สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์จีงเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับคนเราทุกคน ซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นเอง

 ทุนที่ 6  คือ บ้านและครอบครัว (Home)  การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นพื้นฐานที่สำคัญ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เท่ากับมีเครือข่ายที่จะดูแลกันและกันได้ สอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือ  ทุนมนุษย์  (Human Capital)  เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดามารดา  ทุนที่ 7  คือ  การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปัน เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข  8K’s   คือทุนแห่งความสุข (Happiness  Capital)  ว่า หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  เพราะมีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จแล้วยังมีความดีงามที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือทรัพยากรส่วนกลาง  คนที่มีทุนแห่งความสุขนี้นอกจากจะมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว ยังปรารถนาให้คนอื่นหรือสังคมโดยรวมมีความสุขด้วยกัน เพราะเรามีสติปัญญารู้ว่าความสุขต้องแบ่งปัน สุขคนเดียวหรือสุขกลุ่มเดียวจะอยู่ได้ไม่นาน  ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทุนที่  8  คือ ความปรองดองสมานฉันท์  (Harmony)  คือทุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ  รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ตน  

รู้ประมาณ  รู้กาล  รู้ชุมชน  และรู้บุคคล สอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางสังคม (Social Capital)  คนเรานั้น ถ้ามีแต่ทุนทางสังคมเพียงอย่างเดียว คงไม่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่รู้จักวิธีบริหารเครือข่ายการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับคนอื่น            ดังนั้น  สรุปได้ว่า  มนุษย์เรานั้นจะขาดทุนใดทุนหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในชีวิต เพราะคนเราจะเก่งทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียว คงอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ไม่ได้หรืออยู่ได้ก็อย่างยากลำบาก เพราะทุกอย่างต้องเดินไปพร้อมกัน จะมีมากมีน้อยแต่ขอให้มีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ทุน เดินไปพร้อมกัน จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความสุขทั้งหน้าที่การงานและความสุขทางกายและใจนั้นเอง 

 เล่มที่  2   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค  ซึ่งสรุปได้ว่า                                ความเชื่อ  ความศรัทธา และความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆ ของ ท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ  อยุธยา  และ  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  จากประวัติการทำงานของทั้ง  2 ท่าน จะให้ความสำคัญกับ คน “  เพราะถือว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร  สมควรให้การดูแลและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่สุดทั้ง  2  ท่าน  ก็ทุ่มเทการทำงานให้กับสังคมในด้านการศึกษา ให้เด็กไทยได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาการศึกษาในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้และสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ที่สำคัญการเรียนรู้จะต้องเรียนรู้อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์  ดังแนวคิดของ  2  แชมป์ กัน ทฤษฎี  4  L’s  มูลเหตุแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ท่านพารณ  ได้จารึกไว้ กับ ปูนซีเมนต์ไทย  โดยท่านเป็นต้นแบบที่ดี  4  เรื่อง  ดังนี้  (1)  คนเก่ง- คนดี  พบว่า  เก่ง  4  ดี  4  คือ  เก่ง  4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน         ดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม  ซึ่งทั้งหมดต้องมีการประเมิน เรียกว่า  Capability สำหรับคนเก่ง  และ Acceptability  สำหรับคนดี  คนเก่งฝึกอบรมได้  แต่คนดีต้องสร้างสมด้วยตนเอง  (2)  ความเชื่อในคุณค่าของคน  เชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  (3)  การดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด  เชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียวแต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย (4)   การทำงานเป็นทีม  เชื่อว่า  สองหัวดีกว่าหัวเดียว  คือจัดให้มีระบบคณะกรรมการ ดูแลคนให้ทำงานเป็นทีม  เพื่อให้เกิดจิตสำนึกเป็นเจ้าของบริษัทด้วยกัน การนำ  HR  มาใช้อย่างชาญฉลาด  เช่น  องค์กรปูน เมื่อเกิดวิกฤต  ปี  40-41  บริษัทฟื้นตัวได้เพราะพื้นฐานเรื่อง  คน   แน่นมาก  จึงเลือกที่จะใช้วิธีใดกับใคร  คนไหนดีมีคุณค่าควรเก็บไว้  คนที่มีคุณค่าน้อยก็ปล่อยไปอย่างเหมาะสม  โดยการจ่ายค่าตอบแทนให้เขาพอใจ  ดังนั้น  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้จารึกไว้ บนรายทางว่า มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  เกิดมาจากแนวคิดว่า  ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ จะดีได้ถ้าคนในประเทศไว้เนื้อเชื่อใจกัน  การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ท่านจึงพัฒนาระบบความคิดไปข้างหน้างอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้อุปสรรคที่ผ่านมาเป็นโอกาส เป็นบทเรียนในการแก้ไขสู่ความก้าวหน้า  และการมีส่วนร่วมระหว่างคนในสังคม  ประกอบกับท่านอาจารย์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  และที่สำคัญท่านอาจารย์มีเครือข่ายสัมพันธ์ (NetworK)  ทั้งในและนอกประเทศ จึงทำให้งานยากกลายเป็นงานง่าย ซึ่งแนวคิดการบริหาร Network  ได้พูดไว้ในทฤษฎี  8K’s  คือ  Social Capital  แปลว่า ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งคุณสุชาญ  โภคิน  กล่าวคำว่า  พันธุ์แท้   น่าจะมีลักษณะคือพันธ์แท้มี   2  ชนิด คือ  พันธุ์แท้ที่พัฒนา   กับ  พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา   ทั้งนี้จุดตัดสินอยู่ที่  ของแท้จะต้องอยู่คงทน  มี  imaginative หรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เรื่อย  หรือถ้าเป็นสินค้ามีนวัตกรรมหรือ innovation  อยู่ตลอดเวลา  คำว่า  พันธุ์แท้  คือเราไม่หยุดและ  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ไม่หยุด  คุณสุชาญ  ยังพูดถึงทฤษฎี  3  วงกลม  ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ว่า วงกลม  ที่  1   เรื่อง  Contest  หรือ  บริบท  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ระบบ  IT  มากขึ้น วงกลมที่  2  เรื่อง  ภาวะผู้นำ  นวัตกรรม  การบริหารเวลา  คือ ดูว่าทรัพยากรมนุษย์จะต้องมี  Competencies  อย่างไร  วงกลมที่  3  เป็นหลักที่ดี  คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทายเป็นการใช้หลัก PM (Personnel Management)  ดังนั้น  คุณสุชาญ  จึงมองว่า

ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  กับคุณพารณ  คล้ายกันตรงที่  หัวถึงฟ้า  ขาติดดิน  ถือเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่แท้จริง  ซึ่งทำให้เห็นว่า  ทั้ง ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ 

คุณพารณ  อิศรเสนา  ณ อยุธยามีเป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือการมุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ยิ่งย้อนกลับไปฟังเขาพูดอีกครั้งยิ่งชวนให้คิดว่า  ยังมีอะไรอีกบ้างที่สื่อถึงความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ อย่างในนิยามของการเป็น คนพันธุ์แท้   ของท่านพารณ  กับ ศ.ดร. จีระ  ซึ่งบางส่วนจาก ประกายความคลึงคล้ายเท่าที่จะวิเคราะห์ได้ระหว่างคนคู่นี้  คือ  1. เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ

2.  หยัดอยู่มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความอย่างยั่งยืน 3. จากความยั่งยืนสู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4. มีบุคลิกลักษณะแบบ  “ Global Man “  ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ 5.  มีความเป็นผู้ใหญ่  พร้อมจะเป็น  ผู้ให้   ทั้ง  ความรู้   และ  ความรัก แก่คนใกล้ชิด 6. มีความสุขกับการเป็น  ผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ  กล่อง หรือ  การเชิดชูเกียรติจากใคร

ซึ่งจากบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านสามารถสรุปได้ว่า  คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร  คุณค่าของคนต้องมีคุณภาพ  มีคุณธรรม  ความจงรักภักดี  และมีความสามรถ  จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  การบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับการเงิน  คนจะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น  ถ้าองค์กรนั้นมีการฝึกอบรมด้านวิชาการ

ด้านปกครอง  และความรู้ใหม่ๆ   และประสบการณ์ที่ทำงานมานาน  เมื่อการแข่งขันมากขึ้นต้องมองคนเป็น  2  ประเภท  คนภายในองค์กร  และคนภายนอกองค์กร 

ผู้บริหารต้องมี  Vision มองไปข้างหน้ายาว ๆ จะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่  เครื่องจักร  เครื่องมือ เข้ามาก็สามารถที่จะเรียนรู้เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ  อีกทั้งผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ  อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารความคิดหรือ

ความประสงค์สู่พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีในส่วนของผู้นำนั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่า สามารถที่จะฝึกฝนหรืออบรม ให้สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะขึ้นมาได้  เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น และถ้าขนาดธุรกิจใหญ่ ๆ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ลำบากขึ้น  ต้องใช้การกระจายอำนาจมอบอำนาจให้พนักงานระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว  การสร้างคนในองค์กรต้องสร้างทุกระดับ  ตั้งแต่

คนงานในโรงงาน ให้มีการฝึกอบรมโดยตลอด  การทำงานที่มีคุณธรรม

เป็นจรรยาบรรณของพนักงาน เป็นการจรรโลงคุณค่าของสังคมไทยสืบทอดกันไป  เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน  และผู้บริหารจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามนั้นด้วย  การทำงานอย่างมีคุณธรรม ช่วยเราในระยะยาว ได้รับความเชื่อถือยกย่อง อีกทั้งยังต้องสรรหาคนดี คนเก่ง พร้อมทั้งรักษาไว้กับองค์การให้ได้  กลวิธีการสร้างความผูกพันในองค์กร และการรักษาคนเอาไว้จะต้องสร้างความผูกพันและความรักองค์กร ต้องดูแลพนักงานตั้งแต่วันที่เขาเข้ามาทำงานจนถึงวันที่เขาออกไปก็ให้ประโยชน์ตามสมควร  ต้องมีสวัสดิการที่ดี  มีการปกครองที่ดี ให้ความเป็นธรรมมีส่วนร่วมในการบริหาร ทำงานเป็นทีม ให้ความใกล้ชิดสนิทสนม มีอะไรพูดจาปรึกษากันได้ ทำเช่นนี้ทุกระดับองค์กร ให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้ความรัก

ความศรัทธา สามารถแก้ปัญหาสมองไหลได้  ผู้บริหารออกไปเยี่ยม ทานข้าวกับลูกน้อง และคนในระดับอื่น ๆ ก็ทำตาม ทำให้คนในองค์กรแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  ทำให้

ไม่อยากออกไปจากองค์กรนี้  ทั้งนี้องค์กรจะต้องให้ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของบุคคลในระดับต่าง ๆ เพื่อทำให้เห็นว่าเขามีส่วนร่วมและมีความสามรถที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางเป้าหมายไว้   
นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)
โดย  นักศึกษา  รปม. รุ่น 4   (กลุ่ม  6 ) มีรายนามดังนี้1.  นางอนงค์      มะลิวรรณ์           รหัสประจำตัว     50038010019  2.   นางสาวมัลลิกา    โสดวิลัย       รหัสประจำตัว     500380100183.  นางบังอร    ภูมิวัฒน์                 รหัสประจำตัว     500380100324.  นาง สมจิตร    ส่องสว่าง            รหัสประจำตัว     500380100385.  นาง วีรยาพร    อาลัยพร            รหัสประจำตัว     500380100366.  นางสาวลาวัลย์    ลิ้มนิยม           รหัสประจำตัว     500380100447.  นางสาวมะลิวัลย์    โพธิ์สวัสดิ์    รหัสประจำตัว     50038010020

  

จากการที่ได้อ่านหนังสือทั้งสองเล่มของท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  นักศึกษา รปม.  รุ่น  4  (กลุ่ม  6)  สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญได้ดังนี้  คือ  เล่มที่  1  พลังความคิดชีวิตและงาน  ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  โดยคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์                                เนื้อหาในหนังสือ เป็นช่องทางที่สำคัญในการเผยแพร่ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ต่อสังคม โดยมีบุคคลตัวอย่างที่ทรงคุณค่า  เป็นผู้นำทางความคิด  ผู้บุกเบิกและปฏิบัติ ทำให้ผผู้อ่านได้รับสาระครบถ้วน ชวนติดตามเนื้อหา  ทราบถึงการพัฒนามนุษย์  โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กร  จาก แรงจูงใจ ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ  จุดประกายความคิดใหม่ ๆ เหมือนพลุไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจ  ทำงานเอาจริงเอาจัง  โดยใช้วิธีบูรณาการ  ความคิด และความสามารถของผู้ร่วมงาน  งานที่ยากเป็นงานง่ายสองคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ที่ดำรงอยู่ในกระแสโลกาภิวัฒน์  สร้างความยั่งยืน เน้นพึ่งพาตัวเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง บนรากฐานทางวัฒนธรรม และภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง มีคุณธรรม จริยธรรม ที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับ แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัดสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในที่ทำงาน โดยระบบราชการ จะทำงานชักช้า อุ้ยอ้าย ระเบียบขั้นตอนมากไม่ได้ จะต้องนำมาปรับปรุง ลดขั้นตอน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์  8 H’ s”  และ  8 K’ s”  ซึ่งผู้อ่านเกิดความคิดที่ว่า  คนเรานั้นเกิดมาต้องมีทุนมนุษย์ เพราะว่าคนจะทำอะไร ไม่ว่า การกิน การเดิน การนั่ง การนอน และการทำงาน ล้วนต้องใช้ทุนมนุษย์ทั้งสิ้นแต่จะใช้สมบูรณ์แบบทุกด้านนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อให้การปฏิบัติการในด้านต่าง ๆ มีความสมบูรณ์ขึ้น อย่างน้อยเราต้องพัฒนาสิ่งที่ตนเองชอบที่จะทำเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญหรือมีความชำนาญในด้านนั้น ๆ ซึ่งมองให้เห็นว่า คนเราต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยิ่งโลกเราทุกวันนี้ในยุคโลกาภิวัฒน์ ยิ่งต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ดังบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านที่ได้กล่าวถึงทุนมนุษย์ไว้อย่างดีเยี่ยม  โดยแยกแต่ละทุนดังนี้ทุนที่ 1  ได้กล่าวถึงทุนมรดกวัฒนธรรม  (Heritage)  ซึ่งเป็นทุนรากฐานของชีวิต เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง แม้ว่าความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรือเรียกว่า โลกยุคไอที หรือโลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในประเทศอย่างรวดเร็ว ที่เราไม่สามารถสกัดกั้นและกลั่นกรองได้ แต่การที่เรามีทุนทางวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งได้ช่วยเพิ่มคุณค่าของสังคมและยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างดียิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับทุนทางวัฒนธรรมของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ที่ว่า Culture Capital เป็นองค์ประกอบหลักของทฤษฎี 8K’s  คือทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainabillity Capital)  เพราะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน ทุนที่ 2  ได้กล่าวถึงทุนสมอง (Head)  การมีความคิด มีความรู้แล้วต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองในการนำความรู้ที่มีมาคิดเพิ่ม ต้องรู้จักไตร่ตรองก่อนเพื่อชั่งน้ำหนักให้เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) เพราะทุนทางปัญญาจะทวีเพิ่มขึ้น เมื่อคนเราได้มีโอกาสเรียนรู้และมีประสบการณ์ที่ดี ทุนที่ 3  คือ มืออาชีพ (Hand)  ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร แต่คนเรามีพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงต้องนำความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดเป็นทุนทางความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือทุนความรู้ (Telented Capital)ซึ่งเป็นทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้ ทุนที่ 4  คือ เป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม (Ethical Capital)  หากคนเรามีความพื้นฐานดี มีทุนความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้ดีเท่าที่ควร  ดังนั้นเราจึงควรปลุกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ทุนที่ 5  คือสุขภาพ (Health)  ตรงกับ ทฤษฎี 8K’s  คือต้นทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต  เพราะถ้าคนเราจะทำอะไรในหลาย ๆ อย่างในชีวิตนั้น แต่ถ้าหมดสิ้นลมหายใจหรือไม่มีชีวิตจะทำอะไรไม่ได้เลย สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์จีงเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับคนเราทุกคน ซึ่งสุขภาพกายและสุขภาพจิตนั้นเอง ทุนที่ 6  คือ บ้านและครอบครัว (Home)  การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่น เป็นพื้นฐานที่สำคัญ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เท่ากับมีเครือข่ายที่จะดูแลกันและกันได้ สอดคล้องกับ ทฤษฎี 8K’s  คือทุนมนุษย์  (Human Capital)  เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดามารดา ทุนที่ 7  คือ  การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปัน เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข  8K’s   คือทุนแห่งความสุข (Happiness  Capital)  ว่า หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  เพราะมีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จแล้วยังมีความดีงามที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือทรัพยากรส่วนกลาง  คนที่มีทุนแห่งความสุขนี้นอกจากจะมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว ยังปรารถนาให้คนอื่นหรือสังคมโดยรวมมีความสุขด้วยกัน เพราะเรามีสติปัญญารู้ว่าความสุขต้องแบ่งปัน สุขคนเดียวหรือสุขกลุ่มเดียวจะอยู่ได้ไม่นาน  ฉะนั้น ไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามจะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทุนที่  8  คือ ความปรองดองสมานฉันท์  (Harmony)  คือทุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ตน  รู้ประมาณ  รู้กาล  รู้ชุมชน  และรู้บุคคล สอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s  คือทุนทางสังคม (Social Capital)  คนเรานั้น ถ้ามีแต่ทุนทางสังคมเพียงอย่างเดียว คงไม่ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่รู้จักวิธีบริหารเครือข่ายการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับคนอื่น ๆ

                                ดังนั้น  สรุปได้ว่า  มนุษย์เรานั้นจะขาดทุนใดทุนหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้ขาดความสมดุลในชีวิต เพราะคนเราจะเก่งทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียว คงอยู่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ไม่ได้หรืออยู่ได้ก็อย่างยากลำบาก เพราะทุกอย่างต้องเดินไปพร้อมกัน จะมีมากมีน้อยแต่ขอให้มีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ทุน เดินไปพร้อมกัน จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความสุขทั้งหน้าที่การงานและความสุขทางกายและใจนั้นเอง

  เล่มที่  2   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค  ซึ่งสรุปได้ว่า                                ความเชื่อ  ความศรัทธา และความมุ่งมั่นในเรื่องต่าง ๆ ของ ท่านพารณ  อิศรเสนา  ณ  อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  จากประวัติการทำงานของทั้ง  2 ท่าน จะให้ความสำคัญกับ คน เพราะถือว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร  สมควรให้การดูแลและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่สุดทั้ง  2  ท่าน  ก็ทุ่มเทการทำงานให้กับสังคมในด้านการศึกษา ให้เด็กไทยได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาการศึกษาในรูปแบบใหม่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้และสื่อสารได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ที่สำคัญการเรียนรู้จะต้องเรียนรู้อย่างสนุก นำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์  ดังแนวคิดของ  2  แชมป์ กัน ทฤษฎี  4  L’s  มูลเหตุแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ท่านพารณ  ได้จารึกไว้ กับ ปูนซีเมนต์ไทย  โดยท่านเป็นต้นแบบที่ดี  4  เรื่อง  ดังนี้  (1)  คนเก่ง- คนดี  พบว่า  เก่ง  4  ดี  4  คือ  เก่ง  4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน         ดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม   ซึ่งทั้งหมดต้องมีการประเมิน เรียกว่า  Capability สำหรับคนเก่ง  และ Acceptability  สำหรับคนดี  คนเก่งฝึกอบรมได้  แต่คนดีต้องสร้างสมด้วยตนเอง (2)  ความเชื่อในคุณค่าของคน  เชื่อว่าคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  (3)  การดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด  เชื่อว่าคนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินอย่างเดียวแต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย (4)  การทำงานเป็นทีม  เชื่อว่า  สองหัวดีกว่าหัวเดียว  คือจัดให้มีระบบคณะกรรมการ ดูแลคนให้ทำงานเป็นทีม  เพื่อให้เกิดจิตสำนึกเป็นเจ้าของบริษัทด้วยกัน การนำ  HR  มาใช้อย่างชาญฉลาด  เช่น  องค์กรปูน เมื่อเกิดวิกฤต  ปี  40-41  บริษัทฟื้นตัวได้เพราะพื้นฐานเรื่อง  คน   แน่นมาก  จึงเลือกที่จะใช้วิธีใดกับใคร  คนไหนดีมีคุณค่าควรเก็บไว้  คนที่มีคุณค่าน้อยก็ปล่อยไปอย่างเหมาะสม  โดยการจ่ายค่าตอบแทนให้เขาพอใจ  ดังนั้น  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ได้จารึกไว้ บนรายทางว่า มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ  เกิดมาจากแนวคิดว่า  ความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ จะดีได้ถ้าคนในประเทศไว้เนื้อเชื่อใจกัน  การลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์จึงจำเป็นอย่างยิ่ง  ท่านจึงพัฒนาระบบความคิดไปข้างหน้างอย่างต่อเนื่องด้วยการใช้อุปสรรคที่ผ่านมาเป็นโอกาส เป็นบทเรียนในการแก้ไขสู่ความก้าวหน้า  และการมีส่วนร่วมระหว่างคนในสังคม  ประกอบกับท่านอาจารย์ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  และที่สำคัญท่านอาจารย์มีเครือข่ายสัมพันธ์ (NetworK)  ทั้งในและนอกประเทศ จึงทำให้งานยากกลายเป็นงานง่าย ซึ่งแนวคิดการบริหาร Network  ได้พูดไว้ในทฤษฎี  8K’s  คือ  Social Capital  แปลว่า ทุนทางสังคม คือทุนที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งคุณสุชาญ  โภคิน  กล่าวคำว่า  พันธุ์แท้   น่าจะมีลักษณะคือพันธ์แท้มี   2  ชนิด คือ  พันธุ์แท้ที่พัฒนา   กับ  พันธุ์แท้ที่ไม่พัฒนา   ทั้งนี้จุดตัดสินอยู่ที่  ของแท้จะต้องอยู่คงทน  มี  imaginative หรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ อยู่เรื่อย  หรือถ้าเป็นสินค้ามีนวัตกรรมหรือ innovation  อยู่ตลอดเวลา  คำว่า  พันธุ์แท้  คือเราไม่หยุดและ  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ก็ไม่หยุด  คุณสุชาญ  ยังพูดถึงทฤษฎี  3  วงกลม  ของอาจารย์ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ว่า  วงกลม  ที่  1   เรื่อง  Contest  หรือ  บริบท  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ระบบ  IT  มากขึ้น วงกลมที่  2  เรื่อง  ภาวะผู้นำ  นวัตกรรม  การบริหารเวลา  คือ ดูว่าทรัพยากรมนุษย์จะต้องมี  Competencies  อย่างไร  วงกลมที่  3  เป็นหลักที่ดี  คนเราจะสำเร็จในงานได้ต้องมองว่างานทุกอย่างเป็นงานที่ท้าทายเป็นการใช้หลัก PM (Personnel Management)  ดังนั้น  คุณสุชาญ  จึงมองว่า ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  กับคุณพารณ  คล้ายกันตรงที่  หัวถึงฟ้า  ขาติดดิน  ถือเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่แท้จริง

                                ซึ่งทำให้เห็นว่า  ทั้ง ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และ  คุณพารณ  อิศรเสนา  ณ อยุธยามีเป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือการมุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์  ยิ่งย้อนกลับไปฟังเขาพูดอีกครั้งยิ่งชวนให้คิดว่า  ยังมีอะไรอีกบ้างที่สื่อถึงความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ อย่างในนิยามของการเป็น คนพันธุ์แท้   ของท่านพารณ  กับ ศ.ดร. จีระ  ซึ่งบางส่วนจาก ประกายความคลึงคล้ายเท่าที่จะวิเคราะห์ได้ระหว่างคนคู่นี้  คือ

1. เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ  2. หยัดอยู่  มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความอย่างยั่งยืน  3. จากความยั่งยืน  สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม 4.  มีบุคลิกลักษณะแบบ  “ Global Man “  ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์  5.  มีความเป็นผู้ใหญ่  พร้อมจะเป็น  ผู้ให้   ทั้ง  ความรู้   และ

  ความรัก แก่คนใกล้ชิด  6. มีความสุขกับการเป็น  ผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ  กล่อง “  หรือ  การเชิดชูเกียรติจากใคร  ซึ่งจากบทสนทนาของทั้ง  2  ท่านสามารถสรุปได้ว่า 

                                คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร  คุณค่าของคนต้อง

มีคุณภาพ  มีคุณธรรม  ความจงรักภักดี  และมีความสามรถ  จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  การบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญเท่ากับการเงิน  คนจะมีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น  ถ้าองค์กรนั้นมีการฝึกอบรมด้านวิชาการ ด้านปกครอง  และความรู้ใหม่ๆ   และประสบการณ์ที่ทำงานมานาน  เมื่อการแข่งขันมากขึ้นต้องมองคนเป็น  2  ประเภท  คนภายในองค์กร  และคนภายนอกองค์กร  ผู้บริหารต้องมี  Vision มองไปข้างหน้ายาว ๆ จะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่  เครื่องจักร  เครื่องมือ เข้ามาก็สามารถที่จะเรียนรู้เพื่อทำงานให้มีประสิทธิภาพ  อีกทั้งผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ  อีกทั้งยังต้องมีความสามารถในการสื่อสารความคิดหรือความประสงค์สู่พนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีในส่วนของผู้นำนั้น จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่า สามารถที่จะฝึกฝนหรืออบรม ให้สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถ รวมทั้งทักษะขึ้นมาได้  เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น และถ้าขนาดธุรกิจใหญ่ ๆ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ลำบากขึ้น  ต้องใช้การกระจายอำนาจมอบอำนาจให้พนักงานระดับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว  การสร้างคนในองค์กรต้องสร้างทุกระดับ  ตั้งแต่คนงานในโรงงาน ให้มีการฝึกอบรมโดยตลอด  การทำงานที่มีคุณธรรม เป็นจรรยาบรรณของพนักงาน เป็นการจรรโลงคุณค่าของสังคมไทยสืบทอดกันไป  เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน  และผู้บริหารจะต้องประพฤติปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามนั้นด้วย  การทำงานอย่างมีคุณธรรม ช่วยเราในระยะยาว ได้รับความเชื่อถือยกย่อง อีกทั้งยังต้องสรรหาคนดี คนเก่ง พร้อมทั้งรักษาไว้กับองค์การให้ได้  กลวิธีการสร้างความผูกพันในองค์กร และการรักษาคนเอาไว้จะต้องสร้างความผูกพันและความรักองค์กร ต้องดูแลพนักงานตั้งแต่วันที่เขาเข้ามาทำงานจนถึงวันที่เขาออกไปก็ให้ประโยชน์ตามสมควร  ต้องมีสวัสดิการที่ดี  มีการปกครองที่ดี ให้ความเป็นธรรมมีส่วนร่วมในการบริหาร ทำงานเป็นทีม ให้ความใกล้ชิดสนิทสนม มีอะไรพูดจาปรึกษากันได้ ทำเช่นนี้ทุกระดับองค์กร ให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้ความรัก ความศรัทธา สามารถแก้ปัญหาสมองไหลได้  ผู้บริหารออกไปเยี่ยม ทานข้าวกับลูกน้อง และคนในระดับอื่น ๆ ก็ทำตาม ทำให้คนในองค์กรแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  ทำให้ไม่อยากออกไปจากองค์กรนี้  ทั้งนี้องค์กรจะต้องให้ความเชื่อมั่นในการบริหารงานของบุคคลในระดับต่าง ๆ เพื่อทำให้เห็นว่าเขามีส่วนร่วมและมีความสามรถที่นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางเป้าหมายไว้   
ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ (ตัวแทนกลุ่มที่ 1)

 กลุ่มที่ 1

1. พระนิธิสิทธิ์                    นอขุนทด   

2. ดาโต๊ะ  อิหม่ามพัฒนา    หลังปูเต๊ะ   

3. ด.ต. ณรงค์                      พึ่งพานิช  

4. พ.ต.หญิงประไพศรี        บุญรอด5. นางนพมาศ                     แก้วแหยม   6. นางสาวสุภานุช              นุพงค์   7. นางสาวดนิตา                 มูลละออง   8. นางดวงตา                       ม่วงเกตุยา   9. นายอรุณ                          สุขสมบูรณ์วัฒนา                     ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 1 .ทางชีวิต  สองแชมป์  ทั้งสอง  มีความเห็นว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร และ เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่เริ่มลงมือปฏิบัติการด้านการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจัง                ทั้งสองมีความมุ่งมั่นในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีความเข้มงวดเรื่องต้นทุน พยายามทำทุกอย่างอย่างมีคุณภาพ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความกล้าทำจะทำงานแหวกวงล้อมเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จการขาดบารมีจึงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องเผชิญ    2.พารณฯ ช้างใหญ่  ธงชัยปูน  เป็นคนที่ชนะใจลูกน้องเพราะวิธีการทำงานในแบบฉบับของท่าน ทำให้ลูกน้องเกิดแรงจูงใจ  เป็นต้นแบบ 4 เรื่อง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                1. 1. คนเก่ง-คนดี คนเก่ง- ไดแก่ เก่งงาน,เก่งคน,เก่งคิด,เก่งเรียนคนดี-ได้แก่ ประพฤติดี ,มีน้ำใจ,ใฝ่ความรู้.คู่คุณธรรม2 .คุณค่าของคน เชื่อว่า คนเป็นทรัพยากรที่คุณค่ามากที่สุด3 .ดูแลทุกข์สุขของพนักงานอย่างใกล้ชิด มีความเชื่อว่า คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย4.การทำงานเป็นทีม                มีความเชื่อว่า สองหัวดีกว่าหัวเดียว ชอบให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและ พยายามสร้างองค์กรให้มีบรรยากาศของครอบครัว มองทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เฉพาะคนที่ทำงาน แต่จะมององค์กรโดยรวม โดยจะใช้นโยบายการดึงคนเป็นพวก3.จีระ จารึกไว้ บนรายทาง  เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์คนแรก โดยได้รับการเสนอชื่อจาก ดร.โฆษิตฯเพราะท่านมีความสามารถในภาวะผู้นำและการบริหารและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เอาจริงจัง มิใช้เอาแต่พูด แต่จะต้องให้พอใจด้วยถึงจะทำ ถ้าไม่พอใจจะไม่ทำ คนแบบนี้ดีถ้าเขาจะทำงาน เขาจะทำของเขาเองจนสำเร็จ เราไม่ต้องไปจี้ เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะปฏิสัมพันธ์กับท่าน อีกประการ ท่านเป็นคนที่มาจากตระกูลที่ดีจิตใจ และพฤติกรรมจึงงดงาม ท่านเป็นคนรักอิสระมากแต่ก็เป็นคนสุภาพมากนับว่าเป็นคนดีคนหนึ่งที่วางใจได้ด้านวิชาการ-  เป็นนักวิชาการที่ติดดิน คือเป็นอาจารย์ที่ลงมาคลุกวงใน ลงมาคลุกกับภาคปฏิบัติ ท่านจึงเป็นผู้ทำหน้าที่ทางวิชาการอย่างสมบูรณ์ คือมีการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อย่างลึกซึ้งถึงแก่นด้านการบริหารจัดการ- เป็นคนใจกว้าง เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ โดย จะรับฟังความคิดเห็นของทุกคนทุกด้าน แม้ว่าข้อคิดเห็นนั้นจะเป็นความเห็นในเชิงลบที่รุนแรง  ก็จะรับ ฟังและนำมาพิจารณาด้วยความเต็มใจและโดยเปิดเผยท่านจะใช้วิธีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งได้ใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันด้านการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ - เป็นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  เป็นผู้บุกเบิกและเป็นผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของประเทศไทย4. ปรัชญาที่ปลายนวม  อาจารย์ทั้ง  2 ท่าน ได้สรุปถึง  ปรัชญาสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ซึ้งมาก โดยต้องทำทั้งระบบครบวงจร  มีทั้งทางเศรษฐศาสตร์  จิตวิทยา การบริหารการจัดการและกลยุทธ์ซึ่งทุกอย่างต้องสอดคล้องกันจะเน้นด้านหนึ่ง ด้านใดไม่ได้     ปลายทางของคุณภาพของทรัพย์กรมนุษย์ในระดับ  จุลภาค  ย่อมส่งผล ต่อความได้เปรียบในระดับมหาภาค  ถ้าเราสามารถ เรียนรู้ที่จะมีทักษะ  ความเชี่ยวชาญในการจัดการกับคนแล้วย่อมสามารถที่จะ ดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด กับองค์กรได้ แล้วทุกคน  จะมีความภูมิใจ  ที่ได้มีส่วนร่วม ในการบริหารองค์กรของพวกเขา แต่สิ่งสำคัญในบทนี้ได้ เน้นถึง การเป็น คนเก่ง ต้องควบคู่กับการเป็นคนดี ด้วย5. ความเชื่อ ศรัทธา และหลักการ  เน้นเรื่องการบริหารคน  ซึ่งถือเป็นหัวใจของการบริหาร ไม่ควรจะจำกัดอยู่กับบทบาทเดิมๆ  อาทิเช่น  โครงสร้างเงินเดือน การรับสมัครบุคลากร การประเมินผล สวัสดิการ  ประกันสังคม เท่านั้น แต่ต้องเน้นเรื่องความเชื่อมั่นศรัทธาในระบบการเรียนรู้มากกว่า รูปแบบเดิม

6. บันไดแห่ง ความเป็นเลิศ  ทรัพยากรมนุษย์  เป็นตัวแปรสำคัญ เท่าๆ กับตัวแปรอื่นๆ  เช่นทรัพยากรมนุษย์  เทคโนโลยี  หรือทรัพยากรด้านการเงิน  สิ่งหนึ่งที่ทำให้  HR ประสบความสำเร็จ  ก็คือควรจัดให้มีการ ฝึกอบรม อย่างสม่ำเสมอซึ่งจะเกิดผลลัพธ์ในระยะยาว  การบริหารองค์กรควรทำให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าเป็นเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัว เดียวกัน

7 . ให้ความรักถึงจะภักดี  ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ เป็นอุปสรรคต่อการสร้างจงรักภักดี   ซึ่งทั้ง  2  ท่านมีความคิดเห็นตรงกันว่าในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่าการรักษาทรัพยากร(มนุษย์)ให้อยู่ในองค์กรตลอดไปจะต้องสร้างความผูกพันต่อองค์กร  มีความพอใจกับงาน การยอมรับ การขึ้นสู่ตำแหน่ง  เมื่อรวมกันแล้วทำให้คน ๆ นั้นมีความสุขกับการทำงานที่อยู่ตรงนั้น  ดังนั้นจะเห็นว่าสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมาต้องใช้เวลาในการสร้าง  ผู้ที่มีบทบาทในกระบวนการสร้างความจงรักภักดีสิ่งสำคัญจะต้องมีความเข้าใจถึงคุณค่าของมนุษย์เสียก่อนจึงจะทำงานด้านอย่างประสบผลสำเร็จในการสร้างความจงรักภักดี   ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจแบบครอบครัวหรือบริษัทต่าง ๆ  ต้องมีบรรยากาศองค์กรแบบองค์กรที่มีชีวิต  คือต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ตลอดไป บริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงินอย่างเดียวขึ้นอยู่กับความสมดุลของมนุษย์ที่อยู่กันด้วยความรัก การให้เกียรติซึ่งกันและกัน  การถามสารทุกข์สุกดิบของครอบครัว  เป็นการสร้างความไว้วางใจอาจเกิดประโยชน์ของความจงรักษาภักดี  การจะรักษาบุคลากรเอาไว้ให้อยู่กับองค์กรได้นั้นผู้นำจะต้องสร้างความผูกพันในองค์กรให้เกิดขึ้นต้องทำให้บุคลากรเกิดความรักในองค์กร8.  มหัศจรรย์แรงจูงใจ สินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กรคือคน  ในปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่แท้จริงว่าทรัพยากรมนุษย์ชนิดใหม่ที่เป็นคนงานที่มีความรู้หรือ knowledge worker  ไม่ใช่เป็นคนงานแบบไหน ก็ได้ เพราะขณะนี้ทุกองค์กรกำลังทำสงครามกับความสามารถ  จะเห็นว่ากลยุทธ์สำคัญที่ผู้นำองค์กรต้องตระหนัก คือการมีส่วนร่วมในองค์กรการทำงานที่ท้ายการได้ทำงานเป็นทีมการให้รางวัลพิเศษ การเพิ่มพูนความรู้วัฒนธรรมองค์กร การประเมินผลอย่างโปร่งใส การได้รับความยกย่องในผลสำเร็จของงานความเป็นธรรมในการบริหารปกครองของผู้นำสภาพแวดล้อมการทำงานการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม     แม้กลยุทธ์ค่าจ้างจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดแต่นโยบายเรื่องการกำหนดค่าจ้างไม่ใช่นโยบายที่ตั้งขึ้นโดยอิสระแต่เป็นการเกี่ยวข้องกันและเชื่อมโยงกับนโยบายด้าน HR  และนโยบายโดยรวมขององค์กร  จะทำอย่างไรสร้างแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลจริงกับการทำงานบนความเปลี่ยนแปลง  แรงจูงใจจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องเข้าใจ  เพราะคนเก่งบางคนไม่ต้องการแค่เงินมากไปกว่าการได้ทำงานที่ท้าทาย  แรงจูงใจย่อมมีอิทธิพลต่อคนในบทบาทที่ขับเคลื่อนมนุษย์สู่ความเป็นเลิศ   หลังวิกฤติองค์กรในประเทศไทย  มีการเปลี่ยนแปลงด้านแรงจูงใจมากขึ้น  โดยเน้น เรื่องการสร้างให้คนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้มากขึ้นและการประเมินคุณภาพตามความสามารถ9. สานสร้าง Global  Citizen  จะกล่าวได้ว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญแต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ไม่ใช่เป็นสิ่งสำคัญแต่เป็นเพียงเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู้กระบวนความคิดที่เป็นระบบอย่างยั่งยืน  ภายใต้สถานการณ์ที่อยู่ปัจจุบันการจัดการด้านการศึกษาไม่ได้เป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ศ.ดร.จีระแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ที่โรงเรียนเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงครู นักเรียน ผู้ปกครอง  ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องช่วยเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้โครงการปฏิรูปการศึกษาเดินหน้าต่อไป  ความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียน  ผู้บริหาร ผู้ปกครอง   เข้ามามีส่วนร่วมจะเห็นว่าการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงถือเป็นปรัชญาทางศาสนาพุทธที่แท้จริง เพราะถ้าเด็กได้ปฏิบัติแล้วซึมซับเข้าไปในจิตใจจะทำให้มีการเรียนจากของจริงจากประสบการจริง10.ปลายทางไทย สู่ชัยชนะ เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเรื่องการเพิ่มผลผลิตหรือProductivityให้กับประเทศไทยมากว่า 20 ปี โดยให้การสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง                มีจุดแข็งคือ มีความเป็นผู้นำในการที่จะสามารถจูงใจให้ผู้คนยอมรับเอาความคิดขบวนการเพิ่มผลผลิตไปใช้ไม่เช่นนั้นย่อมไม่มีวันสำเร็จ สิ่งนี้ถือเป็นบารมีเฉพาะบุคคล11.บทบันทึก พารณ-จีระให้น้ำหนักชีวิตไปทางการสร้างคนตามแนวคิด”Constructionism”ไม่ว่าจะเป็นที่ดรุณสิกขาลัยหรือบ้านสันกำแพงและอีกหลาย ๆ แห่งซึ่งเปรียบเสมือนห้องทดลองชีวิตที่เขาปรารถนาจะสัมผัส ใฝ่ฝันจะจับต้อง ถึงรูปธรรมของคำว่า”Global Citizen”มากกว่าการซึมซับในแง่ของนิยาม.....ความหมาย   และมุ่งมาตร กับการสร้างอาณาจักรแห่งการเรียนรู้ขึ้นอย่างไม่ยึดติด                 ทั้งสองมุ่งมั่นสร้างคนก่อนสร้างงานโดยเน้นการมีความคิดริเริ่มและมีส่วนร่วม12.ส่งท้าย.....คนพันธุ์แท้   มีบางส่วน คล้ายคลึง คือ  1.เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์ อย่างบังเอิญ   2.หยัดอยู่ มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความมุ่งมั่นอย่างยั่งยืน  3.จากความ ยั่งยืน สู่การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม  4.มีบุคลิกลักษณะแบบ “Global Man” ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์ คือ การมีวงจรชีวิตที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติอยู่เนืองนิตย์ และประสบความสำเร็จ ทั้งในเชิงเป้าหมายงานและการยอมรับ ความน่าเชื่อถือจากคู่กรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย  5.มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็น ผู้ให้ ทั้ง ความรู้และความรักแก่คนใกล้ชิด  6.มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับกล่องหรือ การเชิดชูเกียรติจากใคร                  คนพันธ์แท้ มันไม่มีเหตุผลอะไรมากไปกว่า ถ้าตะลุยเรียนรู้   ความคิดสองปราชญ์ทรัพยากรมนุษย์คู่นี้เพื่อสร้างชาติไทยให้แกร่ง พร้อมยืนหยัดอยู่บนโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างมีชัยชนะ13.  จีระพบ  Guru   Dr. Hammer  เป็นผู้นำเรื่องแนวคิดและยังมีความคิดกว้างไกล ที่อยากเห็นประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ท่านมักจะเลือกแต่สิ่งที่สำคัญและมีคุณค่าต่อความเป็นจริงในโลกทำให้ค้นพบแนวความคิดจากการศึกษาและวิเคราะห์จากความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ตรงประเด็น กับสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว2 พลังความคิดชีวิตและงาน บทที่  1  Heritage (มรดก)รากฐานของชีวิต  &  Sustainable  Capital ทุนแห่งความยั่งยืน  มรดกทางวัฒนธรรมคือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน ข้าราชการทุกคนควร ปรับบทบาทการดำเนินงานในเชิงรุกและสื่อสาร 2 ทาง ให้ใกล้ชิด เข้าถึงสังคม ชุมชนและประชาชนมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เกิดความรัก  ความภาคภูมิใจในแก่นสาระและคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย  เพราะยุคโลกาภิวัตน์ ประชาชนคนไทย มีทุนทางวัฒนธรรมที่แข้งแกร่ง ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าทั้งทางสังคม และยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ Sustainability  Capital หรือทุนแห่งความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพย์ยากรมนุษย์ในยุค โลกาภิวัฒน์ ให้มีศักยภาพและมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มอย่างต่อเนื่องจนมีนิสัยใฝ่รู้ไปตลอดชีวิตและพร้อมปรับตัวให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพที่สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อมารวมตัวร่วมคิด ร่วมทำในกิจกรรมต่างๆ นำความรู้ที่ตนเองมีอยู่มาแลกเปลี่ยน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและก่อให้เกิดประโยชน์ได้กว้างขวางยิ่งขึ้นบทที่ 2 Head สมอง (คิดเป็นคิดดี) &  Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญา      ทุนทางปัญญา เช่นความรู้ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และความชำนาญ กลายเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากต่อความแข็งแกร่งและความสำเร็จของธุรกิจ   การดำเนินงานทุกๆ  ธุรกิจนั้นต้องมีการใช้สมอง การมีความคิด มีความรู้แล้วยังต้องมีสติเมื่อคิดเป็นแล้วต้องคิดดีอีกด้วย เรียกว่ามีสมองที่รู้จักวิเคราะห์ใช้เหตุผล  ทำให้เกิดปัญญา ทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไปได้ตลอดเวลาไม่มีจบสิ้น   ทุนทางปัญญาคือการนำศักยภาพภายในบุคคลมาพัฒนาและส่งเสริม ด้วยความคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเมืองไทยก็มีความคิด แต่เป็นความคิดฟุ้งซ่านขาดระบบ ดังนั้นเราต้องเริ่มสอนตั้งแต่เด็กให้คิดเป็น โดยสร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สอนให้คิดเป็นภาพ เพื่อสรุปเรื่องไว้ในสมองได้   สร้างหลักการที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์   ให้เกิดการเรียนรู้ขณะปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างเป็นทีมผสมผสานศาสตร์แขนงต่างๆ ร่วมกันแบบองค์ร่วม ตลอดจนพัฒนาจิตสำนึกและใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกบทที่  3  Hand  ทำงานด้วยฝีมือตนเอง  & Talent  Capital ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ  จะมีประโยชน์อะไรถ้ามีความรู้อย่างเดียว แต่ไม่นำความรู้นั้นไปลงมือทำ มันก็ไม่แสดงผล    ในการทำงานทุกประเภท ควรเน้นที่การลงมือทำด้วยตนเอง ความเป็นมืออาชีพนั้น  คือคุณสามารถ ทำงานที่คุณทำได้  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร ก็เท่ากับว่าคุณประสบความสำเร็จในส่วนนั้นแล้ว การพัฒนาพนักงาน จะเน้นเรื่องของทักษะความชำนาญ ในงานที่รับผิดชอบ  เพื่อช่วยให้ปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บนพื้นฐานว่า มีทุนความรู้ โดยเฉพาะความรู้โดยนัย ที่ซ่อนอยู่ในความคิด ค่านิยมของเขา การคัดเลือกพนักงาน จึงสนใจพิจารณาทุนทางความรู้ (knowledge capital) ที่อยู่ในสมองของผู้สมัครว่า มีความรู้ตรงกับที่องค์กรต้องการหรือไม่ ส่วนการพัฒนาพนักงาน จะเน้นไปที่การให้ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตลอดจนการเพิ่มทักษะ ในการแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้พนักงานสามารถเพิ่มพูดความรู้ ได้ด้วยตนเองบทที่  4  Heart  จิตใจที่ดี  & Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม   สุขภาพ ที่มุ่งให้คนมีร่างกายแข็งแรงสามารถดูแลตนเองได้ ด้านจิตใจ ให้เป็นคนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ เอื้ออาทร เคารพกฎเกณฑ์ของสังคม มีวินัย ซื่อสัตย์ มีความเสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ และรักชาติ ฯลฯ และการเสริมสร้างความสุขในการทำงานเป็นสิ่งจำเป็นเพราะนอกจากจะทำให้ชีวิตมีความสุขแล้ว ยังทำให้ผลงานออกมาดี มีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าพอใจ ส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและทำให้หน่วยงานเจริญก้าวหน้าไปด้วยเช่นกัน เมื่อมีความสุขกับการทำงานแล้วเราควรที่จะมีทุนทางจริยธรรมก็คือบุคลากรที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  จะสร้างให้เกิดทุนทางจริยธรรมได้ หากทรัพยากรมนุษย์ที่มีทั้งทุนมนุษย์ คือ พื้นฐานดี มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้เท่าที่ควร  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง   บทที่  5 Health  สุขภาพพลานามัย & Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ การทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ  หรือการทำงานโดยไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อยหากทำอยู่เป็นระยะเวลานาน  ก็ย่อมส่งผลต่อสุขภาพให้อ่อนแอลงอย่างแน่นอนมนุษย์ควรจะทำงานมากน้อยแค่ไหน จึงจะเหมาะสม และทำให้มีสุขภาพที่ดีมนุษย์เราทำงานเพื่ออะไร เพื่อให้ได้เงินมาจับจ่ายใช้สอยตามที่ต้องการเท่านั้นหรือ หรือทำงานเพื่อตนเองและช่วยเหลือสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เราควรจะได้ทำงาน ในสภาพบรรยากาศที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะ  เพื่อเราจะได้มีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีจงระลึกเสมอว่า หากเราทำให้ภาวะสิ่งแวดล้อมต้องแปรเปลี่ยนไป  จะมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อมวลมนุษย์  เราควรทำงานอย่างมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่ถูกเบียดเบียน ข่มเหง รังแก จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  ให้เกียรติและยกย่องเพื่อนร่วมงานเสมอกัน  ไม่ว่าหน้าที่ตำแหน่งงานจะต่างกันก็ตามเราควรจะใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สนองความต้องการของมนุษย์อย่างไร จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด  โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่น้อยที่สุด  และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ด้วยบทที่  6  Home บ้านและครอบครัว & Human  Capital ทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา มารดาทุนมนุษย์มาดี  เมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอน  เข้าสู่สังคมหรือองค์กร  ก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง สังคม องค์กรและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ทุนมนุษย์จึงเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะมีผลต่อการพัฒนาทุนด้านอื่นของมนุษย์ทุนมนุษย์  (Human  Capital)  นั้นจัดเป็นสินทรัพย์ชนิดหนึ่งและเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน  (Intangible  Asset)  ซึ่งตามปกติแล้วไม่สามารถวัดเทียบเป็นมูลค่าทางธุรกิจได้  แต่ในที่สุดแล้ว  สามารถที่  จะแปลงสภาพให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถวัดเทียบมูลค่าออกมาได้  และยังสามารถทำให้มีสภาพคล่องได้อีกต่างหาก  ดังนั้นจุดเริ่มต้นของทุนมนุษย์คือบ้านและครอบครัวพื้นฐานที่สำคัญมากของทุกๆ คน สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นสามารถช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงไปได้ วัฒนธรรมไทยนั้นชีวิตเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ คือเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่ใช้ครอบครัวเดี่ยว  ซึ่งถ้าพึ่งพากันได้ในครอบครัวก็จะไม่เป็นภาระกับสังคมประเทศชาติโดยรวมบทที่  7  Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิต & Happiness  Capital  ทุนแห่งความสุข  นิยามความสุขในชีวิตของผู้คนอาจจะแตกต่างกัน การมีเงินมากไม่ใช่ความสุขในชีวิตของผู้คนอย่างแท้จริง จริงอยู่เงินช่วยทำให้คนเรามีอำนาจในการใช้สอยมากขึ้น ชีวิตอาจจะสะดวกสบายขึ้น ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่ก็ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขแบบนี้ไม่ยั่งยืน การได้ทำในสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะทำสิ่งเหล่านั้นเมื่อไหร่ ทุกครั้งที่ได้ทำสิ่งเหล่านั้นต่างมีความสุข นั่นต่างหากที่เป็นความสุขแท้จริงของผู้คนในการทำงาน
น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ตัวแทนกลุ่ม 4
 น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่  5น.ส.สถิภรณ์  คำพานิช  เลขที่  8น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  เลขที่  15น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  10น.ส.พิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน  เลขที่  9นายสรสิช   ตรีเนตร  เลขที่   24น.ส.จุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์  เลขที่  31น.ส.จุไรรัตน์   เปลี่ยนขำ  เลขที่  48 กลุ่มที่  4 หนังสือเล่มที่  1   ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ จะนำมาใช้พัฒนาตนเอง องค์กร และประเทศชาติอย่างไรพัฒนาองค์กร -จะต้องเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มมุ่งมั่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรมนุษย์-คนคือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กรองค์กรจะควรดุแลเอาใจใส่เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาอย่างจริงจัง เป็นระบบ-องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและคนดี คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกัน การเพิ่มผลผลิตและคุณภาพต้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคนองค์กรควรจะดูแลคนอย่างดีงานจะสำเร็จได้ด้วยคน องค์กรควรมีแผนการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ-องค์กรที่มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง จะเกิดความเสียหายและผิดพลาดน้อย และมีประโยชน์ต่อองค์กร-การเพิ่มผลผลิตจะประสบความสำเร็จ ก็คือ ความจงรักภักดีและความมีวินัยของคนในองค์กร-แต่ละองค์กรควรปรับวิธีการบริหารองค์กรให้เหมาะสมของแต่ละองค์กร เช่น การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารการเปลี่ยนแปลง การนำกิจรรม 5ส ระบบข้อเสนอแนะ กิจกรรมคิวซีซี มากำหนดเป็นนโยบาย-การบริหารองค์กร ควรให้ความสำคัญกับเรื่องคนเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร  หัวหน้างาน ควรเปิดโอกาสในลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือทุกคนถือเหมือนกับคนในสมาชิกในครอบครัวเดียวกันควรสร้างให้เกิดความเคยชินจนกลายเป็นวัฒนธรรมในองค์กรส่วนผู้บริหารองค์กรต้องทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้ฝึกสอนและพี่เลี้ยงให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา-องค์กรควรมีการวางระบบเรื่องการพัฒนาบุคลากร ภายใต้แนวคิดการพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนไม่ใช่เป็นต้นทุน ต้องเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรของเราอยู่ตลอดเวลา เช่น การให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานบริหารทุกระดับชั้น -ผู้บริหารไม่ควรยึดติดกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด บางครั้งอาจไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่ต้องการได้-ผู้บริหารองค์กรว่าทำอะไรก็ต้องมีความเชื่อว่าสิ่งนี้ดี เมื่อทำตามความเชื่อผลจึงออกว่าดี-การทำงานที่ดี คือการทำงานที่เอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกัน  คนแต่ละคนก็มีความสามารถที่แตกต่างกันออกไปถ้าเอาความสามารถของคนแต่ละคนมารวมกันก้จะเป็นผลดีต่อองค์กร  -องค์กรควรกระตุ้นให้คนในองค์กรให้ความรักความทุ่มเทต่อองค์กรอย่างเต็มที่ ผู้บริหารควรดูแลเอาใจใส่พนักงาน โดยการแวะไปเยี่ยมพนักงานทุกระดับชั้นให้กำลังใจ สอบถามความคิดเห็นของพนักงานทุกระดับจะทำให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรอยาทำงานกับองค์กรไปเป็นระยะเวลานานๆการพัฒนาตนเองจะต้องเป็นที่แสวงหา ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ สอนให้เรารู้จักการคิดวิเคราะห์เป็น มีความคิดที่สร้างสรรค์ มีการคิดนอกกรอบ รู้จักการอดทนคนอื่นได้เก่งจะเป็นคนที่มีความสุขรู้จักการทำงานถือว่าเป็นการพักผ่อนไปในตัวไม่ควรคิดว่าเป็นภาระ และคิดอยู่เสมอว่าการทำงานคือความสุข การทำงาน พนักงานควรรักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด และกาตรงต่อเวลานัดเวลานี้ควรไปทันเวลาตามที่กำหนดเพราะการมีวินัยเป็นพื้นฐานของความสำเร็จอย่างหนึ่ง จะมีความขยันหมั่นเพียร ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา เวลาที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมก็ควรตั้งใจฟังและเก็บเกี่ยวสิ่งที่ผู้บรรยายบอกให้มากที่สุด แล้วนำมาพัฒนาตนเองอยู่เสมอบุคคลจะต้องครองตนเป็นคนเก่งและเป็นคนดี มีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆต้องใช้คอมพวเตอร์ ระบบสารสนเทศให้เป็น เรื่องภาวะผู้นำ  การบริหารเวลา ควรมีแรงบันดาลใจในการทำงาน คนเราต้องอาศัยความรู้ความสามารถไปพร้อมๆกัน และมีทักษะต่างๆจนจะทำให้คนมีศักยภาพมากขึ้น ควรมีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรการทำงานต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้การพัฒนาประเทศชาติ-เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจให้กับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนว่าการเพิ่มผลผลิตให้กับทรัพยากรมนุษย์ คือ กุญแจสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกกิจการในเมืองไทย อาจ ทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากยิ่งขึ้นจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป-การส่งเสริมการศึกษา เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพราะเด็กไทยเป็นสมบัติทีมีค่าของประเทศการขยายฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กว้างขวางกว่าเดิมและทั่วถึงกัน จะทำให้เด็กได้รับการศึกษาเล่าเรียน เรียนจบก็เป็นกำลังสำคัญที่จะพัฒนาประเทศชาติสืบไป

-การเป็นสื่อให้สังคมได้รับรู้ในการความสำคัญกับคนการมองคนให้เป็นประโยชน์ การวางแผนเศรษฐกิจและทรัพยากรมนุษย์เป็นเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างศักยภาพในการแข่งขันทรัพยากรมนุษย์คือ มูลค่าเพิ่มในระยะยาวไม่ใช่ต้นทุนอย่างเดียว เพราะสังคมจะอยู่ได้ต้องลงทุนในเรื่องคน

  

หนังสือเรื่องที่ 2    :    2 พลังความคิดชีวิตและงาน

                                                                                                               

                                จากบทความทุกตัวอักษรในหนังสือฉบับนี้  เป็นหนังสือที่ดีมากๆ ที่สื่อสารให้

ลูกศิษย์รู้ว่า ท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์  กำลังบริหารจัดการความรู้ (KM: Knowledge Management)  ในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์   โดยสาระสำคัญในหนังสือเล่มนี้เป็นการผ่องถ่ายความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารบุคคลอย่างแท้จริงของทั้ง 2 ท่าน ระหว่าง   คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งทั้ง 2 ท่าน เป็นผู้รู้จริง  และทำจริงโดยผ่านประสบการณ์การทำงานมาแล้วอย่างโชกโชน  ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน  ซึ่งประสบการณ์ของทั้ง 2 ท่าน  บ่งบอกให้รู้ว่าเป็นมืออาชีพในการบริหารบุคคลอย่างแท้จริง ก็เพราะว่ามีเครื่องมือที่พิสูจน์ได้ในเรื่องนี้ก็คือ   บุคคลทั้ง 2 มีทฤษฎีเป็นของตนเอง  ดังเช่นทฤษฎี 8 H’s  ของคุณหญิงทิพาวดี  (Heritage , Head ,Hand , Heart , Health  , Home , Happiness  and Harmony) และทฤษฎี 8 K’s  (K-Kapital)  ของท่านอาจารย์จีระ (Sustainable Capital , Intellectual Capital ,Talent Capital ,Ethical Capital  , Digital Capital , Human Capital , Happiness Capital and Social Capital)                                พวกเรากลุ่มที่ 4  ได้นำทฤษฎีของคุณหญิงทิพาวรรณ ฯ  และท่านอาจารย์จีระ มาประชุมกลุ่ม และทำการวิเคราะห์และประมวลผลในภาพรวม  จะได้ทฤษฎี 1  + 1  เท่ากับผลลัพธ์ ที่ได้อย่างสุดยอดของหลักการและแนวคิดของการบริหารบุคคล  รายละเอียดดังที่ปรากฏ                                1. ทฤษฎีที่ 1  (Heritage)  +  (Sustainable Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  วัฒนธรรม  คือ รากเหง้าของเรา  เพราะรากเหง้าของทุกๆคน จะมีการสะสมความรู้ภูมิปัญญา มีการหล่อหลอมรวมเป็นชาติพันธุ์         มีจารีตประเพณี และมีวัฒนธรรม                                                2)  การทำงานที่ดีนั้น ต้องรู้ว่าภารกิจหลักของหน่วยงานทำอะไรและต้องทำงานแบบเชิงรุก  มีการทำงานแบบเป็นทีม  มีการสร้างเครือข่ายในการทำงานทั้งในระดับหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน และระดับประเทศ                                                3) ก่อนที่จะทำงานอะไรต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า มีความรู้ ความสามารถเพียงพอหรือไม่   พร้อมทั้งจุดเด่น   จุดด้อยของตนเองให้เจอ  และนำไปปรับปรุงและพัฒนาในส่วนที่พร่องไป  ในส่วนที่เป็นจุดเด่นก็ต้องกล้าคิดที่สร้างงานเพื่อส่วนร่วม                                                4) ในการทำงานที่ดี  ต้องทำแล้วมีความสุข  ทั้งด้านการทำงานและชีวิตครอบครัว  จึงถือว่าสมบูรณ์                                                5)  ถ้าหากคนเราไม่รู้จักพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จะไม่สามารถอยู่รอดได้  และแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้                                  2. ทฤษฎีที่ 2  (Head) + (Intellectual Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  คนเราเมื่อมีความรู้ มีความคิด มีการวิเคราะห์ และมีสติ  ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                2)  คนเราต้องรู้จักเพิ่มพูนคุณค่าให้กับตัวเอง  โดยการเพิ่มพูนความรู้        ถ้าเป็นไปได้ควรอ่านหนังสือประเภทใดก็ได้  มีการสนทนากับผู้อื่น  มีการสร้างเครือข่าย  มีการท่อง Internet เพื่อหาความรู้ใหม่ๆ เติมเป็นอาหารสมอง4)  การเป็นผู้นำ  ต้องรู้จักทำงาน รู้จักสอนคนอื่น  โดยมีหลักการสอน คือต้องให้พวกเขาคิดเป็น   และคิดได้ด้วยตัวเอง                                                5) การเป็นผู้นำ ต้องรู้มาก รู้กว้าง และรู้ลึกกว่าคนอื่น                                  3. ทฤษฎีที่ 3 (Hand) +  (Talent Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  คนเราต้องมีทุนทางความรู้  ทักษะ และมีทัศนคติที่ดี                                                2) คนเราต้องลงมือทำด้วยตัวเอง  เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ และมีทัศนคติที่ดีต่องาน จะทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพ                                                3) ทุนทางความรู้ มีผลอย่างใหญ่หลวง ต่อหน่วยงาน ต่อประเทศชาติ                                                4)  ผู้นำที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ เพื่อจะนำพาองค์กรให้อยู่รอดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน                                4. ทฤษฎีที่ 4 (Heart) + (Ethical Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  ไม่มีทฤษฎีใดเป็นทฤษฎีสำเร็จรูปและสามารถใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เพราะปัจจุบันโลกเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเป็นโลกไร้พรมแดน                                                2)   ในการบริหารบุคคล ผู้นำต้องมีจิตใจยุติธรรม มีคุณธรรม และจริยธรรม                                                3)   เทคนิคของความเป็นผู้นำที่แท้จริง คือ จิตใจที่กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง และกล้ารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้ตัดสินใจลงไป                                                4)  คนเราต้องมีความรู้ดี สติปัญญา  จะทำให้คนคนนั้นมีจิตใจที่ดีมีคุณธรรม และจริยธรรม                                5) ทฤษฎีที่ 5 (Health) + (Digital Capital)  จะเท่ากับ                                                1)  คนเรานั้น จะทำงานให้ได้ดีนั้น ต้องมีสุขภาพที่ดี  ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ  จึงจะพร้อมสำหรับการเรียนรู้                                                2)  คนเราเมื่อทำงานในบางครั้งมีทั้งความเครียด และความขัดแย้ง  ต้องรู้จักวิธีการขจัดสิ่งเหล่านั้น  ด้วยการมีสติ                                                3) คนเราเมื่อมีความรู้  มีปัญญา  ย่อมสนใจข้อมูลข่าวสาร  แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีสุขภาพกายที่ดี และจิตใจที่ดีด้วย                                 6) ทฤษฎีที่ 6    (Home) + (Human Capital)   จะเท่ากับ                                                1) ครอบครัว  เป็นโมเดลสำคัญ ของทุกคน  นับตั้งแต่ การอบรมเลี้ยงดู   การฝึกระเบียบวินัยต่างๆ  ตลอดจนการให้ได้รับการศึกษา                                                2) ครอบครัว เป็นสิ่งที่สำคัญกับทุกๆ คน เพราะเป็นผู้สนับสนุน  ผู้ให้กำลังใจ                                7)  ทฤษฎีที่ 7 (Happiness) + (Happiness Capital)  จะเท่ากับ                                                1) การที่คนเราจะมีความสุขได้ ต้องมีทัศนคติที่ดีคิดในเชิงบวก  สิ่งที่ตามมาจะเกิดผลแต่ในสิ่งที่ดีๆ  เช่น  เรื่องงาน  เรื่องส่วนตัว  และเรื่องอื่นๆทั่วๆไป                                                2)  คนเราต้องรู้จักรักงาน ไม่ดูถูกงานที่ตนเองทำ  และต้องใส่ใจในสิ่งที่ทำและจะมีความสุขเมื่องานสำเร็จ                                8)  ทฤษฎีที่ 8 (Hamony) + (Social Capital) จะเท่ากับ                                                1) คนที่ทำงานเก่ง มิใช่ทำงานเพียงลำพังคนเดียว  หากแต่จะต้องรู้จักทำงานเป็นทีม   จากเป็นทีมก็ขยายไปเป็นเครื่อข่าย  จากเครื่อข่ายระดับหน่วยงาน ก็ไปเป็นระดับองค์กร จากระดับองค์กรก็ไปเป็นระดับประเ ทศ  จากระดับประเทศก็ไปเป็นระดับโลก    จึงจะถือได้ว่าเป็นความสมานฉันท์  และจะเกิดความภาคภูมิในสิ่งที่ทำก็จะสามารถยืนอยู่ในสังคมได้อย่างสมเกียรติ                                                2)  คนเราต้องกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง และกล้าเผชิญกับความจริงในสิ่งที่ทำ   สิ่งที่ได้รับตอบแทนกลับมา คือ ความร่วมมือที่ดี  เพราะทุกคนมีใจใฝ่สันติเป็นทุน                                                3) คนเราต้องมีความมั่นใจในความรู้  มีปัญญา และจริยธรรม และมีการวางตัวที่เหมาะสม ก็จะเป็นที่ยอมนับถือของสังคม                                บทสรุปโดยรวมของหนังสือเล่มนี้  พวกเราสามารถนำไปใช้เป็นหลักการหรือแนวคิด ในการนำไปใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิต ได้เป็นอย่างดี  นับว่าเป็นหนังสือที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ได้อ่านและนำไปใช้โยชน์ได้จริงๆ   สิ่งที่พวกเราหวังไว้ในวันหน้า  คือ วันหนึ่งพวกเราจะมีทฤษฎีเป็นของตนเอง  ตามต้นแบบที่ดีอย่างท่านอาจารย์จีระที่เป็นผู้นำทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์                -------------------------------------                               
พรทิพย์ เรืองปราชญ์ (ตัวแทนกลุ่ม 3)
รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่  31.  นางสาวกมลทิพย์         สัตบุษ                2.  นางสาวพรทิพย์       เรืองปราชญ์3.  นางสาวขนิษฐา           พลับแก้ว             4.  นางสาววรางคณา     ศิริหงษ์ทอง5.  นางวีลาวัลย์                จันทร์ปลา           6.  นายบุญชู               ทองฝาก7.  นายโสภณ                  สังข์แป้น            8.  นางสาวสายใจ         โฉมสุข9.  จ.ส.ต.พงศกร              ไพเราะ              10.  ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์     มณีโชติ11.  นายชัยรัตน์              พัฒนทอง           12.  จ.ส.ต.บัญชา          วิริยะพันธ์          

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อน ๆ MPA 4  มร.สส.  ทุกท่าน  จากงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย  ให้แสดงความคิดเห็นจากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  และสองพลังความคิด ชีวิตและงาน นั้น  กลุ่มที่ 3  ขอแสดงความคิดเห็นดังนี้  หนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  โดยผู้ศึกษาได้อ่านแล้วเห็นความคล้ายกันของชีวิต 2 คน คือ   คุณพารณ    อิศรเสนา  ณ อยุธยา  และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน นั่นคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน  HR – Human Resources หรือ ทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุดขององค์กร เปรียบได้กับ จักรยานยนต์นานไปคุณค่าก็มีแต่เสื่อมลง  แต่คนถ้าได้รับการอบรม พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า  คุณค่าก็เพิ่มมากขึ้น แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาคุณค่าก็จะเสื่อมลงได้  เหนือสิ่งอื่นใดองค์กรทุกองค์กรควรมีการดูแล  คน  เป็นอย่างดี เพราะคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน  ผู้บริหารควรต้องดูแลลูกน้องตั้งแต่เขาเดินเข้ามาทำงานกับบริษัท  เขาควรได้รับการฝึกอบรมเอาใจใส่ดูแลจนกระทั่งวันที่เขาเกษียณอายุออกไป  เพราะเชื่อว่า องค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เก่งและคนไม่ดี  นั่นคือที่มาของความคิดที่ว่า  คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร   ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จก็คือ  ความจงรักภักดี   ซึ่งถือเป็นประเด็นใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้านการพัฒนาคน การที่เราจะให้ผู้บริหารมาเห็นความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยคำพูดนั้นมันไม่ถูกต้อง แต่เราจะต้องสร้างหรือทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในตัวมนุษย์ให้เขาเห็นเสียก่อน  หลักการบริหารจะเน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท เวลาจะทำอะไรต้องมี ความเชื่อ ก่อน จึงทำ จะไม่ทำตามที่เขาว่ากัน หรือทำตามกันมาหรือทำเพราะกระแสสังคม  เมื่อทำตามความเชื่อผลจึงออกมาดี ถ้าพูดถึงเรื่อง คน ต้องเป็นต้นแบบใน  4  เรื่องนี้  1. เรื่องของ  คนเก่ง คนดี  เชื่อว่า คนที่สามารถทำองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่ง ทั้งดี คือ เก่ง 4  ดี 4  เก่ง  4  ได้แก่  เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน  และดี  4  ได้แก่  ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม  2.  ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน  คนทุกคนเป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  3.  ดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วยการจ่ายค่าจ้างอย่างดีแล้ว สวัสดิการดีอยู่แล้ว แค่นี้คิดว่าไม่พอ มันต้องมี น้ำใจ  4.  การทำงานเป็นทีม  สองหัวดีกว่าหัวเดียว

 

จากการสนทนาระหว่าง ท่านพารณ อิศรเสนา และ ท่านอาจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์    ช่วงคัมภีร์คนพันธุ์แท้  ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   ตั้งแต่เรื่องปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่า    คน    ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร   การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นเรื่องการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงานบริหารงานโดยเน้นคนเป็นสำคัญต้องมีวิสัยทัศน์ในการวางแผนมีการพัฒนาคนทุกระดับตั้งแต่ผู้นำจนถึงผู้ปฏิบัติงานสร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้คนต้องได้รับแรงจูงใจในการทำงานไม่เพียงแต่ค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียวและจะต้องมีสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี  มีความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต้องสร้างคนให้เข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องภาษาอังกฤษ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ  เข้ามาผสมผสานในการทำงาน ที่สำคัญขององค์กรสามารถนำความรู้จากหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ไปเป็นแนวทางสร้างสรรค์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะต้องให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนเท่า  ๆ กัน  และจะต้องให้เขาได้มีโอกาสได้รับการพัฒนาด้าน ทักษะ ความรู้ ความสามารถตลอดเวลา  เพื่อให้เขาได้มีประสบการณ์ มีความรู้ ความชำนาญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังคำกล่าวที่ว่า คน คือทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญขององค์กรตลอดจนต้องดูแลให้เขาได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่เขาควรจะได้รับเพื่อแรงจูงใจในการทำงาน และเพื่อรักษาสภาพให้เขาอยู่กับองค์กรไปนาน ๆ เมื่อคนมีคุณภาพมีศักยภาพดีก็จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กรจะเกิดขึ้นได้ล้วนอยู่ที่คน การรักษาคนในองค์กรจะต้องสร้างความผูกพันหรือสร้างความรักบริษัทให้เขา  ต้องให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันมาก  จากการอ่านทำให้ผู้อ่านเห็นภาพเข้าใจได้ดีง่ายต่อการปฏิบัติ 

 คุณสมบัติ  3  ประการที่จะเป็น   Global  citizen  ของไทยที่จะก้าวไปสู่ระดับสากล  ได้แก่ 1.   ความคล่องแคล่ว  ในภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ2.  เทคโนโลยี

3.  คุณธรรม

 การเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง  คือ  ปรัชญาศาสนาพุทธ  เพราะถ้าเด็กปฏิบัติแล้วจะซึมซับเข้าไปในตัวของเขา  จะทำให้เขารู้จริงและติดตัวเขาไปอีกนาน  เมื่อมนุษย์พันธุ์  Global  จะสามารถผลิตประชากรทันการแข่งขันระดับโลก  เพราะเด็กมีความสามารถในทางด้านภาษาและเทคโนโลยี    การสร้างการเรียนรู้ในสังคมระดับ  Micro  ตั้งแต่คนด้อยโอกาสไปจนถึงชั้นผู้นำทางความคิดของชาติ   เพื่อขยายไปสู่  Macro  ในที่สุด  ผู้นำจึงต้องกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะต้องสร้าง  Competitive  Advantage  of  Thailand  ขึ้นให้ได้  ถ้าคนไทยมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้และเรียนรู้ตลอดชีวิต  เราก็จะสามารถสู้กับคนทั้งโลกได้ 2  พลังความคิด ชีวิตและงาน 

            หนังสือ 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน   เป็นหนังสือแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ได้แนวคิดจากการสนทนาของผู้นำนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ 2 ท่าน  ท่านแรกคือ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  สุภาพสตรีที่มีความแน่วแน่ในการพัฒนาคน ท่านให้ความสำคัญกับคนมาโดยตลอดว่า คน  เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว และอีกท่านหนึ่ง คือ  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลาดรมภ์  คนถือธงนำ  ในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติ โดยใช้การบูรณาการความคิดและความสามารถของคนอย่างได้ผลและยั่งยืน

 

            ทั้งสองท่านมีแนวคิดในการบริหารคนที่สอดคล้องกันหลายประเด็น  ซึ่งเป็นแนวคิดที่กลั่นมาจากความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน  จนสร้างเป็นทฤษฎีที่เป็นหลักและวิธีการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  นั่นคือ  ทฤษฎี  8 H’s  ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  และทฤษฎี 8 K’s ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งสองทฤษฎีนี้ มีทั้งความเหมือนและความต่าง  เข้าใจง่ายแต่มีความหมายที่ลึกซึ้ง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

 

            ทฤษฎี 8 H’s  ของคุณหญิงทิพาวดี  ท่านให้ความสำคัญกับ H แรกคือ Heritage  ที่หมายถึงรากเหง้า มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานชีวิตของคนทุก ๆ คน  ที่จะทำให้เรารู้จักตัวเองและสร้างค่านิยมที่ถูกต้อง  ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีเพิ่มค่าทุนมนุษย์ 8 K’s  ของท่าน ศ.ดร.จีระ  ในหัวข้อ Sustainable Capital  ซึ่งหมายถึงทุนแห่งความยั่งยืน  ในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ที่มี Culture Capital หรือทุนทางวัฒนธรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ไม่หลงไปตามกระแสโลกจนขาดความเป็นตัวตนที่แท้จริงได้  H ที่สอง  ได้แก่ Head  ซึ่งหมายถึงการใช้สมอง การมีความรู้ความคิดที่ดี มีสติ รู้จักวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล รู้จักใช้สมองเพื่อนำความรู้ที่มีมาคิดเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง  สอดคล้องกับ Intellectual Capital หรือทุนทางปัญญาของท่าน ศ.ดร.จีระ  ซึ่งไม่ว่าคนจะมีการศึกษาในระดับใดก็สามารถมีทุนทางปัญญาได้ หากรู้จักแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องและนำมาปรับประยุกต์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง และ  ใช้ปัญญากับความจริง   H ต่อไปคือ Hand หรือความเป็นมืออาชีพที่เน้นการลงมือทำด้วยตนเอง ต้องมีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น ๆ  เช่นเดียวกับทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ หรือ Talent Capital   ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน  และต้องได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ  สำหรับ  Heart  ซึ่งหมายถึง  จิตใจที่ดีนั้น สอดคล้องกับ Ethical Capital หรือทุนทางจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในขณะนี้ เนื่องจากประเทศชาติต้องการคนดี  แต่มิใช่ดีอย่างเดียว  แต่จะต้องเป็น คนเก่งที่ดี  อีกด้วย  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากจิตใจ ซึ่งไม่มีขอบเขตกำหนด กล่าวคือต้องมีจิตใจที่ดี และมีทัศนคติในเชิงบวก มีจิตใจกล้าหาญ กล้านำ กล้าตัดสินใจ กล้าเสี่ยง กล้ายอมรับความล้มเหลว รวมทั้งกล้ารับผิดชอบทั้งดีและร้ายด้วย   ในส่วนของ Home หรือ บ้านและครอบครัว  ซึ่งรวมถึง ผู้ให้กำเนิด และองค์กรด้วย ซึ่งหากมีครอบครัวที่ดี และเข้มแข็งแล้วจะช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงไปได้  ซึ่งสอดคล้องกับ Human Capital หรือทุนมนุษย์ ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ให้ความสำคัญในเรื่องทุนมนุษย์เป็นอันดับแรก ซึ่งมีความหมายคลอบคลุมทุนขั้นพื้นฐานตั้งแต่การเลี้ยงดู การศึกษา และสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งหากมีทุนมนุษย์ที่ดีก็จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศหรือองค์กรได้  H ต่อไป  ได้แก่  Happiness หรือ การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข  สอดคล้องกับ Happiness Capital  ที่หมายถึงทุนแห่งความสุข  ทั้ง 2 ทฤษฎีต่างให้ความสำคัญกับความสุขของคนเช่นเดียวกัน  กล่าวคือการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่เบียดเบียนใคร และความสุขที่เกิดขึ้นในใจนั้น ยั่งยืนกว่าความสุขภายนอก  คนที่มีความสุขเมื่อทำสิ่งใดก็มักจะประสบความสำเร็จมากกว่าคนที่ไม่มีความสุข และนอกจากจะมีความสุขด้วยตัวเองแล้ว  ยังพร้อมที่จะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นหรือสังคมรอบข้างมีความสุขด้วย  สำหรับ H ต่อไป  คือ Harmony หรือ ความปรองดองสมานฉันท์  ที่สร้างความกลมเกลียว ประนีประนอม สันติ  การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีศิลปะในการสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดในหมู่ผู้ใต้บังคับบัญชา  ในสภาพปัจจุบันที่มีการขัดแย้งสูง  ความปรองดองเท่านั้นที่จะทำให้ทุกสิ่งเป็นไปด้วยดี  เช่นเดียวกับ Social Capital  หรือ ทุนทางสังคม  ซึ่งหมายถึงการวางตัวที่เหมาะสมกับหน้าที่และบทบาทของตัวเองต่อสังคม เพื่อให้เกิดการยอมรับ  คนที่มีทุนทางสังคมที่ดี ก็จะสร้างประโยชน์กับงานและสังคมโดยรวมได้

             ถึงแม้ว่าทฤษฎี 8 H’s และ ทฤษฎี 8 K’s  จะมีความสอดคล้องกันอยู่มาก  แต่ก็มีอยู่ข้อหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน คือ Health ของคุณหญิงทิพาวดี ที่หมายถึง สุขภาพพลานมัย นั้น สุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์มีความสำคัญมาก ซึ่งต้องประกอบด้วย 2 สิ่ง คือ สุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงควรต้องดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ และสำหรับทฤษฎีทุนข้อสุดท้ายของ ศ.ดร.จีระ ได้แก่ Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่เชื่อมโยงกับโลกยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างมาก กล่าวคือ คนที่มีความรู้ มีปัญญา จะต้องรู้ทันสถานการณ์โลก และให้ความสนใจกับ IT เพื่อสามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาประเทศได้ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารเทศ
ด.ต.ณรงค์ พึ่งพานิชการทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรเรื่องของตำรวจวิสัยทัศน์กว้างไกล หลากหลายรอบรู้ข่าวสาร บริหารสุขภาพกาย-จิต อาทรคุณภาพชีวิตและครอบครัว ให้ถ้วนทั่วในองค์กร/หน่วยงาน ผสมงานผสานใจสู่ชุมชนและสังคมจากกลอนข้างตน ตำรวจ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาตนเอง อย่างรอบด้านและกว้างไกล                กระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประชาคมโลก จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ กระตุ้นให้กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเข้มข้นยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระแสประชาธิปใตย สู่ค่านิยมและปรัชญา  การปกครองของปวงชน โดยปวงชน เพื่อปวงชน ในกระแสนี้จะเน้นเสรีภาพทางการเมือง ลดอำนาจของศูนย์รวมและสนับสนุนการกระจายอำนาจ และกระบวนการตัดสินใจสู่ท้องถิ่นให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและมี่บทบาทในการพัฒนาทุกมิติอย่างมีประสิทธิภาพในรูปแบบ ประชารัฐ ประชาสังคม และประชาคมท้องถิ่น จากแนวทางเดิมคือ รัฐชาติ ที่เน้นกลไกรัฐในการแก้ปัญหาและพัฒนา ซึ่งการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม เดิม คือ เป็นหน้าที่ของตำรวจเท่านั้น กลับเปลี่ยนเป็นกระแสที่ตำรวจและประชาชนทำงานร่วมกันเป็นรูปแบบของประชาชนสังคมในที่สุด โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบวิธีทำงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีที่สุด รวดเร็ว ถูกต้อง เป็นประโยชน์กลยุทธ ที่จะให้บรรลุเป้าหมายคือ ปรับลดบทบาทของรัฐจากที่เป็นผู้ดำเนินมาเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ กำกับดูแลรักษากติกา วางแผน และประสานงาน พร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง และระดมพลัง ประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมและร่วมมือในกิจกรรมสาธารณะ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ประชาชน หรือคำตอบอยู่ที่ประชาชนหรือคำตอบอยู่ที่ชุมชน             ด.ต.ณรงค์  พึ่งพานิชการผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโดอย่างยั่งยืนเรื่องของตำรวจ                เนื่องจากกระผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยบทบาทหน้าที่หลักจึงเป็นฝ่ายปฏิบัติงานมากกว่าเป็นผู้ว่างนโยบาย และงานที่กระผมทำ รับผิดชอบคือถวายอารักขาและรักษาขบวน เสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์  เป็นการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการอารักขาและรักษาความปลอดภัย พระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ บทบาทอาจจะไม่มากแต่ความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ เพราะเป็นงานระดับชาติ และเกี่ยวกับความมั่นคง ของประเทศกระผมมีความภูมใจในหน้าที่การงานที่ทำ ส่วนใหญ่จะเป็นงาน ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริงเพราะเป็นงานหน้าเดี่ยวไม่มีผลประโยชน์อื่นมาเกี่ยวข้อง เพราะเราเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หลังจากรับราชการมาประมาณ 20 ปี เริ่มทำงานครั้งแรกก็ได้รับใช้พระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ มาโดยตลอด โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัดสุดประโยชน์สูงสุด เป็นแบบอย่างให้กับรุ่นน้อง พัฒนาตัวเอง ด้วยการเรียนรู้ประสบการณ์ จากรุ่นพี่ รุ่นต่อรุ่นสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
Akira : บทความของอาจารย์เป็นประโยชน์ พันธมิตร ภูมิใจเสนอ..
3 ประการรับมือกับภาวะอารมณ์
การทำงานในยุคปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยี อุปกรณ์ และเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนมนุษย์มากขึ้น ถึงแม้เทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องจักรเหล่านั้นจะสามารถผลิตผลงานได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าฝีมือมนุษย์ แต่เราก็คงนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาแทนที่ไม่ได้เสียทั้งหมด เพราะงานในหลายๆ ด้าน ยังคงต้องอาศัยกลไกการทำงานและความสามารถของสมองมนุษย์ที่สามารถทำงานได้ซับซ้อนและสามารถพลิกแพลงได้มากกว่า สิ่งที่ทำให้มนุษย์ทำงานได้ซับซ้อนหลากหลายและมีชีวิตชีวามากกว่าเทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องจักร คือ มนุษย์มีระบบความคิดที่มีความยืดหยุ่น และมีอารมณ์ความรู้สึก

พจนารถ ซีบังเกิด Senior Faculty & Executive Coach APMGroup จึงบอกวิธีบริหารอารมณ์ เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อารมณ์สร้างปัญหา

 

อารมณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เราคาดการณ์รูปแบบได้ยาก และมักแปรปรวนไปตามสิ่งที่เข้ามากระทบจิตใจ หากขาดการตระหนักรู้และไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมก็ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายทั้งต่อสภาพจิตใจตนเองและสัมพันธภาพกับผู้อื่นด้วย อันจะส่งผลเสียในการทำงานร่วมกันภายในองค์กรได้

ปัญหาที่สร้างความยุ่งยาก ลำบากใจในการทำงาน มักมาจากผู้ร่วมงานมากกว่าตัวงานจริงๆ โดยเฉพาะในโลกของการทำงานปัจจุบันที่ความสัมพันธ์แบบเครือข่ายได้รับการยอมรับว่าเป็นทุนชนิดหนึ่งที่วงการธุรกิจให้ความสำคัญ การที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ต้องติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือเพื่อให้แต่ละฝ่ายขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมาย ความหงุดหงิด ขัดแย้ง ไม่พอใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ

หากไม่มีวิธีจัดการที่เหมาะสม เรื่องเล็กก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เปรียบเสมือนน้ำผึ้งหยดเดียว เป็นปัญหา เป็นความทุกข์ใจ และยังอาจมีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยในการที่จะทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น หากบุคลากรส่วนมากขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพราะการจัดการกับอารมณ์เป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้ เพียงแต่เราต้องเปิดใจ ตั้งใจ และเห็นประโยชน์ที่จะทำเท่านั้นเอง

อุ่นเครื่องวิธีจัดการ

คนที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตนได้ดีจะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว มีความยืดหยุ่นได้ ผ่อนปรนอารมณ์ของตัวเองได้ดี ควบคุมอารมณ์ได้ โดยเฉพาะในยามโกรธ ในยามเศร้า หมดหวังในชีวิต หรือในยามกลัว คนปกติจะมีความโกรธ ความกลัว และมีความเศร้ากันได้ทั้งนั้น แต่คนที่มีพื้นฐานอารมณ์และจิตใจไม่เข้มแข็งอยู่แล้ว จะโกรธมาก กลัวมาก เศร้ามาก และใช้เวลานานกว่าอารมณ์เหล่านั้นจะจางไป

หากสภาวะอารมณ์เป็นเช่นนี้จะทำให้เสียพลังงานที่สร้างสรรค์ และเสียเวลามากไปกับอารมณ์ที่ไม่เป็นผลดีเหล่านั้น ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งศักยภาพในการทำงานก็ลดลงด้วย แต่สำหรับคนที่สามารถควบคุมอารมณ์เหล่านี้ได้ดีจะทำให้ไม่เสียพลังงานและเวลาไปกับอารมณ์ที่ไม่ปรารถนาเหล่านั้น

การจัดการกับอารมณ์หรือการควบคุมอารมณ์ไม่ได้หมายความถึงการกดอารมณ์ของตนเองไว้ แต่หมายถึงการแสดงออกซึ่งอารมณ์นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และไม่ปล่อยให้หลุดหรือควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างเช่น หากเราโกรธโดยไม่มีห้วงเวลาแห่งการยั้งคิด ไม่ได้ตระหนักในเหตุและผล และเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธของตนเองได้ก็จะแสดงอาการโมโหด้วยทีท่าที่รุนแรงออกนอกหน้า แต่สำหรับผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงจะมีวิธีที่จะจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกตนเองได้และไม่ปล่อยให้ความโกรธ ความเบื่อ หรือความเศร้าโศกมาชักนำพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของตนเอง

เทคนิคการจัดการกับอารมณ์

1.ตระหนักรู้ภาวะอารมณ์ตนเอง

คนที่จะจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ดีจะต้องเริ่มจากการตระหนักรู้ถึงภาวะอารมณ์ของตนเองในแต่ละช่วงขณะก่อน เช่น เมื่อเพื่อนร่วมงานไม่ยอมส่งข้อมูลให้ตามกำหนด ภาวะในขณะนั้นเรารู้สึกโกรธก็ต้องรู้ตัวเองว่ากำลังโกรธอยู่ การตระหนักรู้ในภาวะอารมณ์ของตนเองจะช่วยให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ได้มากกว่าที่จะให้อารมณ์มาเป็นตัวควบคุม เพราะหากเราไม่รู้ตัวว่าเราโกรธ โดยปล่อยให้อารมณ์มาเป็นตัวควบคุมก็อาจจะทำให้เราแสดงออกซึ่งอารมณ์โกรธที่รุนแรงหรือไม่เหมาะสมได้

2.จัดการที่ความคิด

เวลาที่เรามีอารมณ์ สังเกตว่าเราคิดอะไร เราเปลี่ยนความคิดได้ไหม ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน มองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น

3.จัดการที่การกระทำ

จัดการได้โดยฝึกฝนที่จะควบคุมการกระทำของตนเองไม่ให้ทำตามอารมณ์โดยขาดการยั้งคิด เพราะถ้าเอาแต่ทำตามอารมณ์จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ผู้ที่สามารถอดกลั้นได้ ควบคุมอารมณ์ได้ คือ ผู้ที่รู้ว่าอารมณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่ทำตามอารมณ์แต่ทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นแล้วหาวิธีแสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น เมื่อเพื่อนร่วมงานส่งงานช้าจนทำให้เราโกรธ เราก็รู้ตัวว่าเราโกรธและโกรธเพราะอะไร แต่ก็ต้องคิดหน้าคิดหลังว่าควรแสดงความโกรธนั้นออกมาหรือไม่ อย่างไร

เมื่อเราพิจารณาอย่างถ้วนถี่แล้ว เราก็คงคิดได้ว่าไม่ควรโมโหฉุนเฉียว ควรรอให้อารมณ์เย็นลงก่อน แล้วค่อยมาพูดกับเพื่อนคนนั้นอย่างใจเย็นและพูดด้วยเหตุผล เป็นต้น การควบคุมอารมณ์นั้นต้องสามารถควบคุมได้ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ เพราะเมื่อเรามีอารมณ์ดีใจปลื้มปีติ เราอาจแสดงอาการหรือพฤติกรรมที่เกินเลย และไม่เหมาะสมออกมาได้เช่นกัน

โดยสรุปแล้ว ความสำเร็จในการทำงานในโลกปัจจุบันนี้ "ความเก่งในงาน" อย่างเดียวไม่เพียงพอแล้ว เราอาจเคยได้ยินผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านพูดว่าการที่จะเติบโตไปข้างหน้าได้ ต้องมี "ความเก่งคน" ด้วย บทความนี้ต้องการเน้นย้ำว่า ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเท่าใด "ความเก่งคน" ยิ่งต้องทวีสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะจะมีผู้ที่เก่งงานทำงานให้เรามากมายอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องบริหารให้เขาเหล่านั้นทำงานด้วยความเต็มใจเต็มศักยภาพ

ถึงแม้เราจะไม่ได้ทำงานเป็นผู้บังคับบัญชาใครเลยก็ตาม "ความเก่งคน" ก็ไม่สามารถจะละเลยไปได้ เพราะการรู้จักบริหารอารมณ์ของตนอย่างชาญฉลาดและรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเองเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐของมนุษย์ และเป็น "ความเก่งคน" ที่สามารถนำมาใช้กับคนรอบด้านทั้งในที่ทำงาน ในครอบครัว และกับสังคม

หากการบริหารอารมณ์ของตนเองได้รับการพัฒนาไปจนแข็งแกร่งแล้ว เราจะสามารถต่อยอดไปเป็นความสามารถในการบริหารอารมณ์คนอื่นได้ด้วย ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติพิเศษที่เป็นทุนติดตัวส่งเสริมอาชีพการงาน และชีวิตส่วนตัวไปอีกนานเท่านาน 





แหล่งที่มา http://www.posttoday.com/

พระศุภสิน ศักศรีวัน

   ..ถ้าจะบอกว่า ใจ (Heart ) คือบ่อเกิดแห่งพลังและนำมาซึ่งผลกระทบ (effect) ต่าง ๆ คุณจะเชื่อไหม..
      สำหรับข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นความจริงทีเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความสุขและทุกข์ การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเกิดจากใจเป็นตัวกำหนดทิศทาง เฉกเช่นวันนี้ (เสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551) การเรียนรู้ที่สนุกสนานกับอาจารย์ที่มีภาวะด้านอารมณ์ที่บ่มเพราะและฝึกหัดมาอย่างดี ทำให้เกิด “ฉันทะ” และความศรัทธาต่อตัวอาจารย์ ทำให้อยากเรียนและเกิดความสนุกสนานกับการเรียน ภาพแรกที่เจอคือผู้หญิงคนหนึ่ง แต่งตัวสบาย ๆ เหมาะสมซึ่งไม่รู้หรอกว่าเป็นใครมาจากไหน รู้แต่ว่าเป็นอาจารย์ที่จะสอนในวันนี้ เพราะยังปรึกษากู (google) เข้ามาทักทายและถามสารทุกข์สุกดิบ คิดในใจ “อืม..ดูดีนะ อายุคงไม่เกิน 35” ทำให้เกิดความอบอุ่นและเป็นกันเอง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นก็จะอิงให้เห็นว่าสัมพันธ์กับใจ ทำให้เรามีพลังต่อการเรียนรู้ ทำใจและสมองให้เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรองรับน้ำ และเป็นประเด็นที่จะนำมาสู่การตอบคำถามในงานที่ได้รับมอบหมายของ กุญแจ 8 ดอก ที่เป็นตัวเปิดเข้าไปสู่การสร้างความผูกพันกับองค์กรเพื่อการเจริญเติบโตและยั่งยืน ซึ่งกุญแจที่ข้าพเจ้าเลือกก็คือ กุญแจดอกที่ 1 การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ (Trust and integrity) ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าการกระทำใด ๆ ให้สมบูรณ์และดีได้มันต้องเกิดออกมาจากใจ
      การที่จะสร้างศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้เกิดกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ต้องเข้าใจ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอยกเอาคุณสมบัติและหลักธรรมทางพุทธศาสนา แยกเป็นประเด็นข้อ ๆ ดังนี้
      ก. ต้องเป็นผู้ใหญ่ หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาบางคนอาจมีอายุน้อยแต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่โดยตำแหน่ง ดังนั้นต้องมีคุณธรรมของผู้ใหญ่ 4 ประการ คือ
         1. มีความรัก (เมตตา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับประโยชน์และประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
         2. มีความสงสาร (กรุณา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ใฝ่ใจในการกำจัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ผู้ใต้บังคับอยู่ตลอดเวลา
         3. มีความเบิกบานยินดี (มุทิตา) เมื่อผู้ใกล้ชิดหรือลูกน้องอยู่ดีมีสุขหรือเจริญก้าวหน้า ก็พลอยยินดีเบิกบานใจ พร้อมที่จะส่งเสริมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น
         4. มีใจเป็นกลาง (อุเบกขา) มองเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทุกอย่างตามความเป็นจริง มีจิตใจเที่ยงตรงมั่นคง เมื่อมีคดีที่จะต้องวินิจฉัยก็วินิจฉัยตามหลักการ เหตุผล และเที่ยงธรรม
      ข. ปราศจากความลำเอียง เป็นคนซื่อตรง ไม่หวั่นไหว เอนเอียงด้วยการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง เรียกว่า อคติ มี 4 ประการดังนี้
         1. ลำเอียงเพราะชอบ (ฉันทาคติ) เช่น คนที่ตอนชอบหรือรักกระทำผิด ก็ไม่ลงโทษตามโทษานุโทษ
         2. ลำเอียงเพราะชัง (โทสาคติ) เช่น คนที่ตนเกลียดกระทำถูกก็ไม่พอใจ ถ้าทำผิดก็ซ้ำเติม
         3. ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) เช่น คนทำผิดมาฟ้องบอกว่าคนอื่นเป็นผู้กระทำผิด ยังไม่ทันสอบสวนก็เชื่อตามฟ้องอย่างไร้เหตุผล ลงโทษคนถูกฟ้อง คนผิดเลยกลายเป็นถูก คนถูกกลายเป็นคนผิด
         4. ลำเอียงเพราะกลัว เช่น กลัวอิทธิพล กลัวถูกตำหนิ กลัวถูกย้าย กลัวไปเสียทุกอย่าง จนไม่กล้าทำอะไร
      ค. มีราชธรรม คือมีคุณธรรมของพระราชา แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีหน้าที่ในการบริหาร เรียกว่า ราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม มีอยู่ 10 ข้อคือ
         1. ให้ปัน (ทานํ) คือให้ทั้งวัตถุและคำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เอาใจใส่การบริการ อำนวยความสะดวกสบาย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบภัยพิบัติต่างๆ
         2. ประพฤติดีงาม (สีลํ) คือรักษากายวาจาให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมและกฎหมาย รักษาเกียรติภูมิของตน ไม่ประพฤติตนเป็นที่ดูถูกดูแคลนของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         3. เสียสละ (ปริจฺจาคํ) คือเสียสละความสุขสำราญตลอดจนกระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อประโยชน์ของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
         4. ซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความซื่อตรง ไร้มายา จริงใจ ไม่หลอกลวงเล่นลิ้นกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         5. อ่อนโยน (มทฺทวํ) คือมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หยาบคาย มีความสง่างามที่เกิดจากท่วงทีสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ไม่ถือตัว
         6. เพียรเผากิเลส (ตปํ) คือพยายามเผาผลาญตัณหามิให้เข้ามาครอบงำจิต ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มุ่งมั่นแต่จะทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์
         7.ไม่วู่วามโกรธง่าย (อกฺโกธํ) คือไม่เกรี้ยวกราด เจ้าอารมณ์ ไม่กระทำการใด ๆ ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ แต่จะทำด้วยจิตอันสุขุม เยือกเย็น รอบคอบ
         8. ไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) คือไม่หลงอำนาจเที่ยวบีบคั้นเอารัดเอาเปรียบลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษ หรือยัดเยียดข้อหาให้แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความอาฆาตเกลียดชัง
         9. มานะอดทน (ขนฺติ) คืออดทนต่อการงาน ถึงจะลำบากตรากตรำเพียงใดก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกเยาะเย้ยด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางเพียงใดก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ที่รับผิดชอบ
         10. ไม่คลาดธรรม (อวิโรธนํ) คือประพฤติตนยึดมั่นในธรรมทั้งในด้านความยุติธรรมก็ดี และในด้านนิติธรรมคือระเบียบแบบแผนก็ดี ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียงเพราะถ้อยคำของผู้อื่น หรือด้วยอามิสสินจ้างใด ๆ
      ถ้าทำได้ดังนี้ ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา ให้เกิดขึ้นและจะเป็น กุญแจดอกหนึ่งจาก 8 ดอก ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนได้
-----------------------------------------
ค้นหา Vision และ Mission
      ในหัวข้อนี้ภูมิใจเสนอ..บริษัท เอ็มวี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด

      บริษัท เอ็มวี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 โดยเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ เป็นบริษัทฯที่ผลิต ผลไม้ในน้ำเชื่อมเข้มข้น สำหรับใช้ในโยเกิร์ต โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี และผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการผลิตผลไม้เชื่อมมานานกว่า 20 ปี 
      โดยในปัจจุบันบริษัท เอ็มวี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด มีนโยบายที่ต้องการขยายฐานธุรกิจต่อยอดไปสู่การเป็นผู้ผลิตสินค้า จากการแปรรูปผัก ผลไม้สดที่ยิ่งใหญ่ภายใน 3 ปี

Vision
      เป็นผู้ผลิตผลไม้แปรรูปที่สามารถ สนองตอบความต้องการของตลาดทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

Mission

      • พัฒนาการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง
      • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อตราสินค้า
      • ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาดอย่างแพร่หลาย
      • สร้างความมั่นใจ ในด้านการบริการหลังการขายให้กับลูกค้า
      • มีพันธมิตรทางด้านการตลาดที่มั่นคงและเข้มแข็ง

รายงานเสนอ อ. พจนารถ  ซีบังเกิด (อาจารย์ผู้เป็นขวัญใจของ รปม.รุ่น ๔)

แนะนำเกี่ยวกับเรา ภาระกิจหลักขององค์กรคือการแสวงหาและจัดสรรวัตถุดิบประเภท เคมีภัณฑ์, ส่วนผสมด้านอาหารและโลหะ มีค่าสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ต่าง  ๆ  มากมาย ด้วยความรับผิดชอบ และการสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ลูกค้า ภายใต้จิตสำนึกที่มุ่งเน้นในเรื่อง คุณความดี, คุณภาพ และสังคม
                บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในระดับผู้นำในธุรกิจ
การจัดหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์, เคมีภัณฑ์อาหาร และโลหะมีค่า สำหรับโรงงาน
อุตสาหกรรมต่างๆ
ในปี พ..2532, บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด ได้ถูกจัดตั้งขึ้น พร้อมกับการวาง นโยบายเพื่อเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ เราเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกจากการจัดหา เคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมการเคลือบ และเติบโตขึ้นทุกปีโดยมีทีมงานที่ มีคุณภาพ ในปัจจุบัน บริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ อีกกว่า 20 อุตสาหกรรม
                ด้วยทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัท , ประสบความสำเร็จตลอดมา ทีมงานที่ดีเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม นำมาสู่ความมั่นคงและก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากรและสังคม ซึ่งถือเป็นปรัชญาในการบริหารที่สำคัญขององค์กร
                กลยุทธในการจัดการบริหาร ต่างๆ ขององค์กรช่วยให้องค์กรสามารถรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และยังคงเป็นองค์กรระดับผู้นำตลอดมา บริษัทฯ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (ISO) 9001 – 2000 และมีแผนงานในการวางเป้าหมายการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปสู่ระบบ มาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ซึ่งประยุกต์จากโปรแกรมคุณภาพ แห่งชาติของ Baldrige เพื่อสร้างสรรค์ทีมงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นICL‘s Vision
วิสัยทัศน์องค์กร
(Corporate Vision)
                เราจะเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริหารที่ดีเลิศในการจัดจำหน่าย สินค้า และบริการที่มีคุณภาพเพื่อพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆภาระกิจองค์กร (Corporate Mission)                การเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริการที่ดีเลิศกับลูกค้า ต้องเกิดจากการให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยการเน้นการสร้างความแตกต่าง เพื่อเพิ่มคุณค่าการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ให้เกิดขึ้นในภาระกิจหลักดังต่อไปนี้1.       จำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อการอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพมี นวัตกรรม และหลากหลายด้วยความรับผิดชอบ 2.       สร้างความประทับใจในการให้บริการที่จริงใจ รวดเร็ว และถูกต้อง 3.       ปฏิบัติงานภายใต้ระบบงานที่มีมาตรฐาน และทันสมัย 4.       เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนาให้ล้ำหน้าตลอดเวลา 5.       มีบุคลากรที่ดีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งจะนำมาสู่ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม Value
ค่านิยมขององค์กร

แนวความคิดและการทำงานอันจะนำไปสู่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ และสร้างสรรความสุข ให้บังเกิดขึ้นภายในองค์กรคุณความดี
เริ่มต้นที่หัวใจของพนักงานทุกคน ซึ่งร่วมกันสรรสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น เพราะเราเชื่อว่าคุณความดีจะนำสิ่งดีมาสู่องค์กรและคู่ค้าคุณภาพ
คุณภาพขององค์กร กำเนิดมาจากคุณภาพของพนักงาน และคุณภาพของงานตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดกระบวนการ คุณภาพก่อให้เกิดความคิดริเริ่ม, คุณภาพก่อให้เกิดผลิตผลคุณภาพ นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้สังคม
                สังคมในองค์กรและสังคมภายนอก เป็นสิ่งที่องค์กรตระหนักถึงความรับผิดชอบอันจะมีต่อชุมชนทุกชุมชน ที่อยู่ร่วมกัน มีความสงบสุขร่วมกัน อนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อม และดำรงค์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมร่วมกันค่านิยมร่วม (Shared Value)1.       มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม 6 ดี และ 12 คำ ·       มุ่งมั่นที่จะเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี (Good People) ·       มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบงานให้ดีและทันสมัย (Good System : Fast, Flat, Flexible) ·       มุ่งมั่นที่จะรักษาและปฏิบัติตามระเบียบวินัยขององค์กร (Good Discipline) ·       มุ่งมั่นที่จะศึกษาหาความรู้ นำความรู้มาใช้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี (Good Knowledge Management) ·       มุ่งมั่นที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและทำงานเป็นทีม (Good Relationship) ·       มุ่งมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์และสร้างผลตอบแทนที่ดี ให้กับองค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม (Good Benefit) ·       มุ่งมั่นในการปฏิบัติตาม 12 คำ : ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน สดใส มีวินัย ใจเป็นธรรม มีน้ำใจ ให้อภัย เข้าใจงาน กตัญญู รู้คุณค่าในคนและตนเอง 2.       มุ่งเน้นอนาคตด้วยนวัตกรรม (Innovation) 3.       มุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี แด่คู่ค้าและเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ (Service Mind) 4.       มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ และการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Result & Value Added Oriented) 5.       มุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ และมีส่วนช่วยเหลือสังคม (Social Responsibility) Management System
ระบบการบริหารจัดการ
·       พื้นฐานของการบริหาร คือ การกระจายอำนาจหน้าที่ ·       พื้นฐานของการกระจายอำนาจหน้าที่ คือ ความไว้วางใจและระบบงานที่ดี ·       เราเริ่มรูปแบบการบริหารจัดการจากวงจรคุณภาพ (PDCA) และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถ, ทักษะการทำงาน และศีลธรรม จึงสามารถกล่าวได้ว่า บุคลากรในองค์กรทุกคนเป็นบุคลากรที่มีค่าที่จะนำพาองค์กรไป สู่ความสำเร็จCommitment
คำมั่นสัญญา1.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรที่น่าอยู่โดยมีบุคลากรที่เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความเป็นอยู่ที่ดี 2.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าคบหาสมาคม ในด้านการดำเนินกิจกรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ 3.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่านับถือ ในด้านการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม 4.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าสนใจในด้านการเรียนรู้ , การพัฒนาและปรับตัวตลอดเวลา 5.       มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าประทับใจในด้านคุณธรรม ในทุกด้าน เป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่
ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้า นั่นคือ ความดี คุณภาพ และสังคมICL & Community
องค์กร และสังคม


ICL มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ดีของสังคม โดยการเริ่มต้นจากการเสนอสินค้า และบริการที่ดี มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ, กฎหมาย และคำนึงถึงความปลอดภัยในด้านสุขภาพของบุคลากร และสังคม บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการนำไป ใช้ประโยชน์อย่าง มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
                ในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ยังคงไว้ซึ่งการรักษากฎระเบียบตาม มาตรฐานขององค์การอาหาร และยาในการดูแลสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ อาหาร
                นอกจากนี้ผู้บริหารองค์กรยังได้มีการสนับสนุน และจัดตั้งกองทุนการกุศล เพื่อเด็กและเยาวชน และกองทุนเพื่อการช่วยเหลือสังคมในทุก ๆ ปี
ICL as your partner
เราเสมือนเพื่อนคู่คิดของคุณ  1.       ก่อกำเนิดอย่างมั่นคงและมีชื่อเสียงมายาวนานในระดับประเทศ 2.       จัดสรรช่องทางทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ได้อย่างลงตัว 3.       มีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และมีทีมการจัดการที่มีคุณภาพ 4.       ระบบการจัดการที่ดี 5.       เป็นระดับมืออาชีพ ·       เป็นคนรุ่นใหม่ ขยันขันแข็ง ·       มีพื้นฐานความรู้ดี ·       เป็นองค์กรขนาดกลางที่มีการบริหารงานที่ยืดหยุ่นได้ ·       เป็นองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลง ·       ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001–2000 ·       มุ่งสู่ระบบคุณภาพแห่งชาติ (Baldrige National Quality Program) ·       มีการบริหารด้านสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) 6.       มี Supplier ที่มั่นคง, สินค้าหลากหลาย สำหรับให้บริการลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม 7.       มีฐานะการเงินที่มั่นคง ตรวจสอบได้ ในความไว้วางใจของผู้ถือหุ้นและองค์กร 8.       มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 9.       เป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง 10.    มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม  
พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม. รุ่น ๔ สวนสุนันทา

งานเสนอ อ. พจนารถ  ซีบังเกิด  

แนะนำเกี่ยวกับเรา                                                                                                                                                                                                ภาระกิจหลักขององค์กรคือการแสวงหาและจัดสรรวัตถุดิบประเภท เคมีภัณฑ์, ส่วนผสมด้านอาหารและโลหะ มีค่าสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ต่างๆ มากมาย ด้วยความรับผิดชอบ และการสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ลูกค้า ภายใต้จิตสำนึกที่มุ่งเน้นในเรื่อง คุณความดี, คุณภาพ และสังคม
                บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด เป็นองค์กรที่มีชื่อเสียงในระดับผู้นำในธุรกิจ
การจัดหาวัตถุดิบเคมีภัณฑ์, เคมีภัณฑ์อาหาร และโลหะมีค่า สำหรับโรงงาน
อุตสาหกรรมต่างๆ
ในปี พ..2532, บริษัท อินเตอร์กู๊ดส์ จำกัด ได้ถูกจัดตั้งขึ้น พร้อมกับการวาง นโยบายเพื่อเป็นองค์กรที่มีคุณภาพ เราเริ่มต้นธุรกิจครั้งแรกจากการจัดหา เคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมการเคลือบ และเติบโตขึ้นทุกปีโดยมีทีมงานที่ มีคุณภาพ ในปัจจุบัน บริษัทได้ขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ อีกกว่า 20 อุตสาหกรรม
                ด้วยทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัท , ประสบความสำเร็จตลอดมา ทีมงานที่ดีเป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม นำมาสู่ความมั่นคงและก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากรและสังคม ซึ่งถือเป็นปรัชญาในการบริหารที่สำคัญขององค์กร
                กลยุทธในการจัดการบริหาร ต่างๆ ขององค์กรช่วยให้องค์กรสามารถรับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และยังคงเป็นองค์กรระดับผู้นำตลอดมา บริษัทฯ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (ISO) 9001 – 2000 และมีแผนงานในการวางเป้าหมายการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไปสู่ระบบ มาตรฐานคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ซึ่งประยุกต์จากโปรแกรมคุณภาพ แห่งชาติของ Baldrige เพื่อสร้างสรรค์ทีมงานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นICL‘s Vision
วิสัยทัศน์องค์กร (Corporate Vision)
                เราจะเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริหารที่ดีเลิศในการจัดจำหน่าย สินค้า และบริการที่มีคุณภาพเพื่อพันธมิตรทางธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆภาระกิจองค์กร (Corporate Mission)                การเป็นผู้นำระดับประเทศในการให้บริการที่ดีเลิศกับลูกค้า ต้องเกิดจากการให้ความสำคัญกับลูกค้า โดยการเน้นการสร้างความแตกต่าง เพื่อเพิ่มคุณค่าการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ ให้เกิดขึ้นในภาระกิจหลักดังต่อไปนี้1.        จำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อการอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพมี นวัตกรรม และหลากหลายด้วยความรับผิดชอบ 2.        สร้างความประทับใจในการให้บริการที่จริงใจ รวดเร็ว และถูกต้อง 3.        ปฏิบัติงานภายใต้ระบบงานที่มีมาตรฐาน และทันสมัย 4.        เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และพัฒนาให้ล้ำหน้าตลอดเวลา 5.        มีบุคลากรที่ดีเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคู่ค้าภายใต้คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งจะนำมาสู่ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้าขององค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม Value
ค่านิยมขององค์กร

แนวความคิดและการทำงานอันจะนำไปสู่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ และสร้างสรรความสุข ให้บังเกิดขึ้นภายในองค์กรคุณความดี
เริ่มต้นที่หัวใจของพนักงานทุกคน ซึ่งร่วมกันสรรสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น เพราะเราเชื่อว่าคุณความดีจะนำสิ่งดีมาสู่องค์กรและคู่ค้าคุณภาพ
คุณภาพขององค์กร กำเนิดมาจากคุณภาพของพนักงาน และคุณภาพของงานตั้งแต่เริ่มต้น จนสิ้นสุดกระบวนการ คุณภาพก่อให้เกิดความคิดริเริ่ม, คุณภาพก่อให้เกิดผลิตผลคุณภาพ นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้สังคม
                สังคมในองค์กรและสังคมภายนอก เป็นสิ่งที่องค์กรตระหนักถึงความรับผิดชอบอันจะมีต่อชุมชนทุกชุมชน ที่อยู่ร่วมกัน มีความสงบสุขร่วมกัน อนุรักษ์และดูแลสิ่งแวดล้อม และดำรงค์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคมร่วมกันค่านิยมร่วม (Shared Value)1.        มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตาม 6 ดี และ 12 คำ ·        มุ่งมั่นที่จะเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี (Good People) ·        มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบงานให้ดีและทันสมัย (Good System : Fast, Flat, Flexible) ·        มุ่งมั่นที่จะรักษาและปฏิบัติตามระเบียบวินัยขององค์กร (Good Discipline) ·        มุ่งมั่นที่จะศึกษาหาความรู้ นำความรู้มาใช้และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้ดี (Good Knowledge Management) ·        มุ่งมั่นที่จะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีและทำงานเป็นทีม (Good Relationship) ·        มุ่งมั่นที่จะรักษาผลประโยชน์และสร้างผลตอบแทนที่ดี ให้กับองค์กร คู่ค้า บุคลากร และสังคม (Good Benefit) ·        มุ่งมั่นในการปฏิบัติตาม 12 คำ : ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน สดใส มีวินัย ใจเป็นธรรม มีน้ำใจ ให้อภัย เข้าใจงาน กตัญญู รู้คุณค่าในคนและตนเอง 2.        มุ่งเน้นอนาคตด้วยนวัตกรรม (Innovation) 3.        มุ่งมั่นที่จะให้บริการที่ดี แด่คู่ค้าและเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ (Service Mind) 4.        มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ และการสร้างคุณค่าเพิ่ม (Result & Value Added Oriented) 5.        มุ่งมั่นที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันดีของประเทศ และมีส่วนช่วยเหลือสังคม (Social Responsibility) Management System
ระบบการบริหารจัดการ
·        พื้นฐานของการบริหาร คือ การกระจายอำนาจหน้าที่ ·        พื้นฐานของการกระจายอำนาจหน้าที่ คือ ความไว้วางใจและระบบงานที่ดี ·        เราเริ่มรูปแบบการบริหารจัดการจากวงจรคุณภาพ (PDCA) และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถ, ทักษะการทำงาน และศีลธรรม จึงสามารถกล่าวได้ว่า บุคลากรในองค์กรทุกคนเป็นบุคลากรที่มีค่าที่จะนำพาองค์กรไป สู่ความสำเร็จCommitment
คำมั่นสัญญา
1.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรที่น่าอยู่โดยมีบุคลากรที่เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความเป็นอยู่ที่ดี 2.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าคบหาสมาคม ในด้านการดำเนินกิจกรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ 3.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่านับถือ ในด้านการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม 4.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าสนใจในด้านการเรียนรู้ , การพัฒนาและปรับตัวตลอดเวลา 5.        มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่น่าประทับใจในด้านคุณธรรม ในทุกด้าน เป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่
ความมั่นคง ยั่งยืน และก้าวหน้า นั่นคือ ความดี คุณภาพ และสังคม
ICL & Community
องค์กร และสังคม

ICL มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ดีของสังคม โดยการเริ่มต้นจากการเสนอสินค้า และบริการที่ดี มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ, กฎหมาย และคำนึงถึงความปลอดภัยในด้านสุขภาพของบุคลากร และสังคม บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการนำไป ใช้ประโยชน์อย่าง มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด
                ในส่วนของคลังสินค้าของบริษัท ยังคงไว้ซึ่งการรักษากฎระเบียบตาม มาตรฐานขององค์การอาหาร และยาในการดูแลสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ อาหาร
                นอกจากนี้ผู้บริหารองค์กรยังได้มีการสนับสนุน และจัดตั้งกองทุนการกุศล เพื่อเด็กและเยาวชน และกองทุนเพื่อการช่วยเหลือสังคมในทุก ๆ ปี
ICL as your partner
เราเสมือนเพื่อนคู่คิดของคุณ
1.        ก่อกำเนิดอย่างมั่นคงและมีชื่อเสียงมายาวนานในระดับประเทศ 2.        จัดสรรช่องทางทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ได้อย่างลงตัว 3.        มีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี และมีทีมการจัดการที่มีคุณภาพ 4.        ระบบการจัดการที่ดี 5.        เป็นระดับมืออาชีพ ·        เป็นคนรุ่นใหม่ ขยันขันแข็ง ·        มีพื้นฐานความรู้ดี ·        เป็นองค์กรขนาดกลางที่มีการบริหารงานที่ยืดหยุ่นได้ ·        เป็นองค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลง ·        ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9001–2000 ·        มุ่งสู่ระบบคุณภาพแห่งชาติ (Baldrige National Quality Program) ·        มีการบริหารด้านสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) 6.        มี Supplier ที่มั่นคง, สินค้าหลากหลาย สำหรับให้บริการลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม 7.        มีฐานะการเงินที่มั่นคง ตรวจสอบได้ ในความไว้วางใจของผู้ถือหุ้นและองค์กร 8.        มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 9.        เป็นองค์กรที่พัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง 10.     มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           

ด้วยความปรารถนาดี จาก (หมอก) รหัส 50038020003 จากแนวคิดของ อ. จีระ จึงได้มีการแสดงความคิดเห็นและได้แบ่งปํนข้อมูลแก่เพื่อน ๆ พี่ ๆ ขอบคุณครับฯ
 คำสามคำที่น่าสนใจที่อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ เขียนไว้ในหนึ่งหนังสือ คัมภีร์ "หัวบริหาร" ยอดตน ยอดบริหาร ภาคพิศดาร ที่น่าสนใจ คือ
      1. วิสัยทัศน์ แปลว่า "การมองเห็นภายในขอบเขตที่เป็นอยู่"
       2. ทัศนวิสัย แปลว่า "ระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุด้วยตาเปล่า"
       3. จินตทัศน์ แปลว่า "การคิดด้วยการสร้างภาพให้เกิดขึ้น(ภาพที่มองไกลสู่อนาคตโดยไม่มีขอบเขตขวางกั้น)
       จากคำสามคำนี้ จึงน่าสนใจที่จะต้องให้ความใส่ใจให้มาก หากจะต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ขององค์กร เพราะหากเรายังคงยึด อยู่กับความเป็นเดิมๆ กรอบเดิมๆ วิสัยทัศน์ของเราก็คงจะเป็นแบบแคบๆ ไม่กว้างไกล สู่อนาคต ขาดความเป็นสากล หรือบาง ครั้งอาจจะสากลมากจนลืมความเป็นท้องถิ่น (localization) หรือภูมิปัญญา (wisdom)
       หากท่านที่สนใจว่าแต่ละองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ต่างๆ เขาเขียนวิสัยทัศน์(Vision statement) ออกว่าอย่างไร สามารถเข้าไปสืบค้นได้จาก web site ของหน่วยงานนั้น ๆ โดยเข้าไปที่
http://www.google.com แล้วใส่คำ ชื่อหน่วยงานที่ต้องการค้นหา

ตัวอย่างวิสัยทัศน์ขององค์กรต่างๆ

วิสัยทัศน์ ปตท.
เป็นบริษัทพลังงานของไทย ที่ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มุ่งไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization) และเป็นผู้นำในภูมิภาค ด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม และให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้มีส่วนได้เสีย

วิสัยทัศน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เป็นคณะพยาบาลศาสตร์ขนาดกลางที่ผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาศาสตร์ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานสากลในทุกระดับปริญญา มีความเป็นเลิศทางการจัดการศึกษาพยาบาลบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีความรักและความผูกพันกับคณาจารย์และสถาบัน อย่างเป็นเอกลักษณ์ สร้างองค์ความรู้ด้วยการวิจัย เน้นงานวิจัยการพยาบาลทางคลินิกที่มีคุณภาพและการวิจัยที่พัฒนาศักยภาพ
ในการดูแลตนเองของชุมชน โดยมีการผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีทางการพยาบาลให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพึ่งตนเอง และทำนุบำรุงวัฒนธรรมอันดีงาม

วิสัยทัศน์ ธนาคารกรุงไทย
เป็นสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศที่ได้รับความเชื่อมั่นในการให้บริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยมาตรฐานคุณภาพที่เป็นที่พึงพอใจสูงสุด ของลูกค้าเคียงคู่เศรษฐกิจไทย

วิสัยทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
" ภายในปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะเป็นองค์กรหลักของประเทศและได้รับความเชื่อถือจากสังคมในการปกป้องคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยดำเนินการให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีคุณภาพและปลอดภัย และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

วิสัยทัศน์ โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
เป็นโรงพยาบาลคุณภาพ ด้านบริการ วิชาการ ในระดับแนวหน้า ที่ประชาชนยอมรับและบุคลากรภาคภูมิใจ ในการปฏิบัติงาน

วิสัยทัศน์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เป็นผู้นำพัฒนาวิชาการ สานสัมพันธ์เครือข่ายรวมภาคี เสริมศักดิ์ศรีสร้างพลังภูมิปัญญา ให้ก้าวไกลรุดหน้าเทียมสากล เพื่อคนไทยทุกคนสุขภาพดี

วิสัยทัศน์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เป็นองค์กรหลักทางด้านการวิจัยและพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขในการเสริมสร้าง สุขภาพที่ดีแก่ประชาชน และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั้งของภาครัฐและเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

วิสัยทัศน์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีมาตรฐานการศึกษา การวิจัยและการบริการ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 

จากวิสัยทัศน์ ของหน่วยงานต่างๆ ที่ผู้เขียนนำมาให้ศึกษาเป็นตัวอย่างหากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า แต่ละวิสัยทัศน์นั้น สะท้อนความ เป็นองค์กร สะท้อนวัฒนธรรม องค์กร รวมทั้งมิติอื่นๆ ขององค์กรนั้นๆ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ เป็นการสะท้อนวิสัยทัศน์ ของคนในองค์กรนั้นๆ นั่นเอง ดังนั้น ก่อนจะได้มาซึ่งวิสัยทัศน์ ขององค์กร แต่ละปัจเจกคนฝนองค์กรก็จะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ต้องมี Personal Vision ก่อน แล้วนำ Vision มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกิดการ Shared Vision เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมขององค์กร

       ผู้อ่านลองไปทบทวนวิสัยทัศน์ของตัวท่านเองว่าเป็นอย่างไร สำหรับผู้เขียนแล้ว ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ส่วนตัวไว้ว่า

"ประเทศชาติ ประชาชน ประชาคม ประชาสรรณ์ ประกันชีวิต"

โดยความหมายแต่ละคำคือ
     ประเทศชาติ : เป็นความตั้งใจที่ปรารถนาจะเป็นประเทศชาติ เจริญบนฐานของภูมิปัญญาไทย วิญญาณไทย หัวใจสากล โดยที่ทุกคนต้องเท่าเทียม
     ประชาชน : ผู้เขียนต้องการเป็นประชาชนคุณภาพ ต้องการทำงานให้กับพี่น้องประชาชน ในฐานะของ นักการเมือง ภาคประชาชน ทำกระบวนการการเมืองภาคประชาชน เมื่อมีโอกาส
     ประชาคม : งานหลักที่ผู้เขียนถนัดและต้องการให้เกิดขึ้น ในชุมชนต่างๆ คือ ประชาคม เช่น ประชาคม ผู้รักสุขภาพ ประชาคม คนออกกำลังกาย
     ประกันชีวิต : อาชีพที่สร้างความมั่นคงให้กับครอบครัวไทย คืออาชีพ ตัวแทนประกันชีวิต
       แล้วท่านผู้อ่านหละ วิสัยทัศน์ท่านว่าอย่างไร จงเขียนมันออกมาในกระดาษ ติดไว้ที่โต๊ะทำงาน แล้วลงมือทำ ตามพันธกิจท่มีอยู่เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมที่น่าอยู่

หมายเหตุ : บทความฉบับนี้ยินดีให้นำไปเผยแพร่ หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ กับมวลมนุษยชาติ
power by [email protected]

โดยรหัส 50038020003 รปม. รุ่น ๔

เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

บริษัท เซิร์ฟเวอร์ทูเดย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ จึงไม่เพียงรักษาคุณภาพสินค้าและ บริการให้เป็นที่พึงพอใจแก่ลูกค้าทุกกลุ่ม แต่ยังผสมผสานความแข็งแกร่งของเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตควบคู่กันไป พร้อมก้าวไปสู่เป้าหมายร่วมกันกับลูกค้าในอนาคต พร้อมที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการโฮสติ้งและอินเตอร์เน็ตโซลูชั่นอย่างแท้จริง

วิสัยทัศน์องค์กร
บริษัทเวปโฮสติ้งที่ให้บริการดีที่สุดในประเทศไทย

ภารกิจ
มุ่งให้บริการลูกค้าด้วยสินค้า บริการทางด้านเวปโฮสติ้ง และอินเตอร์เน็ตโซลูชั่นให้ดีที่สุด เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจ และเป็นไปตามความประสงค์สูงสุด

เกียรติประวัติองค์กร

- หนึ่งในสิบสุดยอดเวปไซด์ "SME ยอดเยี่ยม ด้านการพัฒนาธุรกิจ" Web Award 2005
จากสมาคมผู้ดูแลเวปไทย
- DirectI Thailand Top#1 Reseller ผู้แทนจำหน่ายโดเมนยอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศไทย ในปี 2006
ภายใต้ระบบ DirectI จาก Directi Group.

แนวโน้มการเติบโตและสภาวะการแข่งขันธุรกิจเวปโฮสติ้ง

สภาวะการแข่งขันของธุรกิจเวปโฮสติ้งในปี 2549 มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมากเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ โดยเฉพาะผู้ให้บริการประเภทบุคคล ส่งผลให้รายได้รวมของธุรกิจบริการเวปโฮสติ้งของบริษัทเติบโตไม่มาก ด้วยเหตุที่คู่แข่งขันของบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการบุคคลทำให้ไม่ต้องแบกต้นทุนสูงมากนัก ทำให้มีศักยภาพในการกำหนดราคาได้ดีกว่า ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคากับผู้ประกอบการรายใหม่ๆ บริษัทฯ จึงมุ่งเน้นรักษา "คุณภาพการให้บริการ" ให้เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยเจาะกลุ่มลูกค้าภาคธุรกิจและลูกค้าองค์กรเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มดังกล่าวจะให้ความสำคัญกับคุณภาพการให้บริการ ประสิทธิภาพของเครือข่ายและความต่อเนื่องในการใช้งานมากกว่าปัจจัยทางด้านราคา

สำหรับปี 2550 บริษัทฯ จะเน้นทำการตลาดในกลุ่มผู้ใช้ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยรักษาจุดยืนของการบริการที่มีคุณภาพ อันเนื่องจากบริษัทฯ เป็นองค์กรที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปทำให้มีความคล่องตัวในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจอินเตอร์เน็ตในหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยทีมบุคคลากรที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความเข้าใจในความต้องการใช้งาน และปัญหาของผู้ใช้งานเป็นอย่างดี ด้วยแนวทางการตลาดดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้บริษัทฯ มีความพร้อมที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในธุรกิจอินเตอร์เน็ตได้อย่างมั่นคง

ข้อมูลทั่วไปของบริษัท เซิร์ฟเวอร์ทูเดย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ลักษณะการประกอบธุรกิจ
ให้บริการจดชื่อโดเมน บริการเวปโฮสติ้ง ให้เช่าเซิร์ฟเวอร์ ดูแลติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบอินเตอร์เน็ต ทั้งภายในและต่างประเทศ

สำนักงานใหญ่
เลขที่ 67/134 หมู่ที่ 2 ซอยเทียนทรัพย์ ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150

ศูนย์กลางข้อมูล (Internet Data Center)
- CAT IDC อาคาร กสท. ชั้น 13 ถนนสุรวงศ์ บางรัก กรุงเทพมหานคร
- USA IDC INFOMART Telecom hotel near downtown Dallas.
- The NAC, AtlantaNAP, and BlueSquare Datacenters.

เลขทะเบียนการค้า 0107554821651
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 3380118853
เลขทะเบียนพานิชย์อิเล็คทรอนิกส์
0107514831885

โทรศัพท์ 0-2875-9900, 0-2875-7174-6, 0-2875-9537
โทรสาร 0-2875-7170
โฮมเพจ
www.servertoday.com
อีเมล์ [email protected]

ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท (อยู่ในระหว่างดำเนินการเพิ่มทุนเป็น 5 ล้านบาท)
ทุนชำระแล้ว 1,000,000 บาท

 

   

 

 

ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ

ส่ง ศ.ดร. พจนารถ ซีบังเกิด

ข้อ1        การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรองค์กรที่บริหารงานอยู่คือ องค์กรมัสยิด ซึ่งตามกฎหมายจะขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น อิหม่ามมัสยิดต้นสน ซึ่งหมายถึงผู้นำสูงสุดทางด้านจิตวิญญาณของชาวมุสลิมในตำบลหรือหมู่บ้านนั้นๆตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม และ พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลามปีพ.ศ.2540 มาตรา 4 โดยทั่วไปมัสยิดหมายถึงสถานที่ซึ่งชาวมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจ และเป็นสถานที่สอนอบรมคุณธรรมจริยธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำพิธีกรรมในทุกๆวันศุกร์ซึ่งเป็นข้อบัญญัติให้อิสลามมิกชนทุกคนจะต้องไปมัสยิดอย่างสม่ำเสมอหากขาดการไปทำพิธีกรรมและฟังคำเทศนาสั่งสอน 3 ศุกร์ติดๆกันก็จะมีบทลงโทษอย่างรุนแรงในหลักการของศาสนาอิสลาม ดังนั้นสถานะภาพของมัสยิดก็คือศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณของชาวมุสลิมนั่นเอง ดังนั้นด้วยภารกิจหน้าที่ตลอดจนวัตถุประสงค์ดังกล่าวในฐานะอิหม่ามผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ จึงต้องทำทุกวิถีทางให้ชาวมุสลิมในสังกัดซึ่งเรียกว่าสัปบุรุษมามัสยิดให้มากที่สุด โดยคาดหวังว่าผลลัพท์ของการมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็จะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดำเนินชีวิตให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมและประชาชนที่ดีของประเทศชาติบ้านเมือง หน้าที่ของ อิหม่าม หรือเปรียบเสมือนเจ้าอาวาสก็คือจะต้องไม่คำนึงว่าทำไมผู้คนจึงมามัสยิดน้อย แต่จะต้องแก้ปัญหาโดยถามตัวเองว่าทำอย่างไรจะให้ผู้คนมามัสยิดมากขึ้นซึ่งปัจจุบันก็นับว่าได้รับความสำเร็จอย่างมากมาย ในการบริหารงานตามพ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม มาตรา4   มัสยิดในฐานะศูนย์รวมทางด้านจิตวิญญาณประกอบด้วยการเป็นสถานที่สอนอบรมคุณธรรม จริยธรรม มัสยิดที่บริหารงานอยู่จึงจัดตั้งศูนย์อบรมจริยธรรมสอนศาสนาอิสลามขึ้น ซึ่งมีการเรียนการสอนเป็นประจำ นอกจากในวันศุกร์ที่ทุกคนต้องมายังมัสยิดแล้วยังเปิดให้มีการเรียนการสอนขึ้นที่ศูนย์อบรมจริยธรรมศาสนาอิสลามของมัสยิดต้นสนอีกด้วย โดยผู้เข้าอบรมเป็นประจำในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 300-400 คน โดยแบ่งชั้นเรียนตามเกณฑ์อายุและความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานโดยมีผู้เข้าอบรมตั้งแต่ 6 ขวบ ถึง 75 ปีขึ้นไปโดยได้ยึดมั่นในแนวทางปฏิบัติเอาไว้โดยรวมๆด้วยการบริหารงานดังกล่าว ปัจจุบันมัสยิดต้นสนจึงถือเป็นมัสยิดตัวอย่างมัสยิดหนึ่ง โดยที่ในแต่ละปีนอกจากจะวัดผลจากการเผยแพร่คุณธรรม จริยธรรมจากคนในละแวกหมู่บ้านตำบล ซึ่งมัสยิดนี้มีสัปบุรุษในสังกัดเกือบ 2000 คนแล้วยังมีองค์กรต่างๆมาเยี่ยมเยียนดูงานศึกษางานรับฟังบรรยายในแต่ละปีมากมาย อาทิ มูลนิธิสานใจไทยสู่ใจใต้ หน่วยงานของรัฐ คณะแพทย์พยาบาล คณะนายทหาร หน่วยบัญชาการรบพิเศษ ทั้งกองทัพเรือ และกองทัพบก โรงเรียน และหน่วยงานองค์กรมากมาย โดยในปีพ.ศ.2550 ที่ผ่านมามีจำนวนถึง 60 องค์กรด้วยกัน ซึ่งนับเป็นความสำเร็จเกินความคาดหมายระดับหนึ่งทีเดียว นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นสถานที่ ที่ช่วยปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงอันจะเป็นภัยต่อสังคมให้กับประเทศชาติบ้านเมืองได้อีกด้วย ข้อ 2       การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน                สำหรับในฐานะอิหม่ามผู้นำองค์กรมัสยิดซึ่งเป็นมัสยิดเก่าแก่ที่สุดคืออายุประมาณ 400 ปี จะเป็นมัสยิดตัวอย่างแห่งหนึ่งซึ่งมีผู้เข้ามาศึกษาดูงานมากมาย จึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่และผู้บริหารที่เข้มแข็งมีความรู้ความสามารถ                ผู้ที่อยู่ในสังกัดของมัสยิดนอกจากจะมีมากมายและเป็นที่ภูมิใจของมวลสัปบุรุษในสังกัดของมัสยิดต้นสนแล้ว ปัจจุบันจะเห็นว่ามีประชาชนในละแวกใกล้เคียงต้องการที่จะมาสมัครเป็นสัปบุรุษในสังกัดอีกมากมายแต่ทางมัสยิดก็มิอาจจะรับได้ ทางมัสยิดได้ให้การช่วยเหลือพนักงานตลอดจนทุกคนในสังกัดทั้งด้านความมั่นคง ความศรัทธา ซื่อสัตย์ และเปิดโอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานและความภูมิใจในองค์กรมัสยิดที่ตนเองสังกัดอยู่ กล่าวคือทั้งเจ้าหน้าที่และพนักงานตลอดจนผู้ที่มาปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ นอกจากจะมีความสบายอกสบายใจกลับไปพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมแล้ว เรียกได้ว่ามัสยิดต้นสนยังเป็นที่พักพิงทั้งในยามสุขสบาย เจ็บไข้ได้ป่วย ดีใจ ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ทุกคนจะหันกลับมาที่มัสยิด เนื่องจากผู้ที่มามัสยิดเป็นประจำจะจัดให้มีการดูแลตรวจสุขภาพ ดูแลความเป็นอยู่ตัวของเขาเอง และครอบครัว  ในทุกวันเสาร์ อาทิตย์จัดให้มีการอบรมสอนภาษาต่างประเทศ โดยมิต้องเสียค่าเล่าเรียนหรือบริจาคให้แก่มัสยิดแต่ประการใด ในด้านการศึกษาสายสามัญในแต่ละเทอม บิดามารดาสามารถเบิกค่าเล่าเรียนบุตรในภาคสามัญได้ไม่เกิน 3 คน คนละไม่เกิน 1,500 บาทเป็นต้น ในยามเจ็บไข้ได้ป่วยเมื่อมีคำร้องขอเงินช่วยเหลือมัสยิดจะพิจารณาเป็นรายๆไปตามใบเสร็จของโรงพยาบาลที่ไปรักษา บุตรหลานที่สามารถสอบชิงทุนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ นอกจากจะได้รับทุนแล้วมัสยิดจะช่วยเหลืออีกทุกปีๆละ 30,000 บาททุกคนจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา มีคณะกรรมการคอยตรวจเยี่ยมเยียนสัปบุรุษในสังกัดให้คำแนะนำพร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะ และแม้กระทั้งวาระสุดท้ายเมื่อสิ้นชีวิตทายาทต้องนำศพมาทำพิธีทางศาสนา มัสยิดก็มีหน้าที่ดูแลให้ความช่วยเหลือทุกด้านโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นหรือในทุกปี ปีละ 2 ครั้งมัสยิดจะเปิดรับเงินบริจาคพร้อมทั้งมอบเงินช่วยเหลือก้อนหนึ่งจากมัสยิดเองเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาสิ้นชีวิต โดยมอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่พวกเขาตลอดมาด้วยการบริหารงานดังกล่าวแต่เดิมเป็นเพียงความฝันที่หลายๆคนคาดว่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะมัสยิดเป็นเพียงองค์กรนิติบุคคลเล็กๆที่ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากหน่วยราชการใดๆ แต่สามารถทำงานสาธารณะกุศลอันเป็นประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองได้อย่างมากมาย ซึ่งดังกล่าวได้สร้างศรัทธาและความภูมิใจให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ที่อยู่ร่วมในสังกัดตลอดมา                โดยอิหม่ามในฐานะผู้นำองค์กร และคณะกรรมการวบริหารตลอดจนพนักงานทุกคนได้ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ว่า มือบนแห่งการเป็นผู้ให้ย่อมประเสริฐกว่ามือล่าง มือแห่งการเป็นผู้รับ

 

เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

เลือกข้อที่ 1 คือ การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์

การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้เกิดกับพนักงานหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาในองค์กรซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็น และสำคัญมาก ที่จะทำให้ลูกน้องอยู่กับองค์กรได้นานและทำงานให้กับองค์กรด้วยความเต็มใจและทำด้วยความสามารถ ดังนั้นการที่เป็นผู้นำที่ดีได้นั้นเราต้องทำให้ลูกน้องเห็นความเป็นตัวตนของเราก่อนและสร้างความเป็นกันเองต่อพนักงาน เป็นมิตรกับคนในองค์กร ต้องทำให้พวกเขาอยากอยู่กับองค์กรอยากที่จะร่วมงานกับเรา เราต้องมีความรักและความปรารถณาดีต่อลูกน้อง อยากให้ลูกน้องได้รับประโยชน์และอยากให้ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ต้องประพฤติแต่สิ่งดีงานอยู่ในศิลธรรม มีความประพฤติที่ดีเพื่อให้ลูกน้องเอาเป็นแบบอย่าง ทำให้ลูกน้องเกิดความเกรงใจต่อผู้บังคับบัญชาและมีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ มีใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งภายในองค์กร มีความเป็นกันเองต่อพนักงาน มีความอ่อนโยน ไม่ทำให้พนักงานรู้สึกกดดัน  อึดอัด ไม่อยากที่จะมาทำงาน ดังนั้นการที่ผู้บังคับบัญชาสามารถเป็นมิตรกับพนักงานจึงทำให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กรด้วยความเต็มใจ ด้วยความสามารถ ต้องทำให้พนักงานรู้สึกว่าการที่พวกเขาทำงานได้ดีเขาก็จะมีโอกาสเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ตำแหน่งที่ดีตามความสามารถจึงทำให้พนักงานตั้งใจในการทำงานให้งานออกมาได้ดีอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อที่พนักงานจะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นทุกคนในองค์กรจึงต้องรู้จักพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและมีความรู้ มีศีลธรรม จริยธรรม ทำแต่สิ่งที่ดีงามและผู้นำจะต้องทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับต่อสังคม และจะทำให้พนักงานมีความศรัทธาต่อองค์กรมากขึ้น เกิดความรักและความผูกพันธ์ต่อองค์กร

การหา Vision และ  Mission

ของบริษัท MSIG

VISION เบี้ยถูก คุ้มครองดี บริการเยี่ยม โอนประวัติได้ ลดได้ ผ่อนได้ คุ้มครองก่อนจ่ายที่หลัง ส่วนลดสูงสุด เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทั่วโลก

MISSION

- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัท

- ทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจ เชื่อใจ และศรัทธาต่อบริษัท MSIG

- บริการให้เป็นที่ยอมรับต่อลูกค้าทั่วโลก

- สร้งความมั่นใจให้กับลูกค้าเรื่องการบริการหลังการขายประกันทุกชนิด

- สร้างความมั่นคงต่อบริษัท MSIG ความน่าเชื่อถือ และการบริการ

รายงานเสนอ อ. พจนารถ  ซีบังเกิด(ข้อ๑)ภารกิจ / พันธกิจกรมการขนส่งทหารบก  แบ่งส่วนราชการออกเป็น    ๑๗   หน่วยดังนี้ 

กรมการขนส่งทหารบก

 
แผนกธุรการ
 
กองกำลังพล
 
กองยุทธการและการข่าว
 
กองส่งกำลังบำรุง
 
กองงบประมาณ
 
กองการเงิน
 
กองวิทยาการ
 
กองจัดการเคลื่อนย้าย
 
กองจัดหา
 
กองบริการ
 
กองซ่อม
 
กองคลัง
 
กองยานพาหนะ
 
กองการบิน
 
โรงเรียนทหารขนส่ง
 
กรมทหารขนส่ง รักษาพระองค์
 
กองพันทหารขนส่งซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก
 
            
                                                                                                กรมการขนส่งทหารบก  มีขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่สำคัญ  ดังนี้-      วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  แนะนำ  กำกับการ  และดำเนินการเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุงสายขนส่ง  ตามแผนและนโยบายของกองทัพบก-       ค้นคว้า  วิจัย  พัฒนา  และให้คำแนะนำทางวิชาการสายขนส่งเกี่ยวกับการผลิต  การจัดหา  การส่งกำลัง  การซ่อมบำรุง  และการบริการ-      กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะ  เฉพาะของสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง-      รวบรวมความต้องการ และพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับงบประมาณด้านส่งกำลังบำรุงสายขนส่งและการเคลื่อนย้าย  สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ  ของกองทัพบก-      ดำเนินการขนส่งกำลังพล  สิ่งอุปกรณ์  และสัตว์  ให้แก่หน่วยต่าง ๆ  ของกองทัพบก  และหน่วยอื่นที่ได้รับมอบหมาย  ด้วยการขนส่งทางบก  การขนส่งทางน้ำเฉพาะในลำน้ำ  และการขนส่งทางอากาศอย่างจำกัด-      ให้การฝึกศึกษา และอบรมกำลังพล เหล่าทหารขนส่ง และเหล่าทหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ตามนโยบายของกองทัพบก-      กำหนดหลักนิยม  จัดทำหลักสูตร  ตำรา  แบบฝึกวิชาเหล่าทหารขนส่ง  และประสานการศึกษา วิชาการเหล่าทหารขนส่ง  กับเหล่าทหารอื่น ๆ-      ทำการทดสอบ และออกใบอนุญาตขับรถยนต์ทหาร ให้แก่กำลังพลของหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพบก-      จัดทำและออกแบบเครื่องช่วยฝึก  ที่เกี่ยวกับวิชาการเหล่าทหารขนส่งกรมการขนส่งทหารบก  สามารถแยกออกเป็นงานในด้านต่าง ๆ  ได้ดังนี้                 ในด้านเกี่ยวกับการขนส่ง  มีหน่วยที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  คือ            กองจัดการเคลื่อนย้าย  มีหน้าที่  อำนวยการ  ประสานงาน  และดำเนินการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและบริการขนส่งของกองทัพบก การรับส่งสิ่งอุปกรณ์ต่างประเทศ การคลังสินค้าทหารไทย   รวมทั้งการประสานงานกับส่วนราชการ  องค์การรัฐวิสาหกิจ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและใช้บริการขนส่ง             กองยานพาหนะ  มีหน้าที่  ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพล สิ่งอุปกรณ์ และสัตว์ให้แก่หน่วยต่างๆ ของกองทัพบก และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ด้วยการขนส่งทางบกการขนส่งทางน้ำ เฉพาะในลำน้ำ  การปรนนิบัติบำรุงและการซ่อมบำรุงขั้นหน่วย              กองการบิน มีหน้าที่ ให้ข้อเสนอแนะ  วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งกำลังพล  และสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศอย่างจำกัดให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก  และหน่วยงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งการส่งกำลังอากาศยานและชิ้นส่วนซ่อม  การซ่อมบำรุงอากาศยาน  ส่งกำลังและซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์  ระดับโรงงานแบบรวมการ                 กรมทหารขนส่ง รักษาพระองค์   มีหน้าที่ อำนวยการ และดำเนินงานเกี่ยวกับการขนส่งทางถนน และทางน้ำในแผ่นดิน  ประสานงาน และกำกับดูแลเกี่ยวกับการฝึกการขนส่งทางถนน และทางน้ำในแผ่นดิน  ให้กับหน่วยทหารขนส่งต่าง ๆ ในกองทัพบก                 ในด้านเกี่ยวกับการส่งกำลังบำรุง  มีหน่วยที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  คือ                กองส่งกำลังบำรุง  มีหน้าที่  วางแผน  อำนวยการ  ประสานงาน  กำกับการ และดำเนินการเกี่ยวกับ  การส่งกำลังบำรุงสิ่งอุปกรณ์สายขนส่งให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบก                กองคลัง  มีหน้าที่ ประสานงาน และดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุม การรับ เก็บรักษาแจกจ่าย และ จำหน่ายสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง  การปรนนิบัติและซ่อมบำรุงขณะเก็บรักษา การจดทะเบียนและทำประวัติยานพาหนะ                 กองซ่อม  มีหน้าที่  ประสานงาน  และดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงและการกู้ซ่อมสิ่งอุปกรณ์สายขนส่ง การดัดแปลงยานพาหนะ การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ รวมทั้งการสนับสนุนการซ่อมบำรุงขั้นหน่วย และขั้นสนับสนุนโดยตรง เมื่อได้รับการร้องขอ                 กองพันทหารขนส่งซ่อมบำรุงเครื่องบินทหารบก  สนับสนุนการซ่อมบำรุง รวมทั้งการกู้ซ่อมด้วยยานพาหนะ หรืออากาศยาน ในอัตราของหน่วย  ให้แก่ อากาศยานของกองทัพบก และอากาศยาน ของ เหล่าทัพอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนดำเนินการตรวจสภาพอากาศยานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุง เพื่อให้อากาศยานอยู่ในสภาพใช้งานได้มากที่สุด                      ในด้านเกี่ยวกับการศึกษา  มีหน่วยรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  คือ  โรงเรียนทหารขนส่ง ซึ่งมีหน้าที่ อำนวยการ และดำเนินการฝึกศึกษาและอบรมกำลังพล เหล่าทหารขนส่งและเหล่าทหารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามนโยบายของกองทัพบก ปกครองบังคับบัญชาผู้เข้ารับการฝึกศึกษา และอบรม  กำหนดหลักนิยม จัดทำหลักสูตรตำรา แบบฝึกวิชาการเหล่าทหารขนส่ง  ประสานการศึกษาวิชาการเหล่าทหารขนส่งกับเหล่าทหารอื่น ๆ ทำการทดสอบและออกใบอนุญาตขับรถยนต์ทหาร รวมทั้งการจัดทำและออกแบบเครื่องช่วยฝึก                 ส่วนสนับสนุนการรบ  ของกองทัพบก  มีหน่วยทหารขนส่ง  สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ  ในส่วนสนับสนุนการช่วยรบ  รวม  ๒ หน่วย  ดังนี้-          กองพันทหารขนส่ง กรมสนับสนุน กองพลทหารราบที่  -          กองพันทหารขนส่ง กรมสนับสนุน กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร (จัดตั้งปีงบประมาณ ๕๑)                 ส่วนกำลังรบ  ของกองทัพบก  มีหน่วยทหารขนส่ง สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ  ระดับกองทัพภาค รวม     หน่วย ดังนี้-          กองร้อยทหารขนส่งรถยนต์บรรทุกเบา กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑-          กองพันทหารขนส่งที่ ๒๒ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๒-          กองพันทหารขนส่งที่ ๒๓ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๓-          กองพันทหารขนส่งที่ ๒๔ กองบัญชาการช่วยรบที่ ๔ส่วนภูมิภาค  ของกองทัพบก มีหน่วยทหารขนส่ง สนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ระดับมณฑลทหารบก  จังหวัดทหารบก  รวม   ๓๖  หน่วย  ดังนี้-          สำนักงานขนส่ง ศูนย์การทหารราบ-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๒-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๓-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๑๔-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสระบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกราชบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเพชรบุรี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสระแก้ว-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๒-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๓-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๒๔-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเลย-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกนครพนม-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสกลนคร-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกร้อยเอ็ด-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสุรินทร์-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกบุรีรัมย์-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๓๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๓๒-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๓๓-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเพชรบูรณ์-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกตาก-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกพิษณุโลก-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกน่าน-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกพะเยา-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกเชียงราย-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๔๑-          สำนักงานงานขนส่ง มณฑลทหารบกที่ ๔๒-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกชุมพร      -     สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกทุ่งสง-          สำนักงานงานขนส่ง จังหวัดทหารบกปัตตานีภารกิจ ของ ศูนย์อำนวยการเตรียมพร้อมด้านการขนส่ง - ดำเนินการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้านการขนส่งให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา      - ประสานการปฏิบัติและขอความร่วมมือจากส่วนราชการ , รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง- เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ในสภาวะที่ไม่ปกติ- ประสานแผนการขนส่งยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์กันอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้มีการส่งอุปกรณ์ตกค้าง- ปรับปรุงแก้ไขระเบียบคำสั่งเกี่ยวกับการรับส่งสิ่งอุปกรณ์และการขอใช้ยานพาหนะให้สอดคล้องกับสถานการณ์            ปัจจุบัน- วางแผนระดมเครื่องมือ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น โดยเฉพาะยานพาหนะประเภทลากจูง กึ่งพ่วง ชานต่ำ- เพื่อให้กองทัพบกสามารถสนับสนุนการเคลื่อนย้ายหน่วยเข้าพื้นที่ปฏฺบัติการได้อย่างทันเวลา วิสัยทัศน์และปณิธาน ของ ศูนย์อำนวยการเตรียมพร้อมด้านการขนส่งมุ่งมั่นสนับสนุนด้านการขนส่ง สนองตอบภารกิจกองทัพบกถูกต้อง ฉับพลัน ทันสมัย ประสานการปฏิบัติที่ดี มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศ   (ข้อ๒)ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานเกียรติประวัติทหารขนส่ง
          เหล่าทหารขนส่ง ได้ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการ ในกองทัพบกไทย เป็นครั้งแรกในนามของ " กรมพาหนะ "
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2448 จนกระทั่งถึงวันนี้ รวมเวลาทั้งสิ้นกว่า 90 ปีแล้ว
           ทหารขนส่ง จัดว่าเป็นหน่วยทหาร เพียงหน่วยแรก และหน่วยเดียว ที่ได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า สงครามโลกในครั้งนั้น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2457 โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง และกลุ่มประเทศเยอรมัน , ออสเตรีย , ฮังการี รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในยุโรปภาคกลางอีกฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นสงครามซึ่งอยู่ไกลจากประเทศ และ เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศเล็ก ดังนั้น พระองค์จึงทรงยึดถือ นโยบายความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
           อย่างไรก็ดี พระองค์ได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหว ระหว่างทั้งสองฝ่ายโดยตลอด พระองค์ได้ทรงพบว่า ฝ่ายเยอรมันได้กระทำการอันเป็นการทารุณโหดร้าย ต่อมนุษยชาติเป็นอย่างยิ่ง จนพระองค์ทนไม่ได้ จึงได้ทำการประท้วง ไปยังชาติเยอรมันให้ยุติการกระทำนั้นเสีย แต่เยอรมันไม่ตอบ และไม่แยแสต่อคำประท้วงใดๆ ของรัฐบาลไทย
           ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตัดสินพระทัย
ประกาศสงครามกับเยอรมันนี เมื่อปีพุทธศักราช 2460
ทั้งๆ ที่ขณะนั้น ฝ่ายเยอรมัน เป็นฝ่ายมีชัยในการรบ แทบทุกสมรภูมิ หลังจากการประกาศสงคราม กับฝ่ายเยอรมันนีแล้ว พระองค์มีพระราชประสงค ์จะส่งกองอาสาไปร่วมในสงครามด้วย โดยแบ่งเป็น 2 กอง คือ กองบิน และ กองรถยนต์ทหารบก ทั้งนี้โดยเหตุผลที่ว่า เพื่อที่จะได้ไปเรียนรู้วิธีการต่างๆ ตลอดจนเทคนิคสมัยใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่กองทัพไทยต่อไปในอนาคต
           กองทัพอาสา ออกเดินทางจากประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2460 เมื่อถึงประเทศฝรั่งเศลแล้ว ทหารในกองบินทหารบก ได้เข้าสู่ยุทธภูมิเป็นหน่วยลำเลียงพล อาวุธยุทโธปกรณ์ และเครื่องสัมภาระทั้งปวงให้แก่ ทหารในแนวหน้า และมีการสู้รบเป็นครั้งคราว ยังผลให้ทหารไทยเกิดความชำนาญ และ ปฏิบัติภารกิจได้ดียิ่ง จนได้รับคำชมเชยจากทหารสั
สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4
ตอบคำถาม ของอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิดตอบข้อที่ 1 ดิฉันช่วยงานที่บ้าน นั้นคือ การผลิตและจำหน่ายน้ำดื่ม ซึ่งหน้าที่ของ ดิฉัน คือ เป็นคนวางแผนงานและควบคุมคุณภาพของน้ำ ในแต่ละวัน และเกี่ยวข้องกับ vision mission โดยตรง เพราะเป็นคนกำหนดแผนงานหรือภารกิจให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้                 ที่โรงงาน วิสัยทัศน์ คือ การทำน้ำดื่มให้มีรสชาติเหมือนอย่างน้ำฝนตามธรรมชาติ   ดังนั้น หน้าที่ของดิฉัน ต้องคอยตรวจสอบค่าน้ำ ที่ผลิตออกมาในแต่ละวัน เพื่อให้ค่าคงที่เหมือนกันทุกวัน นั้นคือภารกิจที่ต้องทำ เพราะการดูแลการผลิตอย่างใกล้ชิด เป็นการยืนยันคุณภาพ และสร้างความมั่นใจ ที่จะส่งต่อไปยังผู้บริโภคได้ ตอบข้อที่ 2 ธุรกิจส่วนตัวที่บ้านเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ผลิตและจำหน่ายน้ำดื่ม มีคนงาน 6 คน สิ่งที่ดีก็คือ พนักงานมีจำนวนน้อยทำให้ดูแลทั่วถึง แต่การจะรักษาพนักงานเอาไว้ให้อยู่กับเรา ก็ต้องใช้วิธีการไม่ต่างอะไรกับบริษัทใหญ่ ๆ หรือโรงงานใหญ่ ๆ                 จากการที่อาจารย์ให้เลือก จาก The 8 key Drivers of Engagement มา 1 ข้อ ดิฉันขอเลือก Trust and integrity คือการทำอย่างไรที่จะสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้กับองค์กร โดยธุรกิจของที่บ้านดิฉัน จะปฏิบัติกับพนักงาน เหมือนคนในครอบครัว ไม่ใช่ดูแลแค่พนักงานเท่านั้นยังดูแลไปถึงครอบครัวของพนักงาน เช่น การให้ลางานไปเรื่องการเรียนของลูกพนักงานได้ เป็นต้น    นอกจากนี้ หลังเลิกงานทุกวันศุกร์  พนักงานจะมาคุยปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานของหน้าที่บุคคลนั้น ๆ ว่าเกิดปัญหาเรื่องอะไรบ้าง  ซึ่งดิฉันเห็นว่า การให้พนักงานมีส่วนร่วมแสดงออกความคิดเห็น เปรียบเหมือนเขาเป็นเจ้าของคนหนึ่งของโรงงาน จะทำให้เขาเกิดความรัก ความศรัทธา ในงานที่ทำ รวมถึงการสร้างความซื่อสัตย์พนักงานก็จะดูแลผลประโยชน์ให้กับโรงงานอีกด้วย

การที่เราเชื่อว่า ถ้าเราปฏิบัติกับพนักงานด้วยความจริงใจ เชื่อมั่นในตัวพนักงาน ไม่ได้ใช้แต่อำนาจในฐานะนายจ้าง แต่ใช้ทั้งพระเดชและพระคุณ จะทำให้พนักงานตอบกลับมาด้วยใจจริงเหมือนกัน

สุรภัทร ปานทอง รปม. รุ่นที่ 4
รายงานเสนอ อาจารย์ พจนารถ    ซีบังเกิดข้อ 1        Visison & Missionบริษัท ปูนซีเมนต์นครหวง จำกัด มหาชนสโลแกน  เราตอบสนองทุกความต้องการวิสัยทัศน์  Vision   เพื่อก้าวสู่ความเป็นที่หนึ่ง ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ สำหรับทุกความต้องการด้านปูนซีเมนต์โดยความร่วมมือร่วมใจอย่างมีประสิทธิภาพของทุกหน่วยธุรกิจภายในและภายนอกองค์กร สร้างคุณค่าขององค์กรและผลิตภัณฑ์ให้กับคู่ค้าและผู้บริโภคให้ได้ความเป็นเลิศของผู้ประกอบการที่เหนือกว่าในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป้าหมายองค์กร  Mission   1.ปูนซีเมนต์นครหลวงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญสำหรับทุกความต้องการด้านปูนซีเมนต์โดยนำเสนอปูนซีเมนต์คุณภาพสูงและตรงกับความต้องการเฉพาะในทุกด้าน 2. ร่วมมือและเกื้อกูลการทำงานของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อพัฒนาโอกาสทางธุรกิจและเติบโตไปพร้อมกัน 3. เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. เสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดกว้าง และไว้วางใจ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพในการทำงานของพนักงานโดยให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่ไม่ด้อยกว่าใคร ข้อ 2       ความภาคภูมิใจในองค์กร                                องค์กรทุกองค์กรนั้นจะมีพนักงานภาคภูมิใจในองค์กรของตนเองนั้นเขาจะต้องมีความพึงพอใจและความตั้งใจในการทำงาน พนักงานที่มีกำลังใจในการทำงานนั้นย่อมจะมีความรัก ความพอใจในงานที่ตนทำอยู่  อยากทำงานด้วยใจสมัคร  มีความสุขกับงานโดยมิต้องให้มีผู้ใดมาบีบบังคับให้ทำงาน       สิ่งที่เป็นพื้นฐานในการทำให้เกิดความภาคภูมิใจในองค์กรหรือรักหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารจะละเลยเสียไม่ได้คือ 1. รายได้  ต้องให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าครองชีพ  ไม่มีหนี้สิน ถ้ารายได้ไม่พอก็ยากที่จะรักหน่วยงาน 2. สวัสดิการ ถ้ารายได้ไม่ดีแต่สวัสดิการดี ก็พอทดแทนกันได้ สวัสดิการนี้รวมไปถึงสภาพของที่ทำงานดี ตลอดจนการช่วยให้มีสิทธิพิเศษเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ เช่น มีโอกาสไปฝึกอบรม เป็นต้น 3. ความภาคภูมิใจในองค์กร ถ้าองค์กรมีชื่อเสียง พนักงานก็มีขวัญและกำลังใจที่จะงานต่อไป บทบาทขององค์กรที่มีต่อชุมชนมีส่วนร่วมในสังคม พนักงานก็พลอยมีคนรู้จักไปด้วย  
                นางสาวศศินี  โพธิ์ทองรปม. รุ่น 4วิสัยทัศน์และหน้าที่ที่ได้รับในหน่วยงานมีความสอดคล้องกันอย่างไรวิสัยทัศน์กระทรวงมหาดไทยกระทรวงมหาดไทยจักยึดมั่นอุดมการณ์ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ส่งเสริมสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นให้ดำเนินไปด้วยความมั่นคงและราบรื่นตามระบอบประชาธิปไตย ประสานการพัฒนาระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นให้สามารถจัดทำบริการสาธารณะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว เสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งความสุขสงบส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียง และอำนวยบริการเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อที่ประชาชนจะสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีพันธกิจ                 1. ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการมีศักยภาพในการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและให้บริการสาธารณะอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน และเป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย                2. ส่งเสริมการบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้เป็นโครงข่ายที่เชื่อมโยง ไม่เฉพาะแต่หน่วยงานของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน วิสาหกิจเอกชน องค์กรชุมชน และองค์กรประชาชน ในจังหวัดเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด ภูมิภาคและประเทศโดยส่วนรวม เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติ ทั้งนี้ โดยยึดถือและคำนึงถึงเอกลักษณ์ และความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นประการสำคัญ3. ให้หลักประกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือน และการอำนวยความยุติธรรมในทุกท้องถิ่น และทุกภูมิภาคอย่างถ้วนทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสุขสงบของพื้นที่บริเวณชายแดน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ไม่เฉพาะแต่ภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์อันดี และความสมบูรณ์พูนสุขร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน
                ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย จะมีวัฒนธรรมการทำงานอย่างมืออาชีพ มีเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับองค์กรต่างๆ บนหลักของธรรมรัฐ การมีส่วนร่วม ความเสมอภาค สิทธิมนุษยชนและความรับผิดชอบต่อสาธารณะ โดยมีประเทศชาติและประชาชนเป็นเป้าหมาย
                หน้าที่ในของหน่วยงาน คือ การประสานการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการกำหนดตัวชี้วัดฯ กับส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง และ กระทรวงมหาดไทย การจัดทำตัวชี้วัดเป็นการกระตุ้นการทำงานของส่วนราชการให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของแต่ละองค์กรให้เกิดผลดีต่อประเทศหรือประชาชน เนื่องจากมีเกณฑ์การให้คะแนนที่เป็นตัวชี้วัดให้หน่วยงานทราบว่าตนเองกำลังปฏิบัติงานอยู่ในระดับไหน ส่งผลให้หน่วยงานต้องปฏิบัติตามเป้าหมายหลักให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุด เช่น  การรับฟังเรื่องราวร้องเรียนของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของรัฐจากบุคคลภายนอก ซึ่งตามตัวชี้วัดกำหนดให้เปิดช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน ทั้งหมด 5 ช่องทาง และให้ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน  เพื่อรับฟังปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์  ถึงจะถือว่าปฏิบัติตามตัวชี้วัดที่กำหนดแล้วจะได้คะแนน 5 ผลการปฏิบัติตามตัวชี้วัดสำเร็จ เป็นต้น
จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เสนออาจารย์ พจนารถ   ชีบังเกิด 

                         วิสัยทัศน์  พันธกิจของหน่วยงาน                       

หน่วยงานของข้าพเจ้าที่สังกัดและทำงานอยู่ในปัจจุบันนี้คือ กองกำกับการ ๓ กองบังคับตำรวจปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึงเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ซึ่งอยู่ในกลุ่มงานด้านกิจการพิเศษ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล ตลอดจนรักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญซึ่งผู้บังคับบัญชามอบหมาย                       

                                  วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน                     

   กองกำกับการ ๓ กองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานไว้คือ จะธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข                  

                                พันธกิจของหน่วยงาน                  

      สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความมุ่งหวังที่จะให้หน่วยงานทุกหน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจหลักที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ                    

    ความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหาษัตริย์                         

   ความสงบสุขของสังคมและชุมชน            

            ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

      ความสัมพันธ์และพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน            

    เนื่องจากหน่วยงานที่ ข้าพเจ้าที่ทำงานอยู่ เป็นหน่วยงานราชการตำรวจที่เป็นหน่วยกำลังพล ซึ่งไม่มีหน้าที่โดยตรงในการทำหน้าที่สืบสวนปราบปรามหรืองานสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมหรืองานจราจร ซึ่งสังคมส่วนใหญ่จะมองว่าข้าราชการตำรวจจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่างๆ หรือใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ผิด ซึ่งนำมาทำให้ภาพพจน์ของตำรวจโดยรวมเสียหาย  ตามที่เป็นข่าวในปัจจุบันนี้ แต่หน่วยงานที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเกี่ยวข้องตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่จะมีหน้าที่มีหน้าที่ในการถวายอารักขาและรักษาความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ พระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล ตลอดจนรักษาความปลอดภัยสถานที่สำคัญซึ่งผู้บังคับบัญชามอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีข้าราชการตำรวจจำนวนมากในการปฏิบัติหน้าที่งานทุกอย่าง จะเป็นไปตามขั้นตอน ระบบ ของราชการทุกอย่าง ในการสั่งการ ต่างๆจะถูกสั่งจากข้างบนลงมาข้างล่าง ข้าพเจ้าเองซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติจะต้องรอฟังคำสั่งในการปฏิบัติตามแผนและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่วางหรือกำหนดไว้ พันธกิจหรือวิสัยทัศน์ต่างๆผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้กำหนด ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่นี้ถ้าผู้ปฏิบัติเองต้องมีความสำนึกรับผิดชอบ  ในหน้าที่ของตนเองแล้ว หน้าที่หรืองานผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ทำ หรือวางใจให้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว ผลการปฏิบัติก็จะเกิดผลดี หรือความสงบเรียบร้อยเกิดขึ้น ไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆในหน่วยงาน หน่วยงานก็สามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      ความผูกพันหรือความรู้สึกดีต่อหน่วยงานหรือองค์กร                         อาชีพตำรวจก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งของงานในระบบราชการซึ่งมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ถึงแม้จะภาพจน์ของอาชีพนี้จะถูกมองไปในทางที่ไม่ดีหรือแต่ในความเป็นจริงแล้วตำรวจก็คือบุคคลธรรมดาสามัญทั่วไป แต่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่ต้องรักษากฎหมายเพื่อให้สังคมอยู่รวมกันด้วยความสงบสุข และเรียบร้อย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่นั้นในบางครั้งต้องเสี่ยงกับการเอาชีวิตเป็นเดิมพัน หรือเสี่ยงอันตราย แต่ตำรวจก็จะต้องปฏิบัติหน้าที่ หรือต้องทำจะหลีกเลี่ยงมิได้ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท สำหรับข้าราชการตำรวจไว้ความตอนหนึ่งว่า ....การจับผู้ร้ายนั้นไม่ถือเป็นความชอบธรรม เป็นแต่นับว่าผู้นั้นได้กระทำการครบถ้วนแก่หน้าที่เท่านั้น แต่จะถือเป็นความชอบธรรมต่อเมื่อได้ปกป้องกันเหตุร้ายให้ชีวิตและทรัพย์สินของข้าแผ่นดินในท้องที่นั้น อยู่เย็นเป็นสุขพอสมควร..... ในความคิดของข้าพเจ้าในการปฏิบัติหน้าที่และการดำรงชีวิตของตำรวจนั้น การที่ข้าราชการตำรวจทุกนายมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง  ครอบครัว  หน้าที่การงาน มีคุณธรรม  จริยธรรม และร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว เพียงแค่นี้หน่วยงานหรือองค์ก็จะสามารถทำหน้าที่ของตนเองไปได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด ส่วนความผูกพันต่อหน่วยงานนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าสถานที่ทำงานนั้นเป็นบ้านหลังที่สองของชีวิตเรา ทำอย่างไรที่จะให้สถานที่ทำงานและหน่วยงานของเราให้ดีที่สุด  เราก็จะทำ                

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รปม. รุ่น 4 รหัส 50038010028 เสนอ อ.พจนารถ ซีบังเกิด
ข้อ 1 ตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 วางหลักไว้ว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคลอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชอาคันตุกะ ดูแลควบคุมการปฏิบัติงานของตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย ปลอดภัยของประชาชนหรือปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด ช่วยเหลือพัฒนาประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย               จากการศึกษาของผู้เขียน...เห็นว่า เหตุวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อต้นปี พ.ศ. 2540 อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดจบขององค์กรที่มีการ "บริหารงานแบบราชการ" ดังที่ทราบ ลักษณะองค์กร จะมีโครงสร้างแบบสูง (Tall Organization) และมีการบริหารงานที่ยึดรายละเอียดแต่ละขึ้นตอนเป็นเป้าหมายของงาน ดังนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของระบบราชการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง จึงได้จัดทำ "แผนพัฒนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ" พ.ศ.2550-2554 โดยมี "หลักการและเหตุผล" กล่าวคือ ได้ทำ "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารและพัฒนาประเทศ ทั้งยังให้ความสำคัญในการพัฒนา "คน" ในสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และมีปรัชญาการพัฒนาที่สำคัญ คือ "จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนาการต้องเตรียมประชาชน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตัวเราก่อน ผ่อนปรนสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม น้อมนำสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตคือ...เป้าหมายสูงสุด"สำหรับเป้าหมายของการพัฒนาคน ต้องพัฒนาทั้ง "ตำรวจและครอบครัว" เพื่อให้มีอุดมการณ์แห่งชีวิต และมีรูปแบบวิถีชีวิตที่ดีงาม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าประสงค์สูงสุด คือ ความมั่นคงของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ความสงบสุขของสังคมและชุมชน และประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนข้อ 2                ปัจจัยที่ทำให้พนักงานอยู่กับองค์กร (The 8 key Drivers of Engagement) ผู้เขียน...ขอให้ความสำคัญกับหัวข้อ โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงาน องค์กรทุกองค์กรจะประสบผลสำเร็จ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้นั้น การใช้ทรัพยากรทางการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย คน เงิน วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กร จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กร                เพราะฉะนั้น...ในมุมมองของผู้เขียน...การให้ความสำคัญกับ ความก้าวหน้าของตำรวจชั้นประทวน น่าจะมีผลต่อการสร้างความผูกพันกับองค์กรและทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีความรู้สึกพอใจและอยากอยู่กับองค์กร กล่าวคือ การเลื่อนระดับของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีความรู้ความสามารถในปัจจุบันมีข้าราชการตำรวจชั้นประทวนจำนวนมากที่ศึกษาต่อจนมีคุณวุฒิสูงขึ้นในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี ประกอบกับข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีวุฒิดังกล่าวมีประสบการณ์ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่สูง โดยมีคุณสมบัติทัดเทียมกับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร เนื่องจากได้มีการปฏิบัติงานในหน้าที่ดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานาน แต่ระบบการเลื่อนระดับของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ดังกล่าวกระทำโดยการสอบแข่งขันที่มีปริมาณอัตราที่เปิดสอบน้อยและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

 

 

สุภานุช   นุพงค์  รหัส  5003810022 เลขที่  22  รปม. ๔  สวนสุนันทาฯ

สวัสดีค่ะ  อ. พจนารถ  ซีบังเกิด (สุดสวย สดใส ไร้ที่ติ)

1.  การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กร

  

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)   เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2497 โดยแปลงสภาพมาจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ทีโอที นับเป็นองค์กรที่วางรากฐานระบบสื่อสารโทรคมนาคมไทยมาเป็นระยะเวลากว่า 53 ปี ด้วยประสบการณ์อันยาวนาน ทีโอทีพร้อมให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจรตอบสนองความต้องการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด วิสัยทัศน์    มุ่งสู่การเป็นผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและสาธารณชนอย่างใกล้ชิดทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม         พันธกิจ   ให้บริการโทรคมนาคมด้วยนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ความมั่นใจด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อความมั่นคงของชาติ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม จุดเด่นการดำ เนินงาน*     มีกำไรติดต่อกันเป็นปีที่ 49*     เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลักในด้านระบบโทรศัพท์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการประชุม APEC 2003*     จัดตั้งร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ (Internet Cafe) เพื่อเป็นมาตรฐานของธุรกิจบริการร้านอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมสำ หรับเยาวชน*     เป็นผู้ให้บริการ Clean Net ราคาประหยัด*     เป็นผู้เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาประหยัดสำ หรับผู้ประกอบการร้านอินเทอร์เน็ต*     ส่งมอบความสะดวกสบายแก่ลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบ รวม 6 บริการ คือบริการเลขหมายเดียวทั่วไทย (One Number 1800) บริการทายผลกีฬาหรือเกมส์ต่างๆ (Vote Now) บริการเลขหมายพิเศษ (Follow Me) บริการรับฝากข้อความ (I-Box 1278)บริการแสดงเลขหมายเรียกเข้า (Caller ID) และบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง (Wi-FiFlexinet) นอกจากนี้ยังดำ เนินการเพิ่มบริการเพื่อให้บริการช่วงต้นปี 2547 อีก 3 บริการ คือบริการสอบถามข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน (1111) บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Certificate Authority) และบริการส่งข้อความสั้น (SMS) บนโครงข่ายโทรศัพท์ประจำที่*     ใช้วิธีการประมูลราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) เพื่อความโปร่งใส รวดเร็ว และประหยัดงบประมาณ*     ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยเน้นการแบ่งเป็นกลุ่มธุรกิจและการบริการแบบครบวงจรเพื่อประโยชน์ของลูกค้า (Customer Solution)*     กำหนดอุดมการณ์หลัก (Core Ideology) และวิถีปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศของบริษัท (TOT Way)รวมทั้งทำ ความเข้าใจกับพนักงานทุกคน เพื่อปรับแนวคิดและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง*     ทำความเข้าใจและเผยแพร่ จริยธรรมและจรรยาบรรณ แก่ผู้บริหารและพนักงานทุกคน เพื่อเป็นกรอบในการบริหารงานองค์กรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และเป็นธรรม*     ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสภาวิจัยแห่งชาติ ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 โดยในปีนี้ได้รางวัลชมเชยในเรื่องอุปกรณ์ป้องกันโทรศัพท์และเครื่องปลายทางอื่นๆจากฟ้าผ่า ไฟฟ้าแรงสูงเหนี่ยวนำ/กระโชกเข้ามาทางคู่สายโทรศัพท์ กิจกรรมเพื่อสังคม*    สนับสนุนโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และได้รับรางวัลชนะเลิศแปลงปลูกป่าขนาด 3,000 ไร่ติดต่อกันเป็นปีที่ 2   *    สนับสนุนทุนการศึกษาและการวิจัยของนักเรียน นักศึกษา และประชาชน   *    สนับสนุนการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ *    สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเรียนในถิ่นทุรกันดาร   *    ส่งเสริมสนับสนุนการให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา โดยติดตั้งโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 455 แห่งทั่วประเทศ      *    ฝึกอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตแก่นักเรียน ครู และสมาชิก อบต.*    สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนทั่วประเทศ*    พัฒนาและเปิดใช้งานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตรสำ หรับคนตาบอด*    สนับสนุนการกีฬาของเยาวชน คนพิการ และประชาชนทั่วไป*    สนับสนุนการรณรงค์ต้านความพิการในชนบท*    สนับสนุนการต้านภัยยาเสพติด*    สนับสนุนกิจการของสภากาชาดไทย*    สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์แก่โรงพยาบาลของรัฐ*    สนับสนุนการศาสนา*    สนับสนุนกิจกรรมของหน่วยราชการ*    สนับสนุนการดูแลและคุ้มครองสัตว์ 2. การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน   เมื่อใดที่ งาน ทำให้พนักงานได้ใช้จิตใจของพวกเขา ทำให้พวกเขาต้องขวนขวายหาทักษะความรู้ใหม่ ๆ และต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขาได้เติบโตก้าวหน้า เหล่านี้จะทำให้พนักงานกระตือรือร้น องค์กรที่น่าอยู่จะมีการเตรียมความต้องการขั้นพื้นฐานของพนักงานไว้ด้วยการให้โอกาสในการเรียนรู้ แม้ว่าในส่วนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตซึ่งอาจจะไม่ได้ถือกันว่าเป็นงานใช้ความรู้ แต่องค์กรที่มีความสร้างสรรค์ก็จะออกแบบงานให้มีความสำคัญเพื่อให้พนักงานที่มีประสิทธิภาพได้ดึงเอากำลังสมองออกมาใช้พอ ๆ กับกำลังกาย ซึ่งองค์กรบางแห่งสามารถทำให้พนักงานในสายงานลักษณะนี้ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและร่วมในกระบวนการพัฒนาได้ แต่สำหรับฝ่ายบริหารขององค์กรที่ดึงดูดพนักงานเอาไว้ไม่ได้มักจะเห็นว่า การฝึกอบรมพนักงานเป็นเรื่องที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก และพวกเขาก็ไม่มีเงินและเวลาสำหรับสิ่งเหล่านั้น ขณะที่ฝ่ายบริหารขององค์กรที่น่าอยู่จะเห็นว่า การให้โอกาสในการเรียนรู้แก่พนักงานนั้นเป็นเรื่องของการลงทุนเพื่อดึงดูด รักษา และขยายกำลังการทำงานในองค์กรให้อยู่ในระดับสูงได้เป็นอย่างดีองค์กรไม่เพียงจะจัดเตรียมการฝึกอบรมพนักงานอย่างเป็นทางการไว้เท่านั้น แต่ยังมีการฝึกอบรมที่อยู่นอกเหนือนั้นอีก รวมไปถึงจะมอบหมายโปรเจ็กต์งานและหน้าที่รับผิดชอบที่จะช่วยสร้างความรู้ให้พนักงานมากขึ้น

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัส 50038010012
เสนออาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด

1.       Mission Vision ของหน่วยงานคืออะไร

ชื่อหน่วยงาน : สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครVision วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรหลักด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อชี้นำและผลักดันนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ

หน้าที่หลักของสำนัก : กำหนดนโยบาย เป้าหมายการจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผล การดำเนินการตามแผนและเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ พัฒนาและให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร

งานที่เกี่ยวข้องกับ Vision : การเสนอแนะนโยบายและกำหนดแผนการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และระบบเครือข่าย การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน ตลอดจนติดตามและประเมินผลแผนการบริหารระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นศูนย์ข้อมูลในการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาเมืองของกรุงเทพมหานคร ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมาใช้พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการบริหารและเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารในระบบเครือข่ายและเป็นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร เพื่อให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการและนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในกรุงเทพมหานคร 2.       ให้เลือก The 8 Key Driver of Engagement ข้อ 7 Employee development : การพัฒนาศักยภาพของพนักงานคือ การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งแบบป้องกันและแก้ไข มุ่งเน้นการฝึกอบรม พัฒนาทักษะที่สำคัญสำหรับงานในปัจจุบัน และอนาคต เน้นการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ การฝึกอบรม พัฒนา ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ เช่น ต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค เครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นในการลดต้นทุน และเพิ่ม Productivities เป็นต้น

จุดเด่นของการพัฒนาศักยภาพ คือ

(1)    มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ขององค์กรและการวางแผนการบริหารงานบุคคล เนื่องจากการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปฏิบัติตามแผนขององค์กรที่วางไว้ให้บรรลุผล

(2)    การมุ่งไปสู่อนาคต โดยการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหรือแผนการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานในอนาคต

(3)    เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรจากการพัฒนาในเชิงรับมาเป็นเชิงรุก ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรทุ่มเทอย่างจริงจังให้กับการพัฒนาและสามารถเก็บรักษาคนที่มีคุณภาพไว้ได้

การพัฒนาศักยภาพมีความสำคัญและประโยชน์หลายประการ เพราะบุคลากรในองค์กรจะมีระบบความคิดมากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาให้ตนเองประสบความสำเร็จในระยะยาว องค์กรสามารถสร้างสมรรถนะที่ต้องการเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จในอนาคตและสามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

 

ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

เรียนอาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิด

1.  การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรวิสัยทัศน์  เป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล  พนักงานมีความสามารถสูงและอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น พันธกิจ  มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง มีเสถียรภาพเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การพัฒนาตลาดการเงิน       ธปท. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ตลาดการเงินมีมาตรฐานการดำเนินงานที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมตลาด ทั้งนี้ เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในตลาดการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันในตลาด ดังกล่าว ตลาดการเงินที่มีการพัฒนาเป็นอย่างดีมีส่วนช่วยให้การดำเนินการในตลาดการเงินของ ธปท. มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยจะช่วยส่งเสริมการใช้เครื่องมือทางการเงินของ ธปท. เพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน นอกจากนี้ ตลาดการเงินที่มีการพัฒนาและการแข่งขันสูงจะส่งผลให้กลไกการส่งผ่านนโยบายการเงินผ่านช่องทางอัตราดอกเบี้ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์                ผู้บริหารและหัวหน้างานจะรู้และตระหนักดีว่า การปฏิบัติตัว การตอบโต้ และการติดต่อสื่อสารในการบริหารงานนั้น เป็นสิ่งที่สื่อให้พนักงานเห็นว่า พวกเขามีความศรัทธาและความซื่อสัตย์ต่อพนักงานหรือไม่ และพวกเขาก็ยังทราบดีว่า สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แสดงออกให้เห็นถึงความศรัทธาและความซื่อสัตย์ต่อกัน อย่างการให้อำนาจแก่พนักงานเพื่อตัดสินใจเรื่องเล็กน้อยโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง หรือการใช้คำพูดว่า "คุณช่วย..." แทนที่จะพูดว่า "คุณควร/ต้อง..." กรณีที่คุณต้องการมอบหมายงานให้พวกเขาทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สร้างความแตกต่างในความรู้สึกที่พนักงานจะมีต่อผู้บริหารหรือหัวหน้างาน                     องค์กรบางแห่ง หัวหน้างานจะขอความเห็นจากพนักงานเมื่อมีปัญหาหรืออยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากว่า "พวกคุณคิดว่าเราควรจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์เช่นนี้" ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการให้ความศรัทธาทั้งในแง่ส่วนตัวและการงาน และนี่ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัทว่าเป็นองค์กรที่น่าทำงาน นอกจากนี้คุณควรมีการตรวจสอบว่าพนักงานรู้สึกอย่างไรต่อองค์กรและการบริหารงาน จากนั้นก็ตอบโต้ข้อมูลเหล่านั้นด้วยการแสดงความเคารพกัน    

 

พระศุภสิน ศักศรีวัน
เสนอ..อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด
..
ถ้าจะบอกว่า ใจ (Heart ) คือบ่อเกิดแห่งพลังและนำมาซึ่งผลกระทบ (effect) ต่าง ๆ คุณจะเชื่อไหม..
     
สำหรับข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นความจริงทีเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งความสุขและทุกข์ การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเกิดจากใจเป็นตัวกำหนดทิศทาง เฉกเช่นวันนี้ (เสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551) การเรียนรู้ที่สนุกสนานกับอาจารย์ที่มีภาวะด้านอารมณ์ที่บ่มเพาะและฝึกหัดมาอย่างดี ทำให้เกิด ฉันทะและความศรัทธาต่อตัวอาจารย์ ทำให้อยากเรียนและเกิดความสนุกสนานกับการเรียน ภาพแรกที่เจอคือผู้หญิงคนหนึ่ง แต่งตัวสบาย ๆ เหมาะสมซึ่งไม่รู้หรอกว่าเป็นใครมาจากไหน รู้แต่ว่าเป็นอาจารย์ที่จะสอนในวันนี้ เพราะยังปรึกษากู (google) เข้ามาทักทายและถามสารทุกข์สุกดิบ คิดในใจ อืม..ดูดีนะ อายุคงไม่เกิน 35 ทำให้เกิดความอบอุ่นและเป็นกันเอง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นก็จะอิงให้เห็นว่าสัมพันธ์กับใจ ทำให้เรามีพลังต่อการเรียนรู้ ทำใจและสมองให้เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรองรับน้ำ และเป็นประเด็นที่จะนำมาสู่การตอบคำถามในงานที่ได้รับมอบหมายของ กุญแจ 8 ดอก ที่เป็นตัวเปิดเข้าไปสู่การสร้างความผูกพันกับองค์กรเพื่อการเจริญเติบโตและยั่งยืน ซึ่งกุญแจที่ข้าพเจ้าเลือกก็คือ กุญแจดอกที่ 1 การสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ (Trust and integrity) ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าการกระทำใด ๆ ให้สมบูรณ์และดีได้มันต้องเกิดออกมาจากใจ
     
การที่จะสร้างศรัทธาและความซื่อสัตย์ให้เกิดกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ต้องเข้าใจ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าขอยกเอาคุณสมบัติและหลักธรรมทางพุทธศาสนา แยกเป็นประเด็นข้อ ๆ ดังนี้
     
ก. ต้องเป็นผู้ใหญ่ หัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาบางคนอาจมีอายุน้อยแต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่โดยตำแหน่ง ดังนั้นต้องมีคุณธรรมของผู้ใหญ่ 4 ประการ คือ
         1.
มีความรัก (เมตตา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับประโยชน์และประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกัน
         2.
มีความสงสาร (กรุณา) ปรารถนาจะให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาหลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ใฝ่ใจในการกำจัดทุกข์และบำรุงสุขให้แก่ผู้ใต้บังคับอยู่ตลอดเวลา
         3.
มีความเบิกบานยินดี (มุทิตา) เมื่อผู้ใกล้ชิดหรือลูกน้องอยู่ดีมีสุขหรือเจริญก้าวหน้า ก็พลอยยินดีเบิกบานใจ พร้อมที่จะส่งเสริมให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น
         4.
มีใจเป็นกลาง (อุเบกขา) มองเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทุกอย่างตามความเป็นจริง มีจิตใจเที่ยงตรงมั่นคง เมื่อมีคดีที่จะต้องวินิจฉัยก็วินิจฉัยตามหลักการ เหตุผล และเที่ยงธรรม
     
ข. ปราศจากความลำเอียง เป็นคนซื่อตรง ไม่หวั่นไหว เอนเอียงด้วยการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง เรียกว่า อคติ มี 4 ประการดังนี้
         1.
ลำเอียงเพราะชอบ (ฉันทาคติ) เช่น คนที่ตอนชอบหรือรักกระทำผิด ก็ไม่ลงโทษตามโทษานุโทษ
         2.
ลำเอียงเพราะชัง (โทสาคติ) เช่น คนที่ตนเกลียดกระทำถูกก็ไม่พอใจ ถ้าทำผิดก็ซ้ำเติม
         3.
ลำเอียงเพราะเขลา (โมหาคติ) เช่น คนทำผิดมาฟ้องบอกว่าคนอื่นเป็นผู้กระทำผิด ยังไม่ทันสอบสวนก็เชื่อตามฟ้องอย่างไร้เหตุผล ลงโทษคนถูกฟ้อง คนผิดเลยกลายเป็นถูก คนถูกกลายเป็นคนผิด
         4.
ลำเอียงเพราะกลัว เช่น กลัวอิทธิพล กลัวถูกตำหนิ กลัวถูกย้าย กลัวไปเสียทุกอย่าง จนไม่กล้าทำอะไร
     
ค. มีราชธรรม คือมีคุณธรรมของพระราชา แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีหน้าที่ในการบริหาร เรียกว่า ราชธรรม หรือ ทศพิธราชธรรม มีอยู่ 10 ข้อคือ
         1.
ให้ปัน (ทานํ) คือให้ทั้งวัตถุและคำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เอาใจใส่การบริการ อำนวยความสะดวกสบาย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบภัยพิบัติต่างๆ
         2.
ประพฤติดีงาม (สีลํ) คือรักษากายวาจาให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรมและกฎหมาย รักษาเกียรติภูมิของตน ไม่ประพฤติตนเป็นที่ดูถูกดูแคลนของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         3.
เสียสละ (ปริจฺจาคํ) คือเสียสละความสุขสำราญตลอดจนกระทั่งชีวิตของตนเอง เพื่อประโยชน์ของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
         4.
ซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความซื่อตรง ไร้มายา จริงใจ ไม่หลอกลวงเล่นลิ้นกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
         5.
อ่อนโยน (มทฺทวํ) คือมีอัธยาศัยไม่เย่อหยิ่ง หยาบคาย มีความสง่างามที่เกิดจากท่วงทีสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ไม่ถือตัว
         6.
เพียรเผากิเลส (ตปํ) คือพยายามเผาผลาญตัณหามิให้เข้ามาครอบงำจิต ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มุ่งมั่นแต่จะทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์
         7.
ไม่วู่วามโกรธง่าย (อกฺโกธํ) คือไม่เกรี้ยวกราด เจ้าอารมณ์ ไม่กระทำการใด ๆ ด้วยอำนาจแห่งความโกรธ แต่จะทำด้วยจิตอันสุขุม เยือกเย็น รอบคอบ
         8.
ไม่เบียดเบียน (อวิหึสา) คือไม่หลงอำนาจเที่ยวบีบคั้นเอารัดเอาเปรียบลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษ หรือยัดเยียดข้อหาให้แก่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความอาฆาตเกลียดชัง
         9.
มานะอดทน (ขนฺติ) คืออดทนต่อการงาน ถึงจะลำบากตรากตรำเพียงใดก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกเยาะเย้ยด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางเพียงใดก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ละทิ้งหน้าที่ที่รับผิดชอบ
         10.
ไม่คลาดธรรม (อวิโรธนํ) คือประพฤติตนยึดมั่นในธรรมทั้งในด้านความยุติธรรมก็ดี และในด้านนิติธรรมคือระเบียบแบบแผนก็ดี ตลอดจนธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียงเพราะถ้อยคำของผู้อื่น หรือด้วยอามิสสินจ้างใด ๆ
     
ถ้าทำได้ดังนี้ ก็จะสามารถสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา ให้เกิดขึ้นและจะเป็น กุญแจดอกหนึ่งจาก 8 ดอก ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนได้
-----------------------------------------

ค้นหา Vision และ Mission
     
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปรัชญามหาวิทยาลัย (Philosophy)
ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา
"Academic Excellence based on Buddhism"


ปณิธาน
(Aspiration)
     
มุ่งเน้นให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา พัฒนากระบวนการดำรงชีวิตในสังคมด้วยศีลธรรม  ชี้นำและแก้ปัญหาสังคมด้วยหลักพุทธธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ  วิสัยทัศน์ (Vision Statements)  
            (1)
เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาในระดับนานาชาติ
            (2)
เป็นสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมวลชนที่ผลิตบัณฑิตตามแนวพระพุทธศาสนาและบุคลากรด้านต่าง ๆ ที่มีความรู้ความสามารถ มีศีลธรรมในการดำรงชีวิตแบบพุทธ
            (3)
เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาของโลกที่สามารถชี้นำและยุติความขัดแย้งในสังคมโดยใช้หลักพุทธธรรม
            (4)
เป็นสถาบันที่เน้นทำวิจัยพัฒนาตามกรอบแห่งศีลธรรม ส่งเสริมงานวิจัยเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนาและนำผลการวิจัยไปพัฒนาสังคมและคณะสงฆ์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 พันธกิจ (Mission Statements)   
             (1)
ผลิตบัณฑิตทางด้านพระพุทธศาสนา ให้มีคุณสมบัติตามปรัชญาของมหาวิทยาลัย และกระจายโอกาสให้พระภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ และผู้สนใจมีโอกาสศึกษามากขึ้น
             (2)
ให้บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคม ชุมชน และท้องถิ่น โดยเฉพาะวิชาการทางพระพุทธศาสนา เพื่อมุ่งเน้นการเผยแผ่พุทธธรรม การแก้ปัญหาสังคม การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดสันติสุข การชี้นำสังคมในทางสร้างสรรค์ และการยุติข้อขัดแย้งด้วยหลักวิชาการพระพุทธศาสนา
             (3)
วิจัยและพัฒนางานวิชาการเชิงลึกด้านพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเผยแผ่องค์ความรู้ในระบบเครือข่ายการเรียนรู้ที่ทันสมัย
             (4)
รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งค้นคว้า ทำนุบำรุงรักษาภูมิปัญญาไทยและท้องถิ่น รวมทั้งสร้างชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันวัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม
 
วัตถุประสงค์หลัก (Objectives)  
          (1)
ผลิตบัณฑิตพระภิกษุ สามเณร ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในระดับชาติและนานาชาติ
          (2)
ผลิตบัณฑิตคฤหัสถ์ทุกคน ให้เป็นคนดี คือ คิดดี พูดดี และทำดี ตามแนวทางแห่งพระพุทธศาสนา
          (3)
บริการวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนาแก่สังคมให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นประจักษ์ชัดเจน ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
          (4)
ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้มีความเข้มแข็งทางสังคมศาสตร์ และมีคุณภาพทั้งด้านความรู้และความประพฤติ
          (5)
ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้ และเป็นศูนย์กลางทางวิชาการพระพุทธศาสนาเถรวาท
          (6)
ผลิตบัณฑิตเป็นผู้นำ เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งสมานฉันท์ ความเอื้ออาทรต่อกันและความสามัคคี โดยใช้หลักสาราณียธรรมและพรหมวิหารธรรม
          (7)
สร้างระบบการบริหารองค์การให้เป็นองค์การที่มีลักษณะของความเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนาและมีมาตรฐานระดับสากล 

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
น.ส.วิวิตรา จุลกรานต์ รปม. รุ่น 4 เรียน อ. พจนารถ ซีบังเกิด สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วิสัยทัศน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ปี 2550 – 2551)  สร้างความมั่นคงจากทรัพย์สินในความรับผิดชอบอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ  ช่วยเหลือสังคมอย่างเหมาะสม  พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในความรับผิดชอบ  ส่งเสริมให้ผู้เช่ามีความมั่นคงในชีวิตอย่างยั่งยืน  ส่งเสริมองค์กรที่ร่วมลงทุนให้บริหารกิจการแบบมีธรรมาภิบาล  ดูแลและส่งเสริมพนักงานให้มีประสิทธิภาพ มีความสุขในการทำงานและมีชีวิตที่มั่นคง พร้อมแบ่งปันช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส วิสัยทัศน์ด้านบุคลากร สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เชื่อมั่นว่า บุคลากรควรตระหนักและมุ่งมั่นที่จะประพฤติและปฏิบัติตน ให้เป็น 1. ผู้รู้ เข้าใจ ถึงบทบาทภารกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หน่วยงานที่ตนสังกัด และหน้าที่ของตนเอง ได้อย่างถูกต้องสามารถเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบได้อย่างชัดเจน 2. ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรมในการครองชีวิตทั้งส่วนตัวและการทำงาน พร้อมช่วยเหลือ แบ่งปัน เอื้ออาทรแก่ผู้ด้อยโอกาส 3. ผู้ที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน มีความมั่นคงบนรากฐานของความพอเพียง โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะดูแล ส่งเสริม สนับสนุนให้บุคลากร ได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและผลตอบแทนที่ดีอย่างเหมาะสมกับการครองชีพ 4. ผู้ใฝ่หาศาสตร์และความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของตนอยู่เสมอ “ บุคลากรเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน และองค์กรได้อย่างถูกต้อง ทั้งเป็นผู้มีจริยธรรม สามารถครองชีวิตได้อย่างพอเพียง และมั่นคง เอื้ออาทรแก่สังคมและผู้ด้อยโอกาส มีความใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ” ภารกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479 , พ.ศ. 2484 และ พ.ศ. 2491 ซึ่งบัญญัติให้มีหน้าที่ดูแล รักษา และจัดหาผลประโยชน์ ในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตลอดจนมีหน้าที่จัดงบประมาณเพื่อสนันสนุนพระราชกรณียกิจต่าง ๆ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้อ 2. Pride about the company “ความภูมิใจในหน่วยงานของตนเอง” “ความภูมิใจในหน่วยงานของตนเอง” นี้ ผู้เขียนมีความรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่สำคัญ และจำเป็นมาก เนื่องจากในการที่ทุกคนจะทำสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือการทำงาน ทุกคนมักจะทำในสิ่งที่ตนเองรัก มีความสุข หรือมีความภาคภูมิใจ ว่าสิ่งที่ท่านกระทำนั้น มีคุณค่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นั้น ถือว่า เป็นองค์กรนิติบุคคล ที่ดูแล รักษา และจัดประโยชน์ อันเนื่องจากทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยมีการดำเนินการมาอย่างยาวนาน กว่า 90 ปี และด้วยองค์กรที่ทำงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้พนักงานและลูกจ้างในสำนักงานทรัพย์สินฯ มีความรักในองค์กร และภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ในส่วนลึกในจิตใจของพนักงานและลูกจ้าง นั้นยังมองว่า การที่ได้ทำงาน ในสำนักงานทรัพย์สินฯ แห่งนี้ ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจแก่ตนเอง และวงศ์ตระกูล ที่ตนเองนั้น ได้ถวายงานแก่พระองค์ท่าน ถึงแม้ว่า งานที่พนักงานและลูกจ้างปฏิบัติอยู่ จะเป็นงานที่มิได้กระทำต่อพระพักตร์ก็ตาม จากที่กล่าวข้างต้นนี้ ผู้เขียนต้องการจะแสดงให้ท่านทั้งหลายทราบว่า “ความภูมิใจ ในหน่วยงานของตนเอง” มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจาก ตัว”ความภูมิใจ” นี้เอง ถือว่า เป็นพลังขับ ที่ทำให้พนักงานและลูกจ้างในองค์กร เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และจะปฏิบัติงานโดยเต็มความสามารถ เพื่อให้องค์กรอันเป็นที่รัก และศรัทธาของตนเอง เกิดความเจริญก้าวหน้าต่อไป
นาย ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ รหัส 50038010033
เสนออาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด 1.              Mission Vision ของหน่วยงานคืออะไร คนของเรา... รวมพลังสร้างอนาคต

วิสัยทัศน์ของเครือซิเมนต์ไทย (SCG) คือ ภายในปี พ.ศ. 2558 SCG จะเป็นองค์กรที่ได้รับ การยกย่องในฐานะเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมที่น่าร่วมงานด้วย และเป็นแบบอย่างด้านบรรษีทภิบาล และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในปี พ.ศ. 2558 SCG จะเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคที่มุ่งดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า อย่างยั่งยืนให้แก่อาเซียน และชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน มุ่งสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ภายใต้คุณภาพการบริหารงานระดับโลก สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาล และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อีกทั้งยังมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คน ด้วยสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ จากกระบวนการดำเนินงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความเป็นเลิศ

SCG เชื่อมั่นในคุณค่าและศักยภาพของพนักงาน ซึ่งจะทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ในบรรยากาศการทำงานที่เปิดเผยโปร่งใส เปี่ยมด้วยพลังแห่งความกระตือรือล้น โดยพนักงานของเราทุกคน จะยึดมั่นและปฏิบัติตามอุดมการณ์ 4 และจรรยาบรรณของ SCG ภายในปี พ.ศ. 2558 SCG จะพัฒนาพนักงานซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และประสบการณ์ให้มีความมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล...

คนของเรา... สู้เป้าหมายเดียวกัน

คนของเราเป็นพลังขับเคลื่อนให้ SCG ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินงานตลอดมา แม้หลายครั้งจะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติ แต่เพราะความร่วมมือร่วมใจ ของพนักงานทุกคน เราจึงสามารถผ่านพ้นมาได้ทุกครั้ง จากนี้ไปเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคง ตามทิศทางที่ได้กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ ท่ามกลางความท้าทาย จากการแข่งขันที่รุนแรงซับซ้อนมากขึ้น และสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับ แรงสนับสนุนจากทีมงานของเรามากขึ้น

SCG จึงเสริมสร้างค่านิยม และกำหนดนโยบายการพัฒนาคนของเรา ให้เป็นหนึ่งเดียว และมุ่งสู่จุดหมายร่วมกัน เพื่อรองรับสภาวะการณ์ดังกล่าว อาทิ พัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อเสริมศักยภาพคนของเรา ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด หรือปฏิบัติงานอยู่ในประเทศใด ให้สอดคล้องกับทิศทางการเจริญเติบโตขององค์กร นอกจากนี้ ยังสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งนวัตกรรม ที่ส่งเสริมการกล้าเปิดใจรับฟัง กล้าคิดนอกกรอบ กล้าพูดกล้าทำ กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม กล้าใฝ่เรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริมให้คนของเรา มีความพร้อมในการหมุนเวียนไปปฏิบัติงานในประเทศอื่นๆ โดยถือว่าคนของเราทุกคน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของ SCG ที่ต้องได้รับการดูแล พัฒนา และมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน อย่างเท่าเทียมกัน โดยเราสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้ระหว่างพนักงานในหน่วยงาน และประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี และเครือข่ายความเชี่ยวชาญ ที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจต่อไป
คนของเรา... เก่งและดSCG เชื่อว่าความเก่งต้องอยู่คุ่กับความดีจึงจะสามารถสร้างความเจริญเติบโตร่วมกันระหว่างองค์กร พนักงาน และสังคมรอบข้างได้อย่างยั่งยืน เราจึงเลือกเฟ้นคนที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีมาร่วมงาน คนเก่งของ SCG คืน คนที่มีความรู้ความสามารถปฏิบัติภารกิจสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ และมุ่งมั่นพัมนาทุกองค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลดีขึ้นเสมอ ส่วนเรื่องความดีนั้น SCG ถือว่าเป็นคุณลักษณะพื้นฐาน ประการหนึ่งของพวกเราทุกคน ทั้งยังส่งเสริมการใช้หลักจรรยาบรรณ และหลักบรรษัทภิบาล ในการทำงานอย่างสม่ำเสมอทุกกรณี นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้พนักงาน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองดีที่ทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม ได้อย่างเต็มภาคภูมิไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด รวมทั้งส่งเสริมให้คนของเรามีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้พนักงานสร้างสรรค์ โครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม SCG ภูมิใจที่คนของเราเป็นทั้งคนเก่งและคนดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ เราเจริญก้าวหน้ามาจนเกือบ 100 ปี มีความมั่นคงเป็นที่ยกย่องเชื่อถือ ในวงการต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติคนของเรา... เติบโตไปพร้อมกันการพัฒนาคนของเราเป็นนโยบายที่ SCG ให้ความสำคัญมาตลอดโดยมุ่งเสริม ทั้งความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการทำงาน และความรู้ที่จำเป็น ต่อการเพิ่มมุมมองด้านต่างๆ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้ SCG ยังเชื่อว่าคุณภาพชีวิตที่ดี จะนำมาซึ่งผลงานที่มีประสิทธิภาพ จึงให้ความสำคัญกับปัจจัย ที่ทำให้คนของเรามีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น อาทิ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะดวก สร้างความสุข และทันสมัย รณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน สนับสนุนกิจกรรมตามความสนใจเฉพาะด้าน และกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวของพนักงาน ดูแลสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยพัมนาสิ่งเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้นเสมอ ในทุกประเทศให้อยู่ในระดับเดียวกับองค์กรชั้นนำ เพื่อจูงใจให้คนเก่งและคนดีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเราSCG เชื่อมั่นว่าการพัฒนาคนให้เข้มแข็ง ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถ ดูแลคุณภาพชีวิต และสร้างความรักผูกพันกับองค์กร จะส่งเสริมให้คนของเราเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา SCG ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งคนและองค์กรเติบโตไปพร้อมกันอย่างมั่นคง และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นและสังคมในระยะยาว  2.       ให้เลือก The 8 Key Driver of Engagement ข้อ 7 Employee development : การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน คือ การจัดให้มีการพัฒนาพนักงานละบุคลากรทั้งแบบป้องกันและแก้ไข มุ่งเน้นการพัฒนาฝึกอบรม พัฒนาทักษะที่สำคัญ ๆ สำหรับงานในปัจจุบัน และอนาคต เน้นการเพิ่มพูน ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ การฝึกอบรม พัฒนา ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และความรู้ เช่น ต้องให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค เครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นในการลดต้นทุน และเพิ่ม Productivities เป็นต้น  ความหมายสำคัญของจุดเด่นของการพัฒนาศักยภาพ คือ  (1)    มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ขององค์กรและการวางแผนการบริหารงานบุคคล เนื่องจากการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปฏิบัติตามแผนขององค์กรที่วางไว้ให้บรรลุผล(2)    การมุ่งไปสู่อนาคต โดยการพัฒนาศักยภาพเป็นเครื่องมือหรือแผนการพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานในอนาคต(3)    เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรจากการพัฒนาในเชิงรับมาเป็นเชิงรุก ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรทุ่มเทอย่างจริงจังให้กับการพัฒนาและสามารถเก็บรักษาคนที่มีคุณภาพไว้ได้ การพัฒนาศักยภาพมีความสำคัญและประโยชน์หลายประการ เหตุเพราะบุคลากรในองค์กรจะมีระบบความคิดมากขึ้น เพื่อที่จะพัฒนาให้ตนเองให้ประสบความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงองค์กรสามารถสร้างสมรรถนะที่ต้องการเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จในอนาคตและสามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อมของสังคม ทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้นเพื่อเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภายในองค์กรนั้นเอง
นางสาวสถิภรณ์ คำพานิช
1. Work force Aligmentโดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4                                สืบเนื่องจากกรมราชทัณฑ์เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีบุคลากรที่ปฏิบัติงาน มากกว่า 10,000 คน  มีผู้ต้องขัง จำนวนประมาณ 160,000 คน  และมีเรือนจำและทัณฑสถานสำหรับควบคุมผู้ต้องขัง มากกว่า 100 แห่ง   จากการที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่  จึงจำเป็นต้องมีทิศทางให้ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ที่ปฏิบัติงาน มีความรู้ความเข้าใจเป็นไปในแนวทางปฏิบัติเดียวกัน  จึงได้กำหนดให้มี1. วิสัยทัศน์  (Vision)  เป็นองค์กรชั้นนำของอาเซียนในการควบคุม แก้ไข และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง  เพื่อคืนคนดี มีคุณค่าสู่สังคม2. พันธกิจ  (Mission)    2.1ควบคุมผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ 2.2 บำบัด ฟื้นฟู และแก้ไขพฤตินิสัยของผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ3. ค่านิยมร่วม  ((Share Value) 3.1 มีความเสียสละและทุ่มเทในการทำงาน ( อุทิศตนให้กับงาน , ทำงานเพื่อส่วนรวม ) 3.2 มีวินัย ( ตรงต่อเวลา , อยู่ในกฎระเบียบ )3.3 ใฝ่หาความรู้ (ฝึกอบรมสม่ำเสมอ, ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น)3.4 มีความซื่อสัตย์ (ซื่อสัตย์ต่อประชาชน , ซื่อสัตย์ต่อองค์กร , ซื่อสัตย์ต่อตนเอง)3.5 รักองค์กร ( สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร , มีความสามัคคี , ยอมรับกติกาการอยู่ร่วมกัน , สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน)3.6 เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างมีมนุษยธรรม , เครารพสิทธิขั้นพื้นฐาน , ให้ความเสมอภาค)3.7 มีคุณธรรม (มีความรักและเมตตาต่อเพื่อมนุษย์)                จากข้อความดังกล่าวข้างต้น ภารกิจของกรมราชทัณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ภาคส่วนใหญ่ ๆ คือ ภาควิชาการ (ผู้ปฏิบัติงานสำนัก /กอง)  ภาควิชการและภาคปฏิบัติ (ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำและทัณฑสถาน)   ดังนั้น  เมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับแดน 1 เรือนจำกลางนครปฐม  และปัจจุบันหน้าที่หัวหน้าฝ่ายเงินเดือนและบำเหน็จความชอบ   ก็พบว่า  ตัวผู้ศึกษาและเพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะทำงานอยู่ ณ ที่ใดก็ตาม ก็ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมร่วม  ทำให้งานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลที่ดี อีกทั้งเมื่อผู้บริหารจะกำหนดทิศทางไปข้างหน้าต่อไป เพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และยังพัฒนาองค์กรในด้านอื่นๆ อีก  ทั้งนี้  ก็เพราะว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องบริหารงานให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง  มิฉะนั้นองค์กรจะไม่สามารถอยู่รอดได้  หรือถ้าหากอยู่รอดได้ก็ไม่มั่นคง  และเติบโตเป็นองค์กรที่สง่างามได้--------------------------------------2. Pride about the partment of correction                                  สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติลักษณะเรือนจำรัตนโกสินทร์ศก 120 เพื่อเป็นกฎหมายหลักในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ทรงมีพระราชดำริว่า การคุกการตะรางเป็นความสำคัญของประเทศ  สมควรจะได้ก่อสร้างสถานที่และให้มีระเบียบเป็นปึกแผ่น                                   ในความเก่าแก่ขององค์กรที่มีเข็มทิศในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง  ตลอดจนในยุคปัจจุบันก็ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และค่านิยมร่วม  เพื่อให้ข้าราชการในองค์กรได้ปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน                                  ในความรู้สึกของคนทำงานคุกงานตะราง  รู้สึกว่างานที่ทำเป็นงานที่มีคุณค่า  เพราะเป็นงานควบคุมผู้กระทำผิดออกจากสังคมชั่วคราว  หากไม่มีพวกเราคนส่วนใหญ่ในสังคมจะลำบาก  เพราะเกรงกลัวผู้กระทำผิดจะทำร้ายหรือขโมยทรัพย์เกิดความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิตอีกทั้ง ผู้นำองค์กรก็ให้ความสำคัญกับข้าราชการทุกคนในเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน โดยสนับสนุนเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่างๆ ในการควบคุมผู้ต้องขัง  หรือ การสนับสนุนให้มีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ  ที่ได้รับนอกเหนือจากเงินเดือน ,  สนับสนุนให้เจริญเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  ทั้งนี้  การทำงานควบคุมและการแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง  เป็นงานที่ปฏิบัติแต่เพียงลำพังไม่ได้ ต้องมีการทำงานเป็นทีม                                 โดยสรุปแล้ว ก่อนที่จะมาทำงานที่นี่จะรู้สึกกลัว  แต่เมื่อมาสัมผัสกับงานอย่างแท้จริงแล้ว  ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดเป็นงานที่ท้าท้ายความสามารถอย่างมาก  และสามารถบอกกับใครๆ ได้ว่า  กรมราชทัณฑ์  เป็นหน่วยงานที่ทันสมัย มีการบริหารงานร่วมระหว่างประเทศ คือการประชุมการราชทัณฑ์ระหว่างประเทศ  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่แท้จริง  ในด้านวิชาการบริหารงานบุคคล ก็เข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องกับสำนักงาน ก.พ.ในการทำ H .R.                                ดังนั้น พวกเราชาวราชทัณฑ์ทุกคน จึงรู้สึกและภาคภูมิใจในองค์กรเป็นอย่างมาก พวกเรารับรู้ได้จากผลการปฏิบัติงาน  หรือ พูดกันแบบเล่นๆ ว่า ใครว่ากรมราชทัณฑ์ไม่ดีเราจะสึกโกธร  เพราะถ้าเราโกธรแสดว่าเรารักและภาคภูมิใจองค์กรเรามาก------------------------------ 
นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4
รายงาน เสนออาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิดข้อ 1สถานที่ทำงาน ที่ปฏิบัติอยู่เป็นโรงพยาบาลของทางราชการบริหารงานตามนโยบายของทางรัฐบาลมาตามสายงานกระทรวงสาธารณสุขมีสถานภาพเป็นกองเป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยยอด 500 เตียงมีแพทย์เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละแผนกมีหัวหน้าแผนกตามลำดับชั้น Vision  ของโรงพยาบาล เป็นศูนย์กลางโรคเด็กแห่งประเทศไทย   Mission  เป็นสถานที่ผลิตถ่ายทอดทางวิชาการและให้บริการด้านโรคเด็กแบบองค์รวม  Value เน้นงานคุณภาพพัฒนาระบบ เคารพในสิทธิพิชิตเป้าหมายผสานความสุขข้อ 2จะทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่มีความผูกพันองค์กรของตนเอง   โดยสร้างความศรัทธา การจะมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาได้ต้องมาตามหลักความเชื่อมีความศรัทธาในสิ่งที่เราจะทำอย่างเรื่องเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีจุดหมายว่าเน้นงานคุณภาพพัฒนาระบบทำเพื่อให้ผู้รับบริการดีที่สุดถูกต้องและได้รับความพึงพอใจเจ้าหน้าที่ทุกระดับมีคุณภาพมีคุณธรรมมีความสามารถผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้ามีความศรัทธาผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเชื่อว่าสามารถรับผิดชอบงานที่ปฏิบัติได้ดีเช่นสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้พ้นภาวะวิกฤติได้    ต้องมีความซื่อสัตย์ทั้งผู้ปฏิบัติและผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีพยาบาลช่วยชีวิตผู้ป่วยต้องซื่อสัตย์ต่อการให้ยา  ผู้บังคับบัญชาต้องมอบหมายงานให้ตรและเหมาะสมกับพนักงานเช่นพยาบาลให้ดูแลผู้ป่วย  ผู้ที่จบการเงินก็ควรให้รับผิดชอบการเงินของโรงพยาบาลด้วยความสมัครใจของบุคลากรเอง  โอกาสในการเจริญเติบโตของเจ้าหน้าที่ผู้บริหารจะเปิดโอกาสให้ทุกคนไปศึกษาต่อได้สามารถนำมาปรับวุฒิในหน่วยงานได้เพื่อเลื่อนระดับสายงานเช่นพยาบาลระดับต้นสามารถลาศึกษาต่อในระดับสูงได้
พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4
เรียน   อาจารย์ พจนารถ  ซีบังเกิด  และเพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ 4  ทุกท่านวิสัยทัศน์,  พันธกิจ,  ค่านิยม   ในหน่วยงาน  มีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?       ผู้ศึกษาทำงานอยู่ที่ ฝ่ายการเงิน กองคลังยุทโธปกรณ์สรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก  ลักษณะงานเกี่ยวกับการเงินการบัญชี มีหัวหน้าเหล่าสายวิทยาการของเหล่าทหารการเงิน คือ  กรมการเงินทหารบก  วิสัยทัศน์ กรมการเงินทหารบก  ได้กำหนดไว้ว่า  ระบบการบริหารและบริการที่มีมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  เป็นที่พึงพอใจของผู้รับและผู้ให้บริการ  บุคลากรมีศักยภาพ  คุณธรรม  จริยธรรม  และมีชีวิตการทำงานที่เป็นสุข   พันธกิจของงาน :-  พันธกิจด้านการเบิกจ่ายเงิน, พันธกิจด้านการบัญชี, พันธกิจด้านการรับ-จ่ายเงิน     พันธกิจในงานที่รับผิดชอบคือ  พันธกิจด้านการบัญชี   ระบบการบริหารและบริการที่มีมาตรฐาน ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย  : อนาคตการจัดทำบัญชีและรายงานการเงิน  หน่วยเบิกจ่ายจะบันทึกรายการเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกองทัพบก  ระบบจะบันทึกบัญชีที่เกี่ยวข้องและจัดทำรายงานการเงิน รวมทั้งงบการเงิน ตามระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ลดภาระการบันทึกบัญชี ลดภาระการจัดทำรายงานการเงิน งบการเงินหรือรายงานการเบิกจ่ายอื่นๆ  โปร่งใส  ตรวจสอบได้ : เนื่องจากรมบัญชีกลาง  หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกดูหรือสั่งพิมพ์รายงานของทุกส่วนราชการได้จากระบบ  บุคลากรมีศักยภาพ  คุณธรรม  จริยธรรม : บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถก้าวให้ทันเทคโนโลยี  และต้องมีวัฒนธรรมการทำงานแบบปรับตัวต่อเนื่อง มีค่านิยมที่ใฝ่เรียนรู้ มีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้แล้วนำความรู้มาแบ่งปัน  มีความขยัน  ซื่อสัตย์ อดทน โดยทำสิ่งที่ถูกต้องเป็นหลัก  เป็นคนมุ่งมั่น ทุ่มเทกับการทำงานและทำงานอย่างมีความสุข     อย่างไรก็ตาม  การบันทึกบัญชีในปัจจุบันยังคงใช้โปรแกรม Excel ปฏิบัติงานคู่กับความรู้พื้นฐานทางบัญชีเกณฑ์คงค้างของหน่วยใน ทบ. Version 27.4   และ  Version 28   และใช้แบบฟอร์มของ ทบ. หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  บันทึกบัญชีด้วยมือมิใช่เครื่องโดยโปรแกรมสำเร็จรูปการผูกพันของพนักงานกับองค์กร ?                              จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้เคยปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีพึงปฏิบัติต่อกัน เช่น การช่วยเหลือกันทำงาน เอื้ออาธรต่อกัน นับถือความอาวุโส ฯลฯ การมีค่านิยมบุคคลกับค่านิยมองค์กรที่สอดคล้องกันในเรื่อง สร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์  ซึ่งเป็นความผูกพันทางความคิดที่มีความเห็นตรงกันภารกิจตามหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านการงบประมาณ  การเงิน  การบัญชี  ต้องปฏิบัติงานด้วยความ ซื่อสัตย์  สุจริต  ยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม และชอบธรรม   มีกลไกการทำงานที่ชัดเจนตรวจสอบได้    งานทางด้านบัญชีถือว่าเป็นงานที่มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างหนึ่ง  การจัดทำรายงานการเงินเป็นการสรุปข้อมูลทางบัญชีเพื่อประโยชน์แก่ฝ่ายบริหารในการใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวางแผน  ควบคุม  ติดตามประเมินผลตลอดจนการตัดสินใจ      ผลตอบแทนหรือเงินเดือนที่ได้รับจากการทำงานเป็นเงินภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชน   ฉะนั้น ผู้ศึกษาจึงมีหลักในการทำงานเพื่อตอบแทนคุณของแผ่นดินดังนี้คือ  ยึดมั่นคุณธรรม   มีวินัย(ในการทำงาน)   ใฝ่เรียนรู้

 

สวัสดี ครับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด  และแล้วก็ได้ส่งงานเสียที่ หลังจากนอนซมมานานอันเนื่องมาจาก หนอนรองกระดูกมันเคลื่อน อาจารย์อย่าลือดูแลสุขภาพนะครับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการสาธารณภัยกรุงเทพมหานครให้เข้มแข็ง โดยมี  วิสัยทัศน์  ( Vission ) คือประสานเครือข่าย  เน้นการมีส่วนร่วม  มุ่งการป้องกัน  เชี่ยวชาญการบรรเทา
                                                               
 การทำงานให้เป็นในแนวทางเดียวกันกับวิสัยทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีประชากรอยู่กันหนาแน่น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวกรุงเทพมหานคร คือ สาธารณภัย ซึ่งภัยในที่นี้ขอเน้นลงไปที่ ภัยที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์  ภัยพวกนี้เกิดขึ้นกับใครแล้วย่อมต้องได้รับความสูญเสีย ทั้งร่างกาย และทรัพย์สิน ซึ่งการทำงานของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เน้นสร้างบุคลากรของสำนักตระหนักถึงการลดความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ที่ได้รับภัยต่างๆและให้สาธารณภัยในกรุงเทพมหานครลดลง อีกทั้งดำเนินการระงับบรรเทาให้ความช่วยเหลือผู้ระสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการสาธารณภัยและมีจิตสำนึกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากการที่หน่วยงานดับเพลิงในอดีต นั้นขึ้นตรงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการประสานเครือข่ายยังมีน้อยมาก ซึ่งแตกต่างปัจจุบัน การทำงานสะดวกมากขึ้นมีครือข่าย  มีการประสานหน่วยงานข้างเคียง ฝึกบุคลากรมีเกิดความชำนาญ ปฏิบัติการเชิงรุกมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานครในการสร้างระบบบริหารจัดการสาธารณภัย ที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ที่พึงปรารถนา มีหลักการดังนี้ 1. ในขณะเกิดเหตุใช้ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) หรือ ICS                โดยมีผู้บัญชาการเหตุการณ์เพียงคนเดียว (Incident Commander หรือ IC)
2.  มีการดำเนินงานตั้งแต่การป้องกัน การบรรเทา และการฟื้นฟู โดยเน้นการป้องกันมิให้ภัยเกิดเป็นหลัก
3.  ปฏิบัติงาน เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และเป็นที่พึงพอใจของประชาชน
4.  ประสานงาน ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชน
5.  ผู้นำชุมชนต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6.  ฝึกอบรมบุคลากร ให้มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการดับเพลิงและบรรเทาสา
      ธารณภัยต่าง ๆ                                                                                                                                                               พันธกิจ ( Mission )ลดความเสี่ยงและความเสียหายด้านอัคคีภัยและสาธารณภัยต่าง ๆ ที่มีต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการในการป้องกัน พัฒนาขีดความสามารถในการจัดการให้ภัยยุติลง โดยเร็ว ตลอดจนช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

   เป้าประสงค์
1. ให้สาธารณภัยในกรุงเทพมหานครลดลง
2. ดำเนินการระงับ บรรเทา ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
3. ให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร
4. ให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
       Coworkers / team  membersเพื่อนร่วมงาน                เพราะการทำงานใดงานหนึ่งต้องมีเพื่อนร่วมงานในการทำงานเพื่อที่จะได้เป็นที่ปรึกษาหรือแบ่งปันความคิดเห็นของแต่ละคนแล้วนำมาสรุปเป็นงานที่ได้รับมอบหมาย  เพราะในการทำงานจำเป็นที่จะต้องมองในมุมที่กว้างเข้าไว้ ดังนั้น  เพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง เพราะจะเป็นทั้งที่ปรึกษาและคนให้ความรู้ในเรื่องที่เราไม่ถนัดหรือไม่มีความชำนาญหรือความสามารถพอ ดังนั้น ข้อนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะได้รับจากเพื่อนร่วมงานหรือคนรอบข้าง เพราะถ้าเราไม่มีเพื่อนร่วมงานที่ดีหรือว่าถ้าเราทำงานคนเดียวสิ่งที่เราจะได้รับก็อาจจะออกมาไม่ตรงจุดหรือไม่บรรลุถึงสิ่งที่คาดไว้เพราะคนเราจะมองอะไรโดยมากเพียงด้านเดียว จึงทำให้งานที่ได้รับมอบหมายผิดพลาดหรือบกพร่องได้ เพราะฉะนั้นการมีเพื่อนร่วมงานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน เพราะเพื่อนร่วมงานจะให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะดี ๆ แก่งานของเราได้เป็นอย่างดี 
ภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035
เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ข้อ1 .การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กรองค์กรที่บริหารงานอยู่คือ องค์กร (Organization) กรมทางหลวงเป็นราชการบริหารส่วนกลาง สังกัดกระทรวงคมนาคม มีหน่วยงานในสังกัดตั้งอยู่ในภูมิภาคทั่วประเทศ  ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2545 มีหน่วยงานในสังกัด 27 สำนัก (ส่วนกลาง 13 สำนัก ในภูมิภาค 15 สำนัก)  7 กอง (1 สำนักงาน ฐานะเทียบเท่ากอง) และมีหน่วยงานที่กรมจัดตั้งให้มีฐานะเทียบเท่าระดับกอง จำนวน 10 สำนักงาน นอกจากนี้มีกองบังคับการตำรวจทางหลวงซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ใช้งบประมาณของกรมทางหลวง มีหน่วยงานในสังกัด 7 กองกำกับการ ซึ่งแต่ละกองกำกับการจะควบคุมสถานีตำรวจทางหลวง 5 สถานี วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision)

มุ่งมั่นพัฒนาระบบทางหลวงตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทาง  

พันธกิจ (Mission)
1. พัฒนาโครงการข่ายทางหลวงในเชิงบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์รายพื้นที่ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด 2. รักษาระดับมาตรฐาน ความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายทางหลวง สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ทางหลวง  3. สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการวิศวกรรมงานทาง การบริหารและกำกับดูแลการใช้ทางหลวง เพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลง  ค่านิยมองค์กร (Core Values) อุทิศตนในการพัฒนาระบบทางหลวงที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน และความรุ่งเรืองของระบบเศรษฐกิจ ให้คำมั่นและพันธะต่อความต้องการของผู้ใช้ทาง มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมงานทาง ด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) การพัฒนาระบบทางหลวงเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ  การพัฒนาทางหลวงที่ปลอดภัย การรักษาและพัฒนาระบบทางหลวงที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อม - การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกิจการบ้านเมืองที่ดี กลยุทธ์ (Strategies) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์จากระบบทางหลวง  การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงการขนส่งหลายรูปแบบ (Intermodal) การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน   การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รายพื้นที่   การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว   การให้ความสำคัญต่องานอำนวยความปลอดภัยทางถนนเพื่อป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุบนโครงข่ายทางหลวง   การเพิ่มความคล่องตัวในการสัญจรบนระบบทางหลวง การบูรณะบำรุงทางหลวงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การพัฒนาและกวดขันน้ำหนักการบรรทุก สร้างความพร้อมในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและฉุกเฉินในเชิงบูรณาการกับหน่วยงานอื่น - การเพิ่มความสำคัญของการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตทัศนีย์ภาพและรักษาสิ่งแวดล้อมในเขตทาง - การเพิ่มความสำคัญของการลดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมงานทางและการขนส่งทางถนน                 ปัจจุบันที่ปฏิบัติงานอยู่ฝ่ายสำนักงานแพทย์กรมทางหลวง ซึ่งให้การรักษาด้านร่างกาย,สุขภาพฟันเพื่อดูแลพนักงานในกรมทางหลวงให้มีสุขภาพที่ดี และพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพ
The 8 Key Drivers of Engagement                 ลักษณะงานที่เหมาะกับพนักงาน                พนักงานเข้ามาสมัครงานในตำแหน่งที่เลือกว่าสามารถปฏิบัติได้ ผลงานที่เกิดขึ้นจึงมีคุณภาพ  ได้ผลผลิตที่ตรงตามความต้องการขององค์กร มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ ภูมิใจในผลงานที่เกิดขึ้น พนักงานมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพของตนเองอย่างรวดเร็ว  หัวหน้างานให้ความสำคัญกับตัวงานที่ปฏิบัติอยู่ พนักงานมีความภูมิใจในงานที่ทำอยู่ทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพ เมื่อผลผลิตขององค์กรที่เกิดขึ้นมีคุณภาพดี องค์กรจะเป็นที่ยอมรับในสังคม พนักงานจะมีความศรัทธาในองค์กร และได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการปฏิบัติงานของตนเอง ทำให้พนักงานมีความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรที่ตนเองอยู่  การทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมกับความสามารถส่งผลดีทั้งตัวผู้ปฏิบัติเองและต่อองค์กร เป็นส่วนที่ทำให้พนักงานรักองค์กร รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและมีความผูกพันที่ต่อองค์กรที่ตนเองอยู่

 

ภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

เสนออาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

ข้อ 2  The 8 Key Driver of Engagement เลือก ข้อ 1: สร้างความศรัทธาและซื่อสัตย์ (Trust and integrity)  คือ

ในการทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณต่อตนเอง
  • 1. พึงเป็นผู้มีศีลธรรม
  • 2.พึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์
  • 3. พึงมีทัศนคติและพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและทักษะในการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ในการทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณต่อหน่วยงาน 1. พึงปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความสุจริต เสมอภาคและปราศจากอคติ2. พึงปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างเต็มกำลัง ความสามารถ รอบคอบ รวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้องสมเหตุสมผล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ 3. พึงประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลาและใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่ 4. พึงดูแลรักษา และใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่า ในการทำงานจะต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้บังคับบัญชร ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน §   1. พึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตน ทั้งในด้านการให้ความคิดเห็นการช่วยทำงานและการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งการเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย
  • 2. ผู้บังคับบัญชา พึงดูแลเอาใจใส่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในด้านการปฏิบัติงานขวัญกำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
  • 3. พึงช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในทางที่ชอบรวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมในในบรรดาผู้ร่วมงาน ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนร่วม
  • 4. พึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานตลอดจนผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมนุษยสัมพันธ์อันดี
  • 5. พึงละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
o     ดังนั้นการสร้างความศรัทธาและซื่อสัตย์ต่อ ตนเอง,องค์กร และผู้บริหาร จะทำให้เกิดผลดีแก่ตัวเราเอง และทำงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย  
วิสัยทัศน์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ มุ่งบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจ ประสานงานเครือข่าย เน้นหลักธรรมนำสังคมสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

พันธกิจ

  1. ทำนุ บำรุง ดูแล ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
  2. ส่งเสริมศาสนศึกษา เน้นความรู้คู่คุณธรรม
  3. ประสานองค์กรเครือข่าย
  4. ส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีบทบาทผู้นำด้านจิตใจ.
ข้าราชการคือผู้ทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์และบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์
  1. ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักพุทธธรรมมาพัฒนาสัมคม
  2. ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  3. การจัดการศาสนสมบัติให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชน
  4. ส่งเสริมบุคลากรด้านพระพุทธศาสนาให้สามารถปฏิบัติงานและสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจหน้าที่
 
    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในส่วนภูมิภาคหน้าที่ในฐานะตัวแทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และงานของรัฐ โดยทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง และศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

วิสัยทัศน์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ มุ่งบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจ ประสานงานเครือข่าย เน้นหลักธรรมนำสังคมสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

พันธกิจ

  1. ทำนุ บำรุง ดูแล ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
  2. ส่งเสริมศาสนศึกษา เน้นความรู้คู่คุณธรรม
  3. ประสานองค์กรเครือข่าย
  4. ส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีบทบาทผู้นำด้านจิตใจ.
ข้าราชการคือผู้ทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์และบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์
  1. ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักพุทธธรรมมาพัฒนาสัมคม
  2. ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  3. การจัดการศาสนสมบัติให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชน
  4. ส่งเสริมบุคลากรด้านพระพุทธศาสนาให้สามารถปฏิบัติงานและสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจหน้าที่
 
    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในส่วนภูมิภาคหน้าที่ในฐานะตัวแทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และงานของรัฐ โดยทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง และศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

***ข้อที่ 2  ที่ให้เลือกปัจจัยที่มีผลต่อการผูกใจและวิธีการผูกใจ

เลือกปัจจัยที่ 4 โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานเพราะเมื่อจะไปสมัครทำงานก็ต้องดูเสียก่อนว่าบริษัทแห่งนี้มีพนักงานจำนวนเท่าไหร่บริษัทใหญ่หรือไม่ งานที่ทำถูกใจใช่ไหม มีโบนัสรางวัลให้สวัสดิการต่างไห้กับพนักงานอย่างไรบ้าง

วิธีการผูกใจโดยที่บริษัทจะต้องพยายามรักษาบรรยากาศของการทำงานที่สร้างสรรค์เปิดเผยจริงใจและเชื่อมั่นในการที่พนักงานจะสามารถฟันฝ่าเพื่อบรรลุความสำเร็จแห่งตนและความเจริญร่วมกันของบริษัท

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4
 
วิสัยทัศน์
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา เป็นหน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนากิจการพระพุทธศาสนา สนองงานคณะสงฆ์ มุ่งบริการประชาชนให้เกิดความพึงพอใจ ประสานงานเครือข่าย เน้นหลักธรรมนำสังคมสู่ผลสัมฤทธิ์ของงาน

พันธกิจ

  1. ทำนุ บำรุง ดูแล ศาสนสถานและศาสนสมบัติ
  2. ส่งเสริมศาสนศึกษา เน้นความรู้คู่คุณธรรม
  3. ประสานองค์กรเครือข่าย
  4. ส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีบทบาทผู้นำด้านจิตใจ.
ข้าราชการคือผู้ทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์และบริการประชาชน
ยุทธศาสตร์
  1. ส่งเสริมสนับสนุนการนำหลักพุทธธรรมมาพัฒนาสัมคม
  2. ให้การอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  3. การจัดการศาสนสมบัติให้เกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและประชาชน
  4. ส่งเสริมบุคลากรด้านพระพุทธศาสนาให้สามารถปฏิบัติงานและสนองงานคณะสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อำนาจหน้าที่
 
    สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นหน่วยงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในส่วนภูมิภาคหน้าที่ในฐานะตัวแทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่ง มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และงานของรัฐ โดยทำนุบำรุง ส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  2. รับสนองงาน ประสานงาน และถวายการสนับสนุนกิจการและการบริหารการปกครองคณะสงฆ์
  3. เสนอแนวทางกำหนดนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
  4. ส่งเสริม ดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถานและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
  5. ดูแล รักษา และจัดการวัดร้าง และศาสนสมบัติกลาง
  6. พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา
  7. ทำนุบำรุงพุทธศาสนศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

***ข้อที่ 2  ที่ให้เลือกปัจจัยที่มีผลต่อการผูกใจและวิธีการผูกใจ

เลือกปัจจัยที่ 4 โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงานเพราะเมื่อจะไปสมัครทำงานก็ต้องดูเสียก่อนว่าบริษัทแห่งนี้มีพนักงานจำนวนเท่าไหร่บริษัทใหญ่หรือไม่ งานที่ทำถูกใจใช่ไหม มีโบนัสรางวัลให้สวัสดิการต่างไห้กับพนักงานอย่างไรบ้าง

วิธีการผูกใจโดยที่บริษัทจะต้องพยายามรักษาบรรยากาศของการทำงานที่สร้างสรรค์เปิดเผยจริงใจและเชื่อมั่นในการที่พนักงานจะสามารถฟันฝ่าเพื่อบรรลุความสำเร็จแห่งตนและความเจริญร่วมกันของบริษัท

นายชัยรัตน์ พัดทอง 50038010045

      ....เสนอ อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด.....      

 ข้าพเจ้าเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตปทุมวัน ฝ่ายทะเบียน 
วิสัยทัศน์สำนักงานเขตปทุมวัน
เศรษฐกิจรุ่งเรือง ศูนย์เมืองแฟชั่น สร้างสรรค์การท่องเที่ยว


ข้อ 1. หน้าที่มีความเกี่ยวข้องดังนี้
ด้านจราจร
      1. จัดให้มีทางจักรยานและที่จอดรถจักรยานในถนนทุกสายที่สภาพถนนเอื้ออำนวยเพื่อส่งเสริมการใช้จักรยานของประชาชนและเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ขับขี่
      2. เพิ่มจำนวนอาสาจราจรและเทศกิจอาสาจราจร เพื่ออำนวยความสะดวกและประสานงานการจราจรเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
      3. รณรงค์และเสริมสร้างวินัยจราจร ส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย อบรม เผยแพร่ความรู้ทางการจราจรให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป

ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน

      1. จัดการคุณภาพน้ำเสียในคูคลอง พร้อมทั้งฟื้นฟูสภาพแม่น้ำลำคลองให้สวยสะอาด
      2. สามารถแก้ไขปัญหาจุดอ่อนน้ำท่วมในพื้นที่เขตได้ทันท่วงที
      3. ควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะ โดยการเข้มงวดการตรวจจับรถยนต์ก่อมลพิษ
      4. เพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่โดยเปลี่ยนที่รกร้างเป็นสวนหย่อมหรือพื้นที่สีเขียว
      5. จัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม ตลอดจนกำหนดมาตรการจูงใจให้ประชาชนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียว
      6. กำหนดมาตรการและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ประชาชน เอกชน และหน่วยราชการ ร่วมกันอนุรักษ์พลังงาน
     7. บริการเก็บขยะมูลฝอยสม่ำเสมอ ให้ทุกที่สะอาด ไม่มีขยะตกค้าง
     8. ส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ตลอดจนการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการลดและแยกมูลฝอย
     9. มีการกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างทั่วถึงและถูกวิธีในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ด้านความปลอดภัยและสาธารณภัย

      1. จัดให้มีการดูแล ตรวจตรา เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง และกลุ่มเสี่ยงอาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่อาสาสมัครเพื่อนชุมชน
      2. ลดพื้นที่เสี่ยงโดยจัดให้มีการสำรวจพื้นที่ติดตั้งไฟฟ้าให้ความสว่างในพื้นที่เสี่ยง ตรอก ซอยต่าง ๆ
      3. เพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำได้อย่างรวดเร็วและพัฒนาประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทำ
      4. เข้มงวดการขออนุญาตก่อสร้างและต่อเติมอาคาร ควบคุมการก่อสร้างอาคาร การใช้อาคาร รวมทั้งเร่งรัดการตรวจสอบฯ
      5. สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยปรับบทบาทหน่วยดับเพลิง เทศกิจ อปพร. และอาสาสมัครของ กทม. เข้าร่วมงานช่วยเหลือชุมชนในการสอดส่องดูแลความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
      6. เตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุฉุกเฉินในชุมชน โดยให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณภัย

ด้านการศึกษา

      1. จัดบริการทางการศึกษาในระดับประถมและมัธยมศึกษาอย่างเพียงพอและสอดคล้องต่อความต้องการของชุมชน
      2. พัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเพิ่มแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
      3. เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและประชาชนร่วมจัดการและสนับสนุนการศึกษา

ด้านคุณภาพชีวิต

      1. จัดกิจกรรมกีฬานันทนาการ แหล่งเรียนรู้และกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองให้กับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและสร้างทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิต
      2. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีภูมิคุ้มกันต่อโรคติดต่อ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรค
      3. ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวโดยเสริมสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี เพื่อป้องกันและลดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
      4. ส่งเสริมการป้องกันปัญหายาเสพติดและอบายมุขอื่นๆ พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมและความเอื้ออาทรในสังคม 
      5. ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากโรคติดต่อและเหตุเดือดร้อนรำคาญ อันเกิดจากสุนัขจรจัดและสัตว์เลี้ยง
      6. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดูแลสุขลักษณะของอาคารสถานประกอบการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
     7. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มหรือชุมชนผู้บริโภคของประชาชน ตลอดจนดำเนินการฝึกอบรมสัมมนา และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิผู้บริโภค
    8. ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยตรวจอาหารที่วางขายไม่ให้ปนเปื้อนสารพิษ ควบคุมดูแลตลาดสด ให้สะอาดได้มาตรฐาน
      9. จัดสวัสดิการสังคมและการสงเคราะห์ที่จำเป็นแก่ผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
     10. เสริมสร้างจิตสำนึกและการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติศาสตร์

ด้านเศรษฐกิจ

       1. ส่งเสริมการสร้างอาชีพและการจ้างงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ด้านการท่องเที่ยว 
       2. ส่งเสริมและให้ความรู้ในการใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้องแก่ประชาชน
       3. พัฒนาชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารเงินกองทุนที่ได้รับจากเขต อย่างมีประสิทธิภาพ
      4. ส่งเสริมกิจการขนาดย่อมโดยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในชุมชน และจัดหาตลาดรองรับสินค้าในชุมชน

ด้านผังเมือง

      1. ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์และสร้างทางเดินริมแม่น้ำลำคลอง เพื่อให้ประชาชนใช้ท่องเที่ยวและสัญจร
      2. ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของถนน เกาะกลางถนน และทางเดินเท้าให้มีความเป็นระเบียบ สวยงาม

ด้านบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

      1. พัฒนากลุ่มและเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์งานพัฒนาคุณภาพชีวิต และแก้ปัญหาตามความต้องการของพื้นที่
      2. ประชาสัมพันธ์และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่าง ๆ พร้อมพัฒนาระบบการประสานงานเพื่อพัฒนาชุมชน
      3. พัฒนาระบบงานเพื่อลดขั้นตอนและรอบเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติราชการ
      4. นำมาตรการราชการใสสะอาดมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
      5. เร่งรัดการใช้จ่ายให้กระจายสู่พื้นที่ได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามแผน
      6. ลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคและพลังงานเชื้อเพลิง
      7. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของเขตให้ครอบคลุมในพื้นที่
      8. พัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน รวมทั้งรับปัญหาและติดตามแก้ไขปัญหาร้องเรียน เพื่อสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชน
      9. พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความรู้ ความสามารถ ทัศนคติอย่างเป็นระบบทั่วถึง และต่อเนื่อง

ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1.    พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการในสำนักงานเขต

สรุป
      1. มีการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัดและปลอดภัย
      2. มีสภาพแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ
      3. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      4. ประชาชนได้รับบริการทางการศึกษาที่ได้มาตรฐานทั้งในและนอกระบบอย่างทั่วถึง
      5. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกด้านศิลปะวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ความเป็นไทย
      6. เสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” 
     7. มีการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามผังเมือง และมีสภาพภูมิทัศน์ที่เป็นระเบียบ เรียบร้อย สวยงาม
     8. การบริหารจัดการโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม 
     9. ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัยและรวดเร็วอย่างทั่วถึง


            ข้อ 2. ความภาคภูมิใจในที่ทำงาน               
      ย้อนหลังไปประมาณสองร้อยปีก่อน  ท้องที่เขตปทุมวันมีลักษณะเป็นทุ่งนา มีสภาพเป็นชนบทชานเมือง การไปมาหาสู่ใช้เส้นทางคมนาคม เพียงทางเดียว คือ ทางเรือ โดยมีคลองแสนแสบเป็นเส้นทางคมนาคม เชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณนี้ พระองค์ทรงเห็นว่าบริเวณคลองแสนแสบ ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นเขตนาหลวง มีบัวพันธุ์ไทย ขึ้นตามหนองบึงอยู่มาก จึงมีพระราชประสงค์จัดทำเป็นสระบัวชานกรุงขึ้นไว้สำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อน  ได้ทรงนิมนต์พระสงฆ์มารับบิณฑบาตโดยสม่ำเสมอ ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามหลวงขึ้น และพระราชทานพระอารามหลวงนั้นว่า  "วัดปทุมวนาราม"  ซึ่งมีความหมายว่า  "ป่าบัว" บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า "ตำบลปทุมวัน" ซึ่งได้แก่วัดปทุมวนารามและบริเวณใกล้เคียง  ส่วนที่ประทับยามเสด็จประภาสสวนสระบัวก็คือ "พระราชตำหนักวังสระปทุม" ครั้นใน พ.ศ.2457 กรมพระนครบาลได้ประกาศจัดตั้งอำเภอปทุมวันขึ้น  โดยในระยะแรกได้ใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ซึ่งตั้งอยู่มุมถนนทรงวาด) เป็นที่ทำการ เมื่อ พ.ศ.2459 จึงได้จัดตั้งที่ว่าการอำเภอปทุมวันขึ้น และมีที่ทำการอยู่มุมสี่แยกปทุมวัน เนื่องจากระดับชั้นของความเจริญเติบโตของอำเภอปทุมวันอยู่ในระดับสูง ประชาชนหลั่งไหลอพยพเข้ามาประกอบการค้า และทำมาหากินในท้องที่ปทุมวันมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านการจราจร ด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบกับอาคารของ  ที่ว่าการอำเภอปทุมวันเดิมนั้น อยู่ในภาพชำรุด ทรุดโทรมและคับแคบ ประชาชนติดต่อราชการไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2506 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันคือ สำนักงานเขตปทุมวัน ตั้งอยู่เลขที่216/1 ซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระราม 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
      สำนักงานเขตแบ่งการบริหารออกเป็น 10 ฝ่าย ขอยกตัวอย่างฝ่ายทะเบียน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้บริการเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนทั่วไป ได้แก่ ทะเบียนครอบครัวและพินัยกรรม ทะเบียนชื่อ ชื่อสกุล ทะเบียนมูลนิธิ การทะเบียนมัสยิดอิสลาม และทะเบียนศาลเจ้าการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตลอดจนการดำเนินการแก่ผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมประทับใจมากกับลูกศิษย์ MPA รุ่น 4

มีคนเข้ามาดูใน blog นี้แล้วมาก

ผมจะเข้ามาสอนวันอาทิตย์นี้ และจะได้มีเวลาอยู่ด้วยกันทั้งวัน

เช้าวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ เวลา 6-7โมง อยากให้นักศึกษาได้ฟังรายการวิทยุ Human Talk ของผมทางคลื่น 96.5 เมื่อฟังแล้ว ให้คิดว่าได้อะไร

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

รายงานเสนอ อ. พจนารถ ซีบังเกิด 

  • The 8 Key Driver of Engagement
  • ข้อ 1: การสร้างความศรัทธา (ทั้งในและนอกองค์กร)

  ในการสร้างศรัทธานั้น คือ กระบวนการสร้างความเชื่อถือและเชื่อมั่นให้เกิดกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งอาตมาคิดว่าเชื่อมโยงกับ คำว่า วิสัยทัศน์ ถึงแม้ว่าคำจะแตกต่างกันก็ตามที ซึ่งวิสัยทัศน์นี้ก็เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อองค์กร โดยคณะกรรมการและผู้บริหารร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์องค์กร ซึ่งจะยึดถือความคิดเห็นของคนผู้ใดผู้หนึ่งก็หาไม่  ในเรื่องของการสร้างศรัทธานี้ก็เช่นกัน คนในองค์กรต้องร่วมกันสร้างร่วมกันรักษาศรัทธาที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และ พัฒนาการให้เกิดความศรัทธาและความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น 

  • โดยปกติแล้วคำว่า ศรัทธา คนเรามักคิดว่า เชื่อหรือศรัทธาในสิ่งศักสิทธ์ หรือสิ่งที่ลี้ลับ ที่ตนคิดว่า จะอำนวยความสุขความเจริญให้ หรือศรัทธาในคำสั่งสอนของศาสดาในแต่ละศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำที่สำคัญในแต่ละศาสนาที่ตนหรือเราท่านทั้งหลายนับถือนี้ก็เป็นอีกในแง่มุมหนึ่งที่เราคิดกัน
  • แต่ในที่นี้ มุ่งเน้นถึง ความศรัทธา ที่จะเกิดกับบุคคลภายในองค์กร และภายนอกองค์  ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นคงหรือความยั่งยืนให้เกิดแก่องค์กร

ในเรื่องการสร้างศรัทธานี้ จะต้องสร้างให้เกิดทั้งภายในองค์กร และ ภายนอกองค์กร

  • การสร้างศรัทธาจากภายใน คือ การสร้างศรัทธาในระดับผู้นำและผู้บริหารทุกระดับตลอดจนพนักงานภายในองค์กร โดยผู้นำต้องต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในคุณค่าของตน ของคนทุกชั้นในองค์กรในด้านของความรู้ความสามารถ ไม่มีมีการแบ่งแยก ส่วนนี้ก็จะช่วยสร้างความศรัทธาให้เกิดกับผู้ร่วมงานภายในองค์กรได้เช่นกัน

ความศรัทธาและเชื่อมั่นในคุณค่าของคน 

  ในระดับชนชั้นผู้นำหรือผู้บริหารนั้นอาตมภาพเห็นพ้องต้องกันกับคำของคุณพารณที่ว่า "ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม  เราจะต้องมีความเชื่อในสิ่งนั้นเสียก่อน  ถ้าคุณมีความเชื่อ หรือมีความศรัทธาว่า สิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์  มันก็จะทำให้เราเกิดความมุ่งมั่น และกำลังใจจะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จ"  (ที่มาทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้ หน้า 149 บรรทัดที่ 12-15)

และ....ถ้าจะมองให้ลึกลงไป คุณพารณกล่าวว่า "ผู้บริหารควรที่จะมองพนักงานเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวองค์กร ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ร่วมงานในระบบงานเท่านั้น" (ที่มา หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันแท้ ของ อ.จีระ  หน้าที่ 151 บรรทัดที่ 10-12)

  • ในส่วนของการสร้างศรัทธาให้เกิดกับบุคคลภายนอกองค์กร อาตมาภาพมีความเห็นว่า ต้องนำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริงแบบตรงไปตรงมากับลูกค้า หรือแม้แต่คนภายในองค์กรเองก็เช่นกัน เพราะการนำเสนอข้อมูลตามความเป็นจริง ไม่เอาเปรียบลูกค้าหรือไม่นำเสนอข้อมูลเท็จ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้วางใจให้เกิดกับลูกค้าและผู้ร่วมงานภายในองค์กร แต่ในที่นี้มุ่งถึงคนภายนอกองค์กร ซื่งในส่วนนี้ จากการสนทนาระหว่างคุณพารณกับอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านทั้งสองก็ให้ความสำคัญกับคนทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ฯ และอีกประเด็นคือ องค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และ ต้องลงมือปฏิบัติจริงตามวิสัยทัศน์

          มิใช่ว่า วางวิสัยทัศน์ไว้สวยหรู แต่ในทางตรงกันข้ามกลับไม่เป็นไปตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ลักษณะเช่นนี้ ถือว่าเป็นการทำให้ศรัทธายับเยินอย่างยืนยงและยั่งยืน ฯ

          เพราะฉะนั้น  การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะสร้างความศรัทธาให้เกิดกับบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร นับว่าเป็นเรื่องยากยิ่งนักเพราะมิใช่เพียงแค่สร้างศรัทธาให้เกิดแล้วก็จบกันไม่ต้องทำอะไรอีก แต่ต้องรักษาความเชื่อมั่นหรือความศรัทธานั้นไว้ให้ได้ด้วย เพียรระวังมิให้ความเสื่อมเกิดขึ้น อันจะทำให้ความศรัทธาหรือความเชื่อมั่นเหล่านั้นสั่นคลอน จนถึงหมดศรัทธาลงในที่สุด

        ในทางตรงกันข้ามกับการสร้าง คือ การทำลาย หรือสร้างความเสื่อม การสร้างมิใช่เรื่องง่าย แต่การทำลายนี้สิ เพียงนิดเดียวก็อาจสร้างความเสื่อมเสียหรือความไม่เชื่อมั่นให้เกิดกับบุคคลทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรได้ ซึ่งความเสื่อมนี้ก็อาจเกิดได้ทั้ง ๒ ทาง คือ ทั้งจากคนในองค์กร ซึ่งไม่จงรักษ์ภักดีกับองค์กร หรือ อาจเกิดได้จากคนภายนอกองค์กร ซึ่งมุ่งความเสื่อม มุ่งร้ายกับองค์กรนั้น ๆ  เป็นต้น ฯ

        ไม่ว่าจะเกิดทางใดก็แล้วแต่ ที่สำคัญคือ องค์กร หรือ คนในองค์กรทุกระดับต้องมีความรักในองค์กร ศรัทธาเชื่อมั่นในองค์กรของตน สร้างความเชื่อมั่นให้เกิด รักษาความเชื่อมั่นที่ได้รับ และเพียรระวังมิให้ความเสื่อมศรัทธา หรือ ความไม่เชื่อมั่นเกิดกับบุคคลในองค์กรและนอกองค์กร ที่มีต่อองค์กรของตน ฯ

  • จงเพียรระวังรักษาความดีขององค์กรให้จงได้  เฉกเช่น เกลือรักษาความเค็ม ฯ
  • และ จงเพียรระวังรักษาความดีมิให้มีความเสื่อม(ศรัทธา)กับองค์กร เฉกเช่น นกยูง เพียรระวังรักษาขนแววหาง ฉะนั้น ฯ
  • เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ (สุภาษิตจาก บั้ง ไฟ พยานาค)
พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน รหัส 50038010009 เลขที่ 9
 ทำงานที่  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  จังหวัดนครปฐมQ :  VISION   MISSION   VALUE  ขององค์กรคืออะไร  หน้าที่ในการทำงานคืออะไร  แล้วอธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างงานในหน้าที่  กับ  VISION   MISSION ?A :   VISION  ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์                1.  มุ่งมั่น                                                                            -  สร้างความมั่นคงจากทรัพย์สินที่อยู่ในความรับผิดชอบภายใต้การบริหารจัดการอย่างมี                  ประสิทธิภาพและเป็นธรรม                -  การดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคมอย่างเหมาะสม                  -  สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นการทำนุบำรุงศาสนา  และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมตามกำลัง                  ความสามารถ                2.  จะดูแลและพัฒนา                -  อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ  ทั้งในเชิงพาณิชย์  เชิงอนุรักษ์  และเชิงสังคม                -  ส่งเสริมสนับสนุนผู้เช่าที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคง  พัฒนาชีวิตของตนเอง  ครอบครัวและ                  ชุมชนอย่างยั่งยืน                3.  จะมุ่งส่งเสริมองค์กรที่                -  ได้ลงทุนและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่  ให้บริหารกิจกรรมบนพื้นฐานของความพอประมาณ                    ความรู้  ตลอดจนมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอจากความเสี่ยงที่อาจมีขึ้น                4.  ปรารถนาให้บุคลากรทุกคน                -  มีประสิทธิภาพในการทำงานตามภารกิจและวิสัยทัศน์อย่างมีความสุข  ด้วยความมั่นคง                -  มีความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงานและการครองชีวิตส่วนตัว  บนรากฐานของความ                 พอเพียง  พร้อมแบ่งปัน  ช่วยเหลือ  เอื้ออาทรแก่สังคมและผู้ด้อยโอกาส                                            MISSION  ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์                สำนักงานทรัพย์สินฯ  มีภารกิจหลัก  2  ด้าน  คือ                1.  การจัดประโยชน์อสังหาริมทรัพย์  โดยมีอสังหาริมทรัพย์ในความดูแลประมาณ  37,000                    สัญญา  กระจายอยู่ในกรุงเทพฯ   ปริมณฑล  และส่วนภูมิภาค                  2.  การลงทุนในหลักทรัพย์  ซึ่งแบ่งเป็น  2  ส่วน                                2.1  การลงทุนระยะยาวในธุรกิจหลัก  (Core  Business)                                  2.2  การลงทุนในธุรกิจอื่น ๆ  ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยยึดหลักการ  ดูแล  รักษา  อย่างเป็นธรรม  ในการบริหารจัดการ                                             VALUE   ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์                1.  ความเป็นธรรม   จุดมุ่งหมายในการดำเนินภารกิจด้านการจัดประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินฯ  จะคำนึงถึงความถูกต้อง  เหมาะสม  ตามหลักเหตุ และผลและหลักมนุษยธรรมมากกว่าประโยชน์สูงสุดทางการเงิน เพื่อมุ่งให้การจัดประโยชน์เกิดความเป็นธรรมต่อสำนักงานทรัพย์สินฯ  ผู้เช่า  และสังคมรอบข้าง                2.  ความมั่นคง  สำนักงานทรัพย์สินฯ  จะไม่ทำอะไรแบบฉาบฉวยเฉพาะหน้า  แต่จะวิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบ  ระมัดระวัง  ไม่ประมาท  และมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่เสมอ  เพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งต่อสำนักงานทรัพย์สินฯ  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระยะยาว                3.  การพัฒนาในเชิงอนุรักษ์  ในการพัฒนาโครงการใด    สำนักงานทรัพย์สินฯ  ให้ความสำคัญทั้งในมิติของการพัฒนาและมิติของการอนุรักษ์ควบคู่กันไป  โดยยึดหลักทางสายกลาง  ยืดหยุ่น  ประนีประนอม   เพื่อการพัฒนาที่เกิดดุลยภาพทั้งในทางเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม  และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม                4.  การส่งเสริมประโยชน์ส่วนรวมตามรอยพระยุคลบาท  โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินโครงการใด    ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมส่วนรวม  เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งหวังให้พสกนิกรชาวไทยอยู่รวมกันอย่างผาสุกร่มเย็นหน้าที่ของ น.ส.พิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน                1.ควบคุมดูแลงานขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร (งานเช่าสร้าง)   พิจารณาแบบเบื้องต้นก่อนเจ้าหน้าที่จัดประโยชน์ เสนอกองช่าง    ติดตามขั้นตอนการดำเนินงานเช่าสร้าง  รวมทั้งระยะเวลาการเช่าสร้าง                                                                                  2. พิจารณาข้อร้องเรียนและข้อร้องทุกข์  เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย                                                                                    3. ตรวจสอบสภาพอาคารและแบบแปลนเบื้องต้น  กรณีมีการต่อเติมดัดแปลงอาคาร                4. ดูแลงานระวังชี้แนวเขตกรณีพิพาท และกรณีมีหนังสือแจ้งมาจากกรมที่ดิน                           5. ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และควบคุมดูแลงานเก็บเงินค่าเช่าหาบเร่รายวันให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสำนักงานฯ                 6. ทำกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เช่า ชุมชน  หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน                                         7. ดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์และงานมวลชน                                                                                                                           8. รับผิดชอบงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้สำนักงานฯ                                                                                     9. ควบคุมดูแลงานในความรับผิดชอบให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชา    ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน                การปฏิบัติหน้าที่ของงานของข้าพเจ้า ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้เช่า  และทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์  ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่ ข้าพเจ้าได้เตรียมความพร้อม  โดยมิได้คาดการณ์ในการทำงานว่าทุกสิ่งทุกอย่างสามารถดำเนินไปได้โดยปราศจากปัญหา  และอุปสรรค ซึ่งในการแก้ปัญหาแต่ละครั้ง  ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์สถานการณ์จากประสบการณ์การทำงาน  เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ดีไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
                ในพื้นที่เช่าของสำนักงานทรัพย์สินฯ  มีความหลากหลาย เป็นเหตุให้ผู้เช่ามีความแตกต่าง  ดังนั้น  ข้าพเจ้าได้มีส่วนเข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้ผู้เช่ามีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามวิสัยทัศน์ขององค์กร  ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้จัดโครงการในการเข้าไปดูแลพื้นที่เช่า เช่น  การช่วยสร้างที่อยู่อาศัย, การมอบทุนการศึกษาให้แก่ลูกหลานผู้เช่า  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาส่วนรวมที่เกิดขึ้นในสังคม
Q :  ให้เลือกปัจจัย จาก  8  ข้อ  เลือก  1  ข้อ   ว่าสนใจข้อไหน ถ้าให้สมมติเราเป็นองค์กรจะผูกใจพนักงานได้อย่างไร           A :  เลือกปัจจัยข้อ  5  Pride  about  the  company  - How  much  self- esteem   does  the            employee  feel  by  being  associated  with  their  company          ในการสร้างความรู้สึกให้พนักงานเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานอยู่ ต้องปลูกฝังตั้งแต่แรกเข้าปฏิบัติงาน  โดยการฝึกอบรมให้พนักงานทราบถึงวิสัยทัศน์   ภารกิจ  ขององค์กรสร้างแรงกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกรักองค์กร  โดยมีแผนกที่ดูแลพนักงานให้สวัสดิการที่ดี เช่น  เงินเดือน  ค่ารักษาพยาบาล  เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน            ระดับผู้บริหารให้ความสำคัญกับพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยให้ความเป็นมิตรกับพนักงานแต่มีความเกรงขาม        เมื่อ วิสัยทัศน์ ของผู้นำ กำลังก้าวไปในทิศทาง นอกจากทำงานตามหน้าที่แล้ว ผู้บริหารนั้น ต้องเป็น "ครู" ด้วย  ต้องสอนนักศึกษา ต้องถ่ายทอดประสบการณ์ได้  นั่นคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู  ครู มีคุณสมบัติ 3 ประการ ที่ผู้บริหารต้องมี คือ 1. การสื่อสาร  ถ้าสื่อสารไม่ได้ ก็สอนไม่ได้  2.  การขวนขวายหาความรู้ตลอดเวลา  เพราะโลกเปลี่ยนตลอดเวลา  ตำราที่มีอยู่ก็ต้องล้าหลังเป็นธรรมดา สุดท้าย คือ ครูที่ดีต้องสร้างศรัทธาก่อน                  จุดมุ่งหมายสูงสุดขององค์กรเราคือ อยากให้คนมองว่าเราเป็นธุรกิจแบบอย่างของคนไทย นั่นคือเรื่องของการเป็น " สถาบัน"  หมายความว่า องค์กรแห่งนี้ ย่อมไม่มุ่งจำเพาะไปที่ความมั่งคั่ง แต่เป้าหมาย คือ การสร้าง องค์ความรู้ และ ภูมิปัญญา  
นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขาการปกครองท้องถิ่น
                ปัจจุบันรับราชการตำแหน่งนักวิชาการศึกษา 7 ว. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  รับผิดชอบดูแลสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรี           วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  "เมืองน่าอยู่  การศึกษาก้าวหน้า  สิ่งแวดล้อมดี  ประเพณีดั่งเดิม   เศรษฐกิจพัฒนา  ประชาร่วมใจ  มุ่งเน้นบริการ  สร้างงานโปร่งใส"ความสัมพันธ์และพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน                องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  จัดตั้งขึ้นมาตามพระราชบัญญัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  พ.ศ. 2540  ให้มีหน้าที่ดังนี้1.ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดแย้งต่อกฎหมาย2.ทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด3.สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนอื่นๆ พัฒนาท้องถิ่น4.ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นๆ5.แบ่งสรรเงินตามกฎหมายแกสภาตำบลและส่วนราชการท้องถิ่นอื่น6.คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  บำรุงรักษาศิลปะ  จารีตประเพณี  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น7.จัดทำกิจกรรมใดๆอันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น  ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการ  หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ  ทั้งนี้ตามกำหนดในกฎกระทรวง8.จัดทำกิจกรรมใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด                  ความผูกพันธ์หรือความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงานหรือองค์กร                เดิมข้าพเจ้ารับราชการเป็นครูสังกัดเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต  2   สอนอยู่โรงเรียนประถมศึกษา  รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับทางด้านกีฬาของจังหวัดนนทบุรี  ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีได้  เปิดกองการศึกษาและได้รับโอนย้ายสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรีเข้ามาอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  หลายๆฝ่ายเห็นสมควรว่าข้าพเจ้าเหมาะที่จะเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบทางด้านกีฬาของจังหวัดนนทบุรี  จึงได้โอนย้ายข้าพเจ้ามาดำรงตำแหน่ง  นักวิชาการศึกษา 7 ว.  เพื่อมาทำหน้าที่บริการประชาชนและพัฒนาด้านกีฬาต่อนักเรียนในจังหวัดนนทบุรี  นับว่าเป็นภาระกิจที่หน้าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง  ที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านผู้ใหญ่หลายๆท่านตั้งแต่  ท่านนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  นายกเทศมนตรีต่างๆ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ตลอดจนผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆ  ที่ได้มอบภาระกิจอันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งให้                ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะพยายามทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายนี้ให้เต็มความรู้และความสามารถของข้าพเจ้า  เพื่อก่อให้เกิดความสุขและความพึงพอใจแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการสนามกีฬาจังหวัดนนทบุรีอย่างเต็มความภาคภูมใจ

           

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัส 50038010037
เรียนอาจาย์พจนารถ  ซีบังเกิด   และสวัสดีเพื่อน ๆ ชาวปรม. รุ่น4 ทุกคน  ข้อที่ 1  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ค่านิยม (Values)  ในหน่วยงานมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  วิสัยทัศน์(Vision)  มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อความเป็นไทของปวงชน พันธกิจ (Mission)    ผลิตบัณฑิตทุกสาขาตามความต้องการของสังคม ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ   สร้างองค์ความรู้เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากล   บริการความรู้และวิทยาการเพื่อความสันติและยั่งยืนของสังคม  อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้เอื้อต่อสังคมโลก  และอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน  
            ปัจจุบันผู้ศึกษาทำงานที่  งานทะเบียนและวัดผล  กองบริการการศึกษา    มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการส่งเสริมและบริการวิชาการ  เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีปัญญาและเป็นที่ต้องการขอสังคม   ส่งเสริมและการจัดการศึกษาตามนโยบายของมหาวิทยาลัย     บริการสารสนเทศทางวิชาการ  สนับสนุนการและบริการการเรียนการสอนและวัดผลให้มีคุณภาพ  และส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการให้มีคุณภาพ   นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายขององค์กรคือจะเป็นหน่วยงานบริการวิชาการที่มีระบบริหารจัดการที่เป็นสากลจนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ  ISO อย่างต่อเนื่อง   จะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับวิสัยทัศน์  และพันธกิจของมหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กร  
           ข้อที่ 2 จาก  The 8 Key Drivers of Engagement  ข้อ 7 การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน    (Employee development) จากการแข่งขันทางธุรกิจที่มากขึ้นในยุคปัจจุบัน ทำให้ทุกองค์กรจะต้องพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง และนำศักยภาพของพนักงานออกมาพัฒนางาน พัฒนาองค์กร เพื่อให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในธุรกิจ  องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น การศึกษาหาความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการสัมมนาได้กลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ  กุญแจสู่ความสำเร็จขององค์กร ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารนั้นจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในการพัฒนาและฝึกฝนอย่างเหมาะสมและดีเพียงใด ซึ่งต้องปฏิบัติงาน พัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น พนักงานซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั้นจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาบุคลากรซึ่งถือว่ามีความสำคัญทีสุดเหนือกว่าทรัพยากรอื่นใด  เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์เป็นทั้งผู้สร้าง   ผู้พัฒนาและผู้ทำลายทรัพยากรอื่น ๆ   เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญดังนั้นองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั่นเอง

 น.ส.ญานิสา   เวชโช   50038010013

ข้อที่ 1  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ค่านิยม (Values)  ในหน่วยงานมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?

กรมการจัดหางาน   เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมการมีงานทำ  คุ้มครองคนหางานและเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานของประเทศ

---มีหน้าที่หลัก  คือ  มีหน้าที่ปฏิบัติการและประสานงานเกี่ยวกับการจัดหางานให้แก่บุคคลในวัยทำงาน ให้คำปรึกษาด้านอาชีพและแนะแนวอาชีพ บริการรับลงทะเบียนบุคคลที่มีความประสงค์จะทำงาน รับเรื่องราวร้องทุกข์ของคนหางาน และปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ข้อที่ 2 จาก  The 8 Key Drivers of Engagement 

ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน

            คนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งขององค์กร เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างขององค์กร หากไม่มีคนหรือมีคนไม่มีคุณภาพ ก็จะทำให้การจัดการงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้ยาก

            ดังนั้น การที่จะทำให้พนักงานทุกคนเกิดความรัก ความผูกพัน และรู้สึกภาคภูมิใจกับองค์กร ก็คือ  การบำรุงขวัญหรือสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน การพัฒนาบุคคลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มความสามารถ รวมถึงการบำรุงรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรนานที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ความสำคัญกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่า พวกเขามีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร

บังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31
ตอบคำถามข้อ 1     วิสัยทัศน์   ( สนง. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง)สร้างความมั่นคงในอาชีพการทำสวนยางให้เกษตรกร  นำไปสู่การมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น  สังคมและชุมชนเข้มแข็งพันธกิจ(1)  ส่งเสริมสนับสนุนการปลูกยางพันธุ์ดีและไม้ยืนต้นเศรษฐกิจชนิดอื่นทดแทนยางเก่าและปลูกยางในพื้นที่ใหม่(2)  พัฒนาเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง/ตลาดยางพาราระดับท้องถิ่น(3)  ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต  และการพัฒนาคุณภาพผลผลิตงานที่เกี่ยวข้องงานที่ทำ  คือ  การจัดทำงบประมาณและการบริหารเงินขององค์กร รวมทั้งการจัดสรรเงินงบประมาณให้โครงการ/งาน/แผนปฏิบัติการ  เพื่อให้งานตามพันธกิจ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกังพันธกิจขององค์กรตอบคำถามข้อ 2     จาก 8 Key  Drivers of Engagement  มีความเห็นว่า ข้อที่จะผูกใจพนักงานในองค์กรได้มากที่สุด  คือ ข้อที่ 1 (Trust and integrity)  การสร้างความศรัทธา  ซื่อสัตย์ และความเชื่อมั่น  ให้พนักงานรู้สึกกับองค์กร  ว่าองค์กรมีความจริงใจ  ดูแลพนักงานด้วยความเสมอภาค   ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เข้าหลักการผูกพัน 3 ทาง คือ Think  Feel Act  สิ่งเหล่านี้  หากทำให้พนักงานมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์กรได้ ก็จะสามารถผูกใจพนักงานให้อยู่กับองค์กร  โดยไม่สนใจว่าบริษัทอื่นจะให้ค่าตอบแทนสูงกว่า  เพราะเขาจะไม่มั่นใจว่าบริษัทนั้นจะมีความจริงใจดูแลเขาและครอบครัวได้เท่าบริษัทเดิม
นางสาว อมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4
รายงาน เสนออาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ข้อ1 สถานที่ปฏิบัติงานอยู่นั้นคือ กรมบังคับคดี (Mission) ของกรมบังคับคดี คือ 1.ให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชี และการวางทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาคเป็นธรรมและรวดเร็ว 2. ศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบังคับคดีแพ่ง คดีล้มละลาย คดีฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ การชำระบัญชีและการวางทรัพย์ของประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม 3.พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้ทันสมัย รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงตามภาวการณ์เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและบริการประชาชนโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในสังคมและสิทธิมนุษยชน 4.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพคล่องตัวสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 5.พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญด้านการบังคับคดี 6.เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและส่งเสริมความร่วมมือและส่วนร่วมการบังคับคดีของภาครัฐภาคเอกชน ประชาชนตลอดจนไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นการบังคับคดี (Vision) ของกรมบังคับคดีคือ กรมบังคับคดีเป็นองค์กรหลักในการดำเนินการและกำกับดูแลบังคับคดีอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โปร่งใสโดยประชาชนมีส่วนร่วม ข้อ2 ความซื่อสัตย์และความศรัทธา เนื่องจากในหน่วยงานของข้าพเจ้ามีบุคลากรอยู่น้อยทำให้หัวหน้าดูแลลูกน้องได้อย่างทั่วถึงมีความเป็นกันเองและจะถามไถ่อยู่ตลอดเวลาว่างานเป็นอย่างไรบ้างทำได้ไหม เนื่องจากต่างคนก็ต่างมาจากสาขาที่ไม่ได้สอดคล้องกับงานที่ทำโดยตรงหัวหน้าจึงมีความเป็นห่วงเป็นใย มีปัญหาอะไรก็จะคุยกับหัวหน้าได้ตลอดเวลา จึงทำให้ทุกคนในหน่วยงานมีความซื่อสัตย์และศรัทธา กับหัวหน้าเป็นอย่างมากหัวหน้าเป็นคนที่รักลูกน้องจะคอยปกป้องสิทธิของลูกน้องให้เสมอเพราะหัวหน้าจะเห็นลูกน้องเป็นเสมือนกับคนในครอบครัวเดียวกันเหมือนเป็นพ่อของทุกคนมีความเป็นห่วงเป็นใยตลอดเวลาหัวหน้าเป็นคนที่รักลูกน้องจะคอยปกป้องสิทธิของลูกน้องให้เสมอ
นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018
เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด และเพื่อนๆ รปม. รุ่นที่ 4 ทุกคน                  ด้วยดิฉัน นางสาวมัลลิกา  โสดวิลัย   เป็นบุคลากรคนหนึ่งที่ทำงานภายใต้สังกัด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งบุคลากรทุกคนต้องถือปฏิบัติ  โดยมี ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ได้ระบุไว้ดังนี้ปรัชญา   การศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติวิสัยทัศน์   สถาบันการศึกษาสาธารณสุขชั้นนำในภูมิภาคเอเชียพันธกิจ   1.  จัดการศึกษาทางการสาธารณสุขทุกระดับ                   2.  ส่งเสริมสนับสนุนดำเนินการวิจัยทางการสาธารณสุข                  3.  บริการวิชาการสาธารณสุขและบริการส่งเสริมสุขภาพ                  4.  ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย                จากปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ดังกล่าวข้างต้น ทำให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ สายบริหาร และสายสนับสนุน ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คู่คุณธรรม เพื่อออกไปรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แข็งแกร่ง เป็นศูนย์กลางวิชาการ สนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างความองค์ความรู้ใหม่ ให้คำปรึกษาด้านวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนและการทำงานของบุคลากรด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพ รวมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการดำเนินชีวิต                และสืบเนื่องมาจาก ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจขององค์กรดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผูกโยงมาถึงความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน ซึ่งดิฉันมีความภาคภูมิใจในคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านการสาธารณสุขแห่งแรกของประเทศไทย ที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หรือพวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดล จะเรียกพระนามของพระองค์ท่านว่า พระราชบิดา ผู้ซึ่งวางรากฐานด้านการ          สาธารณาสุขไว้เป็นอย่างดี พวกเราชาวมหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีรากฐานด้านการสาธารณาสุขที่ดีและอยู่ได้อย่างยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้                ปัจจุบัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย 13 ภาควิชา ทั้ง 13 ภาควิชา จะผลิตบัณฑิตสาขาต่างๆ ทั้งในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ด้วยมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ นอกจากนี้ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ยังได้รับความร่วมมือจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น SEMEO-Trop.Med., WHO, UNICEF, World Bank ให้จัดหลักสูตรการศึกษานานาชาติในระดับปริญญาโทมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีบทบาทในการศึกษาเพื่อชี้นำการพัฒนาประเทศในด้านการจัดการศึกษา  การฝึกอบรม และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการวางแผนพัฒนาสาธารณสุข แก่มิตรประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการสร้างเครือข่ายด้านสาธารณสุขร่วมกัน เช่น เครือข่าย APACPH (Asia Pacific Academic Consortium for Public Health) และเครือข่าย SEAPHEIN (South East Asia Public Health Education Institution Network) เป็นต้น สำหรับการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมนั้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีสำนักงานบริการเทคโนโลยีสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมในการให้บริการ การส่งเสริมสุขภาพทั่วไป ส่งเสริมสุขภาพสิ่งแวดล้อม  และสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยในการทำงาน โดยให้บริการวิชาการทั้งในเขตเมือง ชนบท และโรงงานอุตสาหกรรม และยังมีศูนย์ส่งเสริมสุขภาพที่ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค สำหรับประชาชนทั่วไป และเป็นศูนย์สำหรับการฝึกปฏิบัติส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษา  และด้วยความภาคภูมิใจในสิ่งที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชนมาโดยตลอดนี้  ดิฉันยังมีเรื่องที่ประทับใจและภาคภูมิใจในเรื่องที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งนักศึกษาแพทย์ของมหาวิทยาลัยสมทบ คือ มหาวิทยาลัยประสานมิตร ซึ่งก่อนที่นักศึกษาจบหลักสูตรต้องมีการฝึกปฏิบัติภาคสนาม และในปีนี้ต้องฝึกปฏิบัติภาคสนามร่วมกัน ณ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  ในระหว่างวันที่ 28 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 9 มีนาคม 2551 (ขณะนี้ยังฝึกอยู่ในภาคสนาม)  ซึ่งในช่วงปลายเดือนมกราคม 2551 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ได้ลงข่าวอย่างครึกโครมว่า ได้เกิดไข้หวัดนกขึ้นที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์  ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักศึกษาจะต้องไปฝึกภาคสนาม  แต่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันได้ยินและได้ฟังโดยไม่มีวันลืมคือ คณบดีและคณาจารย์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ให้โอวาทนักศึกษาในวันปฐมนิเทศก่อนออกฝึกภาคสนามว่า พวกเราชาวสาธารณสุขศาสตร์ทุกคน ได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทของพระราชบิดามาแล้วว่า พวกเราจะพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติ เพื่อให้มีสุขภาพและจิตใจที่สมบูรณ์ ดังนั้น จึงถือได้ว่าไข้หวัดนกที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้พวกเราต้องนำทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติอย่างแท้จริง คือ การนำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนและห้องทดลองไปสู่การฝึกปฏิบัติ โดยการไปให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพและจัดสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะแก่สังคมและชุมชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ดิฉันเห็นว่าคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ดำเนินการตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจ อย่างมุ่งมั่น รวมทั้งการให้ความสำคัญกับสายสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งเสริมสายสนับสนุนให้ไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เพื่อให้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และนำมาพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ ทำให้ดิฉันมีความภาคภูมิใจในองค์กรเป็นอย่างยิ่ง  
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042
เรียนอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  และสวัสดีเพื่อน ๆ รปม. รุ่น  4  ทุกคน                ข้อ  1.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  ค่านิยม   ในหน่วยงาน  มีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร  เป้าหมาย  วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปรัชญา                                                                                                   ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม                   วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ เพื่อความเป็นไทของปวงชนพันธกิจ1. ผลิตบัณฑิตทุกสาขาตามความต้องการของสังคม
2. ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. สร้างองค์ความรู้เพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
4. พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสากล
5. บริการความรู้และวิทยาการเพื่อความสันติและยั่งยืนของสังคม
6. อนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมไทยให้เอื้อต่อสังคมโลก
7. อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคน
ผู้ศึกษาปฏิบัติงานที่ ฝ่ายกองทุนพัฒนาบุคลากร  กองบริหารงานบุคคล  มหาวิทยาลัย      ราชภัฏสวนสุนันทา  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งมั่นในการจัดหา จัดสรรเงินทุน เพื่อนำมาสนับสนุนการให้ทุนอุดหนุนการศึกษา และพัฒนาบุคลากรทุกสายงานให้มีศักยภาพการทำงานที่เหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ สนองตอบความต้องการของสังคม  และเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพต่อไป ข้อ  2.  The 8 Key Drivers of Engagement  เลือก ข้อ 7 การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน  (Employee development)   ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ  มีการปรับตัวหยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ต้องเน้นเรื่องประสิทธิภาพการบริหารงานเป็นเป้าหมายหลัก ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าว แรงกดดันในการทำงานมีมากขึ้น ความคาดหวังของพนักงานในเรื่องต่าง ๆ  เพิ่มสูงขึ้น การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับองค์กรและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป รวมถึงการหาวิธีการเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานให้ยึดมั่นต่อความสำเร็จในเป้าหมายของหน่วยงาน และขององค์การ โดยที่ฝ่าย HR ต้องเน้นการประสานงานอย่างใกล้ชิดไม่เฉพาะกับฝ่ายบริหารเท่านั้นแต่ต้องจัดระบบการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานในทุกระดับให้มากขึ้นด้วย  การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เมื่อทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญ ดังนั้นองค์กรจึงต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั่นเอง การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เป็นประเด็นที่องค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ พัฒนาระบบสารสนเทศ  การฝึกอบรม  การประชุมสัมมนาวิชาการ  การลาศึกษาต่อ  การไปศึกษาดูงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  ทั้งนี้เพื่อยกคุณภาพและมาตรฐานของพนักงานให้มีศักยภาพมีความสามารถในการแข่งขันในยุคสังคมฐานความรู้ ทั้งนี้ความสำเร็จของการนำแผนพัฒนาศักยภาพของพนักงานไปปฏิบัติจะขึ้นอยู่กับ ผู้บริหารที่จะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างจริงจั
น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001
เรียน อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  ข้อ1. องค์กร คือ กรมทางหลวง (Department of Highway) มีภารกิจตามอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวงให้มีโครงข่ายสมบูรณ์ครอบคลุมทั่วประเทศและเชื่อมโยง กับต่างประเทศ เสนอนโยบายและแผนพัฒนาทางหลวง ควบคุมและดำเนินการก่อสร้างบูรณะและบำรุงรักษาทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา จัดทำมาตรฐานและข้อกำหนดเกี่ยวกับงานทาง พัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในระดับสากล ตลอดจนกำกับตรวจตรา ควบคุมทางหลวงและงานทางในความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในทางหลวงทั่วประเทศ เอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การปกครอง ความมั่นคง และการป้องกันประเทศวิสัยทัศน์ (Vision) คือ มุ่งมั่นพัฒนาระบบทางหลวงตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทาง

พันธกิจ    (Mission)

1.พัฒนาโครงการข่ายทางหลวงในเชิงบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์รายพื้นที่ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด

2. รักษาระดับมาตรฐาน ความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายทางหลวง สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ทางหลวง 

3.สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการวิศวกรรมงานทาง การบริหารและกำกับดูแลการใช้ทางหลวง เพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม

4.พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลง 

 

  ปัจจุบันปฏิบัติงานในกรมทางหลวง สำนักเลขานุการกรม ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ในงานสารบรรณ ความสำคัญ...งานสารบรรณ

1. เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของข้าราชการทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน

2. ใช้เป็นสื่อในการติดต่อประสานงาน ทำความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน 

3. เอกสารที่จัดทำขึ้น ใช้เป็นเครื่องเตือนความจำของผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง

4.เอกสารที่จัดทำขึ้น เป็นหลักฐานอ้างอิงในการติดต่อหรือในการทำความตกลง

5. เอกสารที่จัดทำขึ้นอาจเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต

กล่าวคือ เป็นส่วนสนับสนุนและประสานงานให้งานของกรมทางหลวงดำเนินไปตามภารกิจที่ที่มีประสิทธิภาพและอย่างสมบูรณ์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ขององค์กรข้อ2. จาก The 8 key Drivers of Engagement เลือกข้อ 8. Relationship with one’s manager (ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน)“มีคำกล่าวว่า คนเข้ามาเพราะองค์กร แต่ลาออกเพราหัวหน้างาน” เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของหัวหน้าและลูกน้องได้อย่างดี ดังนั้นการจะทำให้พนักงานเห็นค่าของความสัมพันธ์กับหัวหน้างานนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าหัวหน้างานนั้นปฏิบัติตนเช่นไร  หัวหน้างานที่มีเคารพในความเป็นมนุษย์ของพนักงาน และพร้อมจะช่วยเหลือพนักงานเสมอ ในทุกทางและทุกที่ที่ทำได้และสิ่งนั้นต้องไม่ขัดกับกฏและระเบียบ ที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานเลขานุการกรม หัวหน้าฝ่ายของเรา มักจะจัดงานวันเกิดให้กับพนักงานเสมอ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจ และมักจะรู้ข่าวเสมอเมื่อคนในครอบครัวพนักงานเจ็บป่วยและมักจะถามข่าวคราวของคนในครอบครัวอยู่เสมอ และยังแสดงเผื่อแผ่มาถึงครอบครัวเราด้วย อย่างวันที่ 12 สิงหา ซึ่งเป็นวันแม่ หัวหน้าจะมอบของขวัญให้แม่เราและเขียนคำขอบคุณเล็กๆแนบไว้ด้วย หากมีโอกาสหัวหน้าจะคอยถามเรื่องงานเสมอว่าเป็นอย่างไร  บางครั้งเราก็ไม่ค่อยชอบใจกับคนหลากหลายแบบแต่ฉันคิดว่างานที่นี้ถึงจะเหนื่อย  แต่ก็สบายใจที่ได้ร่วมงานกับทุกคนที่นี่และทุกวันที่มาทำงานก็กลายเป็นวันดีๆที่ไม่น่าเบื่อเลย  
ข้อ 1.  ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ที่ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร  วิสัยทัศน์ขององค์กร  คือ  เป็นองค์กรหลักด้านแผนและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อชี้นำและผลักดันนโยบายและแผนไปสู่การปฏิบัติ  มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย เป้าหมายการจัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร แปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การประสานแผนปฏิบัติการ การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผน และเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ พัฒนาและให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรุงเทพมหานคร และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง  ปัจจุบันข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งบุคลากร 5 ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ สำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผนอัตรากำลัง การสรรหา การบรรจุและแต่งตั้ง การโอน การย้าย การลาออก การขอกลับเข้ารับราชการ การศึกษาต่อ ดูงานและการฝึกอบรม การพิจารณาความชอบและประเมินสมรรถภาพการปฏิบัติงาน การประชุม         อ.ก.ก. สำนัก การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย การทะเบียนประวัติ การขอรับบำเหน็จบำนาญและเกษียณอายุราชการ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และประกาศเกียรติคุณ การจัดทำบัตรประจำตัวของข้าราชการและลูกจ้าง การดำเนินการตามกฎหมายประกันสังคม การตรวจพิจารณาจัดทำนิติกรรมและสัญญา  การให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติงานดังกล่าว เป็นการทำเพื่อบุคลากรในหน่วยงาน ให้ได้รับสิทธิ ได้รับความยุติธรรม เสมอภาค ในทุกๆ เรื่อง ที่ปฏิบัติอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภูมิใจมาก สามารถช่วยเหลือตอบข้อสงสัย ช่วยแก้ปัญหาทางด้านงานบุคคล ให้เพื่อนร่วมงานได้รู้ถึงสิทธิ สวัสดิการที่พึงได้รับข้อ2. จาก The 8 key Drivers of Engagement  เลือกตอบข้อ 8. ที่กล่าวว่า Relationship with one’s manager ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน หน่วยงานของข้าพเจ้า สำนักงานเลขานุการ สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร มีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ เลขานุการสำนัก รองลงมาเป็น หัวหน้าฝ่าย 3 ฝ่าย ฝ่ายการคลัง ฝ่ายการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป แต่ละฝ่าย มีผู้ใต้บังคับบัญชา ฝ่ายละ 8 คน รวมทั้งหน่วยงาน 28 คน ผู้บังคับบัญชา ทั้ง 4 คน ดังกล่าว เป็นผู้ที่มีน้ำใจดีมาก เห็นอกเห็นใจลูกน้อง คอยช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ สิ่งไหนดี ก็ชี้แนะ สนับสนุน ให้ความก้าวหน้าในทุกด้าน แม้บางครั้งจะตำหนิลูกน้องในบางครั้ง แต่ที่ท่านทำไปเพื่อให้เราได้ปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น เมื่อมีคนย้าย โอน เลื่อนระดับ หรือวันสำคัญ เช่น ปีใหม่ ท่านก็จะมีการเลี้ยงต้อนรับ เลี้ยงส่ง เลี้ยงปีใหม่และมีของขวัญให้เสมอๆ ทุกๆ ปี จะได้รับของขวัญจากท่านตลอด ซึ่งสิ่งนี้ ทำให้ดิฉันประทับใจท่านมาก เพราะมองดูแล้วท่านก็เหมือนญาติเราคนหนึ่ง
เรียน    อ.พจนารถ  ซีบังเกิด   ข้อ  1   การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันตามวิสัยทัศน์องค์กร (Workforce  Alignment in an  Organization)องค์กรที่ผู้ศึกษาทำงานอยู่ เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล  ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเงินรับฝากและให้กู้ให้กับสมาชิก  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  29 มีนาคม 2520  ปัจจุบันมีอายุ 30 ปี   เป็นสหกรณ์ที่ผ่านการประเมินจากกรมส่งเสริมสหกรณ์  การบริหารของคณะกรรมการดำเนินการ มีนโยบายให้สมาชิกทุกคน  มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสุขเพิ่มขึ้นตามอัตภาพยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จึงจัดกิจกรรมส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น มีการออมเพิ่มขึ้น ฯลฯ  ผลจากการดำเนินงานทำให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจและค่านิยม ในการดำเนินงานช่วง  4  ปี  ระหว่างปี 2550-2553  เพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีรายละเอียด ดังนี้วิสัยทัศน์  (Vision)  เป็นศูนย์รวมการเงินและสมาชิก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ดีมีสุข โดยการออมช่วยเหลือซึ่งกันละกันด้วยหลักธรรมาภิบาลภารกิจ (Mission)  ขององค์กรโดยกำหนดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก1.       พัฒนาศักยภาพด้านการเงินและการออม2.       ส่งเสริมและสนับสนุนการขยายธุรกิจและกิจการของสหกรณ์3.       เสริมสร้างสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง4.       พัฒนาองค์กรให้มีการบริหารจัดการที่ดีค่านิยม (Values) ขององค์กร มีความซื่อสัตย์  สามัคคี  มีน้ำใจ  ยึดมั่นในองค์กรเป็นค่านิยมที่องค์กร พยามยามสร้างให้เจ้าหน้าที่ทุกมี  มีความรักในองค์กร               จากวิสัยทัศน์  ภารกิจ  และค่านิยมขององค์กร  ดังกล่าวเพื่อให้การทำงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน พิจารณาเห็นว่าการดำเนินงานตามนโยบายให้สำเร็จลุล่วงต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดีมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ความพร้อมและความรับผิดชอบของกรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง  กรรมการดำเนินการและเจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา เครื่องมือและเทคโนโลยีสมัยใหม่ต้องนำมาใช้ควบคู่กันไปอย่างเหมาะสมและชาญฉลาด จึงจะสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ   -2-ข้อ  2   การผูกพันของพนักงานกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน(Employee  Engagement for sustainable  Growth)                ผู้ศึกษาเห็นว่าการที่จะให้พนักงานในองค์กรมีความผูกพันกับองค์กรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน นั้น  ผู้บริหารควรคำนึงถึงปัจจัยเรื่องการสร้างความศรัทธาและซื่อสัตย์  เพราะเห็นว่าหากผู้บริหารไม่สร้างให้พนักงานมีความศรัทธาในองค์กรแล้วการที่พนักงานจะมีความจริงใจในการทำงานก็ไม่เกิดทำงานไปวัน ๆ ไม่มีแรงจูงใจ  ผู้บริหารงานต้องมีความโปร่งใส  เป็นธรรม และตรวจสอบได้  ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นต่อองค์กร  สร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพัฒนาทักษา  ความรู้  ความสามารถ  ความเชี่ยวชาญ  พัฒนาระบบการบริการให้สะดวกรวดเร็ว จัดหาอุปกรณ์สำนักงานและเทคโนโลยีให้เหมาะสมตามความจำเป็น  เมื่อพนักงานได้รับความไว้ใจจากผู้บริหารให้มีส่วนร่วมเสนอความคิดแล้วเขาก็จะเกิดความศรัทธา  ตามด้วยความซื่อสัตย์  โดยธรรมชาติคนเราเมื่อมีความสุขกับการทำงานแล้วก็ไม่แสวงหาที่จะไปทำงานที่อื่น                ดังนั้น   จึงเห็นว่าการที่ผู้บริหารสร้างความศรัทธาให้เกิดกับพนักงานเป็นแบบอย่างที่ดีและมีความซื่อสัตย์ ในการบริหารจัดการให้ผู้ร่วมงานได้ปรากฏแล้วการสร้างความศรัทธาและความซื่อสัตย์ต่อองค์กรให้กับพนักงานก็จะเกิดเองโดยไม่ต้องบังคับ “““““““““

แนวคิดนอกกรอบ

เจริญพร ท่านอาจารย์จีระ คณาจารย์ผู้ประสิทธิ์ความรู้ และชาว รปม. รุ่นสี่ทุก ๆ ท่าน

เนื่องจากวันนี้ อาตมภาพ ได้นั่งคิดและนึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในช่วงการเรียนการสอนที่อาจารย์จีระเองก็ตาม หรืออาจารย์ท่านอื่นก็ตาม ดำเนินการสอนพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 รวมถึงทีมงานของท่านอาจารย์ อาตมภาพคิดว่าเป็นเรื่องดีและดีในหลายส่วน ซึ่งบางครั้งบางคราวอาจตามทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่ก็พอถู ๆ ไถ ๆ ไปได้ เนื่องจากอาตมภาพไม่ได้จบสายตรงทางโลกมาเลย นี้เป็นครั้งแรกในรั้วมหาลัย จะรั้วหรือว่ากำแพงก็ตามทีเถอะ แต่นี้เป็นครั้งแรกจริง ๆ ที่เข้ามาใช้ชีวิตหรือศึกษาในรูปแบบของมหาวิทยาลัย ฯ

  • เข้าประเด็นเลยก็คือวันนี้ จะมากล่าวถึงประโยชน์ของการส่งการบ้าน(การวัด) ทางบล๊อก ว่ามีประโยชน์อย่างไร

       ครั้นจะกล่าวถึงคำว่า ประโยชน์ นั้น ไม่ว่าใครก็ตามย่อมหวังย่อมปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น ถึงแม้จะเป็นประโยชน์ในด้านไหนก็ตามแต่ก็เหมือนกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้จากการส่งการบ้านการวัดทางบล๊อก ซึ่งอาตมภาพคิดว่าเป็นประโยชน์หลักๆ สองด้านคือ แก่ตน และ แก่คนอื่น ๆ ที่สนใจใฝ่รู้

  • จะกล่าวถึงประโยชน์ในส่วนตนก่อน คือ การที่เราได้แนวคิด หรือการส่งการบ้านทางบล๊อกนี้ เป็นการกระตุ้นความคิดเรา สมองเราให้ได้ทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งหลาย ๆ คน อาจมีความรู้ความสามารถ แต่ได้แค่คิด ไม่ได้แสดงออกหรือไม่ได้นำมาปฏิบัติเลย ก็เปรียบเสมือนมีอาวุธแต่ไม่รู้วิธีใช้อาวุธ เช่นนี้อาวุธก็เปล่าประโยชน์ แต่ถ้ามีอาวุธด้วย รู้วิธีใช้ด้วย คนนั้นแหละดี ถ้าเขาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์นะ ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็ยุ่งละโยมทั้งหลาย (ก็คงตัวใครตัวมันแหละ หลวงพ่อโกยช่วยได้)  การทีอาจารย์ให้เราทั้งหลายส่งงานทางบล๊อกนี้ อาตมภาพไม่ทราบนะว่าท่านมีแนวคิดยังไง แต่ประโยชน์ที่ได้นั้นแล้วแต่ว่าใครจะคิดได้ว่า ตัวเรา ๆ นั้น ได้อะไร เช่นคำถามของ อ. จีระ ที่ท่านถามว่า อ่านแล้วได้อะไรบ้าง และในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ก็จะถามว่า ฟังรายการวิทยุท่านแล้ว ได้อะไร ? นี้เป็นคำถามที่อาตมภาพสังเกต ซึ่งจากคำถามเช่นนี้ อาตมภาพคิดว่า ท่านกำลังสอนให้เราเป็นนักขบคิด นักวิเคราะห์ ใช้ความคิดความสามารถที่นักศักษาแต่ละท่านมีอยู่ในตัวเอง ได้ประยุกต์ใช้ให้ถูกกาลเวลา เหมือนกับว่าท่านกำลังดึงสมบัติที่เรามีส่วนนี้ออกมาจากตัวเราให้คนอื่น ๆ ได้ทราบได้รับรู้และถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้แก่กันและกัน ซึ่งอาตพภาพขอชื่นชมในส่วนนี้ ซึ่งตอนแรกก็งง ๆ กับการเรียนการสอน เนื่องจากเห็นว่าทำไมถึงจัดดอกไม้ ทำไมถึงจัดโต๊ะแบบนั้น ทำไมชั่วโมงแรกเครียดจัง และแล้วก็ได้มานั่งขบคิดที่วัด ก็มองในส่วนที่ดีและก็ได้เห็นความจริงหลายประการ ซึ่งหลาย ๆ ท่านอาจไม่เข้าใจตามที่อาตภาพคิดหรือไม่เห็นด้วยก็ตามที ส่วนนี้ก็ไม่ได้บังคับกันว่าต้องเข้าใจตามที่อาตภาพคิด ฯลฯ
  • ต่อมาในส่วนของประโยชน์ที่อาตมภาพคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่น ๆ นั้น เนื่องจากการส่งงานทางบล๊อก ไม่ใช่เพียงแค่อาจารย์เท่านั้นที่ได้อ่าน แล้วก็จบกันไปในรายวิชานั้น ๆ แต่มันไม่ใช่เช่นนั้น ในทางกลับกันคือ คนอื่น ๆ ได้อ่าน ได้ดูแนวคิด หรือ การวิเคราะห์ หรือแม้แต่ข้อมูลขององค์กรที่แต่ละท่านใน รปม.รุ่น ๔ ได้ทำงานอยู่ เช่นในเรื่องของวิสัยทัศน์ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งหลายท่านอาจไม่เคยทราบมาก่อนก็ได้ทราบจากคน ๆ เดียวที่สืบค้นมาส่ง พร้อมที่จะนำเสนอสู่สายตาของอีกหลาย ๆ ท่าน ทั้งชาว รปม.รุ่น๔ เองก็ตามหรือไม่ใช่ชาว รปม.เองก็ตาม ที่เขาสนใจอยากอ่าน บางสิ่งบางอย่างเราอาจคิดว่า ไม่น่าจะเป็นประโยชน์ แต่ในทางกลับกัน อาจจะเป็นประโยชน์กับอีกหลาย ๆ คนก็เป็นได้ ซึ่งส่วนนี้เราไม่สามารถจะรู้ได้ ฯ ท่านทั้งหลายประโยชน์ส่วนที่อาตภาพกล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนเล็กส่วนน้อยที่ได้ยกมากล่าว ถ้าจะกล่าวให้มากมายกว่านี้ก็ได้ แต่เกรงคนอ่านจะฝั่นเฝือเสียก่อน  อีกอย่างคือ (เพราะอาตมภาพนึกได้แค่นี้มั้ง) ต้องการให้ท่านทั้งหลายมองเห็นถึงประโยชน์ในส่วนต่าง ๆ ของการส่งการบ้านทางบล๊อกว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง (คืออยากให้คิดเองและเห็นด้วยตัวของตัวเองบ้าง)  และนี้ก็เป็นเพียงแนวคิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อยากนำเสนอ หวังว่าท่านทั้งหลายคงไม่หมั่นใส้จนเกินควรนะ ฯ

         หมายเหตุ  การเขียนบทความครั้งนี้มิใช่การเขียนเพื่อสรรเสริญหรือเยินยออาจารย์ท่าน และไม่ใช่การเขียนเพื่อให้ใครผู้ใดผู้หนึ่งเกิดอกุศลจิตคิดไม่ดีกับบทความ คิดว่าผู้อ่านทั้งหลายมีความสามารถพอที่จะเลือกเก็บสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่ใส่ใจสิ่งที่มิใช่ประโยชน์จากบทความ       ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ขอความสุขในการเรียนบริหารทรัพยากร์มนุษย์จงมีแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ก็ไม่เป็นไร ก็ขอให้ท่านวางใจเป็นกลาง ถ้าหากผู้ใดมีอคติ ก็ขอให้นึกเอาเองจ๊ะ แต่ก็ขอให้ท่านทุกคนนั้นมีความสุขและประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า (รวมถึงอาตภาพด้วยนะ เพราะอาตมาก็เรียนกับโยมด้วยเช่นกันนี่นา อย่าทิ้งกันละ 555+)  ฯ

  • หนทางไกล     ใจอาจท้อ    ขอแค่หวัง
  • เติมพลัง          ต่อศรัทธา    ให้กล้าฝัน
  • อาจจะล้า         แต่จะกล้า    ฝ่าประจัญ
  • ไม่ถึงวัน           ไม่สิ้นสุด     ไม่หยุดเดิน(บิณฑบาตร)

  • ขอเจริญพร

จาก ชาว รปม.รุ่น ๔ ที่ปลื้มอาจารย์ ไม่น้อยกว่าที่อาจารย์ปลื้ม (เพราะไม่ยอมน้อยหน้าท่านอาจารย์)

นางสาวจุไรรัตน์ เปลี่ยนขำ
ชื่อ จุไรรัตน์ เปลี่ยนขำ   เลขทะเบียน 50038010048สวัสดีอาจารย์ เพื่อน ๆ พี่ ๆ MPA รุ่น 4  ทุกคนค่ะปัจจุบันทำงานที่ อู่ประทีปมีทรัพย์ เป็นธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมต่อรถBUS ดำรงตำแหน่ง ผู้จักการฝึกหัด อู่ประทีปมีทรัพย์เป็นกิจการของครอบครัวและในส่วนตัวนั้นได้มีโอกาสมาบริหารงานได้ไม่ถึงปี เพราะเพิ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นคุณพ่อผู้เป็นผู้ก่อตั้งอู่ประทีปขึ้นมาได้สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่ยอมรับของวงการอุตสาหกรรมต่อรถBUS และท่านได้เสียชีวิตเมื่อตอนที่ดิฉันศึกษาอยู่ชั้นปี1 ดังนั้นการบริหารงานธุรกิจปัจจุบันจึงยังอิงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ของคุณพ่ออยู่ ข้อ1.  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ค่านิยม (Values)  ของหน่วยงานวิสัยทัศน์ (Vision)  : เป็นอู่ต่อรถBUS ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ในเรื่องการดีไซน์และเป็นผู้นำในเรื่องการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในอุตสาหกรรมรถBUSให้เทียบเท่ากับนานาชาติพันธกิจ (Mission)  : เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่วงการอุตสาหกรรมการประกอบรถBUSไทย ตลอดจนสร้างความประทับใจ และความสุขให้เกิดแก่ประชาชนที่ใช้บริการรถบัสค่านิยม (Values)  : 1. เป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ ๆ                              2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กร                              3. ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารงานและแสดงความคิดเห็น                              4. ส่งเสริมพนักงานที่มีความดี ความชอบ

ข้อ2. The 8 key Drivers of Engagement  (เลือกข้อ เพื่อนร่วมงาน)เคยมีคนกล่าวว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน นั่นหมายความว่าผลงานเป็นตัวกำหนดค่าของบุคคล แต่ความเป็นจริงแล้วกว่าผลงานจะออกมาเป็นที่ยอมรับนั้น ต้องได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากบุคคลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าเป็นหัวหน้างาน ทีมงาน หรือเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนร่วมงานที่เปรียบเสมือนผู้ที่สร้างบรรยากาศในการทำงาน ไม่ว่าบรรยากาศนั้นจะดีหรือไม่ดีก็มีส่วนในการปฏิบัติงานของบุคคล หากบรรยากาศที่ทำงานดีการปฏิบัติงานก็จะดีผลงานก็ดี แต่ถ้าบรรยากาศไม่ดีจะเกิดการกดดันในการปฏิบัติงานทำให้ผลงานที่ออกมาไม่ดี ดังนั้นวิธีง่าย ๆ ที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานที่ทำได้ไม่ยากมีดังนี้1. กล่าวคำ สวัสดี เสมอ2. ยิ้มแย้มแจ่มใส3. กล่าว ขอโทษ เมื่อทำผิด4. รู้จักให้อภัย5. มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น (ไม่ใช่ก้าวก่าย)6. ไม่อิจฉาว่าร้ายกัน7. ซื่อสัตย์8. จริงใจต่อกันและกัน9. ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ10.ปฏิบัติได้ตามวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร........................................................................................................

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์จีระ  ของพวกเราชาว รปม.รุ่น 4   พวกเราขอขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่อาจารย์ดำเนินการจัดการความรู้ KM ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์  และท่านได้เชิญอาจารย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้พวกเราได้มองเห็นภาพกว้าง สิ่งที่พวกเราต้องทำต่อไปคือ Learner Learner and Learner

 

นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑. Vision & Mission
     กระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักที่มีภาระหน้าที่ในการ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เป็นไม้ผลัดแรกในการดำเนินงานด้านความมั่นคงและกิจการภายใน การเสริมสร้างโอกาสให้กับประชาชน การเป็นเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการบริหารจัดการในส่วนภูมิภาค รวมถึง ภารกิจหรืองานนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเฉพาะเรื่องเฉพาะกรณี เช่น การแก้ปัญหาความยากจน การประกาศสงครามเพื่อเอาชนะยาเสพติด การปราบปรามผู้มีอิทธิพล อาวุธสงคราม เพื่อส่งเสริมการบริหาร ประสานความร่วมมือร่วมใจกับทุกภาคส่วนในการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสรรค์สร้างประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะให้กับประชาชน ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้กับประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศ  กระทรวงมหาดไทยจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยใหม่ เพื่อให้กระบวนการบริหารงานมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญและวาระแห่งชาติของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงไปตามห้วงระยะเวลาต่างๆ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  โดยกระทรวงมหาดไทยยังคงยึดถือทิศทางและกรอบการดำเนินงานตามปรัชญาของการ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" จากการมีส่วนร่วมของ Stakeholders ทั้งภายในและภายนอก โดยเน้นเป้าหมายให้เป็นองค์กรหรือหน่วยงานหลักในการสร้างโอกาสให้ประชาชนมีความมั่นคง และมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามหลักของการบริหาร ราชการแนวใหม่ที่มุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Administration to Citizen Center)
วิสัยทัศน์กระทรวงมหาดไทย
     "เป็นองค์กรหลักในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข อำนวยความเป็นธรรมของสังคม ด้วยการบูรณาการการบริหารจัดการในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างโอกาสให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน"
พันธกิจกระทรวงมหาดไทย
     ๑. ประสาน สนับสนุนและเสริมสร้างหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ความร่วมมือในการบริหารจัดการจังหวัดแบบบูรณาการกับ ทุกกระทรวงและทุกภาคส่วน
     ๒. เสริมสร้างการอำนวยความเป็นธรรม และส่งเสริมคุณธรรมของสังคม 
     ๓. ส่งเสริม และรักษาความมั่นคงภายใน ความสงบเรียบร้อย และให้บริการประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๔. เสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง
     ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองและชนบทควบคู่ไปกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ข้อ ๒. The ๘ Key Drivers of Engagement ๒๐๐๘
Employee development
- Is the company making an effort to develop the employee's skills?
     พนักงาน ที่เข้าทำงานตามหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน ส่วนมากจะพบกับปัญหาในการทำงาน โดยเฉพาะช่วงแรกของการทำงาน เพราะต้องปรับตัวให้เข้ากับงาน สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ดังนั้น หน่วยงาน จึงควร "พัฒนาศักยภาพของ พนักงาน" เช่น การอบรมเรียนรู้งานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ก่อนที่จะมีการเริ่มทำงาน เพื่อลดปัญหาในการทำงาน จะส่งผลต่อ ความผูกพันและความรู้สึกดี ของพนักงานที่มีต่อหน่วยงาน

นางสาวดนิตา มูลละออง
นางสาวดนิตา  มูลละอองหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 4มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ในหน่วยงานมี VISION และ MISSION ขององค์กรคืออะไร และงานของท่านเกี่ยวกับ VISION และ MISSION ขององค์กรอย่างไรวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นVISION ของเทศบาลตำบลสระยายโสมพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจก้าวไกล ขจัดภัยยาเสพติดMISSION   ของเทศบาลตำบลสระยายโสมสะดวกปลอดภัย  ระบายน้ำสะดวก  สัญจรปลอดภัย  ห่วงใยทรัพย์สินใส่ใจสังคม  มีการศึกษาดี  ประเพณีงดงาม  คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า  ขจัดสิ้นปัญหายาเสพติดชื่นชมบริการ  สร้างเสริมประสิทธิภาพบุคคล  หวังประสิทธิผลบริหารเงิน  มุ่งสู่ความสำเร็จวิธีการ                            บริหารจัดการพัสดุเป็นเลิศสร้างฐานเศรษฐการ  ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  ขยายโอกาสสาธารณูปการเพียบพร้อม  พัฒนาความสะอาด  ปราศจากมลพิษ  ประชิดบริการอาสา  งามตามภูมิทัศน์MISSION ในงานที่ปฏิบัติของข้าพเจ้างานทะเบียนราษฎร คือ บริการรับแจ้งการเกิด การตาย การออกเลขที่บ้านใหม่ แก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน แจ้งย้ายออก แจ้งย้ายเข้า  แจ้งเกิดเกินกำหนด  เพิ่มชื่อ  จัดพิมพ์บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น  ตรงกับ VISION ขององค์กร คือ ใส่ใจสังคม คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า  MISSION งานทะเบียนราษฎร สามารถตรวจสอบได้ว่าในเขตเทศบาลตำบลสระยายโสมมีจำนวนประชากรเท่าใด เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ คนชรา จำนวนเท่าใด เมื่อเรามีข้อมูลประชากรและจำแนกกลุ่มบุคคลได้ก็สามารถวางแผนในการดูแลประชากรในเขตเทศบาลได้อย่างครบถ้วนและเพียงพอ และสามารถรู้ได้ว่า กลุ่มบุคคลแต่ละกลุ่มมีความต้องการอะไร และมีปัญหาใดให้ทางเทศบาลช่วยเหลือ เมื่อเทศบาลทราบปัญหาการสามารถจัดสรรให้ตรงกับความต้องการก็จะทำให้ประชากรมีคุณภาพที่ดี ตัวอย่างเช่น บางคนในเขตเทศบาลไม่มีชื่อปรากฏในทะเบียนบ้านเนื่องจากไม่ได้แจ้งการเกิด เราก็สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้ จากที่ตัวข้าพเจ้าได้ประสบมาคือมีเด็กในเขตเทศบาลหลายคนไม่ได้ดำเนินการแจ้งการเกิด ทำให้เด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ และสาเหตุที่ไม่ได้แจ้งการเกิดเพราะพ่อแม่มองว่าต้องทำมาหากินไม่มีเวลา  แต่ในทางกลับกันเด็กในปัจจุบันถ้าจะเข้ารับการศึกษาจะต้องมีสูติบัตรและชื่อในทะเบียนบ้าน ถ้าไม่มีหลักฐานดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ หรือถ้าได้สถานศึกษาของรัฐจะรับเฉพาะในระดับประถมศึกษา ไม่สามารถเรียนต่อในระดับมัธยมได้ ถ้าเด็กไม่มีความรู้ติดตัวถามว่าสามารถประกอบอาชีพได้ไหม ได้แต่อาชีพอะไรที่จะทำให้เขาสามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี มีเงินพอใช้ และถ้าหากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ก็จะทำให้เราเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าไปอย่างน้อยก็ 1 คน คนทุกคนมีค่า ถ้าหากบุคคลเหล่านี้ได้รับโอกาสในด้านการศึกษาและเมื่อได้รับการศึกษาแล้วทำให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้นทำให้เรามีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น และทรัพยากรที่ดีสามารถช่วยผลักดันให้สังคมดี ที่ประเทศชาติที่จะพัฒนาจะต้องเริ่มต้องจากระดับท้องถิ่นก่อนแล้วถึงจะพัฒนาต่อไปจนถึงระดับจังหวัด ต่อไปจะก็ไปถึงระดับประเทศ The 8 Key Drivers of Engagement  ปัจจัยใน 8 ปัจจัยนี้ ทำให้ท่านผูกพันกับงานที่ท่านทำมากที่สุด ลักษณะงาน   งานทะเบียนราษฎร เป็นงานที่จะต้องพบปะประชาชนในเขตเทศบาล คือ ให้บริการด้านงานทะเบียนราษฎร ให้คำปรึกษา ซึ่งตัวข้าพเจ้าเองเป็นคนพื้นที่คือเกิดที่ตำบลสระยายโสม และทำงานในตำบลสระยายโสม ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง ซึ่งตัวข้าพเจ้าเองรู้จักกับคนในเขตเทศบาลตำบลสระยายโสมเกือบจะทั้งหมด ทำให้การทำงานนั้นง่ายขึ้นคือ เรารู้จักเขา เขารู้จักเรา ซึ่งเดิมนั้นการติดต่องานทะเบียนราษฎรนั้นจะต้องติดต่อกับที่ว่าการอำเภอเท่านั้น เมื่องานทะเบียนราษฎรถ่ายโอนมาสู่เทศบาลก็ทำให้คนในเขตเทศบาลสะดวกขึ้นเพราะเมื่อไม่ทราบข้อมูลข่าวสารก็สามารถสอบถามได้โดยตรงและประชาชนในเขตเทศบาลก็กล้าที่จะถามในสิ่งที่ไม่รู้ เพราะเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนในตำบลสระยายโสม หรือที่เรียกว่าเจ้าหน้าที่ก็เป็นลูกเป็นหลานของคนในเขตเทศบาลตำบลสระยายโสม ข้าพเจ้าเองจึงรู้สึกผูกพันกับงานที่ทำในองค์กร เพราะมีความรู้สึกว่าเราได้ทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับรู้ข่าวสาร รวมทั้งเข้าใจในระเบียบการทะเบียนราษฎรมากขึ้น ได้อำนวยความสะดวกกับประชาชนในการติดต่องาน ณ ที่ว่าการอำเภอ เนื่องจากว่าปฏิบัติงานทะเบียนราษฎรอยู่ที่ว่าการอำเภอ และข้าพเจ้าเองมีความรู้สึกดีที่ได้ทำอะไรให้กับบ้านเกิดของข้าพเจ้า การทำงานนั้นก่อนที่เราจะไปทำงานในระดับที่สูงขึ้นนั้น ถ้าเรามีโอกาสที่จะทำให้ท้องถิ่นเราพัฒนาเราต้องเริ่มที่ท้องถิ่นตัวเองก่อน เพราะการที่ประชาชนในเขตได้รับบริการขั้นพื้นฐานที่ดี ก็จะทำให้ประชาชนมีความรู้สึกดี และรู้จักรักถิ่นฐานบ้านเกิด และรู้สึกภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย
ประกาศ
นักศึกษาปริญญาโท MPA รุ่นที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาทุกท่าน  คุณสุทัศน์แจ้งมาว่า เสาร์-อาทิตย์นี้ย้ายไปเรียนที่ห้องสมุดชั้น 5 ค่ะ
นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

          ประวัติความเป็นมาของคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

          คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  มีประวัติความเป็นมาในการบริหารการเรียนการสอนนับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480  จนถึงปีพุทธศักราช 2551  รวมเวลา 71 ปี  โดยเริ่มจากโรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย  พัฒนามาเป็นวิทยาลัยครูสวนสุนันทา  และจนกระทั่งได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ในปี พ.ศ.2547 

          ปรัชญา  ทรงปัญญา  ศรัทธาธรรม  นำสังคม

          วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรชั้นนำในการผลิตและพัฒนาครูมืออาชีพ และในการวิจัยทางการศึกษา

          พันธกิจ

  1. ผลิตครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ
  2. วิจัยเพื่อพัฒนาและสร้างองค์ความรู้สู่ความเป็นครูมืออาชีพและตอบสนองต่อการปฏิรูปการศึกษา
  3. บริการวิชาการเพื่อพัฒนาครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการปฏิรูปการศึกษา
  4. ทำนุบำรุงและบริการสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการเรียนรู้ การอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาของครู และภูมิปัญญาท้องถิ่น

          วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตสึกษาที่มีคุณภาพ
  2. เพื่อน้อมนำแนวพระราชดำริมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ครุ ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา
  3. เพื่อวิจัยและพัฒนา และสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้รวมทั้งคุณลักษณะที่พึงประสงค์สู่ความเป็นมืออาชีพและตอบสนองต่อการปฏิรูปการศึกษา
  4. เพื่อจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน ฝึกปฏิบัติและจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ
  5. เพื่อจัดกิจกรรมทางวิชาการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีความรู้ และมีทักษะในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ
  6. เพื่อรวบรวมและให้บริการข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ภูมิปัญญาครุและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  7. เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

          การเสริมสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กร องค์กรควรมีการปรับปรุงการรับรู้ของพนักงานที่มีต่อการปฏิบัติงาน โดยพยายามสร้างภาพลักษณ์ในด้านความเป็นที่พึ่งพาได้แก่พนักงาน และให้ความยุติธรรมแก่พนักงานทุกคน  ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ และพยายามให้สิ่งจูงใจที่สนองความต้องการหรือคาดหวังของพนักงาน ซึ่งจะนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การ

          ลักษณะขององค์การต้องเอื้ออำนวยต่องานและบุคคล คือ ลักษณะองค์การแบบประชาธิปไตย (มีการกระจายอำนาจแก่พนักงาน มีกฎ ระเบียบ และขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน มีการเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและในการบริหารงาน) และควรมีการปรับปรุงลักษณะงานให้สามารถจูงใจพนักงานได้ คือ ลักษณะงานที่มีความสำคัญและท้าทายความสามารถ เปิดโอกาสให้พนักงานได้ติดต่อกับผู้อื่น มีอิสระในการทำงานของตนโดยอาศัยทักษะที่หลากหลายในการทำงาน นอกจากนั้นองค์การควรมีการจัดประเมินผลพนักงานเพื่อจะได้รับข้อมูลย้อนกลับ รวมไปถึงการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ก้าวหน้าในสายอาชีพของตนอีกด้วย

โดย  นางวีรยาพร  อาลัยพร  รหัส  50038010036  เลขที่ 36  รปม. รุ่น 4                                                               เรียน   ท่านอาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด  และเพื่อน ๆ รปม.  รุ่น 4  ทุกคนการบ้านข้อที่  1. VISION   MISSION   VALUE  ขององค์กรคืออะไร  หน้าที่ในการทำงานคืออะไร  แล้วอธิบายความเกี่ยวข้องระหว่างงานในหน้าที่  กับ  VISION                                   ด้วย ดิฉัน นางวีรยาพร  อาลัยพร  เป็นบุคลากรหนึ่งที่ทำงานในองค์กร  คือ   กรมส่งเสริมสหกรณ์  ซึ่งปฏิบัติงานในส่วนของ บุคลากร  7ว  ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง   กองการเจ้าหน้าที่  โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ นั้น  มีวิสัยทัศน์  พันธกิจ และกลยุทธดังนี้         วิสัยทัศน์  คือ  เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข็มแข็ง และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก  

พันธกิจ

พันธกิจที่ 1   สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม เผยแพร่เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์พันธกิจที่ 2   คุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์พันธกิจที่ 3   พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีให้แก่   สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพันธกิจที่ 4   เสริมสร้างโอกาสการเข้าหาแหล่งทุนให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรพันธกิจที่ 5   ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพเป้าประสงค์1.       เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์2.       เพื่อพิทักษ์ รักษา สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร3.       เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล4.       เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานได้5.       เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง

กลยุทธ์

1.   สร้างจิตสำนึกในการดำเนินกิจกรรม  

2.  เสริมสร้างภูมิปัญญาและการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและ องค์กรชุมชน 

3.  เสริมสร้างบทบาทของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรต่อชุมชน  4.  พัฒนาการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร5. สร้างความเข็มแข็งให้กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร6. พัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์7. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาสหกรณ์8. พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร9. พัฒนาระบบการตลาดสินค้าสหกรณ์10. การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ 11. การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร12. การส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรให้มีธรรมาภิบาล (Good Governance13 .การส่งเสริมผลิตภัณฑ์สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐานสินค้า OTOP 14. สร้างโอกาสเข้าหาแหล่งทุนและแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร15. การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการกองทุนพัฒนาสหกรณ์  16. สร้างกลไกการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ในการจัดที่ดินทำกินอำนาจหน้าที่ 

กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม เผยแพร่ ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง โดยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริหารการจัดการ การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการเชื่อมโยงธุรกิจ สหกรณ์สู่ระดับสากล เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยมีความเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่กับวิสัยทัศน์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์  คือ กองการเจ้าหน้าที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมส่งเสริมสหกรณ์  ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานบุคคลของกรมด้วยระบบยุติธรรม เสริมสร้างวินัย  โปร่งใส  รวดเร็วและตรวจสอบได้  เสริมสร้างสวัสดิการและบริการที่ดีให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างของกรมส่งเสริมสหกรณ์  รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลเพื่อให้เกิดความคล่องตัว เพื่อสรรหาบุคลาการที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสิทธิภาพเพื่อออกไปส่งเสริมงานให้ความรู้ด้านสหกรณ์ ให้แก่สหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ได้มีความรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการ และอุดมการณ์สหกรณ์  เพื่อให้มีความเข็มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้

  การบ้าน ข้อ 2. The 8  Key Drivers of Engagement  2008  จากการวิสัยทัศน์  พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์  ทำให้ดิฉันเลือกความภาคภูมิใจในองค์กรของเรา เนื่องจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข็มแข็ง และเป็นที่พึ่งขอมวลสมาชิก โดยมีการส่งเสริมทางด้านความรู้ให้กับสมาชิกสหกรณ์  กลุ่มเกษตรกร  และประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการของสหกรณ์  ตลอดจนพิทักษ์  รักษา  สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรโดยใช้การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล  ตลอดจนใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการที่ดี กองการเจ้าหน้าที่ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกรมส่งเสริมสหกรณ์  ที่ทำหน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลให้กับกรมฯ  ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญในการทำงาน  เพราะจะต้องสรรหาบุคลากรที่ดี มีความรู้  มีคุณธรรม  เพื่อออกไปส่งเสริมความรู้ด้านสหกรณ์ให้กับสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรและประชาชนทั่วไป  ดังนั้นในการสรรหาและบรรจุบุคคลเพื่อแต่งตั้งทั้งการย้าย และการเลื่อนในระดับที่สูงขึ้นนั้น จะต้องทำด้วยความยุติธรรม  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาดำเนินการเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัว  ดังนั้นในปี  พ.ศ. 2548  กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลระดับประเทศ ในด้านการบริหารงานบุคคลดีเด่น  จากสำนักงาน ก.พ.  ซึ่งทำให้ดิฉันภาคภูมิใจมากในกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ดิฉันรับราชการอยู่      

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง รหัส 50038010038เรียน อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด          ดิฉันทำงานที่กรมส่งเสริมสหกรณ์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานของหน่วยงานดังนี้ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริมและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และเป็นที่พึ่งของมวลสมาชิก พันธกิจ พันธกิจที่ 1 สร้างองค์ความรู้เพื่อส่งเสริม เผยแพร่เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ พันธกิจที่ 2 คุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งและเป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ พันธกิจที่ 3 พัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและเทคโนโลยีให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พันธกิจที่ 4 เสริมสร้างโอกาสการเข้าหาแหล่งทุนให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พันธกิจที่ 5 ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ เป้าประสงค์ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้มีความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ เพื่อพิทักษ์ รักษา สิทธิและผลประโยชน์ของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานได้ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีสิทธิในที่ดินเป็นของตนเอง กลยุทธ์ สร้างจิตสำนึกในการดำเนินกิจกรรม เสริมสร้างภูมิปัญญาและการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและองค์กรชุมชน เสริมสร้างบทบาทของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรต่อชุมชน พัฒนาการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาสหกรณ์ พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร พัฒนาระบบการตลาดสินค้าสหกรณ์ การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรให้มีธรรมาภิบาล (Good Governance) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐานสินค้า OTOP สร้างโอกาสเข้าหาแหล่งทุนและแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการจัดการกองทุนพัฒนาสหกรณ์ สร้างกลไกการเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิ์ในการจัดที่ดินทำกิน                 จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์ดังกล่าวข้างต้นเป็นองค์กรที่ส่งเสริมช่วยเหลือ สนับสนุนให้เกษตรกรให้รวมตัวกันเป็นกลุ่มและสหกรณ์ตามสมัครใจของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นเหมือนๆกันให้ผ่อนคลายลง  ผลลัพธ์สุดท้ายคือกลุ่มและสหกรณ์เป็นที่พึ่งของเกษตรกรได้                ผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องใช้วิธีการที่หลากหลายในการสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานเช่น การมอบอำนาจหน้าที่ให้บุคลากรปฏิบัติ ส่งเสริมให้บุคลากรเกิดการพัฒนาเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะในการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆที่หน่วยงานต้องการพัฒนา                ความภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน                ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ได้ทำงานช่วยเหลือเกษตรกรในท้องที่อำเภอต่างๆในจังหวัดภาคอีสานรวม 22 ปี ได้เห็นความยากลำบากของเกษตรกรในการทำมาหากินมีหนี้สินแต่หลังจากที่เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์แล้วเกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยมีองค์กรของตนเองเป็นที่พึ่งและรัฐการสนับสนุนซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานภาครัฐแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีภารกิจในการส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีความกินดีอยู่ดีมีความสุข

วิสัยทัศน์

         วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี  เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อชุมชนและพัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้  ภายในปี พ.ศ.  2544

ความเกี่ยวข้องของงานกับวิสัยทัศน์

          ตำแหน่งเจ้าหน้าที่พัสดุ  มีความเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์  เนื่องจากพัสดุมีหน้าที่ต้องสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก  รวมถึงวัสดุ  อุปกรณ์ต่าง ๆ  ให้เป็นไปตามความต้องการของบุคลากร  เพื่อช่วยให้การดำเนินงานบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กร

วิธีผูกใจพนักงานในองค์กร  (ภาวะผู้นำองค์กร)

           เนื่องจากเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ  จึงมีความเกี่ยวข้องกับผู้บังคับบัญชา  ผู้ให้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน  โดยมีหลักการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกับผู้ร่วมงาน  ดังนี้

             การปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา

                  1.  ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มกำลังความสามารถ

                  2.  เมื่อเกิดปัญหาอุปสรรค  ปรึกษาผู้บังคับบัญชาเพื่อหาแนวทางแก้ไขเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

                  3.  ทำงานมุ่งผลประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ  มีความเสียสละเพื่อองค์กร

                   4.  เมื่อเห็นข้อบกพร่อง  หรือมีข้อเสนอแนะ  กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

                   5.  มีความอ่อนน้อมต่อผู้บังคับบัญชา

                   6.  ดูแลในเรื่องส่วนตัวผู้บังคับบัญชาตามสมควร (เป็นเลขาส่วนตัวผู้อำนวยการ)

                    7.  ให้กำลังใจผู้บังคับบัญชาได้ตามโอกาสและกาลเทศะตามสมควร

การปฏิบัติตนต่อเพื่อนร่วมงาน

                    1.  ไม่แบ่งแยกข้าราชการลูกจ้าง  ทุกคนมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนองค์กรตามภาระหน้าที่ของตน

                     2.  การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างร่วมแรงร่วมใจแม้บางครั้งอาจไม่ใช้ภาระงานของเราโดยตรง

                    3.  ให้ความรู้สึกที่ดีและมีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงานไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

                    4.  รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน

การปฏิบัติตนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

                     1.  ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้มากที่สุด  เพราะถ้าผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถทำให้เราปฏิบัติงานน้อยลงและสามารถพัฒนางานส่วนอื่นต่อไปได้

                     2.  การสั่งงานมีการติดตามงานหรือมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานมิใช่เพียงสั่งอย่างเดียว

                     3.  สามารถแก้ไขปัญหาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้

                     4.  รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญหา

                     5.  ให้ความเอื้ออาทรเป็นกันเองด้วยความจริงใจ

                     2.

 

ข้าพเจ้าทำงานอยู่ที่โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี เป็นครูในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ สอนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ป.1 - ป.3

Vision ของโรงเรียน คือ โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ มุ่งเน้นคุณธรรมจริยธรรม สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ไทยและร่วมมือกับชุมชน

Mission คือ 1. จัดระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของนักเรียน

                     2. ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องทางศาสนา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรมของชาติ

                     3. ให้นักเรียนรักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นพลเมืองดีและนำไปปฏิบัติได้

                     4. ส่งเสริมการแสวงหาพัฒนาด้านวิชาการ ประสบการณ์ ความสามารถและทักษะด้านต่างๆทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน

                     5. ส่งเสริมสนับสนุนการผลิต และการใช้สื่ออุปกรณ์ในการเรียนการสอน

                     6. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของบุคคลากรทุกฝ่ายของโรงเรียน

                     7. ประสานความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาทุกๆด้าน

Values คือ ความสุภาพและความรู้ นำสู่ความรักและการพัฒนา เพื่อบรรลุความจริงของชีวิตมนุษย์

ข้อ2. จาก The 8 key Drivers of Engagement เลือกข้อ 8. Relationship with one’s manager (ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน) ในโรงเรียนผู่ที่มีอำนาจการตัดสินใจทั้งหมดคือผู้บริหาร(ครูใหญ่)ซึ่งจะคอยติดตามดูแลครูทุกๆคนและในการบริหารในแต่ละวันนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของครูใหญ่เพียงคนเดียวในการตัดสินใจในกิจกรรมของโรงเรียนทั้งหมด ซึ่งหากครูใหญ่ไม่มีการเอาใจใส่บุคคลากรของโรงเรียนเอาแต่สนใจความต้องการของตนเองก็จะทำให้ครูซึ่งเป็นบุคคลากรที่สำคัญนั้นเกิดความคิดที่จะไปอยู่ที่อื่นหรือหางานใหม่เพราะในบางครั้งผู้บริหารไม่ได้ลงมาสัมผัสด้วยตัวเองทำให้ขาดความเข้าใจไม่ถูกต้องและไม่รับฟังเหตุผลของผู้ใต้บังคับบัญชาเอาเหตุผลของตนเองเป็นหลักและไม่มีความยืดหยุ่นทำให้ไม่มีความรักความผูกพันธ์ต่อองค์กร หากผู้บริหารให้ความเอาใจใส่ไนตัวของครูให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ตอบสนองความต้องการของครูทำให้ครูทำงานอย่างสะดวกสบาย ก็จะเกิความรักความผูกพันธ์และไม่อยากจะไปทำงานที่อื่น

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031 เลขที่ 31
รายงาน เสนออาจารย์พจนารถ ซีบังเกิดนางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031 เลขที่ 31 รปม.รุ่น 4ข้อที่1 วิสัยทัศน์(Vision ) พันธกิจ (Mission )ในหน่วยงานมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่อย่างไร?บริษัท สตาร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจสื่อสาร ประเภทงานโฆษณาทั่วไป และการสื่อสาร ในรูปแบบเกี่ยวกับการผลิตโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สินค้าและบริการมียอดขายสูงและเป็นผู้นำในท้องตลาดวิสัยทัศน์ (Vision ) To be an indispensable source of our clients’ competitive advantage,เป็นแหล่งรวมแหล่งกลยุทธ์และชั้นเชิงที่ลูกค้าต้องพึ่งพาและขาดไม่ได้ เพื่อให้เขาเป็นต่อเหนือคู่แข่งพันธกิจ (Mission ) We will work with our cients as a community of star – reachers whose ideas build leadership brands through imagination and a sensitive and deeper understanding of human behavior”ทำงานร่วมกับลูกค้าอย่างชุมชนผู้ไขว่คว้าดวงดาวความคิดสร้างสรรค์ของเราจะต้องสร้าง Brandของลูกค้าให้นำหน้าเหนือคู่แข่งโดยผ่านจิตนาการและความเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งในพฤติกรรมของผู้บริโภคมีส่วนสัมพันธ์กับงานในหน้าที่ Account  Management แผนกบริหารงานลูกค้า ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้าทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อทำให้สินค้าของลูกค้าติดตลาดมียอดขายสูงและมีชื่อเสียง ซึ่งมีความสอดคล้องกัพันธกิจขององค์ก เนื่องจาก ธุรกิจขององค์การ คือ การผลิตงานและการให้บริการผลิตงานโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการต่างๆโดยผ่านสื่อทางสิ่งพิมพ์ ทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การให้ข่าวสารข้อมูลและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการสินค้าต่างๆให้กับประชาชนและผู้รับบริการทั่วประเทศ เกิดความสนใจและมีภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภคสินค้าทำให้สินค้าและบริการของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการขององค์การมีผลยอดขายและเป็นผู้นำในท้องตลาดของธุรกิจในแต่ละประเภทซึ่งถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจข้อที่2 ให้เลือก The 8 Key Driver of Engagement ให้เลือกปัจจัย จาก  8  ข้อ  เลือก  1  ข้อ   ว่าสนใจข้อไหน ที่องค์กรจะผูกใจพนักงานได้อย่างไร?เลือกที่ ข้อ 5  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน  องค์กรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์การผ่านปัจจัยที่แสดงถึงวัฒนธรรม ประกอบด้วย ระเบียบแบบแผน เช่น การจัดกิจกรรมเป็นประเพณีขององค์การ เช่น งานแถลงผลประกอบการและนโยบายการดำเนินงาน งานวันเกิดองค์การและการประกาศเกียรติคุณของพนักงานผู้ที่ประสบความสำเร็จ  กีฬาสี  กิจกรรมเฉลิมฉลองหรือนันทนาการต่างๆ โดยจะขอกล่าวถึงกิจกรรมงานแถลงผลประกอบการและนโยบายการดำเนินงาน เป็นงานสำคัญประจำปีตามประเพณีขององค์การจะจัดในช่วงต้นปี งานนี้พนักงานทุกคนมารับประทานอาหารร่วมกันเพื่อฟังคณะกรรมการบริหารองค์การรายงานผลประกอบการที่ผ่านมาและแถลงเป้าหมายและทิศทางที่จะร่วมกันดำเนินต่อไปรวมถึงการแจกรางวัลให้กับพนักงานดีเด่นที่มีผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยมทั้งในด้านการทำงานและการช่วยเหลือกิจกรรมอื่นๆขององค์การซึ่งถือว่าเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่ พนักงานในองค์การถือว่าเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศและร่วมยินดีและยอมรับผู้ที่ได้รางวัลว่าเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมและมีความสามารถการประกาศเกียรติคุณให้กับพนักงานดีเด่นที่มีผลการปฏิบัติงานนั้น พนักงานทุกคนจะรู้สึกชื่นชมร่วมยินดีและยกย่องผู้ที่ได้รับรางวัลว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถสูงและเป็นผู้ที่ทำงานเก่งกิจกรรมเป็นเลิศ กิจกรรมต่างๆขององค์การมีขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรกับองค์การซึ่งจะทำให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์การและมีความภาคภูมิใจในองค์การรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จขององค์การ               ประวัติศาสตร์ เรื่องราว และตำนานขององค์การ ซึ่งแสดงถึงความเป็นมาขององค์การประวัติของบุคคลสำคัญ ได้ถูกถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับองค์การด้วยการOrientation และการกล่าวถึงบุคคลสำคัญขององค์การในงานเฉลิมฉลองต่างๆขององค์การเพื่อให้พนักงานรุ่นใหม่ได้รับอย่างเคร่งครัด  
นายสุรัตน์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

 นายสุรัตน์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

1. งานที่ทำเกี่ยวกับอะไร และการทำงานเป็นไปตาม Alignment และ Vision หรือไม่ตอบ  ข้าพเจ้าปฏิบัติงานที่กองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร งานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติคือตรวจสอบและการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (พิเศษ)  ที่มีความสูงเกิน 5 ชั้น และอาคารสาธารณต่างๆ  (ส่วนอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างต่ำกว่า 5 ชั้น ประชาชนต้องขออนุญาตทีสำนักงานเขตนั้นๆ )  ซึ่งมีสถานภาพเทียบเท่ากรมในสำนักการโยธาเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหลายๆกองงาน แต่ละกองยังแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยเล็กลงไปเป็นฝ่ายเป็นกลุ่ม งานต่างๆอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานธุรการกอง กลุ่มงานรับเรื่องการขออนุญาต กลุ่มงานตรวจและควบคุม และกลุ่มงานอนุญาตใช้อาคารเป็นต้น ส่วนฝ่ายต่างๆก็แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบตามขนาดของพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น ฝ่ายควบคุมอาคารที่หนึ่ง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใต้ ฝ่ายควบคุมอาคารที่สอง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนเหนือ และฝ่ายควบคุมอาคารที่สาม รับผิดชอบดูแลพื้นที่ ฝั่งธนบุรีทั้งหมด                  ควาสำคัญของการประสานสอดคล้องภายในองค์กร (Organization Alignment      ก่อนที่ผู้บริหารจะนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติผู้บริหารจำเป็นต้องวิเคราะห์ ตรวจดูปัจจัยต่างๆภายในองค์กร โดยละเอียดก่อนว่ามีการประสานสอดคล้องกันหรือไม่ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ประสานสอดคล้องหรือไม่สนับสนุนการดำเนินการของส่วนอื่นๆ หรือมีความบกพร่อง ย่อมส่งผลให้การดำเนินการในส่วนอื่นๆสะดุดติดขัด  และไม่สามารถดำเนินการในส่วนต่างๆ ตามกลยุทธ์ที่กำหนด                หากผู้บริหาร พบความบกพร่องที่อาจนำไปสู่การไม่ประสานสอดคล้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการขององค์กรได้ตามที่ประสงค์ ปัจจัยต่างๆที่ผู้บริการจำเป็นต้องพิจารณาให้เกิดการประสานสอดคล้องกันประกอบด้วยเช่นกลยุทธ์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบต่างๆ (System) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ทักษะของบุคลากร (skills) สไตล์การทำงาน (Style) และคุณค่ารวมของสมาชิกในองค์การ (Shared Value)                 ส่วนวิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้บริหาร จะต้องมีความฝันมีความคิดกว้างไกลและต้องเป็นผู้เข้มแข็ง มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก เช่น เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ทุกสถานการณ์ (Change) มีภาวะผู้นำ (Leadership) และสามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation) กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และมีความยุติธรรม จริยธรรม คุณธรรม (Merite) สูงคุณค่า (Value) ของการดำเนินการตามพันธกิจ ทำให้เกิดผลตอบแทนตามเป้าหมายหรือเป็นไปตามที่ตนเองหวังในตำแหน่งหน้าที่ยกระดับฐานะ เพื่อตนเองส่วนภาคเอกชนธุรกิจ ก็สามารถเพิ่มในการทำกำไรและมีอัตราส่วนความสามารถให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเพื่อเจ้าของกิจการเป็นต้น2. ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Relational command)                ในปัจจุบันการรักษาความสัมพันธ์กันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีบทบาทปละความสำคัญเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ได้ จะบริหารงานได้อย่างราบรื่น ได้รัความร่วมมือ  ผู้ใต้บังคับบัญชาและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความทุ่มเทในการแก้ไขปัญหา และการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงาน มักไม่ก่อปัญหาหรือมีข้อเรียกร้องต่อรอง ท่นำไปสู่ภาระขององค์กรที่สูงเกินระดับที่เหมาะสม                การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีได้นั้น หัวหน้างานหรือผู้บริหาร จำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งนิยมใช้เป็นหลักในการรักษาความสะมพันธ์  ได้แก การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Compensation) การติดต่อสื่อสาร (communication) ที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอกับผู้ใต้บังคับบัญชา การสร้างความท้าทายให้เกิดขึ้นในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำอยู่ (Challenge) และการดูแลเอาใจใส่หากองค์กรดูแลเอาใจใส่ (Care) “ผู้ใต้บังคับบัญชา” ย่อมจะทำให้ความสัมพันธ์เป็นไปโดยราบรื่นอย่างแน่นอน                นอกจากประเด็นต่างๆข้างต้นแล้ว การรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ในปัจจุบัน ผู้บิหารหรือหะวหน้างาน ควรมให้ความสนใจเพิ่มเติมกับประเด็นร่วมสมัยอื่นๆ ที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสนใจมากขึ้น เช่น การป้องกันมิให้เกิดการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การคุ้มครองสิทธิส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา (Privacy Rights) เช่นกาไม่ดักฟังโทรศัพท์ การไม่เข้าไปก้าวกาอยเรื่องส่วนตัวจนเกินไป เป็นต้น  ตลอดจนการให้ความสำคัญกับประเด็นทางครอบครัว (Family Issues) เช่น องค์กรบางองค์กรในปัจจุบันสามารถเชิญให้สมาชิกในครอบครัวมาเข้าร่วมด้วย จึงทำให้เกิดความใกล้ชิดกันมากขึ้น ระหว่างองค์กรกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ใต้บังคับบัญชา และช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้ใต้บังคับบัญชาแนบแน่นขึ้นเป็นต้น

 

นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014
1. งานที่ทำเกี่ยวกับอะไร และการทำงานเป็นไปตาม Alignment และ Vision หรือไม่ตอบ  ข้าพเจ้าปฏิบัติงานที่กองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร งานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติคือตรวจสอบและการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร (พิเศษ)  ที่มีความสูงเกิน 5 ชั้น และอาคารสาธารณต่างๆ  (ส่วนอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างต่ำกว่า 5 ชั้น ประชาชนต้องขออนุญาตทีสำนักงานเขตนั้นๆ )  ซึ่งมีสถานภาพเทียบเท่ากรมในสำนักการโยธาเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบด้วยหลายๆกองงาน แต่ละกองยังแบ่งเป็นหน่วยงานย่อยเล็กลงไปเป็นฝ่ายเป็นกลุ่ม งานต่างๆอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มงานธุรการกอง กลุ่มงานรับเรื่องการขออนุญาต กลุ่มงานตรวจและควบคุม และกลุ่มงานอนุญาตใช้อาคารเป็นต้น ส่วนฝ่ายต่างๆก็แบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบตามขนาดของพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น ฝ่ายควบคุมอาคารที่หนึ่ง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนใต้ ฝ่ายควบคุมอาคารที่สอง รับผิดชอบดูแลพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนเหนือ และฝ่ายควบคุมอาคารที่สาม รับผิดชอบดูแลพื้นที่ ฝั่งธนบุรีทั้งหมด                  ควาสำคัญของการประสานสอดคล้องภายในองค์กร (Organization Alignment)                 ก่อนที่ผู้บริหารจะนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติผู้บริหารจำเป็นต้องวิเคราะห์ ตรวจดูปัจจัยต่างๆภายในองค์กร โดยละเอียดก่อนว่ามีการประสานสอดคล้องกันหรือไม่ การที่ส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์กรไม่ประสานสอดคล้องหรือไม่สนับสนุนการดำเนินการของส่วนอื่นๆ หรือมีความบกพร่อง ย่อมส่งผลให้การดำเนินการในส่วนอื่นๆสะดุดติดขัด  และไม่สามารถดำเนินการในส่วนต่างๆ ตามกลยุทธ์ที่กำหนด                หากผู้บริหาร พบความบกพร่องที่อาจนำไปสู่การไม่ประสานสอดคล้องให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการขององค์กรได้ตามที่ประสงค์ ปัจจัยต่างๆที่ผู้บริการจำเป็นต้องพิจารณาให้เกิดการประสานสอดคล้องกันประกอบด้วยเช่นกลยุทธ์ (Strategy) โครงสร้าง (Structure) ระบบต่างๆ (System) การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ทักษะของบุคลากร (skills) สไตล์การทำงาน (Style) และคุณค่ารวมของสมาชิกในองค์การ (Shared Value)                 ส่วนวิสัยทัศน์ (Vision) ของผู้บริหาร จะต้องมีความฝันมีความคิดกว้างไกลและต้องเป็นผู้เข้มแข็ง มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก เช่น เป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ทุกสถานการณ์ (Change) มีภาวะผู้นำ (Leadership) และสามารถสร้างแรงจูงใจ (Motivation) กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และมีความยุติธรรม จริยธรรม คุณธรรม (Merite) สูงคุณค่า (Value) ของการดำเนินการตามพันธกิจ ทำให้เกิดผลตอบแทนตามเป้าหมายหรือเป็นไปตามที่ตนเองหวังในตำแหน่งหน้าที่ยกระดับฐานะ เพื่อตนเองส่วนภาคเอกชนธุรกิจ ก็สามารถเพิ่มในการทำกำไรและมีอัตราส่วนความสามารถให้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเพื่อเจ้าของกิจการเป็นต้น2. ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (Relational command)                ในปัจจุบันการรักษาความสัมพันธ์กันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีบทบาทปละความสำคัญเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารที่รักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้ได้ จะบริหารงานได้อย่างราบรื่น ได้รัความร่วมมือ  ผู้ใต้บังคับบัญชาและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความทุ่มเทในการแก้ไขปัญหา และการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้ ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือพนักงาน มักไม่ก่อปัญหาหรือมีข้อเรียกร้องต่อรอง ท่นำไปสู่ภาระขององค์กรที่สูงเกินระดับที่เหมาะสม                การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดีได้นั้น หัวหน้างานหรือผู้บริหาร จำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งนิยมใช้เป็นหลักในการรักษาความสะมพันธ์  ได้แก การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม (Compensation) การติดต่อสื่อสาร (communication) ที่มีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอกับผู้ใต้บังคับบัญชา การสร้างความท้าทายให้เกิดขึ้นในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำอยู่ (Challenge) และการดูแลเอาใจใส่หากองค์กรดูแลเอาใจใส่ (Care) “ผู้ใต้บังคับบัญชา” ย่อมจะทำให้ความสัมพันธ์เป็นไปโดยราบรื่นอย่างแน่นอน                นอกจากประเด็นต่างๆข้างต้นแล้ว การรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ในปัจจุบัน ผู้บิหารหรือหะวหน้างาน ควรมให้ความสนใจเพิ่มเติมกับประเด็นร่วมสมัยอื่นๆ ที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสนใจมากขึ้น เช่น การป้องกันมิให้เกิดการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) การคุ้มครองสิทธิส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา (Privacy Rights) เช่นกาไม่ดักฟังโทรศัพท์ การไม่เข้าไปก้าวกาอยเรื่องส่วนตัวจนเกินไป เป็นต้น  ตลอดจนการให้ความสำคัญกับประเด็นทางครอบครัว (Family Issues) เช่น องค์กรบางองค์กรในปัจจุบันสามารถเชิญให้สมาชิกในครอบครัวมาเข้าร่วมด้วย จึงทำให้เกิดความใกล้ชิดกันมากขึ้น ระหว่างองค์กรกับสมาชิกในครอบครัวของผู้ใต้บังคับบัญชา และช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับผู้ใต้บังคับบัญชาแนบแน่นขึ้นเป็นต้น

 

นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง รปม.รุ่น 4 รหัส 50038010043
เรียนอาจาย์พจนารถ  ซีบังเกิด   ข้าพเจ้านางสาววรางคณา   ศิริหงษ์ทอง  รปม.รุ่น 4  รหัส 50038010043  ข้อที่ 1. ปัจจุบันข้าพเจ้าปฎิบัติงานอยู่ที่กองนโยบายและแผน  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปณิธาน (Motto)ทรงปัญญา  ศรัทธาธรรม  นำสังคม วิสัยทัศน์ ( Vision )มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ  เพื่อปวงชน “A Leading Quality University for All”         พันธกิจ (Mission)1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า ตรงกับความต้องการของ ชุมชน และสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นประชากรโลก (global citizen) อย่างมีความสุข2. วิจัย สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่สากล3. ผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครู   4. ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ  เพื่อมาตรฐานชุมชน สังคมและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs  สู่สากล5. อนุรักษ์  พัฒนาและบริการ  และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้านศิลปวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ กองนโยบายและแผนมีหน้าที่-  วางแผนและจัดทำงบประมาณ  โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายยุทธศาสตร์ของชาติกับเป้าหมายยุทธศานตร์ของกระทรวงและเป้าหมายการให้บริการของหน่วยงาน  รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นพื้นฐานในการวานแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน  การเชื่อมโยงผลผลิตกับงานงบประมาณการบริหารจัดการ  และการกำหนดตัวชี้วัดระดับผลผลิตและผลลัพธ์เพื่อการประเมินผลของหน่วยงาน-  บริหารงบประมาณ  ให้หน่วยงานมีความคล่องตัวในการใช้งบประมาณมากขึ้น-  ติดตามประเมินผลและรายงานงบประมาณ ให้มีการรายงานผลการดำเนินงานที่ชัดเจน  ติดตามและประเมินผลความสำเร็จของผลผลิตและเป้าหมายการให้บริการหน่วยงาน วัตถุประสงค์จากปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจดังกล่าวของกองนโยบายและแผนจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานไว้ดังนี้ 1. เพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหาร วางแผนและพัฒนา สนองความต้องการของสังคม2. เพื่อจัดทำกรอบนโยบาย และแผนพัฒนาสถาบันให้ตอบสนองพันธกิจและเป้าหมายของสถาบัน3. เพื่อให้มีการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสถาบัน และแผนปฏิบัติการประจำปี4. ส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานด้านการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ5. เพื่อจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถาบัน จากหน้าที่และวัตถุประสงค์ข้างต้น กองนโยบายและแผนเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาด้านวางแผน บริหาร  ติดตามประเมินผลและรายงานงบประมาณ เพือให้มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด 

ข้อที่ 2.  The 8 Key Driver of Engagement

เลือกข้อ 5  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน (Pride about the company)Organization Commitment (ทัศนคติผูกพันธ์ รักองค์การ)  เกิดจาก        1. Relation with organization  ความสัมพันธ์กับองค์การในด้านใดด้านหนึ่ง นำมาซึ่ง2. Decision to continued membership         ต้องการอยู่ในองค์การรูปแบบ·       Affective        อยู่ด้วยอารมณ์ความรู้สึก ไม่ต้องมีเหตุผล เป็นความผูกพันธ์ที่น่าจะดีที่สุด·       Continuance   เริ่มใช้เหตุผล ชั่งน้ำหนักผลดีผลเสีย ที่จะอยู่หรือออกจากองค์การtangible or tangible cost (มองไม่เห็น เช่น ต้องย้ายบ้าน ย้ายรร.) อยู่เพราะต้องอยู่ (need to)·       Normative      พันธะผูกพันธ์ทางใจ (feeling of obligation) (ought to) เช่น ทุนอานันทมหิดล ที่ไม่ต้องใช้ทุน ในปัจจุบันความผูกพันธ์กับองค์การควรจะมีมากขึ้น เพราะ1) การแข่งขันในปัจจุบัน ผู้จัดการต้องมีหลาย functions  มี multi-skills ต้องรับผิดชอบมากขึ้น ในอดีตแต่ละคนทำหน้าที่เดียวจะหาคนใหม่ได้ง่าย ปัจจุบันองค์การต้องการให้คนอยู่2) มี contract out มากขึ้น ต้องการลด cost มองคนเป็นต้นทุน เกิดความขัดแย้ง (paradox) กับแนวคิดที่มองว่าคนเป็นสิ่งสำคัญ  แต่การ outsourcing ยิ่งต้องการ commitment เพราะผลงานของคนเหล่านี้ก็คือชื่อเสียงขององค์การ  จึงต้องทำให้คนรักโดยเฉพาะรักงานและรักองค์การ (หรือรักนาย รักกลุ่ม) เพื่อรักษาคนให้อยู่กับองค์การแต่ในความเป็นจริงความผูกพันธ์กับองค์การกลับมีน้อยลง เพราะ องค์การก็ไม่ได้รักคน มีการปรับคนออก จากที่อดีต ให้ความมั่นคง (job security) แลกกับความจงรักภักดี (loyalty) รวมทั้งค่านิยมของคนในปัจจุบัน 
                        สิ่งที่มีผลต่อความผูกพันธ์
1. Organizational CharacteristicsFlat , empowerment , decentralization , fairness , open communicationองค์การเล็กจะรู้สึกเป็นคนสำคัญ แต่ถ้าองค์การใหญ่จะกลายเป็น nobody2. Person Characteristicsสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ Person competencies ถ้าตรงกับ Core competencies ขององค์การ จะรู้สึกว่าตนเองสำคัญ3. Work ExperienceRole conflict    ลักษณะงานขัดแย้งกับบุคลิก จะทำให้ไม่รู้สึกผูกพันธ์Role ambiguity  ไม่สามารถอ้างเป็นความรับผิดชอบของตนเองได้ วิธีทำให้คนรักองค์การ (High Commitment)

1. Employment guarantees   

(job security)
2. Egalitarianism in word & deed ความเสมอภาค ลด hierarchy
3. Self-managing team  
4. Job enlargement & Job enrichment  
5. Premium compensation              จ่ายค่าตอบแทนดี
6. Incentive compensation              จ่ายค่าตอบแทนในลักษณะสร้างแรงจูงใจ (motivation) นอกเหนือเงินเดือน
7. Extensive socialization & training   ปลูกฝังกล่อมเกลา
8. Extensive Job rotations              จะได้ share ความเห็นอกเห็นใจของคนในองค์การ
9. Open Information            ให้ข้อมูลสม่ำเสมอ บอกล่วงหน้าแล้วช่วยกันจะดีกว่า
10. Strong culture       มีวัฒนธรรมเข้มแข็งให้คนยึดเหนี่ยวกันมากขึ้น
11. Extensive screening        กรรมการคัดเลือกควรเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมองค์การ และไม่เปลี่ยนบ่อย
12. Strong emphasis on ownership   สร้างความเป็นเจ้าของ ให้มีส่วนร่วมตัดสินใจ ให้มี flexible hour เป็นต้น
          Strategy of Downsizing

1. Work force reduction

(top-down approach) เพื่อลด cost  นิยมทำมากที่สุด
2. Work re-design (re-engineering)         เพื่อเพิ่ม efficiency
3. Systemic approach (learning organization , TQM)  
ทางเลือกอื่น (alternative approach) เช่น สื่อสารให้พนักงานรับรู้และร่วมกันหาทางออก (contribution approach)
 ความผูกพันจากมุมมองนักวิชาการ ชวัลณัฐ เหล่าพูนพัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความผูกพันต่อองค์กร หากจะตีความ Employee Engagement พัฒนามาจากหลักคิดความพึงพอใจในงานของคนทำงาน ประกอบด้วย หัวหน้างาน เนื้องาน และสถานที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายการใช้ขึ้นอยู่กับองค์กรตามความเหมาะสม และตามลักษณะกิจการ  หากจะเจาะจง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างพนักงานกับองค์กร มี 3 ลักษณะ คือ 1.ความเชื่อมั่น 2.ยอมรับเป้าหมายร่วมกัน ตั้งใจ ทุ่มเทความสามารถให้องค์กร และ3.ปรารถนาที่จะอยู่ในองค์กร  ตัวอย่างเช่น"โออิชิ" ยึดทำ 4 ได้ 1  ตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าประสบการณ์จากการทำงานที่ควบคู่กับการสร้างและพัฒนาความผูกพันกับองค์กรและหัวหน้าว่า ลักษณะของคนที่มีความผูกพันกับองค์กร หน้าที่งาน หรือสำหรับหัวหน้า ถ้าไม่เคยมาสาย ไม่เคยลา หรือไม่เคยไม่รับผิดชอบ จะไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่หากปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วหนึ่งครั้งก็จะมีครั้งต่อมาเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้ความผูกพันหายไป  "สิ่งที่บอกลูกน้องเสมอ ก็คือ ต้องทำงานให้หนัก เพื่อจะสบาย"  ทฤษฎีส่วนตัวที่เขาสร้างขึ้นด้วยความเชื่อตั้งแต่อยู่ในฐานะลูกน้องจนกระทั่งเป็นเถ้าแก่เลื่องชื่อก็คือ "หลักคิดทำ 4 ได้ 1" เพื่อก้าวสู่ขั้น "ทำ 1 ได้ 4" ความหมายก็คือ พยายามทำงานให้มากแม้จะได้เงินน้อย เพื่ออนาคตที่จะได้ทำงานน้อยๆ แต่ได้ผลตอบแทนมาก  ตันกล่าวว่า วิธีการบริหารองค์กรหรือบุคคลมีหลายทฤษฎี หลายวิธีที่ใช้อาจประสบความสำเร็จ วิธีที่เขาใช้ก็คือการให้ ไม่ว่าให้โอกาส ให้อภัย และให้ความช่วยเหลือ พนักงานจะรู้สึกว่าเถ้าแก่เป็นเสมือนพ่อแม่ที่ไม่ทอดทิ้งลูก และให้ความเป็นเจ้าของบริษัทกับพนักงาน ให้พวกเขารู้สึกเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินธุรกิจ  พนักงานที่รักองค์กรจะคิดเสมอว่าจะช่วยบริษัทอย่างไร? ความสำเร็จของโออิชิวันนี้ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากคำถามนี้ และเมื่อบริษัทเติบโตขึ้นก็ถึงเวลาที่ผู้บริหารจะตั้งคำถามกลับว่าจากนี้ไปจะตอบแทนความสุขกลับมาที่พนักงาน  

ตันทิ้งท้ายว่า วิธีสร้างความผูกพันกับองค์กร ก็คือ ให้พนักงานมีส่วนร่วม ให้งานที่ท้าทาย ผู้จัดการหรือผู้บริหารจะต้องทำให้พนักงานที่เข้ามาใหม่รู้สึกอยากทำงานนานๆ เพราะคนที่มาเพื่อเอาผลประโยชน์จะอยู่ได้ไม่นานแล้วก็ไป เมื่อเห็นบ่อน้ำที่ใหญ่กว่า เพราะฉะนั้น ตั้งแต่แรก การรับพนักงานจะต้องทำให้พนักงานลำบากมากๆ แค่สมัครลำบากก็อยากเข้าแล้ว อะไรที่ได้มาง่ายๆ จะไม่เห็นคุณค่า

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4
เรียน  อาจารย์พจนารถ   ซีบังเกิด ข้อ 1.   องค์กรที่ทำงานอยู่คือ สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาปรัชญา  :  ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคมวิสัยทัศน์  :  ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้พันธกิจ :1. ดำเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย
2. ดำเนินการวิจัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย
4. เผยแพร่ผลงานการวิจัย
เป้าประสงค์  :1. เพื่อดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัยและสังคม
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
3. เพื่อยกมาตรฐานงานวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ อ้างอิงบนฐานข้อมูลและจดสิทธิบัตรได้นโยบายการปฏิบัติงาน  :1. เร่งรัดให้มีการพัฒนาสมรรถภาพ และประสิทธิภาพขององค์กร บุคลากร และระบบประสานงานวิจัยในมหาวิทยาลัยให้มีความพร้อมต่อการทำวิจัยในทุกรูปแบบ2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานและชุมชนดำเนินการวิจัยเป็นเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน  ประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยไปสู่การพัฒนาภารกิจของมหาวิทยาลัยพัฒนาชุมชน  ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานวิจัยให้แพร่หลายในระดับชาติและนานาชาติ3. ดำเนินการวิจัยสถาบันและวิจัยที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในการจัดข้อมูลสนับสนุนการวางแผนและการตัดสินใจในการทำงานของมหาวิทยาลัย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อดำเนินงานให้การทำวิจัยมีคุณภาพ        สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการวิจัยและบริการการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ร่วมมือประสานงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินงานภายใต้พันธกิจและปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในส่วนที่เน้นงานวิจัยเป็นหลัก  มีภารกิจด้านการดำเนินงานวิจัยตามนโยบายของมหาวิทยาลัย  และเป็นหน่วยงานบริหารจัดการด้านการวิจัยให้แก่คณาจารย์  บุคลากร นักศึกษา  และประสานงานการวิจัยกับหน่วยงานภายนอก เพื่อแสวงหาแหล่งทุนให้แก่คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย  โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์มีการทำวิจัย ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้บังเกิดผลทั้งด้านคุณภาพและมีปริมาณมากยิ่งขึ้น  โดยที่สถาบันวิจัยและพัฒนาได้กำหนดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย ข้อ 2.  ปัจจัย 8 Key Drivers of Engagement  ที่เลือกคือข้อ 5.  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน (Pride about the company)    การทำงานในองค์กร  ทุกคนย่อมมีความต้องการและความคาดหวังให้งานในหน้าที่ของตนดำเนินไปได้ด้วยดี  และประสบกับความสำเร็จ  โดยมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เดียวกัน   เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กร  ก็คือ บุคลากรภายในองค์กรนั่นเอง  คนเราใช้เวลาโดยส่วนใหญ่ทำงาน และงานก็เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของคนเช่นกัน  สังเกตว่าทุกหน่วยงานจะต้องเกี่ยวพันระหว่างคนกับงานเป็นหลัก โดยนำเอาการบริหารจัดการมาเป็นตัวควบคุมดำเนินการให้คนทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์  ผู้บริหารจึงไม่ควรมองข้ามความสำคัญของบุคลากรเหล่านี้ ด้วยการทำตัวเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีให้ความรักความอบอุ่นกับบุคลากร และคิดว่าบุคลากรทุกคนเป็นสมาชิกของครอบครัวใหญ่ ปฏิบัติต่อเขาเสมือนเป็นลูกหลานและลูกค้าคนหนึ่งของเรา ที่สำคัญต้องมีระบบสวัสดิการ เงินเดือนที่เหมาะสม และจับอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพพนักงานอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้แม้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น แต่ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว เพราะนอกจากช่วยสร้างความสุขกายสบายใจให้บุคลากรแล้ว ยังทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรด้วย   ความภาคภูมิใจในองค์กร คือ การได้ทำงานที่ใจรักกับงานทุกชิ้นที่ทำ  มีหัวหน้างานที่เป็นแบบอย่าง ที่ดี  เพื่อนร่วมงานหารือกันได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน  งานจะออกมาดีได้ บุคลากรต้องรักที่จะทำงาน  มีความภาคภูมิใจในองค์กร  การได้ทำงานที่เรารักก็จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุข  เราสามารถที่จะเลือกรักงานที่เราทำอยู่ได้  เมื่อเราทำงานที่รับผิดชอบงานนั้น ๆ  เราจะต้องให้ใจกับงานนั้น ๆ ด้วยการพยายามศึกษาและพิจารณาในส่วนที่ดี ๆ ของเนื้องาน  เพื่อจะเป็นแรงเสริมให้เรารักในงานนั้น ๆ ได้    ดังนั้น คนเป็นพลังขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนาและเติบโต และเมื่อคนได้ก้าวเข้าสู่องค์กรแล้ว  ทุกคนจะต้องมีความรัก  ความศรัทธา  พร้อมจะทุ่มเททำงานให้องค์กรที่เขารักอย่างเต็มความสามารถ  และเกิดความภาคภูมิใจในองค์กรที่ได้เลือกตนเข้าร่วมทำงานด้วย
นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041
เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด     จากงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้หาข้อมูลและแสดงความคิดเห็น  2 ประเด็น   ประเด็นที่ 1  :   Vision  Mission  ค่านิยมขององค์กรคืออะไร  และงานที่ทำอยู่ตอบสิ่งดังกล่าวอย่างไรบ้าง ?             ข้าพเจ้าทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ซึ่งมหาวิทยาลัยได้กำหนดปณิธาน (Motto)  วิสัยทัศน์ (Vision)  พันธกิจ (Mission)  ดังนี้ ปณิธาน (Motto)              ทรงปัญญา  ศรัทธาธรรม  นำสังคม
วิสัยทัศน์ (Vision) 
            มหาวิทยาลัยคุณภาพชั้นนำ  เพื่อปวงชน               “A Leading Quality University for All”  
พันธกิจ (Mission)             

            1.  ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพระดับแนวหน้า ตรงกับความต้องการของ ชุมชน และสังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ และเป็นประชากรโลก (global citizen) อย่างมีความสุข


            2.  วิจัย สร้างนวัตกรรม และองค์ความรู้ สู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนาภูมิปัญญาไทยสู่สากล


            3.  ผลิตและพัฒนาครูแนวใหม่ ที่สนองตอบการปฏิรูปการศึกษาและการฝึกหัดครู 
            4.  ให้บริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ  เพื่อมาตรฐานชุมชน สังคมและผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs สู่สากล


            5. อนุรักษ์  พัฒนาและบริการ  และเป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลสารสนเทศทางด้าน
ศิลปวัฒนธรรม กรุงรัตนโกสินทร์ 

            หน่วยงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานนั้น คือ สถาบันวิจัยและพัฒนา หากพิจารณาจากพันธกิจของมหาวิทยาลัยแล้ว วิจัย ถือเป็นพันธกิจหลักข้อหนึ่งของมหาวิทยาลัย  ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงได้ดำเนินงานให้สอดคล้องกับพันธกิจและกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นหลัก และกำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงานไว้ 3 ประการ  คือ 1) เพื่อดำเนินการวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัยและสังคม 2) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และ 3) เพื่อยกมาตรฐานงานวิจัยให้มีคุณภาพ สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ อ้างอิงบนฐานข้อมูลและจดสิทธิบัตรได้

            สถาบันวิจัยและพัฒนา มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการทำวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย  ให้เกิดผลผลิตทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ โดยในแต่ละปีสถาบันวิจัยฯได้กำหนดกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของหน่วยงาน  เพื่อตอบสนองตามพันธกิจ วิสัยทัศน์และปณิธานของมหาวิทยาลัย   

ประเด็นที่ 2  :   เลือกปัจจัย 8 Key Divers of Engagement  มา 1 ข้อ  พร้อมอธิบายว่ามีผลกับการผูกใจพนักงานอย่างไรและหากเป็นองค์กรจะใช้วิธีการอย่างไร?

 

            ปัจจัยทั้ง 8  ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญทั้งสิ้น  ในที่นี้ข้าพเจ้าขอเลือก การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน  เป็นสิ่งที่จะทำให้พนักงานผูกใจกับองค์กรได้  เนื่องจากพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้  องค์กรจึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  ที่จะส่งผลต่อองค์กรและตัวพนักงานได้

            การพัฒนาศักยภาพของพนักงานนั้น ถือได้ว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานอีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานได้ดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด เกิดความตระหนักและมุ่งมั่นในคุณภาพงานของตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญงาน และมีความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม  รวมทั้งสร้างองค์กรให้เป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด  ซึ่งอาจเป็นเส้นทางในการเจริญเติบโตทางหน้าที่การงานของพนักงานได้  ดังนั้นหลายองค์กรจึงได้ระบุการพัฒนาศักยภาพของพนักงานลงในแผนการดำเนินงานหรือยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาองค์กร  โดยใช้วิธีการพัฒนาต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การมุ่งเน้นการเรียนรู้ด้วยกระบวนการฝึกอบรม  สร้างโอกาสในการเรียนรู้ในหน้าที่การงานทั้งในห้องเรียนและการปฏิบัติงานจริง  การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์  การหมุนเวียนงานเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายในการทำงาน  การมอบหมายงานที่มีความท้าทาย หรือมีขอบเขตงานที่กว้างขึ้น เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนางาน

 

  
นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส 50038010019

เรียน  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด 

     ดิฉัน นางอนงค์  มะลิวรรณ์ ปัจจุบันปฏิบัติงานที่งานพัสดุ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก่อนหน้านี้เคยปฏิบัติงานที่งานธุรการ ต่อมาเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๕๐ อาจารย์ที่ปฏิบัติงานที่งานพัสดุได้ขอย้ายไปทำหน้าที่สอนซึ่งตรงกับสายงานของอาจารย์ จึงทำให้งานพัสดุขาดบุคลลากร จะด้วยความบังเอิญหรือว่าเป็นเพราะบุญหรือบาปก็ไม่รู้(ไม่มีใครแล้ว)  มหาวิทยาลัยจึงสั่งให้ดิฉันไปปฏิบัติงานที่งานพัสดุ  ซึ่งงานพัสดุของมหาวิทยาล้ยราชภัฏสวนสุนันทาก็จะมี ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ นโยบาย ดังนี้

ปรัชญา ปฏิบัติงานฉับไว ให้ความร่วมมือ ยึดถือระเบียบ

วิสัยทัศน์  มุ่งมั่นรักษาระเบียบปฏิบัติ พัฒนาระบบและสนับสนุนทุกหน่วยงานเพื่อความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย

พันธกิจ   สนับสนุนทุกหน่วยงานให้ได้มาและบำรุงรักษาซึ่งวัสดุและครุภัณฑ์เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เป็นเลิศทางวิชาการและมาตรฐานสากล

วัตถุประสงค์ 1. ให้บริการหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย 2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกในการจัดซื้อและจัดจ้าง 3. ควบคุมดูแลงานพัสดุให้เป็นไปตามระเบียบราชการ 4. สนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัย

นโยบาย  1.  สนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้สามารถบริหารงานพัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระเบียบราชการ 2. จัดระบบงานพัสดุให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย 3. พัฒนาบุคลากรของงานพัสดุให้สามารถทำงานอย่างมีความสุข มีจิตสำนึกและรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง

นโยบายประกันคุณภาพ  1. ให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในระบบคุณภาพ 2. ให้บริการที่ตรงความต้องการ ถูกต้องตามระเบียบและเป็นที่พึงพอใจ 3. พัฒนาบุคลากรและการบริการอย่างต่อเนื่อง

แผนกลยุทธ์  ดำเนินการให้งานพัสดุถูกต้องตามระเบียบ

         จากปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ตามที่กล่าวมาแล้วจะเป็นเพียงในส่วนของงานพัสดุเท่านั้น  แต่วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจของมหาวิทยาลัยนั้นมีเพื่อน ๆ ในรุ่นเดียวกันหลายท่านได้เรียนให้อาจารย์ทราบไปแล้ว  และจากปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของงานพัสดุ  ดิฉันซึ่งปฏิบัติงานในส่วนนี้ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติตลอดมา เนื่องจากงานพัสดุถือเป็นงานบริการและสนับสนุนให้แก่อาจารย์ทั้งมหาวิทยาลัยที่ต้องการวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการเรียนการสอน  เพื่อพัฒนาศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นเลิศทางวิชาการ  จึงถือได้ว่าดิฉันได้ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของหน่วยงาน....พัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแล้ว  และจากข้อคำถามของอาจารย์ข้อที่ 2. อาจารย์ถามว่าลักษณะใน 8 ข้อ ให้เลือกเอาข้อใดข้อหนึ่งมาตอบนั้นดิฉันขอเลือกเอาหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน เนื่องจากผู้บริหารมักจะพูดว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อองค์กรมาก องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์  แต่ในขณะเดียวกันทรัพยากรมนุษย์อาจจะถูกมองข้าม และละเลยเอาใจใส่เท่านที่ควร  เช่น ขาดการอบรม  ขาดการพัฒนาศักยภาพการฝึกอบรมเป็นการพัฒนาหาความรู้ ความชำนาญให้แก่บุคลากรโดยการอบรมอาจจะให้ลงมือปฏิบัติงานจริง หรืออบรมจากภายนอกที่มีการกำหนดหลักสูตร  เช่น มหาวิทยาลัยต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้กับุคลากร โดยให้ทุนการศึกษาส่งไปเรียนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทั้งภายใน และนอกประเทศ  ให้โอกาสพนักงานได้ไปศึกษาดูงานต่างประเทศ เพื่อจะได้นำเอาส่วนที่ดีของหน่วยงานอื่นเขามาพัฒนาและปรับปรุงมหาวิทยาลัยให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

 

ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

เพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านโปรดทราบ

               เสาร์-อาทิตย์นี้ พวกเราต้องอพยพไปเรียนที่สำนักวิทยบริการ (ห้องสมุด) ชั้น 4  ดังนั้นจึงขอแจ้งให้เพื่อน ๆ ทราบระเบียบในการเข้าไปในห้องสมุดว่า  1.  นักศึกษาหญิงห้ามใส่กระโปรงสั้น  2. ทั้งชายและหญิงห้ามใส่รองเท้าแตะ  นี้คือระเบียบของห้องสมุด เน้น  ต้องแต่งกายสุภาพแล้ว พรุ่งนี้พบกันอย่าลืมฟังวิทยุรายการของ ศ.ดร.จิระ น๊ะจ๊ะ

น.ส.อรทัย บุญยรัตพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่  50038010005   อ.พจนารถ  ซีบังเกิดปัจจุบันรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท  ในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานในพระองค์ข้อ 1 สำนักพระราชวัง  เป็นหน่วยงานของทางราชการ  มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชวัง  ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สิน  และผลประโยชน์ในองค์พระมหากษัตริย์  อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา  และการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี  โดยมีเลขาธิการพระราชวัง  เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชกิจราชการ                                วิสัยทัศน์ (Vision)  ของสำนักพระราชวัง                การถวายงานตามพระราชประสงค์ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  และพระบรมวงศานุวงศ์                                  พันธกิจ (Mission)  ของสำนักพระคลังข้างที่                คือรับผิดชอบด้านพระราชทรัพย์ของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์  บัญชีรายรับและรายจ่ายของเขตพระราชฐาน  ดูแลรักษาเครื่องใช้และอาคารสถานที่ภายในเขตพระราชฐาน  รับผิดชอบการจัดแสดงเครื่องราชภัณฑ์  และงานศิลปาชีพในพิพิธภัณฑ์                Mission  ของข้าพเจ้าคือ การดูแลรับผิดชอบการจัดแสดงเครื่องราชภัณฑ์  เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ  ประชาชนทั่วไป  นักเรียนและนักศึกษา  ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในเครื่องราชภัณฑ์ ข้อ 2  Pride  about  the  company  :  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน                                  การปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละองค์กร  จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไปตามภารกิจขององค์กร  สิ่งที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือ ทรัพยากรมนุษย์  ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงหลายๆ องค์กรได้ให้ความสำคัญในด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นพิเศษ  ดังนั้นผู้บริหารแต่ละองค์กรควรจะสร้างให้พนักงานมีความภาคภูมิใจในองค์กร  เนื่องจากเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มใจและภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  ผลงานหรือผลลัพธ์  (out  come) ที่ออกมาอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ  เพราะพนักงานทำงานด้วยความเต็มใจ                                ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่มีคนอยากเข้าทำงาน  เช่น  การบินไทย  ปูนซิเมนต์ไทย  ธนาคารแห่งประเทศไทย  สำนักพระราชวัง  สำนักราชเลขาธิการฯ  กระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ  เนื่องจากองค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรที่สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน  ส่งผลให้พนักงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร  มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กร  ทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ  โดยพนักงานมีความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานอยู่   
น.ส.จารุวรรณ ตันไชย นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  เลขที่ 50038010015  อ.พจนารถ  ซีบังเกิด  (Perfect  and  high  technology)  ขวัญใจชาว รปม.รุ่น 4ข้อ 1       วิสัยทัศน์  (Vision) กองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง                                เป็นหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ  มีคุณภาพ  ได้มาตรฐาน  สะดวก  รวดเร็ว  เป็นที่ยอมรับและประทับใจของผู้ใช้บริการ                พันธกิจ  (Mission)  กองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง                                                                           ปฏิบัติงานด้านสุขภาพทางการแพทย์ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระบรมวงศานุวงศ์  และให้บริการแก่ข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป                                ปัจจุบันข้าพเจ้าทำงานในด้านงานธุรการของกองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง  งานที่ทำนั้นมีความเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรคือ  เป็นงานด้านเอกสาร                                งานด้านเอกสารนั้นถือได้ว่า  เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งขององค์กรโดยอาศัยทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อน  เพื่อให้งานขององค์กรนั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง  บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ตั้งไว้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นองค์กรของทางสำนักพระราชวังด้วยแล้ว  จึงมิควรมีสิ่งใดผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายได้ ข้อ 2  Nature  of  the  job  :  ลักษณะงานที่เหมาะสมกับพนักงาน                                โดยพื้นฐานของมนุษย์นั้นถ้าได้ทำในสิ่งที่ตนถนัด  และเชี่ยวชาญจะได้ผลงานที่ดีตามมา  เช่นเดียวกับการทำงานในหน่วยงาน  ถ้าพนักงานได้ทำงานที่ตนถนัดและเหมาะสม  จะทำให้ลดขั้นตอนในการทำงาน  และผลงานออกมาดี  นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานได้แสดงศักยภาพในการทำงาน  รักองค์กร  และทุ่มเทแรงกายแรงใจให้แก่องค์กรได้อย่างเต็มที่  ส่งผลดีต่อองค์กรดังคำกล่าวที่ว่า  วางคนให้ตรงกับงาน  (Put  the  right  man  in  the  right  job)  ในทางกลับกันถ้าให้พนักงานทำงานที่ตนไม่ถนัด  จะทำให้กดดัน  และไม่อยากทำงาน  ทำให้งานล่าช้า  ส่งผลเสียต่อองค์กรในที่สุด
น.ส.ภัทรจิตรา เขียวมีส่วน นักศึกษา รปม.รุ่น 4
น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  50038010010  อ.พจนารถ  ซีบังเกิดข้อ 1       วิสัยทัศน์  (Vision)  ของฝ่ายเขตพระราชฐานชั้นใน  วิทยาลัยในวังหญิง                                การส่งเสริมเผยแพร่เกี่ยวกับงานช่างประดิษฐ์ของสตรีอันเป็นประณีตศิลป์  ซึ่งมีอยู่ในพระบรมมหาราชวัง  และช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป                พันธกิจ  (Mission)  ของฝ่ายเขตพระราชฐานชั้นใน  วิทยาลัยในวังหญิง                                การอบรมนักศึกษาที่มีความสนใจในวิชาชีพทางด้านการประดิษฐ์ดอกไม้  เช่น  การร้อยมาลัย   การปักสะดึง  การประกอบอาหารชาววัง  และการประดิษฐ์อาหาร  เช่น  การแกะสลัก  การทำเครื่องคาวเครื่องหวาน                                ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลนักศึกษาให้อยู่ในความเรียบร้อย  และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎระเบียบที่ได้วางไว้  เพื่อให้สามารถผลิตนักศึกษาได้ตรงกับหลักสูตรที่กำหนดไว้ ข้อ 2  Coworkers/team  members  :  เพื่อนร่วมงาน                                การทำงานทุกหน่วยงานนั้น  จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน  ซึ่งการทำงานร่วมกันนั้นจะต้องมีทีมงานที่จะประสานงานกันได้อย่างถูกต้อง  และเข้าใจในเนื้องานเดียวกัน  เพื่อนำไปสู่เป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล                                  ในทางตรงกันข้ามถ้าเพื่อนร่วมงานไม่ให้ความร่วมมือ  หรือประสานงานในการทำงาน  ผลที่ได้ก็จะไม่สามารถขับเคลื่อนตามนโยบายขององค์กรได้
นายโสภณ สังข์แป้น รหัส 50038010007รปม.รุ่น4

ข้อที่ 1 ในหน่วยงานมี VISION และ MISSION ขององค์กรคืออะไร และงานของท่านเกี่ยวกับ VISION และ MISSION ขององค์กรอย่างไร

    ปัจจุบันข้าพเจ้ารับราชการในตำแหน่งนายช่างโยธา 6  ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหมวดการทางนนทบุรี สังกัดกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม

    กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางหลวง เชื่อมต่อทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ให้มีความสะดวกและปลอดภัย ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีวิสัยทัศน์ (VISION) และพันธกิจ (MISSION) ดังนี้

     วิสัยทัศน์
" มุ่งมั่นพัฒนาระบบทางหลวงตามมาตรฐานสากลเพื่อเสริมสร้างคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคม สนองตอบความต้องการของผู้ใช้ทาง" 

     พันธกิจ

1. พัฒนาโครงข่ายทางหลวงในเชิงบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์รายพื้นที่ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
       2. รักษาระดับมาตรฐาน ความสามารถในการให้บริการของโครงข่ายทางหลวงสร้างความพึงพอใจให้กับ ผู้ใช้ทางหลวง
       3. สร้างความเป็นเลิศด้านวิชาการวิศวกรรมงานทางการบริหารและกำกับดูแลการใช้ทางหลวงเพื่อให้เกิดระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม
       4. พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพปรับเปลี่ยนทัศนคติ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อพลวัตของการเปลี่ยนแปลง

      การปฏิบัติงานในหน้าที่หัวหน้าหมวดการทางนนทบุรี มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของกรมทางหลวง คือการทำให้เส้นทางหลวงที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีความพร้อมในการใช้เป็นเส้นทางในการติดต่อเดินทางระหว่างพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง และใช้เป็นเส้นทางผ่านไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ให้มีความสะดวกและปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้ทางหลวง การดำเนินการบำรุงรักษาทางหลวงให้มีพร้อมในการใช้งาน ต้องมีความเข้าใจและมีความชำนาญงาน การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งอุปกรณ์หรือวัสดุที่ใช้ในการบำรุงรักษาทาง ต้องคัดเลือกให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ที่จะเข้าบำรุงรักษา ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาลต่าง ๆ  ที่ต้องการความรู้ในด้านบำรุงรักษาทางไปใช้งาน การแก้ไขปัญหาการจราจร ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดนนทบุรี มีปริมาณผู้ใช้รถจำนวนมาก  ทำให้พื้นที่ผิวจราจรไม่สามารถรองรับปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นได้ จึงเป็นปัญหาทำให้รถติดขัดในชั่วโมงเร่งด่วน สร้างความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน การเข้าไปแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก คือการเสนอแผนงานก่อสร้าง ขยายผิวจราจร ในพื้นที่เส้นทางหลวงในจังหวัดนนทบุรีให้กว้างยิ่งขึ้นเพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในขณะนี้เส้นทางหลวง ได้รับการพัฒนา ขยาย และปรับปรุง เพื่อรองรับปริมาณการจราจร และสามารถแก้ไขปัญหา ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางมากขึ้นกว่าเดิม

ข้อ 2.  ปัจจัย 8 Key Drivers of Engagement  ที่เลือกคือข้อ 5.  ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงาน (Pride about the company) 

    ข้าพเจ้าฯถึงแม้ว่าจะรับราชการในตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่สูงนักในองค์กรของกรมทางหลวง แต่ก็รู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของบุคคลากรที่มีหน้าที่ในการสร้างความสะดวกปลอดภัยให้กับประชาชนในการเดินทางไปสู่ในภูมิภาคต่างๆ กรมทางหลวงมีการบริหารจัดการแบบราชการส่วนกลางโดยมีหน่วยงานที่สังกัดกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ มีบุคคลากรประมาณ 7,000 คน  สายทางหลวงที่รับผิดชอบประมาณ 50,000 กิโลเมตรเป็นองค์กรใหญ่ เป็นต้นแบบในการคิดค้นพัฒนาระบบงานทางในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเซียซึ่งในหลายประเทศได้เข้ามาศึกษาดูงาน ในด้านการพัฒนาบุคคลากรของกรมทางหลวงมีการจัดฝึกอบรมศึกษาดูงานเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อนำไปพัฒนางานทาง ในด้านขวัญและกำลังลังใจในการปฏิบัติงาน กรมทางหลวงมีสวัสดิการครอบคลุมทุกๆด้านเช่นมีสหกรณ์ออมทรัพย์ บ้านพักอาศัยให้กับเจ้าหน้าที่  ตามความจำเป็นที่ไปอยู่ปฏิบัติงานในภูมิภาคต่างๆ การดำเนินงานของกรมทางหลวงในการบริหารราชการยุคใหม่ มีการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัด(KPI)รับรองผลของการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของงบประมาณฯที่ได้รับสู่ประชาชน

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ 50038010046 รุ่น4
ข้อที่ 1.วิสัยทัศน์ศูนย์สวัสดิ์ภาพเด็กเยาวชนและสตรี     *      ปฎิบัติงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจราณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาที่กระทำผิดต่อเด็กเยาวชนและสตรี     *      ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็กและและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อรวมทั้งเด็กเยาวชนเป็นผู้กระทำความผิด ได้แก่- ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ-การชักชวนพนันเด็กและเยาวชนเข้าเล่นการพนันต่างๆ-การจำหน่ายและเผยแพร่วัสดุหรือสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร-เหตุนักเรียน-นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย พกพาอาวุธ-การปล่อยใหเด็กและเยาวชนเข้าไปในสถานบริการ-สถานที่ที่นักเรียน-นักศึกษารวมถึงเด็กและเยาวชนเข้ามั่วสุมและประพฤติตนไม่สมควร ได้แก่ร้านเกมส์                                                                                                ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น                                            ปกป้อง คุ้มครอง เด็กเยาวชนและสตรี เน้นคนเป็นศุนย์กลางภาระกิจ ศดส. ปฎิบัติหน้าที่ดังนี้งานอำนวยการ   -งานด้านธุรการ และงานสารบรรณ รวมทั้งจัดทำสถิติงานเข้าออกของศูนย์สวัสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรี -ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านคดีและวินัย-ดำเนินงานการเงินและพัสดุ-ดำเนินงานการเกี่ยวกับงานด้านยุทธศาสตร์และแผนงานดำเนินงานเกี่ยวกับงานด้านสวัสดิการ-ดำเนินการเกี่ยวกับงานสถิติและประวัติของเด็กเยาวชนและสตรีที่กระทำผิด-งานอื่นๆที่ผู้บังครับบัญชามอบหมายงานสืบสวนตรวจตราและควบคุม ปฎิบัติหน้าที่ดังนี้   -ตรวจตรา จับกุม เด็กเยาวชนและสตรีผู้กระทำผิดกฎหมาย-สืบสวน สอดส่อง และควบความประพฤติของเด็กเยาวชนและสตรี ที่กระทำผิดกฎหมาย-ควบคุมตรวจตราสิ่งที่เป็นภัยต่อสวัสดิภาพของเด็กเยาวชนและสตรี-การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหรือว่าด้วยการค้ามนุษย์-งานอื่นๆที่ผู้บังคับัญชามอบหมายงานกิจกรรมเด็กเยาวชนและสตรี ปฎิบัติหน้าที่ดังนี้การทัศนศึษาและการสโมสรสำหรับเด็ก เยาวชนและสตรี-งานตรวจชุมชนสัมพันธ์และเยาวชนสัมพันธ์-งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานสงเคราะห์และคุ้มครองปฎิบัติหน้าที่ ดังนี้ -ให้การสงเคราะห์ เยาวชนและสตรีโดยทำหน้าที่ประสารงานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชนและสตรี ทั้งในภาครัฐและเอกชน-ติดต่อพบปะ ให้คำแนะนำกับสตรีรวมทั้งผู้ปกครอง บิดามารดาของเด็กนักเรียนและเยาวชนที่มีปัณหาด้านความประพฤติ เพื่อหาแนวทางแก้ไข-ดำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยบุคลคลเร่ร่อนและขอทาน-งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายข้อที่2.The 8 key Drivers of Engagementเลือกข้อ5.ความภาคภูมิใจในองค์กรที่ทำงานเนื่องจากผู้เขียนเป็นส่วนหนึ่งขอหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือสังคมด้านงานป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายผู้เขียนเองเข้าไปให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกกระทำอยู่หลายครั้งส่วนมากเกิดจากสถาบันครอบครับเป็นหลักรองลงมาเกิดจากสภาพแวดล้อมและก็เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นหรืออยากลองของเด็กเองจึงทำให้เกิดปํญหาตามมาทางผู้เขียนเองทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าหากหน่วยงานของรัฐไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปแก้ไขได้ เช่น ปัญหายาเสพติดเป็นต้น รัฐเองต้องเข้าไปแก้ปัญหาอย่างจริงจังจริงตั้งหน่วยงานขึ้นมาให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดของขบวนการค้ายาเสพติดผู้เขียนเองเคยร่วมเข้าจับกุมยาเสพติดอยู่หลายครั้งซึ่งบางครั้งเกิดความสูญเสิย มีการใช้อาวุธปืนเข้าทำร้ายกันจะเห็นได้ว่าเริ่มเข้าสุ่ความรุนแรงมากขึ้นเจ้าหน้าที่ของรัฐเองต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก ผู้เขียนเองเคยผ่านเห็นการอย่างนี้มาหลายครั้งผู้เขียนเองเคยร่วมกับเพื่อนรว่มงานวิสามัญคดีเกี่ยวกับยาเสพติดมาแล้วจึงทราบดีว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่สามารถเอากับคืนมาได้เลย ผู้เขียนเองจึงมีความภาคภูมิใจที่ผู้เขียนได้เป็นส่วนหนึ่งในการเข้าไปแก้ไขปัญหาของสังคมคอยให้ความช่วยเหลือเหยื่อผู้ถูกกระทำ
ณรงค์  พึ่งพานิชภาวะผู้นำกับองค์กรในยุคของการเปลี่ยนแปลง ในลักษณะที่กระผมต้องการ เนื่องจากหน่วยงานที่กระผมปฏิบัติหน้าที่เป็นกองกำลังของข้าราชการตำรวจอารักขาและรักษาความปลอดภัย(กก.3)ที่มีข้าราชการจำนวนมากอยู่รวมกันหลายแผนก ในส่วนของงานที่กระผมรับผิดชอบ คือ รถยนต์ปิดท้ายขบวนเสด็จ ตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ งานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากกระผมเป็นหัวหน้าชุด ในเวลาปฎิบัติหน้าที่ ก็ต้องมีทีมงานที่ปฏิบัติงานรวมกัน คือ พลขับ,พลอาวุธ ก่อนออกปฏิบัติหน้าที่ ก็จะมีการตรวจความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น รถยนต์,อาวุธปืน,อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ต้องให้พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากงานที่กระผมรับผิดชอบเป็นงานเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกพระองค์ และเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเพราะฉะนั้นความบกพร่องหรือผิดพลาดต่าง ๆ ต้องไม่ให้มีเด็ดขาดเนื่องจากตัวกระผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย การบังคับบัญชาจึงต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ในเรื่องของความเจริญก้าวหน้าในชีวิตข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ต้องพึ่งพา งบของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ทำให้ความก้าวหน้าเป็นไปได้ช้า และในบางโอกาส ถ้าผู้บังคับบัญชาเห็นความสำคัญ พวกกระผมก็จะมีกำลังใจที่จะปฏิบัติหน้าที่และมีความตั้งใจมากขึ้นยอมรับว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในยุคข้าวยากน้ำมันแพง โจรผู้ร้ายก็มีมากขึ้นบางหน่วยงานก็จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อตอบรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างเช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องมีการสับเปลี่ยนกำลังกัน ทุก 6 เดือน ในเรื่องของการมีVision  นั้น เนื่องจากกระผมเป็นข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย บทบาทในการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องนโยบาย หรือเรื่องอื่น ๆ จะไม่ค่อยมีบทบาทมากหนักในส่วนของTrust นั้น เนื่องจากงานที่ปฏิบัติเป็นกองกำลังตำรวจมีเจ้าหน้าที่รวมหลายแผนก ก็จะมีรุ่นพี่,รุ่นน้อง  เรียงอาวุโสตามรุ่นกันไปเนื่องจากในระบบงานที่กระผมปฏิบัติเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทำให้ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน กก.3(อป.) ต้องมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และมีความภูมใจในการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งนี้สโลแกนหัวจรดเท้า ผมสั้น ฟันขาว รองเท้ามัน 
ณรงค์  พึ่งพานิช2         พลังความคิดชีวิตและงานแนวคิดชีวิตและงาน                2 ผู้นำนักบริหารสร้างทฤษฎีการบริหารที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานจริงให้เข้าใจได้ง่าย ๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ลุมลึกและสร้างความยั่งยืนในทุนมนุษย์ของไทยได้จริง ด้วยเน้น การพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง กรอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรมที่เข็มแข็ง เพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับแต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัดความคิดเห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ทุนในทรัพยากรมนุษย์กลายเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนระบบต่าง ๆ ในประเทศ สังคม องค์การต่างต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้นปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้กล่าวว่า ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไปองค์การต้องการบุคลากรที่เป็นผู้มีความรู้ (Knowledge Worker) ฉะนั้นการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน ศตวรรษที่ 21 จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมดังกล่าวคือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human   Resource management) กำลังกลายเป็นการบริหารทุนทรัพย์ (Human Capital Management) ทุน ในทรัพยากรมนุษย์ เริ่มต้นในบริษัทธุรกิจชั้นแนวหนาของโลกก่อนผลการวิจัยในบริษัทที่พัฒนาตัวเองได้เร็วที่สุด 200 แห่งทั่วโลก พบว่า สิ่งที่ผู้บริหาร (ซีอีโอ) ของแต่ละบริษัทให้ความสนใจมากที่สุด มีอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือ 1.ทำอย่างไรจึงจะได้คนดีคนเก่งมาร่วมงาน2.ทำอย่างไรจึงจะให้คนดีคนเก่งอยู่ทำงานกับบริษัทไปนาน ๆ 3.ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาความรู้ความสามารถ (ทุนมนุษย์)ของบุคลากรที่มีอยู่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

Q1. ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

    และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน

โดยนางสาวสถิภรณ์ คำพานิช  ผู้เรียบเรียง

                                จากการที่ได้อ่านและได้รับชมวีดีทัศน์  ทำให้ทราบว่า กว่าจะเป็นผู้นำระดับนี้ได้ไม่ง่ายเลย ต้องมีการสั่งสมความรู้  และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  พร้อมทั้งให้โอกาสแก่ผู้อื่นในสังคม จวบจนกระทั่งมีทฤษฎีเป็นของตนเอง  ถือว่าสุดยอดจริงๆ  

                                ทั้งสองท่าน มีอะไรๆ ที่มีความเหมือนในความแตกต่าง 

                                1. ความเหมือน  

1.1           เห็นว่าคนมีความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด1.2           เป็นผู้รู้จริง ทำจริง1.3           มีทฤษฎีเป็นของตนเอง1.4           มีเป้าหมายในการพัฒนาคนเหมือนกัน1.5           เป็นคนทันสมัยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้1.6           เป็นคนให้เกียรติในความคิดของผู้อื่น1.7           เป็นผู้นำในปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน  และนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้1.8           คนเราจะทำอะไรต้องศึกษาที่มาของเรื่อง1.9           ครอบครัวคือ ต้นแบบชีวิต  นับตั้งแต่ การอบรมเลี้ยงดู  และการฝึกระเบียบวินัย   ตลอดจนการให้รับการศึกษา1.10     คนเราต้องมีความรู้ดี มีปัญญา จะทำให้คนคนนั้นมีจิตใจที่ดีมีคุณธรรม      จริยธรรม1.11     การเป็นผู้นำต้องรู้มาก รู้กว้าง และรู้ให้ลึกกว่าคนอื่น รวมทั้งมีวิสัยทัศน์1.12     คนเราต้องรู้จักเพิ่มพูนค่าให้กับตัวเอง โดยการเพิ่มพูนความรู้1.13     คนเราต้องมีความมั่นใจในความรู้ มีปัญญา และมีจริยธรรม และมีการวางตัวที่เหมาะสม  ก็จะเป็นที่ยอมรับของสังคม1.14     เป็นคนกล้าคิด กล้าทำ  กล้าเสี่ยง  กล้าตัดสินใจ ที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง1.15     เป็นคนรักงาน ใส่ใจในงานที่ทำ  เน้นคุณภาพของงาน1.16     คนเราทำงานคนเดียวไม่ได้ ต้องสร้างเครือข่าย1.17     เห็นความสำคัญกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต1.18     มีการประเมินศักยภาพตนเองก่อนจะลงมือทำ1.19     มีการติดตามผลงานตลอดเวลา  เพื่อพัฒนางาน พัฒนาคน  พัฒนาองค์กร1.20     ให้ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม  2. ความแตกต่าง

                                2.1  มีพื้นฐานทางการศึกษาที่แตกต่างกัน  ย่อมส่งผลต่อแนวคิดในการดำเนินชีวิต และแนวคิดในการทำงานแตกต่างกัน

                                2.2  สภาพแวดล้อมทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกแตกต่างกัน  ย่อมมีวิธีการคิด และการศึกษา หารู้ความที่แตกต่างกัน

                                2.3  ท่านอาจารย์จีระ ไม่สนใจตำแหน่งทางการเมือง    แต่คุณหญิงทิพาวดี สนใจตำแหน่งทางการเมือง                                2.4  ท่านอาจารย์จีระ สนใจในการพัฒนาคนกลุ่มใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ส่วนคุณหญิงทิพาวดี   สนใจและพัฒนาคนได้เพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น (ในองค์กร)                                2.5  ความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาคนท่านอาจารย์จีระมีมากกว่า  อันมีสาเหตุมาจากประสบการณ์ทั้งในประเทศ  และต่างประเทศ                                2.6  การยอมรับและความศรัทธาในความเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของสังคม      มีมากกว่า

                               

Q2.  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ  ความเป็นผู้นำ  พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ของตัวนักศึกษา                                เมื่อนำคุณสมบัติและทักษะความเป็นผู้นำที่มี  มาทำการประเมินแบบ 360 องศา จากความเห็นของผู้บังคับบัญชา  ผู้ร่วมงานในระดับเดียวกัน  ผู้ใต้บังคับบัญชา  และความคิดเห็นของตนเอง   สรุปได้ ดังนี้

1. จุดแข็ง 

            เป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง และยึดมั่นในหลักการความถูกต้อง จึงได้รับเชิญไปเป็นคณะทำงานความพร้อมรับผิด , คณะทำงานควบคุมภายในเรือนจำ และคณะกรรมการสัมภาษณ์ผู้เข้ารับราชการในตำแหน่งต่างๆ            เป็นคนกล้าคิดกล้าทำ  กล้าตัดสินใจ  กล้าเสี่ยง  (หัวหน้าบอกว่า เป็นพวกมวยบุก)            เป็นคนชอบทำงานเป็นทีม ชอบให้ระดมสมอง โดยเฉพาะเรื่องที่มีกระทบต่อองค์กร  เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการเรียนรู้วิธีการทำงาน  และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น            เป็นคนยึดถือในเรื่องของความยุติธรรม  ความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรม จริยธรรม ทั้งใน   เรื่องงานและเรื่องส่วนตัว   ทั้งนี้เพื่อศักดิ์ศรีของตนเอง  และการเป็นแบบอย่างที่ดี      ให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา            เมื่อได้เข้าร่วมการประชุมจากผู้บริหาร   จะกลับมาแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทราบ   เพื่อวางแผนการทำงาน พร้อมทั้งมอบหมายให้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล            มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน            โดยไม่ดูระดับตำแหน่ง             เมื่อมีข้าราชการบรรจุใหม่ หรือมีนักศึกษามาฝึกงาน จะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งเป็นพี่เลี้ยง  พร้อมทั้งฝึกการประเมินผลการปฏิบัติ  ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกของ      ผู้ประเมิน                                          1.8  จะเป็นผู้สอนงาน ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา  แต่จะดูว่าคนไหนมีจุดแข็ง จุดอ่อนตรงไหน   เพื่อแก้ไขจุดอ่อน  และเสริมจุดที่แข็ง1.9    ถ้าหากมีโครงการอบรมที่ดี จะสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมทั้งผลักดัน   ตนเองให้เข้าร่วมโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร1.10เป็นคนชอบวางแผนการทำงาน  ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน  และติดตามผลการทำงานเป็นระยะ  1.11เมื่อทำงานเรือนจำต้องกล้าตัดสินใจ มีการเจราจาต่อรอง  มีการทำงานเป็นทีม  เพราะงานเรือนจำทำคนเดียวไม่ได้     แต่ถ้าเป็นงานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับข้าราชการเป็น 10,000  ก็ต้องใช้ทีมทำงานเหมือนกัน  โดยการระดมคนจากกองเดียวกัน1.12การทำงานที่ดีต้องมี Vision ขององค์กร และ Vision ของตนเอง จะบอกกับตัวเองเสมอว่าวันนี้เราทำงานแบบนี้  วันหน้าเราจะต้องทำงานที่ยากและท้าทายกว่านี้ได้ โดยการเติมความรู้ให้กับตัวเอง1.10โดยส่วนตัวแล้วชอบไว้พระ อย่างน้อยต้องสวดนะโมทุกเช้าและแผ่เมตตา   โดยยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบในการทำงานและการวางตัว  บอกตัวเองว่าต้องทำงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด  และอย่าทะเยอทยานโดยไม่ดูศักยภาพตัวเอง  ต้องรู้จักเจียมตัว ยิ่งอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ยิ่งต้องอ่อนน้อมถ่อมตน                                2. จุดอ่อน  เป็นคนใจร้อนโผงผาง   ไม่ชอบสนทนากับคนอื่น  บางครั้งอ่านข้อกฎหมายไม่เข้าใจ  บางครั้งก็จับประเด็นไม่ถูก   มีบางครั้งโลเลตัดสินใจไม่ได้

                                3. โอกาส    เมื่อมีโอกาส จะเข้ารับการอบรมเชิงวิชาการ เช่น PMQA  , ACCOUNTABILITY    หรือ  การเสนอข้อเท็จจริงพร้อมความคิดเห็นให้ผู้บริหารระดับสูงได้เห็นถึงความรู้ความสามารถ   แต่ถ้ามีโอกาสน้อย จะอดทนรอ และจะต่อสู้ด้วยความรู้ความสามารถ

                                4. ข้อจำกัด   เป็นผู้หญิงที่ทำงานในองค์กรที่เป็นผู้ชาย   เพราะว่ามีเรือนจำหญิงไม่ถึง 10 แห่ง จากเรือนจำ 130  กว่าแห่ง   ความเป็นผู้หญิงจึงเป็นข้อจำกัดเล็กๆ  ตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479

                                สำหรับในเรื่องภาวะผู้นำที่ท่านอาจารย์จีระ ให้พวกเราสำรวจตัวเอง นั้น นับว่าดีมาก เพราะว่า ถ้าเราไม่รู้ว่าตอนนี้เรามีศักยภาพในตัวเองมากน้อยเพียงใด  ก็จะทำให้เราแก้ไขในจุดบกพร่องนั้นยาก  ดังนั้น นับว่าเอกสารชุดนี้ที่ท่านอาจารย์ให้ไปในเบื้องต้นก็สำรวจตัวเองเป็นข้อๆ  แล้วถามตัวเองว่ามี     ข้อไหนมีข้อไหนเรายังไม่มี  พร้อมทั้ง ได้ใช้เอกสารฉบับนี้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อ่านและสอบถามตัวเองด้วย เหมือนกัน
น.ส.มัลลิกา โสดวิลัย ตัวแทน รปม. รุ่นที่ 4
เรียน  อาจารย์บุญรอด  สิงห์วัฒนศิริ ที่เคารพ               พวกเราชาว รปม. รุ่นที่ 4 รู้สึกภาคภูมิใจมากค่ะ ที่ได้อาจารย์ซึ่งเป็น Guru ทางด้านข้าราชการมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่พวกเรา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา และอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างยอดเยี่ยมจริงๆ  พวกเราต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างยิ่ง ที่อาจารย์ได้เรียนเชิญท่านผู้มากด้วยความรู้มาถ่ายทอดให้แก่พวกเรา อาจารย์คะ อาจารย์อยู่ในวงราชการมานานอาจารย์จึงมองข้าราชการได้ทุลุปรุโปร่ง จึงทำให้อาจารย์สอนตรงใจกับพวกเราเป็นอย่างยิ่ง เสมือนพวกเรานั่งอยู่ในที่ทำงานกันเลยทีเดียว ไม่เหมือนอยู่ในห้องเรียนเลยค่ะ เพราะอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ในแต่ละเรื่อง อาจารย์ถ่ายทอดออกมาจากข้อเท็จจริง ซึ่งพวกเราเจอะเจอเรื่องดังกล่าวนี้ทุกๆ วัน อย่างเช่น ข้าราชการหรือพนักงานเอกชนสิ่งที่เจอะเจอเหมือนกันก็คือ การประเมินผลงานในการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือการให้รางวัล ซึ่งอาจารย์กล่าวว่า ข้าราชการไม่กลัวการประเมิน แต่กลัวการประเมินไม่เป็นธรรม คำพูดดังกล่าวนี้ โป๊ะเชะเลยค่ะ (ขออนุญาตใช้คำพูดของท่านอาจารย์จีระที่ใช้บ่อยๆ มาใช้นะคะ) และอาจารย์ก็คล้ายจะเตือนสติผู้ที่ถูกประเมินผลงานและเห็นว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมว่า อย่าร้องทุกข์เลย เพราะการร้องทุกข์ คนที่เป็นทุกข์ ก็คือผู้ที่ร้องทุกข์นั่นเอง นี่คือคำพูดของผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานแล้วจริงๆ ซึ่งการเรียนการสอนของอาจารย์แม้จะเพียงแค่วันเดียว แต่พวกเราคล้ายกับรู้จักอาจารย์มานานเหลือเกินค่ะ อาจารย์สอนสนุกมาก เพราะถ่ายทอดความรู้ให้ทุกอย่างที่พวกเราอยากรู้และอยากทราบ ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งที่พวกเราได้รับความรู้จาก Guru แต่ละด้าน ถ้าพวกเราไม่พูดคำว่า โป๊ะเชะ ก็ไม่ทราบว่าจะพูดอะไรดี ขอขอบพระคุณค่ะ
นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่นที่ 4
รายการคิดเป็น ก้าวเป็น  บทสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ & คุณหญิงทิพาวดี2 ทฤษฎีทุนมนุษย์ 8 H’S ”  8 K’S “                หลังจากฟังจบวินาทีแรกอยากเป็นผู้หญิงเก่ง เกิดความกระตือรือร้น กระตุ้นให้อยากทำงาน สู่ความเป็นเลิศ เกิดความหวังว่าสักวันจะเป็นผู้นำที่ดี                จะเห็นว่า ท่าน คุณหญิงทำงานหนักมาก เป็นผู้นำ นักบริหารที่เกิดจากประสบการณ์ทำงาน สามารถ สร้างทฤษฎีให้คนเข้าใจง่าย ๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิต และการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ลุ่มลึกและสร้างความยั่งยืนให้ทุนมนุษย์ของไทยได้จริง ด้วยเน้น การพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง บนรากฐานทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับ แต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด                บทสนทนานี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับภาวะผู้นำ ในเรื่องการทำงานเป็นทีม นำมาใช้บริหารความขัดแย้ง จะเห็นว่า คนที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น มักจะประสบความสำเร็จในการทำงาน ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข สามารถประคับประคอง ผู้ที่มีปัญหาได้ ให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี                ยึดหลักในการทำให้ประสบความสำเร็จ1.       มั่นใจในตัวเอง2.       ทำงานให้สำเร็จ3.       รู้จักตนเองตลอดเวลา ด้วยความพอเพียงเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี มีความรู้ มีศักดิ์ศรี เป้าหมายเพื่อประชาชน และ ประเทศชาติมั่นคง ทักษะในการเป็นภาวะผู้นำ  (Leadership)ในยุคการแข่งขันจากโลกาภิวัฒน์ หรือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง ระบบราชการในประเทศไทย ผู้นำจำนวนไม่น้อย ที่เป็นแม่แบบ ตัวอย่างไม่ดียึดติดกับการเมือง คอรัปชั่น ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม บริหารงานโดยระบบพรรคพวก ไม่สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในฐานะที่ทำงานในโรงพยาบาลซึ่งเป็น สถานพยาบาลของทางราชการ โรงพยาบาลเด็ก บริหารงานโดยมี แพทย์เป็นผู้อำนวยการ และ พยาบาลเป็นสายงานใต้บังคับบัญชา โดยรับนโยบาย มาจาก กระทรวงสาธารณะสุข พยาบาลเป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องบริหารทีมงาน เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จ พอใจทั้งผู้ให้บริการ และ ผู้รับบริการ ข้าพเจ้าเป็นพยาบาลผู้หนึ่งที่ต้องดูแลผู้ป่วยนอกที่มารับบริการวันละอย่างน้อย 400 คน ให้ได้รับการพยาบาลที่ดี และ ผู้ร่วมงานทำงานอย่างมีความสุข โดยทักษะ ภาวะผู้นำ ที่ต้องใช้ตลอดเวลา คือ1.       ทำงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์2.       ทำงานเป็นทีม โดยดึงความเป็นเลิศของผู้อื่นให้ร่วมงาน พัฒนาจุดแข็งของคนอื่น กระจายอำนาจให้ผู้อื่น3.       การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการค้นหารายชื่อผู้ป่วย ซึ่งแต่เดิมใช้จดลงในสมุดเล่มใหญ่4.       มีความกระตือรือร้น ศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา5.       มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นเลิศขององค์กร6.       สร้าง แรงจูงใจให้ตัวเอง7.       มีความมั่นใจในตนเอง8.       ความยืดหยุ่น9.       อดทนต่อความไม่ชัดเจน และ ไม่แน่นอน10.   มีทัศนคติเชิงบวก ทักษะภาวะผู้นำที่ขาดไปในตัว1.       ความสามารถด้านเทคนิค เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ซับซ้อนไม่สามารถทำได้2.       ความสามารถด้านบริหาร จัดการบางเรื่องไม่ประสบความสำเร็จ เช่น เมื่อมีผู้ป่วย ร้องเรียน ต้องให้หน่วยงานอื่นประสานงานผู้ใต้บังคับบัญชาขาดความกระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจ ไม่สามารถ บริหารได้3.       ขาดการเจรจาต่อรอง เพราะกฎระเบียบของราชการมีมาก4.       พูด ภาษา English ได้ไม่ดีอนาคตภาวะผู้นำของข้าพเจ้า1.       มีความหวังว่า อยากไปเรียน พยาบาลเฉพาะทางที่สหรัฐอเมริกา2.       ต้องการความเป็นเลิศ ในตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพยาบาล3.       บริหารงานให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ เรียนของ อาจารย์ บุญรอด   สิงห์วัฒนศิริ  วันที่ 10 ก.พ. 2551-          ได้เห็นความแตกต่าง ของการบริหารจัดการภาครัฐ ในอดีตกับปัจจุบัน-          สมรรถนะ ความเฉลียวฉลาดในการทำงานให้สำเร็จ ทราบถึง พฤติกรรม การทำงาน แตกต่างกัน-          หลักคิดวิธีการทำงานและพฤติกรรม การปฏิบัติงานในภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานสามารถนำมาใช้บริหารจัดการต่อทีมงานได้-          การพัฒนาของการบริหารบุคคลในราชการไทยทำให้การทำงานอย่างเข้าใจและมีความสุขกับการทำงาน เพราะในระบบราชการการแก้ต้องใช้เวลานาน-          หลักการ รูปแบบ วิธีการ และ HR Tools ที่ได้พัฒนาและปรับใช้ไปแล้ว-          หลักสากลที่นำมาปรับใช้ในการบริหารทรัพยากร บุคคล ภาครัฐของไทยไม่ว่าทฤษฎีใดก็ยังแก้ระบบราชการไทยได้ยาก เพราะระบบราชการไทย บุคคลากรยังยึดติดกับ กฎระเบียบ วัฒนธรรมเดิม ๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่แต่ในรูปแบบของการบริหารงานภาคเอกชน จะใช้ทุกหน่วยงาน เพื่อความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายขององค์กร
บังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31 รหัส 5577 5519 1005 1352
คำถาม1.  ได้ความรู้อะไร จากการสนทนา ระหว่าง ดร.จีระ  และคุณหญิงทิพาวดี2.   ให้บอกลักษณะผู้นำ มีอะไร  ที่ตัวเรามี และมีข้อด้อยอะไรบ้างคำตอบข้อ 1     จากบทสนทนาของทั้ง  2 ท่าน ได้เข้าใจถึง คำว่า 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน  คืออะไรพลังที่เกิดจากความคิดจากประสบการณ์ชีวิตการทำงานของ 2 ท่าน ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนา คน ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติอย่างมาก  กล่าวคือ  จะเน้นทฤษฎี  8 H ‘s  ของคุณหญิง และ  8 K ‘s  ของ ศ.ดร.จีระ  ซึ่งโดยสรุปแล้ว มีความเหมือนเกือบทุกข้อ ยกเว้น ข้อที่ ดร.จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง   ส่วนคุณหญิงเน้นเรื่อง สุขภาพที่สมบูรณ์  ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์  เพราะคนที่หมกมุ่นกับ IT  มากเกินไปจะไม่ดูแลลุขภาพเท่าที่ควร  แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง  2 ท่าน  ก็ไม่ละเลยที่จะเอาใจใส่ทั้ง  IT  และสุขภาพข้อ 2    ลักษณะผู้นำที่ดิฉันคิดว่าตัวเองมี  ดังนี้1. กล้าตัดสินใจ ยอมรับความล้มเหลว  กล้ารับผิดชอบ ทั้งดีและร้าย2. การมีวิสัยทัศน์3. สุจริต ซื่อตรง  จริงใจ4. ความยุติธรรม5. สร้างทีมงานที่มีคุณภาพ6. สุภาพ มีเมตตา7. แก้ปัญหาต่าง ๆ  ได้ลักษณะผู้นำที่ดีตามที่อาจารย์สอน จำแนกได้ เป็น 4 บทบาท คือ 1. หาทางชี้ให้ลูกน้องเดินตาม2. ต้องให้ผู้ตามเดินไปในทิศทางเดียวกัน3. มอบหมายความรับผิดชอบให้ผู้ตามทำ4. เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกน้องดิฉันคิดว่า ตัวเองมีทุกข้อ แต่การที่จะทำได้ดีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ว่ายากหรือง่ายข้อด้อยที่ดิฉันคิดว่าตัวเองควรปรับปรุง คือ เรื่องทัศนคติ และรสนิยมการอยู่ร่วมกับผู้อื่น หรือการเข้าร่วมประชุม มีความอดทนต่ำที่จะเสียเวลากับคนที่ไม่เอาไหน  ซึ่งถือเป็นข้อด้อย (กำลังปรับปรุง) 
ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ
ส่ง ศ.ดร. จิระดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะข้อ1        จากการรับชม และฟังรายการระหว่างศ.ดร.จิระกับคุณหญิงทิพาวดีทำให้เห็นภาพชัดเจนในความคล้ายคลึงของทั้งสองท่านคือมีพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นและมีจุดเริ่มต้นจากบุพการีย์ที่น่าเคารพยกย่องเป็นปฐมบรมครูที่เป็นเลิศในการชี้นำวิถีการดำเนินชีวิตของท่านทั้งสองสู่เป้าหมายแห่งความเป็นเลิศซึ่งจากจุดเล็กๆที่สำคัญนี้เองที่สังคมในยุคปัจจุบันมิได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรดังนั้นย่อมไม่ต้องสงสัยเลยไม่ว่าท่านทั้งสองจะคิดในกรอบหรือนอกกรอบสักปานใดก็ตามย่อมไม่มีวันที่จะละทิ้งคุณธรรม จริยธรรม ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กได้อย่างแน่นอน ท่านทั้งสองเป็นผู้นำทฤษฎีโอบามามาใช้เป็นรูปธรรมก่อนที่สังคมจะรู้จักชื่อนี้เสียอีก นั่นคือการให้ความหวังพร้อมกระตุ้นให้ทุกคนทะเยอทะยานและเกิดความบ้าคลั่งในการที่จะเอาความรู้ความสามารถที่ถูกซ่อนเร้นและฝังตัวอยู่ลึกจากระบบวัฒนธรรมเดิมๆที่ต่างคนต่างไม่กล้าที่จะแสดงพรสวรรค์เหล่านี้ออกมาให้ปรากฏหากจะดูด้านทฤษฎี 8K หรือ 8H เมื่อศึกษาลึกๆอย่างละเอียดแล้วซึ่งเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดองค์กรจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการคนนั่นเอง ท่านทั้งสองแม้จะมุ่งเน้นแสวงหาความเก่งจากคนแล้วก็ไม่ทิ้งที่จะปลูกฝังความเป็นเลิศในความเก่งนั้นต้องควบคู่กับความเป็นคนดีที่ถูกตีกรอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้นรากเหง้าของพื้นฐานความเป็นมาของท่านทั้งสองจึงโดดเด่น และเป็นที่ภูมิใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยได้อย่างสง่างามโดยไม่ละอายในรากเหง้าของตนเอง                ส่วนในมุมที่แตกต่างสำหรับท่านทั้งสองน่าจะเห็นได้จากเอกลักษณ์ของท่านอาจารย์จิระนั่นเองซึ่งในแวดวงสังคมผู้นำในปัจจุบันนี้แทบจะไม่พบท่านจะวางแผนนโยบายโดยใช้ทางสายกลางโดยการสร้างมิตรผูกมิตรและไม่จำเป็นต้องปะทะดังนั้นอาจารย์จิระแตกต่างกับคุณหญิงทิพาวดีตรงที่ไม่ว่าการเมืองจะแปรผันไปตกอยู่ในกลุ่มใดก็ตามอาจารย์จิระก็ยังคมเป็นที่หมายปองและต้องการของชนทุกกลุ่มตลอดไปโดยไม่ต้องมาแรงเพราะพรรคการเมืองใด และหายเงียบไปกับพรรคนั้นๆ องค์ความรู้ของอาจารย์จิระน่าจะฝังรากลุ่มลึกกว่าคุณหญิงทิพาวดีเพราะเป็นการเรียนรู้ทั้งจากตำราและนอกตำรามาโดยตลอด กอร์ปกับวิธีการให้ข้อมูลอาจารย์จิระพร้อมจะเป็นผู้นำเพียงแต่บุคคลผู้นั้นต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะรับไปปฏิบัติและตัดสินด้วยตนเองในชีวิตของท่านอาจารย์จิระจะไม่ยอมให้อิทธิพลของพรรคการเมืองหรือผลประโยชน์ใดๆผูกมัดหรือครอบงำท่านได้เป็นอันขาด ดังนั้นทุกช่วงทุกตอนที่ได้รับฟังและศึกษาเรียนรู้ เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้แทบทั้งสิ้น ไม่จำเป็นว่าเราจะอยู่ในองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่ว่าจะเรื่องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้LIFE LONG LEARNING การสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น ข้อ2        ในส่วนที่มีโอกาสได้เรียนรู้และศึกษาจากท่านอาจารย์จิระแม้จะเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ก็ทำให้ตนเองและแทบทุกคนมีแรงกระตุ้นต่อมแห่งความทะเยอทะยานที่เคยอับเฉามานานพองโตขึ้นอีกครั้ง แม้คำว่า TRUST ที่มีอยู่ในตัวเองจะถูกวัฒนธรรมประเพณีที่ถูกอบรมกันมากดข่มอยู่ตลอดเวลาจนไม่กล้าที่จะแสดงสิ่งใดๆให้ปรากฏออกมาเพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กรที่ได้บริหารงานอยู่ทำให้เรากล้า และมั่นใจขึ้นว่าสิ่งที่เราคิดและเราจะทำต่อไปหากเรามั่นใจว่าเราได้ศึกษามันอย่างละเอียดถี่ถ้วนพร้อมทั้งเตรียมรับสถานการณ์กับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นและเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือที่จะเผชิญอย่างยิ่งหากเรามี Authority อยู่ด้วยแล้ว หากเราไม่กล้าคิดไม่กล้าทำหรือกลัวไปเสียทุกเรื่องเราก็ควรที่จะลงจากตำแหน่งนั้นๆและให้ผู้อื่นที่เหมาะสมกว่า กล้ากว่าและมีความพร้อมกว่า แม้กระทั่งคำถามสั้นๆที่เรียกเสียงหัวเราะจากอาจารย์จิระหากนำไปขบคิดดีๆก็จะได้แง่คิดและเกิดงานใหม่ๆขึ้นอีกมากมาย  ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์จะถามว่าถ้าไม่มาเรียนที่นี่จะมีใครเปิดฟังรายงานวันอาทิตย์เช้าหรือไม่? ทำให้กลับไปคิดถึงการบริหารองค์กรที่กำลังทำอยู่ อันได้แก่ องค์กรของภาคศาสนสถานมัสยิด วัด โบสถ์ ทำไมคนถึงไม่อยากเข้าวัด? ก็เพราะเขายังไม่รู้จักไม่ซาบซึ้งว่า วัด มัสยิด โบสถ์หรือสถานศึกษามีอะไรดีเข้าไปแล้วได้อะไร ในยุคปัจจุบันอิหม่ามในฐานะผู้นำด้านจิตวิญญาณ หลวงพ่อ บาทหลวง  เจ้าอาวาส น่าจะตั้งคำถามใหม่ว่าจะทำอย่างไรหรือหาวิธีอย่างไรใช้แรงจูงใจอะไรเพื่อให้คนเข้าวัด เข้ามัสยิด หรือโบสถ์ ทำไมคนถึงบ้าคลั่ง โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และเมินโรงเรียนวัด เราจะบริหารจัดการอย่างไรให้ต่อไปอนาคตคนมาเข้าแถวขอซื้อใบสมัครและจ่ายเงินเป็นแสนเพื่อขอสมัครเข้าโรงเรียนวัด หรือของมัสยิดไม่น้อยไปกว่าโรงเรียนเซนต์คาเบรียลผู้บริหารองค์กรศาสนาของเราในปัจจุบันได้ปฏิบัติไปตาม 5E ครบถ้วนสมบูรณ์หรือขาดตกบกพร้อง ข้อไหนที่จะต้องเร่งปรับปรุง สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มทำและเริ่มสร้างซึ่งเชื่อมั่นว่ามีกับทุกคนเพียงแต่บางข้ออาจมีน้อย หรือบางข้ออาจมีมาก หรือบางข้อแทบจะยังไม่มี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้มีไม่ได้ไม่กี่ชั่วโมงกับอาจารย์นำมาประยุกต์ใช้กับงานในองค์กรที่รับผิดชอบได้จริงสัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนแปลงนำมา APPLY กับงานได้จริงเพียงแต่หากอาจารย์จิระเปรียบเสมือนประทีปอันร้อนแรงและเร่าร้อน ต้องการที่จะทำตัวเป็นไม้ที่ยิ่งใกล้ตัวอาจารย์ก็จะมีแต่จะถูกเผาไหม้ มอดไหม้ แต่ถ้าหากเราถูกกระตุ้นจนเกิดสำนึกว่าเราคือทองแท้เหมือนอย่างที่อาจารย์พยายามชี้นำเราก็จะพร้อมที่จะถูกหล่อหลอมจนอ่อนตัวลงเป็นไปตามบล๊อคที่งดงามและล้ำค่าเป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่ประเทศชาติบ้านเมือง

 

สุภานุช   นุพงค์  รหัส  5003810022 เลขที่  22  รปม. ๔  สวนสุนันทาฯ

เรียน    ศ.ดร.จีระ    หงส์ลดารมภ์  ที่เคารพ   และ  รปม.รุ่น  ๔  ทุกท่าน

บทที่  1  Heritage (มรดก)รากฐานของชีวิต  &  Sustainable  Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

“H”  Heritage (มรดก)รากฐานของชีวิต 

Sustainable  Capital ทุนแห่งความยั่งยืน
Heritage  ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า โลก ITหรือโลกไร้พรมแดน ทำให้เกิดความไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนระหว่างประเทศที่รวดเร็วมาก  ประชาชนคนไทย มีทุนทางวัฒนธรรมที่แข้งแกร่ง ได้ช่วยเพิ่มคุณค่าทั้งทางสังคม และยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมที่สำคัญเป็นเสาหลักและเอกลักษณ์สำคัญของคนในชาติ อีกทั้งมีความสามารถที่จะต้านกระแสโลกาภิวัตน์อย่างผู้ที่รู้จักพึ่งตัวเอง Sustainability  Capital หรือทุนแห่งความยั่งยืน เป็นทุนที่สำคัญของทรัพย์ยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์ หากคนเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้ว เราจะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน 
 บทที่ 2 Head สมอง (คิดเป็นคิดดี) &  Intellectual  Capital  ทุนทางปัญญา

“H”  Head  สมอง (คิดเป็นคิดดี)

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา
การใช้สมอง การมีความคิด มีความรู้แล้วยังต้องมีสติเมื่อคิดเป็นแล้วต้องคิดดีอีกด้วย เรียกว่ามีสมองที่รู้จักวิเคราะห์ใช้เหตุผล  ทำให้เกิดปัญญา ทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไปได้ตลอดเวลาไม่มีจบสิ้นเพราะเป็นเรื่องของความรู้ ความคิด ทักษะ และความสามารถ  ความรู้และปัญญาคืออำนาจ  ทุนทางปัญญา คือความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม  คนที่มีการศึกษาไม่สูงก็สามารถมีทุนปัญญาได้ ถ้ารู้จักการแสวงความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค้าเพิ่มได้
บทที่  3  Hand  ทำงานด้วยฝีมือตนเอง  & Talent  Capital ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ

“H”  Hand  ทำงานด้วยฝีมือตนเอง 

Talent  Capital ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ
มืออาชีพ ในการทำงานทุกประเภท โดยเน้นที่การลงมือทำด้วยตนเอง ความเป็นมืออาชีพนั้น  คือคุณสามารถ ทำงานที่คุณทำได้  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร ก็เท่ากับว่าคุณประสบความสำเร็จในส่วนนั้นแล้ว  ยุคนี้เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้  ซึ่งการพัฒนาสังคมประเทศชาติและองค์การต่างๆ  ต้องอาศัยผลการศึกษา การวิจัย และองค์ความรู้ของทรัพยากรมนุษย์ ข้อมูลที่ได้มาจากการศึกษาวิจัยเป็นสิ่งที่สำคัญในการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ธุรกิจ
บทที่  4  Heart  จิตใจที่ดี  & Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม

“H”  Heart  จิตใจที่ดี 

Ethical  Capital ทุนทางจริยธรรม
การบริหารคน ผู้นำต้องมีความยุติธรรม และมีความหนักแน่นนั่นก็ต้องใช้ใจ เมื่อดำรงตำแหน่งสูงขึ้น จิตใจ ยิ่งต้องพัฒนาขึ้น ซึ่งนอกจากความใจกว้าง ใจดี มีเมตตา รู้จักเสียสละแล้ว ยังต้องมีใจที่สุจริต ซื่อตรง จริงใจกับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา  บุคลากรที่มีความรู้ดี  สติปัญญาดี  จะสร้างให้เกิดทุนทางจริยธรรมได้ หากทรัพยากรมนุษย์ที่มีทั้งทุนมนุษย์ คือ พื้นฐานดี มีทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้เท่าที่ควร  ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝังทุนทางจริยธรรมไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง
บทที่  5 Health  สุขภาพพลานามัย & Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ

5 “H”  Health  สุขภาพพลานามัย

Digital  Capital ทุนทางเทคโนโลยี สารสนเทศ
สุขภายพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์นี้มีความสำคัญมาก สำหรับมนุษย์แล้ว สุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างเลย ถ้าเรามีความตั้งใจ มีความปรารถนาที่จะทำหลายๆ อย่างในชีวิต แต่ถ้าหมดสิ้นลมหายใจหรือไม่มีชีวิตเราจะทำอะไรได้ องค์ประกอบของสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วย  2 สิ่ง คือสุขภาพกายและสุขภายจิต โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสารและเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ เราจึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 
บทที่  6  Home บ้านและครอบครัว & Human  Capital ทุนมนุษย์

“H” Home บ้านและครอบครัว

Human  Capital ทุนมนุษย์
เน้นที่บ้านและการมีครอบครัวที่อบอุ่น เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของทุกๆ คน สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและอบอุ่นสามารถช่วยลดปัญหาทุกอย่างลงไปได้ วัฒนธรรมไทยนั้นชีวิตเป็นพหูพจน์ไม่ใช่เอกพจน์ คือเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่ใช้ครอบครัวเดี่ยว  ซึ่งถ้าพึ่งพากันได้ในครอบครัวก็จะไม่เป็นภาระกับสังคมประเทศชาติโดยรวม  ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษา ทุนที่ได้มาจากการอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูจากบิดา มารดาทุนมนุษย์มาดี  เมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนการสอน  เข้าสู่สังคมหรือองค์กร  ก็จะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเอง สังคม องค์กรและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี ทุนมนุษย์จึงเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะมีผลต่อการพัฒนาทุนด้านอื่นของมนุษย์
บทที่  7  Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิต & Happiness  Capital  ทุนแห่งความสุข

“H”  Happiness  การดำเนินชีวิตอย่างมีชีวิต

Happiness  Capital  ทุนแห่งความสุข
การดำเนินชีวิตอย่างมีสุขโดยต้องไม่เบียดเบียน ภารกิจใดๆ  ก็ตามถ้าเรามีความสุข  มีความสนุกสนานเพลิดกับงานที่ทำ  และมีความเข้าอกเข้าใจว่าเกิดเป็นคนก็ต้องทำงาน ส่วนงานที่จำเป็นต้องทำให้สำเร็จ  ก็ต้องใส่ใจ เอาสติเป็นตัวตั้งเราจึงจะทำได้เร็ว แล้วจะมีความสุขที่งานสำเร็จ หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญญาและมีทุนทางจริยธรรมแล้ว  ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์  เพราะมีความรู้ความสามารถ  มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จแล้วยังมีความดีงามที่จะไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือทรัพยากรส่วนกลาง
บทที่  8  Harmony   ความปรองดองสมานฉันท์  &   Social    Capital   ทุนทางสังคม

“H”  Harmony   ความปรองดองสมานฉันท์ 

Social    Capital   ทุนทางสังคม
ความปรองดอง  ความสมานฉันท์  ความสอดคล้อง  กลมเกลียว  และความประนีประนอม  ใฝ่สันติ ผู้นำที่ต้องบริหารประเทศหรือคนหมู่มาก  ควรต้องใช้หลัก  Harmony นี้ให้มาก สังคมประเทศชาติ  หรือสังคมโลกจึงจะอยู่เป็นสุข  การทำงานที่สามารถดึงความเก่งหรือทักษะของคนแต่ละคนร่วมกัน และปฏิบัติภารกิจนั้นๆ ให้ลุล่วงไป สิ่งสำคัญคือต้องแบ่งปันความสำเร็จให้พึงพอใจกันทุกฝ่ายอาจไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นความภาคภูมิใจ เป็นเกียรติ  หรือแม้แต่เพียงความปีติที่ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
1.  สองพลังความคิดชีวิตและงาน   คุณหญิงทิพาวดี  กับ ศ.ดร. จีระ  จะเห็นว่า ทั้ง 2 ท่าน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ  คน  และความสำคัญในการพัฒนาของคน ซึ่ง ทั้งสองท่านได้กล่าวตรงกันที่ว่า  คน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน  โดยท่านคุณหญิงจะเน้นไปที่ รากฐานชีวิต,  สุขภาพ, จิตใจ, สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว,  การลงมือทำด้วยตัวเองไม่ว่าจะทำอาชีพไหนก็ตาม,  ความปองดองสมานฉันท์ฯ  หลักในการใช้ชีวิตและพัฒนาตนเองตามแนวทางที่คุณหญิงได้กล่าวนั้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตได้และยังทำให้มีความสุขในการทำงานให้เข้ากับยุคของการแข่งขันในปัจจุบัน   ส่วนท่านอาจารย์ จีระ  จะเน้นไปที่ การมีทุนมนุษย์และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยถ้ามีสิ่งที่ท่านกล่าวไว้แล้วนั้นถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าของชีวิต และทำให้ก้าวไปเป็นคนมีคุณภาพอย่างสมบูรณ์   ท่านได้เน้นการพัฒนาตัวเราเอง  คนไทยจะยังต้องพัฒนาในอีกหลายๆ  ด้าน เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดไกล  มีวิสัยทัศน์  คิดแสวงหาความสุขในระยะยาว  และการตัดสินใจใดๆ  จะได้คำนึงถึงความยั่งยืนทำให้เกิดเป็นทุนแห่งความยั่งยืนขึ้นมาได้  แต่ทั้งสองทฤษฎีนั้นมีความที่คล้ายกันและสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้  เป็นแนวในการใช้ชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานได้นับว่าเป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2.  ตัวเราเองเป็นอย่างไร ในภาวะผู้นำ  เนื่องจากที่ตัวของดิฉันเองยังไม่ได้ทำงานจึงไม่ทราบว่าตัวเองมีคุณสมบัติการเป็นผู้นำอย่างไร แต่ความเป็นจริงแล้วดิฉันคิดว่าตัวของดิฉันเป็นผู้นำของตัวเองและคิดว่าตัวเองเป็นผู้นำที่ มี  Vision   มีเป้าหมายในชีวิต  มีทิศทางการดำเนินชีวิต  นั้นคือ ตัวของดิฉันเองนั้นมีความตั้งใจว่าจะเรียน ปริญญาโท ในจบภายในปีการศึกษา  2552  จากนั้นจะกลับไปอยู่บ้านเกิดที่เชียงใหม่ และมีอาชีพเป็นอาจารย์สอนระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ ในการเป็นผู้นำตัวเองนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการเอาชนะใจตัวเอง มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและผู้อื่นในสังคม  ตั้งใจทำในสิ่งที่เราคาดหวังไว้โดยที่ต้องบังคับตัวเองไม่ให้เลิกล้มความตั้งใจถึงแม้ว่าจะมีปัญหาในการเรียนหรือการใช้ชีวิตบ้างเป็นบางครั้งและให้กำลังใจตัวเองเสมอ  พยายามพัฒนาตัวเองเสมอเพราะว่าตัวดิฉันเองไม่มีประสบการณ์ในการทำงานจึงต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งรอบข้างต้องเพิ่มความขยันเป็นสองเท่า เมื่อเทียบกับพวกพี่ๆ ที่ทำงานกันแล้วบางครั้งการได้รับความรู้มาจากอาจารย์แต่ละท่านก็ยังดูไม่ออกว่าสิ่งที่อาจารย์พูดสอนเรานั้นเราจะเอาไปปรับใช้ในการทำงานอย่างไร 

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ หนังสือ “2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ฯ” นับเป็นหนังสือที่สามารถถ่ายทอดแนวทางและแนวคิดทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไว้ทางแท้จริง เนื่องจากบุคลากรที่ถ่ายทอดความรู้ และความคิดที่ประกอบเข้าเป็นหนังสือนั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ และผ่านประสบการณ์ ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มาอย่างโชกโชน หลักคิดที่เฉียบแหลมของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ชี้ให้เห็นว่า สำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความสุขไปพร้อมกัน ด้วยการใช้หลักคิด คือ 8 H’s อีกหลักคิดหนึ่ง ที่ทำให้เราท่านเกิดปัญญาในการบริหารทรัพยากร คือ หลัก 8 K’s ของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมย์ นั้นเอง หลักการทั้งสอง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานในองค์กร หรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งนี้ เราสามารถจำแนกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้ง่ายและชัดเจนแก่การเข้าใจคือ หลัก heritage รากฐานของชีวิต และ Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืน ในส่วนนี้ ทำให้เราตระหนักว่า มนุษย์เรานั้น ต้องระลึกและมีความภาคภูมิใจในการเป็นตัวเอง และต้องเข้าใจในรากเหง้าของตนเอง ที่กล่าวเช่นนั้น เนื่องจาก การเข้าใจที่มาของตนเอง และรู้จักตนเองนั้น จะทำให้เราเข้าใจ สิ่งที่เรามี และเราเป็น ฉะนั้น การจะทำงาน หรือดำเนินกิจกรรมใด ๆ ในองค์กร หรือชีวิตประจำวัน ย่อมทำให้เราไม่ประมาท และทำอะไรอยู่ด้วยความพอเพียง มีความสมดุล หลัก Head สมอง และ Intellectual Capital ทุนทางปัญญา นั้น แสดงให้เราเห็นว่า ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากที่ต้องบริหารมนุษย์ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในศาสตร์หรือเรื่องนั้น ๆ เราต้องฝึกฝนให้บุคลากรเหล่านั้น เกิดทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ นั้นหมายถึง นอกจากมีความรู้แล้ว ยังต้องคิดเป็น และตกผลึกกับความคิดเหล่านั้น (คิดได้ วิเคราะห์ได้ ต้องมีคุณธรรมด้วย) Hand มืออาชีพ และ Talent Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ในการทำงานนั้น เราทุกคนมักต้องการความสำเร็จในงานนั้น ๆ แต่หลักการนี้ ทำให้เราต้องตระหนักว่า การทำงานนั้น ต้องอาศัยตนเองเป็นที่ตั้งในการทำงาน การใช้ประโยชน์จากความสะดวก ง่ายดายของเพื่อนร่วมงาน หรือเทคโนโลยีนั้น บางครั้ง ทำให้เราขาดความละเอียดอ่อน และความใส่ใจในเนื้องาน อีกทั้ง การที่เราสามารถทำงานในขั้นที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และฝึกฝนจนกระทั่งเป็นขั้นที่ยุ่งยาก สิ่งเหล่านั้น จะเป็นประสบการณ์และสร้างความเป็นมืออาชีพในงานที่ท่านปฏิบัติ เกิดความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งในส่วนนี้มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศ และที่สำคัญมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรที่ทุกวันนี้กำลังถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน Heart จิตใจที่ดี และ Ethical Capital ในสังคมปัจจุบัน การคิดหรือมีทัศนคติในเชิงบวก เป็นสิ่งสำคัญยิ่งทั้งการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน ที่กล่าวเช่นนี้ ในปัจจุบันมีความรู้ แต่ปราศจากความคิดหรือทัศนคติในเชิง ดังนั้น การมองอะไรจึงไม่มีความสุข ฉะนั้น การมองในเชิงบวก ที่ควบคู่กับความมีคุณธรรมและจริยธรรม ประกอบกันจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ “ประเทศชาติ จะพัฒนาได้อย่างไร หากปราศจากผู้มีความรู้ และคุณธรรม” Health การมีสุขภาพที่ดี คนเราแม้มีสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ แต่หากร่างกาย หรือสุขภาพไม่ดี มีความบกพร่อง สิ่งต่างๆ ทั้งสมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ ย่อมไม่มีความหมายใด ๆ หลักคิดข้อนี้ ของคุณหญิงทิพาวดี แสดงให้เราเห็นว่า สุขภาพ มีความสำคัญมาก เนื่องจากสุขภาพเป็นสิ่งที่ทำให้ “ยังมี และมีความสามารถ” ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ หากสุขภาพไม่ดี หรือไม่มีลมหายใจ สิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่มีความหมาย ทั้งนี้ หลักการข้อนี้ เป็นหลักการข้อเดียวที่อาจารย์ทั้งสองท่านมีความคิดแตกต่างกัน สำหรับท่านอาจารย์จีระนั้น มองว่า Digital Capital มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ในปัจจุบันมาก เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันนั้น ล้วนสนับสนุนการทำงานในระบบดิจิตอล ฉะนั้นการเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และเทคโนโลยีนั้น เป็นทักษะหนึ่งที่ทรัพยากรมนุษย์ ยุคปัจจุบันมีความจำเป็น Home บ้านและครอบครัว และ Human Capital ทุนมนุษย์ มนุษย์จะมีคุณภาพย่อมมาจากครอบครัว หรือสิ่งแวดล้อมที่ดี และเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องกระบวนการให้เขาเหล่านั้น ได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาอย่างมีระบบเป็นขั้นตอน อีกทั้ง บ้านและครอบครัว ยังเป็นเสมือนแหล่งเพาะบ่มความคิด และทัศนคติ ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรต้องการ Happiness ความสุข และ Happiness Capital แสดงให้เห็นว่า คนเราทุกคน ย่อมต้องทำงานและดำรงชีวิตในประจำวัน ทำในสิ่งที่ตนเองรัก และปฏิบัติงานโดยมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบ ฉะนั้น ความสุขนั้น จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และความสุขนั้น ต้องเป็นความสุขที่ไม่เบียดเบียนใคร คือ เป็นความสุขที่เกิดจากทั้งกายและใจของตนเอง Harmony ความปรองดองสมานฉันท์ และ Social Capital มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่ จึงมีประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมาย เป็นตัวกำกับเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข มีความปรองดอง สามัคคี ฉะนั้น ในการทำงานเช่นเดียวกัน เราทุกคนต้องการมิตรในการทำงานมากกว่าศัตรู และร่วมกันทำงาน โดยมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังต้องรู้จักวัฒนธรรมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และสามารถรักษาความเป็นอัตลักษณ์ของตนในสังคมได้
นาย.ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4 รหัส.50038010033
ข้อ1        จากการชม และฟังพูดคุยกันระหว่าง ศ.ดร.จิระกับคุณหญิงทิพาวดี ทำให้เห็นภาพชัดเจนในความคล้ายคลึงกันคือ การได้รับความรักความอบอุ่นและมีจุดเริ่มต้นจากผู้มีพระคุณ (พ่อ,แม่) ที่ชี้นำวิถีการดำเนินชีวิตของท่านทั้งสองสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จในชีวิตทั้งเรื่องการงานและครอบครัวที่สำคัญนี้เองที่สังคมในยุคปัจจุบันมิได้ให้ความสนใจเท่าที่ควรมากนักดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยไม่ว่าท่านทั้งสองจะคิดอยู่ในกรอบของ คุณธรรม จริยธรรม ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กได้อย่างแน่นอน ท่านทั้งสองเป็นผู้นำทฤษฎี 8K หรือ 8H มาดำเนินชีวิตนั้นเอง หลังจากการได้ศึกษาลึกๆอย่างละเอียดแล้ว การบริหารจัดการคนนั่นเองคือตัวการสำคัญที่ทำให้องค์กรประสพความสำเร็จ และเป็นที่ภูมิใจที่จะใช้ชีวิตอยู่ในวัฒนธรรมแห่งความเป็นไทยได้อย่างดี  ส่วนในมุมที่แตกต่างท่าน อาจารย์ จิระ ท่านจะวางแผนนโยบายโดยใช้ทางสายกลางโดยการสร้างความรู้ความสามารถ ของท่านโดยไม่จำเป็นต้องปะทะดังนั้น อาจารย์ จิระ แตกต่างกับ คุณหญิงทิพาวดีตรงที่ไม่ว่าการเมืองจะแปรผันไปตกอยู่ในกลุ่มใดก็ตามอาจารย์จิระก็ยังคมเป็นบคคลสำคัญและเป็นที่ ต้องการของบุคคลในสังคมมาโดยตลอด ส่วน คุณหญิงทิพาวดี เพราะเป็นการเรียนรู้ทั้งจากตำราและนอกตำรามาโดยตลอดคุณหญิงทิพาวดี สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้แทบทั้งสิ้น ไม่จำเป็นว่าเราจะอยู่ในองค์กรหรือหน่วยงานใดไม่ว่าจะเรื่องการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้LIFE LONG LEARNING การสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้น ข้อ 2 ลักษณะผู้นำที่คิดว่าตัวเองมี ดังนี้ 1.กล้าตัดสินใจ ยอมรับความล้มเหลว  กล้ารับผิดชอบ ในหลายๆเรื่อง ทั้งดีและร้าย 2. การมีวิสัยทัศน์ 3. ความยุติธรรม 4. สร้างทีมงานที่มีคุณภาพ 5. สุภาพ มีเมตตา 6. แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ลักษณะ 7.ซื่อสัตว์ ตรงต่อเวลาที่ได้รับ ผู้นำที่ดีตามที่ อาจารย์ จิระ สอนได้เป็นอย่างดี……….
น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009
Character ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง  ทักษะ  บุคลิกภาพที่มีอยู่คืออะไร  ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมีคืออะไร                ตามความคิดเห็นที่ประเมินตัวเอง ที่คิดว่ามีดีอยู่ในตัว                เป็นคนที่มีแนวคิดในการทำงาน หรือการแสดงความคิดเห็นไม่ค่อยเหมือนคนอื่น ๆ  อาจจะคิดนอกกรอบ บุคลิกภาพมั่นใจในตัวเอง และมีจุดยืนในการทำงาน  มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย                ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมี คือ                การพูดเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ในสถานการณ์ที่จะต้องคิดและตัดสินใจ เช่น  พิธีกร  การเจรจาโต้ตอบ  จะค่อนข้างรู้สึกตื่นเต้นหากไม่ได้เตรียมการ  อยากจะฝึกความมั่นใจ และกล้าแสดงออกในการพูด การโต้ตอบคำถาม  อยากให้ไม่มีความประหม่าในตัวเอง  ฝึกการพูดในที่สาธารณะชน การเรียบเรียงข้อมูลในการพูด  พูดอย่างไรให้คนสนใจและคล้อยตาม  สรุปข้อมูลจากการฟัง VTR  โดยเทียบความเป็นผู้นำ  ของคุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์และ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ความเป็นผู้นำ ของคุณหญิงทิพาวดี                เป็นผู้นำที่มี Character  ที่เป็นคนชอบเรียนรู้  มีคุณธรรม  จริยธรรม ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา  ให้ความสำคัญในการมุ่งพัฒนาระดับผู้บริหารในการนำไปพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ในหน่วยงานภาครัฐ และเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง  ซึ่งสามารถแสวงหาทฤษฏี  8  H’S  ได้แก่  Heritage    Happiness   Head   Hand   Heart   Health  Home   Harmony  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ทำงานเป็นกรอบ ความเป็นผู้นำ  ดร.จิระ                   เป็นผู้นำแสวงหาความรู้  มี Vision  ในการมองอนาคต และจุดประกายการสร้าง Vision  ร่วมกันโดยเป็นผู้นำที่กระตุ้นความเป็นเลิศเพื่อให้พัฒนาจุดแข็งของตนเองขึ้นมา  โดยมีการทำงานเป็นทีม  โดยมีความตั้งใจในการพัฒนาคน  สอนให้รู้จักคิดเป็น  วิเคราะห์เป็น  ค้นหาในสิ่งที่ตัวตนมีความสามารถ    ซึ่งหมายถึงคนในทุก ๆ ส่วน ไม่ว่าเป็นภาครัฐ หรือเอกชน มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในส่วนรวม  ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาประเทศชาติ
นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑. ลักษณะที่ดีและไม่ดีของตนเอง
ลักษณะที่ดี
     ๑. ไม่เอาเปรียบใคร
     ๒. กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ
     ๓. แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
     ๔. ขยัน และจริงจังกับงาน
ลักษณะที่ไม่ดี
     ๑. ไม่ชอบให้ใครเอาเปรียบ
     ๒. ถ้าไม่ใช่เรื่องงาน จะไม่มีความ Active

ข้อ ๒. บทสนทนาระหว่าง ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
    
ทั้ง ๒ ท่านมี Vision และภาวะความเป็นผู้นำ โดย ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเน้นการพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ของงาน และเป็นที่รู้จักของคนหมู่มากโดยการ สอน หรือบรรยาย และด้วยวิธีการสอนของท่านทำให้ นักเรียน หรือผู้เข้ารับการอบรมประทับใจ ส่วน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ประสบกับความสำเร็จในชีวิตข้าราชการ โดยเฉพาะที่สำนักงาน กพ.

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน
            จากการที่ได้อ่านและได้รับชมวีดีทัศน์  ทำให้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการทำงานความจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   การพัฒนาตนเองให้ทันกับกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต    ทั้งสองท่านถือว่าเป็นแบบอย่างของผู้บริหารที่ดีต่อพวกเราชาวรปม. รุ่นที่ 4 ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการเสียส่วนใหญ่ถือว่าเป็นวัยกำลังทำงานเป็นทรัพยากรมีคุณค่าต่อองค์กรและประเทศชาติในอนาคต
ทั้งสองท่านมีความเหมือนในความแตกต่าง ดังนี้
ความเหมือน  ทั้งสองท่านมีความเชื่อที่เหมือนกันคือ “คน “ เป็นทรัพยากรที่มีต่อองค์กร   มีเป้าหมายและเป็นแบบอย่างในการพัฒนาบุคลากรที่เหมือนกัน    เป็นผู้คิดจริงทำจริงมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทันยุคทันสมัยนำเทคโนโลยีมาใช้  มีทฤษฎีพัฒนาคนคือ “8 H’s”  และ "8 K’s”    เน้นการทำงานเป็นทีม  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเปิดโอกสาให้แสดงความคิดเห็น    กระตุ้นให้คนให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา   มีครอบครัวเป็นต้นแบบในการการศึกษา   การทำงาน   การดำเนินชีวิต   เน้นการพึ่งพาตนเอง  มีข้อมูลที่เป็นจริงและพิสูจน์ได้  ไม่สนใจงานด้านการเมือง  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน   มีทักษะในความเป็นผู้นำ ( Leadership)  อย่างแท้จริง  ไม่ลืมความเป็นตัวตน  มีความเชื่อที่ถูกต้องและมีเหตุผล  มีความภาคภูมิใจงานที่ทำไม่ยึดติดกับตำแหน่งและอำนาจใดๆ
ความต่าง  มีเป้าหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน  ท่านอาจารย์จีระ ได้รับการยอมอย่างแพร่หลายว่ารับเป็น Guru  ในเรื่องทรัพยาการมนุษย์อย่างแท้จริง  มีความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาบุคลากรมากกว่าอันจะเกิดจากประสบประการณ์ที่แตกต่างกัน ท่านอาจารย์จีระจะเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และสื่อต่าง ๆ ในการให้ความรู้กับบุคคลทุกกลุ่มทุกวัยที่สนใจ   แต่คุณหญิงทิพาวดีจะเน้นการให้ความรู้เฉพาะในองค์กรที่ปฏิบัติงาน   และมีการหาความรู้และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่แตกต่าง
2.  Character ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง  ทักษะ  บุคลิกภาพที่มีอยู่คืออะไร  ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมีคืออะไร     
  จากการที่ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์จีระในครั้งที่สองที่มีหัวข้อในการเรียนที่ว่า “ภาวะผู้นำในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลง” ท่านอาจารย์ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้หลักของท่านอาจารย์ทำให้สมองของพวกเราคิดอยู่ตลอดเวลา  และเกิด Trust ในตัวท่านเองว่าเราก็คิดเป็นและกล้าแสดงออกจุดแข็งเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานชอบทำงานที่ท้าท้ายอยู่เสมอ ชอบการเรียนรู้  ปรับตัวเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กรและของโลก  มีการตัดสินใจแก้ปัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุและผล  
เน้นการทำงานเป็นทีมเนื่องจากเราไม่สามารถจะทำงานหรือประสบความสำเร็จได้เพียงลำพังยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคนในที่ทำงาน  แต่สิ่งที่ยังขาดคือทักษะการเจรจาต่อรองซึ่งจำเป็นมากในการทำงานเนื่องจากจะมีกลุ่มบุคคลมาติดต่อที่หน่วยงานเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายของทางด้านอาชีพ

     ข้อ 1. สิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันคือความอบอุ่นของครอบครัว และการมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล การไฝ่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ไม่หยุดนิ่งและพยายาม update แนวคิดใหม่ ๆ อยู่เสมอ

         ข้อ 2. ข้อดี 1. ขยัน ตรงเวลา 2. มุ่งมั่นในสิ่งที่กระทำ 3. ร่าเริง แจ่มใส              ข้อเสีย 1. ขี้หงุดหงิด รำคาญ 2. ใจร้อน

 

น.ส.สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น 4
จากการฟังเทป เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ข้อคิดและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หลายอย่าง  คือ ทั้งสองท่าน อาจารย์จีระและคุณหญิงทิพาวดี ต่างก็ให้ความสำคัญกับมนุษย์ โดยมองว่าการที่จะพัฒนามนุษย์นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ว่าจะทำอะไร เช่น การสร้างองค์กรก็ต้องใช้คน การสร้างครอบครัวก็ต้องใช้คน หรือจะพัฒนาประเทศก็ต้องเริ่มจากคน ทั้งนั้น ซึ่งการจะพัฒนาคนแต่ละคนไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้นำยุคใหม่จึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามเรื่องบุคลากร ควรหันกลับมาดูพนักงานของหน่วยงานของตน ซึ่งการจะดูแลบุคลากรให้อยู่กับองค์และจงรักภักดีกับองค์กรทำได้ยากซึ่งทั้งสองท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก ทั้งจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องและการลงมือปฎิบัติจริง จนทำให้ท่านทั้งสองเข้าใจ ถึงคุณค่า และความสำคัญของบุคลากรและได้คิดแนวทางการพัฒนาบุคลากรออกมาเป็นทฤษฎี 8 H’s และ 8 k’s  ซึ่งถือว่าใครได้ฟังและได้อ่านหนังสือของท่านทั้งสอง จะสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ ทั้งเรื่องชีวิตส่วนตัวและอาชีพการงานเรา รปม.รุ่น 4  ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้ทำให้พวกเรา ได้เปิดโลกอีกโลกหนึ่ง เปิดความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทันที  ในการเป็นผู้นำ นั้นต้องมีคุณลักษณะที่โดดเด่น มีแนวคิดที่กว้างไกลแต่สำหรับCharacter หรือ คุณลักษณะ ของตัวเองที่มีอยู่ และถือเป็นข้อดี เป็นจุดแข็งของตัวเองคือ1.       เป็นคนยิ้มง่าย อารมณ์ดีตลอดเวลา2.       เป็นคนไม่ชอบอยู่นิ่ง ต้องหากิจกรรมทำตลอด3.       เป็นคนมองโลกในแง่ดี 4.       เป็นคนชอบความยุติธรรมไม่ชอบการเอาเปรียบ ทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น5.       ชอบหาความรู้ใส่ตัว และเป็นคนชอบอ่านหนังสือ เกือบทุกประเภท

6.       เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอง กล้าทำในสิ่งที่คิดและรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง

 

ญานิสา   เวชโช  50038010013

“2 พลังความคิดชีวิตและงาน 2 ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ฯ ทฤษฎี  8 H ‘s  ของคุณหญิง และ  8 K ‘s  ของ ศ.ดร.จีระ ”  มองที่คน เพราะคนเป็นทุนที่สำคัญขององค์การ  ผู้นำยุคใหม่จึงไม่ควรละเลยเรื่องทุนมนุษย์  "มนุษย์"  เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดขององค์การ องค์การจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับมนุษย์ ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี เพราะสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตได้ก้าวเข้าสู่ยุคที่ให้ความสำคัญแก่ความรู้  ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมของทรัพยากรมนุษย์ และถือว่าทรัพยากรมนุษย์ คือ ทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด

ข้อดีของตัวเอง  คือ เป็นคนมองโลกในแง่ดี  มีเหตุผล  มีความเป็นผู้ใหญ่  ใจเย็น ยิ้มง่าย เข้ากับคนอื่นได้เก่ง ไม่เห็นแก่ตัว

ขอส่งข่าวประชาสัมพันธ์
สวัสดีค่ะเพื่อน รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน ตามกำหนดการ Study Tour ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ณ จังหวัดชลบุรี นั้น คณะผู้จัดงานขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการและขอแจ้งให้ทุกท่านทราบกำหนดการใหม่ ดังนี้ ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากมหาว่ิทยาล่ัยราชภัฏสวนสุนันทา ๐๙.๐๐ น. เดินทางถึงบริเวณศูนย์การต้า รอยัลการ์เด็น ๑๑.๐๐ น. เดินทางถึงท่าเรือแหลมบาลีไฮด์ (สุดถนน Walk Street) เพื่อลงเรือข้ามไปเกาะล้าน ๑๒.๐๐ น. เดินทางถึงเกาะล้าน * รับประทานอาหารกลางวัน * พักผ่อนตามอัธยาศัย * ช่วงแลกเปลี่ยนความรู้กับ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ๑๕.๓๐ น. ข้ามเรือจากเกาะล้านกลับมาที่พัทยา ๑๖.๑๐ น. เดินทางกลับ ๑๘.๓๐ น เดินทางถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หากเพื่อน ๆ สงสัยมีปัญหาอะไรให้โทรถามคุณสุทัศน์ หรือพี่อนงค์ ค่ะ
นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน

ซึ่งทั้งสองท่านจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ คน เป็นสำคัญที่สุดขององค์กร ท่านเชื่อว่า การที่จะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี โดยคุณหญิงจะเน้นทฤษฎี  8 H ‘s และ ศ.ดร.จีระ จะเน้นทฤษฏี  8 K ‘s   ซึ่งมีความแตกต่างกันทางด้านที่ ศ.ดร. จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง   ส่วนคุณหญิงเน้นเรื่อง สุขภาพที่สมบูรณ์  ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์ 

 

ข้อ 2 ลักษณะความเป็นผู้นำของตนเอง

จุดแข็ง

1.มีความยุติธรรม ถูกคือถูก ผิดคือผิด ไม่โอนเอียง

2.การทำงานเป็นทีม

3.การตัดสินใจกับปัญหาต่างๆ

4.มีความมั่นใจในตนเอง

5.ร่างเริงเป็นมิตรกับทุกคน

6.ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา

จุดอ่อน

เป็นคนอารมณ์ร้อนถ้าเกิดงานผิดพลาดหรืองานออกมาล่าช้า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขในตัวเอง

เรียน ท่านอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมย์  พี่น้อง ผองเพื่อน ชาว รปม.รุ่น 4  

 

จากการสนทนา กัน ระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับ คุณหญิงทิพาวดี ทำให้ฉุกคิดได้ว่า บุคลากรทั้ง 2 เป็นผู้ที่มี Vission  และเป็นคนที่มี TRUST ของคนในสังคมที่ได้พบ เป็นผู้ที่ได้รับยกย่องในเรื่องนักต่อสู้ด้านวิชาการ ชอบที่จะคิด ชอบที่จะเขียน อันเนื่องมาจากการที่ท่านทั้งเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มองกาลไกล และเป็นผู้ที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น เป็นที่รักของคนในครอบครัว รวมไปถึงเพื่อนรวมงาน และลูกน้อง  ชอบที่จะนำเอาเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้  มีคุณธรรม จริยธรรม

 

สิ่งที่เป็นจุดแข็งจุดอ่อน

จุดแข็ง   เป็นคนที่ทุนทางความรู้ในเนื้อหาของการทำงานด้านอัคคีภัย  ทำงานจริงจัง  เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง

จุดอ่อน  ค่อนข้างปากไว ตัดสินใจเร็ว   

นงนุช บัวขำ รหัส 50038010012

1. Character หรือคุณลักษณะที่พึงปรารถนา

คือ เป็นคนมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายและหน้าที่ของตน  ตรงต่อเวลา มีคุณธรรมในการทำงาน ไม่คิดร้ายกับใคร ให้เกียรติผู้ร่วมงาน

2. บทสมภาษร์ระหว่าง ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ศ.ดร.จีระฯ จะให้ความสำคัญที่ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นอันดับแรก เพราะเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ได้รับมาตั้งแต่เยาว์วัย ถ้าคนเราได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาดีก็จะทำให้ทุนมนุษย์ดี แล้วทุนด้านอื่นๆก็ดีไปด้วย

คุณหญิงทิพาวดีฯ ให้ความสำคัญกับ Heritage รากฐานของชีวิต หรือ ทุนทางวัฒนธรรม เป็นอันดับแรก ให้รู้ว่าเราเป็นใครมาจากไหนและภาคภูมิใจในรากฐานของชีวิตตัวเอง และพัฒนาตนเองให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อเป็นมรดกแก่คนรุ่นหลัง

ทั้งสองท่านเป็นผู้นำที่เห็นความสำคัญของมนุษย์หรือทรัพยากรในองค์กรเป็นอันดับแรก ศ.ดร.จีระฯ มีความรู้ความสามารถมากทางด้านทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารคนในองค์กร ซึ่งถ้าเรามีผู้นำประเทศแบบ ศ.ดร.จีระฯ แล้วประเทศชาติของเราคงพัฒนาและเจริญรุ่งเรืองทันประเทศอื่นๆ

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ 50038010046 รุ่น4

คุณลัษณะที่พึงปรารถนาตัวผู้เขียนเองมีความรู้สึกและสำนึกในหน้าที่ตลอดเวลาที่ได้มาทำงานที่ในหน่วยงานนี้คือศูนย์สัวสดิภาพเด็กเยาวชนและสตรีที่ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจนครบาลเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างมากที่มีต่อสังคมและสถาบัญครอบครัวโดยตรงจะเห็นได้ว่าการให้การช่วยเหลือหรือการเข้าไปแก้ไขปัญหาของเด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรหรือการเข้าไปมั่วสุมเสพยาเสพติดของเด็กเยาวชนที่เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้ภาครัฐเองก็พยายามเข้าไปแก้ไขปัญหาโดยการพัฒนาศักย์ภาพของบุคคลาการตลอดเวลาเพื่อให้รู้จริงรู้ทันต่อพฤติกรรมของเด็กผู้กระทำผิด  ตัวผู้เขียนและเจ้าหน้าที่ ศดส.ทุกนายเข้าใจถึงจิตรใจและพฤติกรรมของเด็กดีว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นช่วงหนึ่งของวงจรชีวิตนึกถึงสภาพเมืองตัวผู้เขียนเองเมื่ออายุประมาณนี้ก็เคยมีพฤติกรรมสร้างปัญหาให้กับผู้ปกครองไม่น้อยเช่นกันเมื่อตัวผู้เขียนไปมาทำงานให้กับในหน่วยงานนี้ที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผู้และให้การสงเคราะห์หรือคอยให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางที่ผิดหรือพยามที่จะก่อปัญหาให้สังคมนี้ตัวผู้เขียนจึงทราบดีว่าจะเข้าไปแก้ไขและให้ความช่วยเหลืออย่างไรจะไม่เป็นการสร้างปัญหาขึ้นมาอีกคือมองว่าหลังจากการให้การช่วยเหลือหรือแก้ไขแล้วและจะไม่กับไปสร้างปัญหาให้สังคมขึ้นมาอีกการให้การช่วยเหลือหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาก็จะใช้หลักคุณธรรมและความเป็นไปได้เป็นหลักสำคัญ        โดยฉะเพราะการตัดสินใจเข้าไปใหการช่วยเหลือหรือเข้าไปแก้ไขปัญหาทุกครั้งจะมีการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเพื่อเข้าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งว่าเพราะเหตุใดเป็นสาเหตุของการกระทำผิดบ่อยๆของเด็กเยาวชนและสตรีการทำงานทุกครั้งและจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกส่วนสำคัญที่สุดคือผู้นำองค์จะต้องกล้าแสดงกล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ๆเพื่อพัฒนาองค์กรให้ทันสถานการเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่เกิดแล้วมาแก้ปัญหาภายหลังผู้นำจะต้องรู้จริงต้องเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหาและเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานอย่างเดียวไม่พอต้องเป็นที่พึงและศรัทธาของกลุ่มคนทั่วไปทำให้หน่วยงานเป็นที่รู้จักรของคนทั่วไปได้สร้วงองค์กรให้เข้มแข็ง

นางสาวดนิตา มูลละออง

ข้อ 1

ลักษณะผู้นำที่มีของตนเอง

-  Character  ชอบเรียนรู้ (คนเก่งงานอยู่ที่ไหนก็ได้)  มีคุณธรรม จริยธรรม

-  Leadership skill ตัดสินใจโดยใช้ประสบการณ์ และฟังความคิดเห็นจากลูกน้อง ทำงานเป็นทีมแบ่งหน้าที่ให้

    แต่ละคนรับผิดชอบ

-  Leadership process  การวางแผนล่วงหน้า เป็นตัวอย่างที่ดี

-  Leadership value ความศรัทธาในตัวของผู้นำ สั่งงานแล้วผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตาม และสามารถควบคุม

   บุคลากรที่ทำงานร่วมกันโดยไม่ได้สังกัดสำนักงานเดียวกัน

ลักษณะผู้นำที่ไม่มีของตนเอง

-  มีทัศนคติที่เป็นลบกับบุคลากรบางคน (ในเรื่องความรับผิดชอบต่องาน)

-  การเจรจาต่อรองจะเป็นคนตรงไปตรงมายึดกฎ ระเบียบ

-  ไม่ศรัทธาผู้บังคับบัญชาที่ไม่มีความสามารถในการทำงานใช้วาทศิลป์เพียงอย่างเดียว

ข้อ 2

จากการชมวีดีทัศน์การสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์                                            คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

-  เป็นผู้นำแบบ Trust                                                -  เป็นผู้นำแบบ Authority

-  ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์(Human Capital)  -  Home บ้านและครอบครัว

-  ทำงานเป็นทีมใช้สื่อเป็นตัวกลาง                        -  ทำงานผ่านองค์กรโดย 

  ในการทำงาน                                                                ท่านเป็นผู้กำหนดนโยบาย

                                                                                            ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้

                                                                                            ปฏิบัติ

-  ชอบการเรียนแบบ OBAMA ต้องให้กำลังใจ    -  ชอบการเรียนแบบ

                                                                                            OBAMA ต้องให้กำลังใจ

                                                                                            ให้ความหวัง ให้ความหวัง

 

การที่ได้ชมวีดีทัศน์การสนทนาแล้วได้แนวความคิดเพื่อมาประยุกต์ใช้กับงาน คือ ต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นก่อน แล้วให้ความสำคัญกับงานทุกงาน ที่สำคัญที่สุดคือ คนในหน่วยงานเพราะถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่สุดในหน่วยงานเพราะคนสามารถทำอะไรได้หลายอย่างหากเราสามารถดึงความสามารถของคนแต่ละคนออกมาและมอบหมายงานที่ตรงกับความสามารถ และจะต้องให้โอกาส ให้ความหวัง ให้รางวัล

สุรภัทร ปานทอง รปม.รุ่นที่ 4

ข้อ1 วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ   และคุณหญิงทิพาวดี   หลังจากที่ได้ชมการสนทนากันในวีดีทัศน์ที่อาจารย์นำมาให้ชมนั้น

ความเหมือน        ทั้งสองท่านเป็นผู้ที่มี Trust   คือการสะสมความดี สะสมผลงานที่สามารถมองเป็นรูปธรรมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนมาโดยตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองท่านได้ทำงาน   มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็น : พันธุ์แท้ :    และสู่ความเป็นเลิศ   โดยการวิเคราะห์และคิดหลักทฤษฏี 8k’s และ 8H’s มาเป็นหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ  จะเห็นได้ว่าทั้งสองท่านทุ่มเทแรงกายและแรงใจในการทำงานมุ่งมั่นที่จะพัฒนางาน  พัฒนาคนและองค์กรต่างๆได้การยอมรับจากสังคมมากขึ้นเช่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ความแตกต่าง    ศ.ดร.จีระ  มีทีมงานที่จะพัฒนางาน  พัฒนาคนและองค์กรและมีเครือข่ายมาก  สามารถพัฒนาคนโดยใช้เทคโนโลยีการสือสารทันสมัยและทีมงานเข้มแข็ง รวดเร็ว มีไหวพริบดี สมกับเป็นมืออาชีพ  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี ท่านยังขาดทีมประสานงานและเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่ทันสมัย และคุณหญิงท่านมุ่งพัฒนาบุคคลากรในองค์กรเฉพาะกลุ่มและท่านมีความสนใจตำแหน่งทางการเมือง

ข้อ 2 คุณลักษณะความเป็นผู้นำที่ได้สำรวจตนเองมาเป็นระยะเวลาหลายปีคือการบริหารจัดการการดำเนินชีวิต   การทำงานในหน้าที่ประจำแม้จะมีอุปสรรคบ้างแต่ก็น้อยมาก  ข้าพเจ้ายึดหลักความซื่อสัตย์   มีคุณธรรม  จริยธรรมและนำหลักธรรมะของพระพุทธเจ้ามาประยุกต์กับความเป็นผู้นำ  ผลที่ได้จากการนำมาประยุกต์ใช้คือการยอมรับและเคารพนับถือจากเพื่อนร่วมงานต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  จุดแข็งคือ การเผชิญปัญหาและการแก้ปัญหา(ในบางเรื่อง)โดยใช้หลักธรรมะของภาวะผู้นำและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างดี  จุดอ่อน คือยังมีความรู้และความสามารถไม่เพียงพอ  กำลังแสวงหาความรู้เพื่อที่นำมาบริหารจัดการกับงานในหน้าที่ประจำและงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 

ข้อ 1. ท่านมีลักษณะผู้นำแบบใดและยังขาดความเป็นผู้นำแบบใด

-          ชอบเรียนรู้ แสวงหาข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับงานและข่าวสารอื่น ๆ เพื่อให้ทันกับยุคโลกาภิวัฒน์ มีคุณธรรม จริยธรรม ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนเท่าเทียมกัน เห็นประโยชน์ขององค์กรสำคัญ การตัดสินใจเด็ดขาด การเจรจาต่อรองสามารถทำได้ดีเพราะจะเอาใจเขามาใส่ใจเรา มองว่างานที่เราทำประสบความสำเร็จ หน่วยงานก็จะประสบความสำเร็จ องค์กรอยู่ได้ เราอยู่ได้และสามารถก้าวไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารในระดับที่เหนือขึ้นไป ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความเคารพและเชื่อมั่นในการตัดสินใจและมองตัวเราเป็นแบบอย่างที่ดี

-          บางครั้งก็เป็นผู้นำที่กึ่งเผด็จการ เช่น ในบางเรื่องที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็น แต่ก็ใช้ความคิดเห็นของตนเองกับบอร์ดผู้บริหาร แต่ก็จะให้กำลังใจลูกน้องว่าเป็นความคิดที่ดีแล้วแต่ยังไม่ตรงตามความต้องการทั้งหมด คราวหน้าหากมีการประชุมขอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่คล้ายกัน ก็ให้มองจุดที่เรายังมองข้ามไป เพื่อเราจะได้นำความคิดที่ท่านเสนอมาใช้กับงาน หรือบางครั้งสามารถทำงานอะไรเองได้ก็จะทำเองไม่ต้องให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำเสมอไป หรือหากนอกเหนือความสามารถของตนเองก็จะหาข้อมูลมาให้ได้

ข้อ 2.

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์                                                           

-  เป็นผู้นำที่ไม่มีตำแหน่งที่ได้รับมากับกฎหมาย  แต่เป็นผู้นำที่ได้รับการศรัทธา การทำงานเป็นทีม การทำงาน 

   ผ่านสื่อ การทำงานจะมีข้อมูล เน้นความถูกต้อง ความเป็นจริง  เน้นการเรียนรู้แบบ OBAMA  ให้ความสำคัญ

   กับ Human capital คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในองค์กร

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

-  เป็นผู้นำที่ได้รับมากับกฎหมาย การทำงานผ่านองค์กร เป็นผู้กำหนดนโยบาย เน้นการเรียนรู้แบบ OBAMA ให้

   ความสำคัญกับงานทุกงาน เป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับ Home คนเป็นทรัพยากรที่

   สำคัญที่สุดในองค์กร

 

นำมาใช้กับองค์กรได้ ในการทำงานจะต้องให้ความสำคัญกับคนทุกๆคนในองค์กร ซึ่งจะทำให้คนในองค์กรรู้สึกว่ามีคุณค่า รักองค์กร รักงาน รักผู้บังคับบัญชา การทำงานที่มีข้อมูล ทำให้สามารถก้าวทันยุคโลกาภิวัฒน์

ชื่อ จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ รหัส 50538020001 รปม.รุ่น 4

เสนอ ศ.ดร. จีระ  หงษ์ลดารมภ์

พี่ เพื่อน น้อง นักศึกษาชาว รปม.รุ่น 4  ทุกท่าน  ครับ

            จากการได้ชมวีดีทัศน์และได้อ่าหนังสือ เรื่อง 2พลังความคิดชีวิตและงานทั้งสองท่านแล้ว ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่าง ศ.ดร. จีระ   หงษ์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ แล้วข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ข้าพเจ้าโชคดีมากที่ได้เป็นศิษย์กับ ศ.ดร.จีระฯ เพราะ ศ.ดร.ท่านนี้เป็นบูชนียบุคคลที่วงการทางการศึกษาของประเทศไทยต้องจารึกไว้ การสั่งสมความรู้ ประสบการณ์ ความเป็นผู้นำ และการสรรหาบุคคลที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่บรรดาศิษย์ทุกคนแล้ว     ข้าพเจ้าคิดว่าไม่เป็นสองรองใครในระดับภูมิภาคนี้ เหมือนกับที่ข้าพเจ้าจักได้เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของบุคคลทั้งสองท่านที่กล่าวมาข้างต้นนี้

        ความเหมือน

-        บุคคลทั้งสองท่านนี้ล้วนแต่เป็นผู้นำระดับแนวหน้าของประเทศ

-        บุคคลทั้งสองท่านมีจุดประสงค์เหมือนกันคือ การพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ของประเทศให้มีคุณภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในสถาบันของการศึกษา ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ หรือการบริหาร การจัดการ การพัฒนามนุษย์ในหน่วยงานขององค์กรต่างๆ เพื่อที่จะให้มีบุคลากรที่มีความพร้อมและสมบูรณ์ที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่

-        การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ การสั่งสมประสบการณ์ ความคิดที่เป็นเลิศ แนวทาง หลักการในการทำงาน จนเกิดทฤษฎีของตนเองขึ้น ทั้งสองท่านสามารถทำได้และประสบผลความสำเร็จ เป็นตัวอย่างให้แก่บุคคลรุ่นหลังสามารถนำมาเป็นแบบอย่างที่จะดำเนินรอยตามได้เป็นอย่างดี

-        การใช้ชีวิต ของบุคคลทั้งสองท่าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว หรือเรื่องงาน และทางสังคมจะเห็นได้ว่าไม่มีมลทิน มัวหมอง แต่ในทางกลับกันจะมีชื่อเสียงและคุณงามความดีตลอด ดังเป็นปรากฏตามสื่อต่างๆ

 

ความแตกต่าง

-        บุคคลทั้งสองท่านในการทำงาน ศ.ดร. จีระ จะเน้นการทำงานแบบเชิงวิชาการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำงานกันเป็นทีม ถ่ายทอดความรู้ที่ได้สั่งสมมาให้แก่บรรดาลูกศิษย์ ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ หรือมีตำแหน่งที่เป็นระดับผู้นำขององค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นสากลกว่าในองค์กรในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากตำแหน่งของท่านปัจจุบันนี้ คือ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ   ส่วนคุณหญิง ทิพาวดี  เมฆสวรรค์ นั้น ทำงานลักษณะตัวบุคคล จะเน้นการทำงานตาม กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ตามที่รัฐบาลต้องการ และความรู้ความสามารถ ภาวะผู้นำ ของตัวท่านก็สามารถไปบริหารการจัดการ ในหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆที่ท่านบริหารได้มีคุณภาพเป็นอย่างดี

-        ศ.ดร. จีระ ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง และไม่อิงทางการเมือง สามารถที่จะวิจารณ์นักการเมืองหรือพรรคการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ส่วนคุณหญิง ทิพาวดีฯ จะต้องอิงทางการเมืองอยู่บ้าง เพราะตำแหน่งต่างๆที่ได้มานั้นจะต้องอิงทางการเมืองซึ่งแต่ละยุคสมัยรัฐบาลจะแตกต่างกัน

 

 

คุณลักษณะความเป็นผู้นำ และจุดอ่อนจุดแข็งของนักศึกษา

            ตัวข้าพเจ้า ปัจจุบันทำงานรับราชการเป็นตำรวจ ในระดับชั้นประทวน ซึ่งเป็นตำแหน่งระดับผู้ปฏิบัติการ ในการปฏิบัติหน้าที่นั้นต้องรอคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาตามสายงานระบบราชการ ซึ่งจะไม่ค่อยได้ออกความคิดเห็น ส่วนในความเป็นผู้นำนั้น ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และจดจำทฤษฎีทางวิชาการจากเมื่อวันเสาร์ที่ 16 ก.พ. 51ที่ผ่านมา มีเนื้อหาดังนี้ ......ถึงไม่มีตำแหน่ง แต่ได้สั่งสมความดีไว้และแสดงผลงานอย่างต่อเนื่องก็สามารถจะเป็นผู้นำได้.....  ซึ่งทฤษฎีนี้จะตรงกับหน้าที่การงานและการปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้าอย่างแท้จริง และจะปฏิบัติตัวดังนี้.-

-        ไม่เอาเปรียบสังคม และเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะอยู่ในเวลางานหรืออยู่ในสังคมต่างๆ

-        ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นเสมอ

-        เอาใจเขามาใส่ใจเรา

-        กระทำในสิ่งที่ถูกต้องและกล้าตัดสินใจ

-        ยอมรับในสิ่งที่ตนเองกระทำลงไปไม่ว่าจะผิดหรือถูก

-        จะไม่เป็นภาระแก่สังคม

-        มีคุณธรรมและจริยธรรม

 

จุดด้อย

- รู้สึกผิดหวังเมื่อเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาไม่ให้ความเป็นธรรมแล้วแสดงอาการภายนอกออกมา ทำให้ควบคุมสติของตนเองไม่ได้ ทำให้เกิดผลเสียอย่างร้ายแรง

           

                       

นางสาว อมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4

ข้อที่ 1    วิเคราะห์จากหนังสือเรื่องสองพลังความคิดชีวิตและงาน จากที่ศึกษามาทำให้เห็นถึงความคล้ายคลึงของทั้งสองท่าน นั้นคือมีการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นไม่ว่าท่านทั้งสองจะคิดในกรอบหรือนอกกรอบมากน้อยเพียงใดก็ตามย่อมไม่มีวันที่จะละทิ้งคุณธรรม จริยธรรม ที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจากทฤษฎี 8k หรือ 8H เมื่อศึกษาแล้วเป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าที่สุดขององค์กรจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการคนนั้นเองทั้งสองจึงมุ่งเน้นแสวงหาความเก่งจากคนปลูกฝังความเป็นเลิศในคนเก่งนั้นต้องควบคู่กับการเป็นคนดี มีคุณธรรมและจริยธรรม

ข้อที่ 2    ลักษณะความเป็นผู้นำของตนเอง

จุดแข็ง

1.       ทำงานเป็นทีม

2.       ตรงต่อเวลา

3.       ให้เกียรติผู้ร่วมงาน

4.       สนุกสนานเป็นมิตรกับทุกคน

5.       ละเอียด รอบคอบ

6.       ซื่อสัตย์

7.       มีความรับผิดชอบสูง

จุดด้อย

1.       เป็นคนอารมณ์ร้อนในบางครั้ง

2.       เป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออกต่อหน้าสาธารณชน

น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

เรียนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ข้อ1.จาการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากเรื่อง 2พลังความคิดชีวิตและงาน ทั้งสองท่านเป็นความเหมือนที่แตกต่างแต่มีความลงตัวกันอย่างไม่น่าเชื่อ หากจะมองเพียงผิวเผินทฤษฎีของทั้งสองท่านมีความคล้ายกันมาก ทั้งยังมีการเปรียบเทียบกันโดยศ.ดร.จีระ ยิ่งทำให้มองเห็นความแตกต่างไม่ออก  จะเห็นความแตกต่างก็เพียงบางข้อที่ ศ.ดร.จีระได้พูดไว้เท่านั้น คือข้อ สุขภาพดี /ทุนด้านสารสนเทศ แต่เมื่อกลับมาอ่านทบทวนกลับพบว่าถึงแม้ทฤษฎีจะคล้ายกันแต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น การได้มาซึ่งทฤษฎี คุณหญิงทิพาวดี ได้ทฤษฎีมากจากการอ่านหนังสือเรื่อง 7 Habit แล้วก็นำเอาความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมานำมาพัฒนากลายเป็นทฤษฎีใหม่  ส่วนศ. ดร.จีระ สร้างทฤษฎีขึ้นมาจากความเข้าใจ จึงทำให้สามารถถ่ายทอดทฤษฎีให้ผู้อื่นได้เข้าใจง่าย และสามารถเปรียบเทียบและวิเคราะห์ทฤษฎีของผู้อื่นให้นักศึกษาได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่เห็นความแตกต่างได้ชัดอีกข้อหนึ่งคือวิธีคิดของท่านทั้งสองไม่เหมือนกัน เปรียบเทียบจากการอธิบายถึงลักษณะผู้นำ ที่ทั้งสองท่าได้อธิบายไว้ คุณหญิงทิพาวดี ได้อธิบายว่าผู้นำ คือผู้ที่รอบรู้ในทุกเรื่อง มีความสามารถ และฉลาด ส่วนศ.ดร.จีระ ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่าผู้นำอีกแบบว่า ผู้นำคือคนที่สามารถทำให้คนมาทำงานร่วมกันและสามารถบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งเหมือนกับที่ ศ.ดร.จีระ สอนพวกเรานั้นก็คือ ผู้นำคือนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มิใช่พหูสูตร ดังที่ ศ.ดร.จีระ ได้ยกคำกล่าวของท่านผู้รู้ท่านอื่นมาอธิบายให้เราเข้าใจ ซึ่งท่านไม่ได้บอกว่าท่านเก่งเสียทุกเรื่อง ศ. ดร.จีระ ทำให้เรารู้ว่าเราสามารถเป็นผู้นำได้ทุกคนโดยไม่ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ดังปราช์ญ หากแต่เราสามารถเข้าใจและนำทฤษฎีของท่านมาปรับใช้ และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเราก็สามารถเป็นผู้นำได้ ข้อ 2. คุณลักษณะ หรือ จุดแข็งในตัวเรา คือ เป็นคนมีความรับผิดชอบ จริงใจต่อผู้ร่วมงานทุกคน มีอารมณ์ขัน มีทัศนคติที่ดีกับผู้ร่วมงาน และกับคนทั่วไป เป็นคนค่อนข้างรักษาคำพูด มีน้ำใจ จุดอ่อนคือ ไม่กล้าตัดสินใจและไม่แน่ใจในการตัดสินใจไปแล้ว  ใจอ่อน

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

เจริญพรท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พร้อมทั้งคณะ (พี่เอ้ พี่นะ พี่เอ๋) และชาว รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทาทุกท่าน  

จากการรับชมรับฟังการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ แล้ว ทำให้ได้เกิดแนวคิดที่หลากหลาย จากการรับฟังครั้ง จะเห็นได้ว่า ท่านทั้งสองได้มองและก็เน้นถึงคุณค่าของคนเป็นหลักด้วยกันทั้งสองท่าน และต่างก็คิดทฤษฏีต่าง ๆ ผ่านกระบวนการคิดและทดลองมาก็มากจนกลายมาเป็น ทฤษฏีของตนเอง คือ  ทฤษฏี 8 K's  ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และก็ ทฤษฏี 8 H's ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ซึ่งเป็นความเหมือนในความต่างที่ปฏิเสธไม่ได้เลย เพราะว่าท่านทั้งสองสามารถคิดค้นทฤษฏีขึ้นมาใช้เองและประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนบ้าง และองค์กรอื่น  ๆ บ้าง ฯ

         ในความเหมือนกัน คือ ท่านทั้งสองได้รับการอบรมบ่มเพาะมาอย่างดี และมีสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น เป็นจุดเริ่มที่ทำให้ท่านทั้งสองมีแนวคิดที่อยู่ในกรอบของคุณธรรมและจริยธรรม และที่สำคัญคือในขณะที่ได้รับตำแหน่งทางการบริหารท่านทั้งสองก็มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากร และมองทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด มนุษย์เป็นสิ่งมีค่าในองค์กร ซึ่งต้องได้รับการเอาใจใส่อย่างจริงจัง ทั้งในระดับองค์กรหรือหน่วยงานใหญ่น้อยก็ตามที เพราะความเจริญก็เกิดจากคน คนเป็นผู้สร้าง และในขณะเดียวกันเอง ความเสื่อมก็เกิดจากคนได้เช่นเดียวกัน รวมความว่า คนเป็นทั้งผู้สร้างและทำลาย ฯ ท่านทั้งสองก็เคยบริหารงานมาหลายระดับ และ ก็ผลักดันคนภายในองค์กรให้เป็นผู้ขวนขวายในการแสวงหาความรู้อยู่ทุกเมื่อ ทุกขณะ โดยเริ่มต้นก่อนอันดับแรกคือสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในระดับครอบครัว และระดับองค์กร ฯ

       ในความแตกต่างของทั้งสองท่านแน่นอนว่า ที่อาตมาจะมองและบอกกล่าวโดยท่านทั้งหลายที่ได้อ่านจะปฏิเสธไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว ก็คือ เรื่องเพศ  ท่านทั้งหลายว่าจริงไหม หรือว่า จะค้านก็ได้นะ เพราะว่าอะไรคงไม่ต้องอธิบายมาก หรือจะอธิบายก็ได้เผื่อไม่มีใครทราบ คือ ศ.ดร.จีระ เป็นสุภาพบุรุษ (เพศชาย) ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นสุภาพสตรี (เพศหญิง) จ๊ะ ฯ แต่ในความต่างนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไรเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เพราะว่าปัจจุบันนี้ ความทัดเทียมกันระหว่างเพศชายกับเพศหญิง มีความเสมอภาคกันมากในสมัยปัจจุบัน จริงอยู่แต่ก่อนเก่า เราท่านทั้งหลายอาจมองว่าเพศหญิงอ่อนแอ หรือ เป็นได้แค่แม่ศรีเรือน แต่ในปัจจุบัน ไม่ใช่เช่นนั้น ทุกคนมีความเท่าเทียมกันหมด และท่านทั้งสองก็มองเช่นนั้นหมือนกัน (2 พลังความคิดชีวิตและงานหน้า 27) ฯ และในความต่างอีกหลายประเด็นเช่น ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตรงและผ่านงานด้านนี้มามากกว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และเป็นผู้ถือธงนำหน้า เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันแท้ อย่างจริงจังโดยเฉพาะงานชิ้นหนึ่งที่ถือว่าเป็นบทบาทที่นับว่าเป็นเกียรติแก่ท่านด้วยและแก่ประเทศชาติของเราด้วย คือ ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปก(Lead Shepherd of APEC HRD) และได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เป็นผู้ก่อตั้งและอยู่ในตำแหน่งนานถึง 16 ปี)ท่านได้ต่อสู้มามากถึงสามสิบกว่าปี กับการได้สั่งสมอบรมความรู้มา ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน อยากถามเองตอบเองว่า ทำไมท่านถึงได้ต่อสู้ถึงเพียงนี้ ก็คงจะตอบแทนท่าน ว่า เพราะความสุขไง ความสุขที่ได้ทำ ความสุขที่เกิดจากการทำงานและทำงานที่ท่านรักที่ท่านชอบ ความสุขเกิดจากการเป็นผู้ให้ ให้ในสิ่งที่คนหลาย ๆ คนไม่มีโอกาส เช่นให้ความรู้ ให้ทุนทางปัญญา เหมือนกับที่ท่านให้เราทั้งหลาย ชาว รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทานี้แหละ ซึ่งท่านกำลังให้  หลังจากท่านให้และปลูกฝังทุนทางปัญญานี้แล้ว ความรู้หรือทักษะต่าง ๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมา ในเมื่อเกิดทักษะต่าง ๆ ขึ้นมา ก็นับว่า ทัศนคติที่ดี ที่งามย่อมเกิดเป็นผลตามมาเรื่อย ๆ และมิใช่ว่าเฉพาะเพียงเท่านี้นะ ที่เราทั้งหลายจะได้ แต่จะได้อะไรบ้างนั้น อาตมาไม่ทราบ แต่อาตมาคิดว่าตัวอาตมาได้และตัวอาตมาเองที่รู้ ส่วนท่านทั้งหลายก็ได้ในส่วนของท่านเอง และตัวท่านเองเท่านั้นที่รู้ ไม่มีใครบอกท่านได้ว่าท่านได้อะไรบ้าง เหมือนกับที่ท่านอาจารย์จีระ ถามเราว่า ท่านได้อะไร จากการฟัง จากการอ่าน จากการชมวีดิทัศน์นี้บ้าง เหล่านี้ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ชัดอยู่แล้วฯ  ในส่วนของคุณหญิงทิพาวดีนั้น ท่านจะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้โดยปลูกฝังจากสถาบันครอบครัว เป็นหลัก ประยุกต์มาใช้กับองค์กร โดยหลังจากการเข้ามาทำงานในกระทรวงวัฒนธรรมท่านก็มุ่งเน้น ทำงานที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นประโยชน์กับกระทรวงอย่างมาก ในจุด ๆ นี้เป็นจุดเริ่มของบทบาทผู้บริหารในอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งท่านก็ทำหน้าที่ได้ดี เช่นกัน ฯ

       แต่บนเส้นทางของความต่าง สุดท้ายปลายทางก็มาบรรจบพบกัน คือ เส้นทางสายมนุษย์ (มิใช่เส้นทางสายแฟน)ซึ่งท่านทั้งสองก็มุ่งเน้นและจริงจังกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพที่ทัดเทียมกันในเรื่องของความรู้สึกนึกคิด หรือพฤติกรรมการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เป็นคนเก่ง เป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้มิได้อยู่ที่ว่าเขาเป็นใครหรือว่ามาจากไหน ถ้าเขาทำได้ ถ้าเขาคนนั้นมีความสามารถพอ ท่านทั้งสองก็พร้อมที่จะให้โอกาศเสมอ การให้วัตถุสิ่งของเป็นอามิสทานก็เป็นการให้อีกอย่างหนึ่งที่เราพบเห็นกันบ่อยนักต่อนัก แต่การที่จะให้โอกาศคนนี้สิ ช่างเป็นเรื่องที่ยากเย็นกว่า แต่ท่านทั้งสองก็มุ่งที่จะให้และให้จริง ฯ

ขอเจริญพร ฯ

      ในความเป็นผู้นำของอาตมาที่อาตมานั่งแต่งเรื่องได้นั้น มีดังต่อไปนี้

(เรื่องจริงผ่านบล๊อก)

เนื่องจากอาตมภาพรับหน้าที่สอนสามเณรในสำนักเรียนก็มีบทบาทหน้าที่ในการร่วมบริหารส่วนหนึ่งคอยดูแลสามเณรที่อยู่ในสำนักเรียนก็อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งในขณะที่ดูแลสามเณรนั้น ก็ต้องมีพระเดช และก็พระคุณด้วยทั้งสองอย่าง ขาดส่วนใดส่วนหนึ่งนับว่าไม่ดีแน่ เนื่องจากสามเณรแต่ละคนความประพฤติไม่เหมือนกัน ดีบ้างไม่ดีบ้างปนเปกันไป ซึ่งในลักษณะต่าง ๆ ที่พบเห็น ก็ต้องคิดหามาตรการมารับมือกับเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากอาตภาพเองก็เคยเป็นสามเณรมาก่อน เพราะจบ ป.6 ก็บวชเรียน และก็มาบวชพระต่อโดยไม่สึก จนถึงปัจจุบันนี้ จากประสบการณ์ที่ได้พบมาตั้งแต่บวช ก็ย่อมรู้ว่าภาวะสามเณรในแต่ละรุ่นแต่ละวัยนั้นเป็นอย่างไร ส่วนนี้ก็เป็นประโยชน์อย่างมากในการปกครองสามเณร  เหมือนกับรู้เขารู้เรา 

       และวกมาในส่วนของรูปแบบภาวะผู้นำที่มีในตัวอาตมาก็คือ กับปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้น อาตมาภาพทนได้กับทุกสภาพที่ได้ภพ เช่น เมื่อทราบว่าสามเณรทำผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะร้ายหรือว่าจะเบาก็ตามแต่ ความนิ่งต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก จะไม่เดือดดาล จนทำให้เกิดอารมณ์โกรธ และเรียกมาทำโทษในทันที ก็จะอาศัยความนิ่ง และพิจารณาโดยถี่ถ้วน โดยการเรียกสามเณรมาถาม ว่า ทำอะไรมา ที่ไหน เมื่อไร กับใคร แล้วที่ทำนั้น ผิดหรือว่าถูก แล้วรู้ไหมว่าผิดหรือว่าถูก แล้วถ้าผิดอย่างนี้แล้ว ยอมรับไหมว่าตัวเองผิด เป็นต้น ในเมื่อเขารับผิดถึงจะลงโทษ นี้คือรูปแบบของการปกครองที่อาตมภาพยึดถือ เพราะคิดว่า การจะเป็นผุ้นำไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม ต้องไม่หูเบา เชื่อคำกล่าวขานง่าย ๆ ตัองหนักแน่นพอ และต้องมีหลักของเหตุและผล พิจารณาร่วมกัน ฯ และในเวลาที่อาตมาสอนหนังสือ ก็จะถามสามเณรเสมอว่า ที่อาจารย์กำหนดให้ดูมากไปไหน ไหวไหม ถ้าไม่ไหว แล้วสามเณรจะดูได้สักเท่าไร บอกอาจารย์มานะ เช่นนี้ ด้วยการทำเช่นนี้เอง อาตมามองว่าสามเณรนั้นยังเด็กและความนึกคิดยังไม่มากพอ ก็จะกำหนดให้ดูหนังสือตามความสามารถที่เขาจะทำได้ จะไม่บังคับ ในการทำการสอนนั้น ก็จะอาศัยหลักการมีส่วนร่วม และความสามัคคืในหมู่ โดยที่อาตมาก็จะกำหนดกลุ่มให้สามเณรขึ้นเรียนพร้อมกัน เลิกพร้อมกัน ขณะที่เขาจะมาท่องหนังสือให้อาตมาฟังนั้น ก็จะมาพร้อมเพรียงกัน จะหายคนหนึ่งคนใด ไม่ได้ เขาก็จะเกิดความพร้อมเพรียงกัน เพราะถ้าหาว่าคนใดคนหนึ่งหาย ที่เหลือในกลุ่มต้องถูกทำโทษด้วย แล้วแต่กรณีว่าจะลงโทษอย่างไร ถ้าหากคนในกลุ่มทำผิด ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องเรียนก็เช่นกัน คนที่เหลือในกลุ่มก็ต้องลำบากด้วย ใครขึ้นเรียนสาย คนในกลุ่มต้องตามทันที ฯ นี้เป็นมาตรการที่รับมือกับสามเณร ผลที่ได้รับหลังจากได้วางกฏนี้ไว้ก็เป็นที่ประทับใจมาก และ อาตมาถือว่า การลงโทษหรือการวางมาตรการแบบนี้ เป็นการฝึกสามเณรให้มีระเบียบต่อตัวเองและต่อกลุ่มของตน สิ่งเหล่านี้เขาจะขื่นขมในตอนต้นแต่ต่อไปในอนาคตเขาจะมองเห็นคุณค่าด้วยตัวเขาเอง ซึ่งอาตมาก็ทำด้วยความหวังดีต่อเขาทั้งนั้น ฯ

ภาวะผู้นำหลัก  ๆ  ของข้าพเจ้า คือ

  • สภาพกายเยือกเย็น สุขุม ลุ่มลึก (น่าค้นหา)
  • ค้นหาเหตุและผลที่จะตามมาก่อนทำ (ไม่ได้ป๊อด? แต่รอบคอบ)
  • ยามมีเรื่องชอบถามหาเหตุผลว่า ทำไม ทำ ๆ ไม เพราะอะไร ฯ
  • ให้โอกาศทุกคนที่มีคำอธิบาย ฯ
  • รับฟังความคิดเห็นคนอื่นเสมอ ถ้าเขาแสดงออกมา (ไม่แสดงออกมาถามเองก็ได้)
  • คิดก่อนทำ ทำหลังคิด ย่อมพิชิตชัย
  • ฯ ล ฯ อื่น ๆ...................

        ในส่วนที่ขาดหรืออาตมภาพไม่มีนั้นคือ อำนาจการตัดสินใจในบางเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนรวมถึงการพิจารณาคุณสมบัติบางประการของสามเณร เช่นเวลาเรียนของสามเณรรูปใดไม่เพียงพอก็รายงานอาจารย์ใหญ่ รายงานไปก็หายเงียบ หรือมีการเรียกไปตักเตือนแล้วก็หายกัน เดือนต่อมาก็ทำอีก ซ้ำๆ ซากๆ อยู่เช่นนี้  เพราะในการสอนนั้นก็เพียงแต่สอนเท่านั้น และ อำนาจการพิจารณาส่วนนี้เราไม่มี เพราะเหตุนี้ที่ทำให้สามเณรได้ใจ หรือไม่เกรงกลัว (แต่อาตมาก็แอบแนะนำให้ออกจากวัดหลายรูปแล้วโดยสันติวิธี่ คือฝ่ายสามเณรเองก็ยินยอม เราก็ยินดีกับเขาด้วย) เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ (อ่านต่อฉบับหน้า) จ๊ะ 

หมายเหตุ.....นี้เป็นสำนวนสด ๆ ไม่ได้ผ่านการดัดแปลงสำนวนแต่อย่างใด หากผิดพลาดประการใด ก็เจริญพรขออภัยท่านอาจารย์ และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ฯ เจริญพร

ข้อที่ 1 ได้ความรู้อะไรจากการสนทนาระหว่าง  ดร. จีระ และ คุณหญิงทิพาวดี

เนื่องจากทฤษฎีของทั้ง 2 ท่าน และจากประสบการณ์ของทั้ง 2 ท่าน คิดว่าได้ให้ความสำคัญมากต่อการพัฒนา คน  พัฒนาให้องค์กร ได้มีคนที่มีประสิทธิภาพ ให้มีบุคลากรที่ดีมาพัฒนาองค์กร สังคม และประเทศชาติ การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับคน แนวทางของคุณหญิงทิพาวดี จะเน้นการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จในชีวิต ทำงานอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ ส่วนท่าน ดร. จีระ จะเน้นเรื่องการที่มีทุนมนุษย์ จะต้องทันต่อเทคโนโลยี ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดกระบวนการคิด คิดเป็น  คิดให้ไว กล้าที่ตัดสินใจ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 ทฤษฎี ของคุณหญิงทิพาวดี และ ดร. จีระ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน องค์กร และชีวิตประจำวัน ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างไม่ประมาท มีความคิดเชิงบวก

ข้อที่ 2 บอกลักษณะผู้นำ มีอะไร ที่ตัวเรามี มีข้อด้อยอะไรบ้าง

1.      มีความรับผิดชอบ

2.      กล้ายอมรับความล้มเหลว

3.      มีวิสัยทัศน์

4.      ยุติธรรม

5.      มีจิตใจเมตตา

6.      ซื่อสัตย์

7.      ตรงต่อเวลา

8.      มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำ

 

 

1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน
            จากการที่ได้อ่านและได้รับชมวีดีทัศน์  ทำให้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการทำงานความจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   การพัฒนาตนเองให้ทันกับกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต    ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการเสียส่วนใหญ่ถือว่าเป็นวัยกำลังทำงานเป็นทรัพยากรมีคุณค่าต่อองค์กรและประเทศชาติในอนาคต
ทั้งสองท่านมีความเหมือนในความแตกต่าง ดังนี้
ความเหมือน  ทั้งสองท่านมีความเชื่อที่เหมือนกันคือคน เป็นทรัพยากรที่มีต่อองค์กร   มีเป้าหมายและเป็นแบบอย่างในการพัฒนาบุคลากรที่เหมือนกัน    เป็นผู้คิดจริงทำจริงมีความมุ่งมั่นในการทำงาน   ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทันยุคทันสมัยนำเทคโนโลยีมาใช้  มีทฤษฎีพัฒนาคนคือ “8 H’s”  และ "8 K’s”    เน้นการทำงานเป็นทีม  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเปิดโอกสาให้แสดงความคิดเห็น    กระตุ้นให้คนให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา   มีครอบครัวเป็นต้นแบบในการการศึกษา   การทำงาน   การดำเนินชีวิต   เน้นการพึ่งพาตนเอง  มีข้อมูลที่เป็นจริงและพิสูจน์ได้  ไม่สนใจงานด้านการเมือง  เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน   มีทักษะในความเป็นผู้นำ ( Leadership)  อย่างแท้จริง  ไม่ลืมความเป็นตัวตน  มีความเชื่อที่ถูกต้องและมีเหตุผล  มีความภาคภูมิใจงานที่ทำไม่ยึดติดกับตำแหน่งและอำนาจใดๆ
ความต่าง  มีเป้าหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน  ท่านอาจารย์จีระ ได้รับการยอมอย่างแพร่หลายว่ารับเป็น Guru  ในเรื่องทรัพยาการมนุษย์อย่างแท้จริง  มีความเป็นมืออาชีพในการพัฒนาบุคลากรมากกว่าอันจะเกิดจากประสบประการณ์ที่แตกต่างกัน ท่านอาจารย์จีระจะเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และสื่อต่าง ๆ ในการให้ความรู้กับบุคคลทุกกลุ่มทุกวัยที่สนใจ   แต่คุณหญิงทิพาวดีจะเน้นการให้ความรู้เฉพาะในองค์กรที่ปฏิบัติงาน   และมีการหาความรู้และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบที่แตกต่าง
2.  Character ที่เป็นจุดแข็งของตัวเอง  ทักษะ  บุคลิกภาพที่มีอยู่คืออะไร  ทักษะ  บุคลิกภาพที่ไม่มีแต่ควรจะมีคืออะไร     
  จากการที่ได้รับความรู้จากท่านอาจารย์จีระในครั้งที่สองที่มีหัวข้อในการเรียนที่ว่าภาวะผู้นำในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลงท่านอาจารย์ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้หลักของท่านอาจารย์ทำให้สมองของพวกเราคิดอยู่ตลอดเวลา  และเกิด Trust ในตัวท่านเองว่าเราก็คิดเป็นและกล้าแสดงออกจุดแข็งเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในการทำงานชอบทำงานที่ท้าท้ายอยู่เสมอ ชอบการเรียนรู้  ปรับตัวเองให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงขององค์กรและของโลก  มีการตัดสินใจแก้ปัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานและการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุและผล  
เน้นการทำงานเป็นทีมเนื่องจากเราไม่สามารถจะทำงานหรือประสบความสำเร็จได้เพียงลำพังยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกคนในที่ทำงาน  แต่สิ่งที่ยังขาดคือทักษะการเจรจาต่อรองซึ่งจำเป็นมากในการทำงานเนื่องจากจะมีกลุ่มบุคคลมาติดต่อที่หน่วยงานเป็นจำนวนมากและมีความหลากหลายของทางด้านอาชีพ

 

นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

อะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

ตอบ  การเปลี่ยนแปลง (change) เป็นกิจกรรมที่ท้าทายการบริหารงานมากที่สุดประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลง (change) ให้ปัจจัยต่างๆเหล่านั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ปัจจัยที่มีความละเอียดอ่อนสูงจะเปลี่ยนแปลงได้ยากที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีความชัดเจนสูงกลับเปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด เช่น กลยุทธ์ (strategy) โครงสร้างระบบต่างๆ (systems), การจัดคนเข้าทำงาน (staffing), ทักษะของบุคลากร (skills), สไตล์การทำงาน (style), และคุณค่าร่วมกัน (shared value) ของสมาชิกในองค์กร

            นอกจากนี้ ผู้บริหารมักพบว่าองค์กรที่มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสูง (Highly Adaptive Organization) มักมีลักษณะร่วมกันบางประการ ได้แก่ค่านิยมในการปรับตัวเพื่อให้มีผลงานดีที่สุดอยู่เสมอ เน้นการทำงานเป็นทีม ให้ความสำคัญกับบุคคล 3 กลุ่ม (บุคคลภายนอก) เช่น ลูกค้า, คู่แข่ง, และผู้ที่อาจเข้ามาเป็นคู่แข่งขององค์กร

            องค์กรที่ไม่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง (Non Adaptive Organization) มักให้ความสำคัญและค่านิยมกับประเพณีและแนวทางที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ให้ความสำคัญเป็นอย่างสูงกับบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ระหว่างลูกค้า, พนักงาน, หรือผู้ถือหุ้น เพียงกลุ่มเดียว

            อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากขึ้นอยู่กับประเภทของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และลักษณะขององค์กรแว ยังมีปัจจัยอีก 2 ประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง หากผู้บริหารสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างเหมาะสมแล้ว ย่อมทำให้การเปลี่ยนแปลง และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติปะสบผลสำเร็จตามที่ประสงค์ ได้แก่ ภาวะผู้นำ (Leadership) และการจูงใจ (motivation)

1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (Leadership)

            ภาวะผู้นำ มีบทบาทสำคัฯเป็นอย่างยิ่ง ในการเปลี่ยนแปลง (change) ให้ปัจจัยทั้ง 7 ประการ ข้างต้นมีการประสานสอดคล้องกัน ผู้นำ จำเปนต้องทราบว่าตนมีอำนาจอะไร และควรใช้อำนาจด้วยใดในการเปลี่ยนแปลงตามที่กำหนด

2. การจูงใจ(Motivation)

            การจูงใจ หมายถึง การทำให้บุคคลยินดีปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินี้การจูงใจมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกรณีที่องค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ใหม่และนำไปปฏิบัติ ย่อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจสร้างความไม่พอใจให้กับบุคลากรในองค์กรไม่พอใจและไม่สอดคล้องกบความคาดหวังของหลายคนในองค์กร ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการจูงใจ ให้ผู้ให้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนด

อ. ประกาย  ชลหาญ

 

บทความ “ 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน”  ระหว่างคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ผู้นำสตรี ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิตราชการ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไทยให้ก้าวไกลบนเวทีโลก

ตอบ  คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มีทฤษฎีนักบริหาร 8 H’s ซึ่งเป็นรากฐาน พฤติกรรมมนุษย์ของชีวิต เช่น

-          Heritage คือ มรดก อันมีความหมายถึงมรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตคน ที่มีการสะสมความรู้ภูมิปัญญาของเผ่าพันธุ์ มีจารีตประเพณี สืบทอดกับมาอย่างยาวนาน

-          Head สมอง (คิดเป็น คิดดี) ทุนทางปัญญา เป็นการเพิ่มคุณค่าในตัวเองให้รู้จักใช้สมองคิด ใช้สมองวิเคราะห์ใช้เหตุผล ในการเปลี่ยนแปลงให้ทันตามสภาพแวดล้อมของโลก

-          Hand ทำงานด้วยฝีมือของตนเอง คือ เราทำได้ด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง จะเป็นอาชีพใดก็ได้

-          Heart จิตใจที่ดี ภาวะผู้นำ จะต้องกระบวนการทัศน์ นอกจากแรงกายแล้ว แรงใจจิตใจภายในกายจะต้องดีก้วย เป็นคนจิตใจดี โอบอ้อม อารีย์ กว้างขวาง เผือ่แผ่แก่ผู้ที่ด้วยโอกาสกว่างตนและเป็นที่รักของผู้ใต้บังคับบัญชา

-          Home บ้านและครอบครัว เป็นพื้นฐานทางสังคม สังคมจะดีมักจะมาจากคนในครอบครัวมีรักความอบอุ่น มีการฝึกอบรมสั่งสอนจากบ้านที่อบอุ่น สังคมรอบข้างดี พบแต่คนดี และอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอกดี หล่อหลอมให้ดีตลอด

-          Health สุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นพลังทางกายที่สมบูรณ์สามารถทำงานครั้งละนานๆ โดยที่ไม่เหน็ดเหนื่อยและไม่แสดงให้เห็นถึงความทุกข์ยากของตน และสามารถ สู้งานหนักเบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-          Happiness การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข แบบไม่ต้องไปเบียดเบียนใครมีความพึงพอใจที่ตนเองมี ทำมาหาได้แบบพอเพียง มองโลกในแง่ดี ทางศาสนาพระพุทธเจ้าสอนว่า “อพฺ พชา บชฺ สุข เลโถ” การไม่เบียดเบียนมาซึ่งความสุข

-          Harmony ความสมานฉันท์ การอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก ความคิดเห็นต่างๆ มักจะไม่ตรงกัน ต่างคนต่างมา ความขัดแย้งและความไม่พึงพอใจริษยากันในการกระทำต่างๆ ที่ไม่ก่อประโยชน์รวมกันมีทุกหนทุกแห่งบนโลกในบี้การอยู่ร่วมกันอย่างสงบต้องมีกติกาสังคม มีวินัยเป็นตัวขะงเคลื่อน

ในส่วนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มีทฤษฎีของการเพิ่มค่าในเรื่องทุนมนุษย์ Human capital หลักกร 8 K’s เป็นหลักการทางสากลชาติตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางการบริหารพฤติกรรมศาสตร์ของมนุษบ์ทั่วไปคือ H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เช่น

-          ทุนมนุษย์ (Human capital)

-          ทุนทางปัญญา (Intellectual capital)

-          ทุนทางวัฒนธรรม (Ethical capital)

-          ทุนแห่งความสุข (Happiness capital)

-          ทุนทางสังคม (Social capital )

-          ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability capital)

-          ทุนทางเทคโนโลยี (Digital capital)

-          ทุนทางความรู้ (Talent capital)

ไม่ว่าจะทฤษฎีพัฒนามนุษย์ 8K’s หรือทฤษฎีนักบริหาร 8H’s ที่สำคัญที่สุดคือ “คน”

อ. จีระ หงส์ลดารมณ์

 

2. คุณลักษณะเฉพาะภาวะผู้นำ ของข้าพเจ้า (Trust)

            คุณลักษณะพาะของผู้นำแต่ละคนจะแตกกันออกไป จากการคิดและถามตัวเองอยู่เสมอ คนอื่นไว้วางใจในตัวเองมากน้อยเพียงใด (Strange) ทำให้แง่คิดได้หลายแนวว่าจุดแข็งและจุดอ่อน (strange and weak) ในตัวเกิดจากอะไรและจะต้องปรับปรุงคุณลักษณะ เฉพาะของตนในด้านต่างๆคือ

-          คุณลักษณะทางความคิดและสติปัญญา (conceptual) คือสามารถคิด วิเคราะห์และคาดการณ์ได้อย่างเป็นระบบบ้าง ไม่ได้บ้าง

-          คุณลักษณะทางความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (interpersonal characteristics) มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

-          คุณลักษณะทางด้านการทำงาน (Technical characteristics) เป็นผู้ใส่ใจศึกษางาน ให้สามารถนำไปปฏิบัติ และแก้ไขปัญหางานที่เกิดขึ้นได้ และถ่ายทอดสอนงานผู้อื่นได้

-          คุณลักษระทางส่วนตัว (Personal characteristics) โดยทั่วไปเป็นผู้ถ่อมตน เกรงใจผู้อื่นเสมอ ที่เป็นจุดอ่อนของตัวเอง มีความมั่นคงทางอารมณ์เก็บความรู้สึกในโอการอันสมควร รักษาความลับ มีความรับผิดชอบ มีความทะเยอทะยาน มีความรอบคอบ มีความกระตือรือร้น และมีความมุ่งมั่นตั้งใจไม่ย่อท้อ และมีความเสมอต้นเสมอปลาย รักใครรักจริง เป็นจุดแข็ง (strange) ของข้าพเจ้า เป็นต้น

-          คุณลักษณะทางกายภาพ (Physical characteristics) เช่น อายุจะสูงไปนิด ผิวดำไปหน่อย พูดจาตรงๆ ไม่อ่อนหวาน แต่จิตใจดี ส่วนสูง (169)  พละกำลัง น้ำหนัก พอดี และโหงวเฮ้ง ลักษณะทางกายภาพ คิ้ว ตา หู จมูก ปาก โดยรวม ถ้ามองแบบผ่านๆก็พอใช้ได้ แต่ถ้ามองชนิดแพ่งเริง “ขี้เหร่” (เหมือน ครม.ชุดนี้)

-          คุณลักษณะทางพื้นฐานทางสังคม (Social characteristics) คือฐานะทางครอบครัว ชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล ประวัติการศึกษา ดีพร้อมทุกประการ และเชื่อสนิทว่า ถ้าข้าพเจ้ามีโอกาสทำงานการเมือง สามารถเป็นผู้นำทางการเมืองที่มีฐานะดี จะเปนประโยชน์กับบ้านเมือง แก้ปัญหาคอรัปชั่น (corruption ) มีฐานะแล้ว ไม่โกรธ

 

 

น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  รหัส  500380100015

ข้อ1.  เปรียบเทียบความเป็นผู้นำของ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

1. ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  เป็นผู้นำแบบ  TRUST  เนื่องจากมีผลงานอย่างต่อเนื่อง  ส่วน

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เป็นผู้นำแบบ  AUTHORITY  เนื่องจากมีตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายรองรับ 

2. ทั้ง 2 ท่าน  มีทฤษฎีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานจริง 

ทำให้เข้าใจง่าย

3. ทั้ง 2 ท่าน  มีความตั้งใจจริงในการที่จะพัฒนาคน  ซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ  และ

ทำเพื่อสังคมอย่างแท้จริง

4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เพื่อที่จะได้เข้าถึงบุคคลทุกระดับ

5. ทั้ง 2 ท่านเป็นผู้นำที่มีการพัฒนาตลอดเวลา  เพราะถือว่าในขณะที่พัฒนานั้นเป็นการ

เรียนรู้ร่วมกัน  อย่างคำกล่าวของอาจารย์ที่ว่า  life  long  learning  การเรียนรู้ตลอดชีวิต

6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของทั้ง 2 ท่านนั้น  เป็นการพัฒนา STYTLE  OBAMA

เพราะทำคนรู้จักคิด  และดึงความสามารถของตนเองออกมา

สรุปได้ว่า  บุคคลทั้ง 2 ท่าน  เป็นผู้นำ  และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ที่น่ายึดถือเป็น

แบบอย่างอย่างยิ่ง

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

1. มีทัศนคติในเชิงบวก  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

2. ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ  เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองตลอดเวลา

3. มีความรับผิดชอบ  เมื่อได้รับมอบหมายงาน  จะรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

4. ทำงานตามลำดับ  เมื่อได้รับมอบหมายงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน  จะมีการวางแผน

ก่อนว่า  สิ่งใดควรทำก่อนและหลัง  ตามลำดับความสำคัญ  เวลาที่กำหนด

                                5. เป็นคนมีเหตุผล  ชอบความถูกต้อง  ตรงไปตรงมา

ทักษะ  (SKILL)

1. มีการทำงานเป็นทีมในหน่วยงาน  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  เพื่อให้งานต่างๆ

บรรลุตามวัตถุประสงค์

2. ศึกษางานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญ

3. การตัดสินใจยังไม่เด็ดขาด  อาจเนื่องมาจากประสบการณ์ยังมีน้อย  และข้าพเจ้าทำงาน

เกี่ยวกับด้านการเงิน  ไม่ควรเกิดความผิดพลาด  จึงต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบ้าง

 

 

น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  รหัส  500380100005

ข้อ1.  เปรียบเทียบความเป็นผู้นำของ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

1. ศักยภาพความเป็นผู้นำในฝ่ายวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์  ทั้ง 2 ท่าน  สามารถ

ถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์  และความเชี่ยวชาญการสื่อสารเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นนำเอาความรู้ด้านทรัพยากรมนุษย์  ไปปรับใช้กับองค์กรได้อย่างสมบูรณ์ 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านจะทำงานเป็นทีม  ซึ่งทีมของท่านต้องยอมรับว่า  มีศักยภาพสูง

เนื่องจากทีมงานมีความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป  เช่น  ภาครัฐ  และภาคเอกชน  คุณหญิง

ทิพาวดี  เมฆสวรรค์  ท่านจะทำงานโดยบังคับบัญชาตามสายงาน

2. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เป็นผู้นำที่สามารถต่อยอด

ให้กับองค์กร  เนื่องจากท่านทั้ง 2  พยายามส่งเสริมให้บุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถ  แสดงถึงความสามารถของแต่ละบุคคลออกมา  เพื่อจะจะได้กระตุ้นให้บุคคลนั้นได้ทำงานตามที่ตนเองถนัด  เมื่อบุคคลากรทำงานที่ตนเองถนัด  ก็จะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  องค์กรก็จะอยู่รอด  ประเทศชาติก็จะพัฒนาต่อไป  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่านได้มีโอกาสมากกว่าคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เนื่องจากท่านได้จัดสัมมนาอบรมผู้นำระดับสูงทั่วประเทศ  หลายองค์กรเห็นความสำคัญของท่าน  เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่ขับเคลื่อนให้องค์กรต่างๆ  และผู้นำระดับสูง  เห็นถึงความสำคัญของบุคลากรภายในองค์กร  โดยบางครั้งจะประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์  สื่อวิทยุ  สื่อโทรทัศน์  ซึ่งท่านจะได้สมาชิกและเครือข่ายอย่างกว้างขวาง   ทำให้เป็นที่รู้จักในสังคมการสื่อสาร

สุดท้ายถ้าข้าพเจ้ามีโอกาสเลือกได้  ข้าพเจ้าอยากเลือก  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิง

ทิพาวดี  เมฆสวรรค์  เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าพเจ้า  เนื่องจากท่านทั้ง 2  ต่างให้ความสำคัญ  และสนับสนุนด้านทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาศักยภาพ  และท่านทั้ง 2  อาจจะเปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้แสดงความรู้  ความสามารถด้านผู้นำ  เพื่อขับเคลื่อนองค์กรในการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

เป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตนเอง  เมื่อกระทำสิ่งใดก็จะต้องรับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ  เป็น

คนตรงไปตรงมา  ไม่ชอบคนหน้าไหว้หลังหลอก  การเจรจาชอบว่าด้วยเหตุและผล  คิดจะทำสิ่งใดก็จะต้องทำให้สำเร็จ  ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว  เป็นคนที่ชอบเรียนหนังสือหรือฟังบุคคลที่มีความรู้มาถ่ายทอดให้ฟัง  จะมีความสุข  เพราะจะได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ  เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต  ไม่ชอบการทุจริต  เพราะการทุจริตเป็นสิ่งที่มนุษย์ผู้มีสติ  และปัญญาไม่พึงกระทำ

ups) หรือกลุ่มผลประโยชน์ (Interest  groups) และสื่อมวลชน (Mass  media) ซึ่งถ้าจะเขียนเป็นผังจะเห็นความสัมพันธ์ดังนี้คือ

 

 

ทักษะ  (SKILL)

                                ทักษะที่ข้าพเจ้ามีได้แก่  การบรรยายนำชมเครื่องราชภัณฑ์ต่างๆ  ภายในพระบรมมหาราชวัง  ภาคภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ  สามารถถ่ายทอดด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระที่นั่งต่างๆ  รวมถึงพระราชประวัติ  พระประวัติของเจ้านายหลายพระองค์

อีกประการหนึ่งข้าพเจ้าสามารถตัดสินใจในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ  โดยได้รับการยอมรับ

จากหัวหน้า  และเพื่อนร่วมงานทุกคน  ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจมาก  ทำให้ข้าพเจ้าอยากปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง 

ทักษะที่ข้าพเจ้าควรจะมีเพิ่มเติมคือ  ทักษะด้าน IT  เนื่องจากปัจจุบันการสื่อสารได้

เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และต่อเนื่อง  ข้าพเจ้าอยากมีทักษะด้านการแก้ปัญหาด้านต่างๆ  จะได้นำมาใช้เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  และอีกหนึ่งทักษะที่ข้าพเจ้าอยากมีคือ  ทักษะการพัฒนาบุคลากร  เพราะข้าพเจ้าต้องการกระตุ้น  และพัฒนาคนในองค์กรของข้าพเจ้า  ในการปฏิบัติงานให้ไปสู่วิสัยทัศน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  รหัส  500380100010

ข้อ1.  เปรียบเทียบความเป็นผู้นำของ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  

1. อาจารย์สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของ

หน่วยงาน  เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเป็นเรื่องของการแข่งขันในเรื่องเวลา  ประสิทธิภาพของการทำงาน  และความรวดเร็วของข้อมูลข่าวสาร

2. ให้ความสำคัญของงานที่ทำ  และมีความตั้งใจที่จะเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่อไป  ไม่

ย่อท้อกับปัญหาที่จะต้องเผชิญ

3. ให้ข้อเท็จจริงในงานที่ทำ  เมื่อทีมงานไม่เข้าใจในเนื้องาน  ก็จะมีการโต้แย้งกันด้วย

เหตุผล

4. การรับรู้ในงาน  ตระหนักถึงความรู้สึกของทีมงาน  มีความรู้สึกที่ดีกับงานที่ทำ  และมี

ความสามารถที่จะต่อสู้กับปัญหาของงาน

5. อาจารย์จะส่งเสริม  และสนับสนุนทีมงาน  เมื่อมีโอกาสอย่างสม่ำเสมอ

6. มีการประนีประนอมเมื่อมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้นในงาน  และมีการลดความตึงเครียดด้วย

บรรยากาศภายในห้องทำงาน  โดยใช้ธรรมชาติเข้าช่วย

7. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแก้ไขงานให้ถูกต้อง

คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์                          

1. มีการวางตัวที่เหมาะสม  และมีการตอบแทนหรือการให้รางวัล  เป็นไปอย่างยุติธรรมและ

จริงใจ  เป็นการให้กำลังใจด้วยคำชมในเวลาที่เหมาะสม

2. มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา  ค้นหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไข  พร้อมทั้ง

ตัดสินใจแก้ปัญหา  โดยเลือกแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่องค์กรมากที่สุด

3. มีความคิดริเริ่มอะไรใหม่ๆ  อยู่เสมอ  ไม่อยู่นิ่งอยู่กับที่  และมีการจัดระเบียบของงานได้

เป็นอย่างดี

4. มีการสั่งการที่ดี  มีการควบคุมการทำงานที่ถูกต้อง  และมีการให้รางวัลเป็นผลตอบแทน

5. มีการสนับสนุนให้คนในองค์กรแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี

6. สามารถรับรู้ถึงงาน  และสามารถแก้ไขงานได้ถูกต้องเหมาะสม

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

                                1. สนใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ  เป็นประสบการณ์  และเป็นการฝึกตนเองได้เป็นอย่างดี

2. เป็นคนเอาจริงเอาจัง  ถ้าเชื่อว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง  จะพยายามทำสิ่งนั้นให้ได้  แม้ว่าจะ

มีอุปสรรคมากน้อยเพียงใดก็ตาม

 

3. ชอบใฝ่รู้  เนื่องจากเป็นคนชอบอ่านหนังสือหลายประเภทด้วยกัน  ประโยชน์ของการ

อ่านหนังสือมีอยู่มากมาย  และทำให้เรามีความรู้เพิ่มมากขึ้นด้วย

 ทักษะ  (SKILL)

1.การสื่อสารระหว่างบุคคลจะทำได้ดี  เพื่อให้บุคคลอื่นสามารถเข้าใจเรื่องนั้นได้ง่ายขึ้น

2.วางแผนและจัดระเบียบ  เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

3.สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้เป็นอย่างดี

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และเพื่อน รปม. รุ่น 4 ทุกคน

ข้อ 1  ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน และการชมวีดีทัศน์ (คิดเพื่อก้าว)   โดย นางสาวมัลลิกา  โสดวิลัย

 

                จากการที่ได้อ่านหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน และได้ชมวีดีทัศน์แล้ว เห็นด้วยอย่างยิ่งกับอาจารย์ทั้งสองท่านที่กล่าวไว้ว่า  คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร เพราะองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี  และจากคำกล่าวนี้ ทำให้ดิฉันเห็นได้ว่า เครื่องเทคโนโลยีนั้นจะฉลาดกว่าคนเป็นไปไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีเกิดขึ้นมาได้จากความคิดของคน  เพราะเครื่องเทคโนโลยีเป็นเพียงส่วนประกอบของการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่เครื่องเทคโนโลยีจะทำงานไม่ได้ ถ้าคนไม่ใส่โปรแกรมการทำงานลงไป ดังนั้น คนจึงต้องพัฒนาตนเองให้ทันสมัยหรือให้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปตลอดชีวิต และจากหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน รวมทั้งการชมวีดีทัศน์ ทำให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างของอาจารย์ทั้งสองท่านดังนี้

ความเหมือน  1. ทั้งสองท่านเป็นคนชอบอ่านหนังสือและเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง   2.  เป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบที่ดี มีความอบอุ่นเหมือนกัน โดยได้รับการอบรมและเลี้ยงดูจากบิดา มารดา และมีพื้นฐานการศึกษามาอย่างดี   3.  เป็นคนมั่นใจในตนเอง เพราะมั่นใจในการสะสมความรู้มาโดยตลอดเหมือนกัน  4. เป็นคนมีคุณธรรมและจริยธรรมเหมือนกัน  5. เป็นคนที่ให้โอกาสคนอื่นเสมอ

สำหรับความแตกต่างนั้น  1. ท่าน ศ.ดร. จีระ  เป็นคนที่มั่นใจสูงกว่าคุณหญิงทิพาวดี เพราะมั่นในทุนทางปัญญาที่สั่งสมมานาน  2.  ท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นคนชอบให้ความรู้แก่คน เพราะมีทุนทางปัญญาสูง แต่คุณหญิงทิพาวดีชอบพัฒนาคน คือให้คนมีโอกาสพัฒนาเพื่อให้ตำแหน่งสูงขึ้น เช่น พัฒนาผู้บริหารเพื่อให้เป็นผู้นำ  3.  ท่าน ศ.ดร.จีระ มีการทำงานเป็นทีมเวิร์ค และการทำงานแบบขยายเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่คุณหญิงทิพาวดีจะทำงานอยู่ในวงแคบกว่า เพราะส่วนมากจะอยู่ในวงราชการเท่านั้น

ข้อ 2  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำของนักศึกษา รวมทั้งจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา

1.       ด้านบุคลิกลักษณะของดิฉัน

1.1     เป็นคนที่ชอบการเรียนรู้ เช่น ชอบไปฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับสายงานใน หน้าที่ และงานอื่นๆ ที่ต้องการเรียนรู้อยู่เสมอ

1.2    เป็นคนชอบความเป็นธรรม และมีคุณธรรม

1.3    ชอบให้โอกาสคนอื่นเสมอ แต่อย่ามากครั้งจนเกินไป

2.       ด้านทักษะของดิฉัน

2.1    เป็นคนชอบทำงานให้สำเร็จลุล่วง

2.2    ชอบการฝึกอบรมเพื่อพัฒนางาน

2.3    ชอบการเจรจาต่อรอง

3.       จุดอ่อน

3.1    เป็นคนอารมณ์ร้อน

3.2    ชอบการตัดสินใจที่รวดเร็ว

3.3    ไม่ชอบคนที่ทำตัวเป็นปัญหาบ่อยๆ

4.       จุดที่ต้องพัฒนา

4.1    การปรับอารมณ์ตนเอง

4.2    พิจารณาการตัดสินใจให้ถี่ถ้วน

4.3    ทำใจให้ปล่อยวางในบางเรื่อง

สรุปภาพรวมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกลักษณะ ทักษะ และวิสัยทัศน์ แบบไหน แต่ทุกคนต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ควรย่ำอยู่กับที่ เพราะต้องตามกระแสโลกให้ทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นั่นคือ การเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นเอง

 

ขอส่งข่าวประชาสัมพันธ์
สวัสดีค่ะเพื่อน รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน ตามกำหนดการ Study Tour ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ณ จังหวัดชลบุรี นั้น คณะผู้จัดงานขอเปลี่ยนแปลงกำหนดการและขอแจ้งให้ทุกท่านทราบกำหนดการใหม่ ดังนี้ ๐๗.๐๐ น. ออกเดินทางจากมหาว่ิทยาล่ัยราชภัฏสวนสุนันทา ๐๙.๐๐ น. เดินทางถึงบริเวณศูนย์การต้า รอยัลการ์เด็น ๑๑.๐๐ น. เดินทางถึงท่าเรือแหลมบาลีไฮด์ (สุดถนน Walk Street) เพื่อลงเรือข้ามไปเกาะล้าน ๑๒.๐๐ น. เดินทางถึงเกาะล้าน * รับประทานอาหารกลางวัน * พักผ่อนตามอัธยาศัย * ช่วงแลกเปลี่ยนความรู้กับ อาจารย์ ศ.ดร.จีระ ๑๕.๓๐ น. ข้ามเรือจากเกาะล้านกลับมาที่พัทยา ๑๖.๑๐ น. เดินทางกลับ ๑๘.๓๐ น เดินทางถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หากเพื่อน ๆ สงสัยมีปัญหาอะไรให้โทรถามคุณสุทัศน์ หรือพี่อนงค์ ค่ะ
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042
ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน จากการที่ได้ชมวีดีทัศน์ ทั้งสองท่านมีทั้งความเหมือนและความต่างดังต่อไปนี้ ความเหมือน : ทั้งสองท่านมีความเห็นตรงกันว่า “คน” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับคน เป็นต้นแบบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน มีทฤษฏีการพัฒนาคน เน้นการทำงานเป็นทีม ให้โอกาสในการการแสดงความคิดเห็น การได้รับความอบอุ่นและมีจุดเริ่มต้นจากครอบครัวที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม และเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานเป็นอย่างยิ่ง ความต่าง : คุณหญิงทิพาวดี จะเน้นเรื่อง สุขภาพที่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หากสุขภาพไม่ดี สิ่งต่าง ๆ ย่อมไม่มีความหมาย ส่วน ศ.ดร.จีระ เห็นความสำคัญของทุนทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง ซึ่งทั้งความเหมือนและความต่าง ทฤษฏี 8 H’s และทฤษฏี 8 K’s ผู้ศึกษาจะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และการปฏิบัติงาน ในการเป็นผู้นำให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน เนื่องจาก คน เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุด ข้อ 2. ให้บอก Character ของตนเอง พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ทักษะที่ไม่มี และควรจะมี โดยพอสรุปได้ดังนี้ Character เป็นคนที่มีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย มีความละเอียดถี่ถ้วนต่อชิ้นงานเนื่องจากทำงานเกี่ยวกับด้านเงิน, เป็นคนที่ไม่ชอบเอาเปรียบผู้อื่น, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น, ยอมรับการทำงานเป็นทีม, ยึดถือในเรื่องความซื่อสัตย์ ความมีคุณธรรม และจริยธรรม, ให้ความเคารพนับถือผู้บังคับบัญชา, มีการวางแผนในการปฏิบัติงาน, ส่วนทักษะภาวะผู้นำจะเป็นผู้ฝึกสอนงานให้กับผู้ร่วมงานเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี รวมทั้งเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับงานเนื่องจากเป็นหัวหน้างานซึ่งเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรง รวมทั้งมี Vision ในการทำงาน ส่วนจุดอ่อน เป็นคนที่ใจร้อน ส่วนทักษะ ที่ไม่มี และควรจะมี คือทักษะการพูด ในสถานการณ์ที่ต้องพูดต่อที่สาธารณะชน และการพูดในที่ประชุมต่าง ๆ จะค่อนข้างตื่นเต้นเป็นอย่างมาก ต้องใช้เวลาเตรียมตัวอยู่นาน สิ่งที่ควรจะมี คือ ต้องมีความมั่นใจในการพูดให้มากขึ้น และการกล้าแสดงออก
นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง 50038010043
ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน จากบทสนทนาของทั้ง 2 ท่าน ได้เข้าใจถึง คำว่า “ 2 พลังความคิด ชีวิตและงาน” โดยทั้ง 2 ท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนา “คน” ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อครอบครัว สังคมและประเทศชาติอย่างมาก กล่าวคือ จะเน้นทฤษฎี 8 H ‘s ของคุณหญิงทิพาวดี และ 8 K ‘s ของ ศ.ดร.จีระ ซึ่งโดยสรุปแล้ว มีความเหมือนเกือบทุกข้อ ยกเว้น ข้อที่ ศ.ดร.จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง และจะเน้นการทำงานเป็นทีม โดยใช้ IT เป็นสื่อกลาง ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เน้นเรื่อง สุขภาพ ที่สมบูรณ์ ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์ และเน้นการพัฒนาคนผ่านองค์กร ข้อ 2. ให้บอก Character ของตนเอง พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ทักษะที่ไม่มี และควรจะมี โดยสรุปได้ดังนี้ จุดแข็ง เป็นคนที่มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีการทำงานเป็นทีม ให้เกียรติผู้ร่วมงาน ให้ความเคารพผู้บังคับบัญชา มีทัศนคติในเชิงบวก สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงาน จุดอ่อน ไม่ตรงต่อเวลา ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ทักษะที่ข้าพเจ้าคิดว่าตัวเองควรปรับปรุง คือ เรื่องของการพูดในที่สาธาณะชน การกล่าวรายงานในที่ประชุม จะประหม่า ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการพูด และพูดเสียงเบา สิ่งที่ควรจะมีคือ การกล้าแสดงออก และต้องมีความมั่นใจในการพูด
พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

1.  Character หรือ  คุณลักษณะที่พึงปรารถนา

                - การยึดถือหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ตามหลักของธรรมาภิบาลเพื่อสร้างสรรค์การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี นับเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้แก่สังคม ทั้งในส่วนของภาคเอกชนและภาคประชาชน โดยครอบคลุมไปถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังเพื่อสร้างสรรค์การพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนเป็นส่วนเสริมความเข็มแข็งหรือสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประเทศเพื่อบรรเทาแก้ไขเยียวยาภาวะวิกฤติที่ประเทศประสบอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งเพื่อป้องกันภยันตรายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สังคมที่มีธรรมาภิบาลจะเป็นสังคมที่มีความยุติธรรม ความโปร่งใส ไม่เปิดโอกาสให้ความทุจริตฉ้อฉลเกิดขึ้นได้สะดวกเป็นต้น

                - การมีความมั่นใจในตนเองซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์อยู่ทุกวันจะได้ชื่อว่าไม่เป็นคนตกข่าวหรือสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับท่านผู้รู้ในเรื่องนั้น

                - สร้างแรงจูงใจให้ตนเองทำงานให้เสร็จตามที่ได้วางแผนเอาไว้และงานจะต้องถูกต้องรวดเร็วเรียบร้อย

          - ชอบเรียนรู้ ใฝ่หาความรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ทำอยู่เพราะคนที่รู้มากย่อมได้เปรียบกว่าคนอื่นโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นยุคแห่งการแข่งขันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

                

                 2. มี Leadership skill ที่สำคัญคือ

                - มีวิสัยทัศน์ มุมมองกว้างคือการมองภาพตลอดแนวของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน ทั้งนี้ เพราะว่า วิสัยทัศน์เป็นผลผลิตของจินตกรรม (Imgineering) หรือความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นญาณหยั่งรู้ เห็นความเป็นไปข้างหน้า จับกระแสความเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคตได้ เป็นส่วนหนึ่งของการคิดหน้า (foresight) คิดหลัง (backsight) และมองไปเข้าไปข้างในตน (insight) โดยศึกษาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่และเปลี่ยนไป ทำให้รู้เท่าทันแนวโน้มของวิวัฒนาการที่จะเกิดขึ้น แล้วใช้วิจารณญาณตัดสินใจปฏิบัติการล่วงหน้า (Proaction) หรือชิงลงมือก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้น ทำให้อยู่ในสถานการณ์ที่ได้เปรียบกว่าคนอื่น เพราะได้พบคำตอบที่ถูกต้อง

                ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ เปรียบได้กับแม่ทัพที่มีกล้องส่องทางไกล เพื่อใช้ส่องดูความเป็นไปในสมรภูมิรบเบื้องหน้าว่าเป็นอย่างไร ควรใช้กลยุทธ์ใด ในการทำศึก จึงจะประสบชัยชนะ ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรที่ดี จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ เพื่อกำหนดทิศทางวางนโยบายและกลยุทธ์ของการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย หากแม่ทัพไม่มีกล้องส่องทางไกล หรือผู้บริหารองค์กรขาดวิสัยทัศน์ การเคลื่อนพล หรือการขับเคลื่อนขององค์กร อาจจะเดินหลงทาง วกไปวนมา จนเกิดความระส่ำระสาย ไม่อาจบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ วิสัยทัศน์จึงเป็น Roadmap ให้ทุกคนในองค์กรได้เดินตาม แรงผลักดันที่ทำให้เกิดกลยุทธ์การบริหารโดยวิสัยทัศน์ (Strategic Management By Vision) เป็นผลมาจากความต้องการควบคุมชะตากรรมขององค์กรให้เป็นแบบมนุษย์บัญชา ไม่ใช่ฟ้าลิขิต การประสบความสำเร็จในการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน มิได้เป็นหลักประกันว่า จะต้องประสบความสำเร็จในอนาคต ดังนั้น ความสำคัญของวิสัยทัศน์ คือ ต้องทำให้อนาคต ดีกว่าวันนี้ มิใช่ปล่อยไปตามยถากรรม

                - การตัดสินใจตามหลักในทางพระพุทธศาสนาไม่อคติ ไม่ลำเอียงมีความยุติธรรม   เสมอภาค ซึ่งในปัจจุบันนี้สังคมต้องการความเสมอภาคมากขึ้น เป็นการจัดการที่ใช้หลักความเท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตอย่างสงบสุขไม่เบียดเบียนกันถูกว่าไปตามถูกผิดก็ว่าไปตามผิด

          - การทำงานเป็นทีม เพราะผลประโยชน์ขององค์การจะถือว่าเป็นผลประโยชน์ของทุกๆ คนหรือของทุกกลุ่มภายในองค์การในขณะที่องค์การยังดำเนินกิจการอยู่จะต้องมีการกำหนดผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมระหว่างองค์การและสมาชิกภายในองค์การ โดยมีการให้รางวัลสำหรับผลการปฏิบัติงานและเพื่อรักษาความสัมพันธ์ภายในองค์การไว้ ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ  และทักษะสิ่งที่ยังขาดไม่มีคือการเจรจาต่อรองเพราะพูดไม่ค่อยเก่ง(คงเป็นเพราะว่าไม่ได้ดูหนังอิมซังอ๊กกะมัง?)

3.วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน
เริ่มจากความเหมือน 2 ผู้นำนักบริหารสร้างทฤษฎีการบริหารที่เกิดจากประสบการณ์ทำงานให้เข้าใจได้ง่ายๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ แต่ลุ่มลึกและสร้างความยั่งยืนให้ทุนมนุษย์ของไทยได้จริง ด้วยเน้นการพึ่งพาตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนรากฐานทางวัฒนธรรมและภูมิสังคมที่แข็งแกร่ง กรอบด้วยคุณธรรมและจริยธรรมที่เข้มแข็ง เพื่อให้เกิดความพอเพียงในแต่ละระดับแต่พร้อมที่จะพัฒนาไปในทางที่เจริญได้อย่างไร้ขีดจำกัด

ส่วนที่มีความไม่เหมือนกันคืออยู่ต่างแวดวงหมายถึงคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อดีตปลัดกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นผู้เสนอทฤษฎี พัฒนาคน  " 8 H's "

ส่วนศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย ทั้งบุกเบิกให้กว้างไกลบนเวทีโลกจนได้รับการยอมรับในระดับสากลให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะทำงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปก (APEC HRD.) คณะกรรมการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (2549) และเป็นผู้เสนอทฤษฎีด้านความคิด ชีวิต และงาน " 8 K's "

และความต่างอีกประการหนึ่งคือคุณหญิงจะมีลักษณะระบบความคิดการทำงานแบบถ่อมตนดังคำสนทนาตอนหนึ่งกล่าวว่า"ดิฉันมีความเจียมตัวอยู่เสมอว่าเป็นเหมือนหิ่งห้อยน้อยแสง คืนเดือนมืดจึงจะเห็นแสงสว่างชัด แต่พอเดือนหงาย หิ่งห้อยก็จะถูกแสงเดือนขับให้อับแสง

ส่วนอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ การแสดงระบบของอาจารย์นั้นเปรียบเสมือนพลุไฟที่น่าตื่นตาตื่นใจบนฟ้ามืด อาจารย์จะเป็นผู้จุดประกายความคิดใหม่ๆ แบบสากลให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน และมีลักษณะ "ชูธงนำ" ตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นการทำงานจะลงลึกเอาจริงเอาจัง โดยใช้วิธีบูรณาการความคิดและความสามารถของผู้ร่วมงานอย่างได้ผล

 

 

 

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

ข้อ1.  ข้อมูลจากการฟัง VTR  โดยเทียบความเป็นผู้นำ  ของคุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์และ

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ 

 ความเหมือน 

1. มีทฤษฎีทุนมนุษย์ คือ “8 H’s”  และ "8 K’s”  ในการพัฒนาคนเป็นของตนเอง

2. มีความเชื่อว่าคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าและสำคัญที่สุดในองค์กร 

3. เน้นการพัฒนาคนสร้างให้คนเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ มีทักษะในความเป็นผู้นำ

4. เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตนเองและบุคคลอื่นๆ

5. เน้นให้คนมีความรู้มีปัญญาจะมีอำนาจรู้จักการคิดจะต้องคิดดี คิดเป็นและ วิเคราะห์เป็น

6. การบริหารคนผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี

7. เน้นการมีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งซึ่งจะเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนสุขภาพ    ร่างกายและจิตใจ การดำเนินชีวิต  การทำงาน   

8. เมื่อเรามีความรู้และมีปัญญามีจริยธรรมมีความสุขกับงานที่ทำอยู่ย่อมเป็นพื้นฐานที่เราจะดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

9. การทำงานร่วมกับคนจำนวนมากจะต้องดึงความเก่งและทักษะของแต่ละคนมารวมกัน และจะต้องใช้ความปรองดอง ความสมานฉันท์ ความประนีประนอม สังคมและประเทศชาติจะอยู่อย่างเป็นสุข

ความต่าง 

1. ศ.ดร.จีระจะเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่แท้จริงสนใจที่จะพัฒนาคนทุกระดับทุกกลุ่มทุกวัย

ส่วนคุณหญิงทิพาวดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ท่านจะเน้นภายในองค์กร ตามรูปแบบระบบราชการ

เป็นถ่ายทอดความรู้ที่แตกต่างกัน

2. คุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ มีภูมิหลังการดำเนินชีวิต และประสบการณ์การทำงานต่างๆอาจจะไม่เหมือนกัน

3. ศ.ดร.จีระ ในการพัฒนาคนสนใจเทคโนโลยีต่างๆที่จะเข้าถึงบุคคลต่างๆเช่น บทความในหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ในการพัฒนาคนโดยเข้าถึงบุคคลต่างๆได้มากขึ้นส่วนคุณหญิงทิพาวดีจะมุ่งพัฒนาคนในองค์กรโดยไม่สนใจเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์   

4. ศ.ดร.จีระไม่ยึดติดกับตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองใดๆส่วนคุณหญิงทิพาวดีสนใจตำแหน่งและอำนาจทางการเมือง

 

 

ข้อ 2. Character  และทักษะ  ของข้าพเจ้า

Character

1. ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  สิ่งแวดล้อม  รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

2. มีทัศนคติในเชิงบวก คิดและมองโลกในแง่ดีก่อนเสมอ

3. ความสามารถในการพิจารณาตัดสนใจได้รวดเร็ว 

4. มีความตั้งอกตั้งใจในการปฏิบัติงาน

5. เป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง

6. เป็นผู้มีความนุ่มนวล ผ่อนปรน  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีต่อกันในหมู่ผู้ร่วมงาน  อาจรวมถึงการถ่อมตัว (Humble)  ตามกาลเทศะอันควร ประนีประนอมได้ทุกๆเรื่อง

7. เป็นผู้มีศิลปในการจูงใจคน  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้หลักจิตวิทยา (Psychology)

ทักษะ 

1.ใช้เทคโนโลยีได้ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ

2. ประสานงานกับผู้อื่นได้ดี

 

 

 

 

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง เลขที่ 38 รหัส 50038010038

 เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน รปม. รุ่นที่ 4 ทุกคน

                                ข้อ 1. ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ จากเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน การชมวีดีทัศน์

(คิดเพื่อก้าว) โดยนางสมจิตร ส่องสว่าง

                                ความเหมือนของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

คือ การให้ความสำคัญกับคน การพัฒนาคน นำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

มีความเชื่อมั่นตัวเอง มีความมุ่งมั่น ใฝ่รู้ มุ่งสู่ความสำเร็จ

                                ความแตกต่างของทั้งสองท่าน คือ มีประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน

ระบบการทำงานที่แตกต่างกัน  ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ถ่ายทอดความรู้โดยใช้เทดโนโลยีที่

ทันสมัยก้าวทันโลก  สร้างเครือข่ายการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาไม่ได้คำนึงถึงว่าทำไปแล้วตนเอง

จะได้รับอะไรกลับมา ทำแล้วมีความสุขใจ

                                ข้อ 2. ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำของนักศึกษา รวมทั้งจุดอ่อนที่

ต้องพัฒนา

1.       ด้านบุคลิกลักษณะ  ชอบเรียนรู้   มีซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม ชอบช่วยเหลือ

ผู้อื่น ให้โอกาสผู้อื่นเสมอ

2.       ด้านทักษะ  ขยันทำงานให้สำเร็จ  ชอบการติดต่อประสานงาน  ชอบแก้ไขปัญหา

3.       จุดอ่อน  เป็นคนขี้สงสาร ตัดสินใจเร็ว 

4.       สิ่งที่ต้องพัฒนา   ฝึกความมีเหตุผล  รับฟังความดิดเห็น  และต้องใช้ข้อมูลในการ

ตัดสินใจ

                สรุป คือ คนเราจะต้องพัฒนาตนเองและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

ของโลก เปลี่ยนตัวเองก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน นั่นคือ การพัฒนาการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลานั่นเอง

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จุดเด่น และจุดด้อย ของดิฉันมีดังนี้ จุดเด่น 1. มีความตั้งใจในการทำงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า 2. มีมนุษย์สัมพันธ์ดีและช่วยเหลือผู้ร่วมงานในการทำงาน 3. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น จุดด้อย 1. เป็นคนใจร้อน 2. บางครั้งจะทำงานไม่ค่อยรอบคอบ ต้องคอยตรวจสอบความผิดพลาด 3. เชื่อมั่นในตัวเองจนทำให้บางครั้งไม่ฟังความคิดเห็นของคนอื่น 4. ใช้เงินเก่ง และไม่ค่อยจะประหยัด สรุป ดิฉันเป็นคนธรรมดา ๆ ค่ะ ยังอยู่ในโลกของความเป็นจริง คือ มีโกรธ มีเกลียด มียินดี ยินร้าย อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะนิสัยอันนำมาซึ่งจุดเด่นและด้อย เช่นนี้เอง กลับทำให้ดิฉันมีความสุขในการทำงาน และมีเพื่อนร่วมงานที่ดี ทั้งหัวหน้า รุ่นพี่ รุ่นน้อง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ที่เป็นผู้ที่ส่วนสำคัญในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของดิฉัน
นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041
เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ผู้จุดประกายความคิด เพิ่มรอยหยักสมองให้แก่บรรดาลูกศิษย์ รวมทั้งท่านอาจารย์พจนารถ ท่านอาจารย์บุญรอด ท่านอาจารย์ปิยะ และท่านอาจารย์ประกาย ทุกท่านเปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์อย่างมากล้น สังเกตได้จาก “ความเจ๋ง” ในการสอนที่ทำให้เราสนใจใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา และทีมงานเข้มแข็งของท่านอาจารย์ (คุณนะ คุณเอ๋ และคุณเอ้) จากการชมการสัมภาษณ์ ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ทำให้มองเห็นแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาคน ในแง่มุมต่าง ๆ เห็นความเหมือนในตัวทั้งสองท่านในเรื่องการให้ความสำคัญกับ “คน” เป็นประการแรก และมีความตั้งใจจริงที่จะพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งท่านทั้งสองได้คิดค้นทฤษฎีในการบริหารคนที่มีความสอดคล้องกัน คือ ทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และทฤษฎี 8 K’s ของศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจเนื่องมาจากการที่ทั้งสองท่านมีพื้นฐานครอบครัวที่ดี นั่นคือการมีครอบครัวที่อบอุ่น มีแบบอย่างที่ดี และได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดีในทุก ๆ ด้าน อาทิ อุปนิสัยรักการอ่าน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้ท่านทั้งสองเป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต Live Long Learning สะสมความรู้จากตำราและประสบการณ์จริง และนำมาปรับประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตและการบริหารงานได้เป็นอย่างดี สิ่งที่แสดงถึงความต่างของทั้งสองท่านคือ คุณหญิงทิพาวดีท่านเป็นผู้นำ ผู้บริหาร ที่เป็นผู้หญิงเก่งและแกร่งที่มีความละเอียดอ่อนในแบบฉบับของสตรีไทย บริหารโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ ผนวกกับความคิดที่จะพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ส่วนท่าน ศ.ดร.จีระ นั้น ท่านเป็นผู้นำและนักบริหารที่มี Style เป็นของตัวเอง มีความมั่นใจ ตรงประเด็น มีความกล้า...กล้าที่จะเป็นผู้นำระดับแนวหน้าในเรื่องการบริหารคน เห็นได้จากความตั้งใจจริง ทำงานอย่างจริงจังในเรื่องนี้มานานหลายสิบปี เป็นผู้ผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ มีการนำผู้รู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาแชร์ความคิดร่วมกัน ดังเช่นที่ท่านเชิญท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มาแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านตัวหนังสือและการสนทนาในรายการโทรทัศน์ รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ที่หลากหลายและทันสมัย อาทิ รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และบล๊อก (BLOG) ถ้าอย่างนั้น ขอลองหันมามอง Character ของตัวเองบ้างนะคะ ในความคิดของตัวเองนั้นก็คิดว่า เป็นคนที่ใฝ่รู้อยู่พอสมควร อาจจะยังไม่มากพอแต่ก็สามารถพัฒนาต่อไปได้ เคารพในความคิดของผู้อื่นและสามารถรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ ยึดมั่นคุณธรรม (ไม่ใช่ “คุณน่ะทำ” นะคะ) เป็นหลักประจำใจ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียนและไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น มองโลกในแง่ดี (เกือบเหมือนนางงามแล้วค่ะ) มีความยืดหยุ่น IQ ต่ำ แต่ EQ สูง ทนได้ทุกสถานการณ์ (เหมือนกระเบื้องตราช้างอย่างไงอย่างงั้นเลยค่ะ) และต้องการให้เกิดความสมานฉันท์ในหมู่คณะ แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ยังขาดและทำไม่ได้ และต้องพัฒนาทักษะ (Skill) อีกมาก คือ ความกล้า กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออกและความเชื่อมั่นในตนเอง อยากที่จะเป็นคนที่เรียนรู้ตลอดชีวิต ดั่งคำสอนของศาสนาอิสลามที่ว่า “มนุษย์เราต้องเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในเปล จวบจนถึงหลุมฝังศพ” เห็นได้ชัดว่าศาสนาก็ยังสอนให้คนเห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ และที่สำคัญคือต้องการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ตัวเอง เนื่องจากการอ่านหนังสือมาก ๆ จะก่อให้เกิดปัญญาและพัฒนา IQ ที่มีอยู่น้อยให้เพิ่มมากขึ้นกว่า EQ ที่มีอยู่ค่ะ นอกจากนี้ ตัวเองยังขาดความกระตือรือร้น ให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างที่จะเป็นประโยชน์และนำมาปรับประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ การมองและวิเคราะห์ตัวเอง เปรียบเสมือนการที่เราส่องกระจกเงาที่มองเห็นแต่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว เราอาจจะมองไม่เห็นด้านหลังหรือด้านอื่น ๆ ถนัดนัก ดังนั้นการที่มีคนอื่นมามองเราและวิเคราะห์ให้ บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ดี และเราก็ควรที่จะยอมรับมันให้ได้ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว ในตัวหรือยังขาดอยู่ ล้วนแล้วแต่ต้องพัฒนาให้มีเพิ่มมากขึ้นอยู่เสมอด้วยวิธีการต่าง ๆ คนเรามักกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงควรพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการอ่าน การศึกษา ใฝ่หาความรู้ เพื่อที่จะสามารถพาตัวเองและองค์กรให้ก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งของโลกในปัจจุบันได้ ขอบคุณค่ะ...
นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4
เรียน ท่านอาจารย์จีระ ท่านอาจารย์พจนารถ ท่านอาจารย์บุญรอด ท่านอาจารย์ปิยะ และท่านอาจารย์ประกาย และทีมงาน (คุณนะ คุณเอ๋ และคุณเอ้) และเพื่อน ๆ พี่ ๆ ชาว รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน ข้อที่ 1 ความเหมือนกับความต่างของ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ ความเหมือน คือ ทั้งสองท่านจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน คนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร คุณค่าของคนต้องมีคุณภาพ มีคุณธรรม ความจงรักภักดี และมีความสามรถ จึงจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ โดยคุณหญิงทิพาวดี ใช้ทฤษฎี 8H’s ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่วนศาสตราจารย์ ดร.จีระ ใช้ทฤษฎี 8K’s ทฤษฎีทุนในทรัพยากรมนุษย์ ความต่าง คือ ต่างในเรื่องการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ซึ่งคุณหญิงทิพาวดี จะเป็นนักบริหารในหน่วยงานโดยนำความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมาพัฒนาคนในองค์กร ส่วน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ จะทำงานเป็นทีม มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรูปของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้จุดประกายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติ และถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านตัวหนังสือและสื่อที่หลากหลาย ถึงแม้ท่านทั้งสองจะมีความเหมือนและความต่างแต่ท่านก็เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ มีคุณธรรม จริยธรรม เหมาะสำหรับที่ทุกคนควรจะยึดหลักและนำแนวทางมาใช้ในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ข้อที่ 2 Character ของตัวเอง คือ มีความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา เป็นคนใส่ใจในรายละเอียด ชอบใช้เทคโนโลยีในการหาข้อมูลใหม่ๆ มีความรับผิดชอบต่องาน มีทัศนคติที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม จุดด้อยคือ ไม่กล้าตัดสินใจ เป็นคนใจร้อน เป็นคนตึงเกินไป (ควรจะยืดหยุ่นบ้างในบางครั้ง) ทักษะที่ควรจะพัฒนาคือ การพูดหรือแสดงออกต่อที่สาธารณะชน

ข้อ 1.  ความเหมือนและความแตกต่างของ ศ.ดร. จีระฯ และคุณหญิงทิพาวดี ฯ จากการที่ได้รับฟังการสนทนากันนั้น สามารถสรุปได้ว่า ความเหมือน คือ ท่านทั้งสองให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก เพราะว่าการพัฒนาคน นำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ท่านทั้งสองมีความมุ่งมั่นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ในส่วนของความแตกต่างของทั้งสองท่าน คือ ท่านทั้งสองคนมีการสะสมการเรียนรู้ของงาน และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน ศ. ดร. จีระ มุ่งมั่นตามเทดโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง

      ข้อ 2. ข้าพเจ้ามองตัวเองว่า เป็นคนมีบุคลิกลักษณะที่คล่องแคล่วว่องไวในทุกๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการทำงาน จะรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับเป็นอย่างดี มีความกระตือรือร้น จะต้องพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด อย่างเต็มกำลังความสามารถ ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ก็มองตนเองว่าตนเป็นผู้มีน้ำใจ คอยช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หากสงสัย หรือต้องการให้เราแสดงความคิดเห็น ข้าพเจ้าก็จะช่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถของตน เพราะถือว่าเราทำงานให้หลวงเหมือนกัน งานควรจะต้องออกมาดี ถูกต้องครบถ้วน หากแม้นบางครั้งจะเหนื่อยล้าจากการทำงานบ้าง ก็จะพยายามคิดว่า สิ่งที่เราทำอยู่นี้มันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน  และประเทศชาติ

เรียน    ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

      การเป็นผู้นำไม่ได้ขึ้นกับตำแหน่งหน้าที่การงานเสมอไป  การเป็นผู้นำของบุคคลบางคนขึ้นอยู่ศรัทธา ที่ได้กับจากบุคคลทั่วไป   ผู้นำในทัศนคติคือผู้ที่ได้รับการยอมรับและความเชื่อถือจากคนในองค์กร หรือเกิดขึ้นในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง  จากตัวอย่างการสนทนาระหว่างท่านกับคุณหญิงทิพาวดี   นั้น จะเห็นได้ว่าทั้ง  2  ท่านเป็นผู้นำนักบริหารที่เป็นนักวิชาการ  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีคุณธรรมจริยธรรมให้โอกาสผู้อื่นในการแสวงหาความรู้จากตนให้ความเมตตากับเพื่อนร่วมงานให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับชั้น เอาใจใส่ลูกศิษย์  ซึ่งในเรียนมีความรู้สึกว่าอาจารย์เป็นคนเข้มงวดมากแต่เมื่อได้รับการสั่งสอนจึงเข้าใจได้ว่าเพราะอาจารย์ต้องการให้ลูกศิษย์ได้รับความรู้ประสบการณ์จากท่านให้มากที่สุด  จึงความเกิดศรัทธาในตัวท่าน  สำหรับความแตกต่างความเป็นผู้นำจะเห็นได้ว่าภาวะผู้นำของ ดร.จีระ  เกิดจากความศรัทธา ความเชื่อถือ  การยอมรับ ของสังคมไม่ได้เกิดจากกฎหมาย  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี  นั้นภาวะผู้นำน่าจะเกิดจากกฎหมาย มากกว่า

    สำหรับการจะพัฒนาการเป็นผู้นำตามทฤษฎี   5 E’s   นั้นผู้ศึกษาคิดว่ามีลักษณะการเป็นผู้นำได้  เพราะทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนทำงานที่ได้รับมอบให้สำเร็จกล้ารับผิดชอบในการกระทำของตนเอง   กล้าตัดสินใจ  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา   มีคุณธรรม จริยธรรมในระดับหนึ่ง มองคนในแง่ดีมีน้ำใจ ให้เกียรติคนอื่น    แต่ยังขาดประสบการณ์  ขาดทักษะการพูดในที่สาธารณะ  ต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ   ซึ่งได้อ่านพบบทความเรื่องสร้างทุนมนุษย์

    จากรายงานพิเศษ เรื่องเปิดวิสัยทัศน์  ดีพัก ซี .เจน  คณบดี Kellogg   สร้างทุนมนุษย์ดันเอเชียสู่ยุดทอง  จากหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์ฉบับประจำวันที่  15-21  กุมภาพันธ์  2551  กล่าวไว้ว่าการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตจึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยหลายอย่าง

ประการแรก  การสร้างแรงจูงใจ(Inspiration) ประการที่สอง การสร้างแรงกระตุ้น (Motivation) โดยการให้รางวัลทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ซึ่งอาจหมายถึงการเลื่อนตำแหน่งหรือการให้รางวัลอื่น ๆ  ประการที่สาม  ต้องพัฒนาให้บุคคลเหล่านี้มีวิสัยทัศน์(Vision) ที่จะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ (Action) ที่เกิดประสิทธิภาพได้ในที่สุดซึ่งต้องควบคู่ไปกับการปลูกฝังสิ่งที่เป็น Soft side  ได้แก่ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา (IQ) ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และการมีคุณธรรมจริยธรรม (MQ : Morality) เพราะทั้ง  3 ส่วนนี้จะเป็นภาคเสริมที่ทำให้บุคคลที่เป็นผู้นำนั้นมีความสมดุลรอบด้าน เป็นผู้นำที่มีทั้งความรู้  คุณธรรม  สามารถเอาชนะใจคน  และทำให้ผู้อื่นเคารพที่ตัวตนของบุคคลนั้นอย่างแท้จริง

ดีพัก  ซี.เจน  ได้สรุปโมเดลใหม่ในการสร้างและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไว้  2  โมเดล

โมเดลแรก  “5P” ประกอบด้วย คน(People) เป็นศูนย์กลาง โดยนำความรู้  ความสามารถและศักยภาพที่ซ่อนเร้น(Potentiality) ของแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่  ซึ่งจะเป็นปัจจัยไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิต(Productivity) ให้สามารถเจริญเติบโตอย่างสร้างผลกำไร (Profitability) และนำไปสู่การสร้างความมั่งคั่ง (Prosperity) และความผาสุกของคนในประเทศ

โมเดลที่สอง  “5 H” เป็นเรื่องของการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของมนุษย์ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ประกอบไปด้วยความสมดุล (Harmony) ของความพร้อมในด้านต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย หัว (Head) หมายถึง ความรู้ความสามารถที่ร่ำเรียนและสะสมมา  มือ (Hand) หมายถึง ความเป็นไทยและความโอบอ้อมอารี ที่ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและการบริการ   และสุขภาพ (Health) ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่จะเอื้อต่อการทำงานโดยในการพัฒนามนุษย์ต้องทำความเข้าใจถึงเรื่องการทำงานของสมองด้วย

ดีพัก  ซี.เจน ยังบอกอีกว่าวันนี้ประเทศไทยมีจุดแข็งในหลายเรื่องที่สามารถแข่งขันบนเวทีโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมด้านสุขภาพอนามัย(Customer  Well-Being) ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาลและกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยต่าง ๆ เช่น สปา  อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลูกค้า เป็นการผสมผสานมุมมอง  วิสัทัศน์  ด้านการตลาดผนวกเข้ากับการพัฒนาทุนมนุษย์ของ ดีพัก  ซี.เจน  นับเป็นแสงสว่างบนวิกฤตที่น่าสนใจทีเดียว

   

                               2 พลังความคิดชีวิตและงาน
                                   "อโรคยา ปรมา ลาภา" 

                          ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ

 
      ท่านผู้อ่านอาจจะงง เอ๊ะ!! มันเกี่ยวอะไรกับงานที่ได้รับมอบหมาย  ที่ขึ้นต้นเช่นนั้น เพื่อจะบอกว่า หลังจากที่เรียนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (17 กุมภาพันธ์   2551) กลับมาก็เป็นไข้หวัด ปวดหัวตัวร้อน นอนซม อยู่ห้อง ไม่ได้ไปทำงานเลย   จะลุกมาทำงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์มันก็ตื้อไปหมด   เมื่อร่างกายหรือสุขภาพ(Health)ไม่สมบูรณ์ สมอง Head/Intellectual Capital)   ก็ไม่เกิด  เป็นตัวบั่นทอนความคิด และเกิดทุกข์บั่นทอนความสุข (Happiness) อีก เริ่มเกี่ยวพันกันแล้วไหมล่ะ                      อย่างน้อยก็ 3 ข้อล่ะ เข้าเรื่องงานที่จะทำสักที   ถ้าจะมองถึงความแตกต่างระหว่างท่านทั้ง 2   สิ่งที่มองเห็นเป็นรูปธรรม   อย่างเห็นได้ชัดวัดด้วยสายตาเห็น ๆ ก็คือ  สิ่งที่ธรรมชาติให้มาทางกายภาพ นั่นคือ ความต่างเรื่องเพศนั่นเอง แต่ถามว่า  เป็นอุปสรรคในการพัฒนา การเรียนรู้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า ไม่เป็นอุปสรรคแต่ประการใด เพราะทั้ง 2 ท่าคือผู้ที่ใฝ่ความเป็นเลิศและสร้างคุณค่าให้คนและองค์กร มีการเรียนรู้อยู่ตลอด ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่อาจารย์จีระที่มีด้านสภาวะผู้นำ ที่ข้าพเจ้ามองเห็นก็คงเป็นเรื่องของประสบการณ์ (Experience) และเครือข่าย (Network) ที่มากกว่า นั่นอาจจะเป็นเพราะวัยวุฒิ หรือการที่ได้พบปะผู้รู้ และเก็บรวบรวมสั่งสมเป็นประสบการณ์ที่หลากหลาย จากการที่ได้พบปะ การอบรมทั้งในฐานะที่เป็นผู้ที่สั่งสอนอบรมคนอื่น แต่ในขณะเดียวกัน อาจารย์จีระก็พลิกผันบทบาทของการเป็นคุณครู ผู้อบรม มาสู่สภาพของนักศึกษา หรือนักเรียนที่เปิดใจเรียนรู้สิ่งรอบข้างจากผู้ที่เรียนหรือผู้ที่อบรมด้วย ความแตกต่างอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งเป็นความแตกต่างด้านแนวความคิดทฤษฎี ระหว่าง Health กับ Digital Capital คุณหญิงทิพาวดี จะให้ความสำคัญกับสุขภาพ ซึ่งอาจารย์จีระในข้อนี้ ได้เหมารวมหรือผนึกรวมไว้กับข้อ Human Capital แล้ว และหันมาให้ความสำคัญในเรื่องเทคโนโลยีแทน  อย่างไรก็ตามในความคิดของข้าพเจ้ามองว่า แม้ทฤษฎีทั้งสองจะแตกต่างกัน แต่ใช่ว่ามันแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีสามารถนำมาประยุกต์ในการช่วยสนับสนุน (Support) ในเรื่องของสุขภาพมากมาย เช่นในด้านการแพทย์ และเครื่องเสริมสุขภาพ เช่นเครื่องออกกำลังกาย ที่เพิ่มประสิทธิภาพให้การออกกำลังสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย เป็นต้น

     ในหัวข้อที่ 2 ที่อาจารย์ให้ค้นหา ลักษณะเฉพาะตัว นั้น ข้าพเจ้ากลับมืดแปดด้าน ไข้แตกเพิ่มขึ้นอีก อย่างที่มีคนกล่าวไว้ว่า ค้นหาคนอื่น จุดดีจุดด้อยของคนอื่นน่ะค้นหาง่าย แต่พอจะมาค้นหาตัวเอง มันช่างยากเสียนี่กระไร!!

      จุดเด่น
      • ยึดหลักคุณธรรม ซื่อสัตย์ ซึ่งคุณธรรมอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจและถือปฏิบัติมาโดยตลอดก็คือ ความกตัญญู แต่ก็ใช่ว่าจะกตัญญูแบบขาดปัญญากำกับ เช่นไม่ใช่ว่าเขาให้เงินมาเพื่อขอให้ลงคะแนน เราก็ยึดถือความกตัญญู ถือว่าเขาให้เงินมาต้องตอบแทนด้วยการลงคะแนนให้เขา อันนี้ก็ไม่ใช่กตัญญูที่แท้จริง
     • การสร้างแรงจูงใจ บางครั้งการจะทำอะไร แรงจูงใจก็เป็นสิ่งจำเป็นในเมื่อเรารู้ว่าเราจะทำอะไร เพื่อใครแรงใจมันก็เกิด เฉกเช่นการเรียน อาจารย์ก็ได้สร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชานี้ จากวาทะชวนคิด"ไม่มีใครโง่กว่าใคร มีแต่คนไหนฉลาดกว่ากัน"  ทำให้ข้าพเจ้าเกิดแรงจูงใจขึ้นมามิใช่น้อย..
      • การรักษาสัญญา แม้รู้ว่าการสัญญานั้นบางครั้งเราจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่เมื่อสัญญาแล้วต้องทำให้ได้
      • การฟังและเรียนรู้โดยใช้ความคิด ซึ่งจะนำมาซึ่งปัญญา ประเด็นนี้ก็ โป๊ะเชะ!! กับวาทะอาจารย์จีระ ที่ว่า "
ใบปริญญาแค่ติดข้างฝา แต่ปัญญาติดตัวไปจนตาย" 

     
จุดด้อย
      การตัดสินใจ บางครั้งบางทีไม่เด็ดขาด ยังเก้อ ๆ กัง ๆ ห่วงหน้าพะวงหลัง คิดว่าจะกระทบใครหรือเปล่า เขาจะคิดอย่างไร อาจจะคิดมากด้วย จนบางทีนำมาซึ่งผลเสียมากกว่าผลดี
      • ความสามารถในการบริหารจัดการ ยังมีน้อย อาจจะเนื่องจากหน้าที่การรับผิดชอบ ประสบการณ์ในการบริหาร ต้องคอยฝึกตัวเองไปเรื่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์ จากผู้รู้ ตามรอยสโลแกนของอาจารย์ที่ว่า การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด..
      อันที่จริงแล้ว จุดเด่นจุดด้อยในตัว อาจจะมีมากกว่านี้ แต่เรามองไม่เห็น ในความคิดของข้าพเจ้า บางทีถ้าเรารู้จักประยุกต์ จุดเด่นอาจจะไม่ดีเสมอไป และจุดด้อยก็ใช่ว่าจะเลวร้ายเกินไป บางกรณีบางสถานการณ์ คุณสมบัติบางอย่างอาจใช้ไม่ได้ นั่นก็ต้องใช้ดุลพินิจการวิเคราะห์ อิงหลักเหตุผลและใช้ปัญญามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ก็จะเป็นผู้นำที่ไร้จุดตำหนิ หรือเป็นผู้นำที่ดีเลิศได้ แต่ว่า เมื่อไรล่ะ? อันนี้ก็เป็นเรื่องของเวลา..

 

           

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๑๙

เรียน  อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

         ๑. จากคำถามของอาจารย์ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับคุณหญิงทิพาวดี  หลังจากที่ได้ชมวีดิทัศน์การสนทนาที่อาจารย์นำมาให้ชมแล้ว มีข้อวิเคราะห์ ดังนี้

ความเหมือน  ประการแรกคือทั้งสองท่านมีพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่อบอุ่นมีพร้อมทุกอย่าง และพัฒนาพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา และถือว่าท่านทั้งสองเป็นผู้มีบุญ วาสนา เกิดมามีพร้อมทุกอย่าง และต่างก็เป็นคนขยัน อดทน รักในการเรียนรู้ และรักที่จะอบรมสั่งสอนให้บุคคลอื่นได้มีความรู้ด้วย  ประการที่สอง  เป็นผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ คือทั้งสองท่านต่างมีแนวความคิดเหมือนกันคือให้ความสำคัญเกี่ยวกับการสร้างสรรค์พัฒนา "คน"  ซึ่งถือว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับคน จะเน้นทฤษฏี ๘ H's โดยคุณหญิงทิพาวดี และทฤษฏี ๘ K's ของ ศ.ดร.จีระ  ซึ่งประกอบไปด้วยทุนรากฐานของชีวิต (Heritage)  เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง ซึ่งไปตรงกับทฤษฏีทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนสมอง (Head) การมีความคิด มีความรู้แล้วต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางปัญญา ทุนมืออาชีพ (Hand) ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร  ทุนเป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมของ ศ.ดร.จีระ  ทุนสุขภาพ (Health) ตรงกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี  คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต ทุนบ้านและครอบครัว (Home) การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนมนุษย์ เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียน  ทุนการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปันเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข และสอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's คือทุนแห่งความสุข  ทุนความปรองดอง สมานฉันท์ (Harmony)  คือทุุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชมชน สอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนทางสังคม ดังนั้น  จากการได้รับฟังบทสนทนาระหว่างทั้งสองท่าน แล้วสามาราถนำไปปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันด้วย นอกจากนี้แล้ว ความเหมือนของศ.ดร.จีระและคุณหญิงทิพาวดี คือการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การสั่งสมประสบการณ์ความคิดที่เป็นเลิศที่สามารถหาวิธีคิดจนเกิดทฤษฎี ๘ H's และทฤษฏี ๘ K's  ซึ่งอ่านแล้วสามารถนำใช้ประโยชน์ให้กับองค์กร และสามารถพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศในทุกด้าน

ความแตกต่าง  ศ.ดร.จีระ จะเน้นความสำคัญของทุนทางเทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลก  ท่านจะมีทีมงานที่เข้มแข็งในการบรรยายให้ความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน  ส่วนคุณหญิงทิพาวดียังขาดทีมงานและการสื่อสารด้านเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาบุคลากรในองค์กรเฉพาะกลุ่มที่ท่านดูแลและรับผิดชอบ

        ๒.  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำในองค์กรของตัวเองรวมทั้งจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา

         คุณลักษณะเฉพาะตัวของดิฉันคือ

         ๑.  ยึดหลักคุณธรรม และความซื่อสัตย์

         ๒. มีความมั่นใจในตัวเอง

         ๓. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

        ๔. มีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานที่ดี

      ด้านทักษะ

         ๑. คิดใหม่ทำใหม่อยู่เสมอ

         ๒. พัฒนาตัวเองโดยเข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่หน่วยงานเปิดอบรม

       จุดอ่อน

        เป็นคนที่เกรงใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่นมากเกินไปบางครั้งก็เป็นจุดอ่อนให้

กับตัวเอง

 

โดย  นางวีรยาพร  อาลัยพร  รหัส  50038010036  เลขที่ 36  รปม. รุ่น 4

 

ข้อ 1  ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ จากการฟังเทปสัมภาษณ์  (ช่วงคิดเพื่อก้าว)

                                จากการฟังเทปสัมภาษณ์  ดิฉันเห็นด้วยกับทั้งสองท่านที่ว่า คนคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับคน หรือทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรมีอยู่นั่นเอง  คนจึงต้องมีการพัฒนาตนเองได้ทันต่อกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือโลกาภิวัฒน์อยู่เสมอ ด้วยการเรียนรู้เพื่อหาองค์ความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา  และจากการฟังเทปและจากการอ่านหนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน ทำให้เห็นความเหมือนและความแตกต่างของทั้งสองท่านคือ     ความเหมือน   1.  ทั้งสองท่านมีพื้นฐานครอบครัวที่เหมือนกัน คือ มีความอบอุ่นทางครอบครัวและได้รับองค์ความรู้อยู่เสมอจากคุณพ่อและครอบครัวที่คอยดูแลเอาใจใส่    2. ทั้งสองท่านพัฒนาองค์ความรู้อยู่เสมอ และนำไปถ่ายทอดและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีโอกาสมีความรู้อยู่ตลอดเวลา  3. มีความมั่นใจในตนเอง  4. รักการอ่านหนังสือเพื่อใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา 5. ทำงานด้วยความสุขและรักในงานที่ทำ

ความแตกต่าง  1. ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษนย์อย่างแท้จริง  โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แก่บุคคลทุกกลุ่มทุกวัย โดยจะเห็นได้จากเวลามีคนกล่าวถึงท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์   คนที่อยู่ในองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางด้านเอกชน หรือภาคราชการ  จะรู้จักท่านดี  แต่ท่านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จะมุ่งเน้นให้ความรู้และพัฒนาในรูปขององค์กร และเมื่อกล่าวถึงท่านจะมีคนส่วนใหญ่ในภาคราชการจะรู้จักท่าน ส่วนเอกชนมีน้อย

2.  การมีเพศที่แตกต่างกัน  ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  เป็นเพศชาย  แต่ท่านคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  เป็นเพศหญิง  3. ในด้านประสบการณ์ ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ มีมากกว่า ท่านคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ เพราะท่าน ศ.ดร. จิระ  หงส์ลดารมภ์  อยู่ในแวดวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาโดยตลอดไม่ว่าจะทางด้านภาคเอกชน หรือภาคราชการ  3. ท่าน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  จะทำงานเป็นทีมโดยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  จะทำงานในหน่วยงานราชการ  ซึ่งไม่เป็นทีมแต่จะใช้บุคลากรในองค์กรเป็นกลุ่ม ๆ ไป  โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยน้อย

ข้อ 2  ให้บอกคุณลักษณะ ทักษะ ความเป็นผู้นำของนักศึกษา รวมทั้งจุดดีและจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา    1.       ด้านบุคลิกลักษณะ  (Character) เป็นคนชอบเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจใส่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  มีน้ำใจ  มีคุณธรรมและจรรยาบรรณของข้าราชการที่ดี  ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น  ไม่ชอบเอาเปรียบใคร    2.       ด้านทักษะ  มุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้   ชอบได้รับการฝึกฝนอบรมและพัฒนาเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ชอบทำงานเป็นทีม   3.       จุดอ่อน  บางครั้งเป็นคนที่มีอารมณ์ร้อนและโมโหง่ายถ้าใครทำงานไม่ถูกใจและผิดอยู่บ่อย ๆ   บางครั้งเป็นคนที่ตัดสินใจอะไรที่รวดเร็วเกินไป  และค่อนข้างใจอ่อน  เชื่อคนง่าย   บางครั้งไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น   4.       สิ่งที่ต้องพัฒนาตัวเรา  คือ ฝึกการมีเหตุมีผลให้มากขึ้น  ทำใจให้เยือกเย็นพร้อมที่จะรับกับทุกสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ  รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และเปิดใจให้กว้าง  โดยหาข้อมูลในการตัดสินใจก่อนที่จะทำการสรุป

ดังนั้น  สรุปได้ว่า  คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองและฝึกฝนใฝ่หาความรู้ อยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้

                               

 

 

นายชัยรัตน์ พัดทอง นักศึกษารปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

2พลังความคิดชีวิตและงาน
                ทั้งสองท่านคือบุคคลที่เรียกว่า ชายเก่งหญิงกล้า ที่เป็นแนวหน้าของสังคม ในด้านความเหมือนทั้งสองท่านมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนเพื่อให้ประเทศชาติมีการพัฒนาที่ยั่งยืน มิใช่พัฒนาแต่ด้านวัตถุ แต่ต้องเน้นการพัฒนาด้านปัญญาและจริยธรรมด้วย และมีพื้นฐานทางครอบครัวที่อบอุ่น มีการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลาและศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวนำมาพัฒนาคนและตนอยู่เสมอ เป็นนักเรียนนอกที่ไปศึกษาวัฒนธรรมแนวคิดจากประเทศที่เจริญว่าเขาคิดอ่านประการใด แบบคำคมของซุนวูที่กล่าวไว้ว่า
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทย ส่วนในเรื่องความแตกต่างนั้น อาจจะแตกต่างด้านเพศ วัยวุฒิ และประสบการณ์ ตัวกระผมมองว่า ท่านอาจารย์จีระจะได้เปรียบเพราะว่า มีประสบการณ์ในการพัฒนาคนที่เป็นวงจรที่กว้างกว่ากล่าวคือ ด้านเครือข่าย สายการศึกษา เพราะได้อบรมลูกศิษย์ลูกหาหลายสาขาอาชีพ สั่งสมความรู้ประสบการณ์ และกระโดดออกนอกกรอบมากกว่า แม้ในด้านทฤษฎีก็จะมีทฤษฎีที่ครอบคลุมและกว้างกว่า ในบางประเด็น ซึ่งจะเห็นได้จาก ทฤษฎีที่แตกต่าง ข้อที่ว่า Health และ Digital Capital จะเห็นได้ว่าคุณหญิงทิพาวดี จะให้ความสำคัญกับสุขภาพ แต่อาจารย์จีระจะเน้นไอที เพราะว่าในเรื่องสุขภาพนั้น อาจารย์จีระได้มองเห็น และรวบยอดไว้กับ ทุนมนุษย์แล้ว ซึ่งเห็นจากบทความในหนังสือตอนหนึ่งที่กล่าวว่า ถ้าคุณหญิงจะเพิ่มทฤษฎีเข้าไป อีกทฤษฎีหนึ่ง ก็คงเป็นทุนของ High Technology ซึ่งจะสอดคล้องกับของท่านอาจารย์จีระ นั่นแสดงถึงการครอบคลุมและรอบคอบในด้านความคิด อาจจะเป็นเพราะการเป็นผู้นำข้อหนึ่งตามหลัก 5 E’s  ของภาวะผู้นำ ที่เกี่ยวกับ ประสบการณ์ (Experience) และ การศึกษาอบรม (Education) จะพูดให้ตรงประเด็นก็คือ มีชั่วโมงบินที่มากว่า นั่นเอง..
-------------------------------------------------------------

                2. จุดเด่นจุดด้อย ของภาวะผู้นำ ตัวกระผมนั้นรู้ถึงความมีจุดเด่นจุดด้อยของตัวเองดังนี้

 จุดเด่น  

- เป็นคนที่กล้าตัดสินใจ มีความมั่นใจในตัวเอง

- เป็นคนเป็นกันเอง และเป็นมิตรกับทุกคน

- อดทนต่อสภาพกดดัน มีขันติ

- ยึดหลักคุณธรรม ความซื่อสัตย์

จุดด้อย

                - เป็นคนขาดความรอบคอบ อันเนื่องมาจากความมั่นใจในตัวเองเกินไป

                - ขาดแรงจูงใจที่จะทำอะไรให้สำเร็จ บางทีทำเพื่อให้ผ่านไป

                - บางทีมีมุมมองที่แคบ

                อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้หลังจากที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์ตัวกระผม ก็ได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น และเกิดแรงจูงใจมากขึ้น ในอันที่จะพัฒนาตัวเองให้ดี และให้มีศักยภาพเพื่อที่จะเป็นบุคคลหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติต่อไป ขอบคุณครับ

นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขาการปกครองท้องถิ่น

  จากที่ให้ชมวีดีทัศน์สนทนาระหว่าท่านอาจารย์ ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  แล้วมาวิจารณ์ถึงความเหมือนและความแตดต่างของบุคคลทั้ง 2 ท่านว่าเป็นอย่างไร

  ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าผู้เขียนเองขอเขียนในเรื่องของความเหมือนก่อนซึ่งเป็นลักษณะที่จะเห็นได้ชัดเจนจากการได้ฟังท่านสนทนากันซึ่งเป็นความเหมือนที่อยู่บนความแตกต่างกัน ที่ว่าแตกต่างนั้นก็คือท่านมีความแตกต่างกันทางด้านเพศนั่นเองคือท่านอาจารย์ดร.จิระ เป็นผู้ชาย คุณหญิงทิพาวดี เป็นผูหญิงนั่นเอง

  ส่วนความเหมือนที่ว่านั้นก็คือบุคคลทั้งสองเกิดในครอบครัวที่พ่อแม่มีความรักและความเอาใจใส่ทั้งคู่มีการอบรมสั่งสอนให้ท่านเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ กตัญญู กล้าแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมาเป็นคนที่ไม่อ้อมค้อมมีความรู้สึกอย่างไรก็แสดงออกไปอย่างจริงจังจริงใจ เป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลาหรือจะเรียกได้ว่าใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิตก็ว่าได้ เป็นอาจารย์ผู้ที่สมควรเป็นแบบอย่างที่มีต่อสังคม เห็นสิ่งใดดีก็ชมว่าดี สิ่งใดที่ไม่ดีก็บอกว่าไม่ดีไม่เป็นบุคคลที่หน้าไหว้หลังหลอก คือ กล้าวิจารณ์แบบตรงไปตรงมาไม่ได้ชมคนอื่นเพื่อเอาตัวรอด

  อาจารย์ ดร.จิระ และ คุณหญิงทิพาวดี ทั้งสองท่านนี้น่าที่จะได้เป็นครูอาจารย์ที่สอนลูกศิษย์ให้มากกว่านี้เพราะสังคมไทยเราจะได้ดีขึ้นเนื่องจากว่าท่านเป็นแบบอย่างที่ดีหรือแม่พิมพ์ที่ดีนั่นเอง ไม่ต้องตามท่านถึงร้อยเปอร์เซนต์ แค่ปฎิบัติแบบอย่างท่านสัก ห้าสิบเปอร์เซนต์ สังคมก็อยู่ดีมีสุขแล้ว

  ส่วนข้อแตกต่างอื่นๆนั้นผู้เขียนไม่กล้าวิจารณ์เนื่องจากไม่ได้สัมผัสเป็นการส่วนตัวกับคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ เพียงแต่ได้พบทางวีดีทัศน์จึงไม่กล้าวิจารณ์ใดๆลงไปอันเป็นการนั่งเขียนหนังสืออันจะเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ผิดวิสัยเกินไป

  ส่วนในเรื่องทักษะและบุคลิก ลักษณะของข้าพเจ้านั้นข้าพเจ้าเป็นคนทำงานไม่ชอบการประจบสอพลอเห็นสิ่งใดถูกผิดก็จะว่าไปตามตรงไม่ชอบให้ใครคอยมาเอาใจและเกลียดการเอาเปรียบคนอื่นอย่างมากๆในเรื่องของจิตใจก็มีคนเคยมาบอกว่าข้าพเจ้าเป็นคนใจร้อน ซึ่งก็อาจเป็นบ้างเพราะเป็นคนที่ชอบตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ชอบการศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาและรักการอ่านเสมอ

 

นายโสภณ สังข์แป้น รหัส 50038010007 รปม.4

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

          การวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมถ์ กับคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ หลังจากที่ได้ชมวีดิทัศน์การสนทนาที่อาจารย์นำมาให้ชมแล้ว มีข้อวิเคราะห์ ดังนี้

            จากการได้อ่านหนังสือและชมเทปรายการสองพลังความคิดชีวิตและงานของท่านอาจารย์ทั้งสองยากที่จะวิจารณ์เพราะบทสรุปแนวความคิดของท่านทั้งสองมีประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ของเมืองไทยเป็นอย่างมาก  ประสบการณ์ของท่านทั้งสองอาจแตกต่างกันเพราะอยู่คนละมุมของหน้าที่ภาระการงาน

ท่านอาจารย์จีระฯ มีประสบการณ์เคยทำงานในภาคราชการและภาคเอกชนความหลากหลายของท่าล้นเหลือในเชิงวิชาการ  ท่านอาจารย์เป็นผู้นำแบบ “TRUST” เพราะมีผลงานต่อเนื่องเป็นศาสตราจารย์ทางด้านการบริหารด้าทรัพยากรมนุษย์หรือผู้รู้จริงสามารถถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ  ท่านเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา

เหมือนว่าจะแข่งกับโลกที่ไม่เคยหยุดหมุน ทฤษฎีทุน 8 ประเภทของท่าน “ 8K’S ”  ครอบคลุมครบถ้วนของการจะพัฒนาทรัพยากรมนุษ์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

                ท่านอาจารย์คุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์ ท่านมีประสบการณ์การดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างของสังคมไทย ความรู้เริ่มต้นที่บ้านความรักความอบอุ่นของคนภายในครบครัว  เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างคนดีในสังคม  ท่านมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาทฤษฎี “ 8H’S ” ของท่านสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญได้อย่างลึกซึ้ง มีความเหมือนที่แตกต่างกับทฤษฎี “ 8K’S ” ของท่านอาจาร์จีระ  ท่านอาจารย์คุณหญิงทิพาวดีมีลักษณะผู้นำแบบ Authority คือมีความรู้ความสามารถมีตำแหน่งทางกฎหมาย ท่านมีความมั่นใจมีความคิดเป็นของตนเองไม่แพ้ผู้ชายอกสามศอก  ท่านสอนให้รู้ว่าความสำเรจจะเกิดขึ้นได้ตัวเราเองต้องรู้จักหน้าที่ที่ทำ  ทำอะไรก็ต้องตั้งใจทำ ต้องมีเป้าหมายของอาชีพ จึงจะประสบความสำเร็จ

โดยสรุปแนวความคิดของท่านอาจารย์ทั้งสองต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1.คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา

2.การเป็นคนดีมีคุณภาพเริ่มต้นที่ความรักความอบอุนของครอบครัว

3.สังคมแห่งการเรียนรู้เริ่มต้นจากการคิด การฝัน ความมั่นใจและทำบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้เต็มความสามารถ

4.ต้องมีความมั่นใจภูมิใจรักต่ออาชีพและรู้กติกาของสังคม

                ข้อที่ 2 Character และทักษะ ( Skill ) ที่มีอยู่และยังต้องหามาเติมเต็มในตัวของข้าพเจ้า

Character  ส่วนตัวไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์หาความจริงให้ปรากฏ และเชื่อว่าสังคมจะดีได้เริ่มต้นที่ตัวเราก่อน ครอบครัวและต่อยอดไปสู่คนอื่น

 

ทักษะ(skill) ชอบคิดงานใหม่ๆชอบนอกกรอบเดิมๆที่ช้าล้าสมัย กล้านำเสนอความคิด ยอมรับการเปรี่ยนแปลง มีความรู้และเป็นนายช่างที่ดีของกรมทางหลวง

 สิ่งที่ต้องแก้ไขโดยด่วน (นิสัยเดิม)ส่งงานของอาจารย์ช้ากว่าคนอื่น

วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จีระ กับคุณหญิงทิพาวดี

ความเหมือน  1.ทั้งสองท่านมีพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวที่อบอุ่นมีพร้อมทุกอย่าง และพัฒนาพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา  รักในการเรียนรู้   

                  2.  เป็นผู้นำทางด้านทรัพยากรมนุษย์ คือทั้งสองท่านให้ความสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนา "คน"  ซึ่งถือว่าคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดขององค์กร องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับคน จะเน้นทฤษฏี ๘ H's โดยคุณหญิงทิพาวดี และทฤษฏี ๘ K's ของ ศ.ดร.จีระ  ซึ่งประกอบไปด้วย

ทุนรากฐานของชีวิต (Heritage)  เพราะทุนมรดกวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างค่านิยมให้ถูกต้อง ซึ่งไปตรงกับทฤษฏีทุนแห่งความยั่งยืน 

ทุนสมอง (Head) การมีความคิด มีความรู้และต้องมีสติเพราะคนเราทุกคนจะเพิ่มคุณค่าในตัวเองได้ต้องรู้จักใช้สมองซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางปัญญา

ทุนมืออาชีพ (Hand) ความเป็นมืออาชีพนั้น เป็นความสามารถในงานที่เราทำได้ในทุกๆอาชีพ 

ทุนเป็นคนจิตใจที่ดี (Heart)  เป็นทุนที่มีทัศนคติในเชิงบวก คือมี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ซึ่งตรงกับทฤษฎีทุนทางคุณธรรมและจริยธรรมของ ศ.ดร.จีระ 

ทุนสุขภาพ (Health) ตรงกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนพื้นฐานทางสุขภาพที่ดี  คนเรานั้นถือว่าสุขภาพคือทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ทุนบ้านและครอบครัว (Home) การที่คนเรามีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทุนมนุษย์ เพราะทุนมนุษย์ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียน 

ทุนการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข (Happiness)  โดยการแบ่งปันเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ทุกคนมีความสุข และสอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's คือทุนแห่งความสุข 

ทุนความปรองดอง สมานฉันท์ (Harmony)  คือทุุกคนทุกระดับใช้หลักสัปปุริสธรรม คือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชมชน สอดคล้องกับทฤษฎี ๘ K's  คือทุนทางสังคม

จากทฤษฎีดังกล่าวสามาราถนำไปปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตทุกๆวัน เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศ

ความเหมือนที่แตกต่าง  ศ.ดร.จีระ จะเน้นความสำคัญของทุนทางเทคโนโลยีเพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลก  ท่านจะมีทีมงานที่เข้มแข็งในการบรรยายให้ความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน  ส่วนคุณหญิงทิพาวดียังขาดทีมงานและการสื่อสารด้านเทคโนโลยี มุ่งพัฒนาบุคลากรในองค์กรเฉพาะกลุ่มที่ท่านดูแลและรับผิดชอบ

        ข้อที่ 2 ลักษะเด่น และจุดอ่นที่ต้องพัฒนา 

     
   จุดเด่น  1.  ยึดหลักคุณธรรม ซื่อสัตย์ 
              2.  เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา
              3.  ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่และต้องทำให้ดีที่สุด
              4.  ทำงานอย่างมีสมอง


      

   จุดอ่อน  1.ลังเลไม่กล้าตัดสินใจ
               2.ในการทำงานยังมีข้อผิดพลาดอยู่บ้างและยังไม่มีความเป็นผู้นำเท่าที่ควร                                      

 

   

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

ข้อ 1 จากการศึกษาหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงานเพื่อวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ กับ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ผู้เขียนเห็นว่าทั้ง 2 ท่าน ได้ให้ความสำคัญกับ "คน" เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดองค์กรจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน มิใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี ในที่นี้ผู้เขียนขอให้ความสำคัญกับการพัฒนาและบริหารคือผู้นำเพราะองค์กรต้องขับเคลื่อนด้วยผู้นำ ซึ่งทั้งท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์กับคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ส่วนความแตกต่างที่ผู้เขียนมองและถือเป็นจุดเด่นคือท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์มีการทำงานเป็นทีมส่วนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จะทำงานอยู่ในวงราชการเสียเป็นส่วนใหญ๋

ข้อ 2 ให้บอกคุณลักษณะทักษะความเป็นผู้นำของตนเองรวมทั้งจุดอ่อนที่ต้องพัฒนา 1 ด้านบุคลิกลักษณะ เป็นคนรักความยุติธรรม ไม่ชอบเอาเปรียบใคร อ่อนน้อมถ่อมตน สามารถควบคุมความหุนหันพลันแล่นและความรู้สึกเฉพาะหน้ารวมทั้งแรงกระตุ้นอารมณ์จากภายนอก 2 ด้านทักษะ มีความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ไม่หยุดนิ่ง มีทิศทางทางความคิดเป็นของตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่ทำ 3 จุดอ่อน จริงจังกับงานบางอย่างที่ตนเองให้ความสำคัญมากเกินไปจนบางครั้งเกิดผลเสียหรือผลกระทบต่องานด้านอื่นๆ รวมถึงสุขภาพของตนเองด้วย

ทัศนาศึกษา ณ เกาะล้าน..
      และแล้วก็เป็นอีกวันแห่งการก้าวสู่โลกกว้างของข้าพเจ้าที่ได้โอกาสเปิดหูเปิดตา เรียนรู้กับความเป็นจริง..ก่อนวันอันเฝ้ารอคอยจะมาถึงข้าพเจ้าตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูกเหมือนเด็กที่ได้รู้ว่าจะได้ของเล่นใหม่ ๆ ที่แสนจะถูกใจ ถึงกับนอนไม่หลับ (นอนตี 2 ตื่นตี 5 ดูนาฬิกา แล้วก็นอนต่อ..) และตื่นเป็นพัก ๆ จนจวบถึงเวลาก็เดินทางสู่จุดนัดหมาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรถยนต์ส่วนตัวพร้อมพลขับส่วนตัวที่สามารถเปลี่ยนได้ตลอดตามชอบใจ (แท็กซี่)
      เมื่อถึงจุดนัดพบ ต่างคนก็จับที่นอนจองที่เม้าส์ แต่เราถืออภิสิทธิ์ชน มั่นใจในศักยภาพ ไม่ต้องแย่งที่นั่งกะใคร เพราะมันใจ (ยังไงก็ได้นั่งหน้า) ถึงเวลาพร้อมสรรพ ล้อแห่งการเรียนรู้ ขบวนการแห่งการแสวงหาก็ได้มุ่งหน้าเพื่อไปสู่จุดหมาย ตลอดเวลาที่รถวิ่งข้าพเจ้ามิกล้าที่จะหลับตาหลับอันเนื่องจากสภาพการกระหายที่จะเรียนรู้หรืออาจจะเป็นเพราะเสียงเจี๊ยวจ๊าวกระตู้ฮู้ก็มิทราบได้ รอบทางมีสิ่งให้เรียนรู้ ได้เปิดโลกทัศน์ตลอดทาง จนถึงจุดพักรับประทานอาหารระหว่างทางก็ได้รับลาภปากจากท่านผู้หนึ่ง ซึ่งมารู้ภายหลังคืออาจารย์ยม เป็นเจ้ามือถวายภัตตาหาร ขออนูโมทนา มา ณ โอกาสนี้ หลังจากปฏิบัติภัตกิจเสร็จ ทุกคนพร้อมกันที่รถ พร้อมที่จะมุ่งหน้าสู่จุดหมายอย่างจริงจัง
      ณ จุดนัดพบเพื่อจะข้ามไปสู่เกาะล้าน อาจารย์ได้มาคอยให้การต้อนรับแล้ว และได้พาเที่ยวชมร้านขายหนังสือซึ่งมีหนังสือมากมายทั้งภาษาไทยและเทศ เป็นที่ตื่นตาตื่นใจมิใช่น้อย..จากนั้นก็เดินทางด้วยเรือสำราญ ซึ่งบางทีอาจจะนำมาซึ่งการสำรอกของใครบางคนที่แพ้คลื่นบ้างเล็กน้อยถึงปานกลาง ถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ
      เมื่อเจอสภาพของเกาะที่สวยงาม ท้องทะเลสีสวยมองดูช่างคล้ายสีมรกตที่ธรรมชาติบรรจงแต่งแต้มเจียระไน เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอันเลิศ และแล้ว...สายตาของข้าพเจ้าก็ต้องไปสะดุดกับภาพอันทำให้หัวใจดวงน้อย ๆ ตุ้ม ๆ ต่อม ๆ ไปบางในบางลีลา แต่สติมา ยังมิได้เลือนหาย หยั่งเห็นหยั่งลึกแค่เพียงกาย ที่มิวายต้องเน่าเปื่อยเข้าสักวัน ก้มหน้าพิจารณาตามรอยเท้าคุณโยมจุ่น ไปถึงจุดหมายจนได้...ถ้าบรรยายมากไปคงไม่ได้ส่งงานและสรุปเนื้อหาเป็นแน่แท้..เอาเป็นว่า เอวํ..
เนื้อหาที่ได้จากการเรียนรู้นอกสถานที่ พอสรุปเป็นหลักใหญ่ใจความประทับใจดังนี้
      • ได้เปิดโลกทัศน์ การเรียนรู้จากสภาพจริง และสิ่งที่ยังไม่เคยรับรู้ ได้กระโดดออกจากกะลา แม้บางลีลาอาจจะกระดากใจ (กับสถานที่และผู้คนหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม)
      • ได้พบปะผู้มีความรู้ทางทุนมนุษย์ และได้ความรู้จากแนวคิด การตัดสินใจที่เป็นระบบ
      • วิชาที่อาจารย์จีระ ถ่ายทอดให้มิได้สิ้นสุด แต่เป็นแค่ฐานที่จำเป็นสำหรับการต่อยอดและขยายผล
      • รู้ถึงวิถึชีวิต การบริหารงาน การทำงานเลี้ยงชีพของคนในพื้นที่
      • รู้เกร็ดกฎหมาย การทำธุรกรรมของคนไทย หญิงไทยกับคนต่างชาติ
      • ...ฯลฯ... จนมาถึงตอนสุดท้าย รู้ว่า..ตัวเองยังมีชีวิตรอดปลอดภัยจนถึงวัด..

                        ป.ล. ท่านสามารถเข้าชมภาพกิจกรรมบางส่วนเพิ่มเติมได้ที่ http://www.geocities.com/supasins

ญานิสา  เวชโช 50038010013

ความประทับใจที่ได้ไปทัศนศึกษา เกาะล้าน

      อย่างแรกเลย

-       ความเป็นกันเองของ อาจารย์

-       ความใจดี และเป็นห่วงเป็นใย ลูกศิษย์

-       ความเป็น Reality Man

-       ความเป็น GURU ในเรื่องของ HR & HM ของอาจารย์

สุดท้ายแล้ว อาจารย์ สุดยอดมาก ๆ ค่ะ ไม่ต้องมีคำบรรยาย

ดีใจมากค่ะ ที่ได้รู้จักกับอาจารย์ และเป็นลูกศิษย์ ของอาจารย์

อย่างที่สอง

-       คลื่นแรงมากค่ะ นึกว่าจะไม่ได้........แต่ก็สนุกดีค่ะ

-       ตอนนั่งเรื่อไปเกาะล้าน ตอนแรกก็กลัว ตอนกลับ ก็ไม่ต่างกัน

ก็ยังกลัวอยู่ แต่ไม่กล้าออกอาการ

แต่ สุดท้าย ก็ประทับใจ เพราะตั้งแต่เกิดมา จนจำความอะไรหลายๆอย่างได้ ยังไม่เคยรู้สึกเหมือนได้ผจญภัยแบบนี้มาก่อนเลย

 

สิ่งที่ได้รับ

-       ความรู้ใหม่ๆจากผู้รู้ในเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์

-       ได้รับรู้ถึงความแตกต่างของการบริหารจัดการของร้านขายหนังสือ ที่มีความเหมือนกันในเรื่องของการขายหนังสือ แต่กลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงของคุณภาพหนังสือ

-       การแลกเปลี่ยนความคิด ของ บุคคล 3 ท่าน ที่ต่างคนต่างที่มามีความคิดที่แตกต่างกัน แต่สุดท้าย ประเด็นที่สรุป ก็คือ    เรื่องของการบริหาร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 

 

สวัสดี ครับท่านอาจารย์ จีระ  ครับผมอยากจะบอกกับอาจารย์ กับเพื่อนๆ ว่า เมื่อวาน ( 21 ก.พ.2551 ) แสนเสียดายที่ไม่ได้เดินทางร่วมคณะไปศึกษากับเพื่อนๆ มันน้อยใจตัวเองอยู่นะ ที่ไม่สามารถไปได้ เสียดายมาก โดยเฉพาะงานที่เป็นกิจกรรมเช่นนี้ บอกได้คำเดียวว่าเสียดาย  แต่ไม่เป็นไร 24 ก.พ.เจอกันใหม่ ถึงจะไม่ได้ร่วมเดินทางไปด้วยแต่ก็ได้มีโอกาสไปส่งเพื่อนๆ ขึ้นรถที่มหาวิทยาลัย ประทับใจที่เห็นเพื่อนๆ เตรียมตัว ทั้งที่รู้และไม่รู้ ก่อนล่วงหน้าว่า โปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลง บางคนแต่งตัวมา สวยหล่อ พอๆ กัน โดยเฉพาะ หลวงพี่ ที่ 3 รูป สไตล์ การแต่งตัวไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงรักเดียวใจเดียว มิมีเปลี่ยนแปลง หลายคนตื่นแต่เช้าเพื่อที่จะเดินสู่ชลบุรี หลายคนตื่นก่อนเวลาที่เคยตื่น เห็นได้ว่า เริ่มมีความรับผิดชอบตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะ สาวสวยจาก กลุ่ม 5 มาพร้อมหน้าพร้อมตา ขาเพียงคนเดียวที่ไม่สามารถได้เดินไปร่วมด้วย  แต่ไม่เป็นไร ให้กำลังใจ ตั้งแต่เริ่มออกเดินทาง ระทับใจ ดีใจกับเพื่อนๆ ที่ร่วมกันเดินทางไปในครั้งนี้ จุดหมายคือ เกาะล้าน  และจุดหมายที่ต้องการคือ การเรียนรู้ การศึกษาวัฒนธรรม บริบท ของชมชุน ชาวเกาะล้าน  อีกทั้งศึกษาการเรียนรู้ ความเป็นมืออาชีพของอาจารย์ ในเรื่องบริหารทรัพยากรมนุษย์  ที่จะต้องนำเอาวิเคราะห์เจาะลึก และตกผลึก มาสู่การเรียนรู้ของแล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                13.00  น.  ที่สถาบันประสาทวิทยา คุณ ฉลอง  คุณเคยผ่าตัดอะไรมั๊ย ? คำแรกที่ได้ยินมาจากคุณหมอ  ไม่ครับ ในชีวิต ผมไม่เคยผ่าตัดอะไรเลย  ครับ วันนี้เป็นวันที่คุณหมอ นัดให้มาฉายแสงด้วยเคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า( MRI )   สืบเนื่องมาจาก หมอ วินิจฉัยว่าผม เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  ตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นมา เดินเข้าออกสถาบันประสาท เป็นว่าเล่น เพื่อมารักษาตัวเอง มันปวด ทรมานร่างกาย โดยเฉพาะขา มันปวดมาก  นี่แหละ ที่ไม่สามารถร่วมเดินทางไปได้  พยายามที่โทรข้อเลื่อนนัดแล้ว แต่มันทำไม่ได้ มันต้องเลื่อนไปอีกไกล  เพื่อนๆ อย่าลืม ไปเยี่ยมแล้วกัน 4 มีนา นี้ จะขึ้นเขียงแล้ว  เอาเป็นว่า ขอจบความประทับใจ บวกกับ ความเสียดาย เอาไว้แค่นี้ก่อนเจอกันวันเสาร์นี้ อ้อ อย่าลือ อ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้า วันเสาร์นะครับ และ  อย่าลืม ไปเลือกตั้ง สว.ล่วงหน้าก่อนละ  บ๊ายบาย ..

  ควมประทับใจในการไปทัศนศึกษา ณ เกาะล้าน

- ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยสัมผัสเหมือนเปิดโลกกว้างให้กับตัวเอง

- ศ.ดร.จีระฯ หรืออาจารย์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถจริงๆ หาใครเปรียบได้ยาก และยังสามารถเชิญผู้ที่มีความรู้ (บุคคลต่างๆ) มาให้ความรู้กับพวกเรา

- ได้รู้จักวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่

- การบริหารการจัดการกับร้านหนังสือซึ่งน่าสนใจมาก

สรุป

ข้าพเจ้ารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ และอาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้ ที่สำคัญอาจารย์ไม่เคยรังเกียจสถาบันเล็กๆ ของพวกเรา อาจารย์ยังสอนให้พวกเราเก่ง เพื่อให้สถาบันอื่นรู้ว่า เรามีความรู้ความสามารถไม่แพ้กัน เราต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอและเรียนรู้จากการศึกษาจากโลกภายนอกและความเป็นจริงไม่ใช่ท่องตำรา หนังสือ แล้วสอบ

ขอขอบคุณ อาจารย์ และคณะทำงานของอาจารย์ ทุกคนค่ะ

นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจาการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2551

ความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

1. ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์

2. ได้รับประโยชน์มากจาการได้เข้าไปชมร้านหนังสือ ซึ่งมีหนังสือหลากหลายแบบมากมาย

3. ได้รับถึงประวัติและความเป็นมาของเมืองพัทยา

4. ได้รับความรู้จากพี่ๆทั้ง 3 ท่าน ที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อคิดที่ดีแก่พวกเรา

สิ่งที่ประทับใจจาการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

การไปครั้งนี้มีสิ่งที่ประทับใจหลายอย่างมากมายและคงจะอยู่ในความทรงจำตลอดไป

1. ประทับมากๆ คือ อาจารย์จีระ ท่านน่ารักมากเป็นกันเอง และคอยดูแล ห่วงใยพวกเราตลอดเวลา

2. ประทับใจบรรยากาศคลื่นทะเลและน้ำทะเลที่ใสมาก เป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก

3. ประทับใจอาหารทะเลที่สดและแสนอร่อยมาก

4. ประทับใจ เพื่อนๆ ชาว รปม. รุ่นที่ 4 ที่คอยช่วยเหลือ ห่วงใยดูแลกันและกันตลอด

5. ประทับใจเรือและคลื่นทะเล ที่คลื่นซัดแรงมาก น่าหวาดเสียว แต่ก็สนุกดี เหมือนเล่นเครื่องเล่นที่สวนสนุกเลย น่าตื่นเต้น

                มีเพียงอุปสรรคเล็กน้อยที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ใช่ปัญหา คือ วันที่พวกเราไป เกิดมีคลื่นลมพายุพอดี ทำให้การเดินทาง ทางเรือเพื่อจะข้ามไปยังเกาะ ลำบากนิดหน่อย แต่พวกเราก็ฝ่าฟันไปได้ด้วยดี เป็นการเดินทางที่สนุก มากๆ

อยากให้อาจารย์ จีระ จัดกิจกรรมไปอย่างนี้อีก ก็คงดีมากเลยค่ะ

 

นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์
ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ จากหนังสือเรื่อง 2 พลังความคิดชีวิตและงาน โดยชมวีดีทัศน์ ความเหมือน - ทั้งสองท่านมีพื้นฐานของครอบครัวที่อบอุ่น - ทั้ง 2 ท่าน ให้ความสำคัญกับ "คน" เพราะเชื่อว่า ทรัพยากรณ์มนุษย์มีความสำคัญต่อองค์การเป็นอย่างมาก องค์การจะประสบความสำเร็จหรือล้มหลวก็ขึ้นอยู่กับทรัพยากรณ์มนุษย์ภายในองค์กร - ทั้ง 2 ท่าน มีความสนใจและมีความต้องการที่จะพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงหน้าที่และบทบาท - พัฒนาทรัพยากรณ์มนษย์ ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากสถาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถแข่งขันได้นำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย - การยอมรับตนเอง ภูมิใจในตนเอง รู้จักตนเอง ว่าตนเองเป็นใคร มาจากไหน ไม่ลืมตัวหรือหลงตัว อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่เพ้อฝัน (รากเหง้า) - คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ มีทฤษฎีนักบริหาร 8H's เป็นรากฐานของชีวิตมนุษย์ - ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ มีทฤษฎี 8K's การเพิมคุณค่าในตัวมนุษย์ - ทั้งสองทฤษฎีมีความสอดคล้องกัน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน สามารถผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ความแตกต่าง - ความแตกต่างในเรื่องของเพศ - มีลักษณะการทำงาน และสถานที่ทำงานที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเรื่องเดี่ยวกัน คือ เรื่องของทรัพยากรณ์มนุษย์ - ประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน ข้อ 2. ให้บอก Character ของตนเอง พร้อมทั้งให้บอกจุดแข็ง และจุดอ่อน ทักษะที่ไม่มี และควรจะมี โดยพอสรุปได้ดังนี้ Character จุดแข็ง - มีความเชื่อมั่นในตนเอง จุดอ่อน - ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ทักษะที่ไม่มีและควรมี - ภาวะผู้นำ
สุรภัทร ปานทอง รปม.รุ่นที่ 4

สิ่งที่ได้รับจากการไปเปิดโลกทรรศน์ ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาความคิดสู่ความเป็นเลิศ ไม่ใช่การพัฒนาแค่เพียงวินาทีเดียว   หากต้องสะสมความเป็นนักคิด  นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป็นเวลานานพอสมควร  จนกระทั่ง  ศ.ดร.จีระ   ได้พานักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตไปเปิดโลกทรรศน์ ณ เกาะล้าน     ได้เห็นความมุ่งมั่นและความตั้งใจของท่านอาจารย์ ที่จะให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (รปม.รุ่น 4)ให้เป็นเลิศในด้านความคิดและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  โดยที่ท่านเป็นผู้นำหลักทฤษฏี  8k’sมาใช้ในการพัฒนา  จนถึงวันที่  21  กุมภาพันธ์  2551  อาจกล่าวได้ว่าท่านอาจารย์ได้นำหลักทฤษฏีที่กล่าวมานั่นมาใช้ได้อย่างครบถ้วน

ขอเรียนให้ทราบ(อย่างไม่อายเลยว่า)หากอาจารย์ไม่มีโครงการนำนักศึกษาไป เกาะล้าน ลำพังตัวกระผมเองคงไม่มีโอกาสได้ไป(เกาะล้าน)ในชีวิตนี้        นับได้ว่าเป็นความกรุณาอย่างสูง

จะจดจำคำบรรยาย(สั่งสอน)ของท่านอาจารย์ ดร.จีระ และคณะทุกท่าน เพื่อจะนำไปแก้ไข  ปรับปรุง และพัฒนาตนเองและผู้อื่นเพื่อให้สู่ความเป็นเลิศแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โป๊ะเชะ

นางสาวศศินี โพธิ์ทอง

 

  1. สิ่งที่ประทับใจ คือ

    หนูประทับใจมากที่ได้ไปดูหนังสือ ซึ่งหนูคิดว่ามันเป็นหนังสือที่มากด้วยความรู้ความสามารถมากมาย ทำให้เราสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และได้มีโอกาสพบกับบุคคลที่มากด้วยความรู้ความสามารถ และประสบการณ์มาก มาแนะนำประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และการทำงานของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  2. ได้อะไรกลับมาบ้าง

    ทำให้เรารู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญา มีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ตัวเองทำ เพื่อที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ

 

 

  1. สิ่งที่ประทับใจ คือ

    หนูประทับใจที่สุด คือ อาจารย์ให้ความสำคัญกับพวกเราชาว MPA รุ่นที่ 4 มาก และเป็นกันเองกับพวกเราได้ให้ความรู้และแนะนำสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ของท่านเอง เพื่ออยากให้เราประสบความสำเร็จ พาพวกเราไปดูหนังสือ ซึ่งเป็นหนังสือที่มากด้วยความรู้ จากนั้นก็ประทับใจมากที่ได้นั่งเรือไปกับเพื่อนๆ พี่ๆ ชาวMPA รุ่นที่ 4 ทุกคน ทำให้เราได้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น และได้มีโอกาสรู้จักกับบุคคลที่มากไปด้วยความรู้ความสามารถ ได้มาแนะนำให้เรารู้จักการใช้ชีวิตประจำวันและ ตำแหน่งหน้าที่การงานได้อย่างมั่นคง และประสบความสำเร็จ

  2. ได้อะไรกลับมาบ้าง

    ได้แนวคิดใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบ รู้จักคิด รู้จักใช้สติปัญญาในทางที่ถูกต้อง ได้ประโยชน์จากการชมหนังสือซึ่งมีหนังสือให้ได้ดูมากมาย รู้ประวัติและความเป็นมาของเมืองพัทยา ได้รับความรู้ใหม่ๆในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๓๕
เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ และสวัสดีเพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ ๔ ทุกท่าน จากการไปศึกษาดูงานนักศึกษาได้อะไร และประทับใจอะไรบ้าง นั้น ดิฉัน นางอนงค์ มะลิวรรณ์ นักศึกษา รปม.รุ่นที่ ๔ ขอรายงานให้ทุกท่านได้ทราบว่าวินาทีแรกที่รู้ว่าจะได้เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี รู้สึกงง ๆเหมือนกับว่า เอ๊ะ..อ๊ะ.. เกาะล้านมีอะไรที่ต้องศึกษาดูงาน เพราะปกติแล้วสมัยที่เรียน ป.ตรี รปศ.อาจารย์จะพาไปดูงานตามหน่วยงาน อบต. เทศบาล หน่วยงานทางราชการ การปกครองส่วนท้องถิ่่น ฯลฯ แต่พอเรียนป.โท จะต้องไปศึกษาดูงานตามเกาะ แต่พอได้ไปมาแล้วรู้สึกยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ ตอนเช้าของวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ขณะที่กำลังหลับอยู่ได้ยินเสียงโทรศัพท์มือถือดังขึ้น พร้อมกับได้รับสายโทรศัพท์ที่ดังเข้ามาในหู คิดในใจว่าใครนะโทรมาแต่เช้ามืด แต่พอได้ยินเสียงที่ได้เป็นคุณอรุณ เลยถามกลับไปว่านี้มันกี่โมงแล้วลุง ลุงอรุณก็ตอบกลับมาว่านี้มัน ๖ โมงเข้าแล้วนะยังไม่ไปดูเพื่อน ๆ อีกหรือ เอ้าขอโทษนอนเพลินไปหน่อย .. ก็มันตื่นเต้นนอนไม่หลับที่จะได้ไปศึกษาดูงาน นอนหลับก็ตอนประมาณ ต๊ ๓ แล้ว จากนั้นก็รีบอาบน้ำแต่งตัวเดินทางออกจากบ้านพักเพื่อเดินทางไปยังจุดนัดหมายคือลานจอดรถหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์ ระหว่างทางได้แวะเดินเข้าไปสักการะอนุสาวรีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ก่อนไปถึงจุดนัดหมาย หลังจากนั้นเวลา ๐๗.๐๐ น. ได้เดินทางออกจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรถบัสของมหาวิทยาลัยมีเพื่อน ๆ และอาจารย์ยมนั่งไปด้วยเต็มพอดี ระหว่างทางจะได้ยินแต่เสียงคนที่มีอายุรุ่นไม่อยากแก่คุยกัน (กลุ่ม ๖ )คงจะทราบนะคะว่ามีใครบ้าง เรื่องในวงสนทนาก็มีทุกเรื่องก็ตามประสาคนที่มีอายุมาก เลยมีเรื่องคุยมาก คุยจนทำให้เด็กหลับกันหมดเลย เดินทางถึงจุดพักรถบนถนนสายมอเตอร์เวย์-ชลบุรี ได้แวะรับประทานอาหารเช้า และเติมน้ำมันที่ปั้ม ปตท. จากนั้นได้เดินทางถึงบริเวณศูนย์การค้ารอยัลการ์เด้น พัทยากลาง เวลา ๐๙.๑๕ น. หลังจากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ได้พาขึ้นไปชมร้านจำหน่ายหนังสือทั่วไป ซึ่งอยู่บนชั้นที่ ๒ ของห้างฯ ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ หนังสือที่เป็นภาษาไทยก็มีส่วนน้อยมาก การจัดร้านหนังสือเป็นการจัดการบริหารได้ดีมากจัดเป็นหมวด เป็นหมู่ ดูแล้วน่าอ่านแต่ไม่มีเวลา เพราะมีเวลาน้อยไป จนถึงเวลา ๑๑.๑๐ น. ได้เดินทางไปยังท่าเรือโดยสาร C เพื่อนั่งเรือต่อไปยังเกาะล้าน ก่อนจะถึงท่าเรือจะมีคุณพยาบาล (คุณลาวัลย์) ส่งเสียงแจ๊ว ๆ ว่า รับยาแก้เมาเรือไหมค๊ะ ดิฉันก็ได้คิดในใจนะคะว่า นั่งเรือไปแค่นี้ก็คงไม่ถึงกับเมาหรอก ตอนแรกคิดว่าไม่ขอรับยาแล้ว แต่พอคุณลาวัลย์ถามย้ำเป็นครั้งที่ ๒ เลยต้องรีบรับยามาทาน หลังจากนั้นได้เดินทางขึ้นเรือ แรก ๆ ก็คิดว่าอากาศดีนะมีลมพัดเย็นสบาย มีคลื่นซัดกระทบกับเรือจนบางครั้งก็คิดกลัวเหมือนกันเนื่องจากคลื่นแต่ละลูกที่มารุนแรงมาก ขณะที่นั่งอยู่บนเรือในตุ๊ม ๆ ตุ่ม ในใจคิดว่าจะรอดไหมนี่.. พอนั่งไปสักพักรู้สึกว่าจะมีอาการคลื่นไส้ จะอาเจียนเนื่องจากเมาคลื่นแล้ว นั่งภาวนาขอให้ถึงฝั่งเร็ว ๆ ขณะนั้นก็มองไปที่คุณณรงค์ (ป้อม) เขาก็คงคิดเหมือนกับดิฉันคือกลัวที่เห็นคลื่นมันมาแรง เวลาคลื่นกระทบกับเรือแรง ๆ จะทำให้น้ำไหลทะลักเข้ามาในเรือ ดูท่าทางเขาจะเครียดมากบ่นคิดถึงแต่ทางบ้าน แต่พอเดินทางถึงเกาะล้านแล้วรู้สึกว่าดีัใจมาก.. และเพราะความหิวได้รับประทานอาหารที่ร้านจัดหาไว้ให้โดยไม่บันยะบันยัง..พอรับประทานอาหารแล้วเสร็จก็คิดว่าจะได้พักผ่อนตามอัตธยาศัยแต่ก็ยังได้ยินเสียงเพื่อนตะโกนบอกว่าอาจารย์จะบรรยายต่อขอให้มาฟังก่อน แหมเสียดายจังเลยคิดว่าจะได้สบายเสียแล้ว หลังจากฟังท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ท่่าน ดร.จิรติ ท่านรองผู้กำกับสภอ.พัทยา และท่านอาจารย์ยม บรรยายแล้ว อาจารย์ได้ให้แลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา ตรงนี้แหละที่ดิฉันได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเมืองพัทยามากขึ้น ซึ่งได้ทราบว่าเมืองพัทยาเป็นเขตปกครองพิเศษ เป็นเทศบาลเมืองพัทยา อยู่ในอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีหากทรายสวยงาม โครงสร้างทางธรรมชาติที่ดี มีทัศนยภาพที่สวยงาม และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ สภาพปัจจุบันนี้เป็นชายหาดที่มีความสวยงามเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีโรงแรมสถานบันเทิงให้บริการตลอดเวลา สภาพปัญหา เป็นแหล่งมั่วสุมในยามคำคืน ยาเสพติด อาชญากรรม อิทธิพลต่าง ๆ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม และที่สำคัญได้ทราบว่าในแต่ละเดือนเทศบาลเมืองพัทยาจะได้รับค่าปรับจากการกระทำผิดกฏหมายถึงเดือนละ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งถือว่าสูงมาก น้ำมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน อันเนืื่องมาจากการทิ้งขยะและน้ำใช้ของสถานบริการ ร้านค้า และนักท่องเทีี่ยว จะสังเกตุได้จากขณะที่นั่งเรือไปยังเกาะล้านจะเห็นมีเศษพลาสติกลอยอยู่ในทะเลจำนวนหน่ึ่ง ส่วนประชากรนั้นจะเป็นคนท้องถิ่นประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ส่วนประชากรอีกส่วนหน่ึ่งประมาณ ๕๐ % จะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมาทำงานทุกอย่างที่ได้เป็นเงิน คนต่างชาติที่อาศัยอยู่และชอบเอาเปรียบคนไทย เช่น คนจีน อินเดีย นอกจากนี้แล้วยังได้รับทราบถึงหลักการบริหารที่ท่านอาจารย์ ดร.จิรติได้บรรยายถึงหลักการบริหารสิ่งแรกที่ทุกคนต้องทำคือต้องเน้นการใฝ่รู้ คิดเป็นทำเป็น รู้จักตัวเอง หลักการบริหารตัวเองที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารเวลา เช่น การที่ไปศึกษาดูงานที่เกาะล้านนั้นเริ่มตั้งแต่ออกจากมหาวิทยาลัยจนถึงเกาะล้านเราต้องบริหารเวลาในการเดินทางและศึกษาดูงานให้ตรงตามเวลาที่ได้นัดหมาย พวกเราอยู่บนเกาะล้านจนถึงเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. หลังจากนั้นได้เดินทางกลับมายังเทศบาลเมืองพัทยา บริเวณท่าเรือแล้วได้เดินทางกลับมหาวิทยาลัยโดยรถบัส ระหว่างทางได้แวะซื้อของฝาก เช่น ขนมจาก ข้าวหลาม และผลไม้ ส่วนใหญ่เกือบทุกคนจะซื้อของโดยเฉพาะขนมจากมากฝากเพื่อนร่วมงาน หวังว่ารับประทานขนมจากแล้วคงไม่จากกันเหมือนชื่อขนมนะจ๊ะ หลังจากนั้นได้เดินทางกลับถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เวลาประมาณ ๒๐.๑๐ น. โดยสวัสดิภาพ สิ่งที่ประทับใจทีสุดคือ ประทับใจในการศึกษาดูงานครั้งนี้ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ และทีมงานทุกท่่านที่ให้ความรู้ และให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา แม้กระทั่งการขึ้นลงเรืออาจารย์ยังต้องดูแลพวกเราตลอดเวลา และประทับใจเพื่อน ๆ ทุกคนที่ร่วมเดินทางซึ่งต้องผจญภัยและต้องบริหารความเสี่ยงในครั้งนี้ด้วย ขอจบการงาน

ณรงค์  พึ่งพานิช

ความคิดเห็น

                หลังจากไปลงเรือคราวนี้กลับมาถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ

                ระยะทางพิสูจน์ม้ากาลเวลาพิสูจน์คน

                การเดินทางของแต่ละบุคคลบางครั้งก็ย่อมขึ้นอยู่กับโอกาส บางคนรวยแต่อับโชค บางคนอับโชคแต่มองเห็นโอกาส สัจธรรมอย่างหนึ่ง น้ำไหลลงจากที่สูงฉันใด การเริ่มต้นก็จบลงที่เดิมฉันนั้น

                ก็ขอขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างและนอกเหนือจากสิ่งอื่นใด ทะเลที่ยังเห็นทรัพยากรมนุษย์กลุ่มนี้(รปม.รุ่น 4)มีประโยชน์ที่จะพัฒนาตนเอง  สังคม และประเทศชาติ  ต่อไป

                                                                                                                สำนึก

สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

สวัสดีค่ะ   ศ.ดร.  จีระ     พงส์ลดารมภ์  และ  รปม. รุ่น  ๔  ทุกท่าน

สิ่งที่ประทับใจ   ตอนแรกที่ได้พบอาจารย์ จีระ  ในห้องเรียน หนูมีความรู้สึกว่าหนูกลัวอาจารย์ทำอะไรไม่ถูก  ไม่กล้าที่จะตอบเวลาที่อาจารย์มีคำถามในห้องเรียน  แต่เมื่อได้ไปศึกษาดูงานกับอาจารย์ครั้งนี้  หนูรู้สึกว่ากล้าที่จะพูดคุยกับอาจารย์ กล้าที่จะแสดงแนวความคิดของตัวเองมากขึ้น   อาจารย์เป็นคนที่ไม่ถือตัว  เป็นกันเอง  ติดดิน ถึงไหนถึงกันกับพวกเราได้  จะเห็นว่าอาจารย์ร่วมรับประทานอาหารโต๊ะเดียวกันกับพวกเรา ดูแลห่วงใยพวกเราตลอดการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้   และอีกสิ่งหนึ่งคือ ท่านคุณหญิง (ภรรยาอาจารย์) ท่านเป็นผู้หญิงที่น่ารัก  เก่ง และสวย หนูไม่อยากเชื่อเลยว่าท่านคุณหญิงจะมีอายุ  60 ปี ท่านดูสวยมากจริงๆ  ถ้าเป็นไปได้หนูอยากรู้วิธีที่ท่านดูแลตัวเอง แต่ที่แน่ๆหนูมองเห็นถึง  H “Home” และ Happiness Capital “ทุนแห่งความสุข  ของอาจารย์  อาจารย์มีครอบครัวที่อบอุ่น  น่ารัก  ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการดำรงชีวิตและการทำงาน   ถึงแม้ว่าการไปศึกษาดูงานครั้งนี้เราจะเกิดปัญหาขึ้นเล็กน้อยแต่อาจารย์ก็แก้ไขปัญหาได้  ถือว่าเป็นการบริหารจัดการปัญหาได้ดีเลยที่เดียว  อาจารย์รู้จักมองโลกอย่างเข้าใจ กับปัญหาที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

  • สิ่งแรกเลย  คือ มิตรภาพ ความเป็นเพื่อน  เป็นพี่  เป็นน้องของพวกเราชาว  รปม. รุ่น 4

  • ได้รับความรู้  จากพี่วิทยากรทั้ง  3  ท่าน  ที่ร่วมเดินทางไปกับพวกเราโดย เฉพาะท่านรองผู้กำกับที่ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ  การใช้ชีวิตของผู้หญิงชาวอีสานที่เข้ามาทำงานในพัทยา  พวกเขามีการบริหารจัดการในชีวิตโดยที่พวกเขาไม่มีโอกาสที่จะได้รับความรู้ในห้องเรียนเหมือนอย่างพวกเราแต่พวกเขาก็มีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอทำให้สามารถดำรงชีวิตกับชาวต่างชาติได้อย่างดี เป็นเจ้าของธุรกิจหลายอย่างได้  ทำให้หนูได้เรียนรู้ว่า  ความรู้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน  และใบประกาศนีบัตรไม่สำคัญเท่าไหร่ที่สำคัญคือ  ความรู้ที่ได้รับ และการพัฒนาตัวเองอย่างสม่ำเสมอ

  •  เมื่อเดินเข้าไปในร้านหนังสือจะเห็นได้ว่าร้านหนังสือนั้นส่วนใหญ่มีแต่ภาษาอังกฤษ จึงได้เรียนรู้ถึง  การจัดการบริหารร้าน  เช่น การรู้ถึงความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย  เป็นต้น (หนังสือส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติต้องการเรียนรู้ถึงความเป็นไทย)

  •  ได้เห็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของอาจารย์

  •     อีกสิ่งหนึ่งที่หนูได้สังเกตเห็น คือการใช้ชีวิตของผู้คนบนเกาะล้าน  บนเกาะล้านมี  วัด  มีโรงเรียน  แต่ไม่ทราบว่ามีสถานีตำรวจหรือเปล่าเพราะไม่มีเวลาที่จะได้พูดคุยกับคนบนเกาะเลย  ถ้ามีเวลามากกว่านี้  หนูจะได้เรียนรู้ถึงชีวิตความเป็นอยู่  และการบริหารจัดการ  ของผู้คนบนเกาะล้านแห่งนี้

พ.ต.หญิง ประไพศรี บุญรอด รหัส 50038010004 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 

ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ และ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

จากการอ่านและรับฟังวีดีทัศน์ ทำให้เราทราบถึงความมุ่งมั่นในการทำงาน และความสำคัญในการพัฒนาคน เพราะ “ คน” เป็นพลังขับเคลื่อนทำให้องค์กรดำเนินไปจนประสบความสำเร็จ คนจะต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ต้องรู้จริง ทำจริง โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ จะเน้นที่ทุนมนุษย์ ถ้าพื้นฐานได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาดี การศึกษาดี ก็สามารถต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าของชีวิต ทุนมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาทางด้านอื่น ๆ ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เน้นที่ รากฐานชีวิต วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการสร้างความยั่งยืนให้ทุนมนุษย์และเน้นการพึ่งพาตนเอง

ข้อ 2. คุณลักษณะความเป็นผู้นำจากการประเมินตนเอง สรุปได้ดังนี้คือ เป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงต่อเวลา หลักการตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่า ควรใช้เหตุผลหรือประสบการณ์และความน่าจะเป็น การจัดลำดับความสำคัญของงาน มีการวางแผนและประเมินผลงาน เพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น การการทำงานเป็นทีม โดยมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาในคราวจำเป็น ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต

จุดแข็ง

1. เป็นคนมองโลกในแง่ดี

2. กล้าเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค

3. ยอมรับความจริงทั้งดีและร้าย

4. ให้ความเคารพในความเป็นปัจเจกแต่ละคน

5. อ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน

6. พยายามพึ่งพาตัวเองก่อนขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

จุดอ่อน ขาดทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ขาดความยืดหยุ่นเรื่องกฎระเบียบวิธีปฏิบัติงานการเงิน

การเป็นผู้นำที่ดีต้องทำตัวเป็นแก่งพร่องน้ำที่สามารถรับสิ่งใหม่เข้ามาได้ นั่นก็คือ การเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้นำที่ฉลาดต้องเลือกที่จะนำ ด้วยการทำหน้าที่ที่ถนัดหรือชอบ เพราะว่าเราจะรู้สึกมั่นใจว่าทำได้ มีกำลังใจ ทำงานอย่างมีความสุข และรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่เห็นความสำเร็จของงาน

 

 

สวัสดีค่ะ จากการไปทัศนศึกษาในวันพฤหัสที่ 21 ..50 ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ดิฉันต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์จิระ , ดร.กีรติ , ดร.นิยม และรอง ผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา ที่กรุณาสร้างความมั่นใจให้พวกเราชาวราชภัฎมีความภูมิใจในสถาบัน และรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าสถาบันอื่นๆ คุณค่าของคนอยู่ที่การเลือกทางเดินและพยายามเสาะแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตัวเองอยู่เสมอ ต้องพยายามทำตัวให้เสมือนปลาที่ว่ายทวนน้ำ สิ่งที่ประทับใจคือ ท่านอาจารย์ได้พยายามชี้นำพวกเราให้แสดงศักยภาพของแต่ละคน และผลักดันไปสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งพวกเรารู้สึกซาบซึ้งในความกรุณา ต่อมาเรื่องการได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่เกาะล้านเพราะโอกาสแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยนัก ประการสุดท้าย ที่สุดของที่สุดของความประทับใจ พวกเราได้ฝ่าคลื่นทะเลและกลับถึงฝั่งด้วยความปลอดภัย “ นะโม ตัส สะ ภะ ค ะวะ โต ” สาธุ (อาการของ ด..ณรงค์ พึ่งพานิช)

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น4

 

เรียน ศ.ดร. จีระ   หงษ์ลดารมภ์

ก่อนอื่นกระผมต้องขอขอบพระคุณท่าน ศ. ดร.จีระฯ และทีมงานของท่าน ที่พานักศึกษา รปม.รุ่น 4 ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ตั้งแต่นักศึกษา รปม.รุ่น 4   รุ่นนี้เข้ามาศึกษาต่อหลักสูตรของ รปม. ของสถาบันแห่งนี้ กระผมจำได้ว่ายังไม่มีอาจารย์ท่านใดที่ให้ความสนใจหรือพานักศึกษารุ่นนี้ไปทำกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ในส่วนตัวของกระผม กระผมคิดว่า ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้ความสำคัญ และอยากจะถ่ายทอดวิชาความรู้แก่นักศึกษารุ่นเป็นพิเศษ และหวังว่านักศึกษารุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ดีรุ่นหนึ่งในบันดาลูกศิษย์ของท่าน ศ.ดร.จีระฯและทีมงาน กระผมขอบขอบพระคุณอีกครั้ง ครับ.

ความตื่นเต้นเป็นครั้งแรกที่กระผมจะได้มีโอกาสไปทำกิจกรรมกับท่าน ศ.ดร.จีระ และทีมงาน พร้อมกับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆนักศึกษาของ รปม.รุ่น4 เป็นครั้งแรก นอกสถานที่เรียนยังอยู่ในความทรงจำของกระผมเสมอ เพื่อนนักศึกษาทุกท่านมีความสามัคคีกันทุกคนไม่มีความขัดแย้ง ทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ตั้งแต่ประธานรุ่นและคณะกรรมการรุ่นที่รับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อรถโดยสาร หรือ เตรียมความพร้อมทุกอย่างลงตัว ไม่มีบกพร่อง และความร่วมมือ การตรงต่อเวลาเป็นความรับผิดชอบที่ดีที่สุดต่อตนเอง การเดินทางจึงเป็นไปอย่างราบรื่นไม่มีอุปสรรคใดๆ มีแต่ความสนุกสนาน รื่นเริงไปตลอดทางไม่ว่าจะเป็นทางบก หรือทางเรือ ทุกคนมีความสุข สังเกตได้จาก ใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ไม่มีแยกกลุ่ม แยกเหล่า พูดคุยกันสนุกสนานเฮฮาตลอดระยะเวลาการเดินทาง แม้จะได้พบกับความตื่นเต้นบ้างเล็กน้อยในขณะที่ลงเรือเล็กเพื่อต่อขึ้นฝั่ง แต่ก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ทุกอย่างก็จบลงด้วยดี พอขึ้นชายฝั่งบนเกาะได้ทุกคนก็ตื่นเต้นผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ตื่นเต้นเป็นพิเศษเพราะไม่ค่อยได้มีโอกาสไปเที่ยวเกาะ เห็นชาวต่างชาติทั้งหญิงและชาย (บางคนก็สวยบางคนก็ไม่สวย)ใส่ชุดว่ายน้ำ รู้สึกตื่นเต้นเป็นธรรมดา ผมรู้สึกนึกคิดว่า.. นี่แหละหนอคือโลกส่วนตัวของเขาโดยไม่สนใจกับสายตาของคนอื่น..เขาช่างมีความสุขจริงๆ บางทีถ้าผมมีโอกาสเงินพร้อมเวลาว่างก็จะมาเป็นการส่วนตัวเหมือนกับชาวต่างชาติกลุ่มนี้   เพื่อนๆนักศึกษาก็คงจะตื่นเต้นไม่แพ้ผมเหมือนกันทุกคน การถ่ายรูปกับชาวชาติที่ใส่ชุดว่ายน้ำถือว่าเป็นความต้องการมากที่สุด เห็นได้จากเพื่อนๆนักศึกษาหญิงบางคนไปขอถ่ายรูปกับชาวต่างชาติ   การับประทานอาหารก็รู้สึกว่าอร่อยมากขึ้นเมื่อได้อยู่ในบรรยากาศแบบนี้ จะเห็นทุกเห็นจะมีความสุข ความอร่อยในการรับประทานอาหาร คุยกันไปด้วย พออิ่มจากการรับประทานอาหาร   ท่าน ศ.ดร.จีระ พร้อมทีมงาน ก็ได้เรียกนักศึกษาทุกท่านเข้าร่วมฟังการบรรยายเล็กๆน้อยๆเพื่อที่จะได้ถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ศิษย์ โดยท่านศ.ดร.จีระฯและทีมงาน ซึ่งมีท่าน นายตำรวจ ยศ พ..ต.ท. ตำแหน่ง รองผกกฯ มาให้ความรู้แก่พวกเราทุกคนอีกด้วย ในการฟังครั้งกระผมได้จับประเด็นไว้ เป็นประเด็นดังนี้

-                          ทุกคนต้องมีความคิดใหม่ๆเข้ามาใส่ตนเองอยู่เสมอ ไม่รอความคิดของคนอื่น

-                         ทุกคนที่ดำรงชีวิตจะต้องดิ้นรนต่อสู้ แตกต่างกันไป ตามสภาพของตนเอง

หลังจากจบการบรรยายแล้วท่าน ศ.ดร.จีระ ฯก็ได้ให้นักศึกษาได้พักผ่อนตามอัศยาศัย  ถ่ายรูปกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นอนพักผ่อน จึงเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ  การได้มาทำกิจกรรมนอกห้องเรียนครั้งนี้  ได้ความรู้ ความสนุกสนาน รื่นเริง ความสามัคคีของหมู่ คณะ กระผมจะจดจำไปไปอีกนาน  

 

นางสาวอมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจาการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน

                สิ่งที่ประทับใจจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

-          ความเป็นกันเองของอาจารย์และทีมงาน

-          เพื่อนๆรุ่น 4 จะคอยช่วยเหลือ เป็นห่วงเป็นใยกันอยู่ตลอดเวลา

-          ดีใจที่ได้ไปเกาะล้าน เมื่อไปถึงก็เห็นธรรมชาติที่สวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด

-          คลื่นลมแรงมากทำให้เพื่อนๆเมาเรือทั้งไปและกลับกันเป็นแถวๆ แต่ก็ยังมีความสนุกสนานเฮฮากันตลอดเวลาการดินทาง

ความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานครั้งนี้

-          ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากสถานที่จริง

-          ได้รู้จักการบริหารหารของคนในพื้นที่นั้น

-          ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และข้อคิดที่ดีจากพี่ๆทั้ง 3 ท่าน

-          ได้ประโยชน์จากการเข้าไปชมร้านหนังสือที่มีคุณภาพ

 

น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  รหัส  500380100015

ข้อ1.  ความประทับใจ

ตั้งแต่เข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทานั้น  นับเป็นครั้งแรกที่พวกเราชาว 

รปม. รุ่น4  ได้ไปทัศนศึกษาต่างจังหวัด  และทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้พวกเรารู้สึกรัก  ผูกพัน  และสามัคคีกันมากขึ้น 

การไปเกาะล้านในครั้งนี้  สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจคือ  บรรยากาศที่สวยงาม  และสดชื่น 

เหมือนเป็นเติมพลังให้เรานั้นมีแรงที่จะก้าวเดินพัฒนาองค์กรต่อไป  และสิ่งที่ขาดเสียมิได้คือ  ความรัก  และความปรารถนาดีที่อาจารย์มอบให้กับลูกศิษย์อย่างจริงใจ 

 

ข้อ 2. สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการทัศนศึกษา

1. เป็นการเรียนรู้แบบใหม่  STYTLE  OBAMA  เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้น 

ทำให้รู้ว่า  การเรียนนั้นมิได้มีแต่ในห้องเรียน  ทุกสถานที่ที่เราไปนั้นล้วนเป็นแหล่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น  ซึ่งเราจะรู้จักเก็บเกี่ยวความรู้ได้มากแค่ไหนนั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับตัวเราเอง

2. ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่า  ศักยภาพของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้น  เมื่อจบไปแล้วไม่น้อยหน้า

กว่าสถาบันใด

3. ทำให้ได้รู้จักทีมงานของอาจารย์หลายท่านในแวดวง  HR  มากขึ้น  ซึ่งแต่ละท่านจะถนัด

ในแต่ละด้าน  ทำให้ได้ความรู้หลากหลาย  สามารถนำสิ่งที่ได้รับไปต่อยอด  หรือสร้างมูลค่าเพิ่มได้  (VALUE  ADDED)

                               

 

น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  รหัส  500380100005

ข้อ1.  ความประทับใจมิรู้เลือน

ครูมีบุญคุณ                        จึงขอเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า

ท่านสั่งสอนเรา                                    อบรมให้เราไม่เว้น

หลังจากเดินทางกลับจากทัศนศึกษา ณ จ.ชลบุรี  ความปลาบปลื้มที่ได้รับความเมตตาจาก 

ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และคณะยังคงมิรู้คลาย  สิ่งที่สร้างความประทับใจให้กับข้าพเจ้าคือ  การบริหารจัดการในการทัศนศึกษา  ท่านอาจารย์ได้พาพวกเราไปเปิดโลกทัศน์ที่ร้านหนังสือ  และท่านกล่าวว่า 

คนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอด  ต้องเป็นคนใฝ่รู้  คิดเป็น  และวิเคราะห์เป็น  ให้ทันต่อโลกที่ไร้พรมแดน   ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า  ต่อไปนี้ข้าพเจ้าจะต้องพัฒนาตนเองให้มากขึ้น  พยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเรียนรู้วิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง  และองค์กรให้มากที่สุด  อย่างน้อยในอนาคต  ถ้าข้าพเจ้าได้เป็นผู้นำก็จะเป็นผู้นำแบบ Trust

 

ข้อ 2. สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการทัศนศึกษา

คือ ความรักและความผูกพันที่นักศึกษา  รปม.รุ่น4  มอบให้แก่กัน  รวมถึงความห่วงใยที่

ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  มีให้ต่อศิษย์  รปม. รุ่น4  ตอนที่ข้าพเจ้านั่งเรือกลับจากเกาะล้านเพื่อขึ้นฝั่ง  ข้าพเจ้าคิดถึงท่าน  อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร  ถ้าวันนี้ท่านอาจารย์ได้มาร่วมทัศนศึกษากับพวกเรา  รปม. รุ่น4  ด้วยก็คงจะดี  ขอให้พระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  โปรดดลบันดาลให้  อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร  หายจากโรคภัยทั้งปวง  และขอให้ท่านกลับมาประศาสตร์วิชาให้กับศิษย์  รปม. รุ่น 4  ต่อไป

                                สุดท้ายลูกศิษย์  รปม. รุ่น4  ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์  ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  ที่ช่วยสร้างให้พวกเราเป็นทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพ  เพื่อพัฒนาองค์กร  และประเทศไทยให้ยั่งยืน

 

 

น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  รหัส  500380100010

ข้อ1.  ความประทับใจ

สิ่งที่ดิฉันรู้สึกประทับใจที่เห็นเวลาไปเที่ยวตามที่ต่างๆ  นอกจากจะเป็นสภาพธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อมที่สวยงามแล้ว  ความสะอาดและมีระเบียบของสถานที่ต่างๆ  ก็เป็นสิ่งสำคัญ  อีกสิ่งหนึ่งที่สนใจก็คือ  วิถีชีวิตของคนที่ได้พบเห็น  ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันได้มีโอกาสไปสถานที่ที่สวยงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย  นั่นคือ  เกาะล้าน  จ.ชลบุรี

นัดเจอกัน  7  โมงเช้า  ไปถึงพัทยาก็เกือบ  10.00 น.  อาจารย์และทีมงานบางส่วนรออยู่ที่

นั่นแล้ว  พอไปถึง  อาจารย์ก็พาไปร้านหนังสือ  โดยส่วนตัวเป็นคนชอบเข้าร้านหนังสืออยู่แล้ว  เลยถูกใจพอสมควร  มีเล่มหนึ่งถูกใจมากจนอยากซื้อเก็บไว้  แต่ติดอยู่ที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่ม  เลยได้คิดว่า  อุปสรรคของภาษานี้สำคัญจริงๆ  แต่สักวันหนึ่งเราก็จะกลับมาที่นี่อีกครั้ง  เพื่อที่จะซื้อหนังสือเล่มนี้  และจะต้องอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ได้

พวกเรามีเวลาน้อยมากกับการนั่งชมเมืองพัทยาที่มีขนาดใหญ่โต  และน่าสนใจ  ฉะนั้นสิ่งที่

ทำได้ก็คือ  เก็บรายละเอียดทุกอย่างผ่านโดยสายตา  ไม่มีเวลาแม้แต่จะลงไปชื่นชม  หรือการถ่ายรูป  ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

อยู่กันบนเรือนานพอสมควร  หลายคนที่มีอาการเมาเรือ  แต่มีนางพยาบาลใจดี  เอายามาให้

กินตลอดเวลาในการเดินทาง  อากาศเย็นสบายดี  ไม่ร้อนอย่างที่คิด  ค่อยสดชื่นหน่อย

ภาพผู้คนจอแจคึกคักมีให้เห็นตลอดทาง  ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวเท่านั้นที่ได้ชื่นชม

บรรยากาศที่แสนโรแมนติก  และความคึกคักของผู้คน  ทำให้บรรยากาศดูสดชื่นดี  ภาพที่ผู้คนใช้เวลาเพลิดเพลินไปกับการล่องเรือ  ขับเจ็ตสกี  หรือการดื่มด่ำกับอาหารเลิศรส  บางคนใช้เวลากับการอ่านหนังสือดีๆ  สักเล่ม  ก็นับเป็นเวลาที่มีความสุขแล้ว

การเดินชมทิวทัศน์รอบเกาะ  นอกจากจะมีธรรมชาติที่สวยงาม  ยังมีผู้คนให้ดูเพลินตา 

อีกต่างหาก  แม่สอนลูกสาวว่ายน้ำ  เด็กนั่งแทะข้าวโพดฟักใหญ่  พ่อจัดท่าให้ลูกในการถ่ายภาพ  ดูแล้วอารมณ์ดีจริง

                                มาเที่ยวพัทยาดินแดนแห่งการท่องเที่ยวแล้ว  ได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แสนร่มรื่น  ครั้งนี้นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงจริงๆ  ทำให้อดคิดถึงสุภาษิตไทยที่ว่า  สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น   จริงๆ เลย

 

น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ประทับใจและสิ่งที่ได้รับในการไปเกาะล้าน สิ่งที่ประทับใจคงจะเป็นการที่เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 ที่เราได้ร่วมกิจกรรมนอกสถานที่เป็นครั้งแรก ทำให้เราผูกพันและรู้จักกันมากขึ้นนอกจากในห้องเรียนแล้วและได้เปลี่ยนบรรยากาศจากชีวิตที่วุ่นวายในกรุงเทพฯ เราได้ไปสูดลมทะเล และได้พจญภัยด้วยกัน และศ.ดร. จีระ และทีมงานก็ร่วมพจญภัยกับพวกเราอย่างน่าประทับใจ เห็นได้ว่าท่านทุ่มเทและกระตุ้นให้เราทุกคน ได้ใช้ทุกวินาที เป็นวินาทีแห่งการเรียนรู้โดยให้เราเปิดโลกเปิดตา สิ่งแรกในการเรียนรู้เมื่อถึงพัทยาคือการเปิดโลกกว้างที่ร้านหนังสือที่ต่างจากส่งที่เราเห็นทั่วๆไป ต่อจากนั้นเราก็ได้เวลาลงเรือข้ามไปเกาะล้าน วันนั้นลมแรงจึงทำให้คลื่นสูง เรือแอนตามคลื่นเพื่อนๆส่วนใหญ่ทั้งกลัวและทั้งเมาเรือกัน แต่เราก็ถึงเกาะโดยสวัสดิภาพพร้อมอาการเมาเรือ เมื่อถึงหาดเทียน เราก็จะประทับใจในความพร้อมของอาหารที่ทำให้เราเอ็นจอยซ์ในการรับประทานมาก หลังจากหลังเราก็ได้รับการแนะนำและสิ่งที่ได้จากดร.กีรติ นอกจากความภาคภูมิใจในสถาบันราชภัฏว่าไม่ด้อยกว่าใครแล้ว ท่านยังชี้ให้เห็นระหว่างสองบริษัทที่มีเครื่องจักรเหมือนกันแต่ผลิตงานออกมาไม่เท่ากันนั่นเป็นเพราะคนศักยภาพต่างกัน เพราะเครื่องจักรเราซื้อได้แต่คนดี คนเก่งเราต้องสร้างขึ้นมาเอง และได้รู้ข้อมูลของเมืองพัทยาจากท่านรองผู้กำกับว่าพัทยาเป็นเมืองที่น่าอยู่และทำให้ลบภาพพัทยาที่ไม่ดีออกไปเลย และเราก็ออกเดินทางเพื่อข้ามกลับฝั่ง ขากลับคลื่นก็ยังคงแรงแต่คงเพราะอาการเพลีย เพื่อนบางคนก็สามารถหลับได้ และพวกเราก็ขึ้นรถมาหลับกันต่อ จนมาแวะซื้อของฝากก่อนกลับบ้านนอนพักผ่อนกัน  และวันนี้มันจะเป็นวันที่ต้องจดจำไว้วันนึงของหนูเลยค่ะ

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และเพื่อน ๆ

                จากการที่ได้ไปทัศนศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ 2551 ทำให้มีความประทับใจอาจารย์ที่เอาใจใส่ลูกศิษย์ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ท่านก็พยายามที่จะให้ลูกศิษย์ได้ความรู้มากที่สุดและคิดว่าความรู้ที่ท่านมอบให้นั้นจะทำให้ลูกศิษย์ได้นำไปปรับปรุงตัวเองให้มีความกระตือรือร้นต่อสิ่งที่มากระทบ  และนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาต่าง ๆ  ในชีวิตประจำวัน โดยอาจารย์ได้ปฏิบัติเป็นต้นแบบที่ดี  และสรรหาอาจารย์พิเศษที่มีความรู้ความสามารถมาสอนแนะนำเพิ่มเติมให้ลูกศิษย์  ซึ่งทุกอย่างที่อาจารย์ทำให้ลูกศิษย์นั้น ทำด้วยใจ  ทำด้วยความรักความหวังดีจริง ๆ  MPA รุ่น 4 โชคดีและภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์อาจารย์ค่ะ

                สิ่งที่ได้รับจากการไปทัศนศึกษาในครั้งนี้   ทำให้ได้รู้จักอาจารย์และเพื่อน ๆ  มากขึ้น  เป็นการเพิ่มเติมความรู้สึกดี ๆ  ที่มีต่อกัน  และที่สำคัญคือได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมของคนในแต่ละชาติที่ได้มาทำกิจกรรมของตนในสถานที่เดียวกันว่ามีความแตกต่างกันมาก   ดังนั้น ถ้าเราต้องการที่จะไปอยู่ในสถานที่ใด จะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละที่ให้เข้าใจเสียก่อน เราก็จะอยู่ในสถานที่นั้น ๆ  ได้อย่างมีความสุข  (เช่น MPA รุ่นที่ 4  บางคน ใส่สูทไปเดินชายหาดในวันนั้น ท่านได้เรียนรู้อะไรมาบ้างคะ แต่ที่แน่ ๆ  ดิฉันเดาว่าท่านคงจะร้อนมากแน่ ๆ  )

สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4

ความประทับใจ

จากการที่ได้ไปดูงานที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ดิ ฉัน ได้มีความประทับใจ ดังนี้

1.           ความประทับใจ อาจารย์จิระ และทีมงาน เป็นอย่างมาก ดูแลพวกเราเป็นอย่างดี และอย่างใกล้ชิด คอยถามและเป็นห่วงพวกเราตลอด ซึ่งทุกคนจะเห็นได้ว่าอาจารย์จะคอยเข้ามาถามเข้ามาพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ไม่ถือตัว

2.           มีความประทับใจพี่ ๆ เพื่อน ๆทุกคนในรปม.4  ที่มีแต่มิตรภาพที่ดีให้ คอยดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สร้างแต่รอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่มอบให้กันตลอดการดูงานครั้งนี้

3.           ประทับใจเกาะล้าน ทะเลสวย น้ำใส เหมาะกับการมาท่องเที่ยว และไม่ไกลจากกรุงเทพ

4.           อาหารทะเลอร่อยมาก (ชอบ ชอบ)

ได้อะไรบ้างจากการดูงานในครั้งนี้

จากการดูงานในครั้งนี้ ทำให้ดิ ฉันได้อะไรหลายอย่าง กล่าวคือ

1.              การได้เข้าร้านขายหนังสือที่เป็น หนังสือภาษาอังกฤษ ครั้งแรก ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ เพราะแต่ก่อนจะเข้าแต่ร้านหนังสือซีเอ็ด ดอกหญ้า  นายอินทร์ ซึ่งเป็นร้านขายหนังสือภาษาไทย

2.              ได้สัมผัสกับหนังสือ วรรณกรรม ที่มาจากต่างประเทศ การเขียน ภาษาที่เข้าใช้ตลอดจนการออกแบบหน้าปกและออกแบบเล่มหนังสือก็แสดงถึงความคิดที่สร้างสรรค์

3.              ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาในการทำงานของอีกอาชีพหนึ่ง คือ เมื่อตอนที่จะให้พวกเราลงเรือเล็กแต่เพราะคลื่นใหญ่ไม่สามารถเทียบเรือสองลำเข้าหากันได้ คนขับเรือก็เลยขับไปจอดเรือข้างภูเขา ซึ่งภูเขาจะกั้นลมไว้ทำให้มีคลื่นไม่สูงมากนัก ทำให้เราได้ลงเรือเล็กได้ เป็นต้น

4.              การดูงานครั้งนี้นอกจากได้มาเที่ยวแล้วยังได้ข้อคิดจากวิทยากรทั้งสามท่าน ได้ความรู้เพิ่มเติม ทำให้เราสามารถนำไปคิดต่อ และประยุกต์ใช้กับตัวเองได้

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

 เรียนท่านอาจารย์จีระ  และสวัสดีเพื่อนชาวรปม. รุ่น 4 ทุกท่าน   
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  และทีมงานทุกท่านที่ให้การดูแลพวกเราเป็นอย่างดีในการเดินทางไปทัศนศึกษาในครั้งนี้ ขอบพระคุณมากค่ะ
ความรู้สึกที่ไปทัศนศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551  นั้นข้าพเจ้าเรารู้สึกดีใจและตื่นเต้นเพราะวัยอย่างเราเหมือนจะเลยเวลาการทัศนศึกษาไปนานแล้วทำให้รู้สึกกลับเป็นเด็กอีกครั้ง นอนก็ระวังกลัวจะตื่นไม่ทันเวลานัดหมายทำให้นอนไม่หลับไม่รุ้ว่าวิตดกังวลหรือตื่นเต้นดีใจที่จะได้ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้จากการสอบถามก็น่าจะมีเพื่อนที่มีอาการเดียวกันหลายคน ก่อนเดินทางก็มีการสอบถามเกี่ยวกับสถานที่จะไปนิดหน่อยทราบว่าเกาะล้าน  จังหวัดชลบุรี  เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวต่างชาติเป็นส่วนใหญ่  และไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก   เมื่อได้เวลานัดหมายตอน 7.00  น. ที่มหาวิทยาลัยเพื่อออกเดินทางไปยังจุดหมายสมาชิกทุกคนก็พร้อมเพียงกันพร้อมด้วยมีการตุ้นเสบียงอาหารยามเช้ากันอย่างกับว่าจะไปเดินทางไกลหรือไปต่างจังหวัดหลายวันถือเป็นการเตรียมความพร้อมในการเดินทางที่ดี   ในระหว่างทางก็มีการพูดคุยกันอย่างสนุกสนานตลอดบ้างก็พักผ่อนสายตาเนื่องจากนอนไม่หลับก็จะถูกเพื่อนเก็บหลักฐานเป็นรูปถ่ายไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถูกนำมาเผ่ยแพร่น่ากลัวจริง ๆ   เมื่อถึงที่นัดหมายเวลาพวกเรารับการตอนรับจากท่านอาจารย์จีระ และทีมงานที่น่ารักทุกท่านซึ่งเป็นกันเองและให้ความห่วยใยกับพวกเราทุกคน เริ่มจากท่านอาจารย์ได้นำพวกเราไปยังร้านหนังสือที่ขายหนังสือต่างประเทศเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่น่าสนใจนับเป็นการเปิดโลกทัศน์และอาจารย์ให้ความสำคัญในเรื่องภาษาอังกฤษเป็นอย่างมากจะเห็นได้จากทุกครั้งที่อาจารย์มาสอนจะเน้นเรื่องนี้ไปควบคู่กับการสอนให้คิดต่อยอดอยู่ทุกครั้ง  หลังจากนั้นท่านอาจารย์ได้นำพวกเราเดินทางไปยังท่าเรือเพื่อเดินทางไปเกาะล้านพี่พยาบาลคนสวยก็จะนำเสนอยาแก้เมาเรือให้พวกเราและบอกว่าท่านแล้วจะง่วงนอนก็ต้องขอขอบคุณพี่เพราะมีพวกเราบางคนเมาเรือหลายคนอยู่เหมือนกัน  พอรถจอดที่ท่าเรือพวกเราลงขึ้นเรือไม่คิดเลยว่าทะเลแถวพัทยาจะสวยมากไมแพ้ทะเลฝั่งอันดามันเลย  เวลาลงเรือท่านอาจารย์จีระก็จะดูแลพวกเราจนลงเรือเรียบร้อยพูดคุยและสอบถามพวกเราอย่างเป็นกันเองและเห็นถึงความห่วงใยที่อาจารย์มีต่อนักศึกษาทุกคน  ระหว่างนั่งเรือพวพเราส่งเสียงกันตลอดเวลาไม่ทราบว่าสนุกสนาน หรือกลัวก็ไม่แน่ใจพอนั่งเรือปำด้สักระยะเริ่มรู้สึกว่าวันนี้คลื่นลมบ้างพอสมควรแต่ก็ไม่รุ่นแรงบวกับอากาศที่เย็นสบาย พอถึงเกาะก็ลุ้นว่าเมื่อไหร่จะได้ขึ้นเกาะเสียที่รออยู่นานเนื่องจากคลื่นลมแรงต้องรอให้เรือเล็กมารับขึ้นเกาะได้แต่ก็เรียบร้อยดีแม้จะมีลุ้นบ้างนิดหน่อย  แล้วก็เป็นอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าเกาะล้านเป็นที่พักผ่อนของชาวต่างชาติจริง  มีชาวต่างชาติเต็มชายหาดและพบว่าทรายที่เกาะนี้ละเอียดมากน่าเดินเล่นเป็นเกาะที่เป็นธรรมชาติอยู่มาก    เมื่อขึ้นก็เกาะได้ก็เป็นเวลาที่พวกเราหิวอย่างมากเพราะเลยเวลาอาหารกลางวันไปมากแต่ก็ไม่ต้องรออาหารเพราะทางร้านพร้อมเสริมเป็นอาหารทะเลที่สดใหม่อร่อยจริง ๆ สมกับมาทะเลนอกจากวิวสวยแล้วอาหารยังอร่อยสมกับการลุ้นว่าจะขึ้นเกาะได้หรือเปล่า
 หลังจากอิ่นอาหารแล้วท่านอาจารย์ก็ได้ให้พวกเรารวมกลุ่มกันในร้านอาหารแนะนำให้ได้รู้จักกับท่านอาจารย์ดร.กีรดิ  ท่านรองผู้กำกับสภอ.เมืองพัทยา  และท่านอาจาย์ยมที่ได้ให้ตอนรับและอำนวนความสะดวกให้กับพวกเรา ทั้ง 3 ท่านได้กล่าวให้ความรู้และความรู้สึกภูมิใจในการเป็นชาวราชภัฏซึ่งไม่น้อยหน้าใครถ้าเราคิดเป็นทำมีการต่อยอดทางความคิด  บนพื้นฐานความจริงและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองพร้อมรับการเปลี่ยแปลงที่จะเกิดขึ้นตลอดเวลา  เป็น ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital)  ที่แท้จริง และจะเห็นได้ว่าความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู้ในห้องเรียนเสมอไป  ที่สำคัญทำให้เห็นถึงการบริหารจัดการในการเดินทางครั้งนี้ของท่านอาจารย์แลทีมงานที่ไม่มีติดขัดมืออาชีพจริง ๆ   ทำให้พวกเราได้รู้สึกว่าไปทัศนศึกษาที่รับความรู้และสะดวกสบาย   หลังจากนั้นอาจารย์ให้ประธานและรองประธานวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้นำสองศาสนาคือพี่ประธานศาสนาอิสลาม  และรองประธานคือหลวงพี่แทนนั้นเอง ทั้งสองท่านได้พูดถึงความรู้และความรู้สึกที่ได้รับในวันนี้ซึ่งทั้งสองท่านเป็นที่ยอมรับถึงความสามารถในการพูดที่มีสาระและประโยชน์กับพวกเรา  ต่อจากนั้นท่านอาจารย์ก็ให้พักผ่อนตามอัศยาศัยประมาณ 30 นาที  ระหว่างนั้นพวกเราบางคนก็เก็บภาพเป็นที่ระลึก และมีเพื่อนรวมกลุ่มคุยกันถึงความประทับใจในครั้งนี้ว่าอาจารย์ดูแลพวกเราและให้ความรู้กับพวกเราตลอดเวลา  พวกเรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์ของท่านอาจารย์จีระ  ซึ่งเป็นครูผู้มีแต่ให้ตลอดเวลา 
 เมื่อถึงเวลาเดินทางกลับขึ้นเรือก็นั่งเรือไปก็ภาวนาในใจไปพยายามพูดคุยกันให้สนุกสนานตลอดเวลาและถึงฝั่งด้วยความปลอดภัยเพราะในตอนเย็นนี้ลมแรงมากเหมือนนั้งเครื่องเล่นในสวนสนุก ในระหว่างนั้นพี่ที่น่ารักท่านหนึ่งได้พูดกับข้าพเจ้าว่าพวกเราก็เหมือนเรือตอนนี้ที่เจอคลื่นลมแรงอยู่ตลอดเวลาพวกเราก็หวังว่าจะสามารถนำเรือของพวกเรามุ่งหน้าไปยังฝั่งที่หวังไว้และปลอดภัยเหมือนวันนี้ทุกคนนะค่ะ

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

 

เจริญพร ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการไปเปิดโลกทัศน์ที่พัทยา

  • ได้แลกเปลี่ยนความรู้จากการสนทนากับ อ. ยม นาคสุข ระหว่างการเดินทางตั้งแต่ต้นสายจนถึงเดินทางกลับ
  • ได้ร่วมกิจกรรมกับคณะชาว รปม. รุ่น 4 สวนสุนันทาอันนำมาซึ่งความสามัคคีในหมุ่คณะรวมทั้งได้เห็นความเป็นห่วงเป็นใยกันในหมู่คณะ
  • ได้พบกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการเดินทาง ทั้งทางรถ และทางเรือ(ลงเรือลำเดียวกัน โดยมีอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นผู้นำทาง)
  • ได้เยี่ยมชมร้านหนังสือ พร้อมกันนี้ก็ได้หนังสือติดย่ามมา 2 เล่มเล่มแรก คือ หนังสือ มอง CEO โลก เป็นหนังสือนำเสนอความรู้ของผู้นำระดับโลก รวบรวมแนวคิดและวิสัยทัศน์ของผู้นำชั้นแนวหน้า ฯลฯ  โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ฯ  เล่มที่ 2 เป็นหนังสือ หลัก ๕ ประการ สู่การเป็นผู้นำ สะพานาเชื่อมช่องว่างของการเป็นผู้นำ THE 5 PILLARS OF LEADERSHIP (Paul J. Meyer & Randy Slechta)แปลโดย จุมพจน์ เชื้อสาย
  • ได้เห็นความเป็นผู้นำของอาจารย์ ความเป็นกันเองในขณะสนทนากับท่านอาจารย์และทีมงาน ฯ
  • ประเด็นสำคัญในการเปิดโลกทัศน์ในครั้งนี้คือ ท่านอาจารย์ได้เชิญผู้มีความรู้ด้านทรัพยากรณ์มนุษย์ และผู้ชำนาญการด้านท้องที่เมืองพัทยา คือ รองผู้กำกับ มาร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย ก็ได้รับประโยชน์จากการฟัง ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า สุตามยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการฟัง การได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หรือเรื่องที่เคยฟังแล้วพอได้ฟังอีกก็ยิ่งเกิดปัญญามากขึ้น และเข้าใจมากขึ้น ซึ่งเราท่านทั้งหลายก็คงเก็บเกี่ยวความรู้จากส่วนนั้นมาได้กันพอสมควรแก่อัตภาพ
  • โดยท่านแรกที่กล่าวแนะนำและมอบความรู้ คือ ดร.กีรติ  ท่านกล่าวว่า การที่เราเลือกที่จะขับรถไปทางซ้ายแล้วไปทันเวลาและไปถึงสนามบินก่อน นั่นมิได้หมายความว่า ทางขวาผิด ฯ หัวใจของการบริหารจัดการคือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ฯ เครื่องจักรเครื่องกลซื้อหาได้ แต่บุคลากรต้องหาและต้องบริหารให้ดี
  • ส่วนท่านที่สอง คือ รองผู้กำกับ ฯ ท่านให้ความรู้เรื่องเมืองพัทยามากมาย เช่น บอกว่าอย่าดูข่าวเรื่องเมืองพัทยามากนัก เพราะสิ่งที่คุณคิดหรือได้เห็นตามข่าว อาจไม่ใช่สิ่งที่ใช่เสมอไป  ฯ เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีนายกเทศมนตรีเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการทั้งหมด โดยขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ฯ  เมืองพัทยา มีประชากรจำนวน 200000 กว่าคน แต่ความจริงแล้ว มีประชากรหรือคนต่างด้าวแฝงอยู่จำนวน 2000000 กว่าคนโดยประมาณ และในแต่ละปี มีเงินหมุนเวียนในเมืองพัทยาเดือนละหลายพันล้านบาท ฯ และกล่าวถึงเสน่ห์ของพัทยานานัปประการ เช่นไม่ไกลจากกรุงเทพ เป็นต้น ฯ
  • ท่านต่อมา คือ อ.ยม นาคสุข กล่าวสั้น ๆ ได้ใจความว่า การจะฟังอะไรก็แล้วแต่ ต้องจับประเด็น แล้วต่อยอดให้ได้ ฯ  ต้องรู้ว่ายุคนี้คือยุคอะไร ฯ ก่อนหรือหลังการเรียนรู้เราได้อะไรบ้างจากการเรียนรู้ ฯ การเป็นนักบริหารที่ดีต้องรู้จักการบริหารตัวเอง ฯ

       หลวงพี่แทนจับประเด็น  ก็ได้กล่าวถึงการมองเห็นความสำคัญความรู้ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ฯ เช่นในเมืองพัทยา ก็บริหารทรัพยากรด้านต่าง ๆ ดูแลเรื่องเศรษฐกิจท้องถิ่นเมืองพัทยา และได้กล่าวว่า การจะเลือกเดินทางใดทางหนึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด ฯ

  • ได้รับรู้การดำรงชีพของชาวเกาะล้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เนื่องจากเวลาจำกัด แต่เท่าที่รู้และน่าสนใจนอกเหนือทรัพยากรณ์มนุษย์ คือ ทรัพยากรณ์ธรรมชาติประจำเกาะล้าน คือ มีแร่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมกันและพากันเรียกว่า แร่เหล็กใหลประจำเกาะล้าน ท่านที่ชอบเครื่องประดับถ้าเห็นก็คงชอบใจ ข้อมูลโดยคนขับสอง แถวอาตมานั่งแถวที่สาม(ข้างหน้า)ฯ

เรื่องเล่าเช้าจรดค่ำ (เล่าแล้วยาว)

       ในการไปศึกษาเรียนรู้นอกสถานที่ครั้งนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ การสังเกตการณ์ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ฯ  ในส่วนของหลาย ๆ ท่านก็ย่อมมีความสนใจที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของอาตมานั้นก็เก็บเกี่ยวหรือทรงจำในแบบฉบับของตัวเอง ณ จุดที่สนใจหรือจุดที่ได้ข้อคิด ซึ่งมีดังต่อไปนี้

       แรกเริ่ม คือ ต้นสายของการเดินทาง ณ จุดเริ่มต้น คือ สวนสุนันทา อันเป็นจุดนัดพบของเรา ๆ ชาว รปม. รุ่น 4  เมื่อเราทั้งหลายมาพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็เริ่มจับจองที่นั่งพร้อมกับสำรวจรอบ ๆ กาย และก็ออกเดินทาง ในขณะที่เดินทางนั้น คนที่นั่งข้างกายอาตมา ช่วงแรก ๆ ก็คุ้น ๆ หน้า พอสอบถามและได้สนทนากับท่านแล้วก็หายสงสัย เพราะท่านคือ อ. ยม นั่นเอง ผู้ซึ่งจะมาสอนในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ นี้ จากการได้สนทนากับท่าน ก็ได้ข้อคิดหลายแนว พร้อมทั้งแนะนำในเรื่องของการเรียนอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องการทำวิจัย มีการแนะนำในเรื่องของหัวข้อ และ การวางเป้าหมายชีวิตด้านการศึกษา เช่น อนาคตตั้งเป้าหมายไว้อย่างไรกับการศึกษา พร้อมกันนี้ก็แนะให้อ่านหนังสือการทำวิทยานิพนธ์เชิงคุณภาพ ว่าต่างกันอย่างไรกับเชิงปริมาณ ฯ ซึ่งบางท่านอาจสงสัยว่า อาตมาคุยอะไรกับอาจารย์บ้าง และส่วนเหล่านี้แหละที่ได้สนทนากับท่าน นี้ก็เป็นส่วนที่ประทับใจว่า การเดินทางครั้งนี้ มิได้มีเพียงแค่นักศึกษา รปม. เท่านั้น แต่ยังมีอาจารย์ ยม นาคสุข ร่วมเดินทางรถคันเดียวกับเราอีกด้วย ประทับใจที่ได้พบบัณฑิตเช่นท่านและท่านยังให้ยืมหนังสือ เรื่อง โต้คลื่นวัฒนธรรม (ผู้เขียน คือ ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง) และได้ทำการถ่ายเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว นี่คือผลของการได้พบบัณพิต สนทนากับบัณฑิต ย่อมได้รับผลดี ตามแบบฉบับในมงคลสูตร 38 ประการข้อหนึ่ง ฯ

       ในเช้าวันดังกล่าวนั้นก็ได้รับการถวายภัตตาหารเช้าโดยอาจารย์ยมเช่นเคย เพราะว่าวันนั้นท่านบอกว่าไม่ได้ทำบุญตักบาตร ก็เลยถือโอกาสนี้ถวายภัตตาหารเลย และท่านก็ดูแลอย่างดี ถวายอาหารคาวหวาน ขนม น้ำผลไม้เป็นอย่างดี มีเค้กช๊อกโกแลตเสริมด้วย ฯ

       และนอกจากนี้ก็ได้ทราบเรื่องราวของท่านมากมาย แต่มิอาจกล่าวได้หมดในรายงานส่วนนี้ ฯ 

       ประทับใจพี่ ๆ เพื่อน ๆ ชาว รปม. ที่คอยดูแลพระทั้งสามรูป รวมอาตมาด้วย เจริญพรขอบคุณ อ้อ และมีคำชมจากท่านอาจารย์ยมด้วยนะ  ว่า เราชาว รปม.รุ่นนี้ดีมาก มากกว่ารุ่นก่อน ๆ นี้อีกนะ คือว่า การเดินทางของเราครั้งนี้ เราพูดไม่หยุดเลย พูดตลอดทาง เก่งจริง ๆ  ไม่เหมือนรุ่นสามที่ไปดูงานที่ จ. กาญจนบุรี ท่านบอกว่า พูดน้อย และหลับตลอดทางมากกว่า  รุ่นเราดีกว่า พูดตลอดทาง และมีการแซวพระอีกด้วยนะ โดยทีมงานพี่อี๊ด พี่เจี๊ยบ ซาวด์ 55+ ก็สนุกสนานดีจ๊ะคุณโยมพี่ทั้งหลาย เห็นความยิ้มแย้มขณะเดินทาง เห็นความสามัคคีในหมู่คณะ พี่ดาโต๊ะเองก็ใช่ย่อยซะเมื่อไรละ ไม่ธรรมดาจริง ๆ

       การเดินทางครั้งนี้แดดช่างร้อนอันเกิดจากแสงอาทิตย์ที่เจิดจรัสหลายดวง จนอาจทำให้พี่ ๆ บางคน (พี่เอ้+พี่นุช+และทีมพี่อี๊ด) ต้องสวมแว่นดำเพราะแสบตา บางท่านก็สวมหมวกเพื่อป้องกันแสงรังสีที่แผ่สะท้อนกัน จากหลาย ๆ ดวง (เพราะว่าเป็นวันมาฆะพระก็ร่วมเดินทางซะด้วยสิ) คงไม่ต้องบอกนะว่าก่อนวันมาฆะพระต้องทำอะไร ?

       ต่อมาก็ชีวิตบนเรือ เราทั้งหลายลงเรือลำเดียวกันแล้ว ที่มีนายเรือเป็นผู้ขับเคลื่อนเรือ และมีนายกัปตันเรือ คือ อ.จีระ เป็นผู้นำทาง เราทั้งหลายไม่ใช่ลูกเรือ แต่เป็นผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ ชีวิตก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง คละกันไป ทะเลก็เช่นกัน หากทะเลไร้คลื่นซัดก็ดูไม่งามไม่ใช่ทะเลแท้ ทะเลที่ไร้โขดหินก็หาใช่ทะเลไม่ นั้นทะเลก็ย่อมมีทั้งคลื่นทั้งเบาและแรงปะปนกันและแปรผันตามอากาศ ที่พากันโหมเข้ามาปะทะฝั่ง ชีวิตเราก็เหมือนกัน มีอุปสรรคมาประดับ มีอุปสรรรคมาทดสอบความอดทนว่าเราสามารถทนได้ขนาดไหน  การเดินทางก็พิสุจน์เราเหมือนกัน กับการพบอุปสรรคทั้งคลื่นลมและแสงแดด แต่เราก็สามารถเดินเรือไปถึงฝั่งฝันจนได้

       หลังจากเดินทางถึงฝั่งฝันแล้ว อาจารย์จีระ และทีมงาน พร้อมด้วยชาว รปม. รุ่น ก็ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกัน ก็มีกุ้ง มีปลา (แหมนะ เลยเวลาพระซะแล้วสิ น่าเสียด้ายเสียดาย)  พระก็ได้มะพร้าวลูกหนึ่งมากล่อมต่อมน้ำลายคลายความเขิน นมกล่องหนึ่ง (ยังดีที่ผ่ามาให้พร้อมกับหลอด ถ้าให้พระมาทั้งลูกหรือให้พระปีนเองละคงแย่แน่เลย) และแล้วก็มาถึงนาทีที่รอคอย คือการจับประเด็นการสนทนาและการฟังเพื่อประดับความรู้ จากการให้คำแนะนำของ ดร.กีรติ และ รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา และที่ขาดเสียมิได้คือ อ.ยม ซึ่งมี อ.จีระ เป็นผู้ดำเนินรายการ และก็จบลงด้วยเนื้อหาสาระดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และแล้วเราก็เดินทางกลับถึงสวนสุนันทาโดยสวัสดิภาพแล้วแยกย้ายกันกลับด้วยความเหน็ดเหนื่อยบวกกับความสุขฯ

ข้อคิดและคำคมบางประการที่ได้รับจาก ศ.ดร.จีระ อ.ยม และแขกรับเชิญ

  • โลกปัจจุบันเป็นที่ที่ไร้พรหมแดน และเป็นโลกแห่งการแข่งขัน ฯ
  •  เงินถ้ามีแล้วใช้ไม่เป็น ฉิบหายหมด ฯ
  •  เงินถ้ามีแล้วใช้เป็น มีแต่จะงอกเงย ฯ
  •  เราต้องใช้จุดแข็งของเราให้เป็นประโยชน์ ฯ
  •  ต้องรู้จุดยืนของตัวเองว่า เราอยู่จุดไหน ฯ
  • จะฟังอะไรต้องจับประเด็น และ ต่อยอด(ทางความคิดและลงมือปฏิบัติ)ให้ได้ ฯ
  • จงภูมิใจในความเป็นราชภัฏ รักในความเป็นสถาบันของเรา เพราะเราชาว รปม.4 สวนสุนันทา มีความกตัญญูต่อสถาบันและอาจารย์ผู้ให้ความรู้ ไม่แพ้มหาวิทยาลัยอื่นเช่นกัน ฯ  
  • เราในฐานะลูกศิษย์ของ อ. จีระ ต้องไม่ให้ใครเอารัดเอาเปรียบ อย่ายอมเป็นขี้ข้าใคร อย่าให้ใครมาจูงจมูก แลที่สำคัญ ต้องรู้จักตัวเอง ฯ คนอิสาน ถึงไม่ได้เรียนราชภัฏก็สามารถเรียนรู้ได้โดยใช้อินเทอร์เน็ต ฯ  เงินหาได้โดยใช้สมอง  เงินมาจากปัญญา ฯ คนไทยเข้าใจว่าทุนคือเงิน  แต่ความจริงไม่ใช่ สมองหรือปัญญาต่างหากคือทุนอันล้ำค่าที่เรามี (ปัญญาคือเงิน เงินเกิดได้จากปัญญา)

       และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่อยุ่ในความคิดซึ่งอาตมภาพได้รับรู้และสามารถเขียนเป็นกระทู้ได้อีก แต่อย่ากระนั้นเลย เพียงเท่านี้ก็พอเห็นได้ว่า การไปครั้งนี้ไม่เสียทีจริง ๆ

        

สุดท้ายนี้ก็ขอเจริญพรขอบคุณ อ.จีระ และคณะที่จัดให้มีกิจกรรมครั้งนี้ เจริญพรขอบคุณ อ.ยม นาคสุข สำหรับอาหารเช้าและน้ำผลไม้ พร้อมทั้ง ชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่านที่ให้การดูแลพระเป็นอย่างดีในเรื่องอาหาร (มะพร้าวหนึ่งลูกพร้อมเปลือกกับหลอดหนึ่งอัน) ฯ ถ้าไม่ได้อาจารย์ยมเช้านั้นนะ พระหิวแย่เลย พระเนื้อนะจ๊ะโยมจ๋า ไม่ใช่พระอิฐพระปูน (หัวเราะ)

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

ขอน้อมคุณพระพร้อมองค์ตรัย   เป็นฉัตรป้องผองภัยทั่วถ้วน

จงสฤษสมฤทัย                      อย่าเนิ่นนานเฮย

ยศลาภไหลหลากล้วน             พรั่งพร้อมมงคล ฯ

ขอคณาจารย์ทุกท่าน และชาว รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทาจงมีความสุขความเจริญดังคำกลอนที่เอื้อนเอ่ยมานี้ ถ้วนหน้าเทอญ ฯ

ขอเจริญพร

นางสาวลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น4

 

             สิ่งที่ประทับใจที่ไปศึกษาดูงาน ณ  เกาะล้าน เมืองพัทยา ในวันที่ 21   กุมภาพันธ์         2551

              การเดินทางที่ต้องตื่นตั้งแต่เช้าขึ้นรถลงเรือ เป็นธรรมดาทีต้องเกิดอาการเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแม้ว่าจะอยู่ในวัยรุ่นแต่ท่านอาจารย์  ท่านคุณหญิงและคณะไม่มีริ้วรอยของความเหนื่อยทั้งใบหน้าและรอยยิ้มและแววตาของทานอาจารย์และท่านคุณหญิงมีแต่ความจริงใจความรักความหวังดีอยากจะให้ลูกศิษย์ เก่งดี อย่างมีคุณภาพท่านต้องการเติมเต็มในสิ่งที่ลูกศิษย์ขาด และให้ในสิ่งที่ลูกศิษย์ไม่มี ความรู้สึกที่ข้าพเจ้าได้รับ เป็นความรู้สึกจากใจของท่านอาจารย์และคณะในความเป็นจริงท่านไม่จำเป็นจะต้องมาทำในสิ่งเหล่านี้ให้เป็นภาระเหน็ดเหนื่อย  ประทับใจมากค่ะ

                สิ่งที่ได้รับในครั้งนี้   ตลอดชีวิตที่ผ่านมา 40 ปี ได้แต่นึกสงสัย แคลงใจว่าตำราภาษาอังกฤษที่คนระดับศาสตราจารย์ท่านใช้หาซื้อได้ที่ไหนในประเทศไทย ตอบเองในใจคิดเองโดยไม่เคยถามใคร ว่าต้องซื้อจากต่างประเทศ  ในประเทศไทยไม่มีวางขาย

                ครั้งนี้ได้รู้จักร้าน BOOKAZINE  ว่าเป็นร้านหนังสือตำราภาษาอังกฤษคุณภาพเกินราคา ได้ยินท่านพูดว่าในกรุงเทพฯ มีร้านเช่นนี้ที่ SIAM PARAGON  และที่ IMPORIUM  แต่ก่อนนี้ถ้ามีใครถามว่าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษหาซื้อได้ที่ไหน ข้าพเจ้าตอบไม่มั่นใจว่า สงสัยร้านหนังสือพิมพ์ทั่วไปก็มีขายมั้ง   ต่อไปนี้ข้าพเจ้าสามารถตอบอย่างรู้จริง  อย่างเต็มภาคภูมิใจ  และเชื่อว่ายังมีปัญญาชนอีกไม่น้อยที่ไม่รู้จักร้านหนังสือเช่นนี้  การได้เห็นร้าน ทำให้จุดประกายความคิดของข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 ว่าต้องอ่านหนังสือภาษาอังกฤษซะบ้าง ไม่ใช่เห็นแล้วเดินหนีหรือจับวาง  ได้สัญญากับตัวเองว่าต่อไปนี้จะจับแล้วอ่านมาก ๆค่ะ

 

วิวิตรา จุลกรานต์ สวัสดีค่ะอาจารย์ ที่อาจารย์มาพวกหนูคือ รปม.4 ไปทัศนศึกษาที่เกาะล้าน หนูมีความประทับใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่พวกเราไปต่างจังหวัดร่วมกัน และประทับใจในตัวอาจารย์ที่ให้ความรู้กับลูกศิษย์มากที่สุด รวมทั้งพาพวกเราไปร้านหนังสือที่ทำ ให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การนั่งเรือไปที่เกาะล้าน ถึงคลื่นจะแรงไปหน่อย แต่ก็ทำ ให้สนุก สิ่งที่ได้รับจากการเดินทางครั้งนี้ - ได้รับความรู้จากพี่ ๆ ทั้ง 3 ท่าน ซึงให้ข้อคิดดี ๆ แก่พวกเรา ซึ่งทำให้ได้มีความคิดใหม่ในการดำเนินชีวิต

  

ความประทับใจในการศึกษาดูงาน                    ณ เกาะล้าน  จังหวัดชลบุรี

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   ท่านอาจารย์ผู้สอน  และท่านผู้อ่าน

                เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นอีกวันหนึ่งที่ประทับใจในชีวิตและได้จดบันทึกไว้ในDiary  จากการที่ไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุริ  โดยส่วนตัว มีความประทับใจ 2 เรื่อง คือ เรื่องท่านอาจารย์จีระ และเพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ 4 ทุกคน

                ความประทับใจในอาจารย์จีระ  ก็มีเหตุผลมาจาก เมื่อรถบัสได้ไปถึงจุดนัดพบที่ MC.Donald's  ก็พบว่าท่านอาจารย์จีระ คุณหญิง และทีมงาน HR. ได้คอยอยู่แล้ว  ซึ่งตามธรรมเนียมปฏิบัติ  เด็กๆอย่างพวกเราจะต้องไปถึงก่อนท่านจึงจะเป็นเรื่องที่ควรปฏิบัติ   ซึ่งต่อมาพวกเราได้ลงไปสวัสดีท่าน และท่านได้แนะนำคุณหญิง ซึ่งเป็นภริยาท่าน และทีมงาน HR. พวกเราลงความเห็นว่าคุณหญิงภริยาท่านสวยมาก ท่านบอกว่าสอยอย่างเดียวไม่พอต้องดี และเขารักท่านมากด้วย  ฟังแล้วรู้สึกประทับใจ  ภายหลังจากนั้นท่านอาจารย์ได้เดินนำหน้าพาลูกศิษย์ไปที่ร้านหนังสือ BookaZine (good Reading from Around the world)  เพื่อเติมอาหารให้กับสมอง ท่านได้แนะนำหนังสือดีๆ หลายเล่ม โดยให้ลูกศิษย์เป็นผู้ตัดสินใจ  ซึ่งในวันนั้นตัวผู้ศึกษาเลือกเติมอาหารให้กับสมองด้วยการซื้อหนังสือ 2 เล่ม  เล่มแรก คือ CEO มองซีอีโอโลก เพราะเป็นหนังสือแนวคิดหลักการในการบริหารหลากหลายรูปแบบ และหลายองค์กร  ดังเช่น อัลเบิรต์ ไอน์ไตน์  และอัลเฟรด โนเบล  บอกชื่อแค่นี้ใครๆก็รู้ทั้ง2 คนยิ่งใหญ่แค่ไหน เพราะพวกเขาเหล่านั้นผ่านช่วงเวลาอันเจ็บปวดอย่างที่อาจารย์จีระ เคยยกตัวอย่างมาแล้ว  โดยพวกเขาเป็นผู้รู้จริง ทำจริง ทดลองจริงๆจนประสบความสำเร็จในชีวิต  ความร่ำรวยไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาสนใจ แต่เขาสนใจเติมอาหารให้สมองทุกวัน และทำเพื่อสังคม  หนังสือเล่มที่ 2 คือ ความถูกต้องเป็นสิ่งสูงสุด (เมื่อมีความถูกต้องก็หมดความทุกข์) ของหลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ   เมื่อคิดจะเป็นผู้บริหารที่ไม่มีทฤษฎีใดหรือสูตรใดที่สำเร็จรูปสำหรับการบริหารในเรื่องของการจัดการ คนเราต้องมีความรู้ คู่คุณธรรมและจริยธรรมด้วย

              ความประทับใจในอาจารย์จีระ ในฐานะเป็นผู้นำ (Leadership)

พาลูกศิษย์ ทีมงาน HR. ไปยังเกาะล้าน  นอกจากที่ท่านเป็น Coach ให้กับพวกเราแล้ว ท่านยังแสดงให้เห็นถึงบทบาทความเป็นผู้นำ และผู้บริหารให้ เราเห็น ถึงแม้ว่าท่านจะไม่สอนพวกเราโดยตรงก็ตาม  ดังเช่น

              1. การบริหารเวลา(Time Management)  ซึ่งพวกเรารู้อยู่แก่ใจว่า ภารกิจท่านมากมายแค่ไหน แต่ท่านก็บริหารจัดการเวลาได้อย่างลงตัว 

              2.  การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ซึ่งพวกเราก็รู้อยู่อีกว่าโปรแกรมในครั้งนี้  ตอนแรกจะไปดูงานที่ Asian University แต่วันนั้นเป็นวันหยุด ท่านอาจารย์ก็ได้ปรับเปลี่ยนแผน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยไม่ขาดสาระสำคัญของการเติมอาหารให้กับสมอง

              3.  การบริหารจัดการความรู้ (Knowledge Management)  ท่านได้เชิญให้ท่าน ดร.   ท่านรองผู้กำกับ มาพูดถึง HR. ซึ่งทั้งสองท่านได้พูดถึงการบริหารตัวเอง การพัฒนาขีดความสามารถของตัวเราเอง 

              4. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการเดินทางครั้งนี้ตรงขึ้นรถ ลงเรือ  ท่านก็ได้ประสานงานกับทางตำรวจ  คนขับเรือ

ไว้ล่วงหน้าแล้ว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับพวกเราทุกคน ซึ่งอยู่ในความดูแลของท่าน

              ประทับใจเพื่อน รปม.รุ่น 4   วันนั้นตัวผู้ศึกษาเองรู้สึกว่ามีความสุขมาก  เหมือนกลับไปเป็นเด็กๆอีกครั้ง  แต่เรื่องที่ประทับใจคือ วันนั้นเมาเรือโชคคดีรุ่น4 มีพยาบาลใจดี ชื่อคุณลาวัลย์ นำยาไปแจกเพื่อนๆ น้องส้มนำน้ำมาให้ดื่ม จึงคลายความทุกข์จากการคลื่นเหียนอาเจียนได้  และอีกประเด็นหนึ่งขณะลงเรือพี่นพ และเพื่อนคนอื่นก็ช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน โดยมีสายตาคู่หนึ่งมองลูกศิษย์ด้วยความห่วงใยจากใจจริงของท่าน "นี่แหละเขาเรียกว่าลงเรือลำเดียวกัน"

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รปม.รุ่น 4

เรียน  ศ.ดร.จีระ  ทีมงาน  และสวัสดีเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551                            

         ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์จิระ , ดร.กีรติ , ดร.นิยม และรอง ผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา ที่สร้างความมั่นใจให้กับพวกเราชาว รปม. ว่ามีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ท่านอาจารย์ได้พาพวกเราไปเปิดโลกทัศน์ที่ร้านหนังสือซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือหลากหลายมากมาย  ต่อจากนั้นพวกเราก็ได้เวลาพจญภัยกับการลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน และจะเห็นได้ว่าความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป ประกอบกับน้ำทะเลที่สวยงามมาก และคลื่นทะเลที่รุ่นแรงประทับใจอาจารย์จีระ มาก ๆ ที่ท่านน่ารักมากเป็นกันเอง และคอยดูแล ห่วงใยพวกเราตลอดเวลา  และท่านยังเป็นผู้นำที่พาพวกเราไปได้กับคลื่นทะเลที่น่าหวาดเสียวมาก และเห็นความรักความปรองดองของพวกเราทุกคนในเวลาที่เรือเอนไปซ้ายทีและขวาทีมันทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากในเวลาที่เราอยู่ในเรือ และพวกเราได้เรียนรู้การแก้ปัญหา คือ เมื่อตอนที่จะให้พวกเราลงเรือเล็กแต่เพราะคลื่นใหญ่ไม่สามารถเทียบเรือสองลำเข้าหากันได้ คนขับเรือก็เลยขับไปจอดเรือข้างภูเขาอีกด้านหนึ่ง ทำให้เราได้ลงเรือเล็กได้ ซึ่งกลุ่มแรกที่ลงเรือเล็กก็ไม่เห็นมีอุปสรรคเท่าไรหนัก แต่พอกลุ่มที่สองลงเรือเล็กรู้สึกได้ว่ามันเริ่มมีอุปสรรคมากกว่า ซึ่งมีผู้นำคอยบอกให้เฉลี่ยกันนั่งให้เท่า ๆ กัน และรู้สึกถึงความวุ่นวายตอนลงมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะคลื่นลมอาจจะมาแรงตอนนั้นก็ได้  และได้รับความรู้จากพี่ ๆ ทั้งสามท่าน และจากท่านอาจารย์จีระ ได้สอนให้พวกเราชาว รปม. เรียนรู้อยู่ตลอด  ต้องเป็นคนใฝ่รู้  คิดเป็น ทำเป็น และวิเคราะห์เป็น เมื่อถึงตอนลงเรือกลับ พวกเรากลับยิ่งสนุกมากขึ้นกว่าตอนลงเรือไปอีก แต่แล้วพวกเราทุกคนก็ได้กลับถึงฝั่งด้วยความปลอดภัย

ส.ท. สราวุธ ดอกไม้จีน

 

การไปทัศนศึกษาเกาะล้าน 

การไปทัศนศึกษาครั้งดีผมรู้สึกว่าเป็นการดูงานที่น่าสนใจหลายด้านโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ของเกาะล้านโดนมีท่าน ศ. ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ เป็นพ่องานใหญ่และยังมีอาจารย์อีก2ท่านและท่านสารวัตรของพัทยาให้ความรู้แก่พวกเรา และได้รู้ว่าปัจจุบันโลกของเราเป็นโลกที่ไร้พรมแดนเป็นโลกแห่งการแข่นขัน  ได้เห็นโลกภายนอกโดนมาดูจากสถานที่จริง  ผมรู้สึกดีที่ได้ไปกันเป็นกลุ่มคณะ ในการเดินทางก็สนุกมากเลยครับ แต่ขากลับเนี้ยสิคลื่นลมแรงแต่ก็มันส์เรือค่อนข้างโคลงเคลงมาเลย แต่พอขึ้นฝั่งแล้วก็สบายใจสนุกดีครับ พอถึงฝั่งก็นั่งรถกลับบ้านโดยมีความรู้แล้วความสุขกลับบ้าน

นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง รหัส 50038010043

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

ความประทับใจ

          ประการแรกคือได้ไปเยี่ยมชมร้านหนังสือที่มีทั้งหนังสือไทยและหนังสือต่างประเทศ  ได้รู้ว่าเมื่อชาวต่างชาติมาประเทศไทยแล้วเขาหนังสือประเภทไหนอ่านได้ในประเทศไทย  ได้สังเกตว่ารูปเล่มหนังสือในสมัยใหม่นี้มีความน่าสนใจมิใช่น้อย  ไม่เพียงแต่สีสันหรือปกที่สวยงาม  ยังมีทั้งที่บรรจุอยู่ในกระเป๋าให้สามารถพกพาได้ และทำรูปแบบหีบห่อให้น่าสนใจอีกอย่างเช่นหนังสือเกี่ยวกับอาหารก็มีปกเป็นรูปใบตองห่ออีกชั้นหนึ่งเพื่อให้น่าสนใจ  และเมื่อเปิดหนังสือบางเล่มที่คนต่างชาติเป็นผู้แต่งเกี่ยวกับประเทศไทยก็ทำให้เห็นได้ว่าคนต่างชาติเขามองคนไทยเราว่าเป็นอย่างไรถึงแม้ว่าจะมีโอกาสได้ดูเพียงรูปภาพเพราะมีเวลาไม่มากนัก

          ประการที่สองคือประทับใจในเพือนๆ รปม.รุ่น 4 ที่มีความสนุกสนาน รักใคร่สามัคคี เป็นห่วงเป็นใยกัน ระหว่างที่โดยสารไปกับเรือก็คอยเป็นห่วงและคอยดูแลซึ่งกันและกัน  โดยเฉพาะข้าพเจ้าซึ่งดูเพื่อนจะเป็นห่วงคอยลุ้นมากกว่าเพื่อนๆ เพราะน้ำหนักมากกว่าเพื่อน  ด้วยกลัวว่าเรือจะโครงเครงงจนล่ม   หรือถ้าตกน้ำไปแล้วจะไม่มีคนลงไปช่วยกระมัง

          ประการที่สามคือน้ำทะเล และทิวทัศน์ที่สวยงาม  การผจญภัยกับคลื่นลมทะเล  และชาวต่างชาติ

ความรู้

          ท่าน ศ.ดร.จิระ ยังคงรูปแบบการให้ความรู้โดยเน้นการให้ความคิดที่หลากหลายโดยให้ผู้รู้หลายๆ ท่านมาแนะนำตัวและแสดงความคิดเห็น  รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากลูกศิษย์ ซึ่งก็คือการเรียนรู้แบบสองทาง หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

          ดร.กีรติ  ท่านให้ข้อคิดว่าการหนทางที่เราเลือกนั้นอาจไม่ใช่หนทางที่ถูกต้องทางเดียวเสมอไป  หัวใจของการบริหารจัดการคือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ฯ เครื่องจักรเครื่องกลซื้อหาได้ แต่บุคลากรต้องหาและต้องบริหารให้ดี

         ได้ทราบประวัติ  และข้อมูลทั่วไปของพัทยา ได้ทราบว่าพัทยาไม่ได้เลวร้ายและน่ากลัวอย่างที่หลายๆ ท่านคิดจากท่านรองผู้กำกับสภอ.พัทยา

          อ.ยม ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจับประเด็น แล้วต้องต่อยอดให้ได้  ว่าก่อนและหลังการเรียนรู้เราได้อะไรบ้างจากการเรียนรู้นั้น

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รปม. รุ่น 4

 

สวัสดี  ศ.ดร.จีระ  ทีมงาน  เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551                            

         ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณ ท่านอาจารย์จีระ , ดร.กีรติ , ดร.ยม และรอง ผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา ที่สร้างความมั่นใจให้กับพวกเราชาว รปม. ว่ามีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ท่านอาจารย์ได้พาพวกเราไปเปิดโลกทัศน์ที่ร้านหนังสือซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือหลากหลายมากมาย  ต่อจากนั้นพวกเราก็ได้เวลาพจญภัยกับการลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน และจะเห็นได้ว่าความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป ประกอบกับน้ำทะเลที่สวยงามมาก และคลื่นทะเลที่รุ่นแรงประทับใจอาจารย์จีระ มาก ๆ ที่ท่านน่ารักมากเป็นกันเอง และคอยดูแล ห่วงใยพวกเราตลอดเวลา  และท่านยังเป็นผู้นำที่พาพวกเราไปได้กับคลื่นทะเลที่น่าหวาดเสียวมาก และเห็นความรักความปรองดองของพวกเราทุกคนในเวลาที่เรือเอนไปซ้ายทีและขวาทีมันทำให้พวกเราทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากในเวลาที่เราอยู่ในเรือ และพวกเราได้เรียนรู้การแก้ปัญหา คือ เมื่อตอนที่จะให้พวกเราลงเรือเล็กแต่เพราะคลื่นใหญ่ไม่สามารถเทียบเรือสองลำเข้าหากันได้ คนขับเรือก็เลยขับไปจอดเรือข้างภูเขาอีกด้านหนึ่ง ทำให้เราได้ลงเรือเล็กได้ ซึ่งกลุ่มแรกที่ลงเรือเล็กก็ไม่เห็นมีอุปสรรคเท่าไรหนัก แต่พอกลุ่มที่สองลงเรือเล็กรู้สึกได้ว่ามันเริ่มมีอุปสรรคมากกว่า ซึ่งมีผู้นำคอยบอกให้เฉลี่ยกันนั่งให้เท่า ๆ กัน และรู้สึกถึงความวุ่นวายตอนลงมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะคลื่นลมอาจจะมาแรงตอนนั้นก็ได้  และได้รับความรู้จากพี่ ๆ ทั้งสามท่าน และจากท่านอาจารย์จีระ ได้สอนให้พวกเราชาว รปม. เรียนรู้อยู่ตลอด  ต้องเป็นคนใฝ่รู้  คิดเป็น ทำเป็น และวิเคราะห์เป็น เมื่อถึงตอนลงเรือกลับ พวกเรากลับยิ่งสนุกมากขึ้นกว่าตอนลงเรือไปอีก แต่แล้วพวกเราทุกคนก็ได้กลับถึงฝั่งด้วยความปลอดภัย

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

 

เจริญพรท่านอาจาย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นักศึกษารปม.รุ่น 4 ทุกคน และผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

        ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาชื่นชมผู้มีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดมีวันนี้ขึ้นมาหมายถึงการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยา  วันที่ 23  กุมภาพันธ์  2551  โยมอรุณ ผู้เป็นประธานประจำห้องรปม.รุ่น 4   ได้แจ้งกำหนดการเดินทาง ก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีต้องไปนะถึงแม้ว่าวันนั้นจะมีงานปฏิบัติธรรมเนื่องในวันมาฆบูชาที่วัด  แต่ก็ต้องเสียสละเวลางานฯต้องนั้นไป เพราะไม่รู้ว่าจะมีการศึกษาหาความรู้นอกสถานที่อย่างนี้อีกหรือไม่และคิดว่ามีประโยชน์

 

สิ่งที่ประทับใจในการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยา

1.อาจารย์ศ.ดร.จีระ และทีมงานอาจารย์จีระดูแลเป็นห่วงนักศึกทุกคนเป็นอย่างดีและเป็นกันเองกับนักศึกษา

2.ความผูกพันระหว่างนักศึกษาด้วยกัน มีการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน แม้จะเกิดคลื่นลมแรงไปสักหน่อย

3.ได้ความรู้ ประสบการณ์จากดร.จิรติ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองผู้กำกับเมืองพัทยา อาจารย์ยม นาคสุขที่ได้เดินร่วมไปคณะนักศึกษา และที่ขาดไม่ได้คือควารู้จากอารย์จีระ

4.อาจารย์ยม นาคสุข และโยมแขก พร้อมทั้งคณะนักศึกษาได้ช่วยดูแลเรื่องภัตตาหารเช้าและเพลเป็นอย่างดี ขออนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ ขอให้เจริญสมบูรณ์พูนผลในชีวิตครอบครัว หน้าที่การงาน ปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้น โดยเร็วพลันทุกคนทุกท่านเทอญ   สิตฺถนมตฺถุ สิตฺถนมตฺถุ สิตฺถนมตฺถุ.

 

ความรู้ที่ได้จากการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยา

1. การเรียนรู้แบบใหม่  STYTLE  OBAMA  โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง

และต้องคิดให้เป็น คิดให้เป็นระบบมีการใฝ่รู้อยู่เสมอ พึ่งตนเอง ตามหลักในทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

2.ต้องรู้จักการบริหารเวลาให้เป็น คือการวางแผนเห็นได้จากอาจารย์นั่งรถมาถึงก่อนนักศึกษาเพื่อมาดูคอยต้อนรับที่พักให้กับนักศึกษา ที่พักรับประทานอาหาร การเดินทางไปแต่ละสถานที่ตรงต่อเวลานัดหมาย เมื่อเกิดเหตุขัดข้องบางอย่างสามารถแก้ไขต่อเหตุการณ์นั้นได้เพื่อให้ลุล่วงไปด้วยดี

3.การบริหารจัดการที่ดีนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้เสมอไป เช่นการเลี้ยวซ้าย ไปถึงก่อนเวลา ไม่จำเป็นว่าเลี้ยวขวาจะผิด

4. การบริหารทรัพยากรมนุษย์สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคน ดังนั้นคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหาร เช่นองค์กร 2 องค์กรแตกต่างกัน มีความเจริญมากกว่ากันไม่ใช่อยู่ที่วัสดุอุปกรณ์แต่อยู่ที่การบริหารคน วัสดุอุปกรณ์สามารถหาซื้อ ได้แต่คนเก่งที่ดีไม่สามารถหาซื้อได้

5.การบริหารความเสี่ยง เมื่อเกิดคลื่นทะเล ทำให้รู้ว่าต้องควบคุมอารมณ์ ควบคุมสติไม่ตกใจ แต่อยู่ในอาการอันสงบหาวิธีทางไปให้ถึงเป้าหมาย

6.เมืองพัทยาเป็นสถานที่น่าพักผ่อนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร และน่ามาลงทุนทำธุรกิจเพราะเศรษฐกิจกำลังเติบโต

7.นักศึกษาเมื่อฟังความรู้จากอาจาย์แล้วต้องรู้จักจับประเด็น เช่น ประเด็นจากอาจารย์จีระ การรู้จักบริหารเวลา การเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ยุคไร้พรมแดนมีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันระหว่างประเทศทั่วโลก

8.การบริหารการเปลี่ยนแปลง เช่น ก้าวข้ามจากเรือใหญ่ไปสู่เรือเล็ก ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ทำด้วยความรอบคอบและต้องปลอดภัยเพื่อไปให้ถึงฝั่งเกาะล้าน เพราะนั่นคือเป้าหมายของเราทุกคน

        จะเห็นได้ว่าในการเดินทางไปเกาะล้าน เมืองพัทยาในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการศึกษาหาความรู้เป็นอย่างมาก เพราะความรู้ไม่จำเป็นจะต้องเรียนในห้องเรียนอย่างเดียวเสมอไป  ยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว องค์กรทุกองค์กรใครมีความรู้ของอีกฝ่ายมากก็ได้เปรียบ ตามหลักของซุนวู่ กล่าวไว้ว่าต้องรู้เขา รู้เรา รบพันครั้ง ชนะพันครั้ง ดังนั้น จึงอยากให้มีการไปเรียนรู้นอกสถานที่อย่างนี้อีกและถ้าเป็นไปได้อยากให้มีในรายวิชาอื่นด้วย

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

กราบเรียน   ดร.จิระ (ท่านอาจารย์ที่เคารพ), อาจารย์ทุกท่าน และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน

        รปม.รุ่น 4 ม.สวนสุนันทา  ได้ไปศึกษาดูงานที่พัทยา  และเดินทางไปเกาะล้าน

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้จากการศึกษาดูงาน คือ

1.    ดร.จิระ  ได้สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ไหนเมื่อไหร่  แม้ว่าขณะที่เดินทางไปศึกษาดูงาน อาจารย์แนะนำให้เข้าร้านหนังสือ  BOOKAZINE  ซึ่งอาจารย์ได้ให้แนวคิดว่าอาจารย์ไม่ได้ฉลาดกว่าใคร  แต่อาจารย์ไม่เคยหยุดที่จะเรียนรู้  ทำให้เกิดประกายในตัวข้าพเจ้าว่าการที่เราเห็นคนอื่นที่เก่ง ๆ  แล้วเราต้องการที่จะเป็นอย่างเขา เราสามารถทำได้โดยเราก็ต้องหมั่นหาความรู้มาใส่สมองอย่างไม่หยุดนิ่ง

2.    ความเป็นมิตรสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมรุ่น  เนื่องจากตั้งแต่ที่ข้าพเจ้าได้เข้าศึกษามาครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ออกมาศึกษาดูงานนอกสถานที่ร่วมกัน  ทำให้เกิดความสนิทสนมกลมเกลียวกันมากขึ้น

3.    ได้เรียนรู้บุคคลที่น่าจะนำมาเป็นตัวอย่างในการเรียนรู้  คือ  ดร.กีรติ  ,อาจารย์ยม, ท่านรอง ผกก.  ซึ่งได้ให้แนวความคิดในการดำเนินชีวิตและการศึกษา  ในแต่ละท่านแตกต่างกัน ซึ่งทุกท่านก็ให้แนวคิดที่ดีและสามารถดึงนำมาใช้ได้ในการดำเนินชีวิต

สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจ

       1.    ประทับใจ ท่านดร.จิระ (อาจารย์)  ที่ท่านใส่ใจกับนักศึกษา รปม.รุ่น 4  อย่างมากท่านมาถึงสถานที่นัดหมายก่อนนักศึกษา ,ท่านมีการวางแผนการเดินทางอย่างดี  และท่านมีความตั้งใจที่จะกระตุ้นในนักศึกษาใฝ่รู้อยู่เสมอ ซึ่งท่านมีรูปแบบในการผลักดันความคิด  การวิเคราะห์หลากหลาย  เช่น   กระตุ้นให้นักศึกษาอ่านหนังสือ  อ่านแล้วคิด  วิเคราะห์  เสนอข้อคิด  ,  กระตุ้นนักศึกษาโดยให้รู้จักกับบุคคลที่เป็นตัวอย่าง เช่น  ดร.กีรติ ,อาจารย์ยม, ท่าน รอง ผกก.

      2.   ประทับใจทีมงานของอาจารย์ ที่ได้มาร่วมเดินทาง และให้การดูแล  ความเป็นกันเอง กับคณะนักศึกษา มีการเตรียมการทำให้การเดินทางไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรถ  ลงเรือ  ก็ไม่มีอุปสรรคใด ๆ  ติดขัด

      3.   ประทับใจเพื่อน ๆ  ทุกคนที่ได้มาร่วมเดินทางและให้การช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี  เช่น  เตรียมยามาเพื่อใครที่เมาเรือ  , ช่วยเหลือระหว่างที่ต้องลงเรือ , รับประทานอาหารร่วมกันอย่างเอร็ดอร่อย และแบ่งปัน  แม้กระทั่งเวลาที่เรือโคลงเคลงก็ช่วยกันจับรอรับเพื่อนที่จะล้มซึ่งทำให้เกิดความเป็นกันเอง และสนุกสนาน

   4 .  ประทับใจน้องตัวเล็ก ๆ  ที่อยู่บนเรือหางยาวคอยรับคนที่อยู่บนเรือใหญ่ เป็นเด็กน้อยแต่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างขยันขันแข็ง ดูแล้วไม่เป็นเด็กเล็ก ๆ ที่คอยวิ่งเล่น คอยสั่งผู้ใหญ่ที่อยู่บนเรือว่าก้าวลงอย่างไร  และให้มองปะการัง  ทึ่งที่เขาสามารถทำงานและรับผิดชอบตัวเองได้ดี

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ รปม.รุ่น 4

 ข้อ 1. วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์  จากการชมวีดีทัศน์
 ความเหมือน

1. ทั้งสองท่านเป็นคนชอบอ่านหนังสือและเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง

2. เป็นคนที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี โดยได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากบิดา มารดา และมีพื้นฐานการศึกษาที่ดีและ ได้มีโอกาสไปศึกษาเรียนต่างประเทศ

3.  เป็นคนมีความมั่นใจในตนเองสูง เพราะมีฐานองค์ความรู้ที่ดี

4.  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนเป็นอย่างมาก เพราะคนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด องค์กรจะประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อยู่อุปกรณ์เทคโนโลยี

5. ส่วนทฤษฎี 8 H ‘s ของคุณหญิงทิพาวดี และ 8 K ‘s ของ ศ.ดร.จีระ นั้น มีความเหมือนเกือบทุกข้อ ยกเว้น ข้อที่ ศ.ดร.จีระ เห็นความสำคัญของ ทุนทางเทคโนโลยี เพื่อให้มนุษย์ก้าวทันโลกที่มีการแข่งขันสูง และจะเน้นการทำงานเป็นทีม โดยใช้ IT เป็นสื่อในการสอน  ส่วนคุณหญิงทิพาวดี เน้นเรื่อง สุขภาพ ที่สมบูรณ์ ถือว่า สำคัญต่อมนุษย์ และเน้นการพัฒนาคนผ่านองค์กร

 ความแตกต่าง

1. ท่าน ศ.ดร. จีระ  เป็นคนที่มั่นใจสูงกว่าคุณหญิงทิพาวดี เพราะมั่นในทุนทางปัญญาที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน  มีประสบการณ์ในการทำงานสูง

2.  ท่าน ศ.ดร.จีระ เป็นคนชอบให้ความรู้แก่คน เพราะมีทุนทางปัญญาสูง แต่คุณหญิงทิพาวดีชอบพัฒนาคน คือให้ คนมีโอกาสอิสระในการทำงานเพื่อให้ตำแหน่งสูงขึ้น    

3.  ท่าน ศ.ดร.จีระ มีการทำงานเป็นทีม ไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองซึ่งระบบการทำงานจะกว้างอิสระมากกว่า

4.ส่วนคุณหญิงทิพาวดีจะทำงานอยู่ในวงราชการเท่านั้น

5.ทฤษฎีนักบริหาร " 8 H's " ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์นั้น ท่านให้ความสำคัญที่ "H" แรกคือ Heritage อันมีความหมายถึงมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตคน

6.ส่วนทฤษฎีนักบริหาร " 8 K's " ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านให้ความสำคัญที่ Sustainable Capital  คือทุนแห่งความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบสำคัญ

 

นางสาว.ดนิตา มูลละออง รปม. รุ่น.4

 

เรียน ศ.ดร.จีระ อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน.

ในการเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ. เกาะล้าน จ.ชลบุรี

 

ข้าพเจ้ามีความประทับใจ ศ.ดร. จีระ และทีมงานเป็นอย่างมาก ท่านสละเวลาส่วนตัวมาให้ความรู้กับนักศึกษา เชิญผู้ที่มีความรู้ ความสามารถมาเล่าประสบการณ์ให้นักศึกษาฟัง และ ศ.ดร. จีระ เน้นให้เราศึกษาแบบ OBAMA แต่ที่ประทับใจมากที่สุดคือขณะที่ลงจากเรือเพื่อไปขึ้นเรือเล็กได้มองเห็นท่าน ศ.ดร.จีระ ลงเรือแล้วรอคุณหญิงและคอยห่วงใยคุณหญิงทำให้มองในสิ่งที่ ศ.ดร. จีระ สอนในทฤษฏี 8H's คือ Human Captal ทนทางมนุษย์ อยู่ที่พื้นฐานของครอบครัว เพราะปัจจุบันสังคมไทยสภาวะแวดล้อมครอบครัว นั้นเปลี่ยนไปจากเดิมมาก คือไม่มีเวลา ไม่มั่นเติมความรักให้ครอบครัว มองแต่ว่างานคือเงิน เงินบันดาลสุข

 

คร.กิตติ จะสอนให้เรารู้ว่าทางไดทางหนึ่งที่เราเลือกไม่ผิด แต่กลับมองด้วยเหตุผลที่เราไป เช่น ครอบครัว ดร.กิตติ จะเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาจารย์วิศวะ มาทำงานเป็นอาจารย์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และให้ความสำคัญกับคน คือ องค์กรจะเล็กหรือใหญ่ จะประสพความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับคน ทั้งทรัพยากรทุกอย่างมีอย่างจำกัด เราต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.

 

ผู้กำกับ. จะสอนให้เรารู้ว่ายุคปัจจุบันเป็นยุคไร้พรมแดน และจะทำอย่างไรให้เราอยู่กับชาวต่างชาติได้อย่างชาญฉลาด

 

อาจารย์ ยม. มีคติให้เราคิดตามและเกิดประโยชน์ อย่ายอมแพ้ อย่าเป็นขี้ข้าใคร อย่ามัวแต่เพ้อฝัน การแสวงหาความรู้ทุกนาที ต้องรู้จักพึ่งตนเอง ต้องเป็นผู้ชี้แนะ เรียนรู้แบบ OBAMA การเรียนรู้ต้องออกนอกกรอบ การเป็นนักบริหารจะต้องรู้จัก การบริหารตนเองก่อน.

 

ข้าพเจ้าขอขอบคุณ อ. อัษฎางด์ เป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ เราชาว รปม. รุ่น.4 ได้มีโอกาสเรียนกับ ศ.ดร. จีระ และเหล่าทีมงานที่ทำให้นักศึกษาทุกคนได้เรียนรู้ระบบ OBAMA และเป็นผู้นำที่สามารถกระตุ้นให้นักศึกษา ตื่นตัวอยากเรียนรู้มากขึ้นสอนให้กล้าคิด... ขอให้อาจารย์ อัษฎางค์ หายป่วยสุขภาพแข็งแรงโดยเร็ว

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

นางสาวจุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อวันพุธที่ 21 ก.พ.2551 ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้านจังหวัดชลบุรี

สิ่งที่ประทับใจจากการได้ไปเดินทางในครั้งนี้

1.จากการที่ได้เดินทางไปที่เมืองพัทยาและเกาะล้านรู้สึกว่าดีใจที่ได้มีโอกาสมาเยือนเมืองพัทยาและเกาะล้านซึ่งถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อีกแห่งในประเทศไทยที่มีทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยนิยมมาท่องเที่ยวกันมากได้มีโอกาสได้สัมผัสท้องทะเลที่สวยงามและวิวทัศน์ทัศนียภาพต่างๆที่เป็นธรรมชาติสวยงามมากและได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์และเย็นสบายไม่หมือนอยู่ในกรุงเทพมหานคร ลมเย็นได้พักสมองเหมาะกับเป็นการพักผ่อนไปในตัวได้มีเวลาคิดทบทวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตนเองรู้สึกสบายกายและทำให้มีจิตใจที่สงบ

2.ได้ศึกษาและเห็นวิถีชีวิตของคนเมืองพัทยาและเกาะล้านได้เปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเดิม

3.บรรยากาศที่ไดสัมผัสรู้ว่าสนุก มีความสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน

4.ได้พบปะและพูดคุยกับเพื่อนหลายๆคนทำให้รู้จักกันมากขึ้นและได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ทัศนคติต่างๆ ถามไถ่ความรู้สึกซึ่งกันและกัน

5.ในการเตรียมงานที่คณาจารย์ทุกท่านทีมงานทุกท่าน คอยจัดการดูพวกเราทุกคนเป็นอย่างดีไม่ขาดตกบกพร่องพูดคุยกันสนุกสนาน บรรยากาศก็เป็นกันเองเป็นเหมือนพี่เหมือนน้องกัน

6.คนขับเรือในขณะที่ลงเรือพวกเราต้องเผชิญกับคลื่นลมทะเลต่างๆ ที่สามารถพาพวกเราไปรับไปส่งที่เกาะล้านได้อย่างปลอดภัยสอนให้เรารู้จักมีความอดทนอดกลั้นในการดำเนินชีวิต

7.เจ้าของร้านอาหารที่คอยดูแลพวกเราต้อนรับพวกเราเป็นอย่างดี อาหารก็อร่อยน่ารับประทานมาก

8.ได้รับประสบการณ์ต่างๆที่ข้าพเจ้าได้รับมาสำหรับการเดินทางในครั้งนี้

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อะไรจากการเดินทางไปในครั้งนี้   ได้ความรู้ข้อคิดต่างๆในการดำเนินชีวิต

1.การทำงานทุกอย่างจะต้องมีการติดต่อประสานงานที่ดีจึงจะทำให้งานดังกล่าวประสบความสำเร็จ เช่น การเดินทางไปยังเกาะล้านในครั้งนี้

2.รู้จักระบบการทำงานเป็นทีมซึ่งเป็นทีมงานที่มีคุณภาพถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานระบบทีมงาน

3.ได้เดินทางไปยังร้านหนังสือ BookaZine  ซึ่งเป็นร้านที่มีหนังสือและนิตยสารของไทยและต่างประเทศ สอนให้ข้าพเจ้ารู้จักร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ ซึ่งแต่ก่อนข้าพเจ้าจะพบเห็นแต่ร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ที่เป็นของประเทศไทยเป็นส่วนมากร้านหนังสือ และหนังสือพิมพ์ต่างประเทศไม่ค่อยได้พบเห็นเท่าไหร่นักซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้มีความรู้ที่กว้างขว้างมากขึ้นกว่าแต่เดิม

4.ได้เห็นบทบาทความเป็นผู้นำของอาจารย์ในขณะสนทนาร่วมกันกับท่านอาจารย์และทีมงาน ฯและเพื่อนรปม รุ่น 4 ทุกท่าน

ดร.กีรติ ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ในเรื่องการบริหารองค์การถ้าจะให้ประสบความสำเร็จจะต้องเน้นบริหารคนในองค์การให้ความสำคัญกับการบริหารคนว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเราต้องหาบุคลากรที่เก่งและดีและมีศักยภาพและคุณภาพ เข้ามาในองค์การ เช่นบริษัทไหนที่มีบุคลากรที่ดีกว่า มีความรู้ความสามารถมากกว่าก็จะทำให้งานในบริษัทนั้นประสบความสำเร็จหรือได้รับผลกำไรที่มากกว่าบริษัทที่ไม่สนใจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เลย

รองผู้กำกับสภอ.เมืองพัทยา ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนเมืองพัทยาและเกาะล้านเป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นจากเดิมและรู้จักวิถีชีวิตของชาวอีสานที่เข้ามาทำงานที่พัทยา

2.เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีเสน่ห์และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร

3.ได้เรียนรู้จากการที่ไม่ให้ชาวต่างชาตินั้นเข้ามาเอาเปรียบกับคนไทย เช่น การทำธุรกรรมต่างๆโลกในอนาคตเป็นโลกๆไร้พรมแดนสอนให้เราอยู่อาศัยกับชาวต่างชาติอย่างฉลาดรู้ทันเขาแบบรู้เขารู้เรา

4ได้ทราบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับเมืองพัทยา เช่น การปกครอง ค่าปรับการจราจร  ธุรกิจที่จะลงทุนในเมืองพัทยา

อ.ยม  นาคสุข ได้มาให้ความรู้ข้อคิดดังนี้

1.ให้เรารู้จักการจับประเด็น การคิดต่อยอดยุคนี้เป็นยุคไร้พรมแดน เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ต้องเรียนรู้จากการวางตัวที่ฉีกแนวทางการดำเนินชีวิต

2.การเป็นนักบริหาร เราต้องบริหารตนเองให้เพิ่มขีดความสามารถที่เพียงพอที่จะไปช่วยคนอื่นพัฒนาได้ต้องใฝ่รู้ ปัญญา คือ มีเงินถ้าใช้เงินไม่เป็นเงินก็จะหายหมดไป

ความรู้ข้อคิดอื่นๆ

1.การเอาชนะชาวต่างชาติเราต้องบริหารจัดการอย่างไร

2.รู้จักตนเองต้องมีหวังมีความทะเยอทะยาน เรียนหนังสือจะต้องเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง

3.รู้จักการบริหารเวลาการบริหารความเสี่ยงก็เป็นสิ่งที่สำคัญ

4.รู้จักการพัฒนาตนเองให้เป็นคนใฝ่รู้อยู่เสมอ และพัฒนากระตุ้นให้พวกเราเกิดความเป็นเลิศ

5.รู้จักการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้จริงทำจริง ไม่เพ้อฝัน หาความรู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาการใช้ชีวิตที่ยั่งยืน

6.เงินมาจากปัญญา ไม่มีทุนไม่มีเงินแต่เรามีความมานะ สามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ รู้จักการพึ่งพาตนเองได้ คนไม่ได้เรียนหนังสือแต่ก็ใฝ่รู้ได้ เช่น บางคนไม่ได้เรียนหนังสือแต่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ก็เพราะเป็นคนที่ใฝ่รู้นั่นเอง

          ขอขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์ ดร.กีรติ รองผู้กำกับฯสภอ.เมืองพัทยา อ.ยม  นาคสุข  ทีมงานของอาจารย์ เจ้าของร้านอาหาร คนขับเรือ คนขับรถบัส ชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่านและผู้อ่านทุกท่านที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้ถือว่าไดรับประสบการณ์ที่น่าจดจำไว้ในความทรงจำอีกครั้งหนึ่งของข้าพเจ้าขอให้ทุกท่านมีความสุขหลังจากการเดินทางกลับจากการเดินทางในครั้งนี้อย่างปลอดภัย ขอบคุณค่ะ

 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน และท่านผู้อ่าน

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

                จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานยัง เกาะล้าน จ.ชลบุรี นั้นกระผมได้รับประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย      และเรื่องราวต่างๆกับการที่ได้มาศึกษาดูงานครั้งนี้ กล่าวคือ ในการศึกษาดูงานครั้งนี้นั้น มีรูปแบบของเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น คือ การออกเดินทางทาง เรือ ไปยัง เกาะล้านนั้นมี คลื่นลมแรงมากทำให้เกิดความล่าช้าและความกลัวของพวกเรามากแต่ก็ เหตุการณ์ทั้งหมดก็ผ่านไปได้ด้วยดี จนไม่สามารถลืมได้เลย รวมถึง บุคคลกรที่มาให้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆเรื่อง เช่น การพัฒนาองค์กร,ทรัพยากรมนุษย์ โดย อาจารย์.กิตติ และอาจารย์.ยม รวมถึงข้อมูลแหล่งเที่ยวต่างๆ ภายในจังหวัด จากอดีตจนถึงปัจจุบันแต่ไม่เท่านั้นยังรวมไปถึงอนาคต อีกด้วย

 

            กระผมคิดว่าข้อมูลที่ได้จากท่านเหล่านี้นั้นเป็น ข้อมูลที่ดีเยี่ยม เหตุเพราะ การที่เราจะพัฒนาองค์กร หรือ บุคคลกรให้ดีขึ้นได้นั้นในหลักการของการพัฒนา เพื่อไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าองค์กรนั้นจะเล็กหรือใหญ่ ขอให้เรามุ่งมั่น ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ดีที่สุด

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน รวมทั้งท่านผู้อาน Blog และเพื่อนร่วมรุ่นสวน

สุนันทา รปม. รุ่น 4 ทุกคน

เมื่อวันที่  21  กุมภาพันธ์  2551  พวกเรา รปม. รุ่น 4  ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่พัทยา และข้ามเรือไปเกาะล้าน

 สิ่งที่ทำให้ดิฉันประทับใจในการไปครั้งนี้  คือ ดิฉันประทับใจตั้งแต่เริ่มออกเดินทางไปแล้ว เพราะพวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้มีความสามัคคีปรองดองกันมีแซวกันบ้าง พูดคุยกันหยอกเย้ากันบ้างไปในรถตลอดทางจนถึงพัทยา และเมื่อเจอท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่พัทยา ก็ทำให้พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้ประทับใจขึ้นไปอีก เมื่อท่านอาจารย์ได้แนะนำให้เราไปดูร้านหนังสือที่มีคุณค่า และมีองค์ความรู้สำหรับพวกเราที่ใส่ใจ ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อมาพัฒนาตนเองและองค์กรของเรา จากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาเราเดินทางไปลงเรือเพื่อข้ามไปเกาะล้าน ที่ท่าเรือ ก่อนจะไปลงเรือ ท่านอาจารย์ได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักภรรยาของท่าน  ซึ่งเมื่อดิฉันได้พบทำให้ประทับใจในตัวท่านมากเนื่องจากท่านเป็นคนสวยและมีบุคลิกดี ท่าทางเป็นคนใจดีมาก ซึ่งพวกเราก็ได้บอกกับท่าน ศ.ดร. จิระ ว่า ภรรยาของท่านสวยมาก ซึ่งท่านอาจารย์ก็บอกว่าสวยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมึความดีด้วย  ซึ่งทำให้ดิฉันประทับใจกับคำพูดคำนี้ของอาจารย์มาก เพราะคนเราถ้าสวยอย่างเดียวแล้วไม่ดี ก็เปรียบเหมือนดอกกุหลาบที่ไม่มีกลิ่นหอมและไม่มีหนาม  ทำให้ไม่มีใครอยากเก็บไปปลักไว้ในแจกันของตน และต่อจากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาพวกเรามาลงเรือที่ท่าเรือแต่ก่อนที่จะลงเรือท่านได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักคนเก่ง คนมีสามารถ ที่พวกเราสมควรจะได้เรียนรู้ คือ ท่านดร.กีรติ และรองผู้กำกับสภอ.พัทยา รวมทั้งท่านอาจารย์ยม นาคสุข ที่เดินทางมากับเราในรถตั้งแต่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ แล้ว หลังจากนั้นเราก็ลงเรือโดยสารไปเกาะล้านกัน  นั่นคือจุดประทับใจสูงสุดของดิฉันเลย เพราะดิฉันได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้เป็นครั้งที่สองในชีวิต ส่วนครั้งแรกนั้น ตั้งแต่ดิฉันยังเป็นเด็ก ๆ อยู่  ซึ่งจากการเดินทางโดยสารเรือไปครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เห็นว่า  คนขับเรือที่จะนำพาเราไปเกาะล้านนั้นมีการบริหารการจัดกการที่ดี และมีสติไม่อยู่บนความประมาทที่จะควบคุมเรือ เพื่อพาพวกเราไปสู่จุดหมายปลายทางคือเกาะล้าน เพราะคนขับเรือก็เหมือนกับพวกเราที่ไม่รู้ว่าวันนั้นเป็นวันที่มีคลื่นลมแรงมาก แต่คนขับเรือจะต้องทำหน้าที่ของเขาให้ดีที่สุด โดยเขาต้องคิดอยู่เสมอว่าจะต้องนำพาพวกเราไป และกลับจากเกาะล้านให้ปลอดภัยที่สุดให้ได้ และจากการที่ดิฉันได้นั่งเรืออยู่บนชั้นสองของเรือนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าทะเลนั้นกว้างไกลไม่เห็นขอบฝั่ง ทำอย่างไรจะไปถึงขอบฝั่งข้างหน้าได้  ก็เปรียบเสมือนกับโลกเราทุกวันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ คือเป็นโลกที่ไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรจึงจะก้าวตามได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ นั่นก็คือเราต้องเรียนรู้ ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันและหาขอบฝั่งให้ได้ จากนั้นก็หันมามองดูคลื่นในทะเลที่ซัดไปมาทำให้เรือนั้นโคลงเคลงอยู่ตลอดเวลา ก็เปรียบเสมือนชีวิตคนและการเรียนรู้จะต้องมีอุปสรรคบ้าง แต่จะทำอย่างไรที่จะประคับประคองเรือให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้  ก็เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง ว่าเราจะเรียนรู้  ใฝ่รู้ ใส่ใจ นำพาตนเองไปสู่ความเป็นผู้นำและความเป็นเลิศได้ ถ้าเราสนใจหาความรู้ใส่ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เราก็สามารถที่จะนำพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้  จากนั้นเมื่อดิฉันขึ้นถึงฝั่งที่เกาะล้านแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ร่วมรุ่น ก็ยังได้รับประทานอาหารที่อร่อย มีการบริการที่ดี และการบริหารงานอย่างเป็นทีม เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ยังได้รับความรู้จากผู้มีคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน คือ ดร.กีรติ  รองผู้กำกับสภอ.พัทยา และอาจารย์ยม ที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ได้เชิญท่านทั้ง 3 ท่านมาให้ความรุ้กับพวกเรา ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้รู้ว่า พวกเราชาวราชภัฏสวนสุนันทาไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย ในการที่จะเรียนรู้ ถ้าทุกคนตั้งใจและใส่ใจที่จะพัฒนาตนเองและพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดหลายอย่างที่ดีแก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผู้นำที่เป็นเลิศเป็นผู้ให้ความรู้แก่ดิฉันและเพื่อน ๆ  เรือคือนาวา  ท้องทะเลที่กว้างไกล  คลื่นที่ซัดโถมไปมาในท้องทะเลล้วนแต่สอดแทรกข้อคิดให้เราได้ศึกษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักนำมาคิดและใฝ่หาความรู้จากสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราได้เห็นถึงส้จจธรรมของชีวิตที่เป็นจริงและสามารถที่จะเรียนรู้และยืนหยัดอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสง่างามและภาคภูมิที่สุด   สุดท้ายนี้ดิฉันและเพื่อน ๆ ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้ไปเรียนรู้สิ่งที่เป็นจริงของโลก และได้สัมผัสและสั่งสมประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต  ซึ่งดิฉันและเพื่อน ๆ จะประทับใจไปตลอดกาลไม่รู้ลืมเลยค่ะ (พวกเราชาว รปม. รุ่น 4 เคารพรักท่านอาจารย์  ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างสูง ที่เป็นผู้ให้ความรู้แก่พวกเราในครั้งนี้)

 

 

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน รวมทั้งท่านผู้อาน Blog และเพื่อนร่วมรุ้นสวนสุนันทา รปม. รุ่น 4 ทุกคน

 

เมื่อวันที่  21  กุมภาพันธ์  2551  พวกเรา รปม. รุ่น 4  ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ ที่พัทยา และข้ามเรือไปเกาะล้าน

 

 

สิ่งที่ทำให้ดิฉันประทับใจในการไปครั้งนี้  คือ ดิฉันประทับใจตั้งแต่เริ่มออกเดินทางไปแล้ว เพราะพวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้มีความสามัคคีปรองดองกันมีแซวกันบ้าง พูดคุยกันหยอกเย้ากันบ้างไปในรถตลอดทางจนถึงพัทยา และเมื่อเจอท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่พัทยา ก็ทำให้พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ได้ประทับใจขึ้นไปอีก เมื่อท่านอาจารย์ได้แนะนำให้เราไปดูร้านหนังสือที่มีคุณค่า และมีองค์ความรู้สำหรับพวกเราที่ใส่ใจ ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อมาพัฒนาตนเองและองค์กรของเรา จากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาเราเดินทางไปลงเรือเพื่อข้ามไปเกาะล้าน ที่ท่าเรือ ก่อนจะไปลงเรือ ท่านอาจารย์ได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักภรรยาของท่าน  ซึ่งเมื่อดิฉันได้พบทำให้ประทับใจในตัวท่านมากเนื่องจากท่านเป็นคนสวยและมีบุคลิกดี ท่าทางเป็นคนใจดีมาก ซึ่งพวกเราก็ได้บอกกับท่าน ศ.ดร. จิระ ว่า ภรรยาของท่านสวยมาก ซึ่งท่านอาจารย์ก็บอกว่าสวยอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมึความดีด้วย  ซึ่งทำให้ดิฉันประทับใจกับคำพูดคำนี้ของอาจารย์มาก เพราะคนเราถ้าสวยอย่างเดียวแล้วไม่ดี ก็เปรียบเหมือนดอกกุหลาบที่ไม่มีกลิ่นหอมและไม่มีหนาม  ทำให้ไม่มีใครอยากเก็บไปปลักไว้ในแจกันของตน และต่อจากนั้นท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ ก็ได้พาพวกเรามาลงเรือที่ท่าเรือแต่ก่อนที่จะลงเรือท่านได้แนะนำให้พวกเราได้รู้จักคนเก่ง คนมีสามารถ ที่พวกเราสมควรจะได้เรียนรู้ คือ ท่านดร.กีรติ และรองผู้กำกับสภอ.พัทยา รวมทั้งท่านอาจารย์ยม นาคสุข ที่เดินทางมากับเราในรถตั้งแต่ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ แล้ว หลังจากนั้นเราก็ลงเรือโดยสารไปเกาะล้านกัน  นั่นคือจุดประทับใจสูงสุดของดิฉันเลย เพราะดิฉันได้เดินทางไปเกาะล้านในครั้งนี้เป็นครั้งที่สองในชีวิต ส่วนครั้งแรกนั้น ตั้งแต่ดิฉันยังเป็นเด็ก ๆ อยู่  ซึ่งจากการเดินทางโดยสารเรือไปครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้เห็นว่า  คนขับเรือที่จะนำพาเราไปเกาะล้านนั้นมีการบริหารการจัดกการที่ดี และมีสติไม่อยู่บนความประมาทที่จะควบคุมเรือ เพื่อพาพวกเราไปสู่จุดหมายปลายทางคือเกาะล้าน เพราะคนขับเรือก็เหมือนกับพวกเราที่ไม่รู้ว่าวันนั้นเป็นวันที่มีคลื่นลมแรงมาก แต่คนขับเรือจะต้องทำหน้าที่ของเขาให้ดีที่สุด โดยเขาต้องคิดอยู่เสมอว่าจะต้องนำพาพวกเราไป และกลับจากเกาะล้านให้ปลอดภัยที่สุดให้ได้ และจากการที่ดิฉันได้นั่งเรืออยู่บนชั้นสองของเรือนั้นทำให้ดิฉันคิดว่าทะเลนั้นกว้างไกลไม่เห็นขอบฝั่ง ทำอย่างไรจะไปถึงขอบฝั่งข้างหน้าได้  ก็เปรียบเสมือนกับโลกเราทุกวันนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ คือเป็นโลกที่ไร้พรมแดน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรจึงจะก้าวตามได้ทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ นั่นก็คือเราต้องเรียนรู้ ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันและหาขอบฝั่งให้ได้ จากนั้นก็หันมามองดูคลื่นในทะเลที่ซัดไปมาทำให้เรือนั้นโคลงเคลงอยู่ตลอดเวลา ก็เปรียบเสมือนชีวิตคนและการเรียนรู้จะต้องมีอุปสรรคบ้าง แต่จะทำอย่างไรที่จะประคับประคองเรือให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้  ก็เปรียบเสมือนกับการเรียนรู้ และการพัฒนาตนเอง ว่าเราจะเรียนรู้  ใฝ่รู้ ใส่ใจ นำพาตนเองไปสู่ความเป็นผู้นำและความเป็นเลิศได้ ถ้าเราสนใจหาความรู้ใส่ตัวเองอยู่ตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เราก็สามารถที่จะนำพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้  จากนั้นเมื่อดิฉันขึ้นถึงฝั่งที่เกาะล้านแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ร่วมรุ่น ก็ยังได้รับประทานอาหารที่อร่อย มีการบริการที่ดี และการบริหารงานอย่างเป็นทีม เมื่อรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ดิฉันและเพื่อน ๆ ยังได้รับความรู้จากผู้มีคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน คือ ดร.กีรติ  รองผู้กำกับสภอ.พัทยา และอาจารย์ยม ที่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ได้เชิญท่านทั้ง 3 มาให้ความรุ้กับพวกเรา ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้รู้ว่า พวกเราชาวราชภัฏสวนสุนันทาไม่ได้ด้อยไปกว่าใครเลย ในการที่จะเรียนรู้ ถ้าทุกคนตั้งใจและใส่ใจที่จะพัฒนาตนเองและพาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศได้ ซึ่งการไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ข้อคิดหลายอย่างที่ดีแก่ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผู้นำที่เป็นเลิศเป็นผู้ให้ความรู้แก่ดิฉันและเพื่อน ๆ  เรือคือนาวา  ท้องทะเลที่กว้างไกล  คลื่นที่ซัดโถมไปมาในท้องทะเลล้วนแต่สอดแทรกข้อคิดให้เราได้ศึกษาอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักนำมาคิดและใฝ่หาความรู้จากสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราได้เห็นถึงส้จจธรรมของชีวิตที่เป็นจริงและสามารถที่จะเรียนรู้และยืนหยัดอยู่ในโลกนี้ได้อย่างสง่างามและภาคภูมิที่สุด   สุดท้ายนี้ดิฉันและเพื่อน ๆ ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ที่ทำให้ดิฉันและเพื่อน ๆ ได้ไปเรียนรู้สิ่งที่เป็นจริงของโลก และได้สัมผัสและสั่งสมประสบการณ์เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต  ซึ่งดิฉันและเพื่อน ๆ จะประทับใจไปตลอดกาลไม่รู้ลืมเลยค่ะ (พวกเราชาว รปม. รุ่น 4 เคารพรักท่านอาจารย์  ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์ อย่างสูง ที่เป็นผู้ให้ความรู้แก่พวกเราในครั้งนี้)

 

นายชัยรัตน์ พัดทอง นักศึกษา รปม.รุ่น 4

 

กราบเรียน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      จากประเด็นอันเนื่องมาจากความปีติยินดีและประทับใจในการไปทัศนศึกษา ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาจากสภาพความเป็นจริง เพื่อให้รู้จักคิดวิเคราะห์และเปิดโลกทัศน์นอกสถานที่ หลังจากที่ไปถึงและกลับมาก็มีความรู้สึกที่สนุกสนาน ประทับใจ และได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งพอสรุปประเด็น ดังนี้

      ด้านความประทับใจ

                - ได้เปิดโลกทัศน์และได้เจอสิ่งใหม่ ๆ

                - ได้รับรู้ถึงความห่วงใยและเป็นกันเองของอาจารย์และคณะ ความเป็นกันเอง ติดดินของอาจารย์

                - ได้ผจญภัยกับการร่องเรือที่ตื่นเต้น และหวาดเสียว

                - ได้ความสนุกสนาน และความคุ้นเคยกับเพื่อน ๆ มากขึ้น

                - ฯลฯ

      ด้านสาระและแนวความคิด

                - ได้รับรู้รูปแบบการจัดร้านหนังสือ การบริหารร้าน และการสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า เขามีการจัดรูปลักษณ์ หรือรูปแบบร้านให้น่าเข้าชม หนังสือจัดเป็นหมวดหมู่อย่างไร และหนังสือประเภทไหนเป็นที่ต้องการของลูกค้า ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการที่สามารถโยงมาใช้กับการบริหารบุคคลได้ โดยการเปรียบพนักงานในองค์กรเป็นลูกค้า จะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างแรงจูงใจ สร้างความผูกพันให้เค้ารักองค์กร เหมือนที่เขารักร้านหนังสือ และรู้ว่าร้านหนังสือนี้ดี

                - ได้รับรู้ประวัติความเป็นมาของเกาะล้าน ระบบการบริหาร การจัดการของจังหวัดชลบุรี

                - ได้รับความรู้จากวิทยากรทั้ง 3 ท่าน ในเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ว่ามีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างไร

                - ได้เกิดทักษะและองค์ความรู้แตกยอดจากการสนทนาของท่านทั้ง 3 และแนวคิดของเพื่อนร่วมชั้น ในข้อนี้ ในช่วงที่ท่านดาโต๊ะพูดเรื่องการพัฒนาคน ที่ว่าต้องสร้างความเป็นพี่น้อง ความรักพวกพ้อง จะทำอะไรก็จะเกิดความเป็นปึกแผ่น ในความคิดของกระผมส่วนหนึ่งเห็นด้วย แต่ก็เกิดความคิดแบบมองหลายมุมเพิ่มว่า ถ้าเราใช้ระบบความเป็นพวกพ้อง แล้วความยุติธรรมจะเกิดหรือไม่? เพราะการที่รักพวกพ้องก็นำมาซึ่งการเอารัดเอาเปรียบและความไม่ยุติธรรม อันจะนำมาซึ่งระบบอุปถัมภ์ และเป็นบ่อเกิดแห่งการคอรัปชั่น ซึ่งเรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่บอบบาง แต่ในด้านการบริหารเราต้องเน้นที่คนส่วนใหญ่หรือไม่ อย่างไร? ในประเด็นนี้เป็นความคิดที่แตกแยก หรืออีกด้านหนึ่งของเหรียญ เป็นความคิดที่ชี้ให้เห็นมุมมองอีกด้านหนึ่ง ที่ "แตกต่าง แต่มิใช่แตกแยก"

นาย.ธนิก กัมพูศิริพันธุ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4 รหัส.50038010033

ลืมใส่ชื่อครับกราบขอ อภัย ไว้ ณ ที่นี้

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์  ทีมงาน และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน และท่านผู้อ่าน

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี

                จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานยัง เกาะล้าน จ.ชลบุรี นั้นกระผมได้รับประสบการณ์ใหม่ๆมากมาย      และเรื่องราวต่างๆกับการที่ได้มาศึกษาดูงานครั้งนี้ กล่าวคือ ในการศึกษาดูงานครั้งนี้นั้น มีรูปแบบของเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้น คือ การออกเดินทางทาง เรือ ไปยัง เกาะล้านนั้นมี คลื่นลมแรงมากทำให้เกิดความล่าช้าและความกลัวของพวกเรามากแต่ก็ เหตุการณ์ทั้งหมดก็ผ่านไปได้ด้วยดี จนไม่สามารถลืมได้เลย รวมถึง บุคคลกรที่มาให้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆเรื่อง เช่น การพัฒนาองค์กร,ทรัพยากรมนุษย์ โดย อาจารย์.กิตติ และอาจารย์.ยม รวมถึงข้อมูลแหล่งเที่ยวต่างๆ ภายในจังหวัด จากอดีตจนถึงปัจจุบันแต่ไม่เท่านั้นยังรวมไปถึงอนาคต อีกด้วย

 

            กระผมคิดว่าข้อมูลที่ได้จากท่านเหล่านี้นั้นเป็น ข้อมูลที่ดีเยี่ยม เหตุเพราะ การที่เราจะพัฒนาองค์กร หรือ บุคคลกรให้ดีขึ้นได้นั้นในหลักการของการพัฒนา เพื่อไปสู่ความสำเร็จโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าองค์กรนั้นจะเล็กหรือใหญ่ ขอให้เรามุ่งมั่น ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ดีที่สุด

สวัสดี ท่านอาจาย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นักศึกษารปม.รุ่น 4 ทุกคน และผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

 

การได้ร่วมกิจกรรมดูงาน ณ  เกาะล้าน  ชลบุรี

ความประทับใจที่มีอันดับแรก  คือ  รู้สึกว่าคุ้มกับการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะได้เรียนกับอาจารย์ที่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ของนักศึกษา สละเวลาในวันหยุดเพื่อที่จะให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักศึกษา  อาจารย์เป็นผู้บริหารเวลาได้ดีเพราะมีการกำหนดแผนในการเดินทางว่าจะทำอะไรบ้าง  และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี  คือตามกำหนดต้องไปพบ  ดร. วิพรรณ  เรืองจินดา  แต่กำหนดการต้องเปลี่ยนแปลง  อาจารย์ก็พานักศึกษาเข้าชมและหาความรู้จากร้านหนังสือที่มีไว้สำหรับนักท่องเที่ยว  ขณะที่อยู่ในร้านหนังสือ  อาจารย์ยม  แนะนำหนังสือที่ให้ความรู้และพอเดินทางมาถึงท่าเรือมีโอกาสได้พบคุณหญิง  ซึ่งคุณหญิงยิ้มแย้มตลอดเวลาและเรือใหญ่ถึงท่าเรือ   เรือเล็กมารับเมื่อท่านอาจารย์ลงเรือไปแล้วก็คอยรับคุณหญิงและคอยห่วงใยคุณหญิง  การพูดจา ระหว่างคุณหญิงและอาจารย์ทำให้นึกถึงสิ่งที่อาจารย์สอนว่า   Human   Capital   นั้นจะต้องมาจากพื้นฐานครอบครัว  ต้นทุนทางครอบครัวดีก็ทำให้เราซึมซับทุนมนุษย์ที่ดี

 

                จากที่ได้ฟังท่าน  ดร. กิตติ, รองผู้กำกับ,  อ.ยม  บรรยายนั้นทำให้ได้ความรู้ว่า  มนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดองค์กร  ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์  ยุคไร้พรมแดน  ทำอย่างไรให้เราอยู่กับชาวต่างชาติได้อย่างชาญฉลาด  การแสวงหาความรู้ต้องแสวงหาทุกวินาที  การเรียนรู้ แบบ   OBAMA  การเป็นนักบริหารที่ดี  ต้องบริหารตนเองก่อน  I  con  do.

ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

สวัสดี ท่านอาจาย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นักศึกษารปม.รุ่น 4 ทุกคน และผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

 

การได้ร่วมกิจกรรมดูงาน ณ  เกาะล้าน  ชลบุรี

ความประทับใจที่มีอันดับแรก  คือ  รู้สึกว่าคุ้มกับการเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะได้เรียนกับอาจารย์ที่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ของนักศึกษา สละเวลาในวันหยุดเพื่อที่จะให้ความรู้และประสบการณ์แก่นักศึกษา  อาจารย์เป็นผู้บริหารเวลาได้ดีเพราะมีการกำหนดแผนในการเดินทางว่าจะทำอะไรบ้าง  และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี  คือตามกำหนดต้องไปพบ  ดร. วิพรรณ  เรืองจินดา  แต่กำหนดการต้องเปลี่ยนแปลง  อาจารย์ก็พานักศึกษาเข้าชมและหาความรู้จากร้านหนังสือที่มีไว้สำหรับนักท่องเที่ยว  ขณะที่อยู่ในร้านหนังสือ  อาจารย์ยม  แนะนำหนังสือที่ให้ความรู้และพอเดินทางมาถึงท่าเรือมีโอกาสได้พบคุณหญิง  ซึ่งคุณหญิงยิ้มแย้มตลอดเวลาและเรือใหญ่ถึงท่าเรือ   เรือเล็กมารับเมื่อท่านอาจารย์ลงเรือไปแล้วก็คอยรับคุณหญิงและคอยห่วงใยคุณหญิง  การพูดจา ระหว่างคุณหญิงและอาจารย์ทำให้นึกถึงสิ่งที่อาจารย์สอนว่า   Human   Capital   นั้นจะต้องมาจากพื้นฐานครอบครัว  ต้นทุนทางครอบครัวดีก็ทำให้เราซึมซับทุนมนุษย์ที่ดี

 

                จากที่ได้ฟังท่าน  ดร. กิตติ, รองผู้กำกับ,  อ.ยม  บรรยายนั้นทำให้ได้ความรู้ว่า  มนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในองค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดองค์กร  ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์  ยุคไร้พรมแดน  ทำอย่างไรให้เราอยู่กับชาวต่างชาติได้อย่างชาญฉลาด  การแสวงหาความรู้ต้องแสวงหาทุกวินาที  การเรียนรู้ แบบ   OBAMA  การเป็นนักบริหารที่ดี  ต้องบริหารตนเองก่อน  I  con  do.

ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ

จากประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ได้รับ ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.พ. 2551 นับเป็นประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิตอันล้ำค่าที่เกินความคาดหมาย แม้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็มากล้นด้วยวิชาการที่หาได้ยากยิ่ง อย่างน้อยที่สุดเราได้เรียนรู้ในเรื่องการบริหารเวลา ซึ่งก็เป็นหัวใจของทริปการเดินทางครั้งนี้ทีเดียว ถัดมาก็คือการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน จากการที่ต้องเข้านั่งฟังบรรยายที่มหาวิทยาลัย โดยเปลี่ยนมาดูหนังสือภาษาอังกฤษแทน ซึ่งสิ่งที่ได้รับตลอดจนข้อคิดที่จะนำไปประยุกต์กับการบริหารจัดการกับองค์กรที่ทำอยู่นั้นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ยิ่งไปกว่านั้นตลอดการเดินทาง ท่านอาจารย์และวิทยากรทั้งหมดจะพยายามทำความคุ้นเคยโดยเปลี่ยนกลุ่มนักศึกษาในการพูดคุยทักทาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เข้าถึงนั่นเอง ซึ่งทั้งหมดก็ยังอยู่ในระบบของการปลุกเร้า และกระตุ้นให้ทุกคนเอา กิ๊ฟ หรือพรสวรรค์ ที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวมานาน ตลอดจนวิชาการความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ นำออกมาใช้ให้มากที่สุด ช่วงสั้นๆ แต่ประทับใจ สนุก เพลิดเพลิน และแฝงไปด้วยวิชาการอันทรงคุณค่า ตามสไตล์ของท่านอาจารย์ จิระ ซึ่งยากนักที่จะหาใครทัดเทียม แต่ก็เกิดแรงบันดาลใจจากลูกศิษย์ทุกคนอยากจะลอกเลียนแบบ และนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งแต่ก่อนนั้นอย่างมากก็คงแค่ประทับใจ เป็นความรู้แต่เราคงทำไม่ได้ แต่เมื่อได้รับฟังการปลุกเร้า และกระตุ้น เขย่า ตลอดจนทุกวิธีการของอาจารย์ ทำให้เกิดความฮึกเหิมขึ้นมาในทันทีว่า เราต้องทำได้ เพียงเท่านี้ก็คุ้มค่าเกินกว่าที่คาดหวังเอาไว้แล้ว เพราะเราเชื่อว่า คงมีอีกเยอะที่มีประกาศนียบัตร และมีปริญญามากมาย แต่ขาดปัญญา เชื่อมั่นว่า ทุกคนที่ได้ร่วมเดินทางฝ่าคลื่นลมมรสุม กลางท้องทะเล ทั้งขาไป และขากลับ บทสรุป และการประเมินผลการศึกษานอกห้องเรียนในครั้งนี้ได้เป็นเอกฉันท์ว่า “คุ้มค่าเกินคำบรรยาย”

สวัสดีค่ะ อาจารย์จิระ ที่เคารพยิ่ง 

       เมื่อรู้ว่าตนเองและเพื่อนร่วมชั้นเรียนจะได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ถึงเกาะล้าน จ.ชลบุรี ดิฉันตื่นเต้นมาก ก่อนวันเดินทางนอนไม่หลับ ใจหนึ่งก็ดีใจจะได้ไปเที่ยวกับเพื่อนร่วมชั้น ที่เพิ่งมารู้จักกันตอนเรียนและก็ไม่เคยไปไหนไกลๆ กับเพื่อนเลย อีกใจหนึ่ง จะไปทำอะไร ดูอะไร ในเมื่อที่นั่นมันเป็นที่พักผ่อน หรือพักร้อนของพวกต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี แล้วตัวเราหล่ะ จะไปเที่ยวหรือไปทำอะไร แต่ก็นึกอยู่เหมือนกันว่า ถ้าท่านอาจารย์พาไปก็จะต้องมีจุดมุ่งหมายให้นักศึกษาได้ทำกันแน่นอน

     วันเดินทางมาถึงแล้ว ตื่นเต้นจัง เพื่อนๆ โทรตาม เราว่าเรามาแต่เช้าแล้วนะ เพื่อนยังมาเช้ากว่าเราอีก แสดงว่าเพื่อนๆ ตื่นเต้นไม่น้อยไปกว่าเรา พอมาถึง "โอ้มายก๊อด" ที่นั่งเต็มเอี๊ยด เพื่อนมากันเยอะมาก ดีนะที่เพื่อนเราจองที่ไว้ให้ ทุกคนดูมีความสุขมาก  ใช้เวลาไม่นานก็มาถึง ทะเล ช่างสวยเหลือเกิน น้ำทะเล สีฟ้า ฝรั่งเดินกันเต็มไปหมด อ้าว! ท่านอาจารย์จิระ พร้อมคณะของท่าน  มานั่งรอพวกเราอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าท่านก็คงตื่นเต้นไม่น้อยกว่าเรา

     ท่านอาจารย์เรียกพวกเราให้มารวมกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจในการมาครั้งนี้ เริ่มต้น ท่านให้พวกเราได้หาความรู้จากร้านหนังสือร้านหนึ่ง ที่เมื่อเข้าไปแล้ว ต้องอึ้งเพระเป็นหนังสือที่มาจากทั่วโลก มีหลากหลายชนิดให้เลือกอ่านเลือกซื้อ ดิฉันนึกในใจว่า ถ้าให้ดิฉันเข้าดิฉันก็คงไม่เข้า แต่เมื่ออาจารย์ให้เข้า ก็ต้องเข้าไป แต่เมื่อเข้าไปดิฉันกลับประทับใจเพราะมีหนังสือมากมายที่น่าสนใจ มีหนังสือแปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นตามร้านหนังสือที่เคยเข้า ดิฉันเปิดอ่านกับเพื่อนๆ ไปหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อาหาร ศาสนา ความลี้ลับ สัตว์ รวมไปถึงหนังสือเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การบริหารงานบุคคล การเป็นผู้นำ แต่ละเล่มราคาสูงเหมือนกัน มีพระตี้ที่ซื้อหนังสือเกี่ยวการเป็นผู้นำ และก็อีกหนึ่งเล่มที่ท่านสนใจ ท่านบอกว่าน่าอ่าน ท่านเลยซื้อ แถวบ้านเราไม่ค่อยมี ท่านบอก จำได้ว่า วันนั้นพระตี้เสียเงินไปเกือบพันแหน่ะ

      หลังจากนั้นเราก็เดินทางไปเกาะล้าน พวกเราทั้งหมดไม่รู้เลยว่า วันนั้นมีพายุเข้า คลื่นแรง และลูกใหญ่มาก เรานั่งเรือไปอย่างทุลักทุเล คลื่นซัดเข้าเรือ เปียกกันหลายคนเลยที่เดียว ส่วนดิฉันนั่งอยู่ชั้น 2 กับเพื่อนๆ รวมถึงพระทั้ง3รูป ก็อยู่ชั้น 2 สนุกก็สนุก ตื่นเต้นก็ตื่นเต้น เรือโคลงเคลงไปมา ดูๆ ไปก็น่ากลัว แต่ก็ทำใจเย็น ทำไม่สนใจ แต่จริงๆ แล้วก็กลัวใจจะขาด ใจก็กลัวเรือคล่ำ ใจก็กลัวสึนามิ รู้สึกสับสนเหมือนกัน นึกในใจ ไม่เป็นไรน่า เราใส่หลวงปู่ทวด ซึ่งตรงกับราศรีเรา ท่านคงคุ้มครองเราแน่นอน แถมมีพระถึง 3 รูป อยู่ในเรือรำนี้ ปลอดภัยแน่นอน

     ในที่สุดเราก็มาถึงเกาะ อย่างปลอดภัย รู้สึกโล่งอกยังไงไม่รู้ แต่ความรู้สึกนี้ เพื่อนๆ ก็คงคิดไปไม่น้อยกว่าเราแน่ แต่ก็ไม่พูด เพราะถ้าเอาพูด มันจะบั่นทอนจิตใจเรา ยิ่งจะทำให้กลัวไปกันใหญ่ เมื่อมาถึงเราก็ได้กินข้าว ที่ทนหิวมาตั้งนาน อาหารอร่อยมาก สมกับที่เรารอคอย เมื่ออิ่มกันแล้วตอนนี้แหละนะ ท่านอาจารย์จิระได้ให้พวกเรารวมกลุ่มแนะนำให้เรารู้จัก บุคคลทั้ง 3 ท่าน 1. ท่านเป็นอาจารย์ยมที่สอนเราด้วย 2.ท่านเป็นรอง ผกก.อยู่ที่พัทยา 3.ท่านเป็น ดร.กีรติ ซึ่งท่านทั้ง3 ได้ให้ความรู้ แง่คิด การทำงาน การบริหารงาน ซึ่งทั้งหมดที่ท่านทั้ง3 กล่าวมา ต้องการให้พวกเราได้นำไปคิด ปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง หน่วยงาน และปท.ชาติ พวกเราตั้งใจฟังท่านทั้ง 3 อย่างจริงจัง รู้สึกชอบที่ท่านพูดให้แง่คิดดีๆ แก่พวกเราตั้งเยอะ

      ตอนนี้ก็ได้เวลาพักผ่อน พวกเราได้เวลาพักประมาณครึ่งชั่วโมง พวกเราพากันไปถ่ายรูป ดูฝรั่ง ดูบรรยากาศ นอนเล่น ช่างมีความสุขจริง ๆ ในกรุงเทพฯ ไม่มีแบบนี้ เราต้องกอบโกยความสุขให้เต็มที่ เมื่อถึงเวลาเราก็ได้เวลากลับกัน ได้เวลาตื่นเต้นอีกแล้วสิเรา แต่ตอนนี้เรากลับไปขึ้นเรือที่ท่า ท่านอาจารย์จิระฯ ที่เคารพท่านเป็นห่วงพวกเรามาก ท่านกลัวพวกเราจะไม่ปลอดภัย เพราะเปรียบเหมือนกันว่าท่านเป็นหัวหน้าทีมในครั้งนี้ แต่จริงๆ แล้วพวกเราก็ห่วงท่านไม่น้อยกว่าที่ท่านเป็นห่วงเรา เรารู้สึกประทับใจท่านมาก ที่ท่านให้ความสนใจกับความปลอดภัยของพวกเรา พวกเราพากันเดินไปนั่งรถสองแถวที่จอดรออยู่เพื่อไปขึ้นเรือที่ท่า  แต่คราวนี้เรากับชิน แต่จริงๆ แล้วขากลับคลื่นลูกใหญ่กว่าเดิมเสียอีก แต่เราก็ภาวนาให้ถึงฝั่งอย่างปลอดภัย พวกเราสนุกสนานเหมือนเดิมถ่ายรูป เล่นกัน ทำเป็นมีความสุข จริงๆ ก็ตื่นเต้นเหมือนเดิม แต่ขากลับดูเหมือนจะเร็วกว่า ขาไป แป๊บเดียวก็ถึงฝั่งอย่างปลอดภัย พวกเราเป็นห่วงเป็นใยกันดีมากๆ เพื่อนเรียนเรารุ่นนี้ดีจัง ทุกคนน่ารักมาก มีขนมก็แบ่งกันกิน มีของก็ช่วยถือ ดีใจจังที่ได้เรียนรุ่นนี้

     สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณท่านอาจารย์จิระ และอาจารย์ทุกๆ ท่านที่ได้พาพวกเราไปหาประสบการณ์นอกสถานที่จะเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป

 

นายบุญชู ทองฝาก รปม.รุ่น 4 สาขา การปกครองท้องถิ่น

 

ความประทับใจที่ได้จากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน

1.ประทับใจกับการมีน้ำใจของเพื่อนๆร่วมรุ่นเดียวกันตั้งแต่เช้าที่ไปถึงมหาวิทยาลัย จะมีคุณนงค์หรือที่น้องๆเรียกกันว่าป้านงค์จะยืนคอยต้อนรับเพื่อนๆอยู่ตลอดเวลาว่าใครยังไม่มาอีก คุณอรุณก็จะคอยเดินถามอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งก่อนรถจะออกว่าที่นั่งพอหรือเปล่าถ้าไม่พอยังมีรถเก๋งส่วนตัวขับตามไปอีกคันโดยยอมเสียสละเติมน้ำมันรถเองอีกด้วย น้องฉลองหรือน้องไก่ถึงแม้จะไปไม่ได้เพราะมีนัดกับคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพแต่ยังมีน้ำใจต่อเพื่อนๆมาส่งที่รถจนกระทั่งถึงเวลารถออกเดินทาง

                ตลอดเวลาการเดินทางน้องๆและเพื่อนๆทุกๆคนก็ช่วยเหลือกันแบ่งปันขนมต่างๆที่เตรียมกันมาจนอิ่มหนำสำราญกันทุกคน แม้ว่าในช่วงเวลาที่อยู่บนเรือมีคลื่นลมแรงแต่ทุกคนก็ไม่บ่นย่อท้อต่อความยากลำบากใดๆทั้งสิ้นจนกระทั่งเดินทางกลับสู่มหาวิทยาลัยของเรา

2.ประทับใจเกี่ยวกับระบบทีมงานของท่านอาจารย์จิระที่บริหารเวลาได้อย่างดีเยี่ยมไม่ผิดพลาด ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของเวลาไม่ขาดตกบกพร่องแม้ว่าคลื่นลมจะแรงปานใดแต่ทีมงานก็ไม่หวั่นไหวเก็บความรู้สึกได้ดีไม่สร้างความวิตกกังวลให้กับคณะนักศึกษา นอกจากนี้ยังสร้างความเป็นกันเองคอยดูแลเอาใจใส่ทุกๆคนเป็นอย่างดี

3.ประทับใจท่านอาจารย์จิระเป็นอย่างมาก การออกมาเรียนนอกสถานที่ครั้งนี้พวกเราได้ความรู้สึกที่หาไม่ได้อีกแล้วในชั้นเรียนเพราะใครก็ทำไม่ได้ในลักษณะนี้คือการที่ท่านอาจารย์จิระท่านแสดงความรักความเอื้ออาทร ต่อลูกศิษย์ทุกคนที่ท่านพาไปเปรียบเสมือนกับลูกของท่านเอง เพราะอะไรผมจึงเขียนเช่นนี้ เพราะว่าผมคิดว่าคงจะเห็นครูอาจารย์ที่สอนในระดับมหาวิทยาลัยแล้วจะปฏิบัติตัวเช่นนี้กับลูกศิษย์ของท่านได้ยากเต็มที่เพราะท่านอาจารย์จิระจะคอยดูแลเอาใจใส่ต่อนักศึกษาทุกคน คอยถามความเป็นอยู่ตลอดเวลาการเดินทางว่าเป็นอย่างไร

แม้แต่ในเวลาที่จะรับประทานอาหารกลางวันก็ให้ทางร้านรีบจัดอาหารให้พวกเราได้รับประทานกันอย่างมีความสุข ติดตามประสานงานให้ทีมงานของตำรวจ สภ.เมืองพัทยามาคอยดูแลอำนวยความสะดวกแด่พวกเรานับว่าท่านมีจิตใจที่เปี่ยมล้นในค่าของความเป็นครูอย่างยิ่ง

                เมือมาถึงวันนี้(24 ก.พ. 2551) ก็เป็นวันเวลาวันท้ายสุดของสัปดาห์ที่เราจะเรียนกับท่านอาจารย์เสียแล้ว เราได้อะไรจากท่านมากมายเพราะท่านเป็นเทรนเนอร์ผู้ที่จะคอยกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาว่าพวกเราต้องทำได้ และจะต้องเป็นนักบริหารที่ดีต่อไป พวกผมหลายๆคนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราคงจะได้รับการกลับมาสอนจากท่านอีกในวิชาที่เหลืออยู่อีกของพวกเราในภาคเรียนต่อๆไปด้วยความเคารพรัก

                ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทีมงานของตำรวจ สภ.เมืองพัทยา โดยการนำของท่านรองผู้กำกับที่มาคอยดูแลพวกเราให้มีความอบอุ่นใจ พวกเราทุกคนไม่มีอะไรที่จะมอบให้นอกเสียจากเสียงปรบมือดังๆให้ท่านและคณะได้ชื่นใจ ขอขอบคุณครับ

 

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

กราบเรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ (ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์), อาจารย์ยม   นาคสุข ,อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน  ก่อนที่จะตอบคำถาม อาจารย์ยม   หลังจากที่อาจารย์ได้สอนใน Class ในวันที่ 23 – 24  ก.พ. 51    แล้วข้าพเจ้ามีความรู้สึกปลาบปลื้ม และภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ทุกท่านถือว่าเป็นบุญ  ที่อาจารย์ทุกท่านได้มาประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้

1. จากวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม (วันที่ 23  ก.พ. 51) ได้อะไรบ้าง

        - ได้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่  21  ซึ่งถือได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  หากต้องการให้องค์การพัฒนา  ก็ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ทำให้เกิด คนเก่ง  ซึ่งทุกคนสามารถเป็นคนเก่งได้ โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

        1.  การประเมินความรู้และทักษะ

          2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา    

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

        - ได้ทราบถึงการวางแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต  ซึ่งในการพัฒนาคนต้องมีการกำหนดแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ  ประกอบด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์  8  เรื่อง  ที่มีประเด็นในเรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง   อาทิเช่น  มุ่งความต้องการของลูกค้า , วางแผนกลยุทธ์,  ให้ความสำคัญกับผู้นำ  / ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์  ประกอบด้วย  การเตรียมการวิเคราะห์ ,  การนำกลยุทธ์ไปใช้,  การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์

 

2.  คนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร

          คนในอนาคตต้องมีสมรรถนะที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ ซึ่งประกอบด้วย

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO 

 

วิธีการพัฒนาคนในอนาคตทำอย่างไร

1.     Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ที่ดีใช้ คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษา  เป็นครูผู้ฝึกสอน  แนะนำแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน  ตัวผู้สอนอาจมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรตามแต่ความเหมาะสม

2.     Internal  Education  and  Training  หาหลักสูตรอบรม  เช่น  หลักสูตรภาวะผู้นำ  เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความสามารถที่องค์กรต้องการ

3.     Executive  Program  / External  Course  Work        ส่งคนไปอบรมภายนอกในสถาบันต่าง ๆ  เช่น  ในมหาวิทยาลัย  เป็นหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร

4.     Teaching  as  Learning  สอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ  เน้นประสบการณ์ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้  โดยให้คนเก่งเป็นผู้สอน  ฝึกให้คนเก่งเป็นผู้พัฒนาทักษะนำเสนอ

5.     Extracurricular  Activity  พัฒนาให้ทำกิจกรรมพิเศษ  ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เกิดการพัฒนา  เช่น  กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  เน้นมนุษยสัมพันธ์  สร้างภาพพจน์  ภาพลักษณ์

 

นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว  วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง  มี  15  แนวคิด  แต่ขอยกตัวอย่างมา  5  ข้อ  และขออนุญาตต่อยอดแนวความคิดอาจารย์ยม

Test  make a  mistake  and  Test  for  correct  โดยมอบหมายให้ทำงานที่เริ่มจาก Project  เล็ก ๆ  ก่อน  เพื่อเป็นการทดสอบการการทำงาน   ความรับผิดชอบ   การตัดสินใจ  โดยเป็นการลองผิด  ลองถูก  โดยมี คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำควบคู่ ทำให้มีประสบการณ์จากการทำงานจริง

 

 

กลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) สมาชิกประกอบด้วย
1. พระศุภสิน ศักศรีวัน      2. พระมหาวิทยา นางวงศ์ 3. นางสาวนลินี โลพิศ
4. นางสาวศศินี โพธิทอง 5. ส.ท.สราวุธ ดอกไม้จีน  6. นายสุรัชต์ ชวนชื่น
7. นายธนิก กัมพูศิริพันธ์   8. นายสุรภัทร ปานทอง    9. นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

 
     

เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมณ์และคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่าน.. 
      จากงานที่ได้มอบหมายให้อ่านและสรุปความเนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R. Covey ซึ่งกลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) ได้รับมอบหมายมา พอสรุปเนื้อหาได้ดังนี้..
 
       ในบทนี้จะกล่าวถึงระลอกคลื่นแห่งความไว้ใจในตัวเองอันเป็นหลักการของความน่าเชื่อถือ เนื้อหาจะกล่าวถึงหลักของความวางใจในตัวเอง อันจะนำไปสู่ความวางใจความสัมพันธ์ ความวางใจองค์กร ความวางใจตลาด และความวางใจสังคม ซึ่งจะอยู่ในรูปของระลอกคลื่น 5 ระลอกคลื่น ดังจะเห็นจากบทความในหนังสือที่ว่า
          The 5 wave of Trust model in our lives. It begins with each of us personally, continues into our relationship, expands into our organizations, extends our marketplace relationships and encompasses our global society at large. This reflects the strength of the “inside-out” approach : To build trust with other we must first start with ourselves.
          แบบจำลอง 5 ระลอกคลื่นแห่งความไว้วางใจเป็นอุปมาแสดงให้เห็นว่า ความวางใจมีความเป็นไปอย่างไรในชีวิตของเรา เริ่มต้นที่ตัวเราขยายออกสู่ความสัมพันธ์ แพร่กระจายไปในองค์กร กระเพื่อมเข้าไปสู่ตลาด และโอบรับสังคมโลก ในท้ายที่สุด ภาพนี้สะท้อนให้เห็นพลังของวิถี “จากภายในสู่ภายนอก” หากต้องการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้อื่นได้เป็นที่รู้จัก เราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน.
      ในการสร้างความเชื่อนั้นต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบอันจะก่อเกิดขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์ (Character) คือต้องเป็นบุคคลที่มีแก่น 4 แก่น อันประกอบด้วย
      1. ความมีบูรณภาพ (Integrity) คือความซื่อสัตย์ แล้วยังรวมถึงการทิ้งรอยประทับของความงดงามไว้ ในบางคราวแต่ความจริง แต่ชี้ทางให้หลงทิศ เช่นนั้นก็มิอาจเรียกได้ว่า ความซื่อสัตย์ และความซื่อสัตย์นั้นต้องเกิดจากภายใน และประสานกันเป็นเนื้อเดียวกับภายนอก การแสดงออกทั้งกายวาจาใจ ในเรื่องนี้จะยกตัวอย่างบุคคลที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก คือมหาตมะ คานธี ที่มีความซื่อสัตย์และและมีความเป็นเนื้อเดียวกันโดยเนื้อบริสุทธิ์แท้ มิใช่การจำยอมปฏิบัติตามข้อบังคับ การกลืนกันเป็นเนื้อเดียวจะสร้างความน่าเชื่อถือและความวางใจ จะเห็นจากตอนที่มหาตมะ คานธี ได้ปราศรัยต่อสภาผู้แทนฯอังกฤษ ท่านปราศรัยนานสองชั่วโมง โดยมิได้มีบันทึกใด ๆ เลย และหลังจากจบการปราศรัยก็ได้รับการปรบมือให้อย่างยาวนาน นักข่าวสงสัยจึงได้ถามเดซาย ซึ่งเป็นเลขาส่วนตัวของคานธีว่าทำได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีบันทึกใด ๆ เลย เดซายตอบว่า
          "สิ่งที่คานธีคิด สิ่งที่คานธีรู้สึก และทุกการกระทำ ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกัน ท่านไม่ต้องการบันทึกเตือนความจำ...ถ้าเป็นฉันหรือคุณ เราจะคิดเรื่องหนึ่ง รู้สึกอีกเรื่อง กล่าวเรื่องที่สาม และก็ทำเรื่องที่สี่ เราจึงจำเป็นต้องมีบันทึกและแฟ้มเพื่อวางกรอบให้อยู่กับร่องกับรอย."
          “What Gandhi think, what be feels, you and I, we think one thing feel another, say a third and do a fourth, so we need note and files to keep track."
      - การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนแสดงตัวตนในภาวะผู้นำและชีวิตส่วนตัว โดยลักษณะของคนอ่อนน้อมถ่อมตนจะสนใจว่า อะไร ถูกต้องแทนการเป็น ฝ่ายถูก/ นำไอดีชั้นดี มาปฏิบัติ แทนที่จะเป็น ต้นคิด ไอเดียนั้น / โอบรับ ความจริงใหม่ แทนการ แก้ตัวปกป้อง สถานะเดิม/ สร้างทีมงาน แทนการยกระดับ ตัวเอง / มองหา วิธีการคืนกำไรให้กับสังคม แทนการ สร้างชื่อให้กับตนเอง ว่าเป็นผู้กระทำ
      - การมีความกล้าหาญ (Courage)
      การเพิ่มพูนบูรณภาพ
          1. ต้องซื่อสัตย์ในทุกเรื่องที่ทำต่อผู้อื่น
          2. เป็นคนรักษาคำพูดได้
          3. กำหนดค่านิยมไว้ชัดเจน และมีความภูมิใจที่จะยืนขึ้นมาปกป้องค่านิยมนั้น
          4. เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ฉันกลับมาค้นหาต้นตอปัญหาอีกครั้ง หรือแม้แต่เปลี่ยนคำจำกัดความของค่านิยม
      - ให้สัญญาที่ผูกมัดและปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ต่อตนเอง
      ตัวเร่งปฏิกิริยาบูรณภาพ 3 ข้อ
          1. ให้สัญญาและรักษาสัญญาต่อตนเอง
          2. ยืนหยัดเพื่ออะไรบางอย่าง คือมีปณิธานของตัวเอง
          3. เปิดใจให้กว้าง โดยมีมุมมองต่อสิ่งรอบข้างอย่างถี่ถ้วนพร้อมจะรับฟังรับมุมมองอื่นมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ความสำคัญจากคนรอบข้างพร้อมที่จะรับฟังและมีความจูงใจในความเห็นที่แตกต่างอย่างเต็มใจ กล้าที่คิดออกนอกกล่อง และให้คุณค่าในการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

      2. เจตนา (Intent) หมายถึงแผนหรือเป้าหมาย โดยมีสาระหลักคือ
          • เจตนามีความสำคัญ
          • เจตนาเกิดจากคุณลักษณะ
          • เราตัดสินใจตัวเองด้วยเจตนา แต่คนอื่นตัดสินเราจากพฤติกรรม
          • เราตัดสินเจตนาผู้อื่นด้วยกรอบความคิดและประสบการณ์ส่วนตัว
          • ความเข้าใจต่อเจตนา ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อความไว้วางใจ
          • คนไม่วางใจ เพราะผลสรุปที่เขาประมวลจากการกระทำของเรา
          • นับเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะกล่าวแก้ความเข้าใจของผู้อื่นที่มีต่อตัวเราโดยการ ‘ประกาศเจตนา’
      เจตนาจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนหากขาดปัจจัย 3 เรื่องคือ 
          1. มูลเหตุแห่งการจูงใจ (Motive) ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจ เป็นเหตุผลในการทำอะไรบางอย่าง มูลเหตุจูงใจเป็น ทำไม ที่จะทำให้เกิด อะไร ซึ่งมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดความวางใจคือ การเอาใจใส่อย่างแท้จริง ใส่ใจต่อผู้คน ใส่ใจต่อวัตถุประสงค์ ใส่ใจต่อคุณภาพของงานที่ทำ ใส่ใจต่อสังคมโดยรวม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพลังในการสร้างความน่าเชื่อถือ
          2. วาระ (Agenda) ซึ่งงอกงามมาจากมูลเหตุจูงใจ เรื่องราวที่ตั้งใจจะทำให้เกิดผล ผลักดันเต็มที่เพราะมีเหตุจูงใจ ซึ่งวาระที่จุดประกายความวางใจสูงสุด ก็คือการเสาะแสวงหาผลประโยชน์ทุกฝ่าย จริงใจที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
          3. พฤติกรรม (Behavior) ซึ่งโดยปกติแล้วพฤติกรรมที่แสดงออกของมูลเหตุจูงใจและวาระ จะสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจได้ดีที่สุด
      ตัวเร่งในการยกระดับเจตนาให้งดงาม
          1. สอบทานและปรับรายละเอียดเหตุจูงใจของตัวเองในด้านต่าง ๆ
          2. ประกาศเจตนา แสดงวาระและมูลเหตุจูงใจให้ปรากฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ผู้อื่นเข้าใจผิด แปลพฤติกรรมของคุณผิดไป อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความวางใจในสัมพันธ์ใหม่ด้วย
          3. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเสมอไป
กลุ่มที่ 2 : Fisherman Party (แก้ไขเพิ่มเติม)

 

 

กลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) สมาชิกประกอบด้วย
1. พระศุภสิน ศักศรีวัน      2. พระมหาวิทยา นางวงศ์ 3. นางสาวนลินี โลพิศ
4. นางสาวศศินี โพธิทอง 5. ส.ท.สราวุธ ดอกไม้จีน  6. นายสุรัชต์ ชวนชื่น
7. นายธนิก กัมพูศิริพันธ์   8. นายสุรภัทร ปานทอง    9. นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

 
     

เรียนท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมณ์และคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่าน.. 
      จากงานที่ได้มอบหมายให้อ่านและสรุปความเนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R. Covey ซึ่งกลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) ได้รับมอบหมายมา พอสรุปเนื้อหาได้ดังนี้..
 
       ในบทนี้จะกล่าวถึงระลอกคลื่นแห่งความไว้ใจในตัวเองอันเป็นหลักการของความน่าเชื่อถือ เนื้อหาจะกล่าวถึงหลักของความวางใจในตัวเอง อันจะนำไปสู่ความวางใจความสัมพันธ์ ความวางใจองค์กร ความวางใจตลาด และความวางใจสังคม ซึ่งจะอยู่ในรูปของระลอกคลื่น 5 ระลอกคลื่น ดังจะเห็นจากบทความในหนังสือที่ว่า
          The 5 wave of Trust model in our lives. It begins with each of us personally, continues into our relationship, expands into our organizations, extends our marketplace relationships and encompasses our global society at large. This reflects the strength of the “inside-out” approach : To build trust with other we must first start with ourselves.
          แบบจำลอง 5 ระลอกคลื่นแห่งความไว้วางใจเป็นอุปมาแสดงให้เห็นว่า ความวางใจมีความเป็นไปอย่างไรในชีวิตของเรา เริ่มต้นที่ตัวเราขยายออกสู่ความสัมพันธ์ แพร่กระจายไปในองค์กร กระเพื่อมเข้าไปสู่ตลาด และโอบรับสังคมโลก ในท้ายที่สุด ภาพนี้สะท้อนให้เห็นพลังของวิถี “จากภายในสู่ภายนอก” หากต้องการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้อื่นได้เป็นที่รู้จัก เราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน.
      ในการสร้างความเชื่อนั้นต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบอันจะก่อเกิดขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์ (Character) คือต้องอาศัยหลักแก่นแท้ 4 แก่น คือ บูรณภาพ เจตนา ความสามารถ และผลลัพธ์
      ลองจินตนาการภาพตัวคุณในศาล ตอนที่คุณถูกเรียกตัวไปนั่งในคอกเพื่อเป็นพยาน อัยการบรรยายให้คณะลูกขุนเชื่อว่า คุณเป็นพยานที่น่าเชื่อถือ อัยการต้องพิสูจน์อะไร
      ข้อแรก คุณมีบูรณภาพ (Integrity) คือเป็นคนซื่อสัตย์ พูดคำไหนเป็นคำนั้น คนเป็นที่รู้จักว่ากล่าวแต่ความจริง ไม่โกหก
      ข้อสอง คุณเป็นคนมีเจตนา(Intent)ที่ดี ไม่พยายามหลอกลวงใคร ปกป้องผู้ใด ไม่มีวาระซ่อนเร้น ไม่มีเหตุจูงใจพิเศษที่จะต้องบิดเบือนคำให้การ
      ทั้งบูรณภาพและเจตนาประกอบกันเป็นคุณลักษณะ "แก่นแท้ที่เป็นตัวตนของคนผู้นั้น"
      ข้อสาม ความสามารถ (Capability) หรือการมีฝีมือในการทำงานที่ยอดเยี่ยม มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ มีทักษะ มีความสามารถในสาขาที่คุณถูกเรียกตัวมาให้ปากคำ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นวิธีการที่เราใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ หมอประจำบ้านอาจมีบูรณภาพและมีเจตนาดี แต่ถ้าไม่ฝึกหนัก ไม่มีฝีมือ ไม่มีทักษะ ก็ไม่อาจทำงานยากให้สำเร็จ (เช่นการผ่าตัดสมอง) ถือได้ว่าไม่มีความน่าเชื่อถือในงานนนี้ ฝีมือจะเป็นความสามารถในการสร้างความไว้วางใจ เพาะบ่มให้เจริญงอกงาม ฟื้นคืนให้คืนสู่สภาพดีดังเดิม
      ข้อสี่ ผลลัพธ์ (Result) บรรยายประวัติผลงาน ผลการปฏิบัติงาน ทำเรื่องพึงกระทำให้แล้วเสร็จ ถ้าเราทำงานตามที่คนอื่นคาดหวังไม่สำเร็จ ความน่าเชื่อถือของเราก็จะหมดไป ในทางตรงกันข้าม หากเราสร้างผลลัพธ์ตามที่เราพูดไว้ จะเป็นการสร้างชื่อเสียง เป็นตราการันตีความสำเร็จ ชื่อเสียงจะล้ำหน้าไปไกลกว่าที่เราเองคาดคิด
      ทั้งความสามารถและผลลัพธ์ประกอบรวมกันเป็น ฝีมือ (Competence)
      
1. ความมีบูรณภาพ (Integrity) คือความซื่อสัตย์ แล้วยังรวมถึงการทิ้งรอยประทับของความงดงามไว้ ในบางคราวแต่ความจริง แต่ชี้ทางให้หลงทิศ เช่นนั้นก็มิอาจเรียกได้ว่า ความซื่อสัตย์ และความซื่อสัตย์นั้นต้องเกิดจากภายใน และประสานกันเป็นเนื้อเดียวกับภายนอก การแสดงออกทั้งกายวาจาใจ ในเรื่องนี้จะยกตัวอย่างบุคคลที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก คือมหาตมะ คานธี ที่มีความซื่อสัตย์และและมีความเป็นเนื้อเดียวกันโดยเนื้อบริสุทธิ์แท้ มิใช่การจำยอมปฏิบัติตามข้อบังคับ การกลืนกันเป็นเนื้อเดียวจะสร้างความน่าเชื่อถือและความวางใจ จะเห็นจากตอนที่มหาตมะ คานธี ได้ปราศรัยต่อสภาผู้แทนฯอังกฤษ ท่านปราศรัยนานสองชั่วโมง โดยมิได้มีบันทึกใด ๆ เลย และหลังจากจบการปราศรัยก็ได้รับการปรบมือให้อย่างยาวนาน นักข่าวสงสัยจึงได้ถามเดซาย ซึ่งเป็นเลขาส่วนตัวของคานธีว่าทำได้อย่างไร? ในเมื่อไม่มีบันทึกใด ๆ เลย เดซายตอบว่า
          "สิ่งที่คานธีคิด สิ่งที่คานธีรู้สึก และทุกการกระทำ ล้วนแต่เป็นเรื่องเดียวกัน ท่านไม่ต้องการบันทึกเตือนความจำ...ถ้าเป็นฉันหรือคุณ เราจะคิดเรื่องหนึ่ง รู้สึกอีกเรื่อง กล่าวเรื่องที่สาม และก็ทำเรื่องที่สี่ เราจึงจำเป็นต้องมีบันทึกและแฟ้มเพื่อวางกรอบให้อยู่กับร่องกับรอย."
          “What Gandhi think, what be feels, What be says and what be does are all the same, He does not need note... you and I, we think one thing feel another, say a third and do a fourth, so we need note and files to keep track."
      - การมีความอ่อนน้อมถ่อมตนแสดงตัวตนในภาวะผู้นำและชีวิตส่วนตัว โดยลักษณะของคนอ่อนน้อมถ่อมตนจะสนใจว่า อะไร ถูกต้องแทนการเป็น ฝ่ายถูก/ นำไอดีชั้นดี มาปฏิบัติ แทนที่จะเป็น ต้นคิด ไอเดียนั้น / โอบรับ ความจริงใหม่ แทนการ แก้ตัวปกป้อง สถานะเดิม/ สร้างทีมงาน แทนการยกระดับ ตัวเอง / มองหา วิธีการคืนกำไรให้กับสังคม แทนการ สร้างชื่อให้กับตนเอง ว่าเป็นผู้กระทำ
      - การมีความกล้าหาญ (Courage)
      การเพิ่มพูนบูรณภาพ
          1. ต้องซื่อสัตย์ในทุกเรื่องที่ทำต่อผู้อื่น
          2. เป็นคนรักษาคำพูดได้
          3. กำหนดค่านิยมไว้ชัดเจน และมีความภูมิใจที่จะยืนขึ้นมาปกป้องค่านิยมนั้น
          4. เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ฉันกลับมาค้นหาต้นตอปัญหาอีกครั้ง หรือแม้แต่เปลี่ยนคำจำกัดความของค่านิยม
      - ให้สัญญาที่ผูกมัดและปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ต่อตนเอง
      ตัวเร่งปฏิกิริยาบูรณภาพ 3 ข้อ
          1. ให้สัญญาและรักษาสัญญาต่อตนเอง
          2. ยืนหยัดเพื่ออะไรบางอย่าง คือมีปณิธานของตัวเอง
          3. เปิดใจให้กว้าง โดยมีมุมมองต่อสิ่งรอบข้างอย่างถี่ถ้วนพร้อมจะรับฟังรับมุมมองอื่นมาพิจารณาให้ถ่องแท้ ให้ความสำคัญจากคนรอบข้างพร้อมที่จะรับฟังและมีความจูงใจในความเห็นที่แตกต่างอย่างเต็มใจ กล้าที่คิดออกนอกกล่อง และให้คุณค่าในการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

      2. เจตนา (Intent) หมายถึงแผนหรือเป้าหมาย โดยมีสาระหลักคือ
          • เจตนามีความสำคัญ
          • เจตนาเกิดจากคุณลักษณะ
          • เราตัดสินใจตัวเองด้วยเจตนา แต่คนอื่นตัดสินเราจากพฤติกรรม
          • เราตัดสินเจตนาผู้อื่นด้วยกรอบความคิดและประสบการณ์ส่วนตัว
          • ความเข้าใจต่อเจตนา ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อความไว้วางใจ
          • คนไม่วางใจ เพราะผลสรุปที่เขาประมวลจากการกระทำของเรา
          • นับเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะกล่าวแก้ความเข้าใจของผู้อื่นที่มีต่อตัวเราโดยการ ‘ประกาศเจตนา’
      เจตนาจะไม่สมบูรณ์ครบถ้วนหากขาดปัจจัย 3 เรื่องคือ 
          1. มูลเหตุแห่งการจูงใจ (Motive) ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจ เป็นเหตุผลในการทำอะไรบางอย่าง มูลเหตุจูงใจเป็น ทำไม ที่จะทำให้เกิด อะไร ซึ่งมูลเหตุที่จะก่อให้เกิดความวางใจคือ การเอาใจใส่อย่างแท้จริง ใส่ใจต่อผู้คน ใส่ใจต่อวัตถุประสงค์ ใส่ใจต่อคุณภาพของงานที่ทำ ใส่ใจต่อสังคมโดยรวม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพลังในการสร้างความน่าเชื่อถือ
          2. วาระ (Agenda) ซึ่งงอกงามมาจากมูลเหตุจูงใจ เรื่องราวที่ตั้งใจจะทำให้เกิดผล ผลักดันเต็มที่เพราะมีเหตุจูงใจ ซึ่งวาระที่จุดประกายความวางใจสูงสุด ก็คือการเสาะแสวงหาผลประโยชน์ทุกฝ่าย จริงใจที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
          3. พฤติกรรม (Behavior) ซึ่งโดยปกติแล้วพฤติกรรมที่แสดงออกของมูลเหตุจูงใจและวาระ จะสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจได้ดีที่สุด
      ตัวเร่งในการยกระดับเจตนาให้งดงาม
          1. สอบทานและปรับรายละเอียดเหตุจูงใจของตัวเองในด้านต่าง ๆ
          2. ประกาศเจตนา แสดงวาระและมูลเหตุจูงใจให้ปรากฏ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่ผู้อื่นเข้าใจผิด แปลพฤติกรรมของคุณผิดไป อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความวางใจในสัมพันธ์ใหม่ด้วย
          3. มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเสมอไป

      ** ในส่วนของกลุ่ม 2 สรุปเนื้อหาพอเป็นแนวทางโดยสังเขปตามที่รับมอบหมายมาเพียงเท่านี้ ส่วนแก่นที่ 3 และ 4 เป็นหน้าที่ของกลุ่มที่ 3 ที่จะมาทำหน้าที่ขยายผลและต่อเติมต่อไป..
นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ (ตัวแทนกลุ่มที่ 3)

  

รายชื่อสมาชิก กลุ่มที่  3

1.นางสาวกมลทิพย์  สัตบุษ     2.นางสาวพรทิพย์    เรืองปราชญ์  3.นางสาวขนิษฐา  พลับแก้ว  4.นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง  5.นางวีลาวัลย์     จันทร์ปลา  6.นายบุญชู          ทองฝาก  7.นายโสภณ          สังข์แป้น      8.นางสาวสายใจ  โฉมสุข     9.จ.ส.ต.พงศกร ไพเราะ         10.ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์  มณีโชติ     11.นายชัยรัตน์     พัฒนทอง 12.จ.ส.ต.บัญชา วิริยะพันธ์      

เรียน  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,คณะทีมงาน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าอ่าน Blog  ทุกท่าน 

     จากงานที่ได้มอบหมายให้อ่านและสรุปความเนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R. Covey ซึ่งกลุ่มที่ 3  ได้รับมอบหมายต่อจากกลุ่มที่  2 คือการสร้างความเชื่อนั้นต้องมีอุปกรณ์หลายอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบอันจะก่อเกิดขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์ คือ ต้องอาศัยหลักแก่นแท้ 4 แก่น ซึ่งกลุ่มที่  3  จะขอสรุปเนื้อหาในส่วนของแก่นที่  3  และ  4  ได้ดังนี้....

     แก่นที่  3  ความสามารถ

     ผู้ที่มีความสามารถย่อมได้รับความเชื่อถือ ความสามารถในการได้รับความเชื่อถือ คือการใช้ปลัก " TASKS" ประกอบด้วย                                                                                                                                          Talent   พรสวรรค์  สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติในตัวเอง               Attitude ทัศนคติ  ความเชื่อหรือความยอมรับ หรือความคิดต่อสิ่งนั้น                                                                      Skill      ทักษะ  ความสามารถส่วนตัว                  Knowledge  ความรู้ เฉพาะทางในปัจจุบันมีแค่ไหน         Style  รูปแบบ  ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพแค่ไหนในการเข้าถึงปัญหา และโอกาส รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

     แก่นที่  4  ผลลัพธ์ หรือผลงาน

     คนไม่สามารถสร้างความเชื่อใจได้จนกว่าจะมีผลงานให้เห็น ความเชื่อถือของเรานั้นไม่ได้มาจากผลงานในอดีตหรือปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังมาจากความมั่นใจที่ผู้อื่นมีต่อการผลิตผลงานในอนาคตของเราด้วย   

     เราจะปรับปรุงผลงานได้อย่างไร    ผลงานมีความสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ และเชื่อใจต่อตัวเราเองและผู้อื่น เราสามารถปรับปรุงผลงานของตัวเองได้ด้วย  3  วิธี คือ

1.  รับผิดชอบในผลงานที่ทำ                                            2.  หวังที่จะชนะ โดยคาดหวังว่าผลงานที่ได้จะต้องเป็นไปตามที่เราคาดหวัง โดยไม่ใช่เพียงเพื่อตัวเอง แต่เพื่อคนอื่นด้วย           3.  จบอย่างเข้มแข็ง ในการทำสิ่งต่าง ๆ นั้น การจบสิ่งที่ทำอย่างเข้มแข็งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราทำสิ่งต่อ ๆ ไปอย่างมั่นใจ และมีคุณภาพ                                                                                                                             สรุปเรื่องแก่นทั้งสี่  ในการสร้างความเชื่อถือ ความสามารถเป็นสิ่งจำเป็นการสร้างความเชื่อถือ เชื่อใจในตนเองและผู้อื่น

นางสาว ลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่น 4

กราบเรียนท่านอาจารย์ ยม และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนจากท่านอาจารย์ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์  2551

1.       ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคศตวรรณที่ 21

2.       การวางแผนกลยุทธด้านทรัพยากรกมนุษย์

Model  การพัฒนาและการอบรมคนเก่ง

การพัฒนา คนเก่ง  5 ขั้นตอน

1.        การประเมินความรู้ และทักษะเป็นการรวบรม feedback  จากแหล่งข้อมูล

2.        การวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งมาวางแผนเป็นจุดแข็งหรือเอาจุดแข็งมาวางแผนให้พัฒนาให้ดีขึ้น

3.        กกการวางแผน คนเก่ง โดยระบุประด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ

4.        ดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการและให้มีการตรวจ ติดตามความก้าวหน้า

5.        การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการ Feedbackพนักงาน

คุณลักษณะที่มักใช้ประเมินบุคลากร

-          ภาวะผู้นำ

-          การสื่อสาร(พูดได้ต่อชุมชม)

-          การวางแผน ทำงานภายใต้ความกดดันได้

-          การตอบสนอง ต่อความเครียด ด้วยตนเองได้

-          แรงจูงใจ

-          ศักยภาพในการเรียนรู้

-          พลังในการทำงานสมรรถนะ

-          การตัดสินใจ

-          การจัดการ

-          การวิเคราะห์

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

1.สมรรถนะในการบริหารคน HR, Manangeament

2. สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหารGenerl Management Knowlede

3.สมรรถนะในการบริหารมืออาชีพ  Working  like the professional management level

4.สมรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ Management by Result ,MOB

                                สมรรถนะในการบริหารคน

-          ทักษะในการสื่อสาร  Communication

-          การประชาสัมพันธ์   Coordinate activeness

สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหาร

-          การบริหารการเปลี่ยนแปลง  Managing change

-          การมีจิตมุ่งบริการcustomer service orientation

-          การวางแผนกลยุทธ Strategic  Plannig

สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

-          การตัดสินใจ Division Making

-          ความเป็นผู้นำ  leadership

-          การคิดเชิงกลยุทธ  Thinking

สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

-          การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ Achieving Result

-          การบริหารทรัพยากร Managing Resouces Management

-          การบริหารแบบ CEO  Customer Empoyee Organzation

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

1.              โดยการสอนงานคอกลยุทธที่ใช้เพื่อการพัฒนาคนเก่ง

2.              เวลาทำงานให้ย้ายไปฝ่ายอื่นบ้างเพื่อเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ

3.              การมอบหมายงานเร่งด่วนให้

4.              การมอบหมายงานให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหรือกู้วิกฤติโครงการใดโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาความรู้

5.              การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนา

6.              การส่งคนเก่งไปพัฒนา อบรมภายนอกองค์กร

7.              การพัฒนาในรูปแบบนี้เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ

8.              การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

9.              การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา คนเก่ง

10.          การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ web – based learning

11.          การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการมอบหมายให้คนเก่งเข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการ

12.          คือการมอบหมายให้คนเก่งสังเกตพฤติกรรมของผู้เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยการพัฒนาทักษะทางด้านการบริหาร

                การจัดการเชิงกลยุทธ  8  เรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถภาพสูง

1             .ความต้องการของลูกค้า

2             ความพึงพอใจของลูกค้า

3             การวางแผนกลยุทธ

4             การให้ความสำคัญกับผุ้มารับบริการและผู้มีส่วนเสีย

5             การพัฒนากระบวนการ

6             การบริหารการพัฒนามนุษย์

7             การจัดการเชิงวิเคราะห์ การจัดการความรู้

8             วิสัยทัศน์  พันธกิจ  วัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ

1.            วิสัยทัศน์

2.            ประเด็นยุทธศาสตร์

3.            เป้าประสงค์ตัวชี้วัด , เป้าหมาย

4.            กลยุทธ

5.            Strategy Map

การนำกลยุทธไปใช้

แผนปฏิบัติการปรับปรุง

กระบวนงาน

-          โครงสร้าง

-          เทคโนโลยี

-          คน

การควบคุมและการตรวจสอบกลยุทธ

                -การติดตาม

 

                -การทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

กลยุทธคืออะไร

Henry  Mintzberg   ได้ใช้หลัก 5 p  อธิบายความหมาย

1.       กลยุทธคือ แผน

2.       กลยุทธคือแบบแผนหรือรูปแบบ

3.       กลยุทธคือทัศนภาพ

4.       กลยุทธคือกลวิธีในการเดินหมาก

 

สรุปกลยุทธ คือแผนที่จะไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

                กลยุทธ หมายถึงวิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

Michael  E, Porter  ได้ให้แนวคิดว่ากลยุทธในการบริหารมี  3  ประเภท

1.       กลยุทธที่เน้นต้นทุนต่ำ

2.       เน้นสร้างนวัตกรรม ความแตกต่าง เพื่อให้เหนือชั้นกว่า

3.       เน้นที่ลูกค้า  กลุ่มเป้าหมาย

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ Human  Capital Strategy

การนำ HCM  ไปพัฒนาในองค์การ

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์

                สรุปประเด็น  Human Capial  Managment

1.       จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

2.       การจัดการและภาวะผู้นำ

3.       การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

4.       การพัฒนาทุนมนุษย์

ทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ                                                                                องค์กรสมรรถภาพสูง

1.ไม่ได้บริหารคนเก่ง+คนดี                                                             1. บริหารคนเก่ง+คนดี

2.คนขาดความรู้                                                                                   2.บริหารความรู้และพัฒนา

3.ขาดภาวะผู้นำ                                                                       3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4.ขาดการจัดการทุนมนุษย์                           4 พัฒนาประสิท ธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5.ขาดการวัดทุนมนุษย์                                                           5ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ยม  นาคสุข  ที่สร้างแรงจูงใจทำให้มีความทะเยอทะยานเกิดกำลังใจความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานและทำงานอย่างมีความสุข

 

 

 

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน รวมทั้งผู้เข้ามาอ่านทุกท่าน

            ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ในวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่สอนโดย ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และการไปครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการไปทัศนศึกษาที่ธรรมดาเลย เพราะเป็นการไปแสวงหาความรู้ที่พวกเราอยากรู้อยากเห็น และเมื่อได้ไปสัมผัสแล้วสิ่งที่ได้รู้ได้เห็นก็เลยกลายเป็นความประทับใจดังนี้

 

1.  ประทับใจในความเป็นผู้นำของท่านอาจารย์จีระ โดยท่านอาจารย์ ได้วางแผนบริหารการเดินทางในครั้งนี้ไว้เป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การให้แสวงหาความรู้ก่อนจะลงเรือ โดยการให้เข้าร้านหนังสือที่มีคุณภาพ ทำให้พวกเราตื่นตาตื่นใจในการชมหนังสือที่มีคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้ดิฉันได้ข้อคิดว่า คนเราจะเก่งหรือจะรู้อะไรให้กว้างไกลนั้นมันอยู่แค่เอื้อม ขึ้นอยู่กับตัวเราว่าอยากเก่งอยากรู้หรือไม่เพียงใด ถ้าเราอยากเก่งอยากรู้ต้องรู้จักใฝ่รู้ใฝ่หา เพื่อนำปัญญามาเพิ่มให้กับตัวเอง เพราะความรู้มีอยู่ทั่วไป อย่างเช่นร้านขายหนังสือ เป็นต้น

2.  ประทับใจในความห่วงใยของท่านอาจารย์ เริ่มตั้งแต่ความห่วงใยในความปลอดภัยของการเดินทางทั้งไปและกลับ ของนักศึกษาและผู้ร่วมเดินทาง  ทุกคน

3.  ประทับใจในความรักความสามัคคีของเพื่อนๆ น้องๆ ร่วมรุ่น รปม. 4 เพราะ   เพื่อนๆ น้องๆ แต่ละคนมีความเอื้ออาทรต่อกัน อย่างเช่น การแบ่งปันขนม นมเนยให้แก่กันและกันตลอดระยะเวลาของการเดินทาง รวมทั้งพระ     ทั้ง 3 รูปด้วย พวกเราก็เอาใจใส่ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้ดิฉันเห็นว่า ความรักความสามัคคีของพวกเราน่าจะสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s ของท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ คือทุนทางสังคม (Social Capital) ถึงแม้ว่า     จะเป็นสังคมในหมู่เพื่อนๆ ก็ตาม เพราะอย่างน้อยก็คือการเริ่มต้นของทุนทางสังคมที่มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน เป็นต้น

4.  ประทับใจในคลื่นทะเล เพราะในขณะที่ดิฉันนั่งเรือไป-กลับนั้น คลื่นทะเล  ที่ไม่เคยสงบได้กระทบเรือเป็นระยะๆ และซัดเข้าฝั่งตลอดเวลานั้น ดิฉัน  จึงได้แนวคิดอย่างหนึ่งขึ้นมาว่า คนเราจะต้องตื่นเหมือนคลื่นทะเล ถ้ามัวแต่หลับใหลอยู่ เราจะตามกระแสยุคโลกาภิวัตน์ไม่ทัน เพราะทุกวันนี้   เป็นยุคไร้พรมแดนจริงๆ ดังนั้น คนเราต่องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ดัง 3 ต. ของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวไว้ แล้วจะทำให้เราไปสู่ความเป็นเลิศได้ในวันข้างหน้า

5.  ประทับใจท่านอาจารย์ในการนำบุคคลที่มีคุณภาพทั้ง 3 ท่าน ซึ่งได้แก่   ดร.กีรติ, รอง ผกก. และอาจารย์ยม  นาคมสุข มาแนะนำความรู้และประสบการณ์ที่แต่ละท่านมีอยู่ในตัวเองมาพูดให้พวกเราฟังอย่างสั้นๆ แต่ได้ข้อคิดที่ดี       มากๆ โดยดิฉันพอจะจับใจความสำคัญได้ดังนี้

3.1    ดร.กีรติ ได้พูดถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะให้มีคุณภาพนั้น ต้องเริ่มต้นจากการบริหารตนเองให้มีคุณภาพก่อน

3.2    รอง ผกก. ได้พูดถึงการบริหารคนในยุคไร้พรมแดน คือ การบริหารคนในหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา ที่มาอยู่ร่วมกันบนเกาะล้านว่า การวางแผนบิรหารจัดการการอยู่ร่วมกันของคนเหล่านี้จะให้มีคุณภาพหรือไร้ปัญหาได้อย่างไร นั้นคือสิ่งที่ผู้รับผิดชอบต้องทำ

3.3    อ.ยม  นาคสุข เป็นผู้สรุปผลการพูดของทั้ง ดร.กีรติ และ รอง ผกก. ซึ่งสรุปได้อย่างดียิ่ง โดยสรุปสั้นๆ ที่ดิฉันพอจะจับใจความได้ว่า ยุคปัจจุบันคือยุคการ Sharing นั้นเอง

 

        นอกจากความประทับใจดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสิ่งที่ได้จากการไป  ดูงานในครั้งนี้ คือการที่ได้ไปสัมผัสกับความเป็นอยู่ของคนบนเกาะ ซึ่งถือว่าเป็นยุคไร้พรมแดนจริงๆ เพราะคราคร่ำเป็นด้วยผู้คนที่มีหลายเชื้อชาติ หลายศาสนา มาอยู่ร่วมกัน อาจจะอยู่เพียง 1 วัน 1 เดือน หรือมากกว่านั้น แต่การอยู่บนเกาะนั้นอยู่อย่างไรให้ไร้ปัญหา นั่นก็การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพที่ดี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความสมดุล    ซึ่งกันและกัน จึงสรุปได้ว่า ทุกอย่างจะให้มีคุณภาพต้องมีการบริหารจัดการที่ดี สิ่งที่จะทำสิ่งแรกคือการบริหารคน 

 

กลุ่มที่ 2 (Fisherman Party) สมาชิกประกอบด้วย
1. พระศุภสิน ศักศรีวัน      2. พระมหาวิทยา นางวงศ์ 3. นางสาวนลินี โลพิศ
4. นางสาวศศินี โพธิทอง 5. ส.ท.สราวุธ ดอกไม้จีน  6. นายสุรัชต์ ชวนชื่น
7. นายธนิก กัมพูศิริพันธุ์   8. นายสุรภัทร ปานทอง    9. นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

 

รู้ปัญหาของระบบราชการเสียก่อน รู้ที่มาขององค์กร และ บุคคล คือรากหญ้า (tteritage)

            และรู้ความต้องการของลูกค้า (ประชาชน) และจัดทำแผนแม่บท (Mastesplan) ความคาดหวังในระบบราชการ คือ ประสิทธิภาพทั้งด้านรูปธรรม ทั้งคุณค่าด้านการบริการ

1.สิ่งที่ราชการควรมี

            - ข้าราชการต้องมีการตื่นตัว รู้ทันโลก แสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอด

            - ข้าราชการต้องมีทักษะ การติดต่อสื่อสารมีการพัฒนาด้าน Communication.

            - องค์กรควรนำ เทดโนโลยีมาใช้ เช่นระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย.

            - ฝึกหรืออบรม ข้าราชการควรเปิดใจให้กว้าง และ เข้าใจบทบาทของตนเอง ในฐานะผู้รับใช้ประชาชน(ข้าราชการ)

 

 อุปสรรคหรือจุดอ่อน

            - งบประมาณไม่เพียงพอทำให้เกิด อุปสรรคในการศึกษา และ พัฒนาเพิ่มศักยภาพ

            - การขาดความสนใจจากผู้นำ ทำให้ลูกน้องไม่กล้าเสนอ

            - ไม่มีการนำไอที มาใช้ในหลายด้าน จึงเป็นอุปสรรคในการจัดการ

            - ตัวข้าราชการเองขาดความกระตือรือร้น ทักษะที่ตรงกับสายงาน

การดำเนินงานแก้ไข

            - จัดการอบรมทักษะ ของข้าราชการ. ทั้งด้านภาษาและไอที

            - ผู้นำต้องเปิดใจ และรับฟังความเห็นของลูกน้อง

            - มีการติดตามประเมินผล

            - สรุปยอดรวม หาจุดอ่อนเพื่อนำมาปรับปรุง เพื่อใช้ผลประโยชน์

 

            จากข้อมูลที่กล่าวมานี่เราพอและสรุปได้ข้างต้น รวมถึงยกตัวอย่างวิธีการดำเนินงานภายในองค์กรโดยอาศัยหลักทฦษฎี (Creativity) เพื่อทำการยกตัวอย่างนำเสนอประคำอธิบายข้างต้น เพื่อความเข้าใจ ดังนี้ข้าใจ

 

            ความหมายของ Creativity

                        - การใช้ความคิด สิ่งของ หรือการกระทำในแนวทางใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน การสร้างสรรค์จึงมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการใช้จินตนาการ ซึ่งจินตนาการนั้นก็ช่วยทำให้การสร้างสรรค์ทำหน้าที่ในการเรียนรู้ แสวงหาข้อมูลและคำตอบ ถ้าเรายิ่งใช้จินตนาการมากเท่าใด มีแนวโน้มว่าเราจะเป็นคนที่มีความสร้างสรรค์ได้มากเท่านั้น

 

- กระบวนทัศน์ทางความคิด หรือ ทัศนคติใหม่ๆที่นำมา ประมวลผลให้เกิดประโยชน์ต่อ ทั้งต่อตนเอง, ส่วนร่วมและ สังคมโดยรวมภายในประเทศ

 

            ภาพรวมส่วนใหญ่ ของระบบราชการ

จุดแข็ง ของกระทรวงมหาดไทย

            1.ยึดมั่นในการทำงานให้เกดประสิทธิผล ประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

            2.ผู้บริหารให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่การงานอย่างแท้จริงจัง

อุปสรรค หรือ จุดอ่อน

            1.งบประมาณ-ไม่เพียงพอทำให้เกิดอุปสรรคในการศึกษาและพัฒนาเพิ่มศักยภาพ

            2.ไม่มีการนำระบบ IT มาใช้ในหน่วยงานในหลายๆด้าน จัดเป็นอุปสรรคในการจัดการ

            3.ตัวข้าราชการขาดความกระตือรือร้นและความตื่นตัวที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาระสนเทศและไม่มีทักษะ(ไม่ตรงสายงาน) นั้นเอง

กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior)

            เป็นหน่วยงานที่ประสานงาน สร้างผลประโยชน์ให้เกิด กับประชาชน ดังนั้น การดำเนินงานต่างๆ ขององค์กรจะส่งผลในภาพ กว่าอย่างเห็นได้ชัด และการตรวจสอบการดำเนินงาน

            การนำระบบอุปถัมภ์ มาใช้ในองค์กรทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม บางคนมีผลงานดีเด่น แต่ไม่ได้เป็น ลูกน้องเก่าก็ไม่ได้เลื่อนขัน หรือ การประจบสอพอเจ้านาย เกินไปทำให้ งานที่รับผิดชอบไม่ก้าวหน้า

 

            ข้ออเสนอแนะ

                        จากข้อมูลข้างต้นนี้ เราจะเห็นได้ว่าในกระทรวงยังมีระบบอุปถัมภ์มาก และ การไม่ยอมรับความเห็นของผู้บริหารรวม ถึงการบริการระบบสาระสนเทศของในหน่วยงานเอง ทำให้องค์กรขาดประสิทธิภาพ เราจึงต้องควรศึกษาและพัฒนา บุคคลกรทุกระดับ โดยการจัดอบรมกระตุ้นและประเมินผล ประสิทธิภาพของการทำงานในทุกระดับ และ ต้องให้ผู้บริหารนั้นควรที่จะต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาเหตุเพราะองค์กรจะพัฒนาได้นั้นต้องอาศัย "ตน" เป็นหลักของทรัพยากรมนุษย์ ไม่มีคนไม่มีองค์กร นั้นเอง

 

นางบังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31 (รหัส 5577 5519 1005 1352)

 

เรียน  อาจารย์ (ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  )  และ อาจารย์ทุกท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

 

                ดิฉันต้องขออภัยที่ส่ง Blog  ช้า เพราะติดภารกิจไม่สามารถไปดูงานที่พัทยาและเกาะล้าน ในวันที่ 21 กพ. 2551 กับคณะได้ ดิฉันจึงรอฟังและดูภาพของน้อง ๆ และเพื่อน ๆ ซึ่งเห็นแล้วมีความรู้สึกดีใจมากที่ทุกคนมีความสุข สนุก และเกิดความเข้าใจในตัวอาจารย์ทุกท่าน (โดยเฉพาะ อ.จีระ)  ทีมีจิตใจมุ่งมั่นและเสียสละเวลาทีมีค่าของอาจารย์พาลูกศิษย์ไปทัศนศึกษาในครั้งนี้  เพราะการเดินทางต้องขึ้นรถ ลงเรือ ฝ่าคลื่นลมหนักเหมือนกันนะคะ แต่ได้ยินทุกคนชื่นชมอาจารย์  จึงทำให้ดิฉันรู้สึกมั่นใจ เรื่องทุนมนุษย์มากยิ่งขึ้นว่ามนุษย์เราทุกคน จะประสบความสำเร็จได้ ต้องเริ่มต้นจากความยากลำบากก่อน  แล้วค่อยเรียนรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุง  หรือพัฒนาทั้งตนเองและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ดีขึ้นหรือเข้ากันได้ในที่สุด  ดิฉันแน่ใจว่าคนเราทุกคน ถ้ามีความตั้งใจดีมีทัศนคติที่ดี  ย่อมนำพาตัวเอง เพื่อน ๆ และองค์กร  ไปสู่จุดมุ่งหมาย  ดิฉันเองได้ยินอาจารย์พูดถึงความกตัญญู  ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งค่ะ  เพราะผู้ชายลักษณะอาจารย์ ดร.จีระ  ดูเป็นคนสไตส์ฝรั่งผสมไทย  แต่หัวใจมีธรรมะสูงค่ะ 

                สุดท้ายดิฉัน ขอจบแค่นี้ เพื่อขอเวลาไปอ่านหนังสือเตรียมสอบ และตั้งใจว่าจะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ

 สวัสดีครับท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ และเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่าน

ความประทับใจในการเดินทางไปเกาะล้าน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551

เนื่องด้วยกระผมนั้นไม่ได้ร่วมออกเดินทางไปพร้อมๆกับเพื่อนๆ รปม.4 เพราะอยากจะขับรถส่วนตัวไปเอง ด้วยตั้งใจว่าจะมาสมทบกับเพื่อนๆที่ท่าเรือเพื่อที่จะได้ข้ามฝั่งไปเกาะล้านด้วยกัน ประมานเวลาแล้วคงไปทันกัน เพราะกระผมนั้นเป็นคนที่ขับรถเร็วพอสมควร แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อกระผมได้แวะเข้าห้องน้ำตรงที่พักกลางทางบน motor way รถคู่ใจก็เกิดดื้อขึ้นมา สตาร์ทไม่ติด ทั้งๆที่ดูแลรถและตรวจสอบรถก่อนออกเดินทางมาอย่างดี โชคดีตรงที่ มีศูนย์ช่วยเหลืออยู่แถวๆนั้น ช่างบอกว่าเป็นเพราะแบตเตอร์รี่นั้นเสื่อมขึ้นมาซะงั้น ไม่เป็นไร พอรถสตาร์ทติดแล้วก็รีบออกเดินทางต่อ ระหว่างเดินทางก็พยายามติดต่อกับเพื่อนๆอยู่ตลอดเวลา พอมาถึงพัทยา เวลาประมาน 12.15 กระผมมีความจำเป็นต้องนำรถนั้นเปลี่ยนแบตเตอร์รี่เสียก่อน ซึ่งเสียเวลาตรงนี้ไปเกือบๆสองชั่วโมงเลยทีเดียว(ยังไม่ได้กินข้าวเลยนะหิวมั่กๆ) เมื่อเสร็จแล้วก็เดินทางมาที่ท่าเรือทันทีเพื่อหาเรือข้ามไปเกาะล้าน แต่โชคไม่ดีเอาเสียเลยไม่มีเรือเร็วที่ยอมออก เพราะเราขอเขาแค่ขาไปเที่ยวเดียว เขาว่าไม่คุ้มและค่าเรือตั้ง 2500 บาท (ไม่คุ้มตรงไหนอ่ะ) สุดท้ายต้องรอเรือโดยสาร รอบ 15.30 น. ระหว่างนั้นก็ได้ติดต่อเพื่อนๆอยู่ตลอด และในที่สุดก็ได้ลงเรือข้ามไปเกาะล้านด้วยความหวังท่จะไปให้เจออาจารย์และเพื่อนๆให้ได้  แม้ลมจะพัดคลื่นจะแรงสักเพียงไหนกระผมก็ไม่หวั่น แต่แล้ว เมื่อกระผมใกล้จะถึงฝั่ง เพื่อนๆก็โทรมาบอกว่ากำลังออกมาแล้ว (อ้าว ซะงั้น) กระผมจึงกวาดสายตามองเรือทุกลำที่อยู่ใกล้ๆ และก็เห็นเรือลำหนึ่งมีคนเต็มลำแต่งกายเหมือนๆกันกำลังมุ่งหน้าไปทางพัทยา ใช่แน่ล่ะ เพื่อนๆผม จึงเดินออกมาท้ายเรือโบกมือด้วยหวังว่าจะมีใครสักคนที่เห็นแล้วรู้ว่าเป็นกระผม ความหวังของผมเป็นจริงมีคนบนเรือลำนั้นโบกมือตอบ

ผมตั้งใจมาเจอเพื่อนๆและผมก็ได้เจอแม้จะอยู่บนเรือคนละลำไปกันคนละทางแต่เพื่อนๆทุกคนก็รู้ถึงการมาของผม และเพื่อนๆทุกคนคงจะไม่ลืมเหตุการณ์ในวันนี้แน่ๆ(?) นี่เป็นความประทับใจเล็กๆน้อยของกระผม ขอบคุณครับ

พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 

เรียน   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข และทีมงาน,  เพื่อน รปม.รุ่นที่ 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

จากการอ่านบทความหนังสือพิมพ์มติชน ลง 23 ก.พ.51 เรื่อง "เทรนด์ใหม่ของโลก"โดย ศีล มติธรรม  กล่าวคือ การพัฒนาคนจะต้องรู้จักตัวเองก่อน และทำในสิ่งที่ตนเองถนัดการพัฒนาคนเป็นการพัฒนาที่เน้นการเป็นคนที่มีคุณภาพ เมื่อเป็นคนมีคุณภาพก็จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า

การพัฒนาคนยุคใหม่ เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถ ทักษะ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  ตลอดจนการพัฒนาทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้ พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตนเอง วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง  การกำหนดเป้าหมายของชีวิตแล้วหาทางเดินไปสู่เป้าหมาย

รูปแบบการพัฒนาคนมี 5 ขั้นตอน สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งเป็น 4 กลุ่ม  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง 7 วิธี  และการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ได้แก่

1.ความต้องการของลูกค้า 

2.การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4.การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6.การพัฒนากระบวนการ 

7.ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

การจัดการเชิงกลยุทธ์จะเน้นเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ และ การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์     ปัจจัยความเสี่ยงในการวิเคราะห์การวางแผนกลยุทธ์   ได้แก่   ปัจจัยภายใน (คน ระบบ วัฒนธรรมองค์กร)   และปัจจัยภายนอก  (นโยบาย  เศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยี) การทำงานของคนอย่างมีประสิทธิขึ้นอยู่กับการบริหารจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

                                ท้ายนี้  ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กรุณาแนะนำ  ทางสว่างให้เกี่ยวกับวิธีการเขียนคำตอบมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง   พวกเราหลายๆ คนเครียดมากค่ะ

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ (ตัวแทนกลุ่มที่ 4)

    

เรียน  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,คณะทีมงาน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าอ่าน Blog  ทุกท่าน 

สมาชิกกลุ่ม 4 ประกอบด้วย

1.น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์

2.น.ส.สถิภรณ์  คำพานิช

3.น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย

4.น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน

5.น.ส.พิมพ์ลดา  โต๊ะเพิ่มพูน

6.นายสรสิช  ตรีเนตร

7.น.ส.จุฑารัตน์  เกษรปทุมานันท์

8.น.ส.จุไรรัตน์  เปลี่ยนขำ

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ

- ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง

- ความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดได้อย่างไรในแต่ละขั้นตอน

ความคิดสร้างสรรค์  คือ การคิดในสิ่งที่ดี ใหม่ เป็นประโยชน์ คิดแบบนอกกรอบ คิดให้แตกต่างๆ จากความคิดเดิมๆ เพื่อจะได้เพิ่มศักยภาพต่อระบบราชการ

จะเกิดขึ้นได้ โดยในระบบต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงาน ได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ในระบบราชการความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีผู้บริหารระดับสูง Leadershipผลักดัน และเปิดโอกาสสนับสนุน ใน ความคิดสร้างสรรค์   แล้วจึงนำความคิดนี้มาทำให้เกิดประโยชน์กับสังคม

อุปสรรค  คืออะไร

-นโยบาย  ในระบบราชการไม่ทันสมัย ยึดติดกับสายการบังคับบัญชา ก่อให้เกิดความล่าช้า ซึ่งเป็นผลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร

-ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ  ขาดการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถให้เท่าทันเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง

จุดอ่อนของระบบราชการ

1.สายการบังคับบัญชา  เป็นแบบแนวดิ่ง/มีสายงานบังคับบัญชาซ้ำซ้อน ทำให้งานล่าช้า มีความยุ่งยากในการติดต่อประสานงาน

2.ผู้นำ  มาจากระบบอุปภัมถ์ หรือ มาจากพวกพ้อง ไม่ได้เป็นบุคลากรที่มีความสามารถออย่างแท้จริง ทำให้ผู้ที่เข้ามาบริหารงานขาดทักษะการเป็นผู้นำ ก่อปัญหาไปยังระบบการบริหารจัดการทำให้ยังไม่พัฒนาและไม่มีประสิทธิภาพ

3.แผนงาน  ทำให้โครงการต่างๆของราชการไม่ได้ศึกษาการทำงานอย่างแท้จริง ,ทำให้โครงการต่างๆของราชการต้องสูญเสียงบประมาณในโครงการต่างๆ ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณของประเทศชาติ

จุดแข็งของระบบราชการ

1.ความมั่นคงในการจ้างงาน  มีสวัสดิการ ทำให้มีแรงจูงใจในการทำงาน ระบบราชการมีความมั่นคง เนื่องจาก ใช้เงินภาษีของประชาชน ไม่สามารถตรวจสอบผลกำไรหรือขาดทุนได้อย่างระบบเอกชน

2.รัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน

3.กฎระเบียบที่เคร่งครัด เช่น การทำบัตร SMART  CARD

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ มีขั้นตอนอย่างไร

กรณีศึกษา  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย  ตัวอย่าง  การทำบัตร SMART  CARD

เดิมต้องมีขั้นตอนไม่เกิน 10 ขั้นตอน กว่าจะได้รับบัตรประชาชน  จะต้องได้รับใบเหลืองก่อน 3 เดือนต่อมา จึงจะมาบัตรประชาชน จริงได้  แต่ปัจจุบันการทำบัตรประชาชน  เป็นระบบ One  Stop  Service

1.กรอกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ ถ่ายรูป แล้วเสร็จ ก็สามารถรับบัตรประชาชน  ภายใน 5 นาที โดยบัตรนี้สามารถใช้เป็น ATM สามารถตรวจสอบประวัติบุคคลได้

ในการแก้ปัญหาสามารถใช้ทุน

1.Intellectual  Capital   โดยการอบรมให้พนักงานได้เพิ่มความรู้และทักษะในการใช้งานในระบบ IT รูปแบบใหม่

2.Digital  Capital   นำเทคโนโลยีมาใช้ให้ทันสมัยมากขึ้น

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

นางสาวหทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ
The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 

พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 

 ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

 

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

 

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง

 

Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren’t there to speak for themselves. Don’t badmouth others behind their backs. Don’t disclose others’ private information

 

ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

 

      พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

 

ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

 

Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you’re hired to do. Be on time and within budget. Don’t overpromise and underdeliver. Don’t make excuses for not delivering.

 

สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

 

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

 

การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ

 

      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

 

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

 

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด

 

 

แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้

 

ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

 

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

 

Take issues head on, even the undiscussables Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the sward from their hands Don’t skirt the real issues. Don’t bury your head in the sand

 

การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

 

      พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

 

Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don’t violate expectations. Don’t assume that expectations are clear or shared.

 

ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ “ก่อนทำการใดๆ” หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

นางสาวหทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ
The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 

พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 

 ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

 

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

 

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง

 

Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren’t there to speak for themselves. Don’t badmouth others behind their backs. Don’t disclose others’ private information

 

ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

 

      พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

 

ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

 

Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you’re hired to do. Be on time and within budget. Don’t overpromise and underdeliver. Don’t make excuses for not delivering.

 

สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

 

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

 

การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ

 

      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

 

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

 

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด

 

 

แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้

 

ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

 

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

 

Take issues head on, even the undiscussables Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the sward from their hands Don’t skirt the real issues. Don’t bury your head in the sand

 

การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

 

      พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

 

Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don’t violate expectations. Don’t assume that expectations are clear or shared.

 

ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ “ก่อนทำการใดๆ” หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                         50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                      50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ          50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

นางสาวหทัยพัชร์ จุลเจริญ ตัวแทนกลุ่ม 5

เรียน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ
      กลุ่ม 5 ได้ช่วยกันอ่าน เนื้อหาจากหนังสือ The Speed of Trust ของ Stephen R.Covey และพอจะสรุปดังนี้

 

      Stephen R. Covey ได้เปรียบเทียบการสร้างความไว้วางใจเหมือนกันการฝากเงิน นั้นหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ

 พฤติกรรมที่ 5 แสดงความภักดี (Show Loyalty)

 "ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างการแสดงความไม่ภักดีโดยการเล่าเรื่องในระหว่างการรับประทานอาหาร" การแสดงความภักดีอยู่บนรากฐานของหลักการแห่งบูรณภาพ ความภักดี การซึ้งใจ การแสดงออกถึงความภักดีมีหลายวิธี ไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแต่ผู้เขียนได้เลือกที่จะกล่าวถึง มี 2 วิธี

      1. การให้เครดิต (ยกย่อง ชื่นชม) กับผู้อื่น หนทางหนึ่งในการแสดงความภักดีคือให้เครดิตผู้อื่นในการเห็นคุณค่าในการมีส่วนร่วมในการแสดงผลลัพธ์การให้เครดิตไม่เพียงเป็นการยืนยันการทำคุณประโยชน์ของผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้คนในที่ทำงานมีความกระตือรือร้นที่จะใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้ความร่วมมือ และรู้สึกว่าตนมีส่วนร่วมในไอเดียนั้น

      2. พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาอยู่ที่นั้น (การไม่นินทาผู้อื่น) ตัวอย่างการรับประทานอาหาร (ตัวอย่างแรก) เป็นตัวอย่างที่ดีในการทำลายความไว้วางใจต่อผู้อื่น แต่หากมีความจำเป็นในการพูดพาดพิงถึงผู้อื่นนั้นควรพูดอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรพูดถึงข้อบกพร่องที่อาจจะมีหรือที่เราคิดไปเอง
     
      Give credit to others. Speak about people as if they were present. Represent others who aren't there to speak for themselves. Don't badmouth others behind their backs. Don't disclose others' private information
      ให้เครดิตแก่ผู้อื่นเสมอ มองเห็นคุณค่าการมีส่วนร่วมของผู้อื่น พูดถึงผู้อื่น ประหนึ่งว่าเขาร่วมอยู่ที่นั้นด้วยเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้อื่น ถ้าเขาไม่มีโอกาสได้ป้องกันตัว อย่านินทาผู้อื่นลับหลัง อย่างเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น

       พฤติกรรมที่ 6 สร้างผลลัพธ์ (Deliver Results)

      ในยามที่สร้างผลลัพธ์ เราจะเคลื่อนที่จากพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของคุณลักษณะ ไปบังพฤติกรรมที่อยู่บนรากฐานของฝีมือ พฤติกรรมนี้งอกเงยมาจากหลักการแห่งความรับผิดชอบ การแบกรับความผิด และการทำงานได้ตรงกันข้ามกับการสร้างผลลัพธ์จะเป็นการทำไม่ได้ หรือทำงานไม่สำเร็จ

      Establish a track record of results. Get the right things done. Make things happen. Accomplish what you're hired to do. Be on time and within budget. Don't overpromise and underdeliver. Don't make excuses for not delivering.

       สร้างประวัติผลงานแห่งผลลัพธ์ ทำสิ่งที่ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผล รับงานใดมาทำ ทำให้เสร็จทันเวลา ไม่เกินงบประมาณ อย่าสัญญาเกินจริงและทำผลลัพธ์ในระดับต่ำ ไม่มีข้อแก้ตัวถ้าไม่มีผลลัพธ์

      พฤติกรรมที่ 7 การทำให้ดีขึ้น (Get Better)

      การทำให้ดียิ่งขึ้นอยู่บนรากฐานการพัฒนาต่อเนื่อง เรียนรู้และเปลี่ยนแปลง คุณจำเป็นต้องมีบูรณภาพในการให้สัญญาว่าจะพัฒนาความสามารถ และผูกมัดรักษาสัญญานั้น คุณจะอยู่ในจุดสูงสุดเมื่อมีเจตนาจะพัฒนาความสามารถเพื่อสร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้รับประโยชน์จากฝีมือและทักษะของคุณที่เพิ่มขึ้น การทำให้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับความสามารถในการสร้าง ขยาย ฟูมฟักความไว้วางใจ การทำให้ดีขึ้น ยิ่งขึ้นเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ ทั้งในแง่การเพิ่มสัดส่วน input/output ในการเรียนรู้ให้ทำดียิ่งขึ้น และมองเห็นความเกี่ยวข้องของการพัฒนาฝีมือกับผลลัพธ์ที่คุณพยายามทำให้สำเร็จ
      จะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร มีกลยุทธ์ 2 เรื่องคือ เสาะหาผลสะท้อนกลับ และเรียนรู้จาการผิดพลาด

1.   เสาะหาผลสะท้อนกลับและนำมาวิเคราะห์ปรับใช้มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาฝีมือ

2.   เรียนรู้จาการผิดพลาดถ้าคุณไม่พร้อมที่จะผิดพลาดคุณไม่มีวันพัฒนาฝีมือได้บ่อยครั้งคนเราไม่เต็มใจที่จะทำผิดอาจเป็นเพราะกลัวเกินกว่าจะล้มเหลว หรือทุ่มความสนใจไปยังการวางท่าสวยให้ดูดี แต่คนฉลาดบริษัทที่ฉลาด ถือว่าการทำผิดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มองเห็นความผิดพลาดเป็นผลสะท้อนกลับที่จะช่วยในการพัฒนาฝีมือทำให้เขากลายเป็นผู้เชียวชาญในการเรียนรู้วิธีที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด
     
      แท้จริงแล้ว บ่อยครั้งเกินไปที่ความล้มเหลวนำเอาไอเดียบรรเจิดและการค้นพบครั้งใหญ่มาให้
 
      ความเห็นต่อการประดิษฐ์หลอดไฟ ของแอลวา เอดิสัน กล่าวไว้ว่า ฉันไม่ได้ล้มเหลวหมื่นครั้ง ฉันประสบความสำเร็จในการคัดไส้หลอดไฟและวัสดุที่ใช้งานไม่ได้ออกไปหนึ่งหมื่นประเภท

      พฤติกรรมที่ 8 เผชิญหน้ากับความเป็นจริง (Confront Reality)

      Take issues head on, even the "undiscussables" Address the tough stuff directiy. Acknowledge the unsaid. Lead out courageously in conversation. Remove the "sward from their hands" Don't skirt the real issues. Don't bury your head in the sand

      การเผชิญหน้าความเป็นจริง อยู่บนรากฐานของหลักการว่าด้วยความกล้า ความรับผิดชอบ การตระหนักรู้ และความนับถือ

       พฤติกรรมที่ 9 ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน (Clarify Expectations)

      Disclose and reveal expectations. Discuss them. Validate them. Renegotiate them if needed and possible. Don't violate expectations. Don't assume that expectations are clear or shared.
     
      ระบุความคาดหวังให้ชัดเจน จะเป็นการสร้างภาพที่เห็นพ้องต้องกัน และความเห็นชอบ ตกลงกันล่างหน้าก่อนการกระทำใดๆนี้คือพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่แทบไม่ได้ใส่ใจ เรียกพฤติกรรมเรื่องหนึ่งที่คนสนใจจะเน้นความสนใจไปที่ "ก่อนทำการใดๆ" หลีกเลี่ยงความปวดใจที่จะเกิดตามมาในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อน จะเกิดปัญหาความวางใจในภายหลังซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความรวดเร็วและต้นทุน การระบุความคาดหวังให้ชัดเจนอยู่บนรากฐานของการว่าด้วยความกระจ่าง ความรับผิดชอบ และการกำหนดความรับผิด

สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. นงนุช บัวขำ                       50038010012

3.       น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร              50038010035

4.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

5.       น.ส. ญานิสา เวชโช                   50038010013

6.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ           50038010023

7.       นาง กัณจนา งามน้อย                 50038020006

8.       น.ส วิวิตรา จุลกรานต์                 50038010028

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง            50038010008

แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551

 

ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน ที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษารปม.รุ่น 4  (ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย)  ภาพแรกที่นักศึกษาทุกคนประทับใจคือ อาจารย์จีระได้โบกมือให้ขณะที่นักศึกษาอยู่ในรถบัส  และนักศึกษาก็ทักทายอาจารย์โดยการยกมือสวัสดีตอบ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายไปแสวงหาความรู้ในร้านขายหนังสือ  หลังจากนั้น อาจารย์จีระก็ได้นำพวกเราเดินทางไปท่าเรือแหลมบาลีฮายเพื่อลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน  ระหว่างอยู่ในเรือนักศึกษาทุกคนก็มีความเป็นกันเองต่างถ่ายรูปกัน ต่างพูดคุยกัน ต่างแบ่งปันขนมซึ่งกันและกัน บางคนก็ขอถ่ายรูปกับอาจารย์จีระ  (ซึ่งอาจารย์มีความเป็นกันเองมาก ๆ)  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ถ้าอาจารย์ไม่จัดกิจกรรมเช่นนี้  ภาพอย่างนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับพวกเราชาว รปม.4  และพอไปถึงเกาะล้าน พวกเราก็ต้องขอขอบคุณทางร้านอาหารที่บริการพวกเราอย่างเต็มที่ (อาหารอร่อยมาก ๆ และทางร้านก็จัดสถานที่ให้พวกเราได้นั่ง ได้นอนพักผ่อนกัน)  หลังจากที่พวกเราได้รับประทานอาหารเสร็จเราก็ได้เกร็ดความรู้จาก 

 

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

 

        หลังจากที่เราได้ฟังผู้รู้ทั้ง 3 และข้อสรุปของประธาน (ท่านดาโต๊ะ) และรองประธาน (หลวงพี่แทน) แล้ว  พวกเราก็ได้เดินทางข้ามเรือกลับมายังพัทยา  ระหว่างขากลับพวกเราก็ได้เผชิญกับคลื่นที่แรงมาก  แต่พวกเรานักศึกษา รปม.รุ่น 4  ก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้  โดยมีท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่านเป็นทั้งผู้นำทีมและผู้นำทาง  ให้พวกเราได้เดินทางมาสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งเป้าไว้  พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ทุกคนต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  ขอบกราบขอบพระคุณค่ะ

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551

 

ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน ที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษารปม.รุ่น 4  (ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย)  ภาพแรกที่นักศึกษาทุกคนประทับใจคือ อาจารย์จีระได้โบกมือให้ขณะที่นักศึกษาอยู่ในรถบัส  และนักศึกษาก็ทักทายอาจารย์โดยการยกมือสวัสดีตอบ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายไปแสวงหาความรู้ในร้านขายหนังสือ  หลังจากนั้น อาจารย์จีระก็ได้นำพวกเราเดินทางไปท่าเรือแหลมบาลีฮายเพื่อลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน  ระหว่างอยู่ในเรือนักศึกษาทุกคนก็มีความเป็นกันเองต่างถ่ายรูปกัน ต่างพูดคุยกัน ต่างแบ่งปันขนมซึ่งกันและกัน บางคนก็ขอถ่ายรูปกับอาจารย์จีระ  (ซึ่งอาจารย์มีความเป็นกันเองมาก ๆ)  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ถ้าอาจารย์ไม่จัดกิจกรรมเช่นนี้  ภาพอย่างนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับพวกเราชาว รปม.4  และพอไปถึงเกาะล้าน พวกเราก็ต้องขอขอบคุณทางร้านอาหารที่บริการพวกเราอย่างเต็มที่ (อาหารอร่อยมาก ๆ และทางร้านก็จัดสถานที่ให้พวกเราได้นั่ง ได้นอนพักผ่อนกัน)  หลังจากที่พวกเราได้รับประทานอาหารเสร็จเราก็ได้เกร็ดความรู้จาก 

 

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

 

        หลังจากที่เราได้ฟังผู้รู้ทั้ง 3 และข้อสรุปของประธาน (ท่านดาโต๊ะ) และรองประธาน (หลวงพี่แทน) แล้ว  พวกเราก็ได้เดินทางข้ามเรือกลับมายังพัทยา  ระหว่างขากลับพวกเราก็ได้เผชิญกับคลื่นที่แรงมาก  แต่พวกเรานักศึกษา รปม.รุ่น 4  ก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้  โดยมีท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่านเป็นทั้งผู้นำทีมและผู้นำทาง  ให้พวกเราได้เดินทางมาสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งเป้าไว้  พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ทุกคนต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  ขอบกราบขอบพระคุณค่ะ

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รปม. รุ่น 4 รหัส 50038010040

 

สิ่งที่ประทับใจและความรู้ที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงานที่เกาะล้าน   จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2551

 

ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ  อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน ที่มาให้ความรู้แก่นักศึกษารปม.รุ่น 4  (ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย)  ภาพแรกที่นักศึกษาทุกคนประทับใจคือ อาจารย์จีระได้โบกมือให้ขณะที่นักศึกษาอยู่ในรถบัส  และนักศึกษาก็ทักทายอาจารย์โดยการยกมือสวัสดีตอบ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้พาผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายไปแสวงหาความรู้ในร้านขายหนังสือ  หลังจากนั้น อาจารย์จีระก็ได้นำพวกเราเดินทางไปท่าเรือแหลมบาลีฮายเพื่อลงเรือข้ามไปยังเกาะล้าน  ระหว่างอยู่ในเรือนักศึกษาทุกคนก็มีความเป็นกันเองต่างถ่ายรูปกัน ต่างพูดคุยกัน ต่างแบ่งปันขนมซึ่งกันและกัน บางคนก็ขอถ่ายรูปกับอาจารย์จีระ  (ซึ่งอาจารย์มีความเป็นกันเองมาก ๆ)  ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า ถ้าอาจารย์ไม่จัดกิจกรรมเช่นนี้  ภาพอย่างนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นกับพวกเราชาว รปม.4  และพอไปถึงเกาะล้าน พวกเราก็ต้องขอขอบคุณทางร้านอาหารที่บริการพวกเราอย่างเต็มที่ (อาหารอร่อยมาก ๆ และทางร้านก็จัดสถานที่ให้พวกเราได้นั่ง ได้นอนพักผ่อนกัน)  หลังจากที่พวกเราได้รับประทานอาหารเสร็จเราก็ได้เกร็ดความรู้จาก 

 

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

 

        หลังจากที่เราได้ฟังผู้รู้ทั้ง 3 และข้อสรุปของประธาน (ท่านดาโต๊ะ) และรองประธาน (หลวงพี่แทน) แล้ว  พวกเราก็ได้เดินทางข้ามเรือกลับมายังพัทยา  ระหว่างขากลับพวกเราก็ได้เผชิญกับคลื่นที่แรงมาก  แต่พวกเรานักศึกษา รปม.รุ่น 4  ก็ได้ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นมาได้  โดยมีท่านอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่านเป็นทั้งผู้นำทีมและผู้นำทาง  ให้พวกเราได้เดินทางมาสู่จุดมุ่งหมายที่เราตั้งเป้าไว้  พวกเราชาว รปม.รุ่น 4 ทุกคนต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ อาจารย์ยม  ดร.กีรติ  และรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ  ขอบกราบขอบพระคุณค่ะ

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๑๙

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

        จากการที่ได้ศึกษาทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑  โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

         การอบรมและพัฒนาคนเก่งมีรูปแบบ ๕ ขั้นตอน คือ

         ๑.  การประเมินความรู้ และทักษะ

         ๒. การวิเคราะห์

         ๓. การวางแผนพัฒนา

         ๔. การดำเนินการตามแผน

         ๕. การประเมินความก้าวหน้า

        สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม

         ๑. สมรรถนะในการบริหารคน

         ๒. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

         ๓. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

         ๔. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

        วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

         ๑. การสอนงาน

         ๒. การโยกย้ายฝ่ายงาน

         ๓. การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ

         ๔. การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตร

             การฝึกอบรม

        ๕. การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

        ๖. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

        ๗. การแนะนำให้หนังสือให้อ่าน เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วย

            ตนเอง

        ๘. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

        ๙. การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

       ๑๐. การจัดการเรียนรู้ด้วยการใข้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web

             Based Learning

       ๑๑. การมอบหมายให้คนเก่งสังเกตุพฤติกรรมการทำงานของ

             ผู้ที่เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ

           การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

           กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

           การจัดการเชิงกลยุทธ์ ๘ เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

         ๑. ความต้องการของลูกค้า

         ๒. การวางแผนกลยุทธ์

         ๓. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

         ๔. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

         ๕. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

         ๖. การพัฒนากระบวนการ

         ๗. ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน ผล

             ประกอบการ

          ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์

           ทั้งหมดนี่้ที่ได้รับการเรียนรู้จากอาจารย์ยม  นาคสุข เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

 

 

 

 

 

 

 

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมย์ และเพื่อนๆ ชาว รปม.รุ่น4 ทุกท่าน

        กระผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้มีโอกาสไปทัศนศึกษาที่ "เกาะล้าน" รู้สึกเสียดาย...เสียดาย...แล้วก็เสียดาย...เนื่องจากติดภารกิจงานรับปริญญาของตนเองประกอบกับเป็นไข้เรื้อรังมานาน (มาแผงฤทธิ์ในคืนวันที่ 20 กพ. 51) ทั้งๆ ที่ได้นัดกับพี่จุ๋น พี่บัญชา ป๋าชู ไว้แล้วว่า "ยังไงคนอย่างผมเรื่องกิจกรรมไม่พลาดแน่...!" สุดท้าย "แป๊ก" ไม่ไหวจริงๆ ครับเจ้านาย...

        เวลาประมาณ 9 นาฬิกา 30 นาที 22 วินาที เดินทางไปที่รพ.มงกุฎวัฒนะ เพื่อไปพบแพทย์และแพทย์ก็วินิจฉัยว่ามีไข้สูง ไซนัส และแก้วหูชั้นกลางอักเสบ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ

หมอ  :  เดี๋ยวหมอจะจัดยา Serratipeptidase ลดบวม ลดอักเสบ Pseudoepnedrine แก้คัดจมูก Cetirizine แก้แพ้ลดน้ำมูก ยา AMK ฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ ให้ทานติดต่อกันทุกวันจนหมดนะ

หมอ  :  เออ! อีกอย่างเอายา Mepin minitab ไปด้วยเป็นยาขยายหลอดลมและคุณต้องล้างจมูกทุกวัน เช้า-เย็น ด้วยน้ำเกลือ 0.9%

หมอ  :  คุณเคยล้างจมูกไหม

คนไข้  :  ไม่เคยครับ

หมอ  :  งั้นคุณเอาเอกสารไปอ่าน แล้วไปรับยาด้านนอกเลยค่ะ

คนไข้  :  ขอบคุณครับคุณหมอ

เจ้าหน้าที่การเงิน  :  เชิญ ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์  มณีโชติ ติดต่อการเงินค่ะ

คนไข้  :  ผมเองครับ

เจ้าหน้าที่การเงิน  :  ค่าบริการทางการแพทย์ และค่ายา..?..บาท

คนไข้  :  โอ้แม่เจ้า!!!!! (ทำใจครับ....เอกชนเบิกไม่ได้)

        สุดท้ายถึงแม้ผมจะไม่ได้ร่วมเดินทางไป "เกาะล้าน" เมื่อวันที่ 21 กพ. 51 ก็ตาม แต่ผมก็ได้อ่าน Blog ของชาว รปม.รุ่น 4 แล้วประทับใจตรงที่นักศึกษาส่วนใหญ่ประทับใจในทุกเรื่องของท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลเอาใจใส่ด้านความปลอดภัย ด้านอาหารการกิน และด้านความรู้เพิ่มเติมจากการเข้าไปร้านหนังสือ ฯลฯ

ปล. ทราบมาว่าในการเดินทางครั้งนี้ หลวงพี่ทั้ง 3 รูป ต้องฝ่าฟันอุปสรรคไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "หลวงพี่แทน" ได้อ่านบทความของท่านแล้วรู้สึกประทับใจและสามารถนำแนวคิด "ปลงสังขาร" มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้  

                               ....บทปลงสังขาร....

สังขารร่างกาย ทั่วไปเน่าเหม็น มีของกากเดน มองเห็นทุกที ไหลเข้าไหลออก ย้อนยอกมากมี ล้วนเป็นสิ่งที่ มีอยู่ทั่วกัน น้ำเลือดน้ำหนอง ล้วนของปฏิกูล ไหลมาเป็นมูล พอกพูนหลายชั้น ข้างนอกเน่าเหม็น มองเห็นทุกวัน อีกข้างในนั้น ล้วนขันไม่งาม สังขารร่างกาย ไม่ใช่ตัวตน เกิดมาเป็นคน ไม่พ้นโดนหาม ต้องนอนเปลือยกาย ให้ไฟลุกลาม เมื่อเจ้าโดนหาม สู่เชิงตะกอน... 

 

นายธนิก กัมพูศิริพันธุ์ รุ่น.4 รปม. รหัส.50038010033

 

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      ท่านอาจารย์ ยม นาคสุขท่านได้สอนวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และแนวการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นั้น ท่านยังสอนถึงเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ ๒๑  และเรื่องของคนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร เพื่อที่จะได้พัฒนาเป็น "คนเก่ง" นั้นจากการได้เรียนและรับฟังพอที่จะสรุปได้เป็นข้อๆ โดยการที่จะอธิบายต่อไป

จากการที่ได้ศึกษาเนื้อหาเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21 

 การอบรมและพัฒนา "คนเก่ง" ตามรูปแบบ ๕ ขั้นตอน ดังนี้

         1.  การประเมินความรู้ และทักษะ

                        2. การวิเคราะห์

         3. การวางแผนพัฒนา

                      4. การดำเนินการตามแผน

         5. การประเมินความก้าวหน้า

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันแบ่งเป็น ๔ กลุ่ม

         1. สมรรถนะในการบริหารคน

                        2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

         3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

                        4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

คนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร  วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร

         1. การสอนงาน

                        2. การโยกย้ายฝ่ายงาน

         3. การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ

4. การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

        5. การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

                        6. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

7. การแนะนำให้หนังสือให้อ่าน เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง

        8. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

                       9. การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

10. การจัดการเรียนรู้ด้วยการใข้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web Based Learning

           11. การมอบหมายให้คนเก่งสังเกตุพฤติกรรมการทำงานของ

                                    ผู้ที่เป็นต้นแบบซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะ

           การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

           กลยุทธ์ หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่สร้างมั่นใจให้ได้ว่าจะนำบุคคลกรไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรเพื่อประสิทธิภาพที่สมบูรณ์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

         1. ความต้องการของลูกค้า

                        2. การวางแผนกลยุทธ์

        3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                                    4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

            5. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

                       6. การพัฒนากระบวนการ

  7. ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน ผล ประกอบการ

­                              8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

      จากคำกล่าวในการพัฒนานั้นเราต้องสนใจและมั่นดูและบุคคลภายในองค์กรเหตุเพราะ บุคคลกรนั้น คือ ทรัพยากรที่สำคัญต่อองค์กร ถ้าขาดพวกเขาเหล่านี้องค์กรก็จะไม่มีการพัฒนา แต่ในการจะทำให้องค์กรเข้มแข็งนั้นเราควรที่จะต้องพัฒนาบุคคลให้มีความเก่ง "คนเก่ง" พร้อมที่จะมาพัฒนาให้องค์กรให้มีประสิทธิภาพอย่างยั้งยืน นั้นเอง

ท้ายนี้  ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กรุณาแนะนำ  ทางสว่างให้เกี่ยวกับวิธีการเขียนคำตอบมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง   พวกเราหลายๆ คนเครียดมากค่ะ

สุรภัทร ปานทอง รปม.รุ่นที่ 4

 

เรียนอาจารย์ ยม   นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน

สิ่งที่ได้เรียนและได้รับจากท่านอาจารย์ ยม ฯ ในวันที่ 23  กุมภาพันธ์   2551   เป็นวันที่อาจารย์ ยมฯ ได้รับเชิญจากท่าน ศ.ดร.จีระ ฯ  เป็นผู้บรรยายให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต  รุ่นที่ 4 ในวันนั้นท่านอาจารย์ได้บรรยายเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21   ท่านได้บรรยายถึงการค้นหาแนวทางในการพัฒนาทุนมนุษย์ยุคใหม่ เพื่อที่จะให้นักศึกษาปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง  เปลี่ยนผ่านจากยุคเกษตร  เป็นยุคอุตสาหกรรม  จนกระทั่งเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์  ยุคโลกไร้พรมแดน ยุคของการเปลี่ยนแปลง ท่านสอนให้ทุกคนเป็นคนคนเก่ง ฉลาด และ ดี  ท่านได้ให้แนวทางไว้ 5 ประการ คือ 1. การประเมินความรู้และทักษะ 2. การวิเคราะห์ 3.การวางแผนและพัฒนา 4. การดำเนินการตามแผน 5. การประเมินความก้าวหน้า     ท่านสอนให้รู้ถึงเศรษฐกิจบนฐานของความรู้  การแสวงหาและพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อจะได้นำไปสู่ของคนมีปัญญาดี  เพื่อจะนำพาองค์กร  ประเทศชาติ และสังคมโลกให้พ้นจากความเดือดร้อน   ท่านอาจารย์ยมฯ ได้ให้แนวทางการเสาะแสวงหาทิศทางใหม่ในการดำเนินชีวิต ทั้งภาครัฐ  ภาคธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาได้คิดเท่าทันกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคใหม่ ในศตวรรษที่ 21

น.ส.หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

 เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข คณะทีมงาน และท่านผู้อ่านทุกท่าน จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ยม นาคสุข

 

ช่วงเช้า เรียนเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  เริ่มต้นจากการที่อาจารย์ยม ได้ขึ้น ข้อความว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน เรื่อง "ทรัพยากรมนุษย์" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ เพราะการบริหารงานที่ดีนั้นต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และต้องมีคุณค่าคือมีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะต่างๆอยู่ตลอดเวลา ตามกระแสโลกโลกาภิวัฒน์ ประเด็นแรกพูดถึง โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่งรูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" มี 5 ขั้นตอน

 

1. การประเมินความรู้และทักษะ ต้องประเมินก่อนเป็นการรวบรวม Feedback จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

2. การวิเคราะห์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์กรจะได้รับจาการพัฒนาความรู้และทักษะ ที่ต้องการพัฒนาให้มีทั้งคนเก่งและคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม

3. การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" ระบุประเด็น ออกแบบกิจกรรมและฝึกอบรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมระบุเวลาและงบประมาณที่ต้องใช้ เป็นต้น

4. การดำเนินการตามแผน

5. การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การ Feedback แก่พนักงาน

 และเมื่อประเมินผลแล้ว ก็ต้องมีการต่อยอดอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดหย่อน

 

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1. สมรรถนะในการบริหารคน (HR. Management)

แบ่งเป็นทักษะในการสื่อสาร คือการสื่อสาร 2 ทาง ให้มีประสิทธิภาพ และการประสานสัมพันธ์ คือการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

- การบริหารการเปลี่ยนแปลง

- การมีจิตมุ่งบริการ

- การวางแผนกลยุทธ์

3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (Working like the Professionnal Management Level)

- การตัดสินใจ

- ความเป็นผู้นำ

- การคิดเชิงกลยุทธ์

4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management by Result, MBO)

- การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

- การบริหารทรัพยากร

- การบริหาร CEO

เราต้องการพัฒนาคนให้เกิดความสุขในการทำงานและให้ผลงานออกมาดี และคิดว่าควรต้องใส่หลักสูตรอะไรให้กับเค้า เพื่อพัฒนาไปในจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง จากการเรียนมีทั้งหมด 12 วิธีแต่จะขอยกมา 5 วิธี

 

1. การพัฒนาในลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การเปิดโลกในอินเตอร์เน็ต ที่องค์กรแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ เพราะคนเก่งมักเป็นผู้กระตือรือร้นมีแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

2. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับผู้อื่น เป็นการฝึกเป็นผู้เชียวชาญไปในตัว

3. การสอนงานเป็นกลยุทธ์ ที่ใช้เพื่อการพัฒนา "คนเก่ง" ใช้ในกรณีที่คนเก่งต้องการมีที่ปรึกษา มีครู ผู้ฝึกอบรม และผู้แนะแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงานเพื่อให้ความสำเร็จในงานที่ทำงาน

4. การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ๆ และการเรียนรู้งานใหม่ๆ ช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากฝ่ายงานต่างๆ

5. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมจากภายนอกองค์การ เป็นระยะเวลาสั้น ประมาณ 2-5 วัน เพื่อกลับมาพัฒนาองค์การและพัฒนาคนในองค์การ

 

ช่วงบ่าย เรียนการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ การวางแผน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมไปถึงวิธีการนำไปสู่ความสำเร็จอย่างแยบยล และทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

  

การวางแผนกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นของการะบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการจัดวางทิศทางขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้

 

นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

ความประทับใจในการไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ณ เกาะล้าน

 

ความประทับใจที่ได้ไปศึกษาดูงานเริ่มต้นจากการเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 06.00 น.  และได้พักรับประทานอาหารเช้ากันที่ทางด่วนมอร์เตอร์เวย์ที่นี้มีร้านอาหารอำนวยความสะดวกให้นักศึกษาทุกคนระหว่างทางบางคนก็หรับพักผ่อน บางคนก็พูดคุยสนทนากัน ต่อมาเวลา 11.00 น. เราทุกคนก็เดินทางสู่พัทยาใต้ โดยพบ ศ ดร.จิระ ณ ห้างสรรพสินค้าบริเวณพัทยาใต้ ท่านได้นำเราไปแวะชมร้านจำหน่ายหนังสือและพูดคุยกันถึงหนังสือประเภทต่าง ๆ หลักจากนั้นก็เดินทางโดยรถมหาวิทยาลัยไปยังเรือที่จอดคอยพวกเราเพื่อที่จะพาพวกเราไป ณ เกาะล้าน ระหว่างที่พวกเราเดินทางด้วยเรือนั้น มีคลื่นที่แรงมากเข้ามากระทบกับเรือที่เราโดยสาร  ทำให้ทุกคนโอนเอนจะล้ม บวกกับน้ำที่กระเด็นเข้ามาทำให้บางคนเปียกปอนไปด้วยน้ำ (แต่สนุกดีค่ะ)  เหมือนเราได้ไปผจนภัยเลยค่ะ  กว่าเรือจะพาพวกเราถึงฝั่งก็ปาเข้าไปประมาณ 13.30 น. รู้สึกว่าตอนนี้ท้องของแต่ละคนเริ่มหิวแล้วค่ะ  เมื่อมาถึงร้านอาหารบริเวณเกาะล้านพวกเราก็รับประทานอาหารกันอย่างเอร็ดอร่อย  อาหารที่รับประทานก็มี กุ้ง หอย ปู ปลา ไข่เจียว ต้มยำ เป็นต้น เมื่อทานอิ่มแล้ว พวกเราก็พักผ่อนกันตามอัธยาศัย  ประมาณ 15 นาที ศ.ดร.จิระก็เรียกกันเพื่อร่วมตัวอีกครั้งนึงที่บริเวณสถานที่รับประทานอาหาร

ดร.กีรติ  กล่าวว่า ท่านก็เป็นลูกหลานราชภัฏเหมือนกับพวกเรา  และท่านก็ได้มาศึกษาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และท่านก็นำความรู้ที่สะสมได้สั่งสอนให้ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรและก็บริหารธุรกิจของท่าน  ให้ท่านให้ข้อคิดว่าเครื่องจักรเราสามารถหาซื้อได้ แต่บุคลากรที่ดีเราต้องสรรหาและต้องบริหารให้ดี  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดคือ "คน"  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ 

 

รองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  กล่าวถึงเมืองพัทยาว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และได้เล่าถึงการบริหารจัดการของคนในเมืองพัทยาว่าได้เดินทางมาจากที่อื่นเข้ามาทำงานที่เมืองพัทยาและได้ส่งเงินกลับให้ครอบครัวทุกเดือน และในเมืองพัทยาเองก็มีเงินหมุนเวียนจากชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหลายล้านบาท  ดังนั้น การบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญขององค์กรอีกประการหนึ่งเหมือนกัน   

 

อาจารย์ยม  ได้ให้เคล็ดลับกับพวกเราว่า  การฟังอะไรก็ตาม เราจะต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้  แล้วนำประเด็นนั้นมาต่อยอดให้ได้  ให้รู้จักการบริหารจัดการตนเองโดยการเรียนรู้  และนำความรู้นั้นมาพัฒนาคนอื่นได้

หลังจากที่ท่านได้พูดคุยกับพวกเราเสร็จ  ท่านก็ปล่อยให้พวกเราพักผ่อนตามอัธยาศัย  บางคนก็นอนพักผ่อน  หลังจากนั้น เราทุกคนก็เตรียมพร้อมที่จะเดินทางกลับสู่พัทยา โดยเดินทางกลับด้วยเรือลำเดิมใช้เวลาเดินทางกลับพัทยาประมาณ 15 นาทีเองค่ะ  เมื่อเดินทางกลับมาถึงพัทยาใต้  ทุกคนก็แวะเข้าห้องน้ำ  เพื่อเตรียมความพร้อมเดินทางต่อเพื่อกลับ กรุงเทพฯ  หลักจากทุกคนทำธุร ส่าวนตัวเสร็จเราก็ขึ้นรถของมหาวิทยาลัยเพื่อเดินทางกลับระหว่างทางได้แวะซื้อของฝาก  ในขณะที่อยู่บนรุก็สนุกค่ะ  พี่ ๆ ทุกคน พูดคุยกัน ขำ ขำ ค่ะ  บางคนก็ถ่ายรุป บางคนก็เหนื่อยก็พักผ่อนค่ะ  ต่อมาเมื่อเวลา 20.00 น. เราทุกคนก็กลับถึง กรุงเทพฯ อย่างสวัสดิภาพ และมีความสุขพร้อมกับความรู้สึกว่าผูกพันและได้สนิดกันมากขึ้นค่ะ แล้วก็เพรียด้วยค่ะ อยากถึงบ้านไวไวค่ะ จะได้พักผ่อนค่ะ เพราะพรุ่งนี้ต้องไปทำงานต่อค่ะ

    

นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์

 

ความเก่งของคนในองค์กรความรู้       

 

ธุรกิจที่โลดแล่นอยู่ในปัจจุบันมีหลายๆ ปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและปัจจัยหนึ่งที่ธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อกันว่าทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จคือ "ทุนมนุษย์" (Human Capital)

 

ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.2547 ผู้เขียนเห็นเหล่า CEO หลายๆ องค์กรออกมาพูด เกี่ยวกับเรื่อง "การบริหารทุนมนุษย์" ซึ่งนับว่าพอดีกับสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียน-บรรยาย-พูด ไว้นานแล้วว่า

 

"ธุรกิจในศตวรรษที่ 21 (21C) จะต้องทำให้

 

.......CEO/MD/President ได้เรียนรู้และก้าวเข้ามาสนใจอย่างจริงจังที่จะบริหารทุนมนุษย์ โดยเฉพาะเป็น "การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์" (SHCM: Strategic Human Capital Management)

 

.......ฝ่ายบริหาร HR จะต้องทำในเชิงของ "ผู้คุมเกมกลยุทธ์" (Strategic Player) ไม่ใช่ทำงานหรือบริหารในรูปแบบเดิมอย่างเช่น การเป็นหน่วยงานสนับสนุน หรือที่บางธุรกิจเพิ่งทำกันในรูปแบบพันธมิตรธุรกิจ

 

.......การบริหารทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ควรจะมีความชัดเจนในเรื่องการจัดทำแผนแม่บทในการบริหารทุนมนุษย์ที่อยู่บนแพลตฟอร์ม (Platform) ของ "ระบบงาน HR ที่เน้นความสามารถ"

 

ตัวอย่างข้างต้น ไม่ใช่สิ่งที่ CEO/MD/President ไปพูดเพียงลอยๆ ตามที่มีผู้จัดเตรียมให้ แต่ต้องลงมือจัดทำจริงๆ และลงมาเล่นจริงๆ ด้วย........"

 

อะไรคือ ความเก่งที่ธุรกิจอยากได้

พอธุรกิจเริ่มพูดถึงความเก่ง ผู้เขียนเชื่อว่ามีความเข้าใจแตกต่างกันหรือสับสนกันพอสมควร ทั้งนี้อาจจะเป็นด้วยสาเหตุต่อไปนี้

 

1. นักคิด หรือผู้เชี่ยวชาญทางการจัดการทางธุรกิจของไทยเรามีไม่มาก หรืออาจจะมีอยู่แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีความลึกซึ้งในสิ่งเหล่านี้หรือไม่

 

คำว่าความลึกซึ้ง ในทัศนะของผู้เขียนจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบของสิ่งต่อไปนี้

 

(1) มีการศึกษาวิจัยหรือค้นคว้ามาอย่างต่อเนื่องในสิ่งที่เรียกว่า "ความเก่ง" ไม่ใช่เป็นเพียงการพูดหรือเขียนตามความเข้าใจของตนเอง หรือพูดง่ายๆ ว่าให้ทันกับแฟชั่น

 

ตัวอย่าง ต้องอธิบายความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างแนวคิดทางธุรกิจในเรื่องต่อไปนี้ อาทิ สมรรถภาพ (Capability) ความสามารถ (Competency) ความเก่ง (Talent)

 

(2) ต้องเข้าใจถึง "วิธีการแสวงหาความรู้" หรือที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า "Mode of Inquiry" คืออธิบายง่ายๆ ว่าธุรกิจหรือผู้รู้จะใช้วิธีการหรือเครื่องมืออะไรในการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทางธุรกิจ

 

ตัวอย่าง มีการทำวิจัย (ไม่ใช่การทำสำรวจหรือสอบถามความเห็น แม้ว่าจะมีประโยชน์บ้างแต่ไม่ได้สร้างความรู้ใหม่) ในด้านแนวคิดทางธุรกิจหรือเนื้อหาทางธุรกิจเพื่อจะตอบให้ได้ว่า แนวคิดทางธุรกิจดังกล่าวมีจุดเด่นหรือหลักการใดที่เป็นแก่นแท้ของความรู้

 

อาทิ การลงมือทำในเชิงการวิจัยเพื่อนำแนวคิดทางธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องความเก่งไปทดลองใช้หรือได้ค้นพบข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวว่าเป็นอย่างไร

 

หรือการมีบทเรียนที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในเรื่อง ความเก่ง เช่น มีบทเรียนขององค์กรที่ได้พัฒนาเรื่องของโมเดลความสามารถ

 

2. ต้องเข้าใจว่า ผู้บริหารธุรกิจหรือผู้นำองค์กรของธุรกิจในประเทศไทยมีความทันสมัยคือ ต้องการก้าวทันการเปลี่ยนแปลงหรือมีความต้องการให้ธุรกิจได้นำแนวคิดทางธุรกิจใหม่เข้ามาสู่องค์กรที่ผู้บริหารธุรกิจเหล่านั้นบริหารอยู่

 

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงหรือเป็นความกังวลในเชิงการประยุกต์ใช้ทฤษฑีใหม่ทางการจัดการธุรกิจคือ

 

(1) มีโอกาสน้อยที่จะได้พิจารณาอย่างรอบคอบหรือพิจารณาในมุมกว้างทั้งข้อดีข้อเสียของแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ

 

ตัวอย่าง การจัดการเรื่องความสามารถ (CBM: Competency Based Management) มีการเผยแพร่เข้ามาในธุรกิจเมืองไทยอยู่ระหว่างรอยต่อของปี 2536 แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก

 

โดยที่ธุรกิจควรทำความเข้าใจในประเด็นของความสามารถในสิ่งต่อไปนี้ เช่น

 

- แนวคิดทางจิตวิทยา มองเรื่องความสามารถในคำว่า "Ability" หรือเป็นเรื่องของสติปัญญาของคน ดังนั้นการกำหนดนิยามหรือความหมาย การจัดทำรูปแบบหรือโมเดล การพัฒนาและการวัดความสามารถจะเป็นไปในด้านของ "การวัดทางจิตมิติ" (Psychomertic) เช่น วัดระดับสติปัญญา วัดด้านพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพหรือในปัจจุบันวัดด้านเชาวน์อารมณ์ (EQ)

 

- แนวคิดทางการวัดและประเมินบุคคล จะมองความสามารถในด้าน "ศักยภาพ" (Potential) ซึ่งเป็นสิ่งที่กว้างหรือก้าวข้ามทางด้านจิตวิทยามาสู่ธุรกิจมากขึ้น

 

โดยที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ในการดำเนินการช่วงที่ปี 2532 เพื่อตอบโจทย์ของผู้จัดการใหญ่ที่ ธกส.ในขณะนั้นว่า ผู้บริหารธนาคารหรือผู้จัดการสาขา จะต้องมีศักยภาพ หรือความสามารถอะไรจึงจะทำให้ธนาคารมีประสิทธิภาพ หรือมีผู้นำของธนาคารที่เหมาะสมในอนาคต แล้วจึงสร้างเครื่องมือเข้าไปวัดศักยภาพดังกล่าว

 

ความตื่นเต้นในขณะนั้นคือ ได้ใช้ทฤษฎีทางการวัดและประเมินที่ร่ำเรียนมาแล้วสร้างทฤษฎีทางการวัดศักยภาพของผู้บริหารว่าจะวัดในองค์ประกอบของศักยภาพใดและใช้เครื่องมืออะไรบ้าง

 

- แนวคิดทางธุรกิจเต็มร้อย จะมองที่ "ความสามารถ" ในมิติของ "Competence" หรือปัจจุบันกำลังสนใจในอีกมิติที่กว้างขึ้นคือ "สมรรถภาพขององค์กร" (OC: Organizational Capabilities)

 

ซึ่งในบทเรียนทางธุรกิจมีวิธีการค้นหา สร้างโมเดลและการวัดหรือประเมินความสามารถค่อนข้างหลากหลายและในแต่ละแนวคิดจะปรับหรือประยุกต์ใช้แตกต่างกันพอสมควร

 

 

กราบเรียนท่านอาจารย์ จีระ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ learning Organizationและ Hr ของระบบราชการ มีอะไรบ้าง

ในยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งโลกไร้พรมแดน ยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและเวลานี้ กระแสยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ยุคของการแสวงหาและพัฒนาทุนมนุษย์ ยุคของคนมีปัญญาดี นำพาองค์การ ประเทศชาติ หรือสังคม

 

จากการได้เรียนรู้ทำให้ทราบความหมายของ นวัตกรรม

ผมเข้าใจว่า นวัตกรรม คือ การคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ สิ่งใหม่ ๆ และสิ่งนั้นต้อง มีประโยชน์ ต่อส่วนรวมและต่อยอดได้ แม้จะไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการ ก็ตาม

 

 ด้านอุปสรรค์

ในระบบราชการเป็นระบบใหญ่เป็นการทำงานอยู่ในกรอบของกฎ ข้อบังคับ ในการสร้างฯสามารถทำได้ แต่การดำเนินการอาจจะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เพราะติดกับระบบกรอบกฎ ข้อบังคับ จุดอ่อนคือ

-ปัญหาการ ขาดทุนมนุษย์มืออาชีพ

-ปัญหาการขาดองค์ความรู้

-ปัญหาการขาดแรงจูงใจ

-ปัญหาการขาดงบประมาณ

-ปัญหา การขาดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพ

-ปัญหาขาดระบบการบริหารการจัดการที่เป็นเลิศ

-ปัญหาการขาดจุดแข็งของวัฒนธรรมองค์กร

 

จากการดูเทป Innovation ได้อะไรบ้าง

-ได้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ

-สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตส่วนตัว,ชีวิตการทำงาน

-ทำให้กล้าคิด,ทำ,พูดนอกกรอบมากขึ้น

-มีความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรค

-ทำให้รักตัวเอง,ครอบครัว,สังคมและทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

-เหนือสิ่งอื่นใดต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นทุนมนุษย์มืออาชีพให้ได้ตลอดไป

                                                                                ณรงค์  พึ่งพานิช

 

กราบเรียนอาจารย์ยมและสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

 

จากการที่ได้เรียนรู้ทำให้กระผมได้ทราบถึง โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง ซึ่งมี 5 ขั้น ตอน คือ

                1.การประเมินความรู้และทักษะจากข้อมูลที่หลากหลาย

                2.การวิเคราะห์การเก็บข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ

                3.การวางแผนพัฒนา โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ

                4.การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ และให้มีการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้า

                5.การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลจากพนักงาน

 

และได้ทราบถึงคุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร

-ภาวะผู้นำ

-การสื่อสาร

- การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน

-การตอบสนองต่อความเครียด

-แรงจูงใจ

-ศักยภาพในการเรียนรู้

-พลังในการทำงาน/สมรรถนะ

-การตัดสินใจ

-การทำงานเป็นทีม

-การาจัดการ

-การวิเคราะห์

 

และได้ทราบถึงสมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุดปัจจุบัน คือ

-สมรรถนะในการบริหารคน

-สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

-สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

-สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

 

และทราบถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

-การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา "คนเก่ง"

-การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์

-การมอบหมายงานเร่งด่วน เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

-การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

-การให้"คนเก่ง"ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

-การส่ง"คนเก่ง"ไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

-การ พัฒนาในรูปแบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง

-การมอบหมายให้"คนเก่ง"เป็นผู้สอน งานให้กับคนอื่น ทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนอ ความคิด สร้างสรรค์

-การให้"คนเก่ง"ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา

-การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning

-การมอบหมายให้"คนเก่ง"เข้ารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ "ลางาน"หรือ "หยุดงาน"

-การมอบหมายให้"คนเก่ง"สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ

-การให้ ข้อมูลย้อนกลับแก่พนักงานจะช่วยให้พนักงานทราบว่า การกระทำหรือพฤติกรรมของตนเหมาะสม หรือไม่ อย่างไร ควรปรับปรุงในส่วนใด

-เป็นกิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ข้อดี ทำให้"คนเก่ง"ได้เรียนรู้การปฏิบัติงานจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว

 

 

การวางแผนยุทธศาสตร์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

จากการได้เรียนทำให้ทราบถึงความหมาย

 

กลยุทธ์(Strategy) หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึง กระบวนการ ต่อเนื่องใน การกำหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทำให้มั่นใจว่า กลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนำไปสู่ความสำเร็จ ตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้

 

จากการได้เรียนรู้ทำให้ทราบถึงการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

โดยเน้น

1.ความต้องการของลูกค้า

2.การวางแผนกลยุทธ์-ยุทธวิธี

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.การพัฒนากระบวนการ

7.ความพึงพอใจของลูกค้า,ความพึงพอใจของทีมงาน,ผลประกอบการ

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์กร

 

กลยุทธ์ คืออะไร

Henry Mintzberg ได้ใช้หลัก 5 p , อธิบายความหมายดังนี้

1.กลยุทธ์ คือ แผน

2.กลยุทธ์คือ แบบแผนหรือรูปแบบ

3.กลยุทธ์คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง

4.กลยุทธ์คือ ทัศนภาพ

5.กลยุทธ์คือ กลวิธีในการเดินหมาก

 

ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์

-การเตรียมการ/วิเคราะห์,สภาพแวดล้อมการกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์

-การนำกลยุทธ์ไปใช้

-การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์

                                                           ณรงค์  พึ่งพานิช

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042

เรียนท่านอาจารย์ยม นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน คณะทีมงาน นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน สิ่งที่ได้รับจากที่อาจารย์ยม เมื่อวันที่  23กุมภาพันธ์  2551 ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดคนเก่ง ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

1.  การประเมินความรู้และทักษะ

        2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา   

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

ได้ทราบถึงคุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร เช่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การวางแผน แรงจูงใจ การตัดสินใจ การวิเคราะห์  เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO

                        C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                        E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                        O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย

        ได้ทราบถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง  ซึ่งมีทั้งหมด 15  วิธี แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสัก  5  วิธี

1.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

2.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

3.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

4.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

5.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น

        ได้เรียนรู้การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง โดยเริ่มจากความต้องการของลูกค้า  ต้องรู้ปัญหาก่อน แล้วจึง  วางแผนกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อไปสู่ส่วนที่สำคัญ คือ การวัด การวิเคราะห์ และนำมาบริหารจัดการความรู้เพื่อให้เกิด การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเกิดการพัฒนากระบวนการ ทำให้เกิด ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน และผลกระกอบการ เพื่อจะได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

        ได้ทราบถึงขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ คือ วิธีการที่จะไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์กร

        การนำ HCM ไปพัฒนาภายในองค์การ เช่น การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา การบริหารความรัก ฯลฯ โดยใช้หลักธรรม หลักรัฐศาสตร์ ซึ่งอาศัยการสร้างอำนาจ  5  อย่าง

1.      อำนาจสร้างได้โดยการให้  ให้โอกาส ให้ความรู้  ให้อภัย

2.      อำนาจให้ได้โดยการติ  ติด้วยความเมตตาปราณี

3.      อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้ ที่สำคัญอย่าลืมตัว

4.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

5.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอาศัยอำนาจทางนิติกรรม

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหาจากปัญหาในองค์กรให้แก้ไป และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทั้งนี้หน่วยงานในองค์การควรฝึกให้พนักงานทุกคนเกิดความทะเยอทะยาน เกิดความใฝ่รู้ และเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ที่ได้มาประสิทธิ์ประสาธน์วิชาความรู้ให้กับพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน ได้เกิดความมุ่งมั่นและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

 

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042

เรียนท่านอาจารย์ยม นาคสุข อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน คณะทีมงาน นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน สิ่งที่ได้รับจากที่อาจารย์ยม ได้สอนในวันที่  23  กุมภาพันธ์  2551 ได้เรียนรู้เรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดคนเก่ง ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมีรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี  5  ขั้นตอน

1.  การประเมินความรู้และทักษะ

        2.  การวิเคราะห์

        3.  การวางแผนพัฒนา   

        4.  การดำเนินการตามแผน

        5.  การประเมินความก้าวหน้า

ได้ทราบถึงคุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร เช่น ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การวางแผน แรงจูงใจ การตัดสินใจ การวิเคราะห์  เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

        1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                มีทักษะในการสื่อสาร

                มีการประสานสัมพันธ์

                สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

        2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                มีจิตมุ่งบริการ

                มีการวางแผนกลยุทธ์

                ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

        3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                การตัดสินใจ

                ความเป็นผู้นำ

                การคิดเชิงกลยุทธ์

                คิดนอกกรอบ

        4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                การบริหารทรัพยากร

                การบริหาร  CEO

                        C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                        E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                        O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย

        ได้ทราบถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง  ซึ่งมีทั้งหมด 15  วิธี แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสัก  5  วิธี

1.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

2.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

3.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

4.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

5.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น

        ได้เรียนรู้การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง โดยเริ่มจากความต้องการของลูกค้า  ต้องรู้ปัญหาก่อน แล้วจึง  วางแผนกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อไปสู่ส่วนที่สำคัญ คือ การวัด การวิเคราะห์ และนำมาบริหารจัดการความรู้เพื่อให้เกิด การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเกิดการพัฒนากระบวนการ ทำให้เกิด ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงาน และผลประกอบการ เพื่อจะได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

        ได้ทราบถึงขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ และกลยุทธ์ คือ วิธีการที่จะไปสู่วัตถุประสงค์ขององค์กร

        การนำ HCM ไปพัฒนาภายในองค์การ เช่น การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา การบริหารความรัก ฯลฯ โดยใช้หลักธรรม หลักรัฐศาสตร์ ซึ่งอาศัยการสร้างอำนาจ  5  อย่าง

1.      อำนาจสร้างได้โดยการให้  ให้โอกาส  ให้ความรู้  ให้อภัย

2.      อำนาจให้ได้โดยการติ  ติด้วยความเมตตาปราณี

3.      อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้ ที่สำคัญอย่าลืมตัว

4.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

5.      อำนาจสร้างได้ด้วยการอาศัยอำนาจทางนิติกรรม

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กรให้แก้ไข และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทั้งนี้หน่วยงานในองค์การควรฝึกให้พนักงานทุกคนเกิดความทะเยอทะยาน เกิดความใฝ่รู้ และเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา และสุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  และอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ที่ได้มาประสิทธิ์ประสาธน์วิชาความรู้ให้กับพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน ได้เกิดความมุ่งมั่นและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

ขอส่งข่าวประชาสัมพันธ์

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน

       ฝ่ายประชาสัมพันธ์ขอแจ้งกำหนดการสอบวิชาของ ศ.ดร.จีระ

ดังนี้

        สอบวันเสาร์ที่ ๑  มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมพณิชยกุล (โรงเรียนมัธยมสาธิต)

        ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๒ มีการเรียนการสอนปกติ ถ้าใครจะไปเลือกตั้ง สว. ขอให้ไปช่วงเช้า ให้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากนั้นขอให้รีบกลับไปเรียนตามปกติค่ะ

พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 

เรียน   ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมย์   คณะอาจารย์ และทีมงาน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

       อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

                นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง ความคิด  การปฏิบัติ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ   หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น 

                องค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization  )  หมายถึงองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้  และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา   เพื่อขยายศักยภาพของตนเองและขององค์กรไปพร้อมกัน

                ปัญหาและอุปสรรคในระบบราชการ

                1. การกำหนดเวลาแล้วเสร็จของงาน 

2. คนขาดทักษะการทำงานหลากหลาย 

3. การทำงานเน้นรับคำสั่งและการประสานงาน 

4. การปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี 

5. งบประมาณมีจำกัดและการเบิกจ่ายที่ล่าช้า

องค์กรจำเป็นต้องพัฒนาคนให้เกิดการเรียนรู้งานที่หลากหลาย  เพื่อให้เกิดความเข้าใจในงานที่แตกต่าง  ร่วมกันคิดและค้นหากระบวนการ   เมื่อคนมีความเข้าใจในงาน  มีทักษะและความรู้ตามกระบวนการของงาน  ก็จะทำให้ทุกคนสามารถทำงานแทนกันได้   การทำงานต้องประสานกันในแนวราบ    เป็นการส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างบุคลากรที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกัน   เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  ต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถก้าวให้ทันเทคโนโลยี  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถเชื่อมโยงความรู้  ความเข้าใจ โดยนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี

E- Book  เป็นนวัตกรรมของงานด้านบัญชีที่ผู้ศึกษามีแนวคิดว่าจะจัดทำไว้    เพื่อเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลและเอกสารทางบัญชี    ซึ่งเป็นการลดการใช้กระดาษและทำให้บรรยากาศในที่ทำงานดูสะอาด  เป็นระเบียบ  เรียบร้อย  มีความสะดวกในการค้นหา

ท้ายนี้ ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จิระ   หงส์ลดารมภ์   คณะอาจารย์ และทีมงานทุกท่าน ที่กรุณาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในแง่มุมต่างๆ ให้ได้รับฟัง   ผู้ศึกษาจะพยายามฝึกฝนตนเองให้มากขึ้น  และพยายามหาทางเดินไปสู่เป้าหมายของชีวิต

เจริญพร อาจารย์ยม นาคสุขและคณะ เพื่อนรปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

      จากการเรียนการสอนของอาจารย์ยม นาคสุขเมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ ได้เกิดแนวคิดความรู้ให้รู้จักแนวความคิด กระบวนการคิด โดยการยกประเด็น และยกตัวอย่าง แนะแนวการเรียนหนังสือให้มีความสำเร็จ ต้องเป็นคนมีบุญ  สนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ การเขียนบล๊อคระมัดระวัง เขียนให้ได้ใจความ มีสาระเพราะว่ามีคนดูทั่วโลก และยังให้นักศึกษาวิเคราะห์ระหว่างอินเดียกับจีนใครจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ และแนะแนวทางว่าแนวโน้มอินเดีย มีแนวที่จะเจริญมากกว่า เพราะอินเดียเน้นนวัตกรรมเสริมสร้างความรู้ เพราะอินเดียดำเนินทางไปตามโลกาภิวัตน์ที่เน้นข้อมูลสารสนเทศบนฐานฐานความรู้ อินเดียได้เปรียบในเรื่องภาษา จีนจะเน้นเรื่องฮาร์ดแวร์(Hardware) อินเดียจะเน้นซอฟท์แวร์ (Software)
      การเรียนรู้ในเรื่องทิศทางการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21ก็คือแนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต ถ้าเราจะพัฒนาคนต้องทำอย่างไรโดยการให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีคำกล่าวว่าไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน"  เรื่อง"ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป"  ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

แนวทางในการพัฒนาคน

        1. การประเมินความรู้ของเขาเสียก่อนว่าเหมาะกับการพัฒนามากน้อยขนาดไหน ในหลักการนี้ข้าพเจ้าเล็งเห็นเหมือนตอนที่พระพุทธองค์จะเทศนาใคร จะทรงหยั่งดูด้วยพระญาณก่อนว่าเขามีภูมิอย่างไร มีจริตแบบไหน แล้วทรงสั่งสอนเพื่อให้เกิดผลมากที่สุด
        2. การวิเคราะห์ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แล้วนำจุดอ่อนมาพัฒนาเพื่อให้เป็นจุดแข็ง
        3.การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม การระบุเวลาที่ต้องใช้ และงบประมาณ ผู้สอน วิธีการที่ใช้ เป็นต้น
        4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ  และให้มีการตรวจติดตามความกว้าหน้า
        5. การประเมินความกว้าหน้า เป็นการประเมินผลเพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม

คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร

      - ภาวะผู้นำ คือการจะทำอะไรให้สำเร็จ หรือมีศักยภาพเราต้องมีเป้าหมาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเราเสียก่อน เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราให้มีศักยภาพเสียก่อน
      - การสื่อสาร เช่นต้องพัฒนาการทางด้านภาษาเพื่อให้ได้เปิดกว้างในด้านการข้อมูลข่าวสาร ที่มีการไหลเอ่อของกระแสโลกาภิวัตน์
      - การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน
      - การตอบสนองต่อความเครียด
      - การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง
      - ศักยภาพในการเรียนรู้
      - พลังในการทำงานและสมรรถนะสูง มีความอดทน
      - การตัดสินใจที่ชัดเจน และเด็ดขาด
      - การมีความทำงานเป็นทีม เช่นในการเรียนในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่ แบ่งแยกหน้าที่ เช่น คนมีความสามารถจดเก่งก็จด คนมีความจำดีก็จำประเด็น และนำมารวมกันเพื่อวิเคราะห์ เป็นต้น
      - การจัดการที่เป็นระบบ
      - การวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล    เป็นต้น

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน ที่จะเป็นผู้บริหารไปสู่อนาคต แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

      1. ความสามารถในการารบริหารคน  (HR.  Management) ต้องมีทักษะในการสื่อสาร และการประสานสัมพันธ์
      2. ความสามารถในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge) มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีจิตที่จะมุ่งบริการมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการวางแผนแบบมีกลยุทธ์
      3. ความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level) ดูจากการตัดสินใจที่รวดเร็วแม่นยำ มีการคิดเชิงกลยุทธ์คือคิดอย่างมีเหตุมีผล มีเป้าหมาย มีวิธีไปสู่ความสำเร็จได้
      4. ความสามารถการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO) ทำไปเพื่ออะไร มีวิธีการวัดผลอย่างไร มีตัวชี้วัดอย่างไร เช่นการสร้างเป้าหมายของตัวเองในการเรียน ว่าจะทำอย่างไรให้เรียนจบด้วยประสิทธิภาพ ต้องทำให้ได้คะแนนเท่าไร

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง
      1. Coaching การสอนงาน ต้องสอนวิธีการให้เขารู้ เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่ง เช่นจากการที่อาจารย์ไปเที่ยวเกาะล้าน ได้นั่งใกล้กับพระคุณเจ้าและแนะนำวิธีการทำวิทยานิพนธ์ถวายท่าน อีกครั้งหนึ่งตอนล่องเรือมองเห็นการที่พ่อสอนให้ลูกทำงานสอนงานในการขับเรือควบคุมเรือ ให้เขาเรียนรู้และคอยแนะนำ เป็นต้น
      2. Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์การ  คนเก่งสามารถเรียนรู้งานใหม่ และปฏิบัติงานในสายานใหม่ได้อ่างรวดเร็ว  การโยกย้ายฝ่ายงานจะบรรลุผลสำเร็จด้วยดี อยู่ที่การวางแผนที่ลัดกุม และมีการวัดผลที่ชัดเจน
      3. Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรือองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานนี้ ฝึกเรื่องความรับผิดชอบในงาน
      4. Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อฝึกให้เขาบริหารงานเป็นทีม ฝึกให้แก้ปัญหาวิกฤติในโครงการใดโครงการหนึ่ง
      5. Internal Education and Training การให้ "คนเก่ง" ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับงานและความสามารถ
      6. ส่งคนไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ เช่น บริษัทใหญ่ๆ เช่นNokia ผู้บริหารส่งคนไปเรียน
      7. Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง แนะนำหนังสือให้อ่าน เช่นหนังสือ Good to Great
      8. Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน  นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้ "คนเก่ง" เข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น 
      9. Extracurricular Activity การให้ "คนเก่ง" ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา "คนเก่ง" เช่น กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์  กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์
     10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้
     11. Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน  การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"
     12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ เช่นการนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคนที่ทำงานแทนผู้นำโดยตรงในคณะรัฐมนตรี คือรัฐมนตรีเงา

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร(ซึ่งองค์กรจะอยู่ในส่วนขององค์การ คือจุลภาคและมหภาค) หรือวิธีการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างหน้า
องค์การที่จะเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงต้อง
     1. ความสำคัญของลูกค้า
      2. เอาความสำคัญของลูกค้าไปวางแผนกลยุทธ์
      3. ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์การ
      4. มีการจัดการความรู้ ทักษะของพนักงาน เพื่อทำให้การจัดการบริหารทุนมนุษย์ ทำให้เกิด 
    ประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่ง
       - ความพอใจของลูกค้าหรือประชาชน
       - ความพึงพอใจของคนทำงาน
       - ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ

การวางแผนกลยุทธ์

      ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
         - การเตรียมการ/วิเคราะห์สภาพแวดล้อม/การกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์
         - การนำกลยุทธ์ไปใช้  ต้องมีแผนปฏิบัติการ  การปรับปรุง กระบวนงาน  โครงสร้าง เทคโนโลยี  คน
         - การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การติดตาม การตรวจสอบและ    ประเมินผลการดำเนินงานการทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ อย่างต่อเนื่อง
      นอกจากนี้จากการเรียนการสอน อาจารย์บอกว่า ถ้าไม่ได้อะไรจริง ๆ ก็ให้ได้ต้นไม้ คือทฤษฎีต้นไม้ที่ว่าด้วย สมรรถนะขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ และด้อยประสิทธิภาพ ซึ่งองค์กรที่มีประสิทธิภาพต้องเน้นการบริหารทรัพยกรมนุษย์ โดยมีการบริหารคนเก่งควบคู่ไปกับการเป็นคนดีมีศีลธรรม การบริหารให้เขาเกิดทักษะความรู้ สร้างภาวะผู้นำให้เกิด พัฒนาด้านประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์ และการประเมินผลการทำงานของทุนมนุษย์
      ท้ายสุดยังฝากข้อคิดเรื่องกระบวนการความคิด ซึ่งจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุมีผล โดยอิงหลักทางพุทธศาสนา 3 ข้อ คือ
         1. สุตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการได้ยิน  ได้ฟัง ได้อ่าน แหล่งเรียนรู้ เช่น ตำรา คำสอน (แหล่งและสื่อข้อมูล)
         2. จินตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากความตรึก ความนึก ความคิดทั้ง รูปแบบนิรนัย และอุปนัย
         3. ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการพัฒนาจากการทำให้เกิด ทำให้มีโดยวิธีการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยร่างกาย และ ภายนอกตัวตน  เช่น  ฝึกสมถะและวิปัสสนา

ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา หลังปูเต๊ะ (ตัวแทนกลุ่มที่ 1)

 เรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

รายชื่อกลุ่มที่ ๑

  1. พระนิธิสิทธิ์                 นอขุนทด
  2. ดาโต๊ะ อิหม่ามพัฒนา    หลังปูเต๊ะ
  3. ด.ต. ณรงค์                 พึ่งพานิช
  4. พต. หญิงประไพศรี        บุญรอด
  5. นาง นพมาศ                 แก้วแหยม
  6. น.ส. สุภานุช                นุพงค์
  7. น.ส. ดนิตา                  มูลละออง
  8. นาง ดวงตา                  ม่วงเกตุยา
  9. นาย อรุณ                     สุขสมบูรณ์วัฒนา

1.  ความคิดสร้างสรรค์   Creativity   จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการอุปสรรคคืออะไร

 

Creativity   คือ   กระบวนการพัฒนาความคิด (Idea) แนวความคิด (Concept) สินค้า การบริหารใหม่ ๆ หรือการค้นพบทัศนะใหม่ ๆ โดยผู้คิดสร้างสรรค์   

ความคิดสร้างสรรค์  คือ  การคิดในเรื่องใหม่ที่แตกต่างจากสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว  ให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์โดยภาพรวม

ความคิดสร้างสรรค์เกิดโดย

  •  ขั้นที่ 1 การตระหนักถึงโอกาสและปัญหา (Opportunity of problem recognition)
  •  ขั้นที่ 2 การมีจิตใจจดจ่อกับปัญหา (Immersion)
  • ขั้นที่ 3 การใช้ความคิด (Incubation)
  •  ขั้นที่ 4 การเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Insight)
  • ขั้นที่ 5 การพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้และนำไปใช้ได้ (Verification and application)

 จุดแข็งของหน่วยงานราชการ

  1.   มีนโยบายการพัฒนาที่ชัดเจน
  2. มีเครือข่ายเชื่อมโยงและประสานงานกับกลุ่ม  (ภาคเอกชน) อย่างต่อเนื่อง
  3. ราชการทำงานเป็นระบบ
  4.  มีสวัสดิการให้แก่ข้าราชการ และครอบครัวของข้าราชการ
  5. มีความมั่นคงในการทำงาน

 

อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์ในระบบราชการ

  • การทำงานยังถูกกำหนดด้วยกฎ ระเบียบเดิมที่ไม่ทันสมัย
  • การบูรณาการการปฏิบัติงานของหน่วยงาน   ต่าง ๆ ยังต้องได้รับการพัฒนา
  • ระบบสารสนเทศในระบบราชการยังต้องการได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  •  ขาดการนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
  • ความไม่ยอมรับของผู้บริหาร    ขาดความเป็นภาวะผู้นำ
  • ข้าราชการ ขาดความรู้ ไม่มีพัฒนาตัวเอง    ขาดทักษะ  ขาดวิสัยทัศน์
  • ขาดงบประมาณในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • ข้าราชการขาดแรงจูงใจในการทำงาน

 

เสนอแนะ   ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ เราต้องสร้างทัศนคติใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เฉพาะงานศิลปะ และไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนมีอยู่ในตัว อยู่ในทุกๆด้านของชีวิต การปฏิสัมพันธ์กันของคนเราทำให้เกิดคำถาม คำตอบใหม่อยู่เสมอ เพราะคนเราความคิด มุมมองไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นการผสมผสานของความรู้ ประสบการณ์หลายๆอย่างเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา สิ่งประดิษฐ์ต่างๆในโลก ไม่ได้เกิดจากการคิดครั้งเดียวแล้วเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ของโลกเลย ต้องผ่านการขัดเกลา ลองผิดลองถูกหลายครั้ง เช่นการประดิษฐ์หลอดไฟ ของเอดิสัน

                ความคิดสร้างสรรค์ โดยเนื้อแท้แล้วก็ล้วนมาจากการฝึกฝนสมองให้คิดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเพ้อฝันหรือเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล การคิดบ่อยๆจะทำให้เกิดการขัดเกลาความคิด ให้อยู่บนฐานความเป็นจริงและคนในสังคมยอมรับได้ การบ่มเพาะเลี้ยงดูจากพ่อแม่ ด้วยการให้ลูกคิดด้วยตนเองบ่อยๆ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะให้สมองของลูกเติบโต มาเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ทุกคนก็คิดอย่างสร้างสรรค์ได้ถ้าเริ่มใช้สมองคิด

 

2.  วิเคราะห์เรื่อง  Speed   of  trust.

            ปัจจัยสำคัญในตลาดโลก  ความเร็วสู่ตลาด  นับเป็นอาวุธทรงพลังในการแข่งขัน  ความวางใจต่ำ ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน  ไม่ว่าจะเกิดจากพฤติกรรมไร้จริยธรรม  หรือจริยธรรมที่ขาดไร้ฝีมือ  เจตนาดีไม่อาจแทนที่ดุลยพินิจเลวได้ ความวางใจต่ำเป็นตัวการของวาระซ่อนเร้น  การเล่นการเมือง  ความขัดแย้งระหว่างบุคคลการตั้งตัวเป็นศัตรูกันระหว่างแผนก  แนวคิด  ชนะ/แพ้    ความวางใจสูง  ความวางใจเหมือนแอ่งน้ำใต้ดิน  แอ่งใหญ่ใต้พื้นผิดโลกที่จะป้อนน้ำให้ทุกบ่อบนพื้นผิด  หนึ่งเดียวที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง  ความวางใจ  ความวางใจเป็นคุณสมบัติจับต้องได้  นำมาใช้งานได้  สร้างขึ้นมาได้ ไม่มีอะไรเร็วไปกว่าความเร็วของความวางใจ  ความเร็วเกิดขึ้น  เมื่อสองฝ่ายวางใจกันอย่างแท้จริง  คุณจัดการเรื่องความวางใจได้อย่างเต็มที่  เรียนรู้ที่จะสร้างความวางใจขึ้นมา

                เมื่อใดที่ความวางใจสูง  ปันผลที่คุณจะได้รับเหมือนตัวคูณยกระดับทุกมิติในชีวิตในชีวิตส่วนตัวและองค์กรให้สูงได้อย่างไม่น่าเชื่อความวางใจสูงเหมือนผลฟูในขนมปัง  ความวางใจเป็นผลจากปัจจัยสองอย่าง  คุณลักษณะ และฝีมือ

                ความวางใจ  5 ระลอก  ระลอกคลื่นแรก: ความวางใจตนเอง  จะเป็นการรับมือกับความเชื่อมั่นในตนเอง  ความสามารถที่จะกำหนดเป้าหมายและทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น การผูกมัดตนเองกับคำสัญญา การทำตามที่ปากพูดและยังรวมถึงการแผ่ความวางใจไปให้ผู้อื่น  แนวคิดก็คือ  การวางตนให้เป็นคนที่ควรค่าต่อความวางใจ  ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นหลักการสำคัญในความวางใจข้อนี้จะเป็น  ความน่าเชื่อถือ  ผลลัพท์ท้ายสุดของคุณลักษณะสูง  ฝีมือสูง  จะเป็นความน่าเชื่อถือ  ดุลยพินิจ  และอิทธิพล  ระลอกคลื่นที่สอง : ความวางใจความสัมพันธ์  จะเป็นการสร้างและเพิ่มยอดฝากของ บัญชีความวางใจ ที่เรามีต่อผู้อื่นหลักการเบื้องหลังระลอกคลื่นนี้คือ  พฤติกรรมคงเส้นคงว่า  ในระลอกคลื่นนี้  เราจะอภิปรายกันถึง  13  พฤติกรรมนี้จะเกิดจากหลักการที่ควบคุมบัญชาความวางใจในความสัมพันธ์พฤติกรรมที่มีรากฐานจากการนำไปปฏิบัติใช้งานจริง  และยืนยันโดยงานวิจัย  ที่น่าตื่นเต้นที่สุด  13 พฤติกรรมนี้  เรียนรู้ได้ นำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริงทุกระดับ ไม่ว่าจะอยู่ในครอบครัวหรือองค์กรธุรกิจ  ผลลัพธ์ท้ายสุด จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแผ่ความวางใจออกไปรอบข้าง  เพื่อจะเสริมความสัมพันธ์ให้แกรงขึ้น ร่วมมือกันทำงานสู่เป้าหมายที่สูงขึ้น  ระลอกคลื่นที่สาม : ความวางใจองค์กร  กล่าวถึงการที่ผู้นำแผ่ความวางใจไปในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร  หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาหรือครอบครัว  รวมตลอดไปถึงทีมงานและหน่วยย่อยในองค์กรหากคุณเคยทำงานกับคนที่คุณวางใจได้ หลักการสำคัญเบื้องหลังระลอกคลื่นที่สามคือ  การจัดเรียงให้สอดคล้อง  ช่วยให้ผู้นำวางโครงสร้างและระบบกำหนดสัญญาลักษณ์แห่งความวางใจองค์กรที่จะกำจัดหรือลด 7 ภาระภาษีขององค์กร  และเพิ่ม 7 ปันผลจากความวางใจองค์กร  ระลอกคลื่นที่สี่ : ความวางใจตลาด  หลักการที่อยู่เบื้องหลังระลอกคลื่นที่สี่  จะเป็น  ชื่อเสียง  เรื่องของการสร้างแบรนด์บริษัท  สะท้อนความวางใจของลูกค้า  นักลงทุน และอื่นๆ ที่มีต่อตัวคุณ  ความวางใจสูง  ลูกค้าซื้อมากขึ้น  บอกต่อ  ภักดีต่อแบรนด์นานมากขึ้น  นอกจากจะช่วยสร้างชื่อของคุณ  สร้างแบรนด์ส่วนตัวแล้วยังช่วยสร้างแบรนด์และชื่อเสียงของบริษัทในตลาดด้วย  ระลอกคลื่นที่ห้า : ความวางใจสังคม  กล่าวถึงการให้คุณค่าต่อผู้อื่น  และต่อสังคมโดยรวม  หลักการเบื้องหลังระลอกคลื่นนี้คือ การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น  จะช่วยขจัดความระแวงความสงสัย  และภาระภาษีที่เกิดจากความวางใจต่ำ  ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยจะประกายให้ผู้อื่น สร้างค่านิยม  และการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นเช่นกัน   

                                                                                                ขอขอบพระคุณอย่างสูง

 

 

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อนๆ ชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน

        เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กพ. 51 ท่านอาจารย์ยม ได้ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ สิ่งที่ผู้เขียนได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ อาจพอสรุปได้ดังนี้

        ข้อ 1 ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 จากการอ่านบทความหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 23 กพ. 51 คอลัมภ์ รู้เขารู้เรา "เทรนด์ใหม่ของโลก" ของศีล มติธรรม ผู้เขียนเห็นว่า...ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21นั้น มีนักวิชาการหรือผู้รู้หลายท่านค่อนข้างให้ความสำคัญกับการดำรงชีวิตแบบพอเพียง กล่าวคือ การพัฒนาอย่างมีรากเหง้าจะเริ่มขึ้นได้เราจะอยู่รอดอย่างไร ต้องรู้ตัวเองก่อน และต้องใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรในองค์กรต้องเป็น "คน" ที่มีคุณภาพอาจกล่าวได้ว่าทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ ศตวรรษที่ 21 ที่ยอมรับกันทั่วโลกนั้นสอดคล้องกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเทรนด์ใหม่ของโลกมีแนวทางในการปฏิบัติที่เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนค่านิยมการทานอาหารจากเดิม Fast Food มาเป็นแบบ Slow Food ฝรั่งเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ เพราะเขามองว่าเขามีอาหารที่ดีอยู่แล้วจุดมุ่งหมายก็คือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและปรับเปลี่ยนการพัฒนาแบบเร่งรีบ ซึ่งทำให้คนไม่มีความสุข

        จากการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HMC) ในการพัฒนางานในองค์กรนั้นประกอบด้วย 1 การบริหารคนเก่งและคนดี (Talent management) 2 การเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development) 3 การบริหารความรู้ (Knowledge management) 4 การบริหารสมรรถนะ (Competency management) 5 การบริหารการทำงาน (Performan management) 6 การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management) 7 การบริหารความรัก (Love management) ผู้เขียน...ขอมองภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของผู้เขียน...คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารปกครองบ้านเมืองว่า "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

        ผู้เขียนเห็นว่า...ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่นั้น เป้าหมายการพัฒนา "คน" น่าจะต้องพัฒนาทั้งตัวผู้นำและบุคลากรในองค์กร กล่าวคือ เพื่อให้มีอุดมการณ์แห่งชีวิต และมีรูปแบบวิถีชีวิตที่ดีงาม โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการดำเนินชีวิต "ผู้นำ" จะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อตนเอง และหน้าที่การงาน และคนในองค์กรจะต้อง "ร่วมมือร่วมใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน"

        ข้อ 2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ จากการอ่านบทความวารสารการบริหารสำหรับนักบริหารงานบุคคลมืออาชีพปีที่ 26 "ฅน" ในเรื่องบทบาทของ HR ในประเทศไทยกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ ทำให้ทราบว่าในการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์นั้นในองค์กรส่วนใหญ่ผู้บริหารระดับสูงจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเพื่อกำหนดทิศทางกลยุทธ์ขององค์กรแต่ผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคล ก็ไม่ควรแต่ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการทำงานของสายการปฏิบัติการเท่านั้น ในทางปฏิบัติผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคลควรจะอยู่ในคณะกรรมการบริหารของบริษัทด้วย ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องกำหนดและตระหนักในบทบาทของผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลในการเป็นหุ้นส่วนกลยุทธ์ที่จะนำเรื่องปัญหาบุคคลและปัญหาธุรกิจมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน

        กลยุทธ์...หมายถึง วิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือวิธีการที่ชาญฉลาดที่ผู้บริหารคิดได้ และช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ รูปแบบแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ กล่าวคือ เน้นความต้องการในปัจจุบันของพนักงานมุ่งสู่ความสำเร็จของพนักงานในอนาคต มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้หรือปรับกระบวนการทำงานความเป็นผู้นำของ HR ในแต่ละบทบาทการประสานความร่วมมือกับ Line Manager การกำหนดมาตรฐานด้านกลยุทธ์และการพัฒนาให้เป็นระบบการจัดการที่ดี (Corporate Governance)

        ผู้เขียนเห็นว่า...จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจทำให้การบริหารการจัดการในองค์กรและการบริหารการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ที่ว่าคนและองค์กรมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนั้น หมายความว่า โครงสร้างขององค์กรที่ดีนั้นต้องมีส่วนทำให้คนในองค์กรมีความสุขกับงานในหน้าที่และสามารถแสดงความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และความจำเป็นในการบริหารงานการจัดการคนกับการบริหารงานจัดการองค์กรนั้น ต้องพัฒนาแบบคู่ขนาน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีบทบาทต่อการบริหารงานจัดการองค์กรทั้งในฐานะผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และพนักงาน ได้เข้าใจว่าการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กรไม่ใช่เพียงแต่ "คนที่เป็นผู้นำ" เท่านั้น

ญานิสา  เวชโช 50038010013

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข และทีมงาน รวมถึงเพิ่อนๆ รปม.4 และท่านผู้อ่านทุกๆท่าน

       จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่  23 กุมภาพันธ์  2551 เรื่อง

เทรนด์ใหม่ของโลก  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

       อาจารย์ยม ได้ให้  high light ไว้ว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบ

 ความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่อง คน การบริหารงานที่ดีต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ รวมทั้ง โมเดลการพัฒนาการอบรมและรูปแบบการพัฒนาคนเก่ง 5 ขั้นตอน

1.    การประเมินความรู้และทักษะ

2.    การวิเคราะห์

3.    การวางแผนพัฒนา

4.    การดำเนินการตามแผน

5.    การประเมินความก้าวหน้า

     สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

        1.    สมรรถนะในการบริหารคน ( HR. Management )

-        ทักษะการสื่อสาร  คือการสื่อสาร 2 ทาง ให้มีประสิทธิภาพ

-        การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร ( General Management  Knowledge )

-        การบริหารการเปลี่ยนแปลง 

-        การมีจิตมุ่งบริการ

-   การวางแผนกลยุทธ์

       3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ ( Working like the Professionnal Management  Level )

-        การตัดสินใจ 

-        ความเป็นผู้นำ

-        การคิดเชิงกลยุทธ์

4.    สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Management by

 Result, MBO )

-        การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 

-        การบริหารทรัพยากร

-        การบริหาร CEO

     วิธีการพัฒนาคนในอนาคต ทำอย่างไร ?

         วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง มี 15 วิธี  แต่ขอยกตัวอย่าง

มา 5 วิธี

 1.     การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ใช้ในกรณีที่คนเก่ง ต้องการมีที่ปรึกษา มีครู  ผู้ฝึกอบรม และผู้แนะแนวทาง ที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน เพื่อให้สำเร็จในงานที่ทำ

2.     การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน เป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับผู้อื่น เป็นการฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญไปในตัว

3.     การพัฒนาในลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การเปิดโลกในอินเตอร์เน็ต ที่องค์กรแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ  เพราะคนเก่งมักเป็นผู้กระตือรือร้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

4.     การสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ เน้นประสบการณ์ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

5.     การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมจากภายนอกองค์การ  เป็นระยะสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อกลับมาพัฒนาองค์การและคนในองค์การ

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง  

1.     ความต้องการของลูกค้า

2.     การวางแผนกลยุทธ์ ยุทธวิธี

3.     การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย

4.     การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

5.     การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.     การพัฒนากระบวนการ

7.     ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงานและผลประกอบการ 

8.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

         สุดท้ายนี้  ขอขอบพระคุณ อาจารย์ยม  นาคสุข ที่ให้คำแนะนำดี ๆ ในการเขียน BLOG และแนวทางในการเขียน-ตอบ ข้อสอบ ว่าต้องมี

หลักเกณฑ์  และมีประเด็นอะไรบ้าง

       สุดท้ายจริง ๆ ค่ะ  รู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้มีบุญจริง ๆ ที่อาจารย์ได้มาเพิ่มพูนความรู้ใส่ในสมองให้มีรอยหยักเพิ่มมากขึ้น ขอบคุณจริง ๆ ค่ะ

 

 

นางวีรยาพร อาลัยพร (ตัวแทนกลุ่ม 6)

Workshop

 

กลุ่มที่ 6

 

1. น.ส.มัลลิกา  โสดวิลัย  2. นางอนงค์  มะลิวรรณ์  3. นางสมจิตร  ส่องสว่าง  4. นางวีรยาพร  อาลัยพร  5. นางบังอร  ภูมิวัฒน์  6. น.ส.ลาวัลย์  ลิ้มนิยม   7. น.ส.มะลิวัลย์  โพธิ์สวัสดิ์

 

หัวข้อเรื่อง

1.  ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ

     อุปสรรคอย่างไร

2.  ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง

3.  ความคิดสร้างสรรค์จะทำให้เกิดอย่างไร ในแต่ละขั้นตอน

 

        ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกล หลายทิศทาง แปลกใหม่ สามารถผสมผสานความคิดเดิมให้เป็นความคิดใหม่ได้

 

ปัญหาหรือจุดอ่อนของระบบราชการ

1.  โครงสร้างซับซ้อน กฎ ระเบียบ และสายการบังคับบัญชายาว

2.   ด้อยโอกาสทางการศึกษา

3.  ไม่คำนึงถึงการให้บริการแก่ลูกค้า คือ ประชาชนและผู้รับบริการ

4.  งบประมาณมีจำกัด

 

จุดแข็งของระบบราชการ

1.  ระบบการทำงานดี

2.  มีความมั่นคงในอาชีพ

3.  มีสวัสดิการที่ดี

4.  การบริหารงานไม่หวังผลกำไร ซึ่งเน้นทางด้านการให้บริการ

 

        องค์กรด้อยประสิทธิภาพ                    องค์กรสมรรถนะสูง

1.ไม่ได้บริหารคนเก่ง-ดี         1. บริหารคนเก่ง-ดี

2. ขาดความรู้                     2. บริหารความรู้และการ

                                         พัฒนา

3. ขาดภาวะผู้นำ                 3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์   4.พัฒนาประสิทธิภาพการ

                                        บริหารทุนมนุษย์

5.ขาดการวัดผลการทำงาน    5.ประเมินผลการทำงาน

   ของทุนมนุษย์                    ทุนมนุษย์     

 

 

ขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้

1. เกิดจากการคิด  โดยจินตนาการ

2.  เกิดจากการฟัง ถ้าเรายิ่งฟังมากเท่าไร ความคิดสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้น

3.  เกิดจากการอ่าน อ่านให้มากที่สุด อ่านทุกอย่าง เพื่อเป็นการฝึกสมองให้เกิดแรงบันดาลใจและได้ข้อมูลไปเชื่อมต่อกับสิ่งที่เราคิดได้อย่างดี

4.  เกิดจากการจดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ หรือการจดจากความคิด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญญา

5.  เกิดจากการสนทนากับบุคคลอื่น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะทำให้ได้ความคิดที่หลากหลาย  (สนทนาโดยไม่เป็นทางการ)

6.  เกิดจากการระดมสมอง เช่น การประชุมเพื่อหาแนวทางจากความคิดที่หลากหลาย มาประมวลเป็นความคิดรวบยอด แล้วจะได้ความคิดใหม่เกิดขึ้น  (อย่างเป็นทางการ)

7.  เกิดจากความต้องการแก้ไขปัญหา พยายามหาว่าปัญหาคืออะไร

8.  เกิดจากการเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการเดินออกกำลังกาย จะทำให้สมองปลอดโปร่ง ความคิดก็จะบรรเจิดเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมา

 

        จากความคิดสร้างสรรค์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงสรุปได้ว่าในระบบราชการนั้น มีจุดอ่อนหลายอย่าง เช่น ทางด้านโครงสร้างขององค์กรมีความซับซ้อน กฎ ระเบียบ และมีสายการบังคับบัญชาที่ยาว รวมทั้งงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมีอย่างจำกัด แต่ระบบราชการจะมีความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งไม่มุ่งผลกำไร แต่การที่จะทำให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ผู้บริหารจะต้องมีภาวะผู้นำ มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดแนวคิดของการทำงานในระบบใหม่ที่สอดคล้องกับโลกในอนาคต คือโลกยุคโลกาภิวัฒน์ นั่นก็คือ ต้องพัฒนาคนให้เก่งและดี รวมทั้งการพัฒนาความรู้ความสามารถ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศชาติต่อไป

 

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม  นาคสุข  และทีมงานทุกท่าน

นักศึกษา รปม.รุ่น 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

                จากการเรียนเมื่อวันที่  23-24   กุมภาพันธ์  2551 ที่ผ่านมา นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ของ ม ราชภัฎสวนสุนันทา ได้รับเกียรติจาก   อ.ยม  นาคสุข     ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมงานของท่าน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์   ได้เข้ามาสอนให้นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เรื่อง แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรธที่ 21 ดังที่ทราบในกลุ่มนักศึกษาแล้วนั้น อ.ยม ได้บรรยายเรื่องต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุย์ ทำให้เรารู้หลายๆสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก หรือเรียกว่า อยู่ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ยุคแห่งโลกไร้พรหมแดน ยุคของโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ยุคของการแสวงหาและการพัฒนามนุษย์  ยุคของการแสวงหาคนเก่ง ปัญญาดี ที่จะนำพาองค์กร ประเทศชาติ ให้รอดพันจากความเดือดร้อนอันมีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลก  ซึ่งเป็นผลทำให้องค์การทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สังคมทุกระดับ ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและแสวงหาทิศทางใหม่ ในการดำเนินชีวิต ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั่วโลก ยกตัวอย่างประเทศที่แข่งขันกันเพื่อที่จะให้เป็นมหาอำนาจของโลก คือ ประเทศจีน และอินเดีย ซึ่งก็ได้นำมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆทีเป็นองค์ประกอบแล้วประเทศที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจนั้นก็คือ ประเทศอินเดีย เพราะประเทศอินเดียนั้นจะมุ่งเน้นพัฒนามนุษย์มากกว่าประเทศจีน และในการที่จะนำมนุษย์ไปขับเคลื่อน ประเทศ องค์การ นั้นต้องประกอบด้วยหลายๆสิ่งหลายอย่าง เช่น

 

-          การบริหารคนเก่ง + คนดี     และวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

-          การเรียนรู้และการพัฒนา

-          คุณลักษณะที่ประเมินบุคลากร

-          การบริหารความรู้

-          สมรรถนะในการบริหารคน และการบริหารอย่างมืออาชีพ

-          การบริหารการทำงาน

-          การบริหารความเชื่อมั่น

-          การบริหารความรัก

-          ฯลฯ

ซึ่งแต่ละหัวข้อจะมีรายละเอียดย่อยลงไปอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวประกอบ

ในการพัฒนาบริหารทรัพย์ยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสารถ คนเก่ง เพื่อที่ขับเคลื่อนพัฒนาองค์การให้ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ที่สุด และสุดท้าย อ.ยม ยังสอนถึงเรื่องการเกิดปัญญาของคนเรา ซึ่งจะสามารถเพิ่มพูน ทุนทางปัญญา ได้อีก ตามแนวพุทธศาสตร์ ซึ่งปัญญาของคนเรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ดังนี้

1.    สุตะมะปัญญา  ปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน

2.    จินตะมะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากความหมั่นตรึกตรอง ความนึกคิด

3.    ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาจากการกระทำให้เกิกด ทำให้มี

โดยการวิจัยและพัฒนาทั้งวิจัยและพัฒนาร่างกายภายนอกของตัวตน และภายในจิตใจของตน การฝึกจิตฝึกสมาธิ และการสั่งจิตใต้สำนึกประกอบการหมั่นทบทวน หลักธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า

         

 

สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 กราบเรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

           Innovation  นวัตกรรม คือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม นั่นคืออะไรก็ตามที่คิดขึ้นมา แล้วนำมันมาใช้ประโยชน์ได้ นั่นคือ นวัตกรรม


               

Learning Organization  หมายถึง องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะขยายขีดความสามารถของตน โดยมีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีบรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อตนเอง ทีมงานและองค์กร โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

                เนื่องจากตัวหนูยังไม่ได้ทำงาน  จึงขอยกตัวอย่างอุปสรรคในการสร้าง  Innovation และ Learning  organization และ  HR ของหน่วยงานน้าชาย  ซึ่งเป็นคุณครูอยู่โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

                รากเหง้าปัญหาของการสร้างนวัตกรรมของข้าราชการไทย  หรือคนในองค์กรในระบบราชการคือองค์กรไม่ค่อยรังสรรค์นวัตกรรม  ซึ่งมักมาจากพื้นฐานเรื่องของระบบการศึกษาที่สอนให้ท่องจำ และทำตามมากกว่าที่จะให้คิด ที่เห็นได้บ่อยๆ  คือ  ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการในที่ประชุม,  ไม่กล้าที่จะเสนอแนะความคิดในที่ประชุมเพราะเกรงว่าพูดในสิ่งที่คิดไปแล้วกลัวว่าจะผิด  เกรงว่าคนอื่นมองว่าตนเอง  ไม่รู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริง หรือกลัวว่าจะไปขัดกับคนอื่นแล้วเกิดผลเสียต่อตัวเองฯลฯ มันทำให้คนในองค์กรติดอยู่ในกรอบ 

 

เสนอแนะ   แนวทางการสร้างให้เกิดนวัตกรรมคนในองค์กรที่สำคัญ และควรนำเข้ามาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น ตัวแรกคือการสร้างวัฒนธรรมเรื่องนวัตกรรมให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมีการสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กร เช่นว่าเราคือองค์กรแห่ง นวัตกรรม เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความคิดที่จะ ปรับตัวเองให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมีการสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กร เช่นว่าเราคือองค์กรแห่ง นวัตกรรม เป็นต้น เพื่อให้พนักงานมีความคิดที่จะ ปรับตัวเองให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์กร

 2.       ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง 

        องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ  จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.  2540  นวัตกรรมการใช้ความรู้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน  แต่ละประเทศมีนวัตกรรมที่ต่างกัน  เช่นอินเดียและจีน  จีนมีการส่งเสริมนวัตกรรมให้ทั่วทั้งประเทศ  แต่ ประเทศอินเดียส่งเสริมนวัตกรรมบางจุดกับคนเฉพาะกลุ่ม  ประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียยังมีความยากจน  ส่วนจีนนั้นมีการนำนวัตกรรม  ไปใช้ทั่วประเทศ ความเป็นอยู่ของประชาชนประเทศจีนจึงมีสภาพที่ดีขึ้น
          คำจำกัดความของคำว่า นวัตกรรม  คือสิ่งใหม่ หรือ การทำสิ่งใหม่ ต้องมีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ แบ่งเป็น  2  ด้าน นวัตกรรมเศรษฐกิจ    นวัตกรรมสังคม  นวัตกรรมจึงเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา  ความรู้เป็นระบบต้องเน้นก่อนแล้วจึงจะมีความคิดสร้างสรรค์  นวัตกรรมทำแล้วอาจจะไม่สำเร็จก็ได้ ดังนั้นจึงควรทำบ่อยๆ  นวัตกรรมไม่ใช่เพื่อธุรกิจอย่างเดียวต้องเพื่อสังคมการเรียนรู้ด้วย

                                                                                                                                                                                                                 ขอขอบพระคุณอาจารย์  มากค่ะ

 

 

 

สวัสดี อาจารย์ ยม นาคสุข และเพื่อน รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากการที่ได้ศึกษาสิ่งที่ได้ ไม่ใช่เรื่องเรียน วิชาการอย่างเดียว เราได้หลายอย่างในตัวอาจารย์  ในความคิดของอาจารย์  การเขียน Blog นะ ต้องเป็นอย่างนี้ การเขียนตอบ ต้องเริ่มจากประเด็น ว่าเป็นประเด็นอะไร  ดำเนินเรื่อง  สรุปข้อเสนอแนะ นี้คือสิ่งที่ได้

เรื่องที่ได้จากเรียน 1. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

                                 2. การวางแผนกลยุทธ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์

สิ่งที่ได้จากการเรียน   " ไม่มีองค์กรใด  จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใช่ใส่ใจเรื่องคน

เขาบอกว่าตัวรากเหง้าของปัญหาคือ "คน" หรือ " มนุษย์ ที่เขาว่า เป็นตัวปัญหา ฉะนั้นการจะแก้ไขหรือบริหารคนในองค์กร  จะต้องมีทุนมนุษย์   ทุนมนุษย์ที่ว่า คือ ต้องมีทักษะ มีสมรรถนะ มีความรู้ และมีความสามารถ  โดยใช้หลักของธรรมะ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา  ในการแก้ไขตัวคนโดยเอาปัญหา หรือรากเหง้า  ซึ่ง ต้องใช้ทฤษฎี ต้นไม้แห่งความสำเร็จ  เช่น การที่จะพัฒนาองค์ของเรา ต้องรู้ว่าตัวปัญหาคืออะไร  อะไรคือตัวปัญหา ต้องแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ องค์กรนั้นขาดอะไร  เพราะอะไรถึงขาด  เราต้องรู้จักตัวต้นเหตุ รากเหง้าของปัญหา

        การแก้ไข ปัญหาโดยใช้  ทฤษฎี ต้นไม้แห่งชีวิต  เริ่มจากการวางแผน  วิเคราะห์หาสาเหตุ เลือกเอาแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ต้องนำมาแก้ไข  เลือกแนวทางที่จะปฏิบัติ  กำหนดตัวชีวัดลงไปให้จัดเจน มีเจ้าภาพ ดูแล  ต้องมีงบประมาณในการทำงาน มีระยะเวลา มีการประเมินผล

        การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ใช้ หลัก P E S T

        P  political คือปัจจัยทางการเมือง หรือ คนในองค์กร มีนิวรณ์  มี Ego  มีอุปสรรคหรือไม่

        E economy คือ  ปัจจัยมีผลต่อทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจในระยะนั้นมีปัญหาหรือไม่ เมื่อมีปัญหาโครงการที่จะทำ และ ส่งผมต่อภาพรวมในองค์กรหรือไม่

        S social คือ ปัจจัยทางสังคม  ต้องมองคนในองค์กร มีความต้องการอย่างไร

                T  Technology คือ มีการนำเอาระบบเทคโนโลยี มาใช้กับ คนในองค์กรเพื่อให้เกิดกระตุ้นในการทำงานโดยการสร้างอำนาจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ 5 ข้อด้วยกัน         

  • อำนาจสร้างได้ด้วยการให้ เช่นให้โอกาสให้ความรู้ ให้อภัย ให้ทาน และให้ความรัก        
  • อำนาจสร้างได้ด้วยการติ เช่น ติเพื่อปรังปรุงข้อบกพร่องให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องดูเวลาสถานที่บุคคลให้เหมาะสม
  • อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า เช่น เมื่อมีโอกาสต้องโชว์ก็พร้อมที่จะกล้าแสดงออก    
  • อำนาจสร้างด้วยการอ้างอิง เช่น อ้างถึงคำสั่ง หรืออ้างถึงงานที่เกี่ยวข้อง-        
  • อำนาจสร้างโดยหลักนิติธรรม  เช่น ตำแหน่งที่เราเข้าไปทำงานเราต้องวางตนให้ถูกหน่วยงานนั้น   หรือมติในที่ประชุม ที่ทุกคนส่วนใหญ่ยอมรับ 

จากนั้นนำมากำหนด  วิสัยทัศน์  กำหนด ภารกิจ  กำหนดจุดเป้าหมาย กำหนดวัตถุประสงค์ หรือกำหนด กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์  ในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดกับองค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของคนในองค์กร

ฝากข้อคิดสะกิดใจให้ชวนอ่านในการทำงานร่วมกัน ให้เลี้ยงสัตว์ 4 ตัวในการอยู่รวมกัน

 คือ     อูฐ   ปลา  หมา  ควาย

 จงอดทนเหมือนอูฐ ไม่พูดเหมือปลา  ซื่อสัตย์เหมือนหมา โง่เหมือนควาย

จงอดทนเหมือนอูฐ  หมายความว่า  การทำงาน ย่อมเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นที่เนื้องาน หรือเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน การแก้ไขปัญหา ให้ใช้ความอดทนในการแก้

ไม่พูดเหมือนปลา  หมายความว่า การทำงานย่อมมีการติดต่อประสานงาน หรือ พูดคุยกัน ในบางเรื่อง ไม่จำเป็นก็ไม่ควรพูด หรือแม้แต่เรื่องภายในหน่วยงานไม่ต้องนำไปพูดนอกหน่วยงาน

ซื่อสัตย์เหมือนหมา หมายความว่า  การทำงานจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ต่อผู้บังคับบัญชา แม้แต่ลูกน้องตนเอง  ไม่นำเรื่องที่เป็นเรื่องเสียหายของหน่วยงานไปเล่าให้ที่อื่นฟัง

โง่เหมือนควาย  หมายความว่า ให้ทำตัวเป็นคนโง่ในบางเรื่อง เมื่อมีเพื่อนร่วมงานมาพูดในเรื่องที่เรารู้แล้วก็ไม่สมควรพูดแซงหน้า ปล่อยทำเป็นไม่รู้บ้าง เพื่อรักษาจิตใจคนที่เล่าเรื่องให้ฟัง ทั้งที่ในเรื่องนั้นเรารู้แล้วก็ตาม

ทั้งนี้สามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิต ครอบครัวเราได้นะครับ

นางสาวอมเรศวร์ พฤฒปภพ รหัส 500380100023

เรียน อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่านนะค่ะ

วันนี้เรียนเรื่อง 1. การวางแผนกลยุทธ์ ด้านทรัพยากรมนุษย์

   2. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

สิ่งที่ได้จากการเรียน

ได้รู้ว่าพื้นฐานการวางแผนกลยุทธ์จะต้องใช้กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ว่าต้องการอะไรนำเอาวิสัยทัศน์ เป้าหมาย นำมาปรับปรุง ในเชิงปฏิบัติการ  และการตรวจสอบกลยุทธ์  การปรังปรุงองค์กร นำไปสู่เป้าหมายที่ดี ได้นั้น จะต้องมี วิสัยทัศน์ พันธกิจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ให้รู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน  สิ่งเหล่านี้ที่เราต้องมากำหนดยุทธศาสตร์  โดยใช้หลักทุนมนุษย์ที่มีองค์กรนำมาปรับกลยุทธ์  โดยการสร้างสมรรถนะ 4 ประการ ได้แก่ สมรรถนะ ในการบริหารคน สมรรถนะในความรอบรู้ในการบริหาร สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ และสมรรถนะการบริหารแบบมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์   และการที่จะบริหารคนให้เป็นคนเก่ง นั้นต้องบริหารที่อะไร  มีการสอนงาน  ให้กับผู้ที่บรรจุงานใหม่  มีการสับเปลี่ยนงาน  การควบคุม มอบหมายงานรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม การทำงานต้อง นวัตกรรมใหม่ๆ นำมาใช้ มาประยกต์ใช้ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นแผนกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะต้องเริ่มจากความต้องการของลูกค้า ลูกค้าต้องการอะไร เราต้องทำในสิ่งเขาต้องการ หรือคนในองค์กรต้องการสิ่งใด เราต้องเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตรงนั้นก่อน  ให้ความสำคัญกับผู้ที่อยู่ในองค์กร วางแผนกลยุทธ์วิธี โดยการวัดผล วิเคราะห์  โดยการใช้หลัดทุนมนุษย์ เริ่มพัฒนาขบวนการโดยใช้หลัก CEO ความพึ่งพอใจของลูกค้า และทีมงานหรือสถานประกอบการหรือคนในองค์กรนั้น  สิ่งที่ให้ความสำคัญเป็นที่สุดคือ การวางแผนยุทธวิธี และ การบริหารทุนมนุษย์ ซึ่งนำเอาหลักธรรมะมาใช้เพื่อให้เกิดปัญญา  การเกิดปัญญาของคนเรานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ทาง ดังนี้

1.    สุตะมะปัญญา  ปัญญาที่เกิดจากการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน

2.    จินตะมะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากความหมั่นตรึกตรอง ความนึกคิด

3.    ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาจากการกระทำให้เกิดจิตที่ดี

 

 สรุปถ้าทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือผู้ปฎิบัติ ข้าราชการ เอกชน ถ้าเรียนรู้ว่าตนเองเป็นทรัพยากรมนุษย์ทีมีค่าต่อตนเองและผู้อื่น เป็นคนดี มีจริยธรรม ก็สามารถที่จะพัฒนาตนเองและองค์กรให้ก้าวหน้าได้

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

 เรียน  ท่าน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ,คณะทีมงาน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 และผู้เข้าอ่าน Blog  ทุกท่าน 

ข้อที่1.เรียนเรื่องอะไร?

1.ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

2.การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

ข้อที่2. สาระสำคัญมีอะไรบ้าง?

เรื่องที่1 ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

-ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้คน ต้องอ่านภาษาอังกฤษ และเป็น IT

ในปีค.ศ 2000นับไป100ปี แนวโน้มการพัฒนาคนในองค์กรจะเป็นไปในทิศทางไหน เทรนด์ใหม่ของโลกซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21 เช่น เทรนด์ใหม่ของโลก คือ หันมากินแบบ Slow  Food ตรงกันข้าม  Fast Food เน้นการกินอาหารทีละคำกับครอบครัว จุดมุ่งหมาย คือ จะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและปรับเปลี่ยนการพัฒนาแบบเร่งรีบ ซึ่งทำให้คนไม่มีความสุข

-การพัฒนาคนเก่งมีอยู่ 5 ขั้นตอน

1.การประเมินความรู้และทักษะ เหมาะกับโลกปัจจุบันและอนาคตหรือไม่  

2.การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็งเป็นอย่างไร เอาจุดอ่อนมาพัฒนาเป็นจุดแข็ง จุดแข็งทำมันให้แข็งยิ่งขึ้น จุดแข็งมาพัฒนาสู่การปฎิบัติตามแผน ว่าเขามีความก้าวหน้าอย่างไร

3.การวางแผนพัฒนาทั้งความรู้และทักษะทำกิจกรรมที่เป็นการฝึกพัฒนาและอบรม

4.การดำเนินตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการ และให้มีการตรวจติดตามความก้าวหน้า

5.การประเมินความก้าหน้าเป็นการประเมินผลและให้ Feedbackกับพนักงานประเมินแล้วจะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง(ทฤษฎี 3ต.) ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

-คุณลักษณะที่ใช้ในการประเมินบุคลากร

1.ภาวะผู้นำ 2.การสื่อสาร 3.การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน 4.การตอบสนองต่อความเครียด 5.การจูงใจ 6.ศักยภาพในการเรียนรู้ 7.พลังในการทำงาน 8.การตัดสินใจ 9.การทำงานเป็นทีม10.การจัดการ 11.การวิเคราะห์ เป็นต้น

-สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

1.สมรรถนะในการบริหารคน พัฒนาคนให้เหนือชั้นกว่าคนอื่นทั่วไป

2.สมรรถนะความรอบรู้ทางการบริหารทั่วไป (PDCA)

3.สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ input  process  output  หรือ  4m

4.สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ทำไปเพื่ออะไร มีตัวชี้วัดความสำเร็จอย่างไร

-การพัฒนาคนให้มีความสุข คนมีคุณภาพ สูตรเป็นทีมมีจุดมุ่งหมายขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย  จะต้องเป็นอย่างไรเป้าหมายอะไร

-เข้าสู่วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง  มี 11 วิธี ดังต่อไปนี้

1 การสอนงาน คนเก่งต้องการมีที่ผู้ฝึกสอนแนะแนวทางที่ประสบความสำเร็จ   

2.การทำงานโยกย้ายไปอยู่ฝ่ายอื่นบ้าง   

3.มอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษให้กับคนเก่ง      

4.ฝึกให้รู้จักการแก้ปัญหา กู้วิกฤต     

5.การให้คนเก่งไปฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมร่วมมือกับสถาบันการศึกษา

6.การส่งคนเก่งไปรับการอบรมภายนอกองค์กรตามสถาบันการศึกษาซึ่งมีหลักสูตรสำหรับนักบริหาร

7.แนะนำหนังสือให้อ่าน เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

8.โดยให้คนเก่งไปสอนให้กับคนอื่นเพื่อฝึกทักษะด้านการสื่อสาร การนำเสนอ ความคิดสร้างสรรค์ต่อเนื้อหาที่สอน

9.ให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ เช่นกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ ได้ความรู้และประสบการณ์  ได้ภาพพจน์ที่ดี

10.การจัดการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ใช้หลัก E -Learning

11.เอาคนเก่งเข้าจัดการแทน ปฎิบัติงานแทนหัวหน้าที่ลาพักผ่อนต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน การมอบหมายให้คนเก่ง

เรื่องที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

-ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จโดยไม่สนใจเรื่องคน การบริหารคนจึงเป็นส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ

-การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง

1. ความต้องการของลูกค้า         2. การวางแผนกลยุทธ์-ยุทธวิธี    

3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   4. การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้    5.การพัฒนาทรัพยากรบุคคล     6. การพัฒนากระบวนการ        7.ความพึงพอใจของลูกค้า , ความพึงพอใจของทีมงาน , ผลประกอบการ      8. วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

-การเตรียมงานและการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีขั้นตอนดังนี้

1.การเตรียมงาน              2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก

3.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน     4.การประเมินสถานภาพขององค์กร

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ การพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวพุทธศาสตร์ เช่น อริยสัจ 4

 -อ่านบทความ ข้อคิด คือ ทุนมนุษย์ เด็กที่คลอดออกมาถือว่าเป็นทุนมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้จะต้องมีพ่อแม่ที่มีคุณภาพ ลูกคือมรดกของแผ่นดินที่เราสร้างไว้

       ขอขอบคุณอาจารย์ยม   นาคสุข ที่มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่พวกเรานักศึกษารปม รุ่น 4  เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 ขอให้อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร สุขภาพแข็งแรงดีขึ้นทุกวันนะคะ

             

นายธนิก กัมพูศิริพันธุ์ รุ่น.4 รปม. รหัส.50038010033

 

กราบเรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

           Innovation คือ นวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเอื้อประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม สิ่งที่สร้างขึ้นมาแล้วและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเราสามารถกล่าวได้ว่านั้นคือ นวัตกรรม นั้นเอง


           

    Learning Organization  หมายถึง องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดที่จะมุ่งมั่นที่จะเพิ่มความสามารถของตนเอง โดยต้องการที่จะมีการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่นหรือทีมงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้บรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อตนเอง ทีมงานและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่การแข่งขันและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นั้นเอง

            เนื่องจากตัวกระผมยังไม่ได้ทำงานและประกอบธุรกิจส่วนตัว  จึงขอยกตัวอย่างอุปสรรคในการสร้าง  Innovation และ Learning  organization และ  HR ของหน่วยงานของเพื่อน  ซึ่งเป็นลูกจ้างในส่วนราชการ สังกัด กรมส่งเสริมสหกรณ์

 

            การสร้างนวัตกรรมของข้าราชการไทย หรือการพัฒนาองค์กรและบุคลากรนั้นต้องค่อยๆสร้าง นวัตกรรม ที่เห็นได้บ่อยๆ  คือ การไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการในที่ประชุมมุมกาแฟ, ไม่กล้าที่จะเสนอแนะความคิดของตนเองให้แก่ผู้บริหาร เพราะเกรงว่าพูดในสิ่งที่คิดไปแล้วกลัวจะผิด และยังเป็นที่เกรงคนอื่นมองว่าตนเองเก่งเกิน ไม่รู้เรื่องที่ศึกษานั้นอย่างแท้จริง นั้นเอง

 

          จากข้อเสนอสามารถสรุปและเสนอแนะว่า   เราควรสร้างให้เกิดพัฒนาให้เกิด นวัตกรรม กับบุคคลในองค์กร คือ การสร้างวัฒนธรรมเรื่อง นวัตกรรมให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมี การสื่อสารหรือบอกกล่าวตามความคาดหวังขององค์กร โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสร้าง นวัตกรรมใหม่ ให้กับองค์กร เช่น การสร้างข้อมูลสาระสนเทศ (คอมพิวเตอร์) สื่อและข้อมูลทาง Internet เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้าง นวัตกรรมใหม่ อย่างแท้จริง

 

 2.       ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง 

      องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ  จัดตั้งพัฒนาองค์กรและสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ จัดตั้งประมาณปี พ.ศ.  2540  เหตุผลหลักเพื่อสร้าง นวัตกรรม การให้รู้ความรู้ถือภายในองค์กร เป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน  แต่ละประเทศมีนวัตกรรมที่ต่างกัน  อาทิ เช่น ประเทศอินเดียและประเทศจีน มีการส่งเสริมนวัตกรรมให้ทั่วทั้งประเทศ  แต่ ประเทศอินเดียส่งเสริมนวัตกรรมบางจุดกับคนเฉพาะกลุ่มในบางส่วนของประเทศเท่านั้น  ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียยังมีความยากจนเป็นจำนวนมาก และยังขาดการเรียนรู้ที่ดี   ส่วนประเทศจีนนั้นมีการนำ นวัตกรรม  ไปใช้กันทั่วประเทศจีน และสร้าความเป็นอยู่รวมถึงการศึกษาของประชาชนประเทศจีนจึงมีสภาพที่ดีขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานให้กับประเทศในอนาคต นั้นเอง


      ท้ายสุด กราบขอขอบคุณ อ.จีระ และทีมงานของท่านที่ยอมเสียสละเวลาอันมีค่าของท่าน มาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศ ให้แก่องค์กรที่เราและทุกท่านได้ทำงาน นั้นเอง

 จากการที่ได้ศึกษาทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21

การอบรมและพัฒนา คนเก่ง มี 5 ขั้นตอน คือ

1. การประเมินความรู้ และทักษะ

2. การวิเคราะห์

3. การวางแผนพัฒนา

4. การดำเนินการตามแผน

5. การประเมินความก้าวหน้า

สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

1. สมรรถนะในการบริหารคน

2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

1. การสอนงาน

2. การโยกย้ายฝ่ายงาน

3. การมอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ

4. การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตร

การฝึกอบรม

5. การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะกรรมการ

6. การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์กร

7. การแนะนำให้หนังสือให้อ่าน เป็นลักษณะการเรียนรู้ด้วย

ตนเอง

8. การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน

9. การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

 การวางแผนกลยุทธ์

ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์
1. การเตรียมการ/วิเคราะห์สภาพแวดล้อม/การกำหนดทิศทางและการวางกลยุทธ์
2. การนำกลยุทธ์ไปใช้ ต้องมีแผนปฏิบัติการ การปรับปรุง กระบวนงาน โครงสร้าง เทคโนโลยี 
3.  การควบคุมและตรวจสอบกลยุทธ์ การติดตาม การตรวจสอบและ ประเมินผลการดำเนินงานการทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

 

 

 

ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์ มณีโชติ รหัส 50038010028 รปม. รุ่น 4

   เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อนๆ ชาว รปม. รุ่น 4 ตลอดจนทีมงาน chira Academy ทุกท่าน

                เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กพ. 51 ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนวิชา "การบริหารทรัพยากรมนุษย์" วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิชานี้ กล่าวคือ เรียนเพื่อนำไปใช้และนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นที่การ Share ความรู้เพื่อไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรของผู้ที่ทำการศึกษา...ในวันนี้ท่านอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายให้นักศึกษาชาว รปม.รุ่น 4 ทุกท่านแสดงความคิดเห็นโดยผ่านทาง Blog  2 ชิ้น คือ 1. อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้างให้ยกตัวอย่างในองค์กรของนักศึกษา 2. ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

         ข้อ 1.  เหตุวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อต้นปี 2540 อาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดจบของ "การบริหารงานแบบราชการ" ดังที่ทราบลักษณะองค์กรที่บริหารงานแบบราชการจะมีโครงสร้างแบบสูง (Tall Organization) และมีการบริหารงานที่ยึดรายละเอียดแต่ละขั้นตอนเป็นเป้าหมายของงาน การประเมินผลการทำงานของพนักงานไม่ได้ดูที่สัมฤทธิ์ผลของงาน พนักงานปฏิบัติงานอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมากก็ไม่ได้บ่งชี้ว่างานจะสัมฤทธิ์ผลแต่อย่างใด เพราะเป็นการดูกันที่อุปนิสัยมากกว่าความรู้ความสามารถของพนักงาน

        ตามความเห็นของผู้เขียน...เชื่อว่าการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในองค์กรมีความสำคัญมากที่สุดแต่ถ้าองค์กรใดไม่มีการสร้าง Innovation ให้คนในองค์กรได้ใช้ความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ความสำคัญของ "คน"  ก็ไม่อาจสร้างประโยชน์ให้องค์กรได้อย่างเต็มที่เช่นกัน

        จากการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้ให้แนวคิดในการพัฒนา "HR" กล่าวคือ คนส่วนใหญ่มองว่าเป็น "ต้นทุน" ซึ่งต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายมาก แต่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดผลในระดับสูงนั้นหาใช่การให้ความสำคัญกับสวัสดิการค่าจ้าง การบริหารจัดการเท่านั้น หากแต่การพัฒนาคนในองค์กรให้มีความรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดถ้ามองไปในอนาคตข้างหน้าจะเห็นได้ว่าความเจริญทางด้านเทคโนโลยีจะต้องเข้ามาทดแทนการใช้กำลังคนเพราะฉะนั้น...องค์กรจะทำอย่างไร...?ให้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่นั้นเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในที่นี้คือการส่งเสริมให้คนในองค์กรมีความรู้ความสามารถ (Learning Organization) พัฒนาตนเองให้ทันกับยุค "โลกาภิวัฒน์" แต่อุปสรรคอีกประการของการพัฒนาคนคือ การลงทุนในคุณค่าของคนนั้นจะวัดจากการศึกษา และการฝึกอบรมอย่างเดียวคงไม่ได้แต่ต้องดูด้วยว่าคนเหล่านั้น มีความสามารถในการสร้างผลผลิตหรือไม่แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกถ้าในองค์กรมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถแล้ว จะทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นมีความรักความผูกพันกับองค์กร คำตอบหนึ่งที่น่าจะเป็นแนวทางที่ลดปัญหานี้คือ ผู้บริหารควรที่จะมองพนักงานเปรียบเสมือน "สมาชิกในครอบครัว" ไม่ใช่เพียงแต่เพื่อนร่วมงานในระบบงานเท่านั้นดังนั้นหัวใจของการพัฒนาองค์กรคือ "คน" ไม่จำกัดอยู่กับบทบาทเดิมๆ อาทิเช่น ระบบโครงสร้างเงินเดือน การดูแลด้านสวัสดิการ เป็นต้น การดูแลคุณภาพชีวิตของคนนั้นก็ต้องเริ่มดูตั้งแต่ระบบการคัดเลือกของคนที่จะเข้ามาในองค์กรจะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถคัดสรรบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงความรู้ทางด้านจริยธรรมด้วย

        ในปัจจุบันผู้เขียนเห็นว่า...ยังไม่มีคนที่เป็นนักคิดและวางแผนทำให้เกิดช่องว่างมากขึ้นขณะที่องค์กรพยายามปรับโครงสร้างทางทรัพยากรมนุษย์ให้เร็วแต่กลับทำได้ช้าและทำได้ไม่ดี ในเรื่องของ "คุณภาพชีวิต" นั้น จะต้องให้คนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีครอบครัวที่อบอุ่น กล่าวคือ การทำงานและการดำรงชีวิตจะต้องไปด้วยกันจะเห็นได้ว่าการพัฒนาและการฝึกอบรมพนักงานเป็นรูปแบบหนึ่งของการลงทุนที่จะก่อให้เกิดผลตอบแทนในระยะยาว ดังนั้น พนักงานทุกระดับจะได้รับการฝึกอบรม ทั้งในการปฏิบัติงานเฉพาะด้านและความรู้ในงานด้านข้างเคียงซึ่งจะทำให้พนักงานมีความเข้าใจในทักษะ และมีประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้นด้วย สำหรับผู้เขียนนั้น...ได้คำตอบที่สำคัญยิ่งสำหรับตนเอง กล่าวคือ "เงิน" "ค่าจ้าง" "เงินเดือน" หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เป็นค่าตอบแทนด้านวัตถุมิได้มีความสำคัญมากไปกว่า "ความสุขทางจิตใจ การมีเวลาในการทำงานกับครอบครัวที่สมดุลกัน"  

        ในเรื่องปัญหาอุปสรรคในองค์กรของผู้เขียน... "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" อยากร้องตะโกนดังๆ ว่า ควรให้ความสำคัญกับ "ความก้าวหน้าของตำรวจระดับชั้นประทวน" เพราะน่าจะมีผลต่อการสร้างความผูกพันต่อองค์กรให้มีความรู้สึกพอใจและอยากอยู่กับองค์กร กล่าวคือ การเลื่อนระดับของข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวนที่มีความรู้ความสามารถในปัจจุบันมีข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวนจำนวนมากที่ศึกษาต่อจนมีคุณวุฒิสูงขึ้นในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี ประกอบกับข้าราชการตำรวจระดับชั้นประทวนที่มีวุฒิดังกล่าว มีประสบการณ์ และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่สูงทัดเทียมกับข้าราชการตำรวจระดับชั้นสัญญาบัตรแต่ระบบการเลื่อนระดับดังกล่าวกระทำการโดยสอบแข่งขัน และมีปริมาณอัตราที่เปิดสอบน้อยไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

          ข้อ 2.  จากการศึกษาดูเทป Innovation บทสนทนาระหว่างท่าน ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ กับท่านศุภชัย ในเรื่องนวัตกรรมนั้นในส่วนของความหมายของคำว่า "นวัตกรรม" (Innovation) ของท่านศุภชัยกล่าวว่า การให้ความหมายของคำว่า "นวัตกรรม" นั้น ในมุมมองของท่านการจะให้คำจำกัดความคงเป็นเรื่องที่ยากแต่ถ้าแปลตามความหมาย นว คือ สิ่งใหม่ กรรม คือ การกระทำ การกระทำนั้นจะต้องเป็นสิ่งใหม่ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ส่วนความเห็นของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมไว้ว่า ในการสร้างนวัตกรรมนั้นไม่ได้กระทำเพื่อธุรกิจแต่เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาเผยประสบการณ์มาใช้อย่างไร...? ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเรื่องของการพัฒนา Innovation นั้น ศ.ดร.จิระ เปรียบเสมือนต้นน้ำ ส่วนท่านศุภชัย เปรียบเสมือนปลายน้ำในการดำเนินการเกี่ยวกับการสร้าง Innovation

           บทวิเคราะห์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวเสริมเพิ่มเติมในส่วนของการสร้าง Innovation กล่าวคือ คนไทยยังไม่มีการแสวงหาความรู้ (Learning Culture) และสร้างเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผู้นำต้องเป็นผู้มองกว้างและกำหนดวิสัยทัศน์ได้ดี "อย่างลอก"  (Copy)

           มุมมองของผู้เขียน... "นวัตกรรม" (Innovation) น่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการสร้างสรรค์องค์กรที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น แม้ว่าในทางปฏิบัติจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาภายในองค์กรตามมามากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ความรู้สึกของคนในองค์กร" เพราะฉะนั้น...เราจะทำอย่างไร...? ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ในองค์กรให้คนในองค์กรมีความเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ผู้เขียนเห็นว่า...ในแต่ละองค์กรคงจะมีความแตกต่างกันในเรื่อง "วัฒนธรรมในองค์กร"  เพราะฉะนั้น... "ผู้นำ" แต่ละองค์กรต้องแสดงความเป็น "HR CHAMPION"  ออกมาให้คนในองค์กรยอมรับ (มนุษย์คือต้นทุน-ไม่ฝันไม่เกิด-ไม่เกิดไม่เปลี่ยนแปลง-ไม่เปลี่ยนแปลงไม่มีการพัฒนา-ไม่มีการพัฒนาไม่ประสบความสำเร็จ-ไม่ประสบผลสำเร็จ END)  เปรียบเหมือนการเดินซอยเท้าอยู่กับที่.....ๆๆๆๆๆไม่ก้าวไปข้างหน้า เมื่อไหร่...? จะถึงที่หมาย

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ยม ที่เคารพยิ่ง

          จากการที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์นั้น ดิฉันได้เรียนรู้และเข้าใจจากที่ท่านอาจารย์ได้สอน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

          การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

กล่าวว่า "ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน”  เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป  ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ประกอบด้วย

     1.       ความต้องการของลูกค้า

2.       การวางแผนกลยุทธ์-ยุทธวิธี

3.       การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4.       การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้

5.       การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.       การพัฒนากระบวนการ

7.       ความพึงพอใจของลูกค้าความพึงพอใจของทีมงานผลประกอบการ

8.       วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

การกำหนดกลยุทธ์ แบ่งได้ 3 ระดับ คือ

1.       ระดับองค์กร

2.       ระดับธุรกิจ

3.       ระดับหน้าที่

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงกระบวนการต่อเนื่องในการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทําให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

                เป้าหมายของการจัดการเชิงกลยุทธ์

1.       การแก้ไข และป้องกันปัญหา เป็นไปอย่างรอบรู้ มีเหตุ มีผลมากขึ้น

2.       เป้าหมายขององค์การ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

3.       การเพิ่มสมรรถนะในการแข่งขันและการแสวงหาความร่วมมือ

4.       การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

5.       การพัฒนาสมรรถนะขององค์การให้สอดรับกับสภาพที่เป็นจริง

6.       การสร้างความสำเร็จโดยคำนึงถึงกลไกใหม่ในโลกยุคโลกาภิวัฒน

7.       กำหนดทิศทาง (Direction) ขององค์การ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

8.       เสริมความมุ่งมั่น (Effort) : ทำให้คนใช้ความพยายามที่จะทำงานด้วยกันให้ได้

9.       กำหนดสถานะขององค์การ (Position) : เป็นตัวกำหนดสถานะความเป็นจริงขององค์การด้วย

10.    สร้างความสอดคล้องต้องกัน (Consistency) : ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนของการบริหารเชิงกลยุทธ์

1.       การกำหนดกลยุทธ์-วางแผนกลยุทธ์

2.       การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์

3.       การวิเคราะห์สถานการณ์ ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุ

4.       การควบคุม-การประเมินผลกลยุทธ์ การพัฒนาอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง

แนวคิดในการบริหารเชิงกลยุทธ์ 3 ตัวแบบ

1.       SWOT ANALYSIS  ของ Harvard Business School

2.       การวิเคราะห์สถานการณ์เชิงยุทธ์ของซุนวู (SUN TZU)

3.       การวิเคราะห์-แก้ไขปัญหา ตามแนวพุทธศาสตร์

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

(1)    ความไม่มั่นคงของชาติ ประชาชนเดือดร้อน

(2) ต้นไม้แห่งปัญหา (Problems Tree)

(3) ต้นไม้แห่งความสำเร็จ(Objective Tree)

(4) ประเทศชาติมั่นคง  ประชาชนอยู่ดี มีสุข

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

 กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ , อาจารย์ยม , เพื่อน ๆชาวรปม.รุ่น 04  และผู้อ่านทุกท่าน

          จากการเรียนในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีท่านอาจารย์ยม นาคสุขเป็นผู้บรรยาย  หัวข้อทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์   

         สิ่งที่ได้รับจากการฟังบรรยายก็คือทำให้ทราบถึงความสำคัญของทิศทางการทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  ดังที่อาจารย์บรรยายว่า "ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่สนใจเรื่องคน"  เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอึกต่อไป ฉะนั้นเราต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีโมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.     การประเมินความรู้ และทักษะ 

2.     การวางแผนพัฒนา 

3.     การดำเนินการตามแผน

4.     การประเมินความกว้าหน้า

         นอกจากนี้ยังทราถึงคุณลักษณะที่ใช้ในการประเมินบุคลากรจาก ภาวะผู้นำ  การสื่อสาร  การวางแผนการทำงานภายใต้ความกดดัน  การตอบสนองต่อความเครียด  แรงจูงใจ ศักยภาพในการเรียนรู้ พลังในการทำงาน สมรรถนะ  การตัดสินใจ การทำงานเป็นทีม การจัดการ การวิเคราะห์   เป็นต้น  และต้องพัฒนาองค์กรใฟ้มีสมรรถนะสูงโดยวีธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง 15 วีธีที่สามารถเลือกนำมาปฏิบัติให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละองค์กร  เช่น ใช้วิธี่การ Coaching เป็นการนำผู้มีความรู้ความสามารถทั้งภายใน ภายนอกองค์กรมาสอนและแนะแนวทางที่จะประสบความสำเร็จให้กับบุคลากร เหมือนนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จจะต้องมี Coach ที่ดี  เช่นเดียวกับ การทำงานถ้าบุคคลากรได้รับการแนะนำที่ดีก็เปรียบเสมือนการที่องค์กรได้สร้างทุนทางความรู้  ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ให้กับบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริงและเสริมสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

           การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์   

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึง  กระบวนการต่อเนื่องในการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กรภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อมภายนอกขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ การใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกลยุทธ์ เพื่อทําให้มั่นใจว่ากลวิธีขององค์กรที่นำมาใช้สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง ได้แก่

1.ความต้องการของลูกค้า 

2.การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3.การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4.การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5.การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6.การพัฒนากระบวนการ 

7.ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8.วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

 การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ มีความแตกต่างกันตามภาระหน้าที่  และสภาพแวดล้อมของแต่ละองค์กร  ปัจจัยภายใน ภายนอกองค์กร เมื่อองค์กรพบปัญญาควรต้องนำ  HCM (Human Capital Management) ไปพัฒนางานในองค์การประกอบด้วย

  1. การบริหารคนเก่ง+คนดี (Talent management)
  2. การเรียนรู้และการพัฒนา(Learning and development)
  3. การบริหารความรู้ (Knowledge management)
  4. การบริหารสมรรถนะ (Competency management)
  5. การบริหารการทำงาน (Performance management)
  6. การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management)
  7. การบริหารความรัก (Love management)

 ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ (Human capital strategy)

  1. หาคนดีมาผูกใจให้อยู่ในองค์การอยู่ (Acquisition & Retention)
  2. เรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development)
  3. การจัดการและภาวะผู้นำ (Management and Leadership)
  4. การจัดการทุนมนุษย์ (Human capital management)
  5. การทำงานจากทุนมนุษย์ (Human capital performance

สรุป (Human Capital Management) HCM

  1. จูงใจได้มารักษาคนฉลาด
  2. การจัดการและภาวะผู้นำ      
  3. การเรียนรู้และการพัฒนา
  4. การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์
  5. การพัฒนาทุนมนุษย์           

          นอกจากนี้อาจารย์ได้บรรยายถึงทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ  โดยมีวิธีการสำรวจจุดด้อยขององค์กร และนำมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัมนาองค์กร เช่น องค์กรขาดความรู้  ก็เขียนยุทธศาสตร์บริหารความรู้และพัฒนา เป็นต้น

          จากการบรรยายของท่านอาจารย์ยมทำให้ผู้เขียนพบว่าการเขียนยุทธศาสตร์บริหารทรัพยากรมนุษย์ไม่ยากเลยเพียงเราสำรวจปัญหาในองค์กรแล้วนำมาเขียนเป็นยุทธศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  แล้วองค์กรของท่านจะประสบความสำเร็จที่ยั่งยืนทันต่อการเปลี่ยนแปลงในในศตวรรษที่ 21

          ท้ายนี้ผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้ให้ความรู้กับพวกเรา สั่งสอนและแนะนำวิธีการเรียนในแบบที่เราไม่คุณเคยจนเริ่มคุ้นเคยและคงจะเกิดเป็นความเคยชินจนเป็นพฤติกรรมตามที่อาจารย์แนะนำ นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง  ทำให้ตัวผู้เขียนไม่อาจจะปฏิเสธวิธีการที่อาจารย์ตั้งใจถ่ายทอด  และกระตุ้นให้พวกเราระดมสมองแสดงความคิดเห็น  รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในกลุ่ม เป็นก้าวเริ่มต้นในการค้นพบตัวเอง เพื่อพบแนวทางในการปรับเปลี่ยนตัวเองในการเรียนและการทำงานในอนาคตและปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมแต่เราต้องไม่ลืมความเป็นต้วตนของเรา

นางอนงค์ มะลิวรรณ์ รหัส ๕๐๐๓๘๐๑๐๐๑๙

เรียน  อาจารย์ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

       จากการเรียนวันอาทิตย์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ อาจารย์ได้ให้การบ้านมา ๒ ข้อ คือ

       ๑. อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

       ก่อนอื่นต้องทราบความหมายของ Innovation คือ นวัตกรรมหมายถึง  ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

      Learning Organization  หมายถึง เป็นองค์การที่ซึ่งคนในองค์กร ได้ขยายขอบเขตความสามารถของตนอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มและระดับองค์กรเพื่อนำไปสู่จุดหมายที่บุคคลในระดับต่าง ๆ ต้องการอย่างแท้จริงเป็นองค์กรที่มีความรู้ใหม่ ๆ และแตกแขนงของความคิดได้รับการยอมรับเอาใจใส่และเป็นองค์กรที่ซึ่งบุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของวิธีการที่จะเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งองค์กร

      อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์กร

      ๑. สมาชิกในองค์กรรู้แต่หน้าที่ตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายของ    องค์กร

      ๒. สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์กรอยู่ที่ใดแต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่่ยวข้องอย่างไร

      ๓. ทำตามแบบที่เคยทำ ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง

      ๔. ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป

      ๕. ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่าน้้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน

      ๖. มีผู้บริหารที่ดี แต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป

      ๗. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่่อยไป

      เช่น ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ดิฉันทำงานอยู่มักจะมีปัญหาในด้านนวัตกรรมและด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ เนื่องจากยังยึดติดกับวัฒนธรรมองค์กรเดิมๆ ไม่ยอมพัฒนาตัวเอง ผู้บริหารขาดการเอาใจใส่ในเรื่องนี้เท่าที่ควร

       คำถามที่ ๒  หลังจากดู Innovation จากวีดิโอ แล้วนักศึกษาได้อะไรบ้าง  สิ่งแรกที่ดิฉันคิดคือเราต้องเปลี่ยนการทำงานใหม่เพื่อพัฒนาตัวเองก่อนที่จะไปพัฒนาองค์กร เพื่อองค์กรได้นำไปสู่ความเป็นเลิศทางนวัตกรรม  ประการที่สอง มองว่าการที่จะเกิดนวัตกรรมใหม่ต้องมาจากความรู้ที่เป็นระบบ นวัตกรรมทำแล้วอาจไม่สำเร็จก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เวลานั้น และเป็นเรื่องของการลงทุนเพราะต้องรู้หลายด้านทั้งด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง แต่ในประเทศไทยหน่วยงานราชการมักจะขาดงบประมาณ ซึ่งเป็นปัญหากับทุกหน่วยงาน  ประการที่สาม การที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในการคิดสร้างสรรค์นั้นอย่างน้อยต้องมีทุนมนุษย์ก่อน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

น.ส.พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน นักศึกษา รปม.รุ่น 4 เลขที่ 9 รหัส 50038010009

 

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ (ท่านอาจารย์ที่เคารพ), อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน และผู้เข้าชม Blog  ทุกท่าน

 

1. อุปสรรคในการสร้าง  Innovation , Learning  Organization  และ  HR  ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างในองค์กรประกอบ

        อุปสรรคมีดังนี้

        1. ผู้บังคับบัญชา 

        การพัฒนาในองค์กร หากในหน่วยงานมีผู้บังคับบัญชาที่ไม่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริง  คำนึงถึงแต่ความก้าวหน้าของตนไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  รับแต่ความดีก็ทำให้หน่วยงานไม่พัฒนา

        2. สายการบังคับบัญชา

        หน่วยงานราชการสายการบังคับบัญชาเป็นแบบแนวดิ่ง การทำงานซ้ำซ้อน หากหน่วยงานย่อยเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ เพื่อจัดทำในโครงการ  กว่าจะได้รับการอนุมัติก็ทำให้ความคิดล้าหลังไปแล้ว

        3. ทรัพยากรมนุษย์

        คนในหน่วยงานราชการมักจะไม่กระตือรือร้น  เนื่องจากการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ มักจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา เพราะ หากมิใช่พวกพ้องทำดี มีผลงานสักแค่ไหนก็ไม่ได้รับการสนับสนุน เนื่องจากในหน่วยงานมักจะคำนึงถึงผลประโยชน์ในพวกพ้องตนเองมากกว่าความก้าวหน้าของประเทศชาติ

 

2. จากการชม  VTR  ในรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  Innovation  ซึ่งเป็นบทสนทนา  ระหว่าง  ดร.จีระ  และคุณศุภชัย   หล่อโลหะการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  แล้วได้อะไรบ้าง

        1.ได้เข้าใจถึงความหมายและคำจำกัดความ ของคำว่า  นวัตกรรม  คือ  การทำสิ่งใหม่  ต้องมีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งความรู้และความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีประโยชน์กับเศรษฐกิจ และสังคม

        2. ในฐานะที่เป็นคนไทยมีความคิดว่า ทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เมื่อคิดแล้วลองนำมาปฏิบัติหากปฏิบัติจริงไม่ได้  ก็ลองคิดใหม่  ซึ่งดีกว่าอยู่เฉย ๆ  โดยที่ไม่ได้คิดอะไร  ไม่ได้ใช้สมอง เนื่องจาก  นวัตกรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกภายนอก  หากอยู่เฉย ๆ ก็เปรียบได้เป็นประเทศที่ล้าหลัง

        3 .  ทฤษฏี  3  C  คือ

                Change    /  Customer  base / Control

มีความสอดคล้องกับ ทฤษฏี  5 k's   ของ ดร.จีระ

Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม

Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้

Cultural       Capital  ทุนทางวัฒนธรรม

Emotional    Capital  ทุนทางอารมณ์

Creativity     Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์

ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ  ซึ่งสังคมไทยเริ่มต้นจากการมีสังคม การเรียนรู้แล้วนำความรู้ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือถกเถียงกัน จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่  

 

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

เจริญพร ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  อ.ยม นาคสุข และ ผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ฯ

 

เรื่อง  ทรัพยากรณ์มนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสนใจ(สร้างและบำรุงรักษาให้คงอยู่คู่กับองค์กร) โดยเฉพาะคนรอบ ๆ กายภายในองค์กรเรา ฯ

 

การบริหารหรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จุดประสงค์หลักก็คือ เรื่องคน โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ที่เรียกว่ามนุษย์ เพื่อความสำเร็จขององค์กรตามที่ได้มุ่งหมายไว้ ฯ

        ดังคำที่ว่า ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน ฯ ฉะนั้น เรื่องทรัพยากรณ์มนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า การบริหารด้านอื่น ๆ ฯ แต่จากบทเรียนที่เกาะล้าน อาจารย์แต่ละท่านได้กล่าว ก็ล้วนไม่พ้นเรื่อง คน อยู่ดี เพราะมีคำที่ ดร.กีรติได้กล่าววันนั้นว่า  เครื่องจักรกล เราสามารถที่จะจัดซื้อหามาได้ แต่คนเราต้องสร้าง และ อบรมให้ความรู้เขา คน เราไม่สามารถซื้อหามาได้ ต่อให้มีเงินมากมายก็ตาม ถ้าเขาไม่พอใจหรือไม่ชอบใจองค์กรนั้น ๆ ฯ

        จากการเรียนในวันเสาร์ ที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ที่ผ่านมานั้น โดยการสอนของ อ. ยม นาคสุข ก็ได้เรียนรู้เรื่องของทฤษฎีต่าง ๆ ที่หลากหลาย ทั้งในความเห็นและมุมมองของท่านเอง และที่สำคัญคือ เรียนรู้ในทฤษฎีต่าง ๆ ที่ใช้ จนประสบความสำเร็จมานักต่อนักแล้ว ในหลายองค์กรด้วยการถ่ายทอดในแบบฉบับของท่านเอง ซึ่งจะได้กล่าวพอสังเขปดังต่อไปนี้ คือ

1.      คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากรเข้าทำงาน

เช่น

-         ภาวะผู้นำ 

-         การสื่อสาร

-         ศักยภาพการเรียนรู้

-         พลังในการทำงาน

-         การทำงานเป็นทีม

-         การบริหารจัดการในเรื่องงาน เป็นต้น ฯ

       

         ประเด็นแรกที่อาตมภาพคิดว่าสำคัญ คือ ภาวะผู้นำ ความเป็นผู้นำนั้น เดรย์ตัน แม็กเลน กล่าวว่า ความเป็นผู้นำ เปรียบได้กับสายน้ำอันเป็นนิรันดร์ที่ไหลไปสู่อนาคตอันยิ่งใหญ่ และสิ่งอันเป็นนิรันดร์พอกันก็คือภาระในการคอยกำหนดและรักษารูปร่าง และช่องทางการไหลของสายน้ำนั่นเอง ความพยายามสร้างเสริมความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ดำเนินไปในลักษณะเดียวกันกับที่ชายและหญิงพยายามที่จะค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการจัดการชี้นำและชักจูงกันและกันนั่นแหละ ฯ

2.      โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่งด้วยรูปแบบ 5 รูปแบบ คือ

-         การประเมินความรู้และทักษะ

-         การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ

-         การวางแผนพัฒนาคนเก่ง ด้านความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ

-         การดำเนินการตามแผน

-         การประเมินความก้าวหน้า เป็นต้น ฯ

3.      สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบันแบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม คือ

-         สมรรถนะในการบริหารคน (HR Management)

-         สมรรคถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

-   สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (Working like the Professional Management Level)

-         สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management by Result,MBO)

4.  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง เช่น  การสอนงานให้, การโยกย้ายฝ่ายงาน, การมอบหมายงานเร่งด่วนให้, การให้เขาได้รับการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดทักษะในการทำงาน, การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงานหรือคณะกรรมการ ในการแก้ไขปัญหา หรือกู้วิกฤต ในโครงการใดโครงการหนึ่ง, การส่งเขาไปรับการอบรมนอกสถานที่ ซึ่งมีหลักสูตรสำหรับนักบริหารโดยตรง เพื่อจะได้ศึกษางานไปในตัวกับประสบการจริงที่เขาจะได้รับ, แนะนำในการคิด การอ่าน ด้วยตนเอง ด้วยการศึกษาจากหนังสือหรือตำราต่าง ๆ เป็นการเสริมทักษะในการอ่านแล้วนำมาประยุกต์ใช้กับองค์การของตนเอง ซึ่งนับว่าเป็นการต่อยอดที่ยอดเยี่ยม, การมอบหมายงานให้เขาสอนพนักงานในองค์กร เป็นการเพิ่มทักษะและความคิดสร้างสรรค์อันเกิดจากการสอน เป็นการแบ่งปันความรู้จากการที่เขาได้ศึกษามา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่องค์กรโดยรวม,จัดให้เขาได้ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา, การจัดการเรียนรุ้ด้วย ICT เรียนรู้ด้วยการใช้ Wep - Based Learning เป็นรูปแบบใหม่ที่หลายองค์การใช้เพื่อส่งต่อการเรียนรู้ ทำให้คนเก่ง เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และรู้รอบ, เมื่อหัวหน้างานลางานหรือหยุด ก็ต้องการให้มีคนเก่งเข้ามารับบทบาทหน้าทีแทน เพื่อช่วยพัฒนาความรู้ทักษะการเป็นผู้บริหาร, เป็นต้น ฯ

              เหล่านี้ล้วนเป็นการฝึกอบรมคนให้เก่ง และคนที่เก่งอยู่แล้ว ยิ่งเก่งมากขึ้นตามลำดับ ฯ

5.      หลักการรักษา คนเก่ง ให้อยู่คู่กับองค์กรตราบนานเท่านาน ด้วยหลัก คือ “CARE MODEL” 

-         C คือ Creative Community หมายถึง การสื่อสารสองทางอย่างสร้างสรรค์

-         A  คือ  Atmosphere and Appreciation for All หมายถึง บรรยากาศและการชื่นชม

-   R  คือ  Respect and Reason for Being หมายถึง ความเคารพ และความมีเหตุมีผลในการอยู่ร่วมกัน

-   E  คือ  Empathy and Enthusiasm หมายถึง ความเห็นอกเห็นใจให้กำลังใจต่อกัน ส่งเสริมผลักดันให้กระตือรือร้นในการทำงาน 

6.  หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)ได้เคลื่อนเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่าน(Paradigm shift) ผ่านจุดเน้น เป็นการพัฒนาทุนมนุษย์ (HCD)

 

ฐานรากแห่งพุทธธรรม คือ ฐานหลักแห่งทุนมนุษย์  เพราะถ้าหากมีความรู้ด้านการผลิตการขาย  แต่ขาดคุณธรรม คือ พฤติกรรมที่ดีงามทั้งทาง กาย วาจา และใจ ในระดับของผู้นำเองก็ตามและระดับผู้ตามก็ตามที เป้าประสงค์ หรือวัตถุประสงค์แห่งความสำเร็จขององค์การย่อมจะไม่ประสบผลสำเร็จ ถึงจะประสบผลสำเร็จก็ไม่ตรงตามเป้าหมายดังที่ได้วางไว้ ซึ่งหลักแห่งการสร้างองค์ความรู้ มีอยุ่ ๓ ประการด้วยกัน คือ

-   สุตะมะยะปัญญา  ปัญญาเกิดจากการได้ยินได้ฟัง ซึ่งเป็นวิธีแห่งการเรียนรู้ ดังเด็กน้อยที่คอยจับสียงสำเนียงของผู้เป็นพ่อและแม่ เด็กก็จะเกิดทักษะและความคุ้นเคย จากการเรียกซ้ำ ๆ หลาย ๆ รอบ จวบจนผ่านไปในวัยหนึ่งก็สามารถเข้าใจในภาษานั้นได้ว่า ที่พ่อแม่เรียกนั้น คือ ชื่อของตน

-   จินตามะยะปัญญา  ปัญญาเกิดจากการนึกคิด ตริตรอง พิจารณาโดยแยบคาย แยบยล ทั้งโดยรูปแบบนิรนัย และอุปนัย หรือที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ คือ การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย(พิจารณาใคร่ครวญอย่างถ้วนถี่)

-   ภาวนามยปัญญา  ปัญญาอันเกิดจากการทำให้เจริญ ทำให้เกิด ทำให้มี โดยวิธีการวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์

 

หลักทั้ง 3 ประการนี้ มีความสืบเนื่องกันและกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเสียมิได้ เพราะถือว่าเป็นหลักแห่งการสร้างการเรียนรู้ ที่เริ่มจากภายในตนเองเป็นสำคัญ    

ฯ ล ฯ

 

          และต่อมาก็เรียนรู้เรื่องของทฤษฎีต้นไม้แห่งความมั่นคงและความไม่มั่นคงของโลก ซึ่งเชื่อมโยงถึงสันติภาพเป็นหลักสำคัญ

          อันว่าความขัดแย้งของโลกนั้น ก็ใช่ว่าเป็นเรื่องโลกหรือที่เราเข้าใจกันว่าโลกคือพื้นดินไม่ แต่ว่าความขัดแย้งเหล่านั้นทั้งมวล ล้วนเกิดจากคนหรือมนุษย์นี่เอง มนุษย์ คือผู้สร้างปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมาบนโลกใบนี้ และ คนเช่นกันที่จะเป็นผู้สงบระงับความขัดแย้งวุ่นวาย ต่าง ๆ ที่เกิดมีบนโลกใบนี้ เพราะฉะนั้น คน จึงเป็นตัวหลัก เป็นทั้งผู้สร้างและทำลาย ในคน ๆ เดียวกัน คนมีหลายเชื้อชาติหลายเผ่าพันธ์ และความขัดแย้ง ก็เกิดได้จากเรื่องราวหลาย ๆ ประการ เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งที่เกิดภายในประเทศ ความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์มีการแบ่งแยกเชื้อชั้นวรรณะ หรือแม้กระทั้งในเผ่าพันธุ์เดียวกันเองก็เช่นกัน ความขัดแย้งระหว่างหมู่คณะ และภายในหมู่คณะเอง และความขัดแย้งภายในบุคคล และภายในบุคคลเอง

          ประเด็นที่อาตมภาพคิดว่า สำคัญและควรเริ่มจุดแรก คือ ความขัดแย้งภายในบุคคล ข้อนี้อาตมภาพมีความเห็นว่า คนเรามีความคิดหรือจริตที่หลากหลายในคน ๆ เดียวกัน ความขัดแย้งภายในบุคคลนี้อาตมภาพมีความเห็นว่า เกิดจากจิตเรานี่เอง เช่น ร่างกายเราทำงานอยู่ชิ้นหนึ่ง แต่จิตเราทุกคนจะมีเหมือนกันคือจิตอีกดวงหนึ่ง ก็คิดอีกอย่างหนึ่ง อย่างที่เราท่านทั้งหลายเคยพบในอาการหลง ๆ ลืม ๆ นั่นแหละ คือกายเราทำอีกอย่าง แต่จิตคิดอีกอย่าง หรือไม่สั่งการเลย จนทำให้เราเกิดอาการหลง และลืม บางครั้งก็นั่งคิดว่า จะทำอะไรน้อ หรือแม้แต่คิดว่าจะพูด พอจะพูดก็นึกไม่ออกว่าเราจะพูดอะไร เหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการปรับความเห็นให้ตรง ปรับปัญญา สร้างความรู้สึกนึกคิดให้เป็นผู้มีควมรอบคอบอยุ่ตลอด และนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างองค์แห่งการเรียนรู้ และก็สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดมีภายในองค์การของตน ฯ  

          เมื่อทราบว่า ปัญหาความขัดแย้ง ต่าง ๆ เกิดจากคนแล้ว ก็ควรหาวิธีการระงับยับยั้งความขัดแย้งเหล่านั้น 

 

และอะไรละคือวิธีที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ?

 

แนวทางการแก้ปัญหาเหล่านั้น มีหลักการอยู่ 3 ประการด้วยกัน คือ

 

1.            การจัดการกับความขัดแย้ง ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นโดยการกำหนดให้คนทั่วไปไม่รู้สึกว่า มีความขัดแย้ง ด้วยการสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้น อาจเริ่มในระดับครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด  ภูมิภาคต่าง ๆ ประเทศ และ ท้ายสุด คือระหว่างประเทศ ทำได้เช่นนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงโลกแล้ว เพราะทุกประเทศทำได้ ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมคือ โลก ฯ

2.            การควบคุมความขัดแย้ง  มิให้เกิดมากจนเลยเถิดไป ทำให้เกิดระยะห่างของปัญหา อุดช่องโหว่

3.            การสลายความขัดแย้ง แก้ที่รากของปัญหา

                        

 

บทวิจารณ์ของข้าพเจ้า

          อาตมามีความเห็นว่า ต้นไม้ตายที่อาจารย์ยมยกขึ้นมาเปรียบว่า เป็นต้นไม้แห่งปัญหา และ ต้นไม้เป็น  อันขียวขจีด้วยใบซึ่งผลิดอกออกผลตามกิ่งแต่ละกิ่ง  อาตมาเปรียบว่า ลำต้นไม้นั้นคือแกนโลก กิ่งก้านสาขา คือนานาประเทศ ที่หลากหลายด้วยเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์อันมีอารยธรรมวัฒนธรรมเป็นของตน ๆ  ซึ่งขับเคลื่อนและบริหารด้วยรากแก้วและรากฝอย อันเปรียบด้วยมนุษย์ ซึ่งรากต้นไม้มีหน้าที่คอยหาอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงต้นไม้กระจายไปสู่กิ่งก้านสาขา ทำให้ใบสวยสดงดงามและเขียวขจีได้  ต้นไม้มีรากเป็นหลักในการดำรงอยู่มีรากเป็นหลักในการยึดเกาะพึ้นดิน เพื่อให้ตนทรงตัวอยู่ได้โดยไม่สะทกสะท้านด้วยแรงลมและแดด สามารถคงอยู่ได้โดยไม่ต้องมีเสาเข็มตอก แต่อยู่ได้ด้วยรากที่หยั่งลึกบนพึ้นพสุธา เมื่อรากแข็งแรง ต้นไม้ก็สามารถที่จะยืนหยัดอยู่ได้ เมื่อรากเน่าหรือถูกหนอนเจาะซะแล้ว ต้นไม่ย่อมได้รับผลกระทบและตายซากในที่สุด

          จากอุปมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า รากที่เปรียบด้วยคนนั้นมีความสำคัญที่สุด ต้นไม้ที่มีรากหยั่งลึก ถึงถูกโค่นต้นแล้ว ก็ยังสามารถที่จะแตกกิ่งก้านได้อีก แต่ถ้าหากรากเน่าเสียหรือหนอนเจาะดังกล่าวมา ก็ไม่สามารถที่จะแตกกิ่งก้านสาขาขึ้นมาตระหง่านได้ดังที่เคยเป็น

          คน จึงมีความสำคัญสำหรับองค์กร สำหรับประเทศชาติโดยรวม มีความสำคัญสำหรับโลก ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพที่ดี

ดังเช่นต้นไม้ ที่ต้องคอยดูแลรักษารดน้ำพรวนดินอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อความเจริญงอกงาม ผลิดอก ออกผล  คนก็เช่นกัน ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมพัฒนาให้ดี เพื่อเป็นกำลังขับเคลื่อนองค์กร และประเทศชาติ แผ่ขยายไปอย่างทั่วถึงในระดับนานาประเทศ เมื่อประชาคมโลกให้ความสนใจเรื่องคนอย่างทั่วถึงแล้ว เชื่อแน่ว่า ปัญหาต่าง ๆ ย่อมเกิดได้ยาก ถึงเกิดก็ย่อมเกิดได้น้อย เนื่องจากคนได้รับการพัฒนาและมีความรู้เสียแล้ว จะกลัวอะไร ฯ  

ในเมื่อคนอยู่ในโลกที่เป็นยุคโลกาภิวัตน์ ที่เรียกว่ายุคฐานความรู้ และเป็นโลกแห่งการแข่งขันบ้าง ซึ่งต่างคนก็ต่างขวนขวายและแสวงหาในสิ่งที่ตนรักตนชอบ ขวนขวายเพื่อความอยู่รอดเพื่อความสบายของตนเอง   เพราะเหตุเหล่านี้ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายจากคนและก็คน รวมความแล้วคนทั้งนั้นที่ทั้งก่อปัญหาและก็คนนี้แหละที่จะสร้างปัญหา ฉะนั้น เพื่อสันติภาพของโลก ก็ควรที่จะพัฒนาคนให้มีความรู้และรักในองค์กร รักประเทศ รักในการสร้างคุณธรรม รักในความสงบ ไม่เบียดบียนกันและกัน

องค์กรหรือประเทศชาติจะอยู่รอดหรือว่าหายนะ ก็เพราะคน     เมื่อคนมีคุณภาพ(คุณธรรม จริยธรรม) ความเจริญย่อมบังเกิดแก่องค์กรและประเทศชาติโดยรวม

หากคนไร้คุณภาพ(คุณธรรม จริยธรรม) ความหายนะย่อมบังเกิดแก่องค์กรและประเทศชาติโดยรวม ฯ

ฯลฯ

 

                                  ขอเจริญพร

                         พระมหาวิทยา  นางวงค์ 

                  นักศึกษา รปม. รุ่น 4 สวนสุนันทา

 ไม่มีใครสามารถรับผิดและชอบในความล้มเหลวและความสำเร็จในชีวิตของเราได้ นอกจากตัวของเราเองฯ

(ฝากไว้ให้คิด)                                                                                                                                                        

 

 

หมายเหตุ   จากบทความที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  หากผิดพลาดส่วนไหนประการใด ต้องขออภัยบัณฑิตผู้รู้ทั้งหลาย มา ณ ที่นี้ และขอรับผิดเพียงผู้เดียว ส่วนที่เห็นว่าชอบแล้วขอมอบแต่ท่านอาจารย์ผู้สอนทุกท่านครับ ฯ

พระศุภสิน ศักศรีวัน รปม.รุ่น 4

 

   "ไม่มีงานเลี้ยงใด ที่ไม่มีวันเลิกรา มาถึงจุดนี้ ก็คงเป็นช่วงสุดท้ายกับการที่จะต้องจากลา..จากนี้ไป จะมีใครที่จะมาคอยกระทุ้งด้วยวิชาการนการที่จะให้ศิษย์มีการตื่นตัวและกระหายในการเรียนรู้ตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการอยู่ร่วม ต่อจากนี้ไปก็คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีและรอยแห่งความประทับใจ และเจตจำนงที่มอบไว้เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้สืบสานต่อในการพัฒนาตนเอง ตามรอยผู้ที่คอยสร้างคันเบ็ดและวิธีจับปลาแก่เหล่าผู้แสวงหาปลา นามว่า..จีระ หงส์ลดารมณ์.." ขออนุโมทนา..

1. อุปสรรคในการสร้าง innovation, learning organization ใน HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง?

      นวัตกรรม (innovation) หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมหรือเพิ่มมูลค่า (Value Added)

ลักษณะของนวัตกรรม
     
- นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง หมายถึงขบวนการเสนอสิ่งใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อของสังคมอย่างสิ้นเชิง เช่น Internet จัดเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนระบบการติดต่อสื่อสาร และทำให้ระบบเก่า ๆ บางอย่างหายไป เช่นโทรเลข เป็นต้น
      - นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็นขบวนการการค้นพบหรือคิดค้นสิ่งใหม่โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด มีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning)
      - นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
      - นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)   เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม

      นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้บริหาร พนักงานหรือแม้แต่คนทุกคนในสังคมในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความปรารถนาใหม่หรือต้องการค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีใช้กันทุกวงการ แต่ที่จะเห็นเด่น ๆ ก็จะเป็นเรื่องของนวัตกรรมของเรื่องนวัตกรรมทางด้านเศรษฐกิจ และในวงการบริหารเองก็จะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นเหมือนกัน ได้เกิดนวัตกรรมทางด้านทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อเติมและทดแทนทฤษฎีเก่า ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิที่ดีขึ้น เช่น Balanced Scorecard KPI Competency   Six sigma เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันอาจเป็นสิ่งที่ล่าหลังในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งนักบริหารคงต้องสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป..และสัจธรรมที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เป็นกุศโลบายฝึกใจเสมอว่า..ความจริงของวันนี้ อาจจะไม่ใช่ความจริงของวันพรุ่ง..

      องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่มีการดำเนินการให้บุคคล ทีม หรือกลุ่ม ในองค์การได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนตนเอง ทั้งนี้ เพื่อนำองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ การเรียนรู้ต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วทั้งองค์กร

การที่จะบรรลุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้  ต้ององค์ประกอบหลัก ดังนี้
     
1. การใฝ่เรียน ใฝ่รู้ของบุคคล (Personal Mastery)  การที่จะไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ จะต้องเริ่มต้นที่บุคลากรในองค์การนั้นเป็นอันดับแรกบุคคลที่มีความต้องการจะเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถของตนเอง จะต้องมีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ (Achirement Motivation)
      2. การพัฒนากรอบความคิด  เป็นการค้นหาความกระจ่างชัด การจำแนกแยกแยะ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การทำความเข้าใจ และการแปลความหมายต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจและการกระทำของบุคคล
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน จะต้องมาจากการที่แต่ละคนฟังซึ่งกันและกันโดยที่แต่ละคนจะแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล และให้เหตุผลซึ่งกันและกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำและสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
      4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
      5. การคิดเชิงระบบ

อุปสรรคภายในองค์กร
     
เนื่องจากองค์กรของข้าพเจ้าที่ทำงานเป็นในรูปแบบที่สถาบันสำคัญทางด้านจิตวิญญาณ และทางความคิดซึ่งภาพรวมก็คือพื้นฐานของสังคมที่ดี จึงขอเสนอแนะแนวคิดเปรียบเทียบกับองค์กรโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางราชการหรือเอกชน จะมีลักษณะของปัญหาและอุปสรรคคล้าย ๆ กัน คือ
      - บุคลากรปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพราะวัฒนธรรม ค่านิยมขององค์กรเปลี่ยนแปลงยาก
      - ขาดผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
      - มี Ideaดี แต่ขาดการสนับสนุน หรือความคิดดีแต่ไม่มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อจะใช้ประโยชน์ได้จริงจากความคิดนั้น
      - มี Idea ดี แต่ผู้นำยังถืออัตตาและไม่เปิดโอกาส ใจแคบกลัวลูกน้องดีเกินหน้า

 2. จากการดู วีดีทัศน์ ได้อะไรบ้าง
     
จากการชมวีดีทัศน์การสนทนาระหว่างท่านอาจารย์จีระในเนื้อหาเกี่ยวกับ นวัตกรรม ร่วมกับคุณศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดที่คล้อยตามกับท่านทั้งสองในเรื่องการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทย

อาจารย์จีระ จะมองในแง่การนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้กับสังคม เช่นการศึกษา การปราบอาชญากรรม การเพิ่มศักยภาพของคน มากกว่า โดยมองเห็นประโยชน์ของนวัตกรรมในอันจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับคน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคน โดย

      1. การรังสรรค์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่
      2. นำไปปฏิบัติหรือดำเนินการ
      3. เมื่อนำไปปฏิบัติหรือทำแล้วต้องเป็นไปเพื่อความเป็นประโยชน์แก่ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

คุณศุภชัย นั้นจะมองในภาพของส่วนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อันเป็นแรงผลักไปสู่การพัฒนาประเทศ

ทั้งสองท่านมีแนวคิดที่จะพัฒนา และชี้ให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรม คือการกระทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ลอกเลียนแบบเขา ฝึกให้คนไทยรู้สึกคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์ นำมาศึกษาวิจัยให้ได้ผลสรุปที่ดีอันจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

      อย่างไรก็ตามการที่เราจะสร้างนวัตกรรมได้นั้น จะต้องรู้ความสำคัญและรู้จุดประสงค์ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ ต้องเข้าใจความหมายว่านวัตกรรมคืออะไร และเมื่อเล็งเห็นความสำคัญแล้วนำมาปฏิบัติแล้วต้องปฏิบัติให้เห็นผล และให้เกิดประโยชน์โดยต้องประสานเชื่อมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่เพิ่มมูลค่าและศักยภาพของบุคลาภายในองค์กรย่อยไปสู่องค์กรระดับชาติ เพื่อที่ประเทศไทยสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันกับสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ได้..

              
   "ไม่มีงานเลี้ยงใด ที่ไม่มีวันเลิกรา" มาถึงจุดนี้ ก็คงเป็นช่วงสุดท้ายกับการที่จะต้องจากลา..จากนี้ไป จะมีใครที่จะมาคอยกระทุ้งด้วยวิชาการในการที่จะให้ศิษย์มีการตื่นตัวและกระหายในการเรียนรู้ตลอดเวลาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการอยู่ร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อจากนี้ไปก็คงเหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีและรอยแห่งความประทับใจ และเจตจำนงที่มอบไว้เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้สืบสานต่อในการพัฒนาตนเอง ไม่แน่สักวันอาจจะมีศิษย์คนใดคนหนึ่งได้พบกันอีกในเวทีแห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับผู้ที่คอยสร้างคันเบ็ดและวิธีจับปลาแก่เหล่าผู้แสวงหาปลา นามว่า..จีระ หงส์ลดารมณ์.."  อีกครั้ง..ขออนุโมทนา..
              

1. อุปสรรคในการสร้าง innovation, learning organization ใน HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง?

      นวัตกรรม (innovation) หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิมหรือเพิ่มมูลค่า (Value Added)

ลักษณะของนวัตกรรม
     
- นวัตกรรมใหม่อย่างสิ้นเชิง หมายถึงขบวนการเสนอสิ่งใหม่อย่างแท้จริงสู่สังคม โดยการเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อของสังคมอย่างสิ้นเชิง เช่น Internet จัดเป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนระบบการติดต่อสื่อสาร และทำให้ระบบเก่า ๆ บางอย่างหายไป เช่นโทรเลข เป็นต้น
      - นวัตกรรม ที่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เป็นขบวนการการค้นพบหรือคิดค้นสิ่งใหม่โดยการประยุกต์ ใช้แนวคิดใหม่ ที่มีลักษณะต่อเนื่องไม่สิ้นสุด มีลักษณะของการสะสมการเรียนรู้ (cumulative learning)
      - นวัตกรรมผลิตภัณฑ์  (Product Innovation) คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในเชิงพาณิชย์ที่ได้ให้ดีขึ้นหรือเป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมนี้อาจจะเป็นของใหม่ต่อโลก, ต่อประเทศหรือแม้แต่ต่อองค์กร
      - นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)   เป็นการเปลี่ยนแนวทาง หรือ วิธีการผลิตสินค้า หรือบริการ ให้การให้บริการในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม

      นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ  ผู้บริหาร พนักงานหรือแม้แต่คนทุกคนในสังคมในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความปรารถนาใหม่หรือต้องการค้นคิดหาวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น มีใช้กันทุกวงการ แต่ที่จะเห็นเด่น ๆ ก็จะเป็นเรื่องของนวัตกรรมของเรื่องนวัตกรรมทางด้านเศรษฐกิจ และในวงการบริหารเองก็จะมีนวัตกรรมเกิดขึ้นเหมือนกัน ได้เกิดนวัตกรรมทางด้านทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อต่อเติมและทดแทนทฤษฎีเก่า ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิที่ดีขึ้น เช่น Balanced Scorecard KPI Competency   Six sigma เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในปัจจุบันอาจเป็นสิ่งที่ล่าหลังในอนาคตก็เป็นได้ ซึ่งนักบริหารคงต้องสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่า มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป..และสัจธรรมที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้เป็นกุศโลบายฝึกใจเสมอว่า..ความจริงของวันนี้ อาจจะไม่ใช่ความจริงของวันพรุ่ง..

      องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่มีการดำเนินการให้บุคคล ทีม หรือกลุ่ม ในองค์การได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนตนเอง ทั้งนี้ เพื่อนำองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ การเรียนรู้ต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วทั้งองค์กร

การที่จะบรรลุความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้  ต้ององค์ประกอบหลัก ดังนี้
     
1. การใฝ่เรียน ใฝ่รู้ของบุคคล (Personal Mastery)  การที่จะไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ จะต้องเริ่มต้นที่บุคลากรในองค์การนั้นเป็นอันดับแรกบุคคลที่มีความต้องการจะเรียนรู้เพื่อยกระดับความสามารถของตนเอง จะต้องมีแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ (Achirement Motivation)
      2. การพัฒนากรอบความคิด  เป็นการค้นหาความกระจ่างชัด การจำแนกแยกแยะ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น การทำความเข้าใจ และการแปลความหมายต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจและการกระทำของบุคคล
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน จะต้องมาจากการที่แต่ละคนฟังซึ่งกันและกันโดยที่แต่ละคนจะแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล และให้เหตุผลซึ่งกันและกันเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำและสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน
      4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
      5. การคิดเชิงระบบ

อุปสรรคภายในองค์กร
     
เนื่องจากองค์กรของข้าพเจ้าที่ทำงานเป็นในรูปแบบที่สถาบันสำคัญทางด้านจิตวิญญาณ และทางความคิดซึ่งภาพรวมก็คือพื้นฐานของสังคมที่ดี จึงขอเสนอแนะแนวคิดเปรียบเทียบกับองค์กรโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางราชการหรือเอกชน จะมีลักษณะของปัญหาและอุปสรรคคล้าย ๆ กัน คือ
      - บุคลากรปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง เพราะวัฒนธรรม ค่านิยมขององค์กรเปลี่ยนแปลงยาก
      - ขาดผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงในการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้
      - มี Ideaดี แต่ขาดการสนับสนุน หรือความคิดดีแต่ไม่มีกลุ่มเป้าหมายเพื่อจะใช้ประโยชน์ได้จริงจากความคิดนั้น
      - มี Idea ดี แต่ผู้นำยังถืออัตตาและไม่เปิดโอกาส ใจแคบกลัวลูกน้องดีเกินหน้า

 2. จากการดู วีดีทัศน์ ได้อะไรบ้าง
     
จากการชมวีดีทัศน์การสนทนาระหว่างท่านอาจารย์จีระในเนื้อหาเกี่ยวกับ นวัตกรรม ร่วมกับคุณศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ทำให้เกิดมุมมองและแนวคิดที่คล้อยตามกับท่านทั้งสองในเรื่องการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทย

อาจารย์จีระ จะมองในแง่การนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้กับสังคม เช่นการศึกษา การปราบอาชญากรรม การเพิ่มศักยภาพของคน มากกว่า โดยมองเห็นประโยชน์ของนวัตกรรมในอันจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับคน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคน โดย

      1. การรังสรรค์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่
      2. นำไปปฏิบัติหรือดำเนินการ
      3. เมื่อนำไปปฏิบัติหรือทำแล้วต้องเป็นไปเพื่อความเป็นประโยชน์แก่ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

คุณศุภชัย นั้นจะมองในภาพของส่วนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ อันเป็นแรงผลักไปสู่การพัฒนาประเทศ

ทั้งสองท่านมีแนวคิดที่จะพัฒนา และชี้ให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรม คือการกระทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่ลอกเลียนแบบเขา ฝึกให้คนไทยรู้สึกคิดอย่างเป็นระบบและมีความคิดสร้างสรรค์ นำมาศึกษาวิจัยให้ได้ผลสรุปที่ดีอันจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม

      อย่างไรก็ตามการที่เราจะสร้างนวัตกรรมได้นั้น จะต้องรู้ความสำคัญและรู้จุดประสงค์ที่จะนำนวัตกรรมมาใช้ ต้องเข้าใจความหมายว่านวัตกรรมคืออะไร และเมื่อเล็งเห็นความสำคัญแล้วนำมาปฏิบัติแล้วต้องปฏิบัติให้เห็นผล และให้เกิดประโยชน์โดยต้องประสานเชื่อมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่เพิ่มมูลค่าและศักยภาพของบุคลาภายในองค์กรย่อยไปสู่องค์กรระดับชาติ เพื่อที่ประเทศไทยสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันกับสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์ได้..

 

สวัสดีค่ะ ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์            ท่านอาจารย์ผู้สอน และท่านผู้อ่าน

โดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4

สาระสำคัญของนวัตกรรม (Innovation) ที่ได้ชมจากวีดีทัศน์ ระหว่างท่านอาจารย์จีระ และท่านศุภชัย หล่อโลหะตระกูล

 

การที่เราจะทำให้เกิดนวัตกรรมได้  จะต้องมีองค์ความรู้ สนใจ ใฝ่เรียนรู้ ที่จะปรับปรุงในสิ่งที่เป็นอยู่เดิม ให้เกิดขึ้นเป็นสิ่งใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโดยเฉพาะในวงการธุรกิจระดับโลก ได้นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจของเขาเกิดความแตกต่าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงานบุคคล ถ้ายังคงเป็นแบบเดิมๆ ที่ผ่านมา ซึ่งไม่สนใจเรื่องของคน แต่ในโลกยุคใหม่ได้สนใจคน ซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ที่จะสรรสร้างสิ่งต่างๆ มากมายให้กับโลก

สรุป  นวัตกรรม (Innovation) เป็นกระบวนการที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และวิธีการปฏิบัติงานใหม่

และนวัตกรรมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์การ

-------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สวัสดีค่ะท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านอาจารย์ยม นาคสุข

และท่านผู้อ่าน

โดย นางสาวสถิภรณ์  คำพานิช นักศึกษา รป.ม.รุ่นที่ 4

Q1 วันนี้เรียนเกี่ยวกับอะไร

                วันนี้เรียนเรื่องเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    ในศตวรรษ ที่ 21 กับเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

 

Q2 Focus การพัฒนาคนจะอยู่รอดไปในอนาคตจะมีลักษณะอย่างไร  และมีสมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจัยแบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม 

 

                2.1 โมเดลการพัฒนาอบรมและพัฒนาคนเก่ง

                        1 ) ประเมินความรู้ และทักษะ  ของคนในองค์กร เพื่อคัดเลือกคนเก่งจริงๆ ออกจากกลุ่มคนประเภททั่วไป  เช่นคนเก่งกลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม A  มีจำนวน  7 คน

                        2) วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล  เมื่อได้กลุ่ม A มาแล้ว จะวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลของแต่ละคนว่า แต่ละคนมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน                       

3) วางแผนพัฒนาคนเก่ง  เมื่อได้กลู่ม A  เราต้อง

วางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพของแต่ละบุคคล  โดยการเสริมจุดเด่นให้เด่นยิ่งขึ้น และเสริมสร้างศักยภาพจุดด้อยให้หมดไป

                        4) การดำเนินการตามแผน  เช่นในกลุ่ม A มีคนหนึ่งไม่ชอบเขาสังคม   ตามแผนกำหนดการจะส่งไปสัมมนาภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้เข้าร่วม WorkShop  เพื่อให้ฝึกการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น

                        5) การประเมินสมรรถนะความก้าวหน้า  ในการประเมินสมรรถนะควาวก้าวหน้า ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะคนเก่ง  แต่จะต้องทำกับทุกคนในองค์กร  เพื่อจะได้นำผลดังกล่าวมาให้ค่าตอบแทน สร้างแรงจูงใจในเรื่องอื่นๆ  รวมทั้งการให้ออกจากงานหากสมรรถนะถดถอยลงไปต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

                2.2 สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน

                        1) สมรรถนะในการบริหารคน

                                - ทักษะในการสื่อสาร  จะต้องมีการสื่อสารทั้งสองทาง จากบนลงล่าง  จากล่างขึ้นบน  ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันในการดำเนินภารกิจขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

                                - การประสานสัมพันธ์  เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง ถ้าหากคนภายในองค์กรต่างคนต่างทำ เป็นการทำงานเป็นท่อนๆ  โดยไม่มีการประสานสัมพันธ์กันแบบลูกโซ่ จะก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ

                        2) สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

                                - การบริหารการเปลี่ยนแปลง  ในการบริหารงานมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โอกาส และสภาพแวดล้อมเข้ามากระทบ  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารต้องรู้เท่าทันโลกไร้พรมแดน มิเช่นนั้น ก็จะทำให้การบริหารผิดพลาดได้

                                - การมีจิตมุ่งบริการ ในโลกไร้พรมแดนไม่ว่าภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคเอกชน  ก็มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง  สิ่งที่เป็นเครื่องมือที่จะเอาชนะคู่แข่งได้ก็คือ การให้คนในองค์กรมีจิตที่จะบริการ

                                - การวางแผนกลยุทธ์  เป็นการกำหนดวิธีการที่ทำให้คนในองค์กรเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

                        3) สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

                                - การตัดสินใจ ในยุคปัจจุบัน ถ้าหากผู้นำองค์กรตัดสินใจผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ธุรกิจพังได้

                                - การเป็นผู้นำ  ในความเป็นผู้นำนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ มีวิสัยทัศน์ มีความรู้จริง รอบรู้ รู้ลึก ใจกว้าง และรู้จักให้อภัย ฯลฯ

                                -การคิดเชิงกลยุทธ์  ในการทำงานนั้น ถ้าหากมีการคิดแบบสมการชั้นเดียวก็จะสู้คู่แข่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ มีเทคนิค และวิธีการที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้

                        4) สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

                                -การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  เป็นการทำงานแบบคิดวิเคราะห์ถึงต้นทุน เช่น คน ทรัพยากรอื่นๆ ที่ใช้ในการลงทุน แต่ผลที่ได้รับต้องตอบสนองต่อเป้าหมายของผลงาน และโครงการ

                                - การบริหารทรัยากร  เป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็นคน สิ่งของ เงิน เทคโนโลยีต่างๆ ถ้าใช้เกินความจำเป็น จะส่งผลต่อต้นทุน และเป็นการใช้ทรัยากรอย่างไม่คุ้มค่าด้วย

                                - การบริหารแบบ CEO      ในการบริหารงานนั้น ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของประชาชน ความสุขของพนักงาน และความอยู่รอดขององค์กร

Q3  วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

                       

                1. ให้มีระบบพี่ระบบพี่เลี้ยง ให้มีการสอนงาน  โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์  โดยการสอนทั้งงาน และสอนเรื่องการวางตัวในสังคม

                2.  เมื่อมีการทำงานได้สักระยะหนึ่ง ต้องมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ เพื่อให้เกิดทักษะในการทำงานใหม่ ให้มีความกระตือรือร้น และเสริมสร้างประสบการณ์ในการเป็นผู้นำต่อไป

                3.  มีการมอบหมายงานใหม่ให้อยู่เสมอ เป็นงานที่ท้าท้ายความสามารถ ไม่ใช่งานประจำ

                4. ในบางครั้งต้องมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการ หรือคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานภายใน หรือหน่วยงานภายนอก เพื่อเพื่อทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน หรือเรียนรู้วิธีการทำงานจากหน่วยงานอื่นๆ

                5.  มีการส่งเข้าอบรมกับหน่วยงาน เช่น อบรมพื้นฐานวิชาการควบคุมผู้ต้องขัง  การป้องกันและระงับเหตุร้าย

                6. มีการส่งเข้าอบรมกับหน่วยงานภายนอก เช่น อบรมการเจรจาต่อรองกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

                7. การฝึกให้อ่านหนังสือวิชาการทั้งของภายในและภายนอก แต่เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน เช่น การมอบให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 3 คน นำมาวิเคราะห์และประชุมร่วมกับหัวหน้า

                8. เมื่อกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่เคยได้รับการพัฒนาและอบรมมาแล้วจนเก่ง จะให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้สอนรุ่นต่อไป เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ

                9. การเสริมสร้างความรู้ในการให้ทุกคนสมัครเรียนทาง Internet

                โดยสรุป ในการพัฒนาคนนั้น ก่อนที่จะทำการพัฒนา หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องทำการประเมินแบบ 360 ก่อน เพื่อคนหาศักยภาพที่เขามีจุดเด่นจุดด้วยส่วนใด  เพื่อที่จะได้พัฒนาได้อย่างถูกต้อง และคุ้มค่า

 

-------------------

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Q3 อุปสรรคในการสร้าง Innovation และLearning Organization และ HR. ในระบบราชการมีอะไรบ้าง

ให้ยกตัวอย่าง

 

                       

Innovation

นวัตกรรม (Innovation) เป็นกระบวนการที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีการเปลี่ยนแปลงความคิดนั้นให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการ และวิธีการปฏิบัติงานใหม่และนวัตกรรมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและสอดคล้องกับองค์การ

 

Learning Organization

        องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์การซึ่งปฏิบัติการอย่างดีในการริเริ่มสร้างสรรค์ การได้มาหรือครอบครอง และการถ่ายทอด ความรู้และการปรับพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อความรู้ใหม่ๆ องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเน้นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ทอดลองแนวความคิดใหม่ๆ การเรียนรู้จากประสบการและข้อมูลในอดีต หรือการเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่น

 

HR.

        การบริหารทรัพยากร เป็นกระบวนการที่คัดเลือกเลือกสรร รักษา พัฒนา และใช้ประโยชน์กับคน

 

ระบบราชการ  เป็นองค์กรแบบทางการ มีข้อกฎหมายและระเบียบที่ตายตัว มีสายการบังคับบัญชาแบบแนวดิ่ง

 

                กรมราชทัณฑ์ เป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีสำนัก/กอง  ไม่ต่ำกว่า 13 แห่ง  เรือนจำและทัณฑสถาน  130 กว่าแห่ง มีข้าราชการ 10,000 กว่าคน มีผู้ต้องขังไม่ต่ำกว่า 160,000 คน   ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและแก้ไขพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังให้กลับตนเป็นคนดี รวมทั้งการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับข้าราชการ   จากข้อความดังกล่าวข้างต้น สรุปปัญหาอุปสรรคได้ดังนี้

 

 

 

1. เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์ส่วนใหญ่ตรากตรำกับ

การอยู่เวรยาม ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว  จนเกิดความเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ  จึงไม่มีพลังแรงใจในการที่จะสนใจใฝ่รู้ หรือสนใจอ่านหนังสือที่กรมฯส่งให้

2. ในบางครั้งก็คิดว่าวิชาชีพของตนเองต่ำต้อยกว่าเพื่อนข้าราชการด้วยกัน จึงคิดว่าตนเองไม่มีความรู้ในการถ่ายทอดวิชาการควบคุมและรักษาการณ์ให้กับรุ่นน้อง หรือรุ่นต่อรุ่น

        3. ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาในการเสนอรูปแบบการควบคุมแบบใหม่ๆ

        4. การที่มีสายการบังคับบัญชาแบบแนวดิ่ง ซึ่งมีผู้บังคับบัญชาหลายคน บางคนเห็นด้วย บางคนไม่เห็นด้วย

        5. การไม่สนับสนุนหรือสร้างแรงจูงใจขององค์กรในการจัดให้มีงานนวัตกรรมของหน่วยงาน

        6. การไม่สนใจใฝ่รู้ของคนในองค์กร

        7. การไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกไร้พรมแดน

        8. ผู้บริหารไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารแบบแนวใหม่ หรือหาเทคนิคในการบริหารใหม่ๆ มาสู่วงราชการ

        9. ความไม่เข้าใจของประชาชนทั่วไปที่กรมราชทัณฑ์ ได้ปรับเปลี่ยนระบบ การสมัครข้าราชการทาง Internet  หรือการเยี่ยมญาติทาง VDO Conference

-----------------

 

ฉลอง บ่มทองหลาง ตัวแทนกลุ่ม

กราบเรียนอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะ เพื่อนๆ รปม. ผู้อ่านทุกท่าน

วันนี้เป็นวันสิ้นสุดการเรียนการสอนกับอาจารย์ จีระ  พร้อมคณะ ของท่าน ตั้งแต่วันที่ 3 -24 ก.พ.คณะของอาจารย์จะรได้มาสอนให้ Innovation  ใหม่ๆ กับนักศึกษา เป็นอย่างมากได้ให้แนวทางในการดำเนินชีวิต แนวทางในการคิดทำในสิ่งใหม่ๆ ทำอะไรไม่ซ้ำซาก ให้คิดนอกกรอบพยายามที่นำความรู้เหล่านี้ให้ตกผลึกจงได้ แล้วนำไปใช้กับการทำงานต่อไป..

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ

- ให้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง

- ความคิดสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดได้อย่างไรในแต่ละขั้นตอน

ความคิดสร้างสรรค์  คือ อยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ เพื่อจะได้เพิ่มศักยภาพต่อระบบราชการ ถ้าคนเรามีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการรับในสิ่งใหม่ๆ ความคิดริเริ่มจะมีในตัวตนของเรา

จะเกิดขึ้นได้โดยที่ผู้ที่เป็น GM   จะต้องให้ความสำคัญด้วย  ในระบบต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ในระบบราชการความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องมีผู้บริหารระดับสูง Leadership ผลักดัน และเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ไปศึกษาจากภายนอก เพื่อนำมาผลักดันให้หน่วยเกิดการพัฒนาต่อไป

ความคิดสร้างสรรค์ ( Grativity ) จะเกิดขึ้นได้ในระบบราชการ  วันนี้กลับไปคิดดูอีกที่ว่า ทำไมระบบราชการบ้านเราถึงใหญ่โตเช่นนี้ ได้คำตอบในใจอยู่แล้วว่า ระบบราชการที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ที่ใหญ่โตมันเกิดมาจากสายงานที่ซ้ำซ้อน มีการบังคับบัญชากันหลายชั้น ซึ่งการปกครองในภาคนี้ดูแลไม่ทั่วถึง เมื่อการดูแลไม่ทั่วถึงแล้วทำให้ข้าราชการขาดประสิทธิภาพในการทำงาน  ปัญหาไม่ใช่จะเกิดเฉพาะระดับหัวหน้า ในระบบราชการส่วนใหญ่แม้ว่าผู้บริหารระดับสูงจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้าย เพื่อกำหนดทิศทางขององค์การ แต่ผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลไม่ควรแต่เพียงทำหน้าที่ให้การสนับสนุนการทำงานสายปฏิบัติการเท่านั้น  ในทางปฏิบัติ ผู้บริหารทรัพยากรบุคคลควรจะมีคณะกรรมการ หรือชุดทำงาน ซึ่งเป็นความจำเป็นที่จะต้องกำหนดและตระหนักในบทบาทของผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลในการทำงานขององค์การนั้น หรือหน่วยงานราชการนั้น ที่จะนำปัญหาของบุคคล และปัญหาในหน่วยงานมาบูรณาการเข้าด้วยกันที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบหรือการแข่งขัน เพื่อนำมาประเมินบทบาทและพัฒนาปรับปรุงการบริการ หรือการบริหารจัดการเสียใหม่

จุดอ่อน.

    - ข้าราชการทำงานหน้าเดียว ไม่ตื่นตัว รู้ทันโลก ไม่ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆ

            - ข้าราชการรับคำสั่งแบบ top down

            - ข้าราชการไม่ชอบที่จะคิดทำงานนอกกรอบ  

            

 จุดแข็ง

-        ระบบราชการใหญ่

-        การทำงานเป็นระบบ

-        มีงบประมาณที่ลงตัว

-        มีสวัสดิการมั่นคง

           

 

กรณีศึกษา สถานีดับเพลิงสามเสน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เดิมข้าราชการ -ไม่ได้ออกพบปะประชาชน ชุมชนในพื้นที่   

                   รับผิดชอบ 

               -ไม่ได้ออกแนะนำการใช้เครื่องดับเพลิงที่ชุมชนมีอยู่

 -ไม่ได้ออกให้ช่วยเหลือ ประชาชนเมื่อมีเหตุ สาธารณภัย

              -การทำงานของพนักงานดับเพลิง 24 ชม.ไม่มีเวลาพักผ่อน

กระบวนการคิดสร้างสรรค์ มีขั้นตอนอย่างไร

 

1.  โดยการอบรมให้พนักงานได้เพิ่มความรู้และทักษะ เพิ่มความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มการเข้าถึงประชาชน ให้คำแนะนำการใช้เครื่องดับเพลิงในชุมชนที่เป็นจุดเสี่ยง  ออกให้ความช่วยเหลือ เมื่อเหตุสาธารณภัย ไม่ว่าจะเป็น การตีต่อ จับสัตว์เลื้อยคลาน ต่างๆ

2. จัดเวรการทำงานให้เจ้าหน้าที่ได้พักผ่อน เพื่อไม่ให้เกิดความเครียดจากการทำงาน

3. ส่งพนักงานดับเพลิงฝึกทบทวนทักษะในการทำงาน ฝึกการเรียน นวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การใช้ระบบ ไอที การอ่านแผนที่ ระบบGIS สิ่งเหล่านี้กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อที่จะนำหน่อยให้เป็นที่รู้จักของประชาชน ในภาพดีมากขึ้น.

  สมาชิกกลุ่ม 5

1.       น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ              50038010001

2.       น.ส. สายฝน ด้วงทอง                 50038010011

3.       น.ส. นงนุช บัวขำ                       50038010012

4.       น.ส. ญานิสา เวชโช                   50038010013

5.       น.ส. อมเรศวร์ พฤฒปภพ             50038010023

6.       น.ส. วิจิตรา  จุลกรานต์               50038010028       

 7.      น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร               50038010035

8.       นาง กัณจนา  งามน้อย                50038020006

9.       นาย ฉลอง บ่มทองหลาง             50038020010

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน  ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

ข้อที่ 1  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการว่ามีอะไรบ้าง

 

        ดิฉันขอยกปัญหาอุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการว่ามีอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นขออธิบายความหมายของคำต่างๆ ดังนี้

 

 “Innovation” หมายถึง สิ่งใหม่ วิธีการใหม่ ความคิดใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมๆ กันแล้ว หมายถึง นวัตกรรม (Innovation) เป็นความใหม่ที่มีประโยชน์กว่าของเดิม

 

“Learning Organization หมายถึง องค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

 

“HR” (Human Resource) หมายถึง การบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา จูงใจ และเก็บรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

          

        ในทุกวันนี้ แนวคิดและเทคนิคการปฏิบัติงานใหม่ๆ ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ได้เกิดขึ้นในองค์กรเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานระบบใหม่ ซึ่งปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ ทำให้องค์กรนั้นๆ ไม่มีการพัฒนา

 

ปัญหาอุปสรรคในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ของระบบราชการ เกิดขึ้นจาก

1.      วัฒนธรรมขององค์กร

2.      ขาดภาวะผู้นำ

3.      ผู้บริหารบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ

4.      บุคลากรไม่เปิดใจรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

5.      การหวงความรู้

       

        จากอุปสรรคที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดิฉันสรุปได้ว่า นวัตกรรมจะสำเร็จได้ต้องอาศัยภาวะผู้นำที่กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยนแปลง บวกกับการบริหารจัดการในการกระตุ้นให้บุคลากรในหน่วยงานให้ความร่วมมือร่วมใจ พร้อมที่จะก้าวเดินไปพร้อมๆ กันอย่างรวดเร็วแต่มีความมั่นคง และองค์กรใดที่จะพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง จึงจะถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่ไม่สูญเปล่า

 

ข้อที่ 2  ดูเทปการสนทนา Innovation ระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ คุณศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

        ตามที่ได้ดูเทปการสนทนาของทั้งสองท่าน ดิฉันพอจะจับใจความได้ว่า งานของท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ จะเป็นงานต้นน้ำ คือเป็นผู้ริเริ่ม ส่วนงานของคุณศุภชัย หล่อโลหการ จะเป็นงานปลายน้ำ คือ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ซึ่งคุณศุภชัย ได้แบ่งนวัตกรรมออกเป็น 3 อย่างคือ

1.      นวัตกรรมที่สำคัญคือ ทำไมต้องทำ

2.      การบริหารทรัพยากรบุคคลต้องเป็นแบบใหม่

3.  การปฏิบัติจะขาดคนนำนวัตกรรมไม่ได้ เพราะเป้าหมายขึ้นอยู่กับกระบวนการปฏิบัติและการตัดสินใจที่จะให้คนอื่นยอมรับหรือเห็นด้วย

 

    นอกจากนี้ คุณศุภชัย ยังกล่าวอีกว่า นวัตกรรมนั้นจะย้ำอยู่กับที่ไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้แต่นักร้องยังต้องใช้นวัตกรรม หรือแม้กระทั่งสังคมและการศึกษายังต้องมีอะไรใหม่ๆ เพื่อจะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ ดังนั้น การสร้างนวัตกรรมต้องเรียนรู้อะไรหลายๆ อย่างถึงจะสำเร็จ การสร้างนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเข้าห้องแล็ป เพราะไม่ใช่วิจัย แต่การสร้างนวัตกรรม คือ ต้นน้ำ เพราะเป็นการให้ความรู้ และปลายน้ำ คือการนำไปทำจริงๆ นั่นเอง

เรียน อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

  
      จากการเรียนในวันเสาร์ ที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ที่ผ่านมาผมได้เรียนและเกิดความรู้อันจะนำมาพัฒนาตนเองในการที่จะปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงาน น้ำเสียงอาจารย์เรียบ ๆ แฝงด้วยความน่ารักฟังแล้วรู้สึกอบอุ่น ซึ่งจากการเรียนทำให้ได้เรียนรู้ เนื้อหาที่พอสรุปเป็นหัวข้อหลัก ๆ ดังนี้
      การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นั้นมีความสำคัญ เพราะคนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในความก้าวหน้าหรือล้มเลวขององค์การ ดังนั้นหน่วยงานหรือองค์ต้องต้องมั่นใจว่าได้คนที่ดี ที่เก่ง มีความสามารถเข้ามาทำงานอยู่ในองค์กร โดยมีวิธีการคัดสรรและการประเมิน

คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากรเข้าทำงาน
      - ภาวะผู้นำ  มีภาวะผู้นำหรือไม่ มีการตัดสินใจที่ดี มีการเห็นอกเห็นใจลูกน้อง เป็นต้น
      - การสื่อสาร อาจารย์แนะว่าบางทีต้องเอาโหรศาสตร์มาเป็นตัวช่วยบ้าง
      - ศักยภาพการเรียนรู้
      - พลังในการทำงาน มีความกระตือรือร้น หรือไม่ มีแรงจูงใจ มีเป้าหมายในการทำงานหรือไม่
      - การทำงานเป็นทีม รู้จักทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ one man show
      - การบริหารจัดการในเรื่องงาน เป็นต้น ฯ 

โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่งด้วยรูปแบบ 5 รูปแบบ คือ
      - การประเมินความรู้และทักษะ ว่าเขามีความสามารถและถนัดด้านไหน เก่งเรื่องอะไรเพื่อจัดสรรงานให้ถูกตามความสามารถและความรู้ที่เขามี
      - การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ
      - การวางแผนพัฒนาคนเก่ง ด้านความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ
      - การดำเนินการตามแผน
      - การประเมินความก้าวหน้า ติดตามผลว่ามีความคืบหน้าพัฒนาขนาดไหน

หลักการรักษา คนเก่ง ให้มีความรักองค์กรต้องอาศัย "CARE MODEL"  คือ

      - C คือ Creative Community หมายถึง การสื่อสารสองทางอย่างสร้างสรรค์
      - A  คือ  Atmosphere and Appreciation for All หมายถึง บรรยากาศและการชื่นชม
      - R  คือ  Respect and Reason for Being หมายถึง ความเคารพ และความมีเหตุมีผลในการอยู่ร่วมกัน
      - E  คือ  Empathy and Enthusiasm หมายถึง ความเห็นอกเห็นใจให้กำลังใจต่อกัน ส่งเสริมผลักดันให้กระตือรือร้นในการทำงาน 

ในช่วงบ่าย อาจารย์ได้สอนถึงกลยุทธ์ซึ่งมีเนื้อหา ดังนี้
เหตุผลของการที่องค์กรต้องวางแผนกลยุทธ์
      - มีการแข่งขัน
      - มีการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
      - ต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์กับ 5 C

      C 1  :  Context   กลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับบริบท  เช่น  การเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  และความต้องการของภาครัฐ
      C 2  : Change  กลยุทธ์ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง
      C 3  : Competition การวางกลยุทธ์เป็นการกำหนดกลวิธีในการรักษาความได้เปรียบ
      C 4  : Customer แสวงหาลู่ทางในการตอบสนองลูกค้า
      C 5  : Competency ความสามารถในหาข้อมูลต่างๆ

การคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์
      1) ถ้าท่านเป็นลูกค้า  ท่านต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
      2) ถ้าจำเป็นต้องแข่งขัน  ผลการแข่งขันอยากให้เป็นอะไร
      3) ท่านอยากให้หน่วยงานเลิกทำกิจกรรมอะไร

ความสำคัญของการคิดเชิงกลยุทธ์

      1) ปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้บริโภค
      2) การเพิ่มขีดความสามารถ (สมรรถนะ) หรือ Competency  ของคนในองค์กรในการแข่งขัน
      3) การสร้างความสัมพันธ์หรือการสร้างพันธมิตรที่ดีภายในและภายนอกหน่วยงาน
      4) การกำหนดเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน

คุณค่าของการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นประโยชน์ต่อ  : -

      1) กำหนดทิศทางขององค์กร
      2) เสริมความมุ่งมั่นของคนในองค์กร
      3) สร้างความสอดคล้องในวิธีการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      4) สร้างศรัทธาและเชื่อมั่นต่อลูกค้าหรือผู้รับบริการ

สรุป

Why?  ทำไมต้องพัฒนาทุนมนุษย์
       เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา องค์กรที่สามารถปรับตัวได้เร็ว จะในปัจจุบันเป็นการบริหารแบบผู้เชี่ยวชาญการบริหาร (Administrative expert) และผู้ชี้นำให้พนักงานบรรลุสู่ความสำเร็จ (Employees' champion) ซึ่งเน้นที่งานประจำวัน สามารถซื้อบริการจาก outsource ได้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่ต้องสามารถอยู่รอด สำเร็จ และยั่งยืน การเพิ่มทุนมนุษย์เป็นการเพิ่มสมรรถนะขององค์กร องค์กรต้อง Rethinking เกี่ยวกับธุรกิจ กลยุทธ์ การตลาด หลักการ การบริหารจัดการ และภาวะผู้นำ

What?  ทุนมนุษย์คืออะไร

       ทุนมนุษย์ คือ สมรรถนะของบุคคลที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและองค์การ
ทุนมนุษย์เป็นตัวขับเคลื่อนทุนอื่นๆ ในองค์การทั้งทุนนวัตกรรม ทุนกายภาพและทุนลูกค้า
How?  การบริหารทรัพยากรมนุษย์
      การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นแบบพันธมิตรทางกลยุทธ์ (Strategic partner) ซึ่งเน้นที่อนาคต/กลยุทธ์ ด้านกระบวนการ ส่วนบทบาทของนักบริหารจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ซึ่งเน้นที่อนาคต/กลยุทธ์ ด้านคน

..ท้ายสุดต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ได้มาสอน เสนอแนะแม้ผมจะไม่ได้อะไรหรืออาจจะไม่ได้พัฒนาตนเองให้ได้เทียบเท่ากับที่อาจารย์คาดหวัง อย่างน้อยก็ได้รู้อะไรเพิ่มมากขึ้น น้อยสุดก็คือวิธีการเขียนคำตอบว่าต้องประกอบด้วย การเปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง แล้ววิเคราะห์วิจารณ์ ขอบคุณครับ..
 

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัส 50038010012

 

สวัสดีค่ะ     ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม  นาคสุข คณะทำงานและท่านผู้อ่านทุกท่าน

 ถาม   เรียนอะไรบ้าง

ตอบ  การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ , การนำ HCM ไปพัฒนางานในองค์การ , ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ , ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ , ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 , โมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง , สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน , วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

 ถาม   เรียนแล้วได้อะไรบ้าง

ตอบ  รู้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์สำคัญเพราะเป็นการพัฒนาคน เมื่อคนเก่ง งานก็ดี องค์กรก็ดี

 รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" 5 ขั้นตอน แต่อาจารย์ยม ต่อยอดข้อที่ 6 คือ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 สามารถสร้างทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จได้ คือ ด้านซ้ายมือเป็นปัญหา ด้านขวาเป็นความสำเร็จ เช่น ซ้ายศึกษาต่ำ ขวาสร้างโอกาสทางการศึกษา เป็นต้น

 ได้ปรัชญาคือ ชีวิตคือความก้าวหน้า รักความก้าวหน้าจงหมั่นศึกษาตลอดชีวิต

ขอขอบคุณ  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม  นาคสุข คณะทำงานและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ประกาศ ประชาสัมพันธ์

ประกาศ

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ขอแจ้งกำหนดการสอบวิชาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ดังนี้

สอบวันเสาร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมพณิชยกุล (โรงเรียนมัธยมสาธิต)
ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๒ มีการเรียนการสอนปกติ ถ้าใครจะไปเลือกตั้ง สว. ขอให้ไปช่วงเช้า ให้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากนั้นขอให้รีบกลับไปเรียนตามปกติค่ะ

                                ประกาศ

สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาว รปม.รุ่น ๔ ทุกท่าน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ขอแจ้งกำหนดการสอบวิชาของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ ดังนี้

สอบวันเสาร์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ณ ห้องประชุมพณิชยกุล (โรงเรียนมัธยมสาธิต)
ส่วนวันอาทิตย์ที่ ๒ มีการเรียนการสอนปกติ ถ้าใครจะไปเลือกตั้ง สว. ขอให้ไปช่วงเช้า ให้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง หลังจากนั้นขอให้รีบกลับไปเรียนตามปกติค่ะ

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

 

เรียน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์

นักศึกษา ชาว รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน และผู้อ่านทุกคน

จากการได้ชมวีดีทัศน์ การสนทนาระหว่าง ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ กับท่าน ศุภชัย   หล่อโลหะการ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  ทำให้เราได้ทราบหลายๆสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับความคิดของคนเรา  การที่คนเรามีความคิดสิ่งใหม่ๆ การปฏิบัติ หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ หรือหาสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ที่จะนำมาสู่ตัวเรา องค์การ  สิ่งเหล่านี้เรียกว่า นวัตกรรม ( innovation ) และจากการสนทนาของทั้งสองท่าน ทำให้เราทราบว่า การนำนวัตกรรมมาใช้ให้จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ และสังคม  นวัตกรรมนี้จะสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บุคคล และช่วยให้เกิดความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น  อย่างไรก็ตามในการสร้างนวัตกรรม หรือการคิดสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นถ้าบุคคลใดหรือกลุ่มใดนำไปใช่ในทางที่ให้เกิดประโยชน์แล้วก็จะสามารถนำพาองค์การ หรือบุคคลพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดๆก็จะทำให้ผลเสียตามมาอย่างมากมาย

น.ส.ญานิสา   เวชโช 50038010013

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ทุกท่าน เพื่อนนักศึกษา รปม.4และท่านผู้อ่านทุกท่าน

    อุปสรรคในการสร้าง  Innovation ,Learning  Organization  และ  HR  ใน

ระบบราชการมีอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างในองค์กรประกอบ

- Innovation คือ นวัตกรรม หมายถึง  ความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ

ให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์กับทั้งองค์กรและตัวบุคคล

- นวัตกรรม  = การเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวล้ำคู่แข่ง

อุปสรรค 

          1. ผู้บังคับบัญชา – ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอก ทำตัวคล้ายกบในกะลา เคยทำอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการทำงาน

          2. ไม่สนใจลูกค้า -  เนื่องจากการไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชาในองค์กร ทำให้ระบบการให้บริการจึงเป็นไปแบบเดิม one stop serviceที่นำมาใช้ สุดท้ายก็คว้าน้ำเหลว นอกจากจะให้บริการแบบเดิม ๆ แล้ว การใช้คำพูด และการแสดงกริยาท่าทาง ที่มีต่อผู้มาใช้บริการ กลับเป็นไปในทางด้านลบ ไม่มีความรู้สึกถึงคำว่า

 Service mind

          3. เจ้านายไม่เปิดโอกาส  ผู้บังคับบัญชาในองค์กรมองแต่ที่จะสนับสนุนคนของตนเอง โดยใช้ระบบอุปถัมภ์ ไม่มองที่ความรู้ ความสามารถ ใช้บรรทัดฐานแค่ความรักใคร่ชอบพอ ทำให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานได้จริง และมีประโยชน์กับองค์กร กลับไม่ได้เกิด ไม่มีการเลื่อนขั้น ซึ่งแตกต่างจากพวกที่เอาแต่ประจบสอพลอ เลียแข้งเลียขาเจ้านาย เอาใจเจ้านาย ลับหลังด่า แต่กลับได้ดิบได้ดี

ยกตัวอย่าง   สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 6  กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน   

                   ผู้บังคับบัญชาหลายคนที่นี่ เก่งแต่พูดไม่ค่อยปฏิบัติ มีนิสัยลำเอียง รักใคร่ชอบพอใครก็จะผลักดันแต่คนนั้น ซี 6 กับ ซี 7 ชอบทะเลาะกัน ไม่ค่อยประสานงานกันในการทำงาน ใช้ความคิดของตัวเองเป็นหลักงาน ชอบเอาชนะกัน ขี้ฟ้อง แต่ไม่ทำงาน และทำงานไม่เป็น งานปฏิบัติการส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของข้าราชการซี1-3 และลูกจ้าง

 -         จากการชม  VTR  ในรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ซึ่งเป็นบทสนทนา  ระหว่าง  ดร.จีระ  และคุณศุภชัย   หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ   แล้วได้อะไรบ้าง

          1.  ได้เข้าใจถึงความหมายและคำจำกัดความ ของคำว่า  นวัตกรรม        

          2.  ทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์

          3.  ความคิดสร้างสรรค์ต้องมาจากการคิดที่เป็นระบบ ( System Thinking )

          4.  นวัตกรรม ต้องทำทุกอย่างให้สำเร็จควบคู่กันไป ทั้งระบบการบริหารจัดการที่ดีทั้งเทคโนโลยี และกลไกตลาด

 

 

สุรภัทร ปานทอง รปม. รุ่นที่ 4

 

เรียน  ศ.ดร.จีระ ฯ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

Innovation  หมายถึง การทำ  การคิดสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากการนำ

เทคโนโลยีมาประกอบอย่างสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม

 

Learning  Organization   หมายถึง  องค์กรที่ประกอบด้วย

บุคลากรที่มีความใฝ่หาความรู้  พยายามศึกษาหาความรู้และนำมาประยุกและแบ่งปันความรู้กันภายในองค์กรเพื่อใช้การพัฒนาให้เท่ากันกับยุคโลกาภิวัตน์

 

อุปสรรคในการสร้าง Innovation,Learning Organization    คือ 1. ผู้นำใน

องค์กรขาดภาวะผู้นำ ขาดวิสัยทัศน์   ขาดการศึกษาและทำความเข้าใจหลักทฤษฏี  8H's  และ 8K's ของศ.ดร.จีระ ฯ หากผู้นำในองค์กรได้ศึกษาและค้นคว้าหลักทฤษฏีดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจำนำให้องค์กรนั้นมีความทันสมัย เท่าทันยุคโลกาภิวัตน์อย่างแน่นอน  ขณะเดียวกันบุคลากรภายในองค์กรต้องให้ความร่วมมือในการพัฒนาด้วย

 

                       

                        จากการขมเทปการสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ ฯ และคุณศุภชัย ฯ ในหัวข้อ Innovation      ท่านทั้งสองได้สนทนากันถึงเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ การหาสิ่งใหม่ๆในยุคโลกาภิวัตน์ โดยใช้ความคิดบวกกับความรู้ในเชิงสร้างสรรค์  เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ  ทั้งสองท่านยังได้แนะนำให้คนไทยต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นเพื่อจะได้นำสิ่งเหล่านั้นมาเอื้อประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคมไทยและให้ทันกับยุคโลกาภิวัตน์  ถ้าไม่คิดไม่ใฝ่รู้ก็จะทำให้ประเทศชาติล้าหลังได้

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เรียน ศ.ดร. จีระ   หงส์ลดารมภ์

นักศึกษา ชาว รปม.รุ่น 4 ทุกท่าน และผู้อ่านทุกคน

จากการได้ชมวีดีทัศน์ การสนทนาระหว่าง ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  กับท่าน ศุภชัย   หล่อโลหะการ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  ทำให้เราได้ทราบหลายๆสิ่งหลายอย่างเกี่ยวกับความคิดของคนเรา  การที่คนเรามีความคิดสิ่งใหม่ๆ การปฏิบัติ หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ หรือหาสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ที่จะนำมาสู่ตัวเรา องค์การ  สิ่งเหล่านี้เรียกว่า นวัตกรรม ( Innovation ) และจากการสนทนาของทั้งสองท่าน ทำให้เราทราบว่า การนำนวัตกรรมมาใช้ให้จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ และสังคม  นวัตกรรมนี้จะสามารถช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บุคคล และช่วยให้เกิดความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้น  อย่างไรก็ตามในการสร้างนวัตกรรม หรือการคิดสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้นถ้าบุคคลใดหรือกลุ่มใดนำไปใช่ในทางที่ให้เกิดประโยชน์แล้วก็จะสามารถนำพาองค์การ หรือบุคคลพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้านำไปใช้ในทางที่ผิดๆก็จะทำให้ผลเสียตามมาอย่างมากมาย

อุปสรรคในการสร้าง innovation  and Learning Organization and HR .ในระบบราชการ

การที่คนเรามีความคิดสิ่งใหม่ๆ การปฏิบัติ หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ หรือหาสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ ที่จะนำมาสู่ตัวเรา องค์การ  สิ่งเหล่านี้เรียกว่า นวัตกรรม  Innovation  

องค์กรที่มีการสร้างช่องทางที่ก่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและ กันระหว่างบุคคลากร ควบคู่ไปกับการรับรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญคือทำให้เกิดในการแสวงหาทางปฏิบัติให้ดีที่สุด คือ Learning Organization

HR ( Human Resource ) หมายถึงการบริหารการจัดกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา  จูงใจ และการเก็บรักษาบุคคลากรทีมีศักยภาพสูงไว้ในองค์กร เพื่อให้องค์กรมีความก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

ในระบบราชการดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ในการที่จะทำงานหรือหรือการติดต่อของหน่วยงานราชการจะต้องผ่านระบบขั้นตอนที่ยุ่งยากมาก ในการที่บุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาเสนอต่อผู้บังคับบัญชานั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ระบบงานทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องสั่งจากบนลงล่าง ในการเสนอ ออกความคิดเห็นต่างๆ จะเป็นเรื่องยากสำหรับในระบบราชการ  นี่คืออุปสรรคในการสร้าง นวัตกรรมของบุคลากรในหน่วยงาน และปัญหาหลายอย่างเช่น

-          ขาดผู้นำและผู้ที่มีภาวะผู้นำที่ดี

-          ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

-          บุคลากรทำงานภายใต้ความกดดัน

-          ขาดแรงจูงใจในการทำงาน

-          ระบบการบังคับบัญชาซ้ำซ้อน ทำให้เกิดปัญหาในการสั่งการ

-          ขาดการจัดการที่ดีในหน่วยงานหรือองค์กร

-          ผู้บังคับบัญชาไม่ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น หรือผู้ใต้บังคับบัญชา

-          ฯลฯ

ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการสร้างนวัตกรรมในหน่วยงาน หน่วยงานใด หรือองค์กร

ใดสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ องค์กรนั้นหรือหน่วยงานนั้นก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมใหม่ๆ ก็จะถูกคิดขึ้นมาใช้อย่างต่อเนื่อง องค์กรนั้นก็สามารถที่จะนำพา ขับเคลื่อน ระบบต่างๆ ในหน่วยงาน ไปได้อย่างดีเยี่ยม

            สำหรับตัวกระผมเอง ทำงานรับราชการเป็นตำรวจระดับชั้นประทวน ในการทำงานปฏิบัติหน้าที่นั้น จะต้องคอยฟังคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆจะไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ ในการที่เราตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ไม่ให้เกิดความบกพร่องต่อหน้าที่ ก็ถือว่าเราสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีที่สุดแล้ว การไม่เอาเปรียบสังคม การร่วมอยู่ในสังคมอย่างโดยสงสุข และทำตัวไม่ให้เป็นภาระแก่สังคม ข้าพเจ้าถือว่านี่คือเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์เรา

 

นางสาวศศินี โพธิ์ทอง

 

ข้อ 1 ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

                การดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นการสร้างบุคลากรที่ดีที่สุดในองค์กร เพื่อพัฒนาให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสภาวการณ์แข่งขันที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง นั้น

                การสร้างบุคลากรแต่ละคนให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ต้องมีการประเมินความรู้ และทักษะเดิมที่เขามีอยู่แล้ว นำมาวิเคราะห์ค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเขาเพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบในการสร้างคนเก่ง-คนดีขององค์กร พัฒนาความสามารถของเขาโดยการเข้ารับการฝึกอบรม การลงมือปฏิบัติงาน การสร้างสถานการณ์ที่ตรึงเครียดเพื่อให้เขาแสดง Ego ออกมา แล้วนำผลการประเมินมาวางแผนการพัฒนาในตัวบุคลากรให้เกิดองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมที่มีอยู่

                การนำสมรรถนะในการบริหารคนมาใช้นั้น เป็นการสร้างความเป็นกันเองให้เกิดกับบุคลากรและองค์กร ประสานความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรด้วยกันเอง สร้างปฏิสัมพันธ์ในองค์กรได้เป็นอย่างดีและรวดเร็วที่สุด

                การนำสมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ เพื่อสร้างผลผลิตที่เกิดขึ้นกับลูกค้าให้มีความประทับใจในองค์กรมากที่สุด และรู้จักจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด

ข้อ 2 คนที่จะอยู่รอดในอนาคตต้องมีภาวะเป็นแบบใด

ในโลกมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มนุษย์ทุกคนต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะปรับตัวตามสภาวะแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดในสังคมให้ได้ การเปลี่ยนแปลงตนเองในองค์กรก็เช่นเดียวกันต้องรู้จักเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับองค์กรที่เรามีส่วนร่วมอยู่ รู้จักรับวัฒนธรรมองค์กรมาปฏิบัติ

                คุณลักษณะที่ของคนที่จะสามารถอยู่รอดได้ในอนาคตประกอบด้วย

                1. ภาวะความเป็นผู้นำ องค์กรต้องการผู้นำที่มีความรู้ ความสามารถเพื่อนำพาองค์กรให้มุ่งไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้นำต้องรู้จักดึงความสามารถบุคลากรในองค์กรออกมาให้ได้มากที่สุด

                2. การตอบสนองต่อความเครียด มนุษย์ทุกคนต้องเจออุปสรรคที่ผ่านเข้ามามากมายในชีวิตขึ้นอยู่ที่ว่าจะสามารถจัดการกับความเครียดหรืออุปสรรคต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างไร ในอนาคตมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงทำให้คนต้องรู้จักควบคุมอารมณ์และปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องใช้ความรู้และปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่าง

                3. การทำงานเป็นทีม องค์กรในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงจากการทำงานตัวใครตัวมันมาเป็นการทำงานแบบบูรณาการนำองค์ความรู้ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ดังนั้นการทำงานเป็นทีมต้องมีความสมานสามัคคีกัน ใช้การสื่อสารที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน เช่น สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัดต้องขอความร่วมมือจากสำนักงานจังหวัดเพื่อจัดการกับข้อมูลที่จำเป็น ในการนำมาพัฒนาจังหวัด หรือจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี, หน่วยงานต่างๆต้องการข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมใหม่ในองค์กร , องค์กรต้องมีการประสานการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างผลงานที่มีคุณภาพออกสู่ตลาด เป็นต้น

                4. การวิเคราะห์ การดำเนินการปฏิบัติงานต่างๆ ขององค์กรต้องใช้การศึกษาหลากหลายวิธีเพื่อสำรวจข้อดีข้อเสีย ผลกระทบที่อาจเกิดกับองค์กรหรือผลกระทบที่อาจเกิดกับสังคม     ส่วนใหญ่ การวิเคราะห์ถึงเหตุและผลทำให้องค์กรลดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นออกไป หรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กรเพราะมีข้อมูลมาสนับสนุนการดำเนินงาน

                การรักษาตนเองให้สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะที่มีแรงกดดันอย่างมากในอนาคตคนทุกคนต้องรู้จักนำทุนทางความรู้และทุนทางปัญญาดึงออกมาใช้ให้มากที่สุด เพราะเป็นแก่นที่ทุกคนสร้างขึ้นมาเอง

 

ข้อ 3 วิธีที่จะพัฒนาให้เขาเกิดความรู้ความสามารถ

                การพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างทุ่มเทและเกิดผลผลิตที่มีคุณค่า มีมาตรฐานนั้น องค์กรต้องรู้จักสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เกิดขึ้นในองค์กร

องค์กรต้องมีการจัดการ การเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Development) การจัดการฝึกอบรม สัมมนา การจัด workshop การลงมือปฏิบัติจริง เป็นการเพิ่มความสามารถเฉพาะทางให้เกิดกับผู้ปฏิบัติงานอย่างแท้จริง การลงมือปฏิบัติงานจริงเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด  ทำให้ทราบกระบวนงานที่แท้จริง รู้จักอุปสรรค การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน ทำให้ทราบความสามารถของบุคลากรแต่ละคนว่าอยู่ในระดับใด และจะสามารถพัฒนาให้มีระดับที่เทียบเท่ากับมาตรฐานขององค์กร ทำให้เกิดผลดีที่เกิดกับองค์กรเพราะเมื่อบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา           มีความสามารถเพิ่มขึ้นนั้น ผลผลิตที่เกิดกับองค์กรก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น บุคลากรจะรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเพราะผู้บริหารให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับความรู้ที่จะนำมาบริหารองค์กร เขาจะรู้สึกรักและเอาใจใส่ในหน้าที่การงาน องค์กรจะมีภาพลักษณ์ในด้านบวกมากขึ้น บุคลากรมีความศรัทธาต่อองค์กร บุคลากรเป็นส่วนสำคัญในการนำองค์กรไปสู่จุดหมาย ดังนั้น การเอาใจใส่ในตัวผู้ปฏิบัติงานให้ได้รับทุนทางความรู้เพิ่มขึ้นนั้น จะเกิดได้จากแรงกระตุ้นของผู้บริหารที่มอบให้ แล้วขึ้นอยู่กับตัวผู้ปฏิบัติเองว่าจะสามารถนำความรู้นั้นมาใช้ได้จริงหรือไม่ เป็นต้น  

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

 เรียน  อาจารย์ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ทุกท่าน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากการเรียนวันอาทิตย์ที่ 24  กุมภาพันธ์  2550     มีการบ้านมา  2 ข้อ คือ

ข้อที่1 อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization .และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

Innovation หมายถึง   "นวัตกรรม" ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

Learning Organization หมายถึง องค์การแห่งการเรียนรู้ ว่าเป็นองค์การที่เน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยอาศัยรูปแบบของการทำงานเป็นทีมและเรียนรู้ร่วมกันและมีความรู้ความเข้าใจในเชิงระบบที่ประสานกันเพื่อขยายขีดความสามารถ ศักยภาพในการทำงานตลอดจนการได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง

HR  หมายถึง   การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา จูงใจ และเก็บรักษาบุคลากร ที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

อุปสรรคในการสร้าง Innovation

1.กฎระเบียบต่างๆ ไม่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ก็มี

2.การมีการแบ่งแยกระหว่างฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจำแต่ยังไม่ปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง  มีผลต่ออินโนเวชั่น

3.โครงสร้างเป็นปิรามิด มีสายการบังคับบัญชาที่ยาวและไปตามลำดับขั้น

4.มีกฎกติกาและกฎมายที่กำกับการทำงานขององค์กร

5.ทำงานตามหน้าที่ยากที่จะทำงานร่วมกันในเชิงบรูณาการ
6.เรื่องเทคโนโลยีก็เหมือนกัน แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลัก เป็นส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น

7.เรื่องทีมงาน การไม่สามารถหาคนมาสนับสนุนในสิ่งที่เราขาดได้ก็เป็นอุปสรรคเช่นกัน

อุปสรรคในการสร้าง Learning Organization 

1.สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ (I'm my position)
2.สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร (The enemy is out there) 
3.ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง (The Illustration of  taking change)
4.ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป (A fixation on events)
5.ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน (The delusion of learning from experience)
6.มีผู้บริหารที่ดีแต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The myth of management team)
7.ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป (The boiled frog syndrome)

8.ความคร่ำครึขององค์การ

9.ผู้นำในองค์การไม่มีความสามารถเพียงพอ

อุปสรรคในการสร้าง HR 

1.ขาดระบบความรับผิดชอบการตัดสินใจที่ชัดเจน

2.การตัดสินใจมักทำโดยผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา

3.เกิดระบบอุปภัมถ์

4.การให้รางวัลไม่สอดคล้องกับการวัดผลงานส่งผลให้ข้าราชการขาดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนา

5.มีความเป็นเจ้าขุนมูลนาย ขาดจิตสำนึกในการทำงานเพื่อประชาชน

ตัวอย่าง อบต.บ้านฉาง

1.กฎระเบียบต่างๆ ไม่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การทำงานจะต้องมีสายการบังคับบัญชาทำอะไรจะต้องรอหัวหน้างานเป็นผู้ตัดสินใจเพียงคนเดียวบางครั้งไม่ฟังความคิดเห็นของลูกน้อง บางครั้งลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเพราะหัวหน้าดุและไม่มีความสนิมสนมกัน ทำให้ไม่ได้รับความคิดสิ่งใหม่ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป

2.คนในองค์การยึดติดกับวัฒนธรรมเดิมๆ

3.สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ ส่วนมากจะปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับคำสั่งจากหัวหน้ามาเท่านั้นจะทำงานที่ตนเองที่ได้มอบหมายให้ทำเฉพาะของตนเอง

4.ปัญหาเรื่องเส้นสาย เรื่องการเมืองในองค์การทำให้การพัฒนาไม่ก้าวหน้าโปร่งใส

5.ระบบไม่เอื้อให้ข้าราชการทำงานเป็นทีมแต่ส่งเสริมให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวกและทำให้เกิดระบบอุปภัมถ์เข้ามาทำงานในองค์การ

ข้อที่ 2.  หลังจากดูเทป Innovation แล้วนักศึกษาได้อะไรบ้าง 

การที่เป็นจะประเทศมหาอำนาจจะต้องเน้นการพัฒนาคนและให้คนคิดนอกกรอบ

CEOทั่วโลกให้ความสำคัญกับ Innovation

ความหมายของ "นวัตกรรม" คือ "3 ต้อง" ได้แก่ 1.ต้องเป็นของใหม่ 2.ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ 3.ต้องมีประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม 

แต่สิ่งที่ "ศุภชัย" เน้นมากที่สุด คือเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่ธุรกิจใหม่

ความหมายของคำว่า  "นวัตกรรม" คือการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดในอุตสาหกรรมเคยนำเสนอต่อลูกค้ามาก่อน เพื่อสร้างความแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์จากสินค้าและบริการอื่นๆ ในตลาด การกระทำดังกล่าวเพื่อคาดหวังว่า ผู้บริโภคจะมีความจงรักภักดีในตราสินค้ามากขึ้น และเปลี่ยนไปซื้อสินค้าและบริการของคู่แข่งขันรายอื่นได้ยากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ยังจะนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน

จุดเริ่มของนวัตกรรมมักจะมาจากการที่ "บุคลากร" ในองค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)

ความคิดสร้างสรรค์ คือ การที่บุคลากรมีการคิดออกนอกกรอบเดิมที่เคยทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถสร้างความแปลกใหม่แตกต่างจากเดิมมากขึ้น และความคิดที่แปลกใหม่นี้จะนำไปสู่นวัตกรรมในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในกระบวนการดำเนินงาน หรือนวัตกรรมในตัวสินค้าและบริการ หลายครั้งสิ่งที่เป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้น ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก "วัฒนธรรมองค์กร" นั่นเอง

        ดังนั้น การที่จะกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กร  "คิดนอกกรอบ" ในแบบที่องค์กรต้องการนั้น ควรต้องมุ่งเน้นที่ "วัฒนธรรมและทัศนคติ" ของบุคลากรในองค์กรด้วย กล่าวคือ องค์กรนั้นๆ จะต้องมีความเชื่อมั่นในความสำคัญของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่จะนำองค์กรสู่ความสำเร็จ รวมถึงผลักดันให้บุคลากรในองค์กรคิดในเชิงสร้างสรรค์อยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญ คือ บุคลากรต้องยอมรับ "สิ่งใหม่" ที่จะเกิดขึ้นจึงจะนำความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นมาสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดกำเนิดนวัตกรรมในธุรกิจ มาจาก 2 แหล่งหลักด้วยกัน คือ
แหล่งแรก การคิดค้นภายในองค์กร
แหล่งที่มาเบื้องต้นของแนวคิดใหม่ในสินค้าและบริการ โดยองค์กรมักจัดตั้งหน่วยงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development-R&D) ขึ้นภายในองค์กร และจัดหาผู้ที่มีความสามารถในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่

เช่น  HDDVD รุ่นใหม่ของ Toshiba ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้นมาก หรือ กระบวนการในการทำงานรูปใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของ Wal-mart ให้กลายเป็น Electronic Supply Chain เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความรวดเร็วในการจัดการ

นวัตกรรมทั้งสองประเภทนี้ จะนำไปสู่ "มูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ" ขององค์กร
จะเห็นได้ว่า การเกิดนวัตกรรมที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่องนั้น โดยทั่วไปมักมาจากการกระตุ้นนวัตกรรม โดยการใช้วัฒนธรรมองค์กรเป็นกลไกผลักดันให้บุคลากรทั้งหมดขององค์กรตื่นตัวสร้างความแปลกใหม่และความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ

            แหล่งที่สอง การแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับนวัตกรรมจากภายนอก  หรือ นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)

ไม่จำเป็นว่าแนวคิดที่ดีจะต้องมาจากบุคลากรภายในกิจการแต่เพียงอย่างเดียว โดยลักษณะคือ เปิดรับแนวคิดใหม่จากภายนอก จะทำให้แนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหลากหลายกว่า รวมถึงอาจจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการพัฒนาเองทั้งหมด เนื่องจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาจจะกระจัดกระจายกันอยู่ในองค์กรต่างๆ

เช่น  การจัดจ้างภายนอก (Outsourcing) เลือกจ้างหน่วยงานภายนอก ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า หรืออาจจะร่วมมือในเชิงพันธมิตรกับหน่วยงานที่มีความพร้อมและบุคลากรในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ เพื่อร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมจากความถนัดของทั้งคู่ เป็นต้น  

    ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดการนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้มากขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับเทคโนโลยี เทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้กิจการสร้างความแปลกใหม่ในการผลิตและการดำเนินงาน โดยไม่ถูกจำกัดแนวคิดหรือความเชี่ยวชาญอยู่เฉพาะภายในองค์กรอีกต่อไป

จะเห็นได้ว่า องค์กรที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมแบบเปิด จะทำให้เกิดความหลากหลายของแนวความคิด ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญจากองค์กรภายนอกอย่างทันท่วงที โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาจากภายในเองทั้งหมด

เนื่องจากส่วนมากองค์กรหนึ่งๆ มักจะมีกรอบแนวคิดของตนเอง ทำให้การคิดนอกกรอบเพื่อสรรหาสิ่งใหม่นั้น ทำได้ค่อนข้างยาก จึงจำเป็นต้องนำแนวความคิดใหม่ที่หลากหลายและแตกต่างจากกรอบเดิมเข้ามาผสมผสานมากขึ้น ทำให้มีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

        ขอขอบคุณที่อาจารย์ศ.ดร.จีระ และ อ.ยม นาคสุขที่ได้มาถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษารปม.รุ่น4 และทีมงานทุกท่านและขอให้อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร สุขภาพแข็งแรงดีขึ้นทุกวันนะคะ

 

 

 

นางสาวจุฑารัตน์ เกษรปทุมานันท์ รหัส 50038010031

 เรียน  อาจารย์ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อาจารย์บุญรอด  สิงห์วัฒนศิริ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

สาระสำคัญที่เรียนกับอาจารย์บุญรอด 

New Public Management (NPM)  กับการนำมาใช้ในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ

-ความหมายและที่มาของ NPM

NPM เป็นหลักและแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่มีลักษณะผสมผสานความรู้แบบ Interdisciplinary กับการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Managerialism) ที่ต้องการให้มี Autonomy & Flexibility เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) และเกิด Results หรือ Outcomes Value for Money (ความคุ้มค่า) ในคุณภาพการบริการที่ให้แก่ประชาชน โดยใช้ Strategic Mgt.  RBM

ใช้เป็นหลักในการปฏิรูประบบราชการ กรณีไทยใช้ในการปฏิรูปราชการ ปี 2545 และปัจจุบัน

-Paradigms  Shift  ในการบริหารจัดการภาครัฐ

-กระบวนทัศน์ (Paradigms)ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ในภาครัฐ จากอดีตสู่ปัจจุบัน

รูปแบบเดิม

1.ยึด Input , Process , Output เพื่อมุ่ง Economy , Efficiency

2.Transparency  +  ธรรมรัฐGood  Governance

3.Knowledge  Based  Society

4.การตรวจสอบ การบริหารจากภายในภาครัฐ

5.Function  Based

6.Speed , Responsiveness

รูปแบบใหม่

1.เพิ่ม Outcomes และ  Results  เพื่อมุ่ง Effectiveness ด้วย เช่น มุ่งประโยชน์สุขของประชาชน ตามมาตรา 3/1 ของพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

2.ยังคงใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) เป็นหลักในการบริหารราชการ  แต่มุ่ง Transparency, Accountability Results , Integrity

3.Knowledge  &  Morality (Post  Knowledge Based Society)

4.การตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ เช่น ศาลปกครอง + การตรวจสอบโดยองค์กรภาคประชาชน / เอกชน

5.Function  Agenda (Mission) Area  Holistic  Approach

6.Speed และ Accuracy , Efficiency , Accountability

-ตัวอย่างสมรรถนะความเฉลียวฉลาดในการทำงานให้สำเร็จเมื่อมอบหมายงานโดยเฉพาะงานใหม่จะ--มีพฤติกรรมการทำงานแตกต่างกัน (บางกรณีเป็นคนที่สามารถจะทำงานนั้นได้)

-หลักคิดวิธีการทำงานและพฤติกรรมการปฏิบัติงานในภาครัฐ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

1.ยึดติดกับหน่วยงานตนเองหรืองบประมาณเป็นหลัก ประสานงานโดยใช้ลายลักษณ์อักษร

2.วุฒิสูง แต่จัดการงานไม่เป็น "ทำงานไม่เป็น"ทำงานได้แต่เป็นหัวหน้าทีมไม่ได้

3.ทำงานได้ รู้วิธีการ กระบวนการทำงานดี แต่ออมหรือผ่อนฝีมือ / ปัญญาไว้

4.อ่อนน้อมถ่อมตนกับผู้ใหญ่แต่เกรี้ยวกราดกับผู้ร่วมงานชั้นผู้น้อย

-พัฒนาการของการบริหารบุคคลในราชการไทยจาก  Personnel  Administration  ถึง                                                                                       Strategic Human Resource Management  

-พัฒนาการของการบริหารงานบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับต่างๆ จาก
 Personnel  Administration ถึง Strategic Human Resource  Management

-NPM ได้ถูกนำมาใช้ในราชการไทย ทั้งการสร้างต้นแบบ ขยายผล และนำมาใช้กำหนดเป็นปรัชญาหลักยึดในการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารทรัพยากรบุคคล (HR)

-หลักสากลที่นำมาปรับใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐของไทย

ขอขอบคุณ อาจารย์บุญรอด  สิงห์วัฒนศิริ ที่ได้มาถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษารปม.รุ่น4 และทีมงานทุกท่านและขอให้อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร สุขภาพแข็งแรงดีขึ้นทุกวันนะคะ

 

 

 

 

 

นางสาว ลาวัลย์ ลิ้มนิยม รปม.รุ่นที่ 4

 

กราบเรียน ท่าน อาจารย์ จีระ  หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ทุกท่าน ที่เคารพรัก และ สวัสดีเพื่อน ๆ รปม. รุ่น 4

 

                อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization , และ HR ในระบบราชการ

      จุดอ่อนของระบบราชการเมืองไทย   -   งบประมาณน้อย

                                                                          -    ด้อยโอกาสการเรียนรู้

                                                                          -    กฎระเบียบ ขั้นตอนมาก ทำงานตามกรอบ

                                                                          -    ผู้บริหารขาดภาวะผู้นำ

       จุดแข็งของระบบราชการเมืองไทย   -    ความมั่นคงในอาชีพ

                                                                          -    บริหารงานเพื่อประชาชนอยู่ดีมีสุข

                                                                          -    สวัสดิการดี

        ยุทธศาสตร์                                        -     ต้นทุนต่ำ

                                                                -     นวตกรรมไม่มี

                                                                -     โฟกัสลูกค้า

        ทำให้เกิดการทำงาน ตามกฎระเบียบ ขั้นตอนมาก ทำงานตามนโยบาย ตามกรอบ

                ตัวอย่างองค์กรของข้าพเจ้า เป็นโรงพยาบาลของรัฐ บริหารงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ตามสายการบังคับบัญชา ใช้งบประมาณจากรัฐบาลจัดสรรมาแต่ละปี

                ผู้ป่วยที่มารับบริการจำนวนมาก ซึ่งฐานะยากจน โรงพยาบาลต้องช่วยเหลือ ทำให้รายได้ของโรงพยาบาล รวมกับงบประมาณในแต่ละปีน้อย จึงมีต้นทุนในการบริหารงานต่ำ

                การที่จะเกิดนวตกรรมใหม่ ๆ ต้องมีภาวะผู้นำที่ดี แต่โรงพยาบาล ขาดงบประมาณขาดศักยภาพในการพัฒนา "คนเก่ง" ให้มี สมรรถนะ ในการบริหารคน (HR) สมรรถนะในการรอบรู้ สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ , สมรรถนะในการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์

                จะพัฒนาต้อง       -   ให้ไปสัมพันธ์คนเก่งภายนอกองค์กรบ้าง

                                                 -    ไปต่างประเทศเพื่อเพิ่มประสบการณ์

                                                 -    ให้ทำงานยาก แต่อยู่ในความดูแล

                การจัดการเชิงกลยุทธ           วิสัยทัศน์

                                                               

                                                                      พันธกิจ

 

                                      การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม จุดแข็ง จุดอ่อน

 

                        กำหนดเป้าหมาย และ วัตถุประสงค์ (ระดับกอง ระดับคน)

                ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน เรื่อง "ทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว อีกต่อไป" ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

                บทสนทนา ระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ คุณศุภชัย

                นวตกรรมทางความคิด เป็นความคิดสร้างสรรค์ คิดดี คิดใหม่ สู่การปฏิบัตินวตกรรม มีประโยชน์ต่อคนรูปแบบธุรกิจ และวงราชการ

          มีความรู้ใหม่

                นำไปปฏิบัติ

                ทำให้เกิดประโยชน์

        ก่อนจะเกิดความคิดใหม่จะต้องศึกษาหาความรู้ แล้วจึงนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ สามารถ Turn I dea มา Into action โดยใช้ทฤษฏี 4 L's ของท่าน ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ เข้าใจวิธีการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างโอกาสในการเรียนรู้ สร้างชุมชนการเรียนรู้

                เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วพบอุปสรรค

                ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างทุนแห่งความสุข

   1.  ผู้นำองค์กรและผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ

   2.  สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี มีระบบงานที่ดี

   3.  สร้างความสามัคคี การทำงานเป็นทีม และ การยกย่องให้เกียรติ ซึ่งกันและกัน

   4.  มีอบรม พัฒนา ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง

   5.  สร้างจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม

   6.  สร้างขวัญ กำลังใจในการทำงาน และการมีส่วนร่วม

   7.  มีเป้าหมายในการทำงาน และ เป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน

                                สวัสดีค่ะ

               

นางสาวนงนุช บัวขำ รหัสประจำตัว 50038010012

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คณะทำงาน และผู้อ่านทุกท่าน

การบ้าน ของศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

1.  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

อุปสรรคในองค์กรของข้าพเจ้า คือ ให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่อง Innovation ในระดับที่น้อยมาก เป็นเพราะส่วนหนึ่งมาจากโครงสร้างองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขาดความคล่องตัว นอกจากนี้ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ Innovation และยังยึดติดกับค่านิยมแบบดังเดิม ไม่ปรับรับกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ

ผู้บังคับบัญชายังไม่เปิดโอกาสหรือสนับสนุนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นด้าน Innovation เพราะอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจเป็นเรื่องของผู้บริหารเท่านั้น

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ บุคลากรไม่คิดนอกกรอบในเรื่อง Innovation เพราะคิดว่าระบบราชการไม่ต้องไปแข่งขันกับหน่วยงานใด ไม่มีค่าตอบแทน คิดแล้วได้อะไร ไม่คิดแล้วมีผลอย่างไร

 

2.  ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

                ได้ความหมายของ นวัตกรรม  คือ 3 ต้อง ได้แก่ 1.  ต้องเป็นของใหม่ 2. ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ 3. ต้องมีประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม  สิ่งที่เน้นมากที่สุด คือ เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่ธุรกิจใหม่

                หัวใจสำคัญของการสร้างนวัตกรรม คือ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ใช่แค่เอาความรู้ไปทำธุรกิจเท่านั้น แต่ต้องดูสถานการณ์ด้วย ดูกระแสด้วย

 

-          ไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร

เกิดขึ้นได้โดยการอยากทำของใหม่ๆ อยากคิดของใหม่รวมไปถึงการพัฒนาความอยากรู้อยากเห็น

-          ไอเดียนั้นผสมกับความรู้ได้อย่างไร

ผสมกับความรู้ได้โดยนำความรู้ที่มีเดิมมาเพิ่มเติมกับความคิดสร้างสรรค์ ทำให้สิ่งที่คิดใหม่นั้นสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ในทางสิ่งที่ดีงาม โดยไม่ลอกเลียนแบบใคร

-          ส่งเสริมความรู้แล้วจะกระทำได้อย่างไร

ส่งเสริมความรู้แล้วจะกระทำได้โดย การนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้มากขึ้น ทั้งการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับเทคโนโลยี เชิญผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเข้ามามีบทบาทในการสร้างไอเดียใหม่ๆ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นให้บุคลากรเกิดการคิดนอกกรอบใหม่ๆ การให้อิสระทางความคิด และอำนาจในการลองผิดลองถูกกับไอเดียใหม่ๆ โดยไม่เอาผิดหรือลงโทษ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

-          ถ้ามี Action แล้วจะเกิดการชนะอุปสรรคได้อย่างไร

เกิดการชนะอุปสรรคได้โดย การอดทน พร้อมที่จะล้มเหลวและผิดหวัง หาความรู้หลายๆ ด้าน และใหม่ ค่อยๆ ทำเป็นขั้นตอน อย่ารีบร้อน สร้าง Innovation Culture ในองค์กร กล้าที่จะยอมรับในสิ่งเกิดขึ้น

ขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ คณะทำงาน และผู้อ่านทุกท่าน

 

 

น.ส.อรทัย  บุณยรัตพันธ์  เลขที่  50038010005

สวัสดีค่ะ กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์ยม นาคสุขและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ปัจจุบันเราอาจจะเคยได้ยินว่าโลกแบน ซึ่งในความเป็นจริงก็คงจะปฏิเสธไม่ได้เนื่องจากเป็น

ยุคที่มีการพัฒนาทุกด้านไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ, สังคม, การศึกษารวมถึงการสื่อสารที่ไร้พรหมแดน ซึ่งแต่ละด้านจะต้องประกอบไปด้วยคนที่เป็นตัวขับเคลื่อนในการพัฒนา ดังนั้นทุกประเทศก็จะต้องมีการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์

แนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 หรือในอนาคตคนจะต้องมีลักษณะ

ต่อไปนี้ที่คนทุกองค์กรต้องการ คือ ความเป็นผู้นำ มีการศึกษา เมื่อสื่อสารแล้วทุกคนเข้าใจและจะต้องมีการวางแผนเป็นโดยทำงานภายใต้ความกดดันได้ และรู้จักบริหารความเครียด สามารถตัดสินใจถูกต้อง การทำงานต้องเป็นทีมจะต้องมีการวิเคราะห์ทุกครั้ง

เมื่อคนในองค์กรมีลักษณะที่ได้กล่าวมาผู้นำองค์กรควรจะนำวิธีฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง ไม่

ว่าจะเป็นการสอนงานกับคนเก่ง มีผู้ฝึกสอนหรือคอยแนะนำแนวทาง เพื่อให้เกิดความสำเร็จในงาน, ให้คนเก่งฝึกอบรมหลักสูตรที่สอดคล้องกับความสามารถหรือการส่งคนเก่งไปพัฒนาอบรมนอกองค์กรนอกจากส่งคนเก่งพัฒนาแล้วอาจจะมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอนคนในองค์กรด้านการตัดสินใจ,ด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะด้าน, ด้านการสื่อสารและด้านการนำเสนองาน

องค์การที่มีทรัพยากรมนุษย์ที่เก่งแล้วก็จะต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

ควบคู่ไปด้วย เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ 8 ประการ  กลยุทธ์ที่มุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง จะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า  โดยการวางแผนกลยุทธ์จะต้องมียุทธวิธีต่างๆ และเห็นถึงความสำคัญของผู้รับบริการ มีการวิเคราะห์และการจัดการด้านความรู้ การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์มีการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน ต้องมีความพึงพอใจในทีมงานและผลประกอบการ มีวิสัยทัศน์ขององค์การที่ทำให้องค์การมุ่งสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

ทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ผู้นำประเทศหรือผู้นำองค์กรควรจะหันมาให้

ความสำคัญในการบริหารด้านทรัพยากรมนุษย์กันอย่างจริงใจ ถ้าองค์กรใดตื่นตัวก่อนก็จะได้เปรียบคู่แข่งไม่ว่าจะเน้นภาครัฐหรือภาคเอกชน เพราะปัจจุบันเราจะต้องไม่เน้น service mind หรือ out come mind แต่ต้องเน้น inter media  out come ด้วยจึงจะสามารถอยู่รอดภายใต้ความกดดันของยุคโลกาภิวัตน์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

ข้อ 1.

ตารางนำเสนออุปสรรและการสร้าง Innovation  Learning Organization และ HR  ในระบบราชการมีดังนี้

 

อุปสรรค

 

การสร้าง

 

 

1.ไม่เพิ่มพูนความรู้ ไม่ใฝ่รู้                                                       

2. ทำแต่ในกรอบที่กำหนด

3. การบริหารจัดการไม่ดี

4. ไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความ  

     คิดเห็น

5. ไม่คิดทำประโยชน์ให้กับสังคม

6. ไม่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

7. ไม่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน

8. ไม่เปิดโอกาสให้คนเก่งและคนดี แสดงความรู้

     ความสามารถ

9.  ผู้นำไม่ให้ความสำคัญ

10. ภาครัฐ,ภาคเอกชนไม่ให้การสนับสนุน

 

 

1. มีความรู้ใหม่ สังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้

2. คิดนอกกรอบ

3. การบริหารจัดการที่ดี

4. มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม เป็นสมาชิก

5. ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

6. มีความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่

7. มีการพัฒนาที่ต่อยอดและยั่งยืน

8. เปิดโอกาสให้คนเก่งและคนดีแสดงความรู้

     ความสามารถ

9. ผู้นำให้ความสำคัญ

10.ภาครัฐ และภาคเอกชนให้การสนับสนุน

 

 

องค์กรของข้าพเจ้าเป็นองค์กรภาครัฐดังนั้นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดคือผู้นำ  ไม่เปิดโอกาสให้

คนเก่งและคนดี แสดงความรู้ ความสามารถ ทุกวันนี้ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ภายในกรอบซึ่งมีผู้นำที่ขาดภาวะผู้นำ  บุคคลากรภายในองค์กรมีความรู้ความสามารถหลายด้านแต่ก็ไม่เคยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร หรือต่อสังคมเลย น่าเสียดายที่ผู้นำองค์กรขาดทุนทางปัญญาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าที่สุด

 

ข้อ 2. ดูเทป Innovation  ได้กรณีศึกษาดังนี้

ในอดีตจนถึงปัจจุบันจะเห็นว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ควบคู่กับโลกก็คือ

ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้คนต้องมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง  การพัฒนามีหลายด้านไม่ว่าด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและด้านนวัตกรรม

นวัตกรรมอาจกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการคิดและทำขึ้นใหม่โดยใช้องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็น

ระบบประกอบกับมีความคิดสร้างสรรค์อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วยทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติและทุนแห่งความยั่งยืน

ดังนั้นไอเดียใหม่ที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากเกิดจากปัญหาต่างๆ แล้วคนต้องการจะแก้ปัญหา จึงเกิด

เป็นไอเดียใหม่โดยอาจจะสังเกตจากพฤติกรรมของคน จึงเป็นที่มาของนวัตกรรม ไอเดียใหม่ผสมกับความรู้ใหม่โดยการทดสอบหรือทดลองหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดนวัตกรรมหรือปรับปรุงแล้วนำเอานวัตกรรมมาใช้เมื่อเกิดอุปสรรคก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคหรือสมัยเพื่อจะได้นำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมต่อประเทศและต่อโลก

สรุปนวัตกรรมที่ดี ควรมีการบริหารจัดการที่ดีโดยมีการรวมตัวหรือรวมกลุ่มเพื่อฟังความรู้

ความคิดใหม่ แล้วนำมาสรุปเพื่อจะได้ดำเนินการทดลองจะได้เกิดความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายและจะได้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไป

 

 

 

น.ส.ภัทรจิตรา  เขียวมีส่วน  เลขที่  50038010010

สวัสดีค่ะ กราบเรียนดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์ยม นาคสุข และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

จากการที่ได้เรียนเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาและได้ศึกษาถึงหัวข้อดังต่อไปนี้ 

1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 (นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นไป)

2.    การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

ในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่า "การสื่อสารที่ไร้พรหมแดน" นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินจริงเลย

เพราะปัจจุบันได้มีการนำเครื่องมือสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกรูปแบบของการดำเนินชีวิตของสังคมในมนุษย์เรา ยิ่งมนุษย์มีการพัฒนาการสูงมากเท่าไหร่ โลกมนุษย์ก็ยิ่งแคบลงทุกที่

สิ่งที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์แห่งนี้ ทำให้เราได้รู้ถึงการพัฒนาที่ไม่อยู่นิ่งของมนุษย์ นับตั้งแต่

อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์ไม่เคยอยู่นิ่งในการพัฒนาตนเองเลยจะดูได้จาก องค์กรทุกองค์กรมีการตื่นตัวและสนับสนุนให้คนในองค์กรขวนขวายหาความรู้ให้ตนเองอย่างสม่ำเสมอและไม่อยู่นิ่ง ในทุกสังคมก็เช่นเดียวกัน ต้องการคนเก่ง และแค่เก่งยังไม่พอ ยังต้องเป็นคนดีอีกด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งปัญญาดี นั้นเอง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน คือ การเพิ่มทักษะ ความรู้และสมรรถนะ

อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญผู้นำขององค์กร จะต้องผลักดันและให้การสนับสนุน เป็นอย่างดี ต่อบุคลากรเหล่านี้ด้วย เพราะถ้าเขาได้ทักษะและความรู้เพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้เกิดความชำนาญ และจะทำให้สามารถพัฒนาองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

เมื่อมีการพัฒนามนุษย์ ก็จะต้องมีการวางแผนโดยการใช้กลยุทธ์ คือ กระบวนการในการ

กำหนดภารกิจ และวัตถุประสงค์ โดยการกำหนดวิธีการที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามวิธีการที่กำหนดไว้ ที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งใจไว้ได้  

 

กราบเรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน

ข้อ 1.จากกรณีศึกษาอุปสรรคของนวัตกรรม องค์ความรู้ และทรัพยากรมนุษย์

1. ผู้นำ   ขาดการผลักดันให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ในองค์กร ไม่สนับสนุนให้แสดงความคิดเห็น

2. งบประมาณ  ขาดปัจจัยที่จะสนับสนุนในด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย  และจำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน

3. การสื่อสาร  การสื่อสารที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรเป็นอย่างมาก องค์กรจะสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นกับการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ

4. ทีมงาน  ไม่มีการสร้างเครือข่ายที่กว้างรอบรับต่อโลกปัจจุบัน สังคมแห่งการเรียนรู้มีน้อยมาก

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมากจะเห็นได้จากการตื่นตัวของภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะภาครัฐ เริ่มจะให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิเช่น การส่งคนไปฝึกอบรม การส่งเสริมให้คนไปแสวงหาความรู้นอกระบบราชการ หรือการนำเครื่องมือทีทันสมัยของภาคเอกชนเข้ามาช่วยในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

อุปสรรคในหน่วยงานของข้าพเจ้า คือ การสร้างเครือข่ายในการทำงานยังไม่มีประสิทธิผล

เท่าที่ควร ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการประสานงานซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรได้

 

ข้อ 2.  จากการที่ได้ดูเทปบันทึก ได้กรณีศึกษาดังนี้

นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกันแต่ละประเทศ และนวัตกรรมที่ต่างกันในแต่ละประเทศ จะก่อให้เกิดความคิดที่สร้างสรรค์ และความรู้ที่เป็นระบบซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนี้

1. ทรัพยากรมนุษย์จะต้องรู้รอบและรู้จริง

2.  การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

3.  การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปในทางที่ดี

ทั้ง 3 ข้อนี้ต้องเกิดจากการใช้ความรู้ ให้เกิดความสร้างสรรค์ขึ้นมาในองค์กร  และในโลกยุค

ปัจจุบันด้วยการคิดนอกกรอบเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องคิดและทำให้เกิดความสำเร็จ  อย่าก่อให้เกิดความล้มเหลว ซึ่งขึ้นอยู่กับการจัดการ กระบวนการตัดสินใจ และการมีการบังคับบัญชาที่ดีจากผู้ผลักดันหรือผู้สนับสนุนในองค์กร นั้นก็คือ ผู้นำ นั้นเอง

 

จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่  23 กุมภาพันธ์  2551 เรื่อง

เทรนด์ใหม่ของโลก  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

       อาจารย์ยม ได้ให้  high light ไว้ว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบ

 ความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่อง คน การบริหารงานที่ดีต้องมีการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ รวมทั้ง โมเดลการพัฒนาการอบรมและรูปแบบการพัฒนาคนเก่ง 5 ขั้นตอน

1.    การประเมินความรู้และทักษะ

2.    การวิเคราะห์

3.    การวางแผนพัฒนา

4.    การดำเนินการตามแผน

5.    การประเมินความก้าวหน้า

     สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบัน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม

        1.    สมรรถนะในการบริหารคน

-        ทักษะการสื่อสาร  คือการสื่อสาร 2 ทาง ให้มีประสิทธิภาพ

-        การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

-        การบริหารการเปลี่ยนแปลง 

-        การมีจิตมุ่งบริการ

-   การวางแผนกลยุทธ์

          3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

-        การตัดสินใจ 

-        ความเป็นผู้นำ

-        การคิดเชิงกลยุทธ์

4.    สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

                -       การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ 

-        การบริหารทรัพยากร

-        การบริหาร CEO

     วิธีการพัฒนาคนในอนาคต ทำอย่างไร ?

                วิธีการฝึกอบรม และพัฒนาคนเก่ง มี 15 วิธี  แต่ขอยกตัวอย่าง

มา 5 วิธี

 1.     การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ใช้ในกรณีที่คนเก่ง ต้องการมีที่ปรึกษา มีครู  ผู้ฝึกอบรม และผู้แนะแนวทาง ที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน เพื่อให้สำเร็จในงานที่ทำ

2.     การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน เป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง  โดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับผู้อื่น เป็นการฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญไปในตัว

3.     การพัฒนาในลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ การเปิดโลกในอินเตอร์เน็ต ที่องค์กรแนะนำเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะ  เพราะคนเก่งมักเป็นผู้กระตือรือร้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

4.     การสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ เน้นประสบการณ์ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

5.     การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมจากภายนอกองค์การ  เป็นระยะสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อกลับมาพัฒนาองค์การและคนในองค์การ

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง  

1.     ความต้องการของลูกค้า

2.     การวางแผนกลยุทธ์ ยุทธวิธี

3.     การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย

4.     การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

5.     การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.     การพัฒนากระบวนการ

7.     ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงานและผลประกอบการ 

8.  วิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

           

 

น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  รหัส  500380100015

สวัสดีค่ะ  กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ยม  นาคสุข  และผู้อ่านทุกท่าน

จากที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม  ทำให้ได้รับความรู้มากมาย  และได้แนวคิดใหม่ๆ  ที่สามารถ

นำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้  และทำให้เรามีการพัฒนาตนเองมากขึ้นในทุกๆ ด้าน

สิ่งที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม  นาคสุข

 ในโลกปัจจุบันมีการแข่งขันสูง  องค์กรใดมีความเข้มแข็งก็จะสามารถอยู่รอด  การที่

องค์กรจะเข้มแข็งได้นั้น  ต้องอาศัยคนเป็นตัวขับเคลื่อนนำพาองค์กรไป  ก็คือ  ทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง  และการที่จะบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ  และเกิดประโยชน์สูงสุดนั้น  ไม่ใช่เรื่องง่าย  เป็นเรื่องที่ทุกองค์กรควรคำนึงถึง 

ารวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องทำ  เพราะการที่จะทำ

สิ่งใดนั้น  จะต้องมีการวางแผนเป็นลำดับขั้นตอน  เพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร  ก่อนอื่นนั้นเราจะต้องใส่ใจตั้งแต่พนักงานก้าวเข้ามาสมัครงาน  เมื่อเข้ามาร่วมงานกับเราแล้ว  จะต้องรู้วิธีรักษาคนให้อยู่กับองค์กร  ตั้งแต่การให้ทำงานที่ตนถนัด  ฝึกอบรม  พัฒนาทุนมนุษย์กระตุ้นให้เกิดองค์ความรู้  ค่าตอบแทน  สวัสดิการต่างๆ  สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้พนักงานเกิดการรักองค์กร  ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับองค์กรอย่างเต็มที่  และอยากพัฒนาองค์กร

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น  องค์กรต้องมีการพัฒนาตลอดเวลา  และต่อเนื่อง  ทิศ

ทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 นั้น  จะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และทำอย่างเป็นระบบ  คือ  อันดับแรกควรจะมีการประเมินความรู้  และทักษะของพนักงานก่อนว่าอยู่ในระดับใด  เก็บข้อมูลมาวิเคราะห์  และวางแผนพัฒนาว่าควรพัฒนาด้านใดบ้าง  แล้วดำเนินการตามแผนที่วางไว้  หลังจากนั้น  ต้องมีการประเมินความก้าวหน้าว่าเมื่อมีการอบรมมาแล้ว  นำมาใช้บ้างหรือไม่  การทำงานมีการพัฒนาไปมากน้อยเพียงใด  ดูได้จากผลงานที่ออกมา  ส่วนในด้านของผู้นำนั้น  ก็จะต้องมีสมรรถนะในหลายด้านด้วยกัน  สมรรถนะหลักของผู้นำในยุคปัจจุบันที่จะต้องมีคือ  สมรรถนะในการบริหารคน  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

จากที่กล่าวมาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น  เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง  และจะต้องพัฒนา

ตลอดเวลา  ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ  นอกจากการพัฒนาแล้ว  ต้องนำมาคิดวิเคราะห์ต่อยอด  เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม  (VA LUE  ADDED)

                               

 

 

 

 

 

น.ส.จารุวรรณ  ตันไชย  รหัส  500380100015

สวัสดีค่ะ  กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  และผู้อ่านทุกท่าน

ข้อ 1   

  HR      ------->       Learning  Organization    --------->  Innovation

 

จะสังเกตได้ว่า  ทั้ง  3  ส่วนนั้นเกี่ยวข้องกันเป็นลำดับ  HR  ( ทรัพยากรมนุษย์ )  มีการเรียนรู้ในองค์กร 

( Learning  Organization )  แล้วนำองค์ความรู้มาสร้างนวัตกรรมใหม่  ( Innovation )  มีความคิดสร้างสรรค์  ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์

อุปสรรคในการสร้าง  Innovation  และ  Learning  Organization  และ  HR  ในระบบราชการ

-          ผู้นำไม่มีทักษะในด้านนี้  และไม่สนับสนุน  ไม่เปิดโอกาส

-          ยึดติดกับกฎ  ระเบียบต่างๆ

-          บุคลากรไม่กระตือรือร้น  ไม่มีความคิดสร้างสรรค์  ไม่ใฝ่รู้  ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม  จึงไม่

เกิดการพัฒนา

-          ไม่นำองค์ความรู้ที่ได้รับการพัฒนามาไปปฏิบัติจริง

-          IT  ที่รองรับไม่เพียงพอ  และผู้ใช้ยังไม่มีความชำนาญ

Example

                                ปัจจุบันข้าพเจ้าทำงานที่  กองแพทย์หลวง  สำนักพระราชวัง  ทำงานในด้านธุรการ  เกี่ยวข้องกับเอกสาร  และการใช้  IT  เข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำงาน  สำหรับข้าพเจ้าเองนั้นถือได้ว่าชำนาญในระดับหนึ่ง  แต่อยากที่จะศึกษาเพิ่มเติมให้มากขึ้น  ทางสำนักพระราชวังก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในด้านนี้เช่นเดียวกัน  ไดเปิดอบรมด้าน  IT  สำหรับเจ้าหน้าที่ในสังกัดได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปอบรม  ปีละ  2  ครั้งด้วยกัน               

 

ข้อ 2  ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง

                                Innovation  คือ  นวัตกรรม  การทำสิ่งใหม่  การสร้างความรู้  ความรู้นั้นต้องเป็นระบบ

 ( System  thinking )  การใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  คิดนอกกรอบ  สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับ  IT  และต้องมีการปฏิบัติจริง

 

    ความรู้ใหม่  ----------> นำไปทำ   ------------>     ทำให้เกิดประโยชน์

 

                -      ทำให้ทราบแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กร

-          Innovation  จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการคิด  แล้วนำไปปฏิบัติจริง  และต่อเนื่อง

-          เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกองค์กร  ถ้ามีการปฏิบัติอย่างจริงจัง  และเป็นระบบ

-          ทำให้เกิดโครงการใหม่ๆ  และเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับตนเองและองค์กรได้

 

นางสาวกมลทิพย์ สัตบุษ รหัส 50038010042

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ผู้สอนทุกท่านคณะทีมงาน นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน 

 ข้อ  1.  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบรามีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่าง ในองค์กรของท่าน                                           

          ในกระแสของการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมีการแข่งขันในลักษณะก้าวเข้าสู่องค์กรที่ไร้พรมแดนมากขึ้นทุกขณะ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการสื่อสารต่าง ๆ ส่งผลให้องค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายเรื่อง และกระแสของการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้องค์กรจำเป็นต้องปรับทั้งองค์กร และทรัพยากรบุคคลในองค์กรด้วย  ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญขององค์กร ประการหนึ่งก็ได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแนวคิดและแนวปฏิบัติในการบริหารงานเพื่อไปให้ทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์

          Innovation  นวัตกรรม  คือ การนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครนำเสนอมาก่อน เพื่อสร้างความแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์จากสินค้าและบริการอื่น ๆ ในอนาคต                              

          จุดเริ่มของนวัตกรรมมักจะมาจากการที่ "บุคลากร" ในองค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความคิดสรรค์ คือ การที่บุคลากรมีการคิดออกนอกกรอบเดิมที่เคยทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถสร้างความแปลกใหม่แตกต่างจากเดิมมากขึ้น และความคิดที่แปลกใหม่นี้จะนำไปสู่นวัตกรรมในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในกระบวนการดำเนินงาน หรือนวัตกรรมในตัวสินค้าและบริการ หลายครั้งที่เป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก "วัฒนธรรมองค์กร" นั่นเอง

          Learning Organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการคิดอย่างเป็นระบบ ความเป็นตัวของตัวเอง มีแบบฉบับความคิด สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีการเรียนรู้ร่วมกัน และจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปมิได้ถ้าองค์กรมิได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีการรวมศูนย์การตัดสินใจ

         Human resource ทรัพยากรมนุษย์ เป็นบุคคลซึ่งมีความพร้อม มีความจริงใจ และสามารถที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หรือเป็นบุคคลในองค์การที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ดังนั้นองค์การจึงมีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ปฏิบัติงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งต้องใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วย

        ดังนั้น HR จึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

        การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการจะยึดแนวปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลแห่งความสำเร็จนั้นอาจเกิดได้ยาก เนื่องจากมีอุปสรรค ดังนี้

        1.  ระบบราชการจะมีผู้นำหรือผู้บริหารที่เป็นแบบเก่า คือ จะใช้วิธีการสั่งการและควบคุม

        2.  ขาดสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้บุคลากรเกิดการคิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในองค์กร

        3.  ขาดงบประมาณในการสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น

        4.  องค์กรขาดความเชื่อมั่นในความสำคัญของนวัตกรรมใหม่ ๆ

        5.  บุคลากรขาดองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

        6.  ยึดติดกับวัฒนธรรมองค์กรแบบเดิม ๆ ไม่รู้จักคำว่า คิดใหม่ ทำใหม่

        7.  ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยที่จะทำให้บุคลากรได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

        8.  ขาดการปลูกผังเรื่องการพัฒนานวัตกรรมให้เป็นค่านิยมในการปฏิบัติงาน เนื่องจากต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่วางไว้

        ตัวอย่างในองค์กรที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานอยู่ไม่มีการสนับสนุนให้คิดหรือทำสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม เนื่องจากถูกครอบงำทางความคิด และการที่ไม่ได้รับการเปิดโอกาสจากผู้บริหาร ประกอบกับเป็นหน่วยงานราชการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ค่อยมีสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเอง จึงไม่ก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

        ทั้งนี้ควรให้บุคลากรมีความเป็นอิสระทางความคิด และอำนาจลองผิดลองถูกกับวิธีการ หรือไอเดียใหม่ ๆ ที่บุคลากรคิดค้นขึ้นมา และต้องสื่อสารกันอย่างชัดเจนกับบุคลากรว่า หากเกิดความผิดพลาดในการคิดสิ่งใหม่ ๆ เหล่านั้น จะไม่เอาผิดหรือลงโทษ แต่จะนับเป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาต่อไป ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องผลักดัน และสนับสนุนอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน

ข้อ 2. จากการดูเทปการสนทนา Innovation  ระหว่าง  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณศุภชัย  หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทั้งสองท่านได้พูดถึง  HR and Innovation

          คุณศุภชัย  หล่อโลหการ ได้กล่าวถึงนวัตกรรมออกเป็น  3  เรื่อง คือ

          1.  คำจำกัดความของ นวัตกรรม Innovation  คือ 

                    -  นว + กรรม  คือ การทำสิ่งใหม่ ๆ  นว  แปลว่า  ใหม่  กรรม  แปลว่า การทำ 

                    -  ต้องมีการใช้ความรู้ และคิดสร้างสรรค์

                    -  ต้องมีประโยชน์ต่อสังคม ต้องมีผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

         2.  ความสำคัญของนวัตกรรม

         3.  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

          นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ ๆ ที่ต้องมีการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์มาเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งการทำอาจจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ได้ แต่หากประเทศใดไม่ทำก็อาจเจ๊งแน่ ๆ แต่จะเจ๊งเมื่อไรนั่นแหละ เหมือนกับเรือถ้าไม่พายก็อยู่นิ่ง เราจะอยู่รูปแบบเดิม ๆ ไม่ได้ ต้องมีเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อจะทำให้เราก้าวล้ำ 

          อาจารย์จีระ  กล่าวว่า นวัตกรรม ต้องเป็นสิ่งใหม่ ๆ แล้วนำไปทำ แล้วทำให้เกิดประโยชน์ และความคิดใหม่ ๆ ไม่ได้มาจากการวิจัย และคนไทยส่วนใหญ่ชอบฟัง แล้วก็นำไปขึ้นหิ้ง  และอาจารย์กล่าวว่า ไม่ต้องการให้ บุคลากร ทำงานประจำอย่างเดียว และได้กล่าวถึง ทฤษฏี 3 C คือ

C แรกคือ คนไทยไม่ชอบ change หรือการเปลี่ยนแปลง 
C ที่สองคือ คนไทยไม่ชอบทำอะไรโดยมองไม่ถึงลูกค้า             C สุดท้ายคือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ค่อยฟังลูกน้อง มักจะคิดว่าฉันรู้แล้ว ชอบทำตัวเป็นผู้สั่งการ Command and control

         อาจารย์จีระ จะเป็นคนสอน หรือผู้สอน รู้ว่าจะมีการเรียนรู้ได้อย่างไร คือเป็นต้นทาง ส่วนคุณศุภชัย เป็นปลายทาง คือเป็นการปฏิบัติ

         สังคมไทยต้องหันมามองตัวเอง คนไทยต้องมีองค์กรแห่งการเรียนรู้ ไปสู่ประโยชน์ สู่มูลค่าเพิ่ม สำหรับข้าราชการสิ่งแรกที่ต้องมีคือ ต้องมีสังคมแห่งการเรียนรู้ ลูกน้องต้องมีส่วนในการแนะนำเจ้านาย ระบบราชการ ถ้าไม่มีการสร้างนวัตกรรม และขาดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่หากเป็นระบบเอกชนก็เจ๊ง

          อย่างไรก็ตามในการสร้าง Innovation ได้นั้น บุคลากรจะต้องได้รับการสนับสนุน สร้าง หรือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จาก ผู้นำ ที่ไม่ยึดตามกรอบเดิม ๆ ต้องลองผิดลองถูกกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับการใช้ทฤษฏี 5K's ของท่านอาจารย์จีระ ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในเรื่องของการจัดการนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีเพื่อนำมาพัฒนาองค์กรและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง และเพื่อให้ก้าวล้ำกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

          และท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาธน์วิชาความรู้ให้กับพวกเราชาว รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน ได้เกิดการใฝ่รู้ และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ยิ่งขึ้น

เรียน  ศ.ดรจีระ   หงส์ลดารมภ์  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

       ก่อนอื่นต้องขออภัยเป็นอย่างสูงที่ส่ง  blog  ล่าช้าเป็นอย่างมาก  เหตุผลชี้แจงนั้นอาจเหมือนเป็นข้อแก้ตัว  ดังนั้นจึงขอน้อมรับข้อผิดพลาดนี้ไว้โดยบริสุทธิ์ใจค่ะ

1.  จากบทสนทนาของสตรีผู้นำระดับปลัดกระทรวงและนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

     ความเหมือน

      1.  ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

      2.  มีทฤษฎีในการไล่ล่าความเป็นเลิศทุนมนุษย์  เป็นของตนเองและมีความสอดคล้องกัน

      3.  มีการเพิ่มพูนความรู้อยู่เสมอ  ไม่เคยหยุดนิ่ง

      4.  ได้พิสูจน์ให้ชาวต่างชาติเห็นแล้วว่า  สมองคนไทยไม่แพ้ชาวต่างชาติ

      ความแตกต่าง

       1.  บทบาทที่มีต่อแนวคิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

            อ.จีระ  เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้ง  ผลักดัน  ในการสร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม  ทั้งระดับรากหญ้าจนถึงระดับสากล

             คุณหญิงทิพาวดี  : เป็นผู้นำแนวคิดไปปฏิบัติในส่วนงานของตนเองจนประสบผลสำเร็จ

        2.  ทฤษฎี 8 His และ  8 K , s  มีความแตกต่างกัน  คือ  Health : Digital  Capital  จะเห็นได้ว่า  Health  ได้เป็นส่วนหนึ่งของ  Human  Capital  ในขณะที่ 8 H , s ไม่มีในส่วนของทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Apply

       ที่ผ่านมาหนูทำงานไปโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย  ไม่รู้ความต้องการของตนเอง  แต่วันนี้ โป๊ะเชะแล้วค่ะ  สิ่งที่ถามตัวเองมาตลอด  มีคำตอบแล้วค่ะ

       สิ่งสำคัญที่สุดคือ  เราต้องรู้จักตัวเอง  รู้ความต้องการของตัวเอง  แล้วจึงหาทางเดินให้ตัวเองไปถึงจุดหมาย  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์  เป็นผู้กระตุ้นให้รู้จักจุดประกายความฝัน  ความหวัง  และเส้นทางเด่นให้ลูกศิษย์คนนี้ได้แล้วค่ะ

        เมื่อมีคำตอบในตัวเองแล้ว  ตอนนี้หนูกำลังพยายามอย่างสุดกำลังที่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินของตัวเอง  เพื่อไปสู่จุดหมายของชีวิต  และคิดว่าจะต้องทำให้ได้ด้วยค่ะ

                                                  ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

2.  จากผลวิเคราะห์ผู้นำ  ของศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์  จาก University  of  washing ten  แล้วนำมาทำการวิเคราะห์ความเป็นผู้นำของตนเอง  ได้ดังนี้

        1. Character

             -  มีความซื่อสัตย์

             -  มีความจริงใจ

             -  มีความมุ่งมั่น

         2.  Leadership  skill

              -  การเจรจา  สิ่งสำคัญที่สุดที่ใช้คือ  พูดความจริง  และจริงใจ  ตรงไปตรงมา  ไม่พูดเพ้อเจ้อ  พูดแล้วไม่น่าเชื่อถือ  จะไม่ทำ

         3.  Leadership  process

              ปัจจุบัน  เลือกกตัญญูต่อมารดา  ทำในสิ่งที่ท่านภาคภูมิใจ  อนาคตอันใกล็มุ่งศึกษา  ปฏิบัติ  ทำนุบำรุงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา
         4.  Leadership  Value 

             ปัญหาที่พบในหน่วยงานก็คือ  รองผู้อำนวยการที่สังกัดเป็นผู้นำโดยตำแหน่งไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกน้องได้เลย  แต่ไม่ได้รับศรัทธาจากลูกน้อง  เนื่องจาก  สั่งแต่สอนไม่ได้  ข้าพเจ้าจึงต้อง trust  โดยไม่รู้ตัว  ในการช่วยผู้ใต้บังคับบัญชาแก้ปัญหา  หรือถ้าเกินความสามารถก็จะปรึกษาผู้อำนวยการโดยตรง  ผู้ใต้บังคับบัญชาจึงให้ความไว้วางใจตัวข้าพเจ้าในหลายครั้งที่ผ่านมา

3.  ความประทับใจเกาะล้าน

      คือความใกล้ชิดของเพื่อน  ความเป็นกันเอง  ความเอื้อาทร  ความหวังดี  ความเสียสละอันมีค่าของอาจารย์ที่ให้ต่อพวกเรา รปม.รุ่น  4 นี้ได้เรียนรู้และศึกษาในโลกของความเป็นจริง  เรียนรู้จากสถานที่จริง  ข้าพเจ้ามีความประทับใจมาก  ยอมรับโดยตรงว่า  3  ชั่วโมงแรกในห้องเรียน  รู้สึกว่าอาจารย์ค่อนข้างดุมาก  แต่เพียงแค่  3  ชั่วโมงผ่านไปทำให้รู้ว่าสิ่งที่เห็นไม่เป็นอย่างที่คิด  หลังจากนั้นความศรัทธามหาศาลได้เกิดขึ้นในใจค่ะ

       ถึงแม้ว่าเวลาในการไปดูงานที่เกาะล้านในครั้งนี้จะค่อนข้างน้อยแต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำให้พวกเราเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งในบทเรียนและนอกบทเรียน  ซึ่งมันมีค่ามาก  ที่สำคัญคือได้ประสบการณ์อันแปลกใหม่ที่บางคนก็ไม่เคยเห็นมาก่อน  ซึ่งล้วนเป็นการสอนของอาจารย์ตั้งแต่การบริหารจัดการในองค์กรอย่างไร  ผู้นำอย่างไร  สมาชิกควรเป็นอย่างไร  ความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ  การมีส่วนร่วม  คอยช่วยเหลือด้วยน้ำใจ  เอื้อาทรกันระหว่างสมาชิก  เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง  ทั้งหมดนี้  เป็นการสอนนอกตำรา  สอนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง  โดย อ.จีระ  หงส์ลดารมณ์

ขอบคุณค่ะ

น.ส. ภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

 

สวัสดี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข สวัสดีเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน จากการเรียนใน วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ โดยการสอนของอาจารย์ยม ที่ได้ให้ความรู้และสอนให้เรียนรู้มากมาย

 

ในการเรียนช่วงเข้า ได้ศึกษา เรื่อง ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

 

ได้ความรู้ในด้านการพัฒนา "คนเก่ง" ให้อยู่ในสังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพโดยการจะพัฒนาคนนั้นจะต้องมีการวางแผนในการพัฒนา และต้องประเมินความก้าวหน้าเพื่อพัฒนาให้คนเก่งนั้น เป็นผู้นำอย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพ

 

ในการเรียนช่วงบ่าย ได้ศึกษา เรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ (ยุทธศาสตร์) ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

ได้รับความรู้เกี่ยวกับ การจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อมุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูงโดยวิธีการที่ได้รับความรู้มา สามารถดำเนินงานตามแผนงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งในการกำหนดกลยุทธ์นั้นต้องพัฒนาทุกระดับอย่างเป็นระบบ

 

 ความรู้ทั้งหมดที่ได้รับมาจากการเรียนการสอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและในองค์การที่ทำงานอยู่ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

 

ท้ายสุดนี้ขอขอบคุณท่านอาจารย์ยม ที่ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากแก่นักศึกษา และจะนำความรู้ที่ได้มามาประยุกต์และปฏิบัติในการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขอขอบพระคุณมากค่ะ

 

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

เจริญพร ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน ฯ

ข้อที่ 1. ครั้งนี้ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบหมายงานคือ ให้กล่าวถึงอุปสรรค ในการสร้าง  Innovation, Learning Organization และ HR ในระบบราชการไทย  

 

Innovation

 

Innovation หมายถึง นวัตกรรม, สิ่งใหม่, วิธีการใหม่, การนำสิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ ๆ เข้ามา โดยในที่นี้ก็จะมุ่งเน้นคำว่า นวัตกรรมในด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดมีในองค์กรของภาครัฐ ในระบบราชการทั้งหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อยทั้งหมด  

 

          ซึ่งอาตมภาพเองก็ไม่ได้ทำงานอยู่ในระบบราชการและไม่เคยสัมผัสเรียนรู้ในระบบราชการ ก็จะอาศัยการสอบถามจากผู้รู้และอาศัยการฟังการอ่านจากสื่อต่าง ๆ แล้วนำมาประมวลพอได้ใจความ พร้อมกับยกกรณีตัวอย่างขององค์กรหนึ่งมาประกอบในตอนท้ายของรายงานชิ้นนี้ด้วย

           

           คำว่า Innovation นี้หมายถึง นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์บ้าง ด้านการบริการ ด้านกระบวนการทำงาน หรือรูปแบบธุรกิจ เพื่อสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรทั้งองค์กรใหญ่น้อยทั้งหลาย หรือแม้แต่ในระบบราชการเองก็เช่นกัน ถ้าหากมีการสร้างหรือสนับสนุนให้ข้าราชการทุกระดับสร้าง Innovation Learning Organization และ HR ให้เกิดมีในระบบราชการ ในหน่วยงานแต่ละหน่วยงานแล้ว มูลค่าเพิ่มที่จะเกิดกับหน่วยงานราชการย่อมมีมากมายจะคณานับ ทำให้หน่วยงานราชการเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ แต่อย่างว่า เท่าที่เราท่านทั้งหลายทราบกัน คือ ในหน่วยราชการส่วนมาก ข้าราชการเป็นข้าราชการเช้าชาม เย็นสองชาม ทำงานให้พ้นไปวัน ๆ จะมีสักเท่าไรที่จะทำงานอย่างจริงจัง จะมีสักเท่าไรที่ทำงานด้วยจิตสำนึกของความเป็นข้าราชการ และทำด้วยจิตสำนึกเพื่อมุ่งบริการอย่างแท้จริง ที่กล่าวเช่นนี้มิได้กล่าวให้ร้ายข้าราชการผู้อ่านทั้งหลายแต่อย่างใด แต่กล่าวเชิงคำถามว่า จะมีสักเท่าไรที่ทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

 

ฉะนั้น อุปสรรคในการสร้าง Innovation Learning Organization และ HR ในระบบราชการ ทั้ง 3 ส่วนนี้  อาตมภาพจะมองเป็นเบื้องต้น คือ

-           ผู้นำในองค์กร และผู้นำในหน่วยงานราชการ ว่าเป็นอย่างไร ผู้นำเป็นผู้มีวิสัยทัศน์หรือไม่ เป็นผู้ใฝ่รู้หรือเปล่า เป็นผู้ขวนขวาย มุ่งความเป็นเลิศและจริงจังกับการทำงานหรือไม่เพียงไร หรือว่าจะเป็นประเภทเช้าชาม เย็น 3 ชาม ก็จบกัน ทั้งยังเป็นผู้นำที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ยังยึดติดกับความคิดเก่า ๆ ระบบเก่า ๆ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการผู้น้อย ได้แต่คิดว่า ของเก่าดีอยู่แล้ว หรือที่คิดใหม่มานี้ ไม่เคยปฏิบัติมาก่อนไม่เคยทำมา แล้วพยายามหาข้ออ้างต่าง ๆ อ้างระเบียบอ้างหลักวิชาการมากมายนานาประการ เหล่านี้ล้วนทำให้องค์กรหรือหน่วยราชการต่าง ๆ ไม่เจริญก้าวหน้า หยุดอยู่กับที่ ไม่ทันโลกภายนอก ฯ  

ข้อควรปฏิบัติ คือ ผู้นำต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ เป็นผู้ให้ คือให้โอกาส ให้อิสระทางความคิด และรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ยึดติดรูปแบบเก่า ๆ ยอมรับทัศนคติผู้อื่นและยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ  

 

-           ในหน่วยราชการมักใช้ระบบอุปถัมภ์ ในการจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดคนเข้าทำงานหรือเลื่อนขั้น ส่งผลทำให้ข้าราชการที่เก่งมีความรู้ความสามารถไม่สามารถแสดงความสามารถหรือคิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ คิดได้ก็ไม่กล้าที่จะแสดงออกไม่กล้าออกความเห็น เพราะมีผู้นำแบบหอหีบสระอ่วยไม่เอาไหน ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นนั้น ไม่ว่าองค์กรหรือหน่อยราชการไหนก็ตามที่มีผู้นำแบบว่านี้ คือใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่าใช้การพิจารณาคนจากความสามารถ มีหวังองค์กรนั้น ใกล้จะเสื่อมทรุดลงทุกขณะ เชื่อได้เลยว่า จะกลายเป็นองค์กรที่ไร้คุณภาพ ฯ  มากต่อมากที่ผู้นำตัดสินอะไรเพราะความรัก ลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะหลง ลำเอียงเพราะโกรธ มีอคติส่วนตัวกับลูกน้อง ฯ

ข้อควรปฏิบัติ คือ กำจัดระบบอุปถัมภ์ให้ได้ หรือให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ลำเอียงเพราะรักหรือลำเอียงเพราะชัง เป็นต้น ฯ

 

-                           ข้าราชการส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย ขาดทักษะในการเรียนรู้ ไม่เป็นผู้ใฝ่รู้ ไม่มุ่งความเป็นเลิศ

 

ข้อควรปฏิบัติ คือข้าราชการต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ กระหายที่จะเรียนรู้เรื่องงาน หรือการศึกษาในด้านต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีพ ฯ

 

-                           ข้าราชการขาดคุณธรรม และ จริยธรรม

ข้อควรปฏิบัติ คือ  ข้าราชการเองต้องมีความสำนึกในความเป็นข้าราชการซึ่งเป็นผู้ทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างทำ หรือว่า คุณ(นะ)ทำ

 

-                           ไม่มีการทำงานเป็นทีม

ข้อควรปฏิบัติ คือ  ต้องสร้างทีมงาน ทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างว่ามาแล้ว

-                           ไม่มีผู้ที่ใส่ใจในการวิเคราะห์วิจัยในสิ่งใหม่ ๆ ไม่ลงมือทำ

ข้อควรปฏิบัติ คือ เมื่อคิดสิ่งใดแล้วนั้น ควรที่จะลงมือปฏิบัติด้วยมือก่อนที่จะเสียเวลาไปกับการดำเนินการกับคอมพิวเตอร์ ฯลฯ

 

การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ให้เกิดในองค์กรและหน่วยงานราชการนับว่าเป็นส่วนสำคัญมากเพราะความคิดสร้างสรรค์อันนำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็ล้วนเกิดจากการเรียนรู้การศึกษาทั้งนั้น การศึกษานำพาสู่การค้นคว้า ค้นหาเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้คิดขึ้นมาจนประสบความสำเร็จด้วยการลงมือปฏิบัติ อาจลองผิดลองถูกบ้าง เพราะว่า ไม่มีสิ่งใดที่คิดขึ้นครั้งเดียวแล้วจะทำเสร็จสมบูรณ์ได้    การจะสร้าง Innovation จึงควรเริ่มจากการเรียนรู้ การปฏิบัติจริงด้วยมือก่อน ฯ

 

 

 

HR ( Human Resource )

 

HR ( Human Resource )  ส่วนนี้ เป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนก่อนให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันต่อองค์การ หน่วยงานราชการเองก็เช่นกัน ดังนั้น จึงต้องมีการจัดการเรื่องบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ โดยหน้าที่ทางการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลได้มีการจัดสรรกันไปตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้บังคับบัญชาตามสายงานและผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ในปัจจุบันสภาวะความท้าทายภายในองค์กรและหน่วยงานราชการนั้นมีมากมาย ส่วนนี้จึงเป็นโอกาสของผู้ปฏิบัติงาน HR ที่จะแสดงหน้าที่ในการสร้างผลงานให้กับองค์การและหน่วยงานราชการได้เป็นอย่างดี  ศึกษาวิจัยในวิธีการรับมือความแปรปรวนต่าง ๆ ทั้งภายในองค์การภายนอกองค์การ เมื่อหน่วยราชการคำนึงถึงส่วนเหล่านี้ว่า การบริหารทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญเช่นไร องค์การก็จะเจริญขึ้นเรื่อย ๆ  ซึ่งประเด็นต่าง ๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลจะต้อพิจารณาคือ การเผชิญกับความท้าทายสภาพแวดล้อมทั้งจากภายในและนอกองค์การ หากผู้ปฏิบัติงานทรัพยากรบุคคลในหน่วยราชการหรือองค์การใดก็ตามไม่ตระหนักถึงประเด็นนี้ ตัวเขาเองอาจจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของความล้มเหลวขององค์การหรือหน่วยงานราชการ ขณะที่ผู้บริหารสายงานทรัพยากรบุคคลบางส่วนอาจจะตระหนักถึง ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ ด้านกลยุทธ์ก็อาจจะหลุดออกจากเส้นทางการบริหารจัดการ ก็เป็นได้ ฯ  

 

กรณีตัวอย่างที่ต่างมุมมอง

อาตมภาพทำงานหรือสอนหนังสือที่วัดแห่งหนึ่งนามว่า ? ที่วัดดังกล่าวก็มีคณะทำงานหรือคณาจารย์ที่ร่วมบริหารสำนักเรียน โดยมีเจ้าสำนักเรียนคือเจ้าอาวาส  เป็นผู้บริหาร มีที่ปรึกษาอาจารย์ใหญ่ มีอาจารย์ใหญ่ของสำนักเรียน ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ และคณาจารย์ ทั้งหมดก็ร่วมกันบริหาร แต่ก็ต่างคนต่างสอน เวลาประชุมเพื่อที่จะกำหนดทิศทางการบริหารสำนักเรียนนั้น ค่อนข้างจะมีปัญหา เช่นในเรื่องของการเสนอแนะ หรือการคิดสร้างสรรค์ ในเรื่องที่เป็นประโยชน์กับสำนักเรียน หลายต่อหลายครั้งที่อาตมภาพเห็นอาจารย์ท่านอื่นเสนอเรื่องต่อที่ประชุมและก็ถกกันเอง สุดท้ายก็ไม่ได้การณ์ งานไม่ผ่าน หรืออาตมภาพเอง ก็เคยเสนอ แต่ก็ไม่ได้ผล มักใช้เวลาในการถกกันมากกว่า มากกว่าที่จะหาวิธี หรือลงมือปฏิบัติในแนวคิดที่เสนอไป ส่วนนี้นับว่าเป็นการสกัดดาวรุ่งหรือข้อคิดต่างๆ ที่จะเกิดมี หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่บรรเจิดออกจากความคิดสร้างสรรค์ของหลาย ๆ ท่าน ก็ต้องชะงักลง ผลสุดท้ายก็ต่างคนต่างทำงานที่ได้รับมอบหมาย ทำแบบเดิม ๆ จำเจ ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ โผล่ในสมองเลย เพราะต่างก็กล่าวว่า คิดทำไม่ คิดแล้วได้อะไร คิดแล้วมีคนทำไหม คิดแล้วใครจะเห็นดีกับท่าน  สุดท้ายก็ต้องก้มหน้าทำงานต่อไปในแบบฉบับที่เคยทำมา ฯ

คิดว่าหลาย ๆ ท่านก็คงเคยประสบกับเรื่องเหล่านี้มาเช่นกัน ทั้งในที่ทำงานเองก็ตาม หรือแม้แต่ในครอบครัวก็คิดว่าน่าจะมีเรื่องเหล่านี้บ้างไม่มากก็น้อย  

 

 

ข้อที่  2. บทวิเคราะห์จากเทปเรื่อง Innovation

 

         จากบทเรียนที่ได้ฟังและชมเทปนั้น ได้ใจความดังต่อไปนี้

องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ  เป็นองค์กรที่จัดตั้งและพัฒนาองค์กรพร้อมทั้งยังได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดมีกับองค์กร  องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ.  2540  โดยมีเหตุผลหลัก คือ เพื่อสร้าง นวัตกรรม การให้ความรู้กับบุคลากรภายในองค์กร ในเรื่องของนวัตกรรมเป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน  แต่ละประเทศมีนวัตกรรมที่ต่างกัน  อาทิ เช่น ประเทศอินเดียและประเทศจีน แต่ละประเทศมีการส่งเสริมนวัตกรรมอย่างทั่วถึงทั้งประเทศ  แต่ ประเทศอินเดียส่งเสริมนวัตกรรมบางจุดกับคนเฉพาะกลุ่ม ๆ ในบางส่วนของประเทศเท่านั้น ยังกระจายได้ไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร  ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอินเดียยังมีความยากจนเป็นจำนวนมากและยังขาดการเรียนรู้ที่ดีส่วนประเทศจีนนั้นมีการนำ นวัตกรรม  ไปใช้กันทั่วประเทศจีน และสร้างความเป็นอยู่อย่างเพียงพอทั่วถึงส่วนมาก รวมถึงการจัดการศึกษาของประชาชนภายในประเทศจีนด้วยประชาชนส่วนใหญ่จึงมีสภาพความเป็นอยู่และการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเจริญให้กับประเทศในอนาคตอันยาวไกลอีกด้วย นั้นเอง ฯ

 

เจริญพร

พระมหาวิทยา  นางวงค์

นักศึกษา รปม.รุ่น 4  สวนสุนันทา

หากผิดพลาดประการใด ขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย หากส่วนใดที่เห็นว่าชอบแล้วไซร้ ขอมอบความชอบส่วนนี้แด่ท่านอาจารย์ผู้สอนทุกท่าน ฯ

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม6

เรียน   ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

                                กลุ่ม 6 มีสมาชิกในกลุ่ม จำนวน 7 คน ดังนี้

                                1.  นางอนงค์  มะลิวรรณ์                   รหัสประจำตัว      50038010019

                                2.  นางสาวมัลลิกา  โสดวิลัย              รหัสประจำตัว      50038010018

                                3.  นางบัวอร  ภูมิวัฒน์                        รหัสประจำตัว      50038010032

                                4.  นางสมจิตร  ส่องสว่าง                  รหัสประจำตัว      50038010038

                                5.   วีรยาพร  อาลัยพร                          รหัสประจำตัว      50038010036

                                6.   นางสาวลาวัลย์  ลิ้มนิยม               รหัสประจำตัว      50038010044

                                7.   นางสาวมะลิวัลย์ โพธิ์สวัสดิ์       รหัสประจัวตัว      5003801002

ได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษที่ท่านอาจารย์ให้อ่านเรียบร้อยแล้ว สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญ ๆ

ได้ดังนี้ คือ                           

พฤติกรรม เรื่อง การฝึกความรับผิดชอบ

                ความรับผิดชอบเกี่ยวข้องโดยตรงกับหน้าที่  ความรับผิดชอบ สามารถฝึกให้มีมากขึ้นได้ หากรู้หน้าที่ของตนเองอย่างแน่ชัด พฤติกรรมนี้มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความไว้วางใจ  ยิ่งมีความรับผิดชอบมาก ยิ่งได้รับความไว้วางใจมากเท่านั้น  การฝึกความรับผิดชอบมี 2 มิติ คือ ฝึกตนเอง และฝึกผู้อื่น

                การฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองคือ การปฏิบัติหน้าที่ ๆ  ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด กล้ารับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด และพร้อมแก้ไข

                การฝึกความรับผิดชอบผู้อื่น คือ การเฝ้าติดตามผู้อื่นให้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และทำให้ผู้นั้นเกิดความมั่นใจตนเอง และความไว้วางใจต่อหัวหน้างาน ผู้นำ สมาชิกในกลุ่ม เพื่อนร่วมงาน และผู้อื่น         โดยมอบหมายงานที่สำคัญมากขึ้น

                เคล็ดลับสร้างความไว้วางใจ ในที่นี้หมายถึงวิธีฝึกความรับผิดชอบ

1) เมื่อเกิดความผิดพลาด อย่าโทษผู้อื่น ให้หันมามองตัวเอง

2) เมื่อทำงานร่วมกัน ต้องแจกแจงหน้าที่ของแต่ละคนให้ชัดเจน และติดตามการ

ทำงาน

3) ในครอบครัว ควรมีการพูดคุยกับคนในครอบครัวเรื่องหน้าที่ภายในบ้าน สร้างเงื่อนไขให้เด็ก ๆ    เพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบ

สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้กับการทำงานในองค์กร ได้ดังนี้

1.       ต้องมีการมอบหมายงานในหน้าที่ให้แต่ละคนรับผิดชอบอย่างชัดเจน

2.       ต้องมีการติดตามประเมินผลการทำงาน

3.       ต้องมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยน ปรึกษาหารือ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

 

Behavior Practice Accountability

Practice Accountability is related to expectations, which is much better when the expectations are more clarified. Of course, this behavior has a great impact on trust. - more accountable, more trustful. Practice Accountability has 2 dimensions: holding yourself accountable and holding others accountable.

“Holding yourself accountable” means performing the duties at best. When some mistakes happen, look back at yourself always, not blaming on others and being ready to correct them.

“Holding other accountable” means monitoring others’ performances of their duties. Later make them self-confident and trust bosses, leaders, group members, peers or others by assigning more accountable tasks to them.

Trust Tips in here means tips to Practice Accountability:

1. When mistakes, do not blame on others but look at a mirror.

2.In the office, clarify team job descriptions then keep watching them

working.

3. In family, the direct talks among members should be set up, especially in term of household duties. With kids, the conditions must be created to practice their accountability.

The knowledge obtained from Practice Accountability can be applied to working practice as follows:

1. When assigned any tasks, each worker should be clarified their own duty and function.

2. Monitoring how effective each performs will be conducted periodically.

3. The meeting to share ideas, discuss the problems on working among workers should be held.

 

 

 

 

สวัสดี ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข สวัสดีเพื่อนๆ รปม.รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

อุปสรรคในการสร้าง  Innovation ,Learning  Organization  และ  HR  ในระบบราชการ

 Innovation คือ นวัตกรรม หมายถึง  ความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ

ให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์กับองค์กรและตัวบุคคล  คือ การนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีใครนำเสนอมาก่อน เพื่อสร้างความแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์จากสินค้าและบริการอื่น ๆ ในอนาคต                              

อุปสรรค 

                1. ผู้บังคับบัญชา  ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอก

                2. ไม่สนใจลูกค้า  เนื่องจากการไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชาในองค์กร ทำให้ระบบการให้บริการจึงเป็นไปแบบเดิม ไม่มีการพัฒนา

                3. เจ้านายไม่เปิดโอกาส  ผู้บังคับบัญชาในองค์กรมองแต่ที่จะสนับสนุนคนของตนเอง โดยใช้ระบบอุปถัมภ์ ไม่มองที่ความรู้ ความสามารถ ใช้บรรทัดฐานแค่ความรักใคร่ชอบพอ ทำให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานได้จริง และมีประโยชน์กับองค์กร

               4. ในหน่วยราชการมักใช้ระบบอุปถัมภ์ ในการจัดคนเข้าทำงานหรือเลื่อนขั้น ส่งผลทำให้ข้าราชการที่เก่งมีความรู้ความสามารถไม่สามารถแสดงความสามารถได้ถึงจะ มีความรู้ความสามารถแต่ก็ไม่กล้าที่จะแสดงออกเนื่องจากระบบราชการมักจะใช้ระบบอุปถัมภ์ เล่นพักเล่นพวก  ไม่ว่าองค์กรหรือหน่วยราชการไหนก็ตามที่มีผู้นำที่ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่าการพิจารณาคนจากความสามารถจึงทำให้องค์กรนั้น ไม่มีคุณภาพ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาอยู่ในองค์กรจึงกลายเป็นองค์กรที่ไร้คุณภาพ   เนื่องจากการตัดสินใจของผู้นำที่เกิดความ ลำเอียง

              Learning Organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการคิดอย่างเป็นระบบ ความเป็นตัวของตัวเอง มีแบบฉบับความคิด สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีการเรียนรู้ร่วมกัน และจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปมิได้ถ้าองค์กรมิได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีการรวมศูนย์การตัดสินใจ

              HR คือ  ทรัพยากรมนุษย์ เป็นบุคคลซึ่งมีความพร้อม มีความจริงใจ และสามารถที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หรือเป็นบุคคลในองค์การที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ดังนั้นองค์การจึงมีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ปฏิบัติงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งต้องใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา จูงใจ และเก็บรักษาบุคลากร ที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

  จากการชม  VTR  ในรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับ  ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  ซึ่งเป็นบทสนทนา  ระหว่าง  ดร.จีระ  และคุณศุภชัย   หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ   แล้วได้อะไรบ้าง

                1.  ได้เข้าใจถึงความหมายและคำจำกัดความ ของคำว่า  นวัตกรรม        

                2.  ทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์

                3.  คิดในสิ่งที่มีประโยชน์

                4.  คิดอย่างมีระบบ

                5. การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

               6. มี การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

 

 

นายโสภณ สังข์แป้น รหัส 50038010007 รปม.4

 

     กราบเรียน ท่าน อาจารย์ที่เคารพของชาว รปม. 4 ทุกท่าครับ  และสวัสดีเพื่อนๆรปม.4 รวมทั้งท่านผู้มีเกียรติที่แวะชม Blog ทุกท่านครับ 

                หลังจากที่เรียนใน Class วันที่ 23-24 ก.พ. 51 ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีมงาน  กระผมมีความรู้สึกว่าสมองเริ่มมีรอยหยักกับการรับรู้ว่าจะทำอย่างกับ " คน " ( รวมทั้งตัวกระผม ) ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในการบริหารจัดการ ให้มีคุณภาพได้อย่างไร และพร้อมที่จะได้นำไปพัฒนาต่อยอดแนวความคิดที่ท่านอาจารย์ทุกท่านได้เมตตาถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการ และด้านประสบการณ์จริงอันเป็นประโยชน์ ซึ่งกระผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง มา ณ ที่นี้ด้วย

               จากการเรียนเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ก.พ. 51 กับท่านอาจารย์ยม  นาคสุข ในหัวข้อเรื่องทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์นั้น คำถามว่าได้อะไรบ้าง กระผมขอตอบตามหัวข้อดังนี้ครับ

              1. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ในยุคที่โลกไร้พรมแดน ความรู้ไร้ขีดจำกัด นวัตกรรม หรือ แนวความคิดสร้างสรรค์มีความต่อเนื่องอยู่เสมอ  มนุษย์เป็นผู้ที่รังสรรค์ผลงาน สร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ๆ เพื่อให้มนุษย์ได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  บนความจำกัดของทรัพยากร ธรรมชาติอื่นๆ ดังนั้นมนุษย์จึงจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการร่วมใช้ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การที่จะทำให้มนุษย์หรือ "คน" เป็นคนเก่งต้องมีการพัฒนาโดยมีรูปแบบการพัฒนาคนเก่ง 5 ขั้นตอนคือ

          1) การประเมินความรู้และทักษะเป็นการรวบรวมความรู้ในเรื่องต่างๆ

          2) วิเคราะห์ข้อมูล จากความรู้และทักษะในเรื่องต่างๆ

          3) การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" โดยต้องกำหนดว่าจะพัฒนาคนเก่งนั้นไปสู่ทิศทางอย่างไร

          4) การดำเนินการตามแผน โดยนำแผนที่วางไว้มาปฏิบัติและมีการติดตามผล

          5) การประเมินผลความก้าวหน้า โดยการสรุปผลและปรับปรุงให้ได้ผลที่ดีที่สุด

                องค์ประกอบของความสำเร็จของคนประกอบด้วย

          1. เรื่องการศึกษา

          2. เรื่องหน้าที่การงาน

          3. เรื่องของการมีครอบครัวที่ดี

             การเป็นผู้นำ หรือนักบริหารต้องรู้จักบริหารเวลาและรู้จักบริหารความเครียด ต้องมีสุขกายและจิตใจที่เข้มแข็ง  และรู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทุกสถานการณ์

            2. คนในอนาคตต้องมีลักษณะอย่างไร  วิธีพัฒนาคนทำอย่างไร

            ในโลกแห่งปัจจุบันและอนาคตเทคโนโลยีไร้ขีดจำกัดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีให้พบเห็นมากหลากหลาย ล่วนเกิดมาจากความคิดและพัฒนาจากคนทั้งสิ้น  มนุษย์ในยุค ICT ต้องมีความพร้อมรับกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาดังนั้น  คนในอนาคตต้องมีพื้นฐานด้านการศึกษาดีเลิศ จึงจะอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตได้

             วิธีการพัฒนาคนในอนาคตมีหลายวิธีแต่จะขอยกวิธีที่มีความสำคัญซึ่งเป็นวิธีฝึกอบรมและพัฒนาคนให้ "เก่ง"

             1) การสอนงาน (Coaching) ให้ผู้ที่จะพัฒนาเป็นคนเก่งได้เรียนรู้เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อพัฒนาคนเก่งที่ดีที่สุด  โดยจัดให้มีผู้ฝึกสอนแนะแนวทางให้คำปรึกษาเพื่อความสำเร็จของงาน โดยให้ผู้สอนงานจากภายในองค์กรหรือนอกองค์กร แล้วแต่ความเหมาะสมและความจำเป็น

              2) การโยกย้ายฝ่ายงาน (Job rotation) จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้รับประสบการณ์ใหม่ๆ

              3) มอบหมายงานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ (Interim and Emergency Assignmente) ให้แก่คนเก่งเพื่อจะช่วยให้เกิดการร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานกลุ่มใหม่  ซึ่งจะได้เกิดทักษะการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมเป็นต้น

              4) การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงานหรือร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาตามโครงการใดโครงการหนึ่ง (Task Foree Assingnments) เพื่อสร้างให้เกิดประสบการณ์ในการเจรจาต่อรองและร่วมแก้ไขปัญหา

               5) การจัดการเรียนรู้การใช้ ICT (Erlearning) เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web - Based  Leaning เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์กรได้นำมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาแสวงหาแหล่งเรียนที่รวดเร็วและประหยัดเวลา

               

นายโสภณ สังข์แป้น รหัส 50038010007 รปม.4

 กราบเรียน.... ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อนๆรปม.4 รวมทั้งท่านผู้มีเกียรติที่แวะชม Blog ทุกท่านครับ

          1. อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรม Innovation และ Learning Orgarization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้างให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

              ในปัจจุบันระบบราชการได้มีการพัฒนาไปมากกว่าเดิมหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ(ก.พ.ร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทและเป็นแม่งานในการกำหนดทิศทางวางระบบราชการไทยยุคใหม่  มีการวางรูปแบบการบริหารงานที่ทันสมัยมีตัวชี้วัด (KPI) มีการติดตามผลงานและประเมินผลงานจากการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้งานได้สัมฤทธิ์ผลตามแผนงานที่วางไว้     จะเห็นได้ว่าปัจจุบันทุกหน่วยงานได้มีการกำหนดกลยุทธ์การปฏิบัติงานตามที่หน่วยงานต้นสังกัดได้วางเป้าหมายภารกิจ (Mission) หรือ วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vission) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ของการบริหารสู่เป้าหมายให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่จะได้รับบริการอย่างสูงสุด ตามปัจจัยของงบประมาณที่ได้รับ ระบบราชการและระบบเอกชนปัจจุบันมุ่งเน้นภารกิจ (Mission) มากกว่าวิสัยทัศน์ (Vission) เพราะภารกิจ (Mission) ถูกนำไปปฏิบัติให้เกิดผลตามวิธีการวัดผลที่กำหนดไว้ ส่วนวิสัยทัศน์ (Vission) เป็นมโนภาพหรือผลที่อยากที่จะให้เกิดกับองค์กร

                อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรม (Innovation) และองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Orgarization) รวมกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ในระบบราชการไม่ประสบความสำเร็จเพราะปัญหาในภาคราชการนั้นโดยเนื้องาน ปัญหามันเยอะอยู่แล้ว ซึ่งถ้าจะต้องมองปัญหาน่าจะมีอยู่ 2 เรื่อง หลักๆ คือ

                  1) เรื่องขนาดของภาคราชการที่มันใหญ่ จึงทำให้มี Layer ของการสั่งการหลายชั้น เกิดความล่าช้า ไม่ทันสถานการณ์

                  2) เรื่องระบบงาน ถึงแม้จะมีการปฏิรูประบบราชการ แต่ระบบงานของภาคราชการหลายส่วนยังขาดประสิทธิภาพ ยึดกระบวนการ ยึดระเบียบมากกว่าผลลัพธ์ของงาน

                HR .เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนล้วนๆ และเป็นเรื่องที่จะทำให้คนในองค์กรมีประสิทธิภาพแต่ความเป็นจริงต้องยอมรับว่า ระบบราชการไทย มีรากเหง้าวัฒนธรรมขององค์กรที่ประสบมานาน วัฒนธรรมของระบบอุปถัมภ์ยังคงอยู่ไม่ได้ล้มหายตายจากไปไหน คนที่ไม่มีประสิทธิภาพยังได้รับการปกป้องอยู่ในระบบ

                องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่ทุกหน่วยงานจัดให้มีการฝึกอบรม  ไม่ได้ถูกนำไปต่อยอดให้เกิดผลอย่างต่อเนื่อง เพราะด้วยภารกิจงานประจำที่มีมากจนทำให้บุคลากรไม่ได้ให้ความสำคัญ ซึ่งผู้บริหารองค์การทราบดีซึ่งหากไม่มีการตรวจวัดผลตามที่ยึดถือปฏิบัติในองค์ปัจจุบัน อยากที่จะปฏิบัติตาม

                นวัตกรรม (Innevation) ที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆในหน่วยงานเกิดขึ้นได้อยาก เพราะข้าราชการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบและข้อกำหนดที่จัดวางไว้ การสร้างหรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ใช้กับหน่วยงานจึงเป็นนวัตกรรมสำเร็จรูปที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบ เช่น ก.พ.ร. เป็นผู้ที่คิดค้นและวางระบบไว้ให้เท่านั้น เพราะการสร้างนวัตกรรมใหม่เสมือนเป็นการคิดนอกกรอบหรือนอกกล่องหรือนอกกฎระเบียบที่วางใจ จึงทำให้การพัฒนาระบบราชการในชั้นผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ผลเพราะถ้าคิดนวัตกรรมอะไรขึ้นมาก็จะถูกจำกัดด้วยระเบียบแบบแผนที่วางไว้อย่างจำกัดสกัดกันทันที

                ตัวอย่างอุปสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม (Innevation) และองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organisation) และ HR. ในหน่วยงานของข้าพเจ้า

                ปัจจุบันข้าพเจ้าปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าหมวดการทางนนทบุรี สังกัดกรมทางหลวง อุปสรรคที่ไม่สามารถทำให้เกิดการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับหน่วยงานได้ เช่น มุมมองของผู้บริหารยังขาดความเชื่อถือในความเป็นไปได้    หรือไม่ส่งเสริมให้เกิดรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ เช่นข้าพเจ้าเคยนำเสนอการจัดการกับวัชพืช หรือหญ้า ที่ขึ้นอยู่ตามข้างทางหลวง ซึ่งแต่ละปีต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในการกำจัดออก ข้าพเจ้าเคยเสนอว่าควรจะคิดวิธีการทำหมันพวกวัชพืชและหญ้า โดยการคิดค้นสารเคมี โดยการจ้างนักเคมีที่มีความรู้ ค้นคว้าวิธีป้องกัน หากทำได้จะลดค่าใช้จ่ายในจ้างตัดหญ้าบนทางหลวงทั่วประเทศปีละหลายร้อยล้านบาทเลยทีเดียว แต่ผู้บริหารมองว่าเป็นเรื่องตลกและเป็นไปไม่ได้

                อุปสรรคในเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ในหน่วยงานของข้าพเจ้า ไม่มีอุปสรรคเพราะมีระบบการสอนงานโดยการฝึกอบรมฯ อยู่ตลอดเวลาในแต่ละปีมีการจัดโครงการฝึกอบรมให้ข้าราชการได้เข้ารับอบรมใหม่ๆอยู่เสมอ

                อุปสรรคด้าน HR. ยังคงมีอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก ดังกล่าวที่แต่เบื้องต้นว่าระบบราชการยังมีระบบอุปถัมภ์ฝังตัวอยู่ เพราะฉะนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพยังคงมีอุปสรรค เช่น การสรรหาผู้นำองค์กรของข้าพเจ้า (ไม่สามารถให้รายละเอียดได้เพราะจะเป็นอันตรายต่อตัวข้าพเจ้าเอง) ได้ผู้นำ ..มีความรู้แต่ขาดทักษะและจริยธรรม โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริต เข้ามาบริหารงานทำให้เกิดนวัตกรรมองค์กร และนวัตกรรมลอกเรียนแบบว่า การจะไปสู่ตำแหน่งหน้าที่ที่สูงขึ้นจะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อที่จะได้มาซึ่งตำแหน่ง จึงเป็นผลทำให้บุคลากรขาดประสิทธิภาพ มีผู้นำที่ไม่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ

                2. จากการดูเทปบันทึกภาพเรื่อง Innevation แล้วได้อะไรบ้าง

           การสนทนาระหว่างท่าน อาจารย์วีระ  หงส์ลดารมภ์ กับคุณศุภชัย   หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ    ได้ข้อคิดดีๆ มากมายดังนี้

1) CEO ทั่วไปยังเข้าใจนวัตกรรมที่แตกต่างกัน

2) นวัตกรรมมิใช่เรื่องแค่คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเท่านั้นแต่สามารถคิดค้นนวัตกรรมด้านการบริหารได้ด้วยเช่นกัน

3)  ความรู้ใหม่ที่เป็นระบบสามารถต่อยอดให้นวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น

4)  นวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

5)  ข้าราชการยุคใหม่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์และต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้จึงต้องพัฒนาความรู้อยู่เสมอ.

 

 

 

น.ส. หทัยพัชร์ จุลเจริญ รหัส 50038010001

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ผู้สอน ทีมงาน เพื่อนๆรปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

 

อุปสรรคในการสร้าง  นวัตกรรม(innovation)  องค์กรการเรียนรู้ (learning organization) และทรัพยากรมนุษย์(HR)ในระบบราชการมีอะไรบ้าง

นวัตกรรม (innovation) คือการสร้างสิ่งใหม่ ซึ่งอาจหมายความรวมถึง ความคิดวิธีการปฏิบัติ หรือสิ่งของใหม่ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นหรือยังไม่มีมาก่อน ที่มีประโยชน์ และทำได้สำเร็จ

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) คือองค์กรที่คนในองค์กรมีความสามารถในการวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนา ศักยภาพและความสามารถซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและน่าพอใจ และยังส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ความรู้ไปยังคนอื่นทั้งในและนอกองค์การ

 

ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) HR. กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้และทักษะ มีพฤติกรรม การทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ

อุปสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม องค์การแห่งการเรียนรู้ และทรัพยากรมนุษย์ ในที่ทำงานของข้าพเจ้า

1.การแบ่งงานอย่างชัดเจน ทุกคนทำเฉพาะหน้าที่ของตัวเองไม่สามารถหรืออ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนอื่นได้ทำให้และอ้างว่าไม่มีเวลาในการเรียนรู้ หรือการพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่อื่นได้

2.ความเคยชินกับงานที่ปฏิบัติและหรือการหลีกเลี่ยงงานที่ปฏิบัติโดยอ้างว่างานของตนมีมากอยู่แล้วและไม่ต้องการการเพิ่มงานอีก

3.ไม่เห็นเหตุผลในการพัฒนายกตัวอย่างเช่นหากพนักทำงานดีหรือทำงานแบบขอไปทีก็ได้เลื่อนขั้นเหมือนกันจึงทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาฝีมือให้ดียิ่งขึ้น

4.การหาทางเลี่ยงความผิดโดยการเลี่ยงการทำงานที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด เช่นการเซ็นต์รับหนังสือจากหน่วยงานภายนอกหรือหน่วยงานภายใน หากมีการสูญหายจะดูว่าใครเป็นคนเซ็นต์และเอาผิดกับคนนั้นแต่ไม่หาทางค้นหาว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ที่ได้ ซึ่งหนังสือเล่มนั้นอาจจะไม่หายก็ได้

 

ดูเทป Innovation แล้วได้อะไร?

 

จากการได้ดูเทปการสนทนาระหว่างศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ กับ อาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการ เกี่ยวกับ "นวัตกรรม" แล้วนั้นนักศึกษาก็เกิดคำถามกับตัวเองว่า แล้วนวัตกรรมคืออะไรกันแน่"นวัตกรรม" นวัตกรรมตรงกับคำว่า "innovation" ในภาษาอังกฤษ โดยคำกริยาคือ innovate นั้นมีรากศัพท์มาจากคำภาษลาตินว่า innovare ซึ่งแปลว่า "to renew" หรือ "ทำขึ้นใหม่" และมาต่อยอดทางความคิดของแต่บุคคลหรือองค์การเพื่อให้ตรงตามเป้าหมายที่วางไว้จึงทำให้คำจำกัดหมายของคำว่านวัตกรรมแตกต่างกันออกไป จากการดูเทปสามารถสรุปคำว่านวัตกรรมคือ การทำสิ่งใหม่ที่ใช้การเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งครอบคลุมทั้งสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม และประเทศชาติ

 

 

นวัตกรรมสำคัญอย่างไร?

นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่คนให้ความสนใจ คนหรือองค์การนั้นต้องมี นวัตกรรม คือต้องรู้จักการเรียนรู้ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และอาจต้องคิดให้ไกลกว่าโลกปัจจุบันอีกด้วย เพราะถ้าคนหรือองค์การมัวงอมือเท้าไม่มีการพัฒนาในทุกด้าน คนหรือองค์การก็ไม่สามารถอยู่ได้ นวัตกรรมจึงมีความสำคัญมากในโลกปัจจุบัน แต่การจะก้าวทันโลกต้องให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่หรือความสุขความพึงพอใจของเรา

 

 

จะสร้างนวัตกรรมได้อย่างไร?

นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ สิ่งแรกต้องเปิดใจให้กว้างไม่ปิดกั้นทางความคิดพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆและกระตือรือร้นจะเรียนรู้ตลอดเวลา หรืออาจมีผู้จุดไฟแห่งความใฝ่รู้ทำให้เกิดมีแรงดึงแรงกระตุ้น ทำให้เกิดความต้องการเรียนรู้เกิดการพัฒนาตัวเองหรือองค์การอย่างไม่สิ้นสุด

 

นวัตกรรมอาจไม่ประสบผลสำเร็จก็ได้ ต้องกล้าเสี่ยง เสี่ยงภายใต้การควบคุม นำความผิดพลาดที่เกิดขึ้น มาเป็นบทเรียนในการเรียนรู้ที่จะสร้างนวัตกรรม อย่างไม่จบสิ้น

 

นายสรสิช ตรีเนตร ตัวแทนกลุ่มที่ 4

 

สมาชิกกลุ่ม 4

น.ส.อรทัย         บุณยรัตพันธ์

น.ส.สถิภรณ์      คำพานิช

น.ส.จารุวรรณ   ตันไชย

น.ส.ภัทรจิตรา   เขียวมีส่วน

น.ส.พิมพ์ลดา    โต๊ะเพิ่มพูน

น.ส.จุฑารัตน์     เกษรปทุมานันท์

น.ส.จุไรรัตน์     เปลี่ยนขำ

 

                จากที่กลุ่มที่ 4 ได้ศึกษาหนังสือเรื่อง The Speed of Trust ซึ่งในส่วนที่ได้ไปทำการศึกษามาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือ จะขอสรุปจากพฤติกรรมที่ได้ศึกษามา 4 พฤติกรรม ได้แก่

                พฤติกรรมที่ 1 การพูดตรงไปตรงมา  (Talk straight)

การพูดตรงไปตรงมามีหลักการสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ

1.บอกกล่าวความจริงและถูกต้องตรงกัน (Tell the truth and leave the right impression)

2.ผลกระทบต่อความสำเร็จและต้นทุน (The impact on speed and cost)

3.นำการพูดตรงไปตรงมาไปใช้ทุกครั้ง (When talk straight is taken too far)

4.การพูดตรงที่บ้าน (Talk straight at home)

          สรุปพฤติกรรมการพูดอย่างตรงไปตรงมา

                จงซื่อสัตย์ บอกความจริง ทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีจุดยืนตรงไหน ใช้ภาษาง่ายๆ กระชับ สั้นได้ใจความ เรียกขานวัตถุตามชื่อจริง แสดงบูรณภาพอย่าใช้เล่ห์โน้มน้าวจูงใจผู้อื่น อย่าบิดเบือนความจริง อย่าลองให้ผู้อื่นเข้าใจผิด

          พฤติกรรมที่ 2 แสดงความนับถือ (Demonstrate Respect)

                สรุปพฤติกรรมแสดงความนับถือ

                ต้องห่วงใยคนอื่นอย่างแท้จริง แสดงออกถึงความห่วงใย เคารพให้เกียรติทุกคนในทุกๆบทบาท ปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเคารพ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่สามารถทำอะไรให้คุณได้ แสดงความมีเมตตาด้วยสิ่งของเล็กๆน้อย อย่าดูถูกประสิทธิภาพของคน

                พฤติกรรมที่ 3 สร้างความโปร่งใส (Create Transparency)

                สรุปพฤติกรรมการสร้างความโปร่งใส

                ต้องพูดความจริงและต้องพิสูจน์ได้ และต้องเป็นเรื่องจริงของแท้ที่เชื่อถือได้แน่นอน กล้าที่จะเปิดเผยสิ่งที่เคยผิดพลาด ทำทุกอย่างต้องมีหลักฐาน "คุณเห็นอะไรและคุณได้อะไร" อย่ามีวาระซ่อนเร้นและอย่ามีการหมกเม็ดข้อมูลเด็ดขาด

                พฤติกรรมที่ 4 ถูกและผิด(Right Wrongs)

          สรุปพฤติกรรมถูกและผิด

                ทำในสิ่งที่ถูกต้องเมื่อคุณรู้ว่าคุณทำผิด (แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด) ขอโทษโดยเร็ว ชดใช้ในสิ่งที่พอจะทำได้ หัดรู้จักที่จะ "ให้" และ "รับ" จงแสดงความถ่อมตัว จงภูมิใจในสิ่งที่ทำถูกต้อง

นายสรสิช ตรีเนตร ตัวแทนกลุ่มที่ 4

 

สมาชิกกลุ่ม 4

น.ส.อรทัย         บุณยรัตพันธ์

น.ส.สถิภรณ์      คำพานิช

น.ส.จารุวรรณ   ตันไชย

น.ส.ภัทรจิตรา   เขียวมีส่วน

น.ส.พิมพ์ลดา    โต๊ะเพิ่มพูน

น.ส.จุฑารัตน์     เกษรปทุมานันท์

น.ส.จุไรรัตน์     เปลี่ยนขำ

นายสรสิช         ตรีเนตร

 

                จากที่กลุ่มที่ 4 ได้ศึกษาหนังสือเรื่อง The Speed of Trust ซึ่งในส่วนที่ได้ไปทำการศึกษามาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ พฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับความน่าเชื่อถือ จะขอสรุปจากพฤติกรรมที่ได้ศึกษามา 4 พฤติกรรม ได้แก่

                พฤติกรรมที่ 1 การพูดตรงไปตรงมา  (Talk straight)

การพูดตรงไปตรงมามีหลักการสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ

1.บอกกล่าวความจริงและถูกต้องตรงกัน (Tell the truth and leave the right impression)

2.ผลกระทบต่อความสำเร็จและต้นทุน (The impact on speed and cost)

3.นำการพูดตรงไปตรงมาไปใช้ทุกครั้ง (When talk straight is taken too far)

4.การพูดตรงที่บ้าน (Talk straight at home)

          สรุปพฤติกรรมการพูดอย่างตรงไปตรงมา

                จงซื่อสัตย์ บอกความจริง ทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีจุดยืนตรงไหน ใช้ภาษาง่ายๆ กระชับ สั้นได้ใจความ เรียกขานวัตถุตามชื่อจริง แสดงบูรณภาพอย่าใช้เล่ห์โน้มน้าวจูงใจผู้อื่น อย่าบิดเบือนความจริง อย่าลองให้ผู้อื่นเข้าใจผิด

          พฤติกรรมที่ 2 แสดงความนับถือ (Demonstrate Respect)

                สรุปพฤติกรรมแสดงความนับถือ

                ต้องห่วงใยคนอื่นอย่างแท้จริง แสดงออกถึงความห่วงใย เคารพให้เกียรติทุกคนในทุกๆบทบาท ปฏิบัติกับทุกคนด้วยความเคารพ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่สามารถทำอะไรให้คุณได้ แสดงความมีเมตตาด้วยสิ่งของเล็กๆน้อย อย่าดูถูกประสิทธิภาพของคน

                พฤติกรรมที่ 3 สร้างความโปร่งใส (Create Transparency)

                สรุปพฤติกรรมการสร้างความโปร่งใส

                ต้องพูดความจริงและต้องพิสูจน์ได้ และต้องเป็นเรื่องจริงของแท้ที่เชื่อถือได้แน่นอน กล้าที่จะเปิดเผยสิ่งที่เคยผิดพลาด ทำทุกอย่างต้องมีหลักฐาน "คุณเห็นอะไรและคุณได้อะไร" อย่ามีวาระซ่อนเร้นและอย่ามีการหมกเม็ดข้อมูลเด็ดขาด

                พฤติกรรมที่ 4 ถูกและผิด(Right Wrongs)

          สรุปพฤติกรรมถูกและผิด

                ทำในสิ่งที่ถูกต้องเมื่อคุณรู้ว่าคุณทำผิด (แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด) ขอโทษโดยเร็ว ชดใช้ในสิ่งที่พอจะทำได้ หัดรู้จักที่จะ "ให้" และ "รับ" จงแสดงความถ่อมตัว จงภูมิใจในสิ่งที่ทำถูกต้อง

ตัวแทนกลุ่ม 3 รปม. รุ่น 4

รายชื่อสมาชิก   กลุ่ม  3

  1. นางสาวกมลทิพย์    สัตบุษ                          

  2. นางสาวพรทิพย์       เรืองปราชญ์  

  3. นางสาวขนิษฐา       พลับแก้ว               

  4. นางสาววรางคณา    ศิริหงษ์ทอง 

  5. นางวีลาวัลย์           จันทร์ปลา                     

  6. นายบุญชู              ทองฝาก 

  7. นายโสภณ             สังข์แป้น                       

  8. นางสาวสายใจ        โฉมสุข     

  9. จ.ส.ต.พงศกร         ไพเราะ                      

10. ส.ต.ท.ธรรมศักดิ์    มณีโชติ    

11. นายชัยรัตน์            พัฒนทอง                  

12. จ.ส.ต.บัญชา          วิริยะพันธ์   

 

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนนักศึกษา รปม. รุ่น 4  และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

 

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มิใช่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ แต่เป็นความฝันบนพื้นฐานของความเป็นจริง เกิดจากการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ ผสานกับความคิด จนเกิดเป็นผลผลิตใหม่ วิธีการใหม่ นวัตกรรมใหม่ (Innovation) ที่มีคุณค่าสามารถนำไปใช้ได้จริง  ถือเป็นการสร้างสรรค์ความคิดที่ทรงคุณค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ใช้เพื่อแก้ปัญหาและสามารถเพิ่มมูลค่าได้  

        ถ้าความคิดสร้างสรรค์ดีขนาดนั้น จะทำอย่างไรล่ะ ที่จะสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในระบบราชการ เพื่อให้ระบบราชการเกิดการพัฒนา ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องแข่งขันกับใครเหมือนองค์กรธุรกิจ แต่ก็ต้องแข่งขันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกยุคไร้พรหมแดนเช่นปัจจุบัน  ก่อนอื่นเราคงต้องวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของระบบราชการ  เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ ๆ ให้แก่ราชการได้

        จุดแข็งของระบบราชการ

-          มีโครงสร้างหน่วยงาน  ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน  และบริหารจัดการภายใต้กฎ ระเบียบและ ข้อบังคับต่าง ๆ   อย่างเคร่งครัด

-          มีการกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานอย่างชัดเจน

-          งบประมาณสนับสนุนที่เพียงพอ

-          มีการคัดเลือกบุคลากรอย่างเป็นระบบ

 

        จุดอ่อนของระบบราชการ

-          โครงสร้าง สายการบังคับบัญชาที่เป็นแนวดิ่ง  กอรปกับการมีระเบียบ ข้อบังคับ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ทำให้การทำงานล่าช้า และเกิดการติดขัดในระหว่างการดำเนินงาน

-          การใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

-          ระบบอุปถัมภ์ที่ยังคงมีอยู่มากในระบบราชการ

-          การไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา  หรือใช้อำนาจหน้าที่ของตนเองเป็นใหญ่

-          ขาดการกระตือรือร้น  ทำงานแบบเดิม ๆ  ไม่มีการนำความรู้ใหม่ ๆ มาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ 

 

อุปสรรค์ในการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในระบบราชการ

        อาจเนื่องมาจากระบบราชการไม่เอื้อ ติดขัดเรื่องระเบียบฯ ข้อบังคับ  หรือสายการบังคับบัญชาที่ยาว จนบางครั้ง เมื่อดำเนินการไปแล้วเกิดการติดขัด ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความไม่ชัดเจนและเบื่อหน่าย การปฏิบัติงานแบบเดิม ๆ โดยไม่ได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือระบบสารสนเทศที่จะเป็นประโยชน์มาใช้ ขาดการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับความรู้ใหม่ ๆ  และที่สำคัญที่สุดคือ ผู้บังคับบัญชาไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา  ที่กล่าวมานี้ล้วนแต่เป็นอุปสรรค์ในการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในระบบราชการทั้งสิ้น

        วิธีการแก้ไขที่จะสามารนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในระบบราชการได้  อันดับแรกคือการปรับทัศนคติ ให้ใส่ใจต่อการพัฒนาและนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้  โดยมองให้เห็นถึงประโยชน์ สร้างการเรียนรู้ คิดนอกกรอบ และให้ความสำคัญในการมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ลักษณะการบริหารแบบ CEO  โดยให้มีการพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรให้เป็นคนเก่ง มีการสอนงานจากผู้รู้ หรือมีการหมุนเวียนงานกันทำ เพื่อให้บุคลากรได้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ  กระตุ้นให้เกิดการรับผิดชอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนครบถ้วนทุกภารกิจ  หรือการมอบหมายให้เป็นคณะกรรมการ เพื่อที่จะได้ใช้ศักยภาพที่มีอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหา หรือกู้วิกฤตในภารกิจใดภารกิจหนึ่ง ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองเมื่อทำงานประสบความสำเร็จ

        ขอหยิบยกตัวอย่าง  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  ที่แก้ไขปัญหาฟันฝ่าอุปสรรค์ที่เคยมีด้วยการนำการบริหารองค์การแนวใหม่ และเครื่องมือต่าง ๆ  มากระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในหมู่บุคลากรสายสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง  สวนสุนันทา ถือว่าโชคดีที่มีผู้นำที่เห็นความสำคัญในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ทั้งคุณภาพทางวิชาการ คุณภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร  โดยมีการอบรมให้ความรู้และปฏิบัติจริง เช่น โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ซึ่งทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2  เป็นการสร้างระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุน โดยแยกเป็นกลุ่มงานที่รับผิดชอบ และสมาชิกในกลุ่มจะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานที่ประสบความสำเร็จผ่านการประชุม  และในระบบสารสนเทศ   มีการร่วมกันค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ที่ดีที่สุดในการทำงาน (Best Practices) สร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ ๆ ที่จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง ถูกต้องและรวดเร็ว โดยกลุ่มผู้ที่ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน  และมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลใกล้ชิดตลอดขั้นตอน  เมื่อได้วิธีการที่สามารถลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลงแล้ว ก็จะนำเสนอต่อผู้บริหารทุกระดับให้รับทราบและลงนามให้สามารถปฏิบัติตามวิธีการนั้น ๆ ได้  มีการเสริมแรงแก่บุคลากรด้วยการจัดประกวดและให้รางวัล รวมทั้งยกย่องชื่นชมแก่กลุ่มที่มีการปฏิบัติงานเป็นเลิศ

        อย่างไรก็ตาม  การนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในระบบราชการนั้น  สิ่งที่สำคัญคือผู้บริหารระดับสูงควรเปิดใจยอมรับเครื่องมือหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่จะมาช่วย และยอมรับข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของบุคลากรซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานจริง  รวมทั้งให้การส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อให้การนำความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถใช้ได้จริงเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

นางวีราวัลย์ จันทร์ปลา รหัสนักศึกษา 50038010037

กราบสวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงษ์ลดารมภ์ , อาจารย์ยม  นาคสุขทีมงาน Chria Academy ทุกท่าน , เพื่อน ๆชาวรปม.รุ่น 04 , และผู้อ่านทุกท่าน

       1. อุปสรรคในInnovation  และ Learning Organization  และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง          

        นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่  ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง      การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

         องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 

        จากที่ผู้เขียนได้ปฏิบัติงานในหน่วยงานราชการพบว่า การปฏิบัติงานในระบบราชการต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งของหัวหน้างาน หรือจะปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบเท่านั้น ทำให้บุคลากรไม่มีโอกาสที่จะได้แสดงความคิดเห็น หรือถ้าแสดงความคิดเห็นหรือเสนออะไรก็จะไม่เกิดการยอมรับ   บุคลากรก็จะไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  ไม่มีโอกาสได้พัฒนางานใหม่ ๆ ทั่งที่บุคลากรอาจจะมีความคิดที่จะพัฒนางานที่ได้รับมอบหมายหรือเกิดการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขี้น   เมื่อเกิดการไม่การยอมรับ  ทำให้องค์กรไม่เกิดการเรียนรู้หรือพัฒนางานใด ๆ   ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในการสร้าง นวัตกรรม (Innovation)  หรือการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้  เมื่อมีองค์กรมีพฤติกรรมเป็นแบบนี้ก็จะทำให้พนักงานติดเป็นนิสัยอยู่อย่างสบายไม่คิดไม่พัฒนาอะไรก็อยู้ได้ไปวัน ๆ  และจากสาเหตุที่ระบบราชการมีผลตอบแทนน้อยก็ทำงานตามผลตอบแทนที่ได้รับ  เป็นอันตรายต่อการพัฒนางานทรัพยากรมนุษย์ เพราะเปลี่ยนอะไรก็สามารถเปลี่ยนได้แต่เปลี่ยนพฤติกรรมคนนั้นอยากยิ่งกว่า

          ผู้เขียนคิดว่าควรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานในระบบราชการด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยการให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานเป็บแบบอย่างให้กับพนักงานเกิดความเชื่อมันและศรัทธา  สร้างและส่งเสริมองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ส่งเสริมและรับฟังความคิดเห็นหรือสนับสนุนให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบราชการตามจุดมุ่งหมายของงานคือการบริการประชาชน

        2.สิ่งที่ได้รับจากการดูเทปวิดิทัศน์การสนทนาระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลัดดารมภ์ และคุณศุภชัย  หล่อโลหะการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ดังนี้

       ปัจจุบัน นวัตกรรม (Innovation) เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและมุ่งเน้นในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งในแต่ละประเทศให้ความหมายไม่เหมือนกัน สำหรับประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญและก่อตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในปี พ.ศ. 2540   เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ  โครงการพัฒนานวัตกรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากคน  นวัตกรรม  คื่อสิ่งใหม่ ต้องการใช้ความรู้มีประโยชน์กับสังคม และเพื่อสังคม  การทำให้เกิดประโยชน์จึงเป็นสิ่งทำยาก  นวัตกรรมต้องรู้หลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการตลาด  ด้านการจัดการ  จึงจะประสบความสำเร็จ

       กล่าวได้ว่านวัตกรรมคือความอยู่รอดของประเทศชาติ  จะต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการคิดหรือผลิตสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งที่ยาก  นวัตกรรมอาจจะเกิดจากการคิดนอกกรอบ  เกิดจากการลองผิดลองถูก  หรือเกิดจากากรทำซ้ำ  ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ เราต้องส่งเสริมให้การการพ้ฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามทฤษฎี 8 K' s  ของท่านอาจารย์จีระ คือทุนทางด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Talented Capital) ทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Digital Capital) จึงจะสร้าง นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ได้ 

         ท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์    อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด อาจารย์บุญรอด สิงห์วัฒนศิริ อาจารย์ประกาย  ชลหาญ  อาจารย์ยมนาคสุข และ ทีมงาน Chria Academy ทุกท่าน  ที่ได้ถ่ายถอดความรู้ และประการณ์ที่มีคุณค่าให้กับพวกเราชาวรปม. รุ่นที่ 04  ทุกคน   ขอบพระคุณมากค่ะ 

นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง รปม.รุ่นที่ 4 รหัส 50038010043

เรียน   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข เพื่อนๆ รปม.รุ่นที่ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

จากที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม วันที่ 23  ก.พ. 51  เรื่องแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

1.     ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคศตวรรณที่ 21  ซึ่งถือได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก  หากต้องการให้องค์การพัฒนา  โดยมีโมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง  5  ขั้นตอน

       1.  การประเมินความรู้และทักษะ

       2.  การวิเคราะห์

       3.  การวางแผนพัฒนา

       4.  การดำเนินการตามแผน

       5.  การประเมินความก้าวหน้า

 

คุณลักษณะที่มักใช้ประเมินบุคลากร

ภาวะผู้นำ

การสื่อสาร(พูดได้ต่อชุมชม)

-   การวางแผน ทำงานภายใต้ความกดดันได้

-   การตอบสนอง ต่อความเครียด ด้วยตนเองได้

แรงจูงใจ

ศักยภาพในการเรียนรู้

-   พลังในการทำงานสมรรถนะ

การตัดสินใจ

การจัดการ

-  การวิเคราะห์

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

 

       1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

              -  มีทักษะในการสื่อสาร

              -  มีการประสานสัมพันธ์

              สร้างความน่าเชื่อถือ เพื่อก่อให้เกิดความศรัทธา

 

       2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

              -  มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

              -  มีจิตมุ่งบริการ

              -  มีการวางแผนกลยุทธ์

              ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

 

       3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

              -  การตัดสินใจ

              -  ความเป็นผู้นำ

              -  การคิดเชิงกลยุทธ์

              คิดนอกกรอบ

 

       4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

              -  การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

              -  การบริหารทรัพยากร

              -  การบริหาร  CEO  Customer Empoyee Organzation 

                     C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                     E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                     O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย

 

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

 

1.  Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ที่ดีใช้ คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษา  เป็นครูผู้ฝึกสอน  แนะนำแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน  ตัวผู้สอนอาจมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรตามแต่ความเหมาะสม

 

2.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

 

3.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

 

4.  Task Force Assignment  มอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงาน เพ่อให้เขารู้จัดการทำงานเป็นทีม บริหารงานเป็น แก้ปัญหาได้

 

5.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

 

6.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

 

7.  Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ที่องค์การแนะนำให้ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ  ทั้งนี้ เพราะ คนเก่ง มักเป็นผู้ที่กระตือรือร้นมีแรงจูงใจในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

 

8.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น โดยสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ  เน้นประสบการณ์ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 

 

9.  Extracurricular  Activity  พัฒนาให้ทำกิจกรรมพิเศษ  ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เกิดการพัฒนา  เช่น  กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  เน้นมนุษยสัมพันธ์  สร้างภาพพจน์  ภาพลักษณ์

 

10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้

 

11. Filling in for a Manager   การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"

 

12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ หรือก็คือรัฐมนตรีเงา เมื่อเทียบกับรัฐบาล

2. การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรกมนุษย์

การจัดการเชิงกลยุทธ์  8  เรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถภาพสูง

1. ความต้องการของลูกค้า 

2. การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4. การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6. การพัฒนากระบวนการ 

7. ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8. วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์

1. เตรียมการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม กำหนดทิศทาง กำหนด กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ

2. การนำกลยุทธ์ไปใช้ แผนปฏิบัติการปรับปรุง

- กระบวนงาน

- โครงสร้าง

- เทคโนโลยี

- คน

3. การควบคุมและการตรวจสอบกลยุทธ์

- การติดตาม

- การทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

Henry  Mintzberg   ได้ใช้หลัก 5 p  อธิบายความหมายของกลยุทธ์ ได้แก่

1. กลยุทธ์คือ แผน Plan

2. กลยุทธ์คือ แบบแผนหรือรูปแบบ Pattern

3. กลยุทธ์คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง Position

4. กลยุทธ์คือ ทัศนภาพ Perspective (ภาพที่ต้องการในอนาคต

5. กลยุทธ์คือ กลวิธีในการเดินหมาก Play (กลวิธีเดินไปสู่เป้าหมายอย่างมีสติรอบคอบมีการวัดผล

สรุปกลยุทธ์ คือแผนที่จะไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

        กลยุทธ์ หมายถึงวิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

Michael  E, Porter  ได้ให้แนวคิดว่ากลยุทธ์ในการบริหารมี  3  ประเภท

1. กลยุทธ์ที่เน้นต้นทุนต่ำ

2. เน้นสร้างนวัตกรรม ความแตกต่าง เพื่อให้เหนือชั้นกว่า

3. เน้นที่ลูกค้า  กลุ่มเป้าหมาย

 

       การนำ HCM ไปพัฒนาภายในองค์การ เช่น การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา การบริหารความรัก ฯลฯ โดยใช้หลักธรรม หลักรัฐศาสตร์ ซึ่ง

อาศัยการสร้างอำนาจ  5  อย่าง

1. อำนาจสร้างได้โดยการให้  ให้โอกาส  ให้ความรู้  ให้อภัย

2. อำนาจให้ได้โดยการติ  ติด้วยความเมตตาปราณี

3. อำนาจสร้างได้ด้วยการเป็นผู้รู้ ที่สำคัญอย่าลืมตัว

4. อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

5. อำนาจสร้างได้ด้วยการอาศัยอำนาจทางนิติกรรม

สรุปประเด็น  Human Capial  Managment

1. จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

2. การจัดการและภาวะผู้นำ

3. การเรียนรู้และการพัฒนา

4. การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

5. การพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านความรู้ทักษะ สมรรถนะ

 

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กรให้แก้ไข และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

องค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กรสมรรถภาพสูง

1. ไม่ได้บริหารคนเก่ง+คนดี

2. คนขาดความรู้

3. ขาดภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์

5. ขาดการวัดทุนมนุษย์

1. บริหารคนเก่ง+คนดี

2. บริหารความรู้และพัฒนา

3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. พัฒนาประสิท ธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5. ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

สรุปเราสามารถวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จในการสรุปปัญหาและแนวทางที่จะพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์พันธกิจของหน่วยงานที่ตั้งไว้ และนำเทคนิควิธีการฝึกอบรมคนเก่งซึ่งมีให้เลือกถึง 15 วิธี นำมาเลือกวิธีที่เหมาะสมกับคนในองค์กรมาใช้ในการวางแผนพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาคนเก่น 5 ขั้นตอน เพื่อฝึกให้พนักงานทุกคนเกิดความทะเยอทะยาน เกิดความใฝ่รู้ และเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ & ทีมงาน  อาจารย์ยม เพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

 

สิ่งที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม เมื่อวันที่  23กุมภาพันธ์  2551  คือ

 

1. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21  

 

รูปแบบการพัฒนา "คนเก่ง" มี 5 ขั้นตอน

1. การประเมินความรู้ และทักษะ  เป็นการรวบรวม Feedback จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

2. การวิเคราะห์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับจากการพัฒนาความรู้และทักษะ   โอกาสในการใช้ความรู้ และทักษะ  เมื่อสรุปได้แล้ว ให้เลือกความรู้ และทักษะที่ต้องการพัฒนาให้คนเก่ง เข้าสู่กระบวนการวางแผนพัฒนา

3. การวางแผนพัฒนา  "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม การระบุเวลาที่ต้องใช้ และงบประมาณ ผู้สอน วิธีการที่ใช้ เป็นต้น

4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ  และให้มีการตรวจติดตามความกว้าหน้า

5. การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การ Feedback แก่พนักงาน

 

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน   แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

1. สมรรถนะในการบริหารคน  (HR.  Management)

2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level)

4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

 

สมรรถนะในการบริหารคน  (HR.  Management)

- ทักษะในการสื่อสาร  (Communication)

- การประสานสัมพันธ์  (Coordinate activeness)

 

สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge)

- การบริหารการเปลี่ยนแปลง  (Managing  Change)

- การมีจิตมุ่งบริการ  (Customer  Service  Orientation)

- การวางแผนกลยุทธ์  (Strategic  Planning)

 

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

1 Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา "คนเก่ง"  ต้องมีครู ผู้ฝึกสอน และผู้แนะแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน ให้คำแนะนำ เพื่อความสำเร็จในงาน  ตัวผู้สอน อาจจะมาจากภายนอก หรือภายในองค์การ ตามแต่ความเหมาะสมขององค์การ

2 Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ

3 Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษให้ทำ  เป็นการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน จะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบในงาน

4 Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อพัฒนาความรู้ ประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ  ผู้เข้าร่วมทีมควรจะมีความเป็นผู้ใหญ่ในการทำงาน มีทักษะในเรื่องที่ทำ

5 Internal Education and Training มีการฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม ความรู้ในหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร 

6 Executive Program/External Course Work  การส่ง "คนเก่ง" ไปรับการพัฒนาอบรมภายนอก

7 Guided Reading การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ที่องค์การแนะนำให้ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ 

8 Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน 

9 Extracurricular Activity การทำกิจกรรมพิเศษ

10 E-Learning  การเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning 

11 Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการเพื่อให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน 

12 Job Shadowing  สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ

 

 

2. การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

 

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานว่าจะนำไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) หมายถึงกระบวนการกําหนดภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร การกำหนดกลวิธีที่เหมาะสม การปฏิบัติงานตามกลวิธีที่กำหนดไว้ สามารถนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าประสงค์ที่กําหนดไว้

 

การบริหารคนฉลาด (Talent) ในองค์การ  ยุคคนมีปัญญาดี

- การจำแนก

- ดึงดูดคนเข้ามา

- พัฒนาความรู้

- พัฒนาสมรรถนะ+ศีล สมาธิ สติ ปัญญา

- พัฒนานวัตกรรมการทำงาน การบริการ

- พัฒนาความกว้าหน้าในอาชีพ

 

การนำ  HCM ไปพัฒนางานในองค์การประกอบด้วย

- การพัฒนาหรือการค้นหาผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (Leadership)

- การบริหารคนเก่ง+คนดี (Talent management)

- การเรียนรู้และการพัฒนา(Learning and development)

- การบริหารความรู้ (Knowledge management)

- การบริหารสมรรถนะ (Competency management)

- การบริหารการทำงาน (Performance management)

- การบริหารความเชื่อมั่น ความศรัทธา (Trust management)

- การบริหารความรัก (Love management)

 

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์  (Human capital strategy)

- หาคนดีมาผูกใจให้อยู่ในองค์การอยู่ (Acquisition & Retention)

- เรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development)

- การจัดการและภาวะผู้นำ (Management and Leadership)

- การจัดการทุนมนุษย์ (Human capital management)

- การทำงานจากทุนมนุษย์ (Human capital performance)

 

สรุปประเด็น  (Human Capital Management) HCM

- จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

- การจัดการและภาวะผู้นำ      

- การเรียนรู้และการพัฒนา

- การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

- การพัฒนาทุนมนุษย์

 

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กรด้อยประสิทธิภาพ

องค์กร ขาดทุนมนุษย์

- ไม่ได้บริหารคนเก่ง+ดี

- คนขาดความรู้

- ขาดภาวะผู้นำ

- ขาดการจัดการทุนมนุษย์

- ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์

 

องค์กรสมรรถนะสูง

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

- บริหารคนเก่ง+ดี

- บริหารความรู้และพัฒนา

- พัฒนาภาวะผู้นำ

- พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

- ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

         กล่าวคือ  การกำหนดกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องให้แผนกลยุทธ์นั้นมีความเหมาะสม สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ในภาพรวมขององค์กร  ทั้งนี้โดยมีแนวคิดว่าแผนกลยุทธ์ทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานที่จะเอื้ออำนวยให้แผนกลยุทธ์ในระดับองค์กรประสบความสำเร็จ

 

            สุดท้ายก็กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ที่พาอาจารย์ยมาให้ความรู้แก่พวกเราชาว รปม.รุ่น 4  ถึงแม้ว่าท่านจะสอนพวกเราไม่กี่วัน  แต่พวกเราก็มีความรู้สึกผูกพัน และดีใจที่มีอาจารย์ผู้รู้ทั้งหลายมาสอน มาถ่ายทอดสิ่งดี ๆ ให้กับพวกเราชาว รปม.รุ่น 4  ขอบพระคุณค่ะ

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ รปม.รุ่น 4

 

กราบเรียนท่าน ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  ท่าน อ. ยม นาคสุข   และผู้อ่านทุก ๆ ท่านครับ

หลังจากการเรียนในห้องเรียนโดยการพร่ำสอนของท่าน อ.ยม นาคสุขในวันนั้นทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้และข้อคิดจากการเรียนรู้ในเรื่องทิศทางการพัฒนามนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคต ถ้าเราจะพัฒนาคนนั้น เราจะต้องทำอย่างไร เช่น จะพัฒนาโดยการให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยมีคำกล่าวว่า "ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน"    เรื่อง "ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป"  ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ  ซึ่งจะได้กล่าวพอสังเขปดังต่อไปนี้ คือ

แนวทางในการพัฒนาคน

1. การประเมินความรู้ของเขาเสียก่อนว่าเหมาะกับการพัฒนามากน้อยขนาดไหน

2. การวิเคราะห์ว่ามีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร แล้วนำจุดอ่อนมาพัฒนา

3.การวางแผนพัฒนา "คนเก่ง" โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม

4. การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ

5. การประเมินความกว้าหน้า เป็นการประเมินผลเพื่อหาจุดที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม


คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร
      - ภาวะผู้นำ คือการจะทำอะไรให้สำเร็จ หรือมีศักยภาพเราต้องมีเป้าหมาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเราเสียก่อน

- การสื่อสาร เช่นต้องพัฒนาการทางด้านภาษาเพื่อให้ได้เปิดกว้างในด้านการข้อมูลข่าวสาร เช่นพูดได้หลาย

   ภาษา อย่างน้อย 2 ภาษา

-  การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน

- การตอบสนองต่อความเครียด
- การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง
- ศักยภาพในการเรียนรู้
- พลังในการทำงานและสมรรถนะสูง มีความอดทน เป็นต้น  ฯลฯ

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน ที่จะเป็นผู้บริหารไปสู่อนาคต แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม
      1. ความสามารถในการารบริหารคน  (HR.  Management) ต้องมีทักษะในการสื่อสาร และการประสานสัมพันธ์
      2. ความสามารถในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge) มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีจิตที่จะมุ่งบริการมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการวางแผนแบบมีกลยุทธ์
      3. ความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level) ดูจากการตัดสินใจที่รวดเร็วแม่นยำ มีการคิดเชิงกลยุทธ์คือคิดอย่างมีเหตุมีผล มีเป้าหมาย มีวิธีไปสู่ความสำเร็จได้
      4. ความสามารถการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO) ทำไปเพื่ออะไร มีวิธีการวัดผลอย่างไร มีตัวชี้วัดอย่างไร เช่นการสร้างเป้าหมาย

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง
      1. Coaching การสอนงาน ต้องสอนวิธีการให้เขารู้ เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่ง

      2. Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์การ  คนเก่งสามารถเรียนรู้งานใหม่ และปฏิบัติงานในสายานใหม่ได้อ่างรวดเร็ว  การโยกย้ายฝ่ายงานจะบรรลุผลสำเร็จด้วยดี อยู่ที่การวางแผนที่ลัดกุม และมีการวัดผลที่ชัดเจน
      3. Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรือองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานนี้ ฝึกเรื่องความรับผิดชอบในงาน
      4. Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อฝึกให้เขาบริหารงานเป็นทีม ฝึกให้แก้ปัญหาวิกฤติในโครงการใดโครงการหนึ่ง
      5. Internal Education and Training การให้ "คนเก่ง" ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับงานและความสามารถ
      6. ส่งคนไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ เช่น บริษัทใหญ่ๆ เช่นNokia ผู้บริหารส่งคนไปเรียน
      7. Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง แนะนำหนังสือให้อ่าน เช่นหนังสือ Good to Great
      8. Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน  นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้ "คนเก่ง" เข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น 
      9. Extracurricular Activity การให้ "คนเก่ง" ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา "คนเก่ง" เช่น กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์  กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์
     10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้
     11. Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน  การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"
     12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ เช่นการนี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่างคนที่ทำงานแทนผู้นำโดยตรงในคณะรัฐมนตรี คือรัฐมนตรีเงา

กลยุทธ์ (Strategy)

องค์การที่จะเป็นองค์การที่มีสมรรถนะสูงต้องจะต้องมีกลยุทธ์ดังนี้
     1. ความสำคัญของลูกค้า
      2. เอาความสำคัญของลูกค้าไปวางแผนกลยุทธ์
      3. ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์การ
      4. มีการจัดการความรู้ ทักษะของพนักงาน เพื่อทำให้การจัดการบริหารทุนมนุษย์ ทำให้เกิด 
    ประสิทธิภาพ อันจะนำมาซึ่ง
       - ความพอใจของลูกค้าหรือประชาชน
       - ความพึงพอใจของคนทำงาน
       - ผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ

และบทเรียนอีกมากมายที่ได้เล่าเรียนมาจะกล่าวมากก็เห็นว่าซ้ำ ๆ กันต่างคนต่างก็เก็บเกี่ยวความรู้และนี้ก็เป็นการแชร์ความรู้กันนับว่าเป็นการดีมากครับ ฯ

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041

 

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน..

 

          ขอกล่าวถึงความรู้สึกจากการไป Study Tour  ที่เกาะล้าน  จังหวัดชลบุรี

 

          สิ่งแรกที่จะกล่าวถึงสำหรับ Study Tour เกาะล้านครั้งนี้ คือ  ความประทับใจในความเป็นกันเองของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ความเอื้ออาทรและหวังดีต่อศิษย์ที่อยู่ภายในตัวของท่านอาจารย์  จิตวิญญาณแห่งความเป็นครูที่พวกเราสัมผัสได้  และการที่เราได้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากตำราและห้องเรียน  เราสำนึกได้ถึงทันทีว่าทุกที่ ทุกเวลาคือการเรียนรู้ทั้งสิ้น  และสำหรับผู้ใฝ่รู้อย่างพวกเรา รปม. รุ่น 4  จะพลาดได้อย่างไรเล่า

 

          ความประทับใจที่ได้จากการไป Study Tour  ที่เกาะล้าน 

          เริ่มต้นจากการเดินทางจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มุ่งหน้าสู่เกาะล้าน จ.ชลบุรี  บรรยากาศภายในรถบัสอบอวนไปด้วยมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีของเพื่อน ๆ รปม.รุ่น 4  รับรู้ได้จากเสียงหัวเราะ การพูดคุยอย่างสนุกสนาน ตลอดเส้นทางจนถึงชายหาดพัทยา  ที่ซึ่งเราได้เจอกับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  ที่ท่านมารอเราอยู่ก่อนแล้ว  และการทักทายแรกจากอาจารย์ด้วยการโบกมือคล้ายดาราฮอลลีวู๊ด ซึ่งเรารู้สึกเช่นนั้นจริง ๆ  พร้อมกับการยกมือไหว้ตอบอาจารย์จากลูกศิษย์ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลายภายในรถบัส  จากนั้นการเรียนรู้ต่อมาก็เริ่มขึ้น  ท่านอาจารย์ได้นำเราไปยังชั้น 2 ของห้างสรรพสินค้าเพื่อไปยังร้านหน้งสือ Bookgazine  ซึ่งหนังสือในร้านส่วนใหญ่เป็นหนังสือต่างประเทศ  ท่านอาจารย์พูดเสมอว่าเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการอ่านโดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษ  ดังเช่นชาวต่างชาติที่เวลาว่างส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการอ่านหนังสือ

 

          จากนั้นเราเดินทางต่อเพื่อลงเรือไปยังเกาะล้าน  ระหว่างทางในเรือช่วงแรกทุกคนก็ครื่นเครงกันอยู่  พูดคุยกัน  บ้างก็ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน  แต่ด้วยคลื่นลมที่แรง คลื่นสูงจนสาดเข้ามาในเรือ ทำให้พวกเราเปียกกันไปตาม ๆ กัน  ไม่เว้นแม้แต่ท่านอาจารย์จีระ ก็โดนคลื่นลูกใหญ่สาดเหมือนกัน  ด้วยความเป็นผู้นำของท่านอาจารย์  แม้คลื่นจะแรงแค่ไหนก็ไม่ทำให้ท่านหวั่นไหว ท่านยังคงเดินคุยกับลูกศิษย์ทั่วลำเรือ ทำให้พวกเราคลายความกังวลไปได้ทีเดียว 

 

          เมื่อมาถึงเกาะล้าน เรือไม่สามารถเข้าไปยังชายหาดได้  ต้องรอเรือเล็กจากฝั่งมารับ ตอนนี้แหล่ะ  ประทับใจสุดสุดเลยค่ะ  ที่ว่าคลื่นแรง ๆ ตอนเรือวิ่งว่าแทบแย่แล้ว  แต่ตอนเรือหยุดอยู่กับที่เนี่ยยิ่งกว่าอีกค่ะ  เรือโคลงเคลงมากตามระรอกคลื่น ทำให้พวกเราวิงเวียนกันอีกรอบ พักใหญ่จึงมีเรือเล็กมารับเราเข้าฝัง  ก็ได้เวลาอาหารกลางวันพอดี  ประทับใจเจ้าของร้านอาหารที่คอยให้บริการพวกเราอย่างเต็มที่ และกล่าวขอโทษอยู่ตลอดเวลาในเรื่องอาหารและการบริการที่ทางร้านคิดว่ามันช้าไป  แต่สำหรับพวกเราแล้วไม่ได้คิดเช่นนั้นเลย กลับคิดว่าต้องขอบคุณสำหรับการบริการที่ดี และอาหารที่มีรสชาดอร่อย

 

          หลังจากรับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อย  ท่านอาจารย์จีระไม่ลืมที่จะให้ความรู้กับพวกเรา โดยท่านได้แนะนำผู้ที่เดินทางมากับเรา  ได้แก่  ดร.กีรติ  ท่านรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และท่านอาจารย์ยม  ซึ่งท่านทั้ง 3 ได้ให้ความรู้และแง่คิดดี ๆ กับพวกเรา โดย 

 

          ท่าน ดร.กีรติ   ได้พูดถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เพราะเครื่องมือเครื่องจักร  ไม่ว่าหน่วยงานไหน บริษัทไหน หรือใคร ๆ มีเงินก็สามารถซื้อได้เหมือน ๆ กัน  แต่บุคลากรที่เก่งและมีค่าแก่องค์กร ไม่สามารถหาซื้อที่ไหนได้ และใช่ว่าทุกทีจะมี  ดังนั้นองค์กรจึงควรที่จะพัฒนาและบริหารบุลากรให้เป็นคนเก่ง คนดี มีความสามารถ เพื่อนำองค์กรสู่ความสำเร็จได้

          ท่านรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  ท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเมืองพัทยาในบางมุมที่เราไม่เคยได้รับรู้ รวมถึงจุดเด่นและเสน่ห์ของเมืองพัทยา ที่ทำไมพัทยาจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากของประเทศไทย รวมถึงความเป็นอยู่และการบริหารจัดการผู้คนในเมืองพัทยาด้วย

          ท่านอาจารย์ยม  ท่านได้แนะนำเราในเรื่องการบริหารตัวเองในการเรียนระดับปริญญาโท  ว่าควรที่จะคิดต่อยอดจากอาจารย์ผู้สอน  เพื่อพัฒนาสมอง  และสอนการฟังจัดประเด็นในส่วนที่สำคัญ  ซึ่งเป็นวิธีการเรียนในระดับปริญญาโท  เพื่อให้ได้ประโยชน์ที่จะนำมาปรับประยุกต์ในการใช้งานได้จริง

 

          หลังจากนั้นท่านดาโต๊ะ ประธานของกลุ่ม ได้กล่าวสรุปและให้ข้อคิดที่ประทับใจว่า ท่านอาจารย์จีระ เปรียบเสมือนไฟอันร้อนแรง  แต่เรา รปม.รุ่น 4 ไม่ยอมเป็นท่อนไม้แข็ง ที่รังแต่จะไหม้ไฟอย่างไร้ค่า  แต่เราควรเป็นทองคำแท้  ที่เป็นสิ่งมีค่า  ทองคำแท้ที่พร้อมจะอ่อนตัวจากไฟที่ร้อนแรง เพื่อหล่อหลอมในแม่พิมพ์ที่สวยงามตามที่ท่านอาจารย์จีระได้วางไว้  จากนั้นก็คือการกล่าวปิดท้ายโดยหลวงพี่แทน 

 

          พวกเราพักผ่อนตามอัธยาศัยสักครู่ก็ได้เวลาเดินทางกลับ  เราเดินทางไปยังท่าเรือเพื่อนั่งเรือกลับฝั่งพัทยา  ต้องขอบคุณพี่คนขับเรืออย่างมากที่พาเราฟันฝ่าอุปสรรค์ทางธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  นั่นคือคลื่นลมที่พัดแรงมากกว่าขามา กลับสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัย  

 

          ความประทับใจทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย  หากไม่มีท่านอาจารย์จีระ  ท่าน ดร.กีรติ  ท่านรองผู้กำกับ สภอ.เมืองพัทยา  และท่านอาจารย์ยม ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ เกร็ดเล็กเกล็ดน้อยแก่พวกเรา  ทีมงาน Chira Academy ทุกท่าน  ที่อำนวยความสะดวกในการประสานงานทั้งเรื่องเรือข้ามเกาะ ร้านอาหาร และอื่น ๆ  รวมทั้งเพื่อน รปม. รุ่น 4 ทุกท่าน  ที่ใฝ่รู้และให้ความร่วมมือกับการ Study Tour  ในครั้งนี้เป็นอย่างดีเยี่ยม   ขอบคุณมิตรภาพและสิ่งสวยงามที่เกิดขึ้นกับการมา Study Tour  ในครั้งนี้  ขอขอบคุณค่ะ ...

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041

เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  ทีมงาน Chira Academy  นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน..

 

        ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน 

       

          คำ ๆ นี้  ปรากฎขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551  ที่ท่านอาจารย์ยม  นาคสุข  ได้มาให้ความรู้แก่พวกเราชาว รปม. รุ่น 4   ทำให้เรายิ่งตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์มากยิ่งขึ้นไปอีก 

          ดังนั้น  เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

 

          ในวันนี้ท่านอาจารย์ยม  ได้ให้ความรู้แก่เราหลายเรื่อง  ท่านสามารถสร้างความสนุกสนานสอดแทรกอยู่ภายในสาระและแก่นประเด็นที่สำคัญได้อย่างแนบเนียนหาตัวจับยาก  ท่านทำให้พวกเราสนใจใฝ่รู้ได้ตลอดเวลาที่ท่านทำการสอน  ซึ่งท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงประเด็นใหญ่ 2 ประเด็น  ได้แก่

1)     ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 

2)     การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

 

1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

 

          องค์การจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องประกอบด้วยหลายส่วน  การพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำพาองค์การไปสู่ความสำเร็จได้  ซึ่งรูปแบบการพัฒนา คนเก่ง  มี 5 ขั้นตอน  ได้แก่

1.     การประเมินความรู้และทักษะ   

2.     การวิเคราะห์  หาจุดอ่อน จุดแข็งว่าเป็นอย่างไร 

3.     การวางแผนพัฒนา  หาแนวทางที่จะพัฒนาจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็ง และพัฒนาจุดแข็งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

4.     การดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้

5.     การประเมินความก้าวหน้า

หากจะทำให้เกิดความยั่งยืน  ควรมีการพัฒนา คนเก่ง เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง

 

          ผู้นำ  ควรใช้สมองทั้ง 2 ซีก คิด  นั่นคือ  คิดทั้งเชิงบวกและลบ   พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส  และหากจะเลือกผู้นำ  ผู้นำจะต้องมีสมรรถนะหลัก 4 ประการ ดังนี้

1.     สมรรถนะในการบริหารคน  

-         ต้องสื่อสารเป็น

-         มีมนุษยสัมพันธ์ดี

-         มองคนให้เป็น และเข้าใจถึงจิตใจเขา

-         มี Connection ที่ดีต่อบุคคลในองค์กร

2.     สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

-         รอบรู้ในการวางแผนกลยุทธ์

-         บริหารการเปลี่ยนแปลงได้

-         มีจิตใจมุ่งเน้นการบริการ

3.     สมรรถนะในการบริหารงานแบบมืออาชีพ

-         มีการตัดสินใจที่ดี เหมาะสม

-         มีภาวะผู้นำ

-         มีความคิดเชิงกลยุทธ์  คิดอย่างมีเหตุผล มีเป้าหมาย มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน

4.     สมรรถนะในการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

-         กำหนดเป้าหมายชัดเจน

-         หวังผลแห่งความสำเร็จ

-         บริหารแบบ CEO

 

 

การฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง มีดังนี้

  1. Coaching  คือ การสอนงาน โดยมีผู้รู้เป็นผู้สอน และแนะนำแนวทางที่ดีมาช่วยเหลือเพื่อให้สามารถดำเนินการได้สำเร็จ
  2. Job rotation  คือ การหมุนเวียน โยกย้ายงานให้เกิดการเรียนรู้ในงานใหม่ๆ อยู่เสมอ
  3. Interim and Emergency Assignments  คือ การมอบหมายเรื่องเร่งด่วนให้ทำ เพื่อพัฒนาทักษะและความรับผิดชอบ
  4. Task Force Assignment  คือ การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการแก้ไขปัญหา หรือการกู้วิกฤต ในภารกิจใดภารกิจหนึ่ง เพื่อพัฒนาความรู้ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จากทีมงาน
  5. Internal Education and Training  คือ การจัดการอบรม สร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับขีดความสามารถบุคลากรที่องค์กรต้องการ     
  6. Executive Program / External Course Work  คือ การส่งบุคลากรออกไปฝึกอบรม หรือศึกษาระยะสั้น / ยาว  ภายนอกองค์กร
  7. Guided Reading   คือ  การพัฒนาตัวเองโดยการอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและหน่วยงาน ฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ เพิ่มเติมความรู้อยู่ตลอดเวลา
  8. Teaching and Learning  คือ การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน ในเรื่องต่าง ๆ หรือ การให้คนเก่งสร้างคนเก่ง
  9. Extracurricular Activity  คือ การให้คนเก่ง ทำกิจกรรมสร้างมนุษยสัมพันธ์
  10.  E-learning  คือ การใช้ระบบ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการที่ทันสมัย ใช้ Web-Based Learning
  11.  Filling in for a Manager  คือ มอบหมายให้คนเก่งมารับบทบาทหน้าที่แทนในช่วงที่ผู้บริหารไม่อยู่ โดยบอกกล่าวกันไว้ล่วงหน้า
  12.  Job Shadowing  คือ การให้คนเก่งสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ ช่วยให้เกิดทักษะด้านการวิเคราะห์

 

          ในยุคปัจจุบัน  การพัฒนาคนจะมีอยู่หลายรูปแบบ  ไม่เฉพาะการฝึกอบรมเท่านั้น  จึงควรจะมีวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถพัฒนาคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคลอบคลุมความสามารถ 

 

 

สรุป  :          ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

1.     ต้องรู้ว่าคนต้องการอะไร

2.     ต้องมีโมเดลการพัฒนาคน ว่าจะต้องพัฒนาอะไรบ้าง

3.     วิธีการพัฒนา คน ให้เป็นคนเก่งมีอะไรบ้าง

 

 

 

2.  การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

          กลยุทธ์  คือ  วิธีการที่จะดำเนินไปตามเป้าหมายอย่างประสบความสำเร็จ

          กลยุทธ์และยุทธศาสตร์  (Strategy)  มีความหมายเหมือนกัน  คำว่า ยุทธศาสตร์  แต่เดิมเป็นคำที่ใช้ในวงการทหาร  ส่วนในหน่วยงานต่าง ๆ จะใช้คำว่า กลยุทธ์  หรือขึ้นอยู่กับหน่วยงานนั้น ๆ ว่าจะใช้อย่างไร 

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง เพื่อมุ่งสู่องค์การสมรรถนะสูง 

1.     ความต้องการของลูกค้า

2.     การวางแผนกลยุทธ์

3.  คำนึงถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย

          4.  วัด วิเคราะห์

5.  บริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์

6.  การพัฒนากระบวนการ

7.  CEO = ความพอใจของลูกค้า  ความพอใจของพนักงาน และผลประกอบการ

     เป็นไปตามเป้าหมาย

8.  วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

 

 

การจัดการเชิงกลยุทธ์  คือ?

          กระบวนการบริหาร การทำงาน ดำเนินภารกิจเพื่อไปสู่เป้าหมายให้ได้ โดยการกำหนดภารกิจ เป้าหมาย มีวิธีการที่เหมาะสม  มีการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนด  เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

 

การนำทุนมนุษย์ไปพัฒนางาน 7 ยุทธศาสตร์

1.     ยุทธศาสตร์การบริหารคนเก่ง คนดี  (Talent management)

2.     ยุทธศาสตร์การเรียนรู้และการพัฒนา  (Learning and development)

3.     ยุทธศาสตร์การบริหารความรู้ในองค์การ  (Knowledge management)

4.     ยุทธศาสตร์การบริหารสมรรถนะ  (Competency management)

5.     ยุทธศาสตร์การบริหารการทำงาน  (Performance management)

6.     ยุทธศาสตร์การบริหารความเชื่อมั่น ศรัทธา  (Trust management)

7.     ยุทธศาสตร์การบริหารความรัก  (Love management)

 

          อำนาจ  มีอำนาจก็ต้องสร้าง  ต้องรักษา และต้องใช้  อำนาจสร้างได้ 5 อย่าง

          1.  สร้างได้จากการให้   ให้โอกาส  ให้อภัย  ให้สถานที่ทำงานที่ดี ฯลฯ

          2.  สร้างได้จากการตำหนิ   ตำหนิเพื่อความปรารถนาดี

          3.  สร้างได้ด้วยความเป็นผู้รู้มากกว่า   เห็นผู้รู้มากกว่า จนเป็นที่ยอมรับจากองค์กร  แต่ อย่าลืมตัว

          4.  สร้างได้ด้วยการใช้อำนาจอ้างอิง   อ้างอิงนโยบายต่าง ๆ ที่มีอยู่จริง มาใช้ในการบริหาร

          5.  สร้างได้โดยอาศัยอำนาจตามนิติกรรม   ต้องวางตนให้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้น ๆ

 

          หากทำอย่างต่อเนื่องและถูกต้องเหมาะสม อำนาจ  ก็จะกลายเป็น บารมี  ทั้ง 5 อย่างสามารถใช้ได้ทั้งในองค์กร หน่วยงาน  ครอบครัว  เพื่อน และสังคมทั่วไป 

 

   

  

 

สรุป  :          การบริหารทุนมนุษย์

                   1.  จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

                    2.  การจัดการและภาวะผู้นำ       

                   3.  การเรียนรู้และการพัฒนา

                   4.  การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

                   5.  การพัฒนาทุนมนุษย์

 

 

 

 ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กร ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กร สมรรถนะสูง

องค์กร ขาดทุนมนุษย์                   

- ไม่ได้บริหารคนเก่ง+ดี

- คนขาดความรู้

- ขาดภาวะผู้นำ

- ขาดการจัดการทุนมนุษย์

- ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์

 

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

- บริหารคนเก่ง+ดี

- บริหารความรู้และพัฒนา

- พัฒนาภาวะผู้นำ

- พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

- ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

 

สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4

สวัสดีค่ะ อาจารย์ยม เพื่อน ๆรปมรุ่น 4  และท่านผู้ที่ได้เข้ามาอ่านในที่นี้ จากการที่ได้เรียนกับอาจารย์ยมไปเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งได้แบ่งเป็น 2 ช่วง คือในภาคเช้า อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะกล่าวถึง รูปแบบพัฒนา คนเก่ง ที่มี 5 ขั้นตอน การสร้างสมรรถนะ หลักของผู้นำ รวมถึงวิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

                ส่วนในภาคบ่าย อาจารย์ยม ได้อธิบายเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  อาทิเช่น การวางแผนการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่อง ที่มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง ขั้นตอนการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น

จากการได้ฟัง อาจารย์ทำให้ความ แง่คิดและความรู้ คือ

1.       ทำให้ดิ ฉันได้รู้ แนวโน้มว่าต่อไปว่า คนจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร และจะทำอย่างไรให้บุคลากรเป็นคนเก่ง คนดี และอยู่กับองค์กร

2.       ทำให้ทราบว่า การจะพัฒนาคนนั้นให้เก่งขึ้น ควรจะพัฒนาทางใดก่อน

3.       ทำให้ทราบว่า การจะทำอะไรก็ตามควรมีการวางแผน วิธีการทำงานให้ชัดเจน  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ลดการซ้ำซ้อนและผิดพลาด

4.       ทำให้ทราบว่า นอกจากการจะพัฒนาองค์กรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้ามากระทบกับองค์กรด้วย

สุดท้ายนี้ต้อขอขอบคุณอาจารย์ยม ที่มาสอน ให้พวกเราได้ความรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ได้แง่คิดที่ดี เช่น ทฤษฎีต้นไม้  ซึ่งเป็นประโยชน์กับพวกเราเป็นอย่างมาก

สายฝน ด้วงทอง รปม.รุ่น4

สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ พี่ ๆทีมงาน และเพื่อน ๆ รปม. 4 ทุกท่าน จากการดูเทปเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 ก.พ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนวัตกรรม โดยองค์กรสมัยใหม่ ต้องดำเนินการโดยต้องมองหาทิศทางพัฒนาองค์กรให้มากขึ้น รวมถึงสินค้าที่ผลิต และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                จากคำถามที่ว่า

1.       ไอเดียใหม่ ๆ เกิดได้อย่างไร ตอบ  เกิดได้จากการคิดสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาและพัฒนาเพิ่มไปเรื่อย ๆ รวมถึงการสังเกต การประยุกต์สิ่งเก่ากับสิ่งใหม่เข้าด้วยกัน

2.       ไอเดียนั้นผสมกับความรู้ได้อย่างไร  ตอบ  การจะเกิดไอเดียขึ้นมาได้นั้นต้องมีการ คิด การเรียนรู้ การศึกษาและการลงมือปฎิบัติ  เพราะการมีการศึกษาที่ดี ก็จะมีความรู้ นำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงประสบการณ์ด้วย ซึ้งตรงกับทฤษฎี 8H’s  ของอาจารย์จีระ ในเรื่องทุนทางปัญญา  คือการคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม นั้นก็คือการสร้างไอเดียใหม่ ๆ นั้นเอง

3.       ส่งเสริมความรู้แล้วจะกระทำได้อย่างไร  ตอบ การที่จะกระทำให้มีการส่งเสริมความรู้นั้น ต้องเริ่มจากตัวเรา ที่ต้องคอยศึกษาค้นคว้า พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับที่อาจารย์จีระได้กล่าวไว้ใน กฎ 25 ข้อ ว่า ต้องทำ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

4.       กระทำแล้วเกิดการชนะอุปสรรคได้อย่างไร  ตอบ การที่เราได้คิดสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น เราต้องปฎิบัติด้วย เพราะถ้าเราคิดอย่างเดียว ไม่นำไปปฎิบัติ ก็จะไม่ได้ผลอะไรขึ้นมา จะไม่สมารถรู้เลยว่า สิ่งที่เราคิดนั้นมันประสบความสำเร็จหรือไม่  เพราะการที่เราเจออุปสรรคในการลงมือปฎิบัติ เราก็ยังจะคิดต่อ ถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด

 

 

ตอบคำถาม ของอาจารย์จีระ ในเรื่อง อุปสรรคในการสร้างนวตกรรม องค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในระบบราชการ

อุปสรรคทางนวัตกรรม    ระบบราชการไม่มีการพัฒนาให้ข้าราชการ ได้คิด มีแต่การทำงานตามแบบแผน ที่กำหนดไว้เพื่อให้ทำตาม กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบ จึงเป็นปัญหาที่เกิดกับข้าราชการ ไม่สามารถคิด การทำงานแบบใหม่ ๆ ข้าราชการใหม่ที่เข้ามาทำงานในราชการจึงใช้แบบอย่างการทำงาน ตามที่ กฎ ระเบียบวางไว้ และทำตามผู้บังคับบัญชาสั่ง จึงไม่เกิดการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ถึงคิดก็ไม่สามารถปฎิบัติได้ ถ้าอยู่ในข้าราชการระดับผู้น้อย

อุปสรรคองค์กรการเรียนรู้  ข้าราชการซึ่งมีความคิดที่ว่าทำงานราชการ ไม่ต้องกลัวตกงาน ฉะนั้นจึงทำงานกันไปวัน ๆ ไม่ต้องศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ มาใช้กับงาน และการทำงานของข้าราชการมีแบบวางไว้อยู่แล้ว จึงไม่ต้องใช้ ความคิดมากนัก นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชาก็ไม่ส่งเสริมในการสร้างการเรียนรู้ให้กับข้าราชการ ทำให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาองค์กรของภาครัฐ

อุปสรรคการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ในระบบราชการส่วนใหญ่เป็นระบบอุปถัมภ์ ฉะนั้น ส่วนมากพนักงานข้าราชการจะดึงคนของตัวเองเข้ามาทำงาน โดยไม่ได้ดูความเหมาะสม ดูความสามารถที่แท้จริง ดังนั้น ข้าราชการที่เข้ามาจึงไม่มีความรู้ความสามารถ จะคิดพัฒนาในหน่วยงาน นอกจากนี้ทางรัฐได้จัดงบประมาณให้ไปดูงานเพื่อกลับมาพัฒนาองค์กร แต่กลับไปเที่ยวไม่ได้ความรู้อะไรใหม่ ๆ กลับมา และการฝึกอบรมของข้าราชการก็กระทำไม่ต่อเนื่องและไม่ตรงจุด ส่วนมากจะฝึกอบรมแต่ภาพรวม ไม่ได้แบ่งฝึกอบรมตามหน้าที่เฉพาะ ทำให้ข้าราชการนำมาประยุกต์ใช้ได้น้อย ตลอดจนเงินเดือนก็ไม่จูงใจ ให้ข้าราชการปฎิบัติ งานได้เต็มที่เหมือนเอกชนซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญ

                ถึง ดิ ฉัน ไม่ได้ทำงานข้าราชการและไม่รู้การทำงานของระบบข้าราชการอย่างรู้ซึ้ง

 แต่การที่ ดิ ฉันทำธุรกิจส่วนตัวและการได้แลกเปลี่ยน ความรู้ กับพี่ ๆ รปม. 4 รวมถึงอาจารย์ที่เข้ามาให้ประสบการณ์ ทั้งมาจากภาครัฐและภาคเอกชน  ก็ทำให้ ดิ ฉัน เห็นถึงความแตกต่างของการทำงานใน 2  แบบ แตกต่าง กัน ถึงจะมีโครงสร้างความเชื่อมโยงองค์กรที่เหมือนกัน แต่การบริหารงาน การบริหารบุคลากรแตกต่างกัน ทำให้ผลงานที่ออกมาประสบความสำเร็จไม่เหมือนกัน

                ดิ ฉัน หวังเหลือเกินว่า อยากให้พี่ ๆ รปมรุ่น 4  ที่ทำงานในภาครัฐได้แนะนำให้หัวหน้า ได้พาอาจารย์จีระ ไปให้ความรู้ และแนวคิด ในการกระตุ้นให้ข้าราชการมีแนวคิดที่เปลี่ยนไป ไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

               

นางสาวมัลลิกา โสดวิลัย เลขที่ 18 รหัส 50038010018

เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆ รปม. รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

        จากที่ดิฉันได้เรียนและได้ฟังอาจารย์ยม  นาคสุข สอนเกี่ยวกับเรื่อง 1) ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และ  2)  เรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ในครั้งนี้  ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำกล่าวที่ว่า ไม่มีองค์กรใดที่จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน

                       

        ดังนั้น การบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ   ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่นๆ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น ถ้าจะให้คนเก่งต้องมีการฝึกอบรมและพัฒนา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้ทรงคุณวุฒิ อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือในวิชาชีพนี้ให้กว้างไกลยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการพัฒนา คนเก่ง 5 ขั้นตอน คือ

1.    การประเมินทางด้านความรู้ และทักษะของบุคลากรในหน่วยงาน

2.  การวิเคราะห์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับจากการพัฒนาความรู้และทักษะ  

3.  การวางแผนพัฒนา  คนเก่ง  โดยการออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนา

4.    การดำเนินการตามแผนที่วางไว้

5.    การประเมินความก้าวหน้าของพนักงาน

       

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

        คนเก่ง (Talent) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวรุ่ง (Star) ” ซึ่งเป็นพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานในขั้นดีเลิศ มีสมรรถนะหลักและมีศักยภาพอยู่ในขั้นสูง ซึ่งมักจะมีจำนวนไม่มากนักในแต่ละองค์กร ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงมีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง โดยใช้วิธีการสอนงาน  การโยกย้ายงาน การฝึกอบรม และการมอบหมายงานพิเศษ ฯลฯ เป็นต้น

 

การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  เพื่อมุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง จึงมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนำ HCM ไปพัฒนางานในองค์กร เพื่อผลักดันให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศต่อไป

 

องค์กร ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กร สมรรถนะสูง

องค์กร ขาดทุนมนุษย์

1. ไม่ได้บริหารคนเก่ง+ดี

2. คนขาดความรู้

3. ขาดภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์

 

5. ขาดการวัดผลการทำงานของทุน

    มนุษย์

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

1. บริหารคนเก่ง+ดี

2. บริหารความรู้และพัฒนา

3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุน

    มนุษย์

5. ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

        โดยสรุปแล้ว องค์กรต่างๆ ถ้ามีการสูญเสียคนเก่ง-ดี จะก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งบุคลากรที่มีความสามารถและมีศักยภาพสูงในการปฏิบัติงานและยังสูญเสียความรู้และความเชี่ยวชาญในงานที่ติดอยู่กับบุคคลนั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้องค์การต่างๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการคนเก่ง-ดีในองค์กร เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าจากคนเก่งที่มีอยู่อย่างจำกัด และสามารถรักษาคนเก่ง-ดี เหล่านี้อยู่กับองค์กร รวมถึงสามารถดึงดูดคนเก่ง-ดี จากภายนอกให้เข้ามาอยู่กับองค์กรได้ การบริหารจัดการคนเก่ง จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการในเรื่องนี้

 

ดวงตา ม่วงเกตุยา รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 เรียน  ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์   นักศึกษา รปม.รุ่น 4   และท่านผู้อ่านทุกท่าน..

อุปสรรคในการสร้าง  Innovation  และ Learning  Organization และ  HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง

Innovation  หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

Learning  Organization  องค์กรที่บุคลากรในองค์กรเพิ่มพูนความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลงานตามที่ต้องการ มีการปรับปรุงการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการเชิงประสบการณ์ สงเสริมรูปแบบการคิดของ การเรียนรู้รวมกัน และเสริมสรางวัฒนธรรมการคิดอยางเป็นระบบเพื่อช่วยปรับเปลี่ยน พฤติกรรมองค์กร

อุปสรรคในการสร้าง Innovation ในระบบราชการ

  • การมีวัฒนธรรมองค์กรที่หลีกเลี่ยงการเสี่ยง
  • ขาดการประสานงานที่ดี
  • ความล่าช้าในการพัฒนาความคิดให้กลายเป็นรูปธรรม
  • มีความเข้าใจไม่เพียงพอ

                ดิฉันทำงานอยู่แบงค์ชาติ  ได้เห็นปัญหาการสร้างนวัตกรรมหลายอย่างในองค์กรของดิฉันข้อยกตัวอย่าง 1 เรื่อง อย่างการเข้าประชุมหัวหน้าจะไม่ค่อยรับฟังความคิดของคนอื่นๆ   ได้แต่พูดว่าช่วยกันเสนอแนวคิดแต่พอเสนอไปหัวหน้าก็ไม่ยอมรับความคิดของใคร  ชอบใช้คำว่า "ผมคิดว่าเราควรที่จะทำตามอย่างที่ผมบอก"   แล้วจะเรียกให้ประชุมทำไมไม่ตัดสินใจเองเลยดีกว่าเสียเวลาทำงาน  ทำให้ลูกน้อยมีความรู้สึกว่า ไม่พูด  ไม่คิดดีกว่า  พูดไปหัวหน้าก็ไม่ยอมรับข้อเสนอของเรา

 

2. ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไร

                ได้ทราบว่า  นวัตกรรมคืออะไร  มีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กร  และในประเทศไทยมีหน่วยงาน  เกี่ยวกับนวัตกรรมแล้ว   ทำให้ทราบว่าคนเรานั้นถ้ารู้จักคิดไม่หยุด  และไม่ท้อในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ  การสร้างนวัตกรรมมีประโยชน์ต่อตัวเราเอง  ต่อสังคม และประเทศชาติของเรา  ประเทศไหนที่ได้รับการสงเสริมประเทศนั้นจะมีแนวโน้มว่าประชาชนที่อยู่ในการปกครองจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                                                                                                                               

               

 

สุภานุช นุพงค์ รหัส 50038010022 เลขที่ 22 รปม.รุ่น 4 สวนสุนันทา

 เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข  เพื่อนๆ รปม. รุ่น 4 และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

         ประเทศไทยซึ่งยังอ่อนแอทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูดัชนีชี้วัดตัวไหนก็ตาม แต่ก็ได้พยายามที่จะสร้างความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา จะได้ประโยชน์อย่างมากมายหากมีการตั้งศูนย์วิจัยและส่งงานระดับสูงมาให้บุคลากรของประเทศไทยทำ เพราะจะช่วยให้เราได้สร้างประสบการณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในระดับแนวหน้า ซึ่งอาจช่วยให้เราพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดดได้ และที่สำคัญมากก็คือ จะช่วยให้เกิดมีการลงทุนของบริษัททั้งข้ามชาติและในประเทศมากขึ้น ตลอดจนจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของเราเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่คนไทยอยากเห็นได้เร็วขึ้น

          ประเทศไทยมีโอกาสจะรับทำงานระดับสูงที่ใช้ความรู้ และเป็นที่ตั้งศูนย์วิจัยของบริษัทต่างชาติได้หรือไม่นั้น? คำตอบก็คือ ได้ แต่คงต้องเริ่มในเรื่องที่เรามีจุดแข็ง เน้นให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านนี้ให้คุณภาพสูงและมีจำนวนพอเพียง และต้องถือว่าเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนโดยทำงานในลักษณะบูรณาการ

 การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

                กลยุทธ์  คือ  วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือแผนของผู้บริหารระดับสูงที่จะนําไปสู่ผลลัพธ์ต่างๆที่สอดคล้องกับภารกิจและเป้าประสงค์ขององค์กร

                การวางแผนกลยุทธ์  คือ เป็นการวางแผนที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทำงานที่คล่องตัว ต้องการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนในอนาคต

                              ขอบพระคุณ อาจารย์ยม  นาคสุขค่ะ

 

นายสุรัชต์ ชวนชื่น รหัส 50038010014

อ.จีระฯ

โจทย์ 1) อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning organization และ HR ในระบบราชการอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

ตอบ     อุปสรรค (Theate) ในการสร้างนวัตกรรม และการจัดการแห่งการเรีนรู้และทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ในระบบราชการคือ

-          การจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ (Authority Allocation) หมายถึงอำนาจหน้าที่สิทธิชอบธรรมของผู้บริหาร ในการสั่งการผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การมอบหมายงานที่ถูกต้อง ผู้บริหารจำเป็นต้องมอบ ทั้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility)

-          สายการบังคับบัญชา (Chain of Command) หมายถึงการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ตามสายงาน และการรายงานผลการปฏิบัติงาน ภายในองค์กร

-          ขอบเขตของการบริหาร (Span of management) หมายถึง จำนวนผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ขึ้นตรงต่อผู้บริหาร

เช่น  ในสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีองค์กรย่อย เป็นกองงานต่างๆ และฝ่ายต่างๆ อีกหลายหน่วยงาน ในอค์กรที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานอธิกองควบคุมอาคาร มีหน้าที่อนุญาตการก่อสร้างอาการพิเศษ เริ่มตั้งแต่รับแบบก่อสร้าง จนเจ้าของก่อสร้างแล้ว แล้วออกใบอนุญาตการใช้อาคารเป็นต้น ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ต้องใช้เวลากำหนดอารอนุญาตก่อสร้าง ถ้ายังแล้วเสร็จ ก็ต้องขออนุญาตต่ออายุในอนุญาต เป็นต้น

เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาทุนทนุษย์ HCD (Human capital Development) อยู่เสมอ และมีเครื่องมือในการพัฒนาพนักงานอีกมากมาย เช่น

-          Coaching การสอนงาน

-          Mentoring ระบบพี่เลี้ยง

-          Job Rotation มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนพนักงาน

-          Knowledge การจัดองค์ความรู้ในองค์กร

สรุป ในภาคราชการ การพัฒนาองค์กรทุนมนุษย์ (Human capital) เป็นจำนวนมากและนานๆ เป็นการสร้างทุนทางปัญญามากขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้าในองค์กรใดมี Happiness capital ทุนแห่งความสุข มีความยั่งยืน องค์กรนั้น ปัญหาจะไม่มี

 

2. โจทย์ ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

            ตอบ จากการประมวลภาพจากเทป VDO สัมภาษณ์ คุณศุภชัยฯ กับอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ เกี่ยวกับนวัตกรรม (Innovation) คือ เป็นสิ่งใหม่

            นวัตกรรม (Innovation) ประกอบด้วย 3 เรื่องใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ

            1. มี การจำกัดความ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง (Theory change)

2. ความสำคัญของนวัตกรรม

3. ทรัพยากรบุคคล ความสำคัญของคน (Competency)

            กระบวนการจัดการ ด้านเศรษฐกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ของประเทศและของโลก

            นวัตกรรมเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (Human Intellectual) เช่นเลี้ยงกุ้ง เป็นอาชีพ โดยเพิ่มคุณค่า ให้ประสบความสำเร็จ

            นวัตกรรม (Innovation) เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารทรัพยากรมนุษยย์บุคคล (Competency) เช่น

1. งาน มีการกำหนดความสามารถ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งได้อย่างชัดเจน

2. การสรรหา-คัดเลือก ผู้สมัครงานที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3. Performance พนักงาน ให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาได้อย่างชัดเจน

4. มีการพัฒนา พนักงาน ให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาได้อย่างชัดเจน

5. การจ่ายค่าตอบแทน ให้เหมาะสมและความรับผิดชอบ

           

สรุป การสัมภาษณ์ คุณศุภชัยฯ ได้ให้ความรู้ทางด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นของใหม่ในภาคธุรกิจ และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการเปลี่ยนแปลง


 

อ. ยมฯ

เรียนเรื่องอะไร

1) ทิศทางการพัฒนามนุษย์ ในศตวรรษที่ 21

            จะต้องใช้วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง เช่น

1.1  การส่วนงาน (Coaching) เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง ที่ดี ให้ได้รับความรู้การปฏิบัติงานใหม่

1.2 การมอบหมายงานโครงการ (Job Project)

1.3 การมอบหมายงานเร่งด่วน

1.4 มอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงาน

1.5 หาหลักสูตร ฝึกอบรมภายในและพัฒนาหลักสูตร

1.6 ส่งคนไปอบรม ภายนอกองค์การ

1.7 ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

1.8 การมอบหมายให้คนเก่ง เข้าไปช่วยสอน, ทักษะ, สื่อสาร, และความสัมพันธ์

1.9 การให้คนเก่งทำกิจกรรมพิเศษ

1.10 จัดการเรียนรู้ด้านการใช้ ICT

1.11 ให้คนเก่ง เข้ามารับบทแทนผู้จัดการ

1.12 มอบหมายให้คนเก่ง เป็นต้นแบบรวมความคิดสร้างสรรค์

 

2) คนที่จะอยู่รอดในภาวะอนาคต จะต้องแบบใด

            จะต้องมีการนำ Human capital management (HCM) การพัฒนาทุนมนุษย์ ในองค์การประกอบด้วย

            2.1 การบริการคนเก่ง-คนดี (Talent management)

            2.2 การเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development)

            2.3 การบริหารความรู้ (Knowledge)

            2.4 การบริหารสมรรถนะ ความสามารถ (Competency)

            2.5 การบริหารการทำงาน (Performance)

            2.6 การบริหารความเชื่อมั่น ศรัทธา (Trust)

2.7 การบริหารความรัก (Love management)

3) วิธีที่จะพัฒนาให้เกิดความรู้ ความสามารถ

            การพัฒนาทุนมนุษย์ตามสมรรถนะและความสามารถ (Competency) คือการค้นหาสมรรถนะและความสามารถของคน เช่น

-          การสรรหาคัดเลือกผู้สมัคร

-          การพัฒนาพนักงาน

ดังกล่าวเป็นกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล

 

สรุป การพัฒนาทุนมนุษย์มิใช่การจัดการ ฝึกอบรมให้แต่เพียงอย่างเดียว อีกต่อไป แต่ควรคิด หาวิธีการพัฒนาทุนมนุษย์ในด้านอื่น เช่น การสอนงาน หรือการมอบหมายให้รักษาการแทน หรือสับเปลี่ยนหน้าที่งาน หรือมอบหมายโครงการพิเ

ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ

ส่งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดาโต๊ะ อิหม่าม พัฒนา หลังปูเต๊ะ

            ขอแสดงความเคารพคารวะ แด่ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข บรรดาคณาจารย์นักศึกษา

ร.ป.ม.รุ่น 4 และผู้เข้าชม Blog ทุกท่าน ผมเองต้องขอขอบพระคุณต่อบรรดาคณาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้ความรู้มาโดยตลอดและก่อนที่จะตอบสิ่งใดๆอันเป็นคำตอบในชั่วโมงสุดท้ายก่อนที่จะจบการสอนในวิชานี้ ผมและเพื่อนๆนักศึกษารู้สึกโชคดีและมีบุญที่ได้เรียนกับบรรดาคณาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาความรู้อันคุณอเนกอนันต์ที่ไม่เคยได้รับรู้มาก่อน

ข้อ   1) จากวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม นาคสุข (วันที่ 23 ก.พ. 51)ได้อะไรบ้าง?

1) ทำให้ได้ทราบถึงทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และ 2) เรื่องของการวางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ไม่มีองค์กรใดจะประสบผลสำเร็จได้โดยปราศจากการใส่ใจในเรื่องของ คน ไม่ว่าองค์กรนั้นจะเล็กหรือใหญ่ระดับชาติก็ตาม เช่นกันไม่มีวัดใดจะพบกับความเจริญก้าวหน้าเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาและที่เคารพนับถือของผู้คนหากไม่มีการพัฒนาพระ เณรในวัด ประเทศชาติบ้านเมืองก็เช่นกันหากมัวแต่ไปพัฒนาวัตถุให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นๆโดยไม่สนใจที่จะสร้างคน พัฒนาคนให้เป็นคนเก่งมีประสิทธิภาพ ประเทศชาตินั้นก็จะกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาและล้าหลังตามโลกในยุค INNOVATION ไม่ทัน การทำให้ คนเก่ง ซึ่งสร้างภาวะผู้นำนั้นเราสามารถทำได้ใน 5 รูปแบบด้วยกันคือ 1)การประเมินความรู้และทักษะ 2) การวิเคราะห์หาข้อมูลเจาะลึกไปถึงจุดอ่อน จุดแข็งของเขาแล้วเอาจุดอ่อนมาพัฒนา ส่วนจุดที่แข็งอยู่แล้วก็พัฒนาเพื่อศักยภาพให้มันแข็งยิ่งขึ้นไปอีกอย่างต่อเนื่องพร้อมมีการพัฒนาสิ่งใหม่ๆขึ้นเรื่อยๆ 3) มีการวางแผนในการพัฒนาว่าจะพัฒนาเรื่องอะไรไปในทิศทางไหน 4) ดำเนินงานตามแผนที่วางเอาไว้ไม่ให้มันเป็นแค่ DREAM หรือความเพ้อฝันแต่มุ่งมั่นให้เป็นจริง และ 5) มีการประเมินความก้าวหน้าพร้อมทั้งมีการกระทำอย่างต่อเนื่องทำให้แตกต่างจากโครงการ 30 บาท หรือ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่นโยบายเพียงประชานิยมมิใช่ให้เกิดผลอย่างจริงใจ จริงจัง แต่ต้องผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติบ้านเมืองมิใช่ขายฝัน นโยบายพรรคการเมือง นอกจากนั้นทำให้ทราบถึงด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคตซึ่งในการพัฒนาต้องมีการกำหนดแผนเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อความสำเร็จอันประกอบด้วยการจัดการเชิงกลยุทธ์ 8 เรื่องเพื่อให้เกิดสมรรถนะสูงสุดในองค์การอาทิเช่นมุ่งความต้องการของลูกค้า วางแผนกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับผู้นำขั้นตอนของการบริหารเชิงกลยุทธ์ รู้ INPUT OUTPUT PROCESS มีสมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ รู้ว่าทำเพื่ออะไร  มีตัวชี้วัดอย่างไร  ตลาดต้องการขนาดไหน  2)วางแผนกลยุทธ์อย่างรอบคอบทั้งกลยุทธ์และยุทธวิธี 3) ให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ 4) มีการวิเคราะห์ วิจัย และจัดการอบรมให้ความรู้อย่างจริงๆจังๆ 5) พัฒนาทุนมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ 6) ทำให้เป็นกระบวนการ 7) ไม่ทอดทิ้งในเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า ของผู้ร่วมงาน และผลประกอบการ และ 8) เรื่องของVISION วิสัยทัศน์ที่สำคัญกลยุทธ์จะสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับ 3 ประการคือ 1) ทำให้เกิดINOVATION นวัตกรรมใหม่ๆ เช่นบริษัท BEC  TERO กำลังทำอยู่ 2) เน้นไปที่ลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย และ 3) ต้นทุนต่ำคุ้มค่าแต่สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการบริหารนั่นก็คือต้องไม่ลืมที่จะมุ่งเน้นคุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน

ข้อ 2) คนในอนาคตมีลักษณะอย่างไร วิธีการพัฒนาคนทำอย่างไร คนในอนาคตต้องมีสมรรถนะที่บ่งบอกถึงความเป็น Leadership ความเป็นผู้นำซึ่งประกอบด้วย 1) สมรรถนะในการบริหารคน (HR Management) มีทักษะในการสื่อสาร มีการประสานสัมพันธ์สร้างความน่าเชื่อถือเพื่อให้เกิดศรัทธา TRUST ความวางใจ 2) สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงมีจิตใจรักมุ่งบริการ มีการวางแผนกลยุทธ์ และหมั่นศึกษานวัตกรรมใหม่ๆเพื่อให้ทันยุคทันสมัย 3) สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพมีการตัดสินใจที่รอบคอบไม่ผิดพลาด มีความเป็นผู้นำสูง คิดในเชิงกลยุทธ์และพร้อมที่จะคิดนอกกรอบ นอกกล่องได้ โดยมิได้ทำลายวัฒนธรรมองค์กร และ 4) สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผล สัมฤทธิ์ เราจะพัฒนาคนในอนาคตอย่างไร? 1) รู้จัก COACHING การสอนงานพร้อมเป็นครูหรือมิฉะนั้นก็หาครูที่เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ ซึ่งผู้สอนสามารถคัดจากบุคลากรภายนอกหรือภายในองค์กร 2) แนะนำหลักสูตรเช่นหลักสูตรในการบริหาร หลักสูตรภาวะผู้นำ 3) ส่งคนไปอบรมภายนอก 4) สอนให้รู้จักทักษะการสื่อสาร สร้างความเชื่อมั่น สอนให้รู้ว่าหลักสูตรการเผชิญหน้ากับปัญหา หรือการแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าอย่างมีสติ และ 5) พัฒนาให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้น โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมสร้างกระชับความสัมพันธ์ นอกจากนี้การพัฒนาคนเก่งมี 15 แนวคิดซึ่งแนวคิดอันที่น่าสนใจก็คือ การใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสเบนมากับการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า ซึ่งมีองค์การมากมายได้ฉกฉวยโอกาสตรงนี้แก้ไขสถานการณ์และได้สร้างให้องค์การของตนเองเป็นที่รู้จักและกล่าวขวัญมาแล้วมากมาย

 

 

                ขอคารวะและแสดงความเคารพต่อท่านอาจารย์และชาว ร.ป.ม.รุ่น 4 และขอกล่าวสวัสดีกับท่านผู้มีเกียรติที่เข้าชมBlog ทุกๆท่าน หลังจากที่มีบุญได้ศึกษากับท่านอาจารย์จีระ และทีมงานทำให้กระผมรู้สึกขึ้นมาในทันทีว่า ตัวเองมีค่า และทำอย่างไรจะเลือกจับจ่ายและดึงเอาค่าที่ถูกซ่อนเร้นอยู่เป็นเวลานานออกมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติบ้านเมืองให้มากที่สุด เครื่องจักรที่ใหญ่โตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพความจริงแล้วก็ล้วนมาจากการทำงานของฟันเฟืองน็อตตัวเล็กๆที่ถูกควบคุมอย่างมีระบบและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง คนเราก็เช่นกันไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งใหญ่โตถึงจะก้าวเข้ามามีส่วนในการรับผิดชอบประเทศชาติบ้านเมืองแต่หากทุกคนมีจิตสำนึกมีความรักอย่างจริงจังในชาติของตนเองไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเป็นใครกระจอกสักแค่ไหน ก็ขอให้ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดคุ้มค่าที่สุดแม้จะตายก็ไม่เสียดายนี่คือสิ่งที่กระผมและเพื่อนๆแทบทุกคนได้รับจากอาจารย์ที่สำคัญระบบการเรียนการสอนให้ทุกคนไม่โง่ หัดเป็นคนฉลาด หัดเป็นผู้นำ มิใช่ผู้ตาม ทำตัวให้สมกับมหาบัณฑิตมีปริญญาแล้วต้องมีปัญญา ปัญญาจะทำให้ปริญญาทรงคุณค่าน่าเกรงขามมิใช่หวังจะเอาปริญญามาสร้างค่าให้ตนเองแต่โง่เหมือนลามีเพียงปริญญาแต่ไร้ปัญญา จากคำถามที่ว่า ได้อะไรบ้างจากการเรียนรู้ 1) ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ในยุคที่โลกไร้พรมแดน โลกแคบลง ยุคสมัยแห่ง INNOVATION การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมจะเปลี่ยนแปลงสามารถสู้กับต่างชาติที่เป็นคู่แข่งและพร้อมจะพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดการสร้างคนให้กลายเป็นคนเก่งและเป็นคนดีเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม สร้างภาวะผู้นำ ให้เป็นทั้งผู้นำการบริหารองค์กรและเป็นนักบริหารมืออาชีพในเวลาเดียวกันสิ่งเหล่านี้ต้องเร่งรีบในการพัฒนาอย่างรีบด่วนเป็นวาระแห่งชาติที่จะละเลยมิได้เลย วิธีการบริหารการพัฒนาคนในอนาคตมีหลายวิธีแต่มีข้อแนะนำ 5 วิธีที่จะทำให้คนเป็นคนเก่ง 1) การสอนงาน COACHING ด้วยวิธีการต่างๆโดยพร้อมจากครู หรือมิฉะนั้นก็หาบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญมีประสบการณ์มาสอนแนะนำ 2) การโยกย้ายฝ่ายงานดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ มีประสบการณ์ใหม่ๆเกิดขึ้น และที่สำคัญจะทราบถึงศักยภาพของคนๆนั้นว่านอกจากงานเดิมๆที่ตนเองทำอยู่แล้วมีความรู้ความสามารถด้านอื่นอีกหรือไม่ 3) มอบหมายงานสำคัญๆที่เป็นงานพิเศษหรือเร่งด่วนให้ทำเพื่อที่เขาจะได้การร่วมงานที่ดีจัดด้วยทีมงานที่ดีไม่คิดที่จะดีเด่นคนเดียวเพราะคนเก่งจริงยุค INNOVATION มิใช่อัศวินม้าขาวแต่คนเก่งคือทำงานเป็นทีมสมัครสมานสามัคคีร่วมมือร่วมใจ 4) การมอบหมายงานโดยให้เป็นหนึ่งในทีมงานเพื่อมีส่วนร่วมรับผิดชอบและมีส่วนในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อสร้างประสบการณ์และความภูมิใจในการมีส่วนร่วม 5) การวัดการเรียนรู้การใช้ KT

                อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรม INNOVATION และการ Learning Organization และ HR ในระบบราชการนั้น ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากกว่าเดิมทีเดียว มีการวางแผนรูปแบบการบริหารที่ทันสมัย มีตัวชี้วัด  KPI มีการติดตามผลและประเมินผลงานจากการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องมีการตรวจสอบจากองค์กรอิสระวัดแข่งขันกันที่ผลงานประสิทธิภาพมิใช่อายุงานจนกระทั่งกำลังเข้าสู่ระบบยกเลิก ซี้ และยังมีการเสนอให้รางวัลตอบแทนโดยคิดจากผลงานที่แตกต่าง มิจำเป็นต้องทัดเทียมหรือเท่ากัน ซึ่งในปัจจุบันข้าราชการไทยประเภทเช้าชามเย็นชามเรื่องที่จะร้อนๆหนาวๆในอดีตที่คิดว่าไม่มีผลงานก็อยู่ได้ตลอดชีวิตมีบำเหน็จบำนาญ ปัจจุบันเริ่มรู้สึกภารกิจหรือ Mission เริ่มเข้ามามีอิทธิพลและบทบาทต่อภาครัฐมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการสร้างนวัตกรรมและองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ HR ในระบบราชการมักไม่ประสบผลสำเร็จเพราะโครงสร้างของระบบราชการใหญ่โต เทอะทะ ล่าช้า ไม่ทันเหตุการณ์ 2)บุคคลากรในระบบราชการเองขาดคุณภาพไม่ได้มาตรฐานเริ่มตั้งแต่การรับเข้าทำงานก็ต้องอิงอยู่กับระบบอุปถัมภ์ที่รุนแรงเกินพอดี เข้าทำงานก็ยึดระเบียบอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความเจริญก้าวหน้าและผลลัพธ์ของมัน และที่สำคัญระบบราชการยังขาดจิตสำนึกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความเที่ยงธรรม เอาแต่พวกพ้อง และปล่อยให้การเมืองเข้าแทรกแซงการโยกย้าย การปูมบำเหน็จรางวัล การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้น ส่วนใหญ่มิได้ทำแบบตรงไปตรงมา บุคลากรที่ขาดคุณภาพไม่ใฝ่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่พยายามเข้าให้ถึงปัญหา การแก้ปัญหาของภาครัฐ บางครั้งยิ่งแก้ก็เหมือนกับไปสร้างปัญหาให้เพิ่มขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้นเพราะขาดระบบการบริหารจัดการที่ดีนั่นเอง เหมือนกับปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยิ่งแก้ก็ยิ่งรุนแรงหัวข้อหลักใหญ่ๆขององค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization ไม่ถูกนำไปใช้เลย การวิเคราะห์การศึกษาเรียนรู้ที่ผิดพลาด การแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ ทฤษฎีเหล่านี้ไม่ถูกทำให้เป็นรูปธรรม นวัตกรรม INNOVATION เกิดขึ้นได้ยากเพราะปัจจัยในการส่งเสริมสนับสนุนจริงๆไม่มีมีแต่ระบบก๊อบปี้สอนกันให้เป็นผู้ตามมีต่างชาติเหมือนพ่อคอยจูงจมูก หน่วยงานวิทยาศาสตร์การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่แทบจะไม่เกิดในประเทศไทย เรามีแต่ผู้ตามจนบางครั้งตามในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ก๊อปปี้ลิขสิทธิ์ คนรุ่นเราคงไม่มีโอกาสได้เห็นคนไทยคิดใหม่ ทำใหม่ คิดสร้างนาฬิกาแบบคว็อซตัวเลขแทนเข็มนาฬิกา นวัตกรรมของเราเป็นเพียงเอากะลามาทำแจกัน เอาไม้ซุงมาทำไม้จิ้มฟัน งานที่ทำดังกล่าวไม่น่าจะเรียกนวัตกรรมเป็นเพียงการแข่งขัน ภูมิท้องถิ่นชาวบ้าน แม้เพียงคนในท้องถิ่นเองก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจอย่าว่าแต่จะต้องไปแข่งขันกับต่างชาติเลย ภาครัฐอยากสร้างนวัตกรรมแต่โอกาสที่จะสร้างไม่มีช่องทางที่ภาครัฐสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมเรียกว่าทุกอย่างบีบให้คิดแต่ในกรอบอยู่ในกล่องที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น

                และจากการชมเทปเรื่อง INNOVATION ทำให้ได้ข้อคิดดีๆมากมาย

1)      นวัตกรรมมิใช่เรื่องของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเท่านั้นแต่รวมถึงด้านอื่นๆด้วยเช่นด้านการบริการ ระบบ ฯลฯ

2)      คนรุ่นใหม่ทั้งข้าราชการ ภาครัฐ และเอกชนต้องมีแนวคิดสร้างสรรค์และพร้อมจะอยู่ในโลกแห่งการเรียนรู้อย่างจริงๆจังๆ

3)      คำจำกัดความของนวัตกรรมเอง ก็ยังมีความเข้าใจและให้คำจำกัดความที่แตกต่างกัน

4)      ทุกอย่างที่มุ่งไปสู่สิ่งที่ดีกว่าสิ่งนั้นเราเรียกว่า นวัตกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ , อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อน ๆ นักศึกษา รปม. 4 ทุกคน วันเสาร์ที่ 24 อาจารย์ยม ได้มาบรรยายให้พวกเราทุกคนฟังทำให้พวกเรามีความรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหัวข้อที่อาจารย์ได้บรรยายได้แก่ 1. ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในศตวรรษที่ 21 2. การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน เป็นเรื่องที่ถูกต้อง ในการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะในการทำงานจะต้องมีการกำหนดแผนต่าง ๆ เพื่อที่จะได้นำเอาไปปฏิบัติให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ เช่นในการรับสมัครพนักงานเราจะต้องดูตามหน่วยงานต่าง ๆ ว่าขาดแคลนบุคลากรจำนวนเท่าไหร่ และเราก็จะต้องวางแผนวางแผนอีกว่าจะต้องรับจำนวนกี่คน รวมทั้งกำหนดวุฒิการศึกษา เมื่อได้บุคลากรตรงตามที่ต้องการ เราก็ต้องมีการอบรมในทักษะและหน้าที่ที่เราควรจะทำ และเราจำเป็นต้องมีการอบรมทักษะการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากร เพราะเมื่อบุคลากรมีทักษะความรู้ที่ดีก็จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของเรา และไม่ใช่อบรมเฉพาะพนักงานระดับล่างเท่านั้นแต่ควรจะพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้แก่หัวหน้างานด้วย เมื่อมีการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์แล้ว เราก็จะต้องมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด เพราะถ้าไม่กำหนดทิศทางไว้หน่วยงานเราก็อาจจะทำงานไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ในเรื่องอบรมทักษะในการทำงานพนักงานอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอจะต้องมีการประเมินผลด้วยว่าสำเร็จหรือไม่ มีการจูงใจในการทำงานซึ่งอาจจะไม่ใช่เงินเดือนอย่างเดียวแต่เป็นสวัสดิการด้านต่าง ๆ รวมถึงให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงาน มีการทำงานเป็นทีม รวมทั้งหาจุดอ่อนและจุดแข็งในหน่วยงานของเรา เมื่อหาจุดอ่อนนั้นพบก็จะทำการแก้ไขในจุดอ่อนนั้นเพื่อให้กลายมาเป็นจุดแข็ง ส่วนจุดแข็งเรา ก็จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมซึ่งถ้าหน่วยงานใดมีการการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ และมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดี หน่วยงานนั้นจะประสบความสำเร็จ

เรียนท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ผู้สอนทุกท่าน คณะทีมงาน นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน 

ข้อ 1.  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

          ตอบ  ดิฉันจะกล่าวถึงอุปสรรคในการสร้างInnovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการ ซึ่งดิฉันทำงานอยู่ที่สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ข้าราชการส่วนใหญ่ จะอยู่กันนานมาก 10 ปีขึ้นไปไม่ค่อยมีการโยกย้ายงานบ่อยนัก เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการ ซึ่งจะเป็นระดับปริญญาตรีทั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการระดับ 6 ระดับ 7 กันเกือบหมดแล้ว เนื่องจากกรุงเทพมหานครเปิดโอกาสให้ความก้าวหน้า โดยให้ทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนระดับให้สูงขึ้น หน้าที่ความรับผิดชอบก็จะเป็นแบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ใครทำอะไรก็จะทำอย่างนั้นมาตลอด จนเกิดความเคยชิน ปัญหาจึงมีมาก เพราะส่วนใหญ่จะไม่ยอมปรับเปลี่ยน หรือปรับปรุงในหลายๆ ด้าน เวลามีงานเข้ามา ใครเคยทำ ก็จะทำอยู่อย่างนั้น ไม่มีหมุนเวียนเปลี่ยนความรู้ จะรู้เท่าที่ทำ และไม่รับงานใหม่ๆ จะเป็นอย่างนี้เสมอ และพอจะสรุปได้ว่าหน่วยงานของดิฉันมีปัญหา และประเด็นที่สำคัญดังนี้

1. ข้าราชการชอบคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่ปัจจุบันดีอยู่แล้ว  มั่นคงอยู่กับสิ่งเดิมๆ เพราะหัวหน้าไม่เคยว่าหรือบ่นอะไร ไม่มีข้อบกพร่องอะไรให้ว่า เพราะไม่ได้ทำอะไร เพราะคนที่ไม่ได้ทำอะไร ทำแต่งานประจำ หัวหน้าไม่รู้จะไปตำหนิงานตรงไหน

2.  ข้าราชการชอบความสบาย ไม่ชอบเสี่ยง เพราะถ้าเป็นคนที่ชอบคิดทำอะไรอยู่ตลอดเวลานั้น จะทำให้เหนื่อย หมดความสบาย เพราะส่วนใหญ่แล้ว คนที่คิดมักจะเป็นคนที่ต้องลงมือทำงานนั้นๆ เอง

3.      ข้าราชการไม่ชอบทำงานเป็นทีม  ไม่ชอบการเสนอความคิดเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าห้องประชุม จะไม่ค่อยมีความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ อะไรออกมา แต่เมื่อออกมาจากห้องประชุมแล้วมักจะออกมาบ่น หรือแสดงอาการไม่พอใจออกมา แต่บ่นแล้วก็ไม่ทำเอง ถ้าทำไม่ดีก็บ่นอีก

    ฉะนั้น  การที่ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาเพียงคนเดียวเป็นไปได้ยาก เพราะทุกคน ไม่ได้คิดตามหรือคล้อยตามเลย ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ถ้าทุกคนคิดเป็น ทำเป็น ทุกๆ อย่างจะพัฒนาก้าวหน้าไปในทิศทางที่เหมาะสมต่อไป

ข้อ 2.  ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

ตอบ จากการที่ดิฉันได้รับชมรับฟังในเรื่องของ นวัตกรรม(Innovation)  พอจะได้รับความรู้ และสามารถสรุปได้ดังนี้

นวัตกรรม เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องของความอยู่รอด การดำเนินการงานต้องแสวงหาทิศทาง เพราะทิศทางที่เราทำนั้นถูกต้องตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้หรือไม่ 3 เรื่องใหญ่ๆ ของนวัตกรรม คือ

1. คำจำกัดความของ นวัตกรรม Innovation  คือ 

-    ความหมาย นว หมายถึง ใหม่ สิ่งใหม่ นวกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ซึ่งต้องใช้

ความรู้

-    ต้องมีการใช้ความรู้ และคิดสร้างสรรค์

-    ต้องมีประโยชน์ต่อสังคม ต้องมีผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

2.      ความสำคัญของนวัตกรรม

3.      ทรัพยากรบุคคล เป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นแผนใหญ่ ที่เราต้องให้ความสำคัญ

เพราะต้องทำไปพร้อมๆ กัน คือ การบริหารงานบุคคล การใช้เทคโนโลยี ควบคู่กันไป กระบวนการต่างๆ จะต้องตัดสินใจเป็นอย่างดี

นวัตกรรม สามารถช่วยในเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้

-        นวัตกรรมต่อสังคม

-        นวัตกรรมต่อเศรษฐกิจ

-        นวัตกรรมต่อการศึกษา

ฯลฯ

นวัตกรรมเป็นผลต่อความอยู่รอดของประชาชน นวัตกรรมอาจจะทำแล้วสำเร็จหรือไม่สำเร็จก็ได้ ซึ่งเราจะต้องรู้ว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปในทศทางไหน  ควรจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีผลสะท้อนกับมาอย่างไร ส่งผลกระทบกับใคร เสียหายในด้านใด เราควรจะใช้กระบวนการคิดอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น กระบวนการเลี้ยงหอย จะต้องใช้กระบวนการอย่างไร ในการเลี้ยงหอยให้ประสบผลสำเร็จไปผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการ ด้านการขาย สิ่งสำคัญที่สุด ได้ผลผลิตดี และขายดีด้วย

          ทฤษฎี 3 c ทฤษฎีนี้ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจ แต่นายไม่สนใจลูกค้า สรุปทฤษฎี 3 c คือ

1.  ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

2.  ไม่เน้นลูกค้า

3.  เจ้านายไม่เปิดโอกาส

ทฤษฎี  5 k’s ใหม่ เป็นความคิดของ ดร.จีระ จากประสบการณ์ท่าน เน้นเรื่อง

ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย

1. ทุนแห่งการสร้างสรรค์

2.  ทุนแห่งความรู้

3.  ทุนแห่งนวัตกรรม

4.  ทุนทางวัฒนธรรม

5.  ทุนทางอารมณ์

ขอขอบคุณอาจารย์ทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ที่ให้ความรู้ตั้งแต่ชั่วโมงแรก จนชั่วโมงสุดท้าย ดิฉันจะนำบทเรียนที่ได้ร่ำเรียนจากอาจารย์ทุกๆ ท่านไปประยุกต์ใช้กับงานของดิฉัน ดิฉันจะไม่คล้อยตามเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานที่ไม่ดี จะมีความมุ่งมั่นในทางความคิด งานที่ทำ และจะทำให้ดีที่สุด เพื่อความก้าวหน้าของดิฉันและองค์กรต่อไป

นางสาวดนิตา มูลละออง

 

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

อุปสรรคในการ Innovation และ Leaning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง (องค์การปกครองท้องถิ่นเทศบาล)

Innovation หรือที่เรียกว่า นวัตกรรม

นว หมายถึง ใหม่

กรรม หมายถึง การกระทำ

นวัตกรรม หมายถึง การกระทำสิ่งใหม่โดยใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ต้องคิดเป็นระบบโดยไม่ Copy

Leaning Organization องค์กรแห่งการเรียนรู้

HR = Human Resource หมายถึง ทรัพยากรมนุษย์

อุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ

ระบบราชการเป็นการบริหารงานตามแผนงาน งบประมาณ สายการบังคับบัญชา การตัดสินใจผู้บริหาร กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การปฏิบัติงานตามตำแหน่ง

ด้านบุคลากร

  • มีบุคลากรมากเกิน

  • ปฏิบัติงานเฉพาะด้าน ตามตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง

  • ปริมาณงานน้อย

  • ไม่สามารถปฏิบัติอื่นในหน่วยงานได้

  • แบ่งพรรคแบ่งพวก

  • ระบบอุปถัมภ์มาก

ด้านงบประมาณ

  • งบประมาณมีจำกัด

  • งบประมาณจะต้องได้รับตามแผนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

  • งบประมาณไม่สมดุล บางอย่างต้องใช้งบประมาณมากกับได้งบประมาณน้อย งานที่ต้องใช้งบประมาณน้อยกับได้งบประมาณมาก

ด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

  • การกำหนดราคาวัสดุ อุปกรณ์ให้ซื้อในราคาต่ำ แต่ต้องการคุณภาพสูง

  • กฎ ระเบียบ ข้อบังคับบางอย่างกำหนดมาก็ทำให้เกิดความยุ่งยาก เช่น การจะประกาศเกี่ยวกับทะเบียนทั่วไปในเรื่องการจดทะเบียนสมรส แล้วเป็นนางสาวได้ หย่าแล้วเป็นนางสาวได้ เมื่อไปติดต่อกับหน่วยงานอื่นซึงไม่ใช้งานเกี่ยวกับทะเบียนประวัติก็ไม่สามารถทราบได้ว่าบุคคลดังกล่าวที่ติดต่องานนั้นมีสถานภาพอย่างไร

จดทะเบียนสมรส หรือว่าจดทะเบียนหย่า

สรุป บุคลากรในหน่วยงานไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นระบบงานหรือการเรียนรู้งานส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องระบบอุปถัมภ์มาก บุคลากรมากงานน้อย ไม่มีความสามารถที่แท้จริง

 

 

ดูเทป แล้วได้อะไรเกี่ยวกับ Innovation

การเกิดวิกฤตนั้นจะนำมาสู่ Innovation การคิดเป็นระบบซึ่งเป็นการคิดที่สร้างสรรค์ แล้วนำมาปฏิบัติ แล้วประเมินผล การที่กระทำได้นั้นจะต้องมี "คน" เป็นตัวขับเคลื่อนเพราะมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำงาน เช่น การเกิดภาวะโลกร้อน เมื่อเกิดวิกฤตขึ้น มนุษย์เราก็จะคิดหาวิธีการที่จะลดภาวะโลกร้อนเมื่อคิดได้แล้วก็นำมาปฏิบัติ เช่น ใช้กล่องที่ผลิตจากชานอ้อยแทนกล่องโฟม การรณรงค์ให้ใช้ใบตอง การหยุดเผาฝางในท้องนา และอื่น ๆ เมื่อปฏิบัติแล้ว ประเมินผลว่าได้ผลมากน้อยเพียงใดที่ทำให้ภาวะโลกร้อนลดลง และการคิดที่จะทำให้ภาวะโลกร้อนลดลงก็ยังไม่หยุด ยังคงคิดที่จะหาวิธีที่ทำให้โลกร้อนยุติได้โดยเร็ว

 

 

นางสาวดนิตา มูลละออง

 

เรียน ท่านอาจารย์ยม

การเรียนวิชาบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ประโยชน์อะไรบ้าง

การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ "ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจ

เรื่องคน" การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการ การกำหนดภารกิจและเป้าหมาย การกำหนดวิธีการปฏิบัติตามกลวิธี นำไปสู่ความสำเร็จ

ทักษะคือความรู้และสมรรถนะ ปัจจัยที่กำหนดความมั่นคงขององค์กรและชาติ คือ

  1. การจูงใจได้มาซึ่งการรักษาคนฉลาด

  2. การจัดการและภาวะผู้นำ

  3. การเรียนรู้และการพัฒนา

  4. การกำหนดรากฐานทุนมนุษย์

  5. การพัฒนาทุนมนุษย์

ทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

องค์การด้อยประสิทธิภาพ องค์กรสมรรถนะสูง

- ไม่ได้บริหารคนเก่ง + ดี - บริหารคนเก่ง + ดี

- คนขาดความรู้ - บริหารความรู้และปัญญา

- คนขาดภาวะผู้นำ - พัฒนาภาวะผู้นำ

- ขาดการจัดการทุนมนุษย์ - มีการบริหารจัดการทุนมนุษย์

- ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์ - ประเมินการทำงานของทุนมนุษย์

"เน้นการพัฒนาความรู้ ทักษะ สมรรถนะที่อยู่ในตัวคน"

 

นางบังอร ภูมิวัฒน์ เลขที่ 31 (รหัส 5577 5519 1005 1352)

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมย์  อาจารย์ทุกท่าน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

                จากคำถาม 2 ข้อ  ของท่านอาจารย์  ดิฉันขอตอบ  ดังนี้

ข้อ 1. องค์กรของดิฉัน ชื่อ สนง. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เป็นรัฐวิสาหกิจ  ประเภทส่งเสริม (ไม่มีกำไร) คือ การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางด้วยการปลูกทดแทนยางเก่า โดยการให้เงินและวัสดุฯ (ให้เปล่า) เพราะองค์กรมีรายได้จากการเก็บเงิน CESS ดังนั้น อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Org.  และ HR มีดังนี้

 

1.    การดำเนินงานต้องกระทำตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. การจัดตั้งองค์กร เท่านั้น

2.    งบประมาณมีจำกัด

 

3.    การจัดโครงสร้างองค์กร  ไม่เอื้อให้คนได้มีโอกาสคิดใหม่ ทำใหม่  เพราะถูกกำหนด Job description

 

4.    การบริหารงานมีลำดับชั้นการบังคับบัญชามาก จึงถูกจำกัดความคิด

 

5.    ผู้บริหารเป็นคนรุ่นเก่า ความรู้ระดับปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่เห็นการพัฒนาคนเท่าที่ควร

 

อย่างไรก็ตามดิฉันก็เป็นผู้บริหารระดับต้นคนหนึ่งขององค์กร (หัวหน้ากองงบประมาณ) ซึ่งเมื่อได้มาเรียนรู้หลักวิธีการสร้าง Innovation และ HR จากอาจารย์แล้ว  ดิฉันขอปวารณาตัวที่จะนำความรู้ความสามารถของคนเอง ช่วยปรับปรุงองค์กรในทุก ๆ ด้าน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเลิศให้ได้  และดิฉันคิดว่า  ในไม่ช้า อาจารย์  และทุกท่านอาจจะรู้จัก องค์กรยาง ที่มีความสำคัญกับประเทศไทย  นี้ต่อไป

 

ข้อ 2  จากการดูเทปสัมภาษณ์ อ.ศุภชัย  เกี่ยวกับเรื่อง Innovation มีความเข้าใจถึงความสำคัญของ นวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อให้ก้าวทันประเทศอื่น หรือมิให้ประเทศที่ด้อยพัฒนาก้าวทันประเทศไทย   การที่จะทำให้เกิด Innovation  ต้องอาศัยหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยกันคิดสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจำแนกการพิจารณาตามประเด็นที่อาจารย์ต้องการทราบ ใน 4 ประเด็น ดังนี้

1.    ideas ใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นได้จากความต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเบื่อสิ่งเก่า ๆ  และเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ สามารถพยากรณ์ความต้องการในอนาคตได้ และกล้าที่จะนำเสนอผู้อื่นหรือหาทางผลักดันความคิดให้เป็นการกระทำได้

2.    ideas จะไปผสมกับความรู้ได้ด้วยการนำไปลองทำอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งจะได้รับการพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะประสบความสำเร็จ หรืออาจจะเรียก นวัตกรรม คือ สังคมการเรียนรู้ ไม่ใช่การไป copy

3.    การจะ Turn  ideas into ได้ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่คิดใหม่ นั้น สามารถนำไปดำเนินการให้เกิด นวัตกรรมใหม่ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในอนาคตได้จริง โดยลงมือปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  เพื่อให้ทันต่อความต้องการในอนาคต  ซึ่งอาจจะจำแนกเป็นแผนปฏิบัติการ/กิจกรรม

4. ถ้ามี ideas  แล้ว ต้อง action  ด้วยความกล้า เพื่อที่จะเอาชนะอุปสรรค คือ  การถูกต่อต้าน  เพราะการทำอะไรใหม่ ๆ คนส่วนใหญ่  อาจไม่เข้าใจและยอมรับไม่ได้  ฉะนั้น สำคัญอยู่ที่ตอน action  ต้องกล้าและสามารถอธิบายให้สังคมเข้าใจถึง

ประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับ

 

เรียน  อาจารย์ยม   นาคสุข

 

          จากการเรียนกับอาจารย์ยม  นาคสุข ดิฉันได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเห็นความสำคัญของคนมากขึ้น และเห็นด้วยกับมุมมองของอาจารย์ คือ ไม่มีองค์กรใด  จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน  ดิฉันขอจำแนกสิ่งที่อาจารย์สอนและเป็นความรู้ที่ควรจดจำ  ดังนี้

1.      ชีวิต คือ การใฝ่รู้ ถ้ารักความก้าวหน้า จงหมั่นศึกษาตลอดชีวิต

2.      พัฒนาให้เป็นคนเก่ง ตามรูปแบบการพัฒนา 5 ขั้นตอน

3.      เรียนรู้และพัฒนาลักษณะของการเป็นผู้นำให้กับตนเอง รวมถึงการสร้างสมรรถนะผู้นำ  ซึ่งจำแนกได้ 4 กลุ่ม คือ การบริหารคน,  ความรอบรู้ทางการบริหาร, การบริหารอย่างมืออาชีพ  และการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

4.      ต้องรู้วิธีการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่งได้อย่างไรบ้าง ซึ่งอาจารย์จำแนกไว้  12 ข้อ สรุปได้ว่า  การพัฒนาคนต้องรู้ Spec. ว่าคนเก่งเป็นอย่างไรก่อน  จึงจะเอาคนเก่งไปพัฒนาต่อไปได้

5.      การวางแผนกลยุทธ์ ทางด้านทรัพยากรมนุษย์  เป็นการจัดการเชิงกลยุทธ์  มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง  โดยอาจารย์ได้อธิบาย Flow chart  8 เรื่อง ทำให้เข้าใจกระบวนการจัดการและการประเมินผล

 

อาจารย์ค่ะ ดิฉันขอจบแค่นี้ก่อนนะคะ จริง ๆ แล้ว ยังมีข้อมูลที่อยากเขียนอีกมาก เพราะอาจารย์ได้ให้ความรู้มากมายค่ะ

 

นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑. อุปสรรคในการสร้างสรรค์ Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการ
มีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

    
นวัตกรรม หรือ Innovation
    
หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ หรือแปลกไปจากเดิม ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อนำมาใช้แล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม
     LO (Learning Organization) องค์กรแห่งการเรียนรู้
    
หมายถึง องค์กรที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมขององค์กรโดยกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกันของบุคลากรทั้งหมดในองค์กร กล่าวคือ บุคลากรทุกคนในองค์กรเรียนรู้ร่วมกัน มีการคิดค้นและเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งมีผลทำให้พฤติกรรมขององค์กรเปลี่ยนแปลงไป โดยมีปัจจัยพื้นฐาน ๕ ประการ ในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่
          ๑. การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery)
          ๒. การมีรูปแบบวิธีคิดที่เปิดกว้าง (Mental Models)
          ๓. การร่วมสร้างวิสัยทัศน์ (Shared Vision)
          ๔. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
          ๕. การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
     HR (Human Resource) ทรัพยากรมนุษย์
    
หมายถึง บุคลากรที่ปฏิบัติงานตามหน่วยงานต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นองค์การ องค์การทุกองค์การไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก หรือดำเนินธุรกิจประเภทใด งานที่ดำเนินการภายในองค์การนั้นล้วนต้องเกี่ยวข้องกับคนหรืออาศัยคนเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติการทั้งสิ้น
     การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
    
หมายถึง การจัดการในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การนั้นๆ ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เต็มความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็เพิ่มพูนความรู้ และความสามารถให้กับบุคลากรนั้น เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน อันจะก่อให้เกิดผลสำเร็จสูงสุดทั้งต่อองค์การและตัวบุคลากรนั้น ทั้งนี้รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การด้วย จัดเป็นงานที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ในการดำเนินธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความหลากหลาย ต้องเสริมสร้างความสมรรถภาพการทำงาน ต้องลงทุนทั้งระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างทักษะและความชำนาญ รวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีบรรยากาศการทำงาน และสำคัญคือ จะต้องรักษาบุคลากรนั้นๆ ให้อยู่ในองค์การให้ได้ตลอดไป ซึ่งหมายถึงการใช้คนให้ถูกวิธี ให้เหมาะกับงาน ให้ได้ผลงานมากที่สุด และรักษาคนดีให้อยู่ในองค์การให้นานที่สุด โดยมี ๓ ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
          ๑. การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ (Acquisition) มีกิจกรรมสำคัญ ๔ อย่างคือ การวางแผน (Planning), การสรรหา (Recruitment), การคัดเลือก (Selection), การปฐมนิเทศ (Orientation)
          ๒. การรักษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Retention & Development) มีกิจกรรม ๖ อย่าง คือ การวัดเพื่อประเมินผลงาน (Performance Measurement) การอมรมและการพัฒนา (Training & Development) การวินัยและการรักษาวินัย (Discipline & Disciplinary Corrective) การบริหารค่าตอบแทน (Compensation Administration) การสอนงานและการให้คำแนะแนว (Coaching & Counselling) สุขภาพและความปลอดภัย (Health & Safety)
          ๓. การพ้นจากองค์การหรือการทำงาน (Separation or retirement) มีกิจกรรม ๓ อย่าง คือ       การสัมภาษณ์เมื่อพ้นจากองค์การ (Exit Interviews) การช่วยหางานใหม่ (Outplacement) การวางแผนเกษียณอายุ (Preretirement Planning)
อุปสรรคฯ ในระบบราชการ คือ
     ๑. การจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของระบบงาน
     ๒. การขาดทักษะและความชำนาญ ของเจ้าหน้าที่ในการทำงานด้านนั้นๆ
     ๓. ไม่มีการคิดเปลี่ยนแปลง (เคยทำอย่างไร ก็จะทำอยู่อย่างนั้น)
     ๔. ต่างคนต่างทำ ไม่มีการทำงานเป็นทีม (จัดสรรอย่างเป็นระบบ)

ข้อ ๒. ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง
    
การนำ Innovation ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ คือ creativity + สิ่งประดิษฐ์ (ความรู้ในเรื่องเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์ และมีระบบความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์) = กลุ่มคนหรือเจ้าภาพหรือเจ้าของ นำไปทำจะเป็น action plan หรือ project

กิจกรรมดูงาน ณ เกาะล้าน ชลบุรี
    
การจัดกิจกรรมดูงานนอกสถานที่ เป็นการศึกษาที่ต่างจากในห้องเรียน เพราะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสถานที่จริง ได้เห็นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล และการบริหารงานต่าง ๆ ขององค์กร หรือบริษัท นั้น
     ความประทับใจ ในการดูงาน ณ เกาะล้าน คือ อาจารย์ ให้ความเป็นกันเอง ถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ กับนักศึกษา ความสนิทสนมเป็นกันเอง ความสามัคคีร่วมแรง ร่วมใจ ระหว่างเพื่อนสมาชิกร่วมรุ่น 
 

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

 เจริญพร ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คณะทีมงาน และผู้อ่านทุกท่าน

 1. อุปสรรคในการสร้าง innovation, learning organization ใน HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง?

ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆออกมาในโลกอยู่ตลอดเวลา เราเรียกสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ว่า "นวัตกรรม" นวัตกรรมตรงกับคำว่า "innovation" ในภาษาอังกฤษ  

            "องค์กรแห่งการเรียนรู้ หรืออาจเรียกให้ชัดเจนขึ้นว่า "องค์กรที่มีการเรียนรู้" เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ คือ เพื่อให้มีโอกาสได้ใช้ความรู้เป็นฐานในการพัฒนาต่อไป

 อุปสรรคภายในองค์กร
        สำหรับอุปสรรคภายในองค์กรของอาตมานั้น มีดังนี้

1. ขาดบุคลากรที่มีความรอบรู้ (Personal mastery)
การเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งบุคคลควรต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาอยู่เสมอโดยในการพัฒนาควรเป็นไปอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่อง อีกประการหนึ่งพระ สามเณรลดจำนวนน้อยลง อันเนื่องมาจากภาครัฐได้บังคับให้นักเรียนต้องเรียนจบภาคบังคับคือมัธยมศึกษาปีที่ 3 เมื่อนักเรียนเรียนจบแล้วก็เรียนต่อบ้างไปทำงานบ้างที่คิดจะมาบวชมีไม่มากบางวัดไม่มีเณรสักองค์เป็นเหตุให้ขาดบุคลากรที่จะมาสืบทอดพระพุทธศาสนา

2. ขาดรูปแบบความคิด  (Mental models)
รูปแบบความคิดของบุคคลมีอิทธิพลต่อแนวทางการปฏิบัติของบุคคลนั่นๆ อีกทั้งเป็นสิ่งที่กำหนดเป้าหมายที่แน่ชัด เนื่องจากเมื่อบวชมาแล้วไม่ได้สนใจการเรียนรู้ไม่ใฝ่หาความรู้เพราะบางองค์บวชตามประเพณี บวชตามเพื่อน
   

3.ขาดวิสัยทัศน์ร่วม  (Shared vision)
ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ขององค์กรและวิสัยทัศน์ของบุคคล ส่งผลให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพันธ์มิใช่เพียงแค่การทำตามหน้าที่เท่านั้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้คือ การแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งกันและกันนั่นเอง    โดยอาศัยจุดประสงค์ร่วมกันบนพื้นฐานของการทำงานเป็นทีม  

4. ขาดการเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)
 อันนี้ที่พบคือเก่งอยู่ผู้เดียวในวัด(ไม่ใช่อาตมานะ) จึงควรให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด ที่จะก่อให้เกิดเป็นความรู้ ความคิดร่วมกัน ภายในวัด การดำเนินการอาจตั้งเป็นทีมเรียนรู้เพื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งสภาพความเป็นไปภายใน เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนแนวความคิดและนำไปสู่ข้อกำหนดในการปรับปรุงให้มีประสิทธภาพให้ดียิ่งขึ้น                           ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลกับองค์กร  เราต้องสร้างสรรค์คิดกว้างและไกล ตามที่พระเทพรัตนราชสุดากล่าวไว้ว่า "... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม..."

 2. จากการดู วีดีทัศน์  การสนทนาระหว่างท่านอาจารย์จีระในเนื้อหาเกี่ยวกับ นวัตกรรม ร่วมกับอาจารย์ศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ แล้ววิเคราะห์ คำถามต่อไปนี้

            - Ideasใหม่เกิดขึ้นได้อย่างไร 

            เกิดได้จากการที่เราต้องคิดนอกกรอบ อย่าคิดแต่ในกรอบ รู้จักฉีกออกแนวบ้าง  และการเชิญบุคคลที่มีความรู้ เก่ง รู้จริงในเรื่องนั้นมาสนทนาพูดคุยเหมือนดังเช่นการสนทนาระหว่างท่านอาจารย์จีระในเนื้อหาเกี่ยวกับ นวัตกรรมกับอาจารย์ศุภชัย  หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ  อีกวิธีหนึ่งคือการเป็นคนใฝ่รู้ หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ

            - Ideas ผสมความรู้ได้อย่างไร

            คือเมื่อมีความรู้แล้วก็นำไปปฏิบัติให้เกิดความรู้ เกิดประโยชน์ โดยคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดให้แตกต่างจากเดิม ไม่ยึดติดกับระบบมากนัก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน และนำมาบริหารจัดการร่วมกับนวัตตกรรม โดยมีคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ

            -นำมาประยุกต์ทำได้อย่างไร

จัดโครงการให้กับองค์กรได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงหลายศาสตร์เพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เป็นใฝ่รู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต เชื่อมโยงความรู้ระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน การศึกษา ศิษย์เก่า เพื่อน

- เมื่อเกิดปัญหาแล้วจะเอาชนะได้อย่างไร

อย่าท้อ  เวลาทำงานตนเองต้องมีความมั่นใจ เราต้องทำได้ กล้าเผชิญความจริงแม้จะเป็นความล้มเหลว และนำทฤษฎี ๓  ต่อมาใช้ คือทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร ปรึกษากับผู้รู้ให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหา ขอคำเสนอแนะจากหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ

การที่จะเกิดไอเดียใหม่ๆตามหลักพระพุทธศาสนามี ๓ แนวทางคือ

1. สุตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการได้ยิน  ได้ฟัง ได้อ่าน แหล่งเรียนรู้ เช่น ตำรา คำสอน (แหล่งและสื่อข้อมูล)
2. จินตะมะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากความตรึก ความนึก ความคิด  ไตร่ตรอง พิจารณาโดยโยนิโสมมนิการ3. ภาวนามะยะปัญญา ปัญญาเกิดจากการพัฒนาจากการทำให้เกิด ทำให้มีโดยวิธีการวิจัยและพัฒนาตัวตน  เช่น  ฝึกสมถะและวิปัสสนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในทางพระพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึงเรื่องการทำวิจัยไว้ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด รปม.รุ่น 4

เจริญพร อาจารย์ยม นาคสุข นักศึกษารปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

จากการเรียนเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551   

เรื่องแนวโน้มการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้

1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคศตวรรณที่ 21  ซึ่งถือได้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังมีผู้รู้กล่าวไว้ว่าไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน  คนจึงเป็นปัจจัยสำคัญขององค์กร ดังนั้นเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนเท่านั้น โดยเฉพราะในศตวรรษที่ 21   และเพื่อให้องค์กรได้ผู้นำที่ดี คนที่มาร่วมงานจึงต้องมีการะประเมินเสียก่อน ดูได้จากลักษณะดังต่อไปนี้

คุณลักษณะที่มักใช้ประเมินบุคลากร

-    ภาวะผู้นำ ต้องเป็นคนดีและคนเก่ง

-    การสื่อสาร  เข้าใจง่าย จากที่ยากให้เป็นง่าย รวมทั้งพูดภาษาอังกฤษได้ยิ่งดี

-   การวางแผน ทำงานภายใต้ความกดดันได้เมื่อเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

-   การตอบสนอง ต่อความเครียด  รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ เปิดโอกาสให้คนอื่นได้แสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม รับฟังได้

-    แรงจูงใจ การกระตุ้นในการทำงานจากองค์กร ให้ทำงานด้วยความศรัทธาต่อองค์กร มีความจงรักภักดี ไม่หนีไปทำงานทื่อื่น เช่นการให้โบนัส สวัสดีการต่างๆ

-    ศักยภาพในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ใฝ่หาความรู้

-   พลังในการทำงานสมรรถนะ เป็นคนช่างคิดช่างทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ไม่ท้อต่อการทำงาน ทำงานนอกเวลาได้ ทำงานได้มากกว่าคนอื่น

-    การตัดสินใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีจุดโฟกัส เจาะจงไปที่เป้าหมายของเรา ไม่เอนเอียงต่อส่งที่ไม่ดี

-    การจัดการ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และคุ้มค่า คล่องตัว ว่องไว ทันต่อสถานการณ์ คิดแล้วลงมือปฏิบัติ

-     การวิเคราะห์ เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เรื่องนั้นเป็นเรื่องใหม่ ไม่เป็นเรื่องเก่า การวิเคราะห์อยู่พื้นฐานความจริง

 

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด และคุ้มค่า คล่องตัว ว่องไว ทันต่อสถานการณ์ คิดแล้วลงมือปฏิบัติผู้นำจึงต้องมีหลักสมรรถนะ ดังนี้

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม

 

            1.  สมรรถนะในการบริหารคน (HR.Management)

                        -  ทักษะในการสื่อสารที่ดี พูดได้คล่อง ได้หลายภาษา

                        - การประสานสัมพันธ์ต่อภายในองค์กรและภายนอกองค์กร

                         

            2.  สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร (General  Management  Knowledge)

                        -  มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะในยุคนี้เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเร็ว

                        -  มีจิตมุ่งบริการ  เอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ ดูแลเสมือนเป็นลูกค้าของเรา ให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหา

                        -  มีการวางแผนกลยุทธ์  คือมีวิธีการดำเนินที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

                        - ศึกษา  Innovation เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ไม่หยุดนิ่ง

 

            3.  สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ (working  like  the  Professional  Management Level)

                        -  การตัดสินใจ อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง

                        -  ความเป็นผู้นำ ที่ดีและเก่ง

                        -  การคิดเชิงกลยุทธ์    คิดนอกกรอบ มุ่งผลสำเร็จ มีทิศทางการเดินหมายถึงการทำงาน

 

            4.  สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO)

                        -  การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์

                        -  การบริหารทรัพยากร

                        -  การบริหาร  CEO  Customer Empoyee Organzation 

                                   C  ความพึงพอใจของลูกค้า  ถ้าหน่วยงานราชการคือความพึงพอใจของประชาชน

                                    E  ความพึงพอใจของทีมงาน  ของพนักงาน

                                    O  ผลประกอบการณ์ออกมาเป็นไปตามเป้าหมาย ความสำเร็จขององค์กร

 

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

 1.  Coaching  การสอนงาน เป็นกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อการพัฒนา คนเก่ง  ที่ดีใช้ คนเก่ง  เป็นที่ปรึกษา  เป็นครูผู้ฝึกสอน  แนะนำแนวทางที่ประสบความสำเร็จมาช่วยเหลือในการสอนงาน  ตัวผู้สอนอาจมาจากภายนอก หรือภายในองค์กรตามแต่ความเหมาะสม

 

2.  Job rotation  การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์ และความรู้ใหม่ ๆ ในองค์กร

 3.  Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรืองานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน

 4.  Task Force Assignment  มอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมงาน เพ่อให้เขารู้จัดการทำงานเป็นทีม บริหารงานเป็น แก้ปัญหาได้

 5.  Internal Education and Training การให้คนเก่งฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม

 6.  Executive Program/External Course Work การส่งคนเก่งไปรับการพัฒนาอบรมภายนอกองค์การเพื่อกลับมาพัฒนาองค์การ

 7.  Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการใช้เวลาว่างในการอ่านหนังสือ ที่องค์การแนะนำให้ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ ทักษะ  ทั้งนี้ เพราะ คนเก่ง มักเป็นผู้ที่กระตือรือร้นมีแรงจูงใจในการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา

 8.  Teaching as Learning  การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งโดยให้คนเก่งเข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น โดยสอนทักษะการสื่อสาร  สร้างความเชื่อมั่น  สร้างภาวะผู้นำ  เน้นประสบการณ์ให้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 

 9.  Extracurricular  Activity  พัฒนาให้ทำกิจกรรมพิเศษ  ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  เพื่อให้เกิดการพัฒนา  เช่น  กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์  เน้นมนุษยสัมพันธ์  สร้างภาพพจน์  ภาพลักษณ์

 10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้

 11. Filling in for a Manager   การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"

 12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ หรือก็คือรัฐมนตรีเงา เมื่อเทียบกับรัฐบาล

 2.   การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรกมนุษย์

กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง วิธีการดําเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนําไปสู่ความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร  หรือวิธีการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้างหน้า
 ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

การจัดการเชิงกลยุทธ์  8  เรื่องมุ่งสู่องค์การสมรรถภาพสูง

1. ความต้องการของลูกค้า 

2. การวางแผนกลยุทธ์- ยุทธวิธี 

3. การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย 

4. การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 

5. การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์ 

6. การพัฒนากระบวนการ 

7. ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของทีมงาน  ผลประกอบการ 

8. วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์

1. เตรียมการ วิเคราะห์สภาพแวดล้อม กำหนดทิศทาง กำหนด กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ

2. การนำกลยุทธ์ไปใช้ แผนปฏิบัติการปรับปรุง

- กระบวนงาน

- โครงสร้าง

- เทคโนโลยี

- คน

3. การควบคุมและการตรวจสอบกลยุทธ์

- การติดตาม

- การทบทวนสถานการณ์เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์

Henry  Mintzberg   ได้ใช้หลัก 5 p  อธิบายความหมายของกลยุทธ์ ได้แก่

1. กลยุทธ์คือ แผน Plan

2. กลยุทธ์คือ แบบแผนหรือรูปแบบ Pattern

3. กลยุทธ์คือ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง Position

4. กลยุทธ์คือ ทัศนภาพ Perspective (ภาพที่ต้องการในอนาคต

5. กลยุทธ์คือ กลวิธีในการเดินหมาก Play (กลวิธีเดินไปสู่เป้าหมายอย่างมีสติรอบคอบมีการวัดผล

สรุปกลยุทธ์ คือแผนที่จะไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

            กลยุทธ์ หมายถึงวิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

Michael  E, Porter  ได้ให้แนวคิดว่ากลยุทธ์ในการบริหารมี  3  ประเภท

1.   กลยุทธ์ที่เน้นต้นทุนต่ำ

2.   เน้นสร้างนวัตกรรม ความแตกต่าง เพื่อให้เหนือชั้นกว่า

3.   เน้นที่ลูกค้า  กลุ่มเป้าหมาย

 สรุปประเด็น  Human Capial  Managment

1. จูงใจได้มารักษาคนฉลาด

2. การจัดการและภาวะผู้นำ

3. การเรียนรู้และการพัฒนา

4. การกำหนดมาตรฐานทุนมนุษย์

5. การพัฒนาทุนมนุษย์ ด้านความรู้ทักษะ สมรรถนะ

การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กรให้แก้ไข และป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิดทฤษฏี Objective Three ต้นไม้แห่งปัญหา  ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

ทฤษฏีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

องค์กรที่ด้อยประสิทธิภาพ

องค์กรสมรรถภาพสูง

1. ไม่ได้บริหารคนเก่ง+คนดี

2. คนขาดความรู้

3. ขาดภาวะผู้นำ

4. ขาดการจัดการทุนมนุษย์

5. ขาดการวัดทุนมนุษย์

1. บริหารคนเก่ง+คนดี

2. บริหารความรู้และพัฒนา

3. พัฒนาภาวะผู้นำ

4. พัฒนาประสิท ธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5. ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

นางสาวอมเรศวร์ พฤฒปภพ รปม.รุ่น4

 

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  คณะทำงาน  และผู้อ่านทุกท่าน

1.  อุปสรรคในการสร้าง  Innovation  และ  Learning  Organization  และ  HR  ในระบบราชการ          มีอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างประกอบ

     Innovation  คือ  นวัตกรรม  หมายถึง  ความคิดการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ  ที่ยังไม่มีใครนำเสนอมาก่อนเพื่อสร้างความแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์จากสินค้าและบริการอื่นๆ  การที่บุคลากรมีความคิดนอกกรอบเดิมที่ทำอยู่ทำให้สามารถสร้างความแปลกใหม่จากเดิมได้มากขึ้น

     Learning  Organization  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  มีการคิดอย่างเป็นระบบ  มีความคิดสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน  และจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปมิได้หากองค์กรมิได้มีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ  และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  เพื่อขยายศักยภาพของตนเองและองค์กรไปพร้อมกัน

     Human  Resource  (HR)  คือ  ทรัพยากรมนุษย์เป็นบุคคลซึ่งมีความพร้อมความจริงใจ  สามารถที่จะทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การหรือเป็นบุคคลในองค์การที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้  เป็นการบริหารการจัดกิจกรรมในการดึงดูด  พัฒนา  จูงใจ  เพื่อรักษาบุคคลที่มีศักยภาพสูงไว้ในองค์การ  เพื่อให้องค์การมีความก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ

     อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรมในระบบราชการ 

     1.   ผู้บังคับบัญชา  ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอก  ไม่รับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง 

     2.   ทรัพยากรมนุษย์  คนในหน่วยงานราชการมักไม่มีความกระตือรือร้น  เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนแนวความคิดสร้างสรรค์จากผู้บังคับบัญชา  และมักจะสนับสนุนพวกพ้องตนเองไม่มองที่ความรู้  ความสามารถของลูกน้อง

     3.   ไม่สนใจลูกค้า  เนื่องจากไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชาในองค์กร  ทำให้การบริการเป็นไปอย่างล่าช้า  และไม่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้า

2.  ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง

     สิ่งสำคัญของนวัตกรรมคือ  ความคิดสร้างสรรค์  การนำเสนอสิ่งใหม่ๆ  เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรและธุรกิจ

     -  ไอเดียใหม่ๆ  เกิดขึ้นได้อย่างไร

         เกิดขึ้นได้ด้วยความอยากรู้อยากเห็น  และทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อยากทำสิ่งใหม่ๆ

     -  ไอเดียนั้นผสมกับความรู้ได้อย่างไร

         นำความรู้เดิมที่มีอยู่มาผสมกับความคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดี

     -  ส่งเสิรมความรู้แล้วจะกระทำได้อย่างไร

         ทำได้โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และนำนวัตกรรมจากภายนอกมาใช้โดยจัดให้มีการอบรม    กระตุ้นให้บุคลากรเกิดความคิดสร้างสรรค์  เกิดการคิดนอกกรอบ  และให้อิสระทางความคิด (Free  Dom) 

     -  ถ้ามี  Action  แล้วจะเกิดการชนะอุปสรรค์ได้อย่างไรเมื่อเราเกิดความผิดหวัง  ล้มเหลว  แล้วเราควรหาความรู้หลายๆ  ด้าน  และคิดส่งใหม่ๆ  อย่างเป็นขั้นเป็นตอน  และสามารถที่จะทำสำเร็จได้

ขอขอบคุณ  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  คณะทำงาน  และผู้อ่านทุกท่าน

จ.ส.ต.วงศพัทธ์ ไพเราะ รปม.รุ่น 4

กราบเรียนคณาจารย์ทุกท่าน มี ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นต้น นักศึกษา รปม. รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน 

 ข้อ  1.  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบรามีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่าง ในองค์กรของท่าน                                           

          ในโลกปัจจุบันตามที่กระแสของการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มีการแข่งขันกันในลักษณะก้าวเข้าสู่องค์กรที่ไร้พรมแดนมากขึ้นในทุก ๆ ขณะ โดยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ การสื่อสารต่าง ๆ เข้ามา ส่งผลให้องค์กรแต่ละองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนในหลายเรื่อง และกระแสของการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้องค์กรจำเป็นต้องปรับทั้งองค์กร และทรัพยากรบุคคลในองค์กรด้วย  ฉะนั้น เรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงถือว่าเป็นกุญแจสำคัญอย่างมากสำหรับองค์กร และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและแนวปฏิบัติในการบริหารงานเพื่อให้ก้าวทันกับกระแสโลกาภิวัฒน์

          Innovation  นวัตกรรม  คือ การคิดค้นพร้อมกับการนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ ที่ไม่ซ้ำแบบใคร ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนนี้คือนวัตกรรมที่สมบูรณ์แบบ เพื่อสร้างความแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์จากสินค้าและบริการอื่นๆในปัจจุบันและในอนาคต

          จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมมักจะมาจากการที่ "บุคลากร" ในองค์กรมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ความคิดสรรค์ คือ การที่บุคลากรมีการคิดออกนอกกรอบเดิมที่เคยทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ จนทำให้สามารถสร้างความแปลกใหม่ในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิมมากขึ้น และความคิดที่แปลกใหม่นี้จะนำไปสู่นวัตกรรมที่เรียกว่านวัตกรรมล้ำยุคในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในกระบวนการดำเนินงาน หรือนวัตกรรมในตัวสินค้าและบริการ และมีหลายครั้งที่นวัตกรรมเหล่านั้นเป็นบ่อเกิดของความคิดสร้างสรรค์ซึ่งล้วนได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก "วัฒนธรรมองค์กร" นั่นเอง

          Learning Organization  องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการคิดอย่างเป็นระบบ ความเป็นตัวของตัวเอง มีแบบฉบับความคิด สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีการเรียนรู้ร่วมกัน และจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ไปมิได้ถ้าองค์กรมิได้มีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีการรวมศูนย์การตัดสินใจ

         Human resource ทรัพยากรมนุษย์ เป็นบุคคลซึ่งมีความพร้อม มีความจริงใจ และสามารถที่จะทำงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ หรือเป็นบุคคลในองค์การที่สามารถสร้างคุณค่าของระบบการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ดังนั้นองค์การจึงมีหน้าที่ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้ปฏิบัติงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ ซึ่งต้องใช้การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้ามาช่วย

        การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระบบราชการจะยึดแนวปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลแห่งความสำเร็จนั้นอาจเกิดได้ยาก เนื่องจากมีอุปสรรค ดังนี้

        1.  ระบบราชการจะมีผู้นำหรือผู้บริหารที่เป็นแบบเก่า คือ จะใช้วิธีการสั่งการและควบคุม

        2.  ขาดสิ่งกระตุ้นที่จะทำให้บุคลากรเกิดการคิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาในองค์กร

        3.  ขาดงบประมาณในการสนับสนุนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น

        4.  องค์กรขาดความเชื่อมั่นในความสำคัญของนวัตกรรมใหม่ ๆ

        5.  บุคลากรขาดองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

        6.  ยึดติดกับวัฒนธรรมองค์กรแบบเดิม ๆ ไม่รู้จักคำว่า คิดใหม่ ทำใหม่

        7.  ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัยที่จะทำให้บุคลากรได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

        ตัวอย่างในองค์กรที่ข้าพเจ้าเองได้ปฏิบัติงานอยู่ หัวหน้างานเองไม่มีการสนับสนุนให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือกล้าคิดกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่ ๆ จากนามธรรมให้ขึ้นมาเป็นรูปธรรม เนื่องจากถูกครอบงำทางความคิด และและข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือ โอกาส  การที่ไม่ได้รับการเปิดโอกาสจากผู้บริหาร ก็นับว่าเป็นอุปสรรคเช่นกันในการคิดริเริ่มที่จะสร้างหรือกำลังใจที่จะทำ  ประกอบกับเป็นหน่วยงานราชการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ค่อยมีสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเองก็เป็นเหตุผลหนึ่ง  จึงไม่ก่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้เลย

        ข้อเสนอแนะ  ทั้งนี้ควรให้บุคลากรมีความเป็นอิสระทางความคิด และอำนาจลองผิดลองถูกกับวิธีการ หรือไอเดียใหม่ ๆ ที่บุคลากรคิดค้นขึ้นมา และต้องสื่อสารกันอย่างชัดเจนกับบุคลากรว่า หากเกิดความผิดพลาดในการคิดสิ่งใหม่ ๆ เหล่านั้น จะไม่เอาผิดหรือลงโทษ แต่จะนับเป็นการลงทุนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาต่อไป ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องผลักดัน และสนับสนุนอย่างจริงจังเพื่อนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน

ข้อ 2. จากการดูเทปการสนทนา Innovation  ระหว่าง  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณศุภชัย  หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทั้งสองท่านได้พูดถึง  HR and Innovation

          คุณศุภชัย  หล่อโลหการ ได้กล่าวถึงนวัตกรรมออกเป็น  3  เรื่อง คือ

          1.  คำจำกัดความของ นวัตกรรม Innovation  คือ 

                    -  ต้องมีการใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มี และคิดสร้างสรรค์

                   -  ต้องมีประโยชน์ต่อสังคม ต้องมีผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

         2.  ความสำคัญของนวัตกรรม เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรจะต้องคิดและค้นคว้าเพื่อความล้ำสมัยและก้าวทันต่อโลกภายนอก

         3.  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าหากองค์กรต่าง ๆ ไม่ให้ความสำคัญกับบุคลากรแล้ว ย่อมเกิดปัญหาที่หลากหลายตามมา

          อาจารย์จีระ  กล่าวว่า นวัตกรรม ต้องเป็นสิ่งใหม่ ๆ แล้วนำไปทำ แล้วทำให้เกิดประโยชน์ และความคิดใหม่ ๆ ไม่ได้มาจากการวิจัย และคนไทยส่วนใหญ่ชอบฟัง แล้วก็นำไปขึ้นหิ้ง  และอาจารย์กล่าวว่า ไม่ต้องการให้ บุคลากร ทำงานประจำอย่างเดียว และได้กล่าวถึง ทฤษฏี 3 C คื

C แรกคือ คนไทยไม่ชอบ change หรือการเปลี่ยนแปลง 
C ที่สองคือ คนไทยไม่ชอบทำอะไรโดยมองไม่ถึงลูกค้า            C สุดท้ายคือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ค่อยฟังลูกน้อง มักจะคิดว่าฉันรู้แล้ว ชอบทำตัวเป็นผู้สั่งการ Command and control

         สังคมไทยต้องหันมามองตัวเอง คนไทยต้องมีองค์กรแห่งการเรียนรู้ ไปสู่ประโยชน์ สู่มูลค่าเพิ่ม สำหรับข้าราชการสิ่งแรกที่ต้องมีคือ ต้องมีสังคมแห่งการเรียนรู้ ลูกน้องต้องมีส่วนในการแนะนำเจ้านาย ระบบราชการ ถ้าไม่มีการสร้างนวัตกรรม และขาดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่หากเป็นระบบเอกชนก็เจ๊ง

          อย่างไรก็ตามในการสร้าง Innovation ได้นั้น บุคลากรจะต้องได้รับการสนับสนุน สร้าง หรือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จาก ผู้นำ ที่ไม่ยึดตามกรอบเดิม ๆ ต้องลองผิดลองถูกกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับการใช้ทฤษฏี 5K's ของท่านอาจารย์จีระ ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในเรื่องของการจัดการนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีเพื่อนำมาพัฒนาองค์กรและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง และเพื่อให้ก้าวล้ำกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

รำลึกในพระคุณ ของ ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์  และท่านอาจารย์ทุกท่าน ผู้มอบความรู้และอบรมสั่งสอนกระบวนการบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งจากการแนะนำให้เป็นผู้ใฝ่รู้ แนะให้อ่านหนังสือบทสนทนาระหว่างกูรูทั้งสอง คือ ท่านอาจารย์เองและคุณพารณ  อิสรเสนา เป็นต้น ในรูปแบบการสอนและการสั่งงานให้ส่งทางบล็อกนี้นับเป็นคุณุประการในการสร้างการเรียนรู้ด้านไอทีเป็นอย่างมาก เนื่องจากบทเรียนไหนที่ไม่เข้าใจหรือตามไม่ทัน ก็อาศัยบล็อกนี้เป็นเครื่องช่วย เป็นบททบทวนในการเรียนรู้ของข้าเจ้า ซึ่งจากการเขียนบทความรำลึกในพระคุณครั้งนี้มีจุดประสงค์จะกล่าวความดีของท่านอาจารย์ที่ศิษย์ได้รับ และเป็นตัวแทนศิษย์ รปม.รุ่น 4 กล่าวขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่เป็นผู้ให้ ให้ทั้งโอกาสแสดงความเห็นทางบล็อก ซึ่งท่านกล่าวบอกไว้ว่า นี้คือสมบัติของเรา ให้เราช่วยกันดูแลรักษาพัฒนาบล็อก เพื่อเป็นแหล่งกระจายความรู้ และท่านก็ให้ในเรื่องของความรู้ที่ท่านได้สั่งสมอบรมมา  สุดท้ายนี้กระผม จ.ส.ต. วงศพัทธ์  ไพเราะ  จะขอกล่าวว่า จากเวลาที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์จีระ หากกระผมทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดผิดพลาดพลั้งไปทั้งที่รู้ก็ตามไม่รู้ก็ตามเพราะความประมาท ต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ทุกท่านมา ณ โอกาสนี้ และ หลังจากจบวิชาของท่านอาจารย์จีระนี้แล้วกระผมก็ยังคงสำนึกตนว่าเรายังคงเป็นศิษย์ ของท่านอาจารย์จีระและอาจารย์ท่านอื่น ๆ  ทั้งนี้อาจารย์ทุกท่านก็คงเป็นอาจารย์ของกระผมตลอดไป เปรียบเสมือนก้านบัวที่ถูกหักแล้ว แต่ก็ยังไม่ทิ้งเยื่อทิ้งใย ก้านบัวหักได้ แต่สายใยไม่สามารถหักได้(ยกเว้นเอามีดตัดครับอาจารย์) ฯ 

                         ขอบพระคุณมากครับ

                       จ.ส.ต. วงศพัทธ์  ไพเราะ

                                                                                           

 

                                                                                                           

 

สวัสดี ศ.ดร.จีระ ศิษย์รักทุกคน และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมติดตามอ่านบทความที่ ศิษย์ทยอยเขียนมา หลายคนมีการพัฒนาการเขียนได้ดีขึ้น  อย่าลืมหลักการเขียน 3 ขั้นตอน 

เปิดประเด็น ให้เร้าใจ

ดำเนินเรื่องให้ดีเด่น

จับประเด็นมาสรุป เสนอแนะตอนท้ายให้ข้อคิด สะกิดปัญญาผู้อ่าน

ขอให้ศิษย์ทุกคน สร้าง รักษา พัฒนา และใช้ทุนทางปัญญา ตามที่ผมได้นำเอาแนวพุทธศาสตร์ ว่าด้วย ปัญญา 3 ซึ่งผมได้รับการถ่ายทอดมาจาก ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง ซึ่งเป็นปรมาจารย์ ผู้ประสิทธประศาสตร์วิชา ความรู้ ประสบการณ์ มรดกทางปัญญา ให้กับผม อีกท่านหนึ่ง นอกเหนือจาก ศ.ดร.จีระ ที่ท่านมีจุดดีหลายประการ การเอาใจใส่ศิษย์ การมุ่งมั่นถ่ายทอดความรู้ ฯลฯ ที่พวกเราควรซึมวับไว้ 

มีอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง แม้ท่านสิ้นชีพไปแล้ว แต่ท่านยังนั่งอยู่ในใจผมก็คือ ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์  ท่านได้ให้ทุนทางปัญญา แก่ศิษย์ ท่านมีส่วนอย่างมาก ในการพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์  ชาติ บ้านเมือง ผมซึมซับความดีของปรมาจารย์จุดเด่นของคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านมาไว้ในตัวผม ยังมีผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่านที่ผมไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งนับว่าท่านมีคุณวุฒิ คุณงามความดีพอที่ผมได้ยกย่องท่านว่าเป็น อาจารย์ผู้ทรงเกียรติ ผู้มีพระคุณที่ทรงคุณค่า ควรค่าอย่างยิ่งแก่การยกย่องให้เป็น "สุดยอดอาจารย์ในดวงใจของผม"

ศิษย์ที่เรียนกับผมก็ควรพิจารณาอาจารย์ผู้สอน มิใช่แค่ความรู้ ภูมิปัญญา เท่านั้น แต่ควรมองหาคุณค่า ในตัวอาจารย์ ความงาม ความดีของท่าน แล้ว ซึมซับ ไว้เป็นมรดกทางปัญญา เป็นแบบอย่างที่ จะไม่มีวันจม

 ขอชื่นชม มัลลิกา โสดวิลัย ขนิษฐา พลับแก้ว พระศุภสิน ศักศรีวัน พระมหาวิทยา นางวงค์ ญานิสา เวชโช บัญชา วิริยะพันธ์ พิมพ์ลดา โต๊ะเพิ่มพูน ลาวัลย์ ลิ้มนิยม  พ.ต.หญิงประไพศรี บุญรอด จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นางสาวดนิตา มูลละออง บังอร ภูมิวัฒน์ พระนิธิสิทธิ์ นอขุนทด   ที่จัดเป็นผู้เขียนบทความเกี่ยวกับที่ผมสอน ส่งมาในระดับต้น ๆ มีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่เป็นอย่างดี  สำนวนการเขียน รูปแบบก็มีการพัฒนาดีขึ้น ขอชื่นชม 

การสอบอย่ากังวล อย่าลืมสังจิต ตามที่ผมแนะนำ ทุกวัน ก่อนนอนให้ทำ อ่านหนังสือ ทดลองเขียน "ฝึก ฝืน ข่มใจ" ต้องทำ จึงจะเกิดการพัฒนา    อาจารย์อยากได้ภาพที่พวกเราถ่ายไว้  ใครมีอยู่ช่วยส่ง อีเมล์ให้อาจารย์ด้วย  และใครที่ขอยืมหนังสืออาจารย์ไป รับปากว่าจะติดต่อนำหนังสือมาคืนให้โดยเร็ว  ยังไม่ได้รับการติดต่อใด ๆ ขอให้ช่วยบอกกันต่อ ไปด้วย ว่าให้ติดต่ออาจารย์ นำหนังสือมาคืนโดยเร็ว

 

ขอให้ศิษย์รักทุกคนโชคดี 

 

    เรียนอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คณะอาจารย์ เพื่อน รปม.รุ่น ผู้อ่านทุกท่าน

อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

           นวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สร้าง (Innovation and Creativity )  หมายถึง การปรับปรุงคุณภาพในองค์การด้วยกุญแจสำคัญ 2 ประการ คือ นวัตกรรม และความคิดริเริ่ม  ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการคิดสร้างสรรค์นำมาผสมผสานแนวความคิดในการปรับปรุงองค์การ แล้วนำความเหล่านั้นมาสู่การปฏิบัติให้เกิดการกระทำออกมา การส่งเสริมให้บุคคลมีความคิดริเริ่ม สิ่งใหม่ๆที่นำเข้ามาใช้  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  โดยที่มีความคิดใหม่ ไม่ย่ำอยู่กับที่ บางเรื่องต้องลองทำนอกกรอบบ้าง เพื่อจะได้งานนั้นรวดเร็วขึ้น มีความอยากรู้อยากเห็นอยู่เสมอ หรือเป็นการดัดแปลงของที่ไม่ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น 

Innovation  จำเป็นที่จะต้องทำในสิ่งใหม่ๆ เพื่อ คนในองค์การจะได้นำไปใช้ สิ่งใหม่ที่ว่านั้น อาจจะเป็น

       1.เน้นนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น การลงทุน การศึกษา

       2.เน้นสินค้าใหม่ๆ ( product )

       3.เน้นการบริการแบบใหม่ๆ

                องค์การของการเรียนรู้ ( Learning Organization  )เป็นแนวความคิดใหม่ที่เปลี่ยนแปลง ไปจากแนวคิดเดิม ซึ่งแนวคิดนี้ประกอบด้วย หลักการสำคัญ 5 ประการ คือ

       1.การคิดอย่างเป็นระบบ  หมายถึง การคิดอย่างเป็นระบบโดยเริ่มจากการทำงานที่มีพนักงานที่มีความเข้าใจในวิธีการทำงานเป็นอย่างดี

       2.การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึงสมาชิกในองค์การมีความคิดในวัตถุประสงค์เดียวกันมีความจริงใจในการทำงาน

       3.รูปแบบการทำงานที่ท้าท้าย หมายถึง การทำงานที่ท้าท้ายเพื่อให้บรรลุกระบวนการแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนได้

       4.เรียนรู้การทำงานเป็นทีม หมายถึง คนในองค์การทำงานรวมกันแก้ปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นร่วมกัน

       5.ความเชียวชาญในงาน หมายถึง คนในองค์การมีความเข้าใจในงานอย่างแท้จริงและเป็นต้นแบบเป็นเจ้าวิธีใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ๆ

                ปัญหาและอุปสรรคในระบบราชการ

                     1.ขาดการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง 

2. บุคลากรขาดทักษะ

3. การทำงานเน้นรับคำสั่งและการประสานงาน 

4. การปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี 

5. ขาดงบประมาณที่จะนำมาใช้

ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง สิ่งที่ได้จะมองไปที่การคิดสร้างสรรค์ของ ศุภชัย กับ อ.จีระ ซึ่งต่างให้ความเห็นที่คล้ายกัน การนำเสนอ อยู่ในลักษณะที่สามารถนำไปใช้ได้เลย  สำหรับ 4 เรื่องที่มองเห็นว่ามีอะไรบ้าง อย่างแรก

       1.โลกาภิวัฒน์  ยุตนี้เป็นยุตโลกาภิวัตน์  ที่การแข่งขันกันสูงในเรื่องสินค้าต้องมีมาตฐานการผลิต

       2.การทำให้พนักงานภูมิใจในองค์การ

       3.ทำให้องค์กรมี Energy

       4.การทำให้องค์การอยู่อย่างยั่งยืน

ฝากข้อคิดสะกิดใจให้ชวนอ่านในการทำงานร่วมกัน ให้เลี้ยงสัตว์ 4 ตัวในการอยู่รวมกัน

 คือ     อูฐ   ปลา  หมา  ควาย

 จงอดทนเหมือนอูฐ ไม่พูดเหมือปลา  ซื่อสัตย์เหมือนหมา โง่เหมือนควาย

จงอดทนเหมือนอูฐ  หมายความว่า  การทำงาน ย่อมเกิดปัญหา ไม่ว่าจะเป็นที่เนื้องาน หรือเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างาน การแก้ไขปัญหา ให้ใช้ความอดทนในการแก้

ไม่พูดเหมือนปลา  หมายความว่า การทำงานย่อมมีการติดต่อประสานงาน หรือ พูดคุยกัน ในบางเรื่อง ไม่จำเป็นก็ไม่ควรพูด หรือแม้แต่เรื่องภายในหน่วยงานไม่ต้องนำไปพูดนอกหน่วยงาน

ซื่อสัตย์เหมือนหมา หมายความว่า  การทำงานจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ต่อผู้บังคับบัญชา แม้แต่ลูกน้องตนเอง  ไม่นำเรื่องที่เป็นเรื่องเสียหายของหน่วยงานไปเล่าให้ที่อื่นฟัง

โง่เหมือนควาย  หมายความว่า ให้ทำตัวเป็นคนโง่ในบางเรื่อง เมื่อมีเพื่อนร่วมงานมาพูดในเรื่องที่เรารู้แล้วก็ไม่สมควรพูดแซงหน้า ปล่อยทำเป็นไม่รู้บ้าง เพื่อรักษาจิตใจคนที่เล่าเรื่องให้ฟัง ทั้งที่ในเรื่องนั้นเรารู้แล้วก็ตาม

ทั้งนี้สามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิต ครอบครัวเราได้นะครับ

             

ชัยรัตน์ พัดทอง รปม. รุ่น4

 

กราบเรียนท่าน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมณ์ และท่านผู้อ่าน ทุกท่าน

           Innovation คือ นวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเอื้อประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม สิ่งที่สร้างขึ้นมาแล้วและเป็นประโยชน์ต่อสังคมเราสามารถกล่าวได้ว่านั้นคือ นวัตกรรม นั้นเอง


           

Learning Organization  หมายถึง องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดที่จะมุ่งมั่นที่จะเพิ่มความสามารถของตนเอง โดยต้องการที่จะมีการเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มบุคคลอื่นหรือทีมงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้บรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าต่อตนเอง ทีมงานและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้เป็นองค์กรที่มีคุณภาพและสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่การแข่งขันและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นั้นเอง

           เนื่องจากตัวกระผมทำงานในสำนักงานเขต.ปทุมวัน  จึงขอยกตัวอย่างอุปสรรคในการสร้าง  Innovation และ Learning  organization และ  HR ของหน่วยงานงานของกระผมเอง

            การสร้างนวัตกรรมของข้าราชการไทย หรือการพัฒนาองค์กรและบุคลากรนั้นต้องค่อยๆสร้าง นวัตกรรม ที่เห็นได้บ่อยๆ  คือ การไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นทางการในที่ประชุมมุมกาแฟ, ไม่กล้าที่จะเสนอแนะความคิดของตนเองให้แก่ผู้บริหาร เพราะเกรงว่าพูดในสิ่งที่คิดไปแล้วกลัวจะผิด และยังเป็นที่เกรงคนอื่นมองว่าตนเองเก่งเกิน ไม่รู้เรื่องที่ศึกษานั้นอย่างแท้จริงและให้ให้บริการแก่ประชาชนที่มี เรื่องที่ต้องมาติดต่อสำนักงานอยู่บ่อยครั้ง จนทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถดูแลและให้ของมูลได้ถูกต้อง นั้นเอง

 

          จากข้อเสนอสามารถสรุปและเสนอแนะว่า   เราควรสร้างให้เกิดพัฒนาให้เกิด นวัตกรรม กับบุคคลในองค์กร คือ การสร้างวัฒนธรรมเรื่อง นวัตกรรมให้กับบุคลากรในองค์กร ซึ่งทำได้โดยมี การสื่อสารหรือบอกกล่าวตามความคาดหวังขององค์กร โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสร้างและ การจัดเจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้รอบด้านมาให้บริการกับประชาชน เพื่อความสะดวกสบายแก่ ประชาชนผู้ที่มาติต่อ แต่ยังไงก็ตามการสร้าง นวัตกรรมใหม่ ให้กับองค์กร เช่น การสร้างข้อมูลสาระสนเทศ (คอมพิวเตอร์) สื่อและข้อมูลทาง Internet เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้าง นวัตกรรมใหม่ อย่างแท้จริง

 

 2. ดูเทป  Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง 

      นวัตกรรมใหม่ องค์กรนวัตกรรมแห่งชาติ จัดตั้งประมาณปี พ.ศ.  2540  เหตุผลหลักเพื่อสร้าง นวัตกรรม การให้รู้ความรู้ถือภายในองค์กร เป็นเรื่องสำคัญในยุคปัจจุบัน  แต่ละประเทศมีนวัตกรรมที่ต่างกัน  อาทิ เช่น อินเดียและจีน มีการส่งเสริมนวัตกรรมให้ทั่วทั้งประเทศ  แต่ อินเดียส่งเสริมนวัตกรรมบางจุดกับคนเฉพาะกลุ่มในบางส่วนของประเทศเท่านั้น  ประชาชนส่วนใหญ่ของอินเดียยังมีความยากจนเป็นจำนวนมาก และยังขาดการเรียนรู้ที่ดี   ส่วนจีนนั้นมีการนำ นวัตกรรม  ไปใช้กันทั่วจีน และ สร้างความเป็นอยู่รวมถึงการศึกษาของประชาชนจึงมีสภาพที่ดีขึ้น                                                                         

นางสาวขนิษฐา พลับแก้ว รหัส 50038010040 รปม.รุ่น 4

 

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ และทีมงาน  อาจารย์ยม เพื่อน ๆ ชาวรปม.รุ่น 4 และผู้อ่านทุกท่าน

1.  อุปสรรคในการสร้าง  Innovation  และ  Learning Organization  และ  HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

 

                นวัตกรรม (Innovation)  คือความสามารถในการใช้ความรู้ การมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีหรือการจัดการ มาพัฒนาและผลิตสินค้าใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ หรือบริการใหม่ ซึ่งตอบสนองความต้องการของตลาด ทำแล้วก็ต้องให้เกิดประโยชน์ และให้มีมูลค่าเพิ่มด้วย  ดังนั้น ผู้ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมได้สำเร็จก็จะกลายเป็นคนมีชื่อเสียง หรือร่ำรวยขึ้นได้โดยง่าย ประเทศที่มีนักคิดค้นนวัตกรรมจำนวนมากย่อมทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้นด้วย ประเทศต่างๆ จึงพยายามส่งเสริมให้เยาวชนพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันกับประเทศอื่น

 

อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรม   ได้แก่

1. ความล่าช้าในการพัฒนาความคิดให้กลายเป็นรูปธรรม  การคิดค้นให้เกิดไอเดียแจ๋ว ๆ นั้นก็ยากอยู่แล้ว  แต่ก็ยังง่ายกว่าการทำให้ไอเดียนั้นกลายเป็นจริงขึ้นมาได้

2. ขาดการประสานงานที่ดี  แค่มีไอเดียดี ๆ ยังไม่พอที่จะทำให้องค์กรเป็นเจ้าของสุดยอดนวัตกรรม  องค์กรจะต้องมีกระบวนการที่เป็นระบบสนับสนุนอีกมากมาย ต้องสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ๆ  หลาย ๆบริษัทมีไอเดียดี ๆ แต่ก็มาตกมาตายไปไม่ถึงดวงดาวเพราะขาดการประสานงาน การสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ

3. การมีวัฒนธรรมองค์กรที่หลีกเลี่ยงการเสี่ยง  การจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ คือการคิดไม่เหมือนใคร คิดนอกกรอบ  ดังนั้น ถ้าองค์กรมีวัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม ต้องทำอะไรตามระเบียบแบบแผน เคารพผู้อาวุโสอย่างเคร่งครัด ไม่มีการเสี่ยง สภาพแวดล้อมแบบนี้ย่อมไม่เอื้อให้กล้าคิดนอกรอบแน่

4. มีความเข้าใจและรู้จักลูกค้าไม่เพียงพอ  การสร้างนวัตกรรมไม่ใช่เพียงแต่รู้ว่าลูกค้ากำลังต้องการอะไรแล้วนำเสนอสิ่งนั้นให้  องค์กรจะต้องมีผู้นำที่อุทิศเวลาในการติดตามข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรม สไตล์การใช้ชีวิตของประชากรกลุ่มเป้าหมายอย่างใกล้ชิด

 

                องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  คือ  องค์กรที่มีลักษณะเปรียบเหมือนสถาบันการเรียนรู้ซึ่งบุคลากรมีการเรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง โดยมีส่วนร่วม และต่อเนื่องเพื่อยกระดับศักยภาพ อันได้แก่ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญของตน ทีมงาน และองค์กร แล้วไปใช้ในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสนับสนุนจากองค์กรด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยให้การเรียนรู้นั้นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้องค์กรประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างยั่งยืน

แนวทางการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

              ในการสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้นั้นคงต้องสร้างภาพของความเข้าใจเสียก่อนว่าองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นเหมือนระบบใหญ่คล้ายกับตัวขององค์การทั่วไป เช่นในธุรกิจก็คือบริษัท ในภาครัฐก็คือกระทรวง  ซึ่งระบบใหญ่หรือองค์การนั้นย่อมมีระบบย่อย ๆ (Subsystems) ที่เป็นส่วนประกอบ เช่นในกรณีบริษัทก็เป็นฝ่ายงานต่าง ๆ ถ้าในกระทรวงก็เป็นหน่วยงานระดับกรม ที่เป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนให้ระบบใหญ่ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ   ด้วยหลักคิดนี้เอง Michael J.Marquardt ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งมหาวิทยาลัย Gorge Washington ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้นำเสนอแนวคิดการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ ในหนังสือ Building the Learning Organization ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 2002 โดยเน้นการพัฒนาและสร้างระบบย่อยทั้ง 5-ประการ-อันได้แก่-ระบบองค์การ-ระบบผู้คนที่เกี่ยวข้องกับองค์การ  ระบบเทคโนโลยี  ระบบความรู้  และระบบสุดท้ายคือระบบการเรียนรู้ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละระบบมีดังต่อไปนี้

1. องค์การ (Organization)  ระบบขององค์การต้องมีการวางรากฐานไว้เพื่อสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ วิสัยทัศน์(Vision)  ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศนำองค์การไปยังเป้าหมายที่พึงประสงค์ กลยุทธ์ (Strategy) เป็นวิธีการที่จะทำให้ไปถึงยังเป้าหมายตามวิสัยทัศน์โครงสร้างองค์การ (Structure) เป็นปัจจัยสนับสนุนให้มีการทำหน้าที่ในทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม และที่สำคัญคือวัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) ซึ่งเป็นความเชื่อหรือค่านิยมของคนในองค์การที่ต้องเอื้อต่อการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ เช่น ค่านิยมการทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการตนเอง การมอบอำนาจ กระจายอำนาจเป็นต้น

2. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ (People)  องค์การหนึ่งๆต่างมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งภายในองค์การเองเช่น ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำและมีทักษะทางด้านการบริหาร เช่นการสอนงาน การเป็นพี่เลี้ยง และที่สำคัญต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา  พนักงานระดับปฏิบัติต้องมีนิสัยใฝ่รู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ ลูกค้าที่ใช้บริการก็ต้องมีการให้ข้อมูลย้อนกลับในด้านของความต้องการแก่องค์การเช่นเดียวกับพันธมิตรทางธุรกิจ ที่ต้องให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ  และรวมทั้งชุมชนที่ต้องให้การสนับสนุนการพัฒนาองค์การที่ตั้งอยู่ในบริเวณชุมชน  ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ก็มีส่วนในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น

3. เทคโนโลยี (Technology)  การมีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยประเภทของเทคโนโลยีที่ช่วยในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้มี 2 ประเภทแรกคือ เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้ (Manage knowledge) คือการใช้เพื่อการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน ประเภทที่สองคือเทคโนโลยีที่ใช้ในการเพิ่มพูนความรู้ (Enhance learning) คือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการสร้างการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างสะดวกมากขึ้น เช่นComputer-based training   E-Learning Web-based learning

4. ความรู้ (Knowledge)  ความรู้ที่มีในองค์การจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ โดยกระบวนการให้การจัดการความรู้ (Knowledge management) มีกระบวนการเริ่มตั้งแต่การระบุความรู้ที่จำเป็นต่อองค์การ การเสาะแสวงหาหรือสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่ การจัดเก็บความรู้ การแบ่งบันความรู้ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งแนวคิดนี้เองคงเป็นการสร้างความกระจ่างถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) กับการจัดการความรู้ (Knowledge management) เพราะว่าในแนวคิดของ Michael J.Marquardt ถือว่าการจัดการความรู้เป็นระบบย่อยระบบหนึ่งที่มีความสำคัญในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นนั่นเอง

5. การเรียนรู้ (Learning)  การเรียนรู้ถือเป็นระบบหลักที่เป็นแกนสำคัญของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ซึ่งสามารถจำแนกการเรียนรู้ได้ 3-ระดับคือ-ระดับบุคคล-ระดับกลุ่ม-และระดับองค์การ ซึ่งในแต่ละระดับของการเรียนรู้นั้นต้องเริ่มที่ทักษะของตัวบุคลากรแต่ละคนซึ่งต้องมี 5-ประการเพื่อสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่  ความคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking)   การมีตัวแบบทางความคิด (Mental Model) ความเชี่ยวชาญรอบรู้ (Personal Mastery) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) และการสนทนาสื่อสารกัน (Dialogue) โดยวิธีในการเรียนรู้ที่มีความสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ในบริบทขององค์การแห่งการเรียนรู้มี 3 ประเภทคือการเรียนรู้เพื่อการปรับตัว (Adaptive learning) คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตเพื่อการปรับปรุงในอนาคต   การเรียนรู้โดยการกระทำ (Action learning) คือการเรียนรู้ที่นำเอาสถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นฐานของการเรียนรู้   และสุดท้ายคือระบบการเรียนรู้เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์การ (Anticipatory learning)  คือการเรียนรู้ที่มุ่งสนองตอบความสำเร็จของเป้าหมายองค์การเช่น วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นต้น

 

              องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นแนวคิดที่องค์การสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางรากฐานด้านการสร้างคุณค่าให้แก่ทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้คือความรู้ ซึ่งจะเป็นสิ่งช่วยให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินที่จับต้องได้เช่นรายได้และผลกำไร หรือแม้กระทั้งความสำเร็จที่ใฝ่ฝันในที่สุด ดังนั้นเราควรมาสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในที่สุด

 

ตัวอย่างการพัฒนา HR ในวงการราชการ

 

          ก.พ. ได้พัฒนาบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในวงการราชการ ดูแลด้าน HR และพัฒนาเพื่อให้บุคคลเหล่านี้ทำงานอย่างมืออาชีพ ซึ่งการพัฒนามีด้วยกัน 4 โมดู่ คือ

1. พัฒนาให้เก่งในงานปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคล หรือเก่งในหน้าที่ทั้งการแต่งตั้ง โยกย้ายทำอย่างไร ซึ่งใครก็ตามที่ทำงานด้าน HR ต้องเก่งในด้านดังกล่าว
2. เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ หรือ strategic partners ซึ่งไม่ต้องการที่จะเห็นพนักงาน HR ทำงานอย่างที่ผ่านมาคือ เก็บเอกสาร หรือที่มีพูดกันว่าคนเกิดส่งกระเช้า คนตายส่งพวงหรีดซึ่ง ต้องการเห็นการทำงานรูปแบบใหม่เป็นยุทธศาสตร์ โดย ก.พ. เป็นพาร์ทเนอร์กับส่วนราชการ ในลักษณะการเข้าไปเป็นที่ปรึกษา เช่นเดียวกับบริษัทที่ปรึกษาในภาคเอกชน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ เป็นหุ้นส่วนการทำงานร่วมกัน
3. ที่ต้องการเห็นคนในวิชาชีพ HR คือการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญ เพราะในระบบราชการในปัจจุบันเปลี่ยนตลอดเวลา และเวลาเปลี่ยนไม่ใช่ผู้นำเดินนำหน้า ต้องมีหน้าที่ทำให้คนเดินไปในทิศทางเดียวกันที่เรียกว่าผู้นำการเปลี่ยนแปลง

4. คือเน้นภาวะผู้นำคนของคนทุกระดับในส่วนราชการ ซึ่งคนในวิชาชีพต้องรู้จักวิธีพัฒนาภาวะผู้นำให้กับคนราชการในทุกระดับ

 

การค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นความสามารถใหม่ของงาน HR

 

1. ต้องเป็นกลุ่มคนที่สามารถคิดนอกกรอบ ( Think Out of Box ) เช่น การคิดแบบบูรณาการ (องค์รวม), คิดสิ่งที่แตกต่างจากเดิม, คิดสร้างสรรค์ เป็นระบบ, ประเมินผลสถานการณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง, แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ฉับไว
2. ต้องเป็นคนที่เปิดกว้างยอมรับสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา ( Open Minded ) เช่น มีพฤติกรรมที่ชอบแลกเปลี่ยนความรู้, เป็นผู้ฟังที่ดี, ยอมรับฟังเหตุผลผู้อื่น
3. ต้องเป็นคนที่กล้าแสดงออก ( Assertive ) เช่น กล้าแสดงความคิด พูด อย่างเปิดเผย, คิดอย่างตรงไป ตรงมา และมั่นใจ, ปกป้องสิทธิของตนเองที่พึงกระทำ
4. ต้องเป็นคนกล้าเสี่ยง ( Risk Taking ) เช่น ชอบแสวงหาโอกาสในการทำสิ่งใหม่ ๆ, สามารถประเมินผลจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ในสถานการนั้น ๆ, กล้าที่จะลงมือทำ ไม่กลัวล้มเหลว และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
5. ต้องเป็นคนสนใจใฝ่รู้ ( Eager to Learn ) เช่น แสดงความพร้อม และตั้งใจในการเรียนรู้, หาวิธีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ, ประยุกต์ความรู้ใหม่ ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์

 

2.  จากการดูเทป Innovation  ระหว่าง ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ กับคุณศุภชัย   หล่อโลหการ  แล้วได้อะไรบ้าง

นวัตกรรม (Innovation)

        -   เป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องของความอยู่รอด  เป็นการกระทำใหม่ ๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น อาจจะไม่ต้องมาจากการวิจัย

        -  ต้องใช้ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์  ข้อนี้เป็นสำคัญมาก เพราะเกี่ยวเนื่องกับทรัพย์สินทางปัญญา

        -  ต้องเกิดประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจ  ต้องมีผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

 

อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรม  3C

        1.  ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

        2.  ไม่เน้นลูกค้า ไม่สนใจลูกค้า

        3.  เจ้านายเป็นอุปสรรค  เพราะเจ้านายจะรู้คนเดียว (I know)

 

ทฤษฎี  5 k's ใหม่

        1.  ทุนแห่งการสร้างสรรค์ (Creativity Capital)

        2.  ทุนทางความรู้ (Knowledge Capital)

        3.  ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital)

        4.  ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital)

        5.  ทุนทางอารมณ์ (Emotion Capital)

 

               สุดท้ายนี้ก็ต้องกราบขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ และอาจารย์ทุกท่าน และทีมงานของศ.ดร.จีระ  ที่สละเวลาอันมีค่ายิ่งมาให้ความรู้แก่พวกเราชาว รปม.4 ทุกคน  ขอบพระคุณค่ะ

นางสาวพรทิพย์ เรืองปราชญ์ รหัส 50038010041

กราบเรียน   ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ยม  ทีมงาน   นักศึกษา รปม.รุ่น 4 ทุกคน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

           จากที่ได้รับมอบหมายจากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2551  ให้ทำงานส่งจำนวน  2  ข้อ  ดังนี้

1.  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างหน่วยงานของท่าน

          นวัตกรรม (Innovation)  คือ แนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใหม่ที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาสและถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมเกิดจากความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ผนวกกับความพากเพียรอุตสาหะได้รังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมา  และเป็นสิ่งที่สามารถนำประยุกต์ใช้ได้  เกิดประโยชน์และสามารถเพิ่มมูลค่าได้

          เมื่อนวัตกรรมทำให้เกิดสิ่งที่ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์มีคุณค่าแล้ว การจัดการนวัตกรรมก็เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ เพื่อเพิ่มศักยภาพของนวัตกรรมนั้น ๆ ให้พัฒนาต่อยอดและยั่งยืน โดยการเน้นให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) มากกว่าเป็นองค์กรที่เน้นในกฎระเบียบ

 

          องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)  คือ  องค์กรที่มุ่งเน้นและจูงใจให้สมาชิกทุกคนในองค์กรมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อศักยภาพของตนเองและขององค์กร ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ภายใต้สภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยากแก่การพยากรณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ละคนจึงต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะความรู้ที่เคยมีมาในอดีตถูกท้าทายโดยความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

          อุปสรรคในการนำ Innovation มาใช้ในระบบราชการ

-         คนในระบบราชการ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง  ไม่ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ  มองว่าเป็นเรื่องยาก 

-         ระบบราชการไม่มุ่งเน้นผลกำไร หรือลูกค้า จึงไม่สนใจนวัตกรรม หรือนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในระบบ

-         ระบบราชการที่มีโครงสร้างการบริหารเป็นแนวดิ่ง ผู้บังคับบัญชาเป็นอุปสรรค์มากต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชา

          สำหรับในหน่วยงานที่ทำงานอยู่ขณะนี้ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  อาจเพราะเป็นหน่วยงานด้านการศึกษา  ที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพทุก ๆ ด้าน และต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  จึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย  พัฒนาบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย และพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายสอนและสายสนับสนุน  ให้เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ  ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงนำ นวัตกรรม  ใหม่ ๆ มาใช้ในหน่วยงานอย่างหลากหลาย เช่น การจัดการความรู้  (KM)  การบริหารงานทั่วทั้งองค์กร (TQM)  กระบวนการลดรอบการปฏิบัติงาน   การใช้ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการด้านงบประมาณ การเงิน พัสดุ และทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร เป็นต้น

          ในช่วงแรกของการนำนวัตกรรมมาใช้ในมหาวิทยาลัย  แน่นอนว่าต้องมีปัญหาและอุปสรรค์มากมาย  เป็นธรรมชาติของคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุผลนานาประการ ทำให้เกิดการไม่ยอมรับ ไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้  มองว่ายุ่งยาก เป็นการเพิ่มภาระงาน  มหาวิทยาลัยจึงมีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจ  และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น รวมทั้งแรงจูงใจต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้  จนปัจจุบันถือได้ว่ามหาวิทยาลัยประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่ง  เนื่องจากหลายโครงการที่กล่าวมาข้างต้น  มีการดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 3   และมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น จากการประชาสัมพันธ์ในกลุ่มนำร่องช่วงแรก ๆ  และการกระตุ้นให้บุคลากรนำความสามารถและคุณค่าที่มีอยู่ในตัว  นำออกใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีผู้บริหารคอยส่งเสริมและสนับสนุน    

2.  ดูวีดิทัศน์ เรื่อง Innovation  แล้วได้อะไรบ้าง

 

          จากการที่ได้ดูวีดิทัศน์ การสนทนาเรื่อง Innovation ระหว่าง ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  กับ  คุณศุภชัย หล่อโลหการ  ได้ความรู้และสาระต่าง ๆ ดังนี้

2.     นิยามของคำว่า นวัตกรรม (Innovation)  ที่หมายถึง สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  ผนวกกับความวิริยะ อุตสาหะ พากเพียร จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา  ไม่เฉพาะในวงการวิทยาศาสตร์เท่านั้น ในวงการบริหาร และอื่น ๆ ก็สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้เช่นกัน

3.     ความสำคัญของนวัตกรรม (Innovation)  ที่เน้นให้เราคิด ทำในสิ่งใหม่ ๆ คิดนอกกรอก  และนวัตกรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

4.     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้าน Innovation ให้สามารถพัฒนาตนเองพร้อมรับและก้าวทันต่อโลกยุคไร้พรหมแดน  ในศตวรรษที่ 21

5.     ไม่เฉพาะหน่วยงานเอกชนเท่านั้นที่จะต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรม  แต่หน่วยงานราชการในปัจจุบัน  ก็ต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเช่นเดียวกัน

6.     ควรมีการสร้างวัฒนธรรมของนวัตกรรม  เพื่อให้คนรู้จักคิดเอานวัตกรรมมาใช้ประโยชน์

7.     หัวใจสำคัญของการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหาร

-         ทำให้คนตื่นตัว

-         ค้นพบ และผลิตบุคลากรด้านนวัตกรรม

8.     การจะนำนวัตกรรมสู่องค์กร  จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี  ผู้บริหารสนใจเรื่องคน  และต้องรู้รอบด้านเพื่อความสำเร็จไปสู่นวัตกรรม

 

 

          ในโลกปัจจุบันที่ยากแก่การพยากรณ์ได้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ภายใต้สภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้  เราทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คิดนอกกรอบ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้และนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อพัฒนาตนเองและองค์กรสู่ความสำเร็จ   ขอขอบพระคุณค่ะ...

 

นางสาววรางคณา ศิริหงษ์ทอง รปม.รุ่นที่ 4 รหัส 50038010043

เรียน   ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมย์  ทีมงาน  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ข้อ  1.  อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบรามีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่าง ในองค์กรของท่าน

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่  ที่มีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ แล้วนำมันมาใช้ประโยชน์ได้หรือมีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และมีประโยชน์กับเศรษฐกิจและสังคม

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่มีการดำเนินการให้บุคคล ทีม หรือกลุ่ม ในองค์การได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนตนเอง ทั้งนี้ เพื่อนำองค์การไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ การเรียนรู้ต้องเป็นไปอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและเป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วทั้งองค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource: HR) หมายถึง การบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด พัฒนา จูงใจ และเก็บรักษาบุคลากร ที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการบูรณาการหรือประสานความต้องการของแต่ละบุคคลในด้านความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนากับเป้าหมายขององค์กร

อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization  และ HR  ในระบบรามีดังนี้

1.     ระบบราชการมีระเบียบ ข้อบังคับมากมาย  ทำให้เป็นอุปสรรค์ในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมต่อไป

2.     สายการบังคับบัญชาที่ยืดยาว และกระบวนการที่แน่นอนทำให้การดำเนินงานล่าช้า ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเบื่อหน่ายกับการปฏิบัติงานแบบเดิมๆ และไม่ได้ฝึกทักษะในการเรียนรู้  รวมทั้งขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง

3.     ผู้บังคับบัญชาไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา  ซึ่งเป็นอุปสรรค์ในการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในระบบราชการ  ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ หรือแลกเปลี่ยนความรู้กัน  จึงเป็นอุปสรรค์สำหรับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน

4.     วัฒนธรรมองค์กรที่นิยมในพวกพ้องเดียวกัน  การแบ่งพรรคแบ่งพวกแบ่งชนชั้นกันในหน่วยงาน  ทำให้คนที่มีความรู้ความสามารถอาจไม่ได้รับการสนับสนุนและท้อที่คิดหาวิธีใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์มาใช้กับงานของตน

ตัวอย่างเช่น  เมื่อพิจารณาจากข้อ 1 ถึง ข้อ 4 และในหน่วยงานของข้าพเจ้าไม่มีกิจกรรมที่จะดึงดูดใจ เพื่อรักษาบุคลากรที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวที่ดีพอ  ผลตามมาก็คือ เมื่อคนที่มีความรู้ความสามารถเขามีโอกาสที่ดีกว่าเขาก็จะลาออกไป  ทำให้หน่วยงานต่างๆ ภายในต้องเริ่มฝึกงานให้กับคนใหม่ๆ  ส่งผลให้การดำเนินงานภายในเกิดติดขัดล่าช้า  และขาดความคุ้นเคยกันของคนในหน่วยงานทำให้เกิดปัญหาในการติดต่อสือสารกัน เป็นอุปสรรค์ขององค์กรแห่งการเรียนรู้  และยังเป็นอุปสรรค์ในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศด้วยค่ะ

ข้อเสนอแนะ ควรการบริหารจัดการกิจกรรมในการดึงดูด เพื่อรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานสูงไว้กับองค์กร  เพราะเมื่อคนรักองค์กรก็จะทำให้อยากที่จะเรียนรู้  พัฒนา หรือคิดอะไรสร้างสรรค์เพือองค์กร  ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ

ข้อ 2. ได้อะไรจากการดูเทปการสนทนา Innovation  ระหว่าง  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคุณศุภชัย  หล่อโลหการ  ผู้อำนวยการสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.)  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทั้งสองท่านได้พูดถึง  HR and Innovation

1.ได้ทราบถึงความหมาย ของคำว่า  นวัตกรรม  คือ  การทำสิ่งใหม่  ต้องมีการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์  ซึ่งความรู้และความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องมีประโยชน์กับเศรษฐกิจ และสังคม

2. นวัตกรรมมี 3 ช่วง

          ช่วงเกิดความรู้กับความคิดสร้างสรรค์  ช่วงต่อมาเปลี่ยน (Turn) ความคิดไปสู่ การปฏิบัติ หรือ นำไปใช้ (Action Plan)  และช่วงสุดท้ายคือทำให้สำเร็จ

3. ทฤษฏี 3 C คือ

C แรกคือ คนไทยไม่ชอบ change หรือการเปลี่ยนแปลง

C ที่สองคือ คนไทยไม่ชอบทำอะไรโดยมองไม่ถึงลูกค้า

C สุดท้ายคือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ค่อยฟังลูกน้อง มักจะคิดว่าฉันรู้แล้ว ชอบทำตัวเป็นผู้สั่งการ Command and control

4. ทฤษฏี  5 k's   ของ ศ.ดร.จีระ คือ

- Innovation  Capital  ทุนทางนวัตกรรม

- Knowledge  Capital  ทุนทางความรู้

- Cultural       Capital  ทุนทางวัฒนธรรม

- Emotional    Capital  ทุนทางอารมณ์

- Creativity     Capital  ทุนแห่งการสร้างสรรค์

 

อย่างไรก็ตามในการสร้าง Innovation ได้นั้น บุคลากรจะต้องได้รับการสนับสนุน สร้าง หรือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ จาก ผู้บริหาร ที่ไม่ยึดตามกรอบเดิม ๆ ต้องลองผิดลองถูกกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับการใช้ทฤษฏี 5K's ของท่าน ศ.ดร.จีระ มาการจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยในเรื่องของการจัดการนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี  เพื่อนำมาพัฒนาองค์กรและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั่นเอง

 

สุดท้ายนี้ขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์    อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด อาจารย์บุญรอด สิงห์วัฒนศิริ อาจารย์ประกาย  ชลหาญ  อาจารย์ยมนาคสุข และ ทีมงาน Chria Academy ทุกท่าน  ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ที่มีคุณค่า  โดยเฉพาะการเรียนรู้ผ่านทาง blog ซึ่งสอนให้เราได้ศึกษา เรียนรู้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น และความรู้ที่เราได้รับจากอาจารย์ก็ไม่มีวันหมด ไม่มีวันล้าสมัย เพราะอาจารย์จะพัฒนาความรู้ ต่อยอดไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด   พวกเราชาวรปม. รุ่นที่ 04  ทุกคน   ขอขอบพระคุณมากค่ะ 

 สวัสดีท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ยม และผู้อ่านทุกท่าน

ในการเข้ารับความรู้ในวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 51 ข้าพเจ้าได้รับความรู้ในด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างมากมาย ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21

 จากโมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง ซึ่งมี 5 ขั้น ตอน คือ

 1.การประเมินความรู้และทักษะจากข้อมูลที่หลากหลาย

 2.การวิเคราะห์การเก็บข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์การจะได้รับ

 3.การวางแผนพัฒนา โดยระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ

 4.การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้ มาสู่การดำเนินการ และให้มีการตรวจสอบติดตามความก้าวหน้า 

 5.การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลจากพนักงาน

คุณลักษณะที่มักใช้ในการประเมินบุคลากร
      - ภาวะผู้นำ คือการจะทำอะไรให้สำเร็จ หรือมีศักยภาพเราต้องมีเป้าหมาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเราเสียก่อน เราจะเปลี่ยนแปลงอะไร ต้องเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราให้มีศักยภาพเสียก่อน
      - การสื่อสาร เช่นต้องพัฒนาการทางด้านภาษาเพื่อให้ได้เปิดกว้างในด้านการข้อมูลข่าวสาร ที่มีการไหลเอ่อของกระแสโลกาภิวัตน์
      - การวางแผน การทำงานภายใต้ความกดดัน
      - การตอบสนองต่อความเครียด
      - การรู้จักสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง
      - ศักยภาพในการเรียนรู้
      - พลังในการทำงานและสมรรถนะสูง มีความอดทน
      - การตัดสินใจที่ชัดเจน และเด็ดขาด
      - การมีความทำงานเป็นทีม
      - การจัดการที่เป็นระบบ
      - การวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล

สมรรถนะหลักของผู้นำ ในยุคปัจจุบัน ที่จะเป็นผู้บริหารไปสู่อนาคต แบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม
      1. ความสามารถในการารบริหารคน  (HR.  Management) ต้องมีทักษะในการสื่อสาร และการประสานสัมพันธ์
      2. ความสามารถในความรอบรู้ทางการบริหาร (General Management Knowledge) มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีจิตที่จะมุ่งบริการมีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และมีการวางแผนแบบมีกลยุทธ์
      3. ความสามารถในการบริหารอย่างมืออาชีพ  (working  like  the  Professional  Management  Level) ดูจากการตัดสินใจที่รวดเร็วแม่นยำ มีการคิดเชิงกลยุทธ์คือคิดอย่างมีเหตุมีผล มีเป้าหมาย มีวิธีไปสู่ความสำเร็จได้
      4. ความสามารถการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Management  by  Result, MBO) ทำไปเพื่ออะไร มีวิธีการวัดผลอย่างไร มีตัวชี้วัดอย่างไร

 

วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง
      1. Coaching การสอนงาน ต้องสอนวิธีการให้เขารู้ เพื่อพัฒนาให้เป็นคนเก่ง
      2. Job rotation การโยกย้ายฝ่ายงาน ช่วยให้เกิดการได้รับประสบการณ์การทำงานใหม่ ๆ และช่วยให้ได้รับความรู้ใหม่จากฝ่ายงานต่าง ๆ ในองค์การ  คนเก่งสามารถเรียนรู้งานใหม่ และปฏิบัติงานในสายานใหม่ได้อ่างรวดเร็ว  การโยกย้ายฝ่ายงานจะบรรลุผลสำเร็จด้วยดี อยู่ที่การวางแผนที่ลัดกุม และมีการวัดผลที่ชัดเจน
      3. Interim and Emergency Assignments  ในการมอบหมายงานเร่งด่วน หรือมอบงานพิเศษ ให้แก่คนเก่ง เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานนี้ ฝึกเรื่องความรับผิดชอบในงาน
      4. Task Force Assignment  การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีมหรือคณะการรมการ เพื่อฝึกให้เขาบริหารงานเป็นทีม ฝึกให้แก้ปัญหาวิกฤติในโครงการใดโครงการหนึ่ง
      5. Internal Education and Training การให้ "คนเก่ง" ฝึกอบรมและพัฒนาด้วยการสร้างหลักสูตรการฝึกอบรม หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับงานและความสามารถ
      6. ส่งคนไปอบรมตามสถาบันต่าง ๆ เช่น บริษัทใหญ่ๆ เช่นNokia ผู้บริหารส่งคนไปเรียน
      7. Guided Reading การพัฒนาในรูปแบบนี้ เป็นลักษณะการให้เรียนรู้ด้วยตนเอง แนะนำหนังสือให้อ่าน เช่นหนังสือ Good to Great
      8. Teaching as Learning การมอบหมายให้คนเก่งเป็นผู้สอน  นับเป็นรูปแบบการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง โดยให้ "คนเก่ง" เข้าไปสอนงานให้กับคนอื่น 
      9. Extracurricular Activity การให้ "คนเก่ง" ทำกิจกรรมพิเศษ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนา "คนเก่ง" เช่น กิจกรรมแรงงานสัมพันธ์
     10. E-Learning  การจัดการเรียนรูด้วยการใช้ ICT เรียนรู้ด้วยวิธีการ Web-Based Learning  เป็นการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่หลายองค์การได้นำมาใช้เพื่อกาส่งต่อคามรู้  ทำให้ "คนเก่ง" เข้าถึงแหล่งความรู้
     11. Filling in for a Manager   การลางานหรือการหยุดงานของผู้จัดการในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ต้องการให้มีคนเข้ามารับบทบาทหน้าที่แทน  การมอบหมายงานให้ "คนเก่ง" เข้ามารับบทบาทแทนผู้จัดการที่ลาไป จะช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะการเป็นผู้บริหารให้กับ "คนเก่ง"
     12. Job Shadowing  คือการมอบหมายให้ "คนเก่ง" สังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้ที่เป็นต้นแบบ เช่น "รัฐมนตรีเงา" ตามที่อาจารย์ยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพ

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ 8 เรื่อง

1.     ความต้องการของลูกค้า

2.     การวางแผนกลยุทธ์ ยุทธวิธี

3.     การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย

4.     การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้

5.     การบริหารการพัฒนาทุนมนุษย์

6.     การพัฒนากระบวนการ

7.     ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจของทีมงานและผลประกอบการ 

8.    วิสัยทัศน์  พันธกิจ วัตถุประสงค์ขององค์การ

 

ไม่มีองค์กรใดจะประสบความสำเร็จโดยไม่สนใจเรื่องคน

นางสาวภัทรพร จึงทวีสูตร 50038010035

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  คณะทำงาน  และสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ดิฉันขอตอบปัญหาการบ้านที่ อาจารย์ได้ให้ดังนี้

ข้อ1.  อุปสรรคในการสร้าง  Innovation  และ  Learning  Organization  และ  HR  ในระบบราชการ          มีอะไรบ้าง  ยกตัวอย่างประกอบ

 

 

Innovation  หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

Learning  Organization  องค์กรที่บุคลากรในองค์กรเพิ่มพูนความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลงานตามที่ต้องการ มีการปรับปรุงการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการเชิงประสบการณ์ สงเสริมรูปแบบการคิดของ การเรียนรู้รวมกัน และเสริมสร้างวัฒนธรรมการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยปรับเปลี่ยน พฤติกรรมองค์กร

อุปสรรคในการสร้างนวัตกรรมในระบบราชการองค์กรดิฉันมี ดังนี้ 

1.      การทำงานเน้นรับคำสั่งและการประสานงาน 

2.      ไม่สนใจลูกค้า  เนื่องจากไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของผู้บังคับบัญชาในองค์กร  ทำให้การบริการเป็นไปอย่างล่าช้า  และไม่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้า

3.      บุคลากรขาดทักษะ

4.      การปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยี 

5.      ขาดการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง 

6.      ขาดงบประมาณที่จะนำมาใช้

7.      ทรัพยากรมนุษย์  คนในหน่วยงานราชการมักไม่มีความกระตือรือร้น  เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนแนวความคิดสร้างสรรค์จากผู้บังคับบัญชา  และมักจะสนับสนุนพวกพ้องตนเองไม่มองที่ความรู้  ความสามารถของลูกน้อง

สรุปถ้าสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ทั้งองค์กรและบุคลากรจะเกิดประสิทธิภาพอย่างมาก

 

 

ข้อ 2 ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

          จากการที่ได้รับชมเทป ได้ความรู้ดังนี้

 

ได้รู้ความหมายของนวัตกรรม Innovation  ว่าคือ  อะไร

-    ความหมาย นว หมายถึง ใหม่ สิ่งใหม่ นวกรรม หมายถึง สิ่งใหม่ซึ่งต้องใช้

ความรู้

-    ต้องมีการใช้ความรู้ และคิดสร้างสรรค์

-    ต้องมีประโยชน์ต่อสังคม ต้องมีผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

      ความสำคัญของนวัตกรรม

   ทรัพยากรบุคคล เป็นเรื่องสำคัญมาก เป็นแผนใหญ่ ที่เราต้องให้ความสำคัญ

นวัตกรรม สามารถช่วยในเรื่องต่างๆ ได้ดังนี้

-        นวัตกรรมต่อสังคม

-        นวัตกรรมต่อเศรษฐกิจ

-        นวัตกรรมต่อการศึกษา

ฯลฯ

นวัตกรรม (Innovation) เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์บุคคล (Competency) เช่น

1. งาน มีการกำหนดความสามารถ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งได้อย่างชัดเจน

2. การสรรหา-คัดเลือก ผู้สมัครงานที่เหมาะสมทั้งภายในและภายนอกองค์กร

3. Performance พนักงาน ให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาได้อย่างชัดเจน

4. มีการพัฒนา พนักงาน ให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาได้อย่างชัดเจน

5. การจ่ายค่าตอบแทน ให้เหมาะสมและความรับผิดชอบ

         

สรุป จากความรู้ที่ได้จากการดูเทปได้ความรู้เป็นอย่างมาก และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วย

 

สุดท้ายขอขอบพระคุณ อาจารย์ที่ได้ให้ความรู้อันมีประโยชน์มหาศาลแก่ดิฉัน เพื่อที่ดิฉันสามารถนำความรู้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ขอขอบพระคุญอีกครั้งค่ะ

 

 

 

กราบเรียน       ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ผู้สอน และผู้อ่านทุกท่าน

 

ความประทับใจที่เกาะล้าน  อาจจะช้าไปสักหน่อย

                เริ่มต้นจากการที่ไม่ได้เข้า  Blog  ไปดูข่าวสารจึงทำให้เราไปถึง  ณ จุดนัดพบ ตั้งแต่ 06.00 น. จึงทำให้ได้คิดว่านี้เป็นการที่เราไม่ได้  ใช้เทคโนโลยีที่มีให้เป็นประโยชน์  จึงทำให้มีความพยายามในการที่จะเรียนรู้เทคโนโลยี  เดียวนี้ใช้อินเตอร์เน็ทเป็นแล้ว  เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดชลบุรี  ถึงหน้าห้างสรรพสินค้าตามที่ ศ.ดร.จีระ  ท่านนัดไว้ครั้งแรกที่เห็นท่านนั่งรอพวกเราเกิดความประทับใจมากที่เห็นท่านอาจารย์นั่งรอพวกเรา  เพราะจะพบเห็นเสมอว่าพวกเราผู้น้อยจะต้องไปรอผู้ใหญ่แล้วก็รอนานเสียด้วย   นั้นคือความประทับใจที่ระลึกถึง  สำหรับความรู้ที่ได้พวกเพื่อน ๆ  ได้พูดไปหมดแล้ว 

เรียน    อาจารย์ยม   นาคสุข   และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 

            ทรัพยากรมนุษย์  (HR) หมายถึง บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้น ๆ ที่ประกอบเข้าด้วยกันเป็นองค์การ  ทุกองค์การจะมีขนาดใหญ่หรือเล็ก  การดำเนินงานในองค์การนั้นต้องอาศัย  คน

                จากการศึกษาทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21  นั้นสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม  เทคโนโลยี  การเปิดการค้าเสรี เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น  และที่สำคัญคือสภาพแวดล้อมจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร สิ่งที่ต้องเอาใจใส่ คือเรื่อง  คน องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ ต้องเอาใจใส่เรื่องคน ซึ่งจะเห็นว่าอยู่ใกล้ตัวเราตลอดเวลา ดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารจัดการงานด้านอื่น ๆ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในปัจจุบันจะเห็นว่าทุกหน่วยงานให้ความสำคัญมากโดยรูปแบบการพัฒนาของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกัน สิ่งที่เห็นว่าสำคัญที่สุดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องรู้จักตัวตนของตัวเองก่อนว่ามีการพัฒนาอย่างไรแล้วนำเอาสิ่งที่มีอยู่นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

การวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์                   

                กลยุทธ์   หมายถึง  วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือวิธีการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

 จากการศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์   ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ และความสามารถของตัดสินใจ อย่างรวดเร็ว มีกระบวนการบริหารจัดการที่ทันสมัย  ต้องมีขีดความสามารถที่เหนือกว่าผู้อื่นเพราะองค์กรใดที่มีขีดความสามารถเหนือคนอื่นก็สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่า เร็วกว่า และที่สำคัญคือทรัพยากรบุคคล คือถ้ารู้จักใช้ทรัพยากรบุคคล  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากคนรวมถึงความสามารถในกาดึงความฉลาดของคนออกมาเพื่อสร้างผลการดำเนินงานขององค์กรให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปอีก ผู้บริหารถึงแม้จะเก่งอย่างไรควรต้องให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก

                จากวารสารการบริหารสำหรับนักบริหารงานบุคคลมืออาชีพ ปีที่ 26 ฉบับที่ 4/2548 หน้า 15 ได้กล่าวไว้ว่า"การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องนโยบายที่สอดคล้องกันภายในมีการปฏิบัติที่จะสร้างความเชื่อมั่นว่า "ทุนมนุษย์" จะช่วยกันทุ่มเทเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เชิงธุรกิจและนักบริหารทรัพยากรบุคคลต้องมีส่วนในการเป็นหุ้นส่วนกลยุทธ์ขององค์การโดยจะต้องเรียนรู้งานในสาขาอื่น เช่นการเงิน การตลาดและต้องสร้างความเชื่อมั่นว่า "ทุนมนุษย์" จะมีความสำคัญต่อความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ

ดังนั้น  การบริหารทรัพยากรบุคคล  ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงคน  สภาพแวดล้อมขององค์กร  วัฒนธรรมองค์กร สร้างความเชื่อมั่น   การพัฒนาคนต้องคำนึงถึงรากเหง้าหรือพื้นฐานของคนกลุ่มนั้นด้วยว่ามีศักยภาพแค่ไหน  

 

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์ผู้สอน และผู้อ่านทุกท่าน

 

อุปสรรคในการสร้างINNOVATION และ Learning Organization  และ  HR  ในระบบราชการมีอะไรบ้างให้ยกตัวอย่างในองค์กร นั้นระบบราชการในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปมากกว่าเดิม มีการวางแผนรูปแบบการบริหารที่ทันสมัย  มีการประเมินผลและประเมินผลงานการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง  ข้าราชการในปัจจุบันจะมีความรู้สึกว่าจะทำงานแบบเดิมอีกต่อไปไม่ได้แล้ว   เพราะหน่วยงานราชการปัจจุบันนี้  คำว่า "Mission" หรือคำว่าภารกิจ  เข้ามามีอิทธิพลและบทบาทต่อภาครัฐมากขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามอุปสรรคในการสร้างนวัตกรรมและองค์การแห่งการเรียนรู้ รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ HR  จะเห็นว่าในระบบราชการมักไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเป็นเพราะโครงสร้างของระบบราชการที่ใหญ่ เทอะทะไม่ทันสมัย   และบุคลากรขาดคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน การเข้ารับราชการ มีระบบอุปถัมภ์  ไม่คำนึงถึงความเจริญของหน่วยราชการนั้นและที่สำคัญคือข้าราชการยังขาดจิตสำนึก ไม่มีคุณธรรม  จริยธรรม  ความยุติธรรมเห็นแก่พักพวก   มีการเมืองเข้ามาแทรกแซงการโยกย้าย  บุคลากรขาดการเรียนรู้   ขาดวิสัยทัศน์   ขาดการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ไม่ชอบเสนอความคิดเห็นกลัวความผิด  ชอบแสดงความคิดเห็นนอกห้องประชุมมีความคิดเห็นที่บรรเจิด  เรื่องนั้นควรทำอย่างนี้เรื่องนี้ควรทำอย่างนั้นซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่มีอยู่ในทุกองค์กร มีการพยายามแก้ไข แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ   

จากการชมเทปเรื่อง  INNOVATION  ระหว่าง ศ.ดร.จรี   หงส์ลดารมภ์   กับอาจารย์ศุภชัย   หล่อโลหะการ  แล้ว ได้คำจำกัดความคำว่า  นวัตกรรมในความคิดเข้าใจคือ

นวัตกรรม  หมายถึง  สิ่งที่คิดแล้วทำขึ้นมาใหม่  อาจจะผิดไปจากสิ่งที่มีอยู่เดิมหรือคิดขึ้นมาใหม่ก็ได้  อาจทำสำเร็จหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

นวัตกรรม  ต้องเกิดจากความคิดสร้างสรรค์  คิดอย่างเป็นระบบ  พร้อมที่จะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา 

ปัจจุบันใครๆ  ก็พูดถึงคำว่า   INNOVATION  แต่จะมีสักกี่คนที่มีความรู้เรื่องนี้อย่างแท้จริง

สำหรับผู้ศึกษามีความคิดว่าผู้ที่จะเป็นผู้นำในยุดใหม่ ต้องเน้นINNOVATION  

เพราะในองค์กรจะพัฒนาได้ผู้นำต้องเข้าใจคำว่า  "นวัตกรรม" ให้ ถ่องแท้เสียก่อนเพราะ การพัฒนาองค์กร   การให้บริการกับลูกค้า   การบริหารจัดการองค์กร

                ทฤษฎี  5 K's ใหม่ของศ.ดร.จีระ  ท่านเน้นเรื่องความรู้และความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วย  ทุนแห่งการสร้างสรรค์   ทุนแห่งความรู้  ทุนแห่งนวัตกรรม ทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางอารมณ์ 

         กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์และทีมงานทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง  ที่ให้ความรู้เรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์  เพราะได้รับความรู้และเทคนิคในการบริหารจัดการกับ คน  และจะนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการทำงานของตนเองเพื่อให้ไปถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

เรียน  อ.ยม   นาคสุข

ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่และการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนูษย์

        จากบทความหนังสือพิมพ์มติชน ลงวันที่  23  กุมภาพันธ์  2551  เรื่อง  เทรนด์ใหม่ของโลก  โดย  ศีล  มติธรรม  กล่าวว่า "การพัฒนาคนจะต้องรู้จักตัวเองก่อน  และทำในสิ่งที่ตนเองถนัด"  "ไม่มีองค์กรใด  จะประสบความสำเร็จได้  โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน"  ดังนั้น  คน  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ที่จะนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและก้าวหน้าต่อไปได้  การพัฒนาคนยุคใหม่  เป็นการพัฒนาความรู้  ความสามารถ  ทักษะ  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตลอดจนพัฒนาทัศนคติ  แรงจูงใจ  และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้  พัฒนาทักษะด้วยตนเอง  การพัฒนาที่เน้นการค้นหาตนเอง  กำหนดเป้าหมายของชีวิต  และหาทางเดินไปสู่เป้าหมายนั้น

           เราสามารถนำยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ (Human  Capital  Strategy)  มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้โดยคำนึงถึงหลักสำคัญ  ดังนี้

           1.  หาคนดีมาผูกใจให้อยู่ในองค์กร

           2.  เรียนรู้และการพัฒนา

           3.  การจัดการและภาวะผู้นำ

           4.  การจัดการทุนมนุษย์

           5.  การทำงานจากทุนมนุษย์

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และสวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน    รวมทั้งท่านผู้อาน Blog   และเพื่อนร่วมร่นสวนสุนันทา รปม.   รุ่น 4  ทุกคน

 

 

การบ้าน

 

1.    อุปสรรคในการสร้าง Innovation และ Learning Organization และ HR

    ในระบบราชการมีอะไรบ้าง  ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

 

        จากการที่ได้เรียนกับท่าน ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ในวันอาทิตย์ที่  24  กุมภาพันธ์  2551  นั้น  ทำให้ดิฉันได้ทราบว่า

 

Innovation หรือ นวัติกรรม   คือ  ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ หรือ Ideas ใหม่ หรือ Creativity และบวกกับความรู้ที่ได้มาใหม่ มาสร้างเป็นนวัตกรรม  นวัติ แปลว่าใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ  ดังนั้น รวมกัน นวัติกรรม จึงแปลว่าการกระทำที่ใหม่ ๆ แตกต่างไปจากของเดิมที่กระทำอยู่

Learning Organization  คือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ แหล่งที่ให้ความรู้

เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เกิดการเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานในองค์กร โดยมีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการ Share ความคิดกันอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่อยู่นอกกรอบ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขององค์กร ให้ทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ในขณะนี้ โดยต้องคิดใหม่ ทำใหม่ อยู่ตลอดเวลา

Human Resource (HR) คือ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งคนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งของการจัดการ เพราะคนเป็นผู้ปฏิบัติงานทุกอย่างขององค์การหากไม่มีคนหรือมีคนไม่มีคุณภาพ การจัดการให้บรรลุเป้าหมายขององค์การย่อมดำเนินไปได้โดยยากยิ่ง

ดังนั้น อุปสรรคในการสร้าง Innovation ของระบบราชการ  นั้นมีหลายอย่างด้วยกัน คือ

 1. คนไทยไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

 2. คนไทยไม่ค่อยเน้น Customers based

3.    เจ้านายบางครั้งเป็นอุปสรรคในเรื่องนวัตกรรม

4.    คนไทยเพิ่งเริ่มสังคมการเรียนรู้ ยังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share ความรู้ร่วมกัน

5.    การบริหารยังเป็นแบบ Top down อยู่บ้าง ส่วนใหญ่จะเน้น Command and Control องค์กร หรือ เป็นการทำงานแบบแนวดิ่ง Vertical

6.    ส่วนใหญ่ทำงานเยอะ Working แต่ Think Strategies (คิดเป็นยุทธศาสตร์ไม่มาก)

7.    การทำงานเป็นทีมมีแต่ในระดับ function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function

                 8. ขาดการสร้างเครือข่าย

 

ซึ่งดิฉันจะขอยกตัวอย่างในข้อที่เห็นได้ชัดเจน 1 ข้อ ในองค์กรของดิฉัน คือ  ดิฉันทำงานอยู่ในกรมส่งเสริมสหกรณ์  เมื่อก่อนนี้การพิมพ์หนังสือราชการยังใช้พิมพ์ดีดแบบเครื่องอยู่ ยังไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในระบบราชการ  ต่อมาเมื่อโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ การติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น การทำงานก็เช่นกันต้องรวดเร็วและทันสมัยอยู่เสมอ ส่วนราชการก็ได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงาน  ซึ่งครั้งแรกที่นำมาใช้นั้นได้เกิดการต่อต้านจากคนรุ่นเก่า ที่มีอายุมาก ว่าใช้เครื่องไม่เป็น ไม่สามารถทำงานได้ และไม่อยากเรียนรู้ เพราะว่าเขาไม่เคยชินในการพิมพ์หนังสือราชการจากเครื่องคอมพิวเตอร์  จึงเห็นได้ชัดเจนว่าบุคลากรที่อยู่ในกรมฯ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงและไม่ชอบที่จะเรียนรู้ 

                 ดังนั้นสรุปได้ว่า คนเราไม่ชอบการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม ๆ ที่ทำอยู่  รวมทั้งไม่ยอมตื่นตัวและเรียนรู้กับสิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาเพื่อทำให้การทำงานนั้น หรือองค์กรนั้นดีขึ้น ยังชอบทำงานแบบไปเรื่อยๆ ไม่สนใจต่อโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้

 

 

2.    ดูเทป  Innovation แล้วได้อะไรบ้าง 

              จากการดูเทป  Innovation ในวันที่  24กุมภาพันธ์  2551

ซึ่งเป็นเทปการสนทนา ระหว่าง ท่าน ศ.ดร. จิระ  หงส์ลดารมภ์  กัน ท่านศุภชัยฯ นั้น  ทำให้ได้ข้อคิดและความรู้อย่างมากในเรื่องของ Innovation ว่าเป็นการนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน และเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และความสำเร็จ แต่ทั้งนี้ ก็หนีไม่พ้นปัจจัยในเรื่องของ คน  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การบริหารจัดการที่ดีในองค์กร เพราะการทำงานยุคใหม่ในสังคมไทย ก็ดีจะทำงานแบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว  ต้องหันมามองตัวเอง ความคิดของเรา องค์ความรู้ของเรา ไม่ลอกเลียนแบบของคนอื่น คนไทยต้องหาความรู้ เป็นความรู้ที่ทำไปสู่ประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมี 3 ช่วงด้วยกัน ช่วงที่หนึ่งคือความรู้และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ในเมืองไทยนั้นมีอยู่เยอะ ช่วงที่สองเมื่อได้ความรู้แล้วก็ต้องมาเทรนด์ให้เกิด Action Plan ไม่ใช่รอให้นายสั่ง และช่วงที่สามต้องทำให้สำเร็จได้ประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

                        สรุปได้ว่า Innovation ต้องเริ่มต้นมาจากสังคมของการเรียนรู้และการมาแชร์ความรู้กัน มีเครือข่ายร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มีทุนทางมนุษย์ ทางจริยธรรม คุณธรรม  ทางการเงิน และทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่  โดยก่อให้เกิดความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม องค์กรและประเทศชาติโดยรวม

 

 

 

 

กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์  และอาจารย์ยม นาคสุข

 

และ สวัสดีท่านอาจารย์ทุกท่าน    รวมทั้งท่านผู้อาน Blog   และเพื่อนร่วมร่นสวนสุนันทา รปม.   รุ่น 4  ทุกคน

 

                ก่อนอื่น ๆ ดิฉันต้องขอโทษอาจารย์ ยม นาคสุข  ที่ดิฉันได้ส่ง Blog ของท่านอาจารย์ช้าไป เนื่องจากติดภารกิจทางราชการอยู่

 

                จากการเรียนกับท่านอาจารย์ยม นาคสุข ในวันเสาร์ที่ 23  กุมภาพันธ์  2551 นั้น  อาจารย์ได้แยกเนื้อหาการสอนเป็นสองประเด็น ซึ่งในช่วงเช้าอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่อง  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่คือในยุคศตวรรษที่ 21  ส่วนในช่วงบ่ายอาจารย์ได้พูดถึง การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์

                ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปดังนั้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงจัดเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ ดังคำกล่าวที่ว่า ไม่มีองค์กรใด จะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ใส่ใจเรื่องคน  ดังนั้นโมเดลการพัฒนาการอบรมและพัฒนาคนเก่ง นั้น มีรูปแบบการพัฒนา อยู่ 5 ขั้นตอน คือ

1.    การประเมินความรู้ และทักษะ เป็นการรวบรวมแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย

2.    การวิเคราะห์  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดผลที่คาดว่าองค์กรจะได้รับจากการพัฒนา

3.    การวางแผนพัฒนา คนเก่ง ต้องระบุประเด็นที่ต้องการให้มีการพัฒนาทั้งความรู้ ทักษะ การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาและอบรม

4.    การดำเนินการตามแผน นำแผนที่วางไว้มาสู่การดำเนินการและให้มีการตรวจติดตามความก้าวหน้า

5.    การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินผลและการให้การFeed back แก่พนักงาน

เมื่อได้รูปแบบแล้วก็ต้องมีวิธีการฝึกอบรมและการพัฒนาคนเก่งด้วย โดยคนเก่งนั้น หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวรุ่ง ก็ได้ ซึ่งเป็นบุคลากรขององค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในขั้นดีมาก มีศักยภาพสูง องค์กรสามารถที่จะทุ่มเทเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้ได้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างดีเลิศ เพื่อจะได้กลับมาพัฒนาและทำประโยชน์ให้องค์กรบรรลุเป้าหมายไปสู่ผลสำเร็จที่ได้วางไว้  ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักในองค์กร ดังนั้น องค์กรต่าง ๆ จึงต้องมีการฝีกอบรมและการพัฒนาคนเก่ง โดยการสอนงาน หรือ (Coaching)  การโยกย้ายฝ่ายงาน การมอบหมายงานที่พิเศษให้ การมอบหมายให้เป็นหนึ่งในทีม หรือคณะกรรมการ ตลอดจนถ้าเขาอ่อนในหลักสูตรใด ก็หาหลักสูตรที่สอดคล้องกับขีดความสามารถมาอบรมให้ รวมทั้งให้มีการออกไปอบรมภายนอกตามสถาบันต่าง ๆ ด้วย ตลอดจนแนะนำหนังสือให้อ่าน การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ Internet หรือ E-Learning ฯลฯ เป็นต้น

สำหรับทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรมนุษย์นั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงกลยุทธ์ก่อนว่า กลยุทธ์คืออะไร กลยุทธ์ก็คือ แผน แบบแผนหรือรูปแบบ การกำหนดฐานะหรือตำแหน่ง ทํศนภาพ และกลวิธีในการเดินหมาก ซึ่งโดยรวมทั้งหมดแล้ว กลยุทธ์  หมายถึง การทำงานที่วางแผน วิธีการดำเนินงานที่มั่นใจได้ว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ดังนั้นจึงมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง  โดยมีการนำ HCM ไปพัฒนางานในองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้วางไว้ และประสบความสำเร็จ  ซึ่งประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์  ดังทฤษฎีต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

องค์กร  ด้อยประสิทธิภาพ

   องค์กร  สมรรถนะสูง

   องค์กร ขาดทุนมนุษย์

1.    ไม่ได้บริหารคนเก่ง + ดี

2.    คนขาดความรู้

3.    ขาดภาวะผู้นำ

4.    ขาดการจัดการนมนุษย์

5.    ขาดการวัดผลการทำงานของทุนมนุษย์

ยุทธศาสตร์ บริหารทุนมนุษย์

1.    บริหารคนเก่ง + ดี

2.    บริหารความรู้และพัฒนา

3.    พัฒนาภาวะผู้นำ

4.    พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทุนมนุษย์

5.    ประเมินผลการทำงานทุนมนุษย์

 

                ดังนั้นองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วย คน  ซึ่งคนนั้นจะต้องเป็นคนเก่งและมีการพัฒนาความรู้ ใฝ่รู้ หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ และมีการติดตามประเมินผลของการบริหารอยู่เสมอ ๆ รวมทั้งมีภาวะการเป็นผู้นำและที่ขาดไม่ได้ที่สำคัญคือต้องมีทุนมนุษย์ของการทำงาน จึงจะสามารถพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้ นั่นก็คือ องค์กรที่มีสมรรถนะสูงนั่นเอง

เรียน  ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมณ์  และท่านผู้อ่านทุกท่าน

       Innovation  คือ  การทำสิ่งใหม่ ๆ ที่มีการใช้ความรู้  ความคิดสร้างสรรค์  ก่อให้เกิดประโยชน์  และมีการนำไปปฏิบัติจริง  รวมทั้งมีผู้ได้รับประโยชน์ด้วย

       Learning  Organization  คือ  องค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มคนที่มีความมุ่งมั่นที่จะขยายความสามารถของตน  โดยมีการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง  มีบรรยากาศในองค์กรที่เอื้อต่อการเรียนรู้  และสามารถใช้แนวคิดการจัดการความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณค่าต่อตนเอง  ทีมงานและองค์กร

      HR - Human  Resources  คือทรัพยากรมนุษย์

      ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสถาบันการศึกษาแห่งชาติแห่งหนึ่ง  ซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากรด้านสาธารสุข  เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง  ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค  ก่อตั้งขึ้นมาเป็นเวลา  11   ปี ถึงปัจจุบัน    บุคลากรมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างน้อย  80% อายุตำกว่า  40  ปี  องค์กรแห่งนี้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรเป็นอย่างมาก  แต่อุปสรรคสำคัญคือ  ตัวบุคลากรเองไม่ได้มีความใฝ่รู้อย่างแท้จริง  การประชุม  อบรม  สัมมนา  ไม่ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับมาพัฒนางานหรือพัฒนาตนเอง  ขาดความกระตือรือร้น  ความตื่นตัว  ความทุ่มเท  ที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  เพื่อเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง  อีกทั้งยังมีบุคลากรอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร  เกิดการต่อต้าน  ไม่ให้ความร่วมมือใดๆ  ไม่มีตัวตนในองค์กร  เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่พบในองค์กร 

Innovation  จากเทป  Innovation  มีประเด็นที่น่าสนใจ  คือ

          นวัตกรรม  จะต้องมีความรู้  ความคิดสร้างสรรค์   แล้วต้องturn  ความรู้เหล่านี้ก่อให้เกิด  Action  plan  โดยมีโครงการงบประมาณเพื่อนำไปสู่มูลค่าเพิ่ม  อ.จีระ  ได้เน้นย้ำ  2  ประเด็นที่จำได้แม่นก็คือ

           -  ใฝ่รู้  รู้ให้จริง  รู้ให้โป๊ะเชะ   ไม่ใช่รู้ทุกเรื่อง (รู้กระจาย)

           -  สร้างสรรค์  ต้องคิดนอกกล่องแล้วต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้

          สุดท้าย  ต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ   หงส์ลดารมณ์  อาจารย์อัษฎางค์  ปาณิกบุตร  ตลอดทั้งทีมงานทุกท่าน  ที่ได้มอบสิ่งที่ดีให้กับพวกเรา  ชาว รปม. รุ่น  4  ทุกคน

                                                              ขอบคุณค่ะ

 

กราบสวัสดี ศ.ดร.จีระ อาจารย์ยม และสวัสี้พื่อนๆทุกคนค่ะ

1. อุปสรรคในการสร้างสรรค์ Innovation และ Learning Organization และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง ให้ยกตัวอย่างในองค์กรของท่าน

ตอบ    Innovation หรือ นวัตกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์โดยใช้ความคิด ความรู้ที่มีและเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน ผลิตแล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เป็นการสร้างเพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น

          Learning Organization หมายถึง องค์กรแห่งการเรียนรู้

          HR หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของหน่วยงานนั้นเป็นการสร้างองค์กรให้มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาที่รวดเร็วเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดนั้น เช่น ในหน่วยงานราชการไม่มีการจัดการฝึกอบรมข้าราชการที่บรรจุใหม่ เพราะระบบราชการนั้นคิดว่าเขาบรรจุเข้ามาแล้วก็มาเรียนรู้วัฒนธรรมที่ปฏิบัติกันต่อมาเอาเอง ทำให้ข้าราชการบรรจุใหม่ได้รับความเฉื่อยชา ซึ่งเป็นโรคติดต่อกันในระบบราชการเป็นอย่างมาก การพัฒนาระบบราชการใหม่ก็ต้องสร้างข้าราชการพันธุ์ใหม่ที่จะมาเป็นตัวขับเคลื่อนระบบราชการให้มีการดำเนินงานที่ต้องสร้างประโยชน์ให้เกิดกับสังคม เมื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้ข้าราชการพันธุ์ใหม่ทราบถึงเป้าหมายขององค์กร ทราบยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงานที่แท้จริง ก็จะช่วยให้องค์กรเกิดการก้าวกระโดดที่รวดเร็วและสร้างคุณค่ามากขึ้น

          ในระบบราชการมีการดำเนินงานที่เป็นระเบียบแบบแผนและไม่มีการสร้างแนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่มีการเปิดประเด็นให้ข้าราชการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในทำงาน มีลำดับสายการบังคับบัญชาที่ยืดยาว ข้าราชการมีความเฉื่อยชาในการทำงาน เพราะรู้อยู่แล้วว่าเมื่อไม่ได้ทำผิดวินัยก็ไม่มีสิทธิถูกไล่ออกจากราชการ การพัฒนาศักยภาพของข้าราชการเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาหน่วยงานก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้นเมื่อสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จึงเป็นไปได้ยาก เพราะข้าราชการไม่มีความต้องการในการนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เกิดขึ้นนั้นต้องมีการแก้ไข ปรับสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้ข้าราชการมีความกระตือรือร้น สนใจในการงานที่ทำอยู่ ในระยะแรกควรนำรางวัลมาเป็นสิ่งจูงใจ เช่น หน่วยงานในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรต้องจัดการฝึกอบรม PMQA  หรือ COP เพื่อนำความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง การจัดอบรมการเสนอหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเป็นการลดปัญหาในการแก้ไขหนังสือให้น้อยลงงานจะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว การบริหารงานสารบรรณของแต่ละหน่วยงานต้องจัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบพร้อมต่อการค้นหาและง่ายต่อการนำมาใช้ การฝึกพัฒนาด้านภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานเพื่อการติดต่อสื่อสารเพราะบางหน่วยงานต้องมีการติดต่อสื่อสารกับองค์กรในต่างประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจในการทำงาน เมื่อข้าราชการทราบว่าการจัดการฝึกอบรมนั้นมีประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง การฝึกอบรมนั้นจึงไม่ศูนย์เปล่า

        เมื่อระบบราชการได้สร้างสรรค์บุคลากรที่มีคุณภาพเหมาะแก่การพัฒนาแล้วนั้น การสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆก็จะเกิดขึ้น เพื่อนำพาองค์กรไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม เมื่อทราบวัตถุประสงค์ขององค์กร การดำเนินงานในเรื่องอื่นเพื่อพัฒนาองค์กรก็จะเป็นไปได้ง่าย เพราะการสร้างนวัตกรรมต้องใช้ความรู้และความต้องการที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าเดิมมาเป็นเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่

2. ดูเทป Innovation แล้วได้อะไรบ้าง

ตอบ    Innovation นวัตกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่มนุษย์สร้างโดยใช้ความรู้ ปัญญาและความสามารถ เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้วนำมาปฏิบัติได้จริงและมีผู้บริโภคมาเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้บริโภค เช่น การนำประเทศจีนและอินเดียมาเปรียบเทียบกันในด้านการสร้างสรรค์สิ่งมีคุณค่าแก่ประเทศแล้วนำพาประเทศไปสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ โดยจีนมีการพัฒนานวัตกรรมในทุกพื้นที่ของประเทศทำให้ประเทศมีการพัฒนาที่ดีขึ้น ส่วนอินเดียมีการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพียงบางพื้นที่ของประเทศทำให้อินเดียมาการเติบโตของประเทศที่ช้ากว่าจีน ดังนั้น อินเดียจึงต้องสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม

          นวัตกรรมทำให้เราทราบการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่างๆ นวัตกรรมทำให้มีการพัฒนาโลกให้ไปสู่ยุคที่มีความเพียบพร้อม นวัตกรรมจะเกิดผลได้ต้องมีการวิจัย ซึ่งการวิจัยจะทำให้ทราบผลดี ผลเสียของแนวคิดนั้นๆ ส่วนใหญ่การพัฒนาจะเกี่ยวข้องกับการศึกษา การพัฒนาสังคม การเสริมสร้างวัฒนธรรม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ ผู้ที่ริเริ่มการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ  ก็ต้องทราบถึงวิธีการ หลักการ ดังนั้น บุคลากรขององค์กรจะมีคุณภาพนำพานวัตกรรมใหม่มาใช้ได้นั้นก็ต้องมีการพัฒนาด้วยเช่นเดียวกัน การพัฒนาบุคลากรอาจเป็นการเข้ารับการฝึกอบรม การให้ปฏิบัติงานจริง ทำให้การนำนวัตกรรมมาปฏิบัติเกิดประสิทธิผลมากที่สุดส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่มีคุณค่าและมีความพึงพอใจในผลผลิตนั้นๆ

         

 

นายกิติพัฒน์ ตันตสุรฤกษ์

ข้อ ๑ ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑
    
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง การเสริมสร้างให้บุคลากรขององค์การมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ (Learning) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ และทัศนคติที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในการทำงานได้ และสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นได้ในอนาคต
     สรุป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรทั้งในระยะสั้น และระยะยาวเพื่อเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และปรับทัศนคติ (Attitude) ของบุคลากร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายในองค์กร
     - การเตรียมบุคลากรให้เหมาะกับงาน
     - การวางแผนอาชีพ
     - การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร
     - การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีภายในองค์การ
     การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายนอกองค์กร
     - เศรษฐกิจ ภายใน และภายนอกประเทศ
     - สังคม  วัฒนธรรม  การเมือง
     - เทคโนโลยี
     - สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา

ข้อ ๒ คนที่จะอยู่รอดในอนาคตต้องมีภาวะเป็นแบบใด
    
ปัจจุบัน สถาบันการศึกษา ต่างผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมมากมาย ส่งผลให้มีการแข่งขันสูง เพื่อความอยู่รอดในสังคม จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเอง เพื่อความเป็นผู้นำ และการมีบุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำ จะทำให้ผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความศรัทธาเชื่อถือและให้ความไว้วางใจ ส่งผลต่อความอยู่รอดในอนาคต
     บุคลิกลักษณะของมนุษย์ ๔ ประเภท คือ
     ๑. สติปัญญา (Intelligence) คือ ความสามารถในการที่จะศึกษาและเข้าใจได้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เคยผ่านมา อันนี้เป็นบุคลิกลักษณะที่ผู้นำควรมีไว้อย่างมากทีเดียว เพราะนอกจากจะทำให้เกิดคุณลักษณะอย่างอื่น ๆ แก่ตนเองแล้ว ยังสามารถใช้สติปัญญานี้วินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบแหลมและทันท่วงทีอีกด้วย
     ๒. อุปนิสัย (Character) คือ แบบลักษณะของบุคคลซึ่งแสดงให้เห็นทางอาการกริยาซึ่งคุณสมบัติอันเป็นนิสัยประจำตัวของมนุษย์เรานั่นเอง อุปนิสัยส่วนหนึ่งได้จากธรรมชาติคือได้จากการสืบสายโลหิตมาเพียง ๕ - ๘ เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกจากนั้นอบรมแก้ไขกันได้
     ๓. อารมณ์ (Temperament) คือ กรอบของความรู้สึกนึกคิดและความต้องการตามธรรมชาติอารมณ์นี้จึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจากประสาททั้ง ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยที่ประสาททั้ง ๕ นี้จะส่งอาการต่าง ๆ ที่รับมาไปยังอารมณ์ ต่อจากนั้นอารมณ์ก็จะส่งอาการไปบังคับ หรือควบคุมจิตใจให้ทำอะไรตามความประสงค์ ฉะนั้นอารมณ์จึงมีความสำคัญต่อการเป็นผู้นำมาก เพราะเกี่ยวกับการบังคับตนเอง เมื่อเราสามารถบังคับตัวเองได้แล้ว จึงสามารถบังคับหรือควบคุมผู้อื่นหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้
     ๔. ร่างกาย (Physic) คือ ลักษณะการสร้าง หรือรูปร่างที่สร้างขึ้นของมนุษย์ เช่น สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นต้น ร่างกาย มีความสัมพันธ์กับอารมณ์มาก เพราะมันมีความรู้สึกได้ง่าย และย่อมถูกอารมณ์บังคับได้ด้วย ฉะนั้นร่างกายจึงต้องดีพร้อม และมีสุขภาพสมบูรณ์จึงจะนับว่าเป็นผู้นำที่ดีได้ ยิ่งกว่านั้นภาวะของร่างกายที่ดีย่อมแสดงออกซึ่งบุคลิกลักษณะของการเป็นผู้นำให้เด่นชัดเจนขึ้นมาอีก บุคลิกลักษณะของมนุษย์ ๔ ประการ ที่ได้แยกออกมาเป็นบุคลิกลักษณะใหญ่ ๆ โดยทั่ว ๆ ไป ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้น ควรจะต้องมีพร้อมทั้ง ๔ ประการ คือ มีสติปัญญาดี อุปนิสัยดี มีอารมณ์หรือกรอบของความรู้สึกนึกคิดดี ตลอดจนมีร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์ดี ซึ่งมนุษย์เราสามารถสร้างบุคลิกลักษณะเหล่านี้ได้เองเป็นส่วนมาก
     บุคลิกสักษณะ ๒๐ ประการ ของการเป็นผู้นำ
     ๑. ความรู้ (Knowledge)
     ๒. ความกล้าหาญ (Courage)
     ๓. ความเด็ดขาด (Decisiveness)
     ๔. ความไม่เห็นแก่ตัว (Unselfishness)
     ๕. ความสงบเสงี่ยม (Humility)
     ๖. ความยุติธรรม (Justice)
     ๗. ความแนบเนียบ (Tact)
     ๘. ท่าทาง (Bearing)
     ๙. ดุลยพินิจ (Judgement)
     ๑๐. การสังคมดี (Socialability)
     LEADERSHIP
     ๑๑. L - Loyalty (ความจงรักภักดี)
     ๑๒. E - Enthusiasm (ความกระตือรือร้น)
     ๑๓. A - Alertness (ความตื่นตัว)
     ๑๔. D - Dependability (ความไว้วางใจได้)
     ๑๕. E - Endurance (ความอดทน)
     ๑๖. R - Responsibility & Accountability (หน้าที่และความรับผิดชอบ)
     ๑๗. S - Self - Control (การบังคับตัวเอง)
     ๑๘. H - Humanity (ความเห็นอกเห็นใจ)
     ๑๙. I - Initiative (ความริเริ่ม)                                   
     ๒๐. P - Personality (ความมีอำนาจในตัว)

ข้อ ๓ วิธีที่จะพัฒนาให้เขาเกิดความรู้ความสามารถ
    
"จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน จะกินต้องเตรียมอาหาร จะพัฒนางานต้องเตรียมคน จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ" ...คนจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ต้องพัฒนาจิตใจไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ...การพัฒนาจิตใจคือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกหรือตัดสินใจเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ร่วมสมัย และเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นซึ่งสามารถทำได้ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
     ๑. พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ และทำใจให้เป็นสุขท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง
     ๒. หมั่นสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใกล้ชิดและผู้อื่นเสมอ เพื่อกระชับมิตรและส่งเสริมให้มุมมองกว้างไกล
     ๓. มองหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความอดทน
     ๔. สร้างความชื่นบานและส่งเสริมกำลังใจให้ตนเองแต่เช้า ด้วยการคิดและพูดแต่สิ่งดี ๆ กับตนเองและคนใกล้ชิด
     ๕. ใฝ่หาความรู้และริเริ่มหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
     ๖. สร้างความมั่นใจให้ตนเอง ด้วยการมองหาส่วนดีของตนเองและพยายามปรับปรุงให้ส่วนที่เป็นข้อบกพร่องให้ดีขึ้น

นางสาววิวิตรา จุลกรานต์ เลขที่ 28
สวัสดีค่ะ อาจารย์จีระ และเพื่อน ๆ รปม.4 ทุกคน หลังจากดูเทปแล้วสามารถสรุปได้ดังนี้ IDEA ใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร IDEA เกิดขึ้นได้โดยอาศัยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ 1. ความรู้เดิมหรือประสบการณ์ อันหมายถึง ทุนเดิมทางความคิดของตนเองว่ามีอะไรบ้างหรือผ่านชีวิตอะไรมาบ้าง สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตนั้นย่อมผ่านการทดลองทำ ซึ่งมีทั้งส่วนที่ถูกต้องและผิดพลาด 2. จินตนาการ หรือ ความคิดเกินขอบเขต การคิดอย่างมีจินตนาการหรือการมีความคิดนอกกรอบบ้าง ย่อมทำให้เกิดความแตกต่าง หรือเกิดช่องว่างในการแสวงหาต่อไป IDEA นั้นจะผสมกับความรู้ได้อย่างไร จากข้อ 1 ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงได้ว่า IDEA ควรมีฐาน (Based on) ของการคิดนั้น ๆ นั่นหมายถึงการนำความรู้หรือประสบการณ์มาประกอบในการพิจารณา ดังนั้นการคิดโดยขาดหลักการคิดย่อมแสดงถึงการคิดอย่างเลื่อนลอย หาใช่การคิดที่เกิดจาก IDEA การส่งเสริมความรู้จะกระทำได้โดยการ 1. การส่งเสริมความรู้หรือเติมเต็มความคิดให้แก่มนุษย์นั้น จะเกิดขึ้นหากผู้รับสารและผู้ส่งสารมีทิศทางในความเชื่อแก่การเข้าใจซึ่งกันและกันทั้งนี้กระทำได้โดย - ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ในการให้ข้อมูลข่าวสางให้ชัดเจน กระชับ และตรงกลุ่มเป้าหมาย - ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยให้ทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารเรียนรู้ทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ การส่งเสริมความรู้ควรเลือกเฉพาะประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน และเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ต้องการเรียนรู้ และไม่ใช่กระบวนการยัดเยียด ถ้ามี ACTION แล้วจะชนะอุปสรรคได้อย่างไร โดยปกติแล้ว มนุษย์เราต้องมีการกระทำอยู่ตลอดเวลา และการกระทำหลายครั้งเป็นการกระทำที่ผิดพลาด แต่อย่างไรก็ตามสำหรับมนุษย์การกระที่ผิดพลาดสิ่งนั้นคือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (ประสบการณ์ตรง) ทั้งนี้ เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว ในการปฏิบัติครั้งต่อไปย่อมสามารถคาดเดา หรือประเมินความผิดพลาดอันจะเกิดแก่การทำงานนั้น ๆ ได้ และช่วยให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตในการทำงานนั้น ๆ ได้ในที่สุด ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างไรในระบบราชการ ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้จากการสะสมประสบการณ์ของการเรียนรู้ และการเรียนรู้จะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ และอุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการที่ผู้บริหารไม่ยอมรับในความคิดนั้น เห็นแต่ความคิดตัวเองสำคัญ เล่นพรรคเล่นพวกของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อนที่สำคัญในระบบราชการ INNOVATION สำหรับ อุปสรรคในการสร้าง INNOVATION เกิดจากนโยบายขององค์กร และการกำหนดระยะเวลาซึ่งอาจจะสั้นเกินไป รวมถึงงบประมาณที่ได้รับอาจจะน้อยเกินไป LEARNING ORGANIZATION องค์กรการเรียนรู้ หมายถึงองค์กรที่มีการพัฒนาความรู้ใหม่ ควบคู่กับการรักษาความรู้เดิมที่มีคุณค่าโดยมีการประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งสองด้านให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ อุปสรรคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบราชการไทยจะเป็นระบบอุปถัมภ์ เล่นพรรคเล่นพวก จึงขาดการสรรหาผู้ที่มีความรู้เหมาะสมกับตำแหน่ง ทำให้ระบบราชการไทยย่ำอยู่กับที่ไม่มีการพัฒนา

กราบเรียน  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และผู้อ่านทุกท่าน

1. อุปสรรคในInnovation  และ Learning Organization  และ HR ในระบบราชการมีอะไรบ้าง?          

        นวัตกรรม (Innovation)  หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

        องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง องค์กรที่คนในองค์กรมีความสามารถในการวิเคราะห์ ปรับปรุง พัฒนา ศักยภาพและความสามารถซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีและน่าพอใจ และยังส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ความรู้ไปยังคนอื่นทั้งในและนอกองค์การ

        ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) HR. กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้และทักษะ มีพฤติกรรม การทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ

อุปสรรคในการสร้าง Innovation,Learning Organization        อุปสรรคที่สำคัญในองค์กรคือ ผู้นำในองค์กรขาดภาวะผู้นำ ขาดวิสัยทัศน์   ขาดการความรู้ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผู้บริหารในองค์การไม่มีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ยังมีการบริหารแบบเก่าๆและไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่เท่าทันเหตุการณ์ในโลกของยุคโลกไร้พรมแดน

บุคคลากรในองค์กรก็ไม่ให้ความสำคัญกับนวตกรรมใหม่ๆยังคงปฏิบัติงานในรูปแบบเดิมๆ ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยังไม่มีการฝึกอบรมให้เกิดความรู้ใหม่ ทำให้องค์กรหยุดอยู่กับที่

สิ่งที่ได้รับจากการชม VTR

          1.  ได้เข้าใจถึงความหมายและคำจำกัดความ ของคำว่า  นวัตกรรม        

          2.  ทุกคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์

          3.  ความคิดสร้างสรรค์ต้องมาจากการคิดที่เป็นระบบ ( System Thinking )

          4.  นวัตกรรม ต้องทำทุกอย่างให้สำเร็จควบคู่กันไป ทั้งระบบการบริหารจัดการที่ดีทั้งเทคโนโลยี และกลไกตลาด

          5.  ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับสังคมได้หลากหลาย

นางสมจิตร ส่องสว่าง เลขที่ 38 รหัส 50038010038

 เรียน  อาจารย์ยม  นาคสุข   และท่านผู้อ่านทุกท่าน

              ดิฉันต้องกราบขอโทษอาจารย์ที่ส่งการบ้านช้า  เนื่องจากมีงานด่วนที่ต้องดำเนินการ

              จากการเรียนและฟังจากอาจารย์ยม  นาคสุข  สอน  2  หัวข้อ

              1.  ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่  21

              2.  เรื่องการวางแผนกลยุทธ์ทางด้านทรัพย์กรมนุษย์

              ดิฉันมีความเห็นและเข้าใจว่า  องค์กรจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง  คนดี  ก้าวทันเทคโนโลยีสมัยใหม่

              ดังนั้น  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่องค์กรควรทำโดยเฉพาะการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้  เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาความรู้เพิ่มเติมใหม่ ๆ  ตลอดจนการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  ในปัจจุบันสำคัญมาก  เพราะการเรียนรู้ทำให้คนเก่ง  การพัฒนาคนเก่งและรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร  ควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งมีรูปแบบดำเนินการ  5  ขั้นตอน

              1.  การประเมินทางด้านความรู้  และทักษะของบุคลากรในหน่วยงานแต่ละด้าน

              2.  การวิเคราะห์  การเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดแผนล่วงหน้าว่าองค์กรจะได้รับความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น

              3.  มีการกำหนดวางแผนการพัฒนาคนเก่งโดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาแต่ละส่วน

              4.  มีการดำเนินการตามแผนที่ตั้งให้

              5.  มีการติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าเป็นระยะ ๆ

                   วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง

              คนเก่ง  (Talent)  ซึ่งปัจจุบัน  ก.พ. เรียกว่าข้าราชการผู้มีประสิทธิภาพสูง  โดยมีการวางแผนพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูง  เพื่อนำความรู้ไปผลักด้นให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ

                   โดยสรุปแล้วหน่วยงานหรือองค์กรจะต้องรักษาคนเก่ง  คนดี  ไว้กับหน่วยงานนาน ๆ  แต่โดยธรรมชาติส่วนใหญ่แล้วคนเก่ง  คนดี  ไม่คอยสนใจระบบราชการ  เพราะผลตอบแทนไม่คุ้มค่า  ที่สำคัญที่สุด  คือ  คนเก่ง  คนดี  ไม่อยากรับราชการ  เพราะราชการมีกฎระเบียบ  ขั้นตอน  และที่สำคัญยึดหลักความอาวุโสมากกว่าความรู้ความสามารถ

 

นางสมจิตร ส่องสว่าง เลขที่ 38 รหัส 50038010038

เรียน  ศ.ดร. จีระ  หงส์ลคารมภ์ อาจารย์ทุกท่าน  และผู้อ่านทุก ท่าน

              ดิฉันต้องกราบขอโทษอาจารย์ที่ส่งการบ้านช้า  เนื่องจากมีงานด่วนที่ต้องดำเนินการ

              จากคำถาม  2  ข้อ  ของท่านอาจารย์  ดิฉันมีความเข้าใจว่า 

              ข้อ1  หน่วยงานของทางราชการส่วนมากมีอุปสรรคในการสร้าง  Innovation  และ Learning  Orqanization  ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  (HR)  เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด  เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้าง  ประมาณ 70 %

              ดิฉันรับราชการอยู่ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริม  เผยแพร่  ให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์  หลักการและวิธีการสหกรณ์ให้กลุ่มบุคลากรสหกรณ์  กลุ่มเกษตรกรและประชาชนทั่วไป  ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง  โดยพัฒนาการเรียนรู้ในการเพิ่มขีดความสามารถในด้านการบริหารจัดการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ  และมีการเชื่อมโยงธุรกิจสหกรณ์สู่ระดับกลาง  เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดี  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

              ดังนั้นอุปสรรคในการสร้าง  Innovation  , Learning  Orqanization  และ  HR  มีดังนี้

              1.  เกษตรกรยากจน

              2.  เกษตรกรมีการศึกษาน้อย

              3.  เกษตรกรขาดโอกาสในการพัฒนาเรียนรู้

              4.  เกษตรกรขาดการบริหารการจัดการที่ดี

              5.  เกษตรกรไม่ค่อยยอมรับสิ่งใหม่ ๆ

              กรมส่งเสริมสหกรณ์  ได้ดำเนินการพัฒนาความรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อ  Learning  Orqanization  และ  HR  ดังนี้

              1.  จัดโครงการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร  โดยการจัดทำ  MOU  กับกระทรวงศึกษาธิการ

              2.  โครงการพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตกร  โดยการวิเคราะห์ความเข้มแข็งของสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร  ขบวนการมีส่วนร่วม  การสร้างเครือข่าย  การพัฒนาผลิตภัณฑ์  ฯลฯ

              3.  การวิเคราะห์และประเมินผล  การบริหารจัดการสหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร  แบบ  360 องศา

              อย่างไรก็ตามในการแก้ปัญหาให้เกษตรกรนั้น  กรมส่งเสริมสหกรณ์ไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง  รัฐบาลต้องมีนโยบายในการบูรณาการณ์การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ  ให้มีการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาเกษตรกรร่วมกัน  ปัญหาก็จะลดลง

              ข้อ 2  จากการดูเทปสัมภาษณ์  อาจารย์ ศุภชัย  เกี่ยวกับเรื่อง  Innovation  มีความเข้าใจถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ    เพื่อให้ก้าวทันโลก  การที่จะทำให้เกิด Innovation  ต้องอาศัยหน่วยงานต่าง ๆ  ช่วยกันคิด  วิเคราะห์  สร้างสรรสิ่งใหม่ ๆ  สรุปได้  4  ประเด็น

              1.  ต้องกล้าคิด  กล้าทำ  กล้าแสดงความคิดเห็น

              2.  Innovation จะเกิดขึ้นได้ต้องมีความฝัน  หรือ วิสัยทัศน์

              3.  มีการกำหนดเป้าหมายที่จะทำให้บรรลุความฝัน  มีการวางแผน  Ation  Plan  ในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน

              4.  มีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ  เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงาน

              สรุป  ที่สำคัญที่สุดต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและนำมาปรับปรุง  แก้ไข  เพื่อพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวมต่อประชาชนและประเทศชาติ

พระมหาวิทยา นางวงค์ รปม.รุ่น ๔ รหัส ๕๐๐๓๘๐๒๐๐๐๓

การเล่าเรียนทุนมนุษย์ผ่านพ้นไปแต่ก็ยังคงเหลือไว้เพียงความทรงจำอันดีจากคำพร่ำสอนอย่างจริงจังและจริงใจจากคณาจารย์ที่มาสอนแนะกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และจะทำอย่างไรให้เราอยู่รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ ขณะ (และพร้อมที่จะนำไปปฏิบัติด้วยตัวของตัวเอง)

เจริรญพรท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม  นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน

วันเวลาช่างหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปรวดเร็วนักสำหรับผู้ที่เห็นคุณค่าของเวลา ในระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกับการที่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับช่วงห้วงแห่งเวลาเหล่านั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ดั่งเช่นในเวลาที่เราเรียนทุนมนุษย์กับท่าน ศ.ดร.จีระเองก็ตามหรืออาจารย์ท่านอื่น ๆที่มาสอนทั้งหมด เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ พร้อมที่จะรับคำสั่งสอนอย่างใจจดใจจ่อกับการฟังและกับการจับประเด็นในคำสอนที่ท่านได้เปล่งออกมาแต่ละคำ เพราะเล่ากันว่าวิชานี้ยากและเข้าใจยาก แต่ที่ไหนได้เรื่องราวทั้งหมดกลับเป็นเรื่องรอบกายเรา และก็ตัวเราทั้งนั้นเลย มีบ้างที่เป็นเรื่องระบบ แต่ก็ไม่พ้นเรื่องของคนระบบจัดการบริหารเรื่องคนให้เป็นระเบียบเป็นระบบในการปฏิบัติงานในแต่ละองค์กรเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ที่องค์กรตั้งไว้ แต่ก็น่าจะเข้าใจได้นะว่า ชื่อก็บอกแล้วว่า ทุนมนุษย์หรือ การบริหารทรัพยากรณ์มนุษย์ ชื่อวิชาอาจทำให้คนวิตกอาจทำให้คนเรากลัว จนลืมนึกไปว่า มนุษย์ คือเราและคนรอบข้างตัวเราทั้งสิ้น การที่จะเข้าใจในทุนมนุษย์ อาตมาคิดว่า อันดับแรกเราต้องดูจากตัวเราก่อน พิจารณาจากเรา เข้าใจในตัวของเราก่อนว่า สิ่งที่เราพึงประสงค์ สิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราอยากกระเสือกกระสนหานะมั้นคืออะไร อย่างไร ? ถ้าเราเข้าใจถ่องแท้ว่าเราต้องการอะไร เรารักสุข เกลียดทุกข์อย่างไร คนอื่น ๆ หรือสิ่งมีชีวิตทั้งมวลบนโลกนี้ ล้วนรักสุขและเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

                                                    ขอเจริญพร

หมายเหตุ*** วันคืนล่วงไป ๆ เราท่านทั้งหลาย(มัว)ทำอะไรอยู่ ??

 

Good Afternoon  Dr.Chira , Mr.Boonrod  ,  Mrs.Pojjanat,  Mr.Piya , Mr.Prakai ,    Khun A ,    Khun kat   and    Khun  Na.   This is big teamwork HR.   IF you are not in learn class.   You will loss  opportunity  knowledge  and  network.   

 

Nowadays:  HR. is story very important.  Because it work have efficiency and quality.  Total for organization.

 

Finally:  We are MPA4   thank you big teamwork HR.  very much.

สวัสดีค่ะ...ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม  นาคสุข

      หลังจากที่ปิดคอร์สและสอบกันไปเป็นที่

เรียบร้อย

      กลับมาทำงานที่หน่วยงาน รู้สึกได้เลยค่ะว่า

หน่วยงานที่เราทำอยู่ขาด HRM อย่างมากมาย

มหาศาล

       ต้องขอบคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมากเลย

นะคะ  เพราะถ้าไม่ได้เรียนกับอาจารย์และเป็น

ลูกศิษย์ของอาจารย์ หนูคงโง่ไปอีกนาน

รปม.4 สวนสุนันทา ***20003

เจริญพร ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน

 

คุณไม่ได้โง่หรอกนะครับ อย่าว่าตัวเองเลย

เพียงแต่ว่าเราไม่ได้รู้ไม่ได้เรียนรู้เท่านั้นเอง

ท่านอาจารย์ จีระ ยังเคยบอกว่าไม่มีใครเก่งเกินใครหรือโง่กว่าใคร

แต่อยู่ที่ว่าใครจะเอาความรู้ที่ได้เรียนมาใช้อย่างไรต่างหาก

ถ้าเราเอามา Apply กับชีวิตของเราได้อย่างชาญฉลาดและสมเหตุสมผล เหมาะกับกาล ผมคิดว่านั่นแหละคือสิ่งที่อาจารย์ท่านจะภูมิใจกับเรา

เหมือนท่าน อ. จีระ เคยพูดไว้ว่าเรียนกับท่านนั้น ท่านไม่ต้องการอะไรมากมายจากตัวเราเลย ขอแค่เพียงว่า ให้เรารู้จริงและใช้ประโยชน์ได้จริง เพียงสิ่งเดียวเรื่องเดียวเท่านั้นแหละ ตามทฤษฎี โป๊ะเช๊ะ ของท่าน เพียงเท่านี้ท่านก็ภูมิใจแล้ว

   เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าคิดว่าตัวเองโง่หรือว่าไม่เก่ง

แต่จงมาพิจารณาว่าตัวท่านทั้งหลายนั้น ได้ลงมือทำสิ่งเหล่านั้น

หรือว่าค้นคว้าสิ่งเหล่านั้น คือในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ยังไม่ทราบชัด

ท่านก็จะรู้ว่าท่านเองก็เก่งและฉลาดเหมือนกัน ถ้าสิ่งที่ท่านทราบแล้วท่านก็จะเข้าใจในสิ่งนั้นยิ่งขึ้น จากการค้นคว้า

แต่ถ้าหากว่าเรามานั่งพูดพร่ำว่าเราไม่เก่งเราโง่ โดยไม่ลงมือปฏิบัติ  หรือ ไม่ลงมือค้นคว้าแสวงหาความรู้เหล่านั้น เท่ากับว่าเราจะเป็นผู้หยุดอยู่กับที่ ความเจริญในหน้าที่การงานหรือในวิชาความรู้ใหม่ ๆ คงไม่ต้องหวังกันละ โยมทั้งหลายจ๋า

 

ขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมแสดงความคิดในบล๊อกเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือแนะนำกันและกัน

ในบางเสี้ยวแห่งถ้อยคำที่ท่านคิดว่าไร้ค่าหรือธรรมดา

แต่อาจมีค่ามหาศาลหรือให้ข้อคิดกับคนอื่น ๆ ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

อย่าอายกับการแสดงออก อย่าหวงความคิด หรือองค์ความรู้

มีอะไรดี

ก็จงแสดงออกมา

จะมากหรือน้อยอยู่ที่ท่านจะบรรยายหรือนำเสนอ ฯ

ขอเจริญพร

first at all, I want to said "don't forget all teacher" and thank you very much for everthing etc,.Knowledge, Skill, leadership..8k's Theory..

 

                                                          Think of always.

จ.ส.ต. บัญชา วิริยะพันธ์ นักศึกษา รปม.รุ่น 4

เรียน ท่านอาจารย์ ศ.ดร. จีระ หงษ์ลดารมภ์

เป็นเวลาเกือบ สี่เดือนแล้วที่กระผมได้เรียนจบวิชาที่ท่านอาจารย์ได้สอนวิชา เรืองการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผมมีความประทับใจท่าอาจารย์เป็นอย่างมาก ชอบสไตล์การสอนที่ท่าอาจารย์ไม่เหมือนใคร และก็ไม่มีใครเหมือน ทำให้กระผมหรือนักศึกษาทุกคนมีความกระตุ้นอยากที่จะเรียนอยู่ตลอดเวลา ผมมาเปรียบเทียบกับอาจารย์สอนเกือบทุกท่านแล้ว หาหาอาจารย์ท่านใดมาเปรียบเทียบกับอาจารย์ได้ยาก ครับ นับว่ากระผมโชคดีมากที่ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ ผมคิดถึงอาจารย์ครับผม

ด้วยความเคารพ

บัญชา วิริยะพันธ์

ยุทธศาสตร์ที่ 8 การมีภาพลักษณ์ที่ดีของTQMประโยชน์ของมันคืออะไร

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท