พรานกระต่ายตัดสินใจลงมือทำนำเศรษฐกิจพอเพียงโดยสมเกียรติ์ แก่นสาร


มีรายได้โดยเฉลี่ยวันละ300-500บาท
         นับว่าเป็น Best practice  เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร  จุดหนึ่งที่ คุณสมเกียรติ์ แก่นสาร    เกษตรกรหมู่ 1 ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร ได้เล่าให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ของจังหวัดกำแพงเพชร   ที่ได้ไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร  ของคุณสมเกียรติ์ แก่นสาร  ในครั้งที่จัด DW  เมื่อไม่นานมานี้
        คุณกอบเกียรติ์ แก่นสาร ได้เริ่มต้นเล่าให้ฟังว่า เดิมตนเองประกอบอาชีพเป็นพนักงานฝ่ายช่าง ของบริษัทเรือบรรทุกน้ำมันแห่งหนึ่งของต่างประเทศ  วันฯหนึ่งเดินเรืออยู่กลางทะเลไปหลายประเทศในภูมิภาค ทำมาหลายปีแล้ว ประกอบกับอายุมากแล้ว  จึงอยากจะพักผ่อน จากนั้นก็ได้ฝึกลูกชายได้มีอาชีพเหมือนพ่อ แล้วได้ให้ลูกทำงานแทนตนเองอยู่ในบริษัทเดียวกับตนเองจึงได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทกลับบ้าน  มาอยู่กับครอบครัวที่ตำบลพรานกระต่ายแห่งนี้
         ขณะเดียวกันตัดสินใจ ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทาง โดยใช้พื้นที่ทำการเกษตรของตนเองที่มีอยู่เดิม ประมาณ 7 ไร่เศษรวมทั้งที่อยู่อาศัยทุกวันนี้ กิจกรรมที่ทำคือ เลี้ยงปลากินพืชในบ่อปูน  การเลี้ยงปลาไหลในบ่อปูน   แปลงปลูกไม้ผล   แปลงปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ทุกวันนี้มีรายได้จากการขายพืชผัก ปลาที่เลี้ยง ปลาไหลที่เลี้ยง มีรายได้ประมาณ 300-500 บาทต่อวัน   พร้อมกันนี้สมาชิกของครอบครัวยังได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษอิ่กด้วย
          สิ่งที่ทดลองทำแล้วประสบความสำเร็จและภูมิใจ คือการเลี้ยงปลาไหล
          การเลี้ยงปลาไหลในบ่อปูน แรงจูงใจที่ทำให้ตัดสินใจเลี้ยง คือ ตนเองเป็นคนที่ชอบบริโภคแกงปลาไหล   จึงสนใจที่จะศึกษา พร้อมได้ทดลองจับปลาไหลในธรรมชาติมาเลี้ยง ลงทุนทำการศึกษาอย่างจริงจัง ถึงนิสัย พฤติกรรม การกิน-อยู่ พร้อมได้ศึกษาสภาพแวดล้อมของปลาไหล  พบว่า สามารถเลี้ยงปลาไหลได้จริง และสามารถเลี้ยงควบคู่กับการทำกิจกรรมเกษตรอื่นฯ เห็นว่าไม่ยุ่งยากอะไร และสามารถทำได้ทุกคน จึงคิดจะเผยแพร่ความรู้ไปสู่คนที่อยู่ในชุมชนและผู้ที่สนใจ
          คุณสมเกียรติ์ ยังได้เล่าต่อไปว่า วิธีการเลี้ยงปลาไหล ควรจะเริ่มต้นจากทำการศึกษา ค้นคว้าหาความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาไหล     พร้อมทำการทดลองนำพ่อ-แม่พันธ์ปลาไหลมาเลี้ยง  เห็นผลแล้วจึงตัดสนใจเลี้ยงอย่างจริงจัง โดยดำเนินการดังนี้
          (1)    จัดเตรียมอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาไหล ได้แก่สร้างบ่อปปูนซีเมนต์ ขนาด 4x 4 เมตรสูง 70 ซม. ภายในบ่อควรฉาบปูนให้เรียบ ภายในบ่อควรมีท่อน้ำและมีฝาปิดเจาะรูขนาดเล็ก ให้น้ำไหลออกได้รอบด้าน ในระดับ 50ซม. บริเวณส่วนบนควรมีตาข่ายไนล่อนสีเขียวถี่ปิดทั้งหมด โดยเย็บเป็นผืนคล้ายมุ้ง เพื่อกันปลาไหลหนีไปได้  สำหรับบ่อที่สร้างขึ้นใหม่ ควรนำต้นกล้วยหั่นเป็นท่อนฯใส่ลงในบ่อแช่ไว้ประมาณ 3-4 วัน
          (2)    ในการเลี้ยงปลาไหล จะต้องไขน้ำออกจากบ่อให้หมด พร้อมใส่ดินเหนียวรองก้นบ่อ 1 ชั้น จากนั้นนำหนังวัวหรือหนังควายสดใส่เป็นชั้นที่2 จากนั้นก็นำฟางข้าวมาวางทับเป็นชั้นที่3  แล้วชั้นที่4เป็นชั้นบนสุดนำดินมากลบ
          (3)    การจัดพื้นที่ของบ่อเลี้ยงปลาไหล ควรแบ่งเนื้อที่ของบ่อส่วนหนึ่ง เพื่อนำผักตบชวา ลำเจียก ที่มีอยู่ตามท้องนา โดยนำมาใส่ในบ่อเลี้ยงปลาไหล และควรจะเตรียมกระบอกไม้ไผ่ที่เจาะรูมาวางไว้ เพื่อให้ปลาไหล ได้อาศัยอยู่ จากนั้นก็นำลูกปลาไหล ขนาดเท่าฯกันมาใส่ ตารางเมตรละ 50 ตัว พื้นที่ของบ่อ ขนาด 4x4 เมตรจะปล่อยปลาไหลได้ประมาณ 800 ตัว
          (4)    ควรปล่อยน้ำเข้าบ่อเลี้ยงปลาไหล ไม่ควรใช้น้ำประปา ซึ่งมีกลิ่นคลอรีน  จากนั้นก็จัดหาอาหารให้ปลาไหล  โดยธรรมชาติปลาไหลชอบกินทั้งพืช และสัตว์ที่มีอาหารหมัก หากเป็นอาหารสดชอบกิน สิ่งที่มีกลิ่นคาวแรงฯ เช่นไส้เดือน ฯลฯหากเป็นหอย  ปลา  ปู ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็กฯใส่ภาชนะวาไว้ริมบ่อ  ทิ้งไว้ครั้งละ2 วัน ปลาไหล 1 ตัวจะกินไส้เดือนประมาณ2-3 ตัวก็จะอิ่ม โดยทั่วไปแล้วปลาไหล 50 ตัวต่อไส้เดือน 150 ตัว แล้วค่อยฯเพิ่มปริมาณอาหารตาม ความเจริญเติบโตของตัวปลาไหล ทั้งนี้ควรจะให้อาหาร เม็ดสลับกันไปด้วย
          (5)    เริ่มต้นจากปลาไหลที่ได้จากธรรมชาติส่วนหนึ่งมักจะบอบช้ำ หรือมีบาดแผล จากการจับรวบรวมขนส่ง เมื่อนำมาเลี้ยงมักจะอ่อนแอ ลำตัวเป็นแผล ไม่ค่อยกินอาหาร และตายไปในที่สุด จะสังเกตได้ง่ายโดยจะมีอาการท้องบวม บริเวณรูก้นเป็นจ้ำแดงและมีเมือกคลุมมากผิดปกติ เมื่อทำการผ่าท้องปลาไหล ดูอวัยวะภายในจะมีกลิ่นเหม็น   ควรป้องกันรักษาใช้ยาปฎิชีวนะ เช่น ออกซี่เตตร้าซัยคลีนผสมอาหารให้กิน ปริมาณ 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กก.ให้กินครั้งละ5-7 วัน สิ่งสำคัญ ในการลำเลียงขนส่งปลาไหล ต้องทำอย่างพิถีพิถัน ทุกขั้นตอนจะต้องใส่ภาชนะที่เหมาะสม ที่ไม่แออัดแน่นจนเกินไป  เพื่อป้องกันการเกิดโรคแก่ปลาไหลได้ครับ
         สุดท้ายนี้ คุณสมเกียรติ์ แก่นสาร ได้ปรับปรุงบริเวณบ้านของตนเอง ได้เป็นเป็นโรงเรียนชาวบ้าน(ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพเศรษฐกิจพอเพียง)แก่เกษตรกรที่อยู่ในชุมชนและผู้ที่สนใจอีกด้วย
        แหล่งความรู้ : คุณสมเกียรติ์ แก่นสาร หมู่ที่1 ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย  จังหวัดกำแพงเพชร
หมายเลขบันทึก: 104121เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีครับ

ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ ผม สำหรับวิธีการดีๆ นะครับ ไว้จะลองเอาไปลองคิดดูนะครับ

ที่บ้านผมมีบ่อดินครับ เลี้ยงไว้ตามแบบธรรมชาติครับ เลยไม่ต้องสร้างบ่อซีเมนต์ครับ สนใจเอาเมื่อไหร่ก็ไปจมลัน เอาได้เลยครับ กลางคืนก่อนที่จะจัดการครับ คือเน้นพึ่งพาตนเองครับ

ขอบพระคุณมากๆ นะครับ

  • ชอบสไตล์การสกัดความรู้จาก best practice ของคุณสายันห์ครับ
  • อ.สมพร ช่วยอารีย์ น้อง เม้ง คิดว่าคุณสายันห์จะรู้หรือครับว่าจมลัน คำใต้บ้านเรา คุณสายันห์ท่านจะเข้าใจ อย่างไงก็ช่วยเข้ามาอธิบายอีกสักรอบนะครับ...ขอบคุณครับ

เรียนอาจารญ์สมพรครับ

      ขอขอบคุณครับ ดีใจมากครับ ที่ได้มาแวะเยี่ยม ผมว่าเราวางแผนไว้ล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ดีครับ สำหรับการพึ่งตนเอง  ยังติดใจอยู่คำว่าจมสัน ช่วยอธิบายสักรอบ อย่างอ.นงบอกก็จะเป็นการดีครับ

เรียนอาจารย์นงครับ

    ขอขอบคุณมากครับ ผมดีใจอย่างสุดฯฯฯฯฯฯครับที่มาแวะเยี่ยมน้องฯอีกครั้ง ผมเองก็กำลังเรียนรู้และพัฒนาอยู่ครับ เกี่ยวกับการสกัดความรู้(ยังมือใหม่หัดขับอยู่ครับ)

    ดูภาพประกอบได้ที่ท้ายๆ ของบันทึกนี้ครับ(ลิงค์)
  • สวัสดีครับพี่ๆ ทุกท่านที่รัก
  • ลันดักปลาไหล ดูและอ่านได้ที่นี่ นะครับ http://lanna.mju.ac.th/lannaequipments_detail.php?recordID=72
  • ผมนึกว่าจะเหนื่อยซะแล้ว อิๆๆๆ โชคดีเจอในเนท ตัวช่วยที่ดีของผมเลยครับ
  • ผมว่าครบถ้วนเลยนะครับ โชคดีที่เหมือนว่าภาคอื่นจะใช้คำนี้ด้วยครับผม
  • ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ เข้าไปเยี่ยมบันทึกของพี่ยุทธแล้วด้วย สุดยอดครับ

ต้องขอบคุณ อ.สิงห์ป่าสัก มากครับที่ช่วยและแบ่งปัน

 เรียน อาจารย์สมพรครับ

         สวัสดีครับอาจารย์  ขอบคุณมากครับ ที่แนะนำสิ่งที่ดีฯ ผมอ่านแล้วครับเคยรู้จัก แต่บ้านผมทางเหนือเรียกว่าตุ้มดักปลาไหลครับ

เรียนท่านอาจารย์ เขียวมรกต  กระผมอยากทราบว่าลันที่ใช้ดักปลาไหลมีกี่ชนิด  และใช้อะไรเป็นเหยื่อได้บ้างครับ

เรียนท่านนิวลัน  ต้องขอขอบคุณมากครับ    ที่มาแวะเยี่ยม จากคำถาม(1) ขอเรียนว่าประเภทของลันนั้นในแต่ละภาคของประเทศไทยชุมชนเรียกต่างกันครับ   แต่ก็สนใจที่จะศึกษาอยู่เหมือนกันว่ามันมีกี่ประเภทกันแน่   จะมีนักวิชาการหรือนักวิจัย ได้บันทึกเป็นตำราไว้หรือไม่นะครับ     สำหรับเหยื่อที่ใช้ใส่ในลัน เท่าที่มีประสบการณ์ตอนเป็นเด็กฯฯบ้านนอกก็เห็นจะเป็นใส้เดือน,ปูทุบละเอียด,ปัจจุบันบางชุมชนใช้หอยเชอร์รี่ทุบ ครับผม

ลูกปลาไหลหาซื้อได้ที่ไหนครับ  อยากลองเลี้ยงดูบ้าง

สนใจเรื่องการเลี้ยงปลาไหล มีพื้นที่อยู่ 1-2 ไร่ จะทำบ่อปูน แล้วจะทดลองเลี้ยงดู ผลผลิตต่อบ่อได้ กี กิโล ช่วยตอบด้วย 081-3399684

อยากสัมภาษณ์จังที่เลี้ยงปลาไหลอยู่ที่จังหวัดหรือคะ

อยากไปดูสถานที่เลี้ยงปลาไหลค่ะ ว่าทำไงบ้าง ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ค่ะ รบกวนตอบกลับด้วยนะ ช่วยด้วยเถอะนะคะศึกษามานานแล้วอยากไปลองเลี้ยงดูสักที

อยากไปดูสถานที่เลี้ยงปลาไหลค่ะ ว่าทำไงบ้าง ตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ค่ะ รบกวนตอบกลับด้วยนะ ช่วยด้วยเถอะนะคะ ศึกษามานานแล้วอยากลองเลี้ยงดูสักที ช่วยตอบกลับที่ e-mail [email protected] ด้วยเถอะนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท