ชีวิตที่พอเพียง : 442. มายาของการประเมิน


ชีวิตของผมมีหลักปฏิบัติในชีวิตอยู่อย่างหนึ่ง คือจะพยายามไม่ทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์ หรือสิ่งที่อาจเป็นโทษ

ชีวิตที่พอเพียง  : 442. มายาของการประเมิน 

         เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับชีวิตที่พอเพียงอย่างไร     เกี่ยวเพราะชีวิตของผมมีหลักปฏิบัติในชีวิตอยู่อย่างหนึ่ง คือจะพยายามไม่ทำสิ่งที่ไร้ประโยชน์    หรือสิ่งที่อาจเป็นโทษ     ซึ่งท่านที่ติดตามอ่านมาเรื่อยๆ จะพบว่า ในหลายๆ กรณีผมก็ตีความสิ่งที่เรียกว่า ไร้ประโยชน์ ผิดในบางช่วงชีวิต     หรือตีความต่างกันเมื่อเวลาผ่านไป

        ในช่วงสัปดาห์ระหว่างวันที่ ๒๖ ๓๐ พ.ย. ๕๐ ผมได้สัมผัสการประเมินที่ผมตราว่าไม่มีความหมาย เสียเงินจ้างทำการประเมิน (บางกรณีเรียกว่าทำการวิจัยประเมินผล) โดยสังคมได้ประโยชน์น้อย หรือไม่คุ้มค่า 

         การประเมินทั้ง ๒ กรณีนี้เป็นการประเมินความพึงพอใจ หรือประเมินความรู้สึก    และผมมีข้อสงสัยว่าเป้าหมายของการประเมิน กับวิธีการประเมิน ตรงกันหรือไม่     วิธีการประเมินจะได้คำตอบที่แม่นยำน่าเชื่อถือหรือไม่     และตอบคำถามที่ต้องการรู้หรือไม่

        ผมตั้งคำถามต่อไปว่า วิธีจัดการประเมินจะช่วยให้ได้ผลการประเมินที่เป็นกลางน่าเชื่อถือหรือไม่     ผมอาศัยความชำนาญในการอ่านรายงานการประเมิน     แล้วใช้ตัวรายงานนั้นประเมินความสามารถของผู้ประเมิน    และพบว่าผู้ประเมินไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่ตนประเมิน     รู้แต่ methodology ของการประเมิน

       ในกรณีเช่นนี้ ผมตีความว่า ผู้ว่าจ้างไม่ชำนาญในการเลือกผู้ทำงานประเมิน     เลือกผู้ประเมินผิดคนหรือผิดทีม ผมเดาว่างานประเมินแบบนี้ เป็นการประเมินแบบไม่คิดอะไรมาก     ขอแต่เพียงให้มีสิ่งที่เรียกว่า ผลการประเมิน สำหรับเอามาเสนอ เพื่อให้ได้คะแนนผลงาน

      ถ้าเป็นแบบนี้ ผมว่านี่คือการประเมินแบบมายา     ไร้คุณค่าที่แท้จริง

วิจารณ์ พานิช

๒๘ พ.ย. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 161107เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท