สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

กระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงการเกษตร


เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขาต่อ

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการงานส่งเสริมการเกษตรปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๕๔

(ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)

กิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 

ระหว่างวันที่  ๒๑ - ๒๒  มีนาคม  ๒๕๕๔

ณ  ศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ ๗  บ้านเขาต่อ  ตำบลท่าอุแท และศึกษาดูงาน

ณ ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอกาญจนดิษฐ์  บ้านโค๊ะ หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

 

        ด้วยสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์   ได้รับอนุมัติโครงการดังกล่าวฯ   จากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี  กรมส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ  ๒๕๕๔   โดยมีเป้าหมายเกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย  ซึ่งทางสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ และได้จัดสรรลงสู่ตำบลท่าอุแท  ซึ่งทางศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบลท่าอุแท ได้ดำเนินการประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล   ท่าอุแท เพื่อแจ้งแผนงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ และได้รับสมัครเกษตรกร และคัดเลือกเกษตรกร ในพื้นที่หมู่ที่ ๗ บ้านเขาต่อ ตำบลท่าอุแท

        ศูนย์บริการฯ ได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน และได้ดำเนินการขออนุมัติการจัดการฝึกอบรมโดยได้รับงบประมาณ ๘,๐๐๐ บาท ดังนี้

๑. ค่าป้ายไวนิล                    ๖๐๐    บาท

๒. เอกสารการอบรม               ๖๐๐    บาท   

๓. ค่าพาหนะเกษตรกร        ๒,๘๐๐    บาท

๔. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    ๔,๐๐๐    บาท

                   รวม  ๘,๐๐๐ บาท

    และได้ดำเนินการจัดจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างวันที่ ๒๑ – ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔  รายละเอียด ดังนี้

วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔ 

     เวลา ๐๘.๐๐ น. เริ่มออกเดินทางจากสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  มายังศาลาหมู่บ้าน  หมู่ที่ ๗ บ้านเขาต่อ   โดยทีมวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ ประกอบด้วย นายสิทธิชัย ช่วยสงค์, นายธเรศ ไข่มุกข์,นายวีระ พร้อมมูล  นางวันทนา ไข่มุกข์ และนายสหัส  พรหมสงฆ์  ปราชญ์ชาวบ้านตำบลท่าอุแท

     เวลา ๐๘.๓๐ น.เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวเริ่มทยอยมาลงทะเบียน    พร้อมรับเอกสารประกอบด้วย เอกสารการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมปากกา  1 ด้าม โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม จำนวน ๒๕ ราย  (เป้าหมายโครงการ เกษตรกร จำนวน ๒๐ ราย)

            เกษตรกรลงทะเบียน

     เวลา  ๐๙.๐๐ น.       นายเชษฐพล  อัสดาธร  ผู้ใหญ่บ้าน  ได้กล่าวต้อนรับ และแนะนำหมู่บ้าน บ้านเขาต่อ 

     เวลา  ๐๙.๑๐ น.       นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  ผู้รับผิดชอบตำบลท่าอุแท     ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยแนะนำทีมวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  และให้เกษตรกรได้แนะนำตัวเอง หลังจากได้รู้จักกันทุกคนแล้วก็ได้ดำเนินการแนะนำโครงการดังกล่าว เพื่อชี้แจงที่มาของโครงการฯ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย งบประมาณ รวมถึงประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากโครงการ

    

           ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ                     เกษตรตำบลชี้แจงโครงการฯ

เวลา  ๐๙.๐๐  น.      นายยงยุทธ  กุลทอง  เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้เดินทางมาถึงและได้ดำเนินการเป็นประธานในการเปิดกิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แนะนำตนเองในฐานะ มารับตำแหน่งเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ คนใหม่ (ตำแหน่งเกษตรอำเภอชำนาญการพิเศษ) และได้เล่าประวัติตนเอง  ประวัติการทำงาน และได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้เกษตรกรยึดตัวเราเอง รู้จักตัวเอง รู้ราย – รายจ่าย ของตัวเอง ควรมีการจดบันทึก ลองหัดทำบัญชีครัวเรือน  มีความพอประมาณ  ให้ยึดหลักคุณธรรม เช่น มีความสื่อสัตย์ สุจริต  ขยันอดทน มีสติปัญญา และควรมีการแบ่งบันซึ่งกันและกัน ตลอดจนควรมีภูมิคุ้มกันที่ดีในครัวเรือน เพื่อเตรียมพร้อมรับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับราคาผลผลิตของยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นต้น  สุดท้ายได้ประชาสัมพันธ์ เชิญร่วมงาน คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔  ณ เทศบาลตำบลช้างซ้าย หมู่ที่ ๑๑ ตำบลช้างซ้าย  อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฏร์ธานี  และอวยพรให้เกษตรกรทุกคนที่เข้าร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ มีความสุข และร่วมกันเรียนรู้ ด้วยกันอย่างมีความสุข ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    

เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ประธานเปิดโครงการฯ

เวลา ๑๐.๐๐ น.  เกษตรกรที่เข้าร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการเขียนใส่ในกระดาษรูปหัวใจที่ทางทีมวิทยากรสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ แจกให้ โดยเน้นย้ำให้ทุกคนเขียนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของตนเอง และครอบครัวว่าได้ดำเนินการอย่างไรบ้างที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และเมื่อทุกคนเขียนเสร็จแล้วจะต้องนำไปติดที่กระดานด้วยตนเอง

     เกษตรกรผู้เข้าร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้

     เวลา ๑๐.๓๐ น.  นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  ผู้รับผิดชอบตำบลท่าอุแทได้ดำเนินการสรุปผลของเกษตรกรที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้  พอสรุปได้ดังนี้

๑. มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชผัก  การเลี้ยงโค  เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ไว้บริโภคในครัวเรือน

๒. การประกอบอาชีพสวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน ด้วยตนเอง มีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ

๓. มีการปลูกผักสวนครัว ไว้บริโภคในครัวเรือน  โดยไม่ใช้สารเคมี  เน้นวิธีการกำจัดศัตรูพืช  โดยการปลูกต้นหอม  ต้นกุ๊ยฉ่าย พริกมะนาว  มะกรูด  ข่า  ตะไคร้ ไว้รอบๆ แปลงผัก

๔. หูงข้าวโดยใช้ไม้ฟืน

๕. มีการทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ภายในครัวเรือน

๖. ใช้ความเป็นอยู่ไม่เกินตัว  โดยการใช้จ่ายอย่างพอเพียง  อยู่อย่างพอเพียง  เช่น ปลูกผักไว้กิน เพาะเห็ดเสริมในสวนยางพารา  ตัดหญ้าในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อมาให้โคกิน

๗. การมีสติ  คำนึงถึงการใช้จ่ายประจำวัน โดยเน้นความประหยัด เท่านี้ก็มีความสุขแล้ว และได้ทำเพื่อพ่อของแผ่นดิน

๘. การใช้ชีวิตให้มีความสุข  ไม่เดือดร้อน  เน้นการออม  การมีรายได้เสริม  เป็นต้น

๙. การเป็นผู้นำ  แกนนำ  นำพาชาวบ้านสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นำเพื่อพ่อของแผ่นดิน

     เวลา  ๑๐.๓๐  น.  นายสนิท  ศรีวิหค  นายอำเภอกาญจนดิษฐ์  ร่วมพบปะเกษตรกรที่เข้าร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเน้นย้ำ  ๒  เรื่อง ได้แก่ 

๑. ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง  ว่าไม่ใช่เรื่องของการประกอบอาชีพอย่างเดียว แต่รวมทุกเรื่องไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องของจิตใจ  ศาสนา  โดยทุกคนจะต้องอยู่ด้วยกัยแบบพึ่งพาอาศัยกัน  ต้องช่วยกัน และควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และจะต้องมีการสื่อสารกันในรูปแบบต่างๆ

นายอำเภอกาญจนดิษฐ์ พบปะผู้เข้าร่วมโครงการฯ

๒. เน้นเรื่องของยาเสพติด เนื่องจากอำเภอกาญจนดิษฐ์ ณ ขณะนี้ได้มีปัญหายาเสพติดได้ระบาดมากขึ้น  จึงฝากให้ทุกคนช่วยกันดูแลลูกหลานของตนเองด้วย  สร้างความรัก  ความเข้าใจ และความอบอุ่นในครอบครัวให้มาก พยายามดูแล มิให้เข้าไปรวมกลุ่มในสิ่งไม่ดี ก็จะสามารถลดปัญหายาเสพติด ได้พอสมควร  เพราะหากคนส่วนมากเข้าใจเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะมีความเข็มแข็งทั้งทางด้านจิตใจ ร่างกาย และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในด้านต่างๆ ก็จะช่วยลดปัญหายาเสพติดได้มาก ส่งผลให้ครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

     เวลา  ๑๐.๓๐  น.  นายสหัส  พรหมสงฆ์  ปราชญ์ชาวบ้านตำบลท่าอุแท ได้ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง   ได้เน้นให้เกษตรกรรูจักความพอดี  รู้จักตนเอง  ควรหารายได้เสริม  ไม่ใช่วูบวาบ เช่น ราคายางพาราแพง ซื้อรถยนต์ป้ายแดง  โทรศัพท์มือถือแพงๆ มาใช้  โดยไม่ได้คำนึงถึงช่วงเวลาที่ราคายางพาราถูกลง จะทำให้เราเครียดได้  สุขภาพจิตจะไม่ดี และได้ให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง การจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างถูกต้อง เช่น การวางแผนการปลูก การเตรียมดิน การจัดหาพันธุ์ ระบบการให้น้ำ การแต่งทางใบปาล์ม  การใส่ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว และราคาปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

  คุณสหัส  พรหมสงฆ์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เวลา  ๑๒.๐  น.  ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน

    เวลา  ๑๓.๐๐  น.  นายธเรศ  ไข่มุกข์  สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  ได้ให้ความหมาย และความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง  การทำไร่นาสวนผสม  ทฤษดีใหม่  โดยเน้นการลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้  ขยายโอกาส  การผสมปุ๋ยเคมี ไว้ใส่สวนปาล์มน้ำมันแบบประหยัด  การใส่ปุ๋ยยางพาราแบบประหยัด

     คุณธเรศ  ไข่มุกข์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เวลา  ๑๔.๐๐  น.  นายวิลาส บัวแก้ว ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร ได้เล่าประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ว่า ตนเองและครอบครัวได้ช่วยกันทำงานโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการใช้จ่ายอย่างประหยัด  เช่น มีการทำปุ๋ยหมัก  น้ำหมักชีวภาพ  มีความเป็นอยู่โดยเน้นการลดรายจ่าย  มีการปลูกพืชผักไว้บริโภคกันเอง  ไม่ใช้สารเคมีในการฉีดพืชผัก  มีการเลี้ยงหมูหลุมเป็นอาชีพเสริมของครอบครัว  หมูเอาไว้ขาย  มูลหมูเอาไว้ใส่พืชผัก  เป็นต้นขีจ่าย  มีการปลูกพืชผักไว้บริโภคกันเอง  ไม่ใช้สารเคมีในการฉีดพืชผัก  มีการเลี้ยงหมูหลุมเปทนกลุ่มเกษตรกร ได้เล่าประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ว่า ตนเองและครอบครัวได้ช่วยกันทำงานโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

      ตัวแทนผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ร่วมกันอภิปรายผลจากการจัดกระบวนการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้เกษตรกรซักถามปัญหาข้อสงสัยและเสนอแนะ

     เวลา  ๑๕.๐๐  น.  นายเชษฐพล  อัสดาธร  ผู้ใหญ่บ้าน ได้ทำการตกลง นัดแนะกับเกษตรกรในเรื่อง การศึกษาดูงานในวันพรุ่งนี้  และได้กล่าวปิดการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการฯ ดังกล่าว และพบกันในวันพรุ่ง เวลา ๐๘.๓๐ น. ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน ม.๗ ตำบลท่าอุแท เพื่อไปทัศนศึกษาดูงาน

สรุปผลการจัดกระบวนการเรียนรู้/นำไปใช้ 

๑. เกษตรกรมีความรู้  ความเข้าใจ เกียวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

๒. เกษตรกรได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร

๓. เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเรียนร่วมกัน  ก่อให้เกิดความสามัคคี

 

วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ 

การทัศนศึกษาดูงาน ณ ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอกาญจนดิษฐ์  บ้านโค๊ะ หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์  จังหวัดสุราษฏร์ธานี

      เวลา ๐๘.๓๐ น.        เกษตรกรผู้เข้าจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกันที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน นายเชษฐพล  อัสดาธร  (รถยนต์ ๒  คัน) และได้ออกเดินทางมายังสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ตามที่ได้นัดกันไว้กับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  และได้ร่วมกันเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอกาญจนดิษฐ์ื่อดสุราษฏร์ธานีงสำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

          นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์  ผู้รับผิดชอบตำบลท่าอุแท     ได้ดำเนินการทบทวนการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาดูงาน รวมถึงประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากโครงการฯ   เพิ่มเติม

  

          นายธเรศ  ไข่มุกข์  สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  (ผู้รับผิดชอบตำบลช้างขวา) กล่าวต้อนรับ และแนะนำศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอกาญจนดิษฐ์ พร้อมกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการภายในศูนย์ฯ ดังกล่าว

          คุณธเรศ  ไข่มุกข์ กล่าวต้อนรับ

นางยุพา นิลอนันต์ ได้เล่าการดำเนินงานไร่นาสวนผสม (เกษตรทฤษฎีใหม่) ในพื้นที่ ๑๐ ไร่ ได้แก่  นาข้าว, สระน้ำ  ,พืชผัก เช่น ชะอม พริกขี้หนู , มังคุด , ปลูกหญ้าแฝก , เลี้ยงปลาดุกในร่องสวน , เลี้ยงปลาในกระชัง , เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่  , เลี้ยงหมูหลุม ปลูกไม้โตเร็ว เช่น กระถินเทพา ฮอกกานี  เป็นต้น

คุณยุพา  นิลอนันต์ ให้การต้อนรับคณะดูงาน  

  

           แปลงปลูกกระถินเทพา               เล้าเลี้ยงไก่ , เป็ด                         

     

         แปลงปลูกหญ้าแฝก                     แปลงปลูกพืชผัก และนาข้าว

  เลี้ยงหมูหลุม                                 การเลี้ยงปลาในกระชัง

           กลุ่มขยายพันธุ์พืช

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาดูงานครั้งนี้

๑. มีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง

๒. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรเศรษฐกิจพอเพียง

๓. ทำให้ทราบแหล่งศึกษาดูงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอกาญจนดิษฐ์

๔. เกษตรกรได้ร่วมกระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร

๕. เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเรียนร่วมกัน  ก่อให้เกิดความสามัคคี

 

          หลังจากร่วมรับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้ว  ได้ร่วมกันสรุปกิจกรรมจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ จะต้องมีความพอดี ดังนี้

          ๑. ความพอดีด้านจิตใจ  เช่น เราต้องไม่ดุที่คนอื่น ต้องดูที่ตัวเราเองก่อน มีจิตใจที่เข็มแข็ง เอื้ออาทร ประณีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และไม่หลงใหลตามกิเลส ตัณหา

          ๒. ความพอดีด้านสังคม เช่น ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  รู้จักรักความสามัคคี  สร้างความเข็มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน

          ๓. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น ต้องรู้จักใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างฉลาด เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          ๔. ความพอดีด้านเทคโนโลยี เช่น ต้องพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของตนเองและชาวบ้านของเราเองก่อน

          ๕. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ เช่น มีความพอดี  พออยู่พอกิน  ไม่โลภ ไม่ตระหนี่  ไม่สุรุ่ยสุร่าย  มีการลดรายจ่าย ไม่ใช้จ่ายเกินตัว หารายได้เสริม  มีการจดบันทึกทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ในครัวเรือน และหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ เป็นต้น

                                     

    นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์

       นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ

     สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

 โทร. ๐๘-๙๙๖๓-๓๐๗๘, ๐๗-๗๓๗๙-๐๑๓

      ๒๗ มีนาคม  ๒๕๕๔

 

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรกาญจนดิษฐ
หมายเลขบันทึก: 433039เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2011 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขยันจริงๆอำเภอนี้  รายงานความคืบหน้าบ่อยๆ  พวกเราจะได้ติดตาม

*เป็นการเรียนรู้ที่เห็นผลจริงๆ กับเกษตรกร

*ขอชื่นชมเจ้าหน้าที่เกษตรที่มีความตั้งใจทำงาน

*เป็นกำลังใจ...นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท