อนุทิน 132750


maveline aristy
เขียนเมื่อ

บันทึกการอ่าน

ครอบครัวนักอ่าน

วันที่   26 ธันวาคม 2556

ครอบครัวของ เด็กหญิง เมเฟอร์ลิน อารีสตี้

เรื่อง ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์จากโลกออนไลน์

 

    1.  ทำการติดตั้งโปรแกรม Anti-virus บนระบบของท่าน และ
-  ทำการ update ฐานข้อมูลไวรัสของโปรแกรมอยู่เสมอ (เลือกใช้งาน feature การ update ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติของโปรแกรม ถ้ามี)

-  เรียกใช้งานโปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ

-  เรียกใช้งานโปรแกรมเพื่อตรวจสอบหาไวรัส อย่างละเอียด บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน อย่างสม่ำเสมอ เช่น 1 ครั้งต่อสัปดาห์

ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสฟรี    Avast Anti-Virus Free Home-Edition โหลดทีี่  http://www.avast.com

AVG Anti-Virus Free Edition โหลดที่ http://free.grisoft.com

2. ตรวจสอบและอุดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งท่านสามารถทำได้โดยการ browse ไปที่http://windowsupdate.microsoft.com/ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้บนเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อทำการตรวจสอบและแก้ไขช่องโหว่ที่ critical ของระบบ

3. ปรับแต่งการทำงานของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์บนระบบให้มีความปลอดภัยสูง เช่น

  •  ปรับแต่งไม่ให้โปรแกรมที่ใช้อ่านอี-เมล์เช่น Microsoft Outlook ทำการเปิดไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ (attachment) อย่างอัตโนมัติ
  •  ปรับ Security Zone ของ Microsoft Internet Explorer ให้เป็น High Security โดยปรับแต่งที่ Internet Option ของโปรแกรม Internet Explorer
  • ไม่ควรอนุญาตให้โปรแกรม Microsoft Office เรียกใช้งาน Macro
  • เปิดใช้งานระบบ Firewall ที่ built-in อยู่บนระบบปฏิบัติการ MS Windows XP
  • งดใช้ Feature การ share ไฟล์ผ่านเครือข่าย หากไม่มีความจำเป็น

4. ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่านอี-เมล์ และการเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ

  • หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์และไฟล์ที่แนบมากับอี-เมล์ จนกว่าจะรู้แหล่งที่มา
  • หลีกเลี่ยงการเปิดอ่านอี-เมล์ที่มีหัวเรื่องที่เป็นข้อความจูงใจเช่น ภาพเด็ด รหัสผ่าน คุณถูกรางวัล เป็นต้น
  • ตรวจสอบหาไวรัสบนสื่อบันทึกข้อมูล ทุกครั้งก่อนเรียกใช้งานไฟล์บนสื่อนั้นๆ
  • ไม่ควรเปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลกๆ เช่น . pif รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุลซ้อนกันเช่น . jpg.exe, .gif.scr, .txt.exe เป็นต้น
  • ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูล ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา และหลีกเลี่ยงการใช่สื่อบันทึกข้อมูลร่วมกับบุคคลและระบบอื่นๆ
  • ถือคติพจน์ว่า “ไม่ใช้แผ่นมั่ว ไม่ชัวร์อย่าเปิด”

5. สำรองข้อมูลที่สำคัญบนระบบอยู่เสมอ     ข้อนี้ไม่ได้เป็นการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์แต่เป็นข้อควรปฏิบัติที่ท่านควรทำเพราะไม่มีระบบใด ที่ปลอดภัย 100 % วันดีคืนดี ระบบคอมพิวเตอร์ของท่านอาจเกิดการล่มและไม่สามารถกู้คืนมาได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลากหลาย เช่น อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลเกิดการชำรุด หรือระบบอาจถูกไวรัสที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อนคุกคามร้ายแรง เป็นต้น

 

 



ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท