PRECEDE PROCEED MODEL


PRECEDE PROCEED MODEL

แบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ( PRECEDE – PROCEED Model )

       แบบจำลอง(Model) การวางแผนโครงการส่งเสริมสุขภาพมีมากมายและหลากหลาย แต่ที่เป็นที่นิยมและประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ปี ค.. 1987 จนถึงปัจจุบัน คือ   PRECEDE – PROCEED Model  ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย Lawrence  W. Green และ  Marshall Krueter แบบจำลองดังกล่าวนี้เป็นแบบจำลองการวางแผน แต่ก็มีนักวิชาการและนักปฏิบัติจำนวนไม่น้อยนำไปประยุกต์เป็นแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพซึ่งผู้ที่นำแบบจำลองนี้ไปใช้เป็นแบบจำลองพฤติกรรมสุขภาพจะต้องมีความชัดเจนในตัวแปรภายใต้ปัจจัยนำ ( Predisposing factor )  ว่าจะใช้แนวคิดตามโครงสร้างทางจิตวิทยาอะไรมาวิเคราะห์สาเหตุทางพฤติกรรมสุขภาพ        

     PRECEDE– PROCEED Model  เป็นแบบจำลองที่นำมาประยุกต์ใช้วางแผนและประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา โดยเฉพาะ PRECEDE Model ใช้เป็นกรอบในการวางแผนสุขศึกษาของอาสาสมัครและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ที่จะนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป การเปลี่ยนพฤติกรรมจะสัมพันธ์กับระดับของการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ฉะนั้นผลสัมฤทธิ์ของงานสุขศึกษาจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยปัญหาและสาเหตุของปัญหาของประชากรเป้าหมายได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใด  แบบจำลองนี้มีลักษณะเป็นพหุปัจจัยร่วมกันซึ่งมีรากฐานมาจากสังคมศาสตร์/พฤติกรรมศาสตร์ ระบาดวิทยา การบริหารและการศึกษา เช่น ปัญหาสุขภาพมีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัยจึงจะต้องได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องจึงจะสามารถกำหนดกลวิธี/วิธีการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง โดยธรรมชาติแล้ว แบบจำลอง PRECEDE สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายสถานที่ เช่น สุขศึกษาในโรงเรียน สุขศึกษาสำหรับผู้ป่วย และสุขศึกษาในชุมชนเป็นต้นPROCEED Model ได้ถูกผนวกเข้ามาร่วมกับ PRECEDE ประมาณปี 1987 จากประสบการณ์ของ Green และ Krueter  ที่ได้รับปฏิบัติงานในตำแหน่งต่าง ๆ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และมูลนิธิ Kriser  Family Foundation    การผนวกแบบจำลองนี้เข้าไปเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดของการส่งเสริมสุขภาพที่เพิ่มไปจากงานสุขศึกษาดั้งเดิมที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ การวินิจฉัยด้านการบริหารเป็นขั้นตอนท้ายสุดของ PROCEED ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีวิสันทัศน์กว้างไกลนอกจากกิจกรรมทางด้านการศึกษา/สุขศึกษาแล้ว ยังจะสามารถก้าวไปถึงความจำเป็นเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางการเมือง การจัดการ และเศรษฐกิจซึ่งมีผลต่อระบบสังคม สิ่งแวดล้อม จนถึงครรลองการดำเนินชีวิตที่มีสุข ( healthful lifestyles ) และจะทำให้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และสังคม มากยิ่งขึ้น 

          เป้าประสงค์หลักของ PRECEDE-PROCEED model จะให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ (outcomes) มากกว่าปัจจัยนำเข้า (inputs) ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการผลักดันให้ผู้วางแผนพิจารณาผลลัพธ์ที่ต้องมาก่อนในการวางแผน แล้วจึงค่อยพิจารณาถอยหลังไป ว่ามีปัจจัยหรือสาเหตุผลลัพธ์อะไรบ้างที่จะส่งผลต่อกระบวนการวางแผนซึ่งมีหลักการอยู่ 2 ประเด็นที่สำคัญได้แก่

1. หลักการมีส่วนร่วม กล่าวคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ( Stake holders ) จะต้องมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการที่จะระบุบ่งชี้ปัญหาที่เร่งด่วน และเป้าประสงค์ของตนเองอย่างชัดเจนในการพัฒนา/กำหนดแนวทางและการดำเนินงานแก้ปัญหา หลักการนี้ได้พัฒนาและประยุกต์มาจากทฤษฎีการพัฒนาชุมชนและแบบจำลองการสร้างพลัง ( Empowerment education model ) ของไฟร์  ( Freire )               

2. บทบาทที่สำคัญของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพประชาชน เช่น ความไม่เสมอภาคของสื่อต่าง ๆ   โรงงานอุตสาหกรรม  การเมือง และสังคม  PRECEDE ประกอบด้วย 5ระยะ ดังนี้

ระยะที่ การวินิจฉัยด้านสังคม  ( Social Diagnosis  )

ระยะที่ การวินิจฉัยด้านระบาดวิทยา  ( Epidemiological Diagnosis

ระยะที่ การวินิจฉัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม  ( Behavioral and Environmental Diagnosis )

ระยะที่ การวินิจฉัยด้านการศึกษา และการจัดองค์กร / บริการ  ( Education and organizational Diagnosis )

ระยะที่ การวินิจฉัยด้านการบริหารและนโยบาย เป็นการวินิจฉัยนโยบาย ทรัพยากร และสถานการณ์ต่าง ๆ  ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะขององค์กรซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาแผนงานโครงการสุขภาพ

            นอกจากนี้ เพื่อประเมินว่า เป้าประสงค์/วัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการจะสอดรับกับนโยบายขององค์กรหรือไม่ สอดคล้องกับระเบียบกฏเกณฑ์และพันธกิจขององค์กรหรือไม่ PROCEED  ประกอบด้วย  4  ระยะ ดังนี้

ระยะที่ การดำเนินงานตามแผน ( Implementation )

ระยะที่ การประเมินผลกระบวนการ ( Process  Evaluation   )

ระยะที่ การประเมินผลกระทบ ( Impact  Evaluation )

ระยะที่ การประเมินผลลัพธ์ ( Out-come Evaluation )   

ระยะที่  1  การวินิจฉัยด้านสังคม

       จุดมุ่งหมายของระยะนี้เพื่อระบุบ่งชี้และประเมินปัญหาด้านสังคมซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต(Quality of Life : Q O L) ของประชากร  เป้าหมายระยะนี้จะช่วยให้ผู้วางแผนเข้าใจปัญหาด้านสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ผู้บริโภคบริการ นักเรียน/นักศึกษา หรือชุมชนตามที่ประชาชนมองเห็นปัญหาเหล่านั้นที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปัญหาด้านสังคมจะเชื่อมโยงไปถึงปัญหาด้านสุขภาพซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกิจกรรมสุขศึกษาได้ สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบสำคัญต่อชีวิต และคุณภาพชีวิตส่งผลต่อปัญหาด้านสังคมอย่างไรบ้าง  วิธีการวินิจฉัยด้านสังคมอาจจะดำเนินการได้ดังนี้ จัดเวทีชุมชน ( Community Forums )  การแสดงข้อตกลงร่วมในกลุ่ม ( Nominal groups ) การอภิปรายเฉพาะกลุ่ม( Focus group ) การสำรวจ( Surveys ) และการสัมภาษณ์ ( Interviews ) เป็นต้น

ระยะที่  2  การวินิจฉัยด้านระบาดวิทยา

        การวินิจฉัยระยะนี้จะช่วยให้ผู้วางแผนพิจารณากำหนดปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งจะช่วยให้สามารถระบุบ่งชี้ว่ามีปัจจัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตจุดเน้นของระยะนี้ก็เพื่อจะระบบ่งชี้สาเหตุอันเนื่องมาจากปัญหาด้านสุขภาพและไม่ใช่ปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี การอธิบายปัญหาสุขภาพจะช่วย

        (1) กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง กับคุณภาพชีวิต 

        (2)  จัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแผนงานโครงการและการใช้ทรัพยากร 

           (3) มีความเป็นไปได้ในการกำหนดความรับผิดชอบระหว่างวิชาชีพ องค์กร และหน่วยงานร่วมกันนอกจากนี้การจัดอันดับความสำคัญของปัญหาก็ยังสามารถนำไปใช้กำหนดวัตถุประสงค์ และประชากรกลุ่มเป้าหมายของแผนงานได้อีกด้วย เช่นระบุผลลัพธ์อะไรบ้างที่ต้องการให้เกิด(What) และมากน้อยเพียงใด ( How Much ) ที่ประชากรกลุ่มเป้าหมายจะได้รับและจะได้รับเมื่อไร ( When ) ตัวอย่างข้อมูลการวินิจฉัยด้านระบาดวิทยา เช่น สถิติชีพ  จำนวนปีที่สูญเสียไป เนื่องจากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ( เทียบกับอายุขัยเฉลี่ยของประชากร ความพิการ ความชุกของความเจ็บป่วย / เกิดโรค การตาย อุบัติการของโรค และการเจ็บป่วย เป็นต้น )            

สรุป

การวินิจฉัยในระยะที่ 1 – 2  ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการให้บรรลุภายหลังการดำเนินงานตามแผนงานโครงการแล้ว 

ระยะที่ 3 การวินิจฉัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในระยะนี้จะมุ่งเน้นที่การระบุบ่งชี้พฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ อย่างเป็นระบบระเบียบ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะที่ ในระยะนี้อาจรวมถึงสาเหตุที่ไม่ใช่พฤติกรรมด้วย  ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถจะช่วยให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เป็นต้น  แต่ไม่สามารถควบคุมได้โดยพฤติกรรม ปัจจัยเหล่านั้นอาจรวมถึงพันธุกรรม อายุ เพศ และการเจ็บป่วยที่เป็นอยู่แล้ว  ดินฟ้าอากาศ  สถานประกอบการ  และความเพียงพอของการบริการสุขภาพ เป็นต้น  สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ในระยะนี้ก็คือการจัดลำดับความสำคัญ ของสาเหตุพฤติกรรม ในประเด็นพฤติกรรมที่สำคัญ และความสามารถในการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมนั้น ๆ  การวินิจฉัยพฤติกรรมจะต้องให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในแต่ละประเด็นในระยะที่ซึ่งจะช่วยให้ผู้วางแผนสามารถเลือกพฤติกรรมเป้าหมายนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาได้โดยสรุป การวินิจฉัยพฤติกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมที่ได้ระบุบ่งชี้ไว้ในระยะที่ 1 – 2   การวินิจฉัยสิ่งแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมควบคู่ไป ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้วย 

ตารางจัดอันดับความสำคัญของพฤติกรรม (The Behavioral  Matrix)

         การวิเคราะห์พฤติกรรมตามตารางสัมพันธ์ จะช่วยให้สามารถระบุบ่งชี้พฤติกรรมเป้าหมายหรือสิ่งแวดล้อมเป้าหมายที่จะต้องนำมาใช้วางแผนแก้ปัญหา และสามารถวัดได้ ประเมินได้ต่อไป 

ความสำคัญ /

ความสามารถในการเปลี่ยนแปลง

สำคัญมาก

สำคัญน้อย

สามารถเปลี่ยนแปลงได้มาก  1.ความสำคัญมากและเปลี่ยนแปลงได้มาก  3. สำคัญน้อยแต่เปลี่ยนแปลงได้มาก
สามารถเปลี่ยนแปลงได้น้อย 2. สำคัญมาก แต่เปลี่ยนแปลงได้น้อย  4. สำคัญน้อยและเปลี่ยนแปลงได้น้อย

 ควรทำพฤติกรรมเป้าหมายและสิ่งแวดล้อมเป้าหมายในช่อง 1 และ 2 มากำหนดวัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการ ส่วนช่องที่ 3 อาจนำมาใช้ด้วยเหตุผลทางการเมือง ส่วนช่องที่ 4 ไม่นำมาพิจารณาในการกำหนดเป็นพฤติกรรมเป้าหมายหรือสิ่งแวดล้อมเป้าหมาย  

ระยะที่ การวินิจฉัยด้านการศึกษาระยะนี้เป็นการประเมินสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพที่ระบุไว้ในระยะที่ สาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย ด้วยกัน คือ   ปัจจัยนำ ( predisposing factors ) ปัจจัยเอื้อให้เกิดพฤติกรรม ( enabling factors )           ปัจจัยเสริมแรงให้เกิดพฤติกรรมต่อเนื่อง ( reinforcing factors ) ประเด็นสำคัญของระยะนี้คือ การระบุบ่งชี้สาเหตุของพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องจะเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การระบุบ่งชี้จะต้องมองทั้งที่ส่งผลทางบวกและลบต่อพฤติกรรม และลำดับความสำคัญของแต่ละสาเหตุ และความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะต้องกำหนดตามปัจจัยสาเหตุเหล่านี้  ดังนั้นจึงต้องฟันธงลงไปเลยว่าจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงปัจจัยเหล่านี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืนโดยการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกิจกรรม และการดำเนินการตามวัตถุประสงค์กิจกรรมนั้น ๆ           

           ปัจจัยนำ หมายถึง คุณลักษณะของบุคคลหรือประชากรที่ติดตัวกับบุคคลเหล่านั้นมาก่อนแล้ว เช่น ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ            

           ปัจจัยเอื้อ หมายถึง  คุณลักษณะของสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านกายภาพ และสังคมวัฒนธรรม ทักษะส่วนบุคคล และหรือ ทรัพยากรที่จะช่วยเกื้อกูลให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์           

           ปัจจัยเสริมแรง หมายถึง รางวัลหรือผลตอบแทนหรือการได้รับการลงโทษ ภายหลังที่ได้แสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ซึ่งจะช่วยให้เกิดความมั่นคงของการเกิดพฤติกรรม การเสริมแรงจะได้รับจากครอบครัว เพื่อน ครู  บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  หรือ สื่อมวลชน เป็นต้น 

ระยะที่ 5   การวินิจฉัย ด้านการบริหารและนโยบาย  ในระยะนี้จะมุ่งเน้นวินิจฉัยเกี่ยวกับการบริหารและการจัดองค์กรซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจนก่อนดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ซึ่งรวมถึงทรัพยากรต่าง ๆ  การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดตารางการปฏิบัติงาน การจัดองค์กรและบุคลากรในการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ การประสานงานกับหน่วยงาน สถาบันและชุมชน                

                การวินิจฉัยด้านบริหาร  :  เช่นการวิเคราะห์นโยบาย ทรัพยากร และสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาแผนงานโครงการสุขภาพ                        

               การวินิจฉัยนโยบาย  :  เป็นการประเมินว่าเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ของแผนงานโครงการว่าสอดคล้องเหมาะสมกับภาระกิจ กฎระเบียบขององค์กรหรือไม่ 

ระยะที่ 6 การดำเนินงานตามแผนงานโครงการ   ดำเนินงานตามกลวิธี วิธีการและกิจกรรม โดยผู้รับผิดชอบแต่ละเรื่องและประเด็นที่กำหนดไว้ตามตารางการปฏิบัติกิจกรรม 

ระยะที่  7  การประเมินผลกระบวนการ   เป็นการประเมินกระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 

ระยะที่ 8 การประเมินผลกระทบ  เป็นการวัดประสิทธิผลของแผนงานโครงการตามวัตถุประสงค์ระยะสั้นที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมแรง( predisposing,enabling ,and reinforcing factors )

ระยะที่ การประเมินผลลัพธ์สุดท้าย    เป็นการประเมินผลรวบยอดของวัตถุประสงค์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและประโยชน์ที่ได้รับด้านสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน ผลเหล่านี้จึงจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นปีๆ จึงจะสามารถประเมินคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายได้   

Green ,  L.  Krueter , M.  ( 1999 )  Health Promotion Planning An Education Approach ( 3 ed.) Toronto : Mayfield Publishing Company. 

คำสำคัญ (Tags): #green krueter#precede proceed model
หมายเลขบันทึก: 115416เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

 ขอขอบคุณนะครับ ที่ช่วยคลายข้อสงสัยในเรื่องนี้  ทำให้ทางกลุ่มของผมได้แนวทางในการประยุกต์ใช้ทฤษฏีในการลงชุมชน  ไม่งั้นแย่แน่ๆครับ

dentistry TU

มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Precede Model อีกไหมค่ะ

ทำรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี และอยากทราบว่า Precede Model

สามารถนำไปแก้ปัญหาในพฤติกรรมและปัญหาการสูบบุหรี่ได้อย่างไรค่ะ

ตอบด่วนน่ะค่ะ 23 นี้ส่งค่ะ

หวัดดีจ้าเบ้น คงจำเราไม่ได้อะจินะ เพิ่งรู้ทำไมตะเองเก่งทฤษฏีขนาดนี้ เราได้ประโยชน์จากตะเองหลายทฤษฎีเลย ขอบใจนะ ว่างๆก็เมลล์มาหาบ้างนะ คิดถึง

ถึง ใบเฟิน...เบ็นคิดว่าจำแกได้นะ คงจะมีรูปอยู่ในHI5 ของเบ็นด้วย ใช่เปล่า...ว่าแกยังไม่ได้ให้ e-mail เลยนะแล้วจะเมลไปหาได้ไงนิ

ทฤษฎีPRECEDE PROCEED MODELมีความจำเป็นต่องานสุขศึกษาและทำให้เราได้นำเอาข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการออกชุมชน

ขอรบกวนถามว่า มีวิธีการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ของ Pender ไหมค่ะ ขอคำแนะนำค่ะ

หวัดดีคะพี่เบ้น

ตอนนี้นู๋ ลงเรียน ปอโท ภาคพิเศษ

วท.ม.สร้างเสริมสุขภาพ ราชภัฏ ภูเก็ตจร๊า

และเผอิญว่า ทำรายงานเรื่องนี้พอดีเลยเจ้

คะแนนเยอะด้วยดี่ ร้อยละ 30 รายงานเดี่ยว

เจ้พอมี หนังสือ เรื่องนี้โดยตรงมั้ยคะ หรือไม่ก็ สไลด์

ที่อาจารย์นำเสนอก็ได้เจ้ พอมีมั้ยคร๊า รบกวนหน่อยน๊า

^__^

น้องเปิลเองจร๊า

ไม่เห็นเหมือนที่เรียนเลยค่ะ กะจะมาหาข้อมูลเพื่อทำงานกลุ่ม แย่เลย.....

Dentistry CU

อยากได้การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

ขอบคุณค่ะ ช่วยได้เยอะเลย จาสอบอาทิตย์หน้า ขอบคุณจริงๆค่ะ

ขอบคุณนะคะ อ่านแล้วเข้าใจดีมากเลยค่ะ พี่เก่งจังเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท