อนุทิน 167073


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การถอนรากประชาธิปไตย: สงครามแห่งความทรงจำ และมรดกที่หายไปของคณะราษฎร ตอนที่ 7

ต่อมากลางดึกของวันที่ 28 ธันวาคม ปี 2018 (พ.ศ. 2561) อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือ อนุสาวรีย์ป้องกันรัฐธรรมนูญถูกเคลื่อนย้ายจากวงเรียนรอบหลักสี่ ภายใต้การดูแลของตำรวจและทหาร ระหว่างการเคลื่อนย้าย ประชาชน, นักข่าว, นักกิจกรรม, และนักวิชาการต่างถูกห้ามในการสังเกต ทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยว่าเคลื่อนไปอยู่ที่ไหน และยังดำรงอยู่หรือไม่?

1 วันก่อนการเคลื่อนย้าย ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงานว่ามีเจ้าหน้าที่เมืองกรุงเพทฯ (Bangkok Metropolitan Authority) ทำการสักการะอย่างเงียบๆก่อนการเคลื่อนย้ายไปที่ศูนย์การก่อสร้าง BMA ของกรุงเทพฯย่านหนองบอนอย่างถาวร ต่อมาข่าวนี้ถูกลบออกไปจากเว็ปไซต์ ศักดิ์ชัย บุณมา ผอ.สำนักงานการโยธา ยืนยันว่า ไม่มีทางอนุสาวรีย์จะถูกย้ายไปที่หนองบอน และไม่รู้เรื่องการเคลื่อนย้ายแต่อย่างใด

มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการหายไปหรือถูกทำลายของมรดกคณะราษฎร รวมทั้งการทำลายอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยบนถนนราชดำเนินด้วย หลากคนอาจหัวเราะ แต่จากหนังสือ “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและความหมายที่มองไม่เห็น” ยืนยันว่าในปี 1969 (พ.ศ. 2512) มีข้อเสนอให้แทนที่ใจกลางเมืองด้วยการให้รัชกาลที่ 7 ทำหน้าที่ยื่นรัฐธรรมนูญลงมาให้ประชาชน ต่อมาข้อเสนอนี้ถูกคัดค้าน มีการทำความสะอาดรัฐธรรมนูญเท่านั้น ต่อมาพระรูปรัชกาลที่ 7 ถูกติดตั้งแบบถาวร ที่อาคารรัฐสภา (ตรงกันข้ามกับสวนสัตว์ดุสิต)

ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของธานวิ เรื่อง “การปฏิวัติกับการต่อต้านการปฏิวัติ: คณะราษฎรกับพวกสนับสนุนราชาในทัศนศิลป์” มีข้อความว่าภาพการยื่นรัฐธรรมนูญของรัชกาลที่ 7 อาจถือว่าเป็นการกลับมาอีกครั้งของอิทธิพลของกษัตริย์เหนือการเมืองไทย และภาพปั้นถือว่าเป็นความทรงจำเกี่ยวกับรากเหง้าของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ภาพปูนปั้นอันนี้ก่อให้เกิดวาทกรรม “ชิงสุกก่อนห่าม” โดยที่คณะราษฎรช่วงชิงการเปิดประเทศ ในขณะที่ประชาชนยังไม่พร้อม ต่อมารัชกาลที่ 7 คือบิดาของประชาธิปไตยไทย

แปลและเรียบเรียงจาก

Anna Lawattanatrakul. Uprooting Democracy: The War of Memory and the Lost Legacy of the People’s Party.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท