งานวิจัย เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใส่สื่อคอมพิวเตอร์


สอนซ่อมเสริมคณิตศาสตร์

การวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอน

1.  ชื่อเรื่อง  การสอนวิชาคณิตศาสตร์   ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่อง  ความสัมพันธ์  โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม

2.  ผู้วิจัย                      นางสาวเกษณี   พิณเสนาะ  

3.  ชื่อสถาบันการศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4.  ปีที่ทำการวิจจัย      2542  

                                         

5.  ความเป็นมาและปัญหาของการวิจัย         การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นการส่งเสริมการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นพื้นฐานของวิชาอื่น ๆ ปัจจุบันการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้  รวมถึง การส่งเสริมการเรียนรู้  รายบุคคลเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง  รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพื่อกระตุ้น    ให้นักเรียนสนใจการเรียนมากขึ้น การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้นับว่ามีบทบาทและส่งเสริมจุดเด่นของนักเรียนที่เรียนเก่ง   และแก้ไขจุดบกพร่องสำหรับนักเรียนที่เรียนอ่อนได้  ผู้วิจัยสนใจที่จะนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเรื่องความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านผลการเรียนและพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่

6.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย                          

                6.1  ศึกษาผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่องความสัมพันธ์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย   ที่เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอนซ่อมเสริม

                6.2  เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในขณะเรียน                วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องความสัมพันธ์

7.  สมมติฐานการวิจัย                                        -

8.  ขอบเขตของการวิจัย                                   

                8.1  ประชากร   ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย   อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน  ค 011   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2542  จำนวน 3 ห้องเรียน

                8.2  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย   อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน  ค 011  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2542  จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 64 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

                8.3  ตัวแปร 

                                ตัวแปรต้น    ได้แก่   วิธีการสอนคณิตศาสตร์

                                ตัวแปรตาม   ได้แก่   ผลการเรียนและพฤติกรรมในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องความสัมพันธ์

9.  นิยามศัพท์เฉพาะ                         

                9.1  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม

                9.2  ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 

                9.3  พฤติกรรมในการเรียน

10.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

                10.1 ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง ความสัมพันธ์ ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและผ่านการทดลองใช้แล้ว  ซึ่งถือว่ามีคุณภาพ และเหมาะที่จะใช้สอนซ่อมเสริมหลังจาก       ที่ครูสอนปกติแล้ว

                10.2 ได้วิธีการสอนซ่อมเสริมหลังจากสอนปกติอีกวิธีหนึ่ง  ซึ่งเป็นการสอนซ่อมเสริม   โดยใช้คอมพิวเตอร์

                10.3  ได้แนวทางในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม  MATHCAI   ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการใช้งานในการสร้างกราฟทางคณิตศาสตร์  มากกว่าโปรแกรมอื่น                             

11.  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
11.1   การสอนซ่อมเสริม

                การสอนซ่อม   หมายถึง  การสอนนักเรียนที่เรียนอ่อน เรียนไม่ทันเพื่อนในชั้นเรียน

                การสอนเสริม  หมายถึง  การสอนเพิ่มให้กับนักเรียนที่ฉลาดให้ใช้ความสามารถให้เต็มที่

           ความจำเป็นของการจัดการสอนซ่อมเสริม
                เพราะผู้เรียนมีสติปัญญา  สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม    แรงจูงใจ  วิธีการเรียนรู้แตกต่างกัน 
           หลักการสอนซ่อมเสริม

                 1.  ครูผู้สอนต้องรู้จักข้อบกพร่องของนักเรียนรายบุคคล

                 2.  เริ่มสอนจากสิ่งที่ไม่รู้ จัดบทเรียนให้เหมาะกับความสามารถ  ความต้องการ และความบกพร่องเฉพาะอย่าง

                 3.  เลือกวัสดุอุปกรณ์วิธีสอนให้เหมาะสมกับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน

                 4.  ครูผู้สอนต้องคอยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนรู้

           วิธีการสอนซ่อมเสริม

                  นักเรียนสอนกันเอง   สอนแบบตัวต่อตัวระหว่างครูกับนักเรียน  สอนเป็นกลุ่มย่อย

 ใช้บทเรียนสำเร็จรูป    ทำแบบฝึกทักษะด้วยตัวเอง   เขียนคำถามเอง 
11.2   บทเรียนโปรแกรม

               ความหมายของบทเรียนโปรแกรม หมายถึง  การจัดระบบการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรม ด้วยตนเอง  ตามเนื้อหาและขั้นตอนที่กำหนดไว้ ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเลือกเรียนได้ตามความสนใจและความก้าวหน้าเฉพาะคน

               แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับบทเรียนโปรแกรม  มีหลายแนวคิดดังนี้  

                  1. ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง  เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิกิริยาที่โต้ตอบระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

               2.  กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์  ประกอบด้วย  กฎแห่งผล  กฎแห่งการฝึกหัด 

กฎแห่งความพร้อม

               3.  ทฤษฎีการเสริมแรงของ บี  เอฟ  สกินเนอร์   ซึ่งการเสริมแรงทางบวกจะทำให้ผู้เรียน

เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

           หลักในการเขียนบทเรียนโปรแกรม

                 1. ให้เรียนเรียนมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง   เมื่ออ่านเนื้อหาจบ  ให้ตอบคำถาม หรือ เลือกคำตอบ

                2.  ให้ผู้เรียนทราบผลสะท้อนกลับทันที เพื่อเสริมแรงให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ต่อไป

                3.  ได้ได้รับประสบการณ์ที่เป็นความสำเร็จและพอใจ แบ่งเนื้อหาย่อย ๆ และตั้งคำถามง่ายๆ  ให้ผู้เรียนตอบได้

               4. ให้ผู้เรียนแต่ละคนก้าวหน้าตามความสามารถ ของตน  คนเก่งก็เรียนได้เร็ว คนอ่อน         ก็เรียนได้ช้า

          กระบวนการสร้างบทเรียนโปรแกรม

                1.  ขั้นเตรียม ประกอบด้วย  ศึกษาหลักสูตร  กำหนดจุดประสงค์  วิเคราะห์ภารกิจการเรียน สร้างแบบทดสอบ

               2.  ขั้นดำเนินการเขียน   เขียนบทเรียน  ทบทวนและแก้ไข

               3. ขั้นทดลองและปรับปรุง   ทดลองใช้เป็นรายบุคคล ทดลองใช้กับกลุ่มเด็ก ทดลองใช้ในห้องเรียน      

               4.  พิมพ์บทเรียนฉบับจริง
11.3   คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องช่วยครูในการเรียนการสอน โดยครูบรรจุเนื้อหาลงในคอมพิวเตอร์แล้วให้นักเรียนเรียนรู้ จากคอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง

               ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                  1. โปรแกรมการฝึกทักษะและทำแบบฝึกหัด  เตรียมเนื้อหาให้อ่านแล้วทำแบบฝึกหัด

                  2. โปรแกรมการเรียนแบบเจรจา  พยายามให้เป็นการพูดคุยแทนที่จะเป็นตัวอักษร  มีเสียงสนทนาด้วยแล้วให้ฝึกตาม หรือปฏิบัติตามคำสั่ง

                 3. โปรแกรมการเรียนแบบจำลองสถานการณ์  เช่น หัดขับเครื่องบิน  โดยใช้คอมพิวเตอร์

                4.  โปรแกรมเพื่อการเรียน  เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่สอนแล้วตั้งคำถามให้ตอบ

                5.  โปรแกรมเพื่อการทดสอบ  โดยนำ คอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการทดสอบแจ้งผลการสอบให้ผู้เรียนทราบทันที

        ขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                 1.  ศึกษาหลักสูตรและผู้เรียนเป้าหมาย อย่างละเอียด

                 2.  กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และเรียบเรียบวัตถุประสงค์ให้มีความต่อเนื่อง

                 3.  จัดทำคำถามนำร่อง

                4.  วิเคราะห์เนื้อหา แล้วจัดเป็นแผนภูมิข่ายงาน

                5.  จัดเนื้อแบ่งเนื้อหาให้เป็นหน่วยย่อย ๆ เพราะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะปราศจากครูการสอนครั้งละ มาก ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาได้

                6.  สร้างบทเรียนตามกรอบเนื้อหาซึ่งเนื้อหาแต่ละหน่วยย่อยจะประกอบด้วย

                         6.1  กรอบหลัก  เป็นกรอบที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน

                         6.2  กรอบฝึกหัด  เป็นกรอบที่ผู้เรียนได้ฝึกหัดความรู้จากกรอบหลัก

                         6.3  กรอบส่งท้าย เป็นกรอบทดสอบ  ผู้เรียนต้องนำความรู้ที่ได้จากกรอบหลักมาตอบ

                         6.4  กรอบรองส่งท้าย เป็นกรอบเขียนต่อจากกรอบส่งท้าย จะเป็นการเขียนเพื่อแก้ไขข้อมูลที่ตอบผิดหรือเข้าใจผิด เพื่อเสริมความเข้าใจยิ่งขึ้น

                7.  เข้ารหัสและป้อนบทเรียนเข้าในคอมพิวเตอร์

                8.  ทำการตรวจสอบความเรียบร้อยของบทเรียนจากคอมพิวเตอร์  ทดลองเรียกใช้ตามลำดับ  ตรวจความเรียบร้อย  ปรับปรุงแก้ไข

                9.  ทดสอบบทเรียนกับผู้เรียนเป้าหมาย  เพื่อดูผลที่ได้รับว่าเป็นไปตามความคาดหมายหรือไม่  หากจำเป็นแก้ไขให้ดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนนำไปใช้จริง

               10.  เมื่อผ่านการทดลองใช้แล้ จึงนำไปใช้กับผู้เรียนเป้าหมาย

               11. ติดตามผลการเรียนของผู้เรียนเป้าหมาย
11.4   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
               หมายถึง ความรู้และทักษะที่ได้รับ โดยพัฒนามาจากการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ  ซึ่งครูต้องอาศัยเครื่องมือวัดผลช่วยในการศึกษาว่าผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะมากน้อยเพียงใด วิธีในการวัดผลที่ใช้มากที่สุดคือ  การทดสอบ  อาจเขียนตอบหรือสอบภาคปฏิบัติ
11.5   พฤติกรรมในการเรียน              

 หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเรียนรู้  เป็นการกระทำที่ผู้เรียนแสดงออกมา  ในขณะเรียน  ซึ่งสามารถสังเกตได้ เช่น  ความเอาใจใส่ในการเรียน  ความมีวินัย  ความรับผิดชอบ

11.6  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

               11.6.1 งานวิจัยภายในประเทศ

               11.6.2  งานวิจัยต่างประเทศ

12.  วิธีดำเนินการวิจัย

                12.1  ประชากร   ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย  อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน  ค 011   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2542  จำนวน  3 ห้องเรียน

                12.2  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียน ค 011 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2542  จำนวน  2  ห้องเรียน รวม 64 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง

12.3   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

                                12.3.1  แผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ค 011 เรื่อง ความสัมพันธ์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4   สำหรับครูใช้สอน ในห้องเรียนปกติจำนวน 13 คาบ ๆละ 50  นาที       บทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับสอนซ่อมเสริมจำนวน 5 คาบ ๆ ละ 50 นาที  โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแผนการสอนตามขั้นตอนดังนี้

                                             -  ศึกษาหลักสูตร  คู่มือครู  แบบเรียน ขอบข่ายเนื้อหาวิชาเรื่องความสัมพันธ์  ชั้น มัธยมศึกษาปีที 4                       

                                                - แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 หน่วย โดยแต่ละหน่วยใช้เวลาเรียนดังนี้

                                                 หน่วยที่  1  คู่อันดับและผลคูณคาร์ทีเชียน

                                                        คาบที่ 1   คู่อันดับ

                                                        คาบที่ 2  ผลคูณคาร์ทีเชียน

                                                        คาบที่ 3  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับซ่อมเสริมเรื่อง  คู่อันดับ  และ ผลคูณคาร์ทีเชียน

                                                หน่วยที่  2  ความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 1  ความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 2  ความสัมพันธ์(ต่อ)

                                                       คาบที่ 3  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับซ่อมเสริมเรื่องความสัมพันธ์ 

                                                หน่วยที่ 3 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 1 โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 2 โดเมนของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 3 โดเมนของความสัมพันธ์ (ต่อ)

                                                       คาบที่ 4  เรนจ์ของความสัมพันธ์

                                                คาบที่ 5  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับซ่อมเสริมเรื่อง โดเมน  และเรนจ์ของความสัมพันธ์

                                                หน่วยที่ 4 กราฟของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 1  กราฟของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 2  กราฟของความสัมพันธ์ (ต่อ)

                                                       คาบที่ 3  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับซ่อมเสริมเรื่อง กราฟของความสัมพันธ์

                                                หน่วยที่ 5  อินเวอร์สของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 1  อินเวอร์สของความสัมพันธ์

                                                       คาบที่ 2  อินเวอร์สของความสัมพันธ์ (ต่อ)

                                                       คาบที่ 3  อินเวอร์สของความสัมพันธ์ (ต่อ)

                                                คาบที่ 4  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับซ่อมเสริมเรื่องอินเวอร์สของความสัมพันธ์     

                            การสร้างแผนการสอนที่ใช้สอนในห้องเรียนปกติ  จำนวน 13 คาบ ๆ ละ 50 นาที ซึ่งในแต่ละคาบจะประกอบด้วย

                                ชื่อเรื่อง  และการกำหนดจำนวนคาบ

                                 จุดประสงค์ปลายทาง

                                 จุดประสงค์นำทาง

                                 สาระสำคัญ

                                 กิจกรรมการเรียนการสอนประกอบด้วย  ขั้นนำ  ขั้นสอน  ขั้นสรุป 

                                 การวัดและการประเมินผล

                                 สื่อการเรียนการสอน

                          เมื่อสร้างแผนการสอนเสร็จแล้วได้นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง และ ความเหมาะสมของเนื้อหา  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่องจึงได้แผนการสอนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

                          การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับช่วยสอนซ่อมเสริม มีทั้งหมดจำนวน 5 คาบ ซึ่งแต่ละคาบประกอบด้วยแบบทดสอบประจำหน่วยก่อนเรียน   บทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับซ่อม  บทเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับเสริม    แบบทดสอบหลังเรียน  ซึ่งผู้วิจัยได้ได้ดำเนินการสร้างดังนี้

                                - ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การสอนซ่อมเสริม บทเรียนโปรแกรม  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                                -วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละหน่วย เพื่อนำไปสร้างบทเรียน  สำหรับซ่อม  และบทเรียนสำหรับเสริมของแต่ละหน่วยโดยใช้โปรแกรม MATHCAI

                                -สร้างแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนของแต่ละหน่วย โดยเป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด           4  ตัวเลือก  หน่วยละ 2 ชุด ชุดละ 10 ข้อ  ยกเว้นหน่วยที่ 4 มีชุดละ 6 ข้อเพราะมีเนื้อหาน้อยกว่าหน่วยอื่น ๆ

                               -ทบทวนแก้ไขบทเรียนที่สร้างเสร็จแล้วโดยดูความ ถูกต้อง เหมาะสมของเนื้อหาเทคนิคการแสดงผล

                                -นำบทเรียนให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และนำกลับมาแก้ไขปรับปรุง

                                -นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างเสร็จแล้วมาทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย  2 กลุ่ม คือ กลุ่มเรียนเก่ง และกลุ่มเรียนอ่อน กลุ่มละ 2 คน  แล้วนำผลที่ได้รับจากการทดลองใช้  มาแก้ไขปรับปรุง

<font size=

"+0">                               

นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แก้ไขเสร็จแล้วมาทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเรียนเก่ง และกลุ่มเรียนอ่อน กลุ่มละ 3 คน  แล้วนำผลที่ได้รับ            จากการทดลองใช้  มาแก้ไขปรับปรุง จึงได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พร้อมนำไปใช้จริง

12.3.3  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจบทั้ง 5 หน่วย  เป็นข้อสอบ

แบบปรนัยชนิด  4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ  เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้นำไปทดลองใช้กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย เพื่อหาความเที่ยงของแบบทดสอบปรากฏว่าได้ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบเท่ากับ 0.8242   แล้วนำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม MATHCAI   

12.3.4  แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียน 3 ด้าน

                 -  ด้านความเอาใจใส่ในการเรียน

                 -  ด้านความมีวินัยในชั้นเรียน                          

                 -  ด้านความรับผิดชอบ

12.4  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                 12.4.1  การทดสอบประจำหน่วยก่อนเรียน   

12.4.2  การทดสอบประจำหน่วยหลังเรียน

                12.4.3  การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจบบทเรื่องความสัมพันธ์  ทั้ง 5 หน่วย

12.4.4  การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนและบันทึกทั้ง 3 ด้าน

12.5  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

12.5.1  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตร้อยละของค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ

ของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 50 % เพื่อดูความก้าวหน้าในการเรียนแล้วนำเสนอโดยใช้กราฟประกอบ   คำบรรยาย

                                12.5.2  นำผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาคำนวณหาค่าร้อยละ ของนักเรียน  ที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของจุดประสงค์แล้วนำเสนอโดยกราฟประกอบคำบรรยาย

                                12.5.3  นำข้อมูลการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนของนักเรียนมาเขียนสรุปพฤติกรรม      แล้วนำเสนอโดยการบรรยาย

13.  สรุปผลการวิจัย
        13.1  นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลการเรียนที่ดีขึ้นโดยมีความก้าวหน้าทางการเรียนและนักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์

                13.2  นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีพฤติกรรมด้านความเอาใจใส่          ในการเรียน  ความมีวินัยในชั้นเรียน   และความรับผิดชอบอยู่ในเกณฑ์ดี

14.  ข้อเสนอแนะ

                14.1 ข้อเสนอแนะในด้านการเรียนการสอน

                                14.1.1  เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม ควรเป็นรูปภาพหรือ  รูปเรขาคณิต  เพื่อให้นักเรียนเห็นเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่ายขึ้น

                &nbsp

หมายเลขบันทึก: 29931เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตอนนี้ทำวิจัยCAIประเภทเกมส์ สอนซ่อมเสริมอยู่ค่ะอยากได้คำแนะนำและ อยากได้ตัวอย่างงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยค่ะ...

ขอขอบคุณท่านอาจารย์เป้นอย่างสูงที่ได้เผยแพ่รความรู้งานด้านวิจัย ขอให้ท่านอาจารย์

จงมีความสุขที่ได้อยู่กับเด็กและมีสุขภาพแข็งแรงนะค่ะ

ตอนนี้เรียนอยู่คะ แล้วกำลังทำโครงการก่อนจบ แล้วได้ทำสื่อ CAI ทำเป็นสื่อการเรียนการสอนสำเร็จรูปคะ ตอนนี้กำลังเขียนวิจัย อยู่แต่ยังไม่มีแนวทางเลยคะ เลยอยากได้คำแนะนำในการเขียนนะคะ ยังไงก้อชอบบอกหน่อยนะคะ

ขอบคุณคะ

ขอบคุณอาจารณ์มากน่ะครับ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท