ความรู้ มุสาวาท และปัญญา


         ผมมีข้อสังเกตกับตัวเองว่า  สิ่งที่เรียกกันว่า "ความรู้" นั้น  ส่วนหนึ่งเป็น "มุสาวาท" คือคำโกหก   คำชวนเชื่อ  เป็นกึ่งจริงกึ่งเท็จ

         คนที่รู้เท่าทันก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อ   คนไม่รู้เท่าทันก็ตกเป็นเหยื่อ   จึงเกิดคำถามขึ้นว่า สังคมจะยอมให้คำชวนเชื่อกึ่งจริงกึ่งเท็จแพร่หลายในสังคมหรือไม่

         จะใช้อะไรเป็นเครื่องมือกรอง "ขยะ" หรือ "พิษร้าย" เหล่านี้ออกไป

         "ปัญญา" ระดับบุคคล ใช้กรองสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ออกไปได้อย่างแน่นอน

         แต่ผมคิดว่าต้องมี "ปัญญา" ระดับสังคม  ที่เป็น "ปัญญาเชิงระบบ" ทำหน้าที่กรองสิ่งชั่วร้ายออกไปจากสังคม   ป้องกันไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน

         ผมจึงดีใจมากที่อ่านใน จดหมายข่าวสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (www.presscouncil.or.th) ฉบับเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2550 ในคอลัมภ์โครงการประกวด นสพ. ส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพ เอ่ยถึง "เล่ห์แอดเวอโทเรียล" ที่ผมสงสัยว่า นสพ.บางกอกโพสต์ปล่อยออกมาได้อย่างไร   ที่ปลอมหน้าโฆษณาชวนเชื่อในชื่อ Advertorial (advertisement + editorial)

         พอผมเห็นหน้า Advertorial เกี่ยวกับเทคโนโลยี imaging ด้านการแพทย์  และซ่อนการโฆษณาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งไว้อย่างแนบเนียนเมื่อ 2 - 3 เดือนก่อน   ศรัทธาของผมต่อ นสพ.บางกอกโพสต์ก็ตกลงไปทันที   เพราะผมถือว่าข้อความใน Advertorial นั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของ "มุสาวาท" ไม่ใช่ความรู้

วิจารณ์ พานิช
 24 ก.ย.50

หมายเลขบันทึก: 131395เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์ PProf. Vicharn Panich

ขออนุญาตินำบทความไปรวมในรวมตะกอนครับ ขอบคุณมากครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/117622?page=10

  • ต้องรื้อระบบการศึกษาวิชาเอกการตลาดใหม่ละมั้งครับ
  • กรณีทีวีสามารถเปลี่ยนความคิดจากไม่เห็นด้วยกลายเป็นเห็นดีด้วยได้
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท