อ่อมแซบจานร้อน


ถ้าเราได้รู้เรื่องใหม่สดๆวันละเรื่องจะวิเศษขนาดไหน?

ถ้าเราตั้งเป้าว่าจะเรียนรู้เรื่องใหม่ๆสักวันละ1เรื่อง

ครบหนึ่งปี เราจะได้ชุดความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นถึง300-400เรื่อง

และถ้าออกแบบวิธีเจาะความรู้ ดึงเอาความรู้มาสู่หม้อข้าวหม้อแกง

สามารถเพิ่มผักผัดไฟแดงให้คอข้าวต้มที่แสนอร่อยขึ้นมาอีกหนึ่งเมนู

แล้วบริหารความรู้ให้กระโดดโลดเต้นเป็นตััวหนังสือในหน้ากระดาษ ในสื่อต่างๆเผยแพร่ไปสู่เพื่อนร่วมโลก

คิดดูเถิดว่าชีวิตนี้จะมีความหมายประมาณไหน

เรื่อง นี้คิดแล้วผมกระโดดลงจากเตียงเลยนะครับ เพราะโจทย์วันนี้คือพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ที่แอบเข้ามาในสวนเมื่อประมาณ3-4ปีมาแล้ว  มาถึงก็แพร่ขยายพันธุ์ไปทั่ว ประกอบกับไม่มีหนามเมล็ดไม่มียางเหนียว หรือไต่ยั๊วเยี้ยสร้างความรำคราญให้กับพืชชนิดอื่น ผมจึงมีความรู้สึกที่ดีกับพืชที่มาอาศัยอยู่ใหม่นี้ สังเกตุอยู่เงียบๆ วันหนึ่งเดินไปเห็นมันแพร่ระบาดทั่วไปงอกงามดีเหลือเกิน จึงบอกคนงานลองตัดไปเลี้ยงหมู คนงานบอกว่า..เฮียไม่รู้อะไร ..เจ้านี่เขาเรียกว่า “อ่อมแซบ” เป็น ผักอ่อมยอดฮิตของคนอีสาน ผมฟังแล้วก็งั้นๆแหละ เพราะเห็นว่ามันเป็นผักพื้นๆเกิดง่ายตายาก จะกินเมื่อไหร่ก็ได้ เป็นความรู้สึกที่อ่อนด้อยเรื่องการสัมผัสความรู้อย่างละเอียด เหมือนกับเรื่องของมะรุม เห็นแต่อ้อนแต่ออกจึงเฉยๆ ผมมารู้ที่หลังว่ามันมีคุณสมบัติระดับพระกาฬ ก็ตาลีตาเหลือกปลูกจ้าละหวั่นตามอาการของคนเซ่อไม่รู้จบ อิ อิ

ด้วย ความคิดที่โง่เขลานี่เอง ทำให้โอกาสที่จะได้ชิมผักสุดยอดล่วงเลยไป  จนกระทั้งเมื่อคืนนี้ อ่านเจอในหนังสือ บอกว่าอ่อมแซบนี่นะ นอกจากจะรับประทานเป็นผักแล้ว เขายังเอาไปปั่นทำน้ำดื่มสมุนไพรรักษาโรคได้ผลดีอีกด้วย อ้าว อ้าว ! แบบนี้เห็นทีจะชักช้าไม่ได้แล้ว กระโดดลงเตียงแล้วไปเดินท่อมๆสำรวจ ได้ประเด็นมาคิดและทำต่อดังนี้

  1. ศึกษาสภาพทั่วไปเบื้องต้น ว่ามันเกิดบริเวณไหน กินพื้นที่เท่าไหร่ มีปัจจัยแวดล้อมหรือเอื้อต่อการเติบโตอะไรบ้าง
  2. ศึกษาโรคแมลงมีรบกวนไหม พบว่าอ่อมแซบเป็นพืชที่ไม่มีแมลงเตะต้อง จึงเจริญงอกงามดีกว่าวัชชีพตัวอื่น
  3. ศึกษาการขยายพันธุ์ อุปนิสัยของพืช ข้อจำกัด และตัวแปรต่างๆ
  4. เท่าที่ประเมินหยาบๆพบว่าทนแล้งได้ดีในพื้นที่ดินทราย แม้ฝนทิ้งช่วงไป22-3เดือน ใบก็ยังเขียวแตกกอกิ่งก้านหนาทึบ
  5. เป็นพืชที่ไม่มีหนาม หรือเมล็ดมียางเหนียว ไม่ไต่ยั๊วเยี้ยวไปรบกวนพืชที่อยู่ใกล้เคียง
  6. คุณค่าทางอาหารเบื้องต้น คนกินได้ หมูกินดี นกกระจอกเทศกินเพลิน
  7. คุณค่าทางด้านสมุนไพร ควรเร่งค้นคว้าด้านเภสัชจากระบบสืบค้นในเน็ท ถามผู้รู้ อ่านหนังสือ วิจัยด้วยตัวเอง
  8. หาวิธีการกระจายความรู้สู่ชุมชน

เมื่อได้โจทย์แล้ว

  • ผมหาวิธีชิมผักชนิดนี้ครั้งแรกในชีวิต ด้วยการเด็ดผักมาลวก 1 กำมือ ชิมทั้งเนื้อผักและน้ำต้มผักพบว่า
  • กลิ่นเหมือนผักทั่วไป ไม่เหม็นเขียว รสชาติดี ลวกแล้วอ่อนนิ่ม ผักปวยเล้ง ยอดฟักแม้ว ถึงขั้นตกจานเลยละครับ
  • เหมาะที่จะเอาไปปรุงแกงจืด แกงเลียง อ่อม รองจานนึ่งปลา ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ผัดไฟแดงกะทะร้อนกินกับข้าวต้ม
  • เหมาะที่จะนำไปปั่นเป็นดื่มสมุนไพรดื่ม จะปั่นเดี่ยวหรือผสมอะไรบ้างต้องถามผู้สันทัดกรณี
  • ทดลองเก็บใบมาตากแห้ง ทำใบชาชิมต่อไป
  • เปิดสปริงเกอร์ทุก3วัน รดน้ำให้ชุ่มเพื่อดูอัตราการงอกงามในช่วงแล้งและการเจริญทั้งปี
  • ผมจะหาวิธีผักไฟแดง-ต้ม-แกงให้อร่อย แล้วจะเชิญคอข้าวต้มมาดวลฉลองในวันปีใหม่
  • เตรียมเก็บเม็ลดพันธุ์ เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ไปทั่วโลก

จบข่าว

บอกเล่าเฉยๆ

ก่อนเขียนนี่ผัดชิมแล้วนะครับ

ถ้าใครแต่งงานสั่งผัดอ่อมแซบขึ้นโต๊รับรองดังระเบิด แคว๊กๆๆ

หมายเลขบันทึก: 320414เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2009 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นเมนูแล้ว หิวเลยพ่อ

  • ส่ง EMS เมล็ดบวบหอมลูกยาวไปแบบด่วนจี๋
  • คาดว่าไม่เกินพรุ่งนี้คงได้รับ
  • ต้นแบบนี้ไหมครับ
  • เพิ่งเคยเห็นครับ
  • ไม่เคยลองกิน
  • ต้องไปลองดู
  • เอาภาพมาจากครูท่านนี้ครับ
  • พ่อๆๆครูบามีเมนูใหม่

   อาทิตย์ต่อมาพี่โสภาใจดีของพวกเราก็สอนให้เราปลูกต้นอ่อมแซบ (หรือเบญจรงค์ ๕ สี หรือ ตำลึงหวาน หรือ บุษบาริมทาง ฯลฯ ชื่อของเจ้าต้นนี้เยอะแยะมากมายเลยค่ะ ตามแต่จะเรียก) ก่อนจะไปดูวิธีการปลูกต้อนอ่อมแซบ (ขอเรียกชื่อนี้ เพราะรู้สึกประทับใจเป็นการส่วนตัวค่ะ) เรามาเรียนรู้จักเจ้าต้นอ่อมแซบนี้กันสักน้อยนะคะ 

ต้นอ่อมแซบ (เบญจรงค์ ๕ สี หรือ ตำลึงหวาน หรือ บุษบาริมทาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์        Justicia Gangetica
ชื่อวงศ์                   Acanthaceae
สรรพคุณ                บำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา
ปรุงอาหาร              ผัดไฟแดง แกงจืด แกงอ่อม ชุปแป้งทอด ลวก-กินสดจิ้มน้ำพริก
ส่วนที่กินได้            ดอก ใบ ยอดอ่อน ก้าน ใบ

วิธีการปลูก
๑) นำกระถางกระดาษมาเจาะรูที่ก้นเพื่อระบายน้ำ
๒) ใส่ดินให้พอดี
๓) เลือกต้นอ่อมแซบที่จะมาปลูกโดยการเลือกกิ่งแก่ๆ ริดใบที่แก่ออก เหลือใบอ่อนบ้าง
๔) ปักลงดิน พร้อมรดน้ำ

เนื่องจากพี่โสภาเกรงว่าเด็กๆ จะไม่ทราบถึงความอร่อยในการทานผัก เราจึงมีการจัดการสอนการทำอ่อมแซบชุบแป้งทอดให้เด็กๆ ได้มีโอกาสลองชิมกันด้วยคะ

วิธีการทำอ่อมแซบชุบแป้งทอด
๑) เลือกยอดอ่อน นำมาล้าง ซับให้แห้ง
๒) นำแป้งทอดกรอบ ผสมน้ำเย็น (อันหลังเป็นเคล็ดลับที่ป้าปทุมบอกเด็กๆ ค่ะ)
๓) รอน้ำมันร้อน ไฟกลางๆ
๔) ดำเนินการจิ้มจุ่ม (นำยอดอ่อน จุ่มลงแป้งที่ผสมไว้ แล้วลงน้ำมันทอด)

เอามาจากที่นี่ครับ

ขอบใจ นะสุดหล่อ

พ่อกำลังบ้าปลูกผัก กินผัก พอดี จะปลูกให้งามเชียวแหละ

ต้นอ่อมแซบเกิดเต็มสวน เพิ่งจะรู้จัก เว่ออยู่นาน แคว๊กๆ

กำลังสนใจอยู่เหมือนกันค่ะ

แล้วก็เพิ่งรู้ว่าที่บ้านมี แต่ยังไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า

เดี๋ยวจะไปถ่ายรูปมาให้ดูนะคะ

เอ...ต้นเป็นแบบไหนน้อ??  ไม่ได้การต้องเดินทางไปสวนป่า เพื่อไปค้นหาความจริงดีกว่าครับ ...น่าจะเป็นพืชตระกูลล้มลุก กลีบดอกบอบบางสีม่วงอมชมพู สีของมันสวยหวานสดใส ที่เห็นขึ้นอยู่ในสวนป่า (ผมสังเกตเห็นตอนไปสวนป่า)

ต้นอ่อมเเซบ กับ ต้นลืมผัว คิดว่าเป็นต้นเดียวกัน...ที่มีสรรพคุณ บำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท