เปิด “ป้าย” Panda


การตั้ง ชื่อแฝง จึงควรให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าการ ตั้งชื่อ ป้าย ของท่านอาจารย์จันทวรรณ นะครับ ผมมองว่าตัวเองมีอะไรหลายอย่างคล้าย หมีแพนด้า ส่วนไหนบ้างท่านที่เคยรู้จักและพบก็ตัดสินเอาเองนะครับ
  • ช่วงนี้เห็นท่านอาจารย์ จันทวรรณ ของผมเขียน เรื่อง ป้าย หลายครั้ง  เลยอยากจะเขียนเรื่อง ป้าย บ้างนะครับ   ผมมองว่า  นามแฝง ก็เป็น"ป้าย" ที่สำคัญอันหนึ่ง ในโลกของการเขียน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนนวนิยาย หรือ หนังสือต่าง ๆ นามแฝงที่อาจจะเรียกกันว่า นามปากกา มีความสำคัญไม่น้อย เมื่อพูดถึง ยาขอบ  ทมยันตี และ อื่น ๆ อีกมากมาย คนจะรู้จักและจำได้ดีกว่าชื่อจริงมาก 
  • สำหรับใน gotoknow เมื่อพูดถึง คุณชายขอบ  ท่าน JJ   ท่าน Beeman  หรือ คนไร้กรอบ  คนในแวดวงจะรู้จัก นึกออกถึง บุคลิก หรือ ข้อเขียน จุดเด่นของแต่ละท่านได้มากกว่า นาย อนุชา หนูนุ่น (ชายขอบ)  รศ.นพ. จิตเจริญ ไชยาคำ (JJ)  อาจารย์  สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์ ( Beeman) หรือ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ (คนไร้กรอบ) ดังนั้นในตอนเปลี่ยนเป็น KnowledgeVolution ใหม่ ๆ ผมจึงเป็นอีกคนที่ ร้องขอ ให้คงการใช้ ชื่อแฝง ไว้ตามที่มีใน version 1 ต้องขอขอบคุณ ท่านอาจารย์ทั้งสองอีกครั้งนะครับที่ช่วยให้เรายังคงสามารถใช้ ชื่อแฝง ได้ดังเดิม
  • การที่ผมใช้ชื่อแฝงนั้น ไม่ใช่ต้องการปกปิดตัวตนของตัวเองแต่ประการใด สำหรับผมแล้ว กว่าจะเลือกว่าจะใช้ ชื่อแฝง อะไร ผมใช้เวลาคิดพิจารณาอยู่พอสมควร ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก  เหมือนในหนังหรือนิยายกำลังภายในของจีนทั้งหลายที่ คนสำคัญหรือหัวหน้าต้องมีป้ายประจำตำแหน่ง   ร้านค้าต่าง ๆ ให้ความสำคัญต่อชื่อ หรือ ป้าย ที่จะนำมาติดหน้าร้านมาก ป้ายที่ดี ต้องสื่อ หรือ แสดงตัวตน หรือ แนวคิดของเจ้าของได้พอสมควร อย่างเช่น คุณชายขอบ ได้เฉลยของตนเองเอาไว้  ของท่าน JJ ก็ตรงไปตรงมาว่าเป็นตัวย่อของชื่อ (อาจจะมีอย่างอื่นอีก ต้องรอเจ้าตัวมาเฉลย)  ท่าน Beeman ก็ต้องการสื่อถึงความรู้ความชำนาญของท่าน... คนไร้กรอบ  ผมก็คาดว่า เพราะท่าน ดร. วรภัทร์ ต้องการจะสื่อถึง ความคิดและการทำงานของท่านที่ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบ เป็นต้น  ดังนั้น การตั้ง ชื่อแฝง จึงควรให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าการ ตั้งชื่อ ป้าย ของท่านอาจารย์จันทวรรณ นะครับ
  • สำหรับผม ผมใช้วิธีทำ Links ให้ไปอ่านเรื่องที่เกี่ยวกับคำว่า Panda ใน Wikipedia  และ หมีแพนด้า (Giant Panda) ในประเทศไทย ในหน้าประวัติ แทนการอธิบายความคิดของผม ที่แสดงให้เห็น ความหลากหลายของความหมายของคำว่า Panda  ที่หมายถึงได้ทั้งที่เป็น พืช สัตว์ บริษัท และ อื่น ๆ อีกหลายอย่าง  และ ผมมองว่าตัวเองมีอะไรหลายอย่างคล้าย หมีแพนด้า ส่วนไหนบ้างท่านที่เคยรู้จักและพบก็ตัดสินเอาเองนะครับ
คำสำคัญ (Tags): #panda#ป้าย#นามแฝง
หมายเลขบันทึก: 40685เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สนับสนุนนามแฝงถึงแม้ว่าผมใช้ชื่อจริงเหมือนที่เราคุยกันที่ขอนแก่นครับ
  • แต่ก็สนุกดีใครก็คงเดา ท่าน Panda ไม่ถูกอยู่ดีนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • เป็น จอมยุทธ ลปรร. รวดเร็วจริง ๆ นะท่าน ขจิต ขอคารวะ  ถ้ามีแก้ไข สงสัยจะไม่ทันท่านแก้ให้เสียก่อน
  • ไม่จริงหรอกครับ
  • อาจารย์บอกผมเองว่าที่ มทส Internet ไวมากครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ผมมาช้าเพียงครึ่งก้าวครับ
  • สำหรับผม Panda น่ารัก ชวนให้เฝ้ามอง และติดตามอย่างต่อเนื่องครับ
  • ผมเรียนรู้การแทรกรูป จากอาจารย์ขจิต และ "คนเขียนข่าว" ครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

                                                 

                                     

                                         

     และแล้วนามแฝงของท่าน "Panda" ก็ติดตลาดในบันดล เมื่อถูกเฉลยว่าหาใช่นามของสาวผู้ทรงเสน่ห์ "ปานดา" ไม่ แต่กลับกลายเป็น หมี Panda นั่นเอง แถมเพศก็ "M" หาใช่ "F" อย่างที่คาดไว้ไม่
     ประเด็นนี้น่าแปลกนะครับ ที่หลาย ๆ คน ต่างสถานที่และเวลา ก็เข้าใจคล้าย ๆ กันโดยมิได้นัดหมายครับ

นี่คือความแตกต่างของบล็อกเกอร์คนไทยกับบล็อกเกอร์อีกซีกโลกค่ะ บล็อกเกอร์ส่วนใหญ่ที่ดิฉันติดตามอ่านมักจะใช้ชื่อจริง เพราะเขาต้องการใช้บล็อกเป็น marketing tools อย่างหนึ่ง เพื่อการนำเสนอประสบการณ์ความรู้ของตน ให้คนจำชื่ออย่างเป็นทางการได้ และเป็นยันต์กันผีขโมยความรู้ค่ะ (เรื่องลิขสิทธิ์นี้เป็นปัญหาโลกแตกค่ะ ตราบใดที่คนไม่ได้ถูกปลูกฝังในเรื่องการเคารพในความรู้ของผู้อื่น)

ได้เข้ามาอ่านบล็อกของคุณ Panda เสียที รีบเก็บเข้าแพลนเน็ตแล้วค่ะ ได้อ่านในความคิดเห็นมานาน เพิ่งรู้ว่าเราอดอ่านอะไรสนุกๆทั้งบันทึกไปตั้งมาก จะทะยอยมาตามเก็บให้หมดเลยค่ะ

ขออนุญาตเป็นยามภาษาให้ด้วยค่ะ คุณ Panda มี ล ลิง เกินมาเพ่นพ่านในในประโยคที่ว่า"ผมก็คาดว่า "ในย่อหน้าที่ 3 นะคะ ปล่อยเค้าเข้าป่าไปก่อนนะคะ

 

ช่วงหลังฝนตก...ขับรถอ้อมไปไกล เลยไม่ได้แวะมาแถวนี้...แต่ก็ยังมาทันตามหลังคนอื่นๆ นะคะ ดิฉันก็เห็นสอดคล้องกับท่าน Panda อย่างยิ่ง นามแฝง เป็นเสน่ห์ที่น่าหลงไหลอย่างยิ่ง น่าค้นหา ดั่งเช่น Dr.Ka-Poom มักทำให้คนเข้ามาติดกับหลายคน เพราะคิดว่าคือ "กะปอม"...หารู้ไม่ว่าข้อน้อยนั้นไซร์มีนามว่า "กะปุ๋ม" หากแต่เมื่อใช้ "นิภาพร" ดูเหมือนไม่มีใครอยากจะพูดด้วย...กะจะเปลี่ยนนามแฝงใหม่อยากทำเซอร์ไพร์ใครๆ..ก็โดนจับได้เสียก่อน..เพราะคุ้นสำนวนการเขียน...ก็เลยยังยืนหยัดใช้นามแฝงเดิม...หากแต่ตัวตนจริงๆ...ก็ยังคงเป็นตน..หามียศอย่างไม่...คือคนธรรมดาที่รักและสนุกกับการเรียน...ยังสนุกและมีความสุขกับการเรียนรู้ในบ้าน GotoKnow อยู่คะ...
  • ขอบคุณอาจารย์ ดร. จันทวรรณ ที่กรุณาแวะมาครับ
  • ขอบคุณ คุณโอ๋-อโณ ที่ช่วยเป็นยามภาษา ช่วย ผอ. บวร อีกแรง ผมแก้โดยขีดทับ ล ลิง ที่เกินมาแล้ว ตามที่แนะนำโดย ดร. จันทวรรณ นะครับ
  • ขอบคุณท่านชายขอบและ ดร. กะปอม ด้วยครับที่แวะมาให้กำลังใจ
  • ผมหายไป สี่วัน เพราะไปสัมมนา e-learning และ university fair 2006 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม.มาครับ 
ทันได้ตามมาแก้คะ...ท่าน Panda.. กะปุ๋มคะ...กะปุ๋ม...กะปุ๋ม(ยิ้มๆๆ)
  • ไม่ได้มาเที่ยวแถวนี้หลายวัน เพราะว่ายุ่งๆ กับงานที่รัดตัวครับ
  • แต่ว่าถูกอ้างอิงอีกแล้วครับ
  • ถ้าผมไปเขียนหนังสือ เป็นเล่มนะครับ ผมก็จะใช้นามแฝงว่า "beeman" "บีแมน" นะครับ (แทนที่จะใช้ชื่อ "ลักษณวงศ์"เหมือนสมัยก่อน เพราะชื่อเดิมเป็นชื่อตัว ท้าย+ต้น ของนามสกุลครับ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท