การจัดการเรียนรู้แบบBackward Design กับผลงานนักเรียนที่น่าชื่นชม


 ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design แบบล้วนๆเลย  ยังไม่ได้ทดลอง  
แต่เมื่อได้สอนไปบ้างแล้ว  ด้วยเทคนิคการถาม-ตอบ  ด้วย Wh-Questions และคำถามที่ตอบ Yes.No.
ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการเปลี่ยน.. queue คำศัพท์ไปอย่างหลากหลายแล้ว  นักเรียนจะสามารถตอบคำถามง่ายๆได้..อย่างพิศวง  
บันทึกที่ครูอ้อยเคยเขียนเรื่อง..... การเรียนรู้แบบBackward Designและ KM กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 
พิศวง.....เป็นอย่างไร   ครูอ้อยก็จะเล่าด้วยความประหลาดใจว่า..เมื่อสองปีที่ผ่านมา  ครูอ้อยยังไม่ได้ใช้เทคนิคการถาม- ตอบด้วย Wh-Questions กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะเพิ่งจะได้รับคำสั่งให้เปลี่ยนชั้นเรียนสอน  จากชั้น ป.1 เป็น ป.4 
ครูอ้อยต้องปรับเปลี่ยนทั้งระบบ  ตั้งแต่วิเคราะห์หลักสูตร  วิเคราะห์ผู้เรียน  ซึ่ง...ใครนะ...ทำความยากลำบากให้ครูอ้อยอย่างมหาศาล   แค้นนี้ต้องชำระ  
จากนั้นครูอ้อยก็ใช้เทคนิคการถาม- ตอบนี้ทุกวัน  ตลอดปีการศึกษา  นักเรียนมีความรู้และชอบการเรียนด้วยเทคนิคนี้มากทีเดียว 
หากวันใดครูอ้อยไม่ได้ถาม...นักเรียนจะท้วงเอง    วกกลับมาถึงการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ในหน่วยทัศนศึกษา 
ซึ่งนักเรียนจะต้อง  เขียนตอบคำถาม  ครูอ้อยทดลองมา 4 ห้องเรียนแล้ว  พบว่า....นักเรียนก้มหน้าก้มตาทำงานของตัวเอง.....
โดยไม่คุยกัน  ไม่ลอกเลียนแบบกัน 
และที่สำคัญ....ไม่ถามครูอ้อยเลยสักคนเดียว 
ครูอ้อยดีใจมากที่  คาดคะเนไว้ว่า...ผลงานชิ้นนี้  น่าจะใช้เวลา 2 ชั่วโมง 
แต่เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น  นักเรียน 2 คนแรกก็นำผลงานมาส่ง   ถูกหมดทุกข้อ ทุกคำ  ไม่มีที่ผิดเลย...
ครูอ้อยดีใจมาก  และรู้สึกว่า.....2 ปีกับการทดลองกับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการถาม - ตอบด้วย Wh-Questions 
นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่าง..รวดเร็ว และแม่นยำ 
แต่ขอบอกอีกครั้งว่า.....เหนื่อยแบบสุดสุด...ในแต่ละวันทีเดียว 

 
ส่วน Backward Design นั้น  น่าจะรู้ผลว่า...ดีหรือไม่ 
น่าจะต้องไปเรียนถามท่านผู้รู้ที่จัดการเรียนรู้แบบ...Backward Design ที่เป็น...น้องๆบูรณาการ  นั่นล่ะค่ะ  จึงจะรู้คำตอบดี.....
หมายเลขบันทึก: 111371เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 20:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขออนุญาตรายงานเพิ่มเติมว่า....หลังจากได้นำชิ้นงานนี้ไปให้นักเรียน 4 ห้องแล้ว ได้จัดทำ  แต่ละห้องมีความเหมือนกันก็คือ...ไม่มีการเดินออกมาถามครูอ้อยเลย
  • แต่แตกต่างตรงที่ ความเข้มของการได้รับความรู้แตกต่างกัน  ผลของการจัดทำก็ต่างกันด้วย
  • ดังนั้นครูอ้อยต้องย้ำ และเน้น นักเรียนแต่ละห้องให้เท่าเทียมกัน
  • ซึ่งในความจริง  ครูอ้อยไม่สามารถเกลี่ยเวลาให้เท่าเทียมกันได้  เพราะครูอ้อยติดภาระกิจของโรงเรียน  สับหลีกชั่วโมง ไม่ได้เลย
  • ผลจึงตกสู่นักเรียย  ในกรณีนี้เห็นได้ชัดเจน

ขอบคุณค่ะ

อะไร ของคุณ  [IP: 182.52.14.29]

แต่ยินดี ที่ท่าน มาเยี่ยมชม ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท