การแก้ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษ : วิเคราะห์หลักสูตร


จากบันทึกที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษที่เป็นปัญหาระดับชาติ  ครูอ้อยได้เขียนบันทึกเรื่อง.......รู้อะไร รู้ให้เชี่ยวชาญ รู้ให้ถ่องแท้ ....

จากนั้น  ครูอ้อยก็มาคิดว่า..ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น ใครบ้างที่จะมาช่วยกัน  แก้ปัญหาที่ไหน  จึงเขียนบันทึกนี้ไง แก้ปัญหาในจุดที่ท่านยืนอยู่..ก็แล้วกัน ......

เนื่องด้วยครูอ้อยเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่านั้น  จึงคิดแก้ปัญหาในจุดที่ครูอ้อยยืนอยู่ด้วยการปฏิบัติตามแนวผู้สอน  และเขียนบันทึก.....การแก้ปัญหาการสอนภาษาอังกฤษ : กำหนดการสอน ...

ซึ่ง.....ไม่ได้คิดแต่เพียงอย่างเดียว 

เมื่อคืนนี้  ครูอ้อยคิดว่า...จะต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ขึ้น  มานั่งพิมพ์ไฟล์ใหม่  เรื่องที่เกี่ยวกับหลักสูตร   ..ครูอ้อยพิมพ์ไป ก็คิด ไปว่า...ตรงนี้ล่ะ  ที่น่าจะนำมาเขียนเป็นบันทึก  ...แนวทางการคิดที่จะนำ..สาระการเรียนรู้อะไร  มาสอน..ที่ไม่ต้องยึดหนังสือเรียน...

ก็ต้องเริ่มด้วยการ....วิเคราะห์หลักสูตร  นี่ล่ะค่ะ  ครูอ้อยพิมพ์ไป  อ่านไป  คิดไป  ก็รู้ว่า..จะต้องนำความรู้อะไรนะ มา จัดการให้นักเรียน แบบ ครูอ้อยต้องเป็น ผู้กำกับ Facilitator  น่ะค่ะ 

การวิเคราะห์หลักสูตร  ซึ่งต้องเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ด้วย  องค์ประกอบที่จะต้องนำมาคิดในการจัดการความรู้  ที่จะจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ก็ได้แก่....K A P 

มันคืออะไร .....

K...Knowledge...คือความรู้...ยังแบ่งออกเป็น.. ..สาระของกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯที่สังกัด 

A...Attitude...คือเจตคติ  การเรียนภาษาอังกฤษ  ต้องมีตรงนี้เป็นสำคัญ  หากนักเรียนเรียนรู้ด้วยใจรัก แล้ว  ก็จะดำเนินการจัดการเรียนรู้ แบบ 2 ทางได้อย่างราบรื่น  ผล และประสิทธิภาพ ที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นที่น่าพอใจ   

P.....Process.. คือทักษะกระบวนการ  หรือเทคนิคการสอน หรือ วิธีการ  ที่จะต้องนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้  ตรงนี้  ก็จะบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนแต่ละท่าน  ที่จะต้องคำนึงถึง  ธรรมชาติวิชา  ธรรมชาติผู้เรียน  บรรยากาศ  สื่อ และอุปกรณ์  ตลอดจน...สถานศึกษา...การวิเคราะห์หลักสูตร  เป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก  ตีความให้แตก  และคิดว่า...จะนำอะไรมา...สร้าง  ผนวกกับเทคนิควิธีการ  สื่ออุปกรณ์ 

อ้อ...ไม่ลืมคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามวิสัยทัศน์ของวิชา และสถานศึกษาด้วย.....

เจาะลึก..การวิเคราะห์หลักสูตร..ยังมีต่อ....

หมายเลขบันทึก: 138948เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เป็นเรื่องน่าสนใจนะครับ  สำหรับในทางด้านสุขภาพก็นำทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม มาใช้เหมือนกันนะครับ เพราะว่ามีมุมมองว่า หากบุคคลมีความรู้และเจตคติที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพ บุคคลนั้นก็จะปฏิบัติตนที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพด้วย ดังนั้นจึงพยายามที่จะให้ความรู้และส่งเสริมทัศนคติที่ดี ทางด้านสุขภาพให้แก่ประชาชน โดยหวังว่าประชาชน จะมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ดี เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วย แล้วจะคอยติดตามผลงานของคุณครูต่อไปนะครับ

สวัสดียามเช้าอีกครั้งค่ะน้อง...ชายหนุ่ม

  • ความสุข จากใจและสุขภาพ  ฝ่ายบริหาร  ครูอ้อยและเพื่อนครูในโรงเรียน  คำนึงถึงเสมอค่ะ  ..เรียนเชิญอ่านที่นี่ค่ะ 
  • นอกจากนั้น  สุขภาพจิต  ก็มีการดูแลกันทั้ง ครูและนักเรียน  มีการดูจิต ทำสมาธิก่อนเรียนด้วยค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ  ที่มาแนะนำ  เพิ่มเติม  เติมเต็มให้กับบันทึกครูอ้อย  เสริมสร้างให้ครูอ้อยและเพื่อนที่สนใจได้อ่านด้วยค่ะ

ขอให้มีความสุขกับการเรียนและการทำงานนะคะ

เผอิญว่าสนใจเรื่องเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ เผื่อจะจัดหลักสูตรสอนลูกหลานที่บ้านค่ะ  ค้นไปค้นมาก็มาเจอพี่คุณครูอ้อยผู้ใจดี  คงจำกันได้นะคะ  วันนี้ขอมาเรียนรู้จากคุณพี่อีกครั้ง

สวัสดีค่ะน้องสาวแสนสวย.....ปอเป้

 

  • ดีใจนะคะ  ที่น้องเข้ามาค้นคว้าและมาพบกับครูอ้อยอีก
  • เข้ามาใน google หรือเปล่าคะ

คิดถึงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท