อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

สวัสดีปีใหม่ 2552 ชาว Blog และท่านผู้อ่านทุกท่าน


King Rama ๙

(คัดมาจาก http://thainews.prd.go.th/newyears.php)

ทรงพระเจริญ

 สวัสดีปีใหม่ 2552 

 'ผมเปิด Blog นี้ ขึ้นมา เพื่อเป็น ส.ค.ส. 2552 สวัสดีปีใหม่ แด่ท่านผู้อ่านและ ชาวบล๊อกทุกท่าน ประเดิมด้วย ส.ค.ส. 2552 และตามด้วย ส.ค.ส. 2551 ขอในหลวง ซึ่งทำไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อความเป็นศิริมงคล  และพรที่พระองค์ท่านพระราชทานมา  และทยอยรวบรวม ข้อคิด ปรัชญา อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต  สำหรับผู้สนใจทุกท่าน 

ขอขอบคุณทุกท่าน ที่ให้ความสนใจ เข้ามาเยี่ยมชมบล๊อกที่ผมเขียน  หลายท่านตั้งคำถาม ถามเข้ามา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจทุกคน บางคำถามอาจไม่สามารถตอบได้ต้องขออภัยด้วย  ผมขอขอบคุณอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับ ผู้ริเริ่ม สังคมแห่งการเรียนรู้ GotoKnow.org อันเป็นประโยชน์แก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง  ท่านได้ทำประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติ สังคมการเรียนรู้

ผมขอถือโอกาสนี้ น้อมนำเอาพรปีใหม่ ที่ในหลวงทรงพระราชทานพรปีใหม่แด่พวกเราชาวไทยมาเป็นสิ่งมงคลสูงสุด สำหรับพวกเรา ตามที่ปรากฎอยู่ตอนท้ายนี้

ในหลวง' พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แด่พสกนิกรชาวไทย[1] 

ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2552 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์สากลสีน้ำตาลอ่อน ผ้าปักพระกระเป๋าสีฟ้าสดใส ฉลองพระองค์ชั้นในเป็นเชิ้ตขาว ทรงผูกเนคไทสีฟ้าอ่อน ประทับบนพระเก้าอี้ ทรงฉายกับคุณทองแดง สุวรรณชาด ที่นั่งอยู่ข้างพระเก้าอี้ และคุณนายแดง แม่ของคุณทองแดง ที่หมอบเฝ้าอยู่อีกข้างหนึ่ง

ฉากหลังของ ส.ค.ส. เป็นสนามหญ้าในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน มีต้นไม้ใหญ่ และต้นชวนชมดอกสีชมพู

มุมบนด้านซ้าย มีตราสัญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ระหว่างตราสัญญลักษณ์ทั้งสอง มีตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า ส.ค.ส. ๒๕๕๒ ใต้ลงมามีข้อความภาษาอังกฤษ Happy New Year 2009

มุมบนด้านขวา มีข้อความเป็นตัวหนังสือพิมพ์ด้วยสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมี...ความสุข...ความเจริญ ด้านล่างขวา มีตัวเลขสีแดง ระบุวันเดือนปีที่ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ว่า 2008 12 17 / 17 : 11

กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ 3 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม

ในกรอบด้านล่าง มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 192231 ธค. 51 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing , D Bramaputra, Publisher

ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่และ ส.ค.ส.พระราชทาน ปี 2552 แก่ปวงชนชาวไทยนั้น คุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทหลังพระเก้าอี้ตลอดเวลา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๒  แก่ประชาชนชาวไทย

เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.วันที่ 31 ธันวาคม 2551 สถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ 2552 แก่พสกนิกรชาวไทย จากวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้

“ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่เราควรจะระลึกถึงกันและอวยพรแก่กันด้วยความปรารถนาดี ก่อนอื่นข้าพเจ้าต้องขอขอบใจทุกท่านเป็นอย่างมากที่ร่วมกันจัดงานพระศพพี่สาวข้าพเจ้าอย่างยิ่งใหญ่ สมพระเกียรติ ทั้งอุตสาหะมาร่วมในงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ด้วยใจภักดี และระลึกถึง กับขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน ให้มีความสุขความเจริญ

ความสุขความเจริญนี้ คือสิ่งที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งของคนเรา แต่ความสุขความเจริญนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยการที่ทุกคนตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท มีสติ รู้ตัว และปฏิญญา รู้คิด กำกับอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ไม่ว่าจะประพฤติปฏิบัติการใด ก็ใช้สติ ปัญญา พิจารณา ไตร่ตรองจนถ้วนถี่ ให้เห็นกระจ่างถึงผลดี ผลเสีย ทั้งใจ กาย ทุกแง่ทุกมุม

ความรู้ ความเข้าใจชัด ถึงผลดี ผลเสีย ย่อมจะทำให้แต่ละคนเล็งเห็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องว่าสิ่งใดควรละเว้น และสิ่งใดควรปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง และยั่งยืน ทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนรวม

ในปีใหม่นี้ จึงขอให้ประชาชนชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท จะคิด จะทำสิ่งใด ให้คิดหน้าคิดหลังให้ดี ให้รอบคอบ ทำให้ดี ให้ถูกต้อง ผลของการคิดดี ทำดีนั้น จะได้ส่งเสริมให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองมีความเรียบร้อย และอยู่เย็นเป็นสุข ดังที่ทุกคน ทุกฝ่าย ตั้งใจปรารถนา

ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเราเคารพบูชา จงอภิบาลรักษาท่านทุกคน ให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากโรค ปราศจากภัย ให้มีความสุขกาย สุขใจ และความสำเร็จ สมหวัง ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ 

ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า นายยม นาคสุข

ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ผู้อ่านทุกท่าน เจริญด้วย ศีล สมาธิ สติ ปัญญา  อันเป็นสิ่งนำท่านไปสู่ความสุข ความสำเร็จ ทุกประการ

ที่มา : http://thainews.prd.go.th/newyears.php

       : http://www.gcc.go.th/gcc/index.php?option=com_content&view=article&id=101:-2552&catid=26:2008-12-08-07-36-59

'ในหลวง' พระราชทานพรปีใหม่ 2551 แด่พสกนิกรชาวไทย[1] 

'ในหลวง' พระราชทานพรปีใหม่แด่พสกนิกรชาวไทยทรงย้ำประเทศมีการเลือกตั้งนับว่าผ่านช่วงหัวเลี้ยวสำคัญอีกขั้น ขอให้ทุกคนช่วยกันประคับประคองบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี ทรงขอบพระทัยที่พสกนิกรเป็นห่วงพระอาการเจ็บป่วยของ'พระพี่นางฯ' พร้อมพระราชทานส.ค.ส.ซึ่งเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์เอง ประทับฉายพระรูปกับคุณทองแดง และเหลนๆ

 

  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ประจำปีพุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2551 ความว่า
บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2551 แล้ว ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุกๆ คน และขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ในน้ำใจไมตรีที่ทุกคน ทุกฝ่าย แสดงให้เห็น ทั้งในคราวที่เจ็บป่วย และในการจัดงานวันเกิดครบ 80 ปี รวมทั้งได้แสดงความวิตกห่วงใยอย่างจริงใจ ในการเจ็บป่วยของพี่สาวข้าพเจ้า
สถานการณ์ของบ้านเมืองเราแต่ปีก่อน และต่อเนื่องมาถึงปีที่แล้ว เป็นอย่าง ก็เป็นที่ทราบกันอยู่แก่ใจ แต่อย่างไรก็ตาม เราได้มีรัฐธรรมนูญ และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว นับว่าประเทศชาติของเราได้ผ่านหัวเลี้ยวสำคัญอีกขั้นหนึ่ง จึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน ที่จะต้องช่วยกับประคับประคองกิจการของบ้านเมือง ให้ดำเนินไปด้วยดี ให้มีความเป็นปึกแผ่นและร่มเย็นเป็นปรกติสุข
ทางที่เราจะช่วยกันได้ ก็คือการทำความคิดให้ถูกตรงและแน่วแน่ จะต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว พยายามโอนอ่อนผ่อนปรนเข้าหากัน ด้วยไมตรีจิตและความเมตตากรุณา อย่าก่อปัญหาและก่อเงื่อนไข อันเป็นเหตุให้เกิดความไม่สงบและความแตกแยก
ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใด ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไป ให้ประเทศชาติอันเป็นที่อยู่ที่อาศัยของเรา ดำรงมั่นคงอยู่ด้วยความผาสุกร่มเย็นตลอดไป
ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยเคารพบูชา จงคุ้มครองรักษาให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย ให้มีความสุขสบาย สุขใจ และประสบความแต่สิ่งที่พึงประสงค์ ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน
 พร ในหลวง 2551
ส่วน ส.ค.ส.ที่ทรงพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยในปีพุทธศักราช 2551 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดปกติขาว ประทับฉายพระรูปกับคุณทองแดง สุวรรณชาด และเหลน จำนวน 4 สุนัข ซึ่งพระราชทานชื่อว่า กันนิ ราชปาลยัม จิปปิปะไร และคอมไบ ตามชื่อพันธุ์ของอินเดีย ที่ใช้เป็นแบบในการปั้นรูปสุนัข ซึ่งเป็นบริวารของพระตรีมูรติ คือ กันนิ เพศเมีย นั่งบนพระเพลา ราชปาลยัม เพศเมีย ยืนด้านขวา จิปปิปะไร เพศผู้ นั่งด้านหน้าใกล้พระบาทขวา และคอมไบ เพศเมีย ยืนด้านซ้าย
ด้านล่างมีข้อความเป็นตัวหนังสือสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีแดง 2007 12 21 16 : 52 มุมบนด้านซ้ายมีตราสัญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ใต้ลงมามีข้อความ ส.ค.ส.2551
มุมบนด้านขวามีตัวหนังสือสีเหลืองว่า แฮปปี้ นิว เยียร์ 2008 (Happy New Year 2008) และตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ 2 แถว รวม 373 หน้า ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม ในกรอบด้านล่าง มีข้อความ ก.ส.9 ปรุง 23 20 10 ธ.ค. 50
พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnachad publishing, D.Bramaputra, Publisherในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่ และ ส.ค.ส.พระราชทานปี 2551 แก่ปวงชนชาวไทยนั้น คุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทตลอดเวลา 

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ 

ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้า นายยม นาคสุข

ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย จงดลบันดาลให้ผู้อ่านทุกท่าน เจริญด้วย ศีล สมาธิ สติ ปัญญา  อันเป็นสิ่งนำท่านไปสู่ความสุข ความสำเร็จ ทุกประการ

สวัสดีครับ

ยม 


หมายเลขบันทึก: 156803เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2008 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

แบบตรวจสอบตนเอง เพื่อการบริหาร-การพัฒนา

ด้วยกรอบแนวคิด มงคล 38 ประการ

 

เวลาผ่านไปเร็วมาก ผ่านปีใหม่ มา 1 เดือน ศิษย์หลายคน อาจจะยังไม่มีการสำรวจตนอง เพื่อนำมาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มั่นคง  แนวคิดตะวันตก จะใช้หลักการ SWOT คือ หาจุดอ่อน จุดแข็ง หาวิกฤต และโอกาส การพัฒนาอยู่เป็นประจำ ทั้งประจำเดือน ประจำไตรมาส ประจำหกเดือน และประจำปี 

คนไทยเรา อยู่ในภูมิประเทศที่สะดวกสบาย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ปราศจากการแข่งขัน หรือสงครามใด ๆ มาช้านาน  แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว เป็นโลกไร้พรมแดน ผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบของทวีปหนึ่ง หรือของประเทศหนึ่งสามารถุแผ่ขยายผลกระทบดังกล่าวมายังประเทศหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว อย่างคาดไม่ถึง

การหมั่นตรวจสอบตนเอง เพื่อพัฒนา จึงเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่จะทำให้ มนุษย์ มีทุนทนมนุษยืที่เข็มแข็งอยู่ตลอดเวลา สามารถเผชิญต่อโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจตนเอง เพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์การบริหาร-การพัฒนาตน โดยใช้กรอบแนวคิด ธรรมที่จะนำชีวิตไปสู่ความสุข ความสำเร็จ ด้วย มงคล 38 ประการ

 

 

มงคล[1] คือแนวทางที่จะนำชีวิตไปสู่ความสุข  ความสำเร็จและความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ว่าคุณธรรมอันที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการ ผู้ใด มีมากประการย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น

 แบบตรวจสอบตนเองนี้ ได้นำเอา ประเด็นมงคล 38 ประการ เฉพาะหัวข้อมาใส่ไว้ ส่วนเนื้อหาสาระของแต่ละมงคลเป็นอย่างไร มีอยู่ตอนท้าย ครับ   วิธีการใชแบบตรวจสอบตนเอง เพื่อการบริหาร-การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  1. ศึกษา ทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด มงคล 38 ประการ ให้เข้าใจ ทุกประการ โดยศึกาได้จากเว็บ http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem00.php
  2. ศึกษาแบบฟอร์ม ให้เข้าใจก่อนทำเครื่องหมายใด ๆ
  3. จากนั้นทำการตรวจสอบตนเอง ตามแบบ ด้วยความซื่อสัตย์ ต่อตนเอง
  4. พิจารณาผลการตรวจว่า มี มงคล อยู่กี่ประการ ไม่มีอยู่กี่ประการ
  5. สิ่งที่มีอยู่ พยายามพัฒนาให้ดี และมีมากยิ่งขึ้น
  6. สิ่งที่ยังไม่มี ให้กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการ ให้มีโดยเร็ว
  7. กำหนดการตรวจซ้ำอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง เช่น ตรวจทุก ๆ เดือน ทุก ๆ ไตรมาส เป็นต้น
  8. โดยเฉพาะก่อนขึ้นปีใหม่ ควรต้องทำ เพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นมงคล มาเพิ่มเติมให้ชีวิต เพื่อกว้าสู่ความสำเร็จ ความสุข ยิ่งขึ้น

 

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศิษย์รักทุกคน ทุกสถาบัน ที่อาจารย์เคยสอน รวมทั้งท่านผู้อ่าน ผู้สนใจ จะได้ประโยชน์จาก การนำแนวคิดนี้ไปใช้ ผมคิดว่า พระพุทธเจ้าของเรา ทรงให้ไว้กับชาวพุทธกว่าสองพันปีแล้ว แต่ยังใช้ได้ดี ครับ

 

 แบบตรวจสอบตนเอง เพื่อการบริหาร-การพัฒนา โดยใช้แนวคิดมงคล 38 ประการ

รายการ มงคล 38 ประการ มี ไม่มี
๑. การไม่คบคนพาล    
๒. การคบบัญฑิต    
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา    
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร    
๕. เคยทำบุญมาก่อน    
๖. การตั้งตนชอบ    
๗. ความเป็นพหูสูต    
๘. การรอบรู้ในศิลปะ    
๙. มีวินัยที่ดี    
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต    
๑๑.การบำรุงบิดามารดา    
๑๒.การสงเคราะห์บุตร    
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา    
๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง    
๑๕.การให้ทาน    
๑๖.การประพฤติธรรม    
๑๗.การสงเคราะห์ญาติ    
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ    
๑๙.ละเว้นจากบาป    
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา    
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย    
๒๒.มีความเคารพ    
๒๓.มีความถ่อมตน    
๒๔.มีความสันโดษ    
๒๕.มีความกตัญญู    
๒๖.การฟังธรรมตามกาล    
๒๗.มีความอดทน    
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย    
๒๙.การได้เห็นสมณะ    
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล    
๓๑.การบำเพ็ญตบะ    
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์    
๓๓.การเห็นอริยสัจ    
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน    
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม    
๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก    
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส    
๓๘.มีจิตเกษม    

 

บทความ จาก มติชน ประชาชื่น น่าสนใจดีจริง

ผมได้อ่านข่าว มติชน เห็นบทความหนึ่ง ในมิตชน "ประชาชื่น" เขียนได้ดีครับ เกี่ยวกับเรื่อง มณฑลแห่งความสุข จึงนำมาแบ่งบัน ณ ที่นี้ ซึ่งท่านสามารถหาอ่านได้จาก น.ส.พ.มติชน ฉบับวันที่ 6 มี.ค. 2551 หน้าที่ 20

พุทธมณฑล มณฑลแห่งสุขภาวะ ชุมชนไทยที่มีความสุข[1]

 

 

 

สำหรับคนผ่านทาง "พุทธมณฑล" อาจจะเป็นสถานที่น่าประทับใจ ด้วยนอกจากเป็นถิ่นที่ตั้งของสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพุทธศาสนาที่งามสง่า น่าเลื่อมใส และเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนพิธีในวาระต่างๆ แล้ว

พื้นที่นี้ยังนับว่าเป็น "เมืองใกล้กรุงเทพฯ" ที่ยังมีความรื่นรมย์ น่าอยู่ มีพื้นที่สีเขียว คู คลองสะอาด ทุ่งข้าว นาบัว และสวนผลไม้อยู่เป็นจำนวนมาก

"ทว่า สำหรับเจ้าของพื้นที่ที่เกิดและเติบโตมาด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารในถิ่นนี้ พุทธมณฑลมีความหมายต่อชีวิตของพวกเขาลึกซึ้งกว่านั้นมากนัก"

ภายในระยะเวลา 10-20 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาคเกษตรกรรมเป็นพื้นที่ราชการ ศาสนสถาน สถานศึกษา ร้านค้า โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร สนามกอล์ฟ ฯลฯ อันเกี่ยวเนื่องจากการขยายตัวของกรุงเทพฯ ส่งผลให้พื้นที่สีเขียวลดลง

จากคู คลอง กลายเป็นถนน ทุ่งข้าว นาบัวค่อยๆ หายไป ขณะที่ดึงดูดเอาคนต่างถิ่นเข้ามาอยู่อาศัย ทำงาน เล่าเรียนเป็นประชากรแฝงมากขึ้นเรื่อยๆ

"สะท้อนว่าอำเภอพุทธมณฑล ซึ่งจัดตั้งโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539 มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมและทางการย้ายถิ่นของประชากรอย่างรวดเร็ว"

แน่นอน ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิต ความรู้สึกนึกคิดของเจ้าของถิ่นอย่างไม่อาจเลี่ยงได้

จากการสำรวจความทุกข์ความสุขของคนพุทธมณฑล ท่ามกลางสภาวะของการเปลี่ยนแปลง ผ่านการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้นำและชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มานานกว่ายี่สิบปี โดย "ดร.สิทธิพงษ์ ดิลกวณิช" คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อกลางปี 2550 นอกจากได้เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงทางพื้นที่แล้ว ยังได้ข้อมูลน่าสนใจสองกลุ่ม

"คือ ทุกข์สุขของคนในครั้งอดีต และทุกข์สุขของคนในยุคปัจจุบันของชุมชนแห่งนี้"

นั่นคือ ความทุกข์ของคนพุทธมณฑลในวันเก่าๆ มีเพียงการเดินทางที่ยากลำบาก เพราะถนนหนทางไม่สะดวก จำนวนรถโดยสารน้อย การเดินทางด้วยเรือก็มีปัญหาในฤดูแล้ง

"ขณะที่ความสุขของพวกเขาคือ คูคลองที่ใสสะอาด ปลาชุม ครอบครัวอบอุ่นเพราะสมาชิกอยู่กันพร้อมหน้า และการที่ผู้คนช่วยเหลือเจือจานกัน"

 



มาถึงสมัยปัจจุบัน คนพุทธมณฑลกลับต้องเผชิญความทุกข์ในเรื่องมลพิษต่างๆ น้ำเน่า ขยะ อากาศเสีย จราจรติดขัด ความไม่ไว้ใจกันระหว่างคนที่อยู่เดิมกับคนย้ายมาอยู่ใหม่ การทะเลาะวิวาท ลักทรัพย์ ยาเสพติด การโกงค่าแรง ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ความมีน้ำใจลดลงขณะที่ดำรงชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ที่ดูจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนความสุขในยุคนี้ ได้แก่ ความสะดวกสบายเรื่องถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงความภาคภูมิใจในสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพุทธศาสนา คือ "พุทธมณฑล" และการได้มีโอกาสระลึกถึงความสุขครั้งอดีต คือ ภาพชุมชนเดิมที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร ผู้คนมีน้ำใจต่อกัน ก็ถือเป็นความสุขของคนยุคนี้ด้วย

และสิ่งที่เป็นความปรารถนาของผู้นำและชาวบ้านที่พุทธมณฑลในเวลานี้ก็คือ ยังอยากให้มีพื้นที่สีเขียวของภาคเกษตรกรรมหรือปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างๆ และอยากกลับไปมีวิถีชีวิตเช่นครั้งอดีตที่ผู้คนเอื้ออาทรต่อกัน

ขณะที่งานวิจัยเรื่อง การสำรวจเพื่อพัฒนาชุมชนพุทธมณฑล โดย "ประภา คงปัญญา" สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งศึกษาในภาพกว้างโดยใช้วิธีสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่างชายหญิงอายุ 15 ปีขึ้นไป ทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ จำนวน 1,000 ราย เมื่อเดือนกันยายน 2550

"พบว่าคนพุทธมณฑลเห็นว่าชุมชนของเขามีความอยู่เย็นเป็นสุขกว่ากรุงเทพฯ ผู้คนที่นี่มีความสุข มีความพึงพอใจในชีวิต มีอิสระทางความคิด และยังมีความผูกพันกับชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งของชุมชนแห่งนี้"

อย่างไรก็ดี การสำรวจนี้พบว่าทรรศนะในการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนค่อนข้างต่ำ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังยังมีไม่มากนัก รวมถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความรู้สึกว่ามีมิตรแท้ รู้สึกว่ามีคนพร้อมช่วยเหลือเมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในชีวิต รวมถึงความสุขกับเพื่อนบ้านที่ไม่สูงนัก นับเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนภาพของการปรับเปลี่ยนในสังคม

1 

1 

%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%20%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%8a%e0%b8%99%20 

ที่สำคัญ กลุ่มเยาวชนดูจะมีความสุขในชีวิตน้อยกว่าผู้ใหญ่ ขณะที่คนมีการศึกษาน้อยก็ดูจะมีความสุขมากกว่าคนมีการศึกษาสูง และน่าสนใจว่าเกษตรกร กลับเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความสุขและความเป็นอิสระทางความคิดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ

จากมุมมองนักวิชาการทั้งสองคน เมื่อนำความสุขตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาร่วมวิเคราะห์ดู (ดูภาพประกอบ) จะเห็นว่าความสุขของชาวพุทธมณฑลยังคงอยู่ที่ระดับพื้นฐาน คือ ระดับที่ 1 และ 2 เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะความสุขจากการเสพวัตถุ ซึ่งถือว่ามีความยั่งยืนน้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะพัฒนาให้คนมีความสุขในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งมีความยั่งยืนมากกว่า คือ ในระดับที่ 3 สุขจากการกระทำที่สร้างสรรค์ หรือระดับที่ 4 สุขจากจิตใจที่เป็นบุญกุศล เช่น การสร้างจิตสาธารณะ สร้างความรู้สึกถึงความเป็นชุมชน ร่วมพัฒนาธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ก็มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง

เพราะส่วนใหญ่คนพุทธมณฑลยังมองว่าตนเองมีคุณธรรม จิตใจสงบ มั่นคง ไม่ถูกกระทบง่าย ทั้งยังอยู่รวมกันอย่างมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

แต่โจทย์สำคัญก็คือ จะเริ่มต้นอย่างไร เริ่มที่ใคร ความสุขของคนในชุมชนนี้จะเพิ่มมากขึ้นและพัฒนาไปเป็นลำดับ พุทธมณฑลจะเป็นมณฑลแห่งสุขภาวะได้หรือไม่ ?

งานวิจัยทั้งสองนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาเบื้องต้นเพื่อพัฒนาสุขภาวะและชุมชนเรียนรู้จิตตปัญญาอย่างมีส่วนร่วม สนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งถือเป็นก้าวเล็กๆ ของความร่วมมือกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่ลงทุนกับการพัฒนามนุษย์เพื่อสุขภาวะ ที่ "ดร.สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ" สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และ "ดร. อนุชาติ พวงสำลี" ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันขับเคลื่อนมา ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2549

ดังนั้น นอกจากการนำเสนอผลงานวิจัยเหล่านี้แล้ว คณะทำงานยังได้เชิญผู้นำชุมชนในอำเภอพุทธมณฑล และผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาร่วมรับทราบผลงานวิจัย และพูดคุยกันเพื่อหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน เมื่อเร็วๆ นี้

นักวิชาการกระตุ้นความท้าทายให้แก่ผู้นำชุมชน ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหารือกันในระดับนโยบาย และเมื่อทุกคนเปิดใจว่าต้องการชุมชนที่มีความสุขอย่างยั่งยืนเหมือนกัน ในที่สุด ก็ได้ข้อเสนอแนะเป็นเสียงเดียวกันว่า

"การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในชุมชนจะต้องพัฒนาที่คน"

โดยเน้นที่สร้างสำนึกจิตสาธารณะ ความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน และสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงามให้คงอยู่ โดยพุ่งเป้าไปที่เด็กๆ ซึ่งสามารถแตกประเด็นการพัฒนาได้อีกมากมาย ทั้งในส่วนครอบครัว โรงเรียน และชุมชน

"ดร.สายฤดี วรกิจโภคาท" ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในผู้ร่วมงาน ได้เสนอว่า เมืองไทยต้องทำฐานข้อมูลเรื่องเด็กให้สมบูรณ์กว่านี้ และคนทำงานระดับพื้นที่อย่าง อบต.หรือผู้นำชุมชน ควรมีความเข้าใจแนวคิดการพัฒนาเด็กโดยเน้นการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ลดการแข่งขัน รวมถึงสร้างวิธีทำงานแบบอาสาสมัครเพื่อช่วยภาครัฐขับเคลื่อนการทำงาน

การเริ่มต้นก้าวแรกในเวทีประชุมวันนั้น ยังไม่ได้ตัวกิจกรรมที่จะเสนอเป็นนโยบาย หรือกำหนดว่าใครจะเป็นเจ้าของเรื่องชัดเจน

ทว่า คำถามธรรมดาๆ ที่กล่าวฝากไว้ในที่ประชุมจาก "พระครรชิต คุณวโร" วัดญาณเวศกวัน ศูนย์รวมจิตใจอีกแห่งหนึ่งของชาวนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง น่าจะเป็นการทบทวนตนเองที่ดีว่าจะมีส่วนร่วมได้เพียงใด ไม่ว่าใครคนนั้นจะเป็น นายก อบต. นักวิชาการ ครู นักธุรกิจ เกษตรกร แพทย์ ข้าราชการบำนาญ หรือชาวบ้าน

คำถามนั้นคือ "เรามีความเชื่อมั่นไหมที่จะทำให้พุทธมณฑลมีความสุข ถ้าความสุขคือความดีงาม เชื่อมั่นไหมที่จะนำความดีงามหรือความสุขนั้นเป็นเป้าหมายชีวิต ?"

นี่คือความพยายามก้าวเล็กๆ ที่พุทธมณฑล คงเป็นก้าวแรกของการเดินทางไกลที่มีเป้าหมายงดงาม เล่ามาวันนี้ไม่ได้ต้องการเสนอคำตอบของการพัฒนา แต่เพราะอยากเสนอเป็นข้อมูลให้หลายฝ่ายที่ขับเคลื่อนการ "อยู่ดี มีสุข" ของประชาชนไทย

"ได้โปรดพิจารณา"

ทำบุญ ทั้งปี 2552 เป็นศิริมงคล

การทำบุญทำกุศลตามหลักพระพุทธศาสนาเรียกว่า "บุญกิริยาวัตถุ" มีอยู่ 10 ประการ คือ

  1. ทานมัย ได้แก่ การทำบุญด้วยการให้เงิน สิ่งของ ความรู้ และหรือ อภัย
  2. สีลมัย ได้แก่ การทำบุญด้วยการรักษาศีล มีความประพฤติดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งทางกาย วาจา และใจ
  3. ภาวนามัย ได้แก่ การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิภาวนา
  4. อปจายนมัย ได้แก่ การประพฤติอ่อนน้อม
  5. เวยยาวัจจมัย ได้แก่ การช่วยเหลือ ขวนขวาย รับใช้
  6. ปัตติทานมัย ได้แก่ การเฉลี่ยความดีให้แก่ผู้อื่น 
  7.  ปัตตานุโมทนามัย ได้แก่ การแสดงความยินดีเมื่อได้ทราบว่า ผู้อื่นกระทำความดี
  8. ธัมมัสสวนมัย ได้แก่ การฟังธรรม
  9. ธัมมเทสนามัย ได้แก่ การสั่งสอนธรรม
  10. ทิฏฐุขุกัมม์ ได้แก่ การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม โดยบุญกิริยาทั้งสิบประการดังกล่าวอาจจัดรวมเป็น 3 กลุ่มใหญ่คือ ทานมัย สีลมัย และ ภาวนามัย

(http://www.kapook.com/content/publish/article_16789.shtml., Jan., 7, 2008)

 

ออกกำลังสมอง ก่อนสมองจะเสื่อม

คอลัมน์ ส่องโรค ไขสุขภาพ

โดย ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ

 

สมองก็เหมือนร่างกายที่ต้องการการออกกำลังให้แข็งแรง คล่องแคล่ว ฉับไว โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะการทำงานของสมองเสื่อมลงจนอาจเกิดภาวะสมองเสื่อม สูญเสียความทรงจำ หรือเกิดโรคอัลไซเมอร์ ในประเทศไทยพบว่าเมื่อปี 2548 มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสูงถึง 229,1000 คน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 450,200 คนในอีก 20 ปีข้างหน้า การออกกำลังสมอง หรือ "นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์" (Neurobics Exercise) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยได้

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทิกา ทิวชาชาติ จากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกเล่าถึงถึงวิธีการออกกำลังสมองว่า การออกกำลังสมองเปรียบเทียบได้กับการออกกำลังของร่างกาย ที่จะต้องเคลื่อนไหวเพื่อใช้กล้ามเนื้อหลายๆ ส่วนให้ทำงานเชื่อมโยงกัน เมื่อฝึกออกกำลังสมองบ่อยๆ สมองจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า นิวโรโทรฟินส์ (Neurotrophins) ที่เปรียบเหมือน "อาหารสมอง" ที่ทำให้เซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ "เดนไดรต์" (Dendrite) ที่เชื่อมระหว่างเซลล์ประสาททำงานดีขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เนื้อเซลล์เจริญเติบโต และเซลล์สมองแข็งแรง

"เมื่อเซลล์สมองส่วนใหญ่แข็งแรง ก็จะทำให้เกิด "พุทธิปัญญา" (Cognitive Function) ที่หมายถึงความจำ สมาธิ การรับรู้ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออก รวมไปถึง "การทำงานของสมองระดับสูง" (Executive Function) คือ การคิด แก้ปัญหา การตัดสินใจ และการวางแผนที่ดีขึ้น ทำให้การทำงานของสมองยังคงประสิทธิภาพดี แข็งแรง และชะลอความเสื่อม เรียกง่าย ๆ ว่า "สมองฟิต" เหมือนการออกกำลังให้ร่างกายนั่นแหล่ะ"

สำหรับหลักการของการออกกำลังสมอง หรือนิวโรบิกส์ เอ๊กเซอร์ไซส์เกิดจากการกระตุ้นให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory Organs) อันได้แก่ การได้ยิน ได้มองเห็น การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส รวมไปถึงส่วนสำคัญส่วนที่ 6 คือ ส่วนของ "อารมณ์" (Emotional Sense) ได้ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันเดิมของเราเป็นตัวช่วย เพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีการไปจากเดิม

ยกตัวอย่างเช่น จากที่เคยชินกับการใช้มือขวาซึ่งเป็นข้างที่ถนัดหยิบจับทุกอย่าง ก็เปลี่ยนมาใช้มือซ้ายทำแทน เนื่องจากพฤติกรรมและการรับรู้ต่างๆ เกิดจากการทำงานประสานกันระหว่างสมองซีกซ้ายและขวา (อ่านต่อพรุ่งนี้)

ที่มา :

น.ส.พ.มติชนวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11031หน้า 10

"สัญญาณเตือนภัย ความไม่มั่นคงในชีวิตคู่" 
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน
ในบล็อก "แสงสว่างเพื่อเธอนั้น"  ผมได้นำเสนอสาระเกี่ยวกับ หนทางแห่งความสำเร็จ หนทางหายนะ ของสถาบันครอบครัว เริ่มจากความไม่มั่นคงในชีวิตคู่  นำไปสู่ความไม่มั่นคงในสถาบันครอบครัว เพื่อเป็นกรแบ่งบันความรู้แก่ศิษย์ นิสิต นักศึกษา แรงงานสตรี คู่หนุ่มสาว และเธอผู้น่าสงสารในสถานสงเคราะห์หญิงฯ เพื่อเป็นธรรมะทาน  ธรรมะกาย ธรรมะใจ ให้ประโยชน์กับสังคม ตามอุดมการณ์
ในบันทึกนี้ ผมได้เขียนเรื่อง "สัญญาณเตือนภัย ความไม่มั่นคงในชีวิตคู่"  สาเหตุเป็นเหตุต้องเลิกลากัน และเป็นเหตุให้สถาบันครอบครัว ล่มสลาย คิดว่ามีดังนี้
  1. ปัญหาความหวาดระแวงต่อกันและกัน สาเหตุที่ทำให้เกิดความหวาดระแวง เพราะนิสัยใจแคบ อิจฉาริษยา บางครอบครัว อิจฉาแม้กระทั้งลูกหลาน เด็ก เพราะคนที่รักไปเอ็นดูลูกหลานมากกว่า การหวาดระแวงมีพื้นฐานมาจากวัยเด็กถูกเลี้ยงดูมาไม่ถูกต้องสมวัย ขาดความรัก ไว้วางใจ ขาดความอบอุ่นในครอบครัวมาก่อน เมื่อเติบโตขึ้นมาจึงเป็นคนมีนิสัยเช่นนี้ ซึ่งถือว่า อันตรายต่อความรัก ความเมตตา ปราณี  ความหวาดระแวง ทำใหคน ๆ นั้นเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญา มองโลกในแง่ไม่โสภาเท่าที่จะเป็น หากไม่ปรับปรุงแก้ไข จะสร้างความทุกข์ให้แก่ตน ให้แก่ผู้อื่น ผลกรรมก็คือชีวิตบั้นปลายจะพบกับความทุกข์เข็ญ ความยากจน โรคร้ายมาเยือน แนวทางแก้ไขและป้องกันก็คือ การเพิ่มธรรมะ ห้าประการ การมีเมตตา กรุณา ปิยะวาจา สัจจะ การให้ทาน ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง คิดเชิงบวกให้มาก  ทำดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  เปลี่ยนมุมมองใหม่ คนทุกคนคือเพื่อนมนุษย์ เกิดแก่เจ็บตายร่วมกัน  จงช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
  2. ปัญหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวเป็นคนไม่ทันโลก ไม่รอบรู้ ทำตัวตกต่ำทางปัญญา  เพราะคู่บุญคู่ชีวิต คนรอบข้างเขาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ตนเองไม่พัฒนา ปล่อยตัวกลายเป็นคนล้าหลัง ก็เป็นหายนะ เกิดความไม่สมดุลย์ ทางปัญญา คู่ครองที่มีความผาสุขยั่งยืน ไม่ควรมีความแตกต่างกันมาก ในด้านศีลธรรม จรรณยา ด้านความรู้ ด้านฐานะ และวัย เป็นต้น แนวทางแก้ไขและป้องกันก็คือ การใฝ่รู้ ฝึกตนให้เป็นคนรอบรู้ รักการอ่าน พัฒนาด้านร่างกาย ออกกำลังกายทุกวัน และการพัฒนาจิต  ฝึกจิตสมาธิ ให้มีสติ มีปัญญา ครับ
  3. ปัญหาไม่มีคุณธรรม  จริยธรรมตกต่ำ เพราะในการดำเนินชีวิต ล้วนมีธรรมะเป็นแนวทางในการปฏิบัติ  ธรรมะที่ทำให้งาม คือ ขันติคือการอดทน  โสรัจจะ คือความสงบเสงี่ยม หากใครปฏิบัติได้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีสง่าราศรี เป็นผู้งดงามเป็นต้น  เรียกว่า ทุกย่างกว้า ล้วนมีธรรม ธรรมของการเป็นมิตรแท้  มิตรแท้ไม่ทิ้งเพื่อนยามยาก คู่แท้ไม่ทิ้งกันยามยาก ให้กำลังใจต่อกันและกันต่อเนื่อง  เหมือนทองแท้ย่อมเป็นทองแท้  รักษาและปฏิบัติธรรมดุจเกลือรักษาความเค็ม ฉะนั้นหากไร้ซึ่งคุณธรรมก็ยากที่จะเกิดการพัฒนาผาสุข เรียกว่า พัฒนาอะไรก็ติด ถ้าจิตไม่พัฒนา  แนวทางในการแก้ไขความไม่มีคุณธรรม ก็คือ ต้องหมั่นศึกษาและปฏิบัติตาม มงคล 38 ประการ และปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่อง
  4. ปัญหาความเบื่อหน่ายต่อกันและกัน ไม่รู้จักบริหารความรักให้พัฒนาถาวร   คนรักกัน แค่บอกรัก ไม่เพียงพอ ไม่สามารถนำไปสู่ความสุข ความยั่งยืนได้  เมื่อรัก ก็ต้องมีการบริหารจัดการ รู้จักการพัฒนาการของความรัก รู้จักจังหวะการย่างกว้า  ความเบื่อหน่ายต่อกันเกิดขึ้นเพราะพื้นฐานของคน เป็นคนขี้เบื่อได้รับการเลี้ยงดูมาผิดวิธี ทำให้รักคนอื่นไม่เป็น  สมาธิสั้น รักง่ายหน่ายเร็ว ไม่มีการพัฒนาตนให้ดีขึ้น คนเบื่อง่ายหน่ายเร็ว เป็นคนไม่มีศีลธรรม คุณธรรม ทำให้เป็นคนน่าเบื่อ ไม่รู้จักเมตตา กรุณา ปราณี ไม่รู้จักศีล ข้อห้าม บาปเจ็ดประการ  ความเบื่อหน่ายเพราะขาดความอดทน ขาดจริยธรรมในการปฏิบัติต่อกัน และเป็นหายนะของความรัก และสถาบันครอบครัว  แนวทางแก้ไขป้องกันความเบื่อหน่ายก็คือ ต้องมีขันติ มีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม และมีความเมตตา กรุณา ปิยะวาจา
  5. ปัญหาความเห็นแก่ตัว ไม่มีความอดทน  งง ไม่เสียสละ เอาแต่ใจตนเองเป็นใหญ่ ไร้มนุษยธรรม เอาตัวรอดแต่ฝ่ายเดียว ได้หน้าลืมหลัง ทำให้เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อม  ไม่ไหนก็มีแต่คนเกลียดชัง ถูกรอบทำร้าย เบื่อหน่ายเร็ว อายุสั้น  ความเห็นแก่ตัว ความไม่อดทน เพราะขาดการฝึก การฝืน การข่มใจตน  ขาดธรรมะ ไม่รู้จักสำรวจตรวจสอบตนเอง ไม่รู้จักพัฒนา  ก็นำพาความเสื่อมมายังตนแลคนรอบข้าง  แนวทางป้องกันและแก้ไขก็คือ การเพิ่มความเมตตา กรุณา ปิยะวาจา อุเบกขา การให้ทาน  การปฏิตนให้อยู่ในมงคล 38 ประการ
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นธรรมะประการหนึ่ง  อ่านมา คิดมา ก็เผื่อแผ่เมตตามา  เพื่อไว้เตือนกันปฏิบัติต่อกัน และไว้สอนลูกหลานให้เป็นคนดี ให้เป็นผู้นำครอบครัวที่ดี  การปฏิบัติธรรม ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติ  ขอให้พระธรรม คุ้มครองท่านผูอ่าน ให้มีความสุขมากด้วยศีล สมาธิ สติปัญญา ครับ
สวัสดี

วิธีการตัดสินใจแบบชาวพุทธ

โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

 



เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ หรือเอิร์ลรัสเซลล์ ที่สาม ผู้เขียนหนังสือ A History of Western Philosophy ที่เป็นหนังสือต้นแบบของตำราปรัชญาทั่วไป ได้กล่าวว่า

"พระพุทธศาสนาเป็นการผสมผสานกันเข้าระหว่างปรัชญาแบบการคาดการณ์และปรัชญาแบบวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาสนับสนุนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และดำเนินตามวิธีนั้นไปสู่เป้าหมายสุดท้าย ซึ่งอาจจะเรียกว่าวิธีการแบบเหตุผล...พระพุทธศาสนาได้ลงมือทำในที่ที่วิทยาศาสตร์ไม่อาจทำได้ เพราะว่าความจำกัดของสมรรถนะทางเครื่องมือแสวงหาความจริงของวิทยาศาสตร์ ชัยชนะของพระพุทธศาสนาคือ การชนะใจตนเอง...ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะตั้งข้อสมมติฐานว่า โลกนี้มีการเริ่มต้น แนวความคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องมีการเริ่มต้นเกิดขึ้นจากความด้วยทางจินตนาการของพวกเราเอง" แปลโดยเสฐียรพงษ์ วรรณปก

วิธีการตัดสินใจแบบชาวพุทธคือ การตัดสินใจด้วยเหตุผล แต่เนื่องจากมนุษย์เรานั้นมีอารมณ์ด้วย ซึ่ง เดวิด ฮูม นักปรัชญาคนสำคัญของทางตะวันตกได้เน้นว่า "จะเป็นนักปรัชญาก็เป็นเถิด แต่ต้องเป็นมนุษย์ด้วย" ดังนั้น การตัดสินใจของคนเราโดยทั่วไปแล้วจึงไม่มีหลักเหตุผลล้วนๆ หากแต่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้าปะปนอยู่ด้วยไม่มากก็น้อย

ทีนี้เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกนั้นมันมีขึ้นมีลง มีเกิดมีดับ อาทิ ความรัก ความชัง ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ฯลฯ ดังนั้น การตัดสินใจที่ใช้อารมณ์มากเกินไปก็เป็นอันตราย เนื่องจากอารมณ์นั้นแปรปรวนได้ เช่น วันนี้รักเธอเหลือเกิน แต่เดือนหน้าอาจจะเกลียดเธอเหลือเกินก็ได้!

ดังนั้น พื้นฐานของการตัดสินใจแบบชาวพุทธก็ย่อมขึ้นอยู่กับพระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และศาสนาพุทธนั้นมีคำสั่งสอนสำหรับคนทุกคน ทุกฐานะ

ตัวอย่างเช่น คำสั่งสอนสำหรับผู้ครองเพศบรรพชิต (พระภิกษุ) คำสั่งสอนสำหรับคนทั่วไปคือฆราวาสที่ไม่ใช่พระ คือคนที่เรียกเป็นภาษาทางการว่า "ผู้ครองเรือน" คือคนที่มีลูก มีผัว มีเมียนั่นแหละ

หลักการตัดสินใจของชาวพุทธควรยึดที่หนังสือนวโกวาทซึ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษาไทยจำนวนเป็นล้านเล่ม (หนังสือภาษาไทยที่ตีพิมพ์มากที่สุดในโลก) ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรวบรวมขึ้นจากพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2442 เมื่อครั้งยังประทับอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม

หนังสือนวโกวาทมี 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของพระภิกษุ คือ วินัยบัญญัติ หรือกฎหมายของภิกษุ ส่วนที่ 2 เป็นธรรมวิภาค คือ ธรรมที่ต้องแยกคัดจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น ธรรมที่มี 2 ข้อย่อย รวมไว้หมวดหนึ่งมี 3 ข้อย่อยรวมไว้หมวดหนึ่ง เพื่อจะได้จดจำได้ง่าย และส่วนที่ 3 เป็นส่วนของชาวบ้านธรรมดาที่มีครอบครัวทั้งหลายซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ คือ คิหิปฏิบัติ เป็นหลักปฏิบัติและหลักควรเว้นสำหรับคฤหัสถ์หรือชาวบ้านทั่วไป เช่น ความสุขของคฤหัสถ์, อบายมุข เป็นต้น

ในคิหิปฏิบัตินี่แหละที่กล่าวถึงความสุขของคนธรรมดาสามัญทั่วไป เพราะว่าความสุขนั้นเป็นวัตถุประสงค์ยอดปรารถนาของคนทุกคน แม้แต่อริสโตเติลปราชญ์เอกของกรีซโบราณซึ่งเป็นคนที่อยู่ร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้ายังสอนไว้ในวิชาจริยศาสตร์เลยว่า "ความสุข (Happiness) คือ ความดีอันสูงสุด"

ดังนั้น การที่ชาวพุทธจะตัดสินใจในเรื่องใดก็ตาม จึงควรนึกถึงหลักการการตัดสินใจที่ทำให้ตัวของเราเองและครอบครัวมีความสุข นี่ว่ากันตามหลักการ ตามเหตุผล

คราวนี้ก็มาดูว่า ที่พระพุทธเจ้าสอนว่า "ความสุขของชาวบ้านคืออะไร?"

มี 4 ข้อ สั้นๆ ง่ายๆ คือ

1.สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ ข้อนี้ไม่ต้องอธิบาย เพราะชัดแจ้งในตัวอยู่แล้ว

2.สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค ข้อนี้สำคัญเพราะว่าบางคนมีความสุข (ปลอมๆ) จากการที่มีทรัพย์แต่ไม่ยอมใช้ ถึงขนาดตายด้วยความอดยากขาดอาหาร เช่น นายโฮวาร์ด ฮิวส์ มหาเศรษฐีของอเมริกัน เป็นต้น

3.สุขเกิดแต่ความไม่เป็นหนี้ ข้อนี้คนไทยรู้ดีอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีบางคนจะลอยหน้าลอยตาอ้างว่าคนที่เป็นหนี้นั้นมีเครดิตดี (แข็งใจพูดทั้งนั้นแหละ) โปรดกรุณาจำพุทธภาษิตข้อนี้ไว้ให้แม่น "อิณาทานังทุกขังโลเก" แปลว่า การเป็นหนี้คือทุกข์หนักที่สุดของโลก

4.สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ข้อสุดท้ายนี้สำคัญที่สุด หากผิดหลักการข้อสุดท้ายนี้แล้วก็พังหมด

ตัวอย่างการขายยาบ้านั่นนะเป็นการงานที่มีโทษถึงจะมีเงิน ใช้เงิน ไม่เป็นหนี้ แต่ในที่สุดก็ต้องติดคุกถูกยึดทรัพย์

สังเกตดูแล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าข้อสุดท้ายมักสำคัญที่สุด ดูตัวอย่างศีลห้าข้อสุดท้ายที่ห้ามการเสพของมึนเมา เพราะว่าเมื่อเสพของมึนเมาแล้วจะทำให้ครองสติไม่อยู่ จึงสามารถละเมิดศีลทั้งสี่ข้อก่อนหน้า คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และพูดปดมดเท็จได้สบายไปเลย

คราวนี้มาพูดถึงเรื่องอารมณ์ความรู้สึกในการตัดสินใจแบบชาวพุทธบ้าง เรื่องอารมณ์นี่ยังไงๆ ก็ต้องมีกันทุกคน หากจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจก็ต้องตระหนักในผลที่ตามมาด้วย ต้องชั่งน้ำหนักดูให้ดี เมื่อเห็นว่าพอรับได้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร

ยกตัวอย่างคนหนุ่มสาวอยู่บ้านกันพ่อกับแม่แล้วไม่มีความสุขอยากออกไปหาที่อยู่เอง จะได้เป็นอิสระ มีงานปาร์ตี้เฮฮากันได้ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเช้าได้โดยไม่โดนแม่ด่า หากมีงานสุจริตทำแล้วมีรายได้พอ ไม่เป็นหนี้ก็อาจแยกตัวไปหาที่อยู่เองก็ได้โดยยอมรับว่าความสะดวกสบายส่วนตัวก็ต้องลดน้อยลง ตัดสินใจได้อย่างนี้ก็นับว่าใช้ได้

แต่หากการออกไปหาที่อยู่เองในขณะไม่มีงานทำ หรือทำงานแล้วแต่เงินไม่พอใช้ หากแยกตัวออกไปอยู่เองก็ต้องเริ่มสร้างหนี้ขึ้นอย่างแน่นอน แบบนี้หากตัดสินใจด้วยอารมณ์เพราะอยากจัดงานปาร์ตี้บ่อยๆ ได้โดยยอมเป็นหนี้

แบบนี้ก็คงไม่ดีแน

ที่มา :  น.ส.พ.มติชน วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11043 หน้า 6

 

 

เพื่อความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักกรรม

11 หลักอริยสัจ 4 กับกรรม


 

คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ

โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

พระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "กรรมวาท" (กล่าวหรือสอนเรื่องกรรม) ทรงเรียกพระองค์เองในบางครั้งว่า "กรรมวาที" (ผู้สั่งสอนเรื่องกรรม)

นั่นก็หมายความว่า คำสอนของพระพุทธองค์ไม่ว่าจะสอนเรื่องอะไร ทรงเน้นไปที่ "กรรม" ทั้งนั้น

กรรม คือ การกระทำด้วยเจตจำนงอันแน่วแน่ ดังที่เคยบอกให้ทราบแล้วนั่นแหละครับ

พูดให้เข้าใจง่ายก็ว่า เราอยากจะได้อะไร อยากจะเป็นอะไร ต้องทำเอาเอง วิถีชีวิตของเราจะไปดี หรือไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับ "กรรม" (การกระทำ) ของเราเอง ถ้าเราทำเหตุปัจจัยไว้ไม่ดี ผลก็ออกมาไม่ดี ถ้าเราทำเหตุปัจจัยไว้ดี ผลก็ออกมาดี ดังพุทธวจนะว่า

หว่านพืชชนิดใด ย่อมได้ผลชนิดนั้น

ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

ในพระสูตรหลายแห่ง ได้พูดถึงคนจำนวนมากชอบแต่จะอ้อนวอน บวงสรวงโดยไม่คิดที่จะกระทำ อย่างเช่นพวกคนอินเดียสมัยโบราณที่เชื่อว่า พระเจ้าของพวกเขาจะช่วยดลบันดาลให้ดังปรารถนา จึงพากันสวดอ้อนวอนบ้าง ทำพิธีเซ่นสรวงอย่างใหญ่โตบ้าง

พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า การกระทำเช่นนั้น ไม่ช่วยให้คนพวกนั้นเข้าได้รับสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ เพราะพวกเขามิได้ "ทำ" เหตุปัจจัยที่จะอำนวยผลที่ต้องการ พระองค์ทรงยกอุปมาอุปไมยมาเปรียบเทียบให้ฟังว่า

กระทาชายคนหนึ่งปรารถนาจะข้ามฟาก แทนที่จะเสาะแสวงหาเรือหรือแพที่จะพาเขาข้ามฝั่งได้ก็ไม่ทำ กลับนอนคลุมโปงอยู่บนฝั่งนี้เสีย กระทาชายนายนี้ก็ไม่มีวันจะข้ามฝั่งได้

กระทาชายอีกนายหนึ่ง ปรารถนาจะข้ามฝั่งเช่นกัน ลงนั่งประนมมือ สวดอ้อนวอนขอร้องให้ฝั่งโน้นมาหาเขา มารับเขาข้ามน้ำ ต่อให้สวดจนคอแหบคอแห้ง กระทาชายนายนี้ก็ไม่สามารถข้ามฝั่งได้เช่นเดียวกัน

ทุกอย่างเราต้อง "ทำ" เอาเอง ด้วยความพากเพียรของเรา ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่จะอำนวยผลในทางที่ต้องการ มิใช่หวังแต่จะได้ผล โดยไม่สร้างเหตุปัจจัยที่สอดคล้อง หวังอย่างนี้แหละครับที่โบราณไทยเราเรียกว่า "หวังลมๆ แล้งๆ"

เราหวังจะกินมะม่วงอกร่องที่เอร็ดอร่อย วิธีจะให้สมหวังอย่างง่ายๆ ก็ไปหาซื้อมันมาจากตลาด เลือกเอาที่ดีที่สุด หวานที่สุดตามต้องการ อย่างนี้รับรองได้กินแน่นอน

อีกวิธีหนึ่ง (ยากหน่อย ใช้เวลานานหน่อย) คือไปหาเมล็ดมะม่วงพันธุ์อกร่องมาเพาะปลูกไว้ที่หน้าบ้านหรือหลังบ้าน หมั่นดูแลรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ยอย่างดี เมื่อต้นมะม่วงมันโตแล้ว ไม่กี่ปีก็จะผลิดอกออกผลให้เราเก็บกินได้ตามต้องการ

อย่างนี้แหละครับ ที่พระพุทธศาสนาท่านว่า สร้าง "เหตุปัจจัย" ที่สอดคล้องกับผลที่เราต้องการ เราจึงได้รับผลตามปรารถนา

แต่ถ้าเราไม่ "ทำ" อย่างนั้นล่ะ สมมุติว่าเราอยากกินมะม่วง แต่เราสวดมนต์อ้อนวอนทุกวันๆ "เจ้าประคู้ณ ขอให้มะม่วงอกร่องรสหวานอร่อยมาให้เรากินเถิด"

มะม่วงมันไม่มีขา มันจะมาให้เรากินได้อย่างไร!

คนทำอย่างนี้ ใครรู้เข้า เขาก็จะหาว่าไม่บ้าก็เมาเท่านั้นเอง

หลักกรรมของพระพุทธเจ้า ความจริงเป็นเรื่องเข้าใจง่าย เพียงแต่เราทำในใจอยู่เสมอว่า กรรมคือการลงมือทำด้วยตัวเอง กรรม มิใช่ "กฎ" ลึกลับมหัศจรรย์พันลึกอะไร อย่างที่เข้าใจผิดกันเป็นส่วนมาก

ไม่ว่าพระพุทธองค์จะทรงสอนเรื่องอะไร ก็จะทรงเน้น "กรรม" ไว้ด้วยเสมอ ไม่พูดตรงๆ ก็ "แฝงไว้" ให้รู้กันเอง ยกตัวอย่างหลักคำสอนที่เราเรียกกันว่า "หัวใจพระพุทธศาสนา"

การไม่ทำความชั่วทั้งปวง

การยังกุศล (ความดี) ให้ถึงพร้อม

การทำจิตของตนให้ผ่องใส

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เน้นตรงไหนครับ เน้นที่ "การกระทำ" ไม่ทำชั่วทั้งปวง ทำกุศลให้พร้อม และทำจิตให้ผ่องใส หลักกรรมก็ "แฝง" อยู่ในพระโอวาทนี้ ถ้าเราไม่พินิจพิจารณาก็อาจไม่ทราบได้

ทีนี้ลองมาดูหลักอริยสัจ 4 ว่าเกี่ยวกับกรรมอย่างไร

ตามที่เราทราบดีแล้ว อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และนำมาสอนชาวโลก คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ ก็คือ ปัญหาของชีวิต ทรงสอนว่าโลกนี้มีปัญหาสารพัด นับตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ ไปจนกระทั่งปัญหาใหญ่ที่สุด เรียกว่าปัญหาตั้งแต่ "ไม้จิ้มฟันยันเรือรบ" ว่าอย่างนั้นเถอะ

สมุทัย ก็คือ สาเหตุของปัญหา ปัญหามิได้มีขึ้นมาลอยๆ มันต้องมีเหตุปัจจัยทำให้เกิด

นิโรธ คือ การหมดปัญหา ภาวะไร้ปัญหาโดยสิ้นเชิง ปัญหามีได้ก็ย่อมหมดไปได้

มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา การจะให้ปัญหาหมดไปก็ต้องมีวิธีการแก้ไข ไม่ใช่อยู่เฉยๆ มันจะหมดไปเอง

หลักอริยสัจ 4 นี้เน้นอะไรครับ เน้นว่า "เราต้องใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา" หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็ว่า อริยสัจ 4 คือหลักว่าด้วยการรู้จักแก้ปัญหาด้วยปัญญา

คุณธรรมที่เด่นในหลักธรรมนี้ก็คือ ปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ

ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจ แก้ปัญหาได้ไหม?

ไม่ได้ดอกครับ ขืนแก้ไปทั้งๆ ที่ไม่รู้ มีแต่ทางผูกปมปัญหาให้ยุ่งเหยิงยิ่งขึ้น ไม่ต่างอะไรกับลิงติดตัง เห็นเขาเอาตัง (ยางเหนียวสำหรับดักสัตว์) มาวางไว้ เอามือซ้ายจับมือซ้ายติด มือขวาจับมือขวาก็ติด เอาเท้าซ้ายถีบเท้าซ้ายก็ติด เอาเท้าขวาถีบเท้าขวาก็ติด เอาปากกัดปากก็ติด ผลที่สุดก็ "ติดตัง" ดิ้นอย่างน่าสงสาร ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ

ในนิทานชาดกเรื่องมโหสถชาดก ได้เล่าถึงเด็กน้อยโพธิสัตว์ชื่อ มโหสถ เป็นคนฉลาดมาก จนกระทั่งพระเจ้าแผ่นดินทรงทราบกิตติศัพท์ ให้ปุโรหิตมาดูพฤติการณ์ของเด็กน้อย พอพิสูจน์ได้ว่าเด็กน้อยฉลาดเหนือคนธรรมดาจริงๆ จึงเชิญไปอยู่ในวัง เมื่อโตมา มโหสถก็ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น

เด็กน้อยมโหสถได้ใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาของชาวบ้านหลายครั้งเป็นที่อัศจรรย์ ครั้งหนึ่งมีเหยี่ยวมาโฉบเอาเนื้อที่ชาวบ้านเขาตากแดดไว้ พวกเด็กๆ และผู้ใหญ่ในหมู่บ้านต่างก็ร้องบอกต่างๆ กัน พากันวิ่งไล่เหยี่ยว สะดุดตอไม้บ้าง ก้อนดินบ้าง หกล้มได้รับบาดเจ็บคนละเล็กละน้อย แถมยังไม่ได้เนื้อคืนอีกต่างหาก

เด็กน้อยมโหสถไตร่ตรองดูแล้ว เห็นว่าวิธีการไล่เหยี่ยวของชาวบ้านไม่ถูกต้อง วันหนึ่งเหยี่ยวตัวเดิมมาเอาเนื้อชาวบ้านไปอีก มโหสถ จึงวิ่งไล่เช่นเดียวกับชาวบ้าน แต่มโหสถมิได้วิ่งไปแหงนหน้าดูเหยี่ยวไปเหมือนคนอื่น

เธอก้มมองดูเงาเหยี่ยวที่พื้นดิน วิ่งไล่ตามเงาเหยี่ยวไปจนทัน พอทันเงาแล้วก็เงยหน้าขึ้น ปรบมือ ตะโกนร้องเสียงดัง จนกระทั่งเหยี่ยวมันตกใจ ปล่อยก้อนเนื้อที่คาบอยู่ลงมา

เป็นอันว่าเจ้าของเนื้อได้เนื้อคืน

เพราะเด็กน้อยมโหสถได้ใช้ปัญญาแก้ปัญหา

อีกคราวหนึ่ง มีผู้หญิงสองคนแย่งลูกกัน นัยว่าคนหนึ่งเป็นนางยักษิณีแปลงกายมา ชาวบ้านมามุงดูกลุ่มใหญ่ หญิงสาวสองคนต่างก็เถียงว่า ตนเป็นแม่ เด็กน้อยเป็นลูกชายของตน ไม่มีผู้ใดตัดสินได้ เพราะไม่รู้ว่าใครแม่แท้ ใครแม่เทียม

มโหสถมาพบเข้าพอดี อาสาตัดสินความให้ วิธีของมโหสถก็คือ ให้หญิงสาวทั้งสองจับเด็กคนละข้าง คนหนึ่งจับเท้า คนหนึ่งจับหัว แล้วดึง ใครดึงได้ คนนั้นแหละเป็นแม่

หญิงทั้งสองต่างก็ดึงเด็ก เด็กเจ็บก็ร้องไห้ลั่น ผู้เป็นแม่สงสารลูก จึงปล่อยมือยืนร้องไห้สะอึกสะอื้น อีกคนได้เด็กแล้วก็ยิ้มอย่างดีใจ พร้อมร้องว่า "เห็นไหม ฉันบอกว่าฉันเป็นแม่ก็ไม่เชื่อ"

มโหสถกล่าวว่า ท่านมิใช่แม่ของเด็ก คนที่ยืนร้องไห้นั่นต่างหากเป็นแม่ เพราะแม่ที่แท้จริงย่อมสงสารลูก เห็นลูกเจ็บปวดทนไม่ได้ จึงวางมือ

นางยักษิณีหลงกลมโหสถ ก็สำแดงตัวแล้วก็หนีไป

หญิงสาวก็ได้ลูกของตนคืน เพราะมโหสถใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาให้

สรุปตรงนี้ก็คือ หลักอริยสัจ 4 ก็คือ หลักแห่งการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิต

เขียนมาจนจะจบแล้ว ท่านอาจถามขึ้นว่า แล้วมันเกี่ยวกับหลักกรรมอย่างไร

ก็ขอตอบว่า หลักกรรมก็ "แฝง" อยู่ในนี้แหละครับ พิจารณาให้ดีก็จะเห็นการแก้ปัญหานั้น ถ้ามีแต่ปัญญาความรู้ความเข้าใจอย่างเดียวแก้สำเร็จไหมครับ ขอถามหน่อยเถอะ สมมุติว่าคุณติดบุหรี่อย่างงอมแงม ตอนหลังคุณคิดได้ว่าบุหรี่นี้มีโทษมากมาย ทำให้เป็นมะเร็งในปอด ทำให้เป็นโรคถุงลมโป่ง...อะไรสารพัด

คุณรู้ว่ามันมีโทษมากมาย แต่ไม่ "ลงมืออด" บุหรี่ด้วยตัวคุณเอง คุณจะอดบุหรี่ได้ไหมครับ

ผมตอบแทนก็ได้ อดไม่ได้แน่นอน ทั้งๆ ที่คุณรู้นั่นแหละ แต่รับรองอดไม่ได้ เพราะคุณไม่ได้ลงมืออดจริงๆ

นี่แหละครับ ปัญญาอย่างเดียวแก้ไม่ได้ ต้องลงมือทำจริงๆ

การกระทำนั่นไง คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า กรรม ละ

กรรม (การกระทำ) จึงเกี่ยวข้องกับหลักอริยสัจ 4 ด้วยประการฉะนี้แล

ที่มา วันที่ 04 มกราคม พ.. 2552 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11257 มติชนรายวัน หน้า 6



http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01bud01040152&sectionid=0121&day=2009-01-04

 

 

 

 

 

 

 

อฐิษฐาน พระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เบิกชีวิต ให้แจ่มใส และไพศาล

เจริญสุข สรรเสริญ เจริญงาน

ทรัพย์ศฤงคาร อนันต์ใน ปีใหม่เทอญ

สวัสดีปีใหม่ครับ

 

 

เราก็ต้องแสวงหาความสุข

ที่จุดนั้น คือ ในตัวเรา

จาก "แนวทางสู่ความสุข"

 

โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

 

ในตอนกลางดึกมีหญิงชราคนหนึ่งกำลังคลำหาอะไรอยู่สักอย่างรอบๆเสาไฟฟ้าข้างถนน

 

สักครู่หนึ่งมีหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งเดินผ่านมาเห็นหญิงชราผู้นั้นกำลังคลำหาอะไรอยู่
เลยถามขึ้นว่า "ยาย..ยาย ยายกำลังหาอะไรอยู่?"
หญิงชราผู้นั้นตอบว่า "ยายกำลังหาเข็มเย็บผ้าอยู่ ยายทำตกหายไป
ช่วยยายหาหน่อยซิ"
พวกหนุ่มสาวกลุ่มนั้นจึงช่วยกันหาทั่วไปหมด แต่ก็หาไม่เจอ
ในที่สุดพวกเขาก็สงสัยจึงถามยาย
"
ยาย..ยาย..ยายทำเข็มเย็บผ้าหล่นหายไปที่ไหน"
ยายตอบว่า "ยายกำลังเย็บผ้าอยู่ในห้องยาย
แล้วก็ทำเข็มเย็บผ้าหล่นหายไปในห้อง
แต่ห้องยายมันมืด ยายมองไม่ค่อยเห็นอง
ยายก็เลยออกมาที่ถนนเพราะมีแสงสว่างจากไฟฟ้า"
...
พอพวกหนุ่มสาวกลุ่มนั้นได้ยินเช่นนั้นก็เลยหัวเราะ
แล้วเดินหนีไป

เมื่อเราทำของหาย เราก็ต้องไปหาในที่ๆเราทำหาย
มันจะมีประโยชน์อะไรที่จะไปหาที่อื่น
เช่นเดียวกัน เมื่อเราแสวงหาความสุข
เราก็ต้องหาในจุดที่เราได้สูญเสียความสุขไป
มันจะมีประโยชน์อะไรที่จะหาความสุขที่ไนท์คลับ
หรือสถานเริงรมย์ต่างๆ
หรือไปหาที่ประเทศนั้นประเทศนี้ หรือไปหาที่คนอื่น

ความสุขของเราได้สูญหายไปจากตรงไหน?
คำตอบก็คือ เราได้ทำหายไปจากใจของเรา ได้สูญเสียความสุขจากตัวเรา จากใจเรา
ดังนั้น เราก็ต้องแสวงหาความสุขที่จุดนั้น คือ ในตัวเรา

 

เศรษฐีเจ้าอารมณ์

 

 

 

 

 

 

 

เศรษฐีเจ้าอารมณ์

 

ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว

 

มีเศรษฐีคนหนึ่งเป็นคนเจ้าอารมณ์

และมักจะปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ

เขาได้ประกาศว่าจะให้รางวัลอย่างงามแก่คนที่สามารถรักษาอาการปวดศีรษะของเขาได้

หลายคนรวมทั้งหมอที่เชี่ยวชาญต่างก็มาเสนอแนะวิธีรักษาโรคปวดศีรษะของเศรษฐีผู้นี้

 

แต่ไม่มีใครสามารถทำให้เขาดีขึ้นได้

อยู่มาวันหนึ่ง

 

มีฤาษีคนหนึ่งมาเยี่ยมท่านเศรษฐี เศรษฐีได้บอกเกี่ยวกับโรคประจำตัวของเขาให้ฤาษีทราบ ฤาษีจึงบอกกับท่านเศรษฐีว่า " โธ่เอ้ยวิธีรักษาอาการปวดหัวของเจ้ามันง่ายนิดเดียว
นั่นก็คือเจ้าจะต้องมองทุกอย่างให้เป็นสีเขียวตลอดเวลาแล้วอาการโรคของเจ้าจะหายไป

"

เศรษฐีดีใจมากและคิดว่าสิ่งที่ฤาษีแนะนำเขานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมาก

 


วันรุ่งขึ้นท่านเศรษฐีจึงจ้างช่างทาสี หลายร้อยคน มาช่วยกันทาสีของหมู่บ้านให้เป็นสีเขียวทั้งหมด
นอกจากนี้ด้วยความที่รวยมาก ยังซื้อเสื้อผ้าให้กับคนในหมู่บ้านทุกคนใส่
ในตอนนี้ไม่ว่าท่านเศรษฐีมองไปทางใดก็จะเป็นสีเขียวตลอดเวลาตามคำแนะนำของฤาษี
อาการปวดศีรษะของเขาก็เริ่มดีขึ้นๆ

เขาเริ่มเป็นคนยิ้มง่ายและมีความสุขมากขึ้น

สองสามเดือนถัดมา

 

ท่านฤาษีได้กลับมาเยี่ยมเศรษฐีอีกครั้งหนึ่ง
แต่ก็ต้องเผชิญกับช่างทาสีคนหนึ่งซึ่งร้องตะโกนว่า
"
หยุด หยุด ท่านเข้ามาในหมู่บ้านนี้ในชุดนี้ไม่ได้ เดี๋ยวผมจะทาสีท่านให้เป็นสีเขียวก่อน"
ฤาษีก็รีบวิ่งและหนีเข้าไปในบ้านของเศรษฐีได้ในที่สุด
ฤาษีได้พบกับเศรษฐีในบ้านและตำหนิว่า
"
ทำไมเจ้าถึงเสียเงินทองและ เวลามากมาย เพื่อเปลี่ยนสิ่งต่างๆรอบตัวเจ้าเล่า
เราไม่ได้บอกให้เจ้าไปเที่ยวทาสีทุกอย่างให้เป็นสีเขียวเลย
เจ้าเพียงแค่สวมแว่นตาสีเขียวเท่านั้น เจ้าก็จะมองเห็นทุกสิ่งรอบตัวเป็นสีเขียวแล้ว

"

หากเราต้องการเปลี่ยนสิ่งแวด

 

ล้อมรอบตัว
เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกคนหรือทุกอย่าง
เราเพียงแต่เปลี่ยนตัวของเราเองก่อน

แล้วเราจะพบว่าทุกสิ่งรอบตัวของเราก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

 

 

ที่มา

: http://www.med.cmu.ac.th/ethics/story/story038.htm

 

 

 

การนำสมาธิ

ด้วยแสงสว่าง

 

 

 

โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา

 

 

เรามาเริ่มฝึกนั่งสมาธิด้วยแสงสว่าง เริ่มต้นด้วย การหายใจเข้า

ออก ลึก ๆ ช้า ๆ ไปพร้อม ๆ กับการภาวนาคำว่า พุทโธ (หรือ คำบริกรรม ตามความถนัดของแต่ละบุคคล)

การทำเช่นนี้ จะช่วยให้จิตใจสงบ และเตรียมพร้อมสำหรับการนั่งสมาธิ ด้วยการใช้แสงสว่าง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถนึกภาพแสงสว่างในใจได้ ควรจะจุดเทียนไข หรือตะเกียงไว้ข้างหน้า แล้วเพ่งมองแสงสว่างสักครู่ จากนั้นหลับตาลงแล้วใช้คำกล่าวนำ สมาธิดังต่อไปนี้

ขอให้นึกถึงแสงสว่างที่อยู่หน้าของเรา นำแสงสว่างเข้ามาในศีรษะ ให้ศีรษะเต็มไปด้วยแสงสว่าง แสงสว่างอยู่ที่ไหน ความมืดย่อมอยู่ไม่ได้

ศีรษะของเราเต็มไปด้วยความคิดที่ดี คิดในสิ่งที่มีประโยชน์ เราคิดอย่างไร เราก็เป็นอย่างนั้น ในความคิดของเราจะเต็มไปด้วยความรักความเมตตา

นำแสงสว่างที่หัวใจของเรา คิดว่าบริเวณหัวใจของเรามีดอกบัว เมื่อแสงสว่างสัมผัสดอกบัว ดอกบัวก็ค่อยๆ ผลิบานเป็นดอกไม้ที่สวยงามหัวใจของเราก็บริสุทธิ์ หัวใจของเราเต็มไปด้วยความรักความเมตตา

นำแสงสว่างลงมาที่แขนและมือของเรา แขนและมือของเราทั้งสองข้างเต็มไปด้วยแสงสว่าง เราจะปฏิบัติหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เราจะรับใช้ช่วยเหลือทุกคนด้วยความรักและเมตตา

นำแสงสว่างลงมาที่ขาและเท้าของเรา ขาและเท้าทั้งสองข้างเต็มไปด้วยแสงสว่าง เราจะก้าวไปข้างหน้าเดินไปในหนทางที่ดี และทุกย่างก้าวของเราจะเต็มไปด้วยความมั่นใจ

นำแสงสว่างกลับขึ้นมาที่ปากของเรา ให้ปากและลิ้นของเราเต็มไปด้วยแสงสว่างเราจะพูดแต่สิ่งที่ดีและมีประโยชน์ คำพูดของเราเต็มไปด้วยความรักและความเมตตา

นำแสงสว่างกลับมาที่หูของเรา หูของเราทั้งสองข้างเต็มไปด้วยแสงสว่าง เราจะฟังแต่สิ่งที่ดี ได้ยินแต่สิ่งที่ดี เราจะรับฟังผู้อื่นด้วยความรักและเมตตา

นำแสงสว่างกลับมาที่ตาของเรา ให้ตาของเราทั้งสองข้างเต็มไปด้วยแสงสว่าง เราจะมองทุกคนด้วยความรักและเมตตา เราจะมองเห็นแต่ความดีในทุกคนและทุกสิ่ง

ตอนนี้นำแสงสว่างกลับมาที่ศีรษะของเรา ให้ศีรษะของเราเต็มไปด้วยแสงสว่างและปัญญา

ขอให้เราแผ่ขยายแสงสว่างจากตัวเราออกไปมอบให้กับคุณพ่อคุณแม่ของเรา ขอให้ท่านเต็มไปด้วยความสงบสุข นำแสงสว่างไปมอบให้คุณครูผู้ที่ให้ความรู้และปัญญาแก่เรา ขอให้ท่านเต็มไปด้วยความสงบสุข

กระจายแสงสว่างไปให้ญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของเรา กระจายแสงสว่างออกไปให้กับทุกคนรวมทั้งสิ่งมีชีวิตทุกๆ ชีวิต ให้โลกของเราเต็มไปด้วยความรักและความสุข

กระจายแสงสว่างออกไปให้ทั่วทั้งจักรวาล ให้ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยแสงสว่าง เรามองเห็นแสงสว่างในทุกๆ ชีวิตและแสงสว่างในทุกๆ ชีวิตก็เหมือนกันกับแสงสว่างที่อยู่ในตัวเรา

เราอยู่ในแสงสว่าง แสงสว่างอยู่ในตัวเรา เราคือแสงสว่าง

ถึงตอนนี้เราจะเก็บความรู้สึกที่บริสุทธิ์ของแสงสว่างในหัวใจไว้กับตัวเรา

 

 

 

ที่มา : http://dental.psu.ac.th/mind/article.html

ความคิด ที่มา :http://dental.psu.ac.th/mind/three_min.html

ความคิด

ความสุขความทุกข์อยู่ในที่เดียวกัน คือ อยู่ในสมองนี่เอง
ความสุขอยู่ที่ความคิด
ความทุกข์อยู่ที่ความคิด
อยู่ในที่เดียวกัน
ในโลกนี้ไม่เคยมีใครที่ไม่เคยมีความทุกข์
และในโลกนี้ไม่เคยมีใครไม่เคยมีความสุข
ความสุข ความทุกข์ อยู่ในที่เดียวกัน
คือ อยู่ในความคิด

 

น้ำใจ

ขอให้คนทั้งหลายมีน้ำใจแก่กันและกัน

 


น้ำใจมีลักษณะเหมือนน้ำอยู่หลายลักษณะ
ชุ่มเย็น คือ มีความเย็นสบายเป็นปกติ
รวมตัว คือ มีความสามัคคีเป็นปกติ
ปรับตัวได้ คือ มีการเข้ากันได้เป็นปกติ
ไหลลงสู่แม่น้ำ คือ ไหลลงต่ำ มีสัมมาคารวะ

อ่อนน้อม

ที่มา

 

: http://dental.psu.ac.th/mind/three_min.html

นำบุญไปฝาก

คนที่บ้าน

หลังจากที่เราได้สร้างบุญสร้างบารมีเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่จะทำให้เราได้บุญเพิ่มขึ้นอีกนั่นก็คือ การนำบุญไปฝากคนที่บ้าน วิธีการที่ง่ายๆ ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย

แต่ผลที่เกิดขึ้นมากมายเกินประมาณ

วิธีการนำบุญไปฝากคนที่บ้านทำได้ง่าย ๆ

คือ ในระหว่างเดินทางกลับบ้านให้รักษาใจให้สดใสมีพลังอยู่ตลอดเวลา

จากนั่นให้ตั้งความเมตตาขึ้นมาเป็นอารมณ์ว่า เราได้สร้างบุญทำให้เรามีความสุขใจปีติใจถึงเพียงนี้ เราอยากให้ทุกๆ คนมีความสุขได้บุญอย่างเราบ้าง

เมื่อกลับไปถึงบ้านพบคนที่เรารู้จัก ก็กล่าวด้วยวาจาอันเป็นที่รักว่าไปทำบุญมาเอาบุญมาฝาก” หรือจะเป็นการเล่าเรื่องบุญที่ได้ทำให้ฟังก็ได้ เพียงเท่านี้เราก็ได้บุญในส่วนที่ชื่อว่า ปัตติทานมัย คือบุญสำเสร็จด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น

หากบุคคลนั้นเขาได้อนุโมทนาในส่วนบุญของเรา คือ กล่าวคำว่าสาธุ” หรือรับรู้รับทราบมีใจพลอยยินดีตาม เขาก็จะได้บุญในส่วนที่ชื่อว่า ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จจากการอนุโมทนาส่วนบุญ คือ

พลอยยินดีในบุญที่ผู้อื่นกระทำการนำบุญไปฝากคนที่บ้านก็จะส่งผลให้บรรยากาศรอบข้างมีแต่เรื่องบุญเรื่องบารมี

ทำให้ใจเกาะเกี่ยวอยู่ในบุญ นอกจากจะเป็นการเพิ่มบุญให้กับตนเองแล้ว ยังทำให้คนรอบข้างได้บุญเพิ่มขึ้นไปอีก เท่ากับว่าเราได้ช่วยคนรอบข้างให้ปิดนรก เปิดสวรรค์ และมีมรรคผลนิพพานเป็นเป้าหมาย ดังเรื่องต่อไปนี้

ในสมัยพุทธกาล

พระอนุรุทธเถระได้พบเทพธิดาองค์หนึ่งจึงถามว่า เธอมีผิวพรรณงามยิ่งนัก มีรัศมีเปล่งปลั่งสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ขอเธอจงบอกเถิดว่า นี้เป็นผลของกรรมใดเล่า เทพธิดานั้นตอบว่า นางวิสาขาสหายของดิฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้สร้างมหาวิหารถวายแด่สงฆ์ ดิฉันได้เห็นอาคารและการบริจาคทรัพย์เป็นอันมากของเธอแล้ว จึงเกิดความพึงพอใจและเลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อนุโมทนาบุญจากการสร้างวิหารนั้น

ดิฉันได้วิมานน่าอัศจรรย์นี้เพราะการอนุโมทนาบุญเพียงอย่างเดียวเท่านั้น วิมานนี้ลอยไปในอากาศเปล่งรัศมี 12 โยชน์ด้วยฤทธิ์ของดิฉัน ภายในมีสระโบกขรณี มีน้ำใส พื้นดารดาษไปด้วยทรายทอง กึกก้องไปด้วยเสียงดนตรี วิมานน่าอัศจรรย์มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเช่นนี้ บังเกิดขึ้นเพราะกุศลกรรมจากการอนุโมทนาบุญของดิฉัน (พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ)

จากตัวอย่างข้างต้น

การอนุโมทนาส่วนบุญจากการสร้างมหาวิหารยังทำให้ได้ทิพยสมบัติถึงเพียงนี้

หากได้อนุโมทนาบุญต่อปฏิคาหกผู้เป็นเนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์จะได้รับอานิสงส์เพียงใด

ในสมัยพุทธกาล

ครั้งนั้นมีฝนตกหนัก พระเถระรูปหนึ่งได้อาศัยกระท่อมของชาวนาคนหนึ่ง นั่งเจริญวิปัสสนาจนได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เมื่อชาวนากลับมาพบพระเถระจึงถามว่า ใครอยู่ในกระท่อมของเรา พระเถระจึงตอบว่า ภิกษุผู้ปราศจากราคะมีจิตตั้งมั่นนั่งอยู่ในกระท่อม พระเถระจึงให้ชาวนาคนนั้นอนุโมทนาบุญจากการใช้สอยกระท่อมของตน ชาวนาได้ฟังแล้วมีจิตเลื่อมใส จึงได้อนุโมทนาบุญ

ในขณะนั้นพระบรมศาสดาได้สดับเสียงการอนุโมทนาด้วยทิพพโสต จึงตรัสต่อชาวนานั้นประดุจประทับนั่งอยู่ตรงหน้าว่า ด้วยผลที่ภิกษุผู้ไม่มีอาสวะอยู่ในกระท่อมของท่าน ท่านจะได้เป็นจอมเทพ จอมจักรพรรดิ และเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในที่สุด (นำมาจาก กุฏิวิหารีเถรคาถา พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย ชาดก เอกนิบาต)

จะเห็นได้ว่า

การอนุโมทนาส่วนบุญยังได้รับผลอันไพศาลถึงเพียงนี้ จะกล่าวไปใยถึงผลบุญของผู้ที่ได้กระทำบุญด้วยตนเองและได้นำส่วนบุญนั้นไปให้บุคคลอื่นได้อนุโมทนาบุญเล่า

ดังนั้น

การนำบุญไปฝากคนที่บ้าน นอกจากจะทำให้ผู้นำบุญไปฝากได้บุญแล้ว ยังทำให้บุคคลรอบข้างผู้อนุโมทนาบุญได้ส่วนบุญไปด้วย จึงเป็นการช่วยปิดนรกเปิดสวรรค์ให้กับบุคคลรอบข้าง และยังทำให้เขาได้บรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด การนำบุญไปฝากคนที่บ้านจึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ได้ผลมหาศาล

ช่วยให้คนรอบข้างได้พบกับความสุขความสำเร็จเช่นเดียวกับเรา  อานิสงส์ของการนำบุญไปฝากคนที่บ้าน

  1. ทำให้บุญหล่อเลี้ยงกาย
  2. วาจา ใจ ตลอดการเดินทางกลับบ้าน
  3. ทำให้อกุศลไม่ได้ช่องไปทำความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
  4. ทำให้เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
  5. เมื่อละโลกไปได้ไปสู่สุคติภูมิ
  6. ทำให้อารมณ์สบายซึ่งเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติธรรม
  7. ทำให้วางไว้ที่กลางกายง่าย และได้บรรลุธรรมในที่สุด

  1.  
  2. ที่มา

    : http://www.dmc.tv/blog/?p=194

สวัสดีปีใหม่ แด่ศิษย์รัก เพื่อนสนิท มิตรสหาย และท่านผู้อ่านทุกท่าน

ปีใหม่ วันใหม่ เริ่มชีวิตใหม่สุข สนุกสดใส สุขสำราญ

 

 

 

เบิกบานใจ สวัสดีปีใหม่  The beginning is always today! Happy New Year.

365
วันผ่านไป
อดใจไม่ไหว..ว่ามันไวเหมือนล้อเล่น
ปีใหม่มาแล้วอย่าทำใจเย็น
มาเริ่มต้นทำตัวเป็นคนดีดี
ปีใหม่..ต้องทำอะไรใหม่ๆ
เริ่มต้นอะไรที่สดใสกว่านี้
ให้รางวัลกับตัวเองด้วยสิ่งดีดี
ต้อนรับวันพรุ่งนี้ Happy New Year

ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า
ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม
มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์
ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง

 

 


แพทย์แนะทำสมาธิบำบัดลดโรครุมเร้า

นพ.นรา นาควัฒนานุกูล อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ปีนี้อากาศร้อนมาก คนส่วนใหญ่อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายจากสภาวะแวดล้อม และส่วนใหญ่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ด้านลบ เพราะความร้อนส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้เกิดภาวะเครียด หงุดหงิด นอนไม่หลับ ไม่สบายตัว บางครั้งจะเกิดอารมณ์โกรธง่ายๆ จึงแนะนำให้ประชาชนยึดหลักการทางสมาธิ เพื่อบำบัดลดโรคช่วงหน้าร้อน

"กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯมีศาสตร์ทั้งด้านการแพทย์แผนไทยและศาสตร์ด้านการแพทย์ทางเลือก สำหรับเป็นทางเลือกให้ประชาชนนำไปประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพแบบง่ายๆ ประหยัดและได้ผล ทั้งนี้ ปัจจุบันองค์กรวิชาการด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงสำนักงานการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ ได้สนับสนุนการศึกษาวิจัยและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่า สมาธิเป็นจิตเวชศาสนศาสตร์ เป็นศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และวิญญาณของบุคคล การปฏิบัติสมาธิมีผลต่อระบบจิตประสาทภูมิคุ้มกันวิทยา" นพ.นรากล่าว และว่า การปฏิบัติสมาธิเป็นเทคนิคที่มีกำเนิดจากทุกชาติ ศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกข์ รวมทั้งวัฒนธรรมทางศาสนาอื่น

นพ.นรากล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ เช่น รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.บรุช แมคอีแวน (Bruce McEvan) จิตแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ได้รวบรวมงานวิจัยจำนวนมากพบว่า ความเครียดทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง เป็นเหตุให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายได้เร็วขึ้น ติดเชื้อไวรัสได้เร็วขึ้น เกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือดที่หัวใจ เป็นเหตุกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาเลี้ยง ทำให้อาการเบาหวาน และโรคหอบหืดเลวร้ายลง เกิดลำไส้อักเสบ เซลล์สมองเสื่อมลง ความจำเสื่อมลง แม้กระทั่งงานวิจัยของ นพ.เซลดอน โคเฮน (Shedon Cohen) แห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน พบว่า คนที่มีภาวะเครียดมักจะเกิดเริมที่ริมฝีปากและอวัยวะเพศบ่อยๆ คนที่โกรธมาก ขนาดของเส้นเลือดก็จะตีบมากด้วยเช่นกัน ซึ่งล้วนเป็นผลร้ายทั้งสิ้น

ที่มา : http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif02270452&sectionid=0132&day=2009-04-27

น.ส.พ. มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 27 เมษายน 2552 หน้า 10

หลงทาง หรือ หลงเวลา

การ ดำเนินชีวิต หรือ การใช้ชีวิต สำหรับผู้ประกอบอาชีพ สมัยนี้ “เวลา” คือ กฎ และเงื่อนไข อย่างหนึ่ง ที่ทุกๆ คนต้องยอมรับนับถือโดยทั่วไป คนเราเริ่มทำงาน รับประทานอาหารเช้า เที่ยง เย็น ค่ำ และเลิกงาน ในเวลาหนึ่งเวลาใดก็ตาม ที่ตกลงกันไว้ จะฝ่าฝืนข้อตกลงตามใจชอบไม่ได้ หากนัดพบหรือไปเที่ยวกับใครก็ตาม แล้วปล่อยให้ใครคนนั้น นั่งตบยุงอยู่คนเดียว ก็อาจมีสิทธิ์ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า เราขาดความรับผิดชอบในตัวเรา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ ล้มสลายได้


ทันที ที่ถึงเวลาทำงาน เราจะปรากฏตัว แสดงความพร้อมอยู่ ณ จุดทำงาน ไม่ยืนเสริมความงามความหล่ออยู่ในห้องน้ำ หรือ นั่งรับประทานอาหารข้าวราดแกงเขียวหวานไก่อยู่ที่โต๊ะทำงาน มิฉะนั้น ลูกพี่ผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ (รู้ทันอารมณ์ตัวเอง) อาจจะพุ่งสายตามาที่เราอย่างรุนแรง จนใบหน้าเรารู้สึก ร้อนวูบ ไปพักหนึ่ง

ใน กรณีที่มีการประชุมเรื่องงาน เราจะไปตรงเวลา หากล่าช้ามากเกินควร เช่น 7 นาที เป็นต้น เราอาจถูกเมินเฉย ไม่มีใครอยากจะพูดด้วย หรือมองด้วยสายตาที่ไม่ได้ให้เกียรติ นับถือจากผู้อื่น ที่ต้องนั่งรอเรามาเข้าประชุมสาย มองว่าเรายังเด็กอยู่ จัดการกับตัวเองไม่เป็น และมีระเบียบวินัยที่อ่อน ที่ประชุมมีสิทธิ์เริ่มประชุมโดยไม่รอเรา ทำให้เราพลาดสาระสำคัญบางประการได้ อาจต้องนั่งงงเป็น “ไก่ตาแตก” ในห้องอยู่คนเดียว เป็นที่น่าอับอายขายหน้ายิ่ง

หากถ้า วันหนึ่งเรานัดพบ หรือนัด ไปเที่ยวกับใครก็ตาม แล้วปล่อยให้ใครคนนั้น นั่งตบยุงอยู่คนเดียว ก็มีสิทธิ์ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า เราขาดความรับผิดชอบในตัวเรา ส่งผลให้ความสัมพันธ์ล้มสลายได้อีกเช่นกัน เราจึงต้องยอมรับ “เวลา” นำมานับ แล้วถือไว้เสมอ แต่ไม่ถึงขนาดต้องยืนคำนับนาฬิกา ทุกครั้งที่ดูเวลาหรอก



มี การคาดคะเน อย่างคร่าวๆ ว่า คนจำนวนหนึ่ง ประมาณร้อยละ 20 มักจะไปไหนมาไหนทำอะไรไม่ทันเวลาอยู่เป็นประจำ และเป็นเช่นนี้ จนเรื้อรังมานาน ทันอยู่อย่างเดียวคือเข้าห้องน้ำทัน โดยตัวเองก็เบื่อรำคาญตัวเองที่ต้องกลายเป็นตัวตลก ทำให้คนรอคอย ขำไม่ออกอยู่เรื่อยๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี

ณ. ที่นี้ ขอเรียกบุคคลดังกล่าวว่า “คนหลงเวลา” เพราะหาเวลาทึ่ถูกต้องไม่พบ ตรงกันข้ามกับ “คนตรงเวลา” ที่หาเวลาที่ถูกต้องพบ จิตแพทย์ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยถึงผลการวิจัยคนไข้รายหนึ่งว่า “คนหลงเวลา” ที่สาย ล่าช้า ไม่ตรงเวลาเป็นประจำ จากการศึกษาพบว่า มีสมองส่วนหน้าที่มีคลื่นกิจกรรมต่ำกว่าและไม่คึกคักเหมือนคนปกติทั่วไป ที่ค่อนข้างตรงเวลา จิตแพทย์ จึงแนะนำให้ “คนหลงเวลา” รับประทานอาหารที่มีโปรตึนสูงอย่างเช่นเนื้อสัตว์ ซึ่งจะไปกระตุ้นสมองส่วนหน้า ให้มีคลื่นกิจกรรมสูงขึ้น ส่งผลช่วยลด “การหลงเวลา” ได้บ้าง อย่างน้อยก็ชั่วคราว

ผู้เชี่ยว ชาญการบริหารเวลา ของสหรัฐฯ มีคำแนะนำ 7 ข้อที่น่าสนใจสำหรับ “คนหลงเวลา” ที่มักทำอะไรไม่ทันเวลาสักที ยกเว้นอย่างเดียว คือ เลิกงานตรงเวลา ข้อแนะนำเหล่านี้ ต้องนำไปปฏิบัติจึงจะได้ผลดี ดังนี้

หนึ่ง เผชิญหน้ากับ “เวลา” ด้วยความซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา “คนหลงเวลา” มักกะเกณฑ์ปริมาณเวลาที่ต้องใช้ทำกิจวัตรส่วนตัวต่างๆ ให้เสร็จสิ้นไว้ต่ำกว่า ความเป็นจริงประมาณร้อยละ 25 เช่น กิจวัตรอาบน้ำปะแป้งแต่งตัว ขับรถ ขึ้นรถลงเรือ แวะซื้อของ ตอบอีเมล์ เป็นต้น

วิธีป้องกันแก้ไข คือ ให้ทดลองจับเวลาดูว่า กิจวัตร หริอ กิจกรรม แต่ละรายการ ต้องใช้เวลาจริงๆ เท่าใด แล้วจดไว้ เพื่อจะได้รวมเวลาสำหรับรายการที่เชื่อมโยงเกี่ยวพัน กันทั้งหมดไว้เป็นหมวด แล้วนำไปคำนวณกำหนด เวลาตื่นนอนให้ถูกต้อง เพื่อให้มีเวลาพอเพียงทำกิจวัตรประจำวันได้ครบถ้วน จะได้ไปถึงที่ทำงานก่อนกำหนดเวลาเข้างาน เล็กน้อย โดยใช้ตัวเลขเวลา ที่ยาวนานกว่าปกติเป็นเกณฑ์ เช่น ตัวเลขเวลารถติดในวันรถติดมากที่สุดของสัปดาห์ เป็นต้น

สอง กำหนดว่าต้องไปให้ถึงที่ทำงานแต่เนิ่นๆ หากกะเกณฑ์ให้ถีงอย่างตรงเวลาพอดีแล้ว โอกาสเข้างานสายค่อนข้างจะมีสูง ก็เพราะว่าอาจมีบางสิ่งบางอย่างที่มิได้คาดฝันไว้ก่อน เกิดขัดจังหวะขึ้นมา เช่น ลืมกระเป๋าเงิน เอกสารสำคัญ เป็นต้น พยายามให้ถึงจุดหมายปลายทางประมาณ 15 นาทีก่อนกำหนด เอาหนังสือพิมพ์ วารสาร หนังสือ ฯลฯ ติดตัวไปด้วย เผื่อเอาไว้อ่านในช่วงเวลาก่อนกำหนด

สาม ช่วงเช้า ก่อนออกจากบ้านไปทำงาน คือ ช่วงเวลาที่วิกฤติ เพราะมีรายการต่างๆ นานาอันเป็นกิจวัตรประจำวันเฉพาะตัวของแต่ละคน ที่ต้องทำและละเว้นไม่ได้ ฉะนั้น เพื่อบรรเทาภาวะวิกฤตินี้ ขอให้เลื่อนบางรายการที่เลื่อนได้ ให้ทำตอนกลางคืนก่อนนอน เช่น จัดกระเป๋าเอกสาร วางกุญแจไว้ในที่เคยวางเป็นประจำ แขวนชุดเสื้อผ้าที่จะสวมใส่วันรุ่งขึ้นไว้ ณ ที่หยิบคว้าได้ง่าย เป็นต้น

สี่ ประเมินเวลาในแต่ละรายการของงาน ที่ต้องทำในวันใดวันหนึ่งไว้ “คนหลงทาง” มักทำรายการทั้งหมดให้เสร็จครบถ้วนภายในช่วงเวลาเดียวที่ได้กันเอาไว้ แต่มักลงเอยต้องใช้เวลายาวนานกว่าช่วงเวลานั้น เพราะคำนวณเวลาไม่ได้ตรงตามความเป็นจริง

วิธีป้องกัน แก้ไข คือ ขอให้จัดเวลา หรือกำหนดเวลาสำหรับทำแต่ละรายการในวันหนึ่งๆ จดปริมาณเวลาที่ต้องใช้ทำแต่ละรายการ แล้วจัดลำดับก่อนหลังให้แต่ละรายการ เพื่อจะได้รู้ว่า ต้องทำรายการใดก่อน มีรายการไหนที่ต้องใช้เวลามากกว่าปกติเป็นพิเศษ


ห้า จงเอา “ความสมบูรณ์แบบ” ไปทิ้งไว้ที่ถังขยะ คนที่มุ่งมั่นทำงานแต่ละชิ้นให้สำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่มี จุดด่างพร้อย แม้แต่น้อย มักส่งงานล่าช้าไม่ทันกำหนด

อย่า ลืมว่า งานเสร็จตรงกำหนดแต่ถูกต้องครบถ้วนร้อยละ 95 ย่อม ดีกว่า งานเสร็จล่าช้าแต่ถูกต้องครบถ้วนถึงร้อยละ 100 วิธีป้องกันแก้ไขสำหรับคนประเภทพิถีพิถันสมบูรณ์แบบเกินไปคือ ขอให้ท่องเป็นคาถาจำใส่ใจไว้ว่า “ไม่จำต้องทำให้สมบูรณ์แบบเต็มร้อยหรอก เพื่อนเอ๋ย”

หก อย่ามัวเมา กับความรู้สึกตื่นเต้น ที่มาจากการเร่งรีบให้ทันกำหนดเวลาที่ขีดเป็นเส้นตายไว้ บางคนรู้สึกมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง เมื่อได้สัมผัสกับสารอะดรีนาลินในร่างกาย ซึ่งถูกขับออกมาด้วยความตื่นตระหนก ในขณะที่ กำหนดเวลาเส้นตายย่างใกล้เข้ามา แต่บางครั้ง กลับรู้สึกใจเย็นไม่อยากลงมือทำอะไร ตราบใดที่ความกดดัน ากเส้นตายยังไม่ปรากฏ กล่าวคือ มีจิตวิญญาณชอบทำงานเสี่ยงกับสภาวะ “งานเสร็จทันเวลาพอดี” ชอบเริ่มลงมือ เร่งรีบ ทำในช่วงเวลาสั้นๆ สุดท้ายที่เหลืออยู่เท่านั้น เร่งจนตับแลบไม่ว่า ขอให้งานเสร็จ หลังกำหนดก็ได้


วิธี ป้องกันแก้ไขคือ ทุกเช้าวันทำงาน ขอให้จดบันทึกงาน 3 รายการที่จะต้องลงมือทำแต่เนิ่นๆ ก่อนถึงกำหนดส่งผลงาน แล้วลงมือทำแต่ละรายการโดยมิต้องรีรอให้ถึงใกล้กำหนดเส้นตายก่อน ขอให้ทำแบบนี้ทุกเช้าเป็นเวลาสักหนึ่งเดือน จะเป็นการฝึกฝนให้มีนิสัยเริ่มทำชิ้นงานแต่เนิ่นๆ อย่างถาวรไปเลย

ตัวอย่าง เช่น เติมน้ำมันให้เต็มถังรถยนต์ก่อนที่ไฟเตือนจะสว่างขึ้น ส่งรายงานก่อนถึงกำหนดสักหนึ่งวัน จัดการชำระใบแจ้งหนี้ ทันทีที่ได้รับ เป็นต้น ผลก็คือ จะหล่อหลอมและฝึกฝน อุปนิสัยทำงานให้เสร็จแต่เนิ่นๆ ไม่หมักดองไว้จนวินาทีสุดท้าย จนกระทั่งรากงอกลงดินอย่างถาวร เมื่อทำได้ดังนี้ ชีวิตจะเราก็จะน่าเพลิดเพลินยิ่งขึ้น เพราะปลอดจากแรงกดดันของกำหนดเส้นตายส่งงาน

ใครที่คิดว่าตัวเองจัดประเภท อยู่ใกล้เคียงเรียงหมอนกับ “คนหลงเวลา” จะประสบแต่ความคับข้องใจ เพราะ “คนหลงเวลา” จะล่าช้าแม้กระทั่งเข้านอนสาย ปล่อยให้ใครคนนั้นนอนโดดเดี่ยว เดียวดายอยู่คนเดียวจนกระทั่งหลับไปก่อน เลยอดเล่น “จ้ำจี้” กันก่อนนอน

ขอให้เข้าใจว่า “คนหลงเวลา” เป็นประจำ มิได้มีเจตนาจงใจกลั่นแกล้งใครหรอก คนตรงเวลา มักจะคิดเสมอว่า “คนหลงเวลา” ไม่มีการคิดคำนึงถึงคนอื่น ที่ต้องเฝ้ารอคอยอยู่ ความจริงมีอยู่แค่ว่า “คนหลงเวลา” มิได้ขาดความนับถือใครหรอก เพียงแต่ขาดความสามารถในการควบคุมเวลาของตนเองเท่านั้น

ดังนั้น ขอให้เก็บความไม่ชอบใจต่อ “คนหลงเวลา” ไว้ เพราะ การแสดงความรู้สึกฉุนเฉียว หรืออารมณ์โกรธออกมา จะมีก็แต่ ก่อให้เกิดแรงเสียดทาน อารมณ์เสีย เปล่า ๆ ทางที่ดี ลองชี้แจงให้ “คนหลงเวลา” ได้เห็นว่า ความใจเย็น ไม่ลงมือทำเมื่อสมควรแก่เวลา ได้ทำให้คนอื่นที่เกี่ยวข้องมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง เช่น ความรู้สึกกระสับกระส่าย รวมทั้ง ความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจที่ไม่ได้รับการยอมรับนับถือหรือเกรงใจตามควร เป็นต้น

ในกรณีคู่ครองเรือน ฝ่ายตรงเวลาควรกำหนด ข้อตกลงปรับเอาโทษกับ “คนหลงเวลา” ไว้อย่างเป็น กิจลักษณะ เช่น หาก ล่าช้าไป 10 นาที “คนหลงเวลา” จะต้องชดเชยด้วยการจ่ายค่าอาหารมื้อค่ำของวันนั้น ทำงานเก็บกวาดบ้าน 1 วัน หรือต้องถูกปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่ง สำหรับทุกนาทีที่ล่าช้า เป็นต้น

เจ็ด หาก “คนหลงเวลา” ยังเหนียวแน่นไม่ยี่หระต่อข้อแนะนำทั้ง 6 ข้อดังกล่าว ก็จะมีทางเลือกอยู่ทางเดียว ถือได้ว่าเป็น หมัดสุดท้าย คือ ให้ระบุกำหนดเวลานัดพบที่เลื่อนขึ้นมาจากที่เป็นจริงสัก 15 นาที เช่น สั่งนัดพบกันเวลา 9:45 น. แทนที่จะเป็น 10:00 น. เป็นต้น เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเสียเวลารอคอย ตลอดจนความรู้สึกไม่ดีต่างๆ ทั้งปวงของคนอื่นๆ

วิธีเยียวยา “คนหลงเวลา” ให้รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสัตว์มากๆ นั้น พึงระวังการสะสมไขมันสัตว์ ที่ไม่เป็นมิตรต่อร่างกาย ส่วนข้อแนะนำเกี่ยวกับ การปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรมนั้น ทั้ง 6 ข้อแรก คือข้อแนะนำที่ให้สำรวจตัวเองแล้วลงมือปฏิบัติเอง โดยยึดหลักการนำเอาความจริงมาคิดอย่างที่พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ ส่วนข้อที่ 7 ท้ายสุดอาจไม่จำเป็นต้องใช้หาก “คนหลงเวลา” ไม่ดื้อรั้นและรู้จักควบคุมตัวเองได้สำเร็จ จะเห็นได้ว่า

“คน หลงเวลา” ไม่เพียงแต่จะล่าช้าอยู่เป็นประจำ แต่ยังก่อให้เกิด ความทุกข์ยากลำบากใจกับตัวเองและผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ดี หากมุ่งมั่นปรับปรุงต้วเองได้สำเร็จตามข้อเสนอแนะดังกล่าว ก็จะสามารถนำความสุขใจและความสัมพันธ์อันดีมาสู่ตัวเองกับผู้อื่นได้ ไม่มากก็น้อย ในลักษณะ “ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว.”

ที่มา www.pattayadailynews.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท