อนุทิน 137056


ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 3  พันธุ์และการขยายพันธุ์ยางพารา

3.1. พันธุ์ยางพาราที่น่าสนใจในปัจจุบัน ได้แก่

ก. พันธุ์ RRIM 600 เป็นยางที่เหมาะสำหรับปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่มีการต้านทานโรคต่ำ

ข. พันธุ์ RRIT 251 เป็นพันธุ์ยางให้ผลผลิตสูง เหมาะสำหรับพื้นที่ภาคใต้ แต่ไม่ควรปลูกบริเวณเนินเขา เพราะจะทำให้เกิดการพังทะลายของหน้าดินได้

ค. พันธุ์ RRIT 408 เป็นพันธุ์ยางที่ได้ทำวิจัยขึ้นเพื่อปลูกในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพันธุ์ยางให้ผลผลิตสูง

- RRIM ย่อมาจาก Rubber Research Institute of Malaysia (สถาบันวิจัยยาง มาเลเซีย) , RRIT ย่อมาจาก Rubber Research Institute of Thailand (สถาบันวิจัยยาง ไทย)

3.2. การขยายพันธุ์ยางพารา

ก. การเพาะเมล็ด - เพื่อใช้เป็นต้นตอ

ข. การติดตายางพาราพันธุ์ดี - เพื่อการปลูกเป็นการค้า

3.3. การปรับปรุงพันธุ์ยางพารา

ก. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยทั่วไป

1.การรวบรวมพันธุ์

2.การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมในท้องถิ่น

3.การผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พืชสายพันธุ์ใหม่

ข. ขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ยางพารา

- การปรับปรุงพันธุ์ยางพารา เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ -มีอยู่ 2 แนวทาง คือ

1.การผสมพันธุ์ยางพารา -โดยการนำเกสรตัวผู้จากต้นที่มีลักษณะดีเด่นตามที่

ต้องการ ไปผสมกับเกสรดอกตัวเมียบนต้นแม่ที่มีลักษณะดีเด่นเช่นกันในสภาพแปลงปลูก

ตามธรรมชาติ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันในกลุ่มประเทศผู้ผลิต ยาง

ธรรมชาติ เนื่องจากสามารถทราบประวัติของพันธุ์พ่อ-แม่ และสามารถติดตามการถ่ายทอด

ลักษณะต่าง ๆ ในลูกผสมได้เมื่อนำไปปลูกทดสอบ

-นิยมใช้วิธีผสมเกสรด้วยแรงคน ถึงแม้ว่าด้วยวิธีการนี้อัตราความสำเร็จหรืออัตรา

การผสมติดอยู่ในระดับต่ำ มาก คืออยู่ระหว่าง 2-5 % เท่านั้น และยังมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก

และมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลสำเร็จ ทั้งที่ควบคุมได้และไม่ได้ เพราะ

เมล็ดที่ผสมนี้อยู่ในสภาพธรรมชาติ และเมล็ดจะใช้เวลาถึง 5 เดือนจึงจะพัฒนาเป็นเมล็ดแก่

ดังนั้นในช่วง 5 เดือนนี้ เมล็ดก็ต้องเสี่ยงอยู่ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ จึงมีผลให้

ความสำเร็จอยู่ในอัตราต่ำ

-การผสมพันธุ์ของยางพาราจะต่างจากพืชอื่นคือ ฝักยางพาราจะประกอบ ด้วย 3

เมล็ด ในการผสมพันธุ์แต่ละฝักจะต้องได้รับการผสมครบทั้ง 3 เมล็ดก่อน จึงจะมีการ

พัฒนาต่อเป็นเมล็ดแก่ ถ้าได้รับการผสมเพียง 1 หรือ 2 เมล็ด ก็จะมีการพัฒนาต่ออีกระยะ

สั้นๆ แล้วร่วงในที่สุด

2.การนำเข้าพันธุ์ยางพาราจากต่างประเทศ - ตามโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ยาง

ระหว่างประเทศ -ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฝรั่งเศส

และประเทศบราซิล โดยการนำพันธุ์ยางพาราที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปปลูกทดสอบ

และคัดเลือกพันธุ์ในแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น และแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายใน

ท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้ขั้นตอนและเวลาดำเนินการเช่นเดียวกันกับพันธุ์ยางที่ได้จากการผสม

พันธุ์ในประเทศ

- การทดสอบสายพันธุ์ยางพารา

1.แปลงคัดเลือกพันธุ์ยางซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ลูก

ผสมที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ

2.แปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นต้น ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปี

3.แปลงเปรียบเทียบพันธุ์ขั้นปลายในท้องที่ต่าง ๆ โดยใช้เวลาอีกประมาณ 13 ปี

ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 26 ปี เป็นอย่างน้อย

- การขยายพันธุ์ยางพาราพันธุ์ใหม่ที่ได้ -มีอยู่ 2 แนวทาง คือ

1.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

2.การขยายพันธุ์โดยการติดตา

--------------------------------

(ข้อมูลบางส่วนจาก : http ://www .reothai .co .th และ http ://smarttapper .com/forum/index .php/topic156.0)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท