MSUKM-Team B ไปทำอะไร ? (1) : จับภาพ


จับภาพ (Capture) จากการประชุมสัมมนา จะต้องไปทำอะไร ? ทำอย่างไร ?

       ช่วงนี้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดการความรู้ มมส. ชุดใหม่   ที่มีท่านใหม่เพิ่มมาหลายท่าน  เมื่อได้รับมอบหมายให้เข้าไปร่วม การประชุมสัมมนาของหน่วยงานอื่นเพื่อ จับภาพ (Capture) จากการประชุมสัมมนานั้น ๆ มารายงาน จึงอาจจะงงว่า จะต้องไปทำอะไร ? ทำอย่างไร ? ผมจึงขอนำความเป็นมา บันทึกไว้อีกครั้งในที่นี่ครับ


 

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      คณะอนุกรรมการชุดนี้เราเรียกกันว่าเป็น Team B (Backup Team) ใน ABC Model ที่จะช่วยในประสานและส่งเสริมให้การทำงาน ด้านการจัดการความรู้ของหน่วยต่าง ๆ  ของ มมส. ดำเนินการไปในแนวที่สอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพสูงสุด
        แนวทางหนึ่งที่ทีม B ได้เข้าไปช่วยเสริมก็คือ เมื่อหน่วยต่าง ๆ จัดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ตามที่เคยจัดมา  เราก็จัดคนใน ทีม B เข้าไปร่วมด้วยโดยนำเอาเครื่องมือ KM เข้าไปเสริมเท่าที่พอจะทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปบอกว่าเป็นการใช้ KM  และเป็นการฝึกการ จับภาพ ของพวกเราทีม B โดยการปฏิบัติจริงอีกด้วย
       ครั้งแรกที่เราเข้าไปเสริมคือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2549  ซึ่งมี น้องดาว จากกองการเจ้าหน้าที่ ในฐานะอนุกรรมการฯ ในทีม B คนหนึ่งเป็นผู้ประสานกับ กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ที่เป็นหน่วยหลักในการจัดการประชุมครั้งนี้  เนื่องจากเป็นครั้งแรก พวกเราทีม B จึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือกันก่อนปฏิบัติงาน หรือที่เรียกกันว่า BAR (Before Action  Review) 
        ผมได้ให้แนวคิดว่า เนื่องจากหลาย ๆ ท่านในหน่วยงานอื่น อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำที่ใช้ในทาง KM เราก็ยังไม่จำเป็นต้องใช้ ในการเข้าไปร่วมงานกันในตอนแรก  อย่าไปติดอยู่กับคำเรียกหรือรูปแบบ  สิ่งที่ทีม B จะเข้าไปร่วม หรือจะเข้าไปเสริมโดยใช้เครื่องมือหรือวิธีการ KM เท่าที่จะทำได้  ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้นก่อน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        สิ่งที่ผมเสนอให้เสริมเข้าไปอันแรก คือ การขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ได้ทำ AAR (After Action Review) โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องเรียกว่า AAR ก็ได้  อาจจะเรียกว่าเป็น แบบประเมินปลายเปิด   ซึ่งเป็นแบบประเมินอีกแบบหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากแบบประเมินหลังการประชุมสัมมนาโดยทั่วไป มักเป็นการประเมินแบบปลายปิดเป็นส่วนใหญ่ คือตอบโดยการเลือกกาในช่องที่ตรงกับความเห็นมากที่สุด  แต่การตอบคำถาม 4-5 ข้อ ในแบบ AAR เป็นการเปิดโอกาส ให้เขาเขียนจากความคิดเห็นของตนเองทั้งหมด เราจึงจะมีโอกาสสูงกว่า ที่จะได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         ในส่วนที่สองคือ ทีม B ที่เข้าไปร่วมจะต้องฝึก จับภาพ จากการประชุมสัมมนานั้น ๆ โดยการฟังแบบตั้งใจ หรือที่เรียกว่า Deep Listening เพื่อจับประเด็นสำคัญ ในกรณีที่เป็นการบรรยายจากวิทยากร รวมทั้งจับบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ  เพื่อนำมารายงานให้ผู้อื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ได้รับทราบ  การจับประเด็นสำคัญให้เน้นที่ เส้นทางสู่ความสำเร็จ ทำอย่างไร ? หรือตอบคำถามว่า  How to ?   มี ปัจจัยหรือกุญแจสู่ความสำเร็จ (Key Success Fator) ที่สำคัญ อะไรบ้าง ?  โดยช่องทางที่แนะนำให้รายงานก็คือนำมาบันทึกลงใน Blog Gotoknow  ซึ่งอาจจะเรียกว่า เป็นการฝึกการเป็น คุณลิขิต โดยการปฏิบัติจริงของ ทีม B ไปในคราวเดียวกัน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       ผลการปฏิบัติงานครั้งแรก อ่านตัวอย่างได้จากบันทึกข้างล่างนี้ครับ</p> 1.     พัฒนาศักภาพการทำวิจัยของคณาจารย์ มมส.http://gotoknow.org/blog/phyto/65827
2.     จากวิจัย…สู่ธุรกิจของ วิชัย เชิดชีวศาสตร์     http://gotoknow.org/blog/phyto/66308
3.     สรุปการพัฒนาศักยภาพในการวิจัยของคณาจารย์ http://gotoknow.org/blog/phyto/66506
4.     คุณลิขิตลงสนาม      http://gotoknow.org/blog/suchanart/65810
5.    
พัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มมส # 1       http://gotoknow.org/blog/d-job/65913
6.     พัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มมส # 2      http://gotoknow.org/blog/d-job/66101
7.      พัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของคณาจารย์ มมส # 3      http://gotoknow.org/blog/d-know/66490 

หมายเลขบันทึก: 112918เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2007 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

ใช่เลยครับ ...นี่แหละ "KM ของจริง" จัดการเอาไว้ให้ จากรุ่น..สู่อีกรุ่น ได้เรียนรู้ (Lesson Learn) และต่อยอดการทำงานได้เป็นอย่างดีครับ

 

ขอบพระคุณค่ะท่านอาจารย์ Panda  อาจารย์ชี้ทางสว่างและทำเป็นตัวอย่างเสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท