วิจัยเกมการศึกษา


การจัดการเรียนรู้
- จากแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 6 พ.ศ. 2530 - 2534 รัฐบาลได้วางนโยบายในการ ขยายการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่มีความสามารถทางร่างกายและสติปัญญา มุ่งพัฒนา รูปแบบกับวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสม เพิ่มความเสมอภาคในโอกาสทางการ ศึกษาและความเสมอภาคทางคุณภาพการศึกษา เด็กที่มีความสามารถทางการได้ยิน เป็นประเภทหนึ่งซึ่งสมควรได้รับการพัฒนารูปแบบกับวิธีการเรียนการสอนที่เหมาะ สมเกมการศึกษาเป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการฝึกทักษะในด้าน ต่างๆ สามารถพัฒนาเด็กได้ทุกด้าน ใช้ได้ผลดีในเด็กปกติ และจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยเกี่ยวกับผลของการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กและรูปแบบการพัฒนาเด็ก ก่อนวัยเรียนที่มีความสามารถทางการได้ยิน ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะนำเกมการ ศึกษาไปช่วยในการพัฒนาความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาให้แก่เด็ก ก่อนวัยเรียนที่มีความสามารถทางการได้ยิน และศึกษาความสามารถทางการสังเกต และรับรู้ด้วยสายตาก่อนและหลังการฝึกทักษะด้วยเกมการศึกษาว่าจะส่งผลให้เด็กมี ความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
แนวคิดทฤษฎี
-
วัตถุประสงค์
- การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อศึกษาผลของการใช้เกมการศึกษาในการพัฒนา ความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตา สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความ สามารถทางการได้ยิน สำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะคือ
     1. สร้างเกมการศึกษาด้านการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่มี ความสามารถทางการได้ยิน
     2. เพื่อหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
     3. เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาของเด็กก่อนวัยเรียนที่มี ความสามารถทางการได้ยินที่ฝึกทักษะด้วยเกมการศึกษา
     4. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาระหว่างนัก เรียนที่มีความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาระดับสูง ปานกลาง และ ระดับต่ำ

สมมุติฐานการวิจัย

-
ระเบียบวิธีวิจัย
-
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียน ประชารังสรรค์ จำนวน 15 คน ซึ่ง ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถทางการ สังเกตและ รับรู้ด้วยสายตาระดับสูง 4 คน ปานกลาง 7 คน และระดับต่ำ 4 คน ซึ่งได้ มาจากคะแนนจากการทำแบบทดสอบความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตา
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
-
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
-      1. แบบทดสอบความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตา ซึ่งเป็นแบบทดสอบ ประเภทปรนัยเชิงรูปภาพชนิด 3 และ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ
     2. เกมการศึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตา จำนวน 4 ด้าน ด้านละ 12 เกม รวมทั้งหมด 48 เกม
     3. แบบประเมินผลการฝึกทักษะด้วยเกมการศึกษาจำนวน 48 ข้อ
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
-      1. หาประสิทธิภาพของเกมการศึกษาที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คือ นัก เรียนสามารถทำแบบประเมินผลได้ถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 80 และทำแบบทดสอบ การทดลองโดยเฉลี่ยร้อยละ 80
     2. ศึกษาพัฒนาการด้านการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความ สามารถทางการได้ยิน
          2.1 เปรียบเทียบคะแนนความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาก่อนและหลัง การฝึกทักษะด้วยเกมการศึกษา โดยใช้สถิติการทดสอบของวิลคอกซอน
          2.2 เปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาระหว่างนักเรียน ที่มีความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาระดับสูง ปานกลาง และระดับต่ำ โดยใช้สถิติทดสอบของครูสคอลวัลลิส
สรุปผลวิจัย
-      1. เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาสำหรับ เด็กก่อนวัยเรียนที่มีความสามารถทางการได้ยินที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.11/94.33
     2. หลังการทดลองนักเรียนมีความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. นักเรียนที่มีความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตาระดับสูง ปานกลาง และระดับต่ำ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางการสังเกตและรับรู้ด้วยสายตา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะ

-      1. ควรมีการทดลองใช้เกมการศึกษากับเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความสามารถทางการได้ ยินในเนื้อหาและระดับชั้นอื่น โดยปรับเนื้อหาให้ยากง่ายตามความเหมาะสมให้แพร่ หลายและกว้างขวางยิ่งขึ้น
     2. ควรได้มีการสร้างเกมการศึกษาเพื่อฝึกทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะทางภาษา, ความคิด รวบยอดทางคณิตศาสตร์
     3. ควรมีการเปรียบเทียบการฝึกทักษะเด็กก่อนวัยเรียนที่มีความสามารถทางการได้ยิน ด้วยเกมการศึกษากับวิธีการฝึกทักษะแบบอื่นโดยเพิ่มกลุ่มตัวอย่างให้กลุ่มทดลอง และ กลุ่มควบคุม
     4. ควรมีการสร้างเกมการศึกษาให้มีความต่อเนื่องในเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งเป็นลำดับ จนถึงชั้นประถมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 139042เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วิจัยการจัดการศึกษาด้วยเกมการศึกษารูปแบบดีมาก    น่าสนใจ

จะนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์กับเด็ก  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป

ขอแนวคิดทฤษฎีหน่อยค่ะ อยากได้มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท