อนุทิน 36398


กวิน
เขียนเมื่อ

ต้นมะม่วงอันปรากฏในพระมหาชนกชาดก เป็นปริศนาธรรมซึ่งตีความได้หลายนัย ประกอบด้วยต้นมะม่วง หนึ่งมีผลอันโอชะ กับ อีกหนึ่งซึ่งไร้ผล ยังแต่ใบเขียวสดเต็มต้น “ วางรูปให้คู่กัน ” คุณธีระวัฒน์ คะนะมะ หนึ่งในศิลปินผู้วาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก อธิบายนัยยะแห่งการวาดภาพต้นมะม่วง “ เพราะว่าถึงตอนนี้ เป็นตอนที่กำลังจะบอกคนว่า นี่แหละคือสิ่งที่เราต้องมาเปรียบเทียบกันแล้ว ระหว่างสิ่งที่มีคุณค่า กับ สิ่งที่ไม่มีคุณค่าตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป ” มะม่วงซึ่งออกผลอันโอชะ ภายหลังพระราชา คือพระมหาชนกเสวย บรรดามหาชนต่างยื้อแย่ง หวังจะเชยชิมบ้าง แต่ทว่า กระทำด้วยความละโมบและเขลาต่อผลอันจะบังเกิด จึงฉกฉวยกอบโกย จนมะม่วงนั้นแทบสิ้นไป รองศาสตราจารย์ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ได้ให้ทัศนะในเรื่องนี้ไว้ว่า “ มะม่วงมันให้ประโยชน์ ให้ผลไม้ให้กินแล้ว ก็น่าจะมีบุญคุณต่อคนที่กินผลมะม่วง แล้วทำไมต้องทำลาย เมื่อทำลายแล้ว แทนที่จะได้กินต่อไป ก็ไม่ได้กินเพราะหมดไปแล้ว เพราะฉะนั้นวิธีการที่ถูกต้องที่สุดคือ ต้องถนอมต้นมะม่วงนั้นไว้ ให้มันมีผลเหมือนเดิม หรือพัฒนาให้มันมีผลมากขึ้นไปกว่านั้น โดยวิธีใดก็ตามที่จะให้ผลิตผลได้มาก เพื่อจะได้แจกจ่ายให้ประชากรในเมืองได้กินมากๆ โดยทั่วถึงกัน.” ต้นมะม่วง ในบทพระราชนิพนธ์ หากจะเปรียบกับแผ่นดินไทยก็คงเป็นเช่นกัน ด้วยผู้คนสนใจแสวงประโยชน์ใส่ตน จนละเลยการรักษาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า นั่นคือการทำลายตนเอง ด้วยแม้นแผ่นดินสิ้นประโยชน์ให้แสวงหา คนไทยจะอยู่ได้อย่างไร http://72.14.235.132/search?q=cache:jET0oS4ewoEJ:www.moomkafae.com/index.php%3Flay%3Dshow%26ac%3Darticle%26Id%3D148241%26Ntype%3D1+%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81+%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท