KM กับเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย


     เมื่อราวๆ ต้นเดือนที่แล้วดิฉันได้รับโทรศัพท์สายในจากพี่นุ่น กองบริการการศึกษา มน.เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม KM ให้กับรองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี  และผู้อำนวยการกองกิจการนิสิตนักศึกษา ของสถาบันเครือข่ายการดำเนินงานด้านพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ    ซึ่งความรู้สึกแรกหลังจากที่ดิฉันได้ฟังทำให้รู้สึกยินดีและดีใจที่มีกลุ่มคนอีกกลุ่มที่กำลังสนใจที่จะใช้ KM ในการทำกิจกรรม  และที่สำคัญเป็นส่วนงานที่มีส่วนสำคัญกับแต่ละมหาวิทยาลัยเพราะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษา  พี่นุ่นได้นำการพูดคุยระหว่างเราที่ได้พูดคุยกันอีก 2-3 ครั้ง เกี่ยวกับเครื่องมือ และกระบวนการ KM แจ้งให้กับผู้บริหารและนัดวันที่จะได้เรียนเชิญผู้บริหารที่รับผิดชอบเครือข่ายในส่วนของ ม.นเรศวร  ท่านผศ.อรรถวุฒิ  จารุสาธิต  ผู้ช่วยอธิการบดีได้ทราบและนัดวันประชุมร่วมกับท่านอาจารย์วิบูลย์  วัฒนาธร  เพื่อพูดคุยในรายละเอียดกันต่อไป

     วันพุธที่ 7 มิ.ย. 49 เวลา 12.00 น. เป็นวันที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายได้เข้าร่วมพูดคุยร่วมกันในครั้งแรกโดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย 
1.  ผศ.ดร.วิบูลย์       วัฒนาธร     รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ
2.  ผศ.อรรถวุฒิ       จารุสาธิต    ผู้ช่วยอธิการบดี
3.  รศ.พูนพงษ์         งามเกษม    คณบดีคณะมนุษยศาสตร์
4.  คุณภัทริกา          สิงห์สถิตย์  (พี่นุ่น)    กองบริการการศึกษา
5.  คุณประภาพิมล    ทิมวัฒนา   (พี่แม๋ว)    กองกิจการนิสิต

     โดยการประชุมใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง  เพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจร่วมกัน  และเมื่อเลิกประชุมท่านอาจารย์วิบูลย์ได้มาถ่ายทอดให้กับดิฉันฟัง พร้อมทั้งส่งเอกสารระเบียบวาระการประชุมฯ  ให้ดิฉันได้อ่านศึกษาเพิ่มเติมเพื่อจัดทำ (ร่าง) กำหนดการ เพื่อทางผู้ประสานงานจะได้ส่งไปยังกรรมการเครือข่ายฯ พิจารณาต่อไป  หลังจากที่ดิฉันได้ศึกษาเอกสารประกอบการประชุมจึงได้ทราบเพิ่มเติมว่า

     เครือข่ายการดำเนินงานด้านพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทยสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ  มีสมาชิกทั้งสิ้น 50 สถาบัน โดยแบ่งเป็นเครือข่าย 4 ภูมิภาค ได้แก่

1.  เครือข่ายรองมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ 
      มหาวิทยาลัยนเรศวร
      มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพิษณุโลก
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช
      วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรพิษณุโลก
      สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย
      วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัย
      มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 
      สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์  
      วิทยาลัยชุมชนพิจิตร
      มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์

2.  เครือข่ายรองมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้แก่
      มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
      มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตสารสนเทศนครสวรรค์
      มหาวิทยาลัยภาคกลาง
      มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครสวรรค์
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์
      วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง
      วิทยาลัยชุมชน จังหวัดตาก
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก
      วิทยาลัยชุมชน จังหวัดอุทัยธานี
      มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร

3.  เครือข่ายรองมหาวิทยาลัยแม่โจ้  ได้แก่ 
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้
      มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
      มหาวิทยาลัยพายัพ
      มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตสารสนเทศลำปาง
      มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
      มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
      วิทยาลัยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
      วิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เขลางค์นคร
      วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 
      สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ 
      สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง
      วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
      วิทยาลัยโยนก
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
      มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4.   เครือข่ายรองมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้แก่
      มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
      มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  วิทยาเขตเชียงราย
      มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา
      มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตสารสนเทศแพร่
      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตน่าน

     ซึ่งในการประชุมเครือข่ายฯ  เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 49 ณ ห้องสารสนเทศ สนง.อธิการบดี ม.เชียงใหม่  ได้มีการพูดคุยในประเด็นต่างๆ โดยในส่วนของกิจกรรมในการพัฒนาเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทยเขตภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2549 ประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ  การนำ Knowledge Management, KM มาใช้ในการพัฒนากิจการนิสิต  โดยที่ประชุมได้ขอความร่วมมือจาก ม.นเรศวร เป็นฐานหรือหน่วยงานสำคัญในการให้ความรู้ในการจัดทำเพื่อปรับใช้กับการพัฒนางานด้านกิจการนิสิตของสถาบันเครือข่ายฯ โดยในการเข้าร่วมกิจกรรมแต่ละสถาบันจะส่งตัวแทนสถาบันละ 2-3 ท่าน

      โดยในที่ประชุมเตรียมการของเรากำหนดการที่ท่านอาจารย์วิบูลย์ได้เข้าร่วมพูดคุยกำหนดที่จะจัดกิจกรรมในวันจันทร์ที่ 7 - วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2549  ที่โรงแรมไพลินจังหวัดสุโขทัย  (ซึ่งเป็นสถานที่ใหม่ที่ QAU ได้ไปสำรวจพร้อมกับท่านอาจารย์จันทวรรณ และอาจารย์ธวัชชัย  เพื่อจะเป็นสถานที่จัด UKM ในครั้งต่อไปเนื่องจากมีห้องประชุมที่ค่อนข้างใหญ่โดยสามารถจุคนได้ 400 คนแบบคลาสรูม และ 800 คนแบบเธียร์เตอร์   และยังมีห้องประชุมย่อยหลายๆ ขนาดอีกหลายห้อง)  ดิฉันได้เรียนปรึกษากับท่านอาจารย์วิบูลย์ถึงเรื่อง (ร่าง) กำหนดการว่าถ้าเราไม่สามารถจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมให้ไม่เกิน 40 – 50 คนได้  เราก็น่าจะต้องแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่เพื่อแยกห้องทำกิจกรรมออกเป็น 2 ห้อง โดยแต่ละห้องมีคนประมาณ 40 – 50 คน และมีวิทยากรประจำทั้ง 2 ห้อง  โดยวันนี้ (13 มิ.ย. 49) ดิฉันได้ทำ (ร่าง) กำหนดการส่งให้กับพี่นุ่นและพี่แม๋วเพื่อดำเนินการส่งให้ ม.เชียงใหม่เพื่อเข้าประชุมพิจารณาต่อไป  หากมีความคืบหน้าอย่างไรเดี๋ยวพี่พี่คงส่งข่าวมา  แล้วดิฉันจะนำมาเล่าต่อนะคะ

(ร่าง)  กำหนดการ "โครงการสัมนาเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้ของเครือข่ายการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย"

 

หมายเลขบันทึก: 33944เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท