หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ... (กล่องเก็บความทรงจำ..สม่ำเสมอ)


นอกจากให้พวกเขาสามารถรู้จัก "สื่อการสอน" ที่มีอยู่เยอะแยะมากมายแล้ว ไม่อยากให้เขาลืม "รากเหง้า" ของตัวเอง

เด็ก ๆ ถามอาจารย์ว่า "อาจารย์มาหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่กี่ครั้งแล้วครับ?"

ผมเงยหน้ามองฟ้าแล้วก้มลงมา ตอบว่า "สงสัยจะสัก ๒๐ - ๓๐ ครั้งแล้วกระมัง เพราะปลายคอร์สนี้ทีไร เป็นต้องพามานักศึกษามาที่นี่เสมอ"

 

วันเสาร์ที่ผ่านมา (๑๗ กันยายน ๒๕๕๔) ผมยังคงทำหน้าที่อาจารย์ประจำวิชา "เทคโนโลยีการศึกษา" เช่นเคย หลังจากเรียนเนื้อหาจบทั้งหมดแล้วก็นัดนักศึกษา พามา "หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่" ที่เหมือนมีมนต์ขลังเสมอ

มากี่ครั้ง บรรยากาศก็ไม่เหมือนเดิม สีของท้องฟ้า เมฆสีขาวที่ลอยอยู่ ช่วงเวลาที่ต่างกัน บันทึกนี้จึงขอโอกาสนี้ถ่ายทอดบรรยากาศให้ทุกท่านได้เดินทางมาด้วยกันครับ

 

 

ภาพที่ ๑ ... ด้านข้างอีกมุมหนึ่งของอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ในยามเช้าเก้าโมงกว่า ๆ

 

 

 

ภาพที่ ๒ ... ขยับมาอีกนิด สีฟ้าของท้องฟ้า เมฆขนนกพลิ้วไหว

 

 

 

ภาพที่ ๓ ... ขยับอีกนิด บิดมุมอีกหน่อย

 

 

 

ภาพที่ ๔ ... ขยับขนานกับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่กันเลย มุมนี้พิมพ์นิยม

 

 

 

ภาพที่ ๕ ... ชักร้อน เดินกลับทางเดิมดีกว่า ;)...

 

 

 

ภาพที่ ๖ ... แหงนกล้อง มองฟ้า เมฆวิ่งมา เป็นทาง ... งามแต้ครับ

 

 

 

ภาพที่ ๗ ... ป้ายหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (Chiang Mai City & Cultural Centre) อย่างเป็นทางการ

 

 

 

ภาพที่ ๘ ... ทางเดินเข้าไปสู่ทางเข้าหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ คลาสสิคครับ

 

 

 

ภาพที่ ๙ ... มองผ่านประตูโค้งภายในหอศิลปฯ เห็นเจดีย์วัดร้าง ใกล้วัดสะดือเมือง

 

 

 

ภาพที่ ๑๐ ... มองผ่านบานหน้าต่างภายใน ไปยัง เจดีย์วัดสะดือเมือง

 

 

 

ภาพที่ ๑๑ ... ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น (วัดแห่งแรกในเวียงเชียงใหม่) จำลอง

 

 

 

ภาพที่ ๑๒ ... ปั๊บใบลาน พวกตำรายา ที่เก็บศาสตร์ต่าง ๆ ของคนล้านนา

 

 

 

ภาพที่ ๑๓ ... ซิ่นแม่แจ่มทอมือ ยากที่สุดคือ ลวดลายด้านล่าง ใช้เวลาทอเป็นเดือน (อย่างที่ละครเรื่อง รอยไหม นำเสนอครับ)

 

 

 

ภาพที่ ๑๔ ... ทวารบาน หรือ เทวดาประจำบานประตู (เคยเสนอแล้วครั้งหนึ่งครับ)

 

 

 

ภาพที่ ๑๕ ... ระฆังประจำมณฑลลาวเฉียง (สมัยรัชกาลที่ ๕)

 

 

 

ภาพที่ ๑๖ ... ตราประจำเมืองนครเชียงใหม่ (มีคำถามที่พยายามคำตอบกันว่า "สำหลับ" ในที่นี้ คือ "สำหรับ" หรือไม่ ฝากถามผู้รู้ครับ)

 

 

 

ภาพที่ ๑๗ ... พานักศึกษามาฝึกตัด "ตุงไส้หมู" ตุงสำหรับประกอบงานบุญทางล้านนาต่าง ๆ

 

 

 

ภาพที่ ๑๘ ... ตัดง่ายมาก นอกจากมีครูสอนแล้ว ยังมีสื่อที่เป็นป้ายไวนิลบอกขั้นตอนอีกครับ

 

 

 

ภาพที่ ๑๙ ... ลูกศิษย์ของผมกำลังคลี่ตุงออกให้สวยงาม

 

 

 

ภาพที่ ๒๐ ... ลูกศิษย์คนงามและเป็น Artist ประจำห้องนี้ครับ รักในการวาดรูปมากครับ

 

 

 

ภาพที่ ๒๑ ... ภาพวาดสีน้ำมันเมืองเชียงใหม่ที่ติดไว้บนผนังของห้องสมุดหอศิลปฯ ครับ

 

 

 

ภาพที่ ๒๒ ... เดือนนี้ที่หอศิลปฯ มีนิทรรศการหมุนเวียน "ภาพถ่ายจากชมรมถ่ายภาพเชียงใหม่" ผมเห็นภาพนี้แล้วอยากบันทึกเก็บไว้ทันที "สายตาของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า หมา" เข้าถึงหัวใจเลย

 

 

 

ภาพที่ ๒๓ ... ด้านหลังอาคารหลักของหอศิลปฯ พร้อมเมฆลูกแกะ

 

 

 

ภาพที่ ๒๔ ... แอบเห็นดอกไม้ในกระถางหน้าร้านกาแฟ จึงขอเก็บภาพหน่อย (ใครทราบชื่อแจ้งด้วยนะครับ ผมรออยู่นะ)

 

 

 

ภาพที่ ๒๕ ... ดอกไม้สีขาว ... จำชื่อไม่ได้ครับ คุ้นเคยเฉย ๆ ;)...

 

 

ผ่านไปแล้วนะครับ ภาพชุดนี้ เป็นกิจกรรมในห้องเรียนที่ผมได้มีโอกาสพาลูกศิษย์ไปเปิดหู เปิดตา เปิดวิสัยทัศน์ใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่นั่งกันอยู่เกือบจะหมดเทอม

นอกจากให้พวกเขาสามารถรู้จัก "สื่อการสอน" ที่มีอยู่เยอะแยะมากมายแล้ว ไม่อยากให้เขาลืม "รากเหง้า" ของตัวเอง "รากเหง้า" ที่บรรพบุรุษเขาเก็บรักษาและถ่ายทอดมาถึงคนรุ่นหลัง 

อนาคตของครูเหล่านี้เขาจะต่อยอดเอง หากเขาเห็นคุณค่าและความสำคัญ

ผมเลือกที่จะทำหน้าที่ของตัวเองเท่านี้แหละ ;)...

 

รู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง เข้ามาพูดคุยกันได้นะครับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

 

ขอให้มีความสุขทุกท่านครับ

บุญรักษา ทุกท่านครับ ;)...

 

หมายเลขบันทึก: 461819เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2011 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบคุณค่ะ เห็นงามทุกยามที่ได้ยลค่ะ :)

ผมเห็นคนในบ้านของเรา

เขียนถึง....หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ... (เพื่อเก็บลงกล่องเก็บความทรงจำ..สม่ำเสมอ ๆ) มากมายหลายท่าน

แต่ละท่านมีความทรงจำไม่เหมือนกันเลย

แต่ก็เป็นความโชคดีของผม..ถึงผมจะไม่ได้ไป

แต่ถ้าได้ไป...ผมคงอ๋อ...เลยครับ

และน่าเดินทางไปเยี่ยมชมมากครับ

อาจารย์ถ่านภาพสวยมากครับ

ความประทับใจ..

ฟ้าใสดีมาก เวลาฟ้าใสอะไรๆ ก็ดูดีไปหมด

ภาพที่ 24 : ใช่ต้นที่มีหัวอยู่ในดิน มีใบคล้ายกระเทียม หรือเปล่าคะ ถ้าใช่ = บัวดิน

งามงดมากคะ ทุกภาพประทับใจ
เห็นอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ทำให้นึกถึงบรมปฐมอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่สี่แยกกลางเวียง ตัดถนนพระปกเกล้า คะ

ขอบคุณมากครับ คุณหมอ ทิมดาบ ;)...

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ทำให้เราเข้าใจความเป็นล้านนามากขึ้นครับ

อย่าลืมแวะมาร้อง "อ๋อ" ที่เชียงใหม่ด้วยนะครับ ;)...

บังเอิญ ฟ้าใสในยามที่ไม่มีเมฆฝน มั้งครับ คุณหมอบางเวลา CMUpal ;)...

น่าจะใช่นะครับ คุณหมอบางเวลา ... "บัวดิน" เนาะ ;)...

ขอบคุณมากครับ

  • มาคารวะอาจารย์
  • เจอภาพนักศึกษาเอ้ย
  • ภาพระฆังงามขนาด
  • ถ่ายได้อย่างไรเนี่ย
  • ถ้าเอามาตีตอนผ่อนพักตระหนักรู้คงดี
  • 555
  • ผมชอบที่นักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องในท้องถิ่นล้านนา
  • ถ้าไม่มีใครเรียนต่อ
  • ควมรู้เหล่านั้นจะหายไป
  • ขอขนานนามอาจารย์ว่า คุณครูกระดาษทรายเบอร์ 0
  • เย้ๆ

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...

แหมอุตส่าห์แวะมาชอบภาพนักศึกษา อ่ะ !

ชอบ "ระฆัง" ... (แน่ใจนะอาจารย์)

ขอบคุณคำขนานนามนะครับ ;)...

มาชื่นชมค่ะ 

หอศิลปชั้นสองเคยเป็นที่ทำงานของครูเหมียวมาก่อนค่ะ เมื่อก่อนใช้เป็นศาลากลางจังหวัดและหน่วยงานการศึกษาก็อยู่ที่ชั้นสอง ในปัจจุบันเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนอีกแหล่งหนึ่งที่อยู่ใกล้โรงเรียนค่ะ...

ดีจังเลยค่ะ..ที่นักศึกษาระดับนี้จะได้เห็นคุณค่าและรากเหง้าในท้องถิ่น...

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆๆเช่นนี้..

ยินดีและขอบคุณเช่นกันครับ คุณครู เมียวดี ;)...

คุ้นๆ บรรยากาศเหมือนเคยไป แต่พยายามนึกหลายๆ มุม ทำไมไม่เคยเห็น :)

อ. เสือมีอดีตกับที่นี่ ซาวเตื้อเเลยรึเจ้า อิ อิ ชอบภาพระฆัง แสง เงา เจ๋งจังค่ะ

ขอบคุณมากครับ คุณ Poo ;)...

ระฆังโบราณก๊าบ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท